.oO เรื่องสั้น ปั้นแต่ง Oo.

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย สร้อยฟ้ามาลา, 22 กุมภาพันธ์ 2012.

  1. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    [​IMG]
    คุณป้าร่วมทำบุญ.....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กันยายน 2013
  2. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    [​IMG]
    ศาลาท่าน้ำลายฉลุ จิงเจิ้ลเบรด วัดอินทราราม....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กันยายน 2013
  3. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    [​IMG]
    ครั้งขากลับจับเรือลงปากน้ำ
    มิได้ข้ามเข้าคลองด่านเหมือนดังก่อน
    เพราะว่ากลัวเรือติดไม่อาจจร
    ปีหน้าก่อนอาจจะย้อนมาอีกครา


    ขอขอบคุณเพื่อนเพื่อนทุกทุกท่าน
    ต่างแวะเวียนอ่านนั้นกันทุกหน้า
    หนักข้อมูลดูไม่สบายตา
    แต่ที่หามาให้ใจหวังดี


    เพราะว่าสิ่งเป็นมานานาความ
    หามาให้พิเคราะห์ตามคำถ้วนถี่
    หากขาดตกยกไปดูไม่ดี
    ขออภัยมิได้มีเจตนา


    ...............
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กันยายน 2013
  4. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    เรื่องที่ ๑๗

    Pai Mini Stories : Part 1
    น้ำค้าง นครพิงค์
    :z8


    เคยมีเพื่อนๆ ชวนสร้อยฟ้ามาลาไปเที่ยว ปาย หลายครั้งหลายหนแล้ว แต่ติดอะไรหลายๆ อย่างซึ่งยังไม่พร้อมที่จะไป และมาครั้งนี้ก็เลยตัดสินใจว่าจะไปเที่ยวในช่วงวันหยุดนักขัตฤกษ์ที่มีวันหยุดติดต่อกันหลายวัน พอได้คุยกับเพื่อนๆ ที่ทำงานว่าวันหยุดนี้จะไปไหนถามกันไปถามกันมาปรากฏว่าไป ปาย กัน ซึ่งก็ตรงกันกับกลุ่มพี่ๆ ที่ทำงานอีก ๒ กลุ่มที่จะขึ้นเหนือไปจังหวัดเชียงใหม่ เชียงรายและแม่ฮ่องสอน รวมความแล้ว เจอกันที่กรุงเทพยังไม่พอ จะไปเจอกันที่ภาคเหนืออีกเหรอ หนีไม่พ้นกันจริงๆ นี่แหละโลกกลม

    สร้อยฟ้ามาลาก็เลยชวนแมงปอแก้ว น้องสาวของแมงปอแก้ว แฟนของน้องสาวและหลานตัวน้อย รวมเป็น ๕ คน ขับรถเดินทางขึ้น ปาย กัน (ทีแรกจะไป ปางอุ๋ง ด้วยแต่วันหยุดยาวไม่พอเลยต้องงด)

    การไปเที่ยวครั้งนี้มีกำหนด ๔ วัน ๓ คืน เหตุที่อยากไป ปาย นั้น ได้ข่าวว่า เป็นเมืองเล็กๆ ที่มีธรรมชาติสวยงามผสมกับความโรแมนติคของอากาศหนาวในสายหมอกของลำน้ำปาย เลยอดไม่ได้ที่จะลองไปสัมผัสสักครั้ง แต่ก่อนที่จะถึง ปาย ก็จะแวะสถานที่ต่างๆ หลายแห่ง จึงต้องตั้งกระทู้เป็นตอนๆ คือ

    Pai Mini Stories : Part 1 น้ำค้าง นครพิงค์
    Pai Mini Stories : Part 2 อิง ลำน้ำปาย
    Pai Mini Stories : Part 3 หนาวไม่คลาย ห้วยน้ำดัง
    Pai Mini Stories : Part 4 รฤกความหลัง พระราชชายา


    มาเริ่มตอนแรกกันเลยดีกว่า


    Pai Mini Stories : Part 1 น้ำค้าง นครพิงค์

    วันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๒ วันรัฐธรรมนูญ เวลา ๐๔.๐๐ น. ล้อหมุน สัมภาระเต็มรถ เดินทางโดยใช้เส้นทางหลวงหมายเลข ๓๒ ถึงจังหวัดนครสวรรค์ประมาณ ๐๖.๓๐ น. ก็ขับรถไปเรื่อยๆ ช้าบ้างเป็นส่วนน้อย เร็วบ้างเป็นส่วนมาก ถึงจังหวัดลำปาง ตรงถนนช่วงอำเภอห้างฉัตรนี้อยู่ระหว่างการทำถนนใช้ความเร็วไม่ได้เลย และแล้วก็มาถึงจุดหมายแรกคือ


    a.jpg


    “วัดพระธาตุลำปางหลวง”
    ถึงเวลา ๑๐.๓๐ น. พอดี ในรายละเอียดของ วัดพระธาตุลำปางหลวง สร้อยฟ้ามาลาขออนุญาตไม่นำมาลง เพราะเคยนำมาลงแล้วไว้ในกระทู้ ทริปเหนือสุดแดนสยาม แต่จะขอลงความเป็นมาของราชวงศ์ “ทิพย์จักราธิวงศ์” ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับ วัดพระธาตุลำปางหลวง และเมืองลำปาง


    a.jpg


    ระหว่างพุทธสักราช ๒๒๗๒- ๒๒๗๕ ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์แห่งกรุงศรีอยุธยา ล้านนาเกิดการจลาจล รบราฆ่าฟันกันทั่วไปหาความสงบสุขมิได้ นครลำปางมีแต่พ่อเมืองควบคุมกันเองปล่อยให้สถานการณ์เสื่อมทรามลงเรื่อยๆ ทางนครลำพูนก็ฉวยโอกาสให้ท้าวมหายศซึ่งเป็นพม่าครองเมืองเป็นแม่ทัพคุมพลไปตีเมืองลำปางได้ พระอธิการวัดชมพูซึ่งเป็นพระสงฆ์ที่นับถือของชาวลำปาง จึงคบคิดกับพ่อเมืองคิดกอบกู้บ้านเมืองกลับคืนมา


    a.jpg


    กลุ่มคนผู้คิดกู้ชาติพร้อมใจกันเลือก “หนานทิพย์จักรวเนจร” ราษฎรสามัญผู้มีสติปัญญาและกล้าหาญชาญชัยซึ่งเคยเป็น “หมอโพน” ช้างป่ามาก่อน จนชาวบ้านตั้งสมญานามว่า “หนานทิพย์ช้าง” ให้กับนายทัพ


    a.jpg

    หนานทิพย์ช้างนำไพร่พลออกรบกับท้าวมหายศซึ่งตั้งกองทัพอยู่ ณ วัดลำปางหลวง ได้ต่อสู้กันเป็นสามารถจนในที่สุดท้าวมหายศแตกพ่ายหนีไป เมื่อสิ้นหนามแผ่นดินแล้วชาวเมืองลำปางจึงสถาปนาหนานทิพย์ช้างขึ้นเป็น “พระยาสุลวะฤๅสงคราม” เป็นผู้ครองนครลำปางในปี พ.ศ.๒๒๗๕ ในฐานะเมืองเอกราช


    a.jpg

    หนานทิพย์จักรวเนจร หรือ พระยาสุลวะฤๅไชยสงคราม จึงตั้งราชวงศ์ของพระองค์ขึ้นมาเรียกราชวงศ์ว่า “ทิพย์จักราธิวงศ์”


    a.jpg

    พระยาสุลวะฤๅไชยสงคราม ครองเมืองลำปางได้ ๒๗ ปีก็ถึงแก่พิราลัยในปี พ.ศ.๒๓๐๒ เจ้าชายแก้ว บุตรชายของท่านได้ครองเมืองสืบต่อมาจนกระทั่งถึงปี พ.ศ.๒๓๐๗ อิทธิพลของพม่าก็แผ่ขยายเข้ามาครองภาคเหนือทั้งหมด คือ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน และแม่ฮ่องสอนโดยไม่มีผู้ใดสามารถต้านทานได้เลย


    a.jpg


    เมื่อนครลำปางตกอยู่ภายใต้การยึดครองแล้ว พม่าก็พาเจ้าชายแก้วเดินทางไปเฝ้าพระเจ้ากรุงอังวะ แล้วได้รับการแต่งตั้งให้เป็น “เจ้าฟ้าหลวงชายแก้ว” กลับมาดูแลบ้านเมืองลำปางซึ่งอยู่ในความปกครองของพม่าตามเดิม


    a.jpg

    ทางเมืองเชียงใหม่นั้นพม่าตั้ง พระยาจ่าบ้าน ขึ้นเป็นพ่อเมืองอยู่ในความควบคุมของพม่าชื่อ “โปมะยุง่วน” มีทหารพม่าตั้งประจำการอยู่ทุกหัวเมือง


    a.jpg


    เป็นช่วงเวลาเดียวกับที่กรุงศรีอยุธยาเสียกรุงให้แก่พม่าในปี พ.ศ.๒๓๑๐ แล้วพระยาตากสินกู้อิสรภาพได้ และตั้งกรุงธนบุรีเป็นเมืองหลวงแทนกรุงศรีอยุธยา


    a.jpg


    ทหารพม่าที่ประจำอยู่ที่เมืองลำปางข่มเหงรังแกราษฎร ทำให้เกิดความเดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้า ห้ามปรามอย่างไรก็ไม่ฟัง เจ้าฟ้าชายแก้วหมดปัญญาจึงเดินทางมารายงานให้โปมะยุง่วน หัวหน้าพวกพม่าซึ่งคุมอยู่ที่เมืองเชียงใหม่ให้ทราบเพื่อแก้ไขสถานการณ์


    a.jpg


    พอดีระหว่างนั้นพม่ากำลังดำริจะยกทัพไปตีกรุงธนบุรี พระยาจ่าบ้าน เจ้าเมืองเชียงใหม่ จึงคบคิดกับเจ้ากาวิละบุตรคนโตของเจ้าฟ้าชายแก้วก่อการกบฏต่อพม่า โดยออกอุบายรับอาสาโปมะยุง่วนจะนำไพร่พลลงเรือล่วงหน้าลงมาตามลำแม่น้ำปิง เป็นการตระเตรียมความสะดวกล่วงหน้าให้แก่กองทัพพม่าที่จะเคลื่อนพลตามไปทีหลัง


    a.jpg


    โปมะยุง่วนหลงเชื่อ พอทหารพม่ากองหน้าเคลื่อนมาถึงเมืองฮอดก็ถูกไพร่พลของพระยาจ่าบ้านซุ่มโจมตีฆ่าฟันล้มตายไปหมดทั้ง ๗๐ คน เมื่อสังหารทหารพม่าแล้ว พระยาจ่าบ้านก็รีบเดินทางลงไปเฝ้าพระเจ้าตากสินยังกรุงธนบุรี กราบบังคมทูลขอกองทัพมารบกับพม่า


    a.jpg

    พระเจ้าตากสินจึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาจักรีกับเจ้าพระยาสุรสีห์ ทหารเสือ ๒ พี่น้องเป็นแม่ทัพคุมพลขึ้นมาถึงเมืองเถิน แล้วแบ่งกำลังออกเป็น ๒ กองทัพ ให้พระยาจ่าบ้านคุมพล ๕,๐๐๐ ยกไปยังเมืองเชียงใหม่ ส่วนทัพหลวงมุ่งเข้ายึดเมืองลำปาง


    a.jpg


    โปมะยุง่วนทราบเหตุร้าย จึงเรียกพลเท่าที่มีอยู่ออกสู้รบกับกำลังของพระยาจ่าบ้านอย่างถวายชีวิตที่สมรภูมิบ้านท่าวังตาล ทางทิศใต้ของเมืองเชียงใหม่ จนพระยาจ่าบ้านปราชัยล่าถอยหนีไปรวมกำลังรอกองทัพหลวง


    a.jpg

    ฝ่ายเจ้ากาวิละกับน้องๆ ต่างก็เป็นห่วงเจ้าฟ้าชายแก้วพระบิดาซึ่งยังติดอยู่ที่เมืองเชียงใหม่ ไม่รู้จะช่วยเหลือได้อย่างไร ได้แต่มอบให้เจ้าคำสมผู้น้องคุมพลออกรับหน้าทัพหลวงจากกรุงธนบุรี ทำทีจะต่อสู้แต่ใจจริงจะตั้งใจสวามิภักดิ์


    พอกองกำลังของเจ้าคำสมเคลื่อนออกไปพ้นตัวเมืองลำปาง เจ้ากาวิละกับพวกก็ลงมือฆ่าพม่าในเมืองลำปางเป็นการใหญ่


    a.jpg


    ความทราบถึงโปมะยุง่วน หัวหน้าพม่าในเมืองเชียงใหม่เห็นท่าไม่ได้การจึงรีบจับตัวเจ้าฟ้าชายแก้วคุมขังไว้ก่อน พวกเจ้าน้องของเจ้ากาวิละออกอุบายนำเครื่องราชบรรณาการรีบไปให้โปมะยุง่วนพร้อมกับอ้างเหตุผลว่าที่เจ้ากาวิละฆ่าพม่าล้มตายนั้นก็เพราะเกิดสติวิปริตคลุ้มคลั่ง หาใช่จะคิดก่อกบฏไม่ จึงขอความกรุณาไว้ชีวิตพ่อสักครั้ง ทำให้โปมะยุง่วนเกิดลังเลใจจึงเพียงแต่ขังเจ้าฟ้าชายแก้วไว้เฉยๆ


    a.jpg


    เจ้ากาวิละกับน้องๆ เห็นเป็นโอกาสจึงคุมพลสมทบกับกองทัพหลวงรีบยกมาตีเมืองเชียงใหม่ พบกับกองกำลังของพระยาจ่าบ้านรออยู่ บุกเข้าตีเมืองเชียงใหม่เป็นสามารถจนพม่าแตกพ่ายหนีออกจากเมืองเชียงใหม่ จึงรีบปลดปล่อยเจ้าฟ้าชายแก้วออกจากที่คุมขัง เจ้าฟ้าชายแก้วกับบุตรทุกคนจึงขอเป็นข้าขอบขัณฑสีมาของพระเจ้าตากสินตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา (พ.ศ.๒๓๑๗)


    หลังจากจัดการกับพม่าจนเรียบร้อยและกองทัพจากรุงธนบุรีก็เดินทางกลับแล้ว เจ้าฟ้าชายแก้วก็กลับคืนสู่เมืองลำปางและเนื่องจากท่านชรามากจึงแต่งตั้งเจ้ากาวิละขึ้นบริหารบ้านเมืองแทนส่วนทางเชียงใหม่ก็ให้พระยาจ่าบ้านเป็นพ่อเมืองสืบมา


    a.jpg


    ขณะกองทัพหลวงจะเคลื่อนพลจากลำปางกลับสู่พระนครนั้น เจ้าพระยาสุรสีห์ได้สู่ขอเจ้าหญิงศรีอโนชา น้องสาวของเจ้ากาวิละเป็นชายา เจ้าหญิงองค์นี้ต่อมาภายหลังเรียกกันว่า “เจ้าครองศรีอโนชา” เมื่อเจ้าพระยาสุรสีห์ได้เลื่อนอิสริยยศขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ทั้งสองพระองค์ก็มีพระธิดาด้วยกันองค์หนึ่ง คือ “เจ้าฟ้าหญิงพิกุลทอง”


    พระยาจ่าบ้านไปราชการที่กรุงธนบุรี และไปถึงแก่อนิจกรรมเสียที่นั่นในปี พ.ศ.๒๓๒๓


    a.jpg


    อีก ๒ ปีต่อมา ในปี พ.ศ.๒๓๒๕ เจ้าพระยาจักรี เลื่อนอิสริยยศขึ้นเป็น เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ ตั้งราชวงศ์จักรีครองกรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ก็โปรดเกล้าฯ ตั้งเจ้ากาวิละเป็น พระยาวชิรปราการ และให้ย้ายจากเมืองลำปางไปเป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่


    ตั้งเจ้าคำสม น้องชายคนที่ ๒ ครองนครลำปางพร้อมกับตั้งเจ้าธรรมลังกา น้องชายคนที่ ๓ เป็นอุปราชเมืองเชียงใหม่ ตั้งเจ้าดวงทิพย์ น้องชายคนที่ ๔ เป็นอุปราชเมืองลำปาง ตั้งเจ้าหมูหล้า น้องชายคนที่ ๕ เป็นเจ้าราชวงศ์ลำปาง และตั้งเจ้าคำปัน น้องชายคนที่ ๖ เป็นเจ้าบุรีรัตน์ เชียงใหม่ ช่วยกันปกครองบ้านเมืองสืบต่อมา


    a.jpg


    เจ้าเมืองเชียงใหม่และเจ้าเมืองลำปางจึงอยู่ในราชวงศ์เดียวกัน คือราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ รวมเรียกว่า “เจ้าเจ็ดตน” หรือแปดคนรวมทั้งเจ้าหญิงศรีอโนชา ธิดาองค์เดียวของเจ้าฟ้าชายแก้ว


    พ.ศ.๒๓๒๕ วันต้นๆ ของยุครัตนโกสินทร์ พระยาวชิรปราการ(เจ้ากาวิละ) ได้ย้ายขากลำปางมาครองเมืองเชียงใหม่ซึ่งครั้งนั้นยังตั้งอยู่เป็นการชั่วคราวที่เวียงป่าซาง(อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน ในปัจจุบัน) เพราะในเมืองเชียงใหม่จริงๆ นั้นรกร้างว่างเปล่า มีผู้คนพลเมืองน้อยมาก พ่อเมืองจึงกวาดต้อนราษฎรตามเมืองน้อยใหญ่ที่รายล้อมอยู่เข้ามาสมทบ พอได้รี้พลมากก็โยกย้ายมาตั้งอยู่ในกำแพงเมืองเชียงใหม่ ณ วันที่ ๑ ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๖ พ.ศ.๒๓๓๙ เป็นต้นมาจนตราบเท่าทุกวันนี้ ราวเวลาที่ตั้งเมืองเชียงใหม่อยู่ที่เวียงป่าซางนาน ๑๔ ปีเศษ


    a.jpg



    พอโยกย้ายเข้ามาอยู่ในกำแพงเมืองนครเชียงใหม่ได้เพียงเดือนเศษๆ ทางพม่าก็ยกทัพ ๙๐,๐๐๐ มารุกรานอีก พระยาวชิรปราการได้ทำการต่อสู้เป็นสามารถจนพม่าต้องล่าถอยไป แล้วก็ย้อนกลับมารบกวนอีกเห็นจะรักษาไว้ได้ยากจึงขอกำลังไปยังกรุงเทพฯ การไปขอกำลังคราวนั้นได้พวกเชลยพม่าที่จับตัวไว้ได้ไปถวายด้วย


    พักเรื่องราวไว้แค่นี้ก่อน เดี๋ยวมาเล่าความเรื่องลำปาง เชียงใหม่ต่อ.......
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กรกฎาคม 2018
  5. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    ออกจาก วัดพระธาตุลำปางหลวง ประมาณ ๑๒.๓๐ น. สถานที่ต่อไปก็คือ พระราชานุสาวรีย์ พระนางจามเทวี จังหวัดลำพูน ซึ่งเป็นจังหวัดที่ติดกับจังหวัดลำปางและเป็นเส้นทางผ่านไปยังจังหวัดเชียงใหม่ ไหนๆ ก็มาถึงนี่แล้วไม่แวะไม่ได้ ตั้งใจว่าจะมาไหว้สักครั้งก็ยังดี ถึงจังหวัดลำพูนประมาณบ่ายโมงเศษ....

    พระนางจามเทวี


    [​IMG]


    เชื่อกันว่าเป็นปฐมกษัตริย์แห่งนครหริภุญชัย ทรงเป็นพระราชธิดาของพระเจ้าจักรพรรดิราช แห่งกรุงละโว้(ลพบุรี) ปีประสูติ ระยะเวลาครองราชย์ และปีสวรรคตของพระนางจามเทวี มีผู้บันทึกหรือวิเคราะห์ไว้ต่างกัน เช่น
    ชินกาลมาลีปกรณ์ ว่าครองราชย์ พ.ศ. ๑๒๐๕ ครองราชย์อยู่ ๗ ปี
    นายมานิต วัลลิโภดม สอบค้นว่าประสูติ เมื่อพ.ศ. ๑๑๖๖ ครองราชย์ พ.ศ. ๑๒๐๕ ครองราชย์อยู่ ๑๗ ปี สิ้นพระชนม์ พ.ศ. ๑๒๕๘ พระชันษาได้ ๙๒ ปี

    ตำนานฉบับที่นายสุทธวารี สุวรรณภาชน์ แปลและเรียบเรียง คือ ประสูติ พ.ศ. ๑๑๗๖ ครองราชย์ พ.ศ. ๑๒๐๒ สละราชสมบัติพ.ศ. ๑๒๓๑ และสวรรคต พ.ศ. ๑๒๗๔ เป็นต้น


    พระนางจามเทวีเป็นผู้มีพระรูปโฉมงดงาม เป็นเบญจกัลยานี มีศีล และมีความสามารถ ทรงอยู่ในฐานะหม้าย เนื่องจากพระสวามี ซึ่งอยู่ในพงศาวดารเมืองหริภุญชัย ว่าเป็นเจ้าประเทศราชในเมืองรามัญ ตรงกับตำนานมูลศาสนาว่า คือเมืองรา หรือ เมืองรามได้มีศรัทธาบรรพชาเป็นเพศบรรพชิต พระเจ้าจักรพรรดิราชพระราชบิดา ทรงมีราชานุญาตให้พระนางจามเทวีซึ่งมีครรภ์ได้ ๓ เดือน เดินทางไปครองเมืองหริภุญชัย ตามคำเชิญของสุกกทันตฤาษี และวาสุเทพฤาษี ผู้ส่งนายคะวะยะเป็นทูตมาเชิญ

    พระนางจามเทวีได้นำพระสงฆ์ สมณะชีพราหมณ์ พ่อค้าวาณิช ช่างต่างๆ อย่างละ ๕๐๐ ประมาณกว่า ๗,๐๐๐ คน เดินทางโดยทางน้ำปิง (พิงค์) อย่างช้าๆ ตั้งเมืองเผยแผ่พระพุทธศาสนาตลอดเส้นทาง ใช้เวลาเดินทาง ๗ เดือน จึงเดินทางมาถึงเมืองหริภุญชัย เมื่อเสด็จมาถึงได้ ๗ วัน ก็ประสูติพระโอรสฝาแฝดชื่อ มหันตยศ และ อนันตยศ ต่อมาทรงได้เศวตไอยราเป็น คู่บารมีสีกายเผือกดั่งเงินยวงเรียกว่า ผู้ก่ำงาเขียว (ช้างเผือกงาเนียมหรือช้างเผือกงาดำ) จากเชิงดอยอ่างสลง (อ่างสรง) ในเขาลวง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อพระโอรสมีพระชนม์ ๗ พรรษา พระนางจามเทวีได้สละราชสมบัติอภิเษกให้มหันตยศ ครองเมืองหริภุญชัย ส่วนอนันตยศ พระนางจามเทวีได้ให้นำผู้คนพลเมืองไปตั้งเมืองเขลางค์นครหรือลำปางในปัจจุบัน นับเป็นการขยายอาณาจักร และพุทธจักร ให้กว้างไกลออกไป ส่วนพระนางได้นุ่งขาวห่มขาว สมาทานเบญจศีล จนถึงวันสิ้นพระชนม์ ดังตำนานมูลศาสนาได้กล่าวว่าพระนางทรงสมาทานเบญจศีลอยู่เสมอทุกวันมิได้ขาดในอุดมการณ์ทางด้านศาสนา ทรงเป็นแบบอย่างที่ดี ในการปฏิบัติธรรมให้เสนาอำมาตย์ราชมนตรี และประชาชนถือปฏิบัติเป็นอย่างดี ที่สำคัญยิ่งทรงเป็นผู้อุปถัมภ์พระพุทธศาสนาให้รุ่งเรืองวัฒนาสืบมาจนถึงปัจจุบันนี้ และได้ทรงสร้างจตุรพุทธปราการเป็นพระอารามประจำจตุรทิศแห่งพระนคร เพื่อเป็นพุทธปราการปกป้องคุ้มครองพระนครให้พัฒนาสถาพรปราศจากภัยภิบัติต่างๆ ประชาชนทั่วไปเรียกว่า วัดสี่มุมเมือง ดังนี้


    อาพัทธาราม ปัจจุบันคือ วัดพระคง เป็นพุทธปราการอารักขาประจำทางฝ่ายทิศเหนือ
    อรัญญิกรัมมการาม ปัจจุบันเป็น วัดร้างดอนแก้ว ตั้งอยู่บริเวณโรงเรียนชุมชนบ้านเวียงยองเป็นพุทธปราการอารักขาประจำทางฝ่ายทิศตะวันออก
    มหาสัตตาราม ปัจจุบันคือ วัดสังฆาราม (ประตูลี้) เป็นพุทธปราการอารักขาประจำทางฝ่ายทิศใต้
    มหาวนาราม ปัจจุบันคือ วัดมหาวัน เป็นพุทธปราการอารักขาประจำทางฝ่ายทิศตะวันตก


    พระนางจามเทวีได้ทรงใช้กุศโลบายที่หลากหลายรูปแบบในการต่อสู้และชักจูงพวกละว้าให้หันมานับถือศาสนาพุทธโดยเฉพาะอย่างยิ่งการต่อสู้กับหัวหน้าเผ่าละว้า ขุนหลวงวิลังคะ ด้วยอิทธิฤทธิ์ของช้างผู้ก่ำงาเขียว ได้ขับไล่ข้าศึกละว้าหนีกระจัดกระจายไปอยู่ตามป่าเขา นอกจากนี้ทรงใช้กุศโลบายในการผสมกลมกลืนชาติพันธุ์กับท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสม โดยการให้พระราชโอรสทั้งสองพระองค์อภิเษกสมรสกับธิดาสองคนของพญามิลักขะและได้สู่ขอธิดาสองคนของนายคะวะยะ ให้กับพระราชโอรสด้วย ถือได้ว่าทำให้ชนชาวละโว้และชนพื้นเมืองอยู่กันอย่างร่มเย็นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและสามารถเผยแพร่อุดมการณ์ทางศาสนาเข้าสู่ชนพื่นเมืองได้อย่างรวดเร็ว และได้ใช้กุศโลบายทางสันติธรรมและเมตตาธรรมเข้าต่อสู้จนชนะที่สุดโดยมีบางส่วนได้เข้ามา สวามิภักดิ์หันมาเลื่อมใสศรัทธาในพระบวรพุทธศาสนาทำให้มีการผสมกลมกลืนทางชาติพันธุ์ สังคมเกิดความสงบสุขและพุทธศาสนาเจริญอย่างมั่นคงในอาณาจักรหริภุญชัยตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา


    [​IMG]


    ในตำนานเมืองเหนือเล่าว่า ก่อนสมัย ๑๒๐๐ ปี มีกษัตริย์องค์หนึ่งครองเมืองลำพูน มีนิสัยโลเล มิอยู่ใน ทศพิธราชธรรม เสวยแต่น้ำจันทร์มัวเมาด้วยอิสสตรี ไม่มีศีลธรรม ประชาชนถูกกดขี่ข่มเหง เสนาข้าราชการบริพาสล้วนแต่ประจบสอพลอ เทพยดารักษาเมืองก็พิโรธ ก็เกิดโรคภัยพลเมืองล้มตายและแล้วพระพิรุณก็กระหน่ำ จึงมีอุทกภัยเกิดขึ้น น้ำนองท่วมท้น มนุษย์และสัตว์หนีมิทันล้มตายไปกับแม่น้ำคงคา ครั้งเมื่อน้ำลดลงแล้วเมืองหริภุญชัยก็เป็นเมืองร้างไปเสียแล้ว สาเหตุที่ทำให้เมืองลำพูนร้าง น้ำท่วมตาย เพราะเจ้าเมืององค์นี้ได้มีแม่หม้ายไปร้องทุกข์กล่าวหาว่าลูกได้ตีแม่จึงนำความไปฟ้องเจ้าเมืองเพื่อให้ตัดสินคดีที่ลูกตีแม่ครั้งนี้ เจ้าเมืองฟังแล้วกลับตรัสตอบว่า เด็งดัง เพราะลูก “เพราะฉะนั้นการที่ลูกตีแม่จึงไม่มีความผิดใดๆ” ทำให้แม่หม้ายคนนั้นเสียอกเสียใจอย่างมาก จึงนั่งลงกราบแม่ธรณี อธิษฐานสาปแช่งเจ้าเมืองให้มีอันเป็นไป ในทันใดนั้นดินฟ้าอากาศก็เกิดวิปริตเกิดน้ำท่วมบ้านเมืองอย่างฉับพลัน ราษฎรจมน้ำตายเจ้าเมืองก็ตายตามไปด้วย คงเหลือแต่คนมีบุญมีศีลธรรม คนใจบาปหยาบช้าถูกน้ำพลัดจมน้ำตายหมด บ้านเมืองก็ว่างเปล่าไม่มีผู้นำมาเป็นเวลานานปี ต่อมาพระฤๅษีรำพึงแล้วก็คิดว่าเราจะปล่อยประละเลยไม่แก้ไขเห็นทีชาวเมืองลำพูนทั้งมวลจะระส่ำระส่าย จึงได้เชิญฤๅษีผู้น้องทั้งสาม อาทิเช่น พระฤๅษีสุกกทันต ผู้อยู่นครละโว้ และเชิญฤๅษีจากทิศต่างๆ รวมทั้งสิ้น ๑๐๐ ตน โดยท่านสุเทพฤๅษีเป็นประธาน ช่วยกันสร้างนครขึ้นใหม่เริ่มแต่เวลา ๙.๐๐ นาฬิกาของวันอาทิตย์ ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๓ ปีขาล พุทธศักราช ๑๑๙๘ มวลประชาราษฎร์ที่หนีอุทกภัยก็ให้มาร่วมกันสร้างเมืองใหม่ จนเป็นที่เรียบร้อยแล้วเมื่อปีพุทธศักราช ๑๒๐๓ พระฤๅษีก็ให้นามเมืองใหม่นี้ว่า “นครหริภุญชัย” ในบรรดาพระฤๅษีก็ปรึกษากันว่าจะหาใครผู้ใดมาเป็นเจ้าเมืองเพื่อปกครองประชาราษฏร์ให้อยู่ดีมีสุขต่อไป ในที่สุดท่านฤๅษีสุเทพก็นึกถึงบุตรีบุญธรรม“อาหญิงวี” ของพ่อ ซึ่งท่านได้ทราบแล้วว่าได้ทรงเป็นราชินีแห่งละโว้ จึงได้ปรึกษากับท่านฤๅษีผู้น้องทั้งสามที่จะเอาพระนางจามเทวีมาครองเมืองลำพูน ทุกคนต่างเห็นดีเห็นชอบกันทั้งนั้น ครั้นในวันต่อมาท่านฤๅษีสุเทพจึงมอบสาส์นให้นายควายนำไปให้พระเจ้าอยู่หัวนครละโว้ ๑ ฉบับ และทูลพระราชินีเป็นส่วนพระองค์ ๑ ฉบับ เมื่อละโว้ได้รับข่าวสารจากพระฤๅษี ได้พิจารณากันอยู่เป็นเวลานานพอควรครั้นจะปฏิเสธอย่างไรก็ไม่ได้ มีแต่คิดๆๆ เนื่องจากเมืองลำพูนเดือดร้อนแสนสาหัส ราษฎรขาดผู้นำพระนางก็มานึกถึงพระคุณของพระฤๅษีผู้เป็นบิดาเลี้ยงมาก่อน ทางหมู่ไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ทั้งปวงแห่งนครละโว้ได้รับทราบเรื่องราวก็พากันมาฟังข้อตกลงกันล้นหลามอยู่ภายนอกพระราชวัง ต่างก็มีความอาลัยรักพระนางอย่างยิ่งที่จะต้องอำลาจากกรุงละโว้ไปครองเมืองหริภุญชัยตามคำขอของพระฤๅษี ในที่สุดทางกรุงละโว้ก็ตกลงให้พระนางจามเทวีขึ้นมาครองเมืองหริภุญชัย ก่อนจะออกเดินทางพระนางจามเทีได้เอานักปราชญ์บัณฑิตและพระสงฆ์เป็นจำนวนอย่างละ ๕๐๐ มีวัตถุที่สำคัญที่นำมาครั้งนั้นก็คือ พระแก้วขาว ๑ องค์ เวลานี้ประจำอยู่ที่วัดเชียงมั่น จังหวัดเชียงใหม่ สำหรับพระรอดหลวงก็มีประจำอยู่ที่วัดมหาวัน จังหวัดลำพูน ฝีมือทำได้สวยงามมาก พระนางจามเทวีเดินทางจากกรุงละโว้ถึงเมืองหริภุญชัยเป็นเวลานาน ๗ เดือน เวลานั้นพระนางมีครรภ์ได้ ๓ เดือน เมื่อมาถึงวันเดือนปีพุทธศักราช ๑๒๐๖ พระนางจามเทวีก็ขึ้นครองราชย์ปกครองชาวเมืองหริภุญชัย ขณะที่ขึ้นครองราชย์ได้ ๗ วัน พระนางจามเทวีก็ประสูติพระโอรส ๒ องค์ ในวันเพ็ญเดือน ๓ เป็นฝาแฝด จึงให้นามว่า “มหันตยศ และ อนันตยศ” ต่อมาพระนางจามเทวีได้ส่งพระราชโอรสองค์เล็กคือ อนันตยศ ไปสร้างเมืองนครลำปาง ส่วนพระมหันตยศ ผู้เป็นพี่ให้สืบราชสมบัติที่เมืองลำพูน พระนางจามเทวีมีช้างผู้ก่ำงาเขียวคู่บารมี เวลานี้อัฐิของช้างคู่บารมีของพระนามจามเทวีบรรจุไว้ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้โรงเรียนจักรคำคณาทรฯ พระนางจามเทวีครองราชสมบัติอยู่ ๕๒ ปี จึงสวรรคต รวมพระชนมายุได้ ๙๒ ปี อัฐิของพระนามจามเทวีบรรจุไว้ที่วัดกู่กุด ซึ่งเป็นวัดคู่บารมีของพระนางจามเทวีได้สร้างขึ้นเมื่อศตวรรษที่ ๑๓ เมืองหริภุญชัยมีพระนางจามเทวีเป็นกษัตริย์องค์แรกปกครอง สืบๆ กันมามาจนถึง ๔๙ พระองค์ มีพระยายีบาเป็นองค์สุดท้าย รวมอายุเมือง ๖๑๘ ปี พระยายีบาก็ได้เสียงเมืองให้แก่พระยาเม็งรายเมื่อจุลศักราช ๖๔๓ (พุทธศักราช ๑๘๒๔) ปีมะโรง เดือน ๖ ขึ้น ๔ ค่ำ สาเหตุที่ต้องเสียเมืองหริภุญชัยครั้งนี้เนื่องจากพระยายีบาไปหลงเชื่อขุนฟ้าเพราะความประจบสอพลอ จึงทำให้ชาวเมืองลำพูนต้องเดือนร้อนพากันจงเกลียดพระองค์อย่างมาก จึงเป็นเหตุให้พระยาเม็งรายเข้ายึดเมืองหริภุญชัยได้อย่างง่ายดาย เมื่อพระยายีบาหนีออกเมืองไปถึงดอยกลางป่าก็คิดนึกได้ที่เสียรู้ขุนฟ้าเป็นไส้ศึกให้พระยาเม็งรายก็เสียใจหลั่งน้ำตาร้องไห้ สถานที่น้ำตาตกนี้จึงมีชื่อว่า “ดอยพระยายีบาร้องไห้” มาจนทุกวันนี้

    หลวงมิลังคะหลงเสน่ห์งามจามเทวี
    ขอย้อนกล่าวถึงแม่หม้ายงามพระนางจามเทวีกับหลวงมิลังคะ ที่ทำให้หลวงมิลังคะหลงเสน่ห์ความงามพระนางจามเทวีจนไม่รู้จะกินจะนอน แม้จะหลับจะนอนจะตื่นขึ้นก็ยังฝันถึงเสมอ จึงได้แต่งทูตมาสู่ขอพระนางจามเทวีแต่พระนางจามเทวีไม่สนพระทัยจึงไม่ให้คำตอบใดๆ ทั้งสิ้น จึงเป็นเหตุให้หลวงมิลังคะเกิดโทสะยกไพร่พลมาประชิดเมือง เวลานั้นพระนางคิดว่าขืนสู้รบกับหลวงมิลังคะบ้านเมืองคงพังแน่ จึงต้องออกอุบายกับหลวงมิลังคะว่า ถ้าหลวงมิลังคะพุ่งเสน้า (ธนู) จากดอยสุเทพ เชียงใหม่ มาตกกลางเมืองลำพูนก็จะยอมแต่งงานตามสัญญาคำมั่น ทันใดนั้นหลวงมิลังคะก็ดีอกดีใจมีความหวังจะได้แต่งงานกับพระนางจามเทวี ๑๐๐ จะได้พระนางจามเทวีมาเป็นคู่ครอง จึงถือธนูขึ้นไปสู่บนดอยสุเทพ แล้วก็นึกถึงคาถาอาคมเสร็จเรียบร้อยก็ได้พุ่งเสน้าจากบนดอยสุเทพมาตกที่นอกเมืองทิศตะวันตกห่างจากกำแพงเมืองไม่กี่วา สถานที่เสน้าตกปัจจุบันนี้ชาวบ้านเรียกกันว่า “หนองเสน้า” เมื่อพระนางเห็นฤทธิ์เดชจึงหวั่นกลัวยิ่งนัก ถ้าหากให้มีการพุ่งเสน้าเป็นครั้งที่ ๒-๓ คงจะต้องมาตกกลางเมืองแน่ พระนางจามเทวีจึงออกกลอุบายแก้มนต์คาถาของหลวงมิลังคะ โดยเอาผ้าถุงชั้นใน (ซิ่นใน) เย็บเป็นหมวกจัดส่งไปให้หลวงมิลังคะสวมใส่ เมื่อหลวงมิลังคะได้รับของฝากก็ดีใจเป็นที่สุดแล้วก็สวมใส่พร้อมกับพุ่งเสน้าเป็นครั้งที่ ๒-๓ เสน้าที่พุ่งกลับตกห่างจากตัวเมืองหลายเท่า หลวงมิลังคะเสียรู้หมดกำลังใจที่จะพุ่งเสน้าอีกต่อไป ความหวังที่จะได้พระนางมาครองก็หมดสิ้นไป ส่วนหลวงมิลังคะก็หาความงามมิได้เลย ต่อมาทั้งสองตระกูลได้ก็ได้ผูกพันกันทางสายลูกฯ

    พระลบหรือพระนักรบ
    ขอกล่าวถึง “พระลบ” สักเล็กน้อยเพื่อเป็นข้อคิด “พระลบ” เป็นพระที่สร้างแปลกประหลาดกว่าพระพิมพ์อื่นๆ ในบรรดาพระพิมพ์ทั้งหลายของเมืองลำพูน พระนางจามเทวีเป็นกษัตริย์องค์แรกของเมืองลำพูนเป็นผู้จัดสร้าง ได้บรรจุไว้ที่กรุหนองเสน้านอกเมืองลำพูน ใกล้กับบริเวณที่หลวงมิลังคะพุ่งเสน้ามาตก สาเหตุก็มาจากต้องการพระนางจามเทวีเป็นพระมเหสี แต่มาพ่ายแพ้กลอุบายพระนางจามเทวี แม้แต่พระโอรสกษัตริย์พม่าก็มาหลงเสน่ห์งามจามเทวีได้ยกทัพมาตีกรุงละโว้ (ลพบุรี) ในที่สุดพระโอรสพม่าก็แพ้สงครามตายเพราะความรัก “พระลบ” บางคนก็เรียกว่า “พระมหาเสน่ห์นิยม” บางคนก็เรียกว่า “พระนักรบ” พระลบเวลานี้หาได้ยากมาก การสร้าง “พระลบ” ของพระนางจามเทวีก็เพื่อเป็นอนุสรณ์ฝากไว้กับชาวลำพูน “พระลบ” จึงแปลกกว่าพระพิมพ์อื่นๆ “พระลบ” ไม่มีจุดเด่นทางด้านความสวยงามขององค์พระ หมายถึงพระไม่งาม รายละเอียดแทบจะไม่มี ความลึกและคมชัดไม่มีเลย แต่มีหลายพิมพ์ เช่น พิมพ์ใหญ่ฐานสามชั้น พระลบพิมพ์เล็กฐานเดียว พระลบพิมพ์สามง่าม (เขาเรียกพระลบตัวขอม) พระลบพิมพ์ตุ๊กตา พระลบพิมพ์พระรอด ส่วนเนื้อพระลบแปลกสะดุดตามาก เนื้อดูหยาบ แต่แกร่งมากที่สุด สีของเนื้อพระลบแดงเข้มจัด สีคล้ายว่านแบบหนึ่งที่แดงจัด หรือคล้ายเนื้อหินศิลาแลง เนื้อมีส่วนผสมที่ไม่มีพระใดเหมือนพระลบ จึงมีชื่อเรียกกันว่า “พระนักรบ” หรือ “พระนักรัก” เพราะพระนาง จามเทวีเป็นทั้งนักรบและเป็นที่รักของคนทั่วไป ใครผู้ใดมีพระลบไว้ก็เท่ากับมีพระพิมพ์นางพญา พิษณุโลก


    สรุปตำนานพระนางจามเทวี หริภุญชัยผสมละโว้
    พระนางจามเทวี ประสูติที่บ้านหนองดู่ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน ได้ไปเป็นราชธิดาราชวงศ์ปฐมกษัตริย์ลพบุรี ตำนานเมืองลพบุรีกล่าวว่า พระยากาฬวรรณดิส เป็นต้นกษัตริย์เมืองลพบุรี เดิมเป็นกษัตริย์อยู่ที่จังหวัดตาก ได้ให้พราหมณ์ในสำนักไปสร้างเมืองลพบุรี เมื่อสร้างเสร็จแล้วจึงได้ย้ายไปครองราชย์ เมื่อปีพุทธศักราช ๑๐๑๒ หลังจากพระยากาฬวรรณดิสสวรรคตแล้ว รัชทายาทของพระองค์คือ พระยาพาลีราช ได้ครองเมืองลพบุรีแทน ทำให้อาณาจักรเมืองลพบุรีแผ่ไปไกลมาก เมื่อปีพุทธศักราช ๑๒๐๕ พระเจ้ากรุงละโว้จึงได้ให้พระนางจามเทวี ราชธิดาไปครองเมืองหริภุญชัยตามคำเชิญของชาวเมืองหริภุญชัยฯ


    และมีตำนานกล่าวไว้ว่า เมื่อประมาณปีพุทธศักราช ๑๒๐๓ พระฤๅษีวาสุเทพได้ร่วมกับพระสหายสร้างเมืองหริภุญชัย คล้ายรูปเปลือกหอย เมื่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระฤๅษีวาสุเทพจึงได้ให้นายคะวะยะนำสาส์นมาเชิญพระนางจามเทวีและพระเจ้ากรุงละโว้ เพื่อขอพระนางจามเทวีไปปกครองเมืองหริภุญชัย พระนางจามเทวีได้เสด็จจากเมืองละโว้ ปีพุทธศักราช ๑๒๐๕ เป็นเวลานาน ๗ เดือนมาถึงเมืองหริภุญชัย ปีพุทธศักราช ๑๒๐๖ พระฤๅษีและชาวเมืองหริภุญชัยก็ได้ทำพิธีอัญเชิญพระนางจามเทวีขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์พระองค์แรก ปรากฎว่ามีพระมหากษัตริย์สืบราชวงศ์มาถึงพระยายีบา จำนวน ๔๙ พระองค์ พระยายีบาเป็นองค์สุดท้าย รวมราชวงศ์พระนางจามเทวีครองเมืองลำพูนได้นาน ๖๑๘ ปี สิ้นสุดราชวงศ์ ปีพุทธศักราช ๑๘๒๔


    [​IMG]


    รายนามกษัตริย์ ครองเมืองลำพูนหริภุญชัย
    ตามที่ได้ค้นคว้าจากตำนานต่างๆ เรียงตามลำดับดังนี้
    ๑. พระนางจามเทวี เป็นปฐมกษัตริย์
    ๒. พระมหันตยศ พระโอรสองค์ที่ ๑ ครองเมืองลำพูน
    พระอนันตยศ พระโอรสองค์ที่ ๒ ครองเมืองลำปาง
    ๓. พระยากูมัญญาราช
    ๔. พระยาสุทันตะ
    ๕. พระยาสุวรรณมัญชุ
    ๖. พระยาสังสาระ
    ๗. พระยาปทุมราช
    ๘. พระยากุลเทวะ
    ๙. พระยาธรรมมิกราช
    ๑๐. พระยามิลักขะมหาราช
    ๑๑. พระยาโนการาช
    ๑๒. พระยาพาลราช
    ๑๓. พระยากุตตะราช
    ๑๔. พระยาเสละราช
    ๑๕. พระยาอุตตราช
    ๑๖. พระยาโยจะราช
    ๑๗. พระพรหมมทัตราช
    ๑๘. พระยามุกขะราช
    ๑๙. พระยาตระ
    ๒๐. พระยาโยวราช
    ๒๑. พระยากมะละราช
    ๒๒. พระยาจุเลระ
    ๒๓. พระยาพินไตย
    ๒๔. พระยาสุเทวราช
    ๒๕. พระยาเตโว
    ๒๖. พระยาไชยะละราช
    ๒๗. พระยาเสละ
    ๒๘. พระยาตาญะราช
    ๒๙. พระยาสักกีราช
    ๓๐. พระยานันทะสะ
    ๓๑. พระยาอินทวระ
    ๓๒. พระยารักนะคะราช
    ๓๓. พระยาอิทตยราช
    ๓๔. พระยาสัพพสิทธิ์
    ๓๕. พระยาเชษฐะราช
    ๓๖. พระยาจักกะยะราช
    ๓๗. พระยาถวิลยะราช
    ๓๘. พระยาการาช
    ๓๙. พระยาสิริปุญญาราช
    ๔๐. พระยาเลทะนะราช
    ๔๑. พระยาตัญญะราช
    ๔๒. พระยาไทยอำมาตะ
    ๔๓. พระยาอำมาตปะนะ
    ๔๔. พระยาทาวะมะ
    ๔๕. พระยากราช
    ๔๖. พระยาเยทะ
    ๔๗. พระยาอ้าย
    ๔๘. พระยาเสตะ
    ๔๙. พระยายีบา (เป็นองค์สุดท้ายราชวงศ์จามเทวี)


    บ้านเมืองสมัยพระนางจามเทวี ประชาราษฎร์อยู่เย็นเป็นสุข พระยาเม็งรายมหาราช ยึดครองเมืองลำพูน ปีพุทธศักราช ๑๘๒๔ ต่อมาได้ไปสร้างเมืองเชียงใหม่ เป็นเมืองหลวงของล้านนาไทย ปีพุทธศักราช ๑๘๓๙ มีเจ้าผู้ครองนครเมืองสืบต่อกันมาจำนวน ๒๐ พระองค์ พระเจ้าเมกุฏิ องค์ที่ ๒๐ เป็นองค์สุดท้าย ราชวงศ์เม็งรายครองลานนาไทยได้นาน ๒๖๒ ปี พระเจ้าบุเรงนองแห่งพม่ายึดลานนาไทยจากพระเจ้าเมกุฏิ ปีพุทธศักราช ๒๑๐๑ มาถึงปีพุทธศักราช ๒๑๒๙ พระนเรศวรมหาราชทรงรบกับพระเจ้าบุเรงนองแห่งพม่ามีชัยชนะจึงขับไล่พวกพม่าออกล้านนนาไทยฯ


    คาถาบูชาพระนางจามเทวี โดย พระเมธีปริยัติยาภรณ์
    ยา เทวี จามะเทวีนามิกา อะภิรูปา อะโหสิ ทัศสะนียา ปาสาทิกา พุทธสาสะเน จะ อะภิปะสันนา สาอะตีเต เมตตายะ เจวะ ธัมเมนะ จะ หะริภุญชะยะธานิกา รัชชัง กาเรสิ หะริภุญชะยะนะคะระ วาสีนังปิ มะหันตัง หิตะสุขัง อุปปาเทสิ อะหัง ปะสันเทนะ เจตะสาตัง วันทามิ สิระสา สัพพะทาฯ

    พระเทวีองค์ใด พระนามว่า จามเทวี มีพระรูปเลอโฉม ทรงเสื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก ในอดีตกาล พระนางได้ปกครองนคร หริภุญไชยด้วยพระเมตตาและเป็นธรรม อำนวยประโยชน์สุขแก่ชาวหริภุญไชย อย่างยิ่ง ข้าพเจ้ามีใจเสื่อมใสศรัทธา ขอน้อมเกล้าสักการะเทวีองค์นั้นฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กันยายน 2013
  6. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    หลังจากกราบสักการะพระราชานุสาวรีย์พระนางจามเทวี เสร็จแล้ว สร้อยฟ้ามาลาก็พาคณะเดินทางไปยัง วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากพระราชานุสาวรีย์แต่เนื่องจากไม่รู้จักทางซึ่งก็ต้องพึ่งพา GPS มาตลอดที่เดินทางมา มาคราวนี้ GPS พาหลงทางวนรอบเมืองอยู่เกือบ ๒ รอบ ซึ่งก็ขับรถผ่านวัดไปแล้วเมื่อตะกี้นี้เอง สงสัยขับเร็วไปหน่อย เครื่องเลยคำนวณเส้นทางไม่ทัน ในที่สุดก็มาถึงวัดจนได้

    วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร



    a.jpg

    ชื่อของวัดพระธาตุหริภุญชัยมาจากชื่อของเมืองหริภุญชัย ตามที่พระพุทธองค์ได้ทรงพยากรณ์ไว้เมื่อครั้งเสด็จมาบิณฑบาตในสมัยพระพุทธกาลและได้แวะรับและฉันลูกสมอ ที่ชาวลั๊วะนำมาถวาย โดยได้ทรงพยากรณ์ไว้ตอนนั้นว่า สถานที่แห่งจะมีผู้มาสร้างเมืองและตั้งชื่อว่า “หริภุญชัยนคร” และในกาลต่อมาก็มี ฤาษี ๒ องค์ ชื่อว่า วาสุเทพ และ สุกกทันตะ ได้ร่วมกันสร้างเมือง ณ สถานที่แห่งนี้ และให้ชื่อเมืองว่า หริภุญชัยนคร ในปี พ.ศ. ๑๒๐๔ สมจริงตามคำพยากรณ์ของพระพุทธองค์ทุกประการ

    หริภุญชัยนคร แปลว่าเมืองที่พระพุทธเจ้าเคยเสวยลูกสมอ (หริ แปลว่า สมอ, ภุญชัย แปลว่า เสวย, นคร แปลว่า เมือง)

    กาลเวลาล่วงมาจนถึงปีจุลศักราช ๒๓๘ พระพุทธศาสนาล่วงไปได้ ๑,๔๒๐ ปี ณ อาณาบริเวณที่เป็นวัดพระธาตุหริภุญชัยฯ ในปัจจุบันนี้ เมื่อครั้งนั้น เป็นเขตพระราชฐานแห่งพระเจ้าอาทิตยราช กษัตริย์ผู้ครองเมืองหริภุญชัยองค์ที่ ๓๐ ในสมัยนั้น พระองค์โปรดให้สร้างปราสาทราชมณเฑียรเป็นที่ประทับ ครั้นเสร็จแล้วพระองค์ก็เข้าประทับอยู่ภายในปราสาทราชมณเฑียรแห่งนั้น วันหนึ่งพระองค์จะเสด็จไปสู่วสัญชนฐาน(ห้องน้ำ) ปรากฏมีกาตัวหนึ่งได้บินโฉบลงมาเป็นทำนองกันไม่ให้พระองค์เข้าไปถึงฐานนั้นได้ ด้วยความกริ้วพระองค์จึงต้องย้ายไปใช้ฐานอื่น และทรงมีกระแสรับสั่งให้จับกาตัวการนั้นมาฆ่าเสีย แต่เทวดาได้ดลใจให้อำมาตย์ ผู้หนึ่งทัดทานไว้เพราะสงสัยในพฤติการณ์ของกานั่นเอง คืนนั้นยามใกล้รุ่ง เทวดาผู้รักษาพระเกสธาตุได้สำแดงฤทธิ์มาในพระสุบินถวายคำแนะนำให้พระองค์นำทารกมาอยู่กับกา ๗ วัน และอยู่กับคน ๗ วัน เป็นเวลา ๗ ปี เมื่อถึงเวลานั้นเด็กก็จะสามารถแปลภาษากาให้คนได้รับทราบเหตุการณ์อันเป็นปริศนานั้นได้โดยชัดแจ้ง

    พระเจ้าอาทิตยราชจึงทรงทราบเรื่องราวเกี่ยวกับพระเกสธาตุโดยละเอียด พระเจ้าอาทิตยราชจึงโปรดให้เชิญ พระยากาเผือกมาสู่ปราสาทแห่งพระองค์ โดยพระองค์โปรดให้จัดสถานที่สำหรับต้อนรับพระยากาเผือกอย่างสมฐานะพระยาแห่งกาทั้งปวง พระยากาเผือกจึงเล่าความเป็นมาถวายทุกประการ พระเจ้าอาทิตยราชทรงมีพระราชหฤทัยอภิรมย์ยินดีเป็นอย่างยิ่ง จึงตรัสสั่งให้รื้อ ราชมณเฑียรทั้งปวงออกไปจากสถานที่แห่งนั้นจนหมดสิ้น แล้วโปรดให้ปรับพื้นที่อันเป็นมงคลนั้นให้เรียบงามตา พระองค์โปรดให้พระสงฆ์สวดพระปริตตมงคลเพื่ออาราธนาพระบรมธาตุให้ออกมาปรากฏ พระธาตุเจ้าจึงสำแดงฤทธาภินิหารโผล่ขึ้นมาพ้นแผ่นดิน ทั้งโกศแก้วลอยขึ้นไปในอากาศ สูงเท่าต้นตาล พระบรมธาตุได้เปล่งฉัพพัณรังสีเจิดจ้าไปทั่วนครหริภุญชัยเป็นเวลา ๗ เวลา ๗ คืน แล้วจึงลอยลงมาประดิษฐานบนแผ่นดินดังเดิม พระเจ้าอาทิตยราชโปรดให้ขุดเอาโกศบรรจุพระธาตุขึ้นมา แต่ทว่ายิ่งขุดโกศนั้นก็ยิ่งจมลงไป พระองค์จึงต้องบูชาอาราธนาพระธาตุจึงได้ยอมลอยขึ้นมาสูงจากพื้นดินถึง ๓ ศอก พระองค์จึงให้สั่งรื้อถอนปราสาทราชมณเฑียรทั้งหมดออกไปตั้งราชสำนัก ณ ที่อื่น


    ส่วนพระบรมธาตุนั้น แต่เดิมเก็บรักษาไว้ในกระบอกไม้รวกและใส่ไว้ในโกศแก้วอีกชั้นหนึ่ง ต่อมากษัตริย์ผู้ครองนครลำพูนทุกพระองค์ก็ได้บูรณะและพัฒนาขึ้นตามลำดับ โดยเปลี่ยนจากโกศแก้วเป็นโกศทองและเปลี่ยนเป็นมณฑป ในที่สุดเป็นเจดีย์และมีการขยายขนาดของเจดีย์และมีการขยายขนาดเจดีย์ให้ใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งสูงถึง ๒๕ วาครึ่ง กว้าง ๑๒ วาครึ่ง ดังปรากฏให้เห็นอยู่ทุกวันนี้และเรียกชื่อว่า “วัดพระธาตุหริภุญชัย”

    พระบรมธาตุหริภุญชัย จึงได้ถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. ๑๔๔๐ โดยพระเจ้าอาทิตยราชโปรดให้สร้างโกศทองคำหนัก ๓,๐๐๐ คำ สูง ๓ ศอกประดับประดาไปด้วยแก้วทั้ง ๗ ประการครอบโกศ พระธาตุของพระพุทธเจ้านั้น แล้วโปรดให้สร้างมณฑปปราสาทสำหรับประดิษฐานพระบรมธาตุเจ้าดังข้อความที่กล่าวไว้ในตำนาน มูลศาสนา ดังนี้

    .. พระยาอาทิตตราชก็ให้เอาหินมาเพื่อจักก่อให้เป็นเจดีย์ ครั้นได้หินมาบริบูรณ์แล้วจึงให้หานักปราชญ์มาพิจารณาดูวันยาม ฉายาฤกษ์อันเป็นมงคล ครั้นได้ฤกษ์แล้วพระยาก็แบกหินอันเป็นมงคลนั้นมาก่อในท่ามกลาง เพื่อจักให้ก่อก่อนสำหรับเป็นที่รอง โกศธาตุพระพุทธเจ้า ทั้งหลายนั้นแลครั้นพระยาหยิบหินก้อนนั้นยอขึ้น ก็ให้ประโคมดุริยดนตรีเป็นมงคลเสียงอึงมี่นัก เป็นดังเมฆอันพัดกันในท้องฟ้าฉะนั้น ก็เป็นอันดังกึกก้องทั่วเมืองหริภุญไชยทั้งมวลนั้น พระยาก็ให้ก่อในที่หนึ่งแล้วก็ให้ก่อเป็น ๔ เสาดังปราสาทสูงได้ ๑๒ ศอก ให้เป็นประตู โค้งทั้ง ๔ ด้าน อยู่ภายนอกโกศธาตุเจดีย์นั้นแล ในเมื่อธาตุเจดีย์เสร็จพร้อมทุกอันแล้ว พระยาก็ให้ฉลองเจดีย์มีเครื่องพร้อม ทุกอัน กระทำบูชาอยู่ถ้วย ๗ วัน ๗ คืน ..

    ในปี พ.ศ.๑๖๕๑ สมัยพระเจ้าอาทิตยราชองค์ที่ ๓๓ จึงได้สร้างวัดพระธาตุหริภุญชัยขึ้นเป็นศูนย์สถานอันยิ่งใหญ่แห่งลานนาไทยอีกครั้งหนึ่ง

    ในสมัยของพระยาสรรพสิทธิ์ พระองค์โปรดให้สร้างมณฑปองค์หนึ่งสูงได้ ๒๔ ศอก ครอบมณฑปองค์เดิมที่พระยาอาทิตยราชสร้างไว้

    ต่อมาเมื่อพระยามังรายมาครองเมืองลำพูน พระองค์โปรดให้ก่อเจดีย์ครอบมณฑปที่พระยาสรรพสิทธิ์สร้าง เจดีย์องค์นี้เป็น เจดีย์ทรงกลมมีความสูงถึง ๗๐ ศอกตลอดทั้งองค์เจดีย์ได้มีการหุ้มด้วยแผ่นทอง

    เมื่อพระยากือนาขึ้นปกครองเมืองเชียงใหม่พระองค์ได้ปฏิบัติตามราชประเพณีที่จะต้องทำนุบำรุงพระบรมธาตุเช่นที่พระ บูรพกษัตริย์ทุกพระองค์ทรงปฏิบัติสืบต่อกันมา พระองค์ทรงตั้งสัตยอธิษฐานปล่อยช้างพลายมงคลเชือกหนึ่งชื่อ “ผู้ไชยหนองแขม” ให้ออกไปหาดินแดนถวายพระธาตุ โดยกำหนดเอาตามเส้นทางที่ช้างเชือกนี้ออกหากินได้ดินแดนถวายแก่องค์พระธาตุมากมายดังนี้ “...ช้างเชือกนั้นก็กระหวัดแปรไปทิศใต้ฟากน้ำแม่ระมิงค์ด้านตะวันตกไปถึงสบล้องงัวเฒ่า เกี้ยวไปข้ามสบแม่ทาน้อยแผวแสน ข้าวน้อย (ฉางข้าวน้อย) ฟากน้ำแม่ทาฝายตะวันตกถึงหนองสร้อยและสบห้วยปลายปืน แล้วไปกิ่วปลีดอยละคะแล้วถึงบ้านยางเพียง ไปดอยถ้าโหยด ดอยเก็ดสอง ขุนแม ขุนกอง ลงไปถึงแม่ขุนยอด ไปม่อนมหากัจจายน์ฝายเวียงทะมอฝายตะวันตก เกี้ยวขึ้นมาทาง แปหลวงมาผีปันน้ำ ถึงกิ่วขามป้อมหินฝั่งถึงขุนแม่อี่เราะแล้วไปถึงขุนแม่ลาน ลงมาแม่ออนล่องแม่ออนมาถึงสบแม่ออน แล้วกินผ่าเวียงกุมกาม กลับมาถึงป่า จรดกับปล่อยตอนแรก”

    ในสมัยของพระเจ้าติโลกราช พระองค์โปรดให้ก่อพระมหาเจดีย์เจ้าองค์หนึ่งโดยพระองค์ ทรงเป็นองค์ประธานร่วมกับพระมหาธังกร การก่อสร้างเริ่มขึ้นในในปีดับเปล้า (ปีฉลู) เดือน ๘ (เหนือ) ออกค่ำ (แรมหนึ่งค่ำ) วันพุธ พระจันทร์เสวยฤกษ์ที่ ๒๒ ชื่อ อุตราสาฒ

    จนถึงปีรวายยี (ปีขาล) จุลศักราช ๘๐๘ พระพุทธศานาล่วงแล้วได้ ๑๙๙๐ ปี เดือนวิสาขะออก ๓ ค่ำ วันอังคาร ไทยยกสง้านับได้ ๖ เดือน จึงสำเร็จบริบูรณ์ พระเจดีย์องค์นี้ตีนฐานมนกว้าง ๑๒ วาครึ่ง สูงแต่ใจกลางขึ้นไป ๓๒ วา มีฉัตร ๗ ใบเมื่อเสร็จแล้วก็โปรดให้มีการสวด ปริตตมงคลและ พุทธาภิเษกฉลองอบรมพระมหาเจดีย์องค์นี้ และจัดให้มีการมหรสพฉลอง ๗ วัน ๗ คืน ในปี ๒๔๗๒

    เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครคนที่ ๑๐ ได้อารธนา ครูบาธรรมชัย วัดประตูป่า มาทำการรื้อทองจังโกที่หุ้มองค์พระธาตุมาแต่เดิมออก และทำการบูรณะใหม่โดยการ หุ้มแผ่นทองเหลือง องค์พระธาตุตลอดทั้งองค์ แล้วเสร็จสมบูรณ์ในปี ๒๕๐๐ ในปี ๒๔๘๑ ได้มีการว่าจ้างช่างทองมาทำการหลอมไล่เอาทองคำแยกออกจากแผ่นทองจังโก เพื่อนำออกขายนำเงินมาเก็บเป็น สมบัติของพระธาตุ เงินส่วนหนึ่งนั้นได้มีการนำไปซื้อที่ดินบริเวณห้องแถวตลาดสด เก่ากลางเมืองลำพูน เพื่อใช้สำหรับเก็บผล ประโยชน์ สำหรับมาบำรุงพระธาตุ


    ยุครัตนโกสินทร์
    ในช่วงก่อนหน้านั้น วัดกลายเป็นวัดร้างไปชั่วระยะหนึ่งเนื่องจากกษัตริย์ในยุคนั้น ๆ มัวยุ่งอยู่กับการทำศึกกับพม่า และล้านนาไทยก็เคยตกอยู่ภายใต้อำนาจของพวกพม่าและมอญ ร่วม ๒๐๐ กว่าปี จวบจนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๓๑๗ พระเจ้ากาวิละได้ยึดอาณาจักรล้านนาไทยกลับคืนมาจากพม่า และในปี พ.ศ. ๒๓๔๘ พระเจ้ากาวิละได้ทรงสถาปนา พระอนุชาของพระองค์ทั้ง ๒ คือ คำฟั่นและบุญมาขึ้นเป็นพระยาคำฟั่น ครองเมืองลำพูนเป็นองค์แรก ส่วนองค์เล็กเป็นเจ้าบุญมาทำหน้าที่เป็นพระอุปราชและเจ้าทั้งสองได้ช่วยกันบูรณะและพัฒนาวัดพระธาตุหริภุญชัยให้เจริญและมั่นคง


    องค์พระบรมธาตุหริภุญชัยมีรั้วทองเหลืองล้อมรอบ ๒ ชั้นทั้งสี่ด้าน รั้วดั้งเดิมนั้น พระเมืองแก้วโปรดให้นำมาจากเมืองเชียงแสน ต่อมาในปี พ.ศ.๒๓๒๙ พระเจ้ากาวิละได้มา บูรณะใหม่พร้อมกับให้ สร้างฉัตรหลวงตั้งไว้ที่มุมทั้งสี่ของรั้วที่ล้อมองค์พระธาตุ

    ในปี พ.ศ.๒๓๓๔ พระเจ้ากาวิละได้พร้อมใจกับน้องของท่านทุกคนได้ร่วมกันสร้าง หอยอประจำทิศทั้ง ๔ ด้าน และได้หล่อพระพุทธรูปองค์หนึ่งเพื่อประดิษฐานไว้ในวิหาร ด้านเหนือพระธาตุเป็นพระ พุทธรูปปางอุ้มบาตรให้ชื่อว่า พระละโว้


    ในปี ๒๔๗๒ เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครคนที่ ๑๐ ได้อารธนา ครูบาธรรมชัย วัดประตูป่า มาทำการรื้อทองจังโกที่หุ้มองค์พระธาตุมาแต่เดิมออก และทำการบูรณะใหม่โดยการ หุ้มแผ่นทองเหลือง องค์พระธาตุตลอดทั้งองค์ แล้วเสร็จสมบูรณ์ในปี ๒๕๐๐
    ในปี ๒๔๘๑ ได้มีการว่าจ้างช่างทองมาทำการหลอมไล่เอาทองคำแยกออกจากแผ่นทองจังโก เพื่อนำออกขายนำเงินมาเก็บเป็น สมบัติของพระธาตุ เงินส่วนหนึ่งนั้นได้มีการนำไปซื้อที่ดินบริเวณห้องแถวตลาดสด เก่ากลางเมืองลำพูน เพื่อใช้สำหรับเก็บผล ประโยชน์ สำหรับมาบำรุงพระธาตุ
    ในปี พ.ศ. ๒๔๕๘ เกิดพายุกระหน่ำอย่างแรงทำให้วิหารหลวงหลังนี้พังทลายลงมาทั้งหลัง คงเหลือเพียงพระพุทธรูปที่ประดิษฐานบนแท่นแก้วองค์ที่อยู่ด้านเหนือเพียงองค์เดียวเท่านั้นที่คงสภาพที่สมบูรณ์ จึงมีการก่อสร้างพระวิหารหลังใหม่ขึ้นในปี ๒๔๖๐ แล้วเสร็จในปี ๒๔๗๒



    ท่านครูบาศรีวิชัยได้สร้างศาสนสมบัติไว้กับพุทธศาสนาในที่ต่าง ๆ ทั่วแคว้นแดนลานนาไทย จนนับไม่ถ้วนเฉพาะที่วัดพระธาตุหริภุญชัยแห่งนี้ท่านได้สร้างวิหารไว้ถึง ๕ หลังด้วยกัน คือ
    ๑.วิหารอัฎฐารส
    ๒.วิหารพระพุทธ
    ๓.วิหารพระเจ้าละโว้
    ๔.วิหารพระเจ้าทันใจ
    ๕.วิหารพระมหากัจจายน์




    a.jpg


    พระบรมธาตุหริภุญชัย
    เป็นปูชนียสถานอันสำคัญเปรียบเสมือนหัวใจหลักของวัดพระธาตุหริภุญชัยฯ และเป็นจุดศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา ในนครหริภุญชัยโดยพระเจ้าอาทิตยราช เป็นผู้สถาปนาขึ้น ในราวพุทธศตวรรษที่๑๗เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ อันประกอบด้วย
    ๑.ธาตุกระหม่อม
    ๒.ธาตุกระดูกอก
    ๓.ธาตุกระดูกนิ้วมือ
    ๔.ธาตุย่อยอีกเต็มบาตรหนึ่ง
    จากหนังสือตำนานพระธาตุหริภุญชัย กล่าวว่า พระบรมธาตุหริภุญชัย มีลักษณะสถาปัตยกรรมแต่ดั้งเดิมกล่าวไว้ว่า เป็นสถูปสี่เหลี่ยมทรงปราสาท ที่มีซุ้มทวารเข้า-ออกทะลุกันได้ทั้ง ๔ ด้าน มีปราสาทสี่เหลี่ยมอยู่ตรงมุมละองค์ แต่ละองค์ก่อด้วยศิลาแลง ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่มีมากอยู่ในเมืองนี้ ภายในเป็นแท่น สำหรับประดิษฐาน พระโกศที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า


    ในสมัยของพญาสรรพสิทธิ์ กษัตริย์แห่งราชวงศ์จามเทวีวงศ์ทรงโปรดให้ปฎิสังขรณ์เจดีย์เดิมที่ พญาอาทิตยราชทรงสร้างไว้ และได้ขุดร่องทวารประตูเข้า-ออกทั้งสี่เพื่อความปลอดภัย

    รูปทรงสันฐานขององค์พระบรมธาตุยังคงเป็นลักษณะเดิม คือเป็นทรงปราสาทสี่เหลี่ยมที่กว้างใหญ่และสูง เมื่อพญามังราย สามารถตีเมืองหริภุญชัยได้ โปรดให้ซ่อมแซมดัดแปลงองค์พระธาตุขึ้นใหม่ การปฎิสังขรณ์ในครั้งนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงทรวดทรง ขององค์พระบรมธาตุฯจากทรงปราสาทกลายเป็นทรงเจดีย์ฐานกลมแบบทรงลังกา

    ต่อมา พ.ศ. ๑๙๕๑ ในรัชสมัยของพระเจ้าแสนเมืองมาโปรดให้มีการปิดทององค์พระธาตุเรื่อยมาจนถึงพ.ศ.๑๙๙๐ พระเจ้าติโลกราช กษัตริย์แห่งเมืองเชียงใหม่ ทรงร่วมกับ พระมหาเมธังกรเถระ ก่อพระมหาเจดีย์ให้สูงขึ้นเป็น ๙๒ ศอก กว้างยาวขึ้น ๕๒ ศอก และเป็นรูปร่างดั่งที่เห็นกันในปัจจุบัน

    บูชาพระธาตุหริภุญชัย (สำหรับผู้ที่เกิดปีระกา)
    ตั้งนะโม ๓ จบ แล้วกล่าวคำว่า
    สุวัณณะเจติยัง หะริภุญชะยัฐฐัง วะระโมลีธารัง อุรัฎฐิเสฎฐัง สะหะอังคุลิฎฐิง กัจจายะเนนา นิตะปัตตัปปะการัง สีเสนะ มัยหัง ปะระมามิธาตุง”



    a.jpg

    เขาพระสุเมรุจำลอง หรือ เขาสิเนรุจำลองขนาดย่อม
    ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ขององค์พระบรมธาตุหริภุญชัย และอยู่ด้านหน้า หอไตร มีลักษณะคล้ายเจดีย์ขนาดเล็ก ทรงกลม ก่อด้วยอิฐถือปูน ประกอบด้วยส่วนต่างๆดังนี้
    ๑.สัตตบริภัณฑ์ คือ ภูเขาที่ล้อมรอบพระสุเมรุทั้งเจ็ดชั้น โดยส่วนยอดด้านบนหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ สร้างลดหลั่นกัน ขึ้นไป ๗ ชั้น มีการประดับสำริดซึ่งหล่อเป็นชั้นๆ แล้วนำมาประกอบ เป็นทรงกลมภายหลังสัตตบริภัณฑ์นี้ ช่างได้ทำเป็นรูปป่าไม้ มีสัตว์ป่า มีต้นไม้ และเหล่าอสูร ที่อาศัยอยู่ที่เชิงเขา โดยจากตำนานเล่าว่า เหล่าอสูรได้อาศัยอยู่ในป่า เนื่องจากถูกพระอินทร์ขับไล่ ลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ลวดลายมีความละเอียดอ่อนมาก
    ๒.เกษียรสมุทร คือ ส่วนที่คั่นระหว่างเขาหรือสัตตบริภัณฑ์แต่ละชั้น
    ๓.ไพชนยนต์มหาปราสาท คือ ปราสาทที่อยู่ด้านบน ซึ่งเป็นที่สถิตของพระอินทร์ มีหน้าที่คอยดูแลความเป็นไปของโลก และคอยช่วยเหลือคนดีที่กำลังตกทุกข์ได้ยาก รูปทรงสถาปัตยกรรมรูป ๖ เหลี่ยมเล็กๆ แต่ละด้านมีซุ้มประตูโค้ง ส่วนยอดของปราสาท มีลักษณะเหมือนยอดมณฑปโบราณสถาน ภายในวิหารคต



    a.jpg

    หอไตร หรือ หอธรรม
    ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ ขององค์พระบรมธาตุหริภุญชัยจากศิลาจารึก ลพ.๑๕ (ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย จ.ลำพูน) เป็นจารึกอักษรไทยล้านนา จารึกขึ้นในราว พ.ศ.๒๐๔๓ ซึ่งอยู่ในช่วงสมัยการปกครองของ พระเมืองแก้ว
    จารึกหลักนี้ได้กล่าวถึงพระเมืองแก้วกับพระราชมารดาของพระองค์ ว่าได้ร่วมกันบำเพ็ญพระราชกุศลอันยิ่งใหญ่ โดยการสถาปนา หอไตรปิฎกหรือ หอพระธรรมมณเฑียร เป็นสถานที่เก็บรักษาคัมภีร์พระไตรปิฎก ครบทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ พร้อมทั้งอรรถกถาฎีกา และอนุฎีกา รวมทั้งสิ้นเป็น ๔๒๐ พระคัมภีร์ ซึ่งเป็นพระคัมภีร์ใบลานทั้งหมด
    ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของหอไตรหลังนี้มีลักษณะเช่นเดียวกับหอไตรของวัดพระสิงห์และวัดเชียงมั่น จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งถือกันว่าเป็นแบบที่นิยมสร้างกันทั่วไปในดินแดนล้านนาสำหรับหอไตร ของวัดพระธาตุหริภุญชัยหลังนี้ สร้างเป็นอาคาร ๒ ชั้น ชั้นล่างก่ออิฐถือปูน ชั้นบนเป็นอาคารเครื่องไม้ ตัวอาคารหอไตร ตั้งอยู่บนฐานขนาดใหญ่ ซึ่งมีบันไดขึ้นทางด้านหน้า สองข้างบันไดมีสิงโตหินประดับที่หัวเสา ตัวอาคารหอไตรชั้นล่างที่ก่อด้วยอิฐถือปูนมีประตูทางเข้า ทางเดียว ส่วนชั้นบนเป็นเครื่องไม้ทำเป็นบันไดนาคเล็กๆ ตั้งอยู่ด้านหน้าบนประตูทางเข้าชั้นล่างตัวอาคารมีการประดับด้วยไม้แกะสลักปิดทองประดับกระจกอย่างสวยงาม มีมุขทั้งด้านหน้าและ ด้านหลัง หลังคาลดชั้นประดับด้วยช่อฟ้าใบระกาหางหงส์หลังคามุงด้วยแผ่นดีบุกอย่างวิจิตรงดงาม
    การประกอบโครงสร้างของหอไตรเป็นเทคนิคการก่อสร้างแบบโบราณ คือจะยึดส่วนต่างๆของโครงสร้างด้วยหมุดไม้ แทนที่จะตอกด้วยตะปูเช่นในปัจจุบัน ส่วนพื้นของหอ ปูด้วยแผ่นไม้ที่มีขนาดหน้ากว้างประมาณ ๑ ฟุต หอไตรแห่งนี้นับว่ามีความสวยงาม มากที่สุดแห่งหนึ่งในภาคเหนือ เนื่องจากไม้ทุกชิ้นที่นำมาประกอบเป็นหอไตรนั้น แกะสลักด้วยลวดลายที่วิจิตรบรรจงยิ่งนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งลวดลายตรงที่หน้าบัน ที่ยังคงความสมบูรณ์ที่สุด



    a.jpg

    วิหารพระพุทธ
    ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ขององค์พระบรมธาตุหริภุญชัย ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่ง ปางมารวิชัยขนาดใหญ่ ลงรักปิดทองอย่างงดงาม เรียกว่า "พระพุทธ" จะเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมเฉพาะในวันสำคัญ เช่น ประเพณีตานสลากภัต เป็นต้น




    a.jpg
    ถ่ายรูปจากภายในวัด เลยไม่เห็นตัวสิงห์

    ซุ้มประตูสิงห์
    เป็นประตูทางเข้าวัด ทางฝั่งตะวันออก โดยผู้ที่เข้าสู่วัดจากถนนประตูท่าสิงห์จะพบกับประตูนี้ เป็นประตูแรก และนับได้ว่าเป็นสัญลักษณ์อีกสิ่งหนึ่งของวัดพระธาตุหริภุญชัยเนื่องจากเป็นรูปปั้นสิงโตคอยยืนอารักขาที่หน้าประตูวัด ตามศิลปวัฒนธรรมของ ชาวล้านนา ทั้งนี้ รูปปั้นสิงโตของวัดพระธาตุหริภุญชัย เป็นสิงห์สีแดง ขนาดใหญ่ซุ้มประตูนี้ สร้างขึ้นเมื่อ ครั้งที่พระเจ้าติโลกราชทรงทำการบูรณะวัดโดยโปรดให้ก่อกำแพง โดยรอบเขตพุทธาวาส เพื่อเป็นการป้องกันรักษาองค์พระธาตุอีกชั้นหนึ่งทั้งยังทรงให้ก่อสร้างซุ้มประตูโขงประดับด้วยลวดลายปูนปั้น อย่างงดงามทางประตูด้านทิศตะวันออก หน้าวิหารหลวงทางทิศเหนือและทางทิศใต้ และทิศตะวันตก แต่ปัจจุบันคงเหลือแต่ซุ้มประตูโขง ทางทิศตะวันออกเท่านั้น



    a.jpg

    วิหารหลวง
    ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก ขององค์พระบรมธาตุหริภุญชัยสร้างขึ้นในสมัยพระเมืองแก้ว กษัตริย์ผู้ครองนครเชียงใหม่ ในปีพ.ศ.๒๐๕๗ สถาปัตยกรรมเป็นทรงล้านนามีความงดงามมาก ต่อมามีการสร้างปรับปรุงขึ้นใหม่ในสมัย เจ้าดาราดิเรกรัตนไพโรจน์ เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์ที่ ๗ นับเป็นวิหารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาวิหารทั้งหมดในวัด และ มีความวิจิตรงดงามมาก
    เนื่องจากว่ามีลายรดน้ำประดับในส่วนที่เป็นไม้ทุกชิ้น วิหารดังกล่าวประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ ซึ่งมีกล่าวไว้ใน "นิราศหริภุญชัย" ซึ่งแต่งในราวพ.ศ.๒๐๖๐ สมัยพระเมืองแก้วใจความกล่าวไว้ดังนี้
    " นบพระไสยาสน์เยื้อน....ปฎิมา
    วงแวดฝูงขีณา..........ใฝ่เฝ้า
    พระพุทธเปลี่ยนอิริยา......กรูโณ
    เทียนคู่เคนพระเจ้า........จุ่งได้...ปัจจุบัน
    มณฑกพระเจ้าบอก.......เกลือคอย..กว่าเอย
    สูงใหญ่หย้องเองพอย......เพื่อนบ้าน
    เทียนทุงคู่คบสอย........วอยแว่น.. เวนเอย
    ผลเผื่อเร็วอย่าช้า.........ชาตินี้...เนอมุนี "


    ต่อมาในปีพ.ศ.๒๔๕๘ เกิดลมพายุขนาดใหญ่ ที่ชาวบ้านทั่วไปเรียกกันว่า "ลมหลวง"พัดจนเกิดความ เสียหาย วิหารหลวงพังทลายลงอย่างยับเยิน สร้างความเศร้าโศกเสียใจแก่ชาวเมืองลำพูนเป็นอย่างมาก คงเหลือเพียงพระพุทธรูปที่ประดิษฐานบนแท่นแก้วองค์ที่อยู่ด้านเหนือเพียงองค์เดียวเท่านั้น ที่มีสภาพสมบูรณ์ ท่านเจ้าอาวาสพร้อมด้วยศรัทธาประชาชนชาวเมืองลำพูนได้ช่วยกันก่อสร้างพระวิหารหลังใหม่ขึ้นในปีพ.ศ.๒๔๖๐ แล้วเสร็จในปี พ.ศ.๒๔๗๒ และเป็นวิหารหลังที่ เห็นในปัจจุบันนี้ ภายหลังจากท่านเจ้าอาวาสพร้อม ด้วยศรัทธาประชาชนชาวเมืองลำพูน ได้ช่วยกันก่อสร้างพระวิหาร หลังใหม่เสร็จในปี พ.ศ.๒๔๗๒ ภายในวิหารหลวงจึงได้มีการประดิษฐานพระแก้วขาวนามว่า"พระเสตังคมณีศรีเมืองหริภุญชัย" ประทับนั่งอยู่เหนือบุษบกที่แกะสลักลงรักปิดทองอย่างงดงาม



    a.jpg


    วิหารพระเจ้าละโว้
    ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของพระบรมธาตุหริภุญชัยตัววิหารสร้างขึ้นใหม่ภายใน เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปยืนขนาดใหญ่ เรียกว่า "พระเจ้าละโว้" ซึ่งพระพุทธรูปองค์นี้สร้างโดยพระเจ้ากาวิละ และเครือญาติ ในปีพ.ศ.๒๓๓๔ จะเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมเฉพาะในวันสำคัญนอกจากนี้ ถัดไปด้านหลังของวิหารพระเจ้าละโว้ ยังมีวิหารข้างเคียง ชื่อว่า "วิหารพระพันตน"ซึ่งภายในประดิษฐานพระพุทธรูปจำนวนมาก


    สุวรรณเจดีย์ หรือเจดีย์ปทุมวดี
    ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือขององค์พระบรมธาตุหริภุญชัยเป็น เจดีย์ที่มีลักษณะการก่อสร้างแบบเดียวกับเจดีย์สี่เหลี่ยมหรือ เจดีย์กู่กุดของวัดจามเทวีจังหวัดลำพูน องค์เจดีย์สร้างด้วยศิลาแลงและอิฐ เป็นเจดีย์ทรงปราสาทมีฐานสี่เหลี่ยมซ้อนขึ้นไป ๕ ชั้นแต่ละชั้นประดับด้วยซุ้มจระนำทั้ง ๔ ด้าน ด้านละ ๓ ซุ้ม ภายในซุ้มจะประดิษฐานพระพุทธรูปดินเผาประทับยืนประทับอยู่ ซึ่งมีร่องรอยของการลงรักปิดทองปัจจุบันเหลือให้เห็นเพียงไม่กี่องค์
    ส่วนบนสุดของเจดีย์เป็นกลีบบัวปูนปั้นหุ้มด้วยโลหะแผ่น ส่วนยอดปลายสุดทำเป็นกรวยแหลมเรียวยาวขึ้นไป สุวรรณเจดีย์องค์นี้มีพระพิมพ์ที่สำคัญ และมีชื่อเสียง ของเมืองลำพูนบรรจุอยู่ภายในด้วย รู้จักกันทั่วไป ว่า "พระเปิม"



    ที่จริงศาสนสถานต่างๆ ในบริเวณวัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร ยังมีอีกหลายแห่ง แต่สร้อยฟ้ามาลาไม่ได้ถ่ายรูปมาจึงขอเว้นการลงข้อมูลไว้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กรกฎาคม 2018
  7. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    เมื่อสักการะพระบรมธาตุและพระประธานในพระวิหารแล้ว พวกเราก็มุ่งหน้าสู่จังหวัดเชียงใหม่โดยเข้าทางอำเภอสารภี สองข้างทางของถนนมีแต่ต้นยางสูงตระหง่านอยู่ ถนนเส้นนี้รถจักรยานยนต์วิ่งกันให้ขวักไขว่จึงต้องขับขี่ด้วยความระมัดระวัง และเป็นถนน ๒ เลนแคบๆ ไม่สามารถทำความเร็วได้ สถานที่ต่อไปที่ตั้งไว้ใน GPS คือ น้ำพุร้อนสันกำแพง ซึ่งสร้อยฟ้ามาลาเคยมาเยือนแล้วเมื่อ ๓ ปีก่อน มาครั้งนี้เป็นที่น่าเสียดายที่ดอกไม้ในสวนยังไม่บาน บางแปลงเพิ่งจะปลูก ความงดงามจึงสู้เมื่อ ๓ ปีก่อนไม่ได้ แต่สถานที่มีการปรับปรุงขึ้นเยอะ ทำให้น่านั่งน่าพักผ่อน ก็ขับรถมานานขอหย่อนขาลงแช่น้ำแร่หน่อยเถอะ.......


    [​IMG]


    น้ำพุร้อนสันกำแพง
    เป็นสวนดอกไม้ร่มรื่น มีบ่อน้ำแร่ ห้องอาบน้ำและบ้านพัก ได้รับการปรับปรุงโดยความร่วมมือระหว่าง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และโครงการหมู่บ้านสหกรณ์สันกำแพงเพื่อให้เป็นสถานที่พักผ่อนแห่งใหม่ในเขตอำเภอสันกำแพง


    [​IMG]

    การเดินทางจากตัวเมืองไปยังบ่อน้ำพุร้อน ซึ่ง อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ ๓๔ กิโลเมตร สามารถไปได้ ๒ ทางด้วยกัน คือ เส้นทางเชียงใหม่-สันกำแพง- สถานีเพาะพันธุ์กล้าไม้สัก-น้ำพุร้อน (เส้นทางนี้จะผ่านถ้ำเมืองคอนซึ่งอยู่ห่างจากน้ำพุร้อน ๔ กิโลเมตร) หรือเส้นทางเชียงใหม่-สันกำแพง-หมู่บ้านออนหลวย-น้ำพุร้อน


    หากนักท่องเที่ยวประสงค์จะเดินทางไปโดยรถประจำทางก็สามารถทำได้ โดยขึ้นรถจากสถานีขนส่งช้างเผือกไปยังสันกำแพงและเช่าเหมารถสองแถวจากสันกำแพงไปน้ำพุร้อนราคาประมาณ ๒๐๐ บาทต่อคัน นอกจากนี้ยังมีรถบริการของน้ำพุร้อนซึ่งออกจาก ททท. เชียงใหม่ เวลา ๑๐.๐๐ น. และกลับจากน้ำพุร้อนเวลา ๑๓.๐๐ น. ทุกวัน ในราคา ๘๐ บาทต่อคน

    ที่น้ำพุร้อนแห่งนี้ยังมีที่พัก เต็นท์ แค้มป์ปิ้ง ห้องอาบน้ำแร่ไว้บริการนักท่องเที่ยว ซึ่งสามารถติดต่อจองล่วงหน้าได้ที่ธุรกิจน้ำพุร้อนสันกำแพง หมู่บ้านสหกรณ์ อำเภอสันกำแพงเชียงใหม่ ๕๐๑๓๐ หรือ โทร. ๐๑๕ ๑๐๐๔๑๘


    [​IMG]


    หลังจากได้ซื้อไข่ไก่ไปต้มในบ่อน้ำร้อนแล้ว ก็มาแช่ขาในน้ำแร่ร้อนๆ ทำให้หายเมื่อยเลย ขอบอกว่าน้ำแร่ร้อนมาก หย่อนขาลงไปได้ไม่นานต้องรีบชักขาขึ้นมาฝาเท้าแดงเลยแต่ก็ทำให้รู้สึกสบายๆ จากนั้นก็นั่งเปิบไข่ไก่ลวกน้ำแร่กัน



    [​IMG]


    [​IMG]
    มาหย่อนขาแช่น้ำแร่ร้อนๆ กัน



    [​IMG]
    ไปเดินชมสวนกันนะ


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กันยายน 2013
  8. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    เมื่อได้เวลาพอควรแล้ว พวกเราก็เดินทางเข้าที่พักโดยได้รับความเอื้อเฟื้อจากเพื่อนที่ทำงานของแมงปอแก้วซึ่งก็เป็นเพื่อนของสร้อยฟ้ามาลาด้วยเป็นคนเมืองเชียงใหม่มีบ้านอยู่ตำบลบ่อสร้าง อำเภอสันกำแพงให้พักนอนในคืนนี้


    เมื่อถึงบ้านแล้วก็จัดแจงขนสัมภาระลงจากรถ เข้าคิวอาบน้ำ วันนี้คุณแม่ของเพื่อนทำขนมจีนน้ำเงี้ยวให้ทาน ก็ในวันนี้ที่บ้านนี้ได้มีโอกาสต้อนรับถึง ๒ คณะด้วยกัน คือ คณะของสร้อยฟ้ามาลา กับคณะของเพื่อนๆ ที่ทำงานของแฟนของเพื่อนเจ้าของบ้าน ซึ่งก็พอจะรู้จักกันพอสมควร แผนการเที่ยวไปที่เดียวกันบ้าง ไปคนละที่บ้าง แต่โดยรวมแล้วไม่เจอกันนอกจากที่ ปาย


    ครั้นได้เวลาประมาณ ๑๙.๓๐ น. คณะของเราก็เดินทางออกจากบ้านไปหาอะไรทานที่ร้านอาหาร “บ้านไร่ยามเย็น” ได้พบกับพี่โมเย ซึ่งพี่โมเยก็ได้ร้องเพลงให้ฟังด้วยหล่ะ ไพเราะมากๆ


    [​IMG]


    อาหารมีทั้งอาหารพื้นเมืองและอาหารภาคกลาง ใครไม่ถนัดอาหารเมืองเหนือก็สั่งอาหารภาคกลางทานได้เหมือนกัน ซึ่งอาหารที่นี่รสชาติอร่อย บรรยากาศดี สลัวๆ ยามค่ำคืน ประกอบแสงไฟจากเทียนในตะเกียง แต่คนเยอะมากๆ ต้องจองคิวกันเหมือน เอ็ม.เค. เลย


    [​IMG]

    วันนี้นั่งโม้กับพี่โมเยจนถึงเวลาเกือบเที่ยงคืนได้มั้ง บังเอิญโต๊ะอาหารที่นั่งอยู่เป็นบริเวณเปิดโล่ง จึงทำให้น้ำค้างพร่างพราวบนศีรษะ ผสมกับอากาศเย็นๆ ดีที่กลับมาไม่เป็นหวัดเสียก่อน (ที่มาของชื่อตอน น้ำค้าง นครพิงค์)


    ขากลับตั้ง GPS กลับมายังบ้านเพื่อน GPS พาหลงทางอีกแล้ว ไปไหนเลยไม่รู้ สงสัยตั้งพิกัดของที่ตั้งบ้านผิด มืดก็มืดขนาดตอนกลางวันยังหลงแล้วตอนกลางคืนมืดๆ อย่างนี้ทำยังไงดีหล่ะ นึกขึ้นได้เลยตั้ง GPS ใหม่ให้ไปที่บ่อสร้างแทน บวกกับอ่านป้ายบอกทาง และช่วยกันมองสี่แยกต่างๆ ที่พอจะคุ้นตา จึงกลับถึงบ้านพักได้เมื่อเวลาเที่ยงคืนครึ่ง กว่าจะหลับได้ลงก็ตีหนึ่งล่วงแล้ว ต้องรีบนอนให้หลับเพราะพรุ่งนี้ต้องลุยกันต่อ เส้นทางคดโค้งโหดหฤหรรษารออยู่............. ปาย




    ....................


    สรุปสถานที่การเดินทางในวันแรก
    ๑. วัดพระธาตลำปางหลวง จังหวัดลำปาง
    ๒. พระราชานุสาวรีรย์ พระนางจามเทวี จำหวัดลำพูน
    ๓. วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร จังหวัดลำพูน
    ๔. น้ำพุร้อนสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
    ๕. ร้านอาหาร บ้านไร่ยามเย็น จังหวัดเชียงใหม่


    ข้อมูลอ้างอิง

    วัดพระธาตลำปางหลวง จังหวัดลำปาง
    หนัสือ พระราชชายาเจ้าดารารัศมี ผู้แต่ง หนานอินแปลง

    พระราชานุสาวรีรย์ พระนางจามเทวี จำหวัดลำพูน
    www.konmeungbua.com

    วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร จังหวัดลำพูน
    www.hariphunchaitemple.org
    สงวนลิขสิทธิ์โดย © วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร จ.ลำพูน All Right Reserved.
    สงวนลิขสิทธิ์ ห้ามมิให้ทำการคัดลอกหรือนำบทความ รูปภาพจากเวบไซต์ไปใช้ในเชิงพาณิชย์


    น้ำพุร้อนสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
    www.thai-tour.com



    ..............................


    สุดท้ายนี้อันกุศลที่ข้าพเจ้าได้กระทำในครั้งนี้ขออุทิศถวายแด่ คุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์ คุณบิดาคุณมารดา วงศาคณาญาติทั้งหลาย คุณครูบาอาจารย์ เจ้าฟ้า พระมหากษัตริย์เจ้านายทุกพระองค์ เทพยดาทั้งหลาย พระอินทร์ พระพรหม พระยม พระกาฬ ท่านท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ ท่านท้าวเวสสุวรรณ เจ้ากรุงพาลี ภูมิเจ้าที่ทั้งหลาย คุณพระพาย พระเพลิง พระโพสพ พระยายมราช เจ้ากรรมนายเวร และขอให้ผลบุญจงได้สำเร็จผลแด่เพื่อนๆ สมาชิกในเว็ปพลังจิต ทุกท่าน


    ภาพและเรียงร้อยถ้อยคำ
    โดย สร้อยฟ้ามาลา


    .......................



    [​IMG]



    ..............
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กันยายน 2013
  9. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    เรื่องที่ ๑๘

    Pai Mini Stories : Part 2
    อิง ลำน้ำปาย
    :z8



    วันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๒ วันนี้ยื่นใบลาพักร้อน ๑ วัน

    หกโมงกว่าแล้วยังไม่อยากตื่นเลย กว่าจะหลับได้ก็เลยตีหนึ่งเกือบจะตีสอง ง่วงๆ วันนี้ต้องพาเด็กน้อยไปดูหมีแพนด้า ที่สวนสัตว์เชียงใหม่ วันนี้คุณแม่ของเพื่อนทำอาหารเช้าให้ทานต้องขอขอบคุณอย่างสูงเกรงใจจัง หลังจากอาบน้ำแต่งตัว จัดแจงเก็บสัมภาระขึ้นรถก็ต้องรีบตั้งวงทานข้าว แล้วลาคุณพ่อคุณแม่ของเพื่อน เพื่อไปสวนสัตว์เชียงใหม่โดยด่วน เพราะทางสวนสัตว์จำกัดเวลาในการเปิดให้เข้าเยี่ยมหลินปิง ส่วนจานชามที่ทานแล้วนั้นก็ให้เพื่อนล้างไป(อิ อิ) ออกจากบ้านเมื่อเวลาประมาณ เกือบ ๘ โมงเช้า ตั้ง GPS ไปสวนสัตว์เชียงใหม่ ซึ่งก็คือทางเดียวกันกับที่จะไปพระธาตุดอยสุเทพ กว่าจะถึงสวนสัตว์ได้รถติดเหมือนกรุงเทพมหานครเลยหล่ะ....


    [​IMG]
    รถติด.....

    พอรถจ่อหน้าประตูทางเข้าสวนสัตว์ได้ ก็ไล่ทั้งเด็กทั้งผู้ใหญ่ลงรถไปซื้อบัตรผ่านประตู ไม่เช่นนั้นจะเข้าเยี่ยม(-_-!)หมีแพนด้าไม่ทัน ส่วนสร้อยฟ้ามาลาก็ขับรถไปจอดบนลานจอดรถเสียตังก์ค่าจอด ๕๐ บาทแต่งานนี้สร้อยฟ้ามาลาไม่ได้เข้าไปเยี่ยมหมีแพนด้านะ เพราะดู Lin Ping Reality ทางช่อง 18 Panda Live ของ True Vision จนเบื่อแล้วหล่ะ......


    [​IMG]

    มาชมสวนสัตว์เชียงใหม่กันดีกว่า

    สวนสัตว์เชียงใหม่
    องค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม


    [​IMG]

    สวนสัตว์เชียงใหม่ ก่อตั้งขึ้นโดยนาย ฮาโรลด์ เมสัน ยัง (Mr.Harold Mason Young) มิชชั่นนารีชาวอเมริกันผู้เข้ามาเป็นอาสาสมัครสอนการยังชีพในป่าให้แก่พวกทหารและตำรวจชายแดนในช่วงสงครามเกาหลี(พ.ศ.๒๔๙๓ – ๒๔๙๖)โดยอาศัยพื้นที่บ้านที่ตนเช่าอยู่คือบ้านเวฬุวัน เชิงดอยสุเทพ ซึ่งเป็นของนาย กี นิมมานเหมินท์ (พ.ศ.๒๔๓๑ – ๒๕๐๘)และนาง กิมฮ้อ นิมมานเหมินท์ (พ.ศ.๒๔๓๗ – ๒๕๒๔)เป็นสถานที่เริ่มต้นโดยเริ่มเปิดเป็นสวนสัตว์เล็กๆ ของเอกชนขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๔๙๕ โดยจ้างคนพื้นเมืองและชาวเขาจำนวนไม่มากนักช่วยดูแล


    [​IMG]

    เหตุผลของการสะสมสัตว์ชนิดต่างๆ ของนาย ฮาโรลด์ เมสัน ยังจนสามารถจัดเป็นสวนสัตว์เอกชนขึ้นได้นั้น แม้ไม่ปรากฏหลักฐานชัดแต่คงเนื่องด้วยความรักเมตตาต่อสัตว์เป็นพื้นฐานและเพื่อศึกษานิสัยอากัปกิริยาต่างๆของสัตว์ชนิดต่างๆอย่างใกล้ชิดด้วยเพื่อประโยชน์ ในการประกอบอาชีพเป็นอาสาสมัครสอนการยังชีพในป่าให้แก่ทหาร และตำรวจชายแดนซึ่งต้องผจญกับสัตว์ป่านานาชนิดเสมอ


    [​IMG]

    นาย ฮาโรลด์ เมสัน ยังเป็นบุตรของมิชชันนารีชาวอเมริกันเกิดที่รัฐฉาน ( Shan State ) ประเทศพม่าเคยทำงานในฐานะมิชชั่นนารีในรัฐฉาน ( Shan State )ดินแดนของชาวไตซึ่งอุดมด้วยสัตว์ป่านานาชนิดมาก่อน และเหตุผลที่ทำให้นาย ฮาโรลด์ เมสัน ยังต้องเข้ามาทำงานในฐานะอาสาสมัครสอนการยังชีพในป่าให้แก่ทหารและตำรวจชายแดนในประเทศไทย ก็คงเนื่องด้วยพันธะที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกามีต่อรัฐบาลไทยในการสนับสนุนทั้งทางด้านการเมือง การทหาร เศรษฐกิจ สังคม ฯลฯอย่างเต็มที่เพื่อร่วมกันต่อต้านคอมมิวนิสต์ตาม สนธิสัญญาไทย-อเมริกัน ๓ ฉบับ คือความตกลงทางการศึกษาและ วัฒนธรรมในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๔๙๓ความตกลงร่วมมือทางเศรษฐกิจและเทคนิคในเดือนกันยายน พ.ศ.๒๔๙๓ และความตกลงทางการช่วยเหลือ ทางทหารในเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๔๙๓เป็นต้นมา


    [​IMG]


    ปรากฏว่าหลังจากปี พ.ศ.๒๔๙๓รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้จัดส่ง คณะที่ปรึกษาอาสาสมัคร และกำลังสนับสนุนด้านต่างๆเข้าสู่ประเทศไทยจำนวนมากเฉพาะด้านทหารและตำรวจนั้น สหรัฐอเมริกาได้ส่งคณะที่ปรึกษาทางทหาร ( MAAG ) มาประจำประเทศไทย ต่อมาขยายเป็นหน่วย JUSMAG เพื่อช่วยวางแผนการจัดกองพล การจัดกรมผสม จัดระบบ ส่งกำลังกองทัพบก ฯลฯขณะที่กองกำลังตำรวจขณะนั้นอยู่ภายใต้การนำของ พลตำรวจเอก เผ่า ศรีรานนท์ก็ได้รับการขยายกำลังออกไปอย่างกว้างขวาง โดยรัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ให้การสนับสนุนผ่านทางบริษัทซี ซัปพลาย( Sea Supply Coporation ) การเข้ามาทำงานในประเทศไทยในฐานะอาสาสมัครสอนการยังชีพในป่าให้แก่ทหาร และตำรวจตระเวรชายแดนของนายฮาโรลด์เมสัน ยัง ก็คงอยู่ในบริษัท ( Context ) ทางการเมืองดังกล่าวนี้ด้วย


    [​IMG]

    การสะสมสัตว์นานาชนิดของนาย ฮาโรลด์ เมสัน ยังภายในบริเวณบ้านเวฬุวันที่ตนเช่าอยู่นั้น คงมี มากขึ้นๆและคงสร้างต้องอาศัยพื้นที่ในบริเวณบ้านเวฬุวันมากขึ้นคงทำให้พื้นที่อันสวยงามของบ้านเวฬุวัน เช่น สนามหญ้าหน้าบ้านถูกใช้เป็นที่เลี้ยงสัตว์ไปโดยปริยาย


    [​IMG]

    จากคำบอกเล่าของศาสตราจารย์ อัน นิมมานเหมินท์ ทายาทคนหนึ่งของ นายกี-นาง กิมฮ้อ นิมมานเหมินท์ ได้ขอให้ นาย ฮาโรลด์ เมสัน ยังผู้เช่าบ้านเวฬุวันย้ายสวนสัตว์ของเขาไปไว้ที่ ที่ดินอีกแปลงหนึ่งของนาย กี-นาง กิมฮ้อ นิมมานเหมินท์ซึ่งอยู่เชิงดอยสุเทพเช่นกันซึ่งปัจจุบันเป็นพื้นที่ที่ส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แต่คงโดยเหตุที่นาย ฮาโรลด์ เมสัน ยังเป็นชาวอเมริกันประชาชนของประเทศที่ มีอิทธิพลทางการเมืองสูงยิ่งของโลกเขาจึงติดต่อขอที่ดินป่าสงวน เชิงดอยสุเทพ ต่อผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่โดยตรง


    [​IMG]


    จนได้รับอนุมัติให้ใช้พื้นที่ป่าสงวนเชิงดอยสุเทพ ประมาณ ๖๐ไร่เป็นที่ตั้งสวนสัตว์ของเอกชน เปิดบริการให้เข้าชมตั้งแต่วันจักรี ๖เมษายน พ.ศ.๒๕๐๐จนกระทั่งนาย ฮาโรลด์ เมสัน ยัง ถึงแก่อนิจกรรม ใน พ.ศ.๒๕๑๘


    [​IMG]

    องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ได้พิจารณาเห็นคุณค่าของสวนสัตว์ของนาย ฮาโรลด์เมสัน ยัง ทั้งในฐานะเป็นแหล่ง พักผ่อนศึกษาสัตว์ของประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่และเป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยวแหล่งหนึ่งตามโครงการปรับปรุงดอยสุเทพเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ จึงรับกิจการสวนสัตว์ของนาย ฮาโรลด์ เมสัน ยังไว้ในความดูแล ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่


    [​IMG]

    จนกระทั่ง พ.ศ.๒๕๒๐จึงโอนเข้าสังกัดองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทยสำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่ วันที่ ๑๖มิถุนายน พ.ศ.๒๕๒๐เป็นต้นมา เนื่องนับ ถึง ๑๖ มิถุนายนพ.ศ.๒๕๓๐สวนสัตว์เชียงใหม่ก็มีอายุครบ ๑๐ปีเต็ม ในรอบทศวรรษนั้นสวนสัตว์เชียงใหม่ได้ขยายพื้นที่จากเดิม ที่จังหวัดเชียงใหม่อนุมัติให้นาย ฮาโรลด์เมสัน ยัง จัดตั้งสวนสัตว์ประมาณ ๖๐ไร่ ได้รับการขยายเป็น ๑๓๐ ไร่


    [​IMG]

    ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๖สวนสัตว์เชียงใหม่ก็ได้รับความเห็นชอบจากกรมป่าไม้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคณะรัฐมนตรีให้ขยายพื้นที่บริเวณเชิงดอยสุเทพเพิ่มเติมอีกประมาณ ๕๐๐ไร่ ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาสวนสัตว์ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน จำนวนหนึ่งโดยมีศาสตราจารย์ อัน นิมมานเหมินท์เป็นประธานดำเนินงานวางผังหลักกำหนดแนวทางพัฒนาสวนสัตว์เชียงใหม่ต่อไปในอนาคตอย่างน่าสนใจยิ่ง



    [​IMG]
    ดูหมีโคอาล่า ไปก่อน

    จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ทั้งประเภทตำนาน จารึก และภาพถ่ายทางอากาศยืนยันชัดว่าพื้นที่ส่วนหนึ่งของสวนสัตว์เชียงใหม่คือส่วนหนึ่งของ เวียงเจ็ดสินเวียงโบราณรูปวงกลมที่สร้างขึ้นในสมัยพญาสามฝั่งแก่น กษัตริย์แห่งราชวงศ์มังรายลำดับที่ ๘(พ.ศ.๑๙๔๕ – ๑๙๘๔) ร่องรอยคูน้ำคันดินบางส่วนก็ยังปรากฏอยู่ในปัจจุบัน ซากอิฐจำนวนไม่น้อยยังคงปรากฏทั่วไปในบริเวณสวนสัตว์เชียงใหม่ โดยเฉพาะบนเนินเนินเหนือที่เลี้ยงช้างเป็นกองอิฐก้อนใหญ่มากเป็นร่องรอยให้สามารถสันนิษฐานได้ว่าเป็นโบราณสถานที่เกี่ยวข้องกับ ทางศาสนา (ซึ่งเป็นที่ตั้งของโบราณสถานวัดกู่ดินขาวในปัจจุบัน)


    [​IMG]


    [​IMG]
    ตัวนี้ขี้อาย ไม่ยอมหันหน้ามาเลย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กันยายน 2013
  10. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    ค่าธรรมเนียมสวนสัตว์เชียงใหม่
    ค่าธรรมเนียมบัตรผ่านประตูเข้าชมสวนสัตว์เชียงใหม่
    บัตรผู้ใหญ่ (ชาวไทย) ๕๐ บาท
    บัตรเด็ก สูงไม่เกิน ๑๓๕ เซนติเมตร (ชาวไทย) ๑๐บาท


    [​IMG]

    ค่าธรรมเนียมจอดยานพาหนะ
    รถยนต์ ๕๐ บาท
    รถจักรยานยนต์ ๑๐ บาท
    รถจักรยาน ๑บาท



    [​IMG]
    ค่าธรรมเนียมบัตรเข้าชมหมีแพนด้า
    บัตรผู้ใหญ่ (ชาวไทย)๕๐ บาท
    บัตรเด็ก สูงไม่เกิน ๑๓๕ เซนติเมตร (ชาวไทย)๒๐บาท


    ค่าธรรมเนียมเข้าชมศูนย์แสดงพันธุ์สัตว์น้ำ "เชียงใหม่ ซู อควาเรียม"
    รวมบัตรผ่านประตูหน้าสวนสัตว์และรถบริการเข้าชม (จำหน่ายหน้าประตูทางเข้าสวนสัตว์)
    บัตรผู้ใหญ่ (ชาวไทย) ๒๙๐ บาท
    บัตรเด็ก สูง ๙๐ - ๑๓๕เซนติเมตร (ชาวไทย) ๑๗๐ บาท



    [​IMG]

    จำหน่ายหน้าประตูทางเข้าศูนย์แสดงพันธุ์สัตว์น้ำ "เชียงใหม่ ซู อควาเรียม"(ไม่รวมค่าธรรมเนียมบัตรผ่านประตูเข้าชมสวนสัตว์เชียงใหม่)
    บัตรผู้ใหญ่ (ชาวไทย) ๒๒๐ บาท
    บัตรเด็ก สูง ๙๐ - ๑๓๕เซนติเมตร (ชาวไทย) ๑๖๐ บาท


    เวลาเปิดขายบัตรเข้าชม
    จันทร์ – ศุกร์ ๙.๐๐ – ๑๗.๐๐น.
    เสาร์ – อาทิตย์ ๙.๓๐ – ๑๗.๓๐น.
    บัตรเด็กต่ำกว่า ๙๐เซนติเมตร เข้าชมพรี ...



    [​IMG]

    ค่าธรรมเนียมรถบริการชมสวนสัตว์เชียงใหม่
    บัตรผู้ใหญ่ (ชาวไทย) ๒๐ บาท
    บัตรเด็ก สูงไม่เกิน ๑๓๕ เซนติเมตร (ชาวไทย) ๑๐บาท



    [​IMG]



    [​IMG]

    ค่าธรรมเนียมบริการรถไฟฟ้ารางเดี่ยว
    บัตรผู้ใหญ่ (ชาวไทย) ๗๐ บาท
    บัตรเด็ก สูงไม่เกิน ๑๓๕ เซนติเมตร (ชาวไทย) ๕๐บาท


    ค่าธรรมเนียมบริการ แอดเวนเจอร์พาร์ค
    บัตรผู้ใหญ่ (ชาวไทย) ๒๐ บาท
    บัตรเด็ก สูงไม่เกิน ๑๓๕ เซนติเมตร (ชาวไทย) ๑๐ บาท


    [​IMG]


    ก็ขึ้นรถ ลงรถบริการของสวนสัตว์เป็นว่าเล่น รถบริการจะจอดให้ขึ้นและลงตรงป้ายเหมือนรถเมล์ จะขึ้นจะลงกี่ครั้งก็ได้ภายใน ๑ รอบ ซึ่งกินระยะทางประมาณ ๗ กิโลเมตรกว่าๆ แต่ในวันนี้มีคณะนักเรียนมาชมสัตว์มากมายเลยทำให้รถบริการไม่เพียงพอ ต้องคอยเป็นนานสองนานเหมือนกัน


    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กันยายน 2013
  11. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    พอขึ้นรถบริการครบรอบแล้ว เด็กน้อยเด็กโต เยี่ยมหมีแพนด้าเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ถึงเวลาซ้อมขับรถขึ้นภูเขากัน นั่นก็คือ ไปวัดพระธาตุดอยสุเทพ ราชวรวิหาร แต่ก่อนที่จะขึ้นไปนั้น คณะของพวกเราต้องเข้าไปกราบพระครูบาศรีวิชยกันก่อน ซึ่งสร้อยฟ้ามาลาก็ตั้งใจไว้ว่าจะต้องมาไหว้ให้ได้


    อนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย

    ครูบาศรีวิชัย เป็นพระเถระที่ชาวล้านนาไทยให้ความเคารพนับถือมากที่สุดทุกวันนี้พวกเราจะสามารถเดินทางขึ้นไปนมัสการพระธาตุดอยสุเทพได้อย่างสะดวกสบายดีเมื่อพวกเราขึ้นไปจะผ่านอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัยซึ่งตั้งอยู่ที่เชิงเขาข้างทางด้านล่างนั้น อย่าลืมหยุดนมัสการท่านหรืออย่างน้อยก็หยุดสงบใจระลึกถึงพระคุณของท่านครูบาเจ้าเพราะท่านเป็นผู้ที่เสียสละอย่างใหญ่หลวงต่อประเทศชาติ โดยเฉพาะชาวล้านนาไทยรวมถึงพระพุทธศาสนาอีกด้าย


    [​IMG]



    พระครูบาศรีวิชัย
    เป็นที่รู้จักกันทั่วไปโดยเฉพาะในเขตล้านนาว่าเป็น "ตนบุญ" หรือ "นักบุญ"อันมีความหมายเชิงยกย่องว่าเป็นนักบวชที่มีคุณสมบัติพิเศษ อาจพบว่ามีการเรียกอีกว่าครูบาเจ้าศรีวิชัย พระครูบาศรีวิชัย ครูบาศีลธรรม หรือ ทุเจ้าสิริ (อ่าน"ตุ๊เจ้าสิลิ") แต่พบว่าท่านมักเรียกตนเองเป็น พระชัยยาภิกขุ หรือพระศรีวิชัยชนะภิกขุ เดิมชื่อเฟือนหรืออินท์เฟือนบ้างก็ว่าอ้ายฟ้าร้องเนื่องจากในขณะที่ท่านถือกำเนิดนั้นปรากฏฝนฟ้าคะนองอย่างหนัก ส่วนอินท์เฟือนนั้นหมายถึง การเกิดกัมปนาทหวั่นไหวถึงสวรรค์หรือเมืองของพระอินทร์ ท่านเกิดในปีขาลเดือน ๙ เหนือ(เดือน ๗ของภาคกลาง) ขึ้น ๑๑ ค่ำ จ.ศ.๑๒๔๐ เวลาพลบค่ำตรงกับวันอังคารที่ ๑๑ เดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๔๒๑ ที่หมู่บ้านชื่อ "บ้านปาง"ตำบลแม่ตืน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ท่านเป็นบุตรของนายควาย นางอุสา มีพี่น้องทั้งหมด๕ คน มีชื่อตามลำดับ คือ ๑. นายไหว ๒. นางอวน ๓. นายอินท์เฟือน(ครูบาศรีวิชัย) ๔.นางแว่น ๕. นายทา


    ทั้งนี้นายควายบิดาของท่านได้ติดตามผู้เป็นตาคือหมื่นปราบ (ผาบ)ซึ่งมีอาชีพเป็นหมอคล้องช้างของเจ้าหลวงดาราดิเรกฤทธิ์ไพโรจน์(เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์ที่๗ ช่วง พ.ศ.๒๔๑๔-๒๔๓๑)ไปตั้งครอบครัวบุกเบิกที่ทำกินอยู่ที่บ้านปางบ้านเดิมของนายควายอยู่ที่บ้านสันป่ายางหลวง ทางด้านเหนือของตัวเมืองลำพูน


    ในสมัยที่ครูบาศรีวิชัยหรือนายอินท์เฟือนยังเป็นเด็กอยู่นั้นหมู่บ้านดังกล่าวยังกันดารมากมีชน กลุ่มน้อยอาศัยอยู่มากโดยเฉพาะชาว ปกาเกอญอ (กะเหรี่ยง) ในช่วงนั้นบ้านปางยังไม่มีวัดประจำหมู่บ้านจนกระทั่งเมื่อนายอินท์เฟือนมีอายุได้ ๑๗ ปีได้มีพระภิกษุรูปหนึ่งชื่อ ครูบาขัติยะ (ชาวบ้านเรียกว่า ครูบาแฅ่งแฅะ เพราะท่านเดินขากะเผลก)เดินธุดงค์จากบ้านป่าซางผ่านมาถึงหมู่บ้านนั้นชาวบ้านจึงนิมนต์ท่านให้อยู่ประจำที่บ้านปางแล้วชาวบ้านก็ช่วยกันสร้างกุฏิชั่วคราวให้ท่านจำพรรษา ในช่วงนั้นเด็กชายอินท์เฟือนได้ฝากตัวเป็นศิษย์ และเมื่ออายุได้ ๑๘ปีก็ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่ อารามแห่งนี้โดยมีครูบาขัติยะเป็นพระอุปัชฌาย์ ๓ปีต่อมา (พ.ศ. ๒๔๔๒) เมื่อสามเณรอินท์เฟือนมีอายุย่างเข้า ๒๑ ปีก็ได้เข้าอุปสมบทในอุโบสถวัดบ้านโฮ่งหลวง อำเภอบ้านโฮ่งจังหวัดลำพูนโดยมีครูบาสมณะวัดบ้านโฮ่งหลวงเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับนามฉายาในการอุปสมบทว่าสิริวิชโยภิกฺขุ มีนามบัญญัติว่า พระศรีวิชัย ซึ่งบางครั้งก็พบว่าเขียนเป็นสรีวิไชย สีวิไช หรือ สรีวิชัย


    เมื่ออุปสมบทแล้วสิริวิชโยภิกขุก็กลับมาจำพรรษาที่อารามบ้านปางอีก ๑ พรรษาจากนั้นได้ไปศึกษากัมมัฏฐานและวิชาอาคมกับครูบาอุปละ วัดดอยแต อำเภอแม่ทาจังหวัดลำพูน ต่อมาได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ของครูบาวัดดอยคำอีกด้วยและอีกท่านหนึ่งที่ถือว่าเป็นครูของครูบาศรีวิชัยคือครูบาสมณะวัดบ้านโฮ่งหลวงซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของท่าน


    ครูบาศรีวิชัยรับการศึกษาจากครูบาอุปละวัดดอยแตเป็นเวลา ๑พรรษาก็กลับมาอยู่ที่อารามบ้านปางจนถึง พ.ศ. ๒๔๔๔ (อายุได้ ๒๔ ปี พรรษาที่ ๔)ครูบาขัติยะได้จาริกออกจากบ้านปางไป(บางท่านว่ามรณภาพ)ครูบาศรีวิชัยจึงรักษาการแทนในตำแหน่งเจ้าอาวาส และเมื่อครบพรรษาที่ ๕ก็ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านปาง จากนั้นก็ได้ย้ายวัดไปยังสถานที่ที่เห็นว่าเหมาะสมคือบริเวณเนินเขาซึ่งเป็นที่ตั้งวัดบ้านปางในปัจจุบันเพราะเป็นที่วิเวกและสามารถปฏิบัติธรรมได้เป็นอย่างดีโดยได้ให้ชื่อวัดใหม่แห่งนี้ว่าวัดจอมสรีทรายมูลบุญเรือง แต่ชาวบ้านทั่วไปยังนิยมเรียกว่า วัดบ้านปางตามชื่อของหมู่บ้าน


    ครูบาศรีวิชัยเป็นผู้มีศีลาจารวัตรที่งดงามและเคร่งครัดโดยที่ท่านงดการเสพ หมาก เมี่ยง บุหรี่ โดยสิ้นเชิงท่านงดฉันเนื้อสัตว์ตั้งแต่เมื่ออายุได้ ๒๖ ปี และฉันอาหารเพียงมื้อเดียวซึ่งมักเป็นผักต้มใส่เกลือกับพริกไทเล็กน้อย บางทีก็ไม่ฉันข้าวทั้ง ๕ เดือนคงฉันเฉพาะลูกไม้หัวมันเท่านั้น นอกจากนี้ท่านยังงดฉันผักตามวันทั้ง ๗ คือวันอาทิตย์ ไม่ฉันฟักแฟง, วันจันทร์ ไม่ฉันแตงโมและแตงกวา, วันอังคาร ไม่ฉันมะเขือ, วันพุธ ไม่ฉันใบแมงลัก, วันพฤหัสบดี ไม่ฉันกล้วย, วันศุกร์ ไม่ฉันเทา (อ่าน"เตา"-สาหร่ายน้ำจืดคล้ายเส้นผมสีเขียวชนิดหนึ่ง), วันเสาร์ ไม่ฉันบอนนอกจากนี้ผักที่ท่านจะไม่ฉันเลยคือ ผักบุ้ง ผักปลอด ผักเปลว ผักหมากขี้กา ผักจิกและผักเฮือด-ผักฮี้(ใบไม้เลียบอ่อน) โดยท่านให้เหตุผลว่าถ้าพระภิกษุสามเณรรูปใดงดได้ การบำเพ็ญกัมมัฏฐานจะเจริญก้าวหน้าผิวพรรณจะเปล่งปลั่ง ธาตุทั้ง ๔ จะเป็นปกติถ้าชาวบ้านงดเว้นแล้วจะทำให้การถือคาถาอาคมดีนัก


    ครูบาศรีวิชัยมีความปรารถนาที่จะบรรลุธรรมะอันสูงสุดดังปรากฏจากคำอธิษฐานบารมีที่ท่านอธิษฐานไว้ว่า "...ตั้งปรารถนาขอหื้อได้ถึงธรรมะ ยึดเหนี่ยวเอาพระนิพพานสิ่งเดียว..."และมักจะปรากฏความปรารถนาดังกล่าวในตอนท้ายชองคัมภีร์ใบลานที่ท่านสร้างไว้ทุกเรื่องอีกประการหนึ่งที่ทำให้ครูบาศรีวิชัยเป็นที่รู้จักและอยู่ในความทรงจำของชาวล้านนาคือการที่ท่านเป็นผู้นำในการสร้างทางขึ้นสู่วัดพระธาตุดอยสุเทพโดยพลังศรัทธาประชาชนเป็นจำนวนมากทั้งกำลังกายและกำลังทรัพย์ ซึ่งใช้เวลาสร้างเพียง ๕ เดือนเศษโดยไม่ใช้งบประมาณของรัฐ แต่เรื่องที่ทำให้ครูบาศรีวิชัยเป็นที่รู้จักกันในระยะแรกนั้นเกิดเนื่องจากการที่ท่านต้องอธิกรณ์ซึ่งระเบียบการปกครองสงฆ์ตามจารีตเดิมของล้านนานั้นให้ความสำคัญแก่ระบบหมวดอุโบสถหรือ ระบบหัวหมวดวัด มากกว่าและการปกครองก็เป็นไปในระบบพระอุปัชฌาย์อาจารย์กับศิษย์ซึ่งพระอุปัชฌาย์รูปหนึ่งจะมีวัดขึ้นอยู่ในการดูแลจำนวนหนึ่งเรียกว่าเจ้าหมวดอุโบสถโดยคัดเลือกจากพระที่มีผู้เคารพนับถือและได้รับการยกย่องว่าเป็น ครูบาซึ่งหมายถึงพระภิกษุที่ได้รับความยกย่องอย่างสูงดังนั้นครูบาศรีวิชัยซึ่งมีชื่อเสียงอยู่ในขณะนั้นจึงอยู่ในตำแหน่งหัวหมวดพระอุปัชฌาย์โดยฐานะเช่นนี้ ครูบาศรีวิชัยจึงมีสิทธิ์ตามจารีตท้องถิ่นที่จะบวชกุลบุตรได้ทำให้ครูบาศรีวิชัยจึงมีลูกศิษย์จำนวนมากและลูกศิษย์เหล่านี้ก็ได้เป็นฐานกำลังที่สำคัญของครูบาศรีวิชัยในการดำเนินกิจกรรมทางศาสนาและกิจกรรมสาธารณประโยชน์อีกทั้งยังเป็นแนวร่วมในการต่อต้านอำนาจจากกรุงเทพฯเมื่อเกิดกรณีขัดแย้งขึ้นในเวลาต่อมา


    ส่วนสงฆ์ในล้านนาเองก็มีแนวปฏิบัติที่หลากหลายเนื่องจากมีการจำแนกพระสงฆ์ตามจารีตท้องถิ่นออกเป็นถึง ๑๘ นิกายและในแต่ละนิกายนี้ก็น่าจะหมายถึงกลุ่มพระที่เป็นสายพระอุปัชฌาย์สืบต่อกันมาในแต่ละท้องที่ซึ่งมีอำนาจปกครองในสายของตนโดยผ่านความคิดระบบครูกับศิษย์ และนอกจากนี้นิกายต่าง ๆนั้นยังเกี่ยวข้องกับชื่อของเชื้อชาติอีกด้วย เช่น นิกายเชียงใหม่ นิกายขึน (เผ่าไทขึน/เขิน) นิกายยอง (จากเมืองยอง) เป็นต้นสำหรับครูบาศรีวิชัยนั้นยึดถือปฏิบัติในแนวของนิกายเชียงใหม่ผสมกับนิกายยองซึ่งมีแนวปฏิบัติบางอย่างต่างจากนิกายอื่นๆ มีธรรมเนียมที่ยึดถือคือ การนุ่งห่มที่เรียกว่า กุมผ้าแบบรัดอก สวมหมวกแขวนลูกประคำ ถือไม้เท้าและพัด ซึ่งยึดธรรมเนียมมาจากวัดดอยแตโดยอ้างว่าสืบวิธีการนี้มาจากลังกาการที่ครูบาศรีวิชัยถือว่าท่านมีสิทธิ์ที่จะบวชกุลบุตรได้ตามจารีตการถือปฏิบัติมาแต่เดิมนั้นทำให้ขัดกับพระราชบัญญัติการปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ.๑๒๑(พ.ศ.๒๔๔๖)เพราะในพระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดว่า "พระอุปัชฌาย์ที่จะบวชกุลบุตรได้ต้องได้รับการแต่งตั้งตามระเบียบการปกครองของสงฆ์จากส่วนกลางเท่านั้น"โดยถือเป็นหน้าที่ของเจ้าคณะแขวงนั้น ๆ เป็นผู้คัดเลือกผู้ที่ควรจะเป็นอุปัชฌาย์ได้และเมื่อคัดเลือกได้แล้วจึงจะนำชื่อเสนอเจ้าคณะผู้ใหญ่ในกรุงเทพฯเพื่อดำเนินการแต่งตั้งต่อไปการจัดระเบียบการปกครองใหม่ของกรุงเทพฯนี้ถือเป็นวิธีการสลายจารีตเดิมของสงฆ์ในล้านนาอย่างได้ผลองค์กรสงฆ์ล้านนาก็เริ่มสลายตัวลงที่ละน้อยเพราะอย่างน้อยความขัดแย้งต่าง ๆก็เกิดขึ้นระหว่างสงฆ์ในล้านนาด้วยกันเอง ดังกรณีความขัดแย้งระหว่างครูบาศรีวิชัยกับพระครูมหารัตนากรเจ้าคณะแขวงลี้ อำเภอลี้จังหวัดลำพูน เป็นต้น


    การต้องอธิกรณ์ระยะแรกของครูบาศรีวิชัยนั้นเกิดขึ้นเพราะครูบาศรีวิชัยถือธรรมเนียมปฏิบัติตามจารีตเดิมของล้านนาส่วนเจ้าคณะแขวงลี้ซึ่งใช้ระเบียบวิธีปฏิบัติของกรุงเทพฯซึ่งเห็นว่าครูบาศรีวิชัยทำหน้าที่พระอุปัชฌาย์โดยไม่ได้รับการอนุญาตจากเจ้าคณะแขวงลี้จึงถือว่าเป็นความผิด เพราะตั้งตนเป็นพระอุปัชฌาย์เองและเป็นพระอุปัชฌาย์เถื่อนครูบามหารัตนากรเจ้าคณะแขวงลี้กับหนานบุญเติงนายอำเภอลี้ได้เรียกครูบาศรีวิชัยไปสอบสวนเกี่ยวกับปัญหาที่ครูบาศรีวิชัยเป็นพระอุปัชฌาย์บวชกุลบุตรโดยมิได้รับแต่งตั้งตามพระราชบัญญัติการจับกุมครูบาศรีวิชัยสามารถแบ่งช่วงเวลาออกเป็น ๓ช่วงเนื่องจากเป็นระยะเวลาที่ยาวนานเกือบ ๓๐ปีและแต่ละช่วงจะมีรายละเอียดของสภาพสังคมที่แตกต่างกัน

    อธิกรณ์ระยะแรก (ช่วงพ.ศ.๒๔๕๑ - ๒๔๕๓)
    การต้องอธิกรณ์ช่วงแรกของครูบาศรีวิชัยเป็นผลมาจากการเริ่มทดลองใช้กฎหมายของคณะสงฆ์ฉบับแรก (พ.ศ.๒๔๔๖) และเป็นการเริ่มให้อำนาจกับสงฆ์สายกลุ่มผู้ปกครองในช่วงพ.ศ.๒๔๕๓ นั้นบทบาทของครูบาศรีวิชัยในหมู่ชาวบ้านและชาวเขามีลักษณะโดดเด่นเกินกว่าตำแหน่งสงฆ์ผู้ปกครองดังจะเห็นว่าชาวบ้านมักนำเอาบุตรหลานมาฝากฝังให้ครูบาศรีวิชัยบวชเณรและอุปสมบทเมื่อความทราบถึงเจ้าคณะแขวงและนายอำเภอลี้ทางการก็เห็นว่าครูบาศรีวิชัยล่วงเกินอำนาจของตนเจ้าคณะแขวงและนายอำเภอได้พาตำรวจควบคุมครูบาศรีวิชัยไปกักไว้ที่วัดเจ้าคณะแขวงลี้ได้๔ คืน จากนั้นก็ส่งครูบาศรีวิชัยไปให้พระครูบ้านยู้เจ้าคณะจังหวัดลำพูนเพื่อรับการไต่สวน ซี่งผลก็ไม่ปรากฏครูบาศรีวิชัยมีความผิดหลังจากถูกไต่สวนครั้งแรกไม่นานนัก ครูบาศรีวิชัยก็ถูกเรียกตัวสอบอีกครั้งโดยพระครูมหาอินทร์ เจ้าคณะแขวงลี้เนื่องจากมีหมายเรียกให้ครูบาศรีวิชัยนำลูกวัดไปประชุมเพื่อรับทราบระเบียบกฎหมายใหม่จากนายอำเภอและเจ้าคณะแขวงลี้แต่ครูบาศรีวิชัยไม่ได้ไปตามหมายเรียกนั้นซึ่งส่งผลทำให้เจ้าอธิการหัววัดที่อยู่ในหมวดอุโบสถของครูบาศรีวิชัยไม่ไปประชุมเช่นกันเพราะเห็นว่าเจ้าหัวหมวดไม่ไปประชุม ลูกวัดก็ไม่ควรไปพระครูเจ้าคณะแขวงลี้จึงสั่งให้นายสิบตำรวจเมืองลำพูนไปควบคุมครูบาศรีวิชัยส่งให้พระครูญาณมงคลเจ้าคณะจังหวัดลำพูนจัดการไต่สวนครั้งนั้น ครูบา ศรีวิชัยถูกควบคุมตัวอยู่ที่วัดชัยเมืองลำพูนถึง ๒๓ วันจึงได้รับการปล่อยตัว
    ส่วนครั้งที่๓ ใน พ.ศ.เดียวกันนี้พระครูเจ้าคณะแขวงลี้ได้สั่งให้ครูบาศรีวิชัยนำเอาลูกวัดเจ้าอธิการหัววัดตำบลบ้านปางซึ่งอยู่ในหมวดอุโบสถไปประชุมที่วัดเจ้าคณะแขวงตามพระราชบัญญัติที่จะเพิ่มขึ้นปรากฏว่าครูบาศรีวิชัยมิได้เข้าประชุมอีก มีผลให้บรรดาหัววัดไม่ไปประชุมเช่นกันเจ้าคณะแขวงและนายอำเภอลี้จึงมีหนังสือฟ้องถึงพระครูญาณมงคล เจ้าคณะจังหวัดลำพูนครูบาศรีวิชัยถูกควบคุมไว้ที่วัดพระธาตุหริภุญชัยเมืองลำพูนนานถึงหนึ่งปีพระครูญาณมงคลจึงได้เรียกประชุมพระครูผู้ใหญ่ในจังหวัดเพื่อพิจารณาเรื่องนี้ซึ่งในที่สุดที่ประชุมก็ได้ตัดสินให้ครูบาศรีวิชัยพ้นจากตำแหน่งหัวหมวดวัดหรือหมวดอุโบสถและมิให้เป็นพระอุปัชฌาย์อีกต่อไปพร้อมทั้งถูกควบคุมตัวต่อไปอีกหนึ่งปี


    อธิกรณ์ระยะที่สอง (พ.ศ. ๒๔๕๔ - ๒๔๖๔)
    อธิกรณ์พระศรีวิชัยครั้งที่สองนี้มีความเข้มข้นและรุนแรงขึ้นเนื่องจากเป็นผลมาจากการต้องอธิกรณ์ครั้งแรกถึง๓ ครั้งแต่การต้องอธิกรณ์กลับเป็นการเพิ่มความเลื่อมใสศรัทธาของชาวบ้านที่มีต่อครูบาศรีวิชัยมากยิ่งขึ้นเสียงที่เล่าลือเกี่ยวกับครูบาศรีวิชัยจึงขยายออกไปนับตั้งแต่เป็นผู้วิเศษเดินตากฝนไม่เปียกและได้รับดาบสรีกัญไชย(พระขรรค์ชัยศรี)จากพระอินทร์ความนับถือเลื่อมใสศรัทธาใน ตัวครูบาศรีวิชัยยิ่งแพร่ขยายออกไปอย่างไม่หยุดยั้งคำเล่าลือดังกล่าวเมื่อทราบถึงเจ้าคณะแขวงลี้และนายอำเภอแขวงลี้ทั้งสองจึงได้เข้าแจ้งต่อพระครูญาณมงคล เจ้าคณะจังหวัดลำพูน โดยกล่าวหาว่า "ครูบาศรีวิชัยเกลี้ยกล่อมส้องสุมคนคฤหัสถ์นักบวชเป็นก๊กเป็นเหล่าและใช้ผีและเวทมนต์" พระครูญาณมงคลจึงออกหนังสือลงวันที่ ๑๒มกราคม ๒๔๖๒สั่งครูบาศรีวิชัยให้ออกไปพ้นเขตจังหวัดลำพูน ภายใน ๑๕ วันพร้อมทั้งมีหนังสือห้ามพระในจังหวัดลำพูนรับครูบาศรีวิชัยไว้ในวัดเมื่อครูบาศรีวิชัยโต้แย้งและทางการไม่สามารถเอาผิดครูบาศรีวิชัยได้ความดังกล่าวก็เลิกราไประยะหนึ่ง แต่ต่อมาก็มีหนังสือของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์เจ้าผู้ครองเมืองนครลำพูนเรียกครูบาศรีวิชัยพร้อมกับลูกวัดเข้าเมืองลำพูนครั้งนั้นพวกลูกศิษย์ได้จัดขบวนแห่ครูบาศรีวิชัยเข้าสู่เมืองอย่างใหญ่โตการณ์ดังกล่าวคงจะทำให้ทางคณะสงฆ์ผู้ปกครองลำพูนตกใจอยู่มิใช่น้อยดังจะพบว่าเมื่อครูบาศรีวิชัยพักอยู่ที่วัดมหาวันได้คืนหนึ่งอุปราชเทศามณฑลพายัพจึงได้สั่งย้ายครูบาศรีวิชัยขึ้นไปยังเชียงใหม่โดยให้พักกับพระครูเจ้าคณะเมืองเชียงใหม่ที่วัดเชตวันเสร็จแล้วจึงมอบตัวให้พระครูสุคันธศีล รองเจ้าคณะเมืองเชียงใหม่ ที่วัดป่ากล้วย (ศรีดอนไชย)


    ในระหว่างที่ครูบาศรีวิชัยถูกควบคุมอยู่ที่วัดป่ากล้วยก็ได้มีพ่อค้าใหญ่เข้ามารับเป็นผู้อุปฐากครูบาศรีวิชัยคือหลวงอนุสารสุนทร (ซุ่นฮี้ชัวย่งเส็ง)และพญาคำ แห่งบ้านประตูท่าแพตลอดจนผู้คนทั้งในเชียงใหม่และใกล้เคียงต่างก็เดินทางมานมัสการครูบาศรีวิชัยเป็นจำนวนมากทางฝ่ายผู้ดูแลต่างเกรงว่าเรื่องจะลุกลามไปกันใหญ่เนื่องจากแรงศรัทธาของชาวเมืองเหล่านี้เจ้าคณะเมืองเชียงใหม่และเจ้าคณะมณฑลพายัพจึงส่งครูบาศรีวิชัยไปรับการไต่สวนพิจารณาที่กรุงเทพฯซึ่งผลการพิจารณาไม่พบว่าครูบาศรีวิชัยมีความผิดและให้ครูบาศรีวิชัยเลือกเป็นเจ้าอาวาสหรืออาศัยอยู่ในวัดอื่นก็ได้เมื่อครูบาศรีวิชัยกลับจากกรุงเทพฯแล้วชนทุกกลุ่มของล้านนาก็ได้เพิ่มความเคารพยกย่องในตัวครูบาดังจะเห็นได้จากความสนับสนุนในการบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่าง ๆทั่วไปในล้านนาซึ่งต้องใช้ทั้งเงินและแรงงานอย่างมหาศาล


    อธิกรณ์ระยะที่สาม (ช่วง พ.ศ. ๒๔๗๘ - ๒๔๗๙)
    การต้องอธิกรณ์ช่วงที่สามของครูบาศรีวิชัยเกิดขึ้นในช่วงที่ได้มีการสร้างถนนขึ้นสู่พระธาตุดอยสุเทพเพราะขณะก่อสร้างทางอยู่นั้นเอง ปรากฏว่ามีพระสงฆ์ในจังหวัดเชียงใหม่รวม ๑๐แขวง ๕๐ วัด ขอลาออกจากการปกครองคณะสงฆ์ไปขึ้นอยู่ในปกครองของครูบาศรีวิชัยแทนเมื่อเห็นการที่วัดขอแยกตัวไปขึ้นกับครูบาศรีวิชัยเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆเช่นนั้นทางคณะสงฆ์จึงสั่งให้กลุ่มพระสงฆ์ในวัดที่ขอแยกตัวออกดังกล่าวเข้ามอบตัวและพระสงฆ์ที่ครูบาศรีวิชัยเคยบวชให้ก็ถูกสั่งให้สึกอธิกรณ์ครั้งที่ ๓ นี้ได้ดำเนินมาจนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๗๙ครูบาศรีวิชัยได้ให้คำรับรองต่อคณะสงฆ์ว่าจะปฏิบัติตามพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ทุกประการท่านจึงได้รับอนุญาตให้เดินทางกลับลำพูนเมื่อวันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๗๙รวมเวลาที่ต้องสอบสวนและอบรมอยู่ที่วัดเบญจมบพิตรเป็นเวลาถึง ๖ เดือน ๑๗ วัน


    กรณีความขัดแย้งระหว่างครูบาศรีวิชัยกับคณะสงฆ์ฝ่ายปกครองได้ดำเนินมาเป็นระยะเวลาเกือบ๓๐ ปี นับตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๕๑ เป็นต้นมาตราบกระทั่งวาระสุดท้ายในชีวิตของครูบาศรีวิชัย แต่ในช่วงเวลานั้นครูบาศรีวิชัยก็ยังคงดำเนินการช่วยเหลือประชาชน เป็นที่พึ่งทางใจและดำเนินการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่างๆ ตลอดจนสาธารณะประโยชน์ตามคำอาราธนาอยู่เรื่อยมา


    การปฏิสังขรณ์วัดและปูชนียวัตถุทางพุทธศาสนากับการสร้างสิ่งสาธารณประโยชน์
    ครูบาศรีวิชัยได้ชื่อว่าเป็นผู้ถือปฏิบัติเคร่งมาตั้งแต่เป็นสามเณรดังเห็นว่าท่านเป็นผู้ที่มักน้อย ถือสันโดษ และเว้นอาหารที่มีเนื้อสัตว์เจือปนตลอดจนงดกระทั่งหมาก เมี่ยง และบุหรี่ทำให้คนทั่วไปเห็นว่าครูบาเป็นผู้บริสุทธิ์ที่มีลักษณะเป็น"ตนบุญ"คนทั้งปวงต่างก็ประสงค์จะทำบุญกับครูบาเพราะเชื่อว่าการถวายทานกับภิกษุผู้บริสุทธิ์เช่นนั้นจะทำให้ผู้ถวายทานได้รับอานิสงส์มากเงินที่ประชาชนนำมาทำบุญก็นำไปใช้ในการก่อสร้างสาธารณประโยชน์และบูรณะศาสนสถานและศาสนวัตถุงานก่อสร้างดังกล่าวเริ่มขึ้นเมื่อปี ฉลู พ.ศ.๒๔๔๒ เดือน ๓ แรม ๑ ค่ำครูบาได้แจ้งข่าวสารไปยังศรัทธาทั้งหลายรวมทั้งชาวเขาเผ่าต่าง ๆว่าจะวัดบ้านปางขึ้นใหม่ ซึ่งก็สร้างเสร็จภายในเวลาไม่นานนัก ให้ชื่อวัดใหม่นั้นว่า "วัดศรีดอยไชยทรายมูล" ซึ่งคนทั่วไปนิยมเรียกว่า "วัดบ้านปาง"


    ขั้นตอนปฏิบัติในการไปบูรณปฏิสังขรณ์วัดมีว่าเมื่อครูบาได้รับนิมนต์ให้ไปบูรณปฏิสังขรณ์วัดใดแล้วทางวัดเจ้าภาพก็จะสร้างที่พักของครูบากับศิษย์และปลูกปะรำสำหรับเป็นที่พักของผู้ที่มาทำบุญกับครูบาคืนแรกที่ครูบาไปถึงก็จะอธิษฐานจิตดูว่าการก่อสร้างครั้งนั้นจะสำเร็จหรือไม่ซึ่งมีน้อยครั้งที่จะไม่สำเร็จเช่นการสร้างสะพานศรีวิชัยซึ่งเชื่อมระหว่างอำเภอหางดง เชียงใหม่ กับอำเภอเมือง ลำพูน จากนั้นครูบาก็จะ "นั่งหนัก"คือเป็นประธานอยู่ประจำในงานนั้น คอยให้พรแก่ศรัทธาที่มาทำบุญโดยไม่สนใจเรื่องเงินแต่มีคณะกรรมการช่วยกันรวบรวมเงินไปเป็นค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง ครูบาไป "นั่งหนัก"ที่ไหน ประชาชนจะหลั่งไหลกันไปทำบุญที่นั่นถึงวันละ ๒๐๐-๓๐๐ รายคับคั่งจนที่นั้นกลายเป็นตลาดเป็นชุมชนขึ้น เมื่อก่อสร้างเสร็จแล้วก็จะมีงาน "พอยหลวง-ปอยหลวง" คืองานฉลอง บางแห่งมีงานฉลองถึงสิบห้าวันและในช่วงเวลาดังกล่าวก็มักจะมีคนมาทำบุญกับครูบามากกว่าปกติเมื่อเสร็จงาน"พอยหลวง-ปอยหลวง" ในที่หนึ่งแล้วครูบาและศิษย์ก็จะย้ายไปก่อสร้างที่อื่นตามที่มีผู้มานิมนต์ไว้โดยที่ท่านจะไม่นำทรัพย์สินอื่นใดจากแหล่งก่อนไปด้วยเลยช่วงที่ครูบาศรีวิชัยต้องอธิกรณ์ครั้งที่สองและถูกควบคุมไว้ที่วัดศรีดอนชัยเชียงใหม่ เป็นเวลา ๓ เดือนกับ ๘ วันนั้นผู้คนหลั่งไหลไปทำบุญกับครูบาไม่ต่ำกว่าวันละ ๒๐๐ รายเมื่อครูบาได้ผ่านการพิจารณาอธิกรณ์ที่กรุงเทพฯ ซึ่งใช้เวลาอีก ๒ เดือนกับ ๔วันแล้วครูบาก็เดินทางกลับลำพูนเมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๖๓หลังจากนั้นผู้คนก็มีความศรัทธาในตัวครูบามากขึ้นครูบาศรีวิชัยเริ่มต้นการบูรณะวัดขณะที่ท่านอายุ ๔๒ ปีโดยเริ่มจากการบูรณะพระเจดีย์บ่อนไก้แจ้ จังหวัดลำปางถัดจากนั้นได้บูรณะเจดีย์และวิหารวัดพระธาตุหริภุญชัยต่อมาได้ไปบูรณะเจดีย์ดอยเกิ้ง ในเขตอำเภอฮอด เชียงใหม่ จากนั้นไปบูรณะวัดศรีโคมคำจังหวัดพะเยา กล่าวกันมาว่าในวันที่ท่านถึงพะเยานั้นมีประชาชนนำเงินมาบริจาคร่วมทำบุญใส่ปีบได้ถึง ๒ ปีบ หลังจากนั้นมาบูรณะวัดพระสิงห์เชียงใหม่ เป็นอาทิรวมแล้วพบว่างานบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามของครูบาศรีวิชัยมีประมาณ ๒๐๐ แห่ง


    ในขณะที่ครูบาศรีวิชัยกำลังบูรณะวัดสวนดอกเชียงใหม่ใน พ.ศ.๒๔๗๕ อยู่นั้นหลวงศรีประกาศได้หารือกับครูบาศรีวิชัยว่าอยากจะนำไฟฟ้าขึ้นไปใช้บนดอยสุเทพแต่ครูบาศรีวิชัยว่าหากทำถนนขึ้นไปจะง่ายกว่าและจะได้ไฟฟ้าในภายหลังทั้งนี้ทางการเคยคำนวณไว้ในช่วง พ.ศ.๒๔๖๐ว่าหากสร้างทางขึ้นดอยสุเทพนั้นจะต้องใช้งบประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ บาทแต่ครูบาศรีวิชัยได้เริ่มสร้างทางเมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๗๗และเปิดให้รถยนต์แล่นได้ในวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ.๒๔๘๘ โดยไม่ต้องใช้งบประมาณเลยครั้นเสร็จงานสร้างถนนแล้วครูบาศรีวิชัยก็ถูกนำตัวไปสอบอธิกรณ์ที่กรุงเทพฯอีกเป็นครั้งที่สองและงานชิ้นสุดท้ายของท่านที่ไม่เสร็จในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ก็คือสะพานศรีวิชัยอนุสรณ์ทอดข้ามน้ำแม่ปิงเชื่อมอำเภอหางดง เชียงใหม่ กับอำเภอเมืองจังหวัดลำพูน


    ในการก่อสร้างต่าง ๆ นับแต่ พ.ศ.๒๔๖๓ ถึง ๒๔๗๑มีผู้ได้บริจาคเงินทำบุญกับท่าน ประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ รูปีคิดเป็นเงินไม่น้อยกว่าสามหมื่นห้าพันบาทรวมค่าก่อสร้างชั่วชีวิตของท่านประมาณสองล้านบาทนอกจากนั้นท่านยังได้สร้างคัมภีร์ต่าง ๆ อีกไม่น้อยกว่า ๓๐๐๐ ผูก คิดค่าจารเป็นเงิน๔,๓๒๑ รูปี(รูปีละ ๘๐ สตางค์) ทั้งนี้แม้ครูบาศรีวิชัยจะมีงานก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่และมากมายแต่บิดามารดาคือนายควายและนางอุสาก็ยังคงอยู่ในกระท่อมอย่างเดิมสืบมาตราบจนสิ้นอายุ


    ครูบาศรีวิชัยซึ่งเป็นคนร่างเล็กผอมบางผิวขาว ไม่ใช่คนแข็งแรงแม้ท่านจะไม่ต้องทำงานประเภทใช้แรงงานแต่การที่ต้องนั่งคอยต้อนรับและให้พรแก่ผู้มาทำบุญกับท่านนั้นท่านจะต้อง"นั่งหนัก"อยู่ตลอดทั้งวันด้วยเหตุนี้ท่านจึงอาพาธด้วยโรคริดสีดวงทวารซึ่งสะสมมาแต่ครั้งการตระเวนก่อสร้างบูรณะวัดในเขตล้านนาและการอาพาธได้กำเริบขณะที่สร้างสะพานข้ามแม่น้ำปิงครูบาศรีวิชัยถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๑ ที่วัดบ้านปางขณะมีอายุได้ ๖๐ ปี ๙ เดือน ๑๑ วัน และตั้งศพไว้ที่วัดบ้านปางเป็นเวลา ๑ ปีบางท่านก็ว่า ๓ ปี จากนั้นได้เคลื่อนศพมาตั้งไว้ที่วัดจามเทวี ลำพูน จนถึงวันที่ ๒๑มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๙ จึงได้รับพระราชทานเพลิงศพเมื่องานพระราชทานเพลิงศพเสร็จสิ้นจึงได้มีการแบ่งอัฐิของท่านไปบรรจุไว้ตามที่ต่างๆ เช่น ที่วัดจามเทวีจังหวัดลำพูน วัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่ วัดพระแก้วดอนเต้าจังหวัดลำปาง วัดศรีโคมคำ จังหวัดพะเยา วัดพระธาตุช่อแฮ จังหวัดแพร่และที่วัดบ้านปาง จังหวัดลำพูนอันเป็นวัดดั้งเดิมของท่าน เป็นต้น


    [​IMG]

    วัตถุมงคลของครูบาเจ้าศรีวิชัย
    ในยุคที่ครูบาศรีวิชัยยังไม่ถึงแก่มรณภาพนั้นผู้ที่ทำบุญกับครูบาศรีวิชัยจะได้รับความอิ่มใจที่ได้ทำบุญกับท่านเท่านั้นส่วนการสร้างวัตถุมงคลนั้น ระยะแรกพวกลูกศิษย์ที่นับถือครูบาศรีวิชัยได้จัดทำพระเครื่องคล้ายพระรอดหรือพระคงของลำพูนโดยเมื่อครูบาปลงผมในวันโกนก็จะเก็บเอาเส้นผมนั้นมาผสมกับมุกมีส่วนผสมกับน้ำรักกดลงในแบบพิมพ์ดินเผาแล้วแจกกันไปโดยไม่ต้องเช่าในระหว่างศิษย์กล่าวกันว่าเพื่อป้องกันภยันตรายต่าง ๆซึ่งก็ลือกันว่ามีอิทธิฤทธิ์เป็นที่น่าอัศจรรย์


    ส่วนเหรียญโลหะรูปครูบาศรีวิชัยนั้น พระครูวิมลญาณประยุต (สุดใจวิกสิตฺโต)ชาวจังหวัดอ่างทองได้ร่วมกับคณะสงฆ์จังหวัดลำพูนสร้างขึ้นให้เช่าเพื่อนำเงินมาช่วยในการปลงศพครูบาศรีวิชัยโดยให้เช่าในราคาเหรียญละ ๕ สตางค์ ทั้งนี้ สิงฆะ วรรณสัยยืนยันจากประสบการณ์ที่ท่านรู้จักครูบาดีและได้คลุกคลีกับเรื่องพระเครื่องมาตั้งแต่ครูบายังไม่มรณภาพนั้นระบุว่าไม่มีเหรียญรุ่นดอยสุเทพไม่มีเหรียญที่ครูบาศรีวิชัยสร้าง หรือวัตถุมงคลอื่นใดที่ครูบาจะสร้างขึ้นนอกจากการให้พรและความอิ่มใจในการทำบุญกับท่านเท่านั้นแต่ในระยะหลังก็พบว่ามีการสร้างวัตถุมงคลของครูบาอยู่เป็นจำนวนมาก ในรูปแบบต่างๆโดยผู้ที่ครอบครองวัตถุมงคลเหล่านั้นมีความศรัทธาในความดีของ "ตนบุญ"เป็นสำคัญ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กันยายน 2013
  12. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    กราบสักการะขอพรจากพระครูบาศรีวิชัยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ถึงคราวได้ทดลองขับรถขึ้นภูเขาอันคดเคียวและลาดชันเป็นครั้งแรกในชีวิต สร้อยฟ้ามาลารู้สึกกังวลเพราะเคยนั่งรถขึ้นมาเมื่อ ๓ ปีที่แล้ว ซึ่งโค้งสุดท้ายก่อนถึงวัดจะลาดชันมากพอสมควร พอสตาร์ทเข้าโค้งแรกโค้งสองสร้อยฟ้ามาลาก็เริ่มแซงรถคันที่ช้าตามสไตล์ขับช้าไม่เป็น อิ อิ สนุกดีขับรถขึ้นเขา รถใช้เกียร์ออโตเมติค แต่เชนจ์เกียร์เป็นเกียร์ธรรมดาไปเลย อืมม..... ไม่ยักกะรู้ว่ารถเราก็มีแรงขึ้นเขาได้ขนาดนี้และแรงของเครื่องยังเหลืออีก(เพราะบรรทุกน้ำหนักเกินพิกัด คือ สมาชิกที่นั่งเบาะหลังไซด์ XL ๒ คน บวกกับสัมภาระเต็มฝากระโปรงท้ายที่แทบปิดไม่ลงและสัมภาระที่ไว้ในรถอีกเพียบจนที่นั่งแทบไม่มี)
    และแล้วก็มาถึงโค้งลาดชันโค้งสุดท้ายก็ผ่านไปด้วยดี มาถึงแล้ว วัดพระธาตุดอยสุเทพ ราชวรวิหาร



    [​IMG]

    วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร

    เป็นวัดที่มีความสำคัญในแง่ประวัติศาสตร์และเป็นวัดท่องเที่ยวซึ่งเป็นที่รู้จักของประชาชนชาวไทยโดยทั่วไปในฐานะที่เป็นวัดที่มีความศักดิ์สิทธิ์มากวัดหนึ่งของประเทศไทยตั้งอยู่บนยอดดอยสุเทพห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปทางทิศตะวันตกประมาณ ๑๔กิโลเมตรอยู่สูงเหนือระดับน้ำทะเล ๑,๐๕๓เมตร อยู่ในเขตตำบลสุเทพ อำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่


    [​IMG]

    การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาวัดพระธาตุดอยสุเทพเป็นพระเจดีย์ที่บรรจุพระบรมธาตุองค์หนึ่ง เหมือนกับพระเจดีย์ทั่วๆไป ยังไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นวัด มีฐานะเป็นเพียงสำนักสงฆ์เท่านั้นต่อมาในสมัยเจ้าอาวาสองค์ที่ ๕ พ.ศ.๒๔๙๔ (พระครูญาณลังกา) พระธาตุดอยสุเทพได้รับการจดทะเบียนขึ้นเป็นวัดราษฎร์จากกรมการศาสนาอย่างถูกต้องโดยให้ชื่อว่าวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

    จากการที่ได้รับการจดทะเบียนขึ้นเป็นวัดราษฎร์อย่างถูกต้องแล้ว ต่อมาอีก ๑๒ ปี คือปี พ.ศ.๒๕๐๖วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหารก็ได้รับคัดเลือกให้ยกฐานะจากวัดราษฎร์ขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นโทชนิดราชวรวิหาร


    [​IMG]

    องค์พระเจดีย์ซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขาแห่งหนึ่ง มีชื่อว่า ดอยสุเทพแต่เดิมเป็นที่อยู่อาศัยของฤาษี มีนามว่า สุเทวะ เป็นภาษาบาลี มีความหมายว่าเทพเจ้าที่ดี ซึ่งตรงกับความหมายของคำว่า สุเทพ นั่นเอง เพราะฉะนั้นจึงได้ ชื่อว่าดอยสุเทพ ซึ่งมาจากชื่อของฤๅษี คือสุเทวะฤาษี

    ตามประวัติได้แจ้งว่า เมื่อต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ พระเจ้ากือนาได้ทรงสร้างวัดพระธาตุดอยสุเทพ ราชวรวิหารไว้บนยอด เขาดอยสุเทพโดยได้นำเอาพระบรมธาตุ ของพระพุทธเจ้า ที่พระมหาสวามี นำมาจากเมืองปางจาจังหวัดสุโขทัย บรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์พระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหารนอกจากจะเป็นวัดที่มีความสำคัญมากแล้ว ยังเป็นพระอารามหลวง ๑ ใน ๔ ของจังหวัดเชียงใหม่อีกด้วย ชาวเชียงใหม่เคารพนับถือพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหารมากเสมือนหนึ่งเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่มาแต่โบราณกาล

    กล่าวถึงราชวงศ์มังรายเป็นวงศ์ของกษัตริย์ที่ทรงปกครองเมืองเชียงใหม่มาตามลำดับซึ่งพญามังรายได้สร้างเมืองเชียงใหม่ในปี พ.ศ.๑๘๓๙ต่อมาได้มีกษัตริย์ผู้ครองนครเชียงใหม่ ผู้ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนามาตามลำดับดังนี้
    ๑.พญาเม็งรายมหาราช พ.ศ.๑๘๐๔ผู้สร้างเมืองเชียงใหม่
    ๒.พญามังคราม พ.ศ.๑๘๕๔
    ๓.พญาแสนพู พ.ศ.๑๘๖๘
    ๔.พญาคำฟู พ.ศ.๑๘๗๗
    ๕.พญาผายู พ.ศ.๑๘๗๙
    ๖.พญากือนา พ.ศ.๑๘๙๘ผู้สร้างวัดพระธาตุดอยสุเทพ ราชวรวิหาร
    ๗. พญาแสนเมืองมา พ.ศ.๑๙๒๘
    ๘.พญาสามฝั่งแกน พ.ศ.๑๙๔๕
    ๙.พญาติโลกราช พ.ศ.๑๙๘๔ผู้ทำนุบำรุงวัดพระธาตุดอยสุเทพ ราชวรวิหาร
    ๑๐.พญายอดเชียงราย พ.ศ.๒๐๓๐
    ๑๑.พญาเมืองแก้ว พ.ศ.๒๐๓๘
    ๑๒.พญาเมืองเกษกล้าพ.ศ.๒๐๖๘ผู้ซ่อมแซมวัดพระธาตุดอยสุเทพ ราชวรวิหารครั้งใหญ่
    ๑๓.ท้าวชายคำ พ.ศ.๒๐๘๑ผู้ก่อสร้างเพิ่มเติมในวัดพระธาตุ ดอยสุเทพราชวรวิหาร
    ๑๔.พญาเมืองเกษกล้าพ.ศ.๒๐๘๖
    ๑๕.พระนางจิรประภา พ.ศ.๒๐๘๘
    ๑๖.พญูาอุปเยาว์ พ.ศ.๒๐๘๙
    ๑๗.ท้าวแม่กุ พ.ศ.๒๐๙๔
    ๑๘.พระนางวิสุทธเทวีพ.ศ.๒๑๐๗ - ๒๑๒๑

    หมายเหตุ
    พญาเมืองเกษเกล้า ปกครอง ๒สมัย ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๑๒๑พม่าได้เลิกแต่งตั้งกษัตริย์ราชวงศ์เม็งรายเพราะไม่ได้ขึ้นตรงต่อพม่าอีก

    การบูรณะครั้งแรก

    วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร
    สร้างโดยพระเจ้ากือนากษัตริย์องค์ที่ ๖แห่ง ราชวงศ์เม็งราย ในปี พ.ศ.๑๙๑๖(ค.ศ.๑๓๗๓)วัดนี้ได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างดีจากกษัตริย์ไนราชวงศ์เม็งรายทุกพระองค์ในแต่ละสมัยมีการซ่อมแซมอยู่บ่อยครั้ง ด้วยเหตุที่พระเจดีย์มีอายุถึง ๑๕ ปีสมควรที่จะทำการสร้าง และปรับปรุงเสียใหม่ ดังนั้นในปี พ.ศ.๒๐๖๘(ค.ศ.๑๕๒๕) พระเจ้าเกษเกล้า กษัตริย์องค์ที่ ๑๒ แห่งราชวงศ์เม็งรายได้ไปนิมนต์พระเถระรูปหนึ่งอยู่ที่วัดอโศการาม (วัดกู่มะลัก)จังหวัดลำพูนซึ่งเป็นพระที่ประชาชนเคารพนับถือมากองค์หนึ่งชื่อว่าพระมหาญาณมงคลโพธิ มาเป็นประธานในการบูรณะปฏิสังขรณ์พระเจดีย์โดยการขยายพระเจดีย์ให้ใหญ่ขึ้นกว่าเดิมคือจากเดิม สูง ๕วากว้าง ๑ - ๔๓วา เป็นสูง ๑๑วา กว้าง ๖วาซึ่งเป็นขนาดที่เป็นอยู่ทุกวันนี้

    การก่อสร้างเพิ่มเติม
    นับจากที่ได้บูรณะครั้งแรกมาได้ ๑๓ปี คือ พ.ศ.๒๐๘๑(ค.ศ.๑๕๓๘)พระเจ้าชายคำ พระโอรสของพระเจ้าเกษเกล้า ได้ขึ้นครองราชย์เมืองเชียงใหม่ได้ไปนิมนต์พระมหาญาณมงคลโพธิองค์เดิมมาเป็นประธานในการก่อสร้างอีกครั้งหนึ่งโดยพระองค์ได้พระราชทานทองคำหนักประมาณ ๑,๗๐๐บาทให้ช่างทำเป็นแผ่นทองคำจังโกปิดทั่วองค์พระเจดีย์และพระองค์ยังได้พระราชทานเงินสดอีก ๖,๐๐๐บาทเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างพระวิหารด้านหน้า และด้านหลังศาลาระเบียงรอบองค์พระเจดีย์ทั้ง ๔ด้านและจิตรกรรมฝาผนังทั้งหมดดังที่ปรากฏให้เห็นอยู่ทุกวันนี้

    ในปี พ.ศ.๒๑๐๐ (ค.ศ.๑๕๕๗)พระมหาญาณมงคลโพธิ แม้ท่านจะมีอายุมากแล้ว แต่ท่านก็ยังแข็งแรงดีและพร้อมที่จะทำงานท่านได้เป็นประธานก่อสร้างบันไดพญานาค ขนาดความยาว ๓๐๖ขั้น จากล่างถึงบนท่านทำหน้าที่ควบคมงานก่อสร้างด้วยตนเอง ตัวพญานาคทั้ง ๒ข้างทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ตกแต่งอย่างปราณีต พญานาคแต่ละตัวมี ๗หัวบันไดนาคนี้สร้างมานานกว่า ๔๐๐ปีมีการชำรุดไปบ้างแต่ก็ได้รับการบำรุงซ่อมแซมอยู่ตลอดเวลาจนทำให้พวกเราทุกคนได้เห็นบันไดนาคอยู่ในสภาพเดิมตราบเท่าทุกวันนี้

    ทางเดินขึ้นพระธาตุดอยสุเทพ
    ในสมัยก่อนการขึ้นไปนมัสการพระธาตุดอยสุเทพนั้น เป็นเรื่องที่ยากลำบากเหลือเกินเพราะไม่มีถนนสะดวกสบายเหมือนปัจจุบัน ทางเดินก็แคบๆ และ ไม่ราบเรียบต้องผ่านป่าเขาลำเนาไพร และปีนเขาต้องใช้เวลายาวนานถึง ๕ ชั่วโมงกว่าจนมีคำกล่าวขานกันทั่วไปในสมัยนั้นว่า ถ้าไม่มีพลังบุญและศรัทธาเลื่อมใสจริงๆก็จะไม่มีโอกาสได้กราบไหว้พระธาตุดอยสุเทพ

    ในปี พ.ศ.๒๔๗๗(ค.ศ.๑๙๓๔)ครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทย มาจากวัดบ้านปาง จังหวัดลำพูนเป็นผู้เริ่มดำเนินการสร้างถนนขึ้นสู่พระธาตุดอยสุเทพ โดยมีเจ้าแก้วนวรัฐเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่สมัยนั้น เป็นผู้เริ่มขุดดินด้วยจอบเป็นปฐมฤกษ์ตรงที่หน้าสวนสัตว์เชียงใหม่ปัจจุบัน ใกล้ๆ กับบริเวณน้ำตกห้วยแก้วโดยเริ่มสร้างวันที่ ๙พฤศจิกายน ๒๔๗๗

    ฝูงชนอาสาร่วมสร้างถนน
    เมื่อข่าวการสร้างถนนขึ้นดอยสุเทพได้แพร่สะพัดไปยังจังหวัดต่างๆในภาคเหนือ ชาวพุทธผู้เลื่อมใสในครูบาศรีวิชัยต่างทยอยกันมาจากทั่วสารทิศจนเต็มบริเวณเชิงดอยหมดเพื่อมาร่วมสละแรงงานช่วยสร้างถนน โดยไม่มีค่าจ้างใดๆ ทั้งสิ้น วันๆหนึ่งจะมีประชาชนมาร่วมสร้างถนนประมาณ ๓ – ๔ พันคนจากทั่วทุกจังหวัดภาคเหนือรวมไปถึงอุตรดิตถ์-พิษณุโลกปริมาณคนงานที่มาช่วยมีมากเกินความต้องการครูบาศรีวิชัยจึงได้กำหนดให้สร้างถนนหมู่บ้านละ ๑๐วาเท่านั้น และต่อมายังได้ลดลงอีกเหลือประมาณหมู่บ้านละ ๒วา ๓วาเพราะมีคนมาขอร่วมแรงงานสร้างมากขึ้นเรื่อยๆ

    นับเป็นเรื่องน่าอัศจรรย์มากที่การสร้างถนนบนภูเขายาวถึง ๑๑กิโลเมตรใช้เวลาเพียง ๕เดือนกับอีก ๒๒วัน ทั้งๆ ที่อุปกรณ์การสร้างทางมี เพียงจอบและเสียม เท่านั้น อุปกรณ์ทันสมัยเช่นในปัจจุบันยังไม่มีพิธีเปิดใช้ถนนใหม่ได้เริ่มเมื่อวันที่ ๓๐เมษายน ๒๔๗๘หรือค.ศ.๑๙๓๕โดยท่านครูบาศรีวิชัยเป็นคนแรกที่นั่งรถยนต์ขึ้นดอยสุเทพตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา



    [​IMG]

    ต้นพระศรีมหาโพธิ์อินเดีย
    ในปี พ.ศ.๒๔๘๔จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้ส่งผู้แทนพิเศษไปอินเดีย โดยมี ฯพณฯ ถวัลย์ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นหัวหน้าคณะ เพื่อขอให้รัฐบาลอินเดียช่วยแบ่งกิ่งตอนต้นโพธิ์ให้แก่ประเทศไทย และรัฐบาลอินเดียก็ได้รีบจัดส่งต้นโพธิมาให้ประเทศไทยทางเครื่องบิน จำนวน ๕ต้นโดยรัฐบาลได้แบ่งต้นโพธิปลูกที่วัดพระศรีมหาธาตุกรุงเทพมหานคร จำนวน ๒ต้นส่วนที่เหลืออีก ๓ต้น ได้จัดส่งไปปลูกที่ต่างจังหวัด ราม ๓แห่ง คือ ๑. จังหวัดนครศรีธรรมราช ปลูกที่วัดพระมหาธาตุ ๒.จังหวัดนครพนม ปลูกที่วัดพระธาตุพนม๓.จังหวัดเชียงใหม่ ปลูกที่วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหารพิธีปลูกต้นโพธิ์ในแต่ละจังหวัดนั้น มีสมเด็จมหาวีรวงศ์สังฆนายกเป็นประธานในพิธีทุกครั้ง



    [​IMG]

    ต้นโพธิ์อินเดียถึงจังหวัดเชียงใหม่
    ต้นโพธิ์ต้นที่ ๕ถูกส่งมาทางรถไฟ ถึงสถานีเชียงใหม่วันที่ ๒กรกฎาคม ๒๔๘๖เวลาบ่าย ๓โมง มีประชาชนจากทั่วสารทิศมาต้อนรับต้นโพธิ์เต็มสถานีรถไฟหมดขบวนต้อนรับได้เคลื่อนจากสถานีรถไฟไปยังวัดพระสิงห์ผ่านถนนเจริญเมือง-ถนนท่าแพและราชดำเนินตลอดเส้นทางได้รับการต้อนรับอย่างล้นหลามต้นโพธิ์ได้มาพักฉลองสมโภชที่วัดพระสิงห์เป็นเวลา ๕วัน ๕คืน

    เนื่องจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้ใต้ต้นโพธิ ที่พุทธคยาอินเดียชาวพุทธจึงเคารพนับถือต้นโพธิ์และถือว่าเป็นต้นไม้ที่สำคัญและประเสริฐยิ่งเส้นทางขบวนผ่านจากสถานีรถไฟถึงวัดพระสิงห์ ซึ่งยาวถึง ๔กิโลเมตรกว่าประชาชนต่างพร้อมใจกันมาต้อนรับและกราบไหว้ต้นโพธิ์อย่างเนืองแน่นเต็มท้องถนนมากเป็นประวัติการณ์ งานสมโภชต้นโพธิ์จัดขึ้นที่วัดพระสิงห์รวม ๕คืนจนถึง วันที่ ๗กรกฎาคม ๘๖ ต้นโพธิ์ก็ถูกนำขึ้นรถยนต์มุ่งหน้าขึ้นสู่วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร เวลา ๙.๓๐น.เพื่อทำพิธีปลูกที่วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหารซึ่งยังคงมีให้เห็นอยู่ตราบเท่าทุกวัน



    [​IMG]

    พระบรมธาตุดอยสุเทพ
    สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้ากือนาธรรมิกราช เจ้าเมืองเชียงใหม่องค์ที่ ๙โดยพระเจ้ากือนาทรงรับสั่งให้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุที่พระมหาสุมนเถระนำมาจากเมืองศรีสัชนาลัย ซึ่งได้ขุดพบจากนิมิตฝันของพระมหาสุมนเองเมื่ออัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาสู่เชียงใหม่แล้ว พระธาตุได้แยกเป็นสองส่วนพระเจ้ากือนาทรงเลื่อมใส ได้อัญเชิญบรรจุไว้ที่พระธาตุวัดสวนดอก ส่วนองค์ที่สองได้อัญเชิญขึ้นบนหลังช้างเพื่อเสี่ยงทายว่า ช้างหยุดที่ใดก็จะสร้างเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุที่นั่น แล้วปล่อยช้างไปช้างได้มุ่งหน้าไปสู่ทิศตะวันตก ขึ้นไปยังดอยสุเทวะฤาษี หรือดอยสุเทพปัจจุบันแล้วมาหยุดที่ยอดดอยสุเทพ

    พระเจ้ากือนาทรงรับสั่งให้สร้างพระเจดีย์ ณที่นั้น มีขนาดสูง ๕วา เมื่อ พ.ศ. ๑๙๑๖ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๐๖๘ พระเจ้าเกษเกล้ากษัตริย์องค์ที่ ๑๒ ของเชียงใหม่ ได้ทำการบูรณะพระเจดีย์โดยได้นิมนต์พระมหาญาณมงคลโพธิ จากลำพูนมาเป็นประธานการบูรณะโดยขยายพระเจดีย์ให้ใหญ่ขึ้นกว่าเดิม สูง ๑๑ วา กว้าง ๖ วาที่ปรากฏทุกวันนี้

    รอบองค์พระบรมธาตุ ประกอบด้วยสิ่งสำคัญ ๕ ประการได้แก่
    ๑. ฉัตร ๔ มุมทำด้วยทองเหลือง สร้างโดยพระเจ้ากาวิละ กษัตริย์ผู้ครองนครเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ.๒๓๔๘ มีความหมายว่า ฉัตรเป็นสัญลักษณ์ของความร่มเย็นซึ่งแสดงให้ถึงความสงบร่มเย็นที่ได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนาที่แผ่ไปใน ทั้ง ๔ทิศ
    ๒. สัตติบัญชรหรือรั้วหอก ที่อยู่รอบพระธาตุซึ่งมีที่มาจากเหตุการณ์แบ่งพระบรมสารีริกธาตุของโทณพราหมณ์เมื่อภายหลังการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระเนื่องจากเกิดเหตุการณ์แย่งพระบรมสารีริกธาตุของเมืองต่างๆเพื่อนำไปไว้บูชาประจำเมือง โทณพราหมณ์จึงทำหน้าที่แบ่งโดยให้ทหารถือหอกรอบล้อมพระบรมสารีริกธาตุไว้ เพื่อป้องกันการแย่งชิงจึงเป็นที่มาของรั้วหอกรอบพระบรมธาตุ
    ๓.หอยอลักษณะเหมือนวิหารขนาดเล็ก ประจำอยู่ ๔ ด้าน ของพระบรมธาตุภายในมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ มีความหมายถึงการบูชาหรือสรรเสริญคุณของพระพุทธเจ้า (ยอคุณ)
    ๔. หอท้าวโลกบาลซึ่งเป็นหอยอดแหลมขนาดเล็ก ประจำอยู่ ๔ มุมของพระบรมธาตุ หมายถึงที่ประดิษฐานของท้าวโลกบาลทั้ง ๔ ซึ่งเป็นเทพที่ปกปักรักษาสิ่งสำคัญต่างๆ ๔ ทิศทำหน้าที่รักษาพระบรมธาตุ ได้แก่
    ๑.ท้าวกุเวรหรือท้าวเวสสุวรรณ มียักษ์เป็นบริวารทำหน้าที่เฝ้ารักษาทิศเหนือ
    ๒. ท้าวธตรัฐมีพวกคนธรรพ์เป็นบริวาร ทำหน้าที่รักษาทิศตะวันออก
    ๓. ท้าววิรูฬปักข์มีฝูงนาคเป็นบริวารทำหน้าที่รักษาด้านทิศตะวันตก
    ๔. ท้าววิรุฬหกมีอสูรเป็นบริวาร ทำหน้าที่รักษาด้านทิศใต้
    ๕. ไหดอกบัวหรือ ปูรณะฆะฏะ (ปูรณะ แปลว่าเต็ม,สมบูรณ์, ฆฏะ แปลว่า หม้อ) แปลว่า หม้อที่แสดงถึงความสมบูรณ์ซึ่งหมายถึงความเจริญรุ่งเรื่องของพระพุทธศาสนาในล้านนาไทย


    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กันยายน 2013
  13. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    คำไหว้พระบรมธาตุดอยสุเทพ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ( ๓ รอบ)

    สุวัณณะเจติยัง เกสาวะระมัตถะลุงคังวะรัญญะธาตุง
    สุเทวะนามะกัง นะระเทเวหิ สัพพะปูชิตัง อะหัง วันทามิสัพพะทา.

    ช่วงนี้มีการบูรณะองค์พระบรมธาตุไม่ว่าจะที่ วัดพระธาตุลำปางหลวง จังหวัดลำปาง วัดพระธาตุหริภุญชัย ราชวรมหาวิหาร จังหวัดลำพูน และวัดพระธาตุดอยสุเทพ ราชวรวิหาร ซึ่งคณะของสร้อยฟ้ามาลาได้ร่วมทำบุญสร้างฉัตรถวายองค์พระธาตุในสองแห่งแรก ส่วนพระธาตุดอยสุเทพรู้สึกว่ายังไม่มีการบูรณะฉัตรใหม่ เห็นก็เพียงบูรณะองค์พระธาตุโดยรอบ ซึ่งก็ได้ทำบุญให้กับทางวัดตามกำลังที่ทำได้

    วิหารพระพุทธชินสีห์สุวรรณเจดีย์
    เป็นวิหารอยู่ด้านทิศใต้ของพระบรมธาตุ เป็นสถานที่ประกอบกิจกรรมทางศาสนาของพระภิกษุสงฆ์ เช่นทำวัตรสวดมนต์ ตลอดพิธีกรรมสำคัญต่างๆ ทางศาสนา ข้างในประกอบด้วยพระประธาน พระพุทธชินราชและพระพุทธรูปอีกหลายองค์ ด้านฝาผนังของวิหาร มีภาพเขียนเรื่องพระเวสสันดรชาดกซึ่งเป็นภาพเก่า
    พระวิหารพระพุทธ สร้างขึ้นโดยพระเจ้ากาวิละ เมื่อ พ.ศ.๒๓๔๘ นอกจากนั้น พระเจ้ากาวิละยังทรงได้สร้างฉัตรประจำมุมพระธาตุอีกด้วย

    วิหารพระเจ้าทันใจ
    เป็นวิหารอยู่ด้านทิศตะวันออกของพระบรมธาตุด้านในประกอบด้วยพระเจ้าทันใจ ๑องค์ประดิษฐานอยู่แทนแก้วด้านบนและองค์ด้านล่างเป็น พระสิงห์หนึ่งศิลปะเชียงแสน (พระสิงห์)เป็นวิหารขนาดเล็กติดกับพระบรมธาตุด้านเหนือสำหรับให้พุทธศาสนิกชนได้สักการะบูชา เพื่อระลึกถึงพระคุณของพระพุทธองค์

    คำไหว้พระเจ้าทันใจ
    ตะมะหังขิปปะจิตตะพุทธังอภิปูชะยามิ
    ตะมะหังขิปปะจิตตะพุทธังเมสิรสา อภิปูชะยามิ
    ขิปปะจิตตะพุทธานุภาเวนะสะทา โสตถีภะวันตุเม
    ขิปปะจิตตะพุทธานุภาเวนะสะทา มะหาลาโภ ภะวันตุเม
    ขิปปะจิตตะพุทธานุภาเวนะสะทามะหายะโส ภะวันตุ เม


    [​IMG]


    [​IMG]

    วิหารพระเจ้าอุ่นเมือง
    เป็นวิหารอยู่ด้านทิศตะวันตกของพระบรมธาตุด้านในประกอบด้วยพระเจ้าอุ่นเมือง ๑องค์ซึ่งประดิษฐานอยู่แทนแก้วด้านบนและองค์ด้านล่างเป็น พระสิงห์หนึ่งศิลปะเชียงแสน (พระสิงห์)และพระพุทธรูปองค์เล็กๆ อีกจำนวนหนึ่งเป็นวิหารขนาดเล็กติดกับพระบรมธาตุด้านเหนือสำหรับให้พุทธศาสนิกชนได้สักการะบูชา เพื่อระลึกถึงพระคุณของพระพุทธองค์



    [​IMG]



    วิหารพระเจ้ากือนา
    สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๐โดยพระราชรัตนากร (คำ ธมมจาโร)อดีตผู้เป็นอธิบดีสงฆ์วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร ลำดับที่ ๖ได้ดำเนินการสร้างวิหารขึ้นหลังหนึ่งเป็นวิหารไม้สักทั้งหลังรูปแบบลักษณะคล้ายวิหารลายคำ วัดพระสิงห์ มีขนาดกว้าง ๘วา ยาว ๑๒วาเพื่อเป็นราชานุสรณ์และกตัญญูกตเวทิตธรรม แด่พระเจ้ากือนาพร้อมด้วยพระมหาสุมนเถระพระผู้อัญเชิญพระบรมธาตุประดิษฐานบนหลังพญาช้างขึ้นมาถึงยอดสุเทวบรรพตก่อเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุอันเป็นปฐมเหตุให้สถานที่แห่งนี้เจริญรุ่งเรืองเป็นศรีแก่นพบุรีมาตราบเท่าทุกวันนี้การก่อสร้างยังไม่เสร็จสมบูรณ์ท่านได้ถึงแก่มรณภาพไปก่อน ต่อมาพระญาณสมโพธิ (ธงชัย สุวรรณสิริ)ผู้เป็นอธิบดีสงฆ์ลำดับที่ ๗ได้สืบสานเจตนารมณ์ดำเนินการก่อสร้างต่อจนเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ.๒๕๔๕สิ้นค่าใช้จ่าย ๕,๐๐๐,๐๐๐ (ห้าล้านบาทถ้วน) ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูป นามว่า "พระศรีสุคตนบุรี"วิหารหลังนี้ให้ชื่อว่า "วิหารพระเจ้ากือนา"


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]
    พระศรีสุคตนพบุรี
    ประดิษฐานอยู่ในวิหารพระเจ้ากือนา ซึ่งพระญาณสมโพธิ (ธงชัย สุวรรณศิริ)อธิบดีสงฆ์วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร ลำดับ ๗มีเจตน์จำนงประสงค์จะได้พระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ปางลีลารูปแบบล้านนาเพื่อประดิษฐาน ณซุ้มในวิหารพระเจ้ากือนา คณะผู้มีกุศลจิตทราบถึงเจตน์จำนงดังกล่าวอันประกอบด้วยนางณัฐพร โรจตระการ, นางยุนิต เตชุไพบูลย์, นางนารี ทองสวัสดิ์ โดยมีนายบุญธรรม ยศบุตร เป็นผู้ประสานงาน จึงได้เชิญชวนญาติมิตรร่วมกันจัดทำรูปแบบเสนอพระญาณสมโพธิเมื่อท่าน เห็นชอบแล้วจึงได้จัดพิธีหล่อพระขึ้น เมื่อเดือน พฤศจิกายน ๒๕๔๔ส่วนผสมประกอบด้วย เงิน ๖๕กิโลกรัม ทองแดง ๑๓๐กิโลกรัม ดีบุก ๔กิโลกรัม ประกอบพิธีพุทธภิเษกในพระวิหารหลวงวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร เมื่อวันมาฆบูชาที่ ๒๖กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๕ โดยพระเกจิอาจารย์ในจังหวัดเชียงใหม่ ๕๙ รูป สิ้นค่าใช้จ่ายประมาณ ๖๐๐,๐๐๐ บาท(หกแสนบาทถ้วน) เพื่ออนุวัตรตามเจตนารมณ์ในการสร้างวิหารพระเจ้ากือนาพระผู้อัญเชิญพระบรมธาตุประดิษฐาน ณ สุเทวบรรพตแห่งนี้ดีแล้ว ดังนั้น พระญาณสมโพธิจึงได้ขนานนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า "พระศรี สุคตนพบุรี"

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กันยายน 2013
  14. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    a.jpg



    a.jpg


    a.jpg

    วิหารพระพฤหัส
    เป็นวิหารอยู่ด้านทิศเหนือของพระบรมธาตุ ด้านในประกอบด้วยพระประธาน พระพุทธชินราชรูปเหมือนครูบาศรีวิชัย และพระพุทธรูปอีกหลายองค์ ด้านฝาผนังของวิหารมีภาพเขียนเรื่องราวตำนานพระธาตุดอยสุเทพ



    a.jpg

    นักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปกราบสักการะบูชาพระประธานในพระวิหารได้หรือการถ่ายภาพเป็นที่ระลึกก็ดูน่าศักดิ์สิทธิ์แต่ทางวัดขอความร่วมมือให้นั่งลงขณะถ่ายภาพ ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ



    อุโบสถวัดพระธาตุดอยสุเทพ
    สร้างขึ้นในสมัยพระเมืองเกษเกล้าโดยอุบาสกผู้มีศรัทธาคนหนึ่ง ชื่อ มงคลศิลา เป็นผู้สร้างถวายโดยได้อาราธนาพระมหาราชา วัดบุบผาราม (วัดสวนดอก) เป็นประธานผูกพัทธสีมา


    อุโบสถเป็นสถานที่สำคัญสำหรับพระภิกษุสงฆ์ในการประกอบพิธีกรรมทางสงฆ์ให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยซึ่งมีพุทธบัญญัติให้พระภิกษุสงฆ์ประกอบพิธีกรรมบางอย่าง (ประกอบสังฆกรรม)ได้ในเขตพัทธสีมาเท่านั้นซึ่งได้แก่อุโบสถอันเป็นพื้นที่ได้รับพระบรมราชานุญาตจากกษัตริย์ผู้ปกครองหรือเจ้าของรัฐอย่างถูกต้องสังฆกรรมที่กระทำในอุโบสถได้แก่ พิธีอุปสมบทพระภิกษุ พิธีกรานกฐินพิธีฟังพระปาติโมกข์ เป็นต้น ภายนอกรอบอุโบสถ มีพัทธสีมา (พัทธสีมาคือหลักเขตแดนบอกให้ทราบถึงเขตของอุโบสถที่ได้รับพระราชทานที่ดินจากกษัตริย์)ซึ่งมีทั้งหลักพัทธสีมาดั้งเดิมที่เป็นหิน และหลักพัทธสีมาใหม่ที่ทำจากคอนกรีตด้านล่างของพัทธสีมา มีลูกนิมิต (ลูกหินกลมขนาดใหญ่) ฝังอยู่ในดิน
    ภายในพระอุโบสถมีพระพุทธศิลปเชียงแสนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเททองหล่อในคราวเสด็จนมัสการพระบรมธาตุสุเทพเมื่อวันมาฆบูชา ที่ ๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๐๑



    a.jpg


    a.jpg

    ก็ยังมีศาสนสถานอีกหลายแห่งภายในวัดพระธาตุดอยสุเทพ ราชวรวิหารนี้ แต่สร้อยฟ้ามาลาเดินได้ไม่ทั่ว ก็เลยขอลงแค่เพียงที่ได้เห็นมา



    a.jpg

    จากนั้นคณะของเราก็ไปหาอะไรทานกลางวันกันที่ร้านตรงข้ามวัด สร้อยฟ้ามาลากับแมงปอแก้วสั่งข้าวซอยไก่ น้องของแมงปอแก้วแล้วก็หลานตัวเล็กสั่งก๋วยเตี๋ยวมั้ง แฟนของน้องสั่งข้าวเหนียวไก่ย่าง ซึ่งเกือบทุกครั้งที่ทานอะไรสร้อยฟ้ามาลาจะขาดน้ำตาลทรายไม่ได้ ก็เลยขอน้ำตาลทรายเพิ่ม แต่ปรากฏว่าทางร้านเอาน้ำปลามาให้ เอ เค้าก็พูดชัดนะว่าน้ำตาลทรายอ่ะ งง เลย ก็เลยต้องขอใหม่และย้ำช้าๆ ชัดๆ ว่าน้ำตาลทราย เขาถึงจะเข้าใจ


    ทานข้าวเสร็จก็เดินซื้อของ ที่มีให้เลือกซื้อมากมายซึ่งส่วนมากจะเป็นเสื้อผ้า สร้อยฟ้ามาลาได้เสื้อหนาวมา ๑ ตัว สวยดี ชอบๆ.....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กรกฎาคม 2018
  15. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    "ปาย ๗๖๒ โค้ง"

    จากนั้นก็ขับรถลงจากดอยสุเทพ มุ่งหน้าสู่อำเภอแม่ริม เพื่อจะขึ้นไปยัง ปาย ทีแรกกะว่าจะแวะพระตำหนักดาราภิรมย์ก่อนที่จะขึ้น ปาย แต่ดูๆ แล้วขณะนี้เวลาบ่ายสองโมงครึ่งกว่าแล้ว ระยะทางข้างหน้าที่ไป ปาย เป็นอย่างไรไม่รู้เกรงว่าจะทำความเร็วไม่ได้และจะมืดเสียก่อนทำให้มองทางลำบากจึงตัดสินใจมุ่งหน้าสู่ ปาย เลย.....



    [​IMG]


    ทางขึ้นสู่อำเภอปาย เป็นทางหลวงหมายเลข ๑๐๙๕ มี ๒ เลนรถวิ่งสวนกัน ทอดยาวคดเคี้ยวลึกเขาไปสู่ภูเขาสูงและหุบเขาที่เป็นเหวอยู่เบื้องล่าง ระหว่างทางจะมีร้านกาแฟ ชื่อว่า รักจัง ผู้คนที่ขับรถผ่านไปมาส่วนมากมักจะแวะซื้อกาแฟและแวะถ่ายรูปกัน มีวิว สวยๆ ให้ถ่ายรูปเยอะ และพักรถ พักขาไปในตัว เพราะฝ่าฟันกับโค้งหักศอกและลาดชันมาแล้วหลายร้อยโค้ง



    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]
    ร้านกาแฟ รักจัง.....


    ต่อมาก็จะต้องผ่าน โป่งเดือด และอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง ถัดจากนี้ไปจะยิ่งเป็นทางที่แคบลงบ้างบางช่วงและโค้งหักศอกพร้อมๆ กับการเลี้ยวขึ้นเขาและลงเขาที่ลาดชันมากๆ หลายๆ โค้ง หากใครขับรถส่งจังหวะไม่ดีก็จะอืดกันเลยทีเดียว มาถึงช่วงนี้บังเอิญมีรถตู้ทะเบียนกรุงเทพมหานคร ขับช้ามากๆ อยู่ข้างหน้า ซึ่งสร้อยฟ้ามาลาขับตามมาเป็นคันที่ ๓ เห็นจะได้ แล้วก็จะเป็นช่วงลงเขาโค้งหักศอกที่ลาดชัน คนขับท่านแตะเบรคเสียยาวเลย ทำให้รถคันต่อๆ มาต้องแตะเบรคเลียเบรคกับเป็นแถว ทำให้เบรคไหม้กับไปตามๆ กัน ซึ่งตรงนี้สร้อยฟ้ามาลาได้อ่านหนังสือการขับรถลงเขาขึ้นเขาให้ใช้เกียร์ต่ำเพื่อช่วยในการฉุดและชลอรถ ทำให้เบรคไม่ต้องใช้งานหนัก พอมีจังหวะ รถคันหน้าก็แซงๆ กันไป แต่ต้องใจกล้าและจับจังหวะดีๆ เพราะเป็นเลนส์สวนทางกัน และเร่งได้นิดเดียวก็ถึงโค้งแล้ว ก็มีลุ้นกันบ้างเล็กๆ น้อยๆ เลยได้ทราบว่าอาการเบรคไหม้แล้วจะมีอาการอะไรต่อก็คือ เบรคไม่ค่อยอยู่ แล้วคณะเราก็ผ่านสะพานประวัติศาสตร์ท่าปาย(ไว้แวะขากลับ) ผ่านร้านกาแฟ Coffee In Love(ไว้แวะขากลับ) แล้วเราก็มาถึงอำเภอปาย โดยใช้เวลาในการซิ่งผ่านโค้งและหุบเขา จากทางเข้าพระตำหนักดาราภิรมย์ อำเภอแม่ริม ถึงอำเภอปาย ใช้เวลา ๓ ชั่วโมงครึ่ง(นับเวลาจริงๆ ไม่น่าถึงนะ เพราะแวะที่ร้านกาแฟใกล้ตรงเลยแยกของถนนหมายเลข ๑๐๗ มาหน่อยเดียวประมาณ ๑๕ นาที แล้วก็แวะร้านรักจังตั้งเกือบอีกประมาณ ๑๕ นาที แล้วก็ติดขบวนรถช้าอีก)


    [​IMG]


    สรุปก็มาถึงปาย เวลา ๑๗.๓๐ น. วนหาที่พักที่เพื่อนจองไว้ให้ใกล้ๆ กับถนนคนเดิน พอเข้าที่พักได้ จัดแจงขนข้าวขนของ อาบน้ำ แต่งตัว เตรียมลุยถนนคนเดินยามราตรีกัน........
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กันยายน 2013
  16. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    [​IMG]



    [​IMG]



    [​IMG]



    [​IMG]



    [​IMG]



    [​IMG]



    [​IMG]



    [​IMG]



    [​IMG]



    [​IMG]



    [​IMG]



    [​IMG]



    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กันยายน 2013
  17. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    ระหว่างชมภาพยามค่ำคืนของ อำเภอปาย ก็จะขอเล่าถึงประวัติของที่นี่ให้ฟัง........



    a.jpg

    อำเภอปายเป็นเมืองเก่าแก่ประชากรที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในดินแดนแห่งนี้มาแต่เดิมคือชาวพ่ายหรือไปรซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใช้ภาษาตระกูลออสโตร-เอเชียติก สาขาว้า-เรียงดังมีร่องรอยหลักฐานซากวิหารและเจดีย์กระจายอยู่ทั่วไปทั้งบนภูเขาสูง ที่ดอนเชิงเขาบริเวณพื้นราบลุ่มน้ำปาย บางแห่งก่อสร้างด้วยหิน เช่นในผืนป่าบริเวณใกล้น้ำตกเอิกเกอเต่อ ซึ่งเป็นต้นน้ำแม่ปิงน้อยบางแห่งมีการขุดคูเป็นร่องลึกบนภูเขาสูงชัน มีเจดีย์บนยอดเขา



    a.jpg



    a.jpg



    a.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กรกฎาคม 2018
  18. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    มีหลักฐานว่าเจ้าเมืองคนแรกคือ ขุนส่างปาย ในสมัยพระเจ้าโหตรประเทศพระราชาธิบดีเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ส่งเจ้าแก้วเมืองออกสำรวจชายแดนได้พบว่าภูมิประเทศน่าสนใจจึงแนะนำให้ขุนส่างปายย้ายเมืองมาตั้งฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปายเพราะเป็นที่ราบกว้างขวางผู้คนจึงเรียกเมืองใหม่ว่า "เวียงใต้" ส่วนเมืองเก่าเรียกว่า "เวียงเหนือ"



    [​IMG]


    [​IMG]


    อากาศที่นี่หนาวๆ ควรอย่างยิ่งที่จะต้องสวมหมวก ถุงมือและเสื้อกันหนาวเดิน ไม่อย่างนั้นเดี๋ยวจะไม่สบายได้


    [​IMG]



    เดินไปเดินมาฝ่าฝูงชนอันคับคั่งเป็นร้อยเป็นพัน เอ หรือเป็นหมื่นคนหล่ะนี่ คนเยอะมาก แต่ไม่รู้เดินยังไง มาเจอกับเพื่อนที่ทำงานจนได้ หนีไม่พ้นกันเลย อยู่กรุงเทพฯก็เจอ มาแม่ฮ่องสอนก็ยังมาเจอกันอีก



    [​IMG]



    [​IMG]


    หิวแล้ว หาอะไรทานกันดีกว่า เดินไปเดินมา ร้านนี้เลยก็แล้วกัน ร้านผัดไทหน้าวิน



    [​IMG]



    [​IMG]


    ทานผัดไทเสร็จ ดันดื่มน้ำแข็งเข้าไป เอาหล่ะสิ หนาวเลย ทีแรกอากาศเย็นๆ ไม่รู้สึกหนาว เลยต้องออกเดินชมแสงสีและสินค้าอีกรอบหนึ่ง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กันยายน 2013
  19. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]



    แล้วก็ไม่พ้นไปได้ ๗ –๑๑ หาขนมกับนมตุนไว้คืนนี้ ซื้อของหนึ่งหอบย่อมๆ ซื้อตุ๊กตาพวกกุญแจเป็นของฝาก แล้วก็เดินกลับที่พัก...... วันนี้เข้านอนประมาณเกือบ ๕ ทุ่มได้ ง่วงแล้วหล่ะ นอนดีกว่า วันนี้พอแค่นี้ก่อน พรุ่งนี้ค่อยเล่าเรื่อง ปาย ให้ฟังต่อ แต่คณะของเราจะอยู่ที่ ปาย ครึ่งวัน จากนั้นจะไป..............ห้วยน้ำดัง



    To Be Continues…
    Pai Mini Stories : Part 3
    “หนาวไม่คลาย ห้วยน้ำดัง”

    ........................................

    Previous…..
    Pai Mini Stories : Part 1
    “น้ำค้าง นครพิงค์”

    ..............................................


    สรุปสถานที่การเดินทางในวันที่สอง
    ๑. สวนสัตว์เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
    ๒. กราบพระครูบาศรีวิชัย เชิงทางขึ้นดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่
    ๓. พระธาตุดอยสุเทพ ราชวรวิหาร จังหวัดเชียงใหม่
    ๔. อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน


    ..............................


    ข้อมูลอ้างอิง


    สวนสัตว์เชียงใหม่
    www.chiangmaizoo.com

    พระครูบาศรีวิชัย
    (เรียบเรียงจากงานของ วิลักษณ์ ศรีป่าซาง, ประวัติครูบาศรีวิชัยร่วมกับหลวงศรีประกาศ ตอนสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ ของ ส.สุภาภา ๑๐พค.๒๕๑๘, สารประวัติครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งลานนาไทย ของสิงฆะ วรรณสัยศูนย์หนังสือเชียงใหม่ พฤศจิกายน ๒๕๒๒, และตำนานครูบาศรีวิชัยแบบพิศดารและตำนานวัดสวน-ดอก สถาบันวิจัยสังคมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ๒๕๓๗)


    วัดพระธาตุดอยสุเทพ ราชวรวิหาร
    http://old.doisuthep.com


    ปาย
    http://pai.sadoodta.com





    ..............................



    สุดท้ายนี้อันกุศลที่ข้าพเจ้าได้กระทำในครั้งนี้ขออุทิศถวายแด่ คุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์ คุณบิดาคุณมารดา วงศาคณาญาติทั้งหลาย คุณครูบาอาจารย์ เจ้าฟ้า พระมหากษัตริย์เจ้านายทุกพระองค์ เทพยดาทั้งหลาย พระอินทร์ พระพรหม พระยม พระกาฬ ท่านท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ ท่านท้าวเวสสุวรรณ เจ้ากรุงพาลี ภูมิเจ้าที่ทั้งหลาย คุณแม่พระธรณี พระคงคา พระพาย พระเพลิง พระโพสพ พระยายมราช เจ้ากรรมนายเวร และขอให้ผลบุญจงได้สำเร็จผลแด่เพื่อนๆ สมาชิกในเว็ปพลังจิต ทุกท่าน



    ภาพและเรียงร้อยถ้อยคำ
    โดย สร้อยฟ้ามาลา




    .......................



    [​IMG]





    ..............


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กันยายน 2013
  20. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    [​IMG]



    [​IMG]



    [​IMG]



    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กันยายน 2013

แชร์หน้านี้

Loading...