Trips หลงทาง

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย titawan, 17 กรกฎาคม 2009.

  1. Bacary

    Bacary เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    1,212
    ค่าพลัง:
    +23,196
    ตามมากดปุ่ม [​IMG]
     
  2. ประทีปแก้ว

    ประทีปแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2008
    โพสต์:
    3,506
    ค่าพลัง:
    +8,328
    [​IMG]
    วิหารหลวงพ่อ....หลวงพ่อ และพระปรางค์ค่ะ
     
  3. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]

    จำได้ว่า "วัดศรีชุม" เนี่ยะ อยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยช่ายอ๊ะป่าว??
    แล้วก็ยังมีอีกหลาย ๆ วัด อยู่ในเขตนี้เลยนะ ถึงจุดนี้แปลว่าฟ้าอยู่ที่ จ.สุโขทัยแล้ว
    ตรงปากทางเข้ามีร้านขายถ้วย ชาม และเซรามิกลายสวย ๆ โบราณ ๆ ด้วย..
    ที่สำคัญก็คือ มีอนุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงด้วยจ๊ะ..รีบเอามาลงให้ดูเลย!!..
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กรกฎาคม 2009
  4. ประทีปแก้ว

    ประทีปแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2008
    โพสต์:
    3,506
    ค่าพลัง:
    +8,328
    พระปรางค์

    [​IMG] [​IMG]
    พระปรางค์ประธาน


    องค์พระปรางค์ตั้งอยู่ ณ ศูนย์กลางของวัด เป็นพระปรางค์ประธาน และเป็นปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดของวัด การก่อสร้างพระปรางค์ของพระมหาธรรมราชาที่ 1 (พระยาลิไท) ได้ทำตามคตินิยมของหัวเมืองราชธานี ของอาณาจักรสุโขทัยในสมัยนั้น คือประสงค์ให้พระปรางค์เป็นหลักเป็นประธานของวัด และเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ รูปแบบของพระปรางค์เมื่อเริ่มสร้างสันนิษฐานว่า เป็นเจดีย์ทรงดอกบัวตูม โดยสร้างครอบพระสถูปเจดีย์ที่สร้างในรัชสมัยของพ่อขุนศรีนาวนำถม เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถขึ้นไป ครองราชย์ที่เมืองพิษณุโลก ได้โปรดให้บูรณะพระปรางค์โดยดัดแปลงพระเจดีย์ ได้ให้เป็นรูปแบบพระปรางค์แบบขอมตามพระราชนิยมในสมัยกรุงศรีอยุธยา


    <TABLE class=gallery cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]

    องค์พระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหารในอดีต


    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    พระวิหารพระเจ้าเข้านิพพาน

    วิหารพระเจ้าเข้านิพพาน เป็นวิหารขนาดกลางตั้งอยู่ทางทิศใต้ของวิหารพระพุทธชินราชนอกเขตระเบียงคต ภายในประดิษฐานหีบปิดทอง(สมมุติ)บรรจุพระบรมศพองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทำด้วยศิลาตั้งอยู่บนจิตรากาธานประดับด้วยลวดลายลงรักปิดทองร่องกระจกสวยงาม ที่ปลายหีบมีพระบาททั้งสองยื่นออกมา และบริเวณด้านหน้า หรือด้านท้าย หีบพระบรมศพ มีพระมหากัสสปะเถระ นั่งนมัสการพระบรมศพ ซึ่งนับว่าเป็นโบราณวัตถุที่สำคัญของวัดพระศรีรัตนมหาวรวิหาร โดยผู้สร้างถือคติว่าเป็นการจำลองสังเวชนียสถานของพระพุทธเจ้า คาดว่ามีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย

    อย่าลืมไปกราบพระเจ้าเข้านิพพานด้วยนะคะ
     
  5. ประทีปแก้ว

    ประทีปแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2008
    โพสต์:
    3,506
    ค่าพลัง:
    +8,328
    [​IMG]
    กล้วยตากบางกระทุ่ม ที่บรรจุเรียบร้อยแล้ว
    [​IMG]

    [​IMG]

    กล้วยตากบางกระทุ่ม...ของฝากจากชาวพิษณุโลกค่ะ...อร่อยน๊า..จาบอกให้
     
  6. Bacary

    Bacary เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    1,212
    ค่าพลัง:
    +23,196
    [​IMG]

    พระอจนะ วัดศรีชุม(พระพุทธรูปพูดได้)

    วิหารวัดศรีชุมจึงมีความเร้นลับซ่อนอยู่อย่างนี้
    เรื่องนี้หากพิจารณากันอย่างลึกซึ้งแล้วจะพบว่า พระมหากษัตริย์ในราชวงศ์พระร่วง
    ทรงพระปรีชาสามารถในด้านปลุกปลอบใจทหารหาญและด้านอื่นๆ อีกมาก
    เพราะผนังด้านข้างขององค์พระอจนะมีช่องเล็กๆ ถ้าหากใครแอบเข้าไปทางอุโมงค์แล้ว
    ไปโผล่ที่ช่องนี้และพูดออกมาดังๆ ผู้ที่อยู่ภายในวิหารจะต้องนึกว่าพระอจนะพูดได้
    และเสียงพูดนั้นจะกังวานน่าเกรงขาม เพราะวิหารนี้ไม่มีหน้าต่าง
    แต่เดิมคงมีหลังคาเป็นรูปโค้งคล้ายโดม
     
  7. deelek

    deelek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    6,696
    ค่าพลัง:
    +16,254
    ขออนุโมทนา สาธุ ๆ กับทุก ๆ ท่านด้วยที่ได้ร่วมกันสร้างบุญกุศล สาธุ ๆ
     
  8. titawan

    titawan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2008
    โพสต์:
    2,290
    ค่าพลัง:
    +5,139
    ตกลงชมหรอเนี้ย _ _" จริงๆอ่ะแต่แปลกๆยังไงไม่รู้เหมือนจะบ่น ^^"
     
  9. titawan

    titawan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2008
    โพสต์:
    2,290
    ค่าพลัง:
    +5,139
    เด็กขี้เซา ดื้อหนีเที่ยวจนหลงทาง ตื่นหรือยังครับ มาเขียนต่อเร็วๆพี่เอานาฬิกามาปลุกแล้วนะครับ ยังไม่ตื่นอีก หุ หุ

    [​IMG]

    นอกจากมาเปลี่ยนชื่อกระทู้เค๊าแล้วยังเอาระเบิดเวลามาวางกระทู้เค๊าอีก พี่วิทอ่ะใจร้ายจัง ตื่นมาเขียนต่อแล้วนะ ตัวเองนั้นแหละไปนอนเฉยเลย ลุกมาอ่านดิ ^^
     
  10. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    15,448
    ค่าพลัง:
    +39,087
    ขอบคุณนะครับ แต่ยังไม่ถึงพระธาตุพนมเลย
    สงสัยแบบว่าระยะทางมันไกลเนาะ ^ ^
     
  11. titawan

    titawan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2008
    โพสต์:
    2,290
    ค่าพลัง:
    +5,139
    ^^ ขอบคุณพี่แก้ว พี่นก พี่เจงที่มาช่วยให้ข้อมูลคะ

    แหะๆๆ ฟ้ารีบขับด้วยอ่ะ กลัวฝนจะตก แต่จากสุโขทัยไปอ่ะ เค๊าเริ่มเข้าถนนผิดเส้นแล้วไปออกเพชรบูรณ์เลย ฮ่าๆๆๆ วันนั้นค้างที่เพชรบูรณ์หนึ่งคืน ขับรถเหนื่อยมากๆอ่ะ พอตอนเช้าก็ขับเข้าไปขอนแก่น แล้วมานั่งอ่านแผนที่ อ่านไปอ่านมา เลยไปพระธาตุพนมเลย ก็เลยขับไปเรื่อยๆตั้งแต่เช้าอ่ะจากเพชรบูรณ์ผ่านขอนแก่นไปทางกาฬสินธุ์ แล้วก็ไปโผล่ที่มุกดาหารก่อน แล้วก็ไปถึงนครพนมจนได้อ่ะ ประมาณห้าโมงเย็นหรือหกโมงไม่รู้ จำไม่ได้แล้ว ^^"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กรกฎาคม 2009
  12. titawan

    titawan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2008
    โพสต์:
    2,290
    ค่าพลัง:
    +5,139
    อ่านลงมาอีกนิดหนึ่งก็ถึงแล้วน๊าพี่บอย _ _"
     
  13. titawan

    titawan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2008
    โพสต์:
    2,290
    ค่าพลัง:
    +5,139
    และแล้วในที่สุดเราก็ถึงพระธาตุพนม เก่งไหมอ่ะ อิอิ แต่ว่าจากตรงนี้ไปอ่ะ กล้องเค๊าพัง _ _" เซ็งมากเลยอ่ะ อยู่ๆก็ขึ้นเลนส์เออเรอ หน้ากล้องเปิดแล้วเลนส์หมุนเข้าออกหลายครั้ง สุดท้ายก็พังในที่สุด ซื้อมาตั้งเกือบหมื่นพังแล้ว ตอนนี้ส่งซ่อมอยู่อ่ะ T_T เป็นรูปในมือถือแล้วน๊า รูปไม่ค่อยดีเลย แงๆๆๆๆๆ

    พระธาตุพนม จ.นครพนม แล้วที่นี้เค๊าก็โดนพี่บุษไล่ให้ไปหาที่พักก่อน _ _"

    [​IMG]

    [​IMG]

    พระธาตุพนมหรือเรียกตามแผ่นทองจารึกซึ่งจารึกไว้ในสมัยเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กแห่งนครเวียงจันทน์มาบูรณะใน พ.ศ. ๒๒๓๖ - ๔๕ ว่า "ธาตุปะนม" เป็นพุทธเจดีย์ที่บรรจุพระอุรังคธาตุ ( กระดูกส่วนพระอุระ ) ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีรูปทรงสี่เหลี่ยม ประดับตกแต่งด้วยศิลปลวดลายอันวิจิตรประณีตทั้งองค์ มีความหมายทางพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง สูงจากระดับพื้นดิน ๕๓ เมตร ฉัตรทองคำสูง ๔ เมตร รวมเป็น ๕๗ เมตร ประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ห่างจากแม่น้ำโขงอันเป็นเส้นกั้นแดนระหว่างประเทศลาวกับประเทศไทยประมาณ ๕๐๐ เมตร และห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ ๘๐๐ กิโลเมตร
    ในตำนานพระธาตุพนมกล่าวไว้ว่า องค์พระธาตุพนมสร้างครั้งแรกในราว พ.ศ. ๘ ในสมัยอาณาจักรศรีโคตบูรกำลังเจริญรุ่งเรืองอยู่ โดยท้าวพญาทั้ง ๕ อันมีพญาศรีโคตบูร เป็นต้น และพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ อันมีพระมหากัสสปะเถระเป็นประมุข
    ลักษณะการก่อสร้างในสมัยแรกนั้น ใช้ดินดิบก่อขึ้นเป็นรูปเตาสี่เหลี่ยม แล้วเผาให้สุกทีหลัง กว้างด้านละสองวาของพระมหากัสสปะ สูงสองวา ข้างในเป็นโพรง มีประตูเปิดทั้งสี่ด้าน เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็ได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุของพระพุทธเจ้าที่พระมหากัสสปะเถระนำมาจากประเทศอิเนเดีย ประดิษฐานไว้ข้างใน แล้วปิดประตูทั้งสี่ด้าน แต่ยังปิดไม่สนิททีเดียว ยังเปิดให้คนเข้าไปสักการะบูชาได้อยู่บางโอกาส ในตำนานพระธาตุพนมบอกว่า "ยังมิได้ฐานปนาให้สมบูรณ์" นี้ก็หมายความวว่า ยังมิได้ปิดประตูพระธาตุให้มิดชิดนั่นเอง พึ่งมาสถาปนาให้สมบูรณ์ในราว พ.ศ. ๕๐๐
    ท้าวพญาทั้ง ๕ ผู้มาเป็นประมุขประธานในการก่อสร้างพระธาตุพนมในครั้งนั้น เป็นเจ้าผู้ครองนครในแคว้นต่าง ๆ คือ
    ๑. พญาจุลณีพรหมทัค ครองแคว้นจุลมณี ก่อด้านตะวันออก
    ๒. พญาอินทปัตถนคร ครองเมืองอินทปัตถนคร ก่อด้านตะวันตก
    ๓. พญาคำแดง ครองเมืองหนองหานน้อย ก่อด้านตะวันตก
    ๔. พญานันทเสน ครองเมืองศรีโคตบูร ก่อด้านเหนือ
    ๕. พญาสุวรรณภิงคาร ครองเมืองหนองหานหลวง ก่อขึ้นรวมยอดเข้าเป็นรูปฝาละมี
    องค์พระธาตุพนม ได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ในยุคต่อมาโดยลำดับ ซึ่งจะได้นำมาเขียนไว้โดยสังเขปดังนี้
    ๑. การบูรณะครั้งที่ ๑ ในราว พ.ศ. ๕๐๐ โดยมีพญาสุมิตธรรมวงศา แห่งเมืองมรุกขนคร และพระอรหันต์ ๕ องค์ เป็นประธาน ในการบูรณะครั้งนั้น ได้เอาอิฐซึ่งเผาให้สุกดีแล้วมาก่อต่อเติมจากยอดพระธาตุพนมองค์เดิมให้สูงขึ้นไปอีกประมาณ ๒๔ เมตร ( สันนิษฐานดูตามลักษณะก้อนอิฐหลังจากองค์พระธาตุพนมหักพังลงแล้ว ) แล้วอัญเชิญพระอุรังคธาตุออกจากอุโมงค์เดิม ซึ่งทำการบรรจุตั้งแต่สมัยพระมหากัสสปเถระ ขึ้นไปประดิษฐานไว้ใหม่ที่ใจกลางพระธาตุชั้นที่สอง แล้วปิดประตูอย่างมิดชิด หรือสถาปนาไว้อย่างสมบูรณ์ ( เวลานี้พบแล้ว อยู่สูงจากระดับพื้นดิน ๑๔.๗๐ เมตร )
    ๒. การบูรณะครั้งที่ ๒ เมื่อ พ.ศ. ๒๑๕๗ โดยมีพระยานครหลวงพิชิตราชธานีศรีโคตบูร แห่งเมืองศรีโคตบูร เป็นประธาน ได้โบกสะทายตีนพระธาตุทั้งสี่ด้าน และสร้างกำแพงรอบพระธาตุ พร้อมทั้งซุ้มประตู และเจดีย์หอข้าวพระทางทิศตะวันออกพระธาตุ ๑ องค์ ( ถูกพระธาตุหักพังทับยับเยินหมดแล้ว )
    ๓. การบูรณะครั้งที่ ๓ เมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๖ - ๔๕ โดยมีเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กแห่งนครเวียงจันทน์เป็นประธาน การบูรณะครั้งนี้ ได้ใช้อิฐก่อต่อเติมจากพระธาตุชั้นที่สองซึ่งทำการบูรณะใน พ.ศ. ๕๐๐ ให้สูงขึ้นอีกประมาณ ๔๓ เมตร ได้มีการปรับปรุงที่ประดิษฐานพระอุรังคธาตุใหม่ โดยสร้างอูบสำริดครอบเจดีย์ศิลาอันเป็นที่บรรจุบุษบกและผอบพระอุรังคธาตุไว้อย่างแน่นหนา และได้บรรจุพระพุทธรูปเงิน ทอง แก้ว มรกต และอัญมณีอันมีค่าต่าง ๆ ไว้ภายในอูบสำริดและนอกอูบสำริดไว้มากมาย มีจารึกพระธาตุพนมว่า "ธาตุปะนม" (ประนม)
    ๔. การบูรณะครั้งที่ ๔ ใน พ.ศ. ๒๓๕๐ - ๕๖ โดยมีเจ้าอนุวงศ์แห่งนครเวียงจันทน์เป็นประธาน ได้ทำฉัตรใหม่ด้วยทองคำ ประดับด้วยเพชรพลอยสีต่าง ๆ ประมาณ ๒๐๐ เม็ด และได้ทำพิธียกฉัตรขึ้นสู่ยอดพระเจดีย์ในปีนั้น ( พ.ศ. ๒๓๕๖ ) ( ฉัตรนี้ ได้นำลงมาเก็บรักษาไว้ที่วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหารใน พ.ศ. ๒๔๙๗ )
    ๕. การบูรณะครั้งที่ ๕ โดยมีพระครูวิโรจน์รัตโนบล วัดทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เป็นประธาน ได้ซ่อมแซมโบกปูนองค์พระธาตุพนมใหม่ ลงรักปิดทองส่วนบนประดับแก้วติดดาวที่ระฆัง แผ่แผ่นทองคำหุ้มยอด ปูลานพระธาตุ ซ่อมแซมกำแพงชั้นในและชั้นกลาง
    ๖. การบูรณะครั้งที่ ๖ ใน พ.ศ. ๒๔๘๓ - ๘๔ รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ชุมจอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ได้ให้กรมศิลปากรอันมีหลวงวิจิตราวาทการเป็นหัวหน้า สร้างเสริมครอบพระธาตุพนมองค์เดิมด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กตั้งแต่ชัน้ที่ ๓ ขั้นไป และต่อยอดให้สูงขึ้นไปอีก ๑๐ เมตร รวมเป็น ๕๗ เมตร
    ๗. พ.ศ. ๒๔๙๗ รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ได้ทำฉัตรใหม่ด้วยทองคำ ซึ่งเป็นของวัดที่ได้จากประชาชนบริจาคและได้ทำพิธียกฉัตรในปีนั้น ฉัตรทองคำ มีเนื้อทองของวัดอยู่ประมาณ ๗ กิโลกรัม นอกนั้นเป็นโลหะสีทองหนักประมาณ ๒๐ กิโลกรัม ฉัตรหนักทั้งหมด ๑๑๐ กิโลกรัม ก่อนรื้อนั่งร้าน ทางวัดได้ขอแรงสามเณรวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร โบกปูนตั้งแต่ยอดซุ้มประตูพระธาตุชั้นที่ ๑ จนถึงยอดสุด ใช้เวลาทำงานอยู่ ๑ เดือนจึงแล้วเสร็จ
    ๘. พ.ศ. ๒๕๐๐ ทางวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหารได้ลงรักปิดทองพระธาตุพนมส่วนยอดประมาณ ๑๐ เมตรจนถึงก้านฉัตร ได้ขอแรงพระภิกษุสามเณรวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหารช่วยทำ ใช้เวลาทำงานอยู่ ๑ เดือน กับ ๑๕ วัน จึงเสร็จเรียบร้อยดี
    ๙. พ.ศ. ๒๕๑๑ ทางวัดได้ขอแรงพระภิกษุสามเณรวัดพระธาตุพนม ลงรักปิดทองลวดลายองค์พระธาตุพนมช่วงบน ซึ่งทำการประดับใน พ.ศ. ๒๔๘๓ - ๘๔ ส่วนยอดสูงประมาณ ๕ เมตร ได้เอาแผ่นทองเหลืองหุ้มแล้วจึงลงรักปิดทอง ใช้เวลาทำงาน ๒ เดือนกว่าจึงแล้วเสร็จ
    ๑๐. ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๘ องค์พระธาตุพนมได้หักล้มลงไปทางทิศตะวันออกทั้งองค์ ทับวัตถุก่อสร้าง ๆ ซึ่งอยู่ในบริเวณนั้น เช่น หอพระทางทิศเหนือและทิศใต้ ศาลาการเปรียญและพระวิหารหอพระแก้วเสียหายหมด ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากฐานหรือพระธาตุชั้นที่ ๑ ซึ่งสร้างในสมัยแรกนั้นเก่าแก่มาก และไม่สามารถทานน้ำหนักส่วนบนได้ จึงเกิดพังทลายลงมาดังกล่าว
    ๑๑. วันที่ ๘ กันยายน ๒๕๑๘ หลังจากองค์พระธาตุพนมพังทลายแล้ว ๒๐ วัน เจ้าหน้าที่กรมศิลปากรได้ลงมือทำการรื้อถอนและขนย้ายซากปรักหักพังขององค์พระธาตุพนม ใช้แรงงานคนงานจำนวน ๕๐ คน ใช้เวลาในการรื้อถอนและขนย้ายอยู่ ๑๗๐ วันจึงเสร็จเรียบร้อยดี
    ๑๒. วันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๑๘ ทำพิธีบูชาพระธาตุพนมและบวงสรวงดวงวิญญาณของบรรพบุรุษตลอดถึงเทพเจ้าผู้พิทักษ์องค์พระธาตุพนม และอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ที่พระธาตุจำลองชั่วคราว ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการก่อสร้างพระธาตุพนมองค์ใหม่ เมื่อสร้างพระธาตุพนมองค์ใหม่เสร็จแล้ว จะได้อัญเชิญมาประดิษฐาน ณ ที่เดิม
    ในพิธีนี้มี ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช นายกรัฐมนตรี เป็นประธานฝ่ายฆราวาส และพระพิมลธรรม ( อาสภมหาเถระ ) เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และในขณะเดียวกันก็ได้อัญเชีญเอาพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ที่พระธาตุจำลองด้วย
    ๑๓. วันที่ ๑๗ - ๑๘ ตุลาคม ๒๕๑๘ ( หลังจากองค์พระธาตุพนมหักพังแล้ว ๖๒ วัน ) ได้พบพระอุรังคธาตุหรือกระดูกส่วนหัวอกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบรรจุอยู่ในผอบแก้ว หรือหลอดแก้ว ซึ่งมีสัณฐานคล้ายรูปหัวใจ ผอบแก้วใบนี้หุ้มทองมีช่องเจาะสี่ด้าน มีฝาทองคำปิดสนิทสูง ๒.๑ เซนติเมตร มีสีขาวแวววาวมาก คล้ายกับแก้วผลึก ภายในผอบมีน้ำมันจันทน์หล่อเลี้ยงอยู่และมีพระอุรังคธาตุบรรจุอยู่ ๘ องค์
    ๑๔. วันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๘ ( หลังจากพบพระอุรังคธาตุแล้ว ๒ เดือน ๒๕ วัน ) ได้จัดสมโภชพระอุรังคธาตุขึ้นรวม ๗ วัน ๗ คืน งานเริ่มวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๘ ถึงวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๑๙
    ในงานนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ได้ทรงเสด็จมาเป็นประธานในพิธี สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ทรงเป็นประธานเจริญพระพุทธมนต์สถานที่ประกอบพิธีอยู่ที่สนามหญ้าหน้าบริเวณวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือขององค์พระธาตุพนม
    ๑๕. วันที่ ๑๐ - ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๙ ทางวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ได้จัดงานเทศกาลประจำปี ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุออบมาให้พุทธศาสนิกชนสักการะบูชา และนำสิ่งของที่พบในองค์พระธาตุพนมออกมาให้ประชาชนชมตลอดงาน
    ๑๖. วันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๑๙ บริษัท อิตาเลียน - ไทย ได้ขุดหลุมลงเข็มรากพระธาตุพนมองค์ใหม่ ต่อมาวันที่ ๒๘ - ๒๙ พฤษภาคม ศกเดียวกัน ทางวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อันมีพระเทพรัตนโมลี เป็นประธาน ได้ทำพิธีลงเข็มรากพระธาตุพนมเพื่อเป็นปฐมฤกษ์ในการก่อสร้างพระธาตุพนมองค์ใหม่
    ๑๗. วันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๑๙ สมเด็จพระสังฆราช ได้เสด็จมาเยี่ยมคณะสงฆ์และประชาชนทั่วัดพระธาตุพนม ได้ตรวจดูการก่อสร้างองค์พระธาตุพนม และได้ทรงนมัสการพระอุรังคธาตุด้วย
    ๑๘. วันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๙ ถึงวันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๒๐ ทางวัดได้ขอแรงประชาชนในเขตอำเภอธาตุพนม มาขนเศษอิฐเศษปูนจากบริเวณสนามหญ้าข้างในวิหารคตออกไปกองไว้ข้างนอกทางด้านทิศเหนือ ซึ่งอยู่ใกล้หอพระนอน
    ๑๙. วันที่ ๑๙ มกราคม ถึงวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๐ ทางวัดได้จัดงานเทศกาลประจำปี ได้อัญเชิญพระบรมสารีกธาตุ ออกไปให้ประชาชนชมและสักการะบูชาอีก และมีการแสดงนิทรรศการของโบราณเหมือนปีก่อน
    ๒๐. วันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๒๐ เจ้าหน้าที่กรมศิลปากร ได้ลงมือประดับตกแต่งลวดลายองค์พระธาตุพนม
    ๒๑. วันที่ ๑๗ - ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๑ ทางวัดได้จัดงานเทศกาลประจำปี ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุออกมาให้ประชาชนได้สักการะบูชาจนตลอดงาน พระเทพรัตนโมลี เจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร เจ้าคณะจังหวัดนครพนม และนายสมพร กลิ่นพงษา ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เป็นประธานในพิธีอัญเชิญ ได้ทำพิธีแห่โดยตั้งขบวนแห่ที่ถนนหน้าวัดแล้วเดินทางไปตามถนนชยางกูร เลี้ยวเข้าถนนหน้าพระธาตุพนมจำลอง ตรงไปยังเบญจาซึ่งตั้งอยู่สนามหญ้าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือพระธาตุ แล้วอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ที่เบญจา เสร็จงานแล้วอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ที่เดิม ในงานนี้มีการแสดงนิทรรศการเหมือนปีก่อนฯ
    ๒๒. วันที่ ๖ - ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๒ ทางวัดได้จัดงานนมัสการพระธาตุพนมประจำปีเหมือนปีก่อน ๆ และได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุออกมาให้พุทธศาสนิกชนสักการะบูชาตลอดงาน พระเทพรัตนโมลี เจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร และนายพิชิต ลักษณะสมพงษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เป็นประธานในพิธีอัญเชิญ ได้ทำพิธีแห่รอบองค์พระธาตุ ๑ รอบ แล้วจึงได้อัญเชิญขึ้นไปประดิษฐานไว้ บนพระเบญจาตลอด ๗ วัน ในวันสุดท้ายของงานพระเทพรัตนโมลี พร้อมด้วยพระสงฆ์และญาติโยมได้ทำพิธีคาระวะพระอุรังคธาตุ แล้วอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ที่เดิม ในงานนี้มีการนำเอาของมีค่าซึ่งค้นพบที่องค์พระธาตุพนมออกมาให้ประชาชนได้ชมจนตลอดงานเหมือนปีที่แล้วมา
    ๒๓. วันที่ ๒๑ - ๒๓ มีนาคม ๒๕๒๒ ทางรัฐบาลได้จัดพระราชพิธีบรรจุพระอุรังคธาตุ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จมาเป็นประธานในพิธีบรรจุ ในวันแรกของงานได้ทำพิธีแห่พระอุรังคธาตุ ในวันที่ ๒ สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายกทรงเป็นประธานยกฉัตรพระธาตุ ในวันที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จมาทรงบรรจุพระอุรังคธาตุ

    ข้อมูลมาจาก http://www.thatphanom.com/his_phrathatpanom.php

    เริ่มขี้เกียจพิมพ์เองแล้วอ่ะ ข้อมูลเยอะจัง อืมม์ลืมบอก พระธาตุพนมเป็นพระธาตุประจำวันอาทิตย์ด้วยนะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Image018.jpg
      Image018.jpg
      ขนาดไฟล์:
      70.4 KB
      เปิดดู:
      584
    • Image019.jpg
      Image019.jpg
      ขนาดไฟล์:
      62.4 KB
      เปิดดู:
      729
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กรกฎาคม 2009
  14. Bacary

    Bacary เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    1,212
    ค่าพลัง:
    +23,196
    บรรยากาศสดหรอนี่
     
  15. Bacary

    Bacary เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    1,212
    ค่าพลัง:
    +23,196
    ไม่ถ่ายภาพก้อนหิน ต้นไม้ ใบหญ้าข้างทางมาให้ชมบ้าง
    ไม่รู้ว่ามันเหมือนที่บ้านเราหรือป่าว...[​IMG]
     
  16. titawan

    titawan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2008
    โพสต์:
    2,290
    ค่าพลัง:
    +5,139
    โห....ขับรถมายังหลับใน ยังให้จอดถ่ายรูปอีกหรอ ^^" เค๊าไปจนกลับมาสี่วันแล้วอ่ะ
     
  17. titawan

    titawan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2008
    โพสต์:
    2,290
    ค่าพลัง:
    +5,139
    หลังจากนั้นก็รีบขับต่อไปที่พระธาตุเรณูนครอ่ะ เพราะห่างกันไม่ถึงยี่สิบกิโลเมตรเลยไปก่อน กะว่าเดี๋ยวค่อยมาหาที่พักเอาที่หลัง แหะๆๆ สนุกกับการขับรถไง เลยป้ายบอกทางด้วย ^^"

    ถึงแล้วน๊า พระธาตุเรณูนคร จ.นครพนม แต่ที่นี้โดนพี่ปุญไล่ให้ไปหายาแก้ไออ่ะ แหะๆๆ แล้วโดนไล่ให้หาที่พักอีกหนึ่งรอบ _ _"

    [​IMG]

    [​IMG]

    พระธาตุเรณู เป็นพระธาตุประจำวันเกิดของคนเกิดวันจันทร์ มีคาถาสวดบูชาวันละ ๑๕ จบ ดังนี้ "อิ ระ ชา คะ ตะ ระ สา" ชื่อคาถาพระกระทู้เจ็ดแบก ใช้ทางคงกระพันชาตรี ประจำอยู่ทิศบูรพา องค์พระธาตุประดิษฐานอยู่ที่ วัดพระธาตุเรณู อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ ๕๐ กิโลเมตร
    ประวัติโดยย่อคือ ได้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๐ เป็นพระธาตุคู่เมืองของชาวเรณูนคร โดยจำลองรูปทรงมาจากพระธาตุพนมองค์เดิม คือองค์ก่อนที่จะล้มในปี พ.ศ.๒๕๑๘ แต่มีขนาดเล็กกว่า สูง ๓๕ เมตร กว้างด้านละ ๘.๓๗ เมตร ภายในเจดีย์บรรจุคัมภีร์พระธรรม พระพุทธรูปทองคำ พระพุทธรูปเงิน เพชรนิลจินดา หน่องา และของมีค่าที่เจ้าเมืองเรณูนคร กับประชาชนนำมาบริจาค และได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และพระอรหันต์ธาตุ เมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๑๙ มีงานเทศกาลนมัสการพระธาตุเรณูนคร เป็นประจำทุกปี ในวันขึ้น ๑๑ - ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ รวม ๕ วัน ๕ คืน
    สิ่งของบูชาพระธาตุ ข้าวตอก น้ำอบ ข้าวเหนียวปิ้ง ดอกไม้สีเหลือง ธูป ๑๕ ดอก เทียนขาว ๒ เล่ม มีจำหน่ายที่ศาลาใกล้องค์พระธาตุ เว้นข้าวเหนียวปิ้งมองหาไม่เจอ และที่ศาลาแห่งนี้ยังมีห้องจำหน่ายวัตถุมงคลอีกด้วย เชื่อกันว่าผู้ที่ได้ไปนมัสการ จะได้อานิสงค์ส่งผลให้มีวรรณะงดงามผุดผ่องดังแสงจันทร์
    พระองค์แสน เป็นชื่อของพระพุทธรูปที่ประชาชนเคารพนับถือมากองค์หนึ่ง ประดิษฐานอยู่ในอุโบสถวัดธาตุเรณู เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยทองเหลือง เป็นพระเนื้อทองตันทั้งองค์ หน้าตักกว้างและสูง ๕๐ เซนติเมตร เป็นพระคู่บ้าน คู่เมือง แต่จะสร้างเมื่อใด ใครสร้างไม่ได้มีหลักฐานแจ้งไว้ แต่ที่แน่ ๆ คือ สร้างมานานแล้ว สร้างก่อนที่จะสร้างพระธาตุเรณูในปี พ.ศ.๒๔๖๐ แผ่นทองที่นำมาหลอมเป็นองค์พระพุทธรูปได้มาจาก การบอกบุญขอบริจาคจากหมู่บ้านต่าง ๆ ทั่วเรณูนคร ได้แผ่นทองเหลืองที่ลงอักขระมาก็มี เมื่อนำมาหล่อรวมนั้น กระทำในครั้งแรก หล่อไม่สำเร็จ ไม่ติดเบ้าพิมพ์ ต้องย้ายที่ไปหล่อใหม่จึงสำเร็จ แล้วอัญเชิญมาไว้ ณ อุโบสถหลังเก่าของวัดกลาง หรือวัดธาตุเรณู ในเวลาต่อมา เมื่อสร้างอุโบสถหลังใหม่แล้ว ก็อัญเชิญประดิษฐานอยู่ในอุโบสถหลังใหม่ของวัดเรณู อายุพระองค์แสนจึงมีอายุนานกว่า ๑๐๐ ปีแล้ว
    เหตุที่เรียกว่า พระองค์แสน เพราะว่ามีน้ำหนัก ๑๐ หมื่น มาตราชั่งของชาวบ้านกำหนดว่า ๑๒ กิโลกรัม เป็นหนึ่งหมื่น ๑๐ หมื่น จึงเท่ากับหนึ่งแสน เท่ากับ ๑๒๐ กิโลกรัม เท่ากับน้ำหนักขององค์พระทอง
    ชาวบ้านเคารพพ่อองค์แสนมาก เวลาที่ปีไหนเกิดแห้งแล้ง ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ก็จะอัญเชิญหลวงพ่อลงจากอุโบสถ ทำการแห่แหนไปตามสายต่าง ๆ ทั่วเรณูนคร เพื่อให้ประชาชนได้เคารพบูชา และสรงน้ำพระ เป็นการอธิษฐานรวมพลังให้ฟ้าฝนตกลงมา และในวันสงกรานต์ก็จะมีการอัญเชิญพระองค์แสน นำหน้าขบวนนางสงกรานต์ แห่ไปรอบเมืองในพิธีนี้ จะได้เห็นการฟ้อนรำของสาวสวยชาวเรณูนคร
    ดินแดนสองฟากฝั่งแม่น้ำโขงแถบนี้ เดิมเป็นที่ตั้งของอาณาจักรศรีโคตรบูร ตัวเมืองศรีโคตรบูร ตั้งอยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง คือ ฝั่งประเทศลาวเดี๋ยวนี้ อยู่บริเวณทางใต้ของเซบั้งไฟ ตรงกันข้ามกับพระธาตุพนม อาณาจักรนี้ถือเป็นแคว้นหนึ่งในลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งขณะนั้นมีแคว้นอยู่หลายแคว้น เช่น แคว้นล้านช้าง แคว้นสิบสองจุไทย แคว้นจำปาศักดิ์ และแคว้นศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์) เป็นต้น แต่ละแคว้นจะมีเจ้าผู้ครองนคร ปกครองตนเป็นอิสระไม่ขึ้นแก่กัน
    มาถึงสมัยพญานันทเสน เจ้าผู้ครองนครศรีโคตรบูร เมื่อได้สวรรคตแล้ว บรรดาเหล่าเสนาอำมาตย์ ตลอดจนราษฎรทั้งหลายเห็นว่า บ้านเมืองตั้งอยู่ตรงนี้มีเหตุเภทภัยเกิดขึ้นเสมอ ควรจะย้ายผู้คนไปสร้างเมืองกันใหม่ โดยไปสร้างยังฝั่งตรงข้ามแม่น้ำโขง (ฝั่งไทย) ซึ่งเป็นบริเวณป่าไม้รวก แล้วตั้งชื่อเมืองแห่งนี้ว่า "เมืองมรุกขนคร" อันมีความหมายว่า เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในดงไม้รวก
    ในสมัยที่พญาสุมิตตธรรมิกราช ได้เป็นเจ้าผู้ครองเมืองมรุกขนครอยู่นั้น ปรากฎว่าอาณาจักรศรีโคตรบูร มีอาณาเขตขยายออกไปกว้างขวาง มีเมืองต่าง ๆ มาขึ้นต่อเมืองมรุกขนคร หรืออาณาจักรศรีโคตรบูร ชื่อเมืองสุวรรณภูมิ เมืองจันทบุรี หรือเวียงจันทน์ในปัจจุบัน เมืองร้อยเอ็ดพระนคร และได้มีการบูรณะองค์พระธาตุพนมขึ้นเป็นครั้งแรก โดยก่อกำแพงล้อมไว้ เมื่อสร้างเสร็จแล้วมีการฉลองสมโภช และได้มอบหมายให้หมู่บ้านทั้ง ๗ แห่ง ที่อยู่ในเขตแดนนั้นเป็นผู้ดูแลรักษาองค์พระธาตุ และยังมีไพร่พลให้อยู่ดูแลรักษา และปรนนิบัติองค์พระธาตุพนมอีกเป็นจำนวนถึงสามพันคน
    ต่อจากพญาสุมิต ฯ ได้มีเจ้าผู้ครองนครต่อมาอีกสององค์ มรุกขนครจึงถึงกาลวิบัติ ผู้คนพากันเจ็บป่วยล้มตายกันเป็นอันมาก ในที่สุดจึงมีการอพยพหนีภัย ทิ้งให้มรุกขนครกลายเป็นเมืองร้าง จนกระทั่งมาถึงปี พ.ศ.๑๘๐๐ พระเจ้ารามบัณฑิต กษัตริย์แห่งกรุงศรีสัตนาคนหุต ได้โปรดให้เจ้าศรีโคตร ผู้เป็นโอรส มาสร้างเมืองมรุกขนครขึ้นใหม่ ใต้เมืองท่าแขก ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง กลับมาสร้างทางฝั่งลาวเมื่อสร้างเสร็จแล้ว ก็ให้อยู่ครองเมืองนั้นต่อไป
    พ.ศ.๒๐๕๗ พระเจ้านครหลวงพิชิตทศพิธราชานีศรีโคตรบูรหลวง หรือเจ้าหน่อเมือง ซึ่งเป็นผู้ครองเมืองมรุกขนคร ลำดับที่ ๓ ได้เปลี่ยนชื่อเมืองเสียใหม่ว่า "เมืองศรีโคตรบูร" ให้ตรงตามชื่ออาณาจักรดั้งเดิม และได้ข้ามแม่น้ำโขงมาบูรณะปฎิสังขรณ์องค์พระธาตุพนม
    พ.ศ.๒๒๘๐ พระบรมราชา หรือเอวก่าน อีสาน เรียกว่า แอวก่าน เป็นเจ้าเมืองศรีโคตรบูรองค์สุดท้าย ได้ย้ายเมืองมาตั้งบนฝั่งขวา ย้ายกลับมาฝั่งประเทศไทย เยื้องเมืองเก่าขึ้นไปทางเหนือ แล้วตั้งชื่อเมืองว่า "เมืองนคร"
    พ.ศ.๒๓๒๑ ตรงกับรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้มีการย้ายเมืองอีกครั้งหนึ่งไปตั้งที่บ้านหนองจันทร์ ห่างจากที่เดิมไปประมาณ ๕๒ กิโลเมตร
    พ.ศ.๒๓๓๙ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระบรมราชา หรือเจ้าอู่แก้ว เจ้าผู้ครองเมืองนครถึงแก่พิราลัย พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต ทรงตั้งให้ท้าวพรหม โอรสของเจ้าเมืองเดิมเป็นพระบรมราชา ขึ้นครองเมืองแทน แต่ได้นำเครื่องบรรณาการมาถวาย ขอขึ้นตรงกับกรุงเทพมหานคร ฯ และได้ชื่อเมืองใหม่ว่า "เมืองนครพนม" นับตั้งแต่นั้นมา
    เมืองนครพนม ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นเมืองหนึ่ง ขึ้นกับกรุงเทพมหานคร ฯ เจ้าเมืองมีราชทินนามว่า พระพนมนครานุรักษ์ ศรีสิทธิศักดิ์ เทพลือยศบุรีศรีโคตรบูร "ระหว่างนี้การศึกของประเทศเพื่อนบ้านก็มีอยู่เสมอ เป็นผลให้ผู้คนอพยพข้ามมาอยู่ฝั่งไทยกันหลายเผ่าพันธุ์"
    พ.ศ.๒๔๕๗ ได้มีการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคเสียใหม่ มี มณฑล จังหวัด อำเภอ นครพนมจึงยกขึ้นเป็นจังหวัด มีผู้ว่าราชการจังหวัดคนแรก คือ พระยาพนมนครานุรักษ์
    ในนครพนมนั้นมีชาวไทยหลายเผ่า ที่สำคัญมี ๗ เผ่า คือ ไทยย้อ (ญ้อ) , ผู้ไทย , ไทยกะเลิง, ไทยแสก, ไทยโส้ หรือไทยกะโซ้ ,ไทยข่า และเผ่าไทย - ลาว
    ชาวเรณูนครนั้นมีเผ่า ผู้ไทย หรือบางทีก็ไปเรียกว่า ภูไท มากที่สุด แทบจะทั้งอำเภอเลยทีเดียว ทั้งเรณูนครไม่มีชาวต่างด้าวอยู่เลย ได้แก่ ชาวจีน และชาวญวน เพราะเคยมีเรื่องบาดหมางกันมาแต่ดั้งเดิม ทำให้พวกเชื้อสายจีน และญวนอยู่ในเรณูนครไม่ได้
    เมื่อทางราชการย้ายที่ตั้งอำเภอเรณูนคร ไปตั้งที่ตำบลธาตุพนม เพราะเห็นว่าติดแม่น้ำโขง และมีองค์พระธาตุพนมอยู่ที่ตำบลนี้ ชาวเรณูนครจึงน้อยใจ เพราะคิดว่าน่าจะมาจากชาวจีนอยู่ที่ธาตุพนมมาก จนค้าขายร่ำรวยจึงมีอิทธิให้ย้ายตัวอำเภอเรณูนครไปตั้งที่อำเภอธาตุพนม ชาวเรณูจึงไม่คบค้าสมาคมกับชาวจีน เมื่อเรณูย้ายกลับมาตั้งที่ตั้งในปัจจุบันนี้แล้ว ชาวจีนก็ไม่กล้าตามมาตั้งรกรากถิ้นฐานในเรณูนคร
    ส่วนชาวญวนนั้น สาเหตุมีมาตั้งแต่ชาวผู้ไทยยังอยู่ที่ถิ่นเดิม คือ เมือง น้ำน้อย อ้อยหนู หรือแถน ถูกพวกญวนรังแก ชาวผู้ไทยจึงไม่กล้าคบค้าสมาคมกับพวกญวน และไม่ค้าขายด้วย เมื่อชาวผู้ไทยมาอยู่ที่เรณูนครแล้ว เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๐ มีคนญวนอพยพไปตั้งหลักแหล่งที่เรณูนคร คนญวนไปแย่งกิจการค้า การทำมาหากินของคนผู้ไทยในเรณูนคร จึงพากันขับไล่ พวกญวนทนไม่ได้ต้องอพยพไปอยู่ที่ตัวจังหวัดนครพนม
    เรณูนคร จึงไม่มีชาวจีน และชาวญวนหรือคนต่างด้าวอื่น ๆ อยู่ในอำเภออีกเลย
    ชาวผู้ไทยมีอยู่หลายจังหวัดในภาคอีสาน คือ
    จังหวัดกาฬสินธ์ ๕ อำเภอ ๖๓ หมู่บ้าน
    จังหวัดนครพนม ๕ อำเภอ ๑๓๒ หมู่บ้าน แต่มากที่สุดในอำเภอนาแก มี ๗๘ หมู่บ้าน
    จังหวัดมุกดาหาร มี ๔ อำเภอ ๖๘ หมู่บ้าน
    จังหวัดสกลนคร ๘ อำเภอ ๒๑๒ หมู่บ้าน
    และยังมีอีกบ้างในจังหวัดอุบลราชธานี อุดรธานี หนองคาย ยโสธร ร้อยเอ็ด รวมแล้วอีก ๒๐ หมู่บ้าน
    ส่วนในอำเภอเรณูนครนั้นมี ๓ ตำบล คือ ตำบลโพนทอง ตำบลเรณู และตำบลท่าลาด แต่ตำบลท่าลาด ไม่มีชาวผู้ไทยตั้งหลักแหล่งอยู่เลย รวมแล้ว ๒ ตำบล มีชาวผู้ไทย ๑๙,๐๐๐ คนเศษ
    ตามตำนานการอพยพได้กล่าวไว้ในพงศาวดารล้านช้าง เล่าไว้ว่า
    ที่เมืองน้ำน้อย อ้อยหนู หรือเมืองแถน มีปู่เจ้าลางเชิง ขุนเค็ก ขุนคาน ปกครองชาวผู้ไทยเมื่อเกิดทุพภิกขภัย พญากา หัวหน้าผู้ไทยคนหนึ่งได้เกิดขัดแย้งกับเจ้าเมือง จึงชักชวนชาวผู้ไทยจำนวนหนึ่งมาอยู่ที่เมืองวังอ่านคำ ในแขวงสุวรรณเขต ในปัจจุบัน ที่เมืองแห่งนี้มีชาวข่า อาศัยอยู่ก่อนแล้ว จึงเกิดพิพาทกันขึ้น ต่อมาชาวผู้ไทยถูกชาวข่า และชาวจีนฮ่อบุกรุกทำลายเผาบ้านเรือน และจับเอาพญาเตโช หัวหน้าชาวผู้ไทยไปเมืองจีน พญาเตโชได้สั่งลูกหลานว่า อย่าอยู่เมืองวังเลย ให้อพยพไปอยู่ฝั่งขวาแม่น้ำโขงเสียเถิด ฝั่งขวาหมายถึง ฝั่งประเทศไทย
    ชาวผู้ไทย โดยการนำของท้าวเพชร และท้าวสาย จึงพาชาวผู้ไทยอพยพมาจากเมืองวัง อพยพข้ามมาอยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขง โดยการต่อเรือ ต่อแพล่องแม่น้ำโขงลงมา จนมาถึงบ้านพระกลาง เขตอำเภอธาตุพนม พระภิกษุเจ้าสำนักธาตุพนม ในเวลานั้น ได้แนะนำให้ไปตั้งบ้านเรือนที่ "ดงทวายสายบ่อแก" ชาวผู้ไทยจึงต้องอพยพกันต่อไป และตั้งบ้านเรือนขึ้นใหม่ให้ชื่อว่า "เมืองเว"
    รัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้า ฯ ให้ท้าวสาย เป็น "พระแก้วโกมล" เจ้าเมืองคนแรก และยกบ้านนี้ขึ้นเป็นเมืองเรณูนคร ขึ้นกับเมืองนครพนม ซึ่งปัจจุบันคือ อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม ชาวผู้ไทยนั้นมี ผู้ไทยดำ และผู้ไทยขาว ซึ่งผู้ไทยที่อยู่เมืองไทยนั้น น่าจะเป็นผู้ไทยดำ ทั้งนี้เพราะความแตกต่างทีสำคัญของชาวผู้ไทยดำ - ขาว คือ เครื่องแต่งกาย
    ชาวผู้ไทยดำ ก็มีผิวขาวสวย ยิ่งสาว ๆ ยิ่งสวย แต่ทั้งชายและหญิง แต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีดำ หรือสีคราม ในถิ่นเดิม คือแคว้นสิบสองจุไทย นั้นมี ๘ เมือง ได้แก่ เมืองควาย เมืองแถง หรือเมืองน้ำน้อยอ้อยหนู เมืองดุง เมืองม่วย เมืองลา เมืองโมะ เมืองหวัด เมืองซาง
    กลุ่มผู้ไทยขาว ในแคว้นสิบสองจุไทย มี ๔ เมือง ได้แก่ เมืองไล เมืองเจียน เมืองมุม เมืองบาง ชาวผู้ไทยขาวเลยขาวทั้งตัว ผิวก็ขาว เสื้อผ้าก็สีขาว
    ชาวผู้ไทยเรณูนครนั้น น่าจะมาจากเมืองน้ำน้อยอ้อยหนูมากกว่าเมืองอื่น จึงเชื่อกันว่าผู้ไทยในเมืองไทยเป็นชาวผู้ไทยดำ
    หากมายังเรณูนคร จะผ่านประตูเมืองของเขาเข้ามา ถนนสายนี้จะมุ่งไปยังองค์พระธาตุเรณู ที่วัดพระธาตุเรณู และสองข้างทางมีร้านขายสินค้าพื้นเมือง ที่ขึ้นชื่อลือนามที่สุดคือ "อุ" ใส่ไห ผนึกปิดฝาเอาไว้ ซื้อใส่รถไปได้ จะกินกันเมื่อไรก็นั่ล้อมวงรอบไห แล้วเอาน้ำเทลงไปในไหก็จะกลายเป็นเหล้า ให้ดูดกินได้ กินอุไม่รินใส่แก้ว ต้องใช้หลอดดูดจากในไห และสาวเรณูยั่วหนุ่มต่างเมืองดีนัก เช่น ในการรับรอง เป็นต้น สาวเรณูผู้ไทยแสนสวยจะมาร่วมดื่มอุด้วย อย่าไปดื่มแข่งกับเธอ ก็แล้วกันจะเมานอนเสียก่อน ไม่ทันคุย
    ในวัดธาตุเรณู มีโรงละครน่าจะเป็นของศูนย์วัฒนธรรม ชื่อโรงละครเมืองเว
    <SCRIPT language=javascript>window.onscroll = startsc;function startsc() {var sctop = (document.all)?document.body.scrollTop:window.pageYOffset;document.getElementById("up").style.top = sctop+5+"px";}</SCRIPT>

    ชื่อเว ก็มาจากชื่อของเมืองเรณูนคร ที่ตั้งครั้งแรกนั้นเอง แต่น่าเสียดาย ที่ชาวผู้ไทยมีศิลปวัฒนธรรมของตัวเอง น่าจะจัดการแสดงให้มีกำหนดเวลาแน่นอน เช่น ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ ต้นเดือน หรือเดือนละ ๒ ครั้ง เป็นต้น หากประชาสัมพันธ์ให้ดี ๆ รับรองว่า จะมีผู้เที่ยวชมกันแน่นทีเดียว
    การฟ้อนที่สำคัญที่น่าชมอย่างยิ่งของชาวผู้ไทย ซึ่งสืบเนื่องมาตั้งแต่ยังอยู่ในถิ่นเดิมคือ เมืองแถง หรือเมืองน้ำน้อยอ้อยหนู ในแคว้นสิบสองจุไท การฟ้อนผู้ไทยเรียกว่า "รำผู้ไทย" ดั้งเดิมนั้นจะมีการฟ้อนเน้นความสนุกสนานภายในกลุ่มที่ร่วมฟ้อนด้วยกัน เช่น ในงานทำบุญมหาชาติ งานนมัสการพระธาตุเรณู และงานเทศกาลอื่น ๆ ท่ารำของรำผู้ไทยได้ดัดแปลงมาจากการเดิน การบิน การเต้นของสัตว์ เพราะชาวผู้ไทยมีอาชีพทำนา ขณะไถนาจะมีการ หรือนกหลายประเภท ลงมาหากินตามทุ่งนา และมีการหยอกล้อกัน ฟ้อนผู้ไทยจึงได้ดัดแปลงมาเป็นท่ารำ ท่ารำนั้นมากมายหลายท่า แสดงถึงการเลียนแบบธรรมชาติ เช่น ท่านกกะบาบิน ท่ากาเต้นก้อนขี้ไถ ท่ากาเต้นก้อนข้าวเย็น ท่าเสือออกท่า ท่าเสือชมหมอก ท่ามวยโบราณ ท่าจระเข้ฟาดหาง ท่ารำเกี้ยว เป็นต้น

    ข้อมูลมาจาก http://www.sawasdeenakhonphanom.com/knowledge.php?name=knowledge&file=readknowledge&id=156
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Image020.jpg
      Image020.jpg
      ขนาดไฟล์:
      69.2 KB
      เปิดดู:
      661
    • Image021.jpg
      Image021.jpg
      ขนาดไฟล์:
      72.6 KB
      เปิดดู:
      1,540
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กรกฎาคม 2009
  18. titawan

    titawan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2008
    โพสต์:
    2,290
    ค่าพลัง:
    +5,139
    หลังจากนั้นกะว่าเดี๋ยวจะขับกลับไปแถวพระธาตุพนมเพื่อหาที่พักก่อน แหะๆๆแต่เค๊าขับเลยทางอีกแล้ว ผลเลยต้องขับเข้าไปในตัวเมืองนครพนม ขับวนไปวนมาตั้งหลายครั้งอ่ะ ประมาณว่าเริ่มหลงทางแล้วแหละ ^^" แล้วก็มาเจอวัดพระธาตุอีกหนึ่งวัด ตรงนี้มีวัดติดๆกันเลยนะทั้งหมดสามวัด แต่ฟ้าไม่มีเวลามากอ่ะ เหนื่อยๆเพลียๆเลยไปแวะวัดเดียวที่วัดมหาธาตุ วัดนี้เป็นวัดประจำคนเกิดวันเสาร์ด้วย เพิ่งรู้มาจากหลวงพ่อที่วัดอ่ะ

    พระธาตุนคร วัดมหาธาตุ จังหวัดนครพนม

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    ชอบท้องฟ้าแบบนี้อ่ะ ประมาณเกือบหนึ่งทุ่มมั้ง แล้วแสงไฟเริ่มสะท้อนสวยด้วย ชอบจริงๆนะ รูปออกมาแบบนี้ น่าเสียดายกล้องพังอ่ะ ^^" ไม่งั้นจะถ่ายมาเยอะๆเลย

    [​IMG]

    อีกฝั่งมองไปเป็นประเทศลาวอ่ะ มีแพยนต์ให้ข้ามไปด้วยนะ แต่เค๊าโดนพี่ปุญบ่นอ่ะไม่ให้ไป แหะๆๆ กะข้ามไปแล้วนะเนี้ย โดนเบรคก่อนเลยอ่ะ

    [​IMG]

    [​IMG]

    ท้องฟ้าเริ่มมืดมากขึ้นแล้วอ่ะ ยังไม่ได้หาที่พักเลย _ _"

    [​IMG]

    ป้ายที่ไปเจอมาอ่ะ บอกว่าคนที่เกิดวันไหนควรไปไหว้พระธาตุที่ไหนบ้าง แล้วหลวงพ่อที่วัดอธิบายมาหน่อยหนึ่งถึงรู้อ่ะ

    [​IMG]

    พอข้ามถนนมาตรงที่จอดรถไว้ก็ไปจ๊ะเอ๋กับไอ้ตัวนี้อ่ะ เค๊าเรียกกบเปล่าไม่รู้ แต่ขึ้นมาจากท่อน้ำเต็มเลย จากนั้นขับรถไปหาที่พักก็เกือบสองทุ่มแล้ว แหะๆๆ แล้วก็ได้แถวๆวัดอ่ะ ไม่ไกลด้วย แต่ขับวนไปมาสองรอบ พอดีเจอคนเยอรมันอ่ะ เค๊ามาถ่ายรูปวัดเหมือนกันเลยแนะนำมา พอฟ้าไปถึงน๊า มีคนมีอีกคนหนึ่ง เช็กอินปุ๊บโรงแรมเต็มเลย ^^" โชคดีมีที่นอนแล้ว ฮ่าๆๆๆ เกือบไม่ได้ที่นอน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Image022.jpg
      Image022.jpg
      ขนาดไฟล์:
      105.2 KB
      เปิดดู:
      1,477
    • Image023.jpg
      Image023.jpg
      ขนาดไฟล์:
      109.8 KB
      เปิดดู:
      442
    • Image024.jpg
      Image024.jpg
      ขนาดไฟล์:
      59.9 KB
      เปิดดู:
      513
    • Image025.jpg
      Image025.jpg
      ขนาดไฟล์:
      126.8 KB
      เปิดดู:
      453
    • Image026.jpg
      Image026.jpg
      ขนาดไฟล์:
      79 KB
      เปิดดู:
      479
    • Image027.jpg
      Image027.jpg
      ขนาดไฟล์:
      98.3 KB
      เปิดดู:
      444
    • Image028.jpg
      Image028.jpg
      ขนาดไฟล์:
      73.8 KB
      เปิดดู:
      442
    • Image029.jpg
      Image029.jpg
      ขนาดไฟล์:
      87.8 KB
      เปิดดู:
      518
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กรกฎาคม 2009
  19. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530

    พี่ว่าพี่เป็นจอมหลงทางแล้วนะ แต่พอมาเจอฟ้า..ยินดียกตำแหน่งนี้ให้เลยจ้า..

    ;ปรบมือ
     
  20. titawan

    titawan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2008
    โพสต์:
    2,290
    ค่าพลัง:
    +5,139
    ไม่เอาได้ไหมอ่ะ _ _" ทำไมฉายาเค๊าเยอะจังอ่ะพี่เจง ขอเปลี่ยนได้ไหมเนี้ย ก็ขับรถเลยป้ายทางอ่ะ แหะๆๆ ไม่ได้มองด้วย ที่หลงมาวันแรกเพราะปวดหัวด้วยอ่ะ ขับรถมาก็ไม่มองอะไรเลย ขับอย่างเดียว มาสังเกตุป้ายอ่ะ อยู่เพชรบูรณ์แล้ววันนั้น ^^"
     

แชร์หน้านี้

Loading...