๑. การลงสี (Pictograph) หรือการสร้างภาพด้วยสี ในวิธีต่างๆ เช่น วาดด้วยสีแห้ง (Drawing Withdraw Pigment) เขียนหรือ ระบายเป็นรูป (Painting) พ่นสี (Stenciling) สะบัดสี (Paint Splattering) การทาบหรือทับ (Imprinting)
๒. การทำรูปรอยลงในหิน มีวิธีต่างๆ เช่น ฝน จาร ขูดขีดแกะหรือ ตอก ฯลฯ การใช้สีที่พบในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติผาแต้ม เป็นสีแดงจะสัมพันธ์กับพิธีกรรมที่เกี่ยวกับความตายเพราะตามแหล่งโบราณคดีหลายแห่งในประเทศไทยมักจะเป็นสีแดง หรือสิ่งของสีแดงในหลุมฝังศพงานศิลปะที่ผาแต้มจึงอาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมที่เกี่ยวกับความตายของผู้ตายในสมัยนั้น
ภาพเขียนสีในอุทยานแห่งชาติผาแต้มที่พบ และเป็นที่รู้จัก มากที่สุดในประเทศไทยโดยมีกลุ่มภาพเขียน ทั้งหมด ๔ กลุ่ม ตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ชื่อว่า "ศิลปะถ้ำ"สีที่คนในยุคนั้นใช้ จะเป็นสีจากแร่ชนิดหนึ่ง ที่มีชื่อเรียกว่า เฮมาไทด์ หรือหินเทศ ภาษาพื้นบ้านเรียกหินชนิดนี้ว่า ดินลูกรังที่จริงแล้วก็คือหินทรายชนิดหนึ่ง มีชื่อหลักว่า หินทรายแดงจะพบได้ทั่วไปในพื้นที่ประเทศไทย และจะพบมากในพื้นที่ภาคอีสานซึ่งเต็มไปด้วยภูเขาหินทราย
หินทรายแดงประกอบด้วยอนุภาคดินทรายแป้งที่มีความละเอียดมา มีสีเทาปนแดง แร่ที่เป็นองค์ประกอบหลักคือแร่ควอตร์ และแร่เหล็กที่เรียกว่า เฮมาไทด์ (HEMATITE)
คนในยุดก่อนรู้จักนำเอาหินทรายแดงมาใช้ประโยชน์โดยเฉพาะตามแหล่งภาพเขียนสีโบราณจะพบว่ามีการนำเอาหินทรายแดงหรือหินเทศมาใช้เป็นวัตถุดิบในการวาดภาพตามผนังถ้ำตามหน้าผา หรือวาดลงบนเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ
.oO เรื่องสั้น ปั้นแต่ง Oo.
ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย สร้อยฟ้ามาลา, 22 กุมภาพันธ์ 2012.
หน้า 18 ของ 169
-
-
ภาพเขียนกลุ่มที่ ๑
เป็นกลุ่มภาพเขียนสีจุดแรกที่อยู่ตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติศิลปะถ้ำอยู่ด้านใต้หน้าผาของผาขามมีความสูงจากยอดเขาถึงทางราบแนวหน้าผา ๒๖๐ เมตรภาพเขียนสีกลุ่มที่ ๑ นี้ อาจจะมองเห็นไม่ชัดเจนมากนักต้องสังเกตตามผนังหินจะปรากฏภาพที่ระบายด้วยสีแดงออกคล้ำคล้ายสีน้ำหมาก ภาพที่ปรากฏคือ ภาพปลา ภาพสัตว์ ๔ เท้า ที่ค่อนข้างเลือน จำนวน ๑ ตัว คือ ภาพช้าง โดยมีเส้นตั้ง เส้นเฉียงและเส้นนอน วาดทับบนรูปภาพเหล่านั้น ลักษณะของภาพปลาจะเป็นการแสดงภาพแบบโครงสร้างภายใน หรือเรียกว่าภาพเอกซเรย์ ขนาดของภาพจะแตกต่างกันไป
ภาพเขียนสีที่แรกนี้ต้องมองกันดีๆ เพราะสีเลือนมากแล้ว ภาพนี้ปรับแสงเลยทำให้เห็นได้ชัดขึ้น
-
ภาพเขียนสีกลุ่มที่ ๒ ผาแต้ม
เป็นภาพเขียนสีกลุ่มใหญ่ที่อยู่ห่างจากเขียนกลุ่มผาขาม ๓๐๐ เมตรภาพเขียนสีในจุดนี้ เป็นกลุ่มภาพเขียนสีที่มีขนาดใหญ่ และ ยาวถึง ๑๘๐ เมตรมีหลากหลายแบบทั้งภาพคน สัตว์ และอื่นๆ กว่า ๓๐๐ ภาพ ปะปนกันบางภาพก็ซ้อนทับกันอยู่ ภาพที่พบในจุดนี้จะมีลักษณะสามารถแยกประเภทได้ชัดเจนใช้สีแดงเป็นส่วนใหญ่ มีการใช้เทคนิคทั้งการลงสีและการทำรูปรอยลงในเนื้อหินลักษณะเด่นของกลุ่มภาพเขียนสีที่ผาแต้มนี้จะเป็นภาพของฝ่ามือมนุษย์แบบทึบ และแบบโปร่ง ภาพสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ เห็นได้ชัดเจนว่า เป็นทั้งสัตว์บกและสัตว์น้ำ ภาพเขียนที่เป็นสัตว์บก เช่น ช้าง วัว สุนัขและภาพเขียนสีที่เป็นสัตว์น้ำ เช่น เต่าหรือตะพาบปลาบึก(ซึ่งเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่พบในลำน้ำโขง)ลักษณะของการวาดภาพมีทั้งการวาดโครงร่าง และการระบายสีทึบ ภาพสัตว์ต่างๆที่ปรากฏอยู่นี้ควรเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของมนุษย์ในยุคนั้น
-
ภาพเขียนสีกลุ่มที่ ๓ ผาหมอนล่าง
ห่างจากจุดที่ ๒ ประมาณ ๗๐๐ เมตร หรือเราอาจเดินกลับทางเดิม แล้วนั่งรถย้อนมาทางเสาเฉียง สู่ผาหมอนก็ได้ รถจอดได้ใกล้ศาลาแล้วเดินลงสู่ กลุ่มภาพเขียนที่ ๔ และ ๓ ตามลำดับ คำว่าผาหมอน เป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียกเพิงผาหินแห่งนี้ เนื่องจากว่ามีหินขนาดใหญ่ ๒ ก้อน เรียงคู่กัน อยู่บริเวณหน้าผาชั้นบน (ถ้ำผาหมอน) ซึ่งถ้ามองจากด้านล่างขึ้นมาจะเห็นก้อนหินทั้งสองคล้ายหมอนหิน ๒ ใบ วางเรียงอยู่ จากลักษณะของหินที่คล้ายหมอนหินดังกล่าว จึงเป็นที่มาของชื่อ “ผาหมอน” ที่ชาวบ้านใช้เรียกขานมาหลายชั่วอายุคนตราบจนทุกวันนี้
ภาพเขียนในกลุ่มที่ ๓ และ ๔ นี้ได้แก่ ภาพคน ภาพสัตว์ ภาพวาดลายเส้น และภาพฝ่ามือ เป็นต้น
ภาพเขียนสีกลุ่มที่ ๔ ผาหมอนบน
ห่างจากภาพเขียนกลุ่มที่ ๓ ประมาณ ๓๐๐ เมตรระยะทางเดิน แต่ทางเดินแคบและชันไม่เหมาะสำหรับเด็กเล็กที่จะเดินตามไปด้วย ค่อนข้างอันตราย แต่เป็นระยะที่เราสามารถเห็นภาพเขียนแค่เอื้อมมือถึง ภาพเขียนกลุ่มนี้อยู่บนแนวก้อนหินเดียวกับกลุ่มมี่ ๓ แต่อยู่ด้านบน ต้องเดินผ่านช่องเบียดสาว (ช่องทางเดินแคบระหว่างหิน ๒ ก้อน)
-
สถานที่ต่อไปที่จะแวะกันก็คือ โขงเจียม เป็นจุดที่จะไปทานอาหารกลางวันในแพริมแม่น้ำโขง
สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบ สลับกับโนน (เนิน) เตี้ย ๆ
โขงเจียมมีเขตแดนทางตะวันออกติดแม่น้ำโขง เป็นที่ซึ่งแม่น้ำมูลไหลลงมาบรรจบบริเวณท้ายวัดโขงเจียม (วัดบ้านด่านเก่า) บริเวณที่แม่น้ำทั้งสองสายมาจดกันทำให้เกิดสภาพที่เรียกว่า น้ำสองสี โดยน้ำที่ไหลจากน้ำโขงจะมีสีขาวขุ่น ส่วนน้ำที่มาจากลำน้ำมูลมีลักษณะใสหรือสีเขียวอมฟ้าเล็กน้อย บางครั้งจะเรียกกันว่า "โขงสีปูน มูลสีคราม"อยู่ตรงบริเวณดอนด่านปากแม่น้ำมูล อยู่ในเขตบ้านเวินบึกนั่งเรือจากตัวอำเภอโขงเจียมไปประมาณ ๕ นาที เป็นบริเวณที่แม่น้ำสองสายมาบรรจบกันคือ แม่น้ำโขงสีปูน แม่น้ำมูลสีคราม อยู่ห่างจากจังหวัด อุบลราชธานี ๘๔ กิโลเมตรจุดที่สามารถมองเห็นแม่น้ำสองสีได้อย่างชัดเจน คือ บริเวณลาดริมตลิ่ง แม่น้ำมูลแม่น้ำโขงหน้าวัดโขงเจียม และบริเวณบางส่วนของหมู่บ้านห้วยหมาก ในเดือนเมษายน จะเป็นเดือนที่เห็นความแตกต่างของสีน้ำได้ชัดเจนที่สุดนอก
จากนี้แล้วบริเวณใกล้เคียงยังมีบริการเรือพาล่องชม ทัศนียภาพสองฝั่งแม่น้ำหรือซื้อของที่ระลึก ที่ตลาดหมู่บ้านในฝั่งประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวอีกด้วย
ถ่ายรูปตู้ไปรษณีย์ เหมือนไปอำเภอปายเลย.....
พอทานข้าวกลางวันเสร็จ ก็ถึงเวลา ช็อปปิ้งกันต่อ ตรงร้านค้าขายของที่ระลึกริมแม่น้ำนั่นแหล่ะ จากนั้นก็เดินทางมุ่งสู่อำเภอเมืองอุบลราชธานี เพื่อไปเยี่ยมชมหอศิลปวัฒนธรรมอุบลราชธานี
-
หอศิลปวัฒนธรรมอุบลราชธานี ที่นี่สร้อยฟ้ามาลาไม่ได้ถ่ายรูปไว้เพราะแยกตัวออกจากกลุ่ม นัดพี่แอ๊ด วาสนา กับพี่ติ่ง อำนวยกรณ์ สองคุณครูจะพาไปเที่ยววัดในตัวอำเภอเมือง แต่สร้อยฟ้ามาลาจำชื่อวัดได้ไม่แม่น จะจำได้ก็แค่บางวัดที่ถ่ายรูปป้ายชื่อบอกวัดเท่านั้นเอง วัดไหนที่รู้ชื่อวัดก็จะลงข้อมูลของวัดให้ได้อ่านกัน แต่วัดไหนไม่รู้ชื่อวัดจะขอลงแค่รูปแล้วคงต้องรบกวนให้พี่แอ๊ดกับพี่ติ๋งช่วยสานต่อทีนะจ๊ะ.....เอ คิดไปคิดมา ไม่เอาดีกว่า โทรศัพท์ไปถามคุณครูเสียเลยว่ามีวัดอะไรบ้าง....
จานไหนของใคร ลองทายกันดู....
แต่ก่อนที่จะไปชมวัด พี่แอ๊ดก็พาไปทานสเต็กสุดแสนอร่อยที่ร้านอะไรก็ไม่รู้ ไม่ทันได้ดูชื่อร้าน บรรยากาศสไตล์คันทรี่มีรูปมาให้ทายด้วยว่าจานไหนของใคร เมื่ออิ่มแล้วก็ไปชมวัดกัน โดยพี่แอ๊ดเป็นผู้ขับรถให้ พี่ติ่งเป็นมัคคุเทศก์นำเที่ยว........... วัดแรกที่ไปกันก็คือ วัดสระประสานสุข
-
วัดสระประสารสุข(วัดบ้านนาเมือง)
ตั้งอยู่ที่บ้านนาเมือง ห่างจากตัวเมืองประมาณ ๕กิโลเมตรด้านทิศเหนือของสนามบิน ตั้งอยู่ที่ บ้านนาเมือง ตำบลไร่น้อยอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เป็นวัดที่มีพระอุโบสถแปลกตาสร้างเป็นรูปเรือสุพรรณหงส์ประดับตกแต่งด้วยเซรามิค และยังมีพระวิหารรูปเรืออยู่ด้านหลังของวัด
ปัจจุบันวัดสระประสานสุขเป็นวัดที่มีชื่อเสียงทั้งในจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดใกล้เคียง เป็นวัดที่มีความสำคัญมีพุทธศาสนิกชนเลื่อมใสจำนวนมากด้วยบารมีของหลวงปู่บุญมีท่านเคร่งในวินัยและเป็นพระสายธรรมยุตนอกจากนี้ยังมียังมีสถาปัตยกรรมที่สวยงามดึงดูดให้ผู้คนเดินทางมาชมกันอย่างแพร่หลาย และมีผู้เลื่อมใสมาทำบุญกันมากและยังมีทั้งรูปเหมือนพระเกจิอาจารย์ชื่อดังอีกหลายองค์เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้มากราบไหว้สักการะ
-
และขณะนี้ทางวัดและญาติโยมได้สร้างพิพิธภัณฑ ์หลวงปู่บุญมี โชติปาโลซึ่งมีขนาดใหญ่อยู่ทางด้านวิหารกลางน้ำ ซึ่งหลวงปู่ประสงค์จะให้สร้างพิพิธภัณฑ์ให้เสร็จก่อนทำการประชุมเพลิงท่าน ทางวัดจึงเร่งสร้างให้เสร็จทันกำหนดภายในวัดนั้นมีความเงียบสงบร่มเย็น มีบริเวณที่กว้างขวาง โดยพุทธศาสนิกชนได้เลื่อมใสและศรัทธาใน หลวงปู่บุญมี โชติปาโล จึงเดินทางมาทำบุญและเยี่ยมชมวัดไม่ว่าทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศทั้งนี้บริเวณด้านหลังวัดเป็นที่ตั้งของวิหารกลางน้ำซึ่งมีปลาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก โดยพุทธศาสนิกชนได้นำมาปล่อยไว้ซึ่งหลวงปู่บอกว่าไม่อยากให้เบียดเบียนซึ่งกันและกันจึงไม่มีใครนำปลาที่สระน้ำไปกิน จึงทำให้ปลามีปริมาณมากทั้งทางวัดได้จัดบริการให้อาหารปลาโดยแล้วแต่ผู้มาทำบุญจะบริจาควัดบ้านนาเมืองนับว่าเป็นวัดที่มีสถาปัตยกรรมที่สวยงามทั้งยังบ่งบอกถึงความเป็นไทยอีกด้วย ในฐานะที่เราเป็นคนไทยเราควรจะเล็งเห็นความสำคัญและเชิญชวนให้ผู้คนเดินทางมาทำบุญและถือเป็นการผักผ่อนอีกทางหนึ่งด้วย
ด้านการศึกษา
หลวงปู่บุญมีเข้าเรียนและจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ จากโรงเรียนบ้านนาเมือง ตำบลไร่น้อยอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๖๕ และสอบได้นักธรรมเอก (น.ธ.)จากสำนักเรียนวัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม) อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานีเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๘๕ ด้านการศึกษาพิเศษ หลวงปู่บุญมีได้ศึกษาอักษรขอมจนมีความรู้ความสามารถอ่านออกเขียนได้และยังมีความชำนาญในการอ่านหนังสือธรรมสมัยโบราณนอกจากนั้นหลวงปู่ยังมีความสามารถทางด้านการใช้ภาษาผญา ภาษิตอีสานเป็นอย่างดีสามารถเอามาใช้ในทางเทศนาธรรม และคำสอนของหลวงปู่จนเป็นที่ประทับใจและศรัทธาแก่ลูกศิษย์ ที่ได้ฟังพระธรรมเทศนาทุกคน
การบรรพชา และอุปสมบท
โยมมารดาได้พาหลวงปู่บูญมีไปฝากไว้กับ หลวงปู่สีทา ชยเสโนทำให้ท่านได้มีโอกาสกราบนมัสการหลวงปู่เสาร์ กนตสีโล และพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ซึ่งอาจารย์ทั้งสองได้มาแวะเวียนมากราบนมัสการหลวงปู่สีทา ชยเสโนซึ่งเป็นอุปัชฌาย์ใหญ่ ่ฝ่ายวิปัสสนาเถระในสมัยนั้น เมื่อสิ้นหลวงปู่สีทา ชยเสโนโยมมารดาได้พาหลวงปู่บุญมีไปบรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม)ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี และในระหว่างบรรพชาเป็นสามเณรนั้นพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ได้เมตตานำสามเณรบุญมีไปจำพรรษากับท่านที่จังหวัดสกลนคร เมื่ออายุครบ ๒๐ ปี หลวงปู่บุญมีได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมา วัดศรีทองในวันศุกร์ขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๖ ปีมะแม ซึ่งตรงกับวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๔๗๒ซึ่งตรงกับวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา คือ วันวิสาขบูชา โดยมีพระเดชพระคุณ พระศาสนดิลก (เสน ชยเสโน) เป็นอุปัชฌาย์ พระมหาสว่างเป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์เพ็งเป็นพระอนุศาสนาจารย์ ได้รับฉายาทางพระพุทธศาสนาว่า “โชติปาโล” อันมีความหมายว่า “ผู้มีแสงสว่างในธรรม”
หลังจากอุปสมบทหลวงปู่บุญมีได้มีโอกาสกราบนมัสการท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์สิริจันโท) เป็นพระเถระผู้ใหญ่ ผู้มีคุณูปการต่อกิจการคณะสงฆ์ภาคอีสานซึ่งท่านได้เมตตาต่อหลวงปู่บุญมีโดยอนุญาตให้ติดตามท่านไปอยู่จำพรรษาที่วัดบรมนิวาสกรุงเทพมหานครและที่วัดเขาพระงาม จังหวัดลพบุรีอีกด้วยในช่วงชีวิตสมณเพศของหลวงปู่บุญมี ท่านได้ออกจาริกธุดงค์ ไปในสถานที่ต่าง ๆ ครั้งหนึ่งท่านได้ออกจาริกไปพร้อมกับท่านอาจารย์มหาสว่างซึ่งเป็นอาจารย์ของท่านโดยจาริกไปประเทศพม่า ลาว เวียดนาม และเลยไปถึงประเทศจีนเมื่อกลับจากเมืองจีนหลวงปู่บุญมีท่านได้ช่วยพระอาจารย์สิงห์ ชนตยาโม สร้างวัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการร่วมกับหลวงพ่อลี ธมมธโรเพื่อเป็นศูนย์วิปัสสนากรรมฐานแก่พุทธศาสนิกชน และยังได้ร่วมกับพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร สร้างวัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่พระอาจารย์มั้น ภูริทัตตเถระ รวมทั้งได้ร่วมกับพระอาจารย์ดี ฉนโน สร้างวัดภูเขาแก้วอำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี อีกวัดหนึ่งด้วย ในปีพุทธศักราช ๒๔๘๐ หลวงปู่บุญมีได้กลับมา ที่จังหวัดอุบลราชธานีได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดสระประสานสุขสืบต่อจากพระศาสนดิลกซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของท่าน และได้เริ่มพัฒนาวัดสระประสานสุข (วัดบ้านนาเมือง)ที่เป็นวัดบ้านเกิดของท่านให้มีความเจริญรุ่งเรืองเป็นที่น่าเลื่อมใสศรัทธาแก่ประชาชนจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดใกล้เคียงทั่วไปทางวัดมีอาณาเขตทหารอากาศ กองบินที่ ๒๑ ข้าราชการทหารอากาศ ได้มีศรัทธามาร่วมอุปสมบทและจำพรรษาตลอดมา
สมณศักดิ์
ปีพุทธศักราช ๒๕๒๔ เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ที่พระครูไพโรจน์รัตโนบล
ปีพุทธศักราช ๒๕๓๐ เป็นพระครูสัญญาบัตรเทียบเท่าผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นพิเศษ
ปีพุทธศักราช ๒๕๔๕ ได้รับแต่งตั้งสมณศักดิ์ เป็นพระภาวนาวิศาลเถร(วิ.สย)
วัดสระประสานสุข (วัดบ้านนาเมือง)เป็นวัดที่พระศาสนดิลก(เสน) ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของหลวงปู่บุญมีได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส วัดสระประสานสุข เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๘๐ ท่านได้เริ่มวางแผนและได้เริ่มดำเนินการพัฒนาวัดสระประสานสุข โดยความร่วมมือและเสื่อมใสศรัทธาจากญาติโยมและพุทธศาสนิกชนจนมีความรุ่งเรืองเป็นที่เคารพนับถือแก่ญาติโยมทั่วไป ด้านการปกครอง หลวงปู่บุญมีมีระเบียบในการปกครองพระสงฆ์ในวัดสอดคล้องกับกฎของมหาเถรสมาคมอย่างเคร่งครัดโดยกฎกติกาของวัด ตามมติของคณะสงฆ์ภายในวัดเป็นผู้กำหนดขึ้นมาเองและที่เป็นกิจวัตรสำคัญที่หลวงปู่ได้ริเริ่มและให้ปฏิบัติเป็นประจำคือการจัดให้มีการปฏิบัติธรรมและเจริญสมาธิภาวนาทุกวันโดยเฉพาะวันพฤหัสบดีที่ศาลาการเปรียญวัดสระประสานสุข ตั้งแต่เวลา ๑๙.๐๐ น.เป็นต้นไป
ผลงานด้านการพัฒนาวัด
หลวงปู่บุญมีได้ริเริ่มและดำเนินการก่อสร้างสิ่งต่าง ๆภายในวัดให้เป็นศาสนสถานที่เป็นแหล่งรวมใจของชาวพุทธโดยทั่วไป ดังนี้
ปีพุทธศักราช ๒๕๑๕ หลวงปู่ได้เป็นผู้นำศรัทธาชาวบ้านก่อสร้างศาลาการเปรียญขนาดใหญ่ ในลักษณะทรงปั้นหยาภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางนาคปรกขนาดใหญ่ที่หลวงปู่เป็นผู้นำศรัทธาหล่อไว้เพื่อให้ศาสนิกชนได้สักการบูชา
ปีพุทธศักราช๒๕๒๙ หลวงปู่บุญมี ได้ออกแบบและเป็นประธานในการก่อสร้างพระอุโบสถบนเรือสุพรรณหงส์อันมีความหมายว่าจะเป็นพาหนะที่จะพาบรรดาพุทธศาสนิกชนข้ามมหาสมุทรแห่งวัฎฏสงสารสู่ดินแดนมหานิพพานซึ่งอุโบสถที่หลวงปู่สร้างนี้ มีความสวยงาม ตั้งเด่นเป็นสง่าก่อให้เกิดความศรัทธาต่อญาติโยมที่มาทำบุญที่วัดสระประสานสุขเป็นอย่างยิ่ง
ปีพุทธศักราช ๒๕๓๔ หลวงปู่บุญมี ได้นำคณะศิษย์สร้างพระพุทธรูปปางประทานพรสูง ๗ เมตร ๗๗ เซนติเมตร และได้ถวายนามว่า “พระพุทธโชติปาละชนะมาร” สร้างพระสังกัจจายเป็นปูนปั้นสูง ๒ เมตร ๗๗ เซนติเมตร ถวายนามว่า “พระสังกัจจายโชติปาโล” และสร้างพระสิวลีโชติปาโล ณวัดสังกัจรัตนคีรีบนยอดเขาสะแกกรัง อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี
นอกจากนี้แล้วหลวงปู่บุญมี ยังได้สร้างศาสนต่าง ๆ ภายในวัดสระประสานสุข คือวิหารโชติปาโล สร้างกุฏิปาโชติปาโลนุสรณ์ ในลักษณะทรงไทยสร้างกุฏิโสติธรรมในลักษณะทรงไทย สร้างหอสวดมนต์ในลักษณะทรงไทย และที่สำคัญก็คือการสร้างศาลากลางน้ำที่อยู่ในเรือสุพรรณหงส์ในสระน้ำใหญ่ซึ่งการเริ่มสร้างในครั้งนี้ถือเป็นสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งของวัดและที่สร้างความประทับใจเป็นพิเศษให้แก่ญาติโยมที่เดินทางมาที่วัดสระประสานสุขก็คือประตูทางเข้าด้านหน้าวัด ที่หลวงปู่บุญมีได้สร้างเป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ๓เศียรที่ใหญ่โตมาก สามารถมองเห็นเด่นสง่ามาแต่ไกลนอกจากนี้ท่านยังได้สร้างและปรับปรุงห้องน้ำห้องสุขาให้เพียงพอกับญาติโยมที่มาร่วมทำบุญในงานเทศกาลต่างๆ รวมถึงการสร้างกำแพงคอนกรีตเสริมเหล็กล้อมรอบบริเวณวัดและการปรับสภาพแวดล้อมและพื้นที่ภายในวัด ทั้งหมดให้เหมาะสมสวยงามสมกับเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมและการร่วมทำบุญแก่พุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป
พระภาวนาวิศาลเถรหรือ หลวงปู่บุญมี โชติปาโล เจ้าอาวาสวัดสระประสานสุขหรือวัดบ้านนาเมือง พระเกจิชื่อดังของจังหวัดอุบลราชธานีได้อาพาธด้วยโรคปลอดอักเสบและมีโรคแทรกซ้อนมาตั้งแต่วันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๖ โดยตลอดระยะเวลาที่จำวัดรักษาตัว อยู่ภายในกุฏิจะมีลูกศิษย์ เข้านมัสการเยี่ยมโดยไม่ขาดสาย เมื่อวันที่ต่อมาวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๔๗เวลา ๐๙.๐๐ น. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลีพระวรราชาทินัดดามาตุ ได้เสด็จเป็นการส่วนพระองค์เข้านมัสการอาการหลวงปู่บุญมีภายในกุฏิท่ามกลางความปลื้มปิติในพระกรุณาธิคุณของหลวงปู่บุญมีกับศิษยานุศิษย์ที่เฝ้าอาการอาพาธ ด้วยความห่วงใย โดยมีข้าราชการระดับสูงคอยเฝ้ารับเสด็จ จากนั้นพระวรวงศ์เธอพระองศ์เจ้าโสมสวลีพระวรราชาทินัดดามาตุ ได้เข้าเฝ้าดูอาการของหลวงปู่บุญมีอย่างใกล้ชิดโดยไม่ถือพระองค์นานถึง ๒ ชั่วโมง ระหว่างนั้นได้ทรงมีพระปฏิสันถารสอบถามถึงอาการอาพาธกับหลวงปู่บุญมีระยะ ๆ ถึงแม้ว่าหลวงปู่บุญมีจะพูดตอบไม่ได้ แต่ได้แสดงออกถึงซึ่งความปิติกับโต้ตอบทางสีหน้าพร้อมกับยกแขนแสดงถึงการรับรู้ถึงเรื่องที่พูด จากนั้นเวลา ๑๑.๕๐ น. พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า โสมสวลี พระวรราชา ทินัดดามาตุได้เสด็จดำเนินไปประกอบภารกิจส่วนพระองศ์ แต่พอคล้อยหลังได้เพียง ๕นาที หลวงปู่บุญมี ได้ปิดตาลงอย่างสงบพร้อมกับได้ถอดดวงจิตออกจากร่างท่ามกลางความโทมนัสแก่พระองค์เป็นอย่างยิ่งรวมถึงศิษย์ที่เข้าเฝ้าทุกคน
พระภาวนาวิศาลเถร (หลวงปู่บุญมี โชติปาโล)แห่งวัดสระประสานสุข (วัดบ้านนาเมือง) ตำบลไร่น้อย อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานีขณะที่มรณภาพนั้น สิริรวมอายุได้ ๙๕ ปี ๓ เดือน ๙ วัน อายุพรรษา ๗๔
-
วัดที่ ๒ วัดใต้พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ
เดิมชื่อ วัดใต้เทิง หรือ วัดใต้ ตั้งอยู่ถนนสุนทรวิมล ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๓๗๓ ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น วัดใต้พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ
เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปเก่าแก่นามว่า “พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ” เนื้อทองนาคสำริด หน้าตัก ๕๑ นิ้ว (๑๒๗ เซนติเมตร) สูง ๘๕ นิ้ว (๒๑๒ เซนติเมตร) ใช้ทองนาคเงินสำริดหล่อองค์พระ หนักเก้าแสนบาท เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย
พระเจ้าองค์ตื้อในประเทศไทย
องค์ที่ ๑พระเจ้าองค์ตื้อ (แสนตื้อ)
เนื้อทองนาคสัมริดปางมารวิชัยอยู่ที่วัดใต้พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ เลขที่ ๒ถ.สุนทรวิมล ต. ในเมือง อ.เมืองจ.อุบลราชธานี
องค์ที่ ๒พระเจ้าองค์ตื้อ (พระโต)
เนื้ออิฐถือปูนลงลักปิดทอง ปางมารวิชัย อยู่ที่วัดพระโต บ้านหนองแซงอ.นาตาล(เขมราฐ) จ.อุบลราชธานี
องค์ที่ ๓พระเจ้าองค์ตื้อ (พระองค์ตื้อ)
เนื้อทองสัมริด ปางมารวิชัย อยู่ที่วัดศรีชมพูองค์ตื้อ บ้านท่าบ่ออ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย (องค์นี้มีพุทธลักษณะคล้ายคลึงกันกับองค์ตื้อวัดใต้)
องค์ที่ ๔พระเจ้าองค์ตื้อ (พระหินตัน)
เนื้อศิลาหิน ปางมารวิชัยอยู่ที่สำนกสงฆ์หน้าผาตาดโตน อ.เมือง จ.ชัยภูมิ
องค์ที่ ๕พระเจ้าองค์ตื้อ (พระเก้าตื้อ)
เนื้อทองสัมริด ปางมารวิชัยอยู่ที่วัดสวนดอก ต.ในเมือง อ.เมือง จ.เชียงใหม่
องค์ที่ ๖พระเจ้าองค์ตื้อ (นวล้านตื้อ)
เนื้อทองเหลือง ปางมารวิชัยอยู่ที่สามเหลี่ยมทองคำ ต. นาเวียง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย
พระเจ้าองค์ตื้อ มีลักษณะคล้ายคลึงกันมากสันนิษฐานว่าสร้างในยุคสมัยเดียวกัน ในพระอุโบสถยังประดิษฐานพระพุทธรูปปางยืนห้ามสมุทร ๔ องค์ พระพุทธรูปเจตมนเพลิง องค์ตื้อ สีดำสนิท ในวันที่ ๑ ถึง ๕ มีนาคม ของทุกปีวัดใต้จะมีงานเทศกาลอัญเชิญพระพุทธรูปเจตมนเพลิงองค์ตื้อเพื่อให้ประชาชนได้นมัสการสรงน้ำตลอด ๕ วัน ๕ คืน ทั้งนี้ตามที่เล่าสืบต่อกันมาว่า ก่อนและขณะอัญเชิญพระเจ้าองค์ตื้อมาประดิษฐานภายในพระอุโบสถได้เกิดฝนฟ้าคะนองนาน ๗ วัน ๗ คืน เป็นที่เล่าสืบต่อกัน ฝาผนังของพระอุโบสถมีภาพจิตกรรมฝาผนังเขียนพุทธประวัติและพระเจ้าสิบชาติ รูปเหมือนอดีตบูรพาจารย์
ประวัติศาสตร์ของเมืองอุบลราชธานีได้บันทึกของเก่าไว้ว่าปูชนียวัตถุที่สำคัญ ๓ วัดของเมืองอุบลราชธานีคือ พระบทม์ อยู่วัดกลาง พระปางอยู่วัดใต้ และหอไตรอยู่วัดทุ่งศรีเมือง
วัดใต้เป็นวัดบูรพาจารย์ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ในอดีตบูรพาจารย์ที่เคยพำนักอยู่เช่น พระอุปัชฌาย์สีทา ชยเสโน พระอาจารย์เสาร์ กนตสีโล ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์(สิริจนโท จันทร์) เป็นต้น
-
เมื่อออกจากวัดใต้พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ ก็มาต่อกันที่วัดเลียบซึ่งอยู่ตรงข้ามกันคนละฝั่งถนน และขณะนี้เมฆฝนตั้งเค้ามาตั้งแต่อยู่ในวัดใต้ พอออกจากวัดใต้ น้ำฝนก็เริ่มจะกลั่นตัวแล้ว.........
วัดที่ ๓ วัดเลียบ
ตั้งอยู่เลขที่ ๑๑๖ ถนนเขื่อนนที ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุตจากบันทึกของพระเดชพระคุณพระโพธิญาณมุนี(สุธีร์ ภททิโย) ว่าก่อตั้งเมื่อวันพฤหัสบดี เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๓๙๑ จ.ศ.๑๒๐๑ ร.ศ.๖๗ ปีวอก สัมฤทธิศก
จากคำบอกเล่าน่าจะเป็นวัดที่สร้างขึ้นเลียบคันคูเมืองเดิม เดิมเป็นสำนักสงฆ์ฝ่ายวิปัสสนา สำนักสงฆ์แห่งนี้อายุได้ ๔๔ ปี มีเจ้าอาวาสปกครอง ๑๐ รูป จนมาถึงยุคของพระอาจารย์ทิพย์เสนา ทิพพเสโน(แท่นทิพย์) ท่านได้มรณภาพลงเมื่อ พ.ศ.๒๔๓๓ เป็นเหตุให้วัดเลียบล้างคราวหนึ่ง
สิ่งที่น่าสนใจในวัดเลียบมีดังนี้
๑. พระอุโบสถ อำนวยการก่อสร้างโดยพระโพธญาณมุนีเจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี เจ้าอาวาสวัดเลียบ เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๔
๒. เจดีย์วิหารอนุสรณ์สถาน พระครูวิเวกพุทธกิจ(หลวงปู่เสาร์ กนตสีโล)
๓. อัฐิธาตุหลวงปู่เสาร์ กนตสีโล ประดิษฐาน ณ เจดีย์วิหารอนุสรณ์พระครูวิเวกพุทธกิจ
-
วัดที่ ๔ วัดทุ่งศรีเมือง
ตั้งอยู่บริเวณถนนหลวง ในเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ทางทิศตะวันออกของทุ่งศรีเมือง เมื่อเนื้อที่ ๑๙ ไร่ ๒ งาน ๒๓ ตารางวา สันนิษฐานสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๓๕๖ ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ ในยุคสมัยสมเด็จกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ข้าหลวงต่างพระองค์ ได้ตกลงกับเจ้าของที่ดินหลายคน ยกที่ดิน (ที่ทำนา) ให้กับทางราชการ แรกๆ ชาวเมืองเรียกว่า "ทุ่งศรีเมือง" แต่เนื่องจากทุ่งแห่งนี้ เป็นที่รวมของการจัดงานมหกรรมใหญ่ๆ เช่น งานเฉลิมพระชนมพรรษา งานรัฐธรรมนูญ เป็นต้น และเป็นทุ่งประดับเมือง จึงเรียกว่า "ทุ่งศรีเมือง"
ต่อมาภายหลังจึงได้สร้างหอพระพุทธบาทขึ้น ณ ท่ามกลางบริเวณที่เจริญสมณะธรรม โดยมีจุดประสงค์ที่จะจำลองพระพุทธบาท จำลองให้คนได้กราบไหว้ของพุทธบริษัทที่อุบลราชธานี ไม่ต้องเดินทางไปที่สระบุรี โดยให้ครูช่างชาวเวียงจันทน์ เป็นช่างดำเนินการก่อสร้าง ซึ่งมีความกว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๓ เมตร หลังคาทรงไทยศิลปะเวียงจันทร์ ต่อมาได้พูนดินบริเวณลานหอพระพุทธบาท เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำท่วมในฤดูฝน โดยได้สร้างเป็นเขื่อนกำแพงแก้วหอพระพุทธบาท มีสองชั้นรอบๆพระพุทธบาท ขนาดกว้าง ๒๓ เมตร ยาว ๓๒ เมตร พูนให้สูงเหมือนเป็นฐานรองรับหอพระพุทธบาท โดยได้ขุดเอาดินมาจาดสระด้านทิศเหนือ ซึ่งมีขนาดกว้าง ๑๓ เมตร ยาว ๒๔ เมตร ลึก ๓ เมตร ซึ่งสระนี้ ต่อมาภายหลังได้สร้างหอไตรไว้กลางน้ำ จึงได้ ซื่อว่า "สระหอไตร"
เมื่อขุดหอไตรแล้ว ปรากฏว่า ดินที่จะนำมาพูนหอพระบาทยังไม่พอ ก็ได้ขุดสระอีก ๑ สระทางด้านทิศตะวันตกของวัด สระนี้เรียกว่า "สระหนองหมากแซว" เพราะมีต้นหมากแซวใหญ่ต้นหนึ่งอยู่ข้างสระ ซึ่งสระนี้ขุดลึกประมาณ ๓ เมตร กว้างและยาวพอๆ กับสระหอไตร
เมื่อนำดินจากทั้ง ๓ สระมาพูน จนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ปลายสมัยหลวงปู่พระครูวิโรจน์รัตนโนบล เป็นจ้าอาวาสวัดทุ่งศรีเมือง ได้ปูกระเบื้องซีเมนต์ที่ลานหอพระบาทและได้สร้างกำแพงแก้ว ล้อมรอบที่ซุ้มประตูด้านทิศเหนือ, ใต้และทิศตะวันตก ส่วนทางทิศตะวันออก ได้สร้างภายหลัง และทางด้านทิศตะวันออก พระครูราชโนบล ได้สร้างให้มีขนาดใหญ่ที่สุด เพราะเป็นทางเข้าและอยู่หน้าหอพระบาท ซึ่งหอพระบาทนี้มีขนาดกว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๑๒ เมตร ซึ่งได้จำลองมาจากวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร
เมื่อสร้างหอพระพุทธบาทสร้างแล้ว ก็ได้สั่งให้ญาคูช่าง สร้างหอไตรที่สระกลางน้ำ โดยมีจุดประสงค์ในการสร้าง เพื่อเป็นที่เก็บรักษาพระไตรปิฎก ไม่ให้แห้งและกรอบมากเกินไป เพราะอากาศสดชื่น มีไอน้ำประสม และเพื่อกันปลวก มิให้ทำลายพระไตรปิฎกให้เสียหาย แต่ปัจจุบัน ก่อนที่พระราชรัตนโนบลมาปกครองวัด พระไตรปิฎกได้สูญหายไปแล้ว
เมื่อได้สร้างหอพระพุทธบาทและหอไตรกลางน้ำเสร็จแล้ว เพื่อให้มีคนเฝ้ารักษาวัด คือได้สร้างกุฏิเป็นที่อยู่ของพระภิกษุและสามเณรต่อไป เพราะวัดนี้ตั้งอยู่ปลายทุ่ง ท่ามกลางเมืองอุบลราชธานี จึงได้ชื่อว่า ทุ่งศรีเมือง เป็นเหตุให้ทุ่งนาท่ามกลางเมืองอุบลราชธานี ได้ชื่อว่าทุ่งศรีเมืองตามไปด้วย
เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๘ พระครูวจีสุนทร เจ้าคณะอำเภอม่วงสามสิบ ท่านพระครูวิโรจน์รัตโนบล เป็นเจ้าอาวาส ได้พาพระเณร ไปทำพลับพลา ตัดเสาศาลาการเปรียญที่คำน้ำแซบ วัดวารินทรารามในปัจจุบัน สมัยนั้นมีแต่ป่า ยังไม่มีบ้านเรือนคน และค่ายทหาร แต่เมื่อตัดเสาได้แล้ว ก็สร้างล้อลากลงแม่น้ำมูลข้ามมาสร้างศาลาการเปรียญ โดยในวันไหนมีการล่องมูล จะให้ชาวบ้านที่หาปลา หรือคนที่อยู่แถวนั้นมาช่วย เพราะเสาต้นใหญ่มาก บางวันต้องใช้กลองยาวตีเร้าใจ เพื่อให้จังหวะครั้นลากเสามาถึงวัดแล้ว ก็จัดแจงตกแต่งศาลาการเปรียญ ครั้นเตรียมการเสร็จแล้ว ก็ได้ป่าวประกาศเชิญชวนทำบุญปลูกศาลาการเปรียญ ยกศาลาและสร้างต่อจนเสร็จ
เมื่อสร้างศาลาการเปรียญเสร็จแล้ว วัดเหนือท่าร้าง ทางราชการจะสร้างเป็นสถานีอนามัย พระเจ้าใหญ่ในศาลาการเปรียญวัดเหนือท่า ไม่มีพระสงฆ์อยู่ดูแล พระครูวิโรจน์รัตโนบล จึงได้นำญาติโยมไปอาราธนา มาเป็นพระประธานที่ศาลาการเปรียญวัดทุ่งศรีเมือง
สิ่งก่อสร้างสำคัญในวัดทุ่งศรีเมือง
๑. พระอุโบสถ หรือหอพระพุทธบาท มักจะถูกเรียกว่า หอพระพุทธบาท เนื่องจากสร้างขึ้นเพื่อประดิษฐาน รอยพระพุทธบาทจำลอง ซึ่งท่านเจ้าคุณพระอริยวงศาจารย์ญาณวิมลอุบลสังฆปาฏิโมกข์(สุ้ย หลักคำ) เจ้าคณะเมืองอุบลในขณะนั้น ได้จำลองการสร้างมาจากวัดสระเกศราชวรวิหาร กรุงเทพฯ โดยมีช่างจากเวียงจันทน์เป็นช่างสำคัญในการสร้าง
ลักษณะของหอพระพุทธบาท วัดทุ่งศรีเมือง เป็นสถาปัตยกรรมผสมผสาน ระหว่างศาสนาคารอีสานพื้นบ้านกับเมืองหลวง คือโครงสร้างช่วงล่าง เช่น ฐานเอวขัน บันไดจระเข้ เฉลียงด้านหน้าคงเอกลักษณ์ของสิมอีสานไว้แต่โครงสร้างช่วงบน หลังคาทรงจั่วมีชั้นลด ๒ ชั้น รวยลำยองมีช่อฟ้า ใบระกา นาคสะดุ้ง หางหงส์ ทวยและซุ้มประตูหน้าต่างแบบเมืองหลวง ส่วนลวดลายหน้าบันสาหร่ายรวงผึ้ง มีลักษณะเป็นแบบอีสานผสมกับเมืองหลวงเหมือนสิมวัดแจ้ง
ในสมัยพระครูวิโรจน์รัตนโนบล เป็นเจ้าอาวาส ได้มีการซ่อมหอพระบาทครั้งหนึ่ง โดยการเอาเสามายันขื่อ ซ่อมคร่าวและวาดลวดลายที่เสา ด้านหลังมีการก่ออิฐเป็นอาคารเสริมออกมายันไว้ เพราะกลัวอาคารจะโย้ออกมา
-
ต่อมา ปี ๒๕๐๓ มีการบูรณะอีกครั้งหนึ่ง ภายในผนังมีจิตรกรรมผาผนังที่มีคุณค่า โดยเป็นจิตรกรรมฝาผนัง เขียนเป็นภาพเทพชุมนุม พุทธประวัติ ตอนผจญมาร และปรินิพพาน ภาพชาดก ได้แก่ ปาจิตต์กุมารชาดก และมหาเวชสันดรชาดกกัณฑ์ต่างๆ ภาพจิตกรรมเหล่านี้ สะท้อนให้เห็นสภาพสังคม วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ความเจริญของบ้านเมือง การประกอบอาชีพ การละเล่น พิธีกรรม การแต่งกาย ทรงผม นอกจากภาพชาวบ้านพื้นถิ่นอีสานและคนลาวแล้ว ยังแสดงภาพชาวตางชาติ ทั้งจีน ฝรั่ง แขก ซึ่งเข้ามามีบทบาทในประเทศไทยสมัยนี้อีกด้วย
-
๒. หอไตรกลางน้ำ วัดทุ่งศรีเมือง สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นในสมัยของพระเจ้าพรหมราชวงศา (กุทองสุวรรณกูฏ) เจ้าเมืองอุบลราชธานี คนที่ ๓ ตามเอกสารระบุว่า ท่านเจ้าคุณอริยวงศาจารย์ญาณวิมลอุบลสังฆปาโมกข์ (สุ้ย หลักคำ) เจ้าคณะเมืองอุบลราชธานี ซึ่งพำนักอยู่ที่วัดมหาวนาราม(วัดป่าใหญ่) เป็นผู้อำนวยการสร้าง โดยวัตถุประสงค์ในการสร้างคือ เพื่อเก็บรักษาพระไตรปิฎก ป้องกันไม่ให้ มดปลวกไปทำลาย ซึ่งช่างที่มีชื่อเป็นช่างควบคุมการก่อสร้าง เท่าที่มีชื่อระบุไว้ ได้แก่ ญาครูช่าง ซึ่งเป็นช่างหลวงจากราชสำนักร่วมก่อสร้างด้วย
ลักษณะของหอไตรวัดทุ่งศรีเมือง เป็นหอน้ำ สร้างอยู่กลางสระน้ำ เป็นอาคารเรือนไม้ขนาดกว้าง ๘.๒๐ เมตร ยาว ๙.๘๕ เมตร สูงจากระดับพื้นน้ำถึงถึงยอดหลังคาประมาณ ๑๐ เมตร แปลน รูป สี่เหลี่ยมจตุรัส ยกพื้นสูงใต้ถุนโปร่ง ผนังเป็นแป้นฝาไม้แบบเรียบ เครื่องสับฝาแบบฝาประกนอย่างเรือนไทยภาคกลาง ลูกฝักรองตีนช้างแกะสลักลายประตูเข้าหอไตร อยู่ทางทิศตะวันออกประตูเดียว มีหน้าต่างโดยรอบทั้งหมด ๑๔ ช่อง หลังคาทรงจั่วมีปั้นกรอบ ปีกนอกกว้าง ๒ ชั้น (คล้ายสถาปัตยกรรมเชียงรุ้ง) ส่วนบนหลังคาทรงแบบโบสถ์ไทยมีชั้นลด ๒ ชั้น ช่อฟ้ารวยลำยอง ใบระกา นาคสะดุ้งและหางหงส์แบบภาคกลาง หน้าบันไม้จำหลักลายแบบไทย(ลายดอก) พุดตาน,ลายกระจังรวน,ลายประจำยามก้ามปู ฯลฯ เดิมมุงแป้นไม้มีทวยสลักด้วยไม้ค้ำยันชายคาปีกนอกโดยรอบจำนวน ๑๙ ตัว ๒ ตัว ด้านด้านหน้าข้างประตูเข้า สลักหัวทวยเป็นเทพพนมอีก ๑๗ ตัวเป็นรูปพญานาค
ภายในตัวเรือนชั้นใน ตรงกลางกั้นผนังเป็นห้องสำหรับเก็บพระไตรปิฎก มีบันไดทางขึ้นด้านทิศตะวันออก ทำประตูหน้าต่างล้อกับภายนอก ผนังห้องด้านนอกตกแต่งลวดลายไทย ลงรักปิดทองแบบที่เรียกว่า "ปิดทองลายฉลุ"(ลายแบบปิด) โดยทำแบบพิมพ์ลายลุ (Stencil) จากการรุกระดาษสาให้เป็นตัวลายหรือตัวภาพ แล้วนำไปทาบบนผนังที่เตรียมลงพื้นรักชาดไว้เรียบร้อยแล้ว ลงรักเช็ดตามรอยปรุ จากนั้นจึงปิดแผ่นทองคำเปลวตามลายปรุที่ลงรักเช็ดไว้ เมื่อเสร็จแล้วจะปรากฏเป็นลายพลายคำสุกอร่ามบนพื้นแดงชาด ทำคล้ายมีเรือนหลังเล็กๆสร้างประตู ๑ บาน และหน้าต่าง ๔ กรอบหน้าต่างสลักลวดลาย ผนังและบานประตูหน้าต่างสลักลวดลาย ผนังและบานประตูหน้าต่าง เขียนลายลงรักปิดทอง โดยรอบบานประตูเขียนรูปทวารบาล
หอไตรวัดทุ่งศรีเมือง ได้รับการบูรณะครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๘ ในสมัยพระครูวิโรจน์รัตโนบล ด้วยการหาเสาไม้เนื้อแข็ง มาค้ำยันช่วยแรงเสาเก่าที่ชำรุดทรุดโทรมผุกร่อน ต่อมา พ.ศ.๒๕๑๗ กรมศิลปากรได้ทำการบูรณะครั้งใหญ่ โดยเปลี่ยนเป็นปูนแทน เสริมฐานเสาด้วยปูนให้มั่นคงมากขึ้น เมื่อทำการอนุรักษ์เรียบร้อยแล้ว ในปี พ.ศ.๒๕๒๗ อาคารหลังนี้ ได้รับรางวัลอนุรักษ์สถาปัตยกรรมดีเด่น จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี
ปัจจุบันนี้ หอไตรกลางน้ำวัดทุ่งศรีเมืองแห่งนี้ เป็นที่เก็บหนังสือใบลานประเภทต่างๆ ไม่เฉพาะหนังสือธรรมะเท่านั้น หากยังมีหนังสือที่บันทึกประวัติศาสตร์ และตำนานของบ้านเมืองเอาไว้อีกด้วย ซึ่งหนังสือเหล่านี้เป็นแหล่งค้นคว้าสำคัญที่ทำให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาในหลายๆ ด้าน เช่น ความสัมพันธ์กับชุมชนอื่นและความเชื่อ ความศรัทธาของคนสมัยนั้น
-
พระเจ้าใหญ่องค์เงินนั้น เดิมมีการทาสีทอง และปิดทองทับทั้งองค์ ต่อมา เมื่อประมาณ ๒ ปีมานี้ จึงทราบว่าทั้งองค์เป็นเนื้อเงิน แต่ยังไม่มีใครทราบความเป็นมาแน่ชัด ทั้งด้านผู้สร้าง ความสำคัญ พุทธลักษณะ และคุณค่าทั้งด้านองค์ประกอบขององค์พระและผลทางใจ
คณะนักศึกษาปริญญาเอก หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต โครงการจัดตั้งวิทยาลัยรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จึงมีดำริที่จะตอบสนองต่อความต้องการของชุมชน ด้วยการศึกษาวิจัยประวัติความเป็นมาของพระเจ้าใหญ่องค์เงิน เพื่อเผยแพร่ดังนี้
ณัฏฐภัทร จันทวิช : นักโบราณคดี ๑๐ ชช.
ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์
พระพุทธรูปปางมารวิชัย "พระเจ้าใหญ่องค์เงิน" มีพระพุทธลักษณะคือ พระพักตร์รูปไข่ เม็ดพระศกเล็กละเอียดแบบหนามขนุน มุ่นพระเมาลีเป็นต่อมเตี้ยๆ พระเกตุมาลาหรือส่วนรัศมีเป็นรูปเปลว มีแฉกยอดกลางสูงเด่น ส่วนล่างที่ติดกับมุ่นพระเมาลีเป็นกลีบบัวซ้อนดุจดอกบัวรองรับพระรัศมี ระหว่างพระนลาฏกับแนวเม็กพระศกมีแถบไรพระศกเป็นเส้นนูน ยาวทอดลงมาตามแนวพระกรรณทั้งสองข้างคล้ายจอนหู ตัวพระกรรณใหญ่ ขอบใบพระกรรณเป็นเส้นนูนแบน มีปลายด้านบนด้านล่างม้วนโค้ง ติ่งพระกรรณเป็นแผ่นกว้างขนาดเดียวกับตัวพระกรรณ ยาวลงมาเป็นแผ่นแบน ปลายมนอยู่เหนือพระอังสะ
ส่วนพระพักตร์มีพระขนงเป็นเส้นนูนโก่งดุจคันศร หัวพระขนงและหางเรียวแหลม พระนาสิกเป็นสัน ปลายพระนาสิกกว้างคล้ายรูปสามเหลี่ยม พระโอษฐ์แย้มพระสรวล มุมพระโอษฐ์เรียวแหลม พระหนุแหลมมน พระศอกกลมกลึง ลักษณะเป็นปล้องต่อกัน ๓ ปล้อง ครองจีวรห่มเฉียง เปิดพระอังสาซ้าย ขอบจีวรเป็นแนวเส้นตรงจากใต้พระถันไปจรดแนวขอบผ้าสังฆาฏิที่พาดบนพระอังสาซ้าย และปรากฏเส้นขอบจีวรที่ข้อพระหัตถ์ซ้าย ที่ต้นพระเพลา และที่ข้อพระบาท เป็นเส้นนูนทั้งสองข้าง ชายสังฆาฏิเป็นแนวกว้าง ปลายสังฆาฏิจรดที่พระนาภี ขอบปลายสังฆาฏิโค้งมนอยู่เหนือพระนาภี
พระเพลาผาย พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาวางคว่ำอยู่บนพระเพลาขวาตรงแนวขาพับ แสดงการชี้ลงเบื้องธรณี นิ้วพระหัตถ์ใหญ่ และนิ้วทั้งสี่อวบชิดยาวเสมอกัน ปลายนิ้วมนแบบคนธรรมดา คล้ายพระหัตถ์พระพุทธรูปสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
พระพุทธรูปตั้งอยู่บนฐานเขียงซึ่งฝังอยู่ในฐานชุกชีปูนปั้นที่ตกแต่งเป็นฐานบัวผ้าทิพย์ ฐานหน้ากระดานตกแต่งด้วยลายดอกประจำยามก้ามปู อยู่เหนือแนวลายกลีบบัวขาบหรือบัวแวง ตรงกลางฐานด้านหน้าพระเพลามีผืนผ้าพาดยาวลงมา และตกแต่งลวดลายอย่างสวยงามตามแบบศิลปะท้องถิ่น
การกำหนดอายุสมัย
จากลักษณะรูปแบบศิลปะของพระพักตร์ เม็ดพระศกเล็กละเอียดและพระรัศมีที่เรียวสูง มียอดกลางใหญ่ พระพักตร์และพระเศียรพระพุทธรูป "พระเจ้าใหญ่องค์เงิน" เป็นศิลปะพื้นถิ่นอีสาน ลักษณะพระกรรณเป็นแนวเส้นแบบศิลปะล้านช้าง พุทธศตวรษที่ ๒๔ เนื่องจากหอพระบาทนี้ พระอริยวงศาจารย์ญาณวิมลอุบลสังฆปาโมกข์ (สุ้ย) ชาวเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ ได้มีศรัทธาสร้างเพื่อประดิษฐานรอยพระพุทธบาทที่ท่านจำลองมาจากรอบพระพุทธบาทที่วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ซึ่งท่านได้มาศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดนี้ สอบได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค และได้มาจำพรรษาที่วัดทุ่งศรีเมือง ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะชั้นผู้ใหญ่ตามสมณศักดิ์ที่กล่าวมาแล้ว
เมื่อพิจารณาลักษณะพระพุทธรูป "พระเจ้าใหญ่องค์เงิน" ที่ไม่ปรากฏประวัติการสร้างที่แน่นอน แต่สันนิษฐานว่า น่าจะสร้างภายหลังการสร้างหอพระบาทเสร็จแล้ว และถูกนำมาประดิษฐานเป็นพระพุทธรูปประธานในหอพระบาท หรือพระอุโบสถ คู่กับรอยพระพุทธบาทจำลอง รูปแบบส่วนพระองค์ของพระพุทธรูป จะเห็นได้ว่า ลักษณะของพระพาหา พระอุระ พระหัตถ์ นิ้วพระหัตถ์ รวมทั้งลักษณะการครองจีวรและลักษณะผ้าสังฆาฏิ ตลอดจนชายผ้าสังฆาฏิที่มีปลายโค้งมน ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นทางภาคอีสานนิยมมาก
ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า พระเจ้าใหญ่องค์เงิน เป็นศิลปะรัตนโกสินทร์พื้นถิ่น อายุพุทธศตวรรษที่ ๒๔
-
พอออกจากวัดทุ่งศรีเมือง พี่แอ๊ดก็พาไปยังสนามหลวงลานกลางเมืองอุบลราชธานี มาตอนนี้ฝนเริ่มจะลงเม็ดแล้ว ใจไม่ค่อยดีสงสัยอดถ่ายรูปมาอวดแน่แล้ว เพราะเมฆดำทะมึนมาเลย ลงรถได้ก็วิ่งไปที่ลานกลางเมือง ที่เมืองอุบลราชธานีเรียกว่า ทุ่งศรีเมือง ถ่ายมาได้รูปเดียวคือ รูปเทียนพรรษาเฉลิมพระเกียรติ แล้วก็ต้องวิ่งกลับรถ พี่ติ๋งถือร่มตามมาเพราะฝนตกแล้ว......
ทุ่งศรีเมือง
ทุ่งศรีเมือง ตั้งอยู่ใจกลางเมือง บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัด เป็นสวนสาธารณะประจำเมืองที่มีสภาพภูมิทัศน์งดงาม มีประตูทางเข้า ๔ ทิศ ๔ ประตู คือ อุบลเดชประชารักษ์ อุบลศักดิ์ประชาบาล อุบลการประชานิตย์ และอุบลกิจประชากร ภายในสวนมีสิ่งก่อสร้างที่สำคัญ คือ
อภิมหาเทียนพรรษาเฉลิมพระเกียรติ สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๒ และเป็นที่หล่อหลอมจิตศรัทธาของชาวอุบลราชธานีให้เป็นหนึ่งเดียว
ศาลหลักเมืองอุบลราชธานี เป็นสถานที่สักการะของชาวเมืองและผู้มาเยี่ยมเยือน ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.
๒๕๑๕
อนุสาวรีย์พระปทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง) ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งเมืองอุบลราชธานี
ปฏิมากรรมสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสโส อ้วน) พระเถระที่ได้รับการยกย่องว่า เป็นนักปราชญ์แห่งภาคอีสาน
ปฏิมากรรมพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันโท จันทร์) พระเถระที่ได้รับการยกย่องว่า เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านคันถธุระ และวิปัสสนาธุระ
อนุสาวรีย์แห่งความดี (Monument of Merit) เป็นเชลยศึกชาวต่างประเทศ ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ สร้างไว้เพื่อเป็นที่ระลึกถึงความเมตตาปราณี และคุณงามความดีของชาวเมืองอุบลาชธานี
ปฏิมากรรมร่วมใจก้าวไปข้างหน้า สร้างขึ้นตามโครงการปฏิมากรรม กับสิ่งแวดล้อมเพื่อเยาวชน ซึ่งแสดงถึง ความสมานฉันท์แห่งความเป็นพี่น้องระหว่าง ๔ ประเทศ คือ ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม
ทุ่งศรีเมืองจังหวัดอุบลราชธานี ปัจจุบันเป็นปอดแห่งใหญ่ที่สำคัญของคนเมืองอุบลราชธานี เทศบาลนครอุบลราชธานี ได้ปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบมีความร่มรื่นสวยงาม กำหนดเป็นเขตปลอดมลภาวะ เพื่อเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ และใช้ออกกำลังกาย สำหรับชาวอุบลราชธานี และนักท่องเที่ยวที่มาเยือน
เผอิญฝนตกหนักเลยถ่ายรูปมาได้แค่ภาพเดียว.....
-
วัดที่ ๕ วัดพระธาตุหนองบัว
วัดสำคัญที่มีอายุเก่าแก่ และมีสถาปัตยกรรมแนวผสมผสานที่งดงามตามแบบอีสาน ตั้งอยู่ชานเมืองอุบลราชธานี ห่างจากตัวศาลากลางจังหวัดไปทางเหนือประมาณ ๕ กิโลเมตร สิ่งก่อสร้างที่เด่นสะดุดตาของวัดนี้คือสถูปก่ออิฐฉาบปูน ซึ่งโครงสร้างได้รับแรงบันดาลใจมาจากมหาโพธิวิหาร โพธิคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า สร้างเป็นสถูปทรงสี่เหลี่ยม ยอดสอบเข้าเล็กน้อย และปลายตัด แล้วต่อยอดด้านบนให้แหลมสูงด้วยสถูปขนาดเล็กสีทอง
สถูปที่พระธาตุหนองบัวแห่งนี้ ช่างได้บรรจงแต่งแต้มศิลปะท้องถิ่นเข้าไปอย่างลงตัว ฐานตอนล่างสุดเป็นรูปมารแบก ถัดขึ้นไปเป็นรูปพระสงฆ์สาวกยืนในซุ้มด้านละ ๘ องค์ รวม ๓๒ องค์ ถัดขึ้นไปเป็นภาพปูนปั้นเล่าเรื่องพระเจ้าสิบชาติ สลักเป็นช่องๆ ๑ ช่อง ต่อ ๑ เรื่อง รวม ๑๐ ช่องเหมือนกันทั้ง ๔ ด้าน เหนือขึ้นไปเป็นลายรัดประคตรูปเทพนั่งบนแท่นสลับกับลายกนก องค์เจดีย์ด้านบนประดับลายปูนปั้นเป็นรูปพระพุทธเจ้าในปางต่างๆสูงจนถึงยอดเจดีย์ ที่มุมฐานทั้งสี่ตอนล่างสุดเป็นรูปครุฑแบก เหนือขึ้นมาเป็นนาค ๗ เศียร
ภายในเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุซึ่งบรรจุไว้ในสถูปลงรักปิดทอง ศิลปะอินเดียแบบปาละ คือเป็นสถูปทรงสี่เหลี่ยม สลักลายเป็นเรื่องพระเจ้า ๕๐๐ ชาติ อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมเรียงเป็นแถวคั่นแถวด้วยลายกลีบบัว มุมกำแพงแก้วทั้งสี่มุมสร้างเป็นเจดีย์ทรงเหลี่ยมประดับลายรูปเทพพนมและลายกนก ที่ฐานปั้นเป็นรูปเทวดาประทับนั่งในซุ้ม
ใกล้ๆกันนั้น มีวิหารซึ่งสร้างเลียนแบบรูปทรงมาจากปรินิพพานวิหาร เมืองกุสินารา รัฐอุตรประเทศ ประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นที่เสด็จดับขันธปรินิพพานของพระพุทธเจ้าเมื่อกว่า ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว
วิหารที่วัดพระธาตุหนองบัวสร้างเป็นอาคาร ตรีมุข คือมีหลังคายื่นออกไปเป็นสามด้าน หลังคารูปร่างโค้งมน มีระเบียงพาไลโดยรอบตกแต่งด้วยลวดลายวิจิตรงดงาม
ภายในเป็นที่ประดิษฐานพระประธานเป็นพระพุทธไสยาสน์ในซุ้มตรีมุข เพดานโค้งด้าบนเขียนรูปเทวดาดั้นเมฆพนมมือ บนพื้นสีแดง ตรงกลางเป็นรูปดาว ส่วนล่างเขียนจิตรกรรมเรื่องพุทธประวัติ เสา พื้น และผนังบุหินแกรนิต
.....มีแต่ภาพถ่ายพระธาตุหนองบัว.....
ภาพพระธาตุหนองบัว ใช้กล้องตัวเล็กถ่าย
เพราะกล้องหลักที่ใช้หมดแรงไปแล้ว
ต้องหาร้านซื้อแบตเตอรี่ก่อน -
มาถึงวัด แสงฟ้าหมดแล้ว ถ่ายรูปไว้หลายรูปเหมือนกันแสงไม่พอไม่สวย เลยไม่กล้ามาอวด
วัดที่ ๖ วัดสุปัฏนารามวรวิหาร
ประวัติ “วัดสุปัฏนารามวรวิหาร” หรือ “วัดสุปัฏนาราม” แห่งนี้ เป็นชื่อที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ก่อสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๓๙๖
ปัจจุบันวัดสุปัฏนารามวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร และเป็นวัดธรรมยุตวัดแรกของจังหวัดอุบลราชธานี มีเนื้อที่อาณาเขตทั้งสิ้น ๒๑ ไร่ ๓๘ ตารางวา ตั้งอยู่ถนนสุปัฏ ต.ในเมือง อ.เมือง มีทำเลที่ตั้งอยู่ติดแม่น้ำมูล สร้างในสมัยพระพรหมราชวงศา (พระอุปราชกุทอง) เจ้าเมืองอุบลราชธานีคนที่ ๓
สำหรับการพระราชทานนามว่า “วัดสุปัฏนาราม” มีความหมายของคำ ๒ นัย คือ
(๑) หมายถึงวัดที่มีสถานที่ตั้งเหมาะสมเพื่อเป็นท่าเรืออย่างดี เพราะอยู่ริมฝั่งแม่น้ำมูล สะดวกต่อการเดินทางและการออกบิณฑบาต
(๒) หมายถึงสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่เป็นศาสนสถานเปรียบดั่งท่าเรือ ที่ให้มวลมนุษย์ข้ามพ้นโอฆสงสารไปได้
การสร้างวัดสุปัฏนารามนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนา จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้กรมการเมืองอุบลราชธานีในขณะนั้น คือ พระพรหมราชวงศา เลือกพื้นที่สำหรับดำเนินการสร้างวัดเมื่อ พ.ศ.๒๓๙๓ จากการสำรวจพื้นที่พบว่า บริเวณท่าเหนือช่วงบ้านบุ่งกาแซว (ปัจจุบันเป็นชุมชนบุ่งกาแซว ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลนคร) เป็นสถานที่เงียบสงบเหมาะให้พระภิกษุสงฆ์ใช้เป็นที่บำเพ็ญศาสนกิจ และสะดวกต่อการโคจรบิณฑบาต จึงก่อสร้างวัดให้เสร็จสิ้นลงเมื่อ พ.ศ.๒๓๙๖
ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระพรหมราชวงศาอาราธนาพระพันธุโลเถร (ดี) และพระเทวธมมี (ม้าว) มาครองวัด จนกระทั่งถึง พ.ศ.๒๔๗๘ สมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามวัดให้ใหม่ สมกับเป็นอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ว่า “วัดสุปัฏนารามวรวิหาร”
กล่าวได้ว่า วัดสุปัฏนารามวรวิหาร เป็นวัดที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ด้านการศาสนา มี “พระอุโบสถ” เป็นสถาปัตยกรรมผสมผสาน โดยหลังคาเป็นแบบไทย ส่วนกลางของตัวพระอุโบสถเป็นแบบยุโรป (เยอรมัน) ส่วนฐานสร้างแบบขอมโบราณ
ลักษณะโดดเด่นอีกประการ คือ ตัวพระอุโบสถไม่มีหน้าต่าง แต่ทำเป็นประตูโดยรอบ มีขนาดกว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๓๔ เมตร สูง ๒๒ เมตร สำหรับสถาปนิกผู้ออกแบบพระอุโบสถหลังใหม่นี้ คือ หลวงสถิตย์นิมานกาล (ชวน สุปิยพันธุ์) นายช่างทางหลวงแผ่นดิน สร้างตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๗๓ แล้วเสร็จ พ.ศ.๒๔๗๓ สิ้นค่าก่อสร้าง ๗๐,๐๐๐ บาท
ส่วนพระอุโบสถหลังเดิม มีขนาดกว้าง ๘ ศอก ยาว ๑๑ วา ๒ ศอก สร้างด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ด้วยพระอุโบสถหลังเก่าได้ชำรุดทรุดโทรม ยากแก่การบูรณปฏิสังขรณ์
จึงได้สร้างพระอุโบสถหลังใหม่นี้ขึ้นแทน เพื่อใช้เป็นที่ประดิษฐานพระประธาน อันมีนามว่า “พระสัพพัญญูเจ้า”
“พระสัพพัญญูเจ้า” สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๙ ก่อนการสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง ๔ คืบ หล่อขัดเงา ไม่ปิดทอง เริ่มการหล่อเมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๕๙ เวลา ๐๔.๐๓ น.แล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ.๒๔๕๙ (ก่อน พ.ศ.๒๔๘๓ ประเทศไทยได้นับเดือนเมษายนเป็นเดือนแรกของปี และนับเดือนมีนาคมเป็นเดือนสุดท้ายของปี) ตั้งประดิษฐานรวมกับพระพุทธรูปสำคัญองค์อื่นๆ อีกหลายองค์ ทั้งนี้ โดยมี สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) เป็นองค์ผู้นำพา ในการหล่อ “พระสัพพัญญูเจ้า” และในการสร้างพระอุโบสถหลังใหม่
Noise เยอะเลยหล่ะ
นอกจากนี้ วัดสุปัฏนารามวรวิหาร ยังมี ‘หอศิลปวัฒนธรรม’ สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๕ เพื่อใช้เป็นสถานที่เก็บรวบรวมศิลปะและโบราณวัตถุต่างๆ เช่น ทับหลัง ศิลาจารึก ที่ได้มาจากถ้ำภูหมาไน (ตั้งอยู่ในอำเภอสิรินธร)
เป็นจารึกที่มีข้อความคล้ายกับจารึกจิตรเสน ในสมัยเจนละ รวมทั้งสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ที่ผู้ศรัทธารวบรวมมาถวายให้เป็นสมบัติของวัด
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งนี้ เปิดให้ประชาชนเข้าชมได้เฉพาะเทศกาลสำคัญเท่านั้น
ส่วนการเข้ากราบไหว้บูชา “พระสัพพัญญูเจ้า” วัดเปิดให้ประชาชนเข้ากราบไหว้ได้อย่างใกล้ชิดทุกวันตามกำลังศรัทธา สิ่งที่ใช้ในการนมัสการ-กราบไหว้ขอพร ก็เป็นดอกไม้ธูปเทียนทั่วไป ไม่ได้มีการเน้นสิ่งใดเป็นกรณีพิเศษแต่ประการใด
ในอดีตชาวเรือที่เป็นชาวประมงน้ำจืดริมฝั่งแม่น้ำ หรือเป็นพ่อค้าวาณิชย์ที่ใช้เส้นทางน้ำเป็นเส้นทางค้าขาย จะเลื่อมใสศรัทธาขอให้พระสัพพัญญูเจ้า เป็นผู้คอยปกปักรักษาภัยอันตรายต่างๆ ในการทำมาหากิน พระสัพพัญญูเจ้าจึงได้รับความเคารพเลื่อมใสศรัทธาอย่างมาก
ถึงแม้ปัจจุบันการทำการค้าผ่านเส้นทางน้ำได้ยกเลิกไปแล้ว แต่ด้วยความเลื่อมใสศรัทธาของพุทธศาสนิกชน ยังเข้ามากราบไหว้พระสัพพัญญูเจ้าอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลวันสำคัญ ผู้คนจะหลั่งไหลมากราบไหว้ขอพรจากองค์พระสัพพัญญูเจ้าไม่ขาดสาย
ถ่ายรูปได้แต่ภายนอก พระอุโบสถปิดหมดแล้วหล่ะ.......
-
วัดที่ ๗ วัดมหาวนาราม หรือ วัดป่าใหญ่อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
“วัดมหาวนาราม” หรือที่ชาวบ้านนิยมเรียกอย่างคุ้นเคยว่า “วัดป่าใหญ่” ตั้งอยู่บนถนนสรรพสิทธิ์ ต.ในเมืองอ.เมือง จ.อุบลราชธานีเป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองมากับการก่อตั้งจังหวัดอุบลราชธานีภายในพระอุโบสถมีพระพุทธรูปองค์ประธานชื่อ “พระเจ้าใหญ่อินแปลง” เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ก่ออิฐถือปูน พร้อมกับลงรักปิดทองลักษณะองค์พระเป็นพระพุทธรูปศิลปะแบบลาวหน้าตักกว้างประมาณ ๓ เมตรสูงจากเรือนแท่นถึงเปลวพระโมลี ๕ เมตร
ประวัติเล่าสืบต่อกันของพระพุทธรูปองค์นี้มีมากมาย ตั้งแต่การสร้างว่าพระเจ้าใหญ่อินแปลง มีอยู่ด้วยกัน ๓ องค์
โดยองค์หนึ่งประดิษฐานอยู่ที่วัดอินทร์แปลงมหาวิหารนครเวียงจันทน์ ประเทศลาวปัจจุบันมีอายุประมาณพันกว่าปีพระพุทธรูปอีกองค์ประดิษฐานอยู่ที่วัดอินแปลง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนมซึ่งก็มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกับพระเจ้าใหญ่อินแปลงวัดอินทร์แปลงมหาวิหารนครเวียงจันทน์ ประเทศลาว ส่วนองค์สุดท้าย คือ พระเจ้าใหญ่อินแปลงซึ่งประดิษฐานอยู่ที่วัดมหาวนารามหรือวัดป่าใหญ่ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานีและมีอายุเกือบสองร้อยปีแล้ว
สำหรับประเพณีปฏิบัติต่อพระพุทธรูปองค์นี้ในวันเพ็ญเดือน ๕ หรือในเดือนเมษายนของทุกปี จะมีการทำบุญตักบาตรเทศน์มหาชาติชาดก และสรงน้ำปิดทองพระเจ้าใหญ่อินแปลงการสร้างพระเจ้าใหญ่อินแปลงเกิดขึ้นหลังจากพระปทุมวรราชสุริยวงศ์หรือท้าวคำผง ได้ก่อสร้างเมืองอุบลราชธานีที่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำมูล พร้อมได้ก่อสร้างวัดที่ริมฝั่งแม่น้ำมูล โดยวัดแห่งแรกของจังหวัดมีชื่อว่า “วัดหลวง” เพื่อให้เป็นสถานที่ใช้ทำบุญทำกุศลของประชาชนทั่วไป
ภายหลังก่อสร้างวัดหลวงเสร็จสมบูรณ์ พระปทุมวรราชสุริยวงศ์ได้นิมนต์พระธรรมโชติวงศาซึ่งเป็นพระมหาเถระสายวิปัสสนากรรมฐานพร้อมพระภิกษุสามเณรมาอยู่จำพรรษาสนองศรัทธาของประชาชนแต่เมื่อพระธรรมโชติวงศาเข้ามาพำนักจำพรรษาเล็งเห็นว่าวัดหลวงแห่งนี้เป็นวัดบ้าน หรือ “ฝ่ายคามวาสี” ตั้งอยู่กลางใจเมืองไม่เหมาะแก่การปฏิบัติสมณธรรมวิปัสสนากรรมฐานจึงได้แสวงหาสถานที่ปฏิบัติธรรมเจริญวิปัสสนากรรมฐานใหม่โดยพิจารณาเห็นว่าป่าดงอู่ผึ้ง ห่างจากวัดหลวงไปทางทิศเหนือประมาณ ๑๐๐ เส้นมีหนองน้ำชื่อหนองสะพัง เป็นสถานที่สงบวิเวกเหมาะแก่การตั้งเป็นสำนักสงฆ์ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐาน หรือ “ฝ่ายอรัญญาวาสี” จึงได้ก่อตั้งขึ้นเป็นสำนักสงฆ์ให้ชื่อว่า “วัดป่าหลวงมณีโชติศรีสวัสดิ์” คู่กับวัดหลวง แต่ยังไม่ทันได้ตั้งเป็นวัดให้สมบูรณ์เรียบร้อย พระปทุมวรราชสุริยวงศ์ผู้เป็นเจ้าเมืองอุบลราชธานีคนแรก ก็ถึงแก่อนิจกรรมลงเมื่อ พ.ศ.๒๓๒๓
กระทั่งเจ้าเมืองคนที่ ๒ คือ พระพรหมวรราชสุริยวงศ์ หรือท้าวทิดพรหมได้มาก่อสร้างวิหารในวัดป่าหลวงมณีโชติศรีสวัสดิ์ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๔๘และปีพ.ศ.๒๓๕๐ ได้ยกฐานะขึ้นเป็นวัดประจำเจ้าเมืองคนที่สองและให้ชื่อว่าวัดป่าหลวงมณีโชติแต่ชาวบ้านนิยมเรียกว่าวัดหนองตะพัง หรือหนองสระพังตามชื่อหนองน้ำที่อยู่ใกล้เคียง โดยมีพระมหาราชครูศรีสัทธรรมวงศาเป็นเจ้าอาวาสรูปแรกและพระมหาราชครูศรีสัทธรรมวงศา เป็นผู้สร้างพระพุทธรูป “พระอินแปลง” หรือ “พระเจ้าใหญ่อินแปลง” องค์ปัจจุบันซึ่งเป็นพระประธานประจำวัด
ส่วนชื่อวัดได้มีการเปลี่ยนชื่อวัดรวม ๒ ครั้ง เป็นวัดมหาวันและเปลี่ยนตามสมัยนิยมอีกครั้งชื่อว่า “วัดมหาวนาราม” แต่ความหมายของชื่อก็ยังคงเดิมคือแปลว่า “วัดป่าใหญ่”
ส่วนพระพุทธรูป “พระเจ้าใหญ่อินแปลง” หลังก่อสร้างเสร็จก็ได้รับความเคารพบูชาจากชาวเมืองมาโดยตลอด โดยเฉพาะในอดีตเมื่อมีความขัดแย้งกันขึ้น หรือเกิดความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจชาวเมืองก็จะชวนกันมาสาบานต่อหน้าองค์พระเจ้าใหญ่อินแปลงเพราะต่างเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ของท่านหากใครไม่ทำตามที่ได้ให้คำสัตย์สาบานเอาไว้ ก็จะมีอันเป็นไปต่างๆ นานารวมทั้งการมาขอพรให้ประสบความสำเร็จในการสอบไล่หรือในหน้าที่การงานและความประสบโชคมีสุขในครอบครัวหรือแม้กระทั่งมีสิ่งของสำคัญสูญหายไปจะมาบนบานต่อหน้า
องค์พระเจ้าใหญ่อินแปลงเพื่อขอให้ได้สิ่งของที่หายไปกลับคืนมา
พระเจ้าใหญ่อินแปลง วัดมหาวนารามหรือวัดป่าใหญ่ จึงเป็นที่พึ่งทางจิตใจของชาวจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดใกล้เคียงมาต่อเนื่องโดยเฉพาะเมื่อมีการเดินทางมารับตำแหน่งใหม่ของข้าราชการทุกระดับชั้นจะต้องมาไหว้กราบนมัสการบอกกล่าวต่อองค์ท่านเพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่เป็นไปอย่างราบรื่นปราศจากอุปสรรคใดๆ
สำหรับการทำบุญกับพระเจ้าใหญ่อินแปลงที่ชาวบ้านนิยมคือ การถวายดอกบัวตูมธูป และเทียน พร้อมลงรักปิดทองที่ตัวองค์พระ และถวายสังฆทานแต่เนื่องจากอุโบสถที่ใช้ประดิษฐานพระเจ้าใหญ่อินแปลงเริ่มคับแคบ เพื่อลดความแออัดในการเข้าไปกราบนมัสการ โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสำคัญซึ่งมีประชาชนจากทั่วสารทิศพากันมากราบไหว้จำนวนมากทางวัดได้จัดทำรูปองค์พระเจ้าใหญ่อินแปลงจำลองที่หน้าทางขึ้นอุโบสถ
โดยประชาชนที่มากราบไหว้นมัสการขอพรสามารถเลือกที่จะเข้าไปกราบพระเจ้าใหญ่อินแปลงในอุโบสถหรือเลือกกราบองค์พระจำลองที่สร้างไว้บริเวณทางขึ้นหน้าอุโบสถ
......................................
วัดนี้เป็นวัดสุดท้ายที่พี่แอ๊ดและพี่ติ๋งพาไปเที่ยว ด้วยขณะนี้เวลาก็ล่วงเข้าจะสองทุ่ม วัด โบสถ์ ก็ปิดหมดแล้ว จะไปเก็บภาพก็ไม่ได้เสียแล้ว หมดเวลา
-
เมื่อหมดเวลาเที่ยว ความหิวมาเยือน พี่แอ๊ดก็เลยพาไปทานข้าว เป็นร้านอาหารข้าวต้มชื่อร้านอะไรก็จำไม่ได้อีกอ่ะจ่ะ..... ตอนนี้เพลียจัดเพราะว่าเมื่อตอนเช้าไปลุยผาแต้ม แล้วก็โขงเจียม แดดร้อนๆๆๆๆๆ มาก ระหว่างสั่งอาหารและกับข้าวแล้วก็ทานไปด้วย พวกเราสามคนก็เม้าท์กันอย่างเมามัน.... อุ้ย! ไม่ใช่ แค่โอภาปราศรัยกัน อิ อิ จนเวลาเลยถึงสามทุ่ม พี่แอ๊ด ก็เลยพาไปส่งที่โรงแรม เฮ้อ ถึงเวลาต้องอำลากันแล้ว ยังไม่อยากกลับอ่ะ เสียดายเวลาน้อย ก็ขอขอบคุณพี่แอ๊ด วาสนา ที่เลี้ยงดูปูเสื่อกับอาหาร ๒ มื้อ และยังอำนวยความสะดวก ขับรถพาเที่ยว ขอขอบคุณพี่ติ๋ง อำนวยกรณ์ ที่เป็นผู้นำทางพาเที่ยวและให้ข้อมูลของวัดต่างๆ ที่พาไป..... ขอขอบคุณจ่ะ ถ้ามีโอกาส จะไปเยี่ยมไปเยือนอีกครา....
Noise เยอะอีกแล้ว
-
วันที่ ๔ วันนี้ตื่นสายกว่าทุกวัน เพราะว่าเมื่อคนกว่าจะนอนหลับก็ตีหนึ่งกว่า ง่วงจัง แต่ไม่ตื่นก็ไม่ได้เพราะต้องรีบเช็คเอาท์ วันนี้เป็นวันเดินทางกลับกรุงเทพมหานคร อาบน้ำแต่งตัว จัดข้าวของเสร็จ ก็รีบคว้ากระเป๋าไปกองรวมกับเพื่อนๆ ในคณะที่ล๊อบบี้ แล้วก็รีบจ้ำอ้าวไปที่ห้องอาหาร
เช้านี้อาหารอร่อยแต่ไม่ค่อยถูกปากสักเท่าไหร่ คือมีแต่ไส้กรอก แฮม เบคอน นม น้ำส้ม กาแฟ ผลไม้ แต่ไม่มีข้าวอ่ะสิ เลยทานแค่ ไส้กรอก แฮม เบคอนแล้วก็น้ำผลไม้ พอทานเสร็จก็ไม่รู้จะทำอะไร เหลือบไปเห็นขวดพริกไท น่ารักดี เลยจับมาประกอบฉาก ถ่ายรูปเสียเลย
ภาพนี้ชื่อว่า "เรารักกัน"
หน้า 18 ของ 169