ภาพกสิน แท้จริงควรยึดติดตา หรือ ติดใจ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ศุภกร_ไชยนา, 23 พฤษภาคม 2012.

  1. ศุภกร_ไชยนา

    ศุภกร_ไชยนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    627
    ค่าพลัง:
    +1,122
    ตามหัวข้อครับ หลากหลายตำรา ก็บอกให้เพ่งจนนิมิตรกสินเปลี่ยนไปตามระดับของสมาธิ ส่วนตัวผมก็ฝึกบ้าง แต่ติดอยู่ที่ว่า ภาพที่จะยึดเป็นกสินคือ

    ภาพติดตา ( ภาพที่มองเห็นเป็นสีตรงกันข้ามในช่วงแรกๆที่เปลือกตา )

    หรือ

    ภาพติดใจ ( ภาพเวลานึกในใจแล้วเห็นได้ชัดเจน อย่างเช่น นึกถึงลูกฟุตบอล กระดาษ ดินสอ ครับ )

    ขอตอบแบบมีวิจารณญาณ นะครับ
    ผู้ที่ได้ณาญโปรดชีแนะด้วย กระทู้นี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้เริ่มปฏิบัติต่อไปภายหน้า
    ตอบแบบฝึกนิดฝึกหน่อย ยังทรงภาพกสินไม่ได้ผมขออย่าตอบ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤษภาคม 2012
  2. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819

    ไม่ได้ ณาญ นะคงช่วย จขกท ตอบไม่ได้

    ใจ เป็นผู้เห็น ผ่านร่างกาย ทาง ตา


    หลับตาอยู่ นึกนั้น นึกนี่ ตานอกเห็น หรือ ตาใน เห็น หรือ จิต เป็นผู้เห็น



    กสิณ นะ ต้อง จิต เห็น ใน ฌาน นิมิต กสิณ คือเห็นจริง ตามความเป็นจริง ของ กสิณ ครับ

    ไม่ใช่ นึกคิด เอาเอง นึกภาพขึ้นมาเอง ถ้าเป็นภาพ ที่นึกเอาเอง จิตยังไม่เป็น สมาธิ ฌาน นี่คือ ยังไม่ใช่กสิณ


    การนึกภาพนั้น ภาพนี่ เห็นภาพนั้นภาพนี่ นี่คือ ยังไม่เป็นกสิณ


    จะเป็น กสิณ นั้น ก็คือ การ เพ่ง ภาพกสิณ นั้นๆ ให้ เป็น ฌาน

    ถึงจะเป็น กสิณ ตามความเป็นจริง


    ถ้า ใจ ที่ เพ่งกสิณ อยู่นั้น ยังไม่เป็น ฌาน ก็คือ ยังไม่ได้ กสิณ




    แค่ตั้งคำถาม ก็ผิดละ


    กสิณ แปลว่า "เพ่ง"


    ภาพติดตา ภาพติดใจ คือ "อุคคหนิมิต"

    การเพ่งกสิณ คือ กำหนดภาพกสิณไว้ในใจ

    ใจ เป็น ผู้เห็น

    เห็น จน จิต เข้าสู่ระดับฌาน ในกสิณ นั้นๆ




    ไม่ใช่ จิต เป็น สมาธิ อยู่ จิตเข้าสมาธิ อยู่ แล้วเห็น ดวงต่างๆ แล้วคิดว่าไปว่าเป็น กสิณ

    ตอนจิตเป็น สมาธิ อยู่ จะเห็น ดวงกลม สีแดง สีขาว หรือ เห็น อะไรกลมๆ ดวงๆ ก็แล้วแต่ มันก็ยังไม่เป็น กสิณ

    จิตเป็น สมาธิ อยู่ จิต เห็น จิต จิต เป็น ผู้รู้ จะเห็นอะไร มันก็ไม่ใช่ กสิณ

    สมาธิ คือ สมาธิ

    ฌาน คือ ฌาน


    ถ้าสิ่งที่เห็น ใน นิมิต ที่เป็น สมาธิ อยู่ นั้น

    จะเป็น กสิณ ได้นั้น ต้อง เพ่ง เท่านั้น

    เพ่งกสิณ จนเป็น ฌาน ถึงจะเป็น กสิณ

    เป็น กสิณ ตามความเป็น จริง


    .



    .
    เรียกว่า กสิณโทษ

    เพ่งอะไร ก็ต้องเป็นสีนั้น อารมณ์นั้นๆ ไม่เปลี่ยนแปลง

    ถ้าเปลี่ยนไป เรียกว่า กสิณโทษ


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤษภาคม 2012
  3. ศุภกร_ไชยนา

    ศุภกร_ไชยนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    627
    ค่าพลัง:
    +1,122
    กสิณ แปลว่า "เพ่ง"


    ภาพติดตา ภาพติดใจ คือ "อุคคหนิมิต"

    การเพ่งกสิณ คือ กำหนดภาพกสิณไว้ในใจ

    ใจ เป็น ผู้เห็น

    เห็น จน จิต เข้าสู่ระดับฌาน ในกสิณ นั้นๆ

    ได้มาหนึ่งท่าน ที่ท่านได้กล่าวผมพอทราบมาแล้วครับ ทั้งเทศนาของหลวงพ่อทุกม้วน ผมก็ฟังแล้ว

    ภาพที่นำมาเป็นกสิณไม่ใช่ภาพที่มโน เอาเอง ( ที่ยกตัวอย่างนั้นคือการเห็นทางใจไม่ใช่ติดตาหรือมโนครับ)

    ส่วนภาพติดตานั้นหลีกเลี่ยงไม่ได้ ถ้าใครเคยเพ่งกสินจะเข้าใจว่าเป็นจริง ช่วงแรกจะตรงกันข้ามกับกสินที่เพ่งอยู่ แล้วจึงเปลี่ยนไป ( ถ้าท่านปฏิบัติจะทราบ แต่ไม่ได้นำมาเป็นองค์กสิน ที่นำมาเป็นกสินก็คือภาพที่เพ่งอยู่ )


    ที่ผมยกมากล่าวหมายถึง นั่งเพ่งกสิน แล้วมีภาพติดตา และ ติดใจ ควรจะยึดอย่างไหนเป็นกสิน ( ไม่ได้มโนเอาเองครับ)

    ตั้งกระทู้มาเพื่อหาแนวทางปฏิบัติที่ถูกที่ควร มิได้มาโต้แย้งหรือเอาชนะอะไร

    ขอบคุณสำหรับทุกคำตอบครับ โมทนากับธรรมะปฏิบัติกับทุกท่าน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤษภาคม 2012
  4. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819

    กสิณไม่ใช่มโนภาพนะ กสิณนี่ต้องใช้นิมิตตรง ต้องใช้ดูวัตถุแล้วจำภาพ



    ตามนี้ครับ จขกท


    ต้องใช้ดูวัตถุแล้วจำภาพ

    ต้องใช้ดูวัตถุแล้วจำภาพ

    ต้องใช้ดูวัตถุแล้วจำภาพ

     
  5. แจ๊กซ์69

    แจ๊กซ์69 ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    3,142
    ค่าพลัง:
    +1,960
    มองด้วยตา นึกถึงภาพด้วยใจ สั้นๆง่ายๆดีกว่าไม่รู้จะยาวไปทำไมมันก็เป็นตามนั้นอ่ะครับ
     
  6. nichaojung

    nichaojung เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    392
    ค่าพลัง:
    +8,247
    ตามนั้นครับ:cool::cool::cool:
     
  7. NICKAZ

    NICKAZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    173
    ค่าพลัง:
    +812
    หัวข้อนี้เคยอภิปรายกันมาหลายครั้งแล้ว

    คุณศุภกร หัวข้อนี้ผมรู้สึกว่าในห้องอภิญญา xp ก็เคยอภิปรายเรื่องทำนองนี้มาหลายครั้งแล้ว ไม่ทราบว่ายังไม่เพียงพอหรือครับ?

    อย่างนั้นผมอยากร่วมเสวนาด้วยคนล่ะกัน ขอคุยแบบคนไม่มีความรู้ การปฏิบัติก็ยังไม่ได้เรื่องได้ราวนะครับ การเสวนาขอเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์เชิงปฏิบัติล้วนๆ ครับ เพราะเรื่องที่อยู่ในตำรา ก็มีการพูดถึงหลายครั้งแล้ว ผมคงไม่ขอกล่าวซ้ำอีก

    เรื่องภาพนิมิตกสิณ ควรใช้ภาพติดตาหรือติดใจ?

    ภาพติดตาคือ ภาพที่เกิดขึ้นหลังเปลือกตา ภายหลังจากที่มองวัตถุต้นแบบ แล้วหลับตาลง สีสันจะตรงข้ามกับวัตถุที่มองอยู่ก่อนหน้า

    ภาพติดใจคือ ภาพที่เกิดขึ้นในใจ ไม่ได้เห็นที่ลูกตา แต่เห็นเป็นภาพเกิดขึ้นในใจ

    ภาพติดตา ผมมองว่าเป็นส่วนที่ตกค้างของระบบประสาทตา เป็นปรากฏการณ์ของร่างกายที่จะต้องเป็นแบบนั้น เห็นมีบางสำนัก ท่านก็สอนให้เพ่งภาพอันนี้เหมือนกัน ผมคงจะไม่ไปก้าวก่ายในวิธีการของท่าน แต่ถ้าเป็นผม ผมไม่ได้ใช้วิธีแบบนี้ เพราะดูท่าแล้ว จะไม่ตรงแนวทางของกสิณเท่าไร่

    ภาพติดใจ ตรงนี้ต้องยอมรับว่าการอธิบายให้ผู้เริ่มฝึกเข้าใจเรื่องนี้ ค่อนข้างยาก เพราะส่วนมาก เราจะคุ้นเคยกับการใช้ลูกตามองสิ่งต่างๆ แต่ไม่คุ้นเคยกับการสร้างภาพให้เกิด ให้เห็นขึ้นในใจ เวลาเรามองวัตถุต้นแบบแล้วหลับตาลง ภาพที่เห็นก็จะดำมืดทันที ก็ถูกต้อง เพราะลูกตาไม่ีหน่วยความจำภายใน หลับตาแล้วภาพก็หายไปเป็นธรรมดา ทีนี้ก็ต้องมาควานหากันว่า แล้วภาพในใจที่ว่านั่น อยู่ที่ตรงไหน ตรงนี้ เป็นความลำบากอย่างหนึ่งของผู้ฝึกในระยะเริ่มแรก

    สำหรับผม ผมจะใช้ภาพติดใจมาฝึกในด้านกสิณมากกว่า

    ตอบคำถามข้อแรกไปแล้วว่า ควรใช้อะไร ระหว่างภาพติดตากับภาพติดใจ ในการฝึกกสิณ สำหรับท่านอื่นๆ ผมไม่ทราบ แต่สำหรับผม ผมใช้ภาพติดใจ

    ทีนี้มาคุยเรื่องงภาพติดใจกันสักเล็กน้อย

    ภาพติดใจ จะฝึกหัดให้เกิดขึ้นได้อย่างไร?

    เรื่องของกสิณ ในระยะเริ่งแรก จะต้องอาศัย "สัญญา" เป็นตัวนำก่อน คือการมองวัตถุต้นแบบ แล้วพยายามจำลักษณะ สีสัน วรรณะของวัตถุนั้นให้ได้ แล้วหลับตาลง พยายามนึกถึงภาพที่ได้มองเมื่อสักครู่ พยายามสร้างภาพของสิ่งนั้นขึ้นมาในใจ (ตอนนี้ที่ลูกตามืดไปหมดแล้ว) ใหม่ๆ การสร้างภาพมักจะไม่มีภาพอะไรเกิดขึ้นในใจหรอกครับ แต่การฝึกแบบนี้ เขาไม่ได้ทำกันเพียงครั้ง สองครั้ง แต่เขาทำกันในจำนวนนับไม่ถ้วน เป็นพัน เป็นหมื่นครั้ง

    การทำซ้ำๆ ซากๆ ไปนานๆ จะเกิดเหตุการณ์ที่่เรียกว่าความเคยชินของจิตเกิดขึ้น ความเคยชินของจิตที่ทำซ้ำๆ ไปมา จะก่อให้เกิดเห็นเป็นภาพของวัตถุนั้นๆ เกิดขึ้นมาในใจได้ (ในตอนนี้ที่ลูกตาก็ยังมืดอยู่นะครับ แต่ภาพจะเกิดขึ้นลางๆ แล้วที่ในใจ ซึ่งเป็นคนละส่วน คนละที่กัน ผู้ฝึกจะเริ่มรับรู้ได้แล้ว)

    ทีนี้เมื่อมีความชำนาญมากขึ้น ภาพที่กำหนดได้ในใจ ก็จะชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ จนเหมือนกับภาพของวัตถุต้นแบบ ตอนนี้คือสิ่งที่ในตำราท่านเรียกว่า "อุคคหนิมิต" ได้เกิดขึ้นแล้ว ต้องหมั่นประคองรักษาสิ่งนี้กันต่อไป

    ในขั้นอุคคหนิมิตนี้นะครับ คุณศุภกร ผมนี้เหมือนคนเป็นโรคจิตเลยทีเดียว เพราะจะย้ำคิด ย้ำทำบ่อยมาก จริงๆคือเป็นหน้าที่ ที่จะต้องรักษาของสิ่งนี้ให้อยู่ตลอดเวลามากกว่า ในระหว่างวัน ไม่ว่าจะทำกิจการงานอะไรอยู่ก็ตาม จะต้องคอยแบ่งใจส่วนหนึ่งมาจับอุคคหนิมิตนี้ (เอาใจทำงานสักร้อยละ 80 อีกร้อยละ 20 แบ่งมาเฝ้าจับ เฝ้าประคองอุคคหนิมิต ที่ว่านี้) ที่ว่าโรคจิต ย้ำคิดย้ำทำคือ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน เมื่อไหร่ จะทำอะไร อุคคหนิมิตนี้ จะต้องปรากฏให้เห็นอยู่ตลอดเวลา ทั้งหลับตาหรือลืมตา จะปล่อยให้คลาดสายตาไปสักเสี้ยววินาทีนั้น ไม่ได้เลย

    บ้าดีไหมครับ? แต่ถึงจะบ้า ก็บ้าในทางที่ดี บ้าอยู่กับศีล บ้าอยู่กับสมาธิ บ้ากับสิ่งที่ดี คิดได้อย่างนี้ก็สบายใจ

    ที่ผมยกตัวอย่างความบ้าของผมขึ้นมา เพื่อจะบอกว่าการฝึกกสิณ ต้องมีอิทธิบาทสี่ อยู่ในใจ เพราะถ้าท่านใดมีอิทธิบาทสี่แล้ว การกระทำการสิ่งใดๆ ก็จะไม่เป็นเรื่องน่าเบื่อ น่าเหนื่อย การฝึกอย่างนี้ ต้องอาศัยใจรักจริงๆ เพราะดูแล้วน่าเหนื่อยมาก แต่ถ้าท่านที่มีอิทธิบาทสี่แล้ว ท่านจะไม่เหนื่อย ท่านจะสนุก

    การย้ำคิด ย้ำทำแบบนี้ จะทำให้เกิดการพัฒนาที่่รวดเร็ว (ก็เรากิน อยู่ หลับ นอน ร่วมกับอุคคหนิมิตอยู่ตลอด จะไม่มีการพัฒนาเลยก็ให้รู้ไป)

    เมื่อมาถึงขั้นนี้ การรักษาอุคคหนิมิตก็ไม่ใช่ของยาก และจะมีการพัฒนาไปเรื่อยๆ ตามกำลังของสมาธิ จนกลายเป็นปฏิภาคนิมิต ถ้าทำไปจนกระทั่งนิมิตนั้นเริ่มจะเป็นประกายพรึก มีความสว่างเป็นพิเศษ ก็เป็นสิ่งที่น่ายินดี เพราะนั่นแสดงว่ากำลังเข้าสู่อาณาเขตของฌานสี่ ในกสิณกองนั้นๆ แล้ว

    ที่พยายามกล่าวมาทั้งหมดเปป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันนะครับ บางสิ่ง บางอย่าง ตำราท่านเขียนมาในหลักกว้างๆ ให้เป็นสิ่งเทียบเคียง แต่ตามธรรมชาติของคนเราแต่ละคน ก็จะแตกต่างกัน ดังนั้น ปรากฏการณ์ทางจิตของแต่ละคนก็จะมีบางส่วนปลีกย่อย ที่แตกต่างจากที่กล่าวไว้ในตำราก็มีเหมือนกัน คือการปฏิบัติ จริงๆ แล้ว ก็จะไม่เป๊ะๆ ตามตำราเท่าไหร่ (อันนี้ความเห็นส่วนตัวนะครับ)

    ก็ขอจบการเสวนาเพียงเท่านี้ก่อน สรุปคือให้ความเห็นว่าถ้าเป็นผมจะใช้ภาพติดใจในการฝึกกสิณ ไม่ใช้ภาพติดตา แล้วก็เล่าประสบการณ์การฝึกในช่วงอุคคหนิมิต เล็กน้อยเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์

    สำหรับเรื่องการฝึกของผม ก็เคยลงไว้ที่ห้องอภิญญา xp เข้าใจว่าคุณศุภกร เจ้าของกระทู้น่าจะเคยผ่านหูผ่านตามาบ้างแล้ว

    ช่วยตอบอะไรเจ้าของกระทู้ไม่ได้เลย เพราะความรู้น้อย ประสบการณ์น้อย ได้แต่มาคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน ก็ต้องขออภัยต่อเจ้าของกระทู้มา ณ ทีนี้ด้วยครับ
     
  8. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    พูดให้ยากมันก็ยาก มันช่างดูสับสนวุ่นวายจริง.....

    เอาง่ายๆนะ....."กสิณใช้ตาดู ส่งมาที่ใจ.....นิมิตกสิณไม่ใช่นิมิตติดตา แต่เป็นนิมิตติดใจ"....
     
  9. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,606
    ค่าพลัง:
    +1,817

    กสิณ คือ การเพ่ง หรือการยึดเอาวัตถุเป็นเครื่องมือในการทำให้จิตใจสงบ มิใช่เพ่ง หรือยึดเอาวัตถุที่เพ่ง เพื่อการติดหลงในวัตถุเหล่านั้น
    ถ้าจะกล่าวให้เกิดความเข้าใจง่ายขึ้น ก็หมายความว่า เพ่งขณะปฏิบัติ เมื่อเลิกปฏิบัติ ก็อย่าติดหลง เพราะ กสิณ เป็นเพียงกลวิธีในการทำให้ใจสงบ มิให้คิดฟุ้งซ่าน เพ้อเจ้อ หรือ กำหนดเป็นภาพหลอน ถ้าทำอย่างที่คุณกล่าวมา "บ้า" ขอรับ
     
  10. Supop

    Supop เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    587
    ค่าพลัง:
    +3,154
    ขอเสวนาด้วยคน

    กสิณนั้น มิใช่เพียงเครื่องมือที่ทำให้จิตสงบอย่างเดียว แต่จิตยังรับเอาพลังของธาตุนั้นๆไว้ด้วย การนึกให้เกิดแบบที่บอกไว้ในข้อที่ ๒ นั้นถูกแล้ว แต่ต้องจำจากภาพของสิ่งนั้นจริงๆ จนจำติดใจเสียก่อน คือ เมื่อนึกขึ้นมาเมื่อไหร่ ก็เกิดภาพนั้นทันที

    และจะมีอารมณ์ของธาตุเกิดกับกายและจิตด้วย เพราะจิตนำเอาธาตุมาเป็นอารมณ์

    กสิณไฟ จิตก็จะมีอารมณ์ของไฟ น้ำ จิตก็จะมีอารมณ์ของน้ำ

    เมื่อจิตมีอารมณ์ของธาตุที่เราเพ่งแล้ว เราจะรู้เอง คือเราจะรู้สึกถึงอารมณ์ของธาตุนั้นๆ ภาพที่เห็นในนิมิตจะเห็นเหมือนมองด้วยตาเปล่า เช่น ถ้าเป็นกสิณแสง เราก็จะรู้สึกเหมือนว่าเรามองเห็นแสงนั้นจริงๆ แรกๆจะมีอาการแสบตาเหมือนเรามองแสงด้วยตาเปล่า จะมีอารมณ์เหมือนว่าเรามองแสงสว่างนั้นอยู่จริงๆ (คงต้องทำให้ได้จริงๆกันซะก่อนถึงจะเข้าใจ ผมคงอธิบายให้รู้สึกตามไม่ได้)

    ไฟ จะมีอารมณ์ที่รุนแรง ร่างกายมีความร้อน
    น้ำ จะมีอารมณ์ที่นิ่งสงบ ใส (แต่ช่วงแรกๆจะไหวๆโยกๆ เพราะกสิณน้ำภาพที่กำหนดได้แรกๆ จะเป็นน้ำที่มีความเคลื่อนไหว) และกายจะรู้สึกเย็นๆ สดชื่น นิ่งสนิท
    ดิน จะมีอารมณ์ที่หนักแน่นมั่นคง และกายของเราจะรู้สึกหนักๆและตัวจะแข็งมาก
    ลม จะมีอารมณ์เบาๆลอยๆ ร่างกายจะมีความรู้สึกที่เย็นซาบซ่าน เบาๆ

    ส่วนเรื่องของภาพนิมิตขอละไว้ เพราะรู้กันอยู่แล้วตามที่ครูบาอาจารย์ได้สั่งสอนไว้

    นี่แค่เบื้องต้นเมื่อจิตเริ่มเกิดอารมณ์ของธาตุต่างๆแล้ว

    ปล. ไม่ต้องเชื่อ ไม่ต้องจำให้รกสมอง ต้องปฏิบัติเอาเอง แล้วจะรู้เอง จะดีกว่ามานั่งจำ

    ขอให้เจริญในธรรมทุกท่าน
     
  11. momoru

    momoru เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    666
    ค่าพลัง:
    +246
    ภาพติดใจ ... เพ่งดี ๆ แปบเดียวก็จิตรวมจากนั้นภาพจะชัดขึ้นมาทันที ลองตั้งใจฝึกดูสักชม. ผมว่ามันไม่ยากเลย
     
  12. barking dog

    barking dog เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2012
    โพสต์:
    765
    ค่าพลัง:
    +152
    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->ขออนุโมทนากับท่าน ศุภกร_ไชยนา
    sun dog เพิ่งก้าวล่วงเข้าไป ในขอบข่ายของกสิณ โดยไม่ตั้งใจ

    ภาพติดตา (ภาพที่มองเห็นเป็นสีตรงกันข้ามในช่วงแรกๆที่เปลือกตา)
    อันนี้ตนก็สังเกตเห็นเหมือนกัน ความจริงนี่ไม่ใช่ภาพติดตา มันติดใจเหมือนกัน แต่เป็นใจอีกลักษณะนึง ไม่ต้องหลับตาก็เห็นได้ ท่านศุภกรลองดูภาพที่มีสีดำๆหรือสีน้ำเงินเข้มแบบธรรมดาไม่ต้องเพ่งดูนะ ดูแบบเปิดใจรับภาพนั้นอย่างที่มันเป็น จะเห็นเงาขาวๆรูปร่างแบบเดียวกับภาพปรากฎขึ้นอยู่ในตำแหน่งเฉียงๆจากภาพ เป็นธรรมชาติในการทำงานของสังขารขันธ์และวิญญาณขันธ์ที่แสดงออกมาทางตาจ้า

    ภาพติดใจ (ภาพเวลานึกในใจแล้วเห็นได้ชัดเจน อย่างเช่น นึกถึงลูกฟุตบอล กระดาษ ดินสอ ครับ)
    อันนี้ตนก็มี เป็นภาพในอดีตที่ติดอยู่ในใจเรา การเห็นมัน ทำให้เราทราบ ว่าเราบันทึกสิ่งต่างๆเหล่านั้นไว้อย่างไร ซึ่งอาจตรงหรือไม่ตรงกับความเป็นจริงก็ได้ เป็นธรรมชาติในการทำงานของวิญญาณขันธ์และสัญญาขันธ์จ้า

    สำหรับคำถาม ว่าจะเพ่งสิ่งใดดีนั้น ต้องถามตนเองว่าเราจะเพ่งเพื่ออะไร ?
    หากจะเพ่งเพื่อให้เกิดสมาธิ ก็ต้องถามว่าเมื่อเกิดสมาธิแล้ว เราจะใช้สมาธินั้นทำอะไร ?

    หากต้องการ เพ่งกสิณ ให้เกิดสมาธิ เพ่งอะไร ก็เกิดได้ ขอเพียงให้สติเราอยู่กับภาพที่เพ่งเท่านั้นเอง

    หากต้องการ ใช้งานสมาธิจากการเพ่ง ให้เป็นฐาน ในการรับรู้ทุกอย่าง ตามความเป็นจริง เราก็ควรเพ่ง ในภาพที่เกิดขึ้นจริงๆ เบื้องหน้าเรา กล่าวคือ ไม่ใช่ภาพติดตา และไม่ใช่ภาพติดใจ แต่เป็นภาพที่เกิดขึ้นจริง เบื้องหน้าเรา

    เช่น สมมุติว่าท่านปรารถนาจะทำพุทธานุสติ โดยใช้กสิณ จากการดูรูปพระพุทธเจ้าเป็นเชื้อ ก็นำรูปพระพุทธเจ้า ในกระดาษ มายืนดูนั่งดูเลย ดูรูปที่มีอยู่จริง เห็นรูปที่มีอยู่จริง สติอยู่กับรูปที่มีอยู่จริง ทำอย่างนี้บ่อยๆ เมื่อน้อมถึงพระพุทธเจ้า ในใจท่านจะมีรูปพระพุทธเจ้าปรากฎขึ้นเองโดยไม่ต้องเพ่ง รูปในใจจะตรงกับรูปที่มีอยู่จริงทุกรายละเอียดหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับความเพียรและสติในการดูรูปจริง ที่ท่านกระทำอยู่อย่างสม่ำเสมอ

    เมื่อใด ที่ท่านมีรูปในใจตรงกับรูปจริงที่ท่านเห็นทุกรายละเอียด แสดงว่าสติและวิญญาณท่านละเอียดและพร้อมจะรับรู้ภาพที่เห็นตามความเป็นจริงแล้ว คราวนี้แม้ท่านเห็นสิ่งใด เพียงครั้งเดียว สิ่งนั้นจะบันทึกในใจท่านอย่างเที่ยงตรงทุกรายละเอียด ท่านพร้อมแล้วที่จะใช้สติและสมาธิอย่างนี้ ในการพิจารณาสภาวะทุกอย่างในชีวิตประจำวัน ตามความเป็นจริง

    ในทิเบต มีการใช้ภาพทังกาของพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ ในการฝึกกสิณเช่นนี้ ในภาพจะมีรายละเอียดมาก หากมองเพียงครั้งเดียวด้วยสติและวิญญาณหยาบ จะไม่สามารถบันทึกภาพในใจไว้ได้ครบถ้วน ต้องฝึกจนเข้าขั้นจึงจะทำได้

    sun dog เคยได้ยินมาว่า ช่างวาดภาพทังก้าในทิเบต เข้าถึงกายสีรุ้ง (ซกเชน) ได้จากการวาดภาพทังก้านี้
     
  13. โมกขทรัพย์

    โมกขทรัพย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    474
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,849
    กระทู้นี้ดีมีประโยชน์สำหรับคนฝึกกสิณมากๆครับ โมทนาสาธุเป็นอย่างสูงครับ
     
  14. testykhun

    testykhun Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    281
    ค่าพลัง:
    +90
    กสิณนี้ให้มองดูสักพัก เสร็จแล้วหลับตา แล้วใช้ใจ'ระลึกถึง'ภาพกสิณให้นานที่สุด เมื่อภาพเลือนลางออกไปจาก'ใจ'ก็ให้ลืมตามามองกสิณใหม่ครับ เหมือนนึกถึงหน้าพ่อแม่ หน้าแฟน หรือบ้านตัวเอง หรือไม่ก็คล้ายๆกับการเล่นเกมจำภาพสมัยอยู่ค่ายลูกเสือ ก็ใช้ใจนึกใช้ใจเพ่งไป พอใช้ใจนึกใจเพ่งไปๆมาๆสักภาพมันก็จะเกิดนิมิตขึ้นมา นิมิตที่ได้แรกๆจะชัดเจนคล้ายๆกับตอนเราฝัน พอฝึกไปสักระยะมันจะใสขึ้นชัดขึ้น ฝึกกสิณแทบไม่ได้ใช้ตาเนื้อ ไม่จำเป็นต้องเขม็งตาเพ่งจนปวดตากระบอกตา จนปมประสาทเกร็งเครียด

    หรือ ถ้าจะเอาแบบใช้กสิณแล้วมีฉากพื้นหลังตัดกับสีวัตถุชัดเจน แล้วก็ใช้ตาเพ่งไปนานๆ จนมาหลับตาก็มีภาพเงากสิณปรากฏขึ้นบนจอประสาทตาก็ได้ นี่ก็เป็นอีกแบบ พอภาพขึ้นที่จอประสาทตาก็ใช้สมาธิเพ่งเข้าไปยังกึ่งกลางภาพนั้นต่อ ภาพเลือนหายก็ลืมตาเพ่งใหม่ เพ่งไปเรื่อยๆ จนได้สีนิมิตที่แท้จริง แบบนี้ก็ได้ฌานสมาธิเช่นเดียวกันแต่ขอบอกว่ายากกว่ามาก เพราะห้ามขยับตา เมื่อขยับตา หรือขยับกายส่วนใดส่วนหนึ่ง กระดุกดิกนิดหน่อย ภาพตรงจอประสาทตาก็แกว่งไปแกว่งมาจนหายไปในที่สุด แถมวิธีถ้าไม่รู้จักรักษาดวงตา ก็จะทำให้ตาเอียง ตาเข และตาเจ็บได้

    สวัสดีครับ
     
  15. นายกสิณ

    นายกสิณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2011
    โพสต์:
    245
    ค่าพลัง:
    +251
    ไม่แสดงความเห็น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 มิถุนายน 2012
  16. นายกสิณ

    นายกสิณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2011
    โพสต์:
    245
    ค่าพลัง:
    +251
    ไม่แสดงความเห็น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 มิถุนายน 2012
  17. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,606
    ค่าพลัง:
    +1,817
    ท่านทั้งหลาย โปรดทำความเข้าใจเอาไว้อย่างหนึ่งว่า การปฏิบัติ หรือการฝึก "กสิณ" จะไม่ทำให้เกิดอาการใดใดทั้งสิ้น เว้นแต่ทำให้ใจสงบ ทำให้มีสมาธิในการทำงานทุกชนิด
    อย่าได้หลงเชื่อ ว่า ถ้า ฝึก กสิณไฟ จะเกิดความร้อนในตัว ฝึกกสิณน้ำ จะทำให้เย็นชุ่มช่ำ ไม่เป็นความจริงขอรับ
    กสิณ ต่างๆ ตามหลักพุทธศาสนา มีไว้สำหรับ พระสงฆ์หรือพระภิกษุเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากในสมัยนั้น ความเจริญยังมีน้อย พระภิกษุ จักต้องได้ปฏิสัมพันธ์กับ สิ่งทั้งหลายเหล่านั้น ตามหลักกสิณ
    ดังนั้น กสิณ จึงมีไว้ฝึก เพื่อมิให้คิดผูกติด หรือหลงติด ถ้าจะกล่าวให้เกิดความเข้าใจง่ายขึ้น ก็คือ
    การฝึก กสิณ ก็เพื่อ เมื่อได้พบเห็นแล้ว ไม่เกิดความคิดอยากมี อยากได้ แต่ทำให้ใจสงบไม่คิดสิ่งใดเท่านั้นขอรับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 พฤษภาคม 2012
  18. ศุภกร_ไชยนา

    ศุภกร_ไชยนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    627
    ค่าพลัง:
    +1,122
    อยากบอกว่าที่ตอบคำถามมา

    พี่ Phanudet, NICKAZ, Supop, เอกลืมรหัส,แจ๊กซ์69 ตรงใจผมสุดละครับ จบกิจข้อสงสัยเรื่องนี้แล้วครับ

    ท่านนักปฏิบัติทั้งสามนับว่าเข้าถึงความรู้สึก ความเข้าใจของผมอย่างหาที่สุดไม่ได้ คล้ายฝึกปฏิบัติและรับรู้ได้ในทางเดียวกัน


    เกินกว่าที่ผมถามนี้ครูบาอาจารย์ท่านได้อธิบายได้ละเอียดแล้ว สำหรับผมขอจบเรื่องกสินเพียงเท่านี้ จะเสวนาอีกทีตอนสำเร็จ

    โมทนาสาธุ

    ปล. ขอแชร์ประสบการณ์ส่วนตัวนะครับ (ไม่ใช่นักเลงคีบอร์ด และก็รู้มากตามตำรานะครับ แต่ตำราหรือคำครูบาอาจารย์ผมก็ฟังอยู่เสมอ หาได้เกินครูไม่ ปฏิบัติมาเช่นกัน)



    1. เรื่องภาพติดตานี้จะทำจนถึงทรงตัวได้ปวดตาใช้เล่นเลยนะครับ โดยเฉพาะกสินไฟ ผมเคยทรงภาพติดตาที่มีลักษณะสีเช่นเดียวกับไฟ คือ ติดตา มองกำแพง ก็เห็นภาพไฟลอยไปลอยมา แต่ไม่สามารถบังคับให้เล็กให้ใหญ่ได้ครับ สักพักภาพก็หาย

    2. เรื่องภาพติดใจนี้แปลก บางครั้งถ้าทรงอารมณ์สบาย มองภาพแปปเดียวก็จำได้ ตอนผมไปวัดถ้ำเมืองนะวันแรกครั้งแรก ภาพหลวงปู่ดู่ติดใจผมมาก นึกขึ้นมาชัดเจนเห็นชัดมากครับ แบบซูมตรงไหนก็ได้ แต่พอทราบถึงวิธีปฏิบัติโดยทรงภาพหลวงปู่ ผมกลับนึกไม่ออก เป็นเพราะวางอารมณ์เคร่งเครียดเกินไป อยากเห็นไงครับก็พยายามนึก ยิ่งนึกเท่าไหร่ก็ไม่ออก เช่นเดียวกับภาพกสิน ถ้ายิ่งพยายามนึกหรือทรงภาพในใจไว้จะยิ่งนึกไม่ออก ถ้าอารมณ์สบายๆถึงจะเห็นชัด สำหรับผมถ้าจับอาณา ก่อนจะช่วยได้

    ข้อแนะนำในฐานะผู้ปฏิบัติเช่นกันนะครับ

    คุณtelwada เกินครูมามากแล้วครับ (ผมไม่ขอตาม หากเกินเช่นนี้)
    คุณ นายกสิณ เท่าที่ผมปฏิบัติมาต้องรักษาอารมณ์สมาธิครับ การมโนถึงภาพ อาจจะทำได้ยาก และภาพนั้นไม่ชัดเจนสำหรับนักปฏิบัติที่ยังทรงภาพไม่ชัด (นักปฏิบัติมือใหม่) จะง่ายสำหรับผู้สำเร็จทางมโนมยิทธิ วิชาเปิดโลก ที่อาศัยการทรงภาพทางใจและวางอารมณ์ได้

    กสินไฟเท่าที่ผมฝึกมาไม่เพ่งเทียนนะครับ เอาเฉพาะไฟเป็นอารมณ์ เป็นองค์กสิน ใส้เทียน น้ำตาเทียน เทียนละทิ้งหมด

    แต่ตอนนี้ผมมีปัญหากับสายตา กลับมาฝึกกสินสีเขียวครับ เพราะสีเขียวมองแล้วสบายตา โมทนาสาธุครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 พฤษภาคม 2012
  19. NICKAZ

    NICKAZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    173
    ค่าพลัง:
    +812
    มีครูต้องเชื่อมั่นในครู และต้องมีวินัย

    อุบ๊ะ! มีครูบาอาจารย์อยู่แล้วอย่างนี้ ตั้งใจฝึกวิชาโลด ครูท่านผ่านหนทางมาก่อน ย่อมต้องสามารถนำพาศิษย์ไปตามทางได้ โดยไม่เข้ารกเข้าเข้าพง

    แลกเปลี่ยนประสบการณ์อีกเล็กน้อย การฝึกกับครู ลูกศิษย์ก็ต้องมีวินัยอย่างยิ่งด้วยจึงจะครบสูตร เวลาครูสอน ต้องทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ จุดไหน ไม่ชัดเจน ต้องสอบถามให้เข้าใจก่อน พอครูเห็นว่าปล่อยให้ไปฝึกปฏิบัติได้ ต้องพยายามกระทำตามคำสั่งของครูอย่างเคร่งครัด อย่าทำนอกสั่งเด็ดขาด

    สำหรับผม ครูสั่งมาอย่างไร ต้องเป็นไปตามนั้น หากยังทำไม่ได้ตามที่ครูสั่ง ก็จะยังไม่เข้าไปพบกับครูอีกเด็ดขาด จนกว่าจะปฏิบัติตามเรื่องที่ครูสั่งได้ลุล่วงไปได้เสียก่อน จึงเข้าไปหาครูอีกครั้งได้

    มีวินัยเคร่งครัดแบบนี้ ก็จะสามารถพัฒนาไปได้อย่างรวดเร็ว

    ขอขอบคุณที่ถูกใจในทัศนะของผม แต่ชอบก็เก็บไว้ในใจก็ได้ ยังไงๆ กระแสจิต กระแสใจ ก็สื่อออกมาได้เอง กล่าวถึงกันอย่างนี้ออกจะเกินไป ผมกระดากใจ ละอายต่อตัวเอง อย่าได้เอาผมไปเปรียบเทียบกับคุณๆทั้งหลายเลยครับ คุณ Phanudet, คุณ Supop, คุณ เอกลืมรหัส, คุณ แจ๊กซ์69 นั้นต้องถือได้ว่าเป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบแล้ว ยกเอาไว้เคียงกันได้ ชื่นชมได้

    แต่อย่าได้เอาผมไปเทียบกับคุณๆ เหล่านี้เลยครับ ผมเองนั้นยังมีความเลวอยู่มาก ตอนนี้เท่ากับว่ายังแช่อยู่ในนรกตั้งครึ่งค่อนตัว ไม่มีความดีอันเป็นสาระอะไรให้ชื่นชม

    เท่านี้ก่อนครับ สำหรับความเป็นไป ณ ขณะนี้ ร่วมเสวนาเพียงเท่านี้ก่อน และขอตัวไปฝึกปฏิบัติต่อไปครับ

    สวัสดีครับ
     
  20. แว๊ด

    แว๊ด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    982
    ค่าพลัง:
    +509
    ของแว๊ด

    เห็นภาพกสินในใจ เหมือนเห็นด้วยตา จะดึงเข้ามา จะยืดออกไป นั้นก็ได้ (แต่ต้องทำใจให้ว่างก่อน ทำเฉย ๆ อยากแล้วมันจะไม่ได้)

    แล้วภาพกสินจะเปลี่ยน สีจะค่อย ๆ เปลี่ยน
     

แชร์หน้านี้

Loading...