ปัจจัตตังซัมเมอร์ ^O^ มหาสติ มหาสติ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย โกมีนัม, 25 กุมภาพันธ์ 2012.

  1. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,903
    ค่าพลัง:
    +7,316
    ตัณหา ราคะ โลภะ คำศัพท์ ๓ คำนี้ มีความหมายอย่างเดียวกัน คือหมายถึง

    โลภเจตสิก ซึ่งโลภเจตสิกนี้มีชื่อหลายชื่อ ดังนี้


    พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 384

    โลภะ เป็นไฉน ?

    ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความคล้อยตามอารมณ์ ความยินดี

    ความเพลิดเพลิน ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน ความกำหนัดนัก

    แห่งจิต ความอยาก ความสยบ ความหมกมุ่น ความใคร่ ความรักใคร่

    ความข้องอยู่ ความจมอยู่ ธรรมชาติผู้คร่าไป ธรรมชาติผู้หลอกลวง ธรรมชาติ

    ผู้ยังสัตว์ให้เกิด ธรรมชาติผู้ยังสัตว์ให้เกิดพร้อม ธรรมชาติอันร้อยรัด ธรรมชาติ

    อันมีข่าย ธรรมชาติอันกำซาบใจ ธรรมชาติอันซ่านไป ธรรมชาติเหมือน

    เส้นด้าย ธรรมชาติอันแผ่ไป ธรรมชาติผู้ประมวลมา ธรรมชาติเป็นเพื่อนสอง

    ปณิธาน ธรรมชาติผู้นำไปสู่ภพ ตัณหาเหมือนป่า ตัณหาเหมือนดง ความ

    เกี่ยวข้อง ความเยื่อใย ความห่วงใย ความผูกพัน การหวัง กิริยาที่หวัง

    ความหวัง ความหวังรูป ความหวังเสียง ความหวังกลิ่น ความหวังรส

    ความหวังโผฏฐัพพะ ความหวังลาภ ความหวังทรัพย์ ความหวังบุตร

    ความหวังชีวิต ธรรมชาติผู้กระซิบ ธรรมชาติผู้กระซิบทั่ว ธรรมชาติผู้กระซิบ

    ยิ่ง การกระซิบ กิริยาที่กระซิบ ความกระซิบ การละโมบ กิริยาที่ละโมบ

    ความละโมบ ธรรมชาติเป็นเหตุซมซานไป ความใคร่ในอารมณ์ดี ๆ ความ

    กำหนัดในฐานะอันไม่ควร ความโลภเกินขนาด ความติดใจ กิริยาที่ติดใจ

    ความปรารถนา ความกระหยิ่มใจ ความปรารถนานัก กามตัณหา ภวตัณหา

    วิภวตัณหา ตัณหาในรูปภพ ตัณหาในอรูปภพ ตัณหาในนิโรธ [คือราคะที่

    สหรคต ด้วยอุจเฉททิฏฐิ . รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา

    โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา โอฆะ โยคะ คันถะ อุปาทาน อาวรณ์ นิวรณ์

    เครื่องปิดบัง เครื่องผูก อุปกิเลส อนุสัย ปริยุฏฐาน ตัณหาเหมือนเถาวัลย์

    ความปรารถนา วัตถุมีอย่างต่าง ๆ รากเหง้าแห่งทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ แดนเกิด

    แห่งทุกข์ บ่วงแห่งมาร เบ็ดแห่งมาร แดนแห่งมาร ตัณหาเหมือนแม่น้ำ

    ตัณหาเหมือนข่าย ตัณหาเหมือนเชือกผูก ตัณหาเหมือนสมุทร อภิชฌา

    อกุศลมูลคือโลภะ อันใด นี้เรียกว่า โลภะ.

    โลภะ [ธรรมสังคณี]
     
  2. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,903
    ค่าพลัง:
    +7,316
    บรรดากิเลสทั้ง 3 คือ ราคะ (โลภะ) โทสะ โมหะ
    ท่านว่ามีโทษหนักเบาไม่เท่ากัน ราคะนั้นดูเหมือนว่ามีโทษเบา แต่ละได้ยาก โทสะมีโทษหนักแต่ละได้ง่าย ส่วนโมหะมีโทษหนักและละได้ยาก เฉพาะโทสะ(ความโกรธ ความขุ่นเคือง) นั้น เวลามันเกิดขึ้นจะเอะอะตึงตัง คุณมาพาโวย เรียกว่าเห็นช้างเท่าหมู ไม่กลัวใคร แต่ก็มักสงบง่าย เพราะฉะนั้นท่านจึงว่าความโกรธมีโทษมาก

    ท่านบอกวิธีเอาชนะความโกรธ 9 วิธี สำหรับผู้มักขี้ยัวะ ลองฝึกปฏิบัติดูนะครับ ถ้าได้ผลอย่างไร ช่วยบอกผมด้วย จะได้ทำตามเพราะผมก็ใช่ย่อยเหมือนกัน ลูกศิษย์บางคนว่า อะไรๆ ก็ดี แต่ดุชะมัดญาติว่าอย่างนั้น

    1.ให้นึกถึงผลเสียของคนมักโกรธ

    พระพุทธเจ้าตรัสสอนว่า คนที่โกรธคนอื่นนับว่าเป็นคนเลวอยู่แล้ว แต่ใครโกรธตอบเขากลับเป็นคนเลวกว่า พระองค์ทรงสรรเสริญเมตตา ความรักและความปรารถนาดีต่อกัน ถ้าเรามัวเป็นคนมักโกรธ ไม่รู้จักเมตตารักใคร่คนอื่นบ้างเลย จะนับว่าเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าได้อย่างไร

    เวลาเขาโกรธเรามา เราไม่โกรธตอบ นับว่าเป็นผู้เอาชนะใจคนได้ เอาชนะสงครามที่ชนะได้แสนยากและยิ่งรู้ว่าเขาโกรธและ ขุ่นเคืองเรา เราไม่แสดงอาการโกรธและขุ่นเคืองออกมา นับว่าได้ทำประโยชน์ทั้งสองฝ่ายคือ ทั้งแก่ตนเองและแก่คนที่โกรธเรา(การทะเลาะเบาะแว้ง หรือลงไม้ลงมือประหัตประหารกันก็จะไม่เกิดเพราะเราตั ดไฟแต่ต้นลม)

    2.ให้พิจารณาโทษของความโกรธ

    คนเราเวลาไม่โกรธก็ดูดี ใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส แต่พอโกรธขึ้นมาก็กลายเป็นคนละคน หน้าตาจะบูดเบี้ยวแดงก่ำ บางคนมือไม้สั่นยังกับเจ้าเข้า เต้นแรงเต้นกา ปากก็กล่าวคำหยาบ ไม่รู้ไปสรรค์หาคำด่ามาจากไหน ไม่มีความสง่า สวยงามเหลือแม้แต่นิดเดียว เรียกว่าเป็นนางฟ้าอยู่หยกๆ กลายเป็นนังยักษ์ขมูขีทันที

    หรือถ้าจะให้ชัดเวลาที่เราโกรธ ลองส่องกระจกดูก็แล้วกัน หน้าที่ที่สวยงามยิ้มแย้มแจ่มใส มีเสน่ห์น่ารักนั้น ไม่รู้มันหายไปไหนกลายเป็นหน้ายักษ์หน้ามาร น่าเกลียดน่าชัง เมื่อพิจารณาเห็นความน่าเกลียดน่ากลัวของตนเองอย่างน ี้แล้ว ความโกรธที่มีมาก็อาจหายไปได้

    3.นึกถึงความดีของคนที่เราโกรธ

    เวลาเราโกรธใครส่วนมากก็ขุดเอาแต่เรื้องที่ไม่ดีมาด่ าว่า ทีนี้ลองพยายามคิดถึงความดีของเขาดูสิ ว่าเขามีดีอะไรบ้าง เพราะตามธรรมดานั้น คนเราย่อมมีดีและไม่ดีเหมือนๆ กันต่างแต่ว่าใครจะดีมากดีน้อยเท่านั้น ไม่มีใครดอกที่ดีร้อยเปอร์เซ็นต์หรือชั่วร้อยเปอร์เซ ็นต์ เพราะฉะนั้น ถ้าใครมาทำให้เราโกรธไม่พอใจ นั่นเป็นจุดที่ไม่ดีของเขา เราก็ไม่ควรมองแต่จุดนั้น ลองหันไปดูจุดดีของเขาบ้าง เมื่อมองหาจุดดีก็อาจประหลาดใจว่า แท้ที่จริงแล้วเขามีความดีมากมาย "เขามีความไม่ดีบ้างก็ช่างเขา..." อะไรประมาณนั้น

    นึกได้อย่างนี้แล้วความโกรธที่มีอยู่อาจหายไปได้

    4.ความโกรธทำให้ศัตรูสมใจ

    นอกจากทำให้ตัวเองทุกข์แล้วยังสาสมใจศัตรูด้วย เวลาถูกความโกรธครอบงำ จิตใจเรามักร้อนรุ่มยังกับหอบกองไฟลุกโชนไว้ในอก หาความสุขไม่ได้ ที่สำคัญคือเรากำลังทำตนให้เป็นที่สะใจแก่ศัตรูผู้มุ ่งร้ายแก่เรา โดยที่เขามิได้ลงทุนเลย เราทำให้เขาแท้ๆ

    คนที่ไม่ชอบเรา เขามักคิดภาวนาในใจ(พูดให้ชัดคือสาปแช่ง) ว่า "เจ้าประคุณ ขอให้ไอ้/อี...มันพินาศฉิบหายในเร็ววันเถิด" ถ้าเราเป็นคนมักโกรธ ก็เท่ากับเรากระทำการต่างๆ เข้าทางศัตรู โดยที่เขาไม่ต้องเสียแรงเสียเวลามาทำให้เราเลย

    ให้สอนตนเสมอว่า "คนอื่นอยากให้เจ้าโกรธ จึงแกล้งทำสิ่งไม่ถูกใจให้เจ้า แล้วไฉนเจ้าจึงช่วยให้เขาสมปรารถนา ด้วยการปล่อยให้ความโกรธเกิดขึ้นเล่า"

    " เวลาเจ้าโกรธขึ้นมาแล้ว เจ้าก็ไม่สามารถทำทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่เขา มิหนำซ้ำ เจ้าได้ทำร้ายตัวเองเข้าแล้ว ด้วยความทุกข์เพราะความโกรธนั้น"

    5.พิจารณาความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน

    ให้คิดว่าทุกคนมีกรรมเป็นของตน ต่างก็จะได้รับผลแห่งกรรมที่ตนทำ เราโกรธเขา แสดงว่าเราได้ทำอกุศลคือกรรมชั่ว กรรมชั่วที่เราทำลงไปมันก็จะมีผลร้าย ก่อความเสียหายขึ้น เราก็ต้องได้รับผลของกรรมนั้น ดุจเอามือทั้งสองกอบถ่านที่ลุกโชน มือทั้งสองของเราก็ไหม้เอง หรือดุจเอามือกอบอุจจาระไปโปะคนอื่น ตัวนั้นแหละย่อมเปรอะอุจาระก่อน

    เมื่อพิจารณาเห็นว่าทุกคนต่างก็มีกรรมเป็นของตนเช่นน ี้ ก็จะเห็นในฝ่ายเขาเช่นเดียวกันว่า ถ้าเขาโกรธเขาก็ได้ทำกรรมไม่ดี และจะได้รับผลแห่งกรรมไม่ดีเช่นเดียวกัน เมื่อต่างคนต่างมีกรรมเป็นของตน เก็บเกี่ยวผลแห่งกรรมของตนอยู่แล้ว เรื่องอะไรมามัววุ่นวายโกรธกันอยู่ทำไม ตั้งหน้าตั้งตาทำแต่กรรมดีมิดีกว่าหรือ

    6.พิจารณาพระจริยวัตรของพระพุทธเจ้า

    พระจริยวัตรของพระพุทธเจ้า ไม่ว่าพิจารณาจากช่วงไหน ก็จะเห็นชัดเหมือนกันว่า พระองค์ทรงมีเมตตา ไม่โกรธใคร ขณะทรงบำเพ็ญบารมีเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ก็ทรงเอาความด ีชนะความชั่วตลอดมา แม้จะถูกกลั่นแกล้งโดยผู้ไม่ปรารถนาดี ก็ไม่ถือโทษ ดังเมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็นภูริทัต จะถูกศัตรูทรมานอย่างไรก็ไม่โกรธไม่ทำร้ายตอบ ทั้งๆ ที่อยู่ในฐานะจะทำได้

    เมื่อพระองค์เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ถูกเทวทัตจองล้างจองผลาญต่างๆ นานา ขนาดกลิ้งก้อนหินหมายประหารชีวิตพระองค์ แต่ก้อนหินปะทะง่อนผา สะเก็ดหินกระเด็นไปต้องพระบาท ได้รับทุกขเวทนาอย่างกล้า อีกครั้งหนึ่งสั่งให้ปล่อยช้างตกมันเพื่อทำร้ายพระพุ ทธองค์ถึงแก่ชีวิต ขณะเสด็จออกโปรดสัตว์ในเมือง พระองค์ก็ไม่ทรงถือสา กลับมีเมตตาต่อเทวทัตผู้มุ่งร้ายพระองค์สารพัด

    บางครั้งถูกอันธพาลที่ได้รับจ้างจากผู้มุ่งร้ายพระอง ค์ตามด่า ตลอดเจ็ดวัน พระองค์ก็ทรงสงบนิ่ง แผ่เมตตาจิตให้พวกเขา ไม่ทรงโกรธตอบ จนพระอานนท์ทูลให้เสด็จไปที่อื่นที่ไม่มีคนด่า พระองค์ตรัสสอนพระอานนท์ว่า ถ้าจะแก้ปัญหาโดยการหนี ก็คงหนีไปไม่มีที่สุด เพราะคนส่วนมากทุศีล ที่ถูกคือให้อดทนต่อคำล่วงเกิน ด้วยจิตประกอบด้วยเมตตา

    เมื่อพิจารณาถึงพระจริยวัตรของพระพุทธเจ้าอย่างนี้แล ้ว ได้เห็นว่าพระพุทธองค์ทรงเผชิญเรื่องที่เลวร้ายกว่าเ รา พระองค์ยังทนได้ เมื่อเราปฏิญาณว่าเป็นสาวกของพระองค์ ไฉนไยไม่ดำเนินตามรอยยุคลบาทเล่า เมื่อคิดได้เช่นนี้แล้ว ความโกรธอาจหายไปได้

    7.พิจารณาความเกี่ยวพันกันในสังสารวัฏ

    นี่ก็เป็นวิธีที่หนึ่งที่จะดับความโกรธได้ คือให้คิดว่าในโลกนี้ ไม่มีใครที่ไม่เคยเป็นญาติพี่น้องกันมาก่อน หากใครมาทำให้ท่านเกิดความโกรธ ก็ให้พิจารณาว่า คนๆ นี้อาจเคยเป็นบิดามารดาเรามาก่อน ในชาติใดชาติหนึ่งที่ล่วงมาแล้วก็ได้ หรืออาจเป็นแฟนเป็นกิ๊กที่เรารักสุดชีวิตมาก่อนก็เป็ นได้ แล้วเรื่องอะไรเราจะมาโกรธพ่อเรา แม่เรา หรือคนรักของเรา ถ้าพิจารณาอย่างนี้แล้วความโกรธที่มีก็อาจสงบได้

    8.พิจารณาอานิสงส์ของเมตตา

    ความโกรธเป็นปฏิปักษ์ของเมตตา ขณะใดความโกรธเกิดขึ้น ลองหันมาพิจารณาถึงคุณประโยชน์ของเมตตาดูสิว่า เมตตาความรักความปรารถนาดีต่อกันนั้น เป็นสิ่งที่ดีงามอย่างไร เมื่อพิจารณาถึงความดีงามของเมตตา ก็อาจระงับความโกรธได้

    ความดีงามหรืออานิสงส์ของเมตตา พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่ามี 11 ประการคือ

    1.คนที่มีเมตตานอนหลับก็เป็นสุข

    2.ตื่นขึ้นมาก็เป็นสุข คือหน้าตาสดใสเบิกบาน

    3.ไม่ฝันร้าย

    4.เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย ใครเห็นใครก็รัก มีเสน่ห์

    5.เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย อย่าว่าแต่มนุษย์ด้วยกัน ภูตผีเทวดาก็รัก คนมีเมตตาผีไม่หลอกหลอน แทนที่จะหลอกหลอนกลับให้อารักขา อยู่อย่างปลอดภัยเสียอีก

    6.เทวดาอารักขา

    7.ปลอดภัยจากอัคคีภัย ยาพิษ และศาสตราอาวุธ

    8.จิตเป็นสมาธิได้เร็ว

    9.สีหน้าผ่องใสเบิกบาน

    10.ถึงคราวตายก็ตายอย่างมีสติ

    11.ถ้ายังไม่บรรลุคุณธรรมสูงกว่า ตายไปก็เข้าถึงพรหมโลกแน่นอน

    ถ้าอยากมีคุณสมบัติดังกล่าวนี้ ก็พึงพยายามเป็นคนไม่โกรธ หัดเป็นคนมีเมตตาเป็นธรรมประจำใจให้ได้

    9.ให้แยกธาตุ

    วิธีแยกธาตุนี้เป็นวิธีที่ได้ผลชงัดนัก เพราะตราบใดเรายังมองเป็นกลุ่มเป็นก้อน เป็นตัวเป็นคนเป็นนายนั่นนางนี่อยู่ ความโกรธก็เกิดขึ้นได้ แต่ถ้าเราแยกธาตุเสีย ทั้งธาตุเขาและธาตุเรานั้นแหละ ความโกรธก็อาจหายไป เพราะไม่รู้ว่าจะไปโกรธส่วนไหน เพราะแต่ละส่วนก็ไม่ใช่ตัวตน หากเป็นเพียงธาตุสี่ ดิน น้ำ ลม ไฟ แค่นั้นเอง ขันธ์ 5 (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) แค่นั้นเอง

    เช่น เพราะคิดว่านายแมวมันด่ากูจึงโกรธ แต่ถ้าคิดแยกธาตุเสียว่า ส่วนไหนเป็นนายแมว รูปหรือเวทนาหรือ สัญญาหรือ วิญญาณหรือ ดินหรือ น้ำหรือ ไฟหรือ ลมหรือ ก็เปล่าทั้งเพ มันเพียงแค่ธาตุสี่ ขันธ์ห้าเท่านั้นเอง นายแมวนายหมูอะไรหามีไม่ เมื่อไม่มีนายแมวนายหมู คำด่ามันจะมีได้อย่างไร เมื่อไม่มีคำด่าแล้วจะโกรธทำไม

    ในทำนองเดียวกัน ที่เรียกว่า "กู" ก็เพียงประชุมแห่งธาตุสี่ขันธ์ห้าเท่านั้นเอง เมื่อแยกส่วนจนหมดแล้ว ก็ไม่มี "กู" ที่ไหน แล้วเราจะโกรธอยู่ทำไม

    พูดถึงตอนนี้ นึกถึงหลวงพ่อคูณสมัยท่านยังไม่ดังเปรี้ยงปร้างอย่าง สมัยนี้ หลวงพ่อท่านเดินทางไปกับศิษย์สองสามรูป ผ่านหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ญาติโยมก็ยกมือไหว้ นั่งยองๆ แล้วถามว่า "หลวงพ่อไปไหนมาคร้าบ" หลวงพ่อคูณก็เดินเฉย ไปได้อีกหน่อย โยมคนหนึ่งก็ถามอีกว่า "หลวงพ่อไปไหนมาค่ะ" หลวงพ่อก็เฉยเช่นเดียวกันจนลูกศิษย์ถามว่า "หลวงพ่อ โยมถาม ทำไมไม่ตอบ"

    หลวงพ่อพูดว่า "กูไม่มา แม่มันจะถามใครหว่า" (ถ้ากูไม่มาเสียแล้ว จะถามใครเล่า) เออจริงสินะ ถ้าไม่มีกู แล้วคำถามมันจะมีได้อย่างไร ก็ให้คิดเสียว่า กูไม่มาก็แล้วกัน คำถามจะได้ไม่มี

    เวลาโกรธใครสักคน ก็ให้พิจารณาแยกธาตุดังว่ามาข้างต้นนั้น ความโกรธอาจหายไปได้

    ที่มา>>>กิเลสทั้ง 3

    เครดิต
    มารู้จักบรรดากิเลสทั้ง 3 คือ ราคะ (โลภะ) โทสะ โมหะ กันเถอะ
     
  3. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    โอย ที่พูดมานั่นมันพวกตำรา ของจริง ดับเวทนาให้เป็น เท่าทันต่อเวทนา
    เพราะเวทนานี่แหละเป็นตัว วิพากษ์ ว่าอะไรเป็น ศุภนิมิต อะไรเป็นปฏิฆะนิมิต
     
  4. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,903
    ค่าพลัง:
    +7,316
    เวทนา เป็นนามธรรมอย่างหนึ่งมีการกล่าวถึงในพระพุทธศาสนา หมายถึง การเสวยอารมณ์, ความรู้สึก
    เวทนาขันธ์ เป็นองค์ประกอบหนึ่งของขันธ์๕ (หรือ เบญจขันธ์ อันได้แก่ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์)
    เวทนา สามารถจัดออกเป็นประเภทต่างๆ ได้หลายแบบ เช่น


    เวทนา ๒ แบ่งการเสวยอารมณ์ ออกเป็นสองอย่าง คือ
    1. กายิกเวทนา หมายถึง เวทนาทางกาย การเสวยอารมณ์ทางกาย ความรู้สึกทางกาย
    2. เจตสิกเวทนา หมายถึง เวทนาทางใจ การเสวยอารมณ์ทางใจ ความรู้สึกทางใจ
    เวทนา ๓ แบ่งการเสวยอารมณ์ ความรู้สึก รสของอารมณ์ ออกเป็นสามอย่าง คือ

    1. สุขเวทนา หมายถึง ความรู้สึกสุข สบาย ทางกายก็ตาม ทางใจก็ตาม
    2. ทุกขเวทนา หมายถึง ความรู้สึกทุกข์ ไม่สบาย ทางกายก็ตาม ทางใจก็ตาม
    3. อทุกขมเวทนา หมายถึง ความรู้สึกเฉยๆ จะสุขก็ไม่ใช่ ทุกข์ก็ไม่ใช่ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อุเบกขาเวทนา
    เวทนา ๕ แบ่ง การเสวยอารมณ์ ออกเป็นห้าอย่าง คือ

    1. สุข หมายถึง ความสุข ความสบายทางกาย
    2. ทุกข์ หมายถึง ความทุกข์ ความไม่สบาย ความเจ็บปวดทางกาย
    3. โสมนัส หมายถึง ความแช่มชื่น ปลื้มใจ สุขใจ
    4. โทมนัส หมายถึง ความเสียใจ ความเศร้าโศก เศร้าหมอง ทุกข์ใจ
    5. อุเบกขา หมายถึง ความรู้สึกเฉยๆ ไม่สุขไม่ทุกข์
    เวทนา ๖ แบ่ง การเสวยอารมณ์ ออกเป็นหกอย่าง คือ

    1. จักษุสัมผัสชา เวทนา หมายถึง เวทนาอันเกิดจากสัมผัสทางตา
    2. โสตสัมผัสชา เวทนา หมายถึง เวทนาอันเกิดจากสัมผัสทางหู
    3. ฆานสัมผัสชา เวทนา หมายถึง เวทนาอันเกิดจากสัมผัสทางจมูก
    4. ชิวหาสัมผัสชา เวทนา หมายถึง เวทนาอันเกิดจากสัมผัสทางลิ้น
    5. กายสัมผัสชา เวทนา หมายถึง เวทนาอันเกิดจากสัมผัสทางกาย
    6. มโนสัมผัสชา เวทนา หมายถึง เวทนาอันเกิดจากสัมผัสทางใจ
    เวทนาเจตสิก

    ในคัมภีร์พระอภิธรรม มีการกล่าวถึงเวทนา ในลักษณะที่เป็นเจตสิก(คือ ธรรมชาติที่อาศัยจิตเกิด) เรียกว่า เวทนาเจตสิก เป็นธรรมชาติที่เสวยอารมณ์ จำแนกเป็น เวทนา๓ และ เวทนา๕ (ดังบรรยายไปแล้วข้างต้น)
    เวทนาตามหลักปฏิจจสมุปบาท

    • เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา...
    • เพราะผัสสะดับเวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ...
    เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ย่อมเกิดความเสวยอารมณ์ เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง
    ผู้ที่รู้สึกสุขเวทนา ย่อมเพลิดเพลิน พูดถึง ดำรงอยู่ด้วยความติดใจ จึงมีราคานุสัยนอนเนื่องอยู่
    ผู้ที่รู้สึกทุกขเวทนา ย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไห้ คร่ำครวญทุ่มอก โกรธ หลง จึงมีปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่
    ผู้ที่รู้สึกอทุกขมสุขเวทนา ย่อมไม่ทราบชัดความตั้งขึ้น ความดับไป คุณ โทษ และที่สลัดออกแห่งเวทนานั้น ตามความเป็นจริง จึงมีอวิชชานุสัยนอนเนื่องอยู่

    เวทนา - วิกิพีเดีย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มีนาคม 2012
  5. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,903
    ค่าพลัง:
    +7,316
    กั๊กๆๆๆ มวยวัด กะมวยมีครู ใครจะหลงป่ามากกว่ากัน
    จะรู้แบบไหนก็รู้ไปอะ แล้วแต่ความสามารถและจริตของแต่ละคน

    รู้รูป รู้เวทนา รู้สัญญา รู้สังขาร รู้วิญญาณ
    รู้กิเลส รู้ตัณหา108 รู้อารมณ์ รู้ความรู้สึก รู้ตัว รู้อิริยาบถ รู้ลมหายใจ รู้ธาตุ รู้ขันธ์ รู้นิวรณ์
    รู้กาย รู้เวทนา รู้จิต รู้ธรรม
    รู้กายรู้ใจของตัวเอง

    แต่รู้ให้ถูกวิธี ภาวนาให้เป็นก็แล้วกัน แล้วก็ใช้คำให้มันถูกๆ จะได้สื่อสารกันได้ตรงตามสัจธรรมและสมมุติบัญญัติ

    และถ้าดับเวทนาด้วยอำนาจสมาธิแล้วเข้าใจว่าเป็นปัญญาดับเป็นสมุทเฉท ก็ตั๋วใครตั๋วมันละคร่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มีนาคม 2012
  6. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    กั๊กๆๆ มวยเปิดตำราสู้ เปิดหน้าหนึ่งชกทีหนึ่ง จะมาเถียงกับครูมวย
     
  7. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    อนุโมทนา พระสัทธรรม

    ลุงเปิดโลกทัศน์บ้างสิ จะได้ไม่เข้าใจอะไรผิดๆ ^^
     
  8. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    มวยมีครู ออกแต่ละดอก เน้นๆ

    ได้ทั้งเข่า ทั้งศอก ดีดลูกตาก็ได้

    มวยไม่มีครู ออกอาวุธก็กะหยองกะแหยง เหมือนคนไม่มีแรง

    เน้นน้ำจิ้ม กั๊กๆๆๆ
     
  9. โกมีนัม

    โกมีนัม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    362
    ค่าพลัง:
    +440
    กั๊ก
    [แก้]ภาษาไทย

    [แก้]คำกริยา
    กั๊ก
    เรียกทางสี่แยก
    หมวดหมู่: คำกริยาภาษาไทย

    http://th.wiktionary.org
     
  10. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    กั๊กใช้กับพวก คนแก่ขี้เมา ซักกั๊ก ฉองกั๊กพอเป็นกะสัย ก็ได้
     
  11. โกมีนัม

    โกมีนัม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    362
    ค่าพลัง:
    +440
    [๘๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยจักษุและรูป เกิดจักษุวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ
    เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ย่อมเกิดความ เสวยอารมณ์ เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง
    เขาอันสุขเวทนา ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พูดถึง ไม่ดำรงอยู่ด้วยความติดใจ จึงไม่มี ราคานุสัยนอนเนื่องอยู่
    อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไห้ ไม่คร่ำครวญทุ่มอก ไม่ถึงความหลงพร้อม จึงไม่มีปฏิฆานุสัยนอนเนื่อง อยู่
    อันอทุกขมสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมทราบชัดความตั้งขึ้น ความดับไป คุณ โทษ และที่สลัดออกแห่งเวทนานั้น ตามความเป็นจริง จึงไม่มีอวิชชานุสัย นอนเนื่องอยู่
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ข้อที่บุคคลนั้นละราคานุสัยเพราะสุขเวทนา
    บรรเทาปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนา
    ถอนอวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนา
    ยัง วิชชาให้เกิดขึ้นเพราะละอวิชชาเสียได้ แล้วจักเป็นผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ใน ปัจจุบันได้ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ
    ฉฉักกสูตร
     
  12. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    อธิบายหน่อยสิ มันั่ม
     
  13. โกมีนัม

    โกมีนัม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    362
    ค่าพลัง:
    +440
    ทำไม่ได้หรอก แต่หมายความว่า นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ที่จะนำเวทนามาเป็นประเด็นในการยกขึ้นเพื่อพิจารณา
     
  14. โกมีนัม

    โกมีนัม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    362
    ค่าพลัง:
    +440
    สำหรับมีนัมตอนนี้ ขี้เกียจเป็นทุกข์อย่างยิ่งตามประสามีนัม
     
  15. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    แล้วตอนนี้มีเวทนาอยู่หรือ
     
  16. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    มันแน่นนอนอยู่แล้ว ขี้เกียจ ก็เป็นทุกข์
     
  17. โกมีนัม

    โกมีนัม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    362
    ค่าพลัง:
    +440
    อื้ม.......ตัวขี้เกียจ บวกความโง่กับมานะ อสุขอทุกข์ซื่อบื้อ กวนๆมากนักก็ทุกขเวทนา
     
  18. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    แล้วไงต่อ ^^
     
  19. โกมีนัม

    โกมีนัม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    362
    ค่าพลัง:
    +440
    ปฏิบัติการขับความขี้เกียจ

    เริ่มต้นด้วยอิทธิบาท 4

    ฮ่าาาา......ฉันทะข้อแรกนี่ก็ยากละ ฉันทะ ทะลวงกำแพงขี้เกียจด่านแรก
    กำแพงที่ต้องเจอคือมานะ

    ใช่อีกอย่าง หัวใจต้องอ่อนโยนลงเพื่อบันทอนกำแพงมานะ เริ่มข้อแรก ฉันทะ

    ก็ต้องเริ่มฉันทะให้ได้ก่อน

    ต้องมีธรรมมาประกอบเพื่อให้เกิดฉันทะ
    ใช่ สังคหวัตถุ 4

    ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา สมานัตตตา
     
  20. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    แหม่ ตีปลาหน้าไซซะได้

    จะรู้อยู่แล้วเชียวว่าจิตเป็น โทสะ หรือ โลภะ อะไรที่รู้ อะไรที่ละ ^^
     

แชร์หน้านี้

Loading...