คลังเรื่องเด่น
-
"บุญและบาปใจมันถึงก่อน" (หลวงปู่ฝั้น อาจาโร)
.
"บุญและบาปใจมันถึงก่อน"
กรรมมันไม่ได้อยู่ถึงฟ้าอากาศ กรรมทั้งหลายที่เราว่าเป็นกรรมอย่างโน้นเป็นกรรมอย่างนี้ บาปอย่างโน้นบาปอย่างนี้ บาปอะไรมีที่โน่นที่นี่ ในป่าในดง ภูเขาเหล่ากอไม่ได้เป็นบาปเป็นกรรม "มันเป็นจากดวงใจของเรา"
ท่านจึงว่ากายกรรม "วจีกรรมมโนกรรมเป็นของเรา" กายกรรมทำทางกาย วจีกรรมทำทางวาจา มโนกรรมทำทางใจ ข้อนี้แหละให้พากันพินิจพิจารณาให้เห็นชัด อย่าเข้าใจอย่างอื่น "อย่าให้เป็น สีลพัตตปรามาส ลูบคลำโน่น ๆ นี่ ๆ ว่ากรรมอยู่โน้นบาปอยู่โน้น"
นั้นแหละเข้าใจผิดไป เราต้องใช้โอปนยิกธรรม "ต้องน้อมเข้ามาถึงดวงใจของเรากรรมมันไม่ได้เกิดที่อื่น" เวลานี้กายเราไม่ได้ทำอะไร วาจาเราก็ไม่ได้ทำ เหลือแต่มโนกรรม ความน้อมนึก "มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฏฺฐา มโนมยา" บุญและบาปไม่ว่าใด ๆ ใจถึงก่อน ให้พากันพินิจพิจารณาให้เห็นแจ่มแจ้งลงไป แน่นอนลงไป "บุญและบาปใจมันถึงก่อน" .. "
"การฟังและการปฏิบัติ"
(หลวงปู่ฝั้น อาจาโร)
ม.ร.ว. ส่งศรี เกตุสิงห์ ถอดจากแถบบันทึกเสียง -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอังคารที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอังคารที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๖ -
กำลังใจที่ถูกต้องของนักปฏิบัติ คือ ไม่กลัวตาย แต่ไม่ได้อยากตาย เพียงแต่พร้อมที่จะตายตลอดเวลา
กระผม/อาตมภาพเคยพูดอยู่บ่อย ๆ ว่า "บุคคลที่ปฏิบัติธรรมแล้วคิดว่าไม่กลัวตาย ถือว่าดีแล้ว" เป็นเรื่องที่ผิด บางคนอยากตายเสียด้วยซ้ำไป อันนั้นยิ่งผิดหนักเข้าไปใหญ่ เพราะว่ากำลังใจที่อยากตายเป็นกำลังใจที่เศร้าหมอง ถ้าตายตอนนั้น อาจจะลงอบายภูมิก็ได้
กำลังใจที่ถูกต้องก็คือ ไม่กลัวตาย แต่ไม่ได้อยากตาย เพียงแต่พร้อมที่จะตายตลอดเวลา อยู่ในลักษณะของการระลึกถึงมรณานุสติเต็มระดับ รู้ตัวอยู่เสมอว่าชีวิตของเรามีแค่ชั่วลมหายใจเข้าออกเท่านั้น หายใจเข้า..ถ้าไม่หายใจออกก็ตาย หายใจออก..ถ้าไม่หายใจเข้าก็ตาย เพียงแต่ว่าอยู่ในลักษณะของการพร้อมที่จะตายโดยไม่ประมาท
ขณะที่ยังดำรงชีวิตอยู่ ก็ถือว่าเราได้สร้างบุญสร้างบารมี ถ้าหากว่าตายเมื่อไร เราก็พร้อมที่จะไปพระนิพพาน จึงอยู่ในลักษณะของการที่อยู่ก็ได้ ตายก็ดี ก็แปลว่าต้องอยู่ให้ดีที่สุด ถ้าหากว่าตาย ก็ตายอย่างพร้อมที่สุด พร้อมเพราะว่าทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีอะไรให้เรายึดถือแล้ว ปล่อยวางจากภาระทั้งปวงแล้ว ถ้าชีวิตยังมีอยู่ ก็ดำเนินไปตามหน้าที่ของตน ถ้าชีวิตหมดสิ้นลง ก็ไปตามทางที่ตนได้เลือกไว้
เรื่องพวกนี้ท่านทั้งหลายต้องฟังไว้บ่อย ๆ จิตใจจะได้เคยชิน... -
."บางคนทำชั่วแต่ได้รับผลดี" (สมเด็จพระสังฆราชเจ้า)
.
"บางคนทำชั่วแต่ได้รับผลดี"
" .. "อันความดีและความชั่วนี้ มีลักษณะพร้อมทั้งผลต่างกัน" เมื่อเป็นความดีจริง ถึงใครจะพยายามเปลี่ยนแปลงให้เป็นความชั่ว ก็ไม่อาจทำได้ คงเป็นความดีอยู่นั้นเอง แม้ความชั่วก็เหมือนกัน "เมื่อเป็นความชั่วจริง ก็คงเป็นความชั่วอยู่นั้นเอง" ไม่มีใครสามารถจะกลับกลายให้เป็นความดีไปได้
ส่วนความอ้างเอาเองและความเข้าใจของคนก็เป็นเพียงความอ้างเอาเองหรือความเข้าใจเท่านั้น แม้จะทำให้เกิดผลอย่างใดอย่างหนึ่งได้บ้าง เช่น "การใส่ความ การยกยอโดยไม่เป็นความจริง" ก็ไม่ใช่ผลของความดีความชั่วนั้นโดยตรง
"ผลของความดีหรือความชั่วนั้น จะต้องมาถึงเมื่อถึงโอกาส" เพราะการให้ผลของความดีหรือความชั่วก็มีเวลาเหมือนวันคืน "เมื่อยังเป็นเวลากลางวัน จะเร่งเป็นเวลากลางคืนสักเท่าไรก็คงเป็นไปไม่ได้ จนกว่าจะถึงเวลาสิ้นวัน เวลากลางคืนก็เข้ามาถึงเอง" แม้ในเวลากลางคืนก็เหมือนกัน จะเร่งให้เป็นเวลากลางวันเท่าไร ก็เป็นไปไม่ได้ จนกว่าจะสิ้นวันแล้วกลางวันก็จะเริ่มขึ้นเอง
"เวลาความดีให้ผลเหมือนกลางวัน เวลาความชั่วให้ผลเหมือนกลางคืน" ฉะนั้น... -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๖๖ -
จัดงานบวชอย่างไรให้ได้บุญ
สำหรับในเรื่องของการบวชนั้น ญาติโยมส่วนใหญ่ก็รู้แต่ว่าบวชลูกบวชหลานของตนเองจะได้บุญมาก ได้อานิสงส์มาก แต่ก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าอานิสงส์นั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร ? ซึ่งตรงนี้จะต้องบอกกล่าวกันให้ชัดเจนว่า
การบวชในเบื้องต้นท่านก็ได้อานิสงส์ในทาน ในศีล ในภาวนาไปแล้ว
เมื่อบรรดาคู่สวดได้กล่าวประกาศท่ามกลางสงฆ์ว่า "อุปสัมปันโน สังเฆนะฯ" บัดนี้ได้อุปสมบทเป็นสงฆ์แล้วนะ อานิสงส์ที่ท่านทั้งหลายจะพึงมีพึงได้ในฐานะผู้เป็นศาสนทายาท สืบทอดอายุพระพุทธศาสนา ก็ได้สมบูรณ์บริบูรณ์ตอนนั้นแล้ว
การอยู่ต่อของท่านทั้งหลายก็ขึ้นอยู่ที่ว่า เราจะสามารถทำให้อานิสงส์นั้นเพิ่มมากขึ้นหรือว่าลดน้อยถอยลง คำว่าเพิ่มมากขึ้นในที่นี้ก็คือการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ที่ลดน้อยถอยลง นั่นก็คืออาจจะไม่ทำอะไรเลย หรือไม่ก็มีการทำผิดทำพลาด จนกระทั่งติดลบไปก็มี..!
อานิสงส์ทั้งหลายเหล่านี้ ที่บอกว่าได้มากนั้นเกิดจากอะไร ? ก็เกิดจากการที่บรรดาผู้บวชเข้ามาแล้วต้องยึดถือศีล ๒๒๗ ข้อ ถ้าเปรียบกับการลงทุนในกิจการงานอย่างใดอย่างหนึ่ง ญาติโยมที่ถือศีล ๕ สมมติว่าลงทุนไป ๕ ล้านบาท พระภิกษุสงฆ์ที่ถือศีล ๒๒๗ ข้อ ก็คือลงทุนไป ๒๒๗ ล้านบาท... -
เราแห่นาคเพื่ออะไร ?
สำหรับวันนี้กระผม/อาตมภาพต้องเดินทางไปเป็นพระอุปัชฌาย์ ทำการอุปสมบทพระที่วัดวังปะโท่ หมู่ที่ ๘ บ้านรวมใจ ตำบลห้วยเขย่ง อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ไปถึงตั้งแต่ประมาณ ๘ โมงเช้า แต่ว่าต้องรออยู่จนกระทั่ง ๙ กว่าโมง ถึงจะได้ทำหน้าที่พระอุปัชฌาย์ ให้การอุปสมบทแก่กุลบุตรนั้น ๆ เหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า มีการแห่นาคกันสนุกสนาน ไม่รู้จักแล้วจักเลิก ก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าทำไมการแห่นาคในปัจจุบันนี้ถึงได้วิปริตผิดเพี้ยนไปขนาดนั้น..!?
ในสมัยโบราณนั้น การแห่นาคมุ่งหวังให้บุคคลที่รู้เห็น ได้มีโอกาสอนุโมทนาในบุญกุศล ที่ทางเจ้าภาพได้บวชลูกหลานของตน แต่ว่าในปัจจุบันนี้ เอาความสนุกสนานเข้าว่าเพียงอย่างเดียว หลายที่ก็มีการกินเหล้ากินเบียร์ เต้นกันสนุกสนานไม่ยอมเลิก เมื่อเมาขึ้นมาแล้ว บางทีแห่รอบโบสถ์ ๓ รอบแล้วยังไม่เป็นที่พอใจ ก็มีการเพิ่มขึ้นเป็น ๙ รอบ เป็นต้น เราจะเห็นได้ว่าเรื่องของประเพณีนั้น บางทีก็วิปริตผิดเพี้ยนไปตามความเกรงใจของผู้คน เพราะว่าในเมื่อแขกเหรื่อต้องการแบบนั้น เจ้าภาพก็ต้องสนองความต้องการเขาไป
อีกประการหนึ่งก็คือกระทำตาม ๆ กันไป โดยที่ไม่รู้ว่าสิ่งที่ตนเองทำนั้นคืออะไร... -
ปฏิบัติดียังมีโอกาสลงนรก (หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ)
ผู้ที่มีการปฏิบัติดี เช่นไม่ขาดศีล ๕ ไม่ขาดสรณคมณ์ แต่ถ้ามี "อารมณ์ฟุ้ง" ทำให้ตนเองไปเกิดในอบายภูมิ ๔ ได้
ขณะเดียวกันคนที่ไม่มีศีล หรือปรามาส พระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ อย่างใดอย่างหนึ่งก็ไม่แน่เหมือนกันว่าจะต้องลงนรก
ยกตัวอย่าง "พระนางมัลลิกา" เป็นผู้ที่มีความประพฤติการปฏิบัติดีมากยากที่บุคคลอื่นจะพึงทำได้ อารมณ์ใจของพระนางเต็มไปด้วยอารมณ์กุศล เคยถวายอทิสสทานกับ องค์สมเด็จพระทศพล ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสว่า..
พระพุทธเจ้า ๑ องค์ จะมีคนถวายอทิสสทานครั้งเดียวในชีวิต และคนที่จะถวายได้นั้นต้องเป็นผู้หญิง พระนางมัลลิกามีคุณงามความดีประเสริฐ เหมือนผ้าขาวบริสุทธิ์ผุดผ่องทั้งผืน ถ้าบังเอิญไปเปื้อนอะไรนิดหนึ่ง จุดเด่นมันก็ปรากฏขึ้น
เรื่องมีอยู่ว่าคืนหนึ่งพระนางจะไปถ่ายปัสสาวะ และกลางคืนเขาดับไฟกันเพราะยังไม่มีไฟฟ้าใช้ บังเอิญเท้าขวาของพระนางสะดุดพระบาทของพระราชสวามี คือพระเจ้าปเสนทิโกศล เพียงเท่านี้พระนางเสียใจมาก คิดว่า ตัวเองทำความชั่วมาก ทั้งๆที่ความจริงไม่มีอะไรเป็นความผิด เพราะไม่มีเจตนา แต่พระนางมัลลิกาคิดเสมอจิตเศร้าหมอง สลดใจหนักใจว่าตัวเองทำความผิด
ต่อมาเมื่อวาระเข้าถึง... -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอาทิตย์ที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอาทิตย์ที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๖๖ -
การครอบวิมาน เอาวิมานที่ไหนมาครอบ
การครอบวิมาน เอาวิมานที่ไหนมาครอบ -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๖ -
"เข้าใจว่าตนดีแล้ว นั่นคือมานะเกิด" (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)
.
"เข้าใจว่าตนดีแล้ว นั่นคือมานะเกิด"
" .. "ผู้ใดเข้าใจว่าตนดีแล้ว นั่น ยังไม่ทันดี ถ้าหากเข้าใจว่าดีแล้ว คนนั้นเรียกว่ามานะเกิดขึ้นแล้ว" อย่างพระสารีบุตรเทศน์ให้ พระโมคคัลลานะ ท่านบอกว่า "ท่านถือว่าท่านมีฤทธิ์เดชมีปฏิหาริย์ อันนั้นเรียกว่า มานะ" คือเกิดบรรลุวิเศษวิโส "ครั้นท่านถือว่า รู้รอบหมดทุกสิ่งทุกอย่างอันนั้นคือ ทิฏฐิ" ท่านจงละทิฏฐิ มานะนั้นเสีย แล้วจะอยู่เป็นสุข ลองดู
"ท่านวิเศษวิโสถึงขนาดนั้น มีฤทธิ์ปาฏิหาริย์ มีอำนาจปาฏิหาริย์เหาะเหินเดินอากาศได้ ดำดินบินบนได้ ก็เป็นจริงอย่างนั้น" ท่านเป็นจริงอย่างนั้นจริง ๆ "แต่หากว่าถืออันนั้นแล้ว มันเป็นมานะ เป็นทิฏฐิในตัว" ละทิฏฐิมานะนั้นแล้ว นั่นละจะอยู่เย็นเป็นสุข .. "
"วิธีชำระจิต"
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๖๖ -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๖๖ -
ใส่สติลงไปในงาน ทำทุกงานให้เป็นกรรมฐาน เพราะแก่นแท้คือการมีสติอยู่กับปัจจุบัน
ถ้าเราทำเป็น งานทุกอย่างใส่สติลงไปเฉพาะหน้า ก็เป็นกรรมฐานทั้งหมด เพราะว่าคำสอนของพระพุทธเจ้า แก่นที่แท้จริงก็คือการมีสติรู้ปัจจุบันอยู่ ถ้าหากว่าเราสามารถทำตรงจุดนั้นได้ งานทุกอย่างจะเป็นกรรมฐานทั้งหมด
.....................................
พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร. วัดท่าขนุน
www.watthakhanun.com -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๖๖ -
อย่าประมาทตัวเอง♦️ก็เกิดๆตายๆอยู่แล้ว..อยากเป็นอะไร(พุทธะ อนุพุทธะ)❓ก็อธิษฐานแล้วทำเอา
อย่าประมาทตัวเอง♦️ก็เกิดๆตายๆอยู่แล้ว..อยากเป็นอะไร❓ก็อธิษฐานแล้วทำเอา -
การรู้อดีตชาติ อนาคต ปัจจุบัน หรือจะรู้ใจคนอื่น เรียกว่าตาทิพย์ คือ ใช้ใจรับรู้
การดูอดีตชาติก็ดี ดูอนาคตก็ดี ดูปัจจุบันก็ดี หรือจะรู้ใจคนอื่น ตลอดจนรู้กรรมของบุคคลและสัตว์อะไรก็ตาม สำคัญตรงที่ต้องสร้างทิพจักขุญาณให้เกิดก่อน ทิพจักขุญาณที่เรียกง่าย ๆ ว่าตาทิพย์ แต่ไม่ใช่ตาเห็น เป็นใจเห็น
ถ้าไม่มีพื้นฐานมาก่อน ต้องเริ่มที่กสิณ ๓ กอง กองใดกองหนึ่ง ก็คือ อาโลกกสิณ กสิณแสงสว่าง โอทาตกสิณ กสิณสีขาว และเตโชกสิณ กสิณไฟ
แต่เท่าที่เคยทำมาจากประสบการณ์ กสิณน้ำก็สามารถทำเป็นทิพจักขุญาณได้ ตัวอย่างที่ชัดที่สุดก็คือ นอสตราดามุส ถึงเวลาจะดูอนาคตเขาก็ไปดูในอ่างน้ำ อาตมาก็สงสัยว่าเป็นอย่างไร ถามหลวงพ่อวัดท่าซุงแล้ว ท่านบอกว่า ถ้าเพ่งเฉพาะน้ำอย่างเดียวจะได้อาโปกสิณ แต่ถ้าตั้งใจเพ่งให้ถึงก้นภาชนะ จะเป็นทิพจักขุญาณด้วย เพราะฉะนั้น..ใครทำอาโปกสิณจะได้ทิพจักขุญาณด้วย ถ้าทำเป็นนะ...
แต่ถ้าหากว่ามีของเก่า ในอดีตเคยทำไว้ ถึงเวลาไปฝึกมโนมยิทธิจะเป็นการฟื้นของเก่า ทิพจักขุญาณจะคืนมา เมื่อคืนมาแล้ว ถ้าเราใช้ในการระลึกชาติ เขาเรียกว่า ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ใช้ในการรู้อดีต เรียกว่า อตีตังสญาณ
รู้อนาคต เรียกว่า อนาคตังสญาณ รู้ปัจจุบัน เรียกว่า ปัจจุปันนังสญาณ รู้ใจคนอื่น เรียกว่า... -
ชีวิตหลังความตาย ไม่มีการต่อรองได้
"ชีวิตหลังความตาย ไม่มีการต่อรองได้ หากบุญมากก็ไปสวรรค์ ในชั้นที่เหมาะกับแรงกุศลของตนเท่านั้น จะขอความเป็นทิพย์แห่งสวรรค์ที่มากหรือน้อยกว่านั้นไม่ได้ และหากแรงบาปมาก ก็ต้องไปนรกขุมต่างๆ ตามแรงกรรมของตน
ซึ่งเต็มไปด้วยทุกข์กับร้อนเท่านั้น จะขอต่อรองพักยกความทุกข์ร้อนทรมาน เพียงช้างกระพือหู งูแลบลิ้น ไม่ได้เลย ต้องก้มหน้ารับกรรมไป
ต่อรองได้แต่ในชีวิตจริงในโลกมนุษย์ขณะนี้ เดี๋ยวนี้เท่านั้น ที่ทุกคนมีสิทธิ์จะเลือกทำดี หรือชั่ว บุญ หรือบาป
ฉะนั้น ขอทุกคนจะเร่งทาน เร่งศีล เร่งภาวนาของตนแต่บัดนี้เสีย จะได้ออกไปจากการซัดเหวี่ยงของสังสารวัฏนี้ได้"
หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
Credit: ขอขอบพระคุณที่มาจาก Facebook พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอังคารที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอังคารที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๖๖ -
วาระบุญวาระกรรมของแต่ละคนสั้นยาวไม่เท่ากัน หากพลาดรอบนี้แล้ว ไม่รู้เมื่อไรจะมีโอกาสอีก
วันนี้ตรงกับวันเสาร์ที่ ๔ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖ กระผม/อาตมภาพไม่สามารถที่จะบันทึกเสียงธรรมจากวัดท่าขนุนในช่วงค่ำได้ เพราะว่าช่วงนั้นจะมีงานพิธีเปิดงานประจำปีปิดทองรอยพระพุทธบาทวัดท่าขนุน และงานทำบุญอุทิศอดีตเจ้าเมืองหน้าด่าน ๗ หัวเมือง จึงต้องขยับมาบันทึกเสียงธรรมจากวัดท่าขนุนในช่วงเช้านี้แทน
พวกเราที่มาปฏิบัติธรรมในวันนี้ก็ถือว่าเป็นรุ่นที่ ๒/๒๕๖๖ แต่ว่าหลายท่านก็พลาดไปเพราะความนิ่งนอนใจของตนเอง ก็คือเมื่อมาถึงวัดแล้ว เข้าที่พักบ้าง เข้าห้องน้ำบ้าง บางคนก็มัวแต่โทรศัพท์หรือส่งไลน์แจ้งทางบ้านบ้าง ปรากฏว่าในศาลาแห่งนี้ กระผม/อาตมภาพนำเจริญพระกรรมฐานไปแล้ว
พวกเราต้องเข้าใจว่าในเรื่องของวาระบุญวาระกรรมนั้น ถ้าจะว่าไปแล้วก็เป็นวงเวียน คือการหมุนวนอย่างหนึ่ง อย่างที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า กิเลสคือ รัก โลภ โกรธ หลง ก่อให้เกิดกรรม คือการกระทำ เมื่อมีการกระทำก็ส่งให้เกิดผลแห่งการกระทำ ที่เรียกว่าวิบาก ในเมื่อมีวิบาก ย่อมส่งผลให้กิเลสสามารถเกาะกินได้ ก็หมุนเวียนกันไม่รู้จบในลักษณะแบบนี้
แต่คราวนี้การหมุนเวียนที่กล่าวถึงในที่นี้ ก็คือวาระบุญวาระกรรมของพวกเราทั้งหลาย... -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๖ -
นักปฏิบัติต้องแลกกันด้วยชีวิต ต้องตามตี ตามบี้กิเลสให้ตายไปเลย
การที่เราจะต่อสู้เพื่อชนะกิเลส เป็นสิ่งที่นักปฏิบัติตั้งแต่โบร่ำโบราณมาจนถึงปัจจุบัน ต้องทุ่มเทอย่างชนิดที่เอาชีวิตเข้าแลก ไม่ใช่สักแต่ว่าปฏิบัติธรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ แล้วก็จะสามารถชนะกิเลสได้ ต้องตั้งใจจริง ใช้ความเพียรพยายามในการปฏิบัติ ทุ่มเทชนิดสุดกำลังกาย สุดกำลังใจ ขนาดนั้นแล้วหลายต่อหลายท่านก็ยังไปได้ไม่ถึงไหน เหตุที่เป็นเช่นนั้นเกิดจาก ๒ อย่างด้วยกัน
อย่างแรกก็คือทำผิด คำว่าผิด ในที่นี้คือผิดวิธี เนื่องเพราะว่าการปฏิบัติธรรมจะให้ได้ผลนั้นต้องเป็นมัชฌิมาปฎิปทา คือทางสายกลาง ทุ่มเทมากเกินไปก็ไม่ได้ผล ย่อหย่อนมากเกินไปก็ไม่ได้ผล แล้วที่สำคัญที่สุด ทางสายกลางนี้ไม่มีมาตรฐาน ๕๐ เปอร์เซ็นต์ ขึ้นอยู่กับกำลังกาย กำลังใจ กำลังสติปัญญาของแต่ละท่านที่สั่งสมมา กำลังใจสูงก็มาตรฐานสูง กำลังใจต่ำก็มาตรฐานต่ำ
เราจะเห็นว่าบางท่านนั่งกรรมฐานกันที ๓ วัน ๓ คืนสบายมาก ส่วนของเราแค่ ๓๐ นาทีก็จะตายแล้ว นั่นเป็นเพราะว่าทางสายกลางของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน ดังนั้น...เมื่อท่านปฏิบัติธรรมไปแล้วจนรู้สึกว่าไปต่อไม่ไหว ขอให้ลองฝืนดูก่อน ถ้าฝืนแล้วไม่ไหวจริง ๆ ค่อยเลิก หันไปทำสิ่งอื่น ๆ แทน... -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอาทิตย์ที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอาทิตย์ที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๖๖ -
"เจ้ากรรมนายเวร คือใจ" (หลวงปู่ขาว อนาลโย)
.
"เจ้ากรรมนายเวร คือใจ"
" .. จึงให้เข้าใจเสียว่า "เจ้ากรรมนายเวรคือใจ ตัวกรรมแม่นใจ" ดวงใจอันเดียว วิญญาณอันเดียวเป็นตัวกรรม แต่งกรรมเสียแล้ว ให้เวียนตายเวียนเกิดที่นี่ ไม่เลิก
เรารู้จักแล้วเราต้องควบคุมใจ "แนะนำสั่งสอนใจ ทำใจของเราให้ผ่องแผ้ว" ว่าเอาย่อ ๆ นี่แหละ กว้างขวางก็ได้ยินมาพอแฮงแล้ว "เอาย่อ ๆ ควบคุมใจเท่านั้นแหละ" เดี๋ยวนี้ ใจนี้ เจ้าของนรกก็แม่นใจนี่แหละ ม่าง(เลิก, ทิ้ง) นรกก็แม่นใจนี่แหละ
ครั้นมันไม่ดีละก็ ร้อนเป็นทุกข์เหมือนใจจะขาด "ครั้นใจไม่ดีละก็ มันกลุ้ม เป็นทุกข์จนฆ่าตัวตายนี่แหละ" ถือว่าเรา เป็นเรา นี่ก็เพราะใจนี่แหละ ไม่ใช่อื่นดอก .. " -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๖๖ -
... 'บ่มนิสัย' ...
"... ปฏิบัติธรรม ก็คือเอากาย วาจา ใจของเรา เอาอายตนะเราเข้าสัมผัส คน สัตว์ มีอะไรบ้าง ตามันเห็นรูป มีหูมันได้ยินเสียง จมูกมีกลิ่น ลิ้นมีรส กายสัมผัส แล้วมันมีตัวรับข้อมูลคือ 'ใจ' พวกนี้เข้าไปฟ้อง
'ใจ' เป็นราชามหากษัตริย์ ผู้ครองเสนาอำมาตย์ทั้งหลาย ก็ ตา หู จมูก ลิ้น มันไปพบอะไร เห็นอะไร ก็มาทูลเกล้าพญา พระราชาให้รับทราบ ถ้าตาเห็นอะไรบ่อยๆ มันฟ้องบ่อยๆ ใจมันก็หลงเชื่อ มันก็โน้มน้าวไปตามนั้น หูได้ยินเสียงอะไรบ่อยๆ ใจมันก็โน้มน้าวไปสิ่งนั้น จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส เช่นเดียวกัน ฟ้องอยู่ตลอด แล้วจะทำยังไง จะสร้างนิสัยของเราให้เกิดอุดมมงคล
'นิสัย' กับ 'วาสนา' ก็อันเดียวกัน ก็ต้องอาศัยเอาตานี่ไปสัมผัส เอาหูไปสัมผัส เช่น เรามาวัดบ่อยๆ ตาก็เห็นพระสงฆ์องค์เจ้า ผู้เป็นอุดมมงคล หูก็ได้ยินเสียงธรรม สรรเสริญธรรม ฟังธรรมบ่อยๆเข้า ใจมันจะไปไหนล่ะ มันก็มาที่นี่ ที่อื่นไม่ไปเหรอ? ไป!! แต่มันไปน้อย ถ้าเรามาวัดมาก ถ้าเราไปตกเบ็ดตกปลา หาทำไร่ ทำสวนอะไรเป็นส่วนมาก มันก็จะไปตามนั้น แม้แต่นอนยังฝันไปเลย
อาศัยสร้างนิสัย สร้างจริต ฝึกหัดกรรมฐาน ตบะ บำเพ็ญ เผา บ่ม โดยเฉพาะบําเพ็ญในธุดงค์เช่นนี้... -
สร้างพลังจิตให้ดีขึ้น ทนต่อการกระทบกับอารมณ์รอบตัว /พระอาจารย์เยื้อน วัดเขาศาลา จ.สุรินทร์
สร้างพลังจิตให้ดีขึ้น ทนต่อการกระทบกับอารมณ์รอบตัว
/พระอาจารย์เยื้อน วัดเขาศาลา จ.สุรินทร์
หน้า 45 ของ 414