การนั้งสมาธิ แบบไหนให้ผลดีกว่ากัน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ชั่งเถอะ, 2 กุมภาพันธ์ 2018.

  1. ชั่งเถอะ

    ชั่งเถอะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ธันวาคม 2017
    โพสต์:
    253
    ค่าพลัง:
    +339
    ผมมีข้อสงสัยขอถามท่านทั้งหลายครับ ขอความคำชี่แนะครับ

    เรื่องการเข้าสมาธิ 3 แบบนี้ อันไหนถูกต้อง หรือตามจริตคน ชอบ

    1. ดันเข้าเพ่งเข้ายัดมันเข้าไปใช้กำลังจิตสูงให้ลงแบบชนิดวูบเดียวสุดทาง

    2. ปล่อยแบบสบายๆ ให้มันลงเองกำหนดลมภาวนาไปเรื่อยๆ เอื่อยๆ

    3. ปล่อยสบายมั้งบางช่วง บางช่วงก็เพ่งยัด ปล่อยๆ ยัดๆ

    หรือผิดหมดเลย มีวิธีที่ถูกต้องไม่ใช่แบบนี้

    ความรู้ผมยังน้อย เมื่อติดใจอะไรจึงจะถาม ขอท่านทั้งหลายอย่ารำคาญ ให้ถือว่าทำบุญ แก่คนโง่เขลา จะได้แก้ไขตัวเอง ขอขอบพระคุณมากครับ

    บางวันผมจิตสติสมบูรณ์ คือ ว่างจากการงาน พักผ่อนมาเต็มที่ จิตมันก็ลงเองได้ไว ไม่ต้องกระแทกกระทั้นเลย ไหลลื่น น่ายินดี บางวันมันเหนื่อยมันล้ามา จนโทรม นั้งเข้าช้าพอเข้าได้ปล่อยลงมาไม่นาน นิวรณ์ก็กิน เร่งเข้าใหม่ ต้องทั้งถีบทั้งยัด ยังเข้าได้ไม่ถึงครึ่ง บางวันยอมสังขาร ตัดใจนอน มันไม่ไหวจริงๆ บางวันสู้ไหวก็สู้ไป ตามแต่ความล้าสะสมมาทั้งวัน
     
  2. ศิษย์โง่ V2

    ศิษย์โง่ V2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2017
    โพสต์:
    254
    ค่าพลัง:
    +243
    วิธีที่ถูกต้องที่สุด คือการสละจาคะ
    การสละจาคะขั้นสูง คือนามธรรม
    ทำมหาทานชั้นเลิศ ละอาฆาต ละพยาบาท เบียดเบียน (อภัยทาน)

    ขณะรู้ลมหายใจเข้าออก จิตจะละอารมณ์ต่างๆ
    การละอารมณ์เรียกว่าจาคะ

    การรู้ลมอัสสาสะ-ปัสสาสะ หลุดไปคิด
    ขณะที่คิดแล้วรู้ตัว ให้จิตละความเพลิน(นันทิ)
    กลับมารู้ลม อัสสาสะ-ปัสาสะ(ลมหายใจเข้า-ออก)

    ลมหายใจคือรูป ขณะที่ลืมลมหายใจ หลุดไปคิดคือลมดับ
    เมื่อรู้ตัวว่าหลุดไปคิด กลับมาที่ลม(รูป) คือลมเกิด

    จิตจะเห็นการเกิด-ดับ โดยรูป นาม อยู่แบบนี้

    ทำซ้ำแบบนี้ไปเรื่อยๆ ความคิดเกิด-ละ อกุศลเกิด-ทิ้ง

    อย่าหมายหมั้น ว่าต้องเป็นฌาน ขั้นนั้น ขั้นนี้

    ทำซ้ำอยู่เรื่อยๆ เห็นความคิดอยากได้ฌานชั้นลึกๆเกิด ให้ละ

    ความคิดสงสัยต่างๆเกิดให้ทิ้ง ความคิดอยากเห็น อยากได้ อยากมี-ให้ละ

    และยังเป็นการฝึกหัดกำจัดนิวรณ์(เครื่องกั้น)ต่างๆ

    เมื่อถึงจุดๆนี้ หากทำได้จริงๆแล้ว ถึงแม้นไม่อยากได้ฌานชั้นสูง

    "คุณก็จะได้" และยังได้ปัญญา ที่เกิดจากการภาวนา โดยการรู้ลม

    สมถะ และ วิปัสสนาได้เกิดขึ้นแก่คุณแล้ว


    ดังนั้นหัวใจสำคัญคือการสละจาคะ
    พระสูตรของพระพุทธองค์จะไม่ขัดแย้งกัน
    หากเข้าใจ และศึกษาให้ถ่องแท้

    คุณจะเห็นได้ว่ามัน มาเชื่อมโยงกันหมด
    ก็ลองดู
    .
    .
    .
    นะครับ
     
  3. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    นั่งหลับตาเฉยๆ โดยไม่ภาวนา ไม่พิจารณาอะไรเลย ถือว่าเป็นสมาธิ ??


    ถาม : ถ้าเราทำสมาธิแล้วเราไม่กำหนดลมหายใจ ไม่กำหนดภาพ ไม่ภาวนา ไม่พิจารณาอะไรเลย จะถือว่าทำสมาธิหรือเปล่า หรือเรียกว่านั่งหลับตาเฉยๆ ?

    ตอบ : คงจะนั่งหลับตาเฉยๆ ยกเว้นอย่างเดียวว่า มีความเคยชิน สามารถเข้าฌานระดับใดระดับหนึ่งได้คล่องมาก ถ้าอย่างนั้นเราสามารถจะดิ่งไปสู่ระดับนั้นได้เลย

    แต่ถ้าเราไม่มีการกำหนดใดๆ เลย ไม่มีทางที่จะทรงตัวเป็นสมาธิได้ เพราะจิตเราต้องคิดเป็นปกติ ไม่เรื่องใดก็เรื่องหนึ่ง

    ถาม : หรือจะย้อนมาปฏิบัติเหมือนเดิม จับลมหายใจเหมือนเดิม ?

    ตอบ : ลมหายใจเป็นพื้นฐานของกรรมฐานทุกกองเลย คุณจะทิ้งลมหายใจไม่ได้

    ถาม : แล้วถ้านั่งสมาธิไม่เคยเห็นแสงสี ไม่เคยเห็นภาพ ?

    ตอบ : ถือว่าโชคดีที่สุดในโลก ไม่อย่างนั้นคุณจะติดอีกเยอะ



    สนทนากับพระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
    เก็บตกบ้านอนุสาวรีย์ ต้นเดือนธันวาคม ๒๕๕๓
     
  4. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    "..การดูจิต ต้องดูตอนจิตสงบจึงจะเห็นว่า มีอะไรอยู่ในจิต
    เหมือนดูน้ำตอนใสสงบ จึงจะเห็นว่ามีอะไรนอนก้นอยู่

    ท่านจึงสอนให้ทำสมาธิ เพื่อให้จิตสงบ
    จะได้มองห็นสิ่งต่างๆ ที่หมักดองอยู่ในจิต

    แล้วใช้ปัญญาพินิจพิเคราะห์ แยกแยะออกมาทำลาย
    เพื่อให้จิตบริสุทธิ์ผ่องใส พ้นจากอุปกิเลสทั้งหลายทั้งปวง.."


    (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)
     
  5. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    "..ท่านพร่อง ในศีล ด้วยเจตนาเพียงนิดเดียว ท่านไม่มีหวังที่จะทรงสมาธิเพื่อฌานสมาบัติได้เลย เพราะเพียงศีลมีการรักษาแบบหยาบๆ ท่านยังรักษาไม่ได้ ท่านจะเป็นผู้ทรงสมาธิที่มีอารมณ์ละเอียดกว่านี้ได้อย่างไร ผู้ที่ปฏิบัติกรรมฐานมาเป็นเวลาหลายสิบปี ที่ไม่ได้สำเร็จผลใดๆ แม้แต่ฌานโลกีย์ก็ไม่ได้ ก็เพราะพร่องในศีลเป็นสำคัญ.."
    หลวงพ่อฤๅษี วัดท่าซุง
    ที่มา ธรรมโอวาทเพื่อพระนิพพาน

    [​IMG]

    https://www.facebook.com/MotanaboonCom?fref=nf
     
  6. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    จะลงเข้าสมาธิได้ จิตต้องสงบ จิตไม่สงบ ทำอย่างไรก็ไม่ลงสมาธิ ครับ
    วิธีไหนก็แล้วแต่ ถ้าเราปฏิบัติแล้ว เป็นเครื่องช่วยให้จิตสงบเข้าสมาธิ
     
  7. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    แต่ละคนมีปัญหาที่ไม่เหมือนกันกรณีนี้ผมขอแนะนำอย่างนี้ครับ
    คุณมีความวิตกกังวลกับการปติบัติว่าถูกต้องหรือไม่ดีหรือไม่ อย่างไหนดีที่สุดอย่างไหนควรทำ ไม่ใช่เรื่องไม่ดีนะครับแต่ละบุคคลจะมีการพิจารณาธรรมที่แตกต่างกันท่านที่มีความสงสัยมากก้ไม่ใช่ว่าปัญญาทึบอย่างไร แต่เป็นเพราะมีปัญญาพิจารณาไตร่ตรองมากต่างหากจึงต้องเฟ้นธรรมจนเข้าใจด้วยตนเองจึงจะเชื่อและรู้เห็นตามด้วยการปติบัติตนเท่านั้น ดังเช่นพระสารีบุตรที่ฟังธรรม ก้ไม่ได้บรรลุพร้อมกับสาวกรูปอื่นเพราะท่านมีปัญญามากมีความคิดใคร่ครวนมากไม่เชื่อโดยง่าย พระพุทธเจ้าท่านจึงแสดงธรรมกระทบจิตให้ได้ใคร่ครวนและเห็นตามแบบตีวัวกระทบคราด
    เข้าเรื่องนะครับ กรณีของคุณผมแนะนำว่าให้พิจารณาที่ตัวกิเลศก่อนครับ เหมือนคนโดนหนามตำให้เอาหนามออกก่อน ความเจ็บปวดจะได้คลายลง คือให้พิจารณาที่กิเลศก่อน ตัวกิเลศที่มาเกาะเกี่ยวใจคือตัวนิวรณ์ธรรม อันมี
    1. กามฉันทะ ความพอใจ ติดใจ หลงใหลใฝ่ฝัน ในกามโลกีย์ทั้งปวง ดุจคนหลับอยู่
    2. พยาบาท ความไม่พอใจ จากความไม่ได้สมดังปรารถนาในโลกียะสมบัติทั้งปวง ดุจคนถูกทัณท์ทรมานอยู่
    3. ถีนมิทธะ ความขี้เกียจ ท้อแท้ อ่อนแอ หมดอาลัย ไร้กำลังทั้งกายใจ ไม่ฮึกเหิม
    4. อุทธัจจะกุกกุจจะ ความคิดซัดส่าย ตลอดเวลา ไม่สงบนิ่งอยู่ในความคิดใด ๆ
    5. วิจิกิจฉา ความไม่แน่ใจ ลังเลใจ สงสัย กังวล กล้า ๆ กลัว ๆ ไม่เต็มที่ ไม่มั่นใจ
    ไม่ต้องนั่งหลับตาพิจารณานะครับพิจารณาไปตรงๆแจ้งๆนี่เลยครับพิจารณาลงในจิตในกาย ไปทีละส่วนๆ แทนที่จะจับอยู่กับภาพหรืออารมใดอารมหนึ่งให้คุรเริ่มพิจารณาแทน ตั้งต้นด้วย กามฉันทะ มีอารมมีความคิดอย่างไรในความพึงพอใจรู้ดูในจิตให้ถ้วนครับรู้แล้วเห็นแล้วว่ามีว่าไม่มีอย่างไร ปล่อยวางไว้ก่อน ครับตรงนี้ไม่ใช่ตัดขาดทำลายเพียงสงบระงับไว้เพื่อยังสมาธิให้เกิดครับแต่ไม่ได้ไประงับด้วยการเอาสติไปจับอย่างอื่นทดแทนแต่เป็นพิจารราด้วยสติในตัวกิเลสเองแทนแล้ววางลง พิจารณาเช่นเดียวกันใน พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจะ กุกกุจจะ และวิจิกิจฉา พิจารณาดูว่ามีในจิตในใจไหม ให้รู้ว่ามีหรือไม่มี ขณะนั้นอาจจะมีอยู่หรือไม่มีอยู่ รู้แล้วให้พิจารณาว่ามีกำลังมากกำลังน้อยครับ รุ้ว่าสงบลงหรือยังหรือยังมากอยู่ รู้ว่าวางได้หรือวางไม่ได้ครับ เมื่อพิจารณาไปลำดับหนึ่งแล้วใจระรู้ว่ามีหรือไม่มีนิวรณ์ จิตสงบลงหรือยังไม่สงบ
    แต่อาการของจิตนั้นเมื่อค้นไปฟุ้งไปเรื่อยๆเมื่อหมดแรงหมดกำลังจะสงบลงเอง เมื่อสงบลงแล้วก้รู้ให้ชัดว่านิวรณ์ทั้งหลายสงบลงแล้วคราวนี้ก้ยกเอากรรมฐานขึ้นมาพิจารราครับ
    จะเป้นสมถะกองไหนๆหรือจะพิจารณาในขันธ์ ธาตุ อายตนะก้ได้ครับ ให้รู้ถ้วนทั่วก่อนว่านิวรณ์นั้นได้สงบลงไปแล้วนะครับ สมาธิภาวนาก้จะก้าวหน้าได้ไว วิธีการนี้อาจไม่เหมาะสำหรับทุกคนแต่คาดว่าอาจจะเป้นประโยชกับท่าน จขกท ก้ได้นะครับลองทำดูแต่หากทำแล้วไม่เหมาะไม่ถูกจริตก้ลองของท่านอื่นๆที่ถูกจริตก้ได้ครับ

    เพิ่มเติมนิดหน่อยครับพิจารณาได้ตลอดทั้งวันนะครับ ว่าจิตมีนิวรณ์อย่างไรมากอย่างไรน้อยรู้แล้วว่าอย่างไนมากรุนแรง อย่าพึ่งรีบไปละไปตัดมันมากครับไห้รู้ต่อไปมันจะคลายของมันเอง ท่ารู้แล้วพยามละงับทันทีจะเกิดทุขขึ้นเพราะบังคับบันชาไม่ได้ดั่งใจ แต่ให้มองดูไปก่อนแล้วหาสาเหตุครับสาเหตุของแต่ละเรื่องนั้นต้องเห็นด้วยความแตกต่างกัน แต่เมื่อเห็นและเข้าใจแล้วเมื่อกระทบจะเกิดธรรมเข้าระงับด้วยตัวเองไม่ต้องพยามละงับมันครับเรียกว่ามันไม่ได้ตัดขาดไปจากใจแต่มันจะเบาบางลงมากครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กุมภาพันธ์ 2018
  8. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    เมื่อโทสะเกิด เพราะด้วยไม่เห้นใจเค้าว่าเค้านั้นมีกรรมมีจิตใจอย่างไร เพราะไม่รู้ในตัวเองว่าก้เคยเป็นอย่างนั้นเป็นเช่นนั้นมาก่อนเช่นกันหากรุ้เช่นเดียวกันแล้วก้คงจะไม่เป็นเช่นนั้น ท่ารู้เช่นนี้แล้วกำลังของเมตตานั้นก้จะเข้าระงับจิตทันทีที่ไม่ได้ต้องพยามไม่ให้มีโทสะ แต่ด้วยเมตตาในตนเองและเมตตาในผู้อื่นนั้นโทสะก้จะระงับไปเองครับ
    ปติคะที่เกิดแบบระเอียด แสงแยงตาสีผิดกับใจ รสแตกต่างนิดหน่อย รุปที่ไม่สมบูรณ์ ความคิดจิตใจที่ไม่สมบูรณ์ ต้องเข้าใจนะครับว่าสัพเพธัมมาอนัตตา สิ่งทั้งหลายนั้นไม่ได้เกิดขึ้นเองแต่ประกอปด้วยเหตุด้วยปัจจัยปรุงแต่งความเสมอเหมือนนั้นจึงไม่มี มีความเหลื่อมล้ำเป็นะรรมดา การกระทบกระทั่งภายในใจนั้นก้เพราะหยิบมากระทบ หากไม่หยิบมาว่าเป็นตนสิ่งเหล่านั้นก้มีอยู่อย่างนั้นไม่ใช่ไม่มีนะครับ เช่นเดียวกันกับพอใจเพราะหยิบมาถือครับ เพราะดำหริถึง จึงเป็นเหตุ
     
  9. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    สัญญา 10
    • อนิจจสัญญา พิจารณาว่า รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง พิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้เป็นอนิจจัง
    • อนัตตสัญญาพิจารณาว่า จักษุเป็นอนัตตา รูปเป็นอนัตตา หูเป็นอนัตตา เสียงเป็นอนัตตา จมูกเป็นอนัตตา กลิ่นเป็นอนัตตา ลิ้นเป็นอนัตตา รสเป็นอนัตตา กายเป็นอนัตตา โผฏฐัพพะเป็นอนัตตา ใจเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา พิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ในอายตนะทั้งหลาย ทั้งภายในและภายนอก ๖ ประการเหล่านี้ เป็นอนัตตา
    • อสุภสัญญาพิจารณากายนี้นั่นแล เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาด มีประการต่างๆ ว่า ในกายนี้มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม เนื้อหัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร พิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่งามในกายนี้
    • อาทีนวสัญญาพิจารณาว่า กายนี้มีทุกข์มาก มีโทษมาก เพราะฉะนั้น อาพาธต่างๆ จึงเกิดขึ้นในกายนี้ คือ โรคตา โรคหู โรคจมูก โรคลิ้น โรคกาย โรคศีรษะ โรคที่ใบหู โรคปาก โรคฟัน โรคไอ โรคหืด โรคไข้หวัด โรคไข้พิษ โรคไข้เซื่องซึม โรคในท้อง โรคลมสลบ โรคบิด โรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ โรคลมบ้าหมู โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน โรคคุดทะราด หูด โรคละอองบวม โรคอาเจียนโลหิต โรคดีเดือด โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวง อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีไข้สันนิบาต อาพาธอันเกิดแต่ฤดูแปรปรวน อาพาธอันเกิดแต่การบริหารไม่สม่ำเสมอ อาพาธอันเกิดแต่ความเพียรเกินกำลัง อาพาธอันเกิดแต่วิบากของกรรม ความหนาว ความร้อน ความหิว ความระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ พิจารณาเห็นโดยความเป็นโทษในกายนี้
    • ปหานสัญญาไม่ยินดี ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งกามวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว ไม่ยินดี ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งพยาบาทวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว ไม่ยินดี ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งวิหิงสาวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว ไม่ยินดี ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งอกุศลธรรมทั้งหลายอันชั่วช้า ที่เกิดขึ้นแล้ว (พิจารณาเห็นว่าวิตกทั้งสองคือกามวิตก และพยาบาทวิตกคือการจองเวรเป็นเหตุให้จิตยินดีในการเวียนว่ายตายเกิดและอวิหิงสาเป็นเหตุให้รับวิบากกรรมในขณะเวียนว่ายตายเกิด)
    • วิราคสัญญาพิจารณาว่าธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ธรรมเป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง (อุปธิ = ที่ตั้งแห่งทุกข์ ) ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา ธรรมเป็นที่สำรอกกิเลส ธรรมชาติเป็นที่ดับกิเลสและกองทุกข์ (ซึ่งก็คือสภาวะของพระนิพพานที่สัมผัสได้ในขณะที่มีชีวิตอยู่นั่นเอง )
    • นิโรธสัญญาพิจารณาว่า ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ธรรมเป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา ธรรมเป็นที่ดับโดยไม่เหลือ ธรรมชาติเป็นที่ดับกิเลสและกองทุกข์ (วิราคะ และนิโรธ ล้วนเป็นชื่อหนึ่งของพระนิพพาน โดยวิราคะเน้นที่ความสำรอกกิเลส คือการไม่ปรุงแต่งในสิ่งภายนอกราบเรียบเสมอกัน ส่วนนิโรธเน้นที่ความดับไม่เหลือของกิเลส คือการไม่ยึดติดในสิ่งภายในว่าไม่ใช่ตัวกูของกู)
    • สัพพโลเกอนภิรตสัญญา การกำหนดหมายในความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง ละอุบายและอุปาทานในโลก อันเป็นเหตุตั้งมั่น ถือมั่น และเป็นอนุสัยแห่งจิตย่อมงดเว้น ไม่ถือมั่น (การเห็นสิ่งที่ไม่งดงาม แต่สำคัญว่างดงามเพราะจิตเข้าไปปรุงแต่ง)
    • สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญาการกำหนดหมายในความไม่น่าปรารถนาในสังขารทั้งปวง ความอึดอัด ระอา เกลียดชังแต่สังขารทั้งปวง (การเห็นสิ่งทั้งปวงมีแต่แตกกระจายไป)
    • อานาปานสติ การนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอเป็นผู้มีสติหายใจออก เป็นผู้มีสติหายใจเข้า เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่าหายใจเข้าสั้น
     
  10. ชั่งเถอะ

    ชั่งเถอะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ธันวาคม 2017
    โพสต์:
    253
    ค่าพลัง:
    +339
    ขอบคุณที่เข้ามาชี้แนะครับ คำท่านทั้งหลายเป็นธรรม อ่านแล้วชื่นใจดี

    คือการภาวนาผม มีการภาวนาโดยมีคำภาวนาอยู่ตลอด ติดอยู่เป็นนิสัย ทั้งวัน อยู่แล้ว ศีล 5 นั้นครบ ระมัดระวังตลอด ในคำพูด และการกระทำ

    เมื่อเข้าสมาธิได้ระดับนึงคำภาวนาก็หายปกติ ปิติหาย สุขหาย เหลือ อุเบกขา แต่จิตไม่เคยส่งออกนอกแม้แต่ครั้งเดียว จะครั้งแรกหรือครั้งไหนก็ตาม ตามที่บางท่านได้กรุณาบอกมา ผมจะปล่อยจนสุดสมาธิ จนมันคลายลงมาให้พิจารณาได้
    เมื่อพิจารณาไปซักพัก จิตจะเริ่มล้า คาดว่าเป็นจาก มิทธะ
    เนื่องจากทำงานใช้แรงกายแรงใจมาทั้งวัน ผมจะละจากพิจารณา ภาวนาพุทโธใหม่ ครั้งที่1 2 พอเข้าได้ นิวรณ์ ละได้ ครั้งที่ 3 4 แทบจะเข้าไม่ได้แล้ว จิตจะล้ามาก สมาธิจะถอนออกตลอดเวลา ไม่ว่าจะภาวนายังไงก็จะคลอยหลับ ให้ได้ เป็นแบบนี้ นี้คือตอนหัวค่ำไม่เกิน 3 ทุ่ม

    จะตืนอีกทีคือ ตี 4 ตื่นเองทุกวัน ไม่มีนาฬิการปลุก ช่วงนี้นอนเต็มอิ่ม สมองสดชื่น ล้างหน้าล้างตา พอสดชื่น จะมานั้งภาวนาใหม่ นี้จะไม่มีปัญหาอะไรเลย ทำได้เต็มที่จนเราพอใจ

    ปัญหาคือช่วงหัวค่ำจากหน้าที่การงานมา ร่างกายมันล้ามาแบบนี้ ผมได้ลองวิธีทั้ง 3 แบบที่กล่าวมาข้างต้น ทดลองซ้ำ ๆ หลายๆ ครั้ง จนได้วิธีที่ผมพอใจแล้ว จึงลองถามท่านทั้งหลายในอุบายต่างๆ ในการนั้ง เมื่อมี มิทธะ มากๆ เข้าโจมตีท่านแก้ไขกันอย่างไร จะพิจารณาใน มิทธะ เหนือยล้าในกาย อย่างไร เป็นอันเดียวที่ไม่เคยสู้ได้เลย
     
  11. hastin

    hastin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,115
    ค่าพลัง:
    +3,085
    ช่วงที่พักหลังจากครั้งที่ 1 2

    ให้ล้างหน้าตา แล้วทำความรู้สึกให้ทั่วตัว แล้วเพิ่มเดินจงกลมครับ
     
  12. แผ่บุญ

    แผ่บุญ ชอบ~ศรัทธา 40 อสงไขย

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2018
    โพสต์:
    355
    ค่าพลัง:
    +307
    ไม่มีอะไรมากครับ หลักคิดมันมีนิดเดียว "เราทำสมาธิหรือภาวนาเพื่ออะไร"

    ถ้าในใจลึกๆเราตั้งความหวังไว้ก่อนว่า ฉันต้องสงบในสมาธิได้ทุกวัน แน่นอนผมรู้ละว่าคุณตั้งความหวังผิด ถ้าไม่ผิดหวังเพราะมันไม่สงบดั่งใจหวังคุณไม่ตั้งกระทู้แนวนี้หรอก

    อ่ะถ้าเป็นผมจะเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ว่า ฉันจะภาวนาให้ครบกี่จบ ถ้าครบแล้วคือฉันทำได้ตามที่ปรารถนาไว้ ถ้าคุณตั้งกำลังใจแบบนี้คุณจะรู้สึกว่าเราทำของเราได้ทุกวัน นี่เป็นทริค สมาธิบารมีหรือสงบบารมีนั้นไม่มี แต่วิริยะบารมี ขันติบารมี สัจจะบารมี อธิฐานบารมี นั้นมีครบ
     
  13. ชั่งเถอะ

    ชั่งเถอะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ธันวาคม 2017
    โพสต์:
    253
    ค่าพลัง:
    +339
    เป็นคำตอบที่เส้นผมบังภูเขาแท้ๆ ครับ 5555 บางครั้งตั้งใจคิดสิ่งใดมากเกินไปกลับจมลงกับคำถาม คิดมากจนเกินไป คิดแต่ว่าจะนั้งอย่างไร ไม่เคยคิดจะเดินมั้งเลย 5555

    ขอบคุณท่านมากจริงๆ ครับ
     
  14. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,604
    ค่าพลัง:
    +3,014


    อันแรก ทำ สมาธิแบบกระแทกกระทั้น
    ใช้ พลังรุนแรง เหมาะสำหรับ ผู้ที่ฝีก เพ่งกสิน
    การฝึกหายใจ ให้เร็วขึ้นกว่าเดิม อีกเท่าตัว
    พวกนักสู้ นักมวย นักกีฬา จะใช้การหายใจแบบนี้

    อันที่สอง เหมาะสำหรับ ฝึกแบบจับลมหายใจ
    แบบอานาปานสติ เป็นการกำหนดลมหายใจเข้าออก
    ให้ใช้ พลังเบาเบา เหมาะสำหรับ การทำสมาธิ
    หรือ การพักผ่อนในขณะที่ทำสมาธิ
    หรือ การเข้าญานของพวกนักบวช นั่นเอง
    ยิ่งฝึกได้เบาเท่าไหร่ ยิ่งเข้าญานได้ลึก
    จนเลยไปถึง อรูปญาน ได้
    หากรู้สึก เหลืออยู่หน่อยๆ ก็แสดงว่า ถูกทาง

    ส่วนอันสุดท้าย จะเป็น พวกญานใช้งาน
    หรือ ญานในชีวิตประจำวัน เช่น
    ระหว่างที่ทำงาน ก็ใช้ฤทธิ์ช่วย
    วิธีใช้คือ ในระหว่างที่รอให้เข้าญานสบายรอ
    แต่ในระหว่างใช้ฤทธิ์ ให้ใช้ญานเร็ว
    ส่งกำลังจิต หรือ พลัง หรือ คาถา
    ออกไปให้สุด ภายในเสี้ยววินาที

    สรุปก็คือ ใครฝึกอันแรกเยอะไป
    คนพวกนี้ จะติดอยู่ในฤทธิ์ เสพติดฤทธิ์
    ใครฝึกอันที่สองเยอะไป
    คนพวกนี้ จะติดอยู่ในญานสี่ เสพติดญาน
    ใครฝึกได้ทั้งสองอย่าง จะสมดุลทั้งสองข้าง
    แต่ไม่เกี่ยวกับ บรรลุธรรม นะ

    ผู้ที่จะบรรลุธรรมได้ จะต้องฝึก วิปัสสนาเพิ่ม
    คือ ฝึกมองให้ออกตามความจริงที่ว่า
    ไม่เที่ยง ก่อทุกข์ ถูกสมมุติขึ้นมา
    ฝึกสามอย่างนี้เท่านั้น จึงจะบรรลุธรรม


    ส่วน เตโชวิปัสสนา
    หากพิจารณาสามอย่างนี้
    ก็จะบรรลุธรรมได้เหมือนกัน
    แต่ที่แกพลาดไป ก็คือ
    แกไปคิดว่า กสินไฟ คือ ไฟฆ่ากิเลส
    จึงยังหาทาง ฆ่ากิเลส อยู่นั่นเอง
    ทั้งที่ความจริง ถ้าแกหยุด ฆ่ากิเลส
    แล้ว ปล่อยวางอารณ์ทั้งปวง
    รวมถึง อารมณ์ที่อยากจะฆ่ากิเลสด้วย
    แกเห็นอะไร ก็ปล่อยวางมันไป
    อย่างนี้จะ เรียกว่า ปิดอายตนะ
    หรือ ที่พระป่า เรียกว่า เปิด-ปิด
    จะทำให้ เทพ มาร คน ไม่อาจแทรกแซงได้
    หากคน หรือ ผู้ปกครอง จะแทรกแซง
    สั่งให้ท่าน ทำโน้นทำนี้ ท่านก็จะแกล้งบ้าไปเลย จบไป
    แต่ เตโชวิปัสสนา เอาแต่เปิด แต่ไม่ยอมปิด
    จึงต้องโดน แทรกแซง ตลอดเวลา
    หนำซ้ำยัง ปล่อยวาง ไม่ได้
    แล้วจะอ้างว่า บรรลุธรรมได้งัย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กุมภาพันธ์ 2018
  15. ศิษย์โง่ V2

    ศิษย์โง่ V2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2017
    โพสต์:
    254
    ค่าพลัง:
    +243
    ดูกรโมคคัลลานะ เธอง่วงหรือ
    ดูกรโมคคัลลานะ เธอง่วงหรือ
    ท่านพระมหาโมคคัลลานะกราบทูลว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

    ดูกรโมคคัลลานะ เพราะเหตุนั้นแหละ

    ๑. เมื่อเธอมีสัญญาอย่างไรอยู่ ความง่วงนั้นย่อมครอบงำได้ เธอพึงทำไว้ในใจซึ่งสัญญานั้นให้มาก
    ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้

    ๒. ถ้าเธอยังละไม่ได้
    แต่นั้นเธอพึงตรึกตรองพิจารณาถึงธรรมตามที่ตนได้สดับแล้ว
    ได้เรียนมาแล้วด้วยใจ ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้

    ๓. ถ้ายังละไม่ได้
    แต่นั้นเธอพึงสาธยายธรรมตามที่ตนได้สดับมาแล้วได้เรียนมาแล้วโดยพิสดาร
    ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้

    ๔. ถ้ายังละไม่ได้
    แต่นั้นเธอพึงยอนช่องหูทั้งสองข้าง เอามือลูบตัว
    ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้

    ๕. ถ้ายังละไม่ได้
    แต่นั้นเธอพึงลุกขึ้นยืน เอาน้ำล้างตา เหลียวดูทิศทั้งหลาย แหงนดูดาวนักษัตรฤกษ์
    ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้

    ๖. ถ้ายังละไม่ได้
    แต่นั้นเธอพึงทำในใจถึงเอาโลกสัญญา ตั้งความสำคัญในกลางวันว่า กลางวันอย่างไร กลางคืนอย่างนั้น กลางคืนอย่างไร
    กลางวันอย่างนั้น มีใจเปิดเผยอยู่ฉะนี้ ไม่มีอะไรหุ้มห่อ ทำจิตอันมีแสงสว่างให้เกิด
    ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้

    ๗. ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงอธิษฐานจงกรม กำหนดหมาย
    เดินกลับไปกลับมา สำรวมอินทรีย์ มีใจไม่คิดไปในภายนอก
    ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้


    ๘. ถ้ายังละไม่ได้
    แต่นั้นเธอพึงสำเร็จสีหไสยา คือนอนตะแคงเบื้องขวา ซ้อนเท้า
    เหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ ทำความหมายในอันจะลุกขึ้น พอตื่นแล้วพึงรีบลุกขึ้นด้วยตั้งใจว่า
    เราจักไม่ประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอนข้าง ความสุขในการเคลิ้มหลับ


    ดูกรโมคคัลลานะเธอพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ

    http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=23&A=1873&Z=1938
     
  16. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,425
    ค่าพลัง:
    +35,019
    เราอยู่ช่วงฝึกเข้าสมาธิครับ ดังนั้นการขึ้นๆลงๆมันจึงเป็นเรื่องปกติครับ
    ถ้าเราชำนาญแล้ว มันไม่เกี่ยวกับกายหรอกครับ จะที่ไหน เมื่อใด เวลาใด
    สถานการณ์ใดเราก็เข้าถึงระดับสมาธินั้นๆได้
    และเราไม่ได้อยู่ในช่วงที่ใช้งานได้แล้วจากผลของสมาธิ
    หรือจะเข้าใจว่า ตัวเองมีกำลังจิต (ถ้ามีต้องเล่นกับพลังงานต่างๆได้หมดแล้ว
    ไม่ว่าพลังงานภายนอกภายใน เล่นได้ เช่น ดึง ดูด อัด ส่งฯลฯ )
    เราใช้กำลังสมาธิ หรือ ใช้กำลังจิต แบบในเวลาลืมตาปกติได้แล้วหรือครับ
    ภายใต้การหายใจเพียงครั้งเดียวครับ
    ถ้าทำได้ ใช้ได้แล้ว แสดงว่าได้แล้ว จะไม่มาถามแบบนี้ครับ.......

    และการฝึกเข้าสมาธิมันเป็นวิธีการ ซึ่งเทคนิคมันมีร้อยแปดพันเก้า
    มันบอกไม่ได้หรอกว่า นั่งแบบไหนดีสุด เดินแบบไหนดีสุด
    หรืออะไรดีที่สุดครับ เพราะแต่ละคนไม่เหมือนกันครับ

    มันอยู่ที่พื้นฐาน สภาพแวดล้อม ปัจจัยต่างๆครับ ว่าเตรียมตรงนี้พร้อมแล้วหรือยัง
    เช่น ระบบหายใจเข้าออกเราลึกถึงท้องหรือยัง
    มีการระลึกรู้ลมหายใจที่ปลายจมูกได้หรือยัง
    ตั้งใจทำงานเต็มที่ รับผิดชอบหน้าที่ตนเองดีหรือยัง
    เวลาว่างเว้นการทำงาน เราได้เจริญสติในชีวิตประจำวันบ้างหรือไม่...

    การวางอารมย์ระหว่างวัน รู้จักดับความอยากก่อนรับประทานอาหารหรือไม่
    หรือจักควบคุมความคิด เลิกยุ่งเรื่องคนอื่นๆได้หรือยัง...
    ทำดีทั้งในที่ลับและในที่แจ้งได้หรือยัง
    รู้จักเสียสละเพื่อคนอื่นๆได้ไหม เช่น เห็นขยะตกอยู่ในที่ทำงานแต่
    เราไม่ได้ทิ้ง เอาไปทิ้งให้เรียบร้อยได้ไหม

    และค่อยมาดูว่า จะฝึกกรรมฐานอะไร เพราะการจะฝึกจะทำอะไรมันต้องมีเป้าหมายครับ
    เช่น จะฝึกกรรมฐานกองนี้ ก็ต้องตั้งเป้าว่า จะฝึกกองนี้ให้สำเร็จให้ได้ก่อน
    แค่กองเดียว เพื่อเป็นแนวทางเดินให้จิตก่อนในเบื้องต้น
    และก็ต้องมาดูว่า จะฝึกไปเพื่ออะไร เพื่อเรียกของเก่า เพื่อประโยชน์ทางธรรม
    เพื่อประโยชน์คนอื่นๆ เพื่อเอากำลังสมาธิที่ได้ไปเดินปัญญา เพื่ออยากเท่ห์
    เพื่อเอาไว้โชว์สาว เพื่อเอาไว้ปราบมาร เพื่อเอาไว้ช่วยคน ตรงนี้พิจารณาเอาเองครับ

    หลังจากมีพื้นฐาน รู้จักวางอารมย์เพื่อเกื้อหนุนกัน
    รู้จักวางแนวทางเดินให้จิตแล้ว
    ค่อยมาดูว่า เราชอบแบบไหน เราก็ทำแบบนั้นของเราไปครับ
    ตามเหตุและปัจจัยของเรา
    เช่น คนเยอะมากมาย ใครจะมานั่งสมาธิ เราอาจจะเดินฝึกไปก่อน เป็นต้น
    หรือ อาจหาเวลาทำท่าหลับตา แต่บอกคนอื่นๆว่าของีบหน่อย
    เพื่อการอยู่ร่วมในสังคม ประมาณนี้......

    การฝึกจะได้ผลดีหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่างๆ
    ที่ได้กล่าวมา และความแยบยล และอุบาย
    ของใครของมันครับ....
    ส่วนเทคนิคนั้น ใช้เฉพาะสำหรับการฝึกในรูปแบบใดๆรูปแบบหนึ่ง
    เพื่อให้ก้าวพ้นไปให้ได้.....
    ปล. ฐานดี เตรียมอารมย์ดี วางแนวทางดี
    โอกาสที่จะสำเร็จถึงระดับใช้งานได้จริง
    ก็จะใกล้เข้ามาได้เร็วขึ้นครับ....
    นอกจากองค์ประกอบต่างๆ เรื่อง ทาน เรื่อง ศีล เรื่องเมตตา
    เรื่องการให้อภัย ความรู้จักเสียสละ การเอื้ออาธรไม่ว่าคนหรือสัตว์
    การไม่เจ้าคิดเจ้าแค้น ที่ควรมีเป็นปกติ
    มาเสริมผลสำเร็จให้เร็วยิ่งขึ้นครับ




     
  17. คุณกันฌามี

    คุณกันฌามี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    104
    ค่าพลัง:
    +65
    ผมขอถามกลับครับ คุณต้องการแนวไหนละ เพราะคุณถามมาว่า ให้ผลดีกว่ากัน คุณอยากให้ผลออกมาเป็นแบบไหน
     
  18. ชั่งเถอะ

    ชั่งเถอะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ธันวาคม 2017
    โพสต์:
    253
    ค่าพลัง:
    +339
    ผมหวังในนิพานครับ ชาตินี้ไม่ได้ก็สะสมไป ซักชาติต้องได้ แค่ทำอย่างไรให้ นั้งกรรมฐานได้นานขึ้น พิจารณาได้นานขึ้น ได้เท่าอิ่มใจ ในวันนั้น บางวันมันได้ไม่พอ เหมือนคนติดยาเลยทีเดียว ไม่ได้นั้งเหมือนมันจะขาดๆ อะไรไป มันพะวง อยู่เรื่องเดียว พอมีอะไรมาทำให้เราไม่สามารถ ปฏิบัติได้ เริ่ม จะห่วงแล้ว วันนี้จะได้นั้งมั้ยหนอ

    ไม่ใช่ว่าทั้งวัน ไม่ได้ภาวนา หรือ พิจารณาใดๆ พุทโธ ติดในใจทั้งวันนั้นละครับ เห็นเด็กสาวๆ เห็นคนแก่ ก็พิจารณาไปเรื่อย พอดีลูกน้อยเยอะ มีหลายรุ่นหลายขนาดให้เลือกพิจารณา แต่มันเหมือนแค่เรากินแต่อาหารว่าง แต่ไม่ได้กินข้าว มื้อหลักครับ มันติดซะแล้ว แต่ถึงไม่ได้นั้งวันนั้น ก็ไม่ได้ กระวนกระวาย ใจนะครับ เพียงแค่นึกเสียดายเวลาที่มันเสียไป เท่านั้น ชีวิตนี้มันสั้นนะครับ เวลามีน้อย แถมภาระเยอะอีก เอาแต่ใจจริงๆ ผม
     
  19. Apinya Smabut

    Apinya Smabut นิพพานังสุขัง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    1,396
    กระทู้เรื่องเด่น:
    57
    ค่าพลัง:
    +2,628
    ทำเหมือนกันกับตอนที่เรารักคน ๆ หนึ่งครับ
    เราคิดถึงแต่เขาทุกวันตลอดเวลา
    ยืน เดิน นั่ง นอน ได้หมด

    เพียงแต่เปลี่ยนให้เป็นคิดถึงลมหายใจเท่านั้น
    เวลาทำอะไรก็ให้รู้สิ่งที่เรากำลังทำด้วย และต้องรู้ลมหายใจไปด้วย แต่ไม่ใช่เพ่ง
    ส่วนการนั่งสมาธิก็ควรมีด้วย เพราะเป็นการสร้างกำลังได้ดี
     
  20. แผ่บุญ

    แผ่บุญ ชอบ~ศรัทธา 40 อสงไขย

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2018
    โพสต์:
    355
    ค่าพลัง:
    +307
    ถ้าพิจารณาดีๆคุณรู้หรือเปล่า..

    "ผมหวังในนิพานครับ ชาตินี้ไม่ได้ก็สะสมไป ซักชาติต้องได้ แค่ทำอย่างไรให้ นั้งกรรมฐานได้นานขึ้น พิจารณาได้นานขึ้น ได้เท่าอิ่มใจ ในวันนั้น บางวันมันได้ไม่พอ เหมือนคนติดยาเลยทีเดียว ไม่ได้นั้งเหมือนมันจะขาดๆ อะไรไป มันพะวง อยู่เรื่องเดียว พอมีอะไรมาทำให้เราไม่สามารถ ปฏิบัติได้ เริ่ม จะห่วงแล้ว วันนี้จะได้นั้งมั้ยหนอ"

    **ปัญหาไม่ได้อยู่ที่จะทำอย่างไร มันอยู่ที่เราไปตั้งความหวังไว้ก่อน เมื่อมันไม่ได้ดั่งหวังก็ทุกข์ใจ นี่แหละคือตัวที่ขัดขวางเราอยู่
     

แชร์หน้านี้

Loading...