ความจริงเกี่ยวกับความรัก ความโกรธ และความเมตตา

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 13 ตุลาคม 2008.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 width=763 align=center><TBODY><TR><TD colSpan=2>วิธีการแก้โกรธ

    </TD></TR><TR><TD width=383>
    จากหนังสือ กระโถน-กระถาง เรื่อง เส้นทาง

    </TD><TD width=383>
    ชยสาโรภิกขุ

    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    ความโกรธ ความอิจฉาพยาบาทเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องยอมรับว่าไม่ดี
    แต่น้อยคนที่จะระงับโกรธได้ เหมือนยาเสพติดที่ทุกคนเลิกยาก ทั้งที่ยอมรับว่าเป็นอันตรายต่อชีวิต ในกรณีนี้ต้องใช้วิธีแผ่เมตตา​
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    วิธีแผ่เมตตา มีหลายอย่าง
    วิธีหนึ่งเริ่มด้วยการฝึกนึกถึงผู้ที่เราเคารพรัก เช่น ครูบาอาจารย์ของเรา เป็นต้น
    เพื่อให้เกิดความรู้สึกหรือนิมิตของเมตตา สำคัญที่ เราเลือกคนที่เรารัก
    อย่างบริสุทธิ์ ปราศจากความรู้สึกทางกามโดยสิ้นเชิง
    เมื่อความรู้สึกอบอุ่นอันนี้ปรากฏชัดเจนแล้ว ให้เพ่งความรู้สึกนั้นอยู่ที่หน้าอก
    ทำให้ใจเหมือนกับว่ามันเข้าออกตัวเราพร้อมกับลมหายใจที่หน้าอก
    ต่อไปแผ่เมตตาให้ตัวเองด้วยการทำความรู้สึกว่าความอบอุ่น (นิมิตแห่งเมตตา) ที่เรากำลังกำหนดอยู่เข้ามาสู่จิตใจของเราพร้อมกับลมหายใจเข้า ให้นึกว่า ความสุข ความสงบ คุณงามความดีทั้งหลายกำลังซึมซาบเข้ามาในใจของเรา ขอให้มีความสุขๆ เถอะ ขอให้เราพ้นจากความทุกข
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    ผู้ที่จะเจริญในการพัฒนาจิตของตนต้องหวังดีต่อตัวเอง เมื่อไรเราทำอะไรไม่เหมาะสมต้องให้อภัยตัวเอง เราไม่ใช่พระอรหันต์ ความผิดพลาด การหลงอารมณ์จึงเป็นเรื่องธรรมดา
    ไม่ต้องรังเกียจตัวเองมาก ไม่ต้องด่า ไม่ต้องว่า
    เพราะจริงๆ แล้วเจตนาของเราดี เราไม่ได้ตั้งอกตั้งใจที่จะหลงใหลหรือจะรุกรานใคร
    สักแต่ว่าเราลืมตัว สติปัญญาขาดหายไป อวิชชาตัณหาก็เข้าครอบงำจิตธรรมดา
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    ฉะนั้น ด้วยความหวังดีต่อตัวเอง เราก็ไม่ถือสา เพียงแต่ยอมรับผิด
    ได้บทเรียนจากความเผลอสติแล้วก็ค่อยๆ แก้ไขในสิ่งที่ควรแก้ไขด้วยความไม่ประมาท
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    ถ้าเราไม่รักตัวเอง ไม่เคารพตัวเองจริง ก็ยากที่จะให้ความเมตตาแก่คนอื่น
    ผู้ที่เกลียดหรือรังเกียจตัวเองแล้วเก็บกดความรู้สึกนั้นไว้ใต้จิตสำนึก
    มักจะเที่ยวเพ่งโทษคนอื่นอยู่เรื่อย
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    พระพุทธองค์ตรัสว่า ผู้ที่ชอบเพ่งโทษคนอื่นอยู่ห่างไกลจากพระนิพพาน
    ดังนั้น จงแผ่เมตตาให้ตัวเองแล้วแผ่ให้สรรพสัตว์ทั้งหลายทั่วไปด้วย
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    ตอนนี้เพ่งนิมิตคือ ความรู้สึกแห่งความรักอันบริสุทธิ์ที่หน้าอกเหมือนเดิม
    แต่ทำในใจว่าลมหายใจออกจากหน้าอก
    และความรัก ความหวังดีแผ่ออกไปพร้อมกับลม แผ่ไปตามลำดับที่เรากำหนดไว้
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    เช่น เริ่มนึกถึงคนรอบข้างแล้วขยายไปรวมถึงสัตว์ทั้งหลายในบ้านนี้ ในอำเภอนี้ ในจังหวัดนี้
    ในประเทศนี้ ในโลกนี้ หรือแผ่ไปถึงสัตว์ในภพภูมิต่างๆ ในทิศต่างๆ
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    ในที่สุดจิตจะเปิดกว้างออกไปจนกระทั่งไม่มีขอบเขต ไม่มีประมาณ
    นอกจากเป็นการล้างความพยาบาทออกจากใจแล้ว
    การแผ่เมตตายังทำให้ใจเกิดปีติ เกิดความอิ่มใจได้ง่าย เหมาะแก่ผู้ที่มีจิตใจแห้งแล้งจืดชืด
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    ฉะนั้น ขอให้พวกเราพากันเจริญเมตตา ภาวนาให้เป็นที่พึ่ง เป็นสรณะภายใน​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 width=763 align=center><TBODY><TR><TD colSpan=2>รักบริสุทธิ์: อารมณ์ที่ปราศจากทุกข์โทมนัส

    </TD></TR><TR><TD width=383>
    จากหนังสือ อภัยทาน รักบริสุทธิ์

    </TD><TD width=383>
    พระศรีญาณโสภณ (สุวิทย์ ปิยวิชฺโช)

    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนให้คนเข้าใจว่า “ที่ใดมีรักที่นั่นมีทุกข์” มิได้หมายความว่าพระองค์ทรงปฏิเสธความรัก มองโลกในแง่ร้าย แต่เพราะพระองค์ทรงมองเห็นว่า โลกเป็นอนิจจัง มีการพลัดพรากหล่นหายไปจากกันได้​
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    เมื่อเรารักสิ่งใด หากสิ่งนั้นหลุดมือเราไป เราก็เป็นทุกข์ เพียงสร้อยคอถูกขโมยไป เราก็เสียใจไปหลายเดือน นับประสาอะไรกับการต้องสูญเสียสิ่งอื่นที่มากกว่า
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    พระองค์จึงทรงสอนให้มีสติในรัก
    แม้จะเป็นรักที่บริสุทธิ์เช่นรักของพ่อแม่ลูก
    ก็ตาม ทุกอย่างล้วนแฝงไว้ด้วยการพลัดพรากทั้งสิ้น ที่ใดมีรักที่นั่นมีทุกข์
    จึงเป็นอมตวาจาที่ไม่มีทางคัดค้านได้
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    ขอให้เราทั้งหลายมาทำความเข้าใจในคำว่า “รัก” จะเป็นรักที่บริสุทธิ์ผุดผ่องของพ่อแม่ลูกก็ตาม หรือเป็นรักที่ร้อนแรง หรือร้อนรนก็ตาม เราต้องตามให้ทัน อารมณ์รักมักเป็นอารมณ์สุดโต่ง เป็นอารมณ์ที่อยู่เหนือความเป็นจริง
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    ขอให้เราทั้งหลายมาทำความเข้าใจในคำว่า “รัก” จะเป็นรักที่บริสุทธิ์ผุดผ่องของพ่อแม่ลูกก็ตาม หรือเป็นรักที่ร้อนแรง หรือร้อนรนก็ตาม เราต้องตามให้ทัน อารมณ์รักมักเป็นอารมณ์สุดโต่ง เป็นอารมณ์ที่อยู่เหนือความเป็นจริง
    ขอให้พิจารณาให้ดีว่า ทุกครั้งที่เรารักใครหรือรักอะไร อารมณ์เราจะเบิกบาน ชื่นบาน ตัวเบา วาบหวิวผิดปกติ เป็นอารมณ์ดีใจที่ได้มา เหมือนได้ครอบครองอะไรไว้ เหมือนมีทิพยสมบัติอยู่กับเรา แต่ไม่รู้ตัวเหมือนกันว่าได้อะไรมา ครอบครองอะไรไว้ ต่อเมื่อสิ่งนั้นหลุดลอยไป จึงฟื้นสติขึ้นมาได้ เสียใจ โศกเศร้า พิไรรำพัน อาลัยอาวรณ์ อารมณ์รักสุดโต่งอย่างนี้ท่านจึงบอกว่า
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    รักมากทุกข์มาก ทุกข์เพราะตามอารมณ์ของตัวเองไม่ทัน ​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 width=763 align=center><TBODY><TR><TD colSpan=2>
    เมตตาภาวนา

    </TD></TR><TR><TD width=383>
    จากหนังสือ เมตตาภาวนา: คำสอนว่าด้วยรัก

    </TD><TD width=383>
    ติช นัท ฮันส์

    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    ในองฺคุตฺตรนิกาย พระพุทธองค์ทรงกล่าวถึงคุณประโยชน์ของการปฏิบัติเมตตาภาวนาไว้ ๑๑ ประการ พระพุทธองค์ทรงกล่าวถึงคุณและโทษของการปฏิบัติ และการไม่ปฏิบัติ เพื่อส่งเสริมให้ผู้คนหันมาสู่ปฏิปทา
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    ๑. ผู้ปฏิบัติจะหลับสบาย
    ๒. เมื่อตื่นขึ้น จิตใจจะรู้สึกสบายและปลอดโปร่ง
    ๓. จะไม่ฝันร้าย
    ๔. ผู้ปฏิบัติจะเป็นที่ชื่นชอบของคนมากมาย และตัวผู้ปฏิบัติจะรู้สึกดีกับทุกๆ คน คนอื่นๆ โดยเฉพาะเด็กๆ จะชอบเข้าใกล้
    ๕. เขาจะเป็นที่รักของสัตว์ต่างๆ นก ปลา ช้าง กระรอก สิ่งมีชีวิตทั้งที่มองเห็นได้และไม่อาจมองเห็นได้จะชื่นชอบเข้าใกล้
    ๖. ผู้ปฏิบัติจะได้รับความช่วยเหลือและปกปักจากทวยเทพ
    ๗. เขาจะได้รับการปกป้องออกจากไฟ ยาพิษ และคมดาบ โดยไม่จำเป็นต้องดิ้นรนหลีกหนีจากสิ่งเหล่านี้เลย
    ๘. ผู้นั้นจะเข้าสู่สมาธิได้อย่างง่ายดาย
    ๙. สีหน้าของผู้นั้นจะผ่องใสและเปล่งปลั่ง
    ๑๐. เมื่อถึงเวลาตาย จิตใจจะผ่องแผ้ว
    ๑๑. ผู้ปฏิบัติจะได้ขึ้นสู่สวรรค์ชั้นพรหม ซึ่งสามารถสืบต่อการปฏิบัติได้ เพราะที่นั่นมีสังฆสมาคมของผู้ฝึกพรหมวิหารสี่สถิตอยู่แล้ว

    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    ในอิติวุตฺตก พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า ถึงเราจะรวบรวมกุศลทั้งมวลบรรดามีในโลก ก็ยังไม่อาจเทียบเท่าได้กับการปฏิบัติเมตตาภาวนา การสร้างศูนย์ปฏิบัติธรรม สร้างพระพุทธรูป หล่อระฆัง หรืองานสังคมสงเคราะห์อื่นใด ก็ยังได้บุญไม่ถึงหนึ่งใน ๑๖ ส่วนของการปฏิบัติเมตตาภาวนา แม้เราจะเอาแสงจากดวงดาราทั้งหลายมารวมกัน ก็ยังไม่อาจสว่างไสวได้เทียมเท่ากับแสงจันทร์ ในทำนองเดียวกัน การปฏิบัติเมตตาภาวนาก็ยิ่งใหญ่กว่าการทำกุศลอื่นๆ ทั้งปวงมารวมกันเสียอีก
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    การปฏิบัติเมตตาภาวนาก็เหมือนกับการขุดลึกลงไป จนกระทั่งเราค้นพบตาน้ำ เราจะพิจารณาดูตัวเองอย่างจริงจัง จนรู้แจ้ง แล้วความรักก็จะปรากฏสู่ภายนอก ดวงตาของเราจะฉายแววของความสุข ความเบิกบาน ผู้คนที่อยู่รอบข้างก็จะได้รับอานิสงส์จากรอยยิ้มและการปรากฏตัว
    ของเรา​
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2> </TD></TR><TR><TD colSpan=2><TABLE border=1 borderColor=#ffffff width=550 bgColor=#0099ff align=center><TBODY><TR><TD>

    “การเรียนรู้ที่จะทำให้คนหนึ่งๆ มีความสุข ถ้าเราทำได้ ก็เท่ากับเราได้เรียนรู้ที่จะแสดงความรักของเราที่มีต่อมวลมนุษย์ และสรรพสิ่งทั้งหลาย.....”
    </TD></TR><TR><TD>

    “เราทุกคนล้วนมีเมล็ดพันธุ์ของความรักอยู่ในตัว
    เราสามารถพัฒนาพลังอันน่าอัศจรรย์นี้ได้
    บ่มเพาะความรักที่ไม่มีเงื่อนไขนี้ . ขนาดที่ไม่ต้องคาดหวังสิ่งตอบแทน
    หากเราเข้าใจใครสักคนดีพอแล้ว .. ถึงคน ๆนั้นจะทำร้ายเรา เราก็ยังคงรักเขาอยู่
    องค์ศากยมุนีทรงตรัสว่า พระพุทธเจ้าในภายภาคหน้าจะมีพระนามว่า “เมตไตรย”
    หรือ “ พระพุทธเจ้าแห่งความรัก..”
    </TD></TR><TR><TD>

    ติช นัท ฮันส์
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 width=763 align=center><TBODY><TR><TD colSpan=2>สุขที่ไร้โทษ

    </TD></TR><TR><TD width=383>
    จากหนังสือ ช่วงชีวิต ช่วงภาวนา

    </TD><TD width=383>
    เขมานันทะ์

    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    มองในแง่จิตวิทยา เรามักจะทำให้คนที่รักเจ็บปวด
    ถ้าคนเดินผ่านหน้าไม่รู้จักมักจี่ ก็ไม่มีเรื่องอะไรมาก
    แต่เรามักมีปัญหากับคนที่รู้จักแล้ว
    เรามักจะใช้ถ้อยคำที่เจ็บแสบทิ่มแทงคนที่เรารัก
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    เพื่อให้เขาเจ็บปวด เพื่อแสดงว่าเราไม่แยแสเขา ทั้งๆ ที่เราอยากให้เขาแยแส พฤติกรรมของเรานั้นเป็นความสับสนในตัวเอง ทั้งที่เราอยากให้เขารัก
    แต่แทนที่เราจะทำตัวให้น่ารัก เรากลับเรียกร้องต้องการอย่างโง่เขลา
    ปฏิกริยาของเราคือ เราต้องทำร้ายเขา ทำให้คนอื่นสับสนไปกับอารมณ์สับสนของเรา
    เพื่อลงโทษเขาว่า ทำไมคุณไม่รักฉัน
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    เราตบหน้าเขาแล้วเราดีขึ้นหรือเปล่า สามีหรือภรรยาก็ตาม เพื่อแสดงออกว่ารัก ก็ด้วยการข่วน หยิก ทำร้าย เตะ ถีบ ด่าทอ กลั่นแกล้ง​
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่น่าประหลาดมากๆ เราไม่ควรหยิ่งกับคนที่เรารัก เราอาจจะหยิ่งกับคนอื่นได้บ้าง ถ้ามีเหตุสมควร เพราะความหยิ่งกับความรักนี้อยู่ร่วมกันไม่ได้
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    แต่มนุษย์ก็มีสันดานอะไรบางอย่างที่เรียกว่า มานะ ต้องเล่นตัว ต้องหยิ่ง ราวกับว่าหยิ่งแล้วจะมีค่า แสดงว่าหัวใจเราไม่ซื่อ ไม่ซื่อกับความรู้สึกภายใน
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    ที่จริงรักก็คือรัก เราคลั่งตัวตนหรือคลั่งผู้อื่นเพื่อสนองความต้องการของตัวเอง ​
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    สับสนไม่รู้ตัวไหนเป็นตัวแท้ของเรา เราไปไขว่คว้าหาตัวเองจากผู้อื่น
    ถ้าเราสติดี เราจะพบว่าเรามีความไม่มั่นใจมากมายในตัวเอง
    เรามักถามคนที่เรารักบ่อยๆ ว่า คุณรักผมหรือเปล่า และผมเป็นคนเดียวของคุณหรือเปล่า
    ถ้าเขาบอกไม่ใช่นี่นอนไม่หลับ กลัดกลุ้ม ดิ้นรน เจ็บปวด
    ในเมื่อตัวเองรักตัวเองไม่ได้แล้ว เราจะให้เขารักเราได้อย่างไร
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    ควรแสวงหาความเข้าใจในความรักเสียก่อนที่จะพบคู่รัก ในเมื่อเราเข้าใจความรักดีแล้ว ปัญหาจะน้อย แต่ถ้าเราหาคู่รักก่อนแล้วค่อยๆ เรียนรู้ ความรักมันจะยุ่ง
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    เมื่อเรากำลังเจริญภาวนา เรากำลังเข้าไปสู่ฐานแห่งความรัก ความสุขที่ไร้ตัวไร้ตน พระพุทธศาสนาไม่ได้สอนให้เราปฏิเสธความสุข ความรัก แม้จะพูดเรื่องอนัตตา เรื่องทุกข์ เรื่องไม่จีรังยั่งยืนก็ตาม
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    แต่ว่านั่นเป็นการพูดให้พัฒนาสติ เพื่อรู้จักรู้แจ้งความจริง เพราะเมื่อรู้จักความจริงแล้ว ความรัก ความสุขที่แท้จริงก็ไม่ไปไหนเสีย
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    มีคนๆ หนึ่งมาหาผม เขาอยากเห็นแม่เขาดีขึ้น ทุกครั้งที่ผมแนะนำเขาๆ โกรธขัดใจ
    ผมทุกที เพราะว่าผมแหย่ถามว่า แม่คุณไม่ดีตรงไหน เขาบอกว่าแม่เป็นคนขี้โกรธ
    ผมก็เห็นสาเหตุได้ชัดนะว่า คนที่จะช่วยคนโกรธยังโกรธอยู่ไม่มีทางที่จะช่วยได้เลย
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    ต้องคนที่เอาชนะความโกรธได้แล้ว ความโกรธของผู้อื่นจึงจะถูกระงับลงได้
    ยากมากที่เราจะรักษาหัวใจของเราให้เต็มเปี่ยม และเราจะต้องต่อสู้
    ถ้าเราไม่ได้ต่อสู้ด้วยหัวใจที่เต็มเปี่ยม เราไม่ได้รักเขา เพียงเราคิดว่าเรารัก
    เมื่อถึงคราวเขาบ้าๆ บอๆ เราเกลียดส่งไปเลย เรามักจะเป็นอย่างนั้น
    เรารักกันพอเขาเฉไฉหรือเขาเลวทรามลง เราแทนที่จะยังดีเท่าเก่าแต่เราถีบส่งเลย หรือไม่ก็เกลียดชังซ้ำเติม แล้วเราเองก็ไม่ได้ดีขึ้น แม้เราคิดว่าเราดีกว่าเขา
    แต่เราก็ไม่ได้ดีกว่าเขาเท่าไหร่ เราเพียงคิดเอาเองว่า เราดีกว่าคนที่เราคิดว่าเขาเลวเท่านั้น การรักคนที่เขารักเรานั้นง่ายนิดเดียว เหมือนไม่ได้ให้บทเรียนอะไรที่ล้ำค่านัก
    คนนั้นรักเรา เรารักเขาเท่านั้นจบแล้ว แต่ว่าเรารักษาความรักของเราไว้ได้ต่อคนซึ่งทำร้ายเรา นี่จึงจะพิสูจน์ว่าเราเป็นมนุษย์ที่ดีได้ เราถูกยกระดับขึ้นแล้ว
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    ชัยชนะนั้นต้องพิจารณาในช่วงยาว ไม่ใช่เฉพาะกรณีนี้เท่านั้น​
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    ถ้าเราสามารถชนะศัตรูของเราโดยที่ศัตรูหันมารักเราได้ นั่นแหละเราชนะจริงๆ
    แต่ถ้าเราทำให้ศัตรูของเราแพ้ เราข่มศัตรูของเราให้พังพินาศลงแล้ว
    เราชนะในช่วงนั้นแต่เราได้สร้างศัตรูผู้แพ้ขึ้นโดยไม่รู้ตัว และตราบลมหายใจสุดท้าย แล้วเราชนะหรือเปล่า มองให้ไกลอย่ามองใกล้ๆ มองการณ์ไกลช่วงยาวของชีวิต
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่าเราไม่มีศัตรูใดๆ ในโลกนี้ เราไม่เป็นศัตรูกับโลก แต่โลกเป็นศัตรูกับเรา พอท่านไปสอนผู้คนที่ไม่ชอบก็จะโกรธท่าน เป็นศัตรูกับพระพุทธเจ้า แต่หารู้ไม่ว่าพระพุทธเจ้านั้นไม่เป็นศัตรูเลย
    ในแง่หนึ่งเราเลียนแบบพระพุทธเจ้าของเรา เรารู้นึกว่าในหัวใจของเราไม่มีศัตรู ที่ตรงนี้เองที่เป็นฐานแห่งความสุข ​
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    ความสุขเกิดขึ้นได้ง่ายตามธรรมชาติด้วย คนที่รู้สึกว่าสิ้นเวรกับชีวิตแล้ว เดินทางมาเหนื่อยๆ ได้ดื่มน้ำแล้วรู้สึกสุขสำราญ ได้นั่งพักใต้ต้นไม้ ได้สนทนากับเด็กๆ ก็รู้สึกเป็นสุขสำราญ แต่ถ้าหัวใจเราผูกเวรไว้ เราอยากเก่ง เราถูกเสี้ยมสอนไว้ให้เป็นคนระห่ำ
    หัวใจกระด้าง จะสุขสำราญอย่างไร้ตัวตนนั้นยาก ​
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    ความสุขของคนที่ยุ่งยากซับซ้อนนั้นไม่มีทางใดนอกจากการเบียดเบียนผู้อื่น
    ได้ข่มใครให้สยบแล้วรู้สึกเป็นสุข ​
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    สิ่งเหล่านั้นไม่ใช่ความสุข เป็นความล่มสลายของความเป็นคน​
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    เมื่อใดที่เรารู้สึกเป็นสุขที่ทำให้คนอื่นพ่ายแพ้ยับเยิน เรานั่นเองได้ฝากรอยแผลลึกไว้ในหัวใจ​
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    ที่พระพุทธเจ้าท่านพูดเช่นนั้นมีความหมายลึก สุขที่เกิดจากการให้อภัย ดูแล้วมันจะคล้ายคนแหย คนไม่สู้คน แต่ถ้าเรียนรู้แล้ว คนแหยนั้นเป็นอีกประเภทหนึ่ง คือ คนโง่ดีๆ นี่เอง ขี้กลัว ไร้สติไร้การให้อภัย​
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    ส่วนคนดีนั้น คือ คนอยู่เหนืออารมณ์ที่โกรธเกลียด คืออยู่เหนือความคิดนั่นเอง​
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2> </TD></TR><TR><TD colSpan=2><TABLE border=1 borderColor=#ffffff width=550 bgColor=#33cc66 align=center><TBODY><TR><TD>
    “ชีวิตคู่เป็นสนามฝึกที่เราสามารถรู้ผลสะท้อนกลับทันทีว่า เราเข้าใจอย่างถ่องแท้
    แค่ไหนต่อ หลักการแห่งสันติ อิสรภาพ ความรัก และการยอมวางอัตตา........”
    </TD></TR><TR><TD>

    “ชีวิตคู่สามารถช่วยเราปลดพันธนาการจากกรรม โดยเอื้อให้เราเห็นชัดว่า
    ตัวเองติดอยู่ในปัญหาอะไร ติดข้องอย่างไรบ้าง
    เมื่ออยู่คนเดียวเรามักจะไม่ค่อยตระหนักรู้ถึงนิสัยของตัวเอง เพราะเราใช้ชีวิตอยู่ภายใต้นิสัยเหล่านั้น....”
    </TD></TR><TR><TD>
    “ความรู้สึกโรแมนติกนั้นขึ้นๆ ลง ๆ อยู่ตลอดเวลา ส่วนความต้องการทางอารมณ์
    ก็เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย เมื่อสมใจอยากแล้วก็ไม่น่าสนใจอีก ทั้งยังเป็นไปไม่ได้ที่ใครจะสนองความต้องการของเราได้ทั้งหมด ไม่ว่าเขาจะเข้ากับเราได้ดีเพียงใดก็ตาม.......”
    </TD></TR><TR><TD>
    เขมานันทะ
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 width=763 align=center><TBODY><TR><TD colSpan=2>ความรัก-ความร้าย

    </TD></TR><TR><TD width=383>
    จากหนังสือ พระอานนท์ พุทธอนุชา
    ตอน ความรัก-ความร้าย


    </TD><TD width=383>
    อ.วศิน อินทสระ

    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    “น้องหญิง ความรักเป็นเรื่องร้ายมิใช่เป็นเรื่องดี พระศาสดาตรัสว่าความรักเป็นเหตุให้เกิดทุกข์โศก และทรมานใจ เธอชอบความทุกข์หรือ ?”​
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    “ข้าพเจ้าไม่ชอบความทุกข์เลยพระคุณเจ้า และความทุกข์นั้นใคร ๆ ก็ไม่ชอบ แต่ข้าพเจ้าชอบความรัก โดยเฉพาะรักพระคุณเจ้า”​
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    “จะเป็นไปได้อย่างไร น้องหญิง! ในเมื่อทำเหตุก็ต้องได้รับผล การที่จะให้มีรักแล้วมิให้มีทุกข์ติดตามมานั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เป็นไปไม่ได้เลย”
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    “แต่ข้าพเจ้ามีความสุข เมื่อได้เห็นพระคุณเจ้า ได้สนทนากับพระคุณเจ้า ผู้เป็นที่รักอย่างยิ่งของข้าพเจ้า รักอย่างสุดหัวใจเลยทีเดียว”​
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    “ถ้าไม่ได้เห็นอาตมา ไม่ได้สนทนากับอาตมา น้องหญิงจะมีความทุกข์ไหม?”​
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    “แน่นอนเลยทีเดียว ข้าพเจ้าจะต้องมีความทุกข์อย่างมาก”
    “นั่นแปลว่าความรักเป็นเหตุให้เกิดทุกข์แล้วใช่ไหม?”
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    “ไม่ใช่พระคุณเจ้า นั่นเป็นเพราะการพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักต่างหากเล่า ไม่ใช่เพราะความรัก”​
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    “ถ้าไม่มีรัก การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักจะมีได้หรือไม่?”
    “มีไม่ได้เลย พระคุณเจ้า”
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    “นี่แปลว่าน้องหญิงยอมรับแล้วใช่ไหม ว่าความรักเป็นสาเหตุชั้นที่หนึ่งที่จะให้เกิดทุกข์”​
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    พระอานนท์พูดจบแล้วยิ้มน้อย ๆ ด้วยรู้สึกว่ามีชัย แต่ใครเล่าจะเอาชนะความปรารถนาของหญิงได้ง่าย ๆ ลงจะเอาอะไรก็จะเอาให้ได้ เพราะธรรมชาติของเธอมักจะใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล ถ้าผู้หญิงคนใดใช้เหตุผลในการตัดสินปัญหาชีวิตหรือในการดำเนินชีวิต หญิงคนนั้นจะเป็นสตรีที่ดีที่สุดและน่ารักที่สุด เหตุผลที่กล่าวนี้มิใช่มากมายอะไรเลย เพียงไม่ถึงกึ่งเท่านั้น ด้วยเหตุนี้แม้นางจะมองเห็นเหตุผลของพระอานนท์ว่าคมคายอยู่ แต่นางก็หายอมไม่ นางกล่าวต่อไปว่า
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    “พระคุณเจ้า ความรักที่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ดังที่พระคุณเจ้ากล่าวมานั้น เห็นจะเป็นความรักของคนที่รักไม่เป็นเสียละกระมัง คนที่รักเป็นย่อมรักได้โดยมิให้เป็นทุกข์”
    “น้องหญิงเคยรักหรือ หมายถึงเคยรักใครคนใดคนหนึ่งมาบ้างหรือไม่ในชีวิตที่ผ่านมา”
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    “ไม่เคยมาก่อนเลย ครั้งนี้เป็นครั้งแรก และคงจะเป็นครั้งสุดท้ายอีกด้วย”​
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    “เมื่อไม่เคยมาก่อนเลย ทำไมเธอจึงจะรักให้เป็นโดยมิต้องเป็นทุกข์เล่าน้องหญิง
    คนที่จับไฟนั้นจะจับเป็นหรือจับไม่เป็น จะรู้หรือไม่รู้ ถ้าลงได้จับไฟด้วยมือแล้วย่อมร้อนเหมือนกันใช่ไหม ?”​
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    “ใช่ พระคุณเจ้า”​
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    “ความรักก็เหมือนการจับไฟนั่นแหละ ทางที่จะไม่ให้มือพองเพราะไฟเผามีอยู่ทางเดียว คืออย่าจับไฟ อย่าเล่นกับไฟ ทางที่จะปลอดภัยจากรักก็ฉันนั้น มีอยู่ทางเดียว คืออย่ารัก
    แต่ความรักย่อมมีวงจรของมัน จนกว่ารักนั้นจะสิ้นสุดลง ชีวิตมักจะเป็นอย่างนี้เสมอ
    เมื่อใครคนหนึ่งพยายามดิ้นรนหาความรัก เขามักจะไม่สมปรารถนา แต่พอเขาทำท่าจะหนี ความรักก็ตามมา ความรักจึงมีลักษณะคล้ายเงา เมื่อบุคคลวิ่งตามมันจะวิ่งหนี แต่เมื่อเขาวิ่งหนี
    มันจะวิ่งตาม”

    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    "ไม่ควรปล่อยตนให้ตกอยู่ภายใต้อำนาจแห่งความรัก เพราะการพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักเป็นเรื่องทรมาน แลเรื่องที่จะบังคับมิให้พลัดพรากก็เป็นสิ่งสุดวิสัย ทุกคนจะต้องพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่พอใจ ไม่วันใดก็วันหนึ่ง​
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    น้องหญิง อย่าหวังอะไรให้มากนัก
    จงมองดูชีวิตอย่างผู้ช่ำชอง
    อย่าวิตกกังวลอะไรล่วงหน้า
    ชีวิตนี้เหมือนเกลียวคลื่นซึ่งก่อตัวขึ้นแล้วม้วนเข้าหาฝั่ง
    และแตกกระจายเป็นฟองฝอย
    จงยืนมองดูชีวิต
    เหมือนคนผู้ยืนอยู่บนฝั่งมองดูเกลียวคลื่นในมหาสมุทรฉะนั้น"​
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    "ดูก่อนน้องหญิง ส่วนเมถุนธรรมนั้น ใคร ๆ จะอาศัยละมิได้เลย นอกจากจะพิจารณาเห็นโทษของมันแล้วเลิกละเสีย ห้ามใจมิให้เลื่อนใหลไปยินดีในกามสุขเช่นนั้น น้องหญิง
    พระศาสดาตรัสว่ ากามคุณนั้นเป็นของไม่เที่ยงไม่ยั่งยืน มีสุขน้อยแต่ทุกข์มาก มีโทษมากมีความคับแค้นเป็นมูล มีทุกข์เป็นผล"
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 width=763 align=center><TBODY><TR><TD colSpan=2>
    ชีวิตกับความรัก

    </TD></TR><TR><TD width=383>
    จากหนังสือ ชีวิตกับความรัก

    </TD><TD width=383>
    อ.วศิน อินทสระ

    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    พุทธศาสนาได้แสดงหลักเอาไว้มากมาย เพื่อให้ชาวโลกได้สมหวังในการดำเนินความรักให้ตลอดรอดฝั่ง ไม่ให้นาวาชีวิตต้องอับปางลงกลางคัน เช่น การบำเพ็ญกรณียกิจที่เป็นหน้าที่ของตนให้สมบูรณ์ทั้งฝ่ายสามีและภรรยา
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    ข้อสังเกตที่เห็นได้ประการหนึ่งก็คือ
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    ควรจะทำความเข้าใจคู่สมรสของตนให้ถ่องแท้ และควรจะพยายามเข้าใจเขามากกว่าที่จะพยายามตั้งความหวังให้เขาเข้าใจเรา ควรทำหน้าที่ของเราให้สมบูรณ์ ดีกว่าที่จะพยายามให้เขาทำหน้าที่ของเขาให้สมบูรณ์โดยที่ตัวเรายังบกพร่องอยู่นานาประการ​
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    ตัวเราก็ยังบกพร่องอยู่มากมาย แต่ว่าต้องการที่จะให้อีกคนหนึ่งหรืออีกฝ่ายหนึ่งทำหน้าที่ให้สมบูรณ์ หรือว่าถ้าเป็นเพื่อนกันเราก็ควรจะตั้งความหวังว่า
    ทำอย่างไรเราจะเป็นเพื่อนที่ดีของใครสักคนหนึ่ง ไม่ได้คิดอยู่แต่ว่าทำอย่างไรเราจะได้เพื่อนที่ดีสักคนหนึ่ง
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    แทนที่จะคิดว่าทำอย่างไรคนนั้นคนนี้จะมาเป็นเพื่อนที่ดีของเรา เรากลับคิดเสียใหม่ว่า ทำอย่างไรเราจะเป็นเพื่อนที่ดีของใครสักคนหนึ่ง ​
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    เมื่อคิดอย่างนี้เราควบคุมได้ แต่ถ้าคิดอีกอย่างหนึ่งว่า ทำอย่างไรคนคนนี้
    จะเป็นมิตรที่ดีของเรา อันนี้เราควบคุมไม่ได้ มันอยู่ที่ตัวเขา
    หรือถ้าเป็นสามีก็คิดว่า ทำอย่างไรเราจะเป็นสามีที่ดีของภรรยา ทำหน้าที่ของสามีที่สมบูรณ์ ไม่ให้เขาเดือดร้อนในเรื่องความเป็นอยู่ มีความรับผิดชอบ ภรรยาก็เหมือนกัน คิดแต่ว่าทำอย่างไรเราจะเป็นภรรยาที่ดีของเขา อย่างนี้ต่างคน
    ต่างคิดก็จะเกื้อกูลกัน คิดปรับปรุงตัวเอง ปัญหามันจะค่อยๆ น้อยลง
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    อาการแปรแห่งความรัก

    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    คือ ความรักแบบเสน่หา ก็อาจจะแปรเป็นมิตรภาพได้ ในกรณีที่ความรักนั้นถูกขัดขวาง ไม่ได้ดำเนินไปตามทางที่มุ่งหมายไว้แต่แรก ความรักแบบเสน่หาจะกลับเป็นมิตรภาพได้ แต่จะเป็นอย่างนั้นได้ก็เฉพาะคนที่มีใจสูงเท่านั้น คนที่มีใจสูงไม่พอไม่อาจทำได้ ส่วนมากเมื่อไม่สมหวังในความรักเสน่หาก็จะแตกหักไปเลย คือ ไม่เกี่ยวข้องกันอีก อาจจะด้วยความละอายต่อกันหรือว่าอาจจะเป็นความช้ำใจ จึงไม่อยากจะพบเห็นกันอีก
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    มีกรณีหนึ่งคือ มิตรภาพที่แปรเป็นความรักก็มี นี่ตรงกันข้ามนะครับ มิตรภาพที่แปรเป็นความรักอันนี้พบได้บ่อย และพบได้เสมอ
    ชายหญิงที่คบกันอย่างเพื่อน หรือนับถือกันอย่างเพื่อนหรือพี่น้องในระยะเริ่มต้น แต่พอนานเข้าความเห็นอกเห็นใจ ความนิยมชมชอบ หรือความเสน่หาเพราะความใกล้ชิดอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม ก็จะทำให้ทั้งสองรักกันอย่างคู่รัก และก็ลงท้ายด้วยการแต่งงาน ความรักที่มีจุดมุ่งหมาย แสวงหาความรักจากผัสสะ จะลงเอยด้วยการแต่งงาน
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    เมื่อแต่งงานนานไป ความรักอันตื่นเต้นทางประสาทสัมผัสก็จะลดลง
    เจือจางลง ถ้ามีคุณธรรมด้วยกันทั้งสองฝ่าย ก็จะกลับไปเข้มข้นทางมิตรภาพ จะเห็นอกเห็นใจกัน เป็นเพื่อนร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน
    ข้อนี้ทางศาสนาพระพุทธเจ้าก็ทรงรับรองว่า คู่ครองนั้นเป็นเพื่อนอย่างยิ่ง จะเป็น ภรรยาหรือสามีก็ตามเถิด ภริยา ปรมา สขา แปลว่า ภริยานั้นเป็นเพื่อนอย่างยิ่ง และอันนี้ก็น่าจะหมายถึงภริยาหรือสามีที่ดีเท่านั้น
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    ภรรยาหรือสามีที่ไม่ดีก็จะเป็นศัตรูที่ร้ายกาจเหมือนกัน ดูไปแล้วก็คล้ายๆ กับมีงูพิษอยู่ในบ้าน น่าระแวง น่าเกรงภัย คือว่ามีตัวอย่างให้ดูมากมายอยู่แล้วเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ ที่มีงูพิษอยู่ในบ้าน
    แทนที่จะเป็นเพื่อนอย่างยิ่งหรือเป็นกัลยาณมิตรที่ยอดเยี่ยม กลับกลายเป็นข้าศึกหรือศัตรูที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก บางคนก็ต้องเสียทั้งตัวและลูก
    และบางคนก็ต้องทนทุกข์ทรมานอกไหม้ไส้ขมไปตลอดชาติ
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    การเข้าไปเกี่ยวข้องกับความรักก็เป็นเรื่องเสี่ยงมากในลักษณะนี้
    แต่ถ้ามันจะต้องทนอยู่อย่างทุกข์ทรมาน จะต้องอยู่กับงูพิษก็เลิกไป จะอยู่ทำไม เราไม่ได้เกิดมาเพื่อจะเป็นทุกข์ ไม่ได้เกิดมาเพื่อจะทนทุกข์ทรมานกับเรื่องอย่างนี้ มันมีเรื่องอะไรที่ดีๆ ที่ควรจะทำกว่านี้อีกมากมาย
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    อาการแปรแห่งความรักที่มาจากความรักแบบเสน่หา ความรักแบบหญิงชายมาเป็นมิตรภาพหรือไมตรี
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    อันนี้เป็นสิ่งที่น่าสนใจ ไมตรีเป็นสิ่งที่น่าสนใจ คนที่เคยรักกันแบบ
    หนุ่มสาว ถ้าเผื่อว่าการดำเนินความรักเป็นไปไม่ได้อีกต่อไป หรือเหตุใดเหตุหนึ่ง มันก็ควรจะแปรให้มันเป็นมิตรภาพ เพราะว่าความรักในแบบมิตรภาพนั้นเป็นความรักที่ดี ก็พยายามทำให้ได้ เป็นเพื่อนร่วมทุกข์เกิดแก่เจ็บตายด้วยกัน
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    ถึงอย่างไรก็รักความสุข เกลียดความทุกข์ด้วยกัน แต่ว่านิสัยใจคออุปนิสัยต่างๆ มันเป็นไปไม่ได้ เข้ากันไม่ได้ อะไรกันไม่ได้
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    บางคนต่างคนต่างก็ดีทั้งสองคน เขาก็ดีอย่างเขา เราก็ดีอย่างเรา
    แต่พอรวมกันแล้วไม่ดี มันก็แยกกัน พอแยกกันต่างคนต่างก็ดี รวมกันแล้ว
    มันผิดพลาดมันไม่ตรง จะไปดีกับคนอื่นเหมาะกับคนอื่น แต่ว่าไม่เหมาะกับเรา กับคู่นั้น จับคู่ผิด รวมความว่าจับคู่ผิด
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    เพราะฉะนั้น ก็เลิกไป ให้เหลือไมตรีจิตเอาไว้ไม่ถึงกับต้องเป็นศัตรูกัน​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>



    คัดลอกมาจาก
    http://kwamjing.freewebsites.com/chapter20.htm

    -------------------------------------------------------------------------------
     

แชร์หน้านี้

Loading...