Unknown Warrior 333.

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย foleman, 12 กรกฎาคม 2012.

แท็ก: แก้ไข
  1. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    บก.333 การต่อสู้คอมมิวนิสต์ใน "ลาว" (1)

    บทความพิเศษ โดย พล.อ.สายหยุด เกิดผล

    สงครามสู้รบในลาวนั้นส่วนใหญ่ต่างประเทศจะเรียกว่า สงครามลับ (Secret War) หรือไม่ก็สงครามประกอบ
    สงครามเวียดนาม (Sidewar of Vietnam War) ข้าพเจ้ารู้จักชาวต่างชาติที่เกี่ยวข้องกับการรบในลาวซึ่งเขียนหนังสือ
    หลายเล่ม และมีผู้ที่กำลังจะเขียนขึ้นจากความทรงจำของเขา แต่ก็ยังไม่มีหนังสือที่เขียนขึ้นโดยคนไทยเลย
    ข้าพเจ้าอยู่ในฐานะที่จะเขียนหนังสือเรื่องนี้ เพราะข้าพเจ้าเข้าไปเกี่ยวข้องตั้งแต่ต้นในยุคที่มี
    การจัดตั้งคณะกรรมการช่วยเหลือทางทหาร (คท.) การจัดตั้ง บก.333 และการจัดตั้ง
    ค่ายสฤษดิ์เสนา โครงการใหญ่ๆ ทั้ง 3 นี้ เป็นความคิดและข้อเสนอของข้าพเจ้าในขณะเป็น
    รองเจ้ากรม และเจ้ากรมยุทธการทหารบก หลักจากนั้นได้ริเริ่มจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก
    (ศปก.ทบ.) (Army Operations Center-AOC) ซึ่งอาศัยพื้นที่ด้านหลังหอประชุมของกองร้อย
    กองบังคับการกองทัพบกเป็นที่ตั้ง

    ต่อมาข้าพเจ้าได้ขออนุมัติจัดสร้างตึก ศปก.ทบ.ขึ้นที่สวนรื่นฤดี หลังจากได้รับมอบพื้นที่นี้จากกองบัญชาการ
    ทหารสูงสุด โดยได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชา มี สุรเสฎร์ และ ภิญโญ หัวหน้ากองของข้าพเจ้าเป็นผู้ช่วยเหลือ
    สำคัญ แต่เมื่อข้าพเจ้ามาอ่านประวัติของ ศปก.ทบ. และ บก.333 ที่เจ้าหน้าที่เขียนไว้ ข้าพเจ้าคิดว่าเป็นการเขียนใน
    ระยะหลังๆ เมื่อเปลี่ยนผู้บัญชาการทหารบก เสนาธิการทหารบก และเจ้ากรมยุทธการทหารบกแล้ว ข้อความเกี่ยวกับ
    การเริ่มต้นของ บก.333 โดยแท้จริงนั้นจึงเป็นเพียงการเข้าใจและสรุปเอาเองเท่านั้น
    ข้าพเจ้าจึงอยากเล่าเกี่ยวกับความจริงในเรื่องนี้เพื่อเป็นหลักฐาน เพราะจุดเริ่มต้น
    ที่แท้จริงจะมีก็แต่ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารบก พลเอก จิตติ นาวีเสถียร
    เสนาธิการทหารบก และข้าพเจ้า ซึ่งเสนาธิการทหารบก สั่งให้ไปด้วยเท่านั้น

    มิฉะนั้นข้าเท็จจริงในทางประวัติศาสตร์ของเรื่องนี้ที่ประชาชนโดยทั่วไปควรจะได้รับรู้ก็จะขาดหายไป
    ข้าพเจ้าใคร่ครวญถึงเรื่องความลับของทางราชการอย่างหนักและตระหนักว่า ตามหลักสากลทางวิชาการและ
    ตามสิทธิการรับรู้ข่าวสารของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ แล้ว "ความลับ" ของทางราชการเป็นความลับอยู่ได้
    ช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น ต่อมาก็จะต้องลดชั้นความลับจนถึงขั้นเปิดเผยต่อสาธารณชนได้ เช่นเรื่องสงครามในลาวนี้
    ก็มีชาวอเมริก้นและคนไทยเขียนถึงมาแล้ว ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงเห็นว่าน่าจะเขียนความจริงอีกด้านหนึ่งให้ประชาชนทราบ
    จุดเริ่มต้น อยู่ที่บ้านพัก (ลับเฉพาะ) ของ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ บ้าน พักหลังนี้อยู่หลังกองพลที่ 1 ซึ่งอยู่ตรงข้าม
    วังสวนกุหลาบ ต่อมามีข่าวลือว่าเป็น "วังสีชมพู" ความจริงเป็นเพียงบ้านพักของนายทหารผู้ใหญ่หลังหนึ่งเท่านั้นเอง
    ลักษณะเป็นบ้านชั้นเดียว มีสระว่ายน้ำขนาดเล็ก ถ้าใครไปพบท่านที่บ้านหลังนี้มักจะตื่นเต้นเพราะเป็นบ้านพักลับ
    เฉพาะจะไปพบได้ก็แต่เรื่องสำคัญและเป็นเรื่องส่วนตัวของท่านเท่านั้น ดังนั้น เมื่อเสนาธิการทหารบก สั่งให้ไป
    กับท่านในเย็นวันหนึ่งปลายปี พ.ศ.2503 จึงทำให้ข้าพเจ้าพลอยตื่นเต้นไปด้วย

    [​IMG] Once Upon A Time In The C.I.A.
    Thailand: Border Patrol Police Aerial Reinforcement Unit (BPP PARU)
    Roger Warner: The Underperformers: How Key U.S. Officials Have Shaped a Tribal Crisis
    Escalation in Laos

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]เมื่อไปถึงก็พบว่ามีท่านอุปทูตพิเศษจากสถานทูตสหรัฐ แจนเซ่น และ บิลล์ แลร์ นั่งอยู่ด้วย เมื่อทางผู้ใหญ่[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ตกลงใจแล้ว ข้าพเจ้าก็ได้รับการแนะนำให้รู้จักกับบิลล์ หลังจากนั้น ข้าพเจ้ากับบิลล์ก็มีโอกาสพบกันและวางแผน[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]การสนับสนุนการต่อสู้คอมมิวนิสต์ในลาว ด้วยการสนับสนุนกองกำลังท้องถิ่นที่จัดตั้งขึ้น กลุ่มอาสาสมัครส่วนใหญ่[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]เป็นแม้ว ลาวเทิง ไทดำ และ ข่า ที่โปโลแวง ข้าพเจ้า กับบิลล์จำเป็นต้องเดินทางไปเวียงจันทน์ เพื่อสำรวจพื้นที่[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ที่อยู่ในอิทธิพลของฝ่ายรัฐบาลลาวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณทุ่งไหหิน จนถึงชายแดนลาว/เวียดนาม[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]เราค้างที่หมู่บ้านหนองแฮดกับกลุ่มต่อต้านหนึ่งคืน โดยนอนในบังเกอร์ได้คืนและมาค้างที่ภูกง ซึ่งเป็นเขาสูง[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]เป็นที่ตั้งของชุด BIC ของตำรวจตระเวนชายแดน ข้าพเจ้าจำได้ว่าอากาศบนภูกงขณะที่เดินไปตามสันเขาจาก[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]สนามบินเล็กเฮลิโอ มีลมพัดหนาวเย็นเหมือนอากาศในเกาหลีที่ข้าพเจ้าเคยไปรบมาอย่างไม่น่าเชื่อ[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ขีดความสามารถและความต้องการของกำลังท้องถิ่นตามที่ได้สำรวจมาพบว่ามีราษฏร ในพื้นที่มีจิตใจต้องการ[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ต่อต้านควมมิวนิสต์เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะกลุ่มชาวเขาเผ่าแม้วภายใต้การนำของพญาตูมี และนายพลวังเปา[/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]เมื่อสำรวจสภาพความเป็นอยู่และความต้องการแล้ว ข้าพเจ้ากับบิลล์จึงเขียนโครงการให้การสนับสนุน[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]กลุ่มต่อต้านต่างๆ ในลาว ทั้งด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ทางทหาร การฝึกและความเป็นอยู่อื่นๆ เป็น "โครงการลับ"[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ในรูปอาสาสมัคร โดยไม่เกี่ยวกับรัฐบาลไทยและสหรัฐเลย แม้ว่ากำลังพลต่างๆ ที่ไปปฏิบัติตามโครงการนี้[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]จะมาจาก กองทัพบก เรือ อากาศ ตำรวจ และเจ้าหน้าที่พลเรือนต่างๆ ก็ตาม เพราะได้จัดให้มีการทำหลักฐาน[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]การลาออกจากทางราชการเก็บไว้แล้วทั้งสิ้น หากถูกจับก็จะไม่สามารถยืนยันอย่างเป็นทางการได้ว่าเป็น[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]กำลังจากกองทัพไทย ข้าพเจ้าได้กำหนดระบบชื่อรหัส (โค้ด) เพื่อเรียกเจ้าหน้าที่ไทย ลาว และอเมริกัน[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ที่เกี่ยวข้องกับงาน ผู้ที่รู้เรื่องนี้มีเฉพาะนายทหารในกรมยุทธการที่ข้าพเจ้าเลือกมาเพื่อช่วยเหลือข้าพเจ้าเท่านั้น[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]การที่ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายงาน "ลับเฉพาะ" โดยตรงจากเสนาธิการทหารบกครั้นนั้นทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกหนักใจ[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]เป็นอย่างมาก เพราะข้าพเจ้ามีตำแหน่งเพียงรองเจ้ากรมยุทธการทหารบก นอกจากนี้ ข้าพเจ้ายังมีผู้บังคับบัญชา[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]โดยตรงคือ เจ้ากรมยุทธการทหารบก และผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น คือ ผู้ช่วยเสนาธิการและรองเสนาธิการ[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ทหารบก ข้าพเจ้าจำเป็นต้องไปทำความเข้าใจกับท่านเหล่านั้น และต้องเล่าเรื่องต่างๆ ที่ไม่ได้ผ่านตามสายงาน[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ให้ท่านได้รับทราบ แต่ก็ไม่ทราบว่าท่านจะเข้าใจและเห็นใจข้าพเจ้าเพียงใด นอกจากนั้น ข้าพเจ้ายังต้องหาทาง[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ติดต่อประสานงานผู้ใหญ่ที่เป็นกรรมการ "คท." เพื่อให้สามารถตกลงใจได้รวดเร็วทันเหตุการณ์ โดยข้าพเจ้า[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ต้องทำความรู้จักและคุ้นเคยกับฝ่ายเสนาธิการประจำตัว (คนสนิท) ของท่าน เช่น "ไพฑูรย์" คนสนิทของ [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]พลเอกถนอม กิตติขจร "สม" คนสนิทของ พลเอกประภาส จารุเสถียร "สรรเสริญ" คนสนิทของ [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]พลอากาศเอก บุญชู จันทรุเบกษา และ "อานันท์ คนสนิทของ พันเอกถนัด คอมันตร์ เพราะ การส่งเอกสาร[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ทางราชการเพื่อการประสานงานนั้น ย่อมจะไม่ทันกับเหตุการณ์ นอกจากเป็นเรื่องสำคัญก็จะยืนยันทางเอกสาร[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ภายหลัง การปฏิบัติเช่นนี้ ต้องอาศัยความเชื่อถือซึ่งกันและกันเท่านั้น ซึ่งนับเป็นโชคดีที่ข้าพเจ้ามีความคุ้นเคย[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]กับฝ่ายเสนาธิการที่เป็นคนสนิทของ ท่านผู้ใหญ่เหล่านี้มาก่อน จึงทำให้สามารถปฏิบัติงาน "ลับ" นี้สำเร็จลุล่วง[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ได้ด้วยดี แต่ข้าพเจ้าก็ต้องประจำอยู่ที่ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก (ศปก.ทบ.) ตลอดเวลา สำหรับ โครงการต่อสู้[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]คอมมิวนิสต์ในลาวแยกออกเป็นอีกแผนกหนึ่ง เรียกว่า ศปก.309 และจากการที่ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]รับผิดชอบงาน "ลับ" ครั้งนี้ เชื่อว่าคงจะทำให้มี "ผู้ไม่พอใจ" ตัวข้าพเจ้าอย่างที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]แต่เพื่อเป็นการรับใช้ชาติด้วยความบริสุทธิ์ใจ เป็นธรรมดาที่ข้าพเจ้าจะต้องยอมรับผลการกระทำนี้โดย[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ไม่มีใครช่วยได้ทั้งๆ ที่ได้พยายามทำความเข้าใจกับท่านผู้ใหญ่เหล่านั้นอย่างดีที่สุด คำชมที่เคลือบด้วยยาพิษ[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ก็คือ ข้าพเจ้าอายุยังน้อย ถ้าอยู่ในตำแหน่งที่สูงขึ้นไปถึงผู้บัญชาการทหารบก ก็จะอยู่นาน และในการเลื่อนยศชั้น[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]จากพลตรี เจ้ากรมยุทธการทหารบกนั้น แทนที่จะใช้ยศพลโทในตำแหน่งผู้ช่วยเสนาธิการทหารบกฝ่ายยุทธการ[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ตามสายงาน ก็กลับให้ข้าพเจ้าเป็นผู้ช่วยเสนาธิการฝ่ายกำลังพล โดยอ้างว่า ต้องการให้ข้าพเจ้ารู้งานในสายงานอื่น[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ด้วยเพื่อเป็นเสนาธิการทหารบก เป็นต้น หลายคนสงสัยที่มาของ "333" ข้าพเจ้า ขอเรียนว่า ตามแนวความคิด[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ของข้าพเจ้า การใช้ชื่อรหัสเป็นชื่อสถานที่และบุคคลสำคัญนั้นดูจะยากต่อการเรียกขาน ข้าพเจ้าจึงนิยมใช้[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]หมายเลขเป็นนามรหัสซึ่งน่าจะสะดวกมากกว่า ท่านผู้อ่านจะสังเกตเห็นได้ในการเรียกขานหน่วยต่างๆ[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ในโครงการต่อสู้คอมมิวนิสต์ในประเทศไทย เมื่อจัดตั้งกองอำนวยการป้องกันปราบปรามคอมมิวนิสต์[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif](กอ.ปค. ต่อมาเปลี่ยนเป็น กอ.รมน.) ที่ข้าพเจ้ารับผิดชอบ หมายเลข 3 มาจาก สธ.3[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]กรมยุทธการทหารบก 3 ตัวที่สอง ข้าพเจ้าใช้วันเกิด 30 และตัวที่สามคือ เดือนเกิดมีนาคม[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]เพื่อให้สับสนมากขึ้น เป็นการพรางไปในตัว จึงให้ชื่อว่า 333 และชื่อ บก.333 ก็ได้รับ[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]การยอมรับมาจนกระทั่งทุกวันนี้ (ต่อมาเปลี่ยนเป็น บก.ผสม.333) บก.333[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]เป็นหน่วยปฏิบัติการของคณะที่ปรึกษาทางทหาร (คท.) ตามบันทึกประชุมครั้งที่หนึ่ง ประกอบด้วย[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]พลเอก ถนอม กิตติขจร ประธานคณะกรรมการ[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]พลเอก ประภาส จารุเสถียร กรรมการ[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]นายถนัด คอมันตร์ กรรมการ[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]พลอากาศเอก บุญชู จันทรุเบกษา กรรมการ[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]พลเอก จิตติ นาวีเสถียร กรรมการ[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]พันเอก เฉลิมชัย จารุวัสตร์ เลขานุการ[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]พันเอก สายหยุด เกิดผล ผู้ช่วยเลขานุการ[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]คณะกรรมการสามารถเรียกผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ มาร่วมประชุมได้ตามความจำเป็น เช่น พลตรี วัลลภ โรจนวิสุทธิ์[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif](การข่าว) พลตำรวจตรี ชาญ อังศุโชติ (ตชด.) ในการประชุมครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ.2503[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ได้อนุมัติตามที่ข้าพเจ้าเสนอผ่านเสนาธิการทหารบก พันเอก จิตติ นาวีเสถียร ในเรื่องสำคัญดังนี้[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]แนวความคิด การจัดตั้งคณะกรรมการ คท. เพื่อ หลีกเลี่ยงข้องจำกัดทางการเมืองที่จะถูก[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]กล่าวหาว่ารัฐบาลไทยแทรกแซงกิจการ ภายในราชอาณาจักรลาว จึงให้บุคคลคณะหนึ่ง[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ซึ่งมีเครื่องมือช่วยเหลือลาวได้ทำการแทนคณะรัฐบาลไทย แล้วพยายามดึงสหรัฐ[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ช่วยเหลืออย่างลับๆ โดยขอให้ออกค่าใช้จ่ายและสนับสนุนอาวุธยุทโธปกรณ์ เครื่องมือ[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]เครื่องใช้ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เพื่อการทำงาน ส่วนประเทศไทย[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]จะจัดหาคนประเภทลับ แล้วรัฐบาลไทยจะไม่ยอมรับรู้การดำเนินงานอย่างเป็นทางการทั้งสิ้น[/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]นโยบายทั่วไปของคณะกรรมกมร คท. เพื่อ ช่วยเหลือและสนับสนุนรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรลาว[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ให้มีความสามารถต่อต้านภัยแห่งลัทธิคอมมิวสนิสต์ เพื่อให้ราชอาณาจักรลาวเป็นรัฐกันชนสามารถสกัดกั้น[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]การแทรกซึมเข้าหรือทำให้ดินแดนที่อยู่ในอิทธิพลของคอมมิวนิสต์อยู่ห่างประเทศไทยให้มากที่สุด[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]หน้าที่ของคณะกรรมการ คท.[/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]1. เสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการต่อต้าน การแทรกซึมของคอมมิวนิสต์ในราชอาณาจักรลาวต่อรัฐบาลไทย[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]2. วางแผน เตรียมการอำนวยการให้ปฏิบัติตามแนวความคิดดังกล่าวในข้อ 1 เมื่อได้รับอนุมัติแล้ว[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]3. กำกับดูแล ประสานงานกับหน่วยและเจ้าหน้าที่ต่างๆ และแก้ไขข้อบกพร่องเพื่อให้การปฏิบัติต่างๆ มีประสิทธิภาพ[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]4. ประสานงานและติดต่อกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายอเมริกันที่เกี่ยวข้อง[/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ข้อสังเกต[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ตามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ คท.นั้น หัวหน้ารัฐบาลคือ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จะไม่มีชื่อในคณะกรรมการ [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาทางการเมือง แต่ท่านได้แต่งตั้ง พันเอกเฉลิมชัย จารุวัสตร์ หัวหน้าฝ่ายเสนาธิการประจำตัว[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]มาทำหน้าที่แทนเพื่อท่านจะได้รับรู้และสามารถ สั่งการผ่านทางพันเอกเฉลิมชัยได้ บุคคลอื่นๆ ก็แต่งตั้งโดย[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ตัวบุคคลไม่ใช่โดยตำแหน่ง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งจะต้องขออนุมัติตัวบุคคลแทนงานทั้งหมดซึ่งเป็น[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]หน้าที่ของกองเลขานุการทำหน้าที่เป็นฝ่ายเสนาธิการให้แก่ คท. ซึ่งพันเอกเฉลิมชัยได้มอบให้ข้าพเจ้าเป็น[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ผู้ดำเนินการทั้งสิ้น[/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ค่ายสฤษดิ์เสนา[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ค่ายสฤษดิ์เสนาตั้งขึ้นใหม่ที่อำเภอวังทอง บริเวณน้ำตกวังนกแอ่น การเลือกที่ตั้งเป็นความเห็นชอบร่วมกัน[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ระหว่างฝ่ายสหรัฐ ตชด. และข้าพเจ้าฝ่ายทหาร ทั้งนี้ เพราะข้าพเจ้าเห็นว่าพื้นที่ภูเขาบริเวณ 3 จังหวัดต่อกัน[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ได้แก่ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ และเลย รู้กันทั่วไปว่าเป็น ตำบลสำคัญทางยุทธศาสตร์ทางทหาร แต่ก็ถูกปล่อย[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ให้เป็นจุดอ่อนอยู่ตลอดมา เพราะไม่มีกำลังใดๆ อยู่ใกล้บริเวณนั้นนอกจากกองทหารที่พิษณุโลก ดังนั้น[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]เมื่อคอมมิวนิสต์แทรกซึมเข้ามาในประเทศไทย ก็เป็นที่ทราบดีว่า ฝ่ายพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]กำหนดพื้นที่บริเวณนี้เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญจุดหนึ่งที่จะต้องเข้ามามีอิทธิพลด้วยเป้าหมายที่จะตัดทาง[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]คมนาคมระหว่างภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือออกจากกัน ดังนั้น การมีหน่วยกำลัง[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ถืออาวุธของเราอยู่บริเวณนั้นจึงนับว่ามีความจำเป็นและมีความสำคัญยิ่ง ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้ทำความเข้าใจ[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]กับฝ่ายตำรวจตามแนวความคิดนี้ ซึ่งก็ได้รับความเห็นชอบร่วมกันทั้งฝ่ายอเมริกันที่ให้การสนับสนุนด้วย[/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ข้าพเจ้าเป็นผู้เสนอชื่อค่าย "สฤษดิ์เสนา" เพื่อเป็นเกียรติแก่ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี และ[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ซึ่งก็ได้รับอนุมัติพร้อมกับเสนออัตราการจัดเป็นหน่วยผสมพลร่มทหาร ตำรวจ[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ซึ่งไม่เคยมีอัตรานี้มาก่อน แต่ด้วยการคัดเลือกตัวบุคคลที่จะมาทำงานด้วยกันอย่างรอบคอบ จึงทำให้[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]การดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ในชั้นต้นได้ขอให้ตำรวจเป็นผู้บังคับค่ายก่อน เพราะกำลังพลร่ม[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ส่วนใหญ่เป็นตำรวจ ข้าพเจ้าจำได้ว่า ผู้บังคับค่ายคนแรกคือ พันตำรวจเอก สรยุทธ ซึ่งเป็นผู้มีความสามารถ[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]มีประสบการณ์ในการรบมาแล้ว เป็นที่ยอมรับของบรรดาตำรวจและทหารพลร่มด้วยกัน ข้าพเจ้าขอแสดง[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ความขอบคุณไว้ ณ ที่นี้ด้วย ต่อมา เมื่อกำลังพลร่มทหารมาสมทบมากขึ้น ก็ได้เปลี่ยนตัว ผบ.ค่ายเป็นทหาร[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]จนปัจจุบันนี้กลายเป็นค่ายพลร่มของกองทัพบก ค่ายนี้ในสมัยนั้นมีแม่น้ำเข็ก[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ไหลผ่านอีกทางฝั่งหนึ่งของแม่น้ำเป็นพื้นที่เขตหวงห้าม "ลับสุด" สำหรับฝึกทหาร[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ที่มาจากลาว ครูผู้ฝึกมีทั้งพลร่ม ทหาร และตำรวจ การเคลื่อนย้าย กระทำโดย[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]เครื่องบินของอเมริกันที่เรียก "แอร์อเมริกา" มาลงที่สนามบินหลังค่ายสฤษดิ์เสนาโดยตรง[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]โดยได้รับความร่วมมือจาก AOC กองทัพอากาศเป็นพิเศษ สำหรับฝ่ายปฏิบัติ การในสนามนั้น ต่อมาข้าพเจ้า[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ได้เสนอให้จัดตั้ง บก.333 ขึ้นเป็น บก.ควบคุมหน่วยปฏิบัติการในสนาม ซึ่งก่อนที่จะมีการจัดตั้ง บก.333 นั้น[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]มีหน่วยข่างของทหาร และ ตชด. ไปปฏิบัติการในลาวอยู่ก่อนแล้ว แต่ต่างคนต่างทำ ซึ่งจะได้กล่าว[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ในรายละเอียดต่อไป ส่วนกำลังที่อยู่ภายใต้ บก.333 คือกองกำลัง 333 ซึ่งต่อมา บก.333 นี้ถูกเรียกว่า[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]"บก.ผสม 333 และกองกำลังผสม 333" ตำแหน่งหัวหน้า บก.333 ที่ข้าพเจ้าจำต้องพิจารณาและเลือกเฟ้น[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ต้องเป็นผู้ที่มีความกล้าหาญ เสียสละ และสมัครใจในการลาออกเป็นอาสาสมัคร ทั้งต้องได้รับความเชื่อถือ[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]จากหน่วยต่างๆ ที่ปฏิบัติการอยู่ในสนาม คนแรกที่ข้าพเจ้านึกถึงคือ "จวน วรรณรัตน์" เพราะข้าพเจ้าเห็น[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ความสามารถในการรบที่พอร์คช็อปในสงครามเกาหลีมาด้วยกัน คนต่อมาคือ "ธงชัย พิพิธสุขการ" ซึ่งแม้ว่า[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]จะมาจากนักเรียนนายร้อยสำรอง แต่จากการที่ได้ทำงานด้วยกันที่ศูนย์การทหารราบลพบุรีในขณะที่ข้าพเจ้า[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]เป็นเสนาธิการ เห็นว่า "ธงชัย" มีความคิดก้าวหน้าทางการเมือง จบจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ข้าพเจ้าจึงได้ติดต่อให้ไปทำหน้าที่แทนจวนเมื่อครบวาระ และอีกคนที่นึก ถึงคือ "วิฑูรย์ ยะสวัสดิ์"[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]หรือ " เทพ" ทำงานอยู่ที่กรมยุทธการทหารบก ซึ่งข้าพเจ้าเป็นเจ้ากรมอยู่และ[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]เพิ่งจบมาจากสหรัฐอเมริกา [/FONT][FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]จึงขอให้ไปทำหน้าที่นี้โดยตั้งขื่อรหัสว่า "เทพ" ตามที่วิฑูรย์ขอร้อง[/FONT]
     
  2. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    บก.333 การต่อสู้คอมมิวนิสต์ใน "ลาว" (2)

    บทความพิเศษ โดย พล.อ.สายหยุด เกิดผล

    เท้าความถึงเหตุการณ์ในราชอาณาจักรลาว หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ.2489 ก่อนจะเล่าถึงแผนการ
    และการดำเนินการเพื่อสนับสนุนลาวต่อสู้คอมมิวนิสต์นั้น ข้าพเจ้าขอเท้าความถึงเหตุการณ์ในราชอาณาจักรลาว
    หลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ.2489

    1. หลังจากญี่ปุ่นยอมแพทอย่างไม่มีเงื่อนไข เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ.2488 เมื่อเมืองฮิโรชิมาและนางาซากิ
    ถูกถล่มด้วยระเบิดปรมาณู ฝรั่งเศสส่งกำลังและเจ้าหน้าที่มาทำหน้าที่รักษาความสงบและปกครองอินโดจีน
    ซึ่งเคยเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสมาก่อนแทนกองกำลังของภาคตะวันออกไกล ลอร์ด หลุยส์ เม้าท์แบตเท่น
    ซึ่งรับผิดชอบยุทธบริเวณแห่งนี้รวมทั้งประเทศไทยและประเทศในเอเซียอาคเนย์ ที่เคยเป็นเมืองขึ้น
    ของอังกฤษ เจ้าเพ็ชรราช ผู้นำของรัฐบาลลาวอิสระซึ่งญี่ปุ่นสนับสนุนการจัดตั้ง ขณะที่ญี่ปุ่นยึดครองอินโดจีนอยู่
    จำต้องหลบหนีเจ้ามาลี้ภัยอยู่ในประเทศไทย โดยมีบุคคลสำคัญของลาวติดตามเข้ามาด้วย อาทิ เจ้าสุภานุวงศ์
    นองชายต่างมารดาของเจ้าเพ็ชรราช เจ้าเพ็ชรราชได้จัดตั้งคณะรับบาลลาว อิสระขึ้นที่ประเทศไทย
    โดยมีพระยาคำม้าว เป็นนายกรัฐมนตรี มุ่งหมายจะทำการต่อสู้เพื่อความเป็นเอกราชของลาวพร้อมๆ กับโฮจิมินห์
    หัวหน้ากองกำลังต่อสู่เพื่อเอกราชของเวียดนามซึ่งลี้ภัยอยู่ในประเทศไทยเช่นเดียวกัน

    ต่อมาฝ่ายคอมมิวนิสต์ให้การสนับสนุนกองกำลังต่อสู้ของเวียดนามภายใต้การนำของโฮจิมินห์ และกองกำลัง
    ต่อสู้ของลาวภายใต้การนำของเจ้าสุภานุวงศ์ หลังจากทั้งเจ้าสุภานุวงศ์และโฮจินินห์ออกจากประเทศไทยไป
    จัดตั้งกองกำลังต่อสู้ในประเทศของตน ปี พ.ศ.2501 ท้าวผุย ชะนะนิกร แห่งราชอาณาจักรลาว ได้รับเลือกตั้ง
    เป็นนายกรัฐมนตรี จัดตั้งรัฐบาลปกครองประเทศ ท้าวผุยผู้นิยมขวาได้รับการสนับสนุนจากค่ายตะวันตก
    ส่วนเจ้าสุภานุวงศ์ถูกขับออกจากคณะรัฐบาลและถูกควบคุมตัวอยู่ที่บ้าน ต่อมาถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฎและ
    ถูกจับกุม เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ.2502 พร้อมกับคณะนิยมซ้าย แต่มีผู้สนับสนุนให้การช่วยเหลือพาหลบหนี
    ไปยังชำเหนือและรวบรวมผู้คนจัดตั้ง ขบวนการประเทศลาวทำการต่อสู้รัฐบาลลาวต่อไป ขณะนั้น รัฐบาลลาว
    ท่านสมสนิท เป็นนายกรัฐมนตรี นายพลภูมี หน่อสวรรค์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีกลาโหม
    เจ้ามหาชีวิต ศรีสว่างวงศ์ สิ้นพระชนม์ลงในปี พ.ศ.2502 แต่ไม่สามารถปลงพระศพได้เพราะประเทศกำลังอยู่
    ในภาวะรบพุ่งกัน เมื่อเหตุการณ์เบาบาลง ท้าวสมสนิท นายพลภูมี และรัฐมนตรีบางท่าน ได้บินไปยังหลวงพระบาง
    เพื่อปรึกษากับเจ้าสว่างวัฒนา เจ้ามหาชีวิตองค์ใหม่เกี่ยวกับพิธีพระราชทานเพลิงศพเจ้าศรีสว่างวงศ์ ที่เวียงจันทร์
    ตอนเช้าตรู่ของวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ.2503 ขณะที่นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกลาโหมไม่อยู่ ร.อ.กองแล
    ผู้บังคับกองพันพลร่มที่ 2 ทำการปฏิบัติยึดอำนาจรัฐบาล เชิญรัฐมนตรีในคณะรัฐบาลไปประชุมที่ทำเนียบรัฐบาล
    และควบคุมตัวไว้ แล้วเรียกประชุมสภาผู้แทนราษฎรลงมติยุบรัฐบาล พร้อมกับประกาศนโยบายเป็นกลาง
    ไม่เอนเอียงไปฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด เพื่อป้องกันไม่ให้ลาวฆ่าฟันกันเอง แล้วให้เชิญเจ้าสุวรรณภูมา มาเป็นนายกรัฐมนตรี
    และเริ่มเจรจากับ เจ้าสุภานุวงศ์ เพื่อยุติการสู้รบและกลับมาร่วมรัฐบาลตามเดิม นายพลภูมี หน่อสวรรค์ รองนายกฯ
    และรัฐมนตรีกลาโหม บินกลับไปยังสุวรรณเขตภูมิลำเนาเดิม แล้วรวบรวมกำลังพร้อมกับไปขอความช่วยเหลือ
    จาก ฯพณฯ จอมพล สฤษดิ์ นายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นญาติห่างๆ ทางนครพนมของนายพลภูมี จอมพลสฤษดิ์
    เห็นความจำเป็นที่จะต้องให้ความช่วยเหลือเพื่อป้องกันมิให้คอมมิวนิสต์เข้าแทรกแซง อันจะเป็นผลเสี่ยหาย
    ต่อความมั่นคงของไทย ด้วยการยอมให้กองกำลังของลาวจากสุวรรณเขต กำลังทหารและตำรวจตระเวนชายแดน
    จำนวนหนึ่ง ทำการเคลื่อนย้ายผ่านประเทศไทย เข้าตีเวียงจันทน์จากทางฝั่งไทย ทำให้ฝ่ายนายพลภูมีสามารถ
    ยึดอำนาจกลับคืนมาได้ หลัง จากต่อสู้กัน 3 วัน กองแลได้หลบหนีไปทางเหนือที่เชียงขวาง ส่วนเจ้าสุวรรณภูมา
    บินไปกรุงพนมเปญก่อนหน้านั้นแล้ว เจ้าบุญอุ้มได้รับเชิญให้เป็นนายกรัฐมนตรี ส่วนเจ้าสุวรรภูมาปฏิเสธจะร่วม
    รัฐบาลและได้บินไปยังเชียงขวางร่วมมือกับกองแลและสุภานุวงศ์ ขณะนั้นลาวจึงมี 2 รัฐบาล คือ รัฐบาลเจ้าบุญอุ้ม
    ที่เวียงจันทน์และรัฐบาลเจ้าสุวรรณภูมาที่เชียงขวาง เจ้าสุวรรณภูมาอ้างว่ายังเป็นรัฐบาลที่ถูกต้องตามกฎหมาย
    โดยได้รับการสนับสนุนจากทั้งกองแลและสุภานุวงศ์รวมทั้งจากคอมมิวนิสต์นอกประเทศด้วย

    เจ้าสุวรรณภูมาพยายามอย่างยิ่งที่จะจัดตั้งรัฐบาลผสมระหว่าง กอแล บุญอุ้ม และ สุภานุวงศ์ แต่ไม่สามารถ
    ตกลงกันได้ในตำแหน่งสำคัญ คือ รัฐมนตรีมหาดไทยและกลาโปม เจ้าสุวรรณภูมาจึงทำหน้าที่นั้นเสียเอง
    แต่เจ้าสุวรรณภูมาไม่สามารถเรียกประชุมคณะรัฐมนตรีครบคณะได้ เพราะเจ้าสุภานุวงศ์กลัวที่จะกลับมา
    เวียงจันทน์อีก เหตุการณ์เลวร้ายลง เมื่อ ควินิน รัฐมนตรีต่างประเทศนิยมซ้าย ถูกทหารยามรักษาการณ์สังหาร
    ที่บ้านเจ้าสุภานุวงศ์จึงบินกลับไปอยู่ที่ชำเหนือตามเดิม และเข้าโจมตีเชียงขวางที่มั่นของกองแล ซึ่งเคยเอนเอียง
    ไปทางฝ่ายซ้ายสนับสนุนรัฐบาลเจ้าสุวรรณภูมา เมื่อเจ้า สุวรรณภูมาเห็นว่าฝ่ายซ้ายเริ่มโจมตีที่มั่นของฝ่ายรัฐบาล
    จึงหมดหวังที่จะรักษาความเป็นกลางไว้ได้ ขณะเดียวกันฝ่ายขวาโดย พลเอกบุญเลิด ยึดอำนาจเมื่อเดือนกุมภาพันธ์
    พ.ศ.2508 โดยได้รับการสนับสนุนจาก นายพลภูมี และ นายพลสีโห แต่ นายพลกุประสิทธิ์ ซึ่งยังภักดีต่อรัฐบาล
    ตีโต้ผลักดันฝ่ายกบฎไปทางภูเขาควาย ทำให้นายพลภูมีและนายพลสีโห ยอมจำนนลี้ภัยเข้ามาในประเทศไทย
    นายพลอ้วน ลัดทิกุล ทำหน้าที่ผู้นำฝ่ายทหารฝ่ายขวาแทน ส่วนกองแลผู้นำฝ่ายเป็นกลาง หนีไปอยู่ต่างประเทศ
    นายพลขำเพด จึงขึ้นเป็นผู้นำทหารฝ่ายเป็นกลางและมีกองบัญชาการอยู่ที่วังเวียง สถานการณ์ ภายใน
    ราชอาณาจักรลาวที่เป็นอยู่ ทำให้ฝ่ายโลกเสรีซึ่งมีสหรัฐเป็นผู้นำ และประเทศไทยซึ่งมีนโยบายต่อสู้คอมมิวนิสต์
    วิตกกังวลเป็นอย่างมาก ดังนั้น ทางฝ่ายอเมริกาจึงมาหารือกับนายกรัฐมนตรีไทย เป็น "การลับเฉพาะ"
    เกี่ยวกับโครงการต่อสู้คอมมิวนิสต์ในลาว และได้รับความเห็นชอบจากทางฝ่ายไทยตามที่กล่าวแล้ว

    2. การแบ่งพื้นที่ปกครองราชอาณาจักรลาว และการทหารตามบันทึกของ "วิน" นั้น การปกครองทางด่านพลเรือน
    แบ่งออกเป็น 16 แขวง (จังหวัด) คือ

    1. พงสาลี ที่ว่าการอยู่ที่เมืองพงสาลี
    2. หัวโขง ที่ว่าการอยู่ที่เมืองหลวงนำทา
    3. หลวงพระบาง ที่ว่าการอยู่ที่เมืองหลวงพระบาง
    4. หัวพัน ที่ว่าการอยู่ที่เมืองชำเหนือ
    5. ไชยบุรีที่ว่าที่การอยู่เมืองไชยบุรี (ปัจจุบันสงสัยกันไหม!ทำไมลาวถึงสร้างเขื่อนไม่ได้ มีอะไรแอบๆซ้อนๆอยู่แถวนั้นหรือ อิอิ หรือ ย้ายหนีไม่ทัน):boo:
    6. เชียงขวาง ที่ว่าการอยู่ที่เมืองเชียงขวาง
    7. เวียงจันทน์ ที่ว่าการอยู่ที่เมืองเวียงจันทน์
    8. บริขันธ์ ที่ว่าการอยู่ที่เมืองปากชัน
    9. คำม่วน ที่ว่าการอยู่ที่เมืองท่าแขก
    10. สุวรรณเขต ที่ว่าการอยู่ที่เมืองสุวรรณเขต
    11. วาปีคำทอง ที่ว่าการอยู่ที่เมืองโขงเชโดน
    12. สาละวัน ที่ว่าการอยู่ที่เมืองสาละวัน
    13. จำปาศักดิ์ ที่ว่าการอยู่ที่เมืองจำปาศักดิ์
    14. เชโดน ที่ว่าการอยู่ที่เมืองปากเช
    15. อัตตะบือ ที่ว่าการอยู่ที่เมืองอัตตะปือ
    16. ศรีทันดร ที่ว่าการอยู่ที่ศรีทันดร

    เมื่อทราบการแบ่งพื้นที่การปกครองของฝ่ายรัฐบาลลาวแล้ว ก็ควรจะทราบถึงการแบ่งพื้นที่การปกครองของ
    ฝ่ายลาวหรือที่เรียกว่าฝ่ายแนวลาว รักชาติบ้าง ฝ่ายนี้แบ่งเป็น 18 แขวง มากกว่าของฝ่ายรัฐบาล 2 แขวงและ
    มีการตั้งชื่อใหม่ในบางแขวง ข้าพเจ้าขอบันทึกไว้ให้ท่านผู้อ่านลองเปรียบเทียบดู

    1. พงสาลี
    2. น้ำทา (หัวโขง)
    3. อุดมชัย (หงสา)
    4. หลวงพระบาง
    5. ซำเหนือ (หัวพัน)
    6. ไชยบุรี
    7. เชียงขวาง
    8. เวียงจันทน์ตะวันตก (เวียงจันทน์)
    9. เวียงจันทน์ตะวันออก (เวียงจันทน์) เพิ่ม
    10. บริกำไชย (บริคันท์)
    11. คำม่วน
    12. สวันเขต
    13. สาละวัน
    14. ตะวันออก เพิ่ม
    15. โบโลเวน (สาลวัน)
    16. จำปาสัก (เชโดน)
    17. สีทันดอน
    18. อัตตะปือ

    เมืองสำคัญเวียงจันทน์ เป็นเมืองสำคัญที่สุดเป็นที่ตั้งเมืองหลวง ที่ว่าการรัฐบาลและเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ
    และการค้าของราชอาณาจักรลาว หลวงพระบาง เป็นเมืองหลวงเก่า เป็นที่ประทับของเจ้ามหาชีวิต
    (ปัจจุบันไม่มีเจ้ามหาชีวิตแล้ว) สุวรรณเขต เป็นเมืองใหญ่และสำคัญที่สุด ปากเซ เป็นเมืองใหญ่ทางภาคใต้
    เป็นศูนย์การค้าทางภาคใต้ของลาว จำปาศักดิ์ เป็นเมืองเก่าซึ่งเคยเป็นเมืองหลวงของแคว้นจัมปาศักดิ์ ในสมัยที่
    ลาวแบ่งแยกเป็นสามอาณาจักร ท่าแขก เป็นศูนย์กาลางการค้าขายอีกแห่งหนึ่งทางภาคกลางของประเทศ
    เป็นเมืองชุมทางของถนนสำคัญ 4 สาย คือ เวียงจันทน์ สุวรรณเขต ปากเซและข้ามโขงมาฝั่งไทย
    ซำเหนือ เป็นเมืองสำคัญทางด้านติดกับญวน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กรกฎาคม 2012
  3. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    บก.333 การต่อสู้คอมมิวนิสต์ใน "ลาว" (3)

    บทความพิเศษ โดย พล.อ.สายหยุด เกิดผล

    3. การทหารเดิม กำลังทหารส่วนใหญ่ของราชอาณาจักรลาวสมัยเมื่อครั้งยังอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสนั้น
    มีทั้งสิ้น 6 กองพัน (เป็นทหารราบล้วน) การจัดกำลังแต่ละกองพัน มีประมาณ 500 คน มีนายทหารฝรั่งเศส เป็น
    ผบ.พัน 5 กองพัน และมีนายทหารลาวเป็น ผบ.พัน เพียง 1 คน คือ พล.ต.อ้วน ลัดทิกุล (สมัยนั้นเป็นพันตรี)
    ส่วนนายทหารชั้น ผบ.ร้อย ประมาณร้อยละ 90 เป็นชาวฝรั่งเศส มีคนลาวเป็น ผบ.ร้อย ประมาณร้อยละ 10
    ในกองร้อยต่างๆ นั้น ถ้าคนลาวเป็น ผบ.ร้อย ก็จะต้องมีชาวฝรั่งเศสเป็นที่ปรึกษาอยู่ประจำทุกกองร้อย

    นอกจากนั้น แต่ละกองร้อยมักแยกชนเผ่าต่างๆ เป็นหมวดๆ หรือบางทีก็เป็นกองร้อย เช่น กองร้อยแม้ว
    กองร้อยลาว เป็นต้น จะเห็นได้ว่าฝรั่งเศสปฏิบัติเช่นนั้นก็เพื่อสะดวกในการปกครองและแบ่งแยกเผ่าพันธุ์
    ให้แข่งขันกันไปในตัว แต่ผลสะท้อนที่เกิดขึ้นกับประชาชนลาวก็คือ การแบ่งพรรค แบ่งพวก แบ่งหมู่ แบ่งเหล่า
    จนกระทั่งปัจจุบันนี้ คนลาวถือว่าอยู่ในฐานะสูงกว่าชาวป่าชาวเขาเผ่าอื่นๆ เพราะเป็นเจ้าของประเทศ
    จึงทำให้เกิดข้อขัดแย้งทะเลาะวิวาทกันตลอดมา ส่วนผู้บังคับบัญชาชั้นรองๆ ลงมามักจะเป็นคนเวียดนาม
    แสดงว่าฝรั่งเศสไม่ยอมยกระดับคนลาวเลยแม้แต่น้อย ต่อมาเมื่อขยายกำลังเพิ่มขึ้น นายทหารลาวจึงไปศึกษาต่อ
    ที่ฝรั่งเศสมากยิ่งขึ้น กองทัพแห่งชาติ (ทชล.) ได้ต่อสู้กับฝ่ายคอมมิวนิสต์มาตั้งแต่ต้น เดิมการจัดหลักนิยม
    การฝึกอาวุธยุทธภัณฑ์ ตลอดจนเครื่องแบบเป็นแบบฝรั่งเศสทั้งหมด เมื่อสหรัฐเริ่มเข้ามาช่วยเหลือใน
    สงครามอินโดจีน ทหารลาวจึงค่อยๆ เปลี่ยนเป็นแบบสหรัฐมากขึ้นทุกที แต่ปัจจุบันเปลี่ยนไปอย่างไรแล้ว
    ไม่อาจทราบได้ กองทัพแห่งชาติต้องอาศัย การสนับสนุนจากภายนอกตลอด สหรัฐจึงให้การช่วยเหลือ
    อย่างเต็มที่ทั้งด้านส่งกำลังบำรุง แม้กระทั่งเงินเดือนของทหาร ส่วนด้านการฝึกนั้นมีสมาชิกฝ่ายตะวันตก
    ให้การช่วยเหลืออยู่ด้วย การดำเนินการด้านกิจการทหาร การดำเนินการด้านกิจการทหารของราชอาณาจักรลาว
    ที่เห็นในตอนนั้นเข้าใจว่าทำตามข้อเสนอแนะของฝรั่งเศสมาแต่ต้น จึงจัดแบ่งเป็นหลายประเภท เราผู้ศึกษา
    จะต้องเข้าใจความมุ่งหมายในการจัดของลาวเสียก่อน มิฉะนั้นจะสับสนจับต้นชนปลายไม่ถูก ในที่สุดก็งง
    เลยเบื่อที่จะสนใจอีก เพราะเท่าที่ทราบเป็นการจัดที่ไม่เหมือนของใครเขาเลย ก่อนที่จะพูดกันถึงเรื่องอื่น
    ควรจะทราบคำย่อต่างๆ ที่ใช้กับหน่วยทหาร FAR (FORCES ARMIES ROYALES) (ทชล.)
    เพื่อความสะดวกดังนี้

    GM คือ GROUP MOBILE กรมเคลื่อนที่ของ ทชล. มี GM 11 (เว้น GM 13, 14) ถึง GM 18 และ GM 21
    BI คือ BATTALION INFANTRY โดยปกติเป็น พัน ร. ของ GM ต่างๆ
    BP คือ BATTALION PARATROOP พัน.พลร่ม
    BV คือ BATTALION VOLUNTEER พันอาสามีลักษณะการเป็นทหารน้อยกว่าปกติ เป็นหน่วยกำลังท้องถิ่นของแคว้นต่างๆ
    BR คือ BATTALION REGION กองพันท้องถิ่นเป็นกำลังท้องถิ่นของแคว้นต่างๆ
    BCS คือ BATTALION COMMANDO กองพันกองโจรพิเศษเป็นการจัด SPECIAL ของฝ่ายกลาง
    BAP คือ BAS AERO PORTE ศูนย์การฝึกพลร่มเป็นการจัดของ PARACHUTISTE ฝ่ายกลาง
    ตามหน่วยข้างบน เมื่อแยกกองร้อยออกไป ก็ใช้ตัว C (COMPANY) แทนตัว B
    ADC คือ AUTO DEFENSE DE CHOE ทหารกองโจร (ทหารเสือ)
    ADO คือ AUTO DEFENSE DE ORCINOIRE ทหารบ้าน
    AC คือ ARMY CLANDESTINE กองโจร ทชล. จัดนโยบายในการใช้กำลังกองทัพ

    กระทรวงการป้องกันประเทศ มีนโยบายป้องกันประเทศและต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ โดยมีหลักการ ดังนี้
    แบ่งหน่วยที่มีหน้าที่ป้องกันประเทศออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ

    1. กองทัพประจำการ ซึ่งประกอบด้วย GM BI BP BV BR
    2. กองโจรซึ่งประกอบด้วย ADC หรือ AC และ AD และอาจมีหน่วยอื่นๆ อีก

    หากมีการปฏิบัติงานในพื้นที่ใด กองทัพแห่งชาติจะแบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วน คือ

    1. พื้นที่ในเขตยึดครองของข้าศึก และพื้นที่ที่อยู่ในเขตยึดครองของฝ่ายรัฐบาล แต่อาจจะมีข้าศึกอยู่ด้วย
    2. การปฏิบัติงานจะทำพร้อมๆ กันทั้ง 2 เขตพื้นที่ คือ กองทัพประจำการ และกองโจร ดังนี้

    ขั้นที่ 1 กองทัพประจำการ ทชล. จะส่งกำลัง GM เข้าปฏิบัติงานในพื้นที่นั้น และถ้าสามารถยึดไว้ได้แล้ว
    จะต้องปฏิบัติงานต่อไป ก็มอบพื้นที่นั้นให้ BR (ทหารท้องถิ่น) หรือ BV รักษาพื้นที่ต่อ กองโจร จะส่ง DOC
    หรือ AC เข้าปฏิบัติการเช่นกัน และถ้าสามารถยึดไว้ได้ก็จะมอบพื้นที่ให้ ADO ทหารบ้าน รักษาพื้นที่นั้นต่อไป

    ขั้นที่ 2 กองทัพประจำการ เมื่อ GM มอบพื้นที่ให้ BR หรือ BV รักษาแล้ว ก็จะเคลื่อนที่ไปปฏิบัติงานในพื้นที่
    ที่ ADO กองโจรรักษาไว้ เพราะยังอาจมีข้าศึกหลงเหลืออยู่ กองโจร ADC หรือ AC เมื่อมอบพื้นที่ให้ ADO
    รักษาไว้แล้ว ก็จะเคลื่อนที่คืบต่อไป ก่อกวนข้างหน้าตามลำดับ การยึดครองพื้นที่ของกองโจรนี้จะทำเป็นจุดๆ เท่านั้น
    และไม่มีขีดความสามารถที่จะยึดอยู่ได้นานเลย การปฏิบัติงานด้านทหารในขณะนั้น (ประมาณ พ.ศ.2516)

    เนื่องจากความวุ่นวายสับสนของสถานการณ์ปัจจุบันและบุคคลในวงการทหาร ทำให้การปฏิบัติงานทั้งกองทัพ
    ประจำการและกองโจรไม่เป็นขั้นตอนตามที่กำหนด ไว้ต่างหน่วยต่างปฏิบัติงานสับสนกันไปหมด ฉะนั้นทุกพื้นที่
    จึงมีทหารประจำการและกองโจรอยู่ปะปนกันทั่วไป เพื่อให้การดำเนินการต่อสู้กับฝ่ายคอมมิวนิสต์รัดกุมขึ้น
    กองทัพแห่งชาติได้แบ่งเขตรับผิดชอบออกเป็น 2 เขต คือ ด้านยุทธการด้านเหนือ และด้านยุทธการด้านใต้
    ด้านยุทธการด้านเหนือ ตั้ง บก.ยุทธการด้านเหนืออยู่ที่เวียงจันทน์ มี พล.ต.อ้วน ลัดทิกุล เป็นผู้บังคับบัญชา
    รับผิดชอบในเขตพื้นที่ แคว้น 1 แคว้น 2 แคว้น 5 และแคว้น 6 ด้านยุทธการด้านใต้ ตั้ง บก.ยุทธการด้านใต้
    อยู่ที่สุวรรณเขต มี พล.ต.บุญปอน มากเทพารักษ์ เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบในเขตพื้นที่ แคว้น 3 แคว้น 4
    และแคว้น 7 กองทัพแห่งชาติ

    การแบ่งพื้นที่รับผิดชอบ
    แคว้น 1 หลวงพระบาง พลจัตวากาน อินศรีเชียงใหม่ เป็น ผบ.แคว้น มี GM 11 เป็นกำลังหลัก
    แคว้น 2 ชำทอง พลจัตวาวังปาว เป็น ผบ.แคว้น มี GM 13 (ยุบ) GM 17 เป็นกำลังหลัก
    แคว้น 3 สุวรรณเขต พลจัตวาหล้า ปฐมวงศ์ เป็น ผบ.แคว้น มี GM 12 (ท่าแขก) GM 15
    (ผาลาน) GM 16 GM 18 (หนองสงลาว) และ GM 12 (เชโดน) เป็นกำลังหลัก
    แคว้น 4 ปากเช พลตรีผาสุก สำลี เป็น ผบ.แคว้น
    แคว้น 5 เวียงจันทน์ พลตรีกุประสิทะ อภัย เป็น ผบ.แคว้น
    แคว้น 6 ไชยบุรี พลจัตวาหุมพัน นรสิงห์ เป็น ผบ.แคว้น
    แคว้น 7 จำปาศักดิ์ พลจัตวากด แหวนวงสด เป็น ผบ.แคว้น

    จะเห็นได้ว่าแคว้น 4 ถึง แคว้น 7 ไม่มีกำลังหลักอยู่เลย แต่มีทหารอยู่เพราะ ทชล.ส่งกำลังของแคว้น 3 ไปอยู่
    เป็นแห่งๆ และย้ายไปย้ายมาจนหาหลักไม่ได้ จึงเขียนไว้เฉพาะกำลังหลักที่มีชื่อยู่ ณ ที่ตั้งปกติ - GM 7
    กำลังกองทัพฝ่ายกลาง กำเนิดขึ้นมาจาก พัน พร.2 ของฝ่ายกองทัพแห่งชาติ เดิมอยู่ในบังคับบัญชาของ
    ร้อยเอกกองแล โรรัง ซึ่งนับว่าเป็นหน่วยทหารที่มีประสิทธิภาพเยี่ยมของลาว ในขณะนั้น (ฝึกไปจากไทย)
    พัน พร.2 ได้ทำการปฏิบัติเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ.2503 เป็นผลสำเร็จ และยืดนครเวียงจันทน์ไว้ได้
    แล้วเชิญเจ้าสุวรรณภูมาเป็นนายกรัฐมนตรี ตอนนั้นสหภาพโซเวียตได้ฉวย โอกาสเข้าช่วยเหลือฝ่ายกลางนี้ทันที
    โดยให้อาวุธยุทธภัณฑ์อย่างมากมาย แต่ฝรั่งเศสก็ยังคงเป็นที่ปรึกษาและผู้ฝึกสอนทหารฝ่ายนี้อยู่ กำลังของ
    ฝ่ายกลางโอนเอียงมาทางฝ่ายขวา แต่ยังไม่ยอมรวมกับฝ่ายขวาโดยมีกองบัญชาการอยู่ที่วังเวียง
    แต่โดยทั่วไปแล้วพอจะกล่าวได้ว่าเข้าร่วมกับฝ่ายขวาแล้วทางทฤษฎี ส่วนทางปฏิบัติแยกกันเกือบจะเด็ดขาด
    เขตรับผิดชอบ ฝ่ายกลางแบ่งพื้นที่การรับผิดชอบออกดังนี้

    ภาค 1 บก.ภาค ตั้งที่ ม.เหี้ยม ผบ.ภาคเสียชีวิตในที่รบ มีกำลัง 1 กองพัน ร.
    ภาค 2 บก.ภาค ตั้งที่ ม.สุย พันเอกสิง จันทรกุมาร เป็น ผบ.ภาค มีกำลัง 3 พัน ร. 1 พีน
    กองโจรพิเศษ 2 พัน ป.1 กองพันศูนย์การฝึกพลร่มพิเศษ
    ภาค 3 บก.ภาค ตั้งที่ ดงลำดวน สุวรรณเขต พันตรีทอง คำจันทร์ เป็น ผบ.ภาค มีกำลัง 1 พัน ร.
    ภาค 4 บก.ภาค ตั้งที่ สุวรรณคีรี ปากเช พันโทคำโก้ เป็น ผบ.ภาค มีกำลัง 1 พัน ร.
    ภาค 5 บก.ภาค ตั้งที่ วังเวียง พันโทสมเพ็ชร สดสวัน เป็น ผบ.ภาค มีกำลัง 2 พัน
    ร. 2 พัน พร. 1 พัน กองโจรพิเศษ 1 พัน ป.ร้อย ปร. พัน สห. กรม ถ. กรม ช. กรม สส. หน่วยบิน
    รวมกำลังของฝ่ายกลางทั้งหมดมีกำลังหลักดังนี้ 8 พัน ร. 5 พัน พร. 2 พัน กองโจรพิเศษ 3 พัน.ป.

    การป้องกันชายแดนไทย-ลาว
    ก่อนจะมีการจัดตั้ง คท. และ บก.333 ข้าพเจ้า ขอเล่าถึงเรื่องที่ได้ไปเกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือลาวต่อสู้
    คอมมิวนิสต์ตามที่กล่าวมาข้างต้น ข้าพเจ้าทราบว่าสหรัฐอเมริกามีนโยบายต่อสู้ คอมมิวนิสต์ไกลบ้าน
    (GO AWARD STRATEGY) คงเห็นว่าประเทศไทยน่าจะเป็นหลักในการต่อสู้คอมมิวนิสต์ในภูมิภาคเอเซียอาคเนย์
    อีกทั้งข้าพเจ้าได้ทราบฝ่ายทางจั๊สแม็กว่าฝ่ายทหารอเมริกันพยายามชี้ชวนให้ ฝ่ายทหารไทยเห็นถึงความสำคัญ
    ในการปรับปรุงการจัดการฝึกและอาวุธยุทธภัณฑ์ของทหารเสียใหม่ให้เหมาะกับการต่อสู้คอมมิวนิสต์
    แต่ทางฝ่ายทหารไม่เห็นด้วย โดยยืนยันว่าการจัดการฝึกอาวุธยุทโธปกรณ์ที่มีอยู่สามารถต่อสู้คอมมิวนิสต์ได้
    ดังนั้นฝ่ายอเมริกันจึงไปให้การช่วยเหนือตำรวจและพลเรือนแทน โดยเฉพาะตำรวจนั้นข้าพเจ้าทราบจาก บิลล์ แลร์
    ภายหลังว่าเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของเขา แต่ต่อมาภายหลังได้รับความเห็น จากหน่วยเหนือ เขาเสนอความคิดนี้
    ต่ออธิบดีกรมตำรวจในขณะนั้น คือ พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ ซึ่งได้ปรับปรุงกรมตำรวจ หลังจากย้ายไปจากทหาร
    เพื่อให้กรมตำรวจไทย "ไม่มีอะไรที่ทำไม่ได้" ขณะนั้นที่ปรึกษา อม. ที่มาช่วยเหลือ
    ทางตำรวจเรียกว่า ซี ชัพพลาย (SEA SUPPLY) มีสำนักงานอยู่ที่โรงแรมแกรนด์
    หน้าสนามกีฬาแห่งชาติ ปทุมวัน ได้แนะนำให้กรมตำรวจจัดตั้งตำรวจตระเวนชายแดน
    และตำรวจพลร่มขึ้น
    เพื่อเป็นหน่วยในการป้องกันการแทรกซึมตามแนวชายแดนและหาข่าวเกี่ยวกับคอมมิวนิสต์
    ดังนั้น หน่วยตำรวจตระเวนชายแดน เรียกว่า "ตชด." จึงจัดเป็นหน่วยหมวด ภายในหมวดจัดเป็นชุด มีแต่อาวุธเบา
    เพื่อเหมาะแกการต่อสู้คอมมิวนิสต์ เป็นการจัดในลักษณะนอกแบบ สำหรับอาวุธหนัก เช่น ปก.หนัก และ ค.ก็จัดนอกแบบ
    แต่ละหมวดตั้งอยู่ตาม ชายแดนด้านลาว มีที่ตั้งห่างกัน ให้ชุดลาดตระเวนของแต่ละหมวดมาพบกันแล้วสามารถ
    เดินทางกลับที่ตั้งได้ก่อนมืด ภายในหมวดจัดเป็นชุดลาดตระเวนประมาณ 5 ชุด สำหรับหมุนเวียน วันละ 2 ชุด
    พัก 2 ชุด อีก 1 ชุดเป็นชุดหนุน บก.ร้อย ตั้งอยู่ข้างหลัง ทำหน้าที่บังคับบัญชาอำนวยการและสนับสนุน
    ต่อมาได้จัดตั้งหน่วยส่งกำลังทางอากาศ (PAPU : PARACHUTIST RESUPPLY UNIT)
    ขึ้นที่หัวหิน ขณะนี้เรียกว่า ค่ายนเรศวร เพื่อส่งกำลังและสนับสนุนหมวด ตชด.ต่างๆ
    นอกจากนั้นได้จัดตั้งขุดหาข่าวชายแดน (BORDER INTELLIGENCE CENTER - BIC)

    ตามตำบลสำคัญต่างๆ ตามแนวชายแดนแม่น้ำโขงและด้านพม่า ตั้งแต่ท่าตาฝั่ง ท่าสองยาง ดอยผาหม่น ฯลฯ
    ลึกเข้าไปที่ภูพาน จังหวัดสกลนคร ภูลังกา จังหวัดน่าน ม่วงเจ็ดต้น จังหวัดอุตรดิตถ์ ฯลฯ
    การคัดเลือกผู้ที่จะมา
    เป็นพลร่มของตำรวจหรือที่เรียกว่า พารู นั้น ได้รับอนุมัติเป็นพิเศษจากอธิบดีกรมตำรวจ โดย "บิลล์"

    จัดชุดคัดเลือกไปยังจังหวัดต่างๆ ตามชายแดน แล้วคัดชายหนึ่งอาสาสมัครที่มีคุณลักษณะตามต้องการ
    ด้วยวิธีการพิเศษนี้

    ทำให้ได้พลบร่มที่มีความสามารถซึ่งพิสูจน์ให้เห็นในการปฏิบัติการในลาว ซึ่งข้าพเจ้ามีส่วนเกี่ยวข้องต่อมา
    และสนับสนุนให้เป็นนายทหารในกรณีพิอเศษตามสายงานลับที่ข้าพเจ้าอำนวยการ หลายคนก้าวหน้าใน
    หน้าที่ราชการและผู้ที่ข้าพเจ้าประทับใจก็คือ สรยุทธ ผบ.ค่ายสฤษดิ์เสนาคนแรก ตามที่กล่าวมาแล้ว
    ข้าพเจ้าทราบด้วยว่าทาง บก.ทหารสูงสุด โดยศูนย์รักษาความปลอดภัยและโรงเรียนการข่าว ซึ่งขณะนั้น
    ยังแยกกันอยู่ และ ตชด.ได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายการข่าวอเมริกัน ส่งชุดหาข่าวต่างๆ เข่าไปปฏิบัติการ
    ในลาวอยู่แล้ว มีศูนย์สื่อสารประสานงานอยู่ที่นครเวียงจันทน์ ซึ่งข้าพเจ้าทราบเรื่องนี้จากการไปตรวจเยี่ยม
    หน่วยต่างๆ กับ บิลล์ แลร์ ก่อนที่จะเริ่ม "โครงการ 333
     
  4. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    http://www.uwa333.com/index.php?option=com_content&task=view&id=67&Itemid=53

    ปฏิบัติการนักรบนิรนาม 333 (2504-2517)

    <TABLE class=contentpaneopen><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left width="70%" colSpan=2>[FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]

    [/FONT]</TD></TR></TBODY></TABLE>[FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ในปี 2504 ขณะที่ลัทธิคอมมิวนิสต์ กำลังแผ่ขยายอิทธิพลคุกคามเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายใต้การสนับสนุน
    ของรัสเซีย และจีนคอมมิวนิสต์ โดยมีกองกำลังเวียตมินห์ เป็นหัวหอกในการรุกเข้าประเทศลาว ร่วมกับกองกำลัง
    ประเทศลาวที่มีเจ้าสุภานุวงศ์ เป็นหัวหน้า โดยมีเป้าหมายมายังประเทศไทยเป็นด่านแรก และต่อไปยังมาเลเซีย
    สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ภายใต้การร้องขอจากประเทศลาว โดยนายกรัฐมนตรีเจ้าสุวรรณภูมา[/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ไทยได้ส่ง ตำรวจพลร่ม ตำรวจตะเวนชายแดงค่ายนเรศวร โดยการสนับสนุนของ
    มิตรประเทศอเมริกา ออกค่าใช้จ่าย เบี้ยเลี้ยง อาวุธ กระสุน เสบียงต่างๆ โดยมี
    เจมส์วิลเลี่ยมแลร์ (บิลแลร์) หัวหน้าสกายเป็นผู้ดำเนินการ และประสานงานกับทางฝ่ายไทย
    มีหัวหน้าลีวัง (หัวหน้านน) หรือ พล.ต.อ.ประเนตร ฤทธิฤาชัย เป็นตัวแทน ประสานกับ
    นายพลวังเปา ก่อตั้งค่ายฝึกให้กับทหารชาวม้ง (แม้ว) โดยเรียกว่า “พารู” กองกำกับการ
    สนับสนุนทางอากาศ (POLICE AERIAL REINFORCEMEMT UNIT)
    โดยเริ่มจาก 1,000 คนแรกที่ผาขาว[/FONT]


    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]พารูเป็นครูฝึก เป็นที่ปรึกษา และร่วมในการสู้รบกับกองกำลังเวียตมินห์ และประสบชัยชนะบ่อยครั้ง
    จึงขยายพื้นที่และขอบข่ายการปฏิบัติงานออกไปเป็นทีมหาข่าวร่วมกับทหารในทุกภาค และพื้นที่ของ
    ประเทศลาว รวมทั้งทีมเฝ้าถนนที่จีนคอมมิวนิสต์ดำเนินการก่อสร้างมุ่งตรงสู่ประเทศไทยทางเหนือ (จังหวัดน่าน)
    [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ทีมของพารู ประกอบไปด้วยหัวหน้า 1 คน เจ้าหน้าที่สื่อสาร เจ้าหน้าที่พยาบาล พลปืนเล็ก 2 คน ร่วมกับทหารไทย
    และทหารม้ง หรือทหารชาติลาว ขึ้นอยู่กับพื้นที่และสถานการณ์ เครือข่ายการสื่อสารที่ควบคุมโดยเจ้าหน้าที่ พารู
    ได้รับคำชมเชยจากหน่วยงานของอเมริกันและไทย ว่ายอดเยี่ยม สามารถติดต่อกันได้ทุกพื้นที่ตลอด 24 ชั่วโมง[/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]การสู้รบเริ่มทวีความรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ อเมริกันเริ่มส่งที่ปรึกษาเข้าเวียตนามใต้มากขึ้นเป็นลำดับในปี 2506
    เพิ่มที่ปรึกษาขึ้นเป็น 15,000 คน ทางเวียตนามเหนือก็เพิ่มการส่งทหารเข้ารุกเวียตนามใต้ พร้อมส่งเสบียงอาหาร
    ในเขตประเทศลาว ผ่านเส้นทางโฮจิมินห์เทรล และกำลังส่วนหนึ่งรุกเข้าประเทศลาว อเมริกาเริ่มทิ้งระเบิด
    ถล่มเส้นทางโฮจิมินห์ โดยทางไทยได้ส่งหน่วยบิน ฟรายเออร์ฟลาย (FIRE FLY) เครื่อง ที-28 เครื่องบินอเมริกัน
    และนักบินเป็นทหารอากาศไทย ส่งครามทวีความรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ ทางอเมริกันตั้งฐานเรดาร์ เป็นเครื่องนำร่อง
    เครื่องบินและเพิ่มประสิทธิภาพในการทิ้งระเบิดโจมตีเส้น ทางโฮจิมินห์ และเมืองฮานอยของเวียตนามเหนือ
    และเพื่อให้เครื่องบินสามารถทิ้งระเบิดได้อย่างแม่นยำ และได้ผลแน่นอนในขณะที่อากาศปิด ทัศนะไม่ดี
    ที่ภูผาทีมีชื่อว่า “ทาค่อน” (TACON) “TACTICAL AIR CONTROL AND NAVIGATION”
    เครื่องนำร่องและควบคุมยุทธวิธีทางอากาศ โดยมีทหารไทยจากหน่วย เอสอาร์ ร่วมเป็นหน่วยป้องกันพื้นที่
    กับทหารแม้ว และทหารชาติลาว ในการโจมตีทางอากาศของหน่วยบินฟรายเออร์ฟลาย และเครื่องบินรบอเมริกัน
    ได้ผลเป็นอย่างมาก เวียตนามเหนือได้ส่งเครื่องบินปีก 2 ชั้น 4 ลำ เข้าโจมตี ภูผาที ในวันที่ 12 มกราคม 2511
    แต่ถูกยิงตกทั้งหมด

    [/FONT][FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ทางด้านภาคเหนือที่น้ำแบ่ง ทหารชาติลาวเข้าโจมตียึดน้ำแบ่งได้ ในวันที่ 14 มกราคม 2511 สงครามทวีความรุนแรง
    เพราะต่างรบเพิ่มจำนวนทหารมากขึ้นเป็นหลายกองพัน [/FONT][FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ในวันที่ 10 มีนาคม 2511 ทหารเวียตนามเหนือ
    ซึ่งประกอบไปด้วยหน่วย แซปเปอร์ กองทหารราบ 4 กองพัน พร้อมปืนใหญ่ ใช้อำนาจการยิงเหนือกว่า
    เข้าตีถล่มภูผาที เจ้าหน้าที่อเมริกัน ที่เป็นนายช่างเทคนิคประจำสถานีเรดาร์ ถูกฆ่าตายเกือบหมดพร้อมทหาร
    นายพลวังเปา ทหารไทยที่เป็นหน่วยระวังป้องกันปลอดภัย และทั้งหมดถอนกำลังไปตั้งรับที่นาคัง
    ต่อมานายพลวังเปาส่งกองกำลังทหารเข้าตียึดคืน แต่ไม่สำเร็จและประสบความสูญเสียเป็นจำนวนมาก
    ทหาร 1,400 คน เหลือกับมา 400 คน นอกนั้นสูญหาย ตาย และบาดเจ็บ[/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]เวียตนามเหนือเคลื่อนกำลังเจ้ามาในลาวมากถึง 4-5 หมื่นคน สร้างถนนและเผาทำลายหมู่บ้าน ตลอดการเดินทางที่ผ่าน
    ในขณะที่กองกำลังของอเมริกาในเวียตนามก็เพิ่มขึ้นเป็น 540,000 คน และเพิ่มการดจมตีเส้นทางโฮจิมินห์เทรล
    หนักหน่วงขึ้นด้วยเครื่องบินหลายชนิด รวมทั้ง บี-52[/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]วันที่ 1 มีนาคม 2512 ฝ่ายกำลังของคอมมิวนิสต์ ส่งกำลังเข้ายึด นาคัง (ลิม่าไซด์ 36) ด้วยกำลังพลที่เหนือกว่า
    อำนาจการยิงจากปืนใหญ่ และรถถัง จากนั้นก็บุกเข้ายึดเมืองเชียงขวาง และกดดันถึงล่องแจ้ง แต่ถูกตีโต้กลับ
    จากกองกำลังของ นายพลวังเปาและสามารถจึดเชียงขวางคืนได้ในเดือนกันยายน และรุกคืบหน้ายึดเมืองสุยคืน
    ทางรัฐบาลลาวและอเมริกาได้ร้องขอให้ไทยส่งกำลังเข้าช่วยเหลือและได้รับการตอบสนอง โดยส่งหน่วย
    ทหารปืนใหญ่ในนาม เอส.อาร์. (ซันไร้ส์) ไปที่เมืองสุย และสนับสนุนการยิงให้ทหารลาวและแม้วของนายพลวังเปา
    ในการเข้าตีภูกูด แต่ไม่สามารถยึดได้ ข้าศึกต่อสู้อย่างเหนียวแน่น[/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]มกราคม 2513 ฝ่ายคอมมิวนิสต์ เพิ่มความกดดัน โดยเข้าตีเมืองสุย และยึดได้ในที่สุด พร้อมที่รุกเข้าตี
    เมืองเชียงขวางอีกครั้ง จากนั้นก็มุ่งตรงเข้าตีเมืองชำทอง แต่ถูกต้านอย่างหนักพร้อมการดจมตีทางอากาศของสหรัฐ
    จึงต้องถอยทัพไปอยู่เหนือทุ่งไหหิน ในขณะที่ทางไทยของเราได้ส่งหน่วย บี. ไอ. (กองพันทหารราบ) และ
    บี. เอ. (กองพันทหารปืนใหญ่) เข้าสู่เนินสกายลายน์ที่ล่องแจ้งและชำทอง จากนั้นรุกคืบหน้าสู่บ้านนา
    และได้ทำการรบกับฝ่ายคอมมิวนิสต์ นับศพของข้าศึกแล้วได้กว่า 100 ศพ อันเป็นวีรกรรมห้าวหาญของทหารไทย

    [/FONT][FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ในเดือน ตุลาคม 2514 กองพันทหารเสือพรานได้เข้ามาทดแทน บี. ไอ. และ บี. เอ. ทำการรุกคืบหน้าจากบ้านนา
    เข้าสู่ทุ่งไหหิน โดยมีกองทหารชาติลาว และทหารของ นายพลวังเปา เข้าตีนำหน้าด้วยการสนับสนุนทางอากาศ
    จากเครื่องบินสหรัฐทั้ง F-5E และ F4 แฟนท่อม ตามด้วย B-52 แล้วแต่สถานการณ์ และการร้องขอ แต่ก็ไม่สามารถ
    รุกคืบหน้าไปได้มากกว่านั้น มีแรงต้านจากฝ่ายคอมมิวนิสต์อย่างเหนียวแน่น[/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ทางด้านภาคเหนือของลาวก็ได้ส่งทหารเสือพราน 4 กองพัน ภายใต้การดูแลของ ฉ.ก.ราทิกุล และสามารถ
    ถ่วงข้าศึกมิให้รุกล้ำเกินเขตเชียงลมได้ จนจบภารกิจ[/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ทางด้านใต้ปากเซ ฉ.ก.ผาสุก มีกองกำลังเสือพราน 4 กองพัน ต่อสู้ กองกำลังเสือพรานสามารถตีโต้และ
    ทำความเสียหายให้ข้าศึกเป็นอย่างมาก นับศพของข้าศึกได้ถึง 115 ศพ และบาดเจ็บอีกเป็นจำนวนมาก[/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]เดือนธันวาคม ข้าศึกเริ่มยิงรบกวนกองพันทหารเสือพราน และทหารปืนใหญ่ในทุ่งไหหิน ด้วย ค.และปืนใหญ่
    เพื่อหาจุดตกของกระสุน กองกำลังข้าศึกประกอบไปด้วย กองพล 312 กองพลที่ 316 พร้อมกรมทหารปืนใหญ่
    รถถัง และ ป.ต.อ. ขนาด 12.7, 37.5 และ 57 มม. ขณะเดียวกันก็กดดันทหารชาติลาวและม้งของนายพลวังเปาอย่างหนัก
    จนต้องถอนตัวเมื่อ 19 ธันวาคม 2514 บี.ซี. 606, 608 และฐานปืนคิงคอง ต้องเผชิญหน้ากับข้าศึกโดยตรง และ
    โดนอำนาจปืนใหญ่ 130 มม. จรวด 122 มม. ค.120 และรถถังที่มีปืนขนาด 85 มม. และ 76 มม. ยิงกระหน่ำจนในที่สุด
    ก็ต้องถอนตัวในวันที่ 20 ธันวาคม 2514 พร้อมกับการสูญเสียเป็นอย่างมากทั้งบาดเจ็บ ตาย และสูญหาย

    [/FONT][FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ในขณะเดียวกันทางด้านภูเทิง บี.ซี.609, 605 และฐานปืนไลอ้อน ก็ตกอยู่ในสภาพเดียวกัน ต่อสู้กันตั้งแต่
    วันที่ 18 ธันวาคม 2514 จนถึงวันที่ 19 ธันวาคม 2514 ก็ต้องขอให้ยิงปืนใหญ่แตกอากาศกลางฐาน โดย ฝ.อ.3 บี.ซี.609
    และแฟ็กประจำกองพัน ซึ่งเสียชีวิตทั้งหมดพร้อมกับข้าศึกเป็นจำนวนมาก อันเป็นวีรกรรมที่เยี่ยมยอดของอินทนิล
    ฝ.อ.3 และแฟ๊กปิงโห้ จากรายงานของนักบินที่บินผ่านฐาน เห็นศพนอนเกลื่อนฐาน[/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ทางด้านกองพัน บี.ซี.603, 607 และฐานปืนมัสแตงที่บ้านโตน อยู่ในสภาพเดียวกันกับกองพันอื่นๆ
    เพราะข้าศึกเข้าตีพร้อมกัน และใช้อำนาจการยิง รถถัง และกำลังพลที่เหนือกว่าโดยที่ฝ่ายเราไม่สามารถ
    จะใช้กำลังทางอากาศได้ เนื่องจากอากาศปิด หมอกลงจัด การทิ้งระเบิดสนับสนุนจึงทำไม่ได้
    ในที่สุดก็ต้องถอนตัว ในวันที่ 19 ธันวาคม 2514[/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ทางด้านภูห่วง ข้าศึกก็เริ่มกดดันเช่นเดียวกัน เพื่อลดการสูญเสีย จึงสั่งถอนตัวในวันที่ 20 ธันวาคม 2514[/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ทางฝ่ายเราสูญเสียเป็นอย่างมาก ในการยุทธที่ทุ่งไหหิน ข้าศึกจึงฉวยโอกาสทำการขณะที่อากาศปิด
    เครื่องบินไม่สามารถปฏิบัติงานได้ และใช้อำนาจการยิงกำลังพลที่เหนือกว่าทุ่มเข้าโจมตี
    จนต้องถอนตัวพร้อมกับความสูญเสียในที่สุด[/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]จากชัยชนะในครั้งนั้น ข้าศึกเคลื่อนกำลังเข้าประชิด เมืองชำทอง และล่องแจ้ง อันเป็นกองบัญชาการใหญ่
    ของ นาพลวังเปา และกองกำลังเสือพราน ข้าศึกทำการโจมตีล่องแจ้ง ด้วยปืนใหญ่ 130 มม. จรวด 122 มม.
    วันที่ 31 ธันวาคม 2514 จนถึง 2 มกราคม 2515 มากกว่า 300 นัด กระสุน 130 และจรวด ตกถูกกองกระสุนของ
    ฝ่ายเราที่สนามบิน ระเบิดกึกก้องติดต่อกันถึง 3 วัน เครื่องบินไม่สามารถลงที่สนามบินได้ การส่งกำลังบำรุง
    ทั้งอาหารและกระสุนต้องใช้การทิ้งร่มลงตามฐานต่างๆ รวมทั้งล่องแจ้งด้วย[/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ข้าศึกยังคงยิงรบกวนทั้งซำทอง และล่องแจ้ง ด้วยปืนใหญ่ 130 มม. และจรวด 122 มม. จนถึงวันที่ 10 มีนาคม 2515
    ข้าศึกโถมกำลังอาวุธเข้าโจมตี บี.ซี.606,608 ด้านตะวันออกเฉียงเหนือของสนามบินซำทอง เข้าตีพร้อมกัน
    ตั้งแต่ 5 โมงเย็น โดยตีเป็นระลอกจนถึงวันที่ 11 มีนาคม เครื่องบินก็ไม่สามารถจะเข้ามาทำการช่วยทิ้งระเบิดให้ได้
    อากาศปิดหมอกลงจัด ในที่สุดก็ต้องถอนกำลัง เพราะข้าศึกใช้อำนาจการยิง ด้วยปืนใหญ่และปืนรถถัง
    กำลังพลก็บุกเข้าประชิด เกิดความสูญเสียขึ้นเป็นจำนวนมาก ในระหว่างการถอนตัว ข้าศึกได้ซุ่มยิงเป็นจุดๆ
    ทั่วทั้งหุบเขาที่เป็นเส้นทางถอนตัว บี.ซี.607 ถอนตัวเข้าล่องแจ้ง เหลือแต่ บี.ซี.610 ปักหลักสู้อยู่กองพันเดียว
    จนถึงวันที่ 18 มีนาคม 2515 รถถัง 2 คัน ก็วิ่งขึ้นไปบนฐานกองพัน บี.ซี.610 และอีก 3 คันวิ่งผ่านสนามบินตามมา
    กองพัน บี.ซี.610 จึงต้องถอนตัวไปทางตะวันตกเข้าทางลำน้ำงึม[/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]เมื่อยึดซำทองได้หมด ข้าศึกก็เข้าโจมตี เนินสกายลายน์ต่อ ทั้งปืนใหญ่และจรวดยิ่งถล่ม ตลอดทั้งกลางวันและ
    กลางคืน บี.ซี.616 ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของสันสกายลายน์ ถูกกดดันด้วยอำนาจการยิง และกำลังพลที่เหนือกว่า
    ต้องถอนตัวเข้าล่องแจ้ง ข้าศึกเข้าตีรุกไล่ไปตลอดแนว สกายลายน์อันมี บี.ซี.603, 604, 617 และ 618ตั้งรับอยู่[/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]วันที่ 28 มีนาคม 2515 รถถัง ที-34 จำนวน 3 คัน วิ่งขึ้นบนสันสกายลายน์ พุ่งตรงเข้าหา บี.ซี.604 เครื่องบิน สเปคเตอร์
    ติดปืน 105 มม. และเครื่องบิน สตริงเกอร์ติดปืน 40 มม. ช่วยกันยิงกระหน่ำ จนรถถัง 2 คันจอดพัง หนีไปได้ 1 คัน
    ในวันรุ่งขึ้น บ-52 ทิ้งระเบิดปูพรม ได้รับความเสียหายละลายทั้งกรม ปฏิบัติงานไม่ได้ ข้าศึกจึงเริ่มถอนตัวออก
    เพราะทางฝ่ายเราทิ้งระเบิดใส่อย่างหนักจึงสามารถรักษาล่องแจ้งอันเป็น บ.ก.ใหญ่ และฐานสุดท้าย
    หากรักษาไม่ได้ก็คงถูกข้าศึกรุกไล่ถึงเวียงจันทน์แน่นอน[/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]จากนั้นฝ่ายเราก็เริ่มเป็นฝ่ายเข้าตีโต้กลับ ยึดซำทองคืน และตีขึ้นด้านเหนือ ยึดภูล่องมาค บ้านนา ภูแท่น
    ชายทุ่งไหหิน ไปทางตะวันออกทางซำทอง เนินซีบร้า บ้านหินตั้ง ภูเซอ และป่าดงคืนได้ทั้งหมด[/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ธันวาคม 2516 ปรับกำลังใหม่ แบ่งเป็นกรมทหารราบ 3 กรม กรม.201 เข้าตีเมืองสุย กรม.202 เข้าตีภูล่องมาค
    บ้านนา และรักษาพื้นที่ กรม.203 เข้าตีเมืองกาสีและศาลาภูคูณ ทางแยกสาย 13 ติดกับสาย 4/7 ซึ่งทางตะวันตก
    ไปหลวงพระบางทางตะวันออกไป เมืองสุย ทุ่งไหหิน ทางใต้ลงเวียงจันทน์ จึงเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ[/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]กรมทหารราบที่ 201 ทำภารกิจไม่สำเร็จ เมื่อยกกำลังพลไปถึงเมืองสุย ข้าศึกรอตั้งรับอยู่จึงถูกโจมตีอย่างหนัก
    ตั้งตัวไม่ทันจึงต้องถอนกำลังกลับ[/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]กรมทรารราบที่ 203 เข้าตีเมืองการสี ยึดรถถังได้ 2 คัน และปืนใหญ่ 122 มม. 7 กระบอก เข้าตีต่อเพื่อยึดศาลาภูคูณ
    และสนามบิน 260 ได้ ขับไล่ข้าศึกออกไปทางตะวันออกของทางแยกศาลาภูคูณได้ 9 ก.ม. ถูกต้านอยู่กับที่
    จนถึงวันสงบศึก วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2516 และรักษาไว้ได้จนจบภารกิจส่งมอบให้ทหารชาติลาว ถอนตัวกลับล่องแจ้ง
    และอยู่เป็นกรมสุดท้ายจึงถอนตัวกลับเมื่อเดือน ธันวาคม 2516[/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]กองกำลัง วี.พี.ที่ล่องแจ้ง ได้รับคำสั่งให้ลดจำนวนกำลังพล และส่งมอบพื้นที่ให้ทหารชาติลาว และทหารแม้ว
    ของนายพลวังเปา บ.ก.ผสม 333 (วี.พี.) แปรสภาพเป็น จึ.เอ็ม.2 เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2517 มีกำลัง บี.ซี.603,
    ร้อย อ.ว.น.203, บี.ซี.604A และ บี.ซี.619A อยู่รักษาล่องแจ้ง กำลังส่วนอื่นส่งกลับน้ำพอง และลพบุรี
    ดำเนินกรรมวิธีปลดพ้นสภาพ[/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]จี.เอ็ม.2 ปฏิบัติหน้าที่ และส่งมอบพื้นที่ให้ทางนายพลวังเปา และทหารชาติลาว เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2517
    ฝ่ายอำนวยการ บก.จี.เอ็ม.2 และกำลังทหารเสือพรานเดินทางกลับสู่น้ำพองเพื่อดำเนินกรรมวิธีปลดพ้นสภาพ[/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]นักรบนิรนาม 333 ได้ปฏิบัติภารกิจสำเร็จสมบูรณ์แบบ โดยสามารถตรึงข้าศึกและลัทธิคอมมิวนิสต์ให้หยุด
    อยู่ในพื้นที่ประเทศเพื่อนบ้าน และการยึดครอง กระทำเมื่อกองกำลัง นักรบนิรนาม ถอนตัวกลับสู่ประเทศไทยแล้ว
    จากการสนับสนุนที่กล่าวมาแล้วข้างต้น โดยคำให้การของเหล่านักรบนิรนามที่ตกเป็นเชลยศึกและกลับสู่
    ประเทศไทยโดยการแลกเปลี่ยนเชลยศึกที่เมืองโพนสะหวันแขวงเชียงขวาง[/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]รุ่นแรก ครั้งที่ 1 เมื่อ 19 กันยายน 2517 จำนวน 150 นาย[/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]รุ่นสอง ครั้งที่ 2 เมื่อ 29 กันยสยน 2517 จำนวน 64 นาย[/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]เราได้รับนักรบนิรนามที่ตกเป็นเชลยศึก รวม 214 นาย ในจำนวนนี้ไม่มีนายทหารกลับมาเลย) มียอดสูญหาย 17 นาย)
    และจากการสรุปคำให้การของเชลยศึก นักรบนิรนาม พวกข้าศึกและคอมมิวนิสต์ยะยึดครองประเทศไทยให้ได้
    ในปี 2520 ซึ่งก็ไม่สามารถกระทำได้ นับเป็นการสรุปได้ว่า ภารกิจของนักรบนิรนามทั้ง 30 กองพัน รวมทั้ง
    อาสาสมัครพลเรือน เจ้าหน้าที่ต่างๆ ที่ร่วมปฏิบัติงานตั้งแต่ ปี 2504 จนถึงปี 2517 ได้ทำการปกป้องประเทศชาติ
    ให้พ้นจากภัยการรุกรานขอฝ่ายคอมมิวนิสต์ได้สำเร็จ สมบูรณ์ตามความตั้งใจและมุ่งหมายของเหล่านักรบนิรนาม
    พวกเราขอคารวะแด่ดวงวิญญาณของเพื่อนนักรบที่พลีชีพเพื่อชาติในสมรภูมิลับครั้งนี้
    [/FONT]
     
  5. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    LIMASITE 85
    LIMA SITE 85


    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ยุทธการถล่มภูผาที [/FONT][FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif](LS-85)[/FONT][FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]

    พล.อ.อ.วีระวุธ ลวะเปารยะ[/FONT][FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]

    เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า ลัทธิคอมมิวนิสต์ ได้เริ่มแผ่ขยายเข้ามาสู่ภูมิภาคเอเชียในประเทศลาวตั้งแต่ปี พ.ศ.2507
    ผลกระทบสู่ประเทศไทยก็คือ จะต้องเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นคอมมิวนิสต์ นั่นหมายถึง
    สถาบันอันเป็นที่เคารพของชาวไทยมานับพันปี คือ ชาติ พุทธศาสนา และพระมหากษัตริย์
    จะต้องถูกล้มล้างเหมือนประเทศรัสเซีย ประเทศจีน ประเทศเวียตนาม
    และกำลังต่อสู้กันอย่างดุเดือด
    ระหว่างลาวแดง ผู้ฝักใฝ่ในลักทธิคอมมิวนิสต์ และลาวขาวผู้รักประชาธิปไตย นี่คือ ต้นกำเนิดของนักรบนิรนาม
    ทั้งภาคพื้นดินและภาคอากาศของชาติไทย ที่อาสาเข้าร่วมรบเพื่อผลักดัน มิให้ลัทธิมหาภัยนั้นเข้ามา
    ในแผ่นดินธรรมแผ่นดินทองของเราได้[/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ภูผาที เป็นยอดเขาสูงประมาณ 8,000 ฟุตเหนือระดับน้ำทะเล ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของ บ้านนาคับ
    ห่างจากแนวถนนยุทธศาสตร์สาย 13 เวียตนามเหนือ-เวียตนามใต้ ซึ่งเป็นถนนสายหลักในการลำเลียงยุทโธปกรณ์
    ของคอมมิวนิสต์ และมีถนนแยกเข้าสู่ลาวเพื่อลำเลียงยุทโธปกรณ์ ตั้งสถานีเรดาห์ ปืนต่อสู้อากาศยาน
    ปืนใหญ่ไว้บนยอดเขาภูผาทีนี้ ซึ่งรับการสนับสนุนจากรัสเซีย[/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]พวกเราได้รับการบรรยายสรุปในห้องยุทธการ AOC (Air Operation Center) ที่ฐานบินเวียงจันทน์ ตั้งอยู่ปลาย
    สนามบินวัดไตร คือ สนามบินเวียงจันทน์นั่นเอง หน่วยบินหิ่งห้อย Fire Fly ฟังดูน่ารัก แมลงตัวน้อยๆ
    เวลาบินกลางคืนจะมีแสงแว็บๆ แต่เวลากลางวันจะมีนามเรียกขานว่า พญาอินทรีย์ Eagle ซึ่งเหี้ยมโหดและดุร้าย
    สรุปว่า หน่วยบิน Fire Fly จะต้องทำลายสถานีเรดาห์และฐานปืนบนยอดเขาภูผาทีให้ราบเป็นหน้ากลอง
    ไม่ว่าจะกี่เที่ยวบิน

    [/FONT][FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ณ เวลานั้น น.ต.วรนาถ อภิวารี (ท้าวเฉนียน) เป็นหัวหน้าหน่วยบินหิ่งห้อยผู้เขียนเป็นนักบินประจำหน่วยรุ่นที่ 9
    ชุดที่ 1 ร.ท.วีระวุธ ลวะเปารยะ (ท้าวโผผิน) รับภารกิจโจมตีทางอากาศระหว่างวันที่ 19 มิถุนายน – 19 ธันวาคม
    พ.ศ.2511[/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ยุทธการถล่มภูผาทีจึงเปิดฉากตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2511 เป็นต้นไป หัวหน้าเฉนียน ได้กำหนดเส้นทางบิน
    ระยะสูง ยุทธวิธี จุดเช็คพอยท์ สนามบินสำรอง ฯลฯ ปัญหาใหญ่ที่สุดก็คือ เป็นฤดูฝน สภาพอากาศเหนือเป้าหมาย
    มีเมฆมาก บางแห่งก่อตัวสูงเป็นธันเดอร์สตอร์ม (Thunder Storm) หลายลูก ขวางเส้นทางบินบ้าง อยู่ซ้ายบ้าง ขวาบ้าง
    บางวันเมฆปิดยอดเขาหมด กว่าจะยกตัวก็สายมากประมาณ 08.00-09.00 น. จึงจะวิ่งขึ้นไปทำงานได้ บางวันไป
    ไม่ถึงที่หมาย เพราะเมฆปิดเส้นทางต้องกลับมาปลดระเบิดทิ้งทั้งหมด ที่พื้นที่ปลดอาวุธ เป็นป่าทึบมากอยู่หลัง
    ภูเขาควาย จึงต้องตกลงกับฝ่ายอเมริกาว่า สภาพอากาศเช่นไร จึงจะให้เครื่องบินไปทำงาน เพราะเกิดความสูญเสีย
    มาแล้ว คือ ชนภูเขาทั้งหมู่บิน เป็น Vertigo หลงฟ้าบ้าง[/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]แต่ความจำเป็นทางยุทธการที่ต้องรีบทำลายสถานีเรดาห์ให้ได้โดยเร็วที่สุด ดังนั้นบางวันที่สภาพอากาศดี
    เราจึงต้องทำสองเที่ยวบิน เส้นทางบินไกลมาก จากสนามบินเวียงจันทน์ไปภูผาทีใช้เวลาบินประมาณ
    หนึ่งชั่วโมงสิบนาที ทำการโจมตีสิบห้านาทีและบินกลับหนึ่งชั่วโมง รวมเวลาบินสองชั่วโมงยี่สิบห้านาที
    หมายถึงว่าเชื้อเพลิงในเครื่องบินจะหมดเกลี้ยงในเวลาบินสองชั่วโมงห้าสิบนาที พวกเราจึงต้องบินด้วยความ
    ระมัดระวัง ประหยัดเชื้อเพลิงอย่างยิ่งและไม่ให้เสียเวลาในการรอการทำงานของหมู่บินข้างหน้า ดังนั้นการวิ่งขึ้น
    จึงทิ้งระยะห่างหมู่ละสิบห้านาที อาวุธที่บรรทุกไป ไม่ว่าจะเป็นระเบิดขนาด 250 ปอนด์ ระเบิดไว้ท์ฟอสฟอรัส
    น้ำหนักลูกละ 125 ปอนด์ จรวดขนาด 7 นัดต่อกระเปาะ ไว้ยิงเข้าไปในช่องปืนใหญ่ใต้บังเกอร์บนยอดเขา
    ซึ่งตั้งอยู่รอบสถานีเรดาห์[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]
    พวกเราต้องไต่หาระยะสูงขึ้นถึง 12,000 ฟิต เพื่อทำการทิ้งระเบิดมุมสูงที่แม่นยำต่อกาคารสถานีเรดาห์
    มองดูคล้ายตู้คอนเทนเนอร์หลายตู้ตั้งอยู่ใกล้ๆ จานเรดาห์ แต่ละหมู่บิน Eagle Red Eagle White Eagle Blue
    และ Eagle Green จะบรรทุกอาวุธไม่เหมือนกัน แล้วแต่ว่าจะโจมตีเป้าหมายอะไร บางหมู่บินบรรทุกจรวด 7 นัด
    4 กระเปาะ เพื่อยิงเข้าไปในช่องปืนใหญ่ใต้บังเกอร์ ซึ่งทำด้วยต้นซุงทั้งต้นเป็นหลังคาบังเกอร์ ภารกิจนี้จะสนุก
    และมันมาก เพราะท้าทายความแม่นยำของการยิงจรวด และต้องเสี่ยงกับปืนต่อสู้อากาศยาน ซึ่งยิงสวนมา
    แลกหมัดกัน “ต่างคนต่างหยิบยื่นความตายให้แก่กันและกัน แล้วแต่ใครจะได้รับก่อนกัน” มีเที่ยวบินหนึ่งของผม
    หลังจากโจมตีสถานีเรดาห์บนยอดเขาภูผาทีแล้ว ก็บินกลับเวียงจันทน์ เที่ยวบินนี้เสียเวลาในการเดินทาง
    เพราะต้องหลบเมฆใหญ่ๆ เมื่อออกจากเป้าหมาย ผมบินเป็นหมายเลข 3 ตรวจดูน้ำมันเชื้อเพลิงแล้วเหลือไม่ถึงครึ่งถัง
    แสดงว่าผมคงน้ำมันหมดก่อนถึงเวียงจันทน์แน่ จึงรายงานหัวหน้าหมู่บิน Eagle White ว่า เชื้อเพลิงเหลือน้อย
    หัวหน้าหมู่บินตอบว่า เช็คพอยท์สุดท้ายที่จุดโล่งแจ้ง ถ้าไม่พอแน่ ก็ให้ลงเติมเชื้อเพลิงที่สนามบินโล่งแจ้ง
    ผมก็ตอบว่าตกลง เมื่อบินมาถึงสนามบินโล่งแจ้งที่ปลายปีกซ้าย ไฟเหลืองแสดงว่าน้ำมันเหลือน้อย ก็กระพริบแว็บๆ
    ห่างๆ ผมก็รายงานหัวหน้าหมู่ว่าไฟเตือน Low fuel แสดงแล้ว หัวหน้าหมู่ก็ให้ผมแยกตัวไปลงที่สนามบินโล่งแจ้งได้
    เพื่อเติมน้ำมันเชื้อเพลิง แล้วให้บินกลับไปเวียงจันทน์ ผมตอบตกลง หัวหน้าหมู่เปลี่ยนวิทยุไปติดต่อหอบังคับการบิน
    โล่งแจ้งว่า จะมี T-28 ลงฉุกเฉิน ผมแยกหมู่เลี้ยงซ้ายเข้าหาสนามบินโล่งแจ้ง ซึ่งห่างประมาณ 20 น๊อตติคอลไมล์
    เปลี่ยนคลื่นวิทยุ ติดต่อกลับหอบังคับการบินขอลงฉุกเฉิน เพราะเชื้อเพลิงน้อย ผมรายงานตำแหน่งที่อยู่ทั้งทิศทาง
    ระยะทาง และเวลาโดยประมาณจะถึงสนามบินโล่งแจ้ง หอบังคับการบินรับทราบและประกาศฉุกเฉิน ให้ทาง
    ภาคพื้นเตรียมรถดับเพลิง รถพยาบาลมารอพร้อมข้างสนามคอยชั่วเหลือ พวกนักบินทุกคนศึกษาสนามบินแล้วว่า
    เป็นอย่างไร ทางวิ่งสนามบินโล่งแจ้งมีหน้าผาอยู่ปลายทางวิ่ง ถ้าเบรกไม่อยู่ เพราะลงด้วยความเร็วสูงก็จะชนหน้าผา
    ดังนั้นต้องอาศัยฝีมือพอสมควร ผมไม่เคยมาลงที่นี่เลย แต่ต้องลงเพราะถูกบังคับด้วยไฟเหลืองกระพริบถี่ขึ้นๆ นั่นเอง
    เมื่อตรวจครั้งสุดท้ายก่อนลงสนาม เช่น การล้อแล้ว เปิดแฟลบแล้ว ความเร็วพอดี ลำบากนิดหนึ่ง ต้องหิ้วตัว
    ให้ข้ามเนินเล็กๆ ปลายสนามก่อนถึงจุดแปะ จะมีลมกรรโชกแรงบ้าง มองเห็นซากเครื่องบิน 0-1 พังอยู่ 1 ลำ
    ที่ผมร่อนผ่านไป เข้าสู้สุดแปะ ผมบังคับ T-28 คู่ใจลงได้เรียบร้อยสุดสนามเป็นหน้าผาสูง ด้านขวามือเป็นลานจอด
    เจ้าหน้าที่ภาคพื้นเรียกเข้าจอด บนลานด้านขวามือ ซึ่งมีเครื่องบินหลายแบบจอดอยู่ เช่น T-28, 0-1, C-46
    เฮลิคอปเตอร์ของแอร์อเมริกา เจ้าหน้าที่ทหารไทยและลาวขับรถจี๊บมารับผมไปทานข้าวกลางวันบนกองบังคับการ
    ของนายพลวังเปา ทหารแม้ว ลาว ไทย ทำงานร่วมกัน ตั้งอยู่บนเนิน มองลงไปจะเห็นสนามบินโล่งแจ้งชัดเจน
    บรรยากาศเย็นสบาย มีลมพัดผ่าน มีโต๊ะอาหารตั้งอยู่ริมชาน มีอาหารเตรียมรอไว้รับประทานร่วมกันกับทหารลาว
    แม้ว ไทย ผมจำชื่อไม่ได้เพราะมีเวลาคุยกันสั้น ทั้งภาษาไทยและภาษาลาว นายพลวังเปาออกมาจากห้องยุทธการ
    แวะเข้ามาทักทายผม ได้จับมือกัน และขอให้ผมโชคดีแล้วพาคณะออกไปตรวจพื้นที่ ผมโชคดีที่ได้พบผู้นำเผ่าม้ง
    ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการต่อต้านคอมมิวนิสต์ทาง ภาคพื้นดินของลาว วิทยุมาจากลานจอดว่า เติมเชื้อเพลิง
    ให้เรียบร้อยแล้ว[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]
    เวลานั้นประมาณบ่ายโมง ผมเดินลงมาจาก บก.พร้อมกับทหารไทย และลาว ไปขึ้นรถจี๊ปไปลานจอดเครื่องบิน
    ระหว่างทางข้างๆ มีคนนั่งขายของซึ่งเป็นตลาดรวม ผมเห็นลาวม้งนั่งขายฝิ่นใส่กระป๋องบุหรี่การิคเต็มกระป๋อง
    เป็นสีเหนียวๆ เหมือนยางมะตอย กระป๋องละ 500 บาท ปืนพกออร์โตเมติกขนาด 11 มม. (US ARMY)
    วางขายกับพื้นดินหลายกระบอก ราคากระบอกละ 1,000 บาท บางแผงมีบุหรี่ เหล้ายี่ห้อดีๆ มากมาย ราคาถูกมาก
    เด็กหนุ่มลาว หรือม้งไม่ทราบ อายุราว 14-15 ปี แต่งชุดทหารสีเขียว ขาขาดหนึ่งข้างต้องเดินใช้ไม้ค้ำรักแร้หลายคน
    แต่ยังสะพายปืนกลคาร์บินพร้อมรบเสมอ รถจี๊บพาผมผ่านตลาดรวมเข้าสู่สนามบิน ข้างๆ ถนนเข้าทางวิ่ง (RUNWAY)
    มีหลุมใหญ่หลายหลุม ขุดเรียงกัน ลึกประมาณ 3 เมตรเศษ กว้างยาว 3 x 4 เมตรเศษ ปากหลุมมีไม้ไผ่บาดเอาสังกะสีวาง
    และทับด้วยก้อนหินใหญ่พอประมาณ ไว้ป้องกันสังกะสีปลิว ทหารไทยที่ขับรถจี๊บบอกว่า นี่เขาเรียกว่า “ขุม” ไว้
    ขังนักโทษ ผมอยากดูและขอให้จอดรถลงไปเปิดสังกะสีดุ มองลงไปในหลุม มีนักโทษอยู่ 1 คน ยืนพิงข้างผนังขุม
    พื้นดินเปียกแฉะเป็นโคลน มองดูลื่นมาก นักโทษนุ่งผ้าเตี่ยว เสื้อผาขาดวิ่น ต้อง นั่ง นอน กิน ถ่าย อยู่ในขุมนี้
    จนกว่าจะได้รับคำตัดสิน ปล่อยหรือประหาร เพราะเป็นเวียตกง หรือลาวแดงที่จับได้ในสนามรบ ผมกลับขึ้นรถ
    ด้วยใจหดหู่ นึกถึงตัวเองว่าถ้าเครื่องบินผมถูกยิงต้องโดดร่มและถูกจับได้ “ขุม” คงรออยู่เช่นกัน ซึ่งผมตั้งใจ
    ไว้แล้วว่า ก่อนจะถูกจับ ผมจะเหลือกระสุนปืนพกรีวอลเวอร์ประจำกายไว้ยิงตัวตาย 1 นัดแน่นอน[/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]พอถึงลานจอดซึ่งเครื่องบิน T-28 ของผมได้รับการบริการเชื้อเพลิงหล่อลื่นอย่างดี มีเจ้าหน้าที่รอบริการพร้อม
    ผมหันไปดูเครื่อง C-46 คล้ายเครื่อง DAKOTA ของไทย จอดอยู่ห่างประมาณ 30 เมตร กำลังทำหน้าที่ส่งกำลังบำรุง
    ไปยัง Site ต่างๆ บนยอดเขาที่ตั้งของฝ่ายเราเอง (ลาวขาว) มีคนจูงควาย 3-4 ตัวไปที่เครื่องบิน ซึ่งเปิดประตูข้าง
    แบบกว้างรอไว้ พอควายเข้ามาถึงก็เอาปืนยิงหัวล้มลงตรงนั้นเลย เอารถยกโฟลคลิฟต์ (Folk Lift) แซะและยกใส่
    เครื่องบินช่วยกันดันตามรอลเลอร์ (Roller) เข้าไปด้านในควายตัวถัดมาก็ถูกลากเข้าที่ประหารและส่งขึ้นไปบน C-46
    จนหมดทั้ง 4 ตัว นี่เป็นการส่งกำลังบำรุงทางอากาศ เมื่อถึงที่หมายเครื่องบินก็จะเอียง และปล่อยความทั้งตัว
    ลงไปให้ทหารข้างล่างชำแหละกันเอง บางเที่ยวก็ส่งข้าวสารใส่กระสอบแบบหลวมๆ กันแตกทิ้งลงไปให้
    บางแห่งขาดน้ำดื่มก็ส่งน้ำแข็งเป็นก้อนใหญ่ๆ ลงไปให้รอดตายไปก่อนเช่นเดียวกัน[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]
    ผมหันกลับมา ล่ำลาผู้มาส่ง ขอบคุณผู้ให้บริการเครื่องบินคู่ใจของผม แล้วก็ก้าวขึ้นเครื่องแต่งตัว ติดเครื่องยนต์
    ติดต่อหอบังคับการบิน โบกมืออำลาอีกครั้ง เคลื่อนตัวไปตั้งลำที่ปลายสนามด้านหน้าผา ตรวจดูความพร้อม
    ของเครื่องบิน แล้วบอกหอบังคับการบินโล่งแจ้งว่า Eagle White 3 พร้อม วิ่งขึ้นแล้ว ผมดูนาฬิกาบ่ายสองโมงสิงห้านาที
    ผมจากโล่งแจ้งมาด้วยหัวใจที่มืดตื้อ ไม่สมชื่อโล่งแจ้งเลย นี่แหละสงครามที่โหดร้าย สังเวยด้วยชีวิตมนุษย์
    และสรรพสัตว์ ผมบิดสวิตซ์วิทยุไปฟัง Eagle อื่น ว่ากำลังทำอะไรกันอยู่ ได้ยินเสียงการติดต่อว่าจบภารกิจ
    เที่ยวที่ 2 ในการโจมตีถล่มภูผาที กำลังตามหลังผมมาลงที่เวียงจันทน์ เป็นอันว่าวันนี้ผมไปทำงานเพียงเที่ยวเดียว
    แต่ได้พบ ได้เห็น ได้คิดว่า ถ้าประเทศไทยต้องตกในสภาพนั้น
    สถาบันทั้งสาม อันเป็นที่รักของเราจะเป็นอย่างไร

    ผมมาทำหน้าที่ตรงนี้ถูกต้องแล้ว ผมมีกำลังใจในการรบขึ้นมาอีกมาก Eagle ทั้งหลายปฏิบัติการถล่มภูผาทีต่อ
    จนตลอดเดือนกรกฎาคม รวมทั้งสิ้นกว่า 20 เที่ยวบิน เที่ยวบินละ 12 เครื่อง (T-28) รวม 240 เที่ยวบิน
    น้ำหนักอาวุธที่ใช้ไปประมาณ 200 ตัน ผลของการโจมตีภูผาที ก็มียอดเขาที่เรียบเหมือนหน้ากลองจริงๆ[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]
    ปัจจุบันนี้ ผมภูมิใจที่ประเทศไทยรอดพ้นจากลัทธิคอมมิวนิสต์
    รักษาพระพุทธศาสนาคู่ไทยต่อไปได้มาถึงปัจจุบันนี้
    และจะไม่ยอมให้ลัทธิ หรือศาสนาใดมาล่วงเกินประเทศชาติของผมอีก
    ขอเอาชีวิตเป็นเดิมพันเช่นกันกับอดีตที่ผ่านมา[/FONT]
     
  6. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    HISTORICAL BACKGROUND OF UNKNOWN SOLDIERS <TABLE class=contentpaneopen><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left width="70%" colSpan=2></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=left colSpan=2>
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]If the Kingdom of Siam endures[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]We will be likely to survive[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]If the Kingdom collapses – how are we going to live[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]We are likely to be annihilated – to the last of Thai Nati[/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]At the end of the War in Southeast Asia in 2488 B.E., situation in Indochina adjacent to Thailand [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]progressively flared up. This is particularly true in Laos where King Srisawangwong and majority[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]of the Laotian Royal Family cooperated with the French by declaring the City of Luangprabang [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]be annexed to France. This move was opposed by the Crown Prince Maha Uparaja of [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]the Kingdom of Laos. He in turn set up the state of the northern and southern empire independent [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]from the French. At the same time he proclaimed himself to be the prime minister together with [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]Prince Supanuwong, Prince Phuminorsawan and several other high-ranking officials as [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]cabinet members.[/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]Not accepting the splinter movement of Prince Maha Uparaja, the French, with assistance[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]of Prince Boonumm Na Jampasak’s underground partisans, seized Vientiane and Luangprabang[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]by force. On April 23, 2488 B.E., the French restored sovereignty back to King Srisawangwong[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]and relieved Prince Maha Uparaja from all of his appointments. This action resulted making [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]Prince Maha Uparaja the leader of the exile government and escape the prosecution to Thailand. [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]The exile government then installed Phaya Kamtao as the prime minister. The armed forces were[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]under the command of Prince Supanuwong, Prince Suwanaphuma and Prince Somsanit.[/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]On the political side, not long after the reinstatement of King Sawangwong, The French established[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]the new government with Prince Boonumm Na Jampasak as the prime minister. Lao remained [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]a kingdom under the French colonial federation. [/FONT][FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]This turn of event caused a wide-spread discontent. [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]Prince Supanuwong, the group of Lao Issara, and several hill tribes in Pongsalee and Samnua Districts[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]banded together to form the Prated Lao Movement. This Movement was joined by the Viet Minh in [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]the struggle against the French. [/FONT][FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]While the Laotian was busy with establishment of the government,[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]movement in Vietnam to oppose the French progressively turned violent. Viet Minh or League for [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]the Independence of Vietnam, with Ho Chi Minh as its leaderand external support, was determined [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]to expel the French from Indochina. The final objective was to restore an independent Vietnam[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]by unifying the North and the South together.[/FONT][FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif] Turning to Cambodia. While increasingly leaning toward[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]the Communist China, the government of Cambodia was openly hostile to Thailand and the United States.[/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]Logistical support to the North Vietnamese Army (NVA) was allowed to pass through Lao [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]and Cambodia, along the HO Chin Minh trails, to the battle grounds in South Vietnam. In addition, [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]Cambodia ignored the presence of Viet Cong (VC) sanctuaries inside its territories used as safe [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]heaven to raid into South Vietnam. There were possibly two reasons for such decision of Cambodia[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]to render support to the Communist army – to minimize the danger from the VC which at that time [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]showed strong tendency for victory in both Lao and South Vietnam. The second reason could [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]stemmed from the misunderstanding that Thailand was interfering with its internal affairs by [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]encouraging Mr. Shan Ngoc Thanh and Mr. Sum Waree to overthrow the Sihanou Government. [/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]The Cambodian Government also accused Thailand of propping up and supporting the Free Khmer[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]Army which was allegedly trying to bring down the Throne. [/FONT][FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]Internal conflicts in Indochina created [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]strong distrust between Thailand and neighboring countries. The Government of Thailand at the time[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]revoked the anti-communist royal decree in exchange with the membership of the United Nations. [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]But such action only benefited the Communist Party of Thailand (CPT). The CPT was able to[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]expand its activities rapidly. The second Party Congress was held on December 1, 2494 B.E. [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]The CPT’s effort to pursue changes through peaceful means was declared abandoned during [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]this Party Congress. Armed struggle was adopted to destabilize economy of the country. [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]Armed insurgency became more frequent with the aims to destroy morale and motivation of [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]the populace. Facing with the dilemma, the Thai Government had no choice but reintroduce [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]the anti-communist law on November 10, 2495 B.E. This Law stipulated 2-prong policy as follow:[/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]To oppose and to suppress the communist ourselves by organizing and training independent units. [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]Larger formation combined force was to be organized as necessary but must possessed the capacity [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]to operate independently. Anti-guerilla warfare was to be emphasized.[/FONT][FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif] To fight jointly with [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]the United Nations. Combined forces of larger formation were to be organized and trained ready [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]to deploy as necessity and opportunity dictated.[/FONT][FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif] In order to ready the Armed Forces for the threat [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]of communist expansion, the Royal Thai Army (RTA) was also reorganized. For example, [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]some combat armed personnel were assigned into cavalry brigades and anti-aircraft artillery brigades.[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]Infantry units were reorganized into regimental combat teams. Several infantry and cavalry battalions [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]were formed as part of force expansion program. During this period, the Untied States assisted [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]Thailand with new equipment and weapon systems. As the result, the Royal Thai Armed Forces [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]was able to widely transform into the more modern fighting forces. U.S.-made weapons and [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]equipment were introduced to replace old and obsolete ones.[/FONT][FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif] Modernization of the Armed Forces [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]did not only confine to combat elements, but military education systems were also upgraded in [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]order to suit the new weapons being commissioned during this period. Beginning in 2491 B.E.,[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]new curriculums, patterned after those of the United States Military Academy (West Point), [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]were introduced in the Chulachomklao Royal Military Academy (CRMA). [/FONT][FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]While the smoke of war[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]covered neighboring countries, Thailand prepared itself for the defense of the nation. The French was[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]defeated by Ho Chin Minh’s army when Dien Bien Phu was successfully attacked and seized by [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]the communist side. In Laos, combined forces from Pathed Lao Movement and Viet Minh were [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]able to take over all major towns and cities of Vientiane, Sawanaket, Salawin, and Pakse. [/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]Communist expansion in Indochina clearly and increasingly affected Thailand’s security. Laos was [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]of particular concern. The country was fragmented into 3 groups – Prince Suwannaphuma faction [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]who claimed to be neutral, the right-leaning faction of Tao Kumphui Chananikorn, and the communist[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]faction of Prince Supanuwong. Thailand had no choice but to ready the country for the defense of[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]the Laotian borders.[/FONT][FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif] Meanwhile, the United States began to play mediation role by inviting the 3[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]factions to sign a peace accord in Geneva. A coalition government was set up with Prince Suwannaphuma[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]as the prime minister. This effort however did not settle the situation in Laos. Pathed Lao movement[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]changed its name to Lao Patriotic Front in order to comply with the existing laws and began to play [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]political roles. This action was opposed by the right-leaning politicians. Military element began to put[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]pressure on Prince Suwannaphuma to resign from premiership. General election was held in 2501 B.E. [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]in which the right–leaning faction won the absolute majority. Prince Somsanit was going to be appointed [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]as the next prime minister. But before the new government took office, a coup d'état, led by [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]Captain Konglae Weerasan, was staged and Prince Suwannaphuma was brought back and prime minister. [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]This turn of event too did not last long General Phumee Norsawan and Prince Boonumm led forces to[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]seize Vientiane. Prince Suwannaphuma had to escape and went into exile in Cambodia. Konglae [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]withdrew to the north and banded with Prated Lao Movement to continue to struggle with [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]Prince Boonumm’s government.[/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]As it turned out, this particular chapter of Laotian history was that of internal civil war between[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]communist supported Prince suwannaphuma on one side and Prince Boonumm, supported by[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]the free world, on the other side. This conflict finally led to another Geneva Convention in [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]May 2505 B.E. Fourteen nations, including Thailand and Indochinese countries, were invited to[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]participate. This Convention resulted in setting up of yet another neutral-coalition government [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]consisting of 3 sides. On the right side was Prince Boonumm supported by the national army. [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]In the center was Prince Suwannaphuma supported by General Konglae’s force in Tung Haihin.[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]Finally, on the left side was Prince Supanuwong supported by force of Prated Lao Movement in [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]Pongsalee and Sumnua. All these efforts were very much futile as fighting and division continued [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]which led to more coup d'état.[/FONT][FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif] Military situation in Laos during 2504 B.E. – 2505 B.E. [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]adversely affected Thailand’s security. The RTA was compelled to follow the situation in Laos closely. [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]Accurate intelligence was needed in order to prepare for defense contingencies. For this reason, [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]the RTA deployed personnel along the Laotian border. At the same time, preparations were made [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]for prompt and appropriate actions in case border intrusion. Any Laotian faction force that violated[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]Thailand’s border sovereignty was disarmed immediately.[/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]As situation in Laos worsened, the Laotian Government decided to ask for assistance from Thailand. [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]Field Marshal Sarit Thanaraj, political leaders, and military leaders all agreed that threat to the nation[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]would be more imminent if nothing was done. In 2504 B.E., Thailand began to send expeditionary[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]force to Laos to carry out guerilla warfare. Another objective was to halt the communist threat [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]before it reached Thailand’s border.[/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]TASK FORCE 333 (HQ 333) PROJECT[/FONT] [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]AND [/FONT][FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]TURNS OF EVENT IN LAOS[/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]Task Force 333 (TF 333) or HQ 333 came into existence in 2504 B.E., the same year as[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]the establishment of RTA’s Tactical Operations Center (RTA TOC). TF 333 was organized[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]to be under operational control RTA TOC’s Project 309. The base command was located [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]on Makkang Road, Muang District, Udorn Province. Its mission was concerned with security[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]situation in Laos and the communist threat in that country. In addition, there was a strong belief [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]in Domino Theory in Thailand at the time. It was widely afraid that once Laos fell to the communist[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]take over, Thailand would be next.[/FONT][FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif] TF 333 organized and sent forces to operate in the third country [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]from the beginning of its existence. Personnel were recruited from the Army, Navy, and the Air Force[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]as well as police and volunteers. Later, TF 333 was changed to Combined Task Force 333 (CTF 333).[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]It had been organized into both large and small formations according to missions. Political intelligence units[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]and teams were assigned to close in and help facilitate Laotian’s high ranking officials. In addition, [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]there were teams of general intelligence, political, and surveillance of Ho chin Minh trials and remote areas. Operational units consisted of communication, SR (artillery) and air operations (fire fly). Combat elements[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]were rangers, forward air-ground units. There were also foreign units such as SKY, close air support units, [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]Air America. Aerial support came for B-52 and Phantom based in Sattaheap and Udorn Thani.[/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]Many of these and other supporting units were funded by the Central Intelligence Agency (CIA).[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]CTF 333 sought intelligence and trained Laotians in special operation and para-military to counter [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]the communists. Battlefield in Laos was an important part of Indochinese theater. Despite this part of[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]the region was hardly mentioned during the conflict, events did occurred in which the world could not [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]denied. Actions taken by CTF 333 were the combined operations of Laos, Thailand and United States. [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]Laotian participation was under the direction of Prince Suwannaphuma who was then the prime minister[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]and General Auen who at the time was the supreme commander. On the U.S. side, the CIA carried out[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]covert operations. Fighting in Laos was largely unconventional and classified top secret. [/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]Those who soldiered in Laos did so without revealing the nature of his or her operations to anyone. [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]In fact, each participant of this secret war knew only his or her own responsibility. He or she must be[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]ready to face dangers and to complete mission best way possible.[/FONT][FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif] Facing with battlefield isolation [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]and deletion of names from official roster, Thai soldiers in Laos had to endure all sort of difficulties. [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]Those in leader position must learn to integrate military operations with political works. Every effort[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]had to be kept secret. Operating budget and compensation for personnel were under the responsibility[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]of the U.S. Government.[/FONT][FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif] Situation change in Laos occurred at any time. Despite the agreement for [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]the Kingdom to stay neutral - governed by the 3 factions, Prated Lao Movement did not cooperate [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]with the others. This led to serious rifts and armed conflicts. The effort to placate the disagreement [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]among them by staging the conference in Tung Haihin in April 2506 B.E. failed miserably. [/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]On April 19, 2507 B.E., General Kupasid Apai led yet another coup d'état and seized Vientiane.[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]However, venues for the Thai Military were not all blocked. The military take over by General Kupasid [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]was not recognized by both the free world and the communist sides. This had forced General Kupasid [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]and his ally to invite Prince Suwannaphuma to, once again, become the prime minister.[/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]Relationship among various groups with vested interests in Laos began to improve to some extent. [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]Majority of Thai military and political operations started to achieve the objectives.[/FONT][FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif] Situation in Laos[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]deteriorated again during the later part of [/FONT][FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]2508 B.E. This was particularly the case in the 3 main [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]battlefields of Chaiyaburi, Pakse, and Longchang. In these area, fighting took place all year around [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]between the “Hmong” soldiers of General Vangpao, the Laotian government main force, [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]and the communists. Vangpao was a natural-born guerilla fighter. Thai military personnel only played[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]the role of cadre to train the Hmongs to fight with the Vietcong and communist Lao army.[/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]In October, 2512 B.E., situation in Laos took turn for the worse. Hmong force of General Vangpao[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]could not resist the communist offensives by themselves. Supported by the main force of Viet Minh[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]or the North Vietnamese Army (NVA), Prated Lao force was able to seize most of the key terrain. [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]Situation in the area of Samthong and Longchang was most critical during the first quarter of 2513 B.E. [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]Because of the seriousness of the situation, Prince Suwannaphuma came to Thailand to request[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]the Thai government to send volunteers to help in fighting and to prevent the communist take over. [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]SKY Unit of the CIA would render support. The Royal Thai Government (RTG) decided to sent[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]the contingent for the 13<SUP>th [/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]Regimental Combat Team (RCT), based in Udorn, to help. The operation had the code name of [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]“Project VP” in honor of General Vangpao. Thailand’s main objective was to stop the communist expansion[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]away from the border with Laos. As it turned out, five months into the operation starting in March 2513 B.E.,[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]situation in Laos showed no sign of improvement. Instead, it had all the indications of further deterioration. [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]Thailand, therefore, decided to use the Ranger Force to halt the communist advance in Laos. HQ 333 was tasked[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]with command and control of this Force in the field. The whole project was carried out with close coordination [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]among personnel of the RTG and the USG. </SUP>[/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]The Ranger Force was an effective all-volunteer fighting force. It was established with the main [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]purpose of repelling the communist invasion of Laos. Its organization consisted of 3 infantry [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]regiments and 36 Ranger battalions (approx. 500 each battalion). Supporting elements consisted [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]of 3 artillery battalions of 155/105 millimeter howitzer. Each Ranger unit, from squad to battalion level, [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]had regular army personnel as cadres and to facilitate command and control. The organization was [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]similar to that of Thai infantry battalion. In addition, each battalion was provided with a forward [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]air ground (FAG) in order to coordinate the aerial support. All weapons and equipment, supplies, [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]evacuation (medical or otherwise), and personnel salaries came from the USG. [/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]In the end, forces from Thailand failed to stop the communist advance into Laos. [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]This was because situation in the country had both military dimension and political dimension. [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]Particularly, political dimension played major roles in determining the end results in Indochina. [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]Even the United States itself was not spared from political chaos concerning Indochina conflict.[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]By the end of 2515 to the beginning of 2516 B.E., an agreement was reached for Laos to set up [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]the coalition government. Ceasefire and withdrawal of combat forces from battlefronts were also[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]agreed by all sides. This in effect terminated the Thai contingent’s mission in Laos. However, bringing[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]the Ranger force home was delayed by the violations of ceasefire. In fact the withdrawal was not[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]completed until 2517 B.E.[/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]By all counts, Thai military operations in Laos were covert in nature. All regular army personnel [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]volunteered to sign letters of resignation before being deployed. They also gave up the right to[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]compensation should they were killed or wounded in action. Figures of loss for the Ranger Forces[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]between January 2514 B.E. to April 2517 B.E.were as follow:[/FONT][FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif] Killed in action 1944[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]Missing in action 538[/FONT][FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif] Total 2482[/FONT][FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif] Handicapped 1047[/FONT][FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif] Captured 215[/FONT][FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif] Overall total 3744[/FONT]

    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]Percentage of total number of force deployed (30,000)[/FONT][FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif] KIA 8.7 %[/FONT][FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif] Total loss 13.1 %[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]From the total numbers of KIA and MIA of 2482, recovery of remains of those who perished[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]in action is still sketchy. Therefore it is imperative that effort should be made to find these remains[/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]as many as possible. Information from those who participated in the operations as well as units’ [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]records can be helpful.[/FONT][FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif] Legally, these unknown soldiers have no claim in proof or [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]justification of their actions because of the secrecy surrounding original units’ records. [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]But in actuality, events in Laos did occur and these men’s actions are commendable. [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]The armed conflict in Laos has long been settled and old soldiers who took part in it are slowly [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]fading away. But tales of their sacrifices in the name of unknown soldiers are very much vivid [/FONT]
    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]in our memories today.[/FONT]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กรกฎาคม 2012
  7. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    บทความ เสือพราน เทพ333 กับทหารรับจ้างไทย ในลาว

    การยึดซำเหนือของขบวนการปเทดลาว และชัยชนะของพูมี หน่อสวรรค์ในการยึดครองเวียงจัน อาจจะทำให้ความวุ่นวายทางการเมืองแบบในเมืองจบลง

    แต่มันเป็นจุดเริ่มต้นของความวุ่นวายและหายนะบนสนามรบแทน

    และหลังจากเหตุการณ์นี้ สงครามกลางเมืองในลาวที่ดุเดือดและเป็นสมรถภูมิรบที่โหดเหี้ยมไม่แพ้สมรภูมิอื่นใดในโลกที่ผ่านมา ก็เกิดขึ้นอย่างเต็มรูปแบบ


    บทความ เนื้อเรื่อง หรือ คำอธิบาย โดยละเอียด
    <TABLE><TBODY><TR><TD>ซีไอเอ เจ้ากี้เจ้าการใหญ่ ใช้เครดิตจากการเอาชนะทางทหารต่อลาวแดง ยึดอำนาจการตัดสินใจแก้ปัญหาในลาว แทนฝ่ายกระทรวงการต่างประเทศอเมริกันโดยสิ้นเชิง

    ซึ่งรูปธรรมที่เกิดขึ้นคือ HQ333 ตึกสีขาวรูปทรงธรรมดา แถวสนามบินอุดรฯ

    แต่นี่คือสำนักงานที่ชี้ชะตาสมรภูมิตัวแทนสงครามเย็นแห่งยุคสมัย

    ผู้ชี้ชะตาทั้งลาว ไทย สหรัฐฯ เวียดนามเหนือและการปลดปล่อยเวียดนามใต้ จีนแดง และสหภาพโซเวียต

    ไม่นับรวมบริวารของเหล่ามหาอำนาจที่วนๆ เวียนๆ เข้ามาจิกกินซากศพทหารและเศษดอลล่าร์อีกนับไม่ถ้วน

    และเมื่อมีผู้อนุเคราะห์เปิดตัวนายพลวังเปา คีย์แมนด้านการรบในสงครามเลือดในลาวไปแล้ว ก็ต้องขอลัดตัดตรงมาที่ขุนพลฝ่ายไทยกันบ้าง

    แน่นอนครับ พล.ท.วิฑูรย์ ยะสวัสดิ์ ที่ในขณะนั้น คนวงนอกรู้จักแต่ เทพ 333 เจ้าของลายเซ็น Dhep และชื่อจัดตั้ง เทพ จิตรเดช
    การเข้าไปแทรกแซงทางการทหารในประเทศลาว เริ่มขึ้นมาตั้งแต่สมัยของจอมพล ส.ที่นอกจากจะสนับสนุนด้วยกำลังทหารจากฝั่งไทยโดยเปิดเผยแล้ว ในระยะเริ่มแรกเขายังส่งทหารหน่วยรบพิเศษ แทรกซึมเข้าไปหาข่าว และให้การช่วยเหลือกองทัพสหรัฐฯในการรบในสงครามเวียดนาม ซึ่งกินพื้นที่เข้ามาในดินแดนลาวอีกด้วย

    หลังจากนั้น ก็เป็นภารกิจของการเป็นครูฝึกทหารให้กับชาวม้ง เพื่อใช้เป็นกำลังรบหลักกับทหารลาวแดง เพราะลึกๆ แล้ว ทหารรัฐบาลกับทหารแนวลาวรักชาติ คือลาวลุ่มเหมือนกัน

    ดังนั้น หากหลีกเลี่ยงได้ ก็มักจะไม่อยากที่จะเข้ารบต่อตีกันเป็นเรื่องเป็นราวเท่าไรนัก

    ผิดกับพวกม้ง ที่เป็นพวกชนกลุ่มน้อยได้รับการเหยียดหยาม และด้อยภิสิทธิ์ในแผ่นดินเกิดของตัวเองมาตลอด

    พวกนี้มักจะสู้ขาดใจและไม่ค่อยยอมกัน เนื่องจากมีเรื่องของเชื้อชาติเข้ามาด้วย

    ภายหลังการตกลงกันที่ซูริกจบลงได้ เพราะกองผสมไทย ลาวขวา ม้ง และกองพล 93 จากรัฐฉานที่ซีไอเออุปถัมภ์อยู่ พ่ายแพ้แก่กองทหารขบวนการปเทดลาว ที่หลวงน้ำทา เนื่องจากปัญหาของชัยภูมิและการสนับสนุนทางการทหารของเวียดมินห์นับหมื่น ๆ คน ทำให้ซีไอเอต้องปรับกลยุทธใหม่ ภายหลังการตกลงยอมลงนามในสัญญาสันติภาพ ที่ให้ประเทศลาวเป็นกลาง ไม่ถูกแทรกแซงจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แล้ว

    สิ่งที่ซีไอเอ เร่งทำเป็นอันดับแรกคือเพิ่มขนาดของกองทัพรัฐบาลฝ่ายขวาที่ขึ้นกับนายพลพูมี และเจ้าบุญอุ้ม จาก 2 หมื่นกว่าคน เป็น 6 หมื่นกว่าคน

    ทั้งนี้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณและอาวุธจากซีไอเอ เนื่องจากด้วยข้อตกลงที่ซูริก ทำให้สหรัฐฯเข้าไปทำสงครามอย่างเป็นทางการในลาวไม่ได้ (ไม่อยากทำด้วยแหละ)

    งบประมาณในส่วนนี้บริหารโดยซีไอเอ โดยมีกองบัญชาการใหญ่อยู่ที่ อุดรฯที่เรียกว่า HQ333

    ส่วนเงินนั้นมาจากหลากหลายที่ รวมทั้งการค้าฝิ่นดิบ ที่ทางนายพลอ้วน ราทิกุล ผบ.สส.ของลาวในขณะนั้น ทำอย่างเปิดเผยจนสภาครองเกรสรับไม่ได้ ต้องปรามๆ ให้เบาๆ หน่อย

    ทางด้านการฝึกทหาร ก็ได้รับการสนับสนุนจากตชด.และหน่วยรบพิเศษของไทย ที่เคยให้การสนับสนุนทหารลาวฝ่ายขวามาตลอด

    การตัดสินใจของรัฐบาลไทยในการส่งทหารเข้าไปรบในลาว เกิดขึ้นเนื่องจากทฤษฎีโดมีโน ที่เชื่อว่าหากอินโดจีนเป็นคอมมิวนิสต์แล้ว ไทยก็ยากที่จะพ้นมือไปได้

    ซึ่งสิ่งเหล่านี้สอดคล้องกับหลักการในการป้องกันประเทศของไทยที่เปลี่ยนแปลงมาหลังเสียกรุงศรีอยุธยา

    นั่นคือ ต้องออกไปรบนอกบ้าน ไม่ใช่ปิดประตูเมืองปล่อยให้ข้าศึกมาล้อมรอน้ำหลากหมือนอยุธยาอีกแล้ว

    และนายทหารที่รัฐบาลไทยเลือกที่จะส่งไปทำหน้าที่บัญชาการกองกำลังเสือพราน เพื่อประสานงานกับกองกำลังชาวม้งของวังเปา ก็คือนายทหารยศพันโทที่ชื่อวิฑูรย์ ยะสวัสดิ์

    เด็กชายวิฑูรย์ ยะสวสัดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 6 กรกฏาคม 2468 ที่ตำบลบ้านใหม่ ตลาดล่าง อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา

    จบการศึกษาชั้นประถมปีที่ 3 โรงเรียนครูเฮงในตัวอำเภอ ก่อนจะเข้าเรียนต่อที่โรงเรียนชื่อดังประจำจังหวัด "เบญจมาราชรังสฤษดิ์" และเข้าเรียนโรงเรียนเตรียมทหารบก เมื่อปี 2483 นับรุ่นได้เป็นรุ่นที่ 3

    หลังจากนั้นจึงเรียนต่อในโรงเรียนเทคนิคทหารบก รุ่นที่ 9 ในปี 2485 ก่อนจะออกไปรับราชการในสังกัดทหารเหล่าช่าง แล้วไปเรียนโรงเรียนเสนาธิการทหารบกในปี 2498 จากนั้นได้ไปเรียนต่อที่โรงเรียนเสนาธิการทหารสหรัฐในปี 2506

    และเมื่อกลับมาถึงเมืองไทย เขาก็ได้รับข้อเสนอให้ไปนำทัพคุมกองกำลังเสือพรานในสมรภูมิลาวทันที
    ก่อนจะเข้าสมรภูมิรบในลาว ต้องทำความเข้าใจสถานภาพของสนามรบแห่งนี้ก่อนว่ามีความซับซ้อนซ่อนเงื่อนอยู่หลายประการ

    เอาคู่รบหลักก่อน

    เวียดนามเหนือ ด้วยเป้าหมายที่จะปลดปล่อยประเทศเวียดนามออกจากการเป็นอาณานิคม โดยเริ่มจากพื้นที่ห่างไกลทางเหนือ ที่เป็นเขตปลอดทหารภายหลังการถอนตัวไปของทหารญี่ปุ่น เพราะจากข้อตกลงแบ่งดินแดนปลดอาวุธ ทางตอนเหนือของเวียดนามอยู่ในอำนาจหน้าที่ของทหารจีนฝ่ายเจียงไคเช็ค

    แต่เมื่อต้องเผชิญกับสงครามกลางเมืองกับเหมาเจ๋อตุง เจียงจึงเลือกที่จะดึงกองทหารกลับแผ่นดินใหญ่มากกว่าที่จะสนใจในภาระหน้าที่ระดับชาติที่สัมพันธมิตรกำหนดไว้ให้

    ขณะที่อังกฤษเองก็มีอำนาจควบคุมดูแลได้เฉพาะทางตอนใต้ ทำให้โวเวียนเกี๊ยป มือขวาทางการทหารของโฮจิมินห์สามารถจัดตั้งกองทหารเวียดมินห์เพื่อการปลดแอกได้ถึง 2 หมื่นคน และเริ่มทำสงครามกับมหาอำนาจทุกรายที่เรียงหน้าเข้ามาในขณะนั้น

    ด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ของประเทศเวียดนามที่ทอดยาวเลียบมหาสมุทร ทำให้การปิดกั้นการลำเลียงทหารและเสบียงลงไปทางใต้เป็นไปอย่างง่ายดาย เพราะพื้นที่ที่เล็กแคบ ง่ายต่อการปิดกั้น

    เวียดนามเหนือจึงไม่มีทางเลือกที่จะต้องสร้างเส้นทางใหม่เพื่อใช้ในการลำเลียงส่งกำลังลงไปตีไซ่ง่อน เลาะเข้าไปในดินแดนลาวอันกว้างใหญ่ไพศาลและเต็มไปด้วยป่ารกทึบยากต่อการตรวจค้นหา ก่อนจะวกกลับเข้าไซง่อนอีกทีแถวชายแดนเขมรใกล้พนมเปญ

    การใช้ "โฮจิมินห์ เทรล" ของเวียดนามเหนือเป็นชนวนสำคัญที่ทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นทั้งในลาวและกัมพูชา เพราะการสร้าง คุ้มกัน และซ่อมแซมเส้นทางสายหลักในการส่งกำลังบำรุงนี้ทำให้ต้องมีทหารเวียดมินห์นับหมื่น ๆ คนเข้าทำการสู้รบเพื่อป้องกันเส้นทาง

    ไม่รวมชาวบ้านอีกนับแสนคนที่ต้องออกมาซ่อมบำรุงทางภายหลังการทิ้งระเบิด

    ดังนั้น เวียดมินห์จึงจำเป็นจะต้องสนับสนุนขบวนการปเทดลาว เพื่อให้เป็นพันธมิตรในการคุ้มกันเส้นทางลำเลียงนี้ พร้อมกับผลพลอยได้ หากแนวลาวรักชาติปลดแอกได้ ก็จะทำให้เวียดนามมีเพื่อนบ้านที่ไว้ใจได้อีกแห่งหนึ่ง

    สหรัฐฯเองนั้นตระหนักดีว่า ลาว ไม่มีความสำคัญมากพอที่จะทุ่มเทสรรพกำลังเข้าไปเพื่อยึดครองหรือทำสงครามกับประเทศนี้เหมือนกับที่ทำกับเวียดนาม

    แต่ขณะเดียวกัน การปล่อยให้เวียดมินห์ใช้พื้นที่เคลื่อนไหวในแดนลาวอย่างเสรี ก็ไม่เป็นผลดีต่อการทำศึกของตนในเวียดนามเหมือนกัน

    เพราะขณะการขนระเบิดไปทิ้งในโฮจิมินห์ เทรล ราวกับทำจากใบไม้ใบหญ้า จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง

    และแน่นอน เพื่อหาเป้าหมายให้กับเครื่องบินได้ดีที่สุด สถานีเรดาห์ควรจะตั้งอยู่ในแผ่นดินลาว

    ไทย มี 2 ประเด็น สำหรับการเอาตัวไปคลุกฝุ่นในลาว อย่างที่ 1 แน่นอนยุทธศาสตร์หลักในการป้องกันชาติ คือออกไปรบนอกบ้าน ดีกว่ามารบในแผ่นดินตัวเอง

    นี่คือเหตุผลที่ พล.ท.วิฑูรย์ ใช้ด่าวุฒิสมาชิกอเมริกันที่ดั้นด้นไปดูข้อเท็จจริงในแผ่นดินลาว และดันไปเรียกเสือพรานจากลุ่มเจ้าพระยาว่าเป็นทหารรับจ้าง ซึ่งพล.ท.วิฑูรย์บอกว่า ไม่มีใครเพราะค่าจ้างเดือนละ 4 พันบาท เพื่อมาตายที่นี่หรอก แต่เพราะข้ามแม่น้ำนี้ไปคือแผ่นดินไทย เพราะขณะ นี่คือแนวรบที่ต้องชนะก่อนที่ศึกจะข้ามโขงไปฝั่งโน้น

    อีกเหตุผลนึง ปฎิเสธไม่ได้ว่า รัฐบาลทหารของไทยที่ขึ้นมามีอำนาจภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งคงจะเป็นฟาสซิสต์เจ้าเดียวที่กลับมาครองอำนาจได้อย่าง จอมพล ป. ถ้าไม่ใช่เพราะสหรัฐฯเปลี่ยนแนวการสนับสนุนเพื่อป้องกันนโยบายปรีดีจะขยายไปสู่อินโดจีนมากขึ้น

    เพราะขณะ จึงจำเป็นอยู่เองที่ต้องต่างตอบแทนบุญคุณอันนี้ ด้วยการเดินตามอเมริกันเข้าไปรบในอินโดจีนทั้ง 3 แผ่นดิน

    อ้อ แล้วอย่าลืมเกาหลีที่แม้แต่อเมริกันยังแปลกใจว่าเหตุใดจึงตอบสนองความต้องการพันธมิตรได้อย่างรวดเร็วและรุนแรงเช่นนั้น

    เกินกว่าที่อเมริกันคาดหวังไว้เสียอีก อีกประการนึง คือ สถานการณ์ในลาวไม่เหมือนกับเวียดนาม เพราะสหรัฐฯไปพ่ายศึกหลวงน้ำทา ทำให้ต้องร่วมลงนามสัญญาซูริก ที่ระบุให้ทหารต่างชาติถอนตัวออกจากการสนับสนุนลาวทั้งหมด ไม่ว่าฝ่ายไหนก็ตาม

    การรบในลาวจึงเป็นการรบด้วยเงาของทั้งฝ่ายโลกคอมมิวนิสต์และโลกเสรีจริงๆ

    ผิดกับเวียดนาม ที่แค่เอาเรือไปล่อๆ ให้เวียดนามเหนือยิงเรือแมดดอกเข้าโป้งเดียว ก็มีข้ออ้างที่จะประกาศสงครามแล้ว
    เข้าสู่สมรภูมิ

    อ้อ เกือบลืม อีกนิดนึง เสือพรานหรือทหารรับจ้างไทยที่เข้าไปรบในลาวนั้น แบ่งเป็น 2 อย่างนะครับ พวกทหารเดินดินก็พวกนึง อีกพวกนึงที่มีบทบาทมาก และขาดไม่ได้ที่จะต้องเอ่ยถึงคือพวกครวจการณ์หน้า กับนักบิน T 28 ที่พวกนี้จะต้องเอาพวกที่มีความรู้หน่อย โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ เพื่อประสานงานกับพวกที่ปรึกษาทางทหารอเมริกันในการตรวจสอบตำบลกระสุนตก เพื่อปรับทิศปืนใหญ่ และเป้าหมายในการบินทิ้งระเบิด

    ส่วนพวกนักบินนั้น เนื่องจากภูมิประเทศของลาว เป็นป่าไม้และภูเขาสูง การใช้เครื่องบินไอพ่นความเร็วสูงไม่ค่อยได้ผล เพราะบินเร็วเกินไป

    เครื่องบินใบพัดแบบ T28 จึงมีบทบาทสูง เพราะมีความเร็วต่ำ โฉบยิงได้ง่าย ไม่เร็วปรู๊ดปร๊าดจนเลยเป้าหมาย

    แถมยังหานักบินได้ง่ายกว่านักบินเครื่องบินไอพ่นเยอะ

    ที่ทำแบบนี้ได้ เพราะฝ่ายขบวนการปเทดลาว หรือเวียดมินห์นั้น ไม่ค่อยมีเครื่องบินเข้าต่อกรสักเท่าไร ในเวียดนามอาจจะเห็นมิกขึ้นมาโฉบเฉี่ยวบ้าง แต่ในลาวนั้น เรียกได้ว่าไม่มีเลย

    ที่จะต้องระวังก็เห็นจะเป็นแค่ปืนต่อสู้อากาศยาน เมด อิน ไชน่า ยุคเริ่มต้น ที่คุ้มดีคุ้มร้ายอยู่บ้าง

    แต่กระนั้นก็สอยเครื่องบินอเมริกันลงมาได้อย่างน่าภาคภูมิใจไม่น้อยเหมือนกัน
    เข้าสมรภูมิกันเลยครับ

    ฝ่ายขบวนการปเทดลาวที่ประกอบด้วยทหารฝ่ายซ้าย นำโดยกองพันที่ 2 ที่แยกตัวหนีออกมาจากเวียงจันตั้งแต่ครั้งแรก และกองทหารอาสาสมัครเวียดนาม (ภาษาอย่างเป็นทางการที่รัฐบาลลาวปัจจุบันใช้ในหนังสือประวัติศาสตร์กองทัพปฏิวัติ เพราะเมื่อก่อนนี้จะปฎิเสธตลอดมาว่าไม่มีทหารเวียดนามเข้าร่วมสู้รบด้วย)

    ยุทธการแรกที่ฝ่ายขบวนการปเทดลาวเปิดขึ้น คือ ศึกฤดูแล้งปี 1960 - 1961 (ต้องเข้าใจนะครับว่า ทหารเวียดนามและขบวนการปเทดลาวนั้น มีศักยภาพในการส่งกำลังบำรุงจำกัด สามารถลำเลียงทหารและยุทภัณฑ์ได้เฉพาะฤดูแล้ง เพราะต้องขนกันบนดินอย่างเดียว ผิดกับฝ่ายอเมริกันที่หน้าฝนก็ขนได้

    เพราะขณะการศึกในลาว ตั้งแต่ปี 1960 เป็นต้นมา ทั้ง 2 ฝ่ายจึงรบแบบผลักกันตีผลัดกันถอย ถ้อยทีถ้อยลองกำลังกัน

    พูดง่ายๆ คือ ถ้าเป็นหน้าแล้ง ฝ่ายขบวนการปเทดลาวก็โหมกำลังเข้ายึดพื้นที่สักทีนึง

    พอหน้าฝนฝ่ายซีไอเอและวังเปาก็ตีกลับยึดพื้นที่คืนอีกครั้งหนึง

    พอแล้งใหม่ก็วนกลับมาที่เดิม

    สมรภูมิก็วน ๆ อยู่ที่ปากซัน ทุ่งไหหิน ซำทอง วังเวียง โดยฝ่ายซ้ายมีเวียงไซ ที่เจาะเข้าไปในถ้ำ เป็นศูนย์บัญชาการ ส่วนฝ่ายขวาก็มีล่องแจ้ง เป็นที่ตั้ง บก.ทัพของวังเปา

    ฝ่ายกองทหารอาสาสมัครเวียดนามที่เข้าร่วมการรบในศึกแล้งแรกของปี 1960 นั้น ประกอบด้วยกองพันน้อยที่ 316 และกองพันน้อยเอกราช 923

    ส่วนกองกำลังฝ่ายปะเทดลาว ประกอบด้วย 3 กองพัน คือ กองพันน้อยที่ซำเหนือ กองพันน้อย 701 ที่พงสาลี กองร้อย 90 ที่เวียงไซ กองร้อยท้องถิ่นแขวงหลวงน้ำทา

    ศึกครั้งแรกนี้ฝ่ายปะเทดลาวมีชัยเหนือทหารของพูมี หน่อสวรรค์ ในการรบที่แขวงหัวพัน ทางทิศใต้ของพงสาลีและทิศเหนือของหลวงพระบาง ได้ถูกทำลายอย่างสิ้นเชิง

    เสียทหารทั้งที่ตายและถูกจับเป็นเชลยถึง 2 พันกว่าคน

    การรบของฝ่ายแทดลาวและอาสาสมัครเวียดนาม เป็นไปอย่างได้เปรียบตลอดทั้งปี 1960 -61 สามารถยึดครองพื้นที่ได้ถึง 2 ใน 3 ของดินแดนทั้งหมด โดยมีประชาชนในพื้นที่ยึดครองถึง 1 ใน 3 ของประชากรลาวทั้งประเทศ

    เมืองที่ฝ่ายลาวแดงยึดได้ เช่น วังเวียง กาสี ผาที เส้นทางหมายเลข 8 หมายเลข 12 และหมายเลข 9
    ทางฝ่ายลาวขวา เมื่อแพ้ศึกที่หลวงน้ำทาแล้วก็หันกลับมาปรับปรุงกองทัพกันขนานใหญ่ โดยสหรัฐฯนั้นได้เพิ่มจำนวน "ที่ปรึกษาทางการทหาร" เป็น 1,600 คน ทหารฟิลิปปินส์ จำนวน 400 คน ทหารของพูมีได้รับการจัดตั้งเพิ่มจาก 29,000 คน เป็น 56,000 คน จัดตั้งเป็น 31 กองพันน้อยเคลื่อนที่ 35 กองพันน้อย กองร้อยท้องถิ่นอีก 201 กอง กองร้อยปืนใหญ่ 17 กอง สนับสนุนด้วยเครื่องบินรบ 40 ลำ

    ทางฝ่ายปะเทดลาว ก็เพิ่มกำลังสู้รบตามไปด้วย โดยแบ่งเป็นกองทหารหลัก 4 กองพันน้อย

    ทหารท้องถิ่น 15 กองพันน้อย กองร้อยอิสระ 36 กอง และ 64 หมวด ทหารปืนใหญ่ 2 กองพันน้อย ปืนใหญ่ป้องกันอากาศ (ต่อสู้อากาศยาน) 3 กองพันน้อย ช่างแสง (สรรพาวุธ) 2 กองพันน้อย ยานเกราะ 3 กองร้อย

    โดยมีสมรภูมิต่อไปอยู่ที่เมืองสุย

    นอกจากนี้ยังมีทหารจากกองพล 93 มาเพิ่มอีก 4,000 คน และทหารพรานจากไทยอีก 3,500 คน

    หลังจากปรับปรุงกองกำลังเรียบร้อยแล้ว ทางพูมีก็เปิดแผนการ "ไชชะนะ" เพื่อเตรียมตีโต้กลับฝ่ายปะเทดลาว
    ภายหลังการพ่ายแพ้ที่หลวงน้ำทา จนสหรัฐฯเสียฟอร์มต้องลงนามเซ็นสัญญาหยุดยิง และรับประกันให้ลาวเป็นกลางที่ซูริกแล้ว ยุทธศาสตร์การป้องกันลาวของซีไอเอก็เปลี่ยนไป

    อย่างแรกคือกำลังรบหลักจากที่เคยพึ่งพูมี หน่อสวรรค์ (ภาษาลาวจริงๆ อย่างเป็นทางการของเขาจะใช้ตัว "พ" สะกดนะครับเพราะเขาไม่มี "ภ" แต่ที่ไทยเอา "ภ" มาสะกด เพราะใช้ในความหมายว่า "ภูเขา" เหมือนกัน) กับบรรดาเหล่าทหารลาวแต๊ๆ เห็นจะไม่เวิร์ก เพราะพวกนี้ลึกๆ แล้วเขาก็คนชาดเดียวกัน แถมบางหน่วย ไปเจอฤทธิ์ลมปากระดับแกนนำของฝ่ายซ้ายเข้าให้

    ย้ายข้างเฉยเลย

    ดังนั้น เมื่อซีไอเอ เข้ามาบัญชาการรบเปิดศึกแบบเต็มตัว จึงหันมาพึ่งกำลังรบหลักจากพวกม้งแทน โดยมีนายพลวังเปา (ลาวจะสะกดว่า วังปาว) เป็น ผบ.สส.

    ส่วนกำลังเสริมหรือที่ต้องใช้ในระดับคุณภาพหน่อย เช่นการประสานงานกับเจ้าหน้าที่ซีไอเอ หรือนักบิน ก็ใช้ทหารอาสาสมัครทหารพรานจากไทย โดยเฉพาะการรู้เห็นเป็นใจของรัฐบาลไทยในขณะนั้น (จอมพล ส. - ถนอม) ทำให้มีนายทหารระดับจบจาก จปร.ทยอยลาออกแบบรู้กัน ไปเป็นอาสาสมัครทหารพรานกันเป็นแถว

    ก็เหล่ารุ่น 5 - รุ่น 7 ที่กลับมาซัดกันต่อในเวทีการเมืองไทยนี่แหละครับ

    อยากรู้ว่าใคร ก็ลองไปหาหนังสือพิมพ์เมื่อสัก 15 ปีที่แล้วเป็นต้นไป มากางกะพื้นแล้วหลับตาเอานิ้วจิ้มลงไปเถอะครับ

    เจอชื่อไหนก็ชื่อนั้นแหละ พลาดอย่างมากไม่เกิน 10 เปอร์เซนต์ รับรองเคยผ่านสมรภูมิอินโดจีนมาแล้วทั้งนั้น

    จำนวนของทหารไทย อ้างอิงจากกระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯจะระบุจำนวนไว้ว่า ไทยส่งทหารเข้าไปในลาวตั้งแต่ปี 2504 เพื่อทำงานทั้งทางด้านการข่าวและการรบโดยตรง โดยเริ่มต้นที่ 13 กองพัน จนกระทั่งสิ้นสุดสงครามเมื่อปี 2518 มีจำนวนทหารไทยอยู่ในลาวประมาณ 15,000 - 20,000 คน

    ส่วนเรื่องการรบ ต้องบอกยังงี้ครับว่า หนังสือที่พูดถึงเรื่องนี้แบบเป็นภาษาไทย แทบไม่มีรายละเอียดการรบในช่วงนั้นไว้เลย จะมีบ้างก็เป็นบันทึกส่วนตัวของเหล่านายทหารคนสำคัญที่เข้าไปรบ เช่นของ พล.อ.แป้ง มาลากุล หรือ พล.ต.จำลอง

    แม้กระทั่งของ เทพ333 ยังแทบไม่มีข้อมูลอะไรเลย

    ทั้งนี้เข้าใจว่าคงเป็นเพราะราชการสงครามครั้งนั้นเป็นความลับ ต่างฝ่ายต่างไม่พูดความจริง

    ส่วนข้อเขียนอื่นๆ ก็มักจะออกมารูปของนิยาย ที่ก้ำกึ่งระหว่างข้อมูลจริงกับการประพันธ์ ก็ไม่รู้จะแยกออกตรงไหนได้

    ข้อมูลละเอียดที่
    http://www.geocities.com/hitler4wine/hitler/youngturk077.html


    http://www.youtube.com/watch?feature=player_detailpage&v=A0kOL5bewDw#t=25s
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 กรกฎาคม 2012
  8. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    ข้อมูลสนับสนุน

    ภาษาอังกฤษล้วนๆแต่มีประโยชน์นะสำหรับ ประวัติศาสตร์ อีกหน้านึ่งของประเทศที่น้อยคนจะรู้ครับ(deejai)(deejai)(deejai)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • aam62001.jpg
      aam62001.jpg
      ขนาดไฟล์:
      104.1 KB
      เปิดดู:
      192
    • aam62003.jpg
      aam62003.jpg
      ขนาดไฟล์:
      164.7 KB
      เปิดดู:
      157
    • aam62004.jpg
      aam62004.jpg
      ขนาดไฟล์:
      160 KB
      เปิดดู:
      120
    • aam62005.jpg
      aam62005.jpg
      ขนาดไฟล์:
      156.2 KB
      เปิดดู:
      123
    • aam62006.jpg
      aam62006.jpg
      ขนาดไฟล์:
      159.5 KB
      เปิดดู:
      117
    • aam62007.jpg
      aam62007.jpg
      ขนาดไฟล์:
      165.8 KB
      เปิดดู:
      135
    • aam62008.jpg
      aam62008.jpg
      ขนาดไฟล์:
      154.4 KB
      เปิดดู:
      148
    • aam62009.jpg
      aam62009.jpg
      ขนาดไฟล์:
      158.1 KB
      เปิดดู:
      139
    • aam62010.jpg
      aam62010.jpg
      ขนาดไฟล์:
      151.7 KB
      เปิดดู:
      127
    • aam62011.jpg
      aam62011.jpg
      ขนาดไฟล์:
      159.6 KB
      เปิดดู:
      154
    • aam62013.jpg
      aam62013.jpg
      ขนาดไฟล์:
      155.3 KB
      เปิดดู:
      152
    • aam62014.jpg
      aam62014.jpg
      ขนาดไฟล์:
      149.5 KB
      เปิดดู:
      148
    • aam62015.jpg
      aam62015.jpg
      ขนาดไฟล์:
      160.7 KB
      เปิดดู:
      130
    • aam62017.jpg
      aam62017.jpg
      ขนาดไฟล์:
      152.6 KB
      เปิดดู:
      125
    • aam62018.jpg
      aam62018.jpg
      ขนาดไฟล์:
      141.5 KB
      เปิดดู:
      182
    • aam62019.jpg
      aam62019.jpg
      ขนาดไฟล์:
      153.1 KB
      เปิดดู:
      136
  9. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    ข้อมูลสนับสนุนจ้า:z6
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • aam62013.jpg
      aam62013.jpg
      ขนาดไฟล์:
      155.3 KB
      เปิดดู:
      112
    • aam62014.jpg
      aam62014.jpg
      ขนาดไฟล์:
      149.5 KB
      เปิดดู:
      111
    • aam62015.jpg
      aam62015.jpg
      ขนาดไฟล์:
      160.7 KB
      เปิดดู:
      112
    • aam62017.jpg
      aam62017.jpg
      ขนาดไฟล์:
      152.6 KB
      เปิดดู:
      119
    • aam62018.jpg
      aam62018.jpg
      ขนาดไฟล์:
      141.5 KB
      เปิดดู:
      219
    • aam62019.jpg
      aam62019.jpg
      ขนาดไฟล์:
      153.1 KB
      เปิดดู:
      118
    • aam62020.jpg
      aam62020.jpg
      ขนาดไฟล์:
      136.3 KB
      เปิดดู:
      115
    • aam62021.jpg
      aam62021.jpg
      ขนาดไฟล์:
      128.7 KB
      เปิดดู:
      122
    • aam62022.jpg
      aam62022.jpg
      ขนาดไฟล์:
      125.9 KB
      เปิดดู:
      127
    • aam62023.jpg
      aam62023.jpg
      ขนาดไฟล์:
      100.4 KB
      เปิดดู:
      140
  10. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    ข้อมูลสนับสนุนครับ:cool:
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • aam62025.jpg
      aam62025.jpg
      ขนาดไฟล์:
      140.8 KB
      เปิดดู:
      140
    • aam62026.jpg
      aam62026.jpg
      ขนาดไฟล์:
      146.1 KB
      เปิดดู:
      108
    • aam62027.jpg
      aam62027.jpg
      ขนาดไฟล์:
      143.4 KB
      เปิดดู:
      128
    • aam62028.jpg
      aam62028.jpg
      ขนาดไฟล์:
      166.2 KB
      เปิดดู:
      108
    • aam62029.jpg
      aam62029.jpg
      ขนาดไฟล์:
      154.2 KB
      เปิดดู:
      247
    • aam62030.jpg
      aam62030.jpg
      ขนาดไฟล์:
      165.9 KB
      เปิดดู:
      131
    • aam62031.jpg
      aam62031.jpg
      ขนาดไฟล์:
      171.3 KB
      เปิดดู:
      120
    • aam62032.jpg
      aam62032.jpg
      ขนาดไฟล์:
      147.4 KB
      เปิดดู:
      164
    • aam62033.jpg
      aam62033.jpg
      ขนาดไฟล์:
      142 KB
      เปิดดู:
      110
    • aam62034.jpg
      aam62034.jpg
      ขนาดไฟล์:
      81.7 KB
      เปิดดู:
      111

แชร์หน้านี้

Loading...