พระพุทธศาสนาในไทย ตั้งแต่เริ่มเข้ามาจนมี 2 นิกาย

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 12 กรกฎาคม 2007.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    กำเนิดรามัญนิกาย โดยพระมหาจรูญ ญาณจารี อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่

    พระเจ้าธรรมเจดีย์กษัตริย์แห่งรามัญประเทศ พระองค์ทรงใฝ่พระทัยในการศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ด้วยเหตุที่พระองค์ทรงเลื่อมใสในพระรัตนตรัยอย่างมั่นคงและเคยผนวชเป็นพระภิกษุ ตามที่ปรากฏหลักฐานในพงศาวดารมอญเรื่องราชาธิราช ซึ่งมีพระนามว่า "พระปิฎกธร"
    เมื่อพระองค์ขึ้นเสวยราชย์ในเมืองหงสาวดีแล้ว คณะสงฆ์ในเมืองหงสาวดีเกิดแตกแยกกัน ต่างรังเกียจไม่ยอมทำสังฆกรรมร่วมกัน และถือพิธีปฏิบัติผิดแผกกันออกไปตามคติความเห็นของแต่ละฝ่าย พระองค์ทรงวิตกว่า ในกาลภายหน้า การถือปฏิบัติของพระสงฆ์จะเป็นเหตุให้พระพุทธศาสนาเสื่อมถอยลง และจะเสื่อมสูญไปในที่สุด
    พระองค์ทรงประสงค์เพื่อที่จะชำระพระพุทธศาสนาให้บริสุทธิ์และให้พระสงฆ์ถือวัตรปฏิบัติเป็นอย่างเดียวกัน จึงทรงรับสั่งให้คณาจารย์ของแต่ละฝ่ายให้ไปรับการอุปสมบทจากพระสงฆ์ในลังกาทวีป เพื่อให้มีพระสงฆ์รามัญที่บริสุทธิ์เกิดขึ้นมาก่อน แล้วกลับมาให้การอุปสมบทแก่ลูกศิษย์ต่อไปเพื่อให้พระสงฆ์ในรามัญประเทศเป็นวงศ์เดียวกัน เหล่าพระคณาจารย์จึงเห็นชอบให้พระเถระ ๒๒ รูป และพระอนุจรอีก ๒๒ รูปไปรับการอุปสมบทในลังกา เมื่อพระสงฆ์รามัญบวชแปลงเป็นวงศ์ของลังกาเสร็จแล้วเดินทางกลับมายังรามัญประเทศแล้ว
    พระเจ้าธรรมเจดีย์ก็ทรงรับสั่งให้เริ่มบวชแปลงภิกษุรามัญตามอย่างลังกา
    ซึ่งสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเล่าไว้ในหนังสือเที่ยวเมืองพม่าว่า "เมื่อมีพระสงฆ์ซึ่งได้บวชแปลงเป็นลังกาอย่างบริสุทธิ์แล้ว พระเจ้าธรรมเจดีย์จึงทรงเลือกหาสถานที่สร้างพระอุโบสถ ได้ที่ควรเป็นวิสุงคามถูกต้องตามพระวินัยที่ชายเมืองหงสาวดีทางด้านตะวันตกของพระธาตุมุเตา แล้วจึงทรงรับสั่งให้สร้างพระอุโบสถขึ้น ณ ที่นั้น ให้พระสงฆ์ที่ไปบวชแปลงมาจากลังกาทำพิธีผูกพัทธสีมา สำหรับเป็นที่ทำสังฆกรรมของเหล่าพระสงฆ์ เรียกว่า "กัลยาณีสีมา"
    ด้วยเหตุที่พระสงฆ์ที่ตั้งขึ้นใหม่นั้น ได้รับการอุปสมบทมาจากอุทกสีมาในแม่น้ำกัลยาณีลังกาทวีป เมื่อผูกพัทธสีมาแล้วก็ทรงโปรดให้กุลบุตรชาวเมืองหงสาวดีบวชเป็นลังกาวงศ์ในสีมากัลยาณี แต่ขัดข้องด้วยเหตุที่พระสงฆ์ที่ไปบวชแปลงมาจากลังกานั้น ก่อนบวชต้องสึกเป็นคฤหัสถ์เสียก่อน เมื่อบวชใหม่แล้วพรรษายังน้อยเป็นอุปัชฌาย์ไม่ได้ จึงตรัสสั่งให้เที่ยวหาภิกษุที่บวชแปลงมาจากลังกา ก็ได้พระสุวรรณโสภณซึ่งได้ไปบวชมาจากคณะมหาวิหาร ณ อุทกสีมาในแม่น้ำกัลยาณีเช่นเดียวกัน ซึ่งมีพรรษาได้ ๒๖ พรรษาแล้ว พระเจ้าธรรมเจดีย์จึงโปรดให้นิมนต์พระสุวรรณโสภณมาเป็นอุปัชฌาย์องค์แรก ให้การอุปสมบทแก่กุลบุตรชาวเมืองหงสาวดีในสีมากัลยาณีเป็นต้นมาโดยลำดับ”
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    รามัญนิกายสมัยกรุงศรีอยุธยา

    ตามตำนานมูลศาสนา ปรากฏว่าพุทธศาสนาแบบรามัญนิกายได้เข้ามาประดิษฐาน ในกรุงศรีอยุธยาเป็นครั้งแรกในรัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (อู่ทอง พ.ศ. ๑๘๙๓-๑๙๑๒) กล่าวคือ หลังจากที่พระสุมนเถระเข้ามาอยู่สุโขทัยได้ระยะหนึ่งแล้วได้กลับไปยังรามัญประเทศอีก และได้นำพระภิกษุชาวสุโขทัยจำนวน ๘ รูปไปบวชใหม่และอยู่เรียนพระพุทธศาสนาที่รามัญประเทศ เมื่อกลับมาถึงกรุงสุโขทัยแล้ว พระสงฆ์ทั้ง ๘ รูปได้แยกย้ายการเผยแผ่พุทธศาสนาแบบรามัญนิกาย หนึ่งในจำนวนนั้น คือ พระปิยทัสสีเถระ ก็ได้นำเอาพระพุทธศาสนาแบบรามัญนิกายมาประดิษฐานในกรุงศรีอยุธยานี้ นับว่าเป็นครั้งแรกที่พระพุทธศาสนาแบบรามัญนิกายมาสู่กรุงศรีอยุธยา
    ต่อมาในรัชสมัยของสมเด็จพระมหาธรรมราชา (พ.ศ.๒๑๒๒-๒๑๓๓) ปรากฏว่ามีพระเถระชาวมอญเข้ามาสู่กรุงศรีอยุธยา และได้รับแต่งตั้งไว้ในตำแหน่งสำคัญอีกครั้งหนึ่ง กล่าวคือ พระมหาเถรคันฉ่อง ซึ่งเป็นผู้แจ้งข่าวให้พระนเรศวรทรงทราบว่า พระเจ้าหงสาวดีคิดประทุษร้ายต่อพระองค์ สมเด็จพระนเรศวรทรงทราบความแล้ว จึงตรัสแก่พระมหาเถรคันฉ่องว่า ซึ่งพระผู้เป็นเจ้าเมตตาบอกเหตุการณ์แก่ข้าพเจ้าทั้งนี้พระคุณนั้นหาที่สิ้นสุดมิได้ อันพระผู้เป็นเจ้าจะอยู่ในเมืองมอญนี้ พระเจ้าหงสาวดีแจ้ง อันตรายก็จะมีเป็นมั่นคง ข้าพเจ้าจะนำพระผู้เป็นเจ้า กับพระยาเกียรติ์ พระยาราม และญาติโยมทั้งปวงลงไปอยู่ ณ กรุงเทพมหานครศรีอยุธยา จะได้กระทำปฏิการสนองคุณพระผู้เป็นเจ้า และปลูกเลี้ยงพระยาเกียรติ์ พระยารามด้วย พระมหาเถรคันฉ่องกับพระยาทั้งสองก็ยินยอมพร้อมด้วยพระราชบริพารจึงเสด็จพยุหยาตราทัพออกจากเมืองแครง พระมหาเถรคันฉ่องกับพระยาทั้งสองและญาติโยมก็มาโดยเสด็จ.... แล้วจึงโปรดให้พระมหาเถรคันฉ่องอยู่วัดมหาธาตุ เป็นสมเด็จพระอริยวงศญาณปริยัติวราสังฆราชาธิบดี ศรีสมณุตมาปริณายกติปิฏกธราจารย์ สฤษติขัติยสารสุนทร มหาคณฤศรอุดรวามคณสังฆารามคามวาสี สถิตอยู่ ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรวิหาร ฝ่ายพระยาเกียรติ์ พระยาราม ก็พระราชทานเจียดทอง เต้าน้ำทอง กระบี่บั้งทอง เงินตรา เสื้อผ้าพรรณนุ่งห่ม และเครื่องอุปโภคบริโภคเป็นอันมาก และครอบครัวมอญซึ่งพามานั้น ก็พระราชทานให้พระยาเกียรติ์ พระยาราม ควบคุมว่ากล่าวด้วย และพระยาทั้งสองให้อยู่ตำบลบ้านขมิ้น วัดขุนแสน ส่วนญาติโยมของพระมหาเถระคันฉ่องนั้น ให้อยู่ตำบลบ้านหลังวัดนก
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ในพระสมณศาสนภาษาบาลีของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงมีไปถึงคณะสงฆ์ในลังกาทวีปครั้งยังทรงผนวชอยู่ ฉบับที่ ๖ ข้อที่ ๒๐ ว่า
    "ครั้งนั้นพระนเรศวรมหาราชทรงพาเอาหมู่ภิกษุและครัวรามัญเป็นอันมาก เสด็จกลับมาเมืองไทย โปรดเกล้า ฯ พระราชทานพื้นที่สำหรับปลูกบ้านเรือนแก่พวกครัวรามัญและพื้นที่สำหรับสร้างวัดถวายภิกษุรามัญวงศ์ด้วย รามัญวงศ์มาประดิษฐานในเมืองไทยด้วยประการฉะนี้ ตั้งแต่นั้นมาถึงทุกวันนี้ เป็นเวลา ๓๒๐ ปีกว่ามาแล้ว"
    ตามความในพระราชนิพนธ์นี้ แสดงว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงถือว่า พระสงฆ์รามัญคณะพระมหาเถรคันฉ่องซึ่งเข้ามาประเทศไทยครั้งนี้ เป็นการนำเอาพระพุทธศาสนาแบบรามัญนิกายเข้ามาประดิษฐานในประเทศไทยด้วย
    จากการที่พระมหาเถรคันฉ่องตามเสด็จสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเข้ามาอยู่ในกรุงศรีอยุธยาครั้งนั้น คงมิได้มาแต่เพียงท่านรูปเดียว คงจะมีพระภิกษุสามเณรรามัญที่เป็นศิษย์ของท่านติดตามเข้ามาด้วยเป็นจำนวนมาก จนถึงกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงตั้งให้พระมหาเถรคันฉ่องเป็นเจ้าคณะสงฆ์รามัญ เพื่อปกครองว่ากล่าวกันเอง พระสงฆ์รามัญเหล่านี้คงได้เผยแผ่ลัทธิวิธีพระพุทธศาสนาแบบรามัญแก่ชาวกรุงศรีอยุธยาทั่วไปตามสามารถ และต่อมาก็ได้เผยแผ่ไปยังหัวเมืองใกล้เคียงต่าง ๆ อีกหลายเมือง เพราะในบัญชีรายชื่อเจ้าคณะเมืองในหัวเมืองปักษ์ใต้ ที่ขึ้นคณะคามวาสีฝ่ายขวาครั้งกรุงเก่า มีรายชื่อพระครูเจ้าคณะเมืองฝ่ายรามัญปรากฏอยู่หลายชื่อ คือ พระครูรามัญญาธิบดี พระครูอินทมุนี ประจำเมืองกาญจนบุรี พระครูอินทเขมา ประจำเมืองราชบุรี เป็นต้น
    ในบัญชีรายชื่อพระราชาคณะในกรุงนอกกรุง ครั้งกรุงเก่ามีรายชื่อพระราชาคณะฝ่ายรามัญบางชื่อปรากฏอยู่ คือ พระไตรสรณธัช วัดจอมปุ ขึ้นคณะซ้าย องค์หนึ่ง พระอริยธัช วัดจงกรม ขึ้นคณะขวา องค์หนึ่ง ทำให้สันนิษฐานได้ว่า คณะสงฆ์รามัญนั้น คงจะได้มีเจ้าคณะใหญ่ปกครองกันมาตั้งแต่ครั้งกรุงเก่าแล้ว จึงได้มีพระราชาคณะชั้นรอง ๆ ลงมาสำหรับช่วยการคณะอีกหลายรูปด้วยกัน
    ตอนปลายกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยของพระเจ้าบรมโกศ (ระหว่าง พ.ศ.๒๒๗๕-๒๓๑๐) ได้มีชาวรามัญและพระสงฆ์อพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารอีกครั้งหนึ่ง พงศาวดารมอญพม่ากล่าวว่า พระเจ้าอลองพญา กล่าวหาพระสงฆ์รามัญว่า ทำมงคลประเจียด ตะกรุด ลงเลขยันต์กันอาวุธให้ชาวมอญ ทำให้ชาวมอญพากันมีกำลังใจกล้าหาญในการทำสงครามกับพระองค์ จึงสั่งให้ทำการกวาดล้างพระสงฆ์มอญและให้จับประหารเสีย ครั้งนั้นพระสงฆ์มอญจึงได้พากันอพยพไปในที่ ๆ ปลอดภัย เช่น กรุงศรีอยุธยา เชียงใหม่ และเมืองทวาย เป็นต้น นับแต่นั้นมาพระพุทธศาสนาแบบรามัญนิกายก็ประดิษฐานอย่างมั่นคงในประเทศไทย ได้มีผู้สืบลัทธินิกายต่อ ๆ มา ซึ่งมีทั้งบุตรหลานของพวกที่อพยพเข้ามาอยู่ก่อนและทำการบวชเรียนในประเทศไทยและ
    พระสงฆ์มอญที่อพยพเข้ามาอยู่ใหม่ตามลำดับ
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    รามัญนิกายสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

    ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สภาพการณ์ของคณะสงฆ์ตกอยู่ในความวิปริตเสื่อมโทรมและระส่ำระสาย สืบเนื่องมาจากการเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าใน พ.ศ.๒๓๑๐ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงถือเป็นเรื่องรีบด่วนในการที่จะแก้ไขฟื้นฟูพระพุทธศาสนาและคณะสงฆ์ขึ้นใหม่ ในปีแรกแห่งรัชกาลนั่นเองก็ได้ทรงแต่งตั้งพระเถรานุเถระฝ่ายไทยให้ดำรงสมณศักดิ์ต่าง ๆ ตามสมควรแก่คุณธรรมเพื่อเป็นศรีแก่ศาสนาและบ้านเมืองสืบไปแล้ว ก็ได้ทรงแสวงหาพระเถระฝ่ายรามัญ เพื่อทรงแต่งตั้งไว้ในฐานานุศักดิ์อันสมควรต่อไป ก็ปรากฏว่า ทรงได้พระเถระรามัญผู้ทรงพระธรรมวินัยมาตั้งเป็นพระราชาคณะ ๓ รูป ดังปรากฏในพระราชพงศาวดารว่า
    "อนึ่ง พระราชาคณะฝ่ายรามัญนั้นยังหาตัวมิได้ จึงทรงพระกรุณาให้จัดหาพระมหาเถระฝ่ายรามัญ ซึ่งรู้พระวินัยปริยัติได้ ๓ รูป ทรงตั้งเป็น พระมหาสุเมธาจารย์องค์หนึ่ง พระไตรสรณธัชองค์หนึ่ง และพระสุเมธน้อยองค์หนึ่ง ครั้นเมื่อสมเด็จพระอนุชาธิราชทรงสร้างวัดตองปุ (วัดชนะสงคราม) ขึ้นใหม่ โปรด ฯ ให้พระสงฆ์รามัญมาอยู่วัดตองปุ และให้พระมหาสุเมธาจารย์เป็น เจ้าอาวาส พระไตรสรณธัชนั้น มีพระราชโองการให้ไปอยู่วัดบางหลวง เป็น เจ้าคณะรามัญ ในแขวงเมืองนนทบุรีและสามโคก ส่วนพระสุเมธน้อยโปรดให้ไปครองวัดบางยี่เรือใน
    การปกครองคณะสงฆ์รามัญในรัชกาลนี้ก็ใช้การปกครองแบบเดียวกับที่ใช้ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเช่นกัน คือมีเจ้าคณะใหญ่ปกครองว่ากล่าวกันเอง ซึ่งปรากฏนามว่า "พระมหาสุเมธาจารย์" ต่อมาในภายหลังได้เปลี่ยนเป็น "พระสุเมธาจารย์" และมีพระราชาคณะชั้นรอง ๆ ลงมา ช่วยการคณะอีกหลายรูป ทำหน้าที่ปกครองว่ากล่าวพระสงฆ์รามัญที่อยู่ในส่วนหัวเมืองต่าง ๆ
    เจ้าคณะใหญ่ฝ่ายรามัญที่ได้รับแต่งตั้งในราชทินนามนี้ ตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๕ มีจำนวน ๕ รูป มีประวัติเท่าที่สามารถค้นหาหลักฐานได้ ดังนี้
    รูปที่ ๑ คือ พระมหาสุเมธาจารย์ องค์ที่ปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ ซึ่งโปรดให้แต่งตั้งเมื่อแรกเสวยพระราชสมบัติ แล้วโปรดให้มาครองวัดชนะสงคราม ซึ่งในประวัติวัดชนะสงครามกล่าวว่า เป็นเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดชนะสงคราม
    รูปที่ ๒ คือ ที่ปรากฏในบัญชีพระเถรานุเถระนั่งหัตบาส คราวสมเด็จกรมพระราชวังหลังทรงผนวช เมื่อปี พ.ศ.๒๓๔๕ จำนวน ๓๐ รูปว่า "พระสุเมธใหญ่ วัดชนะสงคราม พระสุเมธน้อย วัดราชคฤห์ ” นั้น ยังหาหลักฐานประวัติความเป็นมาไม่พบ
    รูปที่ ๓ คือ ที่ปรากฏชื่อในหนังสือเรื่องแต่งตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ว่า "พระสุเมธ มีในพระราชปุจฉารัชกาลที่ ๓ (พ.ศ.๒๓๖๙)" นั้นเข้าใจว่า ได้แก่ พระสุเมธาจารย์ (เกิด) ซึ่งมีชื่ออยู่ในจดหมายเหตุ เรื่องไต่สวนนายกุหลาบว่า "ข้อนี้พึงฟังได้ว่า สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทว) ได้อุปสมบทในเวลาที่ใช้อุปัชฌาย์รามัญ มีพระสุเมธาจารย์ (เกิด) เป็นอุปัชฌาย์ด้วยรูปหนึ่ง และเวลานั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นกรรมวาจาจารย์อยู่"
    รูปที่ ๔ คือ พระสุเมธมุนี (ซาย พุทฺธวํโส) เจ้าอาวาสวัดบวรมงคล องค์ที่ ๒ (ระหว่าง พ.ศ.๒๓๖๕-๒๓๘๐) เป็นชาวมอญ เกิดในรามัญประเทศ และบวชเป็นภิกษุมาแต่ในรามัญประเทศ เข้ามาอยู่เมืองไทยครั้งมอญอพยพในสมัย รัชกาลที่ ๒ ซึ่งโปรดให้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เมืองปทุมธานีและปากเกร็ด พระสุเมธมุนีองค์นี้เองที่เป็นผู้ถวายวิสัชนาเกี่ยวกับสมณวงศ์และวินัยปฏิบัติต่าง ๆ แด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งยังทรงผนวชอยู่ จนเป็นที่พอพระทัยและทรงเลื่อมใส รับมาเป็นแบบปฏิบัติ กระทั่งเกิดเป็นคณะธรรมยุติกนิกายขึ้นในกาลต่อมา
    ในบั้นปลายชีวิตของพระสุเมธมุนีองค์นี้ บางท่านก็ว่า ท่านเกิดขัดแย้งกับหม่อมไกรสร (กรมหลวงรักษรณเรศ) อย่างรุนแรง จากนั้นก็หายสาบสูญไป บางท่านก็ว่า หม่อมไกรสรขอพระบรมราชานุญาตถอดเสียจากสมณศักดิ์แล้วให้ประหารชีวิตในที่สุด สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพตรัสว่า "ถูกหม่อมไกรสรพยายามทำร้ายหนักขึ้น จนถึงหาเหตุให้สึกพระสุเมธมุนีที่เป็นพระอุปัชฌาย์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    การศึกษาของพระสงฆ์รามัญ

    พระสงฆ์รามัญก็มีการเรียนการสอบพระปริยัติธรรมเช่นเดียวกับพระสงฆ์ไทย แต่ใช้หลักสูตรอีกแบบหนึ่งต่างหากจากของไทย และยังไม่มีหลักฐานแน่นอนว่าหลักสูตรเปรียญรามัญนี้ กำหนดขึ้นโดยอนุโลมตามหลักสูตรที่เคยใช้อยู่ในรามัญประเทศแต่โบราณหรือมากำหนดขึ้นใหม่ในประเทศไทย หนังสือที่ใช้เป็นแบบเรียนและใช้สอบก็ใช้แต่คัมภีร์พระวินัยปิฎก เพราะการศึกษาของพระสงฆ์รามัญถือพระวินัยเป็นหลักสำคัญ กำหนดขั้นของการสอบเปรียญรามัญแต่เดิมมี ๓ ประโยค ภายหลังเพิ่มประโยค ๔ ขึ้นอีกประโยคหนึ่งรวมเป็น ๔ ประโยคคือ
    ประโยค ๑ สอบคัมภีร์อาทิกรรม หรือ ปาจิตตีย์ แล้วแต่นักเรียนจะเลือก เข้าใจว่าแต่เดิมถ้าแปลได้ประโยค ๑ ก็ได้เป็นเปรียญ ครั้นตั้งประโยค ๔ ขึ้นจึงกำหนดว่า ต้องสอบประโยค ๒ ได้ด้วย จึงนับว่าเป็นเปรียญ
    ประโยค ๒ สอบคัมภีร์มหาวรรค หรือ จุลวรรค แล้วแต่นักเรียนจะเลือก สอบได้นับว่าเป็นเปรียญจัตวา เหมือนเปรียญไทย ๓ ประโยค
    ประโยค ๓ สอบคัมภีร์บาลีมุตตกวินัยวินิจฉัยสังคหะ เรียกกันโดยย่อว่าบาลีมุต สอบได้เป็นเปรียญตรี เสมอเปรียญไทย ๔ ประโยค
    ประโยค ๔ สอบคัมภีร์ปฐมสมันตปาสาทิกา สอบได้เป็นเปรียญโทเสมอเปรียญไทย ๕ ประโยค
    สันนิษฐานได้ว่าการศึกษาและการสอบพระปริยัติธรรมของพระสงฆ์รามัญคงจะมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้ว เพราะคณะสงฆ์รามัญได้มาตั้งเป็นหลักฐานมั่นคงในประเทศไทย และมีเจ้าคณะใหญ่ปกครองมาตั้งแต่สมัยอยุธยา และที่แน่นอนคือ มีการสอบเปรียญรามัญในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ดังปรากฏว่า พระรามัญมุนี (ยิ้ม) เจ้าอาวาสวัดบวรมงคล รูปที่ ๓ ได้เป็นเปรียญรามัญ ๔ ประโยค ในสมัยรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    ในการสอบพระปริยัติธรรมของพระสงฆ์รามัญนั้น จะมีพระเถระของทั้งสองฝ่าย คือ ฝ่ายรามัญและฝ่ายไทยร่วมประชุมเป็นกรรมการ ฟังการแปลของพระผู้สอบ พระผู้สอบจะแปลประโยคในคัมภีร์ตามที่ตนจับสลากได้เป็นภาษารามัญ เมื่อมีศัพท์อะไรที่แปลก กรรมการฝ่ายไทยจึงจะทักและให้กรรมการฝ่ายรามัญเป็นล่ามแปลความหมายของคำที่พระผู้สอบตอบนั้นให้กรรมการฝ่ายไทยฟังว่าถูกต้องหรือไม่ เมื่อแปลเป็นภาษารามัญไปจนจบประโยคแล้ว พระผู้สอบก็ต้องบอกสัมพันธ์มคธให้กรรมการฝ่ายไทยฟังอีกรอบหนึ่ง เพื่อจะได้ทราบว่าที่พระผู้สอบแปลเป็นภาษารามัญไปนั้นถูกต้องตามความเกี่ยวเนื่องของศัพท์ต่าง ๆ ในประโยคที่แปลนั้นหรือไม่ เมื่อถูกต้องก็เป็นอันตัดสินว่าสอบได้ประโยคนั้น
    วิธีการสอบดังกล่าวได้ใช้มานานจนตลอดสมัยรัชกาลที่ ๕ จึงเลิกไปด้วยเหตุที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ผู้ดำรงตำแหน่งสกลมหาสังฆปรินายกได้ทรงมีพระราชปรารภว่า การเล่าเรียนของภิกษุสามเณรรามัญเสื่อมลง พระราชาคณะเปรียญรามัญก็มีน้อยรูปและไม่มีความรู้ความสามารถพอที่จะสอบความรู้ของพวกรามัญได้ เพียงแต่ใช้เป็นล่ามแปลเท่านั้น การอนุญาตให้แปลเป็นภาษารามัญก็ไม่ได้เป็นการเพิ่มพูนความรู้แก่พวกรามัญเลย และยังเป็นเหตุให้พวกรามัญไม่เอาใจใส่ภาษาประจำชาติคือภาษาไทย นอกจากนี้พวกรามัญเองก็ไม่สามารถบำรุงความรู้ปริยัติธรรมของตนให้เจริญ ครั้นฝ่ายไทยจะช่วยบำรุงก็มีอุปสรรคที่ไม่รู้ภาษารามัญ ดังนั้นสมเด็จพระมหา สมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส จึงทรงให้ยกเลิกการสอบพระปริยัติธรรมแบบรามัญใน พ.ศ.๒๔๕๔ และให้พระภิกษุสามเณรรามัญหันมาศึกษาเล่าเรียนตามแบบไทยโดยใช้หลักสูตรเดียวกับพระสงฆ์ไทย
    ราชทินนามพระราชาคณะและพระครูฝ่ายรามัญซึ่งมีมาแต่โบราณ
    ๑. พระสุเมธาจารย์(เดิมเป็น พระมหาสุเมธาจารย์) เจ้าคณะใหญ่ฝ่ายรามัญ
    ๒. พระคุณวงศ์ (เดิมเป็น พระกูลวงษ์) เจ้าคณะรองฝ่ายรามัญ
    ๓. พระไตรสรณธัช
    ๔. พระอริยธัช
    ๕. พระธรรมวิสารท
    ๖. พระอุดมญาณ
    ๗. พระสุเมธมุนี (เดิมเป็น พระสุเมธน้อย)
    ๘. พระรามัญมุนี
    ๙. พระรามัญมหาเถร
    ๑๐. พระอุดมวิจารณ์
    ๑๑. พระครูอินทมุนี
    ๑๒. พระครูวิสุทธิวงศ์
    ๑๓. พระครูอินทเขมา
    ๑๔. พระครูรามัญสมณคุต
    ๑๕. พระครูสาครคุณาธาร
    ๑๖. พระครูรามาธิบดี
    ๑๗. พระครูรามัญญาธิบดี
    ๑๘. พระครูโวทานสมณคุต
    ๑๙. พระครูราชสังวร
    ๒๐. พระครูสุนทรวิลาส
    ๒๑. พระครูราชปริต
    ๒๒. พระครูสิทธิเตชะ
    ๒๓. พระครูวิสุทธิศีล
    ๒๔. พระครูธรรมลิขิต
    ๒๕. พระครูอุดมวงศ์
    ๒๖. พระครูวิเชียรมุนี
    ๒๗. พระครูนิโรธมุนี
    ๒๘. พระครูธรรมวิจารณ์
    ๒๙. พระครูอมราธิบดี
    ๓๐. พระครูปัญญารัตน์
    ๓๑. พระครูปิฎกธร
    ๓๒. พระครูอุตโมรุวงศ์ หรือ พระครูอุตโมรุวงศ์ธาดา
    ๓๓. พระครูนันทมุนี
    ๓๔. พระครูวินัยธรรม

    แหล่งข้อมูล หนังสืองานพระราชทานเพลิงศพ พระครูสิทธิเตชะ วัดชนะสงคราม
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    มาศึกษาเรื่องราวการเกิดธรรมยุติในไทยช่วงพระวชิรญาโณต่อครับ

    จากหนังสือประวัติ พระครูวิเวกพุทธกิจ (หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล) พระปรมาจารย์ใหญ่ฝ่ายพระกรรมฐาน โครงการหนังสือบูรพาจารย์ เล่ม ๕ เรียบเรียงโดย รศ.ดร.ปฐม - ภัทรา นิคมานนท์ (อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่) กล่าวว่า

    ในขณะเมื่อกำลังทรงพระวิตกดังว่ามา และยังไม่เห็นทางที่จะแก้ไข ได้กิตติศัพท์ทราบถึงพระกรรณว่า มีพระเถระมอญองค์หนึ่ง(ชื่อ ซาย นามฉายาว่า พุทฺธวํโส) บวชมาแต่เมืองมอญ มาอยู่ ณ วัดบวรมงคล (อยู่เชิงสะพานกรุงธน หรือสะพานซังฮี้ ฝั่งธนบุรีเดิมเรียกวัดลุงขบ ภายหลังเรียกเพี้ยนเป็นวัดลิงขบ-ปฐม) ได้เป็นพระราชาคณะที่พระสุเมธมุนี เป็นผู้ชำนาญพระวินัยปิฎกและประพฤติวัตตปฏิบัติอย่างเคร่งครัด จึงเสด็จไปทรงทำวิสาสะสนทนากับพระสุเมธมุนี ๆ ทูลอธิบายระเบียบวิธีปฏิบัติของพระมอญคณะ (กัลยาณี) ที่ท่านอุปสมบทให้ทรงทราบโดยพิสดาร
    ทรงพิจารณาเห็นไม่ห่างไกลจากพระพุทธบัญญัติเหมือนอย่างวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์สยาม ก็ทรงยินดีด้วยตระหนักพระหฤทัยว่าสมณวงศ์ไม่สูญเสียแล้วเหมือนอย่างทรงพระวิตกอยู่แต่ก่อน ก็ทรงเลื่อมใสใคร่จะประพฤติวัตรปฏิบัติตามแบบพระมอญ แต่มีความขัดข้องด้วยเสด็จประทับอยู่ ณ วัดมหาธาตุฯ อันเป็นที่สถิตของสมเด็จพระสังฆราช จะทรงประพฤติให้ผิดกับระเบียบแบบแผนของพระสงฆ์ในวัดนั้น ก็จะเป็นการละเมิด และคนทั้งหลายอาจจะเกิดความเข้าใจผิดต่อไป
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พ.ศ. ๒๓๖๙ พรรษาที่ ๓ พระวชิรญาโณ ทรงเข้าแปลหนังสือในพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ทรงเข้าสอบได้เปรียญธรรม ๕ ประโยค ก็ขอพระราชทานหยุดการสอบไว้แต่เพียงนั้น( ในสมัยนั้นเป็นการสอบปากเปล่าเลย)
    จากพระนิพนธ์ของ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพผู้ได้ชื่อว่าบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย ได้บันทึกเหตุการณ์ในเรื่องนี้ว่า

    “การที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงศึกษาคันถธุระผิดกับผู้อื่น ด้วยตั้งพระหฤทัยจำนงแต่จะเรียนพระพุทธศาสนาให้รอบรู้อย่างถ่องแท้ มิได้หมายจะมีตำแหน่งฐานันดรอย่างใดในสังฆมณฑล
    เพราะฉะนั้น เมื่อทรงทราบภาษามคธถึงสามารถอ่านพระไตรปิฎกเข้าพระหฤทัยได้โดยลำพังพระองค์ ก็ทรงพยายามพิจารณาหลักฐานพระพุทธศาสนาต่อมา...ฯลฯ... ยิ่ง ทรงพิจารณาไปก็ยิ่งทรงเห็นวิปลาสคลาดเคลื่อน และเป็นมาช้านานแล้ว ก็เกิดวิตกขึ้นในพระหฤทัยว่า หรือสมณวงศ์ที่สืบเนื่องมาจากพระอริยสาวกของพระพุทธเจ้าจะสูญเสียแล้ว
    การที่พระองค์ทรงผนวช ได้สมาทานว่า จะประพฤติตามพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า ถ้าทรงประพฤติวัตตปฏิบัติต่อไปในทางที่ผิดพระพุทธบัญญัติ เห็นว่าลาผนวชออกเป็นอุบาสกจะดีกว่า "
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พ.ศ. ๒๓๗๒ พรรษาที่ ๖พระวชิรญาโณเสด็จย้ายไปประทับ ณ วัดสมอราย เหมือนอย่างเคยเสด็จประทับเมื่อพรรษาแรกทรงผนวช
    จากพระพุทธรูปแบบธรรมยุติกนิกายของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ของพิชญา สุ่มจินดา กล่าวว่า

    ........ในปี พ.ศ. ๒๓๗๒ ก็ได้ทรงนิมนต์พระสงฆ์มอญที่เคยอุปสมในนิกาย “ กัลยาณีสีมา ” อันเป็นสมณวงศ์เดียวกับพระสุเมธมุนีและได้อุปสมบทมาจากสีมากัลยาณีในประเทศรามัญ (ดำรงราชานุภาพ 2546 ก, 56) มาทำการอุปสมบทซ้ำให้แก่พระองค์ในโบสถ์น้ำหน้าวัดสมอราย(วัดราชาธิวาสในปัจจุบัน) (ปวเรศวริยลงกรณ์ ร.ศ. 116, 3546) ซึ่งถือเป็นการสถาปนาธรรมยุติกนิกายขึ้นอย่างเป็นทางการ


    ในปีพ.ศ.๒๓๗๒ นั้นเอง สมเด็จพระสังฆราช (ปุสสเทว สา) วัดราชประดิษฐ์ฯ ทรงเล่าว่า วันหนึ่งได้เสด็จเข้าไปถวายเทศน์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ตรัสถึงท่านวชิรญาโณภิกขุ ว่า “ชีต้นบวชมานานแล้ว ควรเป็นราชาคณะได้ แล้วพระราชทานพัดแฉกพื้นตาดให้ทรงถือเป็นพัดยศต่อมา”
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ประวัติพระสุเมธมุนี (ซาย พุทฺธวํโส)

    ซาย เป็นคำรามัญ แปลว่า น้ำผึ้ง ท่านเจ้าคุณพระสุเมธมุนี เดิมชื่อ ซาย ฉายา พุทฺธวํโส ท่านเป็นคนรามัญ โดยชาติ ตามตำนานว่าท่านเกิดเมืองรามัญ และบวชเป็นพระภิกษุมาจากเมืองรามัญ มีฉายาว่า “พุทฺธวํโส” แปลว่า ผู้มีพระพุทธเจ้า หรือผู้รู้เป็นต้นวงศ์
    ท่านเข้ามาเมืองไทยเมื่อใดไม่ปรากฏ อาจจะเข้ามาพร้อมกับครอบครัว ญาติโยม ของท่านก็ได้ เพราะมีปรากฏในพระราชพงศาวดารว่า “สมัยรัชกาลที่ ๒ พระองค์ได้ทรงส่งพระบาท สมเด็จพระนั่งเกล้าฯ และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทั้งยังเป็นเจ้าฟ้าชาย ออกไปรับครอบครัวชาวรามัญ ที่อพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ชาวรามัญเหล่านั้นโปรดฯ ให้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่เขตปทุม และปากเกร็ด
    ในจำนวนผู้อพยพครั้งนั้น มีพระภิกษุตามเข้ามามากชาวบ้านก็รับอุปถัมภ์ และสร้างวัดถวายตามสติกำลัง จึงปรากฏมีวัดรามัญ ที่ไม่ขึ้นสังกัดมหานิกาย หรือธรรมยุต สืบมาจนทุกวันนี้
    การที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ มีโอกาสได้เสด็จออกไปรับครอบครัว ชาวรามัญครั้งนั้น อาจจะทำให้พระองค์ทรงคุ้นเคยกับพระรามัญ และเลื่อมใส ในข้อวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์รามัญตั้งแต่นั้นมาก็เป็นได้ พระเถระที่มีความสำคัญของชาวรามัญในเวลาต่อมาคือ ท่านพระสุเมธมุนี (ซาย) เพราะเป็นผู้คอยถวายแนวคิด ทัศนะ และความเห็น ตลอดจนทำให้คำอธิษฐาน ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ บริบูรณ์อันเป็นมูลเหตุให้เกิดมีวงศ์คณะธรรมยุตในเวลาต่อมา
    ดังนั้น เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๗ ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๘ ปีวอก ฉศก จุลศักราช ๑๑๘๑ เจ้าฟ้ามงกุฏสมมติเทววงศ์ พงศาอิสสรกษัตริย์ ขัตติยราชกุมาร ได้เสด็จออกทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ในพระพุทธศาสนา ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) วัดมหาธาตุฯ เป็นพระอุปัชฌาย์ ในพระอุปถัมภ์ ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย สมเด็จพระบรมชนก
    ครั้นทรงผนวชแล้ว พระองค์ได้เสด็จไปประทับ อยู่วัดมหาธาตุ ทรงปฏิบัติอุปัชฌาย์วัตรตามควรแก่พระวินัยอยู่ ๓ วันแล้ว จึงเสด็จไปจำพรรษา ณ วัดสมอราย (วัดราชาธิวาส) ทรงศึกษา และปฏิบัติไปก็ทรงทราบว่า หลักการปฏิบัติสับสน ขาดหลักอ้างอิงที่แน่นอน เป็นแต่เพียงรับฟังคำบอกเล่าแต่ของโบราณจารย์ ปฏิบัติไปก็ยิ่งห่างไกลจากความรู้ จึงทรงตั้งพระทัยว่า จะต้องศึกษาให้แตกฉาน เพื่อให้ทราบหลักฐานที่แน่นอน ดังนั้น จึงได้เสด็จกลับมายังวัดมหาธาตุอีกครั้งหนึ่ง
    ครั้นทรงสอบถามดูถึงระเบียบแบบแผน และคัมภีร์ต่าง ๆ ก็ได้ทราบว่า “ ศาสนวงศ์อันตรธานมาตั้งแต่ ครั้งกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าครั้งโน้นแล้ว” ทรงระอาพระฤทัยเห็นว่า พระพุทธศาสนาขาดรากเง่าที่สำคัญไปแล้ว การบวชเป็นบรรพชิต ก็เป็นเพียงปฏิบัติตามธรรมเนียมกันเท่านั้น
    ครั้นเวลากลางวัน วันหนึ่ง พระองค์เสด็จเข้าไปในพระอุโบสถวัดมหาธาตุ ทรงบูชาพระรัตนตรัย และอารักขเทวดา แล้วทรงตั้งสัจจกิริยาธิษฐานว่า ข้าพเจ้านี้ขออุทิศต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ออกบวชด้วยความเชื่อ ความเลื่อมใส มิได้เพ่งต่ออามิส สิ่งใด สิ่งหนึ่ง มีลาภ ยศ สรรเสริญ เป็นต้น ถ้าวงศ์บรรพชาอุปสมบทมีเนื่องมาแต่ พระสุคตทศพลยังมีอยู่ ณ ประเทศใด ทิศใด ขอให้ประสพ หรือได้ยินข่าวให้ได้ภายในสามวัน หรือเจ็ดวัน ถ้าไม่เป็นดังนั้น ข้าพเจ้าก็จักเข้าใจว่า “ศาสนวงศ์นั้นสิ้นแล้ว” ก็จะสึกเป็นฆราวาสไปรักษาศีล ๕ หรือศีล ๘ ตามสมควร
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ครั้นเวลาล่วงไปได้สอง หรือสามวันพระเถระชาวรามัญองค์หนึ่งเป็นผู้รู้ข้อวัตรปฏิบัติแตกฉาน ในพระไตรปิฎกมีอาจาระน่าเลื่อมใส ซึ่งทราบภายหลังว่า พระสุเมธามุนี (ซาย พุทธวํโส ) พำนักอยู่วัดบวรมงคลเข้าไปปรากฏตัวในพระอุโบสถวัดมหาธาตุที่พระองค์ประทับอยู่ ท่านสุเมธมุนี ได้กล่าวศาสนวงศ์ และแสดงข้อปฏิบัติเป็นที่น่าเลื่อมใส พระองค์ทรงพอพระทัยยอมรับนับถือ พระสุเมธามุนีเป็นพระอาจารย์ ศึกษาธรรมวินัยตลอดจนพระไตรปิฎกอย่างแตกฉาน และในปีนั้นเอง (พ.ศ. ๒๓๖๘) พระสงฆ์ไทยธรรมยุตติกา หรือ พระธรรมยุตได้เริ่มก่อตัวขึ้นแล้ว
    จากนั้นมา ก็มีศิษย์หลวงเข้ารับศึกษา อบรมมากขึ้นเป็นลำดับ ท่านสุเมธมุนี ก็เป็นอาจารย์สั่งสอนสม่ำเสมอมาเป็นลำดับ ครั้น พ.ศ.๒๓๗๒ พระองค์ได้เสด็จกลับมาจำพรรษา ณ วัดสมอรายอีก ด้วยทรงเห็นว่าที่วัดมหาธาตุนั้นจะเป็นที่หนักใจ แต่พระอุปัชฌาย์ และเป็นการอยู่อย่างนานาสังวาส และในปีนั้นที่วัดสมอรายนั้น เพื่อให้แน่ใจ จึงอุปสมบทใหม่อีกที่สีมาน้ำวัดเสมอราย พระสงฆ์รามัญจำนวน ๒๐ รูป ว่ากันว่าทุกรูปมีพรรษาล่วง ๒๐ แล้วทั้งนั้น อุปสมบทมาแต่กัลยาณีสีมาประเทศมอญ ซึ่งสืบเนื่องมาจากประเทศลังกา การกระทำทัฬหีกรรมครั้งนี้ได้กระทำเต็มพระอัธยาศัย เพื่อให้หมดความแคลงพระหฤทัย คือให้สวดกรรมวาจาคู่ทำนองมอญ และทำนองมคธครั้นจบลงครั้งหนึ่งแล้ว ก็เปลี่ยนอุปัชฌาย์ และคู่สวดใหม่ ในจำนวน ๒๐ รูปนั้นทำอยู่อย่างนี้ถึง ๖ ครั้ง ครั้นพระองค์ทำเสร็จแล้วทรงเปลี่ยนทำให้แก่ศิษย์หลวงด้วย ศิษย์หลวงที่ทำทัฬหีกรรมครั้งนั้นมี ๙ รูป คือ

    ๑.พระญาณรักขิต (พัก) วัดบรมนิวาส
    ๒. พระเทพโมลี (เอี่ยม) วัดเครื่อวัลย์
    ๓. สมเด็จพระวันรัต (ทับ) วัดโสมนัส
    ๔. สมเด็จกรมพระยาปวเรศวริยาวงกรณ์ วัดบวรนิเวศวิหาร
    ๕. พระครูปลัดทัด วัดบวรนิเวศวิหาร
    ๖. พระศรีวิสุทธิวงศ์ (พัก) วัดบวรนิเวศวิหาร
    ๗. พระอมรโมลี (ลบ) วัดบุปผาราม
    ๘. สมเด็จพระสังฆราช (สา) วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม
    ๙. พระปลัดเรือง

    พระสงฆ์รามัญ จำนวน ๒๐ รูป อยู่วัดบวรมงคลทั้งหมด หรืออยู่วัดใดบ้าง ตำนานไม่ได้กล่าวไว้ แต่เข้าใจว่าคงอยู่ต่างวัดกัน สำหรับท่านสุเมธมุนีนั้น อยู่วัดบวรมงคลตลอดมา เป็นพระรามัญผู้ใหญ่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ทรงยกให้เป็นพระอาจารย์องค์สำคัญ ไปมาหาสู่กันเป็นเนืองนิตย์ บางคราวก็มาประทับอยู่ ณ วัดบวรมงคล เป็นเวลานาน ๆ จนถึงโปรดให้สร้างตำหนักไว้หลังหนึ่ง เพื่อประทับแรมชั่วคราว ตำหนักนี้ชาวบ้านเรียกว่า “เก๋งพระจอม” เดิมปลูกเตี้ย ๆ ต่อมาท่านเจ้า พระยาวรพงศ์พิพัฒน์ได้ปฏิสังขรณ์เพิ่มเติมใหม่ ยกพื้นสูงขึ้น ชั้นล่างเป็นที่พักร้อนและใช้เป็นเสนาสนะ สำหรับเจ้าอาวาสสืบมา
    ในบั้นปลายชีวิต มีผู้กล่าวว่าท่านพระสุเมธมุนี (ซาย พุทฺธวํโส) ขัดใจกันอย่างใหญ่หลวงกับหม่อมไกรสร (กรมหลวงรักษ์รณเรศ) ผู้ถูกถอดพระยศลงมาเป็นหม่อม โดยฐานะแล้ว ท่านพระสุเมธามุนี เป็นตั้งอยู่ในครุฐานียบุคคล เพราะท่านแทบจะกล่าวได้ว่า เป็นผู้วางโครงร่างแห่งคณะสงฆ์ ฝ่ายธรรมยุตฯ ท่านเป็นเจ้าอาวาส พ.ศ. ๒๓๖๕ - ๒๓๘๐ รวมเวลา ๒๕ ปี

    คัดลอกจาก ประวัติและผลงานของเจ้าอาวาสวัดบวรมงคล
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    แต่ในพระสุเมธมุนี (ซาย พุทธวํโส): ต้นธรรมยุติกนิกาย โดยองค์ บรรจุน ในเว็บไซต์เพื่อการศึกษาภูมิปัญญามอญ (อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่) กล่าวว่า


    ภายหลังจากพระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎสถาปนาธรรมยุติกนิกายแล้ว ก็ไม่ปรากฎหลักฐานและประวัติที่กล่าวถึงพระอาจารย์ซายอีกเลย ว่าได้มีบทบทต่อคณะสงฆ์อย่างไรต่อมา คาดว่าพระอาจารย์ซายคงเป็นพระที่รักสันโดษ เมื่อจบภาระในการวางโครงร่างธรรมยุติกนิกายแล้ว ได้ปลีกตัวไปอยู่วิเวกตามลำพัง เพราะท่านเองก็มีอายุมากแล้ว จึงไม่ต้องการรับรู้เรื่องภายนอกอีกต่อไป

    ในบั้นปลายมีผู้กล่าวกันว่า ท่านมีเหตุขัดใจอย่างใหญ่หลวงกับหม่อมไกรสร (กรมหลวงรักษ์รณเรศ) จากนั้นมาก็หายสาบสูญไป บางท่านก็ว่า หม่อมไกรสร ขอพระบรมราชานุญาตถอดท่านจากสมณศักดิ์และให้ประหารชีวิตในที่สุด

    ความข้อนี้ผู้เขียนไม่ปักใจเชื่อนัก เหตุเพราะพระสุเมธมุนี (ซาย) เป็นต้นแบบและเป็นผู้วางโครงร่างคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายให้กับพระภิกษุเจ้าฟ้า แม้ในขณะนั้นยังมิได้ขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ก็ตาม แต่ปูชนียบุคคลเช่นนี้ไม่น่าจะมีเหตุรุนแรงถึงขั้นต้องโทษประหาร โดยไม่มีเหตุให้ทุเลาโทษลงได้ (หากพระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎทูลขอ) หนักหนานักก็น่าจะเพียงแต่รับสั่งให้สึกหาลาเพศแต่เพียงนั้นก็น่าจะควรแก่เหตุ รวมทั้งยังมีข้อชวนสังเกตอีกประการหนึ่งเกี่ยวกับ หม่อมไกรสร ซึ่งต้องคดีส่องสุมผู้คนคิดการกบฏต่อราชบัลลังก์ รัชกาลที่ 3 ทรงดำเนินการสอบสวนได้ความสัตย์ จึงถอดยศจาก “พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าไกรสรกรมหลวงรักษ์รณเรศ” เป็นหม่อมไกรสร ริบราชบาทและประหารชีวิตด้วยท่อนจันท์ เมื่อ พ.ศ. 2391 และก่อนหน้านั้นหม่อมไกรสรเอง ก็มีคดีความบังคับขืนใจพลทหารในบังคับบัญชาอยู่เนือง ๆ

    คดีที่ทำให้หม่อมไกรสรต้องโทษประหาร คือซ่องสุมผู้คนคิดกบฏต่อราชบัลลังก์ แม้สอบสวนแล้วจะได้ความว่า "ไม่ได้คิดร้ายต่อราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ แต่จะไม่ขอเป็นข้าแผ่นของผู้ใดเมื่อเปลี่ยนแผ่นดินใหม่" ซึ่งยังแสดงเจตนาร้ายต่อผู้ที่จะขึ้นครองบัลลังก์ต่อมา ซึ่งรัชกาลที่ 3 ได้ปลงใจแล้วว่าควรจะคืนสิทธิ์นี้แก่เจ้าของเดิม คือเจ้าฟ้ามงกุฎ เมื่อหม่อมไกรสรถูกประหารแล้ว รัชกาลที่ 3 จึงไม่ได้ตั้งตำแหน่งวังหน้าอีกเลย
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    มาศึกษาเรื่องการเกิดธรรมยุติกนิกายในช่วงรัชกาลที่ 4 ต่อครับ <!--emo&:10:--><!--endemo-->

    ระหว่างช่วงพ.ศ. 2372-2379 พระวชิรณาโณทรงประทับจำพรรษา ณ วัดสมอราย(ในปัจจุบันคือ วัดราชาธิวาส) ในพระราชประวัติมีกล่าวว่า

    “เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จกลับไปอยู่วัดราชาธิวาสนั้น พระสงฆ์ซึ่งถือวัตรปฏิบัติอย่างธรรมยุติกนิกายมีจำนวนเพียงสัก ๒๐ รูป ตามเสด็จไปอยู่วัดราชาธิวาสบ้าง คงอยู่วัดมหาธาตุหรืออยู่วัดอื่นบ้าง
    แต่เมื่อพระเกียรติคุณที่ทรงเชี่ยวชาญพระไตรปิฎกและพระปฏิภาณในการแสดงพระธรรมเทศนาเลื่องลือแพร่หลาย ก็มีพระภิกษุสามเณรมหานิกายพากันไปถวายตัวเป็นศิษย์แล้วเลยบวชเป็นธรรมยุติกามากขึ้น และพวกคฤหัสถ์พากันเลื่อมใสไปถือศีลฟังธรรมมากขึ้นโดยลำดับ จนที่วัดราชาธิวาสเกิดเป็นสำนักคณาจารย์แห่งหนึ่ง”

    พ.ศ. 2376 เมื่อมีคณะสงฆ์และคฤหัสถ์ศรัทธามากขึ้น ธรรมยุติกนิกายก็เป็นที่รู้จักมากขึ้น เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป บางตำรากล่าวว่า มีการประกาศตั้งคณะธรรมยุติกนิกายขึ้น แต่ประการตั้งคณะธรรมยุติโดยพระมหากษัตริย์จริง ๆ เกิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4

    พ.ศ. 2379 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าให้เลื่อนพระสมณศักดิ์พระวชิรญาโณขึ้นเสมอเจ้าคณะรอง แล้วเชิญเสด็จมาครองวัดบวรนิเวศวิหาร สาเหตุที่โปรดให้เชิญเสด็จมาครองวัดบวรนิเวศวิหารนั้น ในพระราชประวัติมีกล่าวว่า

    “ แต่เมื่อพระเกียรติคุณที่ทรงเชี่ยวชาญพระไตรปิฎกและพระปฏิภาณในการแสดงพระธรรมเทศนาเลื่องลือแพร่หลาย ก็มีพระภิกษุสามเณรมหานิกายพากันไปถวายตัวเป็นศิษย์แล้วเลยบวชเป็นธรรมยุติกามากขึ้น และพวกคฤหัสถ์พากันเลื่อมใสไปถือศีลฟังธรรมมากขึ้นโดยลำดับ จนที่วัดราชาธิวาสเกิดเป็นสำนักคณาจารย์แห่งหนึ่ง
    ถึงกระนั้นการทรงทำความเจริญให้เกิดขึ้น ณ วัดราชาธิวาสก็เป็นเหตุให้พวกศัตรูมีจิตริษยายิ่งขึ้น ถึงกล่าวแสดงความสงสัยว่า ที่คนพอใจไปวัดราชาธิวาสนั้นเพราะประสงค์จะยกย่องพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในทางการเมือง “
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เมื่อพระวชิรญาโณเสด็จมาครองวัดบวรนิเวศวิหาร ก็กลับเป็นการดีสำหรับพระวชิรญาโณ ทำให้พระองค์สามารถจัดการปกครองดูแลพระในนิกายธรรมยุติกนิกายได้สะดวกขึ้นกว่าตอนอยู่ที่วัดสมอราย(วัดราชาธิวาสในปัจจุบัน) พระวชิรญาโณทรงทำนุบำรุงการเรียนพระปริยัติธรรม ปรับปรุงข้อวัตรปฏิติ เสขิยวัตรต่าง ๆ ของพระธรรมยุติกนิกายให้ตรงตามพระวินัยมากยิ่ง ในตำนานวัดบวรนิเวศวิหารกล่าวว่า

    ตำนานวัดบวรนิเวศวิหาร เล่ม 1 หน้า 22 ทรงทำนุบำรุงการเรียนพระปริยัติธรรมให้รุ่งเรือง ทรงบอกพระปริยัติธรรมเอง มีภิกษุสามเณรเป็นศิษย์เข้าแปลในสนามหลวง ได้เป็นเปรียญประโยคสูงถึงประโยค ๙ ก็มีหลายรูป พระสำนักอื่นมาขอเรียนบ้างก็มี ทรงเป็นหลักอยู่ในการไล่หนังสือพระองค์หนึ่ง ครั้งนั้น พระเปรียญพูดมคธได้คล่อง มีพระลังกาเข้ามาจึงต้องทรงมีหน้าที่เป็นผู้รับรองในราชการ มีคณะไว้สำหรับพระลังกาที่วัด วัดบวรนิเวศวิหารเคยมีชื่อเสียงโด่งดังด้านการศึกษาพระปริยัติธรรม มาก สามเณรสา ปุสสเทวะ ผู้สอบได้เปรียญ ๙ ประโยค ถึง 2 ครั้งก็เคยอยู่วัดนี้ ครั้งแรกเมื่อสอบได้เปรียญ ๙ ประโยค ยังเป็นสามเณรสา ที่วัดราชาธิวาสวิหาร ครั้งที่ 2 มาสอบได้เปรียญ ๙ ประโยคอีกครั้ง ที่วัดบวรนิเวศวิหารนี้เอง

    จาก การศึกษาปริยัติธรรมในวัดบวรนิเวศวิหาร(สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่)

    (หมายเหตุ :
    สามเณสาในครั้นนั้นต่อมาคือ สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว) พระองค์ทรงช่วยรัชกาลที่ 4 วางรากฐานการศึกษาพระปริยัติแก่คณสงฆ์ในเวลาต่อมา สามารถอ่านพระราชประวัติได้ที่นี่พระราชประวัติสมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว)ได้ที่นี่

    สามารถดูรายละเอียด วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหารได้ที่นี่ )
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ความหมายของมหานิกาย และธรรมยุติกนิกาย

    จากพจนานุกรมของพระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ. ปยุตโต)กล่าวว่า

    คณะธรรมยุต คณะสงฆ์ที่ตั้งขึ้นใหม่เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงผนวชเป็นภิกษุในรัชกาลที่ ๓ ; เรียกว่า ธรรมยุตติกา หรือธรรมยุติกนิกาย ก็มี; สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงให้ความหมายว่า “พระสงฆ์ออกจากมหานิกายนั้นเอง แต่ได้รับอุปสมบทในรามัญนิกายด้วย”(การคณะสงฆ์ น. ๑๐)

    คณะมหานิกาย คณะสงฆ์ไทยเดิมที่สืบมาแต่สมัยสุโขทัย,เป็นชื่อที่ใช้เรียกในเมื่อได้เกิดมีคณะธรรมยุตขึ้นแล้ว; สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงให้ความหมายว่า “พระสงฆ์อันมีเป็นพื้นเมือง(ของประเทศไทยผู้เขียน) ก่อนเกิดธรรมยุติกนิกาย” (การคณะสงฆ์ น. ๙๐)
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เรามาดูพิธีการบวช บทสวดสำคัญ ๆ ที่แตกต่างกัน และสิ่งที่เน้นย้ำของธรรมยุติกนิกายที่แตกต่างจากมหานิกายกัน

    พิธีการบวชแบบธรรมยุต (เอสาหัง)


    ๏ ขั้นตอนและบทที่ต้องท่องจำ ใช้ในพิธีบวชแบบธรรมยุต (เอสาหัง)

    รับผ้าไตรอุ้มประนมมือแล้วเดินเข้าไปในที่ประชุมสงฆ์ในพิธี (สังฆนิบาต) แล้ววางผ้าไตรไว้ข้างตัวด้านซ้าย รับเครื่องสักการะถวายพระอุปัชฌาย์ กราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้ง แล้วอุ้มผ้าไตรประนมมือยืนขึ้นเปล่งวาจาขอบรรพชาว่า

    เอสาหัง ภันเต สุจิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ
    ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ ละเภยยาหัง ภันเต
    ตัสสะ ภะคะวะโต ธัมมะวินะเย ปัพพัชชัง ละเภยยัง อุปะสัมปะทัง

    ทุติยัมปาหัง ภันเต สุจิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ
    ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ ละเภยยาหัง ภันเต
    ตัสสะ ภะคะวะโต ธัมมะวินะเย ปัพพัชชัง ละเภยยัง อุปะสัมปะทัง

    ตะติยัมปาหัง ภันเต สุจิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ
    ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ ละเภยยาหัง ภันเต
    ตัสสะ ภะคะวะโต ธัมมะวินะเย ปัพพัชชัง *ละเภยยัง อุปะสัมปะทัง

    อะหัง ภันเต ปัพพัชชัง ยาจามิ อิมานิ กาสายานิ วัตถานิ คะเหตะวา ปัพพาเชถะ มัง ภันเต อะนุกัมปัง อุปาทายะ
    ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต ปัพพัชชัง ยาจามิ อิมานิ กาสายานิ วัตถานิ คะเหตะวา ปัพพาเชถะ มัง ภันเต อะนุกัมปัง อุปาทายะ
    ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต ปัพพัชชัง ยาจามิ อิมานิ กาสายานิ วัตถานิ คะเหตะวา ปัพพาเชถะ มัง ภันเต อะนุกัมปัง อุปาทายะ

    *หมายเหตุ ถ้าบวชเป็นสามเณรให้ละคำว่า ละเภยยัง อุปะสัมปะทัง ออก

    พระอุปัชฌาย์รับเอาผ้าไตรจากผู้บวชวางไว้ตรงหน้าตัก ให้โอวาทและบอก ตะจะปัญจะกะ กัมมัฏฐาน แล้วให้ว่าตามไปทีละบท โดยอนุโลม (ไปข้างหน้า) และปฏิโลม (ทวนกลับ) ดังนี้

    เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ (อนุโลม)
    ตะโจ ทันตา นะขา โลมา เกสา (ปฏิโลม)

    พระอุปัชฌาย์ชักอังสะออกจากไตรมาสวมให้ผู้บวช แล้วสั่งให้ออกไปครองผ้าครบไตรจีวรตามระเบียบ ครั้นเสร็จแล้วเข้าไปหาพระอาจารย์ รับเครื่องสักการะถวายท่านแล้วกราบ ๓ ครั้ง นั่งคุกเข่าเปล่งวาจาขอสรณะและศีลดังนี้

    อะหัง ภันเต สะระณะสีลัง ยาจามิ ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต สะระณะสีลัง ยาจามิ
    ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต สะระณะสีลัง ยาจามิ

    (พระอาจารย์กล่าวคำนมัสการให้ผู้บรรพชาว่าตามดังนี้)

    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ)

    พระอุปัชฌาย์จะกล่าวว่า เอวัง วะเทหิ หรือ ยะมะหัง วะทามิ ตัง วะเทหิ
    ให้รับว่า อามะ ภันเต แล้วท่านจะว่านำสรณคมน์ก็ให้ว่าตามดังนี้

    พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

    พอจบแล้วทางพระอุปัชฌาย์จะบอกว่า ติสะระณะคะมะนัง นิฏฐิตัง ก็ให้รับว่า อามะ ภันเต ต่อจากนั้นก็สมาทานสิกขาบท ๑๐ ประการโดยว่าตามท่านไปเรื่อยๆ ดังนี้

    ปาณาติปาตา เวรมณี อทินนาทานา เวรมณี ิ
    อะพรหมจริยา เวรมณี มุสาวาทา เวรมณี
    สุราเมรยะมัชชะปมาทัฏฐานา เวรมณี
    วิกาละโภชนา เวรมณี นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสนา เวรมณี มาลาคันธะวิเลปะนะธารณะมัณฑนะวิภูสะนัฏฐานา เวรมณี
    อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวรมณี ชาตะรูปะ ระชะตะ ปฏิคคหณา เวรมณี

    (และกล่าว ๓ ครั้งว่า)

    อิมานิ ทะสะ สิกขาปะทานิ สมาทิยามิ (เสร็จแล้วรับบาตรอุ้มเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์ในที่ประชุมสงฆ์ วางไว้ข้างตัวด้านซ้าย รับเครื่องสักการะถวายท่านแล้วกราบ ๓ ครั้ง นั่งคุกเข่าประนมมือกล่าวดังนี้)

    อะหัง ภันเต นิสสะยัง ยาจามิ ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต นิสสะยัง ยาจามิ
    ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต นิสสะยัง ยาจามิ อุปัชฌาโย เม ภันเต โหหิ (ตรงนี้ว่า ๓ ครั้ง)

    พระอุปัชฌาย์จะกล่าวว่า โอปายิกัง ปะฏิรูปัง ปาสาทิเกนะ สัมปาเทหิ ให้รับว่า สาธุ ภันเต ทุกครั้งไป

    อัชชะตัคเคทานิ เถโร มัยหัง ภาโร อะหัมปิ เถรัสสะ ภาโร (กล่าวตรงนี้ ๓ ครั้ง เสร็จแล้วกราบลง ๓ ครั้ง)

    พระอาจาย์จะเอาสายคล้องตัวผู้บวช บอกบาตรและจีวรก็ให้ผู้บวชรับว่า อามะ ภันเต ๔ ครั้งดังนี้

    อะยันเต ปัตโต (รับว่า) อามะ ภันเต อะยัง สังฆาฏิ (รับว่า) อามะ ภันเต
    อะยัง อุตตะราสังโค (รับว่า) อามะ ภันเต อะยัง อันตะระวาสะโก (รับว่า) อามะ ภันเต

    จากนั้นพระอาจารย์ท่านจะบอกให้ออกไปข้างนอกว่า คัจฉะ อะมุมหิ โอกาเส ติฏฐาหิ ผู้บวชก็ถอยออกไปยืนอยู่ในที่ที่กำหนดไว้ (ส่วนใหญ่จะเป็นบริเวณทางเข้าโบสถ์) ต่อจากนี้พระอาจารย์จะสวดถามอันตรายิกธรรม ให้รับ นัตถิ ภันเต ๕ ครั้ง และต่อด้วย อามะ ภันเต อีก ๘ ครั้งดังต่อไปนี้

    พระจะถามว่า.......................ผู้บวชกล่าวรับว่า

    กุฏฐัง.......................................นัตถิ ภันเต
    คัณโฑ......................................นัตถิ ภันเต
    กิลาโส......................................นัตถิ ภันเต
    โสโส........................................นัตถิ ภันเต
    อะปะมาโร................................นัตถิ ภันเต
    มะนุสโสสิ๊.................................อามะ ภันเต
    ปุริโสสิ๊......................................อามะ ภันเต
    ภุชิสโสสิ๊...................................อามะ ภันเต
    อะนะโณสิ๊.................................อามะ ภันเต
    นะสิ๊ ราชะภะโฏ.........................อามะ ภันเต
    อะนุญญาโตสิ๊ มาตาปิตูหิ............อามะ ภันเต
    ปะริปุณณะวีสะติวัสโสสิ๊...............อามะ ภันเต
    ปะริปุณณันเต ปัตตะจีวะรัง..........อามะ ภันเต
    กินนาโมสิ.................................อะหัง ภันเต...*ชื่อพระใหม่ นามะ
    โก นามะ เต อุปัชฌาโย..............อุปัชฌาโย เม ภันเต อายัสสะมา...*(ชื่อพระอุปัชฌาย์) นามะ

    *หมายเหตุ ผู้บวชจะต้องทราบชื่อทางพระที่พระตั้งให้ใหม่ก่อนวันบวชและต้องจำชื่อพระอุปัชฌาย์ให้ได้ด้วย

    เสร็จแล้วกลับเข้ามาข้างในที่ประชุมสงฆ์ กราบลงตรงหน้าพระอุปัชฌาย์ ๓ ครั้ง นั่งคุกเข่าประนมมือเปล่งวาจาขออุปสมบทดังนี้

    สังฆัมภันเต อุปะสัมปะทัง ยาจามิ
    อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ
    ทุติยัมปิ ภันเต สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจามิ
    อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ
    ตะติยัมปิ ภันเต สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจามิ
    อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ

    ถ้ากล่าวพร้อมกันให้เปลี่ยนคำว่า ยาจามิ เป็น ยาจามะ และเปลี่ยน มัง เป็น โน

    ต่อมาพระอาจารย์สวดสมมติตนถามอันตรายิกธรรม ผู้บวชก็รับว่า นัตถิ ภันเต ๕ ครั้ง และ อามะ ภันเต ๘ ครั้ง บอกชื่อพระใหม่ของตัวเอง และชื่อพระอุปัชฌาย์แบบที่ผ่านมาอย่างละหนึ่งครั้ง เสร็จแล้วก็นั่งฟังพระสวดกรรมวาจาอุปสมบทไปจนจบ
    พอจบแล้วท่านก็จะเอาบาตรออกจากตัว ให้กราบลง ๓ ครั้ง นั่งพับเพียบฟังพระอุปัชฌาย์บอกอนุศาสน์ไปจนจบ แล้วก็กล่าวรับว่า อามะ ภันเต เสร็จพิธีก็กราบ ๓ ครั้ง ถ้ามีเครื่องไทยทานก็ให้รับไทยทานถวายพระอันดับ เวลากรวดน้ำก็ให้ตั้งใจรำลึกถึงผู้มีพระคุณอุทิศส่วนกุศลแด่ท่าน ขั้นตอนต่อไปก็นั่งฟังพระท่านอนุโมทนาต่อไปจนจบเป็นอันเสร็จพิธี

    คัดลอกจาก พิธีการบวชแบบธรรมยุติ พิธีการบวชแบบธรรมยุติ
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พิธีการบวชแบบมหานิกาย (อุกาสะ)


    ๏ ขั้นตอนและบทที่ต้องท่องจำ ใช้ในพิธีบวชแบบมหานิกาย (อุกาสะ)

    รับผ้าไตรอุ้มประนมมือแล้วเดินเข้าไปในที่ประชุมสงฆ์ในพิธี (สังฆนิบาต) แล้ววางผ้าไตรไว้ข้างตัวด้านซ้าย รับเครื่องสักการะถวายพระอุปัชฌาย์ กราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้ง แล้วอุ้มผ้าไตรประนมมือยืนขึ้นเปล่งวาจาขอบรรพชาว่า

    อุกาสะ วันทามิ ภันเต
    สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต
    มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง
    สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง
    ทาตัพพัง สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ
    อุกาสะ การุญญัง กัตตะวา ปัพพัชชัง เทถะ เม ภันเต

    (นั่งคุกเข่าลง แล้วประนมมือว่า)

    อะหัง ภันเต ปัพพัชชัง ยาจามิ ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต ปัพพัชชัง ยาจามิ
    ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต ปัพพัชชัง ยาจามิ

    (กล่าว ๓ ครั้งว่า)

    สัพพะทุกขะ นิสสะระณะนิพพานะ สัจฉิกะระณัตถายะ
    อิมัง กาสาวัง คะเหตะวา ปัพพาเชถะ มัง ภันเต
    อะนุกัมปัง อุปาทายะ (เสร็จแล้วพระอุปัชฌาจะมารับผ้าไตร แล้วว่าต่อไป)

    (กล่าว ๓ ครั้งว่า)

    สัพพะทุกขะ นิสสะระณะนิพพานะ สัจฉิกะระณัตถายะ
    เอตัง กาสาวัง ทัตตะวา ปัพพาเชถะ มัง ภันเต
    อะนุกัมปัง อุปาทายะ

    พระอุปัชฌาย์ให้โอวาทและบอก ตะจะปัญจะกะ กัมมัฏฐาน แล้วให้ว่าตามไปทีละบท โดยอนุโลม (ไปข้างหน้า) และปฏิโลม (ทวนกลับ) ดังนี้

    เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ (อนุโลม)
    ตะโจ ทันตา นะขา โลมา เกสา (ปฏิโลม)

    พระอุปัชฌาย์ชักอังสะออกจากไตรมาสวมให้ผู้บวช แล้วสั่งให้ออกไปครองผ้าครบไตรจีวรตามระเบียบ ครั้นเสร็จแล้วรับเครื่องไทยทานเข้าไปหาพระอาจารย์ ถวายท่านแล้วกราบ ๓ ครั้ง ยืนประนมมือเปล่งวาจาขอสรณะและศีลดังนี้

    อุกาสะ วันทามิ ภันเต สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต
    มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง
    สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ

    อุกาสะ การุญญัง กัตตะวา ติสะระเณนะ สะหะ สีลานิ เทถะ เม ภันเต

    (นั่งคุกเข่าขอสรณะและศีลดังต่อไปนี้)

    อะหัง ภันเต สะระณะสีลัง ยาจามิ ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต สะระณะสีลัง ยาจามิ
    ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต สะระณะสีลัง ยาจามิ

    (พระอาจารย์กล่าวคำนมัสการให้ผู้บรรพชาว่าตามดังนี้)

    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ)

    พระอุปัชฌาย์จะกล่าวว่า เอวัง วะเทหิ หรือ ยะมะหัง วะทามิ ตัง วะเทหิ
    ให้รับว่า อามะ ภันเต แล้วท่านจะว่านำสรณคมน์ก็ให้ว่าตามดังนี้

    พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

    พอจบแล้วทางพระอุปัชฌาย์จะบอกว่า ติสะระณะคะมะนัง นิฏฐิตัง ก็ให้รับว่า อามะ ภันเต ต่อจากนั้นก็สมาทานสิกขาบท ๑๐ ประการโดยว่าตามท่านไปเรื่อยๆ ดังนี้

    ปาณาติปาตา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
    อทินนาทานา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
    อะพรหมจริยา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
    มุสาวาทา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
    สุราเมรยะมัชชะปมาทัฏฐานา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
    วิกาละโภชนา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
    นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสนา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
    มาลาคันธะวิเลปะนะธารณะมัณฑนะวิภูสะนัฏฐานา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
    อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ
    ชาตะรูปะ ระชะตะ ปฏิคคหณา เวรมณี สิกขาปะทัง สมาทิยามิ

    (พระจะกล่าว ๓ ครั้งว่า)

    อิมานิ ทะสะ สิกขาปะทานิ สมาทิยามิ (เสร็จแล้วพึงกราบลง ๑ หน แล้วยืนขึ้นว่าดังนี้)

    วันทามิ ภันเต สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต
    มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง
    สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง
    สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ (คุกเข่าลงกราบ ๓ ครั้ง)

    ต่อจากนั้นให้รับบาตรอุ้มเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์ในสังฆสันนิบาต วางไว้ข้างตัวด้านซ้าย รับเครื่องไทยทานถวายท่านแล้วกราบ ๓ ครั้ง เสร็จแล้วยืนขึ้นประนมมือกล่าวดังนี้

    อุกาสะ วันทามิ ภันเต สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต
    มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง
    สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง
    สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ
    อุกาสะ การุญญัง กัตตะวา นิสสะยัง เทถะ เม ภันเต

    (นั่งคุกเข่า)

    อะหัง ภันเต นิสสะยัง ยาจามิ ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต นิสสะยัง ยาจามิ ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต นิสสะยัง ยาจามิ

    (กล่าว ๓ ครั้งว่า)

    อุปัชฌาโย เม ภันเต โหหิ

    พระอุปัชฌาย์จะกล่าวรับว่า โอปายิกัง ปะฏิรูปัง ปาสาทิเกนะ สัมปะเทหิ ผู้บวชพึงรับว่า อุกาสะ สัมปะฏิจฉามิ ๓ ครั้งแล้วว่าดังนี้

    (กล่าว ๓ ครั้งว่า)

    อัชชะตัคเคทานิ เถโร มัยหัง ภาโร อะหัมปิ เถรัสสะ ภาโร (เสร็จแล้วยืนขึ้นว่าดังนี้)

    วันทามิ ภันเต สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต
    มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อะนุโมทิตัพพัง
    สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง
    สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ (คุกเข่าลงกราบ ๓ ครั้ง)

    ลำดับต่อไปพระอุปัชฌาย์หรือพระอาจารย์จะเอาบาตรมีสายโยคคล้องตัวผู้ขอบวช แล้วบอกบาตรและจีวร ผู้บวชก็รับเป็นทอดๆ ไปดังนี้

    อะยันเต ปัตโต (รับว่า) อามะ ภันเต
    อะยัง สังฆาฏิ (รับว่า) อามะ ภันเต
    อะยัง อุตตะราสังโค (รับว่า) อามะ ภันเต
    อะยัง อันตะระวาสะโก (รับว่า) อามะ ภันเต

    จากนั้นพระอาจารย์ท่านจะบอกให้ออกไปข้างนอกว่า คัจฉะ อะมุมหิ โอกาเส ติฏฐาหิ ผู้บวชก็ถอยออกไปยืนอยู่ในที่ที่กำหนดไว้ (ส่วนใหญ่จะเป็นบริเวณทางเข้าโบสถ์) ต่อจากนี้พระอาจารย์จะสวดถามอันตรายิกธรรม ให้รับ นัตถิ ภันเต ๕ ครั้ง และต่อด้วย อามะ ภันเต อีก ๘ ครั้งดังต่อไปนี้

    พระจะถามว่า.....................ผู้บวชกล่าวรับว่า

    กุฏฐัง.....................................นัตถิ ภันเต
    คัณโฑ....................................นัตถิ ภันเต
    กิลาโส....................................นัตถิ ภันเต
    โสโส......................................นัตถิ ภันเต
    อะปะมาโร..............................นัตถิ ภันเต
    มะนุสโสสิ๊...............................อามะ ภันเต
    ปุริโสสิ๊....................................อามะ ภันเต
    ภุชิสโสสิ๊.................................อามะ ภันเต
    อะนะโณสิ๊...............................อามะ ภันเต
    นะสิ๊ ราชะภะโฏ.......................อามะ ภันเต
    อะนุญญาโตสิ๊ มาตาปิตูหิ..........อามะ ภันเต
    ปะริปุณณะวีสะติวัสโสสิ๊.............อามะ ภันเต
    ปะริปุณณันเต ปัตตะจีวะรัง........อามะ ภันเต
    กินนาโมสิ................................อะหัง ภันเต...*(ชื่อพระใหม่) นามะ
    โก นามะ เต.............................อุปัชฌาโย อุปัชฌาโย เม ภันเต อายัสสะมา...*(ชื่อพระอุปัชฌาย์) นามะ

    *หมายเหตุ ผู้บวชจะต้องทราบชื่อทางพระที่พระตั้งให้ใหม่ก่อนวันบวชและต้องจำชื่อพระอุปัชฌาย์ให้ได้ด้วย

    เสร็จแล้วกลับเข้ามาข้างในที่ประชุมสงฆ์ กราบลงตรงหน้าพระอุปัชฌาย์ ๓ ครั้ง นั่งคุกเข่าประนมมือเปล่งวาจาขออุปสมบทดังนี้

    สังฆัมภันเต อุปะสัมปะทัง ยาจามิ
    อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ
    ทุติยัมปิ ภันเต สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจามิ
    อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ
    ตะติยัมปิ ภันเต สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจามิ
    อุลลุมปะตุ มัง ภันเต สังโฆ อะนุกัมปัง อุปาทายะ

    ต่อมาพระอาจารย์สวดสมมติตนถามอันตรายิกธรรม ผู้บวชก็รับว่า นัตถิ ภันเต ๕ ครั้ง และ อามะ ภันเต ๘ ครั้ง บอกชื่อพระใหม่ของตัวเอง และชื่อพระอุปัชฌาย์แบบที่ผ่านมาอย่างละหนึ่งครั้ง เสร็จแล้วก็นั่งฟังพระสวดกรรมวาจาอุปสมบทไปจนจบ
    พอจบแล้วท่านก็จะเอาบาตรออกจากตัว ให้กราบลง ๓ ครั้ง นั่งพับเพียบฟังพระอุปัชฌาย์บอกอนุศาสน์ไปจนจบ แล้วก็กล่าวรับว่า อามะ ภันเต เสร็จพิธีก็กราบพระอุปัชฌาย์ ๓ ครั้ง ถ้ามีเครื่องไทยทานก็ให้รับไทยทานถวายพระอันดับ เวลากรวดน้ำก็ให้ตั้งใจรำลึกถึงผู้มีพระคุณอุทิศส่วนกุศลแด่ท่าน ขั้นตอนต่อไปก็นั่งฟังพระท่านอนุโมทนาต่อไปจนจบเป็นอันเสร็จพิธี

    คัดลอกจาก พิธีการบวชมหานิกาย
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    บทบัญญัติข้อห้ามและศีลของสมณเพศ

    ตามพระวินัยแล้ว จะใช้แบบเดียวกันเพราะเป็นพุทธบัญญัติ ซึ่งทั้งมหานิกายและธรรมยุติกนิกายจะปฏิบัติตามพระวินัยนี้ ช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้นนั้น ก่อนรัชกาลที่ 4 นั้น มีพระภิกษุบางคณะละเลยข้อวัตรไปบางอย่าง เช่น พระสามารถจับเงินได้ ซึ่งตามพระวินัยแล้วถือว่าอาบัติครับ ที่ต่างกันจริงในเรื่องของวินัยนั้นไม่มี แต่จะมีการตีความในส่วนเสขิยวัตรต่างกันเท่านั้น ซึ่งประเด็นนี้ รัชกาลที่ 3 ตรัสกับพระวชิรญาโณด้วยครับ (จะมีกล่าวต่อไปครับ)
    เราดูพระวินัยตามพุทธบัญญัติกันก่อนครับ

    ๏ สามเณรต้องถือศีล ๑๐ ข้ออันได้แก่
    ๑. เว้นจากการฆ่าสัตว์ทั้งมนุษย์และเดรัจฉาน
    ๒. เว้นจากการลักทรัพย์
    ๓. เว้นจากการเสพเมถุน
    ๔. เว้นจากการพูดเท็จ
    ๕. เว้นจากการดื่มสุราและเมรัย
    ๖. เว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล (หลังเที่ยงวันไปแล้ว)
    ๗. เว้นจากการฟ้อนรำขับร้องและการบรรเลง ตลอดถึงการดูการฟังสิ่งเหล่านั้น
    ๘. เว้นจากการทัดทรงตกแต่งประดับร่างกาย การใช้ดอกไม้ ของหอม เครื่องประเทืองผิวต่างๆ
    ๙. เว้นจากการนอนที่นอนสูงใหญ่และยัดนุ่นสำลีอันมีลายวิจิตร
    (เว้นจากการนั่งนอนเหนือเตียงตั่งที่มีเท้าสูงเกินประมาณ)
    ๑๐. เว้นจากการรับเงินทอง

    ๏ ภิกษุไม่ควรฉันเนื้อ ๑๐ อย่างอันได้แก่

    ๑. เนื้อมนุษย์
    ๒. เนื้อช้าง
    ๓. เนื้อม้า
    ๔ .เนื้อสุนัข
    ๕. เนื้องู
    ๖. เนื้อราชสีห์
    ๗. เนื้อหมี
    ๘. เนื้อเสือโคร่ง
    ๙. เนื้อเสือดาว
    ๑๐. เนื้อเสือเหลือง
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระภิกษุต้องถือศีล ๒๒๗ ข้ออันได้แก่

    ศีล ๒๒๗ ข้อที่เป็นวินัยของสงฆ์ ทำผิดถือว่าเป็นอาบัติ สามารถแบ่งออกได้เป็นลำดับขั้น ตั้งแต่ขั้นรุนแรงจนกระทั่งเบาที่สุดได้ดังนี้ ได้แก่

    1. ปาราชิก มี ๔ ข้อ
    2. สังฆาทิเสส มี ๑๓ ข้อ
    3. อนิยต มี ๒ ข้อ (อาบัติที่ไม่แน่ว่าจะปรับข้อไหน)
    4. นิสสัคคิยปาจิตตีย์ มี ๓๐ ข้อ (อาบัติที่ต้องสละสิ่งของว่าด้วยเรื่องจีวร
    ไหม บาตร อย่างละ ๑๐ ข้อ)
    5. ปาจิตตีย์ มี ๙๒ ข้อ (ว่าด้วยอาบัติที่ไม่ต้องสละสิ่งของ)
    6. ปาฏิเทสนียะ มี ๔ ข้อ (ว่าด้วยอาบัติที่พึงแสดงคืน)

    เสขิยะ (ข้อที่ภิกษุพึงศึกษาเรื่องมารยาท) แบ่งเป็น
    1. สารูป มี ๒๖ ข้อ (ความเหมาะสมในการเป็นสมณะ)
    2. โภชนปฏิสังยุตต์ มี ๓๐ ข้อ (ว่าด้วยการฉันอาหาร)
    3. ธัมมเทสนาปฏิสังยุตต์ มี ๑๖ ข้อ (ว่าด้วยการแสดงธรรม)
    4. ปกิณสถะ มี ๓ ข้อ (เบ็ดเตล็ด)
    5. อธิกรณสมถะ มี ๗ ข้อ (ธรรมสำหรับระงับอธิกรณ์)

    รวมทั้งหมดแล้ว ๒๒๗ ข้อ ผิดข้อใดข้อหนึ่งถือว่าต้องอาบัติ การแสดงอาบัติสามารถกล่าวกับพระภิฏษุรูปอื่นเพื่อเป็นการแสดงตนต่อความผิดได้ แต่ถ้าถึงขั้นปาราชิกก็ต้องสึกอย่างเดียว
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๐ ปาราชิก มี ๔ ข้อได้แก่

    1. เสพเมถุน แม้กับสัตว์เดรัจฉานตัวเมีย (ร่วมสังวาสกับคนหรือสัตว์)
    2. ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้มาเป็นของตน จากบ้านก็ดี จากป่าก็ดี (ขโมย)
    3. พรากกายมนุษย์จากชีวิต (ฆ่าคน)หรือแสวงหาศาสตราอันจะนำไปสู่ความตายแก่
    ร่างกายมนุษย์
    4. กล่าวอวดอุตตริมนุสสธัมม์ อันเป็นความเห็นอย่างประเสริฐ อย่างสามารถอันไม่มี
    ในตน น้อมเข้าในตัวว่า ข้าพเจ้ารู้อย่างนี้ ข้าพเจ้าเห็นอย่างนี้ (ไม่รู้จริง แต่โอ้อวด
    ความสามารถของตัวเอง)


    ๐ สังฆาทิเสส มี ๑๓ ข้อ ถือเป็นความผิดหากทำสิ่งใดต่อไปนี้

    1. ปล่อยน้ำอสุจิด้วยความจงใจ เว้นไว้แต่ฝัน
    2. เคล้าคลึง จับมือ จับช้องผม ลูบคลำ จับต้องอวัยวะอันใดก็ตามของสตรีเพศ
    3. พูดจาหยาบคาย เกาะแกะสตรีเพศ เกี้ยวพาราสี
    4. การกล่าวถึงคุณในการบำเรอตนด้วยกาม หรือถอยคำพาดพิงเมถุน
    5. ทำตัวเป็นสื่อรัก บอกความต้องการของอีกฝ่ายให้กับหญิงหรือชาย แม้สามีกับ
    ภรรยา หรือแม้แต่หญิงขายบริการ
    6. สร้างกุฏิด้วยการขอ
    7. สร้างวิหารใหญ่ โดยพระสงฆ์มิได้กำหนดที่รุกรานคนอื่น
    8. แกล้งใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล
    9. แกล้งสมมุติแล้วใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล
    10. ยุยงสงฆ์ให้แตกกัน
    11. เป็นพวกของผู้ที่ทำสงฆ์ให้แตกกัน
    12. เป็นผู้ว่ายากสอนยาก และต้องโดนเตือนถึง ๓ ครั้ง
    13. ทำตัวเป็นเหมือนคนรับใช้ ประจบคฤหัสถ์
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๐ อนิยตกัณฑ์ มี 2 ข้อได้แก่

    1. การนั่งในที่ลับตา มีอาสนะกำบังอยู่กับสตรีเพศ และมีผู้มาเห็นเป็นผู้ที่เชื่อถือได้
    พูดขึ้นด้วยธรรม ๓ ประการอันใดอันหนึ่งกล่าวแก่ภิกษุนั้นได้แก่ ปาราชิกก็ดี
    สังฆาทิเสสก็ดี หรือปาจิตตีย์ก็ดี ภิกษุนั้นถือว่ามีความผิดตามที่อุบาสกผู้นั้น
    กล่าว

    2. ในสถานที่ที่ไม่เป็นที่ลับตาเสียทีเดียว แต่เป็นที่ที่จะพูดจาค่อนแคะสตรีเพศได้
    สองต่อสองกับภิกษุผู้เดียว และมีผู้มาเห็นเป็นผู้ที่เชื่อถือได้พูดขึ้นด้วยธรรม 2
    ประการอันใดอันหนึ่งกล่าวแก่ภิกษุนั้นได้แก่ สังฆาทิเสสก็ดี หรือปาจิตตีย์ก็ดี
    ภิกษุนั้นถือว่ามีความผิดตามที่อุบาสกผู้นั้นกล่าว


    ๐ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ มี ๓๐ ข้อ ถือเป็นความผิดได้แก่

    1. เก็บจีวรที่เกินความจำเป็นไว้เกิน ๑๐ วัน
    2. อยู่โดยปราศจากจีวรแม้แต่คืนเดียว
    3. เก็บผ้าที่จะทำจีวรไว้เกินกำหนด ๑ เดือน
    4. ใช้ให้ภิกษุณีซักผ้า
    5. รับจีวรจากมือของภิกษุณี
    6. ขอจีวรจากคฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ เว้นแต่จีวรหายหรือถูกขโมย
    7. รับจีวรเกินกว่าที่ใช้นุ่ง เมื่อจีวรถูกชิงหรือหายไป
    8. พูดทำนองขอจีวรดีๆ กว่าที่เขากำหนดจะถวายไว้แต่เดิม
    9. พูดให้เขารวมกันซื้อจีวรดีๆ มาถวาย
    10. ทวงจีวรจากคนที่รับอาสาเพื่อซื้อจีวรถวายเกินกว่า ๓ ครั้ง
    11. หล่อเครื่องปูนั่งที่เจือด้วยไหม
    12. หล่อเครื่องปูนั่งด้วยขนเจียม (ขนแพะ แกะ) ดำล้วน
    13. ใช้ขนเจียมดำเกิน ๒ ส่วนใน ๔ ส่วน หล่อเครื่องปูนั่ง
    14. หล่อเครื่องปูนั่งใหม่ เมื่อของเดิมยังใช้ไม่ถึง ๖ ปี
    15. เมื่อหล่อเครื่องปูนั่งใหม่ ให้เอาของเก่าเจือปนลงไปด้วย
    16. นำขนเจียมไปด้วยตนเองเกิน ๓ โยชน์ เว้นแต่มีผู้นำไปให้
    17. ใช้ภิกษุณีที่ไม่ใช้ญาติทำความสะอาดขนเจียม
    18. รับเงินทอง
    19. ซื้อขายด้วยเงินทอง
    20. ซื้อขายโดยใช้ของแลก
    21. เก็บบาตรที่มีใช้เกินความจำเป็นไว้เกิน ๑๐ วัน
    22. ขอบาตร เมื่อบาตรเป็นแผลไม่เกิน ๕ แห่ง
    23. เก็บเภสัช ๕ (เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย) ไว้เกิน ๗ วัน
    24. แสวงและทำผ้าอาบน้ำฝนไว้เกินกำหนด ๑ เดือนก่อนหน้าฝน
    25. ให้จีวรภิกษุอื่นแล้วชิงคืนในภายหลัง
    26. ขอด้ายเอามาทอเป็นจีวร
    27. กำหนดให้ช่างทอทำให้ดีขึ้น
    28. เก็บผ้าจำนำพรรษา (ผ้าที่ถวายภิกษุเพื่ออยู่พรรษา) เกินกำหนด
    29. อยู่ป่าแล้วเก็บจีวรไว้ในบ้านเกิน ๖ คืน
    30. น้อมลาภสงฆ์มาเพื่อให้เขาถวายตน
     

แชร์หน้านี้

Loading...