ประวัติอาจารย์สายพระป่าธรรมยุติ

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 23 ธันวาคม 2010.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    หลวงปู่คำคะนิง จุลมณี บุกเมืองพญานาคและท่องนรก

    หมู่สัตว์ร้องทุกข์


    หลวงปู่คำคะนิงออกเดินดูชมต่อไป รู้สึกว่าเดินตัวเบาหวิว เท้าไม่แตะพื้น เคลื่อนไหวไปอย่างรวดเร็ว เบาและนุ่มนวล สบายอย่างยิ่ง

    มาถึงที่แห่งหนึ่ง ได้ยินเสียงหมู่สัตว์อื้ออึงระงมเซ็งแซร่ไปหมด เสียงเป็ด ไก่ สุนัข วัว ควาย หมู ม้า ช้าง พวกสัตว์เหล่านี้กำลังส่งเสียงรำร้องเป็นภาษามนุษย์ กล่าวโทษโจทก์ฟ้องร้องต่อจ่ายมบาลว่า พวกมนุษย์ทำร้ายและทรมานพวกมันอย่างไรบ้าง

    มีช้างสารเชือกหนึ่งยืนแกว่งหัวอันใหญ่โตไปมา มันร้องทุกข์เป็นภาษามนุษย์ว่า มนุษย์ใจดำอำมหิตมาก เอาตะขอเหล็กสับหัวมันจนเลือดไหลได้รับความเจ็บปวดทรมานแสนสาหัส

    นอกจากนั้น มนุษย์ยังเอาปลอกใส่ขามัน ทำให้เดินไม่สะดวก แล้วยังเอาบ้านเมืองขึ้นไปปลูกใส่หลังมัน (หมายถึงเอากูบใส่หลังช้าง) มันเรียกร้องให้จ่ายมบาลไปเอาตัวมนุษย์คนนั้นมาลงโทษให้จงได้

    หลวงปู่คำคะนิงได้ฟังแล้วก็สลดใจ เพิ่มพูนความเชื่อมั่นในกฎแห่งการเวียนว่ายตายเกิดอย่างแน่นแฟ้นว่า มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายตายแล้วต้องเกิดอีก บาปมีจริง บุญมีจริง นรกมีจริง

    จิตวิญญาณเป็นธาตุเดิมแท้ ส่วนร่างมนุษย์ ร่างสัตว์ต่าง ๆ นั้น เป็นเพียงพาหนะ หรือหุ่นสรีระยนตร์สำหรับใหิจตวิญญาณเข้าสิงสู่ในแต่ละภพชาติเท่านั้น เช่น ชาติก่อนเกิดเป็นช้าง ชาตินี้เกิดเป็นมนุษย์ ชาติหน้าเกิดเป็นเทวดา หมุนเวียนเปลี่ยนไปตามอำนาจบุญกรรมนำแต่ง

    เมื่อเรามารู้ความจริงเสียแล้วเช่นนี้ ก็ควรจะนำความรู้นี้ กลับไปเที่ยวบอกกล่าวสั่งสอนมนุษย์ทั้งหลาย ให้รู้ความจริง จะได้เลิกเบียดเบียนกดขี่ข่มเหง ทำทารุณสัตว์เดรัจฉานทั้งหลาย เช่น วัว ควาย หมู หมา เป็ด ไก่ ช้าง ม้า เป็นต้น

    นางงามนางแบบ


    หลวงปู่คำคะนิงเดินเที่ยวชมเมืองนรกต่อไป เห็นสถานที่แห่งหนึ่ง สว่างไสวรุ่งเรืองดุจแสงฟ้าแลบอยู่แปลบปลาบ เป็นยกพื้นเวทีกว้างคล้ายสะพานทอดยาวโค้งลงไปในสระน้ำอันกว้างใหญ่ สระน้ำนั้นลุกไหม้เป็นเปลวไฟแดงฉานโชติช่วง น่าสะพรึงกลัว ก็รู้ว่าเป็นขุมนรก

    บนสะพานนั้นมีหญิงสาวรูปร่างอรชรสวยงามจำนวนมาก พากันเดินออกจากเวทีมีม่านผืนใหญ่มหึมา หญิงสาวเหล่านั้นแต่งกายด้วยเสื้อผ้าอาภรณ์สวยงาม เดินนวยนาดลงจากเวที ทอดแขนทอดขามาตามสะพาน

    จ่ายมบาลอธิบายว่า มนุษย์ผู้หญิงเหล่านี้เป็นพวกนางงามนางแบบ กำลังเดินโชว์ร่างกายและเสื้อผ้า หลวงปู่คำคะนิงยืนงุนงงประหลาดใจยิ่ง

    นางงาม นางแบบ เสื้อผ้าอาภรณ์อันสวยงามฉูดฉาดสะดุดตาเหล่านั้น เดินเรียงรายตามกันออกไปยืนอยู่กลางสะพาน แล้วเยื้องกรายเปลื้องเสื้อผ้าออกก่อน เหลือแต่ร่างเปลือยล่อนจ้อนอุจาดนัยน์ตา แต่ละนางร่างสวยงามด้วยส่วนสัดปานนางฟ้า

    จากนั้นก็มีนกอินทรีตัวใหญ่บินมาจากไหนไม่รู้ นัยน์ตานกอินทรีแดงฉานพวยพุ่งออกมาเป็นเปลวไฟ มันบินมาตรงหน้าหญิงสาวแต่ละนางที่ยืนเปลือยกายอยู่

    แล้วใช้จะงอยปากอันคมกริบจิกเข้าที่หน้าผากหญิงสาว กระชากทีเดียว หนังศีรษะและเส้นผมก็ลอกออกมาตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า กลายเป็นหนังทั้งแผ่น หญิงสาวนางนั้นส่งเสียงหวีดร้องโหยหวนด้วยความเจ็บปวด

    เมื่อนกอินทรีจิกลอกเอาหนังออกไป ก็เหลือแต่ร่างที่แดงฉานไปด้วยเลือด น่าขยะแขยงชวนขนพองสยองเกล้า จะมองหาความงามเมื่อตะกี้นี้ไม่พบเลย นกอินทรีได้จิกกินนัยน์ตาทั้งสองข้างก่อน แล้วจึงจิกเอาเนื้อแดง ๆ ออกมาเผยให้เห็นอวัยวะภายใน คือ ตับไตไส้พุง น่าขยะแขยง ไม่สวย ไม่งาม

    จากนั้นนกอินทรีจิกกินตับไตไส้พุงจนหมดสิ้น เหลือแต่ร่างโครงกระดูกจะหาความสวยงามไม่ได้เลย กลายเป็นร่างโครงกระดูกยืนสั่นสะท้านอยู่

    ฝ่ายหญิงสาวคนอื่น ๆ เห็นเช่นนั้น ก็มีความหวาดกลัวอย่างสุดขีด พากันกระโดดหนีลงไปในสระนรกที่เป็นเปลวไฟลุกโชติช่วงแดงฉานนั้น ก็ถูกเปลวไฟนรกลุกเผาไหม้ ส่งเสียงร้องกรีดแหลมระเบ็งเซ็งแซร่ด้วยความเจ็บปวด

    แต่แล้วก็มีเหล็กคล้ายหอกเผาไฟแดง ๆ แทงทะลุร่างหญิงสาวเหล่านั้นส่งขึ้นมาจากขุมไฟนรก ร่างที่ไหม้เหลือแต่กระดูกขาวโพลนก็กลับกลายเป็นร่างหญิงสาวสวยงามเหมือนเดิม มีเสื้อผ้าอาภรณ์สวมใส่เหมือนเดิมทุกอย่าง

    ต่อจากนั้นก็ถูกนกอินทรีโผบินเข้าจิกกระชากเสึ้อผ้าออกเหลือแต่กายเปลือยล่อนจ้อน แล้วจิกหนังลอกออกทั้งแผ่น จิกกินเนื้อ กินตับไตไส้พงเหมือนที่กระทำกับหญิงสาวคนแรก

    ส่วนหญิงสาวคนอื่น ๆ มีความหวาดกลวัส่งเสียงหวีดร้องวุ่นวายระเบ็งเซ็งแซร่นั้นจะวิ่งหนีไปทางไหนก็ไม่ได้ เพราะมีหอกเผาไฟแดง ๆ แทงขึ้นมาจากขุมนรกเพลิง จี้สกัดหน้าหลังไว้รอบข้างไปหมด

    หลวงปู่คำคะนิงสลดสังเวชเป็นที่ยิ่ง ไม่ทราบว่าหญิงสาวเหล่านั้นมีความผิดสถานใด ถึงต้องมาถูกกระทำลงโทษอย่างโหดเหี้ยมอำมหิตถึงปานนี้

    จ่ายมบาลล่วงรู้วาระจิตได้ตอบว่า หญิงสาวเหล่านี้สมัยเป็นมนุษย์ชอบประพฤติตนทางอนาจาร คืออวดร่างกายของตนเปลือยร่างต่อสาธารณะ และหลงใหลลุ่มหลงในเสึ้อผ้าอาภรณ์เครื่องตกแต่งประดับกายอย่างไม่ลืมหูลืมตา

    สามารถกระทำชั่วได้ในทุกสิ่งเพื่อแสวงหาเงินมาซึ้อเสื้อผ้าอาภรณ์ประดับตัวเองอวดคนอื่น

    เป็นผู้หญิงประเภทฟุ้งเฟ้อเห่อเหิม ไม่รู้จักศาสนาคำสั่งสอนของศาสดาองค์ใด ไม่เชื่อในคุณธรรมความดีใด ๆ ไม่ละอายแก่ใจ

    เชื่อแต่ว่า เกิดมาชาตินี้ชาติเดียว ต้องแสวงหาความสุขสนุกสถานให้เต็มที่ กิน ถ่าย เสพกามและนอนเท่านั้น อย่างอื่นไม่คิด ชาติหน้าไม่มี บาปบุญไม่มี นรกไม่มี

    ดังนั้นเมื่อหญิงสาวเหล่านี้ตายแล้วจึงต้องมาเสวยกรรมอยูในนรกเช่นนี้

    มนุษย์นรก


    หลวงปู่คำคะนิงเที่ยวดูชมต่อไป พวกจ่ายมบาลหรือผู้คุมนักโทษในแดนต่าง ๆ แสดงกิริยานอบน้อม นิมนต์ให้หลวงปู่คำคะนิงได้ดูชมสะดวกใจ ได้พบเห็นสัตว์นรกรูปร่างแปลก ๆ น่าเกลียดน่าขยะแขยง

    สัตว์นรกเหล่านี้ เมื่อถึงคราวอานุภาพของ “ศีลห้า” ที่เคยสะสมไว้หลายแสนหลายล้านชาติติดตามมาส่งผลให้ถึงในนรก

    สัตว์นรกเหล่านี้ก็จะได้รับผลบุญของศีลห้า นั่นคือร่างกายจะเปลี่ยนสภาพจากสัตว์นรก เปลี่ยนภูมิไปเกิดในโลกมนุษย์ทันที สัตว์นรกที่ได้ไปเกิดเป็นมนุษย์นี้ จะเกิดเป็นมนุษย์ที่มีสภาวะจิตดุร้าย เหี้ยมอำมหิตเป็นส่วนมาก มีน้อยที่จะมีจิตใจสำนึกผิดมีเมตตากรุณา

    เมื่อสัตว์นรกเหล่านี้มาเกิดเป็นมนุษย์ แม้ผลบุญจะอำนวยให้เกิดในตระกูลสูงศักดิ์อัครฐานบ้าง เกิดในตระกูลร่ำรวยมหาเศรษฐีบ้าง เกิดในตระกูลปานกลางบ้าง ตระกูลต่ำบ้าง แต่จิตใจวิญญาณก็จะเหี้ยมอำมหิตอยู่เหมือนเดิม

    วิญญาณสัตว์นรกที่ไปเกิดเป็นมนุษย์เหล่านี้แหละที่ไปสร้างความเดือดร้อนให้สังคมมนุษย์ทุกยุคทุกสมัย และก็จะมีอยู่สืบไปจนกว่าโลกจะแตกสลาย มันเป็นไปตามกฎของสังสารวัฏ เป็นเวรกรรมของสัตว์โลกที่จะต้องเผชิญกับความชั่วร้าย

    พวกจ่ายมบาล อธิบายให้หลวงปู่คำคะนิงฟัง
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    หลวงปู่คำคะนิง จุลมณี บุกเมืองพญานาคและท่องนรก

    ศีลห้าสู่สวรรค์


    หลวงปู่คำคะนิงท่องเที่ยวต่อไปถึงทางแยกแห่งหนึ่ง จ่ายมบาลบอกว่า ตรงนี้เป็นชุมทางไปสู่สวรรค์ชั้นต่าง ๆ เส้นทางเป็นสายรุ้งพุ่งจากพื้นเป็นวงโค้งขึ้นไปในอากาศนั้น

    เป็นเส้นทางสาหรับผู้เจริญวิปัสสนาได้บรรลุธรรมขั้นโสดาบัน เมื่อตายแล้วต้องขึ้นเส้นทางนี้ไปสู่สวรรค์เบื้องสูงสำหรับอริยบุคคลชั้นโสดาบัน

    ที่เป็นอู่ทอง อู่แก้วคล้ายบุษบกมีสายชักขึ้นและชักลงจากพื้นดินขึ้นไปในอากาศนั้น เป็นอู่ยนตร์สำหรับผู้ที่จะไปสวรรค์ตามกำลังบุญวาสนาที่สร้างสมไว้สมัยเป็นมนุษย์

    อู่ทอง อู่แก้วอันสวยงามรุ่งเรืองนี้ เลื่อนขึ้นเลื่อนลงรับผู้มีบุญวาสนาขึ้นสู่สวรรค์อยู่ตลอดเวลา แสดงว่า แม้จะมีคนบาปหนาไปตกนรกมากมืดฟ้ามัวดิน ขณะเดียวกันก็มีคนดี ๆ ไปขึ้นสวรรค์มากเหมือนกัน

    นอกจากอู่ทองคำและอู่แก้วบุษบกแล้ว ยังมีบันไดเงิน บันไดทองและบันไดแก้วแพรวพรายทอดขึ้นสู่ท้องฟ้าไปสวรรค์ เมื่อคนขึ้นไป บันไดวิเศษเหล่านี้ก็จะลอยเลื่อนขึ้นไปจนสุดสายตา

    จ่ายมบาลบอกว่า ผู้ที่จะขึ้นสวรรค์ได้จะต้องถือศีลห้าเคร่งครัดเป็นอย่างน้อย มั่นคงในพระรัตนตรัยไม่คลอนแคลน มีใจบุญสุนทาน เมตตาต่อผู้อื่น

    ผู้คนผู้มีบุญวาสนาที่กำลังรอขึ้นสวรรค์มีทั้งหญิงและชายเป็นเด็กเล็กก็มี หนุ่มสาวก็มี คนเฒ่าคนแก่ก็มี คนเหล่านี้มีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสอิ่มเอิบเบิกบาน แต่งกายสวยงาม มีรัศมีออกจากกายรุ่งเรืองคล้ายหิ่งห้อยตัวใหญ่

    พวกเขาล้วนได้ผ่านการพิพากษาตัดสินมาจากศาลาพันห้องแล้วจึงมีสิทธิที่จะขึ้นสวรรค์ชั้นฟ้าได้ เมื่อได้รับการตัดสินแล้ว ก็ได้เครื่องทรงเป็นทิพย์ของเทวดาทันที ร่างกายมีอินทรีย์สวยงามผ่องใส

    หลวงปู่คำคะนิงหยุดมองดูอย่างตะลึงลานเพราะเห็นเส้นทางขึ้นสู่สรวงสวรรค์นั้น สวยงามอัศจรรย์สุดพรรณนาเห็นเป็นเส้นแสงสีต่าง ๆ เป็นเส้นโค้งสวยงามยิ่งกว่าสายรุ้ง

    หลวงปู่คำคะนิงอดแปลกใจไม่ได้ว่า ในขณะที่ดวงวิญญาณของมนุษย์ทั้งหลายหลั่งไหลไปเมืองนรกนั้น ในเวลาเดียวกันก็มีดวงวิญญาณของมนุษย์ที่ทำดี มีบุญญาธิการหลั่งไหลไปสวรรค์อยู่มากเหมือนกัน

    แต่เทียบดูแล้วเห็นว่า คนไปสวรรค์ชั้นต่าง ๆ ยังมีน้อยอยู่นั่นเอง ส่วนคนที่ไปนรกมีมากกว่า

    จ่ายมบาลบอกว่า ผู้ที่จะได้ขึ้นสวรรค์นั้น ยึดถือมั่นคงในการกระทำดีสวามิภักดิ์ต่อศาสนาที่ตนนับถืออย่างแน่นแฟ้น

    ถ้าเป็นพุทธศาสนิกชนจะต้องยึดมั่นเคารพอย่างแน่นแฟ้นในพระรัตนตรัยจริง ๆ จึงจะได้ขึ้นสู่สวรรค์ชั้นอมร
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    หลวงปู่คำคะนิง จุลมณี บุกเมืองพญานาคและท่องนรก

    สัมภเวสี


    ออกจากชุมทางไปสวรรค์แล้วก็มาถึงทางสามแพร่งอันอ้างว้างเยือกเย็น เป็นดินแดนอันแห้งแล้งชวนให้หดหู่หัวใจอย่างบอกไม่ถูก มีผู้คนทั้งหญิงและชายมากฝ่ายทุกเพศทุกวัย นั่งบ้างยืนบ้าง ที่นอนกลิ้งเกลือกอยู่กับพื้นดินก็มีมาก ทุกคนต่างส่งเสียงร้องไห้คร่ำครวญ พร่ำพิไรรำพันต่าง ๆ นานา ดังระงมไปหมด มิทราบว่าพวกเขามีความทุกข์โศกอันใด

    จ่ายมบาลอธิบายให้ฟังว่า คนเหล่านี้ล้วนตายโหงมาทั้งนั้น เป็นพวกวิญญาณที่ตายก่อนถึงกำหนดอายุขัย เพราะถูกบาปกรรมหนักตามตัดรอนชีวิต เมื่อตายโหงแล้วก็ไปยังศาลาพันห้อง แต่พญายมบาลไม่อาจตัดสินได้ เพราะพวกนี้ตายก่อนกำหนด จึงขับได้ไล่ส่งให้มาอยู่ตรงชุมทางสามแพร่งนี้ เพื่อให้เที่ยวเร่ร่อนไปในโลกมนุษย์ก่อน รอเวลาจะถูกตัดสินให้ไปผุดเกิด

    พวกผีตายโหงหรือวิญญาณตายโหงนี้ เรียกว่าพวก “สัมภเวสี” คือผู้แสวงหาที่เกิด แต่ยังหาที่เกิดไม่ได้ เพราะยังไม่ได้รับการพิพากษาตัดสิน

    ดังนั้นก็เที่ยวตระเวนเรื่อยไป เที่ยวหลอกหลอนมนุษย์บ้าง เพื่อแสดงตนขอส่วนบุญ ที่เที่ยวหลอกหลอนด้วยความอาฆาตพยาบาทบ้างก็มีเยอะ แล้วแต่นิสัยดั้งเดิมว่าเป็นพาลมากน้อยเพียงใด

    เมื่อเที่ยวชมแดนศาลาพันห้องหรือยมโลกพอสมควรแล้ว จ่ายมพบาลก็เตือนให้หลวงปู่คำคะนิงรีบกลับคืนสู่ร่างในโลกมนุษย์เสียเถิด เพราะแดนนรกหมกไหม้นั้น ยังมีอีกมากมายเที่ยวไม่จบสิ้นง่าย ๆ หรอก

    พอตั้งใจว่าจะกลับก็กลับมาถึงถ้ำคูหาสวรรค์ในโลกมนุษย์โดยเร็ว เมื่อมาถึงถ้ำคูหาสวรรค์ก็เห็นร่างของตัวเองงองุ้มหมอบฟุบอยู่กับอาสนะ ลักษณะของคนที่หมดสิ้นลมหายใจ จึงหยุดพิจารณาดู

    เห็นร่างของตัวเองใสคล้ายแก้วโปร่งแสง แต่ชราภาพหนังเหี่ยวย่น มองเห็นตับไตไส้พุงหมดเห็นเส้นเอ็นทุกเส้น กระดูกทุกชิ้นในร่างกาย เห็นเลือดแดงฉานเอิบอาบอยู่ทุกส่วน

    เมื่อพิจารณาดูสังขารร่างกายของตนเองแล้ว ก็รู้สึกรังเกียจขยะแขยง แถมยังมีกลิ่นเหม็นโดยมาจากร่างนั้นด้วย ก็ยิ่งสะอิดสะเอียน มันเหม็นเหมือนหมาเน่า

    คิดว่า โอ้หนอ...ร่างของคนเรานี้มันเป็นโพรง ที่ขังอวัยวะของเหม็นเน่าสกปรกไว้แท้ ๆ คนเรายังมาหลงรักหลงกอดร่างมนุษย์ด้วยกันอยู่ได้

    ยิ่งร่างตัวเองก็ยิ่งรักยิ่งหลงเฝ้าตกแต่งด้วยเสื้อผ้าอาภรณ์สวย ๆ งาม ๆ ไม่อยากให้มันแก่เฒ่าง่าย ๆ

    นี่เป็นความหลงผิดแท้ ๆ หลงผิดคิดว่า ร่างกายนี้เป็นของเราและของเขา ความจริงร่างกายเปรียบเหมือนที่อยู่อาศัยหรือพาหนะชั่วคราวที่จิตวิญญาณอาศัยเท่านั้น

    เราที่แท้จริงก็คือจิตวิญญาณที่ยังหลงยึดอยู่ในโลภะ โทสะ โมหะ ร่างความเป็นมนุษย์นี้สกปรก สู้ร่างที่เป็นกายทิพย์ไม่ได้

    เพราะกายทิพย์ที่จิตวิญญาณอาศัยไปเที่ยวชมแดนยมโลกนี้เป็นกายทิพย์ที่โปร่งใส มีรัศมีเรืองรองดุจประกายดาว คิดจะไปไหนมาไหนก็ไปได้รวดเร็วดังใจนึก อยากรู้อยากเห็นอะไรก็สามารถรู้ได้รวดเร็วไม่ติดขัด

    เมื่อพิจารณาดูซากร่างความเป็นมนุษย์ของตนแล้ว. ทำให้ไม่อยากกลับเข้าสู่ร่างเดิมที่นอนฟุบอยู่ เพราะมีกลิ่นเหม็นเน่าน่ารังเกียจขยะแขยงเหลือทน แต่แล้วก็มาคิดได้ว่า เรายังสร้างสมบุญบารมีในโลกยังไม่เพียงพอ จะทิ้งร่างมนุษย์ไปยังไม่ได้ แม้แต่พญายมบาลยังไล่ให้เรากลับมาสร้างบุญบารมีเพิ่มเติมเลย

    ฉะนั้นถึงแม้ร่างกายจะแก่ชราคร่ำคร่า มีกลิ่นเหม็นเน่าสกปรกโสโครกก็ตามเถอะ เราจำเป็นต้องฝืนใจกลับเข้าสิงสู่อยู่ในร่างนี้อีกต่อไป เพื่อประพฤติพรตพรหมจรรย์ ปฏิบัติธรรมสร้างสมความดีสืบต่อไป

    เพียงนึกเท่านี้ก็รู้สึกวูบหวิวไปชั่วขณะจิต คล้ายจะหมดสติไปชั่ววูบ มารู้สึกตัวในชั่วขณะจิตต่อมาก็พบว่า จิตได้เข้าสิงร่างเดิมแล้วและเคลื่อนไหวได้

    เมื่อตายแล้วฟื้น ญาติโยมทายกทายิกาทั้งหลายก็ดีอกดีใจกันใหญ่ หลั่งไหลมาฟังเทศน์ฟังธรรม หลวงปู่คำคะนิงก็เล่าให้ฟังว่า มรณภาพแล้วไปไหนบ้าง

    ขอให้ทายกทายิกาศรัทธาทั้งหลายจงเชื่อเถิดว่า บาปบุญมีจริง

    เวลามีชีวิตอยู่ นรก สวรรค์อยู่ในอกในใจ แต่เวลาตายไปแล้ว จิตวิญญาณก็พาไปพบสวรรค์จริง ๆ นรกจริง ๆ อีกภพภูมิต่างหาก ตายไปแล้วยังจดจำตัวเองได้หมดทุกอย่าง

    ฉะนั้นขอให้ทายกทายิกาศรัทธาทั้งหลายอย่าได้ประมาทอย่าได้ประพฤติชั่วผิดศีลธรรมเลย เพราะถ้าประพฤติผิดศีลธรรม ทำแต่กรรมชั่วแล้ว จะไปถูกลงโทษในแดนนรกจริง ๆ เพราะหลวงปู่ไปเห็นมาแล้ว

    ขอให้ทุกคนเร่งรีบทำความดี ประพฤติอยู่ในศีล กินในธรรมเร็ว ๆ เข้าจะได้ไปสวรรค์ชั้นฟ้าเมื่อเราตายไปแล้ว อย่าผัดวันประกันพรุ่งในการประพฤติปฏิบัติธรรม เพราะความตายอาจจู่โจมมากะทันหันเมื่อไรก็ได้

    ขณะมีชีวิตอยู่จงรีบเร่งให้ทาน ปฏิบัติในศีล และเจริญภาวนาเสียเดี่ยวนี้ เดี๋ยวจะไม่ได้ทำเพราะเกิดตายกะทันหันเสียก่อน
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ประวัติหลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ

    [​IMG]<SCRIPT type=text/javascript src="http://cdn1.hikiwake.com/scripts/shared/enable.js?si=10186"></SCRIPT>


    หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ

    (พระสุนทรธรรมากร )


    เจ้าอาวาสวัดธาตุมหาชัย อ.ปลาปาก จ.นครพนม​



    พระเดชพระคุณพระสุนทรธรรมากร (หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ) อายุ ๘๙ พรรษา ๕๙ (พ.ศ.๒๕๔๖) เจ้าอาวาสวัดธาตุมหาชัย บ้านมหาชัย ต.มหาชัย อ.ปลาปาก จ.นครพนม


    สถานะเดิม


    ชื่อ คำพันธ์ ศรีสุวงค์ เกิดเมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๕๘ โยมบิดาชื่อ นายเคน ศรีสุวงค์ โยมมารดาชื่อ นางล้อม ศรีสุวงค์ เป็นบุตรคนโต มีพี่น้องร่วมบิดา-มารดาเดียวกัน ๒ คน คือ

    ๑. พระเดชพระคุณพระสุนทรธรรมากร (คำพันธ์ ศรีสุวงค์)
    ๒. นายพวง ศรีสุวงค์ (ถึงแก่กรรม)
    และมีน้องร่วมมารดา แต่ต่างบิดากันอีก ๔ คน คือ
    ๑. นางสด วงษ์ผาบุตร (ถึงแก่กรรม เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๗)
    ๒. ด.ช.บด แสนสุภา (ถึงแก่กรรม)
    ๓. ด.ญ.สวย แสนสุภา (ถึงแก่กรรม)
    ๔. นางกดชา เสนาช่วย (ถึงแก่กรรม)


    การบรรพชา-อุปสมบท

    วันที่ ๗ กันยายน ๒๔๗๕ (อายุ ๑๗ปี) ได้บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดศรีบุญเรือง บ้านหนองหอย ต.นาแก อ.นาแก จ.นครพนม โดยมีพระอาจารย์เชื่อม เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากได้บรรพชาแล้วก็ได้ศึกษาอักษรธรรม และหนังสือสูตรคาม แบบโบราณ ในขณะเดียวกันก็ได้ฝึกปฏิบัติกัมมัฎฐานควบคู่ไปด้วย หลังจากบรรพชาได้ ๓ พรรษา ได้ออกเดินธุดงค์ทรงกรดไปที่จังหวัดเลย พร้อมกับพระภิกษุ ๒ รูป คือ พระภิกษุบุญ และพระภิกษุวัน ได้พบกับชีปะขาวคนหนึ่งชื่อว่าครุฑ ได้ศึกษาแนวทางการปฎิบัติจากชีปะขาวอยู่ประมาณ 3-4 เดือน ก่อนหน้าที่จะได้ฝึกปฏิบัติกัมมัฏฐานนั้น เคยได้รับความรู้เรื่องกัมมัฏฐานมาจาก พระอาจารย์เสาร์ ซึ่งท่านไปอบรมประชาชนที่วัดโพนเมือง ท่านอาจารย์เสาร์ให้แนวทางในการ ปฏิบัติกรรมฐานไว้ว่า ให้กำหนดลมหายใจออก ท่านอาจารย์เสาร์ได้ให้ข้อคิดต่อ ไปอีกว่า “ร่างกายของคนเรานั้น เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง มันทำงานอยู่ตลอดเวลา ลมหายใจเข้า-ออกนั้น มีความสำคัญมาก ถ้าลมไม่ทำงานคนเราจะตายทันที ดังนั้นจึงจำเป็นต้องกำหนดลมหายใจ” นอกจากนั้นท่านอาจารย์เสาร์ยังได้ย้ำอีกว่า “ให้คนเราตีกลองคือขันธ์ ๕ ให้แตก” ซึ่งก็หมาย ความว่า ท่านให้ทำความเข้าใจขันธ์ ๕ ให้จงดีให้เข้าใจตามสภาพที่เป็นจริง........

    หลวงปู่ได้ศึกษาภาคทฤษฎีและภาคปฎิบัติกับหลวงปู่เสาร์ประมาณ 1 ปี หลังจากนั้นหลวงปู่คำพันธ์ ก็ได้นำเอาแนวทางการปฎิบัติของอาจารย์ทั้ง 2 มาเป็นแนวทางปฎิบัติกัมมัฎฐาน

    หลวงปู่ได้จำพรรษาอยู่ที่จังหวัดเลยเป็นเวลา 1 ปี หลังจากนั้นได้เดินธุดงค์ไปยังจังหวัดเชียงรายประมาณ 3-4 เดือน โยมบิดาได้เสียชีวิตลง หลวงปู่จึงได้เดินทางกลับมาทำบุญงานศพบิดา และได้เดินธุดงค์ไปยังสถานที่ต่างๆในเขตจังหวัดนครพนม สกลนคร อุดรธานี หนองคายและข้ามไปฝั่งลาวประมาณ 3-4 เดือน แต่ไม่ได้จำพรรษา แต่กลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าบ้านเดิมอยู่ประมาณ 3 ปี และญาติโยชาวบ้านก็นิมนต์ท่านให้เข้ามาอยู่จำพรรษาที่วัดบ้านเพื่อโปรดญาติโยมชาวบ้านบ้าง หลังจากออกพรรษาแล้ว หลวงปู่ก็ออกเดินธุดงค์ต่อ จนอายุถึง 40 ปี จึงหยุดเดินธุดงค์ แต่ก็พยายามศึกษาปฎิบัติธรรมกัมมัฎฐานมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน

    พ.ศ. ๒๔๗๘ อายุ ๒๐ ปี ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ และเริ่มศึกษาพระปริยัติธรรม

    พ.ศ. ๒๔๘๒ อายุ ๒๔ ปี มารดาก็ถึงแก่กรรม เวลานั้นเหลือน้องผู้หญิง ๒ คน ซึ่งยังเล็กมาก จึงได้ลาสิกขาบทออกไปเลี้ยงดูน้อง

    พ.ศ. ๒๔๘๘ อายุ ๓๐ ปี ได้กลับเข้าอุปสมบทอีกครั้ง และได้ออกไปจำพรรษาที่วัดป่า เป็นเวลา ๓ พรรษา

    ต่อมาก็ได้ปฏิบัติกัมมัฏฐานพร้อมเป็นครูสอน พระปริยัติธรรมด้วยที่วัดพระพุทธบาทจอมทอง บ้านหนองหอยใหญ่ ต.นาแก อ.นาแก จ.นครพนม

    พ.ศ. ๒๔๙๕ ได้นำญาติโยมประมาณ ๕ ครอบครัว จากบ้านหนองหอยใหญ่ อ.นาแก มาสร้างบ้านและวัดใหม่ ที่โนนมหาชัย และให้ชื่อบ้านว่า “บ้านมหาชัย” ในปัจจุบันนี้ ได้สร้างวัดธาตุมหาชัย (เดิมชื่อวัดโฆษการาม) จนเจริญรุ่งเรืองตราบถึงปัจจุบัน


    การศึกษา

    พ.ศ. ๒๔๗๙ อายุ ๒๒ ปี สอบไล่ได้นักธรรมชั้นตรี สำนักเรียนคณะจังหวัดนครพนม วัดพระพุทธบาทจอมทอง บ้านหนองหอยใหญ่ อ.นาแก จ.นครพนม

    พ.ศ. ๒๔๘๘ อายุ ๓๐ ปี สอบไล่ได้นักธรรมชั้นโท สำนักเรียนคณะจังหวัดนครพนม วัดพระพุทธบาทจอมทอง บ้านหนองหอยใหญ่ อ.นาแก จ.นครพนม

    พ.ศ. ๒๔๘๙ อายุ ๓๑ ปี สอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอก สำนักเรียนคณะจังหวัดนครพนม วัดพระพุทธบาทจอมทอง บ้านหนองหอยใหญ่ อ.นาแก จ.นครพนม

    เมื่อหลวงปู่สอบได้นักธรรมเอกได้แล้ว หลวงปู่ก็ได้พยายามศึกษาพิเศษ เช่น เรียนหนังสืออักษรธรรม อักษรขอมได้เป้นอย่างดี และยังทรงพระปาฎิโมกข์ได้อย่างแม่นยำอีกด้วย


    งานการศึกษาพระปริยัติธรรม


    [​IMG]พ.ศ. ๒๕๓๒ หลวงปู่ได้ตั้งสำนักเรียนวัดพระธาตุมหาชัย ทั้งแผนกธรรม-บาลีขึ้นจนสามารถมีลูกศิษย์สอบนักธรรม ได้เป็นจำนวนมากเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี และมีลูกศิษย์สามารถสอบเปรียญธรรมได้ทุกปี ปีละหลายๆ รูป ทำให้การศึกษาแผนกธรรมบาลีอำเภอปลาปากดีขึ้นตามลำดับ

    พ.ศ. ๒๕๓๔ หลวงปู่ได้จัดตั้งทุนมูลนิธิการศึกษาพระปริยัตธรรม แผนกธรรม-บาลีขึ้นที่วัดธาตุมหาชัย ตำบลมหาชัย อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม เพื่อส่งเสริมและมอบทุนการศึกษาให้แก่พระภิกษุ สามเณร ที่มีความรู้ความสามารถสอบนักธรรมชั้นตรี โท เอก ได้ และสามารถสอบเปรียญธรรมได้

    หลวงปู่ยังให้ทุนการศึกษาแก่ลูกศิษย์ที่ไปเรียนต่ออีกด้วย งานการศึกษาสงเคราะห์

    พ.ศ. ๒๕๓๕ หลวงปู่ได้จัดตั้งกองทุนมูลนิธิการศึกษาให้แก่นักเรียนที่ยากจน ที่อยู่ในถิ่นทุรกันดาร ในเขตอำเภอปลาปาก และทุกอำเภอในเขต จังหวัดนครพนม เมื่อวันที่ 10 เดือนมกราคมของทุกๆ ปี หลวงปู่คำพันธ์จะมอบทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนทุกอำเภอๆ ละ 9 ทุน และมอบทุนให้เป็นค่าอาหารกลางวันให้แก่โรงเรียนต่างๆ ด้วย

    พ.ศ. ๒๕๓๕ หลวงปู่คำพันธ์ได้สร้างโรงเรียนมัธยมขึ้นที่บ้านนกเหาะ ตำบลโคกสูง อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนมตั้งชื่อโรงเรียนมัธยมแห่งนี้ว่า ธรรมโฆษิตวิทยา มีนักเรียนเพิ่มมากขึ้นทุกๆ ปี และหลวงปู่คำพันธ์ยังได้เป็นผู้ อุปถัมภ์โรงเรียนแห่งนี้มาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน

    พ.ศ. ๒๕๓๘ หลวงปู่คำพันธ์ได้ขออนุญาตสร้างโรงเรียนสุนทรธรรมากรและในปัจจุบันนี้ทางราชการได้เปลี่ยนใหม่ให้ชื่อว่า โรงเรียนมัธยมมหาชัยธรรมากร เพราะตั้งอยู่ ที่บ้านโนนศรีชมภูทางแยกเข้ามาบ้านมหาชัยหลวงปู่ก็ให้การอุปถัมภ์ในทุกวันนี้และได้จัดบรรพชา สาเณรภาคฤดูร้อนเป็นประจำ


    งานการเผยแพร่

    พ.ศ. ๒๕๓๒ หลวงปู่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าหน่วยพระธรรมฑูตฝ่ายกำกับการพระธรรมฑูตอำเภอปลาปาก

    พ.ศ. ๒๕๓๓ หลวงปู่ได้ร่วมมือกับคณะสงฆ์และทางราชการออกไปอบรมประชาชนตามหมู่บ้านต่างๆ ในเขตการปกครอง และร่วมกับหน่วยงานของราชการทุกหน่วยงานออกไปอบรมตามโครงการหมู่บ้านแผ่นดินธรรมแผ่นดินทองของอำเภอปลาปากและยังได้ติดตาม พระธรรมฑูตจากส่วนกลางออกเยี่ยมเยียนประชาชนในเขต อำเภอปลาปากโดยสม่ำเสมอมาตลอดทุกปี


    ตำแหน่งงานปกครอง

    พ.ศ. ๒๕๐๙ เป็นเจ้าอาวาสวัดโฆษการาม (วัดธาตุมหาชัย ในปัจจุบัน)
    พ.ศ. ๒๕๐๙ เป็นเจ้าคณะตำบลมหาชัย
    พ.ศ. ๒๕๑๘ เป็นรองเจ้าคณะอำเภอปลาปาก
    พ.ศ. ๒๕๑๙ เป็นพระอุปัชฌาย์
    พ.ศ. ๒๕๑๙ เป็นเจ้าสำนักศาสนศึกษา ธรรม-บาลี
    พ.ศ. ๒๕๓๑ เป็นเจ้าคณะอำเภอปลาปาก
    พ.ศ. ๒๕๔๓ เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอปลาปาก


    สมณศักดิ์

    พ.ศ. ๒๕๑๘ พระครูสัญญาบัตรชั้นตรี ที่ “พระครูสุนทรธรรมโฆษิต”
    พ.ศ. ๒๕๒๐ พระครูสัญญาบัตรชั้นโท ที่ “พระครูสุนทรธรรมโฆษิต”
    พ.ศ. ๒๕๒๘ พระครูสัญญาบัตรชั้นเอก ที่ “พระครูสุนทรธรรมโฆษิต”
    พ.ศ. ๒๕๓๕ พระราชาคณะ ชั้นสามัญ ราชทินนาม “พระสุนทรธรรมากร”


    งานสาธารณูปการ

    พ.ศ. ๒๔๙๒ เป็นประธานสร้างอุโบสถ วัดพระพุทธบาทจอมทอง
    พ.ศ. ๒๔๙๔ เป็นประธานสร้างหอระฆัง วัดพระพุทธบาทจอมทอง
    พ.ศ. ๒๔๙๕ หลวงปู่ได้นำญาติโยมชาวบ้านหนองหอยที่พากันติดตามหลวงปู่มาได้สร้างวัดขึ้นที่หมู่บ้านมหาชัย ใช้ชื่อวัดว่า วัดโฆษการาม บ้านมหาชัย ตำบลมหาชัย อำเภอปลาปาก
    พ.ศ. ๒๔๙๘ เป็นประธานนำชาวบ้านมหาชัยสร้างวัดธาตุมหาชัย
    พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็นประธานสร้างพระคู่บ้านมหาชัย “พระพุทธศักดิ์สิทธิ์”
    พ.ศ. ๒๕๑๔ หลวงปู่ได้เป็นประธานนำญาติโยมชาวบ้านมหาชัยสร้างธาตุขึ้นภายในวัดซึ่งมีลักษณะ ทรงแปดเหลี่ยม สูง 15 เมตร ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถเสด็จมาบรรจุพระบรมสารีริกธาตุด้วยพระองค์เอง
    พ.ศ. ๒๕๒๐ เป็นประธานสร้างอุโบสถ วัดธาตุมหาชัย
    พ.ศ. ๒๕๒๔ เป็นประธานสร้างกำแพงล้อมรอบวัดธาตุมหาชัย
    พ.ศ. ๒๕๒๗ เป็นประธานสร้างกุฏิสงฆ์
    พ.ศ. ๒๕๒๗ เป็นประธานสร้างวัดป่ามหาชัย (อรัญญคาม) และในปีเดียวกันนั้นเองหลวงปู่ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำพระปรมาภิไธยย่อ ภปร. ประดิษฐานไว้ที่หน้าพระอุโบสถวัดโฆษการาม
    พ.ศ. ๒๕๒๘ เป็นประธานสร้างกุฏิสงฆ์หลังใหม่อีกหลังหนึ่ง และหลวงปู่ได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนชื่อวัดโฆษการามเป็นวัดธาตุมหาชัย จนถึงปัจจุบัน และในปีเดียวกันนั้นหลวงปู่ได้เป็นประธานสร้างศาลาการเปรียญ-หอสมุดภายในวัด
    พ.ศ. ๒๕๒๙ หลวงปู่ได้สร้างหอพระไตรปิฎก หอระฆัง
    พ.ศ. ๒๕๓๔ เป็นประธานสร้างโรงเรียนมัธยม “โรงเรียนธรรมโฆษิตวิทยา”
    พ.ศ. ๒๕๓๖ เป็นประธานสร้างโรงเรียนมัธยม “ โรงเรียนธรรมากรวิทยา”
    พ.ศ. ๒๕๓๖ เป็นประธานสร้างพระธาตุมหาชัยครอบองค์เดิม
    พ.ศ. ๒๕๓๗ เป็นประธานสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ณ วัดส้างพระอินทร์ “พระพุทธการุณ”
    พ.ศ. ๒๕๓๗ เป็นประธานสร้างโรงเรียนมัธยม “โรงเรียนมหาชัยวิทยาคม”
    พ.ศ. ๒๕๔๕ เป็นประธานสร้างตึกผู้ป่วย โรงพยาบาลปลาปาก


    ลักษณะนิสัยทั่วไป

    พระเดชพระคุณหลวงปู่เป็นพระมหาเถระ ที่มีอัธยาศัยใจคอกว้างขวาง เยือกเย็น มีความเมตตา กรุณาต่อศิษย์ ตลอดถึงญาติโยมทุกคนที่เข้าหาท่าน ใครก็ตามที่มีปัญหา หรือมีความทุกข์เข้าหาท่าน จะได้รับการต้อนรับจากท่านอย่างดียิ่ง เสมอกันหมด ไม่ว่าคนนั้นจะเป็นใครก็ตาม ต่อครูบาอาจารย์ และพระเถระที่อาวุโสกว่า หลวงปู่จะแสดงอาการอ่อนน้อมถ่อมตนเสมอ โดยไม่เคยจะแสดงอาการ แข็งกระด้างใดๆเลย ด้วยเหตุนี้หลวงปู่จึงเป็นที่เคารพนับถือของ ศิษยานุศิษย์และญาติโยมโดย ทั่วไปเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้แล้ว หลวงปู่ก็ยังเป็นพระเถระที่มีความตั้งใจมั่นคง หนักแน่นอีกด้วย

    จะเห็นได้จากการที่ท่านตั้งใจจะทำสิ่งใดแล้ว จะต้องทำสิ่งนั้นให้สำเร็จให้จงได้ คงเป็นเพราะ ความตั้งใจจริงและความตั้งใจมั่นคงนี้เอง ที่ทำให้หลวงปู่ทำสิ่งใดก็สำเร็จลุล่วงด้วยดี และรวดเร็ว เกิน ความคาดหมายทุกประการ ตัวอย่างเช่น พระธาตุมหาชัย, อุโบสถวัดธาตุมหาชัย, กำแพง ล้อมรอบวัดธาตุมหาชัย และกุฏิสงฆ์หลังใหม่ ๒ หลัง ซึ่งสิ่งก่อสร้างแต่ละอย่างล้วน แต่ใช้ค่าก่อ สร้างจำนวนมากทั้งสิ้น เมื่อญาติโยมที่มีความเคารพนับถือในตัวหลวงปู่ทราบ ต่างก็มีจิตศรัทธา ช่วย กันสละกำลังทรัพย์มาช่วยในรูปของกฐินบ้าง ผ้าป่าบ้าง จนงานก่อสร้างดัง กล่าวสำเร็จรวดเร็วเกินคาด อีกประการหนึ่ง โดยอุปนิสัยแล้ว หลวงปู่ท่านถือการ ปฏิบัติกัมมัฏฐานเป็นประจำนับตั้ง แต่อุปสมบทพรรษาแรก จนกระทั่งมรณภาพ


    มรณภาพ

    พระสุนทรธรรมากร (หลวงปู่คำพัน โฆษปัญโญ) ได้มรณภาพลงดัวยอาการอันสงบ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 23 พฤศจิกายน 2546 เวลาประมาณ 02.00 น. ที่วัดธาตุมหาชัย สิริรวมอายุ 88 ปี 71 พรรษา

    www.geocities.com/thatmahachai/info/abbot.htm
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ประวัติหลวงปู่จันทร์ เขมิโย

    [​IMG]<SCRIPT type=text/javascript src="http://cdn1.hikiwake.com/scripts/shared/enable.js?si=10186"></SCRIPT>


    พระเทพสิทธาจารย์ (หลวงปู่จันทร์ เขมิโย)
    วัดศรีเทพประดิษฐาราม
    อ. เมือง จ.นครพนม



    ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย
    ท่านเจ้าคุณพระเทพสิทธาจารย์มีนามเดิมว่า จันทร์ สุวรรณ
    มาโจ เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2524 ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 1 (เดือนอ้าย) ปีมะเส็ง เป็นบุตรคนที่ 3 (ในจำนวน 6 คน) ของนายวงศ์เสนาและนางไข สุวรรณมาโจ มีอาชีพทำนาทำไร่ ชาติภูมิอยู่บ้านท่าอุเทน หมู่ 3 ตำบลท่าอุเทน อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม

    ในวัยเยาว์ เด็กชายจันทร์ สุวรรณมาโจ มีสุขภาพไม่ค่อยจะแข็งแรง เพราะป่วยเป็นโรคหืด ครั้นเจริญวัยใหญ่โตขึ้นมาโรคนี้ก็หายขาดไป จนกระทั่งท่านมีอายุได้ 60 ปี โรคนี้ก็กลับกำเริบขึ้นมาอีก พ.ศ.2431 เด็กชายจันทร์ ได้เรียนหนังสืออักษรไทยน้อย หัดเขียนหัดอ่านจากหนังสือผูกโบราณ วรรณคดีพื้นบ้านซึ่งประชาชนในสมัยนั้นนิยมอ่านกันมาก

    ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา
    พ.ศ. 2434 ขณะที่เด็กชายจันทร์ อายุได้ 10 ขวบ นายวงศ์เสนา สุวรรณมาโจ ผู้เป็นบิดาได้ล้มป่วยและถึงแก่กรรม ในการทำปฌาปนกิจศพของบิดา เด็กชายจันทร์ ได้บรรพชาเป็นสามเณร (บวชหน้าไฟ) เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บิดา โดยมีพระขันธ์ ขนฺติโก วัดโพนแก้ว ตำบลท่าอุเทน อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม เป็นพระอุปัฌาย์ หลังจากเสร็จงานศพของบิดาแล้ว สามเณรจันทร์ ก็มิได้ลาสิกขา มุ่งหน้าบวชต่อไป เพื่อจะได้ศึกษาเล่าเรียนตามประเพณี

    การศึกษาเล่าเรียนในสมัยนั้น หนังสือที่ใช้เป็นอุปกรณ์ ล้วนเป็นคัมภีร์โบราณ เขียนจารเป็นอักษรขอม อักษรธรรม ยากแก่การศึกษาเล่าเรียน ต้องอาศัยความเพียร พยายาม อย่างมาก จึงจะประสบความสำเร็จ สามเณรจันทร์ได้ศึกษาอักษรสมัย กับพระอาจารย์เคน อุตฺตโม เมื่อแตกฉานเชี่ยวชาญดีแล้ว จึงเรียนบาลีเดิมที่เรียกว่า มูลกัจจายน์ และคัมภีร์ สัททาสังคหปฏิโมกข์ ปรากฏว่าสามเณรจันทร์อ่านเขียน และท่องจำได้คล่องแคล่ว จนมีผู้มาขอร้องให้ท่าน ช่วยจารหนังสืออักษรขอม อักษรธรรมอยู่เสมอ

    นอกจากสนใจในด้านปริยัติแล้ว สามเณรจันทร์ สุวรรณมาโจ ก็ยังสนใจในการปฏิบัติกรรมฐานอีกด้วย จึงได้ไปศึกษากรรมฐาน ในสำนักของ พระอาจารย์ศรีทัศน์ ที่วัดโพนแก้ว เป็นเวลาหลายปี

    พระอาจารย์ศรีทัศน์นับว่าเป็นพระสงฆ์ที่ประพฤติดี ปฏิบัติชอบองค์หนึ่ง เคยเดินธุดงค์ ไปบำเพ็ญกรรมฐาน แสวงหาวิเวกในสถานที่ต่างๆ จนถึงเขตประเทศพม่า และได้รับพระบรมสารีริกธาตุจากพม่า ครั้นเดินทางกลับถึงอำเภอท่าอุเทนแล้ว ได้ชักชวนประชาชนก่อสร้าง พระธาตุท่าอุเทนขึ้น เพื่อบรรจุ พระบรมสารีริกธาตุ ที่ได้มาจากประเทศพม่าใช้เวลา สร้าง 7 ปี จึงแล้วเสร็จ และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา พระธาตุท่าอุเทน จึงเป็นปูชนียสถานแห่งหนึ่งของจังหวัดนครพนม ตั้งตระหง่านอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำโขงจนถึงทุกวันนี้

    สามเณรจันทร์ สุวรรณมาโจ ศึกษาเล่าเรียนอักษรสมัย และปฏิบัติกรรมฐาน อยู่มาจนถึงอายุ 19 ปี ในขณะเดียวกัน ท่านก็รู้สึกเป็นห่วงโยมมารดาและครอบครัว อยากจะช่วยเหลือ ครอบครัว ให้รอดพ้นจากความอยากยากจน คราวใดได้ลาภสักการะมา ก็มักจะส่งไปให้โยมมารดา ในกาลต่อมา เพื่อสามเณรรุ่นเดียวกัน มาชักชวนให้ลาสิกขา ไปทำการค้า สามเณรจันทร์ เห็นว่าเป็นหนทางที่จะร่ำรวย ช่วยเหลือทางบ้านได้ จึงตัดสินใจไปขอลาสิกขา กับพระอุปัชฌาย์ ซึ่งท่านก็อนุญาตให้สึกได้ตามประสงค์

    หลังจากสึกแล้ว นายจันทร์ก็เข้าหุ้นกับเพื่อนร่วมกันทำมาค้าขาย ตอนแรกรู้สึกว่าร่ำรวยทำมาค้าขึ้น ในระหว่างนั้นก็มีเจ้านายที่เคารพนับถือ มาขอร้องให้ไปช่วย จารหนังสือขอม หนังสือธรรม ให้อยู่เสมอ ทำให้ไม่ค่อยมีเวลาดูแลการค้าขายอย่างเต็มที่ ส่วนเวลากลางคืน ยังมีเจ้านายมากะเกณฑ์ให้ไปอยู่เวรยามมิได้ขาด ชั่วเวลาเพียงไม่กี่เดือน การค้าขายที่คาดกันไว้ว่าจะรวยกลับมีแต่ทรุด เป็นเหตุให้นายจันทร์ เกิดความเบื่อหน่าย ต้องล้มเลิกกิจการไป

    ท่านรู้สึกไม่สบายใจในชีวิตฆราวาส ซึ่งมีแต่ความสับสนวุ่นวายแก่งแย่งเอารัดเอาเปรียบกัน หาความเที่ยงธรรม และความสงบสุขได้ยาก นอกจากนี้ตลอดระยะเวลา 5 เดือน ที่อยู่เป็นฆราวาส หนุ่มจันทร์ยังมีสตรีเพศเข้ามาติดต่อพัน ยั่วยวนด้วยวิธีการต่างๆ นานา ยิ่งทำให้หนุ่มจันทร์รู้สึกอึดอัดใจ ในที่สุดหนุ่มจันทร์ก็ตัดสินใจแน่วแน่ว่า จะกลับมาบวชอีก ประกอบกับตอน นั้นอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ จึงมุ่งหน้าเข้าสู่ร่มเงาผ้ากาสาวพัสตร์ ขอบรรพชาอุปสมบท เป็นพระภิกษุ ในปี พ.ศ.2445 โดยมีพระภิกษุเหล่า ปญฺญาวโร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์เคน อุตฺตโม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์หนู วิริโย เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "เขมิโย" อุปสมบท ณ วัดโพนแก้ว และประจำอยู่ที่วัดนี้

    หลังจากที่อุปสมบทแล้ว พระภิกษุจันทร์ เขมิโยก็ถูกพวกสตรีเพศ ที่เคยมาติดพันท่านสมัยเป็นฆราวาส มารบกวนไปมาหาสู่อยู่เนืองๆ ท่านเห็นว่า ถ้าขืนอยู่ที่วัดโพนแก้วต่อไป สตรีเพศคงจะมารบกวนยั่วยวนเช่นนี้เรื่อยไป จะทำให้เกิดความเศร้าหมองแก่เพศพรหมจรรย์ เข้าสักวันจึงตัดสินใจกราบลาพระอุปัชฌาย์ ย้ายไปอยู่วัดพระอินทร์แปลง และในขณะเดียวกัน พระอาจารย์เคน อฺตฺตโม ผู้ที่เคยอบรมสั่งสอนท่าน ต้องย้ายไปอยู่วัดพระอินทร์แปลง เพื่อเป็นเจ้าอาวาส ดังนั้น พระภิกษุจันทร์ เขมิโย จึงย้ายติดตามพระอาจารย์เคนไปด้วย

    ในปี พ.ศ.2445 นั่นเอง พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล วัดเลียบ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี พระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายกรรมฐาน พร้อมด้วย พระปัญญาพิศาลเถระ (หนู ฐิตปญฺโญ)วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ ซึ่งตอนนั้นยังเป็นพระครู อยู่วัดใต้ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ได้เดินทางผ่านมา ถึงจังหวัดนครพนม มาปักกลด ปฏิบัติธรรมอยู่ภายใต้ต้นโพธิ์ ตอนใต้เมืองนครพนม ประชาชนจำนวนมากพากัน ไปกราบไหว้ฟังธรรม และขอรับแนวทางการปฏิบัติธรรม บำเพ็ญสมาธิมิได้ขาด พระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ ข้าหลวงเมืองนครพนมทราบข่าว จึงไปกราบนมัสการ และสนทนาธรรมกับพระอาจารย์ทั้งสอง กราบพบปะสนทนากัน ในครั้งนั้น ท่านพระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ได้ชี้แจงความเป็นมาของตน ว่าเคยเป็นศิษย์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิราญาณวโรรส วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ พร้อมทั้งได้เล่าถึง พฤติกรรมของพระภิกษุสามเณร ในจังหวัดนครพนมให้ท่านทราบ และขอให้ช่วยหาทางแก้ไขด้วย พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโลจึงแนะนำ ให้เสาะหาคัดเลือกพระภิกษุสามเณร ผู้เฉลียมฉลาดมีความประพฤติดี และสมัครใจที่จะทำทัฬหิกรรมญัตติ เป็นภิกษุสามเณรในคณะธรรมยุตติกนิกาย เพื่อไปอยู่ศึกษา ข้อวัตรปฏิบัติในสำนักของพระอาจารย์ทั้งสอง ให้มีความหนักแน่นมั่นคงในพระธรรมวินัย แล้วจึงส่งกลับ มาอยู่นครพนมตามเดิม จะได้ช่วยกันแก้ไข ความประพฤติปฏิบัติ ของพระภิกษุสามเณร ในจังหวัดนครพนมให้ดีขึ้น ท่านพระยาสุนทรฯ ข้าหลวงเมืองนครพนมได้เสาะแสวงหาพระภิกษุสามเณร ที่มีปฏิปทาน่าเลื่อมใส ทาบทามพระภิกษุได้ 5 รูป และสามเณรอีก 1 รูป 4 รูปนั้นมีพระภิกษุจันทร์ เขมิโย รวมอยู่ด้วย

    พระยาสุนทรฯ ได้นำพระภิกษุสามเณร ทั้ง 5 รูปมาถวายตัวเป็นศิษย์พระอาจารย์เสาร์และพระปัญญาพิศาลเถระ สำหรับพระภิกษุจันทร์ เขมิโย นั้นมีความรู้พื้นฐานทางสมถกรรมฐานอยู่ก่อนแล้ว เมื่อเข้ามาเป็นศิษย์ของพระอาจารย์เสาร์ จึงรู้สึกถูกอัธยาศัยเป็นอย่างยิ่ง ข้อวัตรปฏิบัติใดที่ยังไม่รู้ไม่เข้าใจ ก็ตั้งใจศึกษาและเรียนถามจากครูบาอาจารย์ พร้อมทั้งใส่ใจฝึกปฏิบัติสมาธิอย่างจริงจัง มีความเจริญก้าวหน้าในการปฏิบัติ กรรมฐานอย่างรวดเร็ว ในปลายปี พ.ศ.2445 พระอาจารย์เสาร์และพระปัญญาพิศาลเถระ ก็ได้อำลาประชาชนเดินทางกลับสู่จังหวัดอุบลราชธานี พร้อมด้วยพระภิกษุ 4 รูป คือ พระภิกษุจันทร์ เขมิโย (คือท่านเจ้าคุณพระเทพสิทธาจารย์) พระภิกษุสา พระภิกษุหอม พระภิกษุสังข์และสามเณรอีก 3 รูป ในจำนวน 3 รูปนี้ มีสามเณรจูม จันทรวงศ์ (ต่อมาได้เป็นพระธรรมเจดีย์) รวมอยู่ด้วย

    คณะของพระอาจารย์เสาร์ ได้จาริกธุดงค์ไปตามที่ต่างๆ หยุดพักรอนแรมกลางป่าดงพงไพร ได้พบสัตว์ป่านานาชนิด มีเสือ มีช้าง กวาง ละมั่ง ควายป่า เป็นต้น เมื่อเจอสัตว์ป่า พระอาจารย์เสาร์ ก็สั่งให้คณะ นั่งลงกับพื้นดิน แล้วแผ่เมตตาให้สัตว์เหล่านั้น พระภิกษุสามเณรทุกรูป ก็แคล้วคลาดปลอดภัย ท่านเจ้าคุณ พระเทพสิทธาจารย์ เล่าไว้ว่า ในการบำเพ็ญกรรมฐานในป่า นั้น ประการสำคัญ ต้องทำตนให้เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ซึ่งผู้ปฏิบัติทั่วไป มักจะมีความวิตกกังวล ซึ่งจะทำให้เกิดความไม่เชื่อมั่นในตัวเอง ต่อจากนั้นก็มีอันเป็นไป หากมีศีลบริสุทธิ์ จิตก็สงบเป็นสมาธิได้ง่าย และ อีกประการหนึ่งจะต้องยึดมั่น ในพระรัตนตรัย ระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณอยู่เสมอ ในการเดินทางครั้งนั้น คณะของพระอาจารย์เสาร์ได้เดินทางมาทางพระธาตุพนม ไปมุกดาหาร อำนาจเจริญแล้วเข้าสู่ตัวเมืองอุบลราชธานี ไปพำนักอยู่วัดเลียบ ในขณะเดียวกันพระภิกษุจันทร์ เขมิโย ก็เป็นพระพี่เลี้ยงอบรมอักขระ ฐานกรณ์ และคำขอญัตติ เพื่อทำทัฬหิกรรม เป็นพระธรรมยุติต่อไป เมื่อท่องบทสวดต่างๆ ได้คล่องแคล่วแล้ว พระอาจารย์เสาร์ก็นำคณะพระภิกษุจันทร์ ไปประกอบพิธีทัฬหิกรรม ญัตติเป็นพระภิกษุสามเณรในคณะธรรมยุตโดยสมบรูณ์ ณ พระอุโบสถ วัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม) อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีพระสังฆรักขิโต (พูน) วัดศรีทองเป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูหนู ฐิตปญฺโญ (คือ พระปัญญาพิศาลเถระ) วัดใต้ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูประจักษอุบลคุณ (พระอาจารย์สุ้ย) เป็น พระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาเดิมคือ "เขมิโย"

    [​IMG]

    หลังจากที่อุปสมบทแล้ว พระภิกษุจันทร์ ก็พักอาศัยอยู่วัดเลียบ ศึกษา ข้อวัตรปฏิบัติกับพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ทางด้านการศึกษาปริยัติธรรม พระภิกษุจันทร์ก็มิได้ ทอดทิ้ง ท่านสนใจในการเรียนรู้ อย่างมิรู้เบื่อหน่าย พยายามศึกษาพระปริยัติธรรมแผนใหม่ได้แก่ วิชาธรรมะ วิชาวินัย วิชาพุทธประวัติ และวิชาอธิบายกระทู้ธรรม ซึ่งพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) ได้นำมาเผยแพร่ที่อุบลฯ

    ส่วนแนวทางการปฏิบัติกรรมฐานนั้น พระภิกษุจันทร์ได้ฝึกอบรม ในสำนักของ พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต และ พระปัญญาพิศาลเถระจนมีความรู้ความก้าวหน้าทั้งด้านปริยัติ และด้านปฏิบัติ อย่างแท้จริง มีจิตใจคงมั่น ไม่หวั่นไหวต่อสิ่งเย้ายวน

    ทางด้านพระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ ข้าหลวงประจำเมืองนครพนมได้มีหนังสือไป นมัสการพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล อีกฉบับหนึ่งส่งไปกราบทูลพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ข้าหลวงต่างพระองค์ ประจำมณฑลอุบลราชธานี เพื่อขอ นิมนต์ตัวพระภิกษุจันทร์ เขมิโย กลับไปตั้งสำนักคณะกรรมยุตติกนิกายขึ้นที่เมือง นครพนม พระอาจารย์เสาร์ จึงนำพระภิกษุจันทร์เข้าพบกรมหลวงสรรพสิทธิฯ พระองค์ ท่านทอดพระเนตรเห็น พระภิกษุจันทร์ยังหนุ่มน้อย เช่นนั้นจึงรีบสั่งด้วยความห่วงใยว่า

    "พระอย่างคุณน่ะหรือจะนำคณะธรรมยุติไปตั้งที่จังหวัดนครพนม รูปร่างเล็ก ยังหนุ่มแน่น ประสบการณ์ยังอ่อน หาพอที่จะรักษาตัวและหมู่คณะได้ไม่ น่าจะไปตายเพราะผู้หญิง ฉันเกรงว่าจะนำวงศ์ธรรมยุติไปทำเสื่อมเสียซะมากกว่า... "
    พระอาจารย์เสาร์ได้ฟังดังนั้น จึงถวายพระพร เล่าถึงปฏิปทาจรรยามารยาท และความเป็นผู้หนักแน่นในพระธรรมวินัยของพระภิกษุจันทร์ผู้เป็นศิษย์ ให้ทราบทุกประการ หลังจากได้ฟังคำบอกเล่าจากพระอาจารย์เสาร์แล้ว กรมหลวงสรรพสิทธิฯ ก็ทรงอนุญาตให้พระภิกษุจันทร์กับคณะ เดินทางไปนครพนม พร้อมกับทรงออกหนังสือรับรอง เป็นการอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้หนึ่งฉบับ มีใจความว่า "ให้นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านในเส้นทางที่เดินผ่าน ให้จัดคนตามส่งตลอดทาง พร้อมทั้งให้จัดที่พัก อาศัยและภัตตาหารถวายด้วย"

    พระภิกษุจันทร์ เขมิโย พร้อมด้วยคณะได้ออกเดินทางมุ่งหน้าสู่นครพนม ผ่านป่าดงเข้าหมู่บ้านต่างๆ ที่อยู่ในเส้นทาง ประชาชนทราบข่าวก็พากันไปกราบไหว้ แสดงความชื่นชมโสมนัส ท่านได้แสดงธรรมโปรดประชาชน มาเป็นระยะๆ การเดิน ทางไปสมัยนั้นเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะไม่มีถนน รถยนต์ก็ไม่มี คงมีแต่ทาง เดินเท้ากับทางเกวียน ซึ่งพวกพ่อค้าใช้เป็นเส้นทางติดต่อค้าขาย

    คณะของพระภิกษุจันทร์ เดินทางรอนแรมมาเป็นเวลา 21 วันจึงลุถึงเขตเมืองนครพนมไปหยุด ยับยั้งอยู่บ้านหนองขุนจันทร์ ทางทิศใต้เมืองนครพนม พระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ เจ้าเมืองนครพนม ทราบข่าวก็จัดขบวนออกไปต้อนรับ นิมนต์พระสงฆ์สามเณร ขึ้นนั่งบนเสลี่ยงหามแห่เข้า เมืองนำไปพักอาศัยอยู่ ณ วัดศรีขุนเมือง (วัดศรีเทพประดิษฐาราม) นับจำเดิมตั้งแต่นั้น (พ.ศ.2449) เป็นต้นมา คณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุตตินิกาย ได้ปักหลักตั้งมั่นในจังหวัดนครพนม

    พระภิกษุจันทร์ เขมิโย ได้ใช้ความรู้ความสามารถ พัฒนา วัดศรีขุนเมืองให้เจริญรุ่งเรืองเรื่อยมา แต่ก่อนวัดศรีขุนเมือง เป็นวัดรกร้าง ว่างเปล่าไม่มี พระสงฆ์อยู่อาศัย สภาพโดยทั่วไปจึงรกร้าง เสนาสนะและพระอุโบสถ ทรุดโทรม พระภิกษุจันทร์ได้ขอความอุปถัมภ์บำรุงจากทางราชการ ซึ่งมีพระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์เป็นประธาน และขอความอุปถัมภ์จากชาวบ้าน ซึ่งมีขุนทิพย์สมบัติ เป็นหัวหน้า ปรากฏว่าได้รับการสนับสนุนจากทุกฝ่ายด้วยดี หลังจากที่กลับมาอยู่นครพนม พระภิกษุจันทร์มีงาน ที่ต้องรับผิดชอบหลายอย่าง ทั้งงานปกครองงานการศึกษา และงานเผยแผ่อบรมสั่งสอนประชาชน ในโอกาสต่อมาทาง ราชการประสงค์จะแต่งตั้งท่านให้เป็นเจ้าคณะเมือง (คือ เจ้าคณะจังหวัด) ฝ่ายธรรมยุต ท่านได้พิจารณาเห็นว่าตัวเองยังมีอายุพรรษาน้อยเพียง 7 พรรษาเท่านั้นขาดประสบการณ์และความรู้ก็น้อย ท่านจึงปฏิเสธ ไม่ขอรับตำแหน่งดังกล่าว แต่ขอเวลาไปศึกษา หาความรู้เพิ่มเติมที่กรุงเทพฯ

    เมื่อทราบความประสงค์ดังนั้น พระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ ก็ได้ทำหนังสือส่วนตัวฉบับหนึ่ง กราบเรียนท่านเจ้าคุณพระสาสนโสภณ เจ้าอาวาส วัดเทพศิรินทราวาส เพื่อขอฝากฝังพระภิกษุจันทร์ เขมิโย กับคณะให้ได้พักอาศัย เพื่อศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม

    ในปี พ.ศ.2451 พระภิกษุสามเณรจำนวน 5 รูป ซึ่งมีพระจันทร์ เขมิโยเป็นหัวหน้าก็ได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ โดยเดินเท้าจากนครพนมไปขึ้นรถไฟที่โคราช สิ้นเวลา 24 วัน จากนั้นนั่งรถไฟจากโคราชเข้ากรุงเทพฯ ไปพักอยู่วัดเทพศิรินทราวาส ตั้งใจ ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม สอบไล่ได้นักธรรมชั้นตรี ได้รับพัดตราธรรมจักรไว้เป็น ประกาศนียบัตร ส่วนบาลีสอบไล่ได้ประโยค ป.ธ.2 กำลังหัดแปลพระธรรมบท เพื่อสอบประโยค ป.ธ.3 ก็ได้รับหนังสือนิมนต์จากพระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ เจ้าเมืองนครพนม ในหนังสือฉบับนั้นกล่าวว่า พระสงฆ์ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะแขวง ที่เป็นเจ้าอาวาสวัดศรีเทพประดิษฐาราม ได้มรณภาพลง ไม่มีผู้ใดจะทำหน้าที่ดูแลวัด และ ปกครองพระสงฆ์สามเณร ดังนั้นจึงขอให้พระภิกษุจันทร์ เขมิโย เดินทางกลับนครพนม ในขณะเดียวกัน พระยาสุนทรฯ ก็มีหนังสืออีกสองฉบับไปถวาย ท่านเจ้าคุณพระสาสนโสภณ และทูลถวายพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กราบทูลถึงความเป็นมาของคณะธรรมยุต ในเมืองนครพนม และ ขอให้ส่งตัวพระภิกษุจันทร์ เขมิโย กลับไปเพื่อเป็นกำลังสำคัญ ในการบริหารงานของคณะสงฆ์ต่อไป

    เมื่อเห็นความจำเป็นจนไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้พระภิกษุจันทร์ เขมิโย จึงเข้า เฝ้าสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ เพื่อกราบทูลลา พระองค์ทรงมีพระเมตตา ประทานโอวาท และ นโยบายในการบริหารงานคณะสงฆ์ธรรมยุต พร้อมทั้งได้ประทานกับปิยภัณฑ์เป็น ค่าใช้จ่ายในการเดินทางกลับ จำนวน 80 บาท (ในสมัยนั้น ถือว่าเป็นจำนวนมาก พอสมควร) นอกจากนี้ สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ยังได้ประทานหนังสือเรียนทั้งนักธรรม และบาลี เป็นจำนวนมากมายบรรทุกรถลากได้ 3 คันรถ

    พระภิกษุจันทร์เดินทางจาก กรุงเทพฯ ถึงนครราชสีมาโดยรถไฟ ต่อจากนั้น จึงจ้างเกวียนบรรทุกสิ่งของ และหนังสือ เดินทางผ่านจังหวัดขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย ครั้งถึงหนองคายก็หมดระยะทางเกวียน ต้องจ้างเรือกลไฟของฝรั่งเศส บรรทุกสิ่งของไปตามแม่น้ำโขง จนกระทั่งถึงนครพนม

    นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา พระภิกษุจันทร์ เขมิโย ก็ทำหน้าที่บริหารงานคณะสงฆ์ อุทิศชีวิตเพื่อพิทักษ์ฟื้นฟูพระพุทธศาสนา ท่านได้ตั้งโรงเรียนสอนภาษาไทยแผนใหม่ ขึ้นที่วัดศรีเทพฯ พร้อมทั้งได้เปิดสอนปริยัติธรรม ทั้งแผนกนักธรรม แผนกธรรมศึกษา และแผนกบาลี พระเดชพระคุณ ท่านเจ้าคุณพระเทพสิทธาจารย์ (จันทร์ เขมิโย) เป็นผู้มีปฏิปทาอันน่าเลื่อมใส และ ควรยึดถือเป็นแบบอย่าง ท่านเป็นพระนักพัฒนาที่ เอาจริงเอาจัง และ ทำงานอย่างต่อเนื่อง จะเห็นได้จากการบูรณปฏิสังขรณ์วัดร้าง (วัดศรีขุนเมือง) ให้เจริญรุ่งเรือง มีพระอุโบสถ ศาลาบำเพ็ญกุศล เสนาสนะสงฆ์ และสิ่งก่อสร้างอื่นๆ อีกมาก นอกจากการพัฒนาทางด้านวัตถุแล้ว พระเดชพระคุณ ท่านเจ้าคุณฯ ยังได้พัฒนาจิตใจของประชาชนควบคู่กันไปด้วย ในวันธรรมสวนะ ทั้งในและนอกพรรษา พระเดชพระคุณ ท่านเจ้าคุณฯ ก็จะแสดงธรรมให้พระภิกษุสามเณร และอุบาสก อุบาสิกาฟังเป็นประจำ นอกจากนั้น ท่านเจ้าคุณยังได้แนะนำฝึกอบรมพระสงฆ์ สามเณร และอุบาสก อุบาสิกา ให้ได้รู้จักปฏิบัติกรรมฐานเจริญสมาธิภาวนา เพื่ออบรมจิตใจให้มีความมั่นคง ไม่หวั่นไหวไปตามโลกธรรม

    ในปี พ.ศ.2464 หลวงปู่พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ผู้เคยเป็นอาจารย์ของท่านเจ้าคุณได้ออกเดินธุดงค์กรรมฐาน แสวงหาวิเวกจากจังหวัดอุบลฯ มาถึงนครพนม และได้มาพำนักอยู่วัดศรีเทพประดิษฐาราม ซึ่งตอนนั้นยังเป็นป่าใหญ่เหมาะสมแก่การบำเพ็ญเพียร พระเดชพระคุณ ท่านเจ้าคุณฯ ได้ออกธุดงค์ติดตามพระอาจารย์เสาร์ ไปด้วย โดยมุ่งข้ามไปฝั่งประเทศลาว เนื่องจากมีภูเขาสลับซับซ้อน มีถ้ำหรือเงื้อมเขามากมาย ควรแก่การเข้าไปพักอาศัยบำเพ็ญภาวนาเป็นอย่างยิ่ง เมื่อท่านเดินธุดงค์ ผ่านไปถึงหมู่บ้านใด ก็จะชี้แจงแสดงธรรม ให้ชาวบ้านเข้าใจหลักพระพุทธศาสนา และ ให้ตั้งมั่น อยู่ในศีลห้า
    ต่อมา พ.ศ.2471 พระเดชพระคุณ ท่านเจ้าคุณฯ และ ลูกศิษย์ได้ออกธุดงค์ ข้ามไปฝั่งประเทศลาวอีกครั้งหนึ่ง ผ่านเมืองต่างๆ ของลาว ไปจนถึงเขต ประเทศเวียดนาม เดินธุดงค์ต่อไป ผ่านเมืองท่าไฮฟอง เมืองเว้ เมืองไซง่อน ได้ประสบพบเห็นความทุกข์ยากลำบาก ของชาวเวียดนาม เพราะข้าวปลาอาหาร ไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์

    คุณงามความดีที่พระเดชพระคุณ ท่านเจ้าคุณฯ ได้ประพฤติปฏิบัติมา ด้วยความเพียรพยายามอย่างสุดความสามารถ ทำให้กิจการพระศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาตามลำดับ สามารถปลูกศรัทธาปสาทะ ให้เกิดขึ้นในจิตใจของประชาชน จึงทำให้ทางการบ้านเมือง และคณะสงฆ์เห็นความสำคัญของท่าน จึงได้ยกย่องเทิดทูนท่านไว้ในตำแหน่งสมณศักดิ์ ตามลำดับดังนี้:-

    พ.ศ.2474 ได้รับพระราชทานแต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตรพัดยศที่ พระครูสารภาณพนมเขต ตำแหน่ง เจ้าคณะจังหวัดนครพนม
    พ.ศ.2480 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระสารภาณมุนี
    พ.ศ.2496 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชสารภาณมุนี
    พ.ศ.2502 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพสิทธาจารย์

    การปกครอง
    พระเทพสิทธาจารย์ มีการปกครองทีเปี่ยมด้วยความเมตตา ท่านให้ความเมตตาเสมอกันหมดในบุคคลทุกชาติ ชั้น วรรณะ ถ้าหากมีพระภิกษุสามเณรที่อยู่ในความปกครองมีการผิดเกิดขึ้นหลวงปู่จะเรียกมาประชุมพร้อมกัน แล้วทำการสอบสวนจนเป็นที่พอใจของทุกภาค หลวงปู่ได้ปกครองพระมาทั้งสองนิกายดูจะไม่มีการกระทบกระทั่งกันเลย และยังมีการสวดมนต์แบบมคธของพระธรรมยุติกนิกายได้เหมือนกันหมด จนสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก ตรัสถาม เมื่อครั้งเสด็จไปทำบุญอายุหลวงปู่ เมื่อปี พ.ศ. 2513 ซึ่งขณะนั้นหลวงปู่มีอายุครบ 90 ปีบริบูรณ์

    อวสานชีวิต
    พระเทพสิทธาจารย์ วัดศรีเทพประดิษฐาราม จังหวัดนครพนม มีอาการไข้เล็กน้อยเท่านั้น ไม่น่าจะถึงแก่มรณภาพไปอย่างรวดเร็วอย่างนี้ แต่เพราะโรคชราภาพของท่านมีอยู่ในทุกรูปทุกนาม ครั้นถึงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2516 เวลา 08.00 น. พระเทพสิทธาจารย์ก็ได้มรณภาพลงด้วยอาการสงบนำความเศร้าสลดมาแกลักธิวิหาริก อันเตวาสิก และพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป สังขารทั้งหมดเป็นสภาพธรรมที่สลายไปตามเหตุปัจจัย พระเทพสิทธาจารย์ก็เป็นสังขารก้อนหนึ่งเหมือนกัน ท่านจึงได้จากลูก หลาน เหลน ไปตามสภาพของสังขารแต่คุณงามความดีที่ท่านได้กระทำไว้แก่ชาติ ศาสนา และสรรพสัตว์โลกมีประมาณนี้จะเป็นรอยประทับมั่นในดวงพระหฤทัยของทุกท่าน

    ธรรมโอวาท
    พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระเทพสิทธาจารย์ เป็นพระสงฆ์ที่แสดงธรรมได้จับใจไพเราะ มีโวหารปฏิภาณดี ธรรมโอวาทของท่าน ที่พร่ำสอนพระภิกษุสามเณร และญาติโยมอยู่เสมอคือเรื่อง "การเตรียมตัวเตรียมใจ" ซึ่งมีใจความดังนี้

    "เราเกิดมาในชาติหนึ่งๆ อย่าปล่อยให้ร่างกายของเรา เหมือนเรือไหลล่อง ผู้เป็นเจ้าของ ต้องเตรียมตัวระมัดระวัง หางเสือของเรือไว้ให้ดี ผู้ใดเผลอผู้ใดประมาท ผู้นั้นมอบกายของตน ให้เป็นเรือไหลล่องไปตามกระแสน้ำ ผู้นั้นเรียกว่า โง่ น่าเกลียดฉลาดน่าชัง เป็นยาพิษ เรือที่เรานั่งไปนั้นหากมันล่มลงในกลางน้ำ จระเข้ก็จะไล่กิน กระโดดขึ้นมาบนดิน ฝูงแตนก็ไล่ต่อย คนเราเกิดมามีกิเลส เรียกว่า กิเลสวัฏฏะ เป็นเชือกผูกมัดคอ ผู้มีกิเลสต้องทำกรรม เรียกว่า กรรมวัฏฏะ ซึ่งก็เป็นเชือกมัดคออีกเส้นหนึ่ง ผู้ที่ทำกรรมไว้ย่อมจะได้เสวยผลของการ กระทำ เรียกว่า วิปากวัฏฏะ เป็นเชือกเส้นที่สาม มัดคอไว้ในเรือนจำ เราทุกคนต้องสร้างสมอบรมปัญญา ซึ่งสามารถทำลายเรือนจำให้แตก ผู้ใดทำลายเรือนจำไม่ได้ ผู้นั้นก็จะเกิด แก่ เจ็บ ตาย เวียนว่ายอยู่ในวัฏฏะ นี้เรื่อยไป
    เพราะฉะนั้น เราทุกคนจะต้องเตรียมตัวเป็นนักกีฬา ต่อสู้ทำลายเรือนจำให้มันแตก อย่าให้มันขังเราไว้ต่อไป คนเราจะไปสวรรค์ก็ได้ ไปนิพพานก็ได้ ไปสู่อบายภูมิก็ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ต้องดำเนินชีวิตในทางที่ดีที่งาม อยากดีต้องทำดีเป็น อยากได้ต้องทำได้เป็น อยากดีต้องละเว้นทางเสื่อม ตามที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนไว้ นิททาสีลี อย่าพากันนอนตื่นสาย สภาสีลี ผู้ใดอยากดี อย่าพากันพูดเล่น อนุฏฐาตา ผู้ใดอยากดี ให้พากันขยันหมั่นเพียร อลโส ผู้ใดอยากดี อย่าเป็นคนเกียจคร้าน ผู้ใดอวดเก่ง ผู้นั้นเป็นคนขี้ขลาดผู้ใดอวดฉลาดผู้นั้นเป็นคนโง่ ผู้ใดคุยโว ผู้นั้นเป็นคนไม่เอาถ่าน อยากเป็นคนดีต้องทำดีถูก เรียนหนังสือเพื่อรู้ ดูหนังสือเพื่อจำ ทำอะไรต้องหวังผล เกิดมาเป็นคนต้องมีความคิด อุบายเครื่องพ้นทุกข์ไม่ใช่อยู่ที่อื่นไกล หากแต่อยู่ที่มีสติสัมปชัญญะรอบคอบในทุกอิริยาบถ

    <TABLE id=table1 border=0 width=150 align=left><TBODY><TR><TD>[​IMG]

    </TD></TR><TR><TD>
    วันที่ 24 พฤศจิกายน 2522 เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานเพลิงศพ พระเทพสิทธาจารย์ (จันทร์ เขมิโย สุวรรณาโร) อดีตเจ้าอาวาสวัดศรีเทพประดิษฐาราม ณ เมรุวัดศรีเทพประดิษฐาราม อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม




    </TD></TR></TBODY></TABLE>





















    ปัจฉิมบท
    ด้วยเหตุนี้พระเดชพระคุณ ท่านเจ้าคุณหลวงปู่พระเทพสิทธาจารย์ เป็นพระเถระผู้ใหญ่มีอายุพรรษาสูง เปี่ยมล้นด้วยประสบการณ์ ทรงไว้ซึ่งคุณธรรม มีพรหมวิหารธรรมเป็นที่ตั้ง กิริยามารยาทนุ่มนวล มีวาจาไพเราะ เป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตน ท่านจึงเป็นที่เคารพสักการบูชา ของพระภิกษุสามเณร และ คฤหัสถ์ทั่วไป ผู้ที่เคารพนับถือท่านเจ้าคุณหลวงปู่มากก็มี สมเด็จพระสังฆราชฯ (จวน อุฏฐายี) วัดมกุฏกษัตริยาราม ซึ่งมักไปมาหาสู่กันอยู่เสมอ อีกรูปหนึ่งที่เคารพรักหลวงปู่มาก ถึงกับฝากตัวเป็นลูก คือสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมมหาสังฆปรินายก วัดบวรนิเวศวิหาร องค์ปัจจุบัน สมเด็จพระสังฆราชฯ วัดบวรฯ มักจะเรียกหลวงปู่เจ้าคุณว่า "หลวงพ่อ" และ หลวงปู่เจ้าคุณ ก็เรียก สมเด็จพระสังฆราช สมัยเป็นเจ้าคุณว่า "เจ้าคุณลูก"


    <TABLE id=table2 border=0 width=150 align=right><TBODY><TR><TD>[​IMG]

    </TD><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>​
    หลวงปู่เจ้าคุณพระเทพสิทธาจารย์ นับว่าเป็นพระสุปฏิปันโน ชั้นเยี่ยมองค์หนึ่ง ท่านได้ประพฤติดีปฏิบัติชอบเรื่อยมา เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยปริยัติและปฏิบัติ กาลเวลาผ่านไป วัยสังขารและรูปกายของหลวงปู่ ก็เป็นไปตามกฎแห่ง ไตรลักษณ์ ย่อมแตกดับสลายไปในที่สุด ดุจผลไม้สุกงอมเต็มที่ ย่อมร่วงหล่นหลุด จากขั้ว ฉะนั้น สุดวิสัยที่แพทย์จะช่วยไว้ได้
    ท่านถึงมรณภาพ ด้วยโรคชรา ในวันศุกร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2516 สิริรวมอายุได้ 92 ปี พรรษา 72 ศพของหลวงปู่เจ้าคุณ ได้เก็บรักษาไว้ให้ประชาชนได้กราบไหว้บูชา และบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายเรื่อยมา จนถึงวันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2522 จึงได้มีพิธีพระราชทานเพลิงศพของท่าน โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานเพลิงศพ ทางฝ่ายคณะคณะสงฆ์ ก็มี สมเด็จพระสังฆราช พร้อมด้วยพระเถรานุเถระและคณาจารย์ทั่วประเทศ ได้ไปร่วมพิธีพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่เหลือคณานับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 ธันวาคม 2010
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    หลวงปู่จันทร์ เขมิโย กับ ปลาพระโพธิสัตว์

    หลายคนคงจะสงสัยว่าการเกิดมาเพื่อบำเพ็ญบารมีเพื่อจะไปเป็นพระพุทธเจ้าในพระไตรปิฎกที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ นั้นมีจริงหรือไม่ลองอ่านเรื่องนี้แล้วพิจารณาดู

    เหตุเกิดที่ จ.นครพนม ณ วัดศรีเทพประดิษฐาราม โดยท่านเจ้าคุณพระเทพสิทธาจารย์ (จันทร์ เขมิโย) ท่านเล่าเอาไว้ว่า

    มีอยู่คืนหนึ่งท่านกำลังทำสมาธิกรรมฐานก็ปรากฏภาพนิมิตขึ้นในสมาธิเป็นภาพของแอ่งน้ำกำลังแห้งมีปลาอยู่หกตัว เป็นปลาหมอ ๓ ตัว ปลาดุก ๓ ตัวกำลังดิ้นรนกระเสือกกระสนอยู่ ท่านจึงกำหนดจิตถามว่าเป็นคู่เวรคู่กรรมมาทวงหนี้เวรกรรมหรือไม่

    ปลาเหล่านั้นตอบว่า พวกเราเป็นพระโพธิสัตว์มาเกิดเป็นปลาเพื่อบำเพ็ญบารมี แต่ถูกกระแสกรรมทำให้ถูกนายบุญช่วย สุวรรณทรรภจับมาขังเอาไว้ในตุ่มน้ำในสวนกล้วยติดหลังวัด ตอนนี้น้ำกำลังแห้ง ถ้าตายก่อนจะหมดโอกาสบำเพ็ญบารมี

    หลวงปู่จึงถามว่าเหตุใดจึงมาปรากฏในข่ายฌานสมาธิของท่าน

    ปลาโพธิสัตว์เหล่านั้นตอบว่า พวกเราตั้งจิตอธิษฐานว่าด้วยกุศลผลบุญที่บำเพ็ญเพียรเพื่อปรารถนาพุทธภูมิในอนาคตขอให้เราได้ปรากฏในข่ายฌานของผู้ทรงศีลที่เคยเกื้อกูลกันมาก่อนในอดีตชาติจึงได้มาปรากฏในข่ายวิถีฌานสมาธิของท่าน

    ตอนแรกหลวงปู่คิดว่าเป็นนิมิตมายา จึงอธิษฐานจิตซ้ำว่าถ้าเป็นภาพนิมิตมายาขอให้ดับหายไป ถ้าเป็นนิมิตจริงขอให้ปลาเหล่านี้สวดพระพุทธคุณให้ได้ยิน ปรากฏว่าเมื่ออธิษฐานเสร็จปลาเหล่านั้นก็พากันสวดสรรเสริญพระพุทธคุณว่า นโมตัสสะ ภควโต อรหโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ตัวละ ๓ จบเรียงกันไปจนครบหกตัว ท่านได้ยินดังนั้นจึงรับปากว่าจะช่วย

    รุ่งเช้าท่านออกบิณฑบาตไปจนถึงบ้านของโยมอุปัฏฐาก วันนั้นลูกสาวของโยมอุปัฏฐากชื่อเยี่ยม หอมหวล อายุขณะนั้น ๑๐ ขวบ เมื่อใส่บาตรแล้วก่อนที่หลวงปู่จะไปบ้านอื่นต่อ จึงสั่งเด็กหญิงผู้นั้นว่า ตอนสาง หลังกินข้าวเสร็จแล้วให้เอาขันน้ำใบใหญ่ๆ ไปหาท่านที่วัดด้วย

    หลังจากนั้นเด็กหญิงก็เอาขันน้ำไปที่วัดตามที่หลวงปู่สั่ง เมื่อไปถึงหลวงปู่ก็สั่งว่าให้เอาน้ำใส่พอประมาณและให้ไปขอปลาหกตัวกับนายบุญช่วย ที่ขังเอาไว้ในตุ่มน้ำในสวนกล้วยติดกับหลังวัด ซึ่งเด็กหญิงผู้นี้ก็รู้จัก พร้อมกำชับไว้ด้วยว่าไม่ว่าอย่างไรก็ตามต้องเอาปลามาให้ได้

    เมื่อเด็กหญิงไปถึงพบนายบุญช่วยจึงบอกว่าเจ้าคุณปู่ให้มาขอปลาหกตัว เป็นปลาหมอ ๓ ตัวปลาดุก ๓ ตัวที่ขังไว้ในสวนกล้วย นายบุญช่วยแปลกใจแต่ก็บอกว่าไม่รู้ว่าปลามีหรือไม่ ถ้าไม่มีให้กราบเรียนหลวงปู่ด้วยว่าไม่มี แล้วไปที่สวนกล้วย

    พอไปถึงกระต๊อบท้ายสวนนายบุญช่วยก็นึกได้ว่าตนเคยไปหาปลาและได้นำมาขังไว้จริงแต่นานแล้วจนลืม

    จึงอุทานว่าหลวงปู่เก่งจังที่รู้ว่าตนขังปลาไว้จนลืมไปแล้ว จึงรีบไปดูที่ตุ่มกลางกอกล้วย

    ปรากฏว่าเห็นปลาอยู่หกตัวตามที่หลวงปู่บอกมาจริง จึงจับปลาใส่ขันให้เด็กหญิง แล้วตามมาจนถึงวัด

    เมื่อพบหลวงปู่ จึงบอกว่าหลวงปู่เก่งที่รู้ว่ามีปลาถูกขังจนลืม หลวงปู่บอกว่า ท่านไม่เก่ง ปลาเหล่านี้ต่างหากที่เก่ง เพราะสามารถส่งกระแสจิตไปขอความช่วยเหลือจากท่านได้ โชคยังดีที่ยังไม่ได้เอาไปทำอาหาร เพราะจะเดือดร้อนทั้งครอบครัว จากนั้นหลวงปู่ก็ทำน้ำมนต์พรมให้ปลาแล้วอธิษฐานให้ปลานั้นปลอดภัย สามารถบำเพ็ญบารมีต่อได้จนหมดอายุขัย แล้วนำไปปล่อยที่แม่น้ำโขง น่าแปลกคือ เมื่อปล่อยปลาลงน้ำแล้วแทนที่มันจะรีบว่ายหนีกลับพากันกระโดดขึ้นเหนือน้ำสามครั้งเหมือนกับจะแสดงการคารวะหลวงปู่จากนั้นก็พากันว่ายน้ำหายไป
     

แชร์หน้านี้

Loading...