มิลินท ปัญหา

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 2 สิงหาคม 2007.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> ปัญหาที่ ๘ </center> <center> ถามถึงที่อยู่
    แห่งผลกรรม
    </center>

    “ข้าแต่พระนาคเสน กรรมดีและกรรมชั่ว ที่บุคคลทำด้วยนามรูปนี้ไปอยู่ที่ไหน ? ”
    “ขอถวายพระพร ติดตามผู้ทำไปเหมือนกับเงาตามตัว”
    “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า อาจชี้กรรมเหล่านั้นได้หรือไม่ว่า กรรมเหล่านั้นได้หรือไม่ว่า กรรมเหล่านั้นอยู่ที่ไหน?”
    “ขอถวายพระพร ไม่อาจชี้ได้”
    “ขอนิมนต์อุปมาด้วย”
    “ขอถวายพระพร เปรียบเหมือนต้นไม้ที่ยังไม่มีผล มหาบพิตรอาจชี้ได้หรือไม่ว่าผลอยู่ที่ไหน?”
    “ไม่อาจชี้ได้ พระผู้เป็นเจ้า”
    “ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร เมื่อมีการสืบต่อยังไม่ขาด ก็ไม่อาจชี้กรรมเหล่านั้นได้ว่ากรรมเหล่านั้นอยู่ที่ไหน”
    พระเจ้ามิลินท์จึงตรัสว่า
    “ถูกดีแล้ว พระผู้เป็นเจ้า”  

    <center> ปัญหาที่ ๙ </center> <center> ถามถึงความ
    รู้สึกของผู้จะเกิดอีก
    </center> “ข้าแต่พระนาคเสน ผู้ใดจะเกิด ผู้นั้นรู้หรือว่า เราจะเกิด?”
    “ขอถวายพระพร รู้”
    “ขอนิมนต์อุปมาด้วย”
    “ขอถวายพระพร เหมือนอย่างชาวนาหว่านพืชลงที่แผ่นดินแล้ว เมื่อฝนตกดีเขารู้หรือว่า พืชจักงอกงามขึ้น?”
    “รู้ พระผู้เป็นเจ้า”
    “ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือผู้ใดจะเกิด ผู้นั้นก็รู้ว่า เราจักเกิด”
    “ชอบแล้ว พระผู้เป็นเจ้า”

    <center> ปัญหาที่ ๑๐ </center> <center> ถามเรื่องที่อยู่ของ
    พระพุทธเจ้าที่ปรินิพพาน
    </center>  “ข้าแต่พระนาคเสน พระพุทธเจ้ามีจริงหรือ?”
    “ขอถวายพระพร มีจริง”
    “พระผู้เป็นเจ้าอาจชี้ได้หรือไม่ว่า พระพุทธเจ้าอยู่ที่ไหน?”
    “ขอถวายพระพร พระพุทธเจ้าปรินิพพานด้วยการดับขันธ์แล้ว ไม่อาจชี้ได้ว่าอยู่ที่ไหน”
    “ขออุปนิมนต์มาด้วย”
    “ขอถวายพระพร เปลวไฟที่ดับแล้ว มหาบพิตรอาจชี้ได้หรือไม่ว่า เปลวไฟนั้นไปอยู่ที่ไหน?”
    “ไม่ได้ พระผู้เป็นเจ้า เพราะเปลวไฟนั้นถึงซึ่งความไม่มีบัญญัติแล้ว”
    “ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร พระพุทธเจ้าดับบันธปรินิพพานไปแล้ว ก็ไม่มีใครอาจชี้ได้ว่าไปอยู่ที่ไหน อาจชี้ได้เพียง พระธรรมกาย ของพระพุทธเจ้าเท่านั้น”
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] “พระผู้เป็นเจ้าวิสัชนานี้สมควรแล้ว” [/FONT]
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> อธิบาย </center>

    คำว่า “พระธรรมกาย” ในหนังสือ ทิพยอำนาจ
    อดีตพระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสโส) ได้ให้ความเห็นในเรื่องนี้ (ขอนำมาโดยย่อ) ว่า
    “....ในปกรณ์ของฝ่ายเถรวาท ท่านโบราณาจารย์แบ่งพระกายของพระพุทธเจ้าเป็น ๓ ภาค ดังนี้คือ
    ๑. พระรูปกาย เป็นพระกายซึ่งกำเนิดจากพระพุทธบิดาและพระพุทธมารดา ที่เป็นมนุษย์ธรรมดาประกอบด้วยธาตุทั้ง ๔
    ๒. พระนามกาย เป็นพระกายซึ่งกำเนิดชั้นใน นามกายเป็นของมีทั่วไปแม้แต่สามัญมนุษย์ แต่ดีเลวกว่ากันด้วยอำนาจกุศลที่ตนทำไว้ก่อน
    ส่วนพระนามกายของพระพุทธเจ้า ท่านดีวิเศษกว่าสามัณมนุษย์ ด้วยอำนาจพระบุญญาบารมี ที่ทรงบำเพ็ญมาเป็นเวลาหลายอสงไขยกัป
    ๓. พระธรรมกาย ได้แก่พระกายอันบริสุทธิ์ ไม่สาธารณะทั่วไปแก่เทวดาและมนุษย์หมายถึงจิตที่พ้นจากกิเลสแล้ว เป็นจิตที่บริสุทธิ์ผุดผ่อง
    พระธรรมกายนี้เป็นพระพุทธเจ้าที่จริงแท้ เป็นพระกายที่พ้น เกิดแก่เจ็บตาย
    เป็นพระกายที่เที่ยงแท้ถาวรไม่สูญสลาย แต่ท่านมิได้บอกให้แจ้งชัดว่า พระธรรมกายนี้มีรูปพรรณสัญฐานเช่นไรหรือไม่
    อนึ่ง ความเชื่อว่าพระอรหันต์นิพพานแล้วยังมีอยู่อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นพระอรหันต์นิพพานแล้วยังมีอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นพระอรหันต์แท้ไม่สลายตามกาย คือความเป็นพระอรหันต์ ไม่สูญ ตัวอย่างเช่น
    พระยมกะ เมื่อยังไม่บรรลุอรหัตผลได้แสดงความเห็นว่า พระอรหันต์ตายแล้วสูญได้ถูก พระสารีบุตร สอบสวน เมื่อบรรลุพระอรหันต์แล้ว จึงเห็นตามความจริงว่า
    “สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่ง ย่อมเป็นไปตามปัจจัย คือสลายไป ส่วนพระอรหันต์มิใช่สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งจึงไม่สลายไป แปลว่า ไม่ตาย”
    ความเป็นพระอรหันต์นี้ ท่านก็จัดว่าเป็นอินทรีย์ชนิดหนึ่ง เรียกว่า “อัญญินทรีย์” พระผู้มีพระภาคเจ้าคงหมายถึงเอาอินทรีย์นี้เอง บัญญัติเรียกว่า “วิสุทธิเทพ” เป็นสภาพที่คล้ายคลึง “วิสุทธาพรหม” ในสุทธาวาสชั้นสูง (พรหมอนาคามี ชั้น ๑๒ - ๑๖ ) เป็นแต่บริสุทธิ์ยิ่งกว่าเท่านั้น
    อินทรีย์ของพระอรหันต์ประณีตสุขุม แม้แต่ตาทิพย์ของเทวดาสามัญก็มองไม่เห็น มนุษย์สามัญซึ่งมีตาหยาบ ๆ จะเห็นได้อย่างไร
    อินทรีย์ของพระอรหันต์นั้นแหละ เรียกว่า “อินทรีย์แก้ว” คือตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจของท่านเป็นแก้ว คือใสบริสุทธิ์ดุจแก้ว มณีโชติ ผู้บรรลุถึงภูมิแก้วแล้ว ย่อมสามารถพบเห็น “พระแก้ว” คือพระอรหันต์ที่นิพพานแล้วได้....”
    (การที่ยกเอาบทความนี้มาให้อ่านกันก็เพราะอาจจะมีนักปราชญ์บางท่านเข้าใจว่าพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว เหมือนกับเปลวไฟที่ดับไปฉะนั้น ก็เลยเหมาเอาว่า “พระนิพพานสูญ” ไปเลย
    ตามที่พระพนาคเสนท่านอุปมาเช่นนั้น ท่านคงหมายถึงดับไปเฉพาะ “พระรูปกาย” เท่านั้น แต่จิตใจอันบริสุทธิ์ของพระพุทธองค์ ที่เรียกว่า “พระธรรมกาย” มิได้ดับสูญไปด้วยแต่อย่างใด
    อดีตพระอริยคุณาธาร ซึ่งเป็นศิษย์สาย หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต จึงให้ทัศนะเป็นข้อสรุปไว้ตั้วแต่ พ.ศ. ๑๔๙๓ นับเป็นเวลา ๔๐ ปี เศษแล้วว่า)
    “.....ความรู้เรื่องนี้ เป็นความรู้ลึกลับในพระธรรมวินัย ผู้สนใจพึงศึกษาค้นคว้าต่อไปถ้ายังรู้ไม่ถึงอย่าพึ่งค้าน อย่าพึงโมทนา เป็นแต่จดจำเอาไว้ เมื่อใดตนเองได้ษึกษาค้นคว้าแล้ว ได้ความรู้ได้เหตุผลที่ถูกต้องดีกว่า เมื่อนั้นจึงค้าน
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] ถ้าได้เหตุผลลงกันจึงอนุโมทนา ถ้ารู้ไม่ถึงแล้ว ด่วนวิพากษ์วิจารณ์ติเตียนผู้พูดเรื่องเช่นนี้ จะเป็นไปเพื่อบอดตาบอดญาณตนเอง ยิ่งจะซึ้าร้ายใหญ่ ดังนี้....” [/FONT]
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> ตอนที่ ๑๐
    วรรคที่ ๖
    </center> <center> ปัญหาที่ ๑ </center> <center> ถามถึงความ
    รักร่างกายของบรรพชิต
    </center>

    พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า
    “ข้าแต่พระนาคเสน ร่างกายเป็นที่รักของบรรพชิตทั้งหลายหรือ?”
    พระเถระตอบว่า
    “ขอถวายพระพร ร่างกายไม่ได้เป็นที่รักของบรรพชิตทั้งหลาย”
    “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ถ้าอย่างนั้น ทำไมบรรพชิตยังอาบน้ำชำระกาย ถือว่ากายของเราอยู่ ? ”
    “ขอถวายพระพร ผู้เข้าสู่สงครามเคยถูกบาดเจ็บหรือไม่?”
    “อ๋อ....เคยซิ พระผู้เป็นเจ้า”
    “ขอถวายพระพร แผลที่ถูกอาวุธนั้น ฉาบทาด้วยเครื่องฉาบทา ทาด้วยน้ำมัน พันด้วยผ้าเนื้อละเอียดแลหรือ?”
    “ถูกแล้วพระผู้เป็นเจ้า ต้องทำอย่างนั้น”
    “ขอถวายพระพร บาดแผลนั้นเป็นที่รักของผู้นั้นหรือ?”
    “ไม่ได้เป็นที่รักของผู้นั้นเลย แต่ว่าเขาทำอย่างนั้น เพื่อให้เนื้อตรงนั้นงอกขึ้นเป็นปกติ”
    “ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร ร่างกายไม่ได้เป็นที่รักของบรรพชิตทั้งหลาย แต่บรรพชิตรักษาร่างกายนี้ไว้ เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ อันร่างกายนี้เปรียบเหมือนกับแผล บรรพชิตร้กษาร่างกายนี้ไว้เหมือนกับบุคคลรักษาแผล
    ข้อนี้สมกับที่สมเด็จพระทศพลตรัสไว้ว่า
    “กายนี้มีทวาร ๙ เป็นแผลใหญ่ อันหนังสดปกปิดไว้ คายของโสโครกออกโดยรอบ ไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น”
    “ถูกดีแล้ว พระผู้เป็นเจ้า”

    <center>
    อธิบาย
    </center> คำว่า ทวาร ๙ ได้แก่ ตา ๒ หู ๒ จมูก ๒ ปาก ๑ ทวารหนัก ๑ ทวารเบา ๑

    <center> ปัญหาที่ ๒ </center> <center> ถามถึงเหตุที่ไม่
    ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ล่วงหน้า
    </center> “ข้าแต่พระนาคเสน พระพุทธเจ้าเป็นพระสัพพัญญู คือทรงรู้ทุกสิ่ง เป็นสัพพทัสสาวีคือทรงเห็นทุกอย่างจริงหรือ?”
    “ขอถวายพระพร จริง”
    “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ถ้าจริง...เหตุไฉนจึงทรงบัญญัติสิกชาบทไปตามลำดับเหตุการณ์ แก่สาวกทั้งหลาย ทำไมจึงไม่ทรงบัญญัติไว้ก่อน?”
    “ขอถวายพระพร แพทย์ที่รู้จักยาทั้งหมดในแผ่นดินนี้มีอยู่หรือ ? ”
    “มีอยู่ พระผู้เป็นเจ้า” “ขอถวายพระพร ก็แพทย์นั้นให้คนไข้กินยาแต่เมื่อยังไม่เป็นไข้ หรือเมื่อเป็นไข้แล้วจึงให้กินยา ? ”
    “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า เมื่อเป็นไข้แล้วจึงให้กินยา เมื่อยังไม่เป็นไข้ก็ยังไม่ให้กินยา” “ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ คือพระพุทธเจ้าเป็นผู้รู้ทุกสิ่งเห็นทุกอย่างจริง แต่เมื่อยังไม่ถึงเวลาก็ยังไม่บัญญัติสิกขาบท ต่อเมื่อถึวเวลาจึงบัญญัติสิกขาบท สิกขาบทที่ทรงบัญญัตินั้น พระสาวกไม่ควรละเมิดจนตลอดชีวิต”
    “ถูกแล้ว พระผู้เป็นเจ้า”

    <center> ปัญหาที่ ๓ </center> <center> ถามถึงลักษณะมหาบุรุษ ๓๒
    ของพระพุทธมารดาบิดา
    </center> “ข้าแต่พระนาคเสน พระพุทธเจ้าประกอบด้วยมหาบุรุษลักษณะ ๓๒ และประดับด้วยอนุพยัญชนะ ๘๐ มีสีพระกายดังทองคำ มีพระรัศมีสว่างรอบพระองค์ด้านละ ๑ วาเป็นนิจจริงหรือ?”
    “ขอถวายพระพร จริง”
    “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า พระมารดาบิดาประกอบด้วยลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการ กับประดับด้วยอนุพยัญชนะ ๘๐ ประการ มีสีพระกายดังทองคำ มีพระรัศมีข้างละ ๑ วา หรือไม่ ? ”
    “ขอถวายพระพร พระมารดาบิดาไม่เป็นอย่างนั้น”
    “ข้าแต่พระนาคเสน เมื่อพระมารดาบิดาไม่เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าจะเป็นอย่างนั้นได้หรือ เพราะธรรมดาบุตรย่อมคล้ายมารดาหรือคล้ายกับข้างบิดา?”
    “ขอถวายพระพร ดอกประทุม หรือดอก อุบล ดอกปุณฑริก มีอยู่หรือ ? ”
    “มีอยู่ พระผู้เป็นเจ้า เพราะดอกบัวเหล่านั้นเกิดอยู่ในน้ำ เกิดอยู่ในดิน แช่อยู่ในน้ำ”
    “ขอถวายพระพร ดอกบัวเหล่านั้นมีสี กลิ่น รส เหมือนดินกับน้ำหรือไม่ ? ”
    “ไม่ พระผู้เป็นเจ้า”
    “ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร”
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] “พระผู้เป็นเจ้าเข้าใจแก้ เป็นอันแก้ถูกต้องดีแล้ว” [/FONT]
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> ปัญหาที่ ๔ </center> <center> ถามถึงความเป็น
    พรหมจารีของพระพุทธเจ้า
    </center>
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]
    “ข้าแต่พระนาคเสน พระพุทธเจ้าเป็นพรหมจารี คือเป็นผู้ประพฤติเหมือนกับพรหมจริงหรือไม่ ? ”
    [/FONT] “ขอถวายพระพร จริง”
    “ถ้าอย่างนั้น พระพุทธเจ้าก็เป็นศิษย์ของพรหมน่ะซิ”
    “ขอถวายพระพร ช้างทรงของมหาบพิตรมีอยู่หรือ?”
    “มีอยู่ พระผู้เป็นเจ้า”
    “ช้างทรงของมหาบพิตรนั้น มีเสียงร้องเหมือนเสียงนกกระเรียนในบางคราวหรือไม่ ? ”
    “อ๋อ....บางคราวก็มีเสียงร้องเหมือนเสียงนกกระเรียน พระผู้เป็นเจ้า”
    “ถ้าอย่างนั้น ช้างทรงของมหาบพิตรก็เป็นศิษย์ของนกกระเรียนน่ะซิ”
    “ไม่ใช่ พระผู้เป็นเจ้า”
    “ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร พระพุทธเจ้าประพฤติเหมือนพรหมจริง แต่ไม่ได้เป็นศิษย์ของพรหม”
    “ขอถวายพระพร พรหมนั้นได้ตรัสรู้ด้วยตนเองหรือไม่?”
    “ไม่ พระผู้เป็นเจ้า”
    “ถ้าอย่างนั้น พรหมก็ต้องเป็นศิษย์ของพระพุทธเจ้า”
    “ถูกแล้ว พระนาคเสน”

    <center> ปัญหาที่ ๕ </center> <center> ถามถึงการ
    อุปสมบท ไม่อุปสมบท
    </center> “ข้าแต่พระนาคเสน การอุปสมบทดี หรือ...หรือว่าไม่อุปสมบทดี ? ”
    “ขอถวายพระพร อุปสมบทดี”
    “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า อุปสมบทของพระพุทธเจ้ามีอยู่หรือ ? ”
    “ถวายพระพร พระพุทธเจ้าเป็นผู้ได้อุปสมบทแล้ว”
    เมื่อพระนาคเสนกล่าวอย่างนี้แล้ว พระเจ้ามิลินท์จึงตรัสประกาศขึ้นว่า
    “ขอพวกโยนกทั้ง ๕๐๐ จงฟังถ้อยคำของเรา คือพระนาคเสนกล่าวว่า พระพุทธเจ้าได้อุปสมบทแล้ว เป็นอุปสัมบัน คือเป็นผู้ที่บาชแล้ว
    ถ้าพระสมณโคดมเป็นอุปสัมบัน ใครเป็นอุปัชฌาย์ ใครเป็นอาจารย์ มีสงฆ์มานั่งหัตถบาสเท่าใด ? ”
    “ขอถวายพระพร พระพุทธเจ้าไม่มีอุปัชฌาย์ ไม่มีอาจารย์ ได้อุปสมบทเอง ตรัสรู้เอง ที่ภายใต้ไม้ศรีมหาโพธิ พระองค์ได้เป็นผู้อุปสัมบันพร้อมด้วยพระสัพพัญญุตญาณ”
    “ข้าแต่พระนาคเสน ถ้าอุปัชฌาย์อาจารย์ของพระสมณโคดมไม่มี โยมก็เข้าใจว่า พระสมณโคดมเป็นอนุปสัมบัน คือผู้ที่ยังไม่ได้บวชเพราะเหตุไร....พระพุทธเจ้าจึงไม่มีอุปัชฌาย์ไม่มีอาจารย์ ? ”
    เมื่อพระเจ้ามิลินท์ตรัสถามขึ้นอย่างนี้ พระนาคเสนองค์อรหันต์ ผู้สำเร็จปฏิสัมภิทาจึงย้อนถามไปว่า
    “มหาบพิตร ทรงเสวยแล้วหรือ ? ”
    “โยมกินแล้ว ผู้เป็นเจ้า”
    “ใครเป็นครูเป็นอาจารย์บอกให้เสวยล่ะ”
    “ไม่มี พระผู้เป็นเจ้า”
    “ถ้าอย่างนั้น มหาบพิตรก็เสวยไม่ได้ ? ”
    “ได้...ไม่ใช่โยมกินไม่ได้ ถึงไม่มีครูบาอาจารย์สั่งสอน โยมก็กินได้ ด้วยเคยกินมาในวัฏสงสารนับไม่ถ้วน”
    “ขอถวายพระพร ถ้าอย่างนั้นขอให้มหาบพิตรเข้าพระทัยเถิดว่า พระพุทธเจ้าได้อุปสมบทแล้วที่ภายใต้ไม้ศรีมหาโพธิ เพราะพระองค์ได้ทรงบำเพ็ญพระบารมีมาเต็มเปี่ยมแล้ว
    พระองค์อุปสมบทเอง ไม่มีอุปัชฌาย์อาจารย์ ได้อุปสมบทพร้อมกับได้พระสัพพัญญุตญาณ เหมือนกับมหาบพิตรผู้เสวยโดยไม่ต้องมีอาจารย์ เพราะเคยเสวยมาในวัฏสงสารอันไม่ปรากฏเบื้องต้น

    <center>
    อัศจารย์วันอุปสมบท
    </center> ในเวลาที่พระพุทธองค์ได้เป็นอุปสัมบันที่ภายใต้ไม้ศรีมหาโพธิ ด้วยอำนาจพระบารมีนั้น อัศจารย์ต่าง ๆ ก็ปรากฏขึ้นในโลก คือ
    คนตาบอดแต่กำเนิดก็กลับเป็นคนตาดี ๑ คนหูหนวกก็ได้ยินเสียง ๑ คนง่อยเปลี่ยก็เดินได้ ๑ คนใบ้ก็พูดได้ ๑ คนหลังค่อมก็ยืดตรงเป็นปกติได้ ๑ คนกำลังหิวข้าวก็ได้กินข้าว ๑ คนกระหายน้ำก็ได้ดื่มน้ำ ๑
    ผู้ที่อาฆาตต่อกันก็นึกเมตตากัน ๑ ทุกช์ในแดนแปรตก็หายไป ๑ ยาพิษก็กลับเป็นเหมือนยาทิพย์ ๑ หญิงมีครรภ์แก่ก็คลอดได้สบาย ๑ สำเภาที่ไปต่างประเทศก็กลับมาถึงท่าของตน ๑ กลิ่นเหม็นก็กลายเป็นกลิ่นหอม ๑
    ไฟในอเวจีมหานรกก็ดับ ๑ น้ำเค็มในมหาสมุทรก็กลายเป็นน้ำหวาน ๑ ภูเขาทั้งหลายก็เปล่งเสียงสะท้าน ๑ น้ำในมหานทีทั้งหลายก็หยุดไหล ๑ ผงจันทน์ทิพย์ดอกมณฑาทิพย์ก็ตกลงมาจากสวรรค์ ๑ เทพยดานางฟ้าทั้งหลาย ก็โปรยดอกไม้ทิพย์ลงมา ๑ พรหมทั้งหลายก็ตรบมือสาธุการ ๑
    ขอถวายพระพร พระพุทธเจ้าผู้มีสีพระกายดังทองคำ ก็ได้อุปสมบทเองที่ภายใต้ไม้ศรีมหาโพธิ อันเป็นเหมือนปราสาทแก้ว จึงได้มีสิ่งอัศจารย์ปรากฏขั้นอย่างนี้
    ด้วยอานุภาพแห่งการอุปสมบทของพระพุทธเจ้านั้น ได้บันกาลให้พระพยาเขาสิเนรุราชหมุรควาญคราง เหมือนกับกงรถกงเกวียนฉะนั้น
    พวกเทวดาในอากาศพร้อมกับบริวารก็มีใจเบิกบานยินดีได้โปรยดอกไม่ทิพย์ลงมาบูชา จันทรเทพบุตรก็หยุดมณฑลรถไว้ที่อากาศ โปรยดอกไม้แก้วลงมาบูชาไม่ขาดสายเหมือนกับนาสดที่ไหลหลั่งลงมาจากอากาศฉะนั้น การอุปสมบทของพระตถาคตเจ้าย่อมปรากฏอย่างนี้”
    “ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาด้วย”

    <center>
    อุปมาช้างพระที่นั่ง
    </center> “ขออถวายพระพร เมื่อมหาบพิตรขึ้นประทับนั่งบนคอช้างพระที่นั่ง มีผู้ใดผู้หนึ่งนั่งบนคอของพระองค์บ้างหรือไม่ ? ”
    “ไม่มี พระผู้เป็นเจ้า หากใครขึ้นนั่งบนคอของโยม ผู้นั้นต้องหัวขาด”
    “ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร ไม่มีผู้อื่นจัดการอุปสมบทให้พระพุทธเจ้า ถ้าผู้ใดจัดการอุปสมบทให้พระพุทธเจ้า ศรีษะของผู้นั้นต้องหลุดไปจากคอทันที
    เมื่อกี้มหาบพิตรถามอาตมาภาพว่า พระพุทธเจ้าอุปสมบทด้วยสงฆ์นั่งหัตถบาสเท่าไรอย่างนั้นหรือ ? ”
    “อย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้า”
    “ขอถวายพระพร พระพุทธเจ้าไม่ได้อุปสมบทด้วยสงฆ์ มีแต่ มรรค กับ ผล เท่านั้นที่เป็นสงฆ์
    ข้อนี้สมกับที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า
    “พระอริยบุคคล ๔ เหล่า คือผู้ตั้งอยู่ในมรรค ๔ ผล ๔ ผู้มั่นอยู่ในปัญญาและศีล เป็นสงฆ์ผู้ตรงแท้ แต่บุคคลบางเหล่าต้องอุปสมบทด้วยสงฆ์”
    น่าอัศจารย์ พระนาคเสน พระผู้เป็นเจ้าได้แก้ปัญหาอันละเอียดยิ่ง อันไม่มีส่วนเปรียบได้แล้ว ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า อุปสมบทเป็นดีหรือ ? ”
    “ขอถวายพระพร อุปสมบทเป็นของดี”
    “ข้าแต่พระนาคเสน การอุปสมบทของพระพุทธเจ้ามีอยู่หรือไม่มี?”
    “ขอถวายพระพร พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้อุปสมบทด้วยความเป็นพระสัพพัญญูที่ภายใต้ไม้ศรีมหาโพธิแล้วไม่มีผู้ให้อุปสมบทแก่พระพุทธเจ้า เหมือนกับพระพุทธเจ้าทรงให้อุปสมบทแก่สาวกเลย”
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] “แก้ถูกดีแล้ว พระผู้เป็นเจ้า” [/FONT]
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> ปัญหาที่ ๖ </center> <center> ถามถึงความต่างกันแห่งน้ำตา </center>
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]
    “ข้าแต่พระนาคเสน บุรุษคนหนึ่งร้องให้เพราะบิดามารดาตาย อีกคนหนึ่งน้ำตาไหล เพราะความชอบใจในธรรมะ น้ำตาของคนทั้งสองนั้น น้ำตาของใครเป็นเภสัช น้ำตาของใครไม่เป็นเภสัช?”
    [/FONT] “ขอถวายพระพร น้ำตาของคนที่ร้องไห้ด้วยราคะ โทสะ โมหะ เป็นน้ำตาร้อน ส่วนน้ำตาของผู้ฟังธรรมนั้น มีน้ำตาไหลด้วยปีติ ยินดีเป็นน้ำตาเย็น เป็นอันว่า น้ำตาเย็นเป็นเภสัช น้ำตาร้อนไม่เป็นเภสัช”
    “ถูกแล้ว พระนาคเสน”

    <center> ปัญหาที่ ๗ </center> <center> ถามถึงความต่างกันแห่งผู้เสวยรส </center> “ข้าแต่พระนาคเสน ผู้ปราศจากราคะ กับ ผู้ไม่ปราศจากราคะ ต่างกันอย่างไร ? ”
    “ขอถวายพระพร ผู้หนึ่งยังมีความยึดถือ อีกผู้หนึ่งไม่มีความยึดถือ”
    “ยึดถืออะไร...ไม่ยึดถืออะไร ? ”
    “ขอถวายพระพร คือผู้หนึ่งยังมีความต้องการ อีกผู้หนึ่งไม่มีความต้องการ”
    “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ผู้ปราศจากราคะ กับ ผู้ไม่ปราศจากราคะ ก็ยังไต้องการของเคี้ยวของกินที่ดีงามอยู่เหมือนกัน ไม่มีใครต้องการสิ่งใดที่ไม่ดีงาม โยมเห็นมีแต่ต้องการสิ่งที่ดีงามเหมือนกันหมด”
    “ขอถวายพระพร ผู้ปราศจากราคะ ยังรับอารสอาหาร ยังกินอาหารอยู่เหมือนกันก็จริงแหล่ แต่ทว่าไม่ยินดีในรสอาหาร ส่วนผู้ไม่ปราศจากราคะ ยังยินดีรสอาหารอยู่ ไม่ใช่ไม่ยิ่นดีในรสอาหาร”
    “เข้าใจแก้ พระผู้เป็นเจ้า”

    <center> ปัญหาที่ ๘ </center> <center> ถามที่ตั้งแห่งปัญญา </center> “ข้าแต่พระนาคเสน ปัญญาที่อยู่ที่ไหน ? ”
    “ขอถวายพระพร ปัญญาไม่ได้อยู่ที่ไหน”
    “ถ้าอย่างนั้นปัญญาก็ไม่มี”
    “ขอถวายพระพร ลมอยู่ที่ไหน ? ”
    “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ที่อยู่แห่งลมไม่มี”
    “ขอถวายพระพร ถ้าอย่างนั้นลมก็ไม่มี”
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] “ฉลาดแก้ พระผู้เป็นเจ้า” [/FONT]
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> ปัญหาที่ ๙ </center> <center> ถามเรื่องสาร </center>
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]
    “ข้าแต่พระนาคเสน คำว่า สงสาร ได้แก่อะไร ? ”
    [/FONT] “ขอถวายพระพร สัตว์โลกเกิดในโลกนี้ก็ตายในโลกนี้ ตายจากโลกนี้แล้วก็ไปเกิดในโลกอื่น เกิดในโลกนั้นก็ตายในโลกนั้น ตายจากโลกนั้นแล้วก็เกิดโลกอื่น การเวียนตายเวียนเกิดในโลกอื่น การเวียนตายเวียนเกิดอย่างแหละเรียกว่า “สงสาร”
    “ขอนิมนต์อุปมาด้วย”
    “ขอถวายพระพร เหมือนอย่างว่า บุรุษคนหนึ่งกินมะม่วงสุก แล้วปลูกเมล็ดไว้ เมล็ดมะม่วงนั้น ก็เกิดเป็นต้นมะม่วงใหญ่ขึ้น จนกระทั้งมีผลมะม่วง บุรุษนั้นก็กินมะม่วงสุกจากมะม่วงต้นนั้น แล้วปลูกเมล็ดมะม่วงไว้อีก
    เมล็ดมะม่วงนั้นก็เกิดเป็นต้น มะม่วงใหญ่โตขึ้นจนมีผล ต้นแก่ก็ตายไป ที่สุดเบื้องต้นแห่งต้นมะม่วงเหล่านั้น ย่อมไม่ปรากฏว่ามีมาเมื่อไร ข้อนี้มีอุปมาฉันใด การเวียนตายเวียนเกิดของสัตว์ทั้งหลาย ก็ไม่ปรากฏเบื้องต้นฉะนั้น”
    “แก้ถูกดีแล้ว พระผู้เป็นเจ้า”

    <center> ปัญหาที่ ๑๐ </center> <center> ถามถึงเหตุที่
    ให้ระลึกถึงสิ่งที่ล่วงแล้วได้
    </center> “ข้าแต่พระนาคเสน บุคคลระลึกถึงสิ่งที่ล่วงไปนานแล้วได้ด้วยอะไร ? ”
    “ได้ด้วย สติ ขอถวายพระพร”
    “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า สิ่งที่ล่วงไปนานแล้วนั้น บุคคลระลึกได้ด้วย จิต ต่างหาก ไม่ใช่ระลึกได้ด้วย สติ
    “ขอถวายพระพร มหาบพิตรทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งไว้แล้ว ระลึกไม่ได้มีอยู่หรือไม่ ? ”
    “มีอยู่ พระผู้เป็นเจ้า”
    “ขอถวายพระพร ในเวลานั้นพระองค์ไม่มีจิตหรือ ? ”
    จิตมี แต่เวลานั้นสติไม่มี”
    “ถ้าอย่างนั้น ขอมหาบพิตรจงเข้าพระทัยเถิดว่า บุคคลระลึกได้ด้วย สติ ไม่ใช่ระลึกได้ด้วย จิต
    “ถูกแล้ว พระนาคเสน”

    <center> ปัญหาที่ ๑๑ </center> <center> ถามถึงผู้มีสติ </center> “ข้าแต่พระนาคเสน สติทั้งหลายย่อมเกิดแก่ผู้รู้ยิ่งจำพวกเดียว หรือว่าเกิดแก่กุฏุมพีด้วย ? ”
    “ขอถวายพระพร เกิดแก่ผู้รู้ยิ่งด้วย เกิดแก่กุฏุมพีด้วย”
    “แต่โยมมีความเห็นว่าไม่ใช่อย่างนั้น สติทั้งหลายเกิดแก่ผู้รู้ยิ่งจำพวกเดียว ไม่ได้เกิดแก่กุฏุมพีเลย”
    “ขอถวายพระพร ถ้ากุฏุมพีไม่มีสติ สิ่งที่ควรทำในเรื่องศีลปะ การงาน วิชาการ อย่างใดอย่างหนึ่งก็ตอ้งไม่มี พวกอาจารย์ก็ต้องไม่มีประโยชน์ แต่เพราะกุฏุมพีมีสติ จึงมีสิ่งที่ควรทำในเรื่องศีลปะ การงาน วิชาการ พวกอาจารย์จึงมีประโยชน์”
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] “กล่าวถูกแล้ว พระผู้เป็นเจ้า” [/FONT]
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> วรรคที่ ๗ </center> <center> ปัญหาที่ ๑ </center> <center> ถามอาการแห่งสติ </center>

    พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า “ข้าแต่พระนาคเสน สติ เกิดขึ้นด้วยอาการเท่าใด ? ”
    พระนาคเสนตอบว่า “ขอถวายพระพร สติ เกิดขึ้นด้วยอาการ ๑๗ อย่างคือ เกิดขึ้นด้วยการรู้ยิ่ง ๑ ด้วยทรัพย์ ๑ ด้วยวิญญาณอันยิ่ง ๑ ด้วยวิญญาณเกื้อกูล ๑ ด้วยวิญญาณไม่เกื้อกูล ๑ ด้วยนิมิตที่เหมือนกัน ๑ ด้วยนิมิตที่แปลกกัน ๑
    ด้วยการรู้ยิ่งกถา ๑ ด้วยลักษณะ ๑ ด้วยการระลึก ๑ ด้วยการหัดคิด ๑ ด้วยการนับตามลำดับ ๑ ด้วยการจำ ๑ ด้วยการภาวนา ๑ ด้วยการจดไว้ ๑ ด้วยการเก็บไว้ ๑ ด้วยการเคยได้พบเห็น ๑
    “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ข้อว่า สติเกิดขึ้นด้วยการรู้ยิ่งนั้น คืออย่างไร ? ”
    “ขอถวายพระพร สติเกิดขึ้นด้วยการรู้ยิ่งนั้น เช่นกับผู้ระลึกชาติได้ และ สติของพระอานนท์ อันฟังพระสูตรครั้งเดียวจำไว้ได้และสติของ นางขุชชุตตราอุบาสิกา ฟังพระสัทธรรมเทศนาครั้งเดียวก็จำได้ แล้วมาแสดงให้ผู้อื่นฟังได้ถ้วนถี่”
    “ข้อที่ว่า สติเกิดขึ้นด้วยทรัพย์นั้น คือ อย่างไร?”
    “ขอถวายพระพร คือคนขี้หลงขี้ลืมย่อมมีอยู่ เวลาเห็นคนเหล่าอื่นเก็บทรัพย์ของเขาไว้ก็นึงถึงทรัพย์ของตนได้ จึงเรียกว่า สติเกิดขึ้นด้วยทรัพย์”
    “ข้อที่ว่า สติเกิดด้วยวิญญาณอันยื่งนั้น คืออย่างไร?”
    “ขอถวายพระพร เหมือนอย่างพระราชาผู้ได้รับอภิเษกใหม่ หรือผู้ได้สำเร็จโสดาปัตติผลย่อมมีความรู้สึกดีใจอย่างยิ่ง ความดีใจนั้นทำให้เกิดสติ นึกถึงสิ่งต่าง ๆ ได้”
    “ข้อว่า สติเกิดด้วยวิญญาณเกื้อกูลนั้น คืออย่างไร ? ”
    “ขอถวายพระพร บุคคลได้รับความสุขในที่ใด ก็ระลึกได้ว่า ตนได้รับความสุขในที่นั้น”
    “ข้อว่า สติเกิดขึ้นด้วยวิญญาณไม่เกื้อกูลนั้น คืออย่างไร ?”
    "ขอถวายพระพร บุคคลได้รับความทุกข์ ในที่ใด ก็ระลึกได้ว่า เราได้รับความทุกข์ที่นั้น"
    “ข้อว่า สติเกิดด้วยนิมิตที่เหมือนกันนั้น คืออย่างไร?”
    “ขอถวายพระพร คือบุคคลได้เห็นผู้เหมือนกันกับมารกาบิดา พี่ชาย พี่สาว หรือ อูฐ โค ลา ของตนแล้ว ก็ระลึกถึงมารดาบิดา พี่ชาย พี่สาว อูฐ โค ลา ของตนได้”
    “ข้อว่า สติเกิดด้วยนิมิตที่แปลกกันนั้น คืออย่างไร ? ”
    “ขอถวายพระพร คือเมื่อได้รู้ได้เห็น สี กลิ่น รส สัมผัส ของผู้ที่แปลกกัน หรือสิ่งที่แปลกกัน ก็ระลึกได้ถึงสิ่งนั้น ๆ บุคลลนั้น ๆ เช่น เห็นคนขาว ก็นึกได้ถึงคนดำเป็นตัวอย่าง
    “ข้อว่า สติเกิดขึ้นด้วยการรู้ยิ่งซึ่งกถานั้น คืออย่างไร ? ”
    “ขอถวายพระพร ได้แก่ผู้ขี้หลงขี้ลืมเวลาที่มีผู้อื่นตักเตือนก็นึกได้”
    “ข้อว่า สติเกิดด้วยลักษณะนั้น คืออย่างไร ? ”
    “คือเกิดขึ้นด้วยได้รู้เห็นลักษณะแห่งคนหรือสัตว์นั้น ๆ เช่น ได้เห็นโคของผู้อื่นที่มีลักษณะเหมือนโคของตัว ก็นึกถึงโคของตัวได้”
    “ข้อว่า สติเกิดด้วยการระลึกนั้น คืออย่างไร ? ”
    "คือคนขี้หลงขี้ลืมมีผู้เตือนให้ระลึกแล้วๆ เล่า ๆ ก็ระลึกได้" "ข้อว่า สติเกิดด้วยการหัดคืดนั้น คืออย่างไร ? "
    “คือผู้ได้เรียนหนังสือแล้วย่อมรู้ได้ว่าอักษรตัวนี้ควรไว้ในระหว่างอักษรตัวนี้ส่วนอักษรตัวนี้ควรติดกันกับอักษรตัวนี้”
    “ข้อว่า สติเกิดด้วยการนับนั้น คืออย่างไร ? ”
    “คือธรรมดาผู้นับย่อมระลึกถึงสิ่งต่าง ๆ ได้มาก เพราะเมื่อนับดูก็ย่อมนึกได้ถึงสิ่งนั้น ๆ”
    “ข้อว่า สติเกิดด้วยการจำนั้น คืออย่างไร ? ”
    "คือผู้จำดีก็นึกได้สิ่งต่าง ๆ ได้”
    “ข้อว่า สติเกิดด้วยการภาวนานั้น คืออย่างไร ? ”
    “คือผู้ได้อบรมปุพเพนิวาสานุสสติญาณย่อมระลึกชาติหนหลังได้”
    “ข้อว่า สติเกิดด้วยการจดไว้นั้น คืออย่างไร ? ”
    “คือเมื่อได้อ่านดูสิ่งที่ตนจดไว้ก็นึกได้”
    “ข้อว่า สติเกิดด้วยการเก็บไว้นั้น คืออย่างไร ? ”
    “คือได้เห็นขอที่ตนเก็บไว้แล้วจึงนึกได้”
    “ข้อว่า สติเกิดด้วยการเคยพบเห็นนั้น คืออย่างไง?”
    “คือระลึกได้ด้วยได้เคยพบเห็นมาก่อนอย่างนี้แหละ มหาบพิตร ชื่อว่า สติเกิดด้วยอาการ ๑๗ อย่างนี้”
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] “ถูกต้องดีแล้ว พระนาคเสน” [/FONT]
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> ปัญหาที่ ๒ </center> <center> ถามเรื่องทำบาปทำบุญ </center>

    พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า “ข้าแต่พระนาคเสน คำว่า
    ผู้ใดทำบาปกรรมตั้ง ๑๐๐ ปี แต่ว่าเวลาตายได้สติ นึกถึงพระพุทธเจ้าเพียงครั้งเดียว ก็ได้ไปเกิดในสวรรค์ ดังนี้ ข้อนี้โยมไม่เชื่อ
    อีกคำหนึ่งว่า ทำปาณาติบาตเพียงครั้งเดียว ก็ไปเกิดในนรกได้ ข้อนี้โยมก็ไม่เชื่อ”
    พระนาคเสนตอบว่า
    “ขอถวายพระพร ก้อนหินเล็ก ๆ ทิ่งลงไปในน้ำ จะลอยขึ้นบนน้ำได้ไหม ?”
    “ไม่ได้ พระผู้เป็นเจ้า”
    “ก้อนหินตั้ง ๑๐๐ เล่มเกวียน เขาขนลงบรรทุกเรือ เรือก็ลอยอยู่บนน้ำได้ไหม ?”
    “ได้พระผู้เป็นเจ้า”
    “ขอถวายพระพร บุญศลเปรียบเหมือนเรือ เพราะธรรมดาเรือของพวกพ่อค้า บุญกุศลเปรียบเหมือนเรือ เพราะธรรมดาเรือของพวกพ่อค้า มีภาระหนักหาประมาณมิได้ บรรทุกของหนักเกินไปก็จาลงในน้ำฉันใด
    คนทำบาปทีละน้อยๆ จนบาปมากขึ้นก็จมลงไปในนรกได้ฉันนั้น เพราะฉนั้นผู้ที่วิดน้ำเรือให้เรือเบา ก็จะข้ามฟากไปถึงท่า คือพระนิพพานได้ฉันั้น ขอถวายพระพร”
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] “ถูกดีแท้ พระผู้เป็นเจ้า” [/FONT]
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> ปัญหาที่ ๓ </center> <center> ถามเรื่องการ
    ดับทุกช์ใน ๓ กาล
    </center>

    พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า “ข้าพระนาคเสน พระผู้เป็นเจ้าพยายามละทุกข์ที่เป็นอดีตหรืออย่างไร ?”
    พระนาคเสนตอบว่า
    “หามิได้ ขอถวายพระพร”
    “ถ้าอย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้าพยายามละทุกข์อนาตคอย่างนั้นหรือ?”
    “หามิได้ ขอถวายพระพร”
    “ถ้ามิได้พยายามละทุกข์ที่เป็นอดีตอนาคต ปัจจุบันแล้ว พยายามเพื่ออะไร ?”
    “ขอถวายพระพร พยายามเพื่อให้ทุกข์ ที่มีอยู่ดับไป และเพื่อไม่ให้ทุกข์ใหม่เกิดขึ้น”
    “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ทุกข์อนาคตมีอยู่หรือ?”
    “มี มหาบพิตร”
    “ข้าแต่พระนาคเสน บุคคลเหล่าใดพยายามเพื่อละสิ่งที่ยังไม่มี บุคคลเหล่านั้นเป็นบัณฑิตเกินไปเสียแล้ว”

    <center>
    อุปมาป้องกันภัยจากข้าศึก
    </center> “ขอถวายพระพร มหาบพิตรเคยมีอริราชศัตรูหรือไม่?”
    “เคยมี พระผู้เป็นเจ้า”
    “ขอถวายพระพร เมื่อมีอริราชศัตรูที่จะมาจู่โจมบ้างเมืองเกิดขึ้น มหาบพิตรจึงโปรดให้ขุดคู สร้างกำแพง สร้างประตูเมือง สร้างป้อม ขนเสบียงอาหารเข้ามาไว้ในพระนครเวลานั้นหรือ?”
    “หามิได้ ต้องเตียมไว้ก่อน”
    “พระองค์ทรงฝึกหัดช้าง ม้า รถ ธนู ดาบ หอก เวลานั้นหรือ?”
    “หามิได้ ต้องฝึกหัดไว้ก่อน”
    “ขอถวายพระพร ที่ทำดังนั้นเพื่ออะไร?”
    “ทำไว้เพื่อป้องกันภัยอนาคตน่ะชิ”
    “ขอถวายพระพร ภัยอนาคตมีอยู่หรือ?”
    “มีอยู่ พระผู้เป็นเจ้า”
    “ขอถวายพระพร พวกใดตกแต่งบ้างเมืองไว้เพื่อละภัยอนาคต พวกนี้นก็เป็นบัณฑิตเกินไปน่ะชิ”
    “ขอนิมนต์อุปมาอีก”

    <center>
    อุปมาป้องกันความกระหายน้ำ
    </center> “ขอถวายพระพร เมื่อใดมหาบพิตรอยากเสวยน้ำ เมื่อนั้นมหาบพิตรจึงโปรดให้ขุดบ่อน้ำ ขุดสระโบกขรณี ขุดเหมือง ขุดบ่อ อย่างนั้นหรือ ?”
    “ไม่ใช่อย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้า สิ่งเหล่านั้นต้องทำไว้ต้องทำไว้ก่อนทั้งนั้น”
    “ขอถวายพระพร ทำไว้เพื่ออะไร?”
    ทำไว้เพื่อกระหายน้ำน่ะชิ”
    “ขอถวายพระพร ความกระหายน้ำอนาคตมีอยู่หรือ?”
    “มีอยู่ พระผู้เป็นเจ้า”
    “ขอถวายพระพร พวกที่ตระเตรียมการณ์ไว้เพื่อละความกระหายน้ำ อันไม่มีอยู่นั้นก็เป็นบัณฑิตเกินไปน่ะชิ”
    “อุปมาป้องกันความหิว”
    “ขอถวายพระพร เมื่อมหาบพิตรทรงหิวพระกระยาหาร จึงโปรดให้ไถนา หว่านข้าวปลูกข้าวอย่างนั้นหรือ?”
    “ไม่ใช่อย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้า ต้องให้ทำไว้ก่อนทั้งนั้น”
    “ขอถวายพระพร ทำไว้เพื่ออะไร ?”
    “ทำไว้เพื่อป้องกันความหิวอนาคตน่ะชิ”
    “ขอถวายพระพร ความหิวอนาคตมีอยู่หรือ?”
    “มีอยู่ พระผู้เป็นเจ้า”
    “ขอถวายพระพร มหาบพิตรที่โปรดให้ทำสิ่งนั้น ๆ ไว้ เพื่อป้องกันความหิวอันยังไม่มีอยู่ ก็เป็นบัณฑิตเกินไปน่ะชิ”
    “พระผู้เป็นเจ้ากล่าวสมควรแล้ว”

    <center>
    ข้อวินิจฉัย
    </center> ปัญหานี้สลับซับซ้อนในข้อที่ว่า ทำไมพระนาคเสนจึงปฎิเสธว่า มิได้พยายามละทุกข์ที่เป็น อดีต อนาคต และปัจจุบัน แต่ท่านรับว่า พยายามเพื่อให้ทุกข์ที่มีอยู่ดับไป และเพื่อไม่ให้ทุกข์ใหม่เกิดขั้น
    ปัญหาต่อไปพระเจ้ามิลินท์ถามว่า ทุกข์อนาคต (ที่ยังไม่มาถึง) มีอยู่หรือ ?” ต้นฉบับพิศดารกลับตอบว่า “มี” แต่ฉบับพิาดารกลับตอบว่า “ไม่มี” แล้วพระองค์ทรงตรัสเย้ยพระนาคเสนว่าฉลาดเกินไป ที่พยายามละสิ่งที่ยังไม่มีอยู่ในเวลานี้
    พระนาคเสนจึงย้อนกลับ โดยยกอุปมาภัยของข้าศึก และภัยจากความหิวในอนาคต ซึ่งจะต้องมีการเตรียมพร้อมไว้ก่อน
    จากการเปรียบเทียบพอจะวินิจฉัยได้ว่า “ภัยในอนาคต” ก็เหมือน “ทุกข์ในอนาคต” อันได้แก่ เจ็บ และตาย เป็นต้น ที่จะมีมาในอนาคต จึงเป็นไปได้ว่า “ความทุกข์ในอนาคต”น่าจะมีอยู่
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] อีกทั้งหลักฐานจากคำบาลี พระนาคเสนถามว่า “อัตถิ ปน มหาราช อนาราช อนาคตภยัง” แปลว่า “ภัยอนาคตมีอยู่หรือไม่?” พระเจ้ามิลินท์ตรัสตอบว่า “อัตถิ ภันเต” ซึ่งหมายความว่า “มี” ดังนี้ [/FONT]
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> ตอนที่ ๑๑ </center> <center> ปัญหาที่ ๔ </center> <center> ถามเรื่อง
    ความไกลแห่งพรหมโลก
    </center>
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]
    “ข้าแต่พระนาคเสน พรหมโลกไกลจากโลกนี้เท่าไร ?”
    [/FONT] “ขอถวายพระพร พรหมโลกไกลจากโลกนี้มาก ถ้ามีผู้ทิ้งก้อนศิลาโตเท่าปราสาทลงมาจากพรหมโลก ก้อนศิลานั้นจะตกลงมาได้วันละ ๔๘,๐๐๐ โยชน์ ต้องตกลงมาถึง ๔ เดือน จึงจะถึงพื้นดิน”
    “ข้าแต่พระนาคเสน มีคนกล่าวว่า ภิกษุผู้มีฤทธิ์ ผู้มีอำนาจทางจิต หายวับจากชมพูทวีปนี้ ขึ้นไปปรากฎในพรหมโลกได้เร็วพลัน เหมือนกันกับบุรุษผู้มีกำลังคู้แขนเหยียดแขนฉะนั้นดังนี้ โยมไม่เชื่อ เพราะถึงเร็วอย่างนั้น ก็จักไปได้เพียงหลายร้อยโยชน์เท่านั้น”
    “ขอถวายพระพร ชาติภูมิ (ถิ่นกำเนิด)ของมหาบพิตรอยู่ที่ไหน?”
    “อยู่ที่เกสะอลสัณฑะ พระผู้เป็นเจ้า”
    “ขอถวายพระพร เกาะอลสัณฑะไกลจากที่นี้สักเท่าไร ?”
    “ไกลประมาณ ๒๐๐ โยชน์”
    ขอถวายพระพร มหาบพิตรเคยกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดไว้ที่นั้น แล้วเคยนึกถถึงมีอยู่หรือ ?”
    “มีอยู่ พระผู้เป็นเจ้า”
    “ขอถวายพระพร มหาบพิตรนึกไปถึงที่ไกลประมาณ ๒๐๐ โยชน์ ได้โดยเร็วพลันไม่ไช่หรือ ?”
    “ถูกแล้ว พระผู้เป็นเจ้า”

    <center>
    อธิบาย
    </center> ในอรรถกถาสังยุตตนิกาย ท่านกล่าวไว้ว่า ก้อนหินขนาดใหญ่ถูกทิ้งใหตกลงมาจากพรหมโลกชั้นต่ำ ก้อนศิลานั้นตกลงมาวันคืนละหนึ่ง เป็นระยะ ๔๘,๐๐๐ โยชน์ จึงจะถึงพื้นดินเป็นเวลา ๔ เดือน
    เพราะเหตุนั้น ระยะทางระหว่างพรหมโลกชั้น พรหมปาริสัชชา ถึงพื้นดิน บัณฑิตผู้ทราบนัย พึงทราบว่าเป็น ๕๗๖๐,๐๐๐ โยชน์ดังนี้  

    <center> ปัญหาที่ ๕ </center> <center> ถามถึงความไปเกิด
    ในพรหมโลกและเมืองกัสมิระ
    </center> ข้าแต่พระนาคเสน ถ้ามีคน ๒ คนตายจากที่นี้แล้วไปเกิดในที่ต่างกัน คือคนหนึ่งขึ้นไปเกิดในพรหมโลก อีกคนหนึ่งไปเกิดในเมืองกัสมิระ คนสองคนนี้ คนไหนจะไปช้าไปเร็วกล่ากัน ?”
    “ขอถวายพระพร เท่ากัน”
    “ขอนิมนต์อุปมาด้วย”
    ขอถวายพระพร ชาติภูมิของมหาบพิตรอยู่ที่ไหน ?”
    “อยู่ที่กาลสิรคาม”
    “ขอถวายพระพร กาลสิรคามอยู่ไกลจากที่นี้สักเท่าไร?”
    “ประมาณ ๒๐๐ โยชน์ พระผู้เป็นเจ้า”
    “เมืองกัสมิระไกลจากที่นี้สักเท่าไร ?”
    “เชิญมหาบพิตรจึกถึงกาลสิรความดูชิ”
    “โยมนึกแล้ว พระผู้เป็นเจ้า”
    “เชิญมหาบพิตรนึกถึงเมืองกักสมิระดูชิ”
    “โยมนึกแล้ว พระผู้เป็นเจ้า”
    “ขอถวายพระพร ทางไหนนึกถึงช้าเร็วกว่ากันอย่างไร ?”
    “เท่ากัน พระผู้เป็นเจ้า”
    “ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือผู้ที่ขึ้นไปเกิดในพรหมโลก กับผู้ที่ไปเกิดในเมืองกัสมิระ เร็วเท่ากัน ไปถึงพร้อมกัน”
    “ขอนิมนต์อุปมาอีก”

    <center>
    อุปมาด้วยเงาของนก
    </center> “ขอถวายพระพร ถ้ามีนก ๒ ตัว บินมาจับต้นไม้พร้อมกัน ตัวหนึ่งจับต่ำ ตัวหนึ่งจับสูง เงาของนกตัวไหนจะถึงพื้นดินก่อนกัน”
    “ถึงพร้อมกัน พระผู้เป็นเจ้า”
    ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร”
    “ขอนิมนต์อุปมาอีก”

    <center>
    อุปมาด้วยการแลดู
    </center> “ขอถวายพระพร ขอได้โปรดแลดูอาตมา”
    “โยมแลดูแล้ว”
    “ขอได้โปรดแหงนดู ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์”
    “โยมแหงนดูแล้ว”
    “ขอถวายพระพร มหาบพิตรแลดูอาตมากับแลดูดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ อันไกลถึง ๔๒,๐๐๐ โยชน์ ข้างไหนจะเร็วช้ากว่ากัน?”
    “เท่ากัน พระผู้เป็นเจ้า”
    “ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือผู้ที่ขึ้นไปเกิดในพรหมโลก กับผู้ที่ไปเกิดในเมืองกัสมิระ ไปถึงพร้อมกัน”
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] “แก้เก่งมาก พระนาคเสน” [/FONT]
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> ปัญหาที่ ๖ </center> <center> ถามถึงวรรณะสีณฐาน </center>
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]
    ของผู้ไปเกิดในโลกอื่น
    [/FONT] พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามอีกว่า
    “ข้าแต่พระนาคเสน โยมจักถามถึงเหตุอันยิ่งขึ้นไป คือผู้ไปสู่โลกอื่น ไปด้วยสีเขียว แดง เหลือง ขาว แสด เลื่อม อย่างไร .. หรือไปด้วยเพศช้าง ม้า รถ อย่างไร ?”
    “ขอถวายพระพร ข้อนี้พระพุทธเจ้ามิได้ทรงบัญญัติไว้ในพระไตรปิฎกพุทธวจนะ”
    พระเจ้ามิลินท์ตรัสต่อไปว่า
    “ข้าแต่พระนาคเสน ถ้าพระสมณโคดมไม่บัญญัติไว้ว่า ผู้ไปเกิดในโลกอื่น ในระหว่างทางนั้นต้องมีสีเขียว หรือสีเหลือง แดง ขาว แสด เลื่อม อย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว จะว่าพระสมณโคดมทรงรู้จักทุกสิ่งได้หรือ...
    คำของ คุณาชีวก ผู้เป็นอาจารย์ใหญ่กล่าวไว้ว่า ผู้ไปสู่โลกอื่นไม่มี ก็ต้องเป็นของจริง ผู้ใดกล่าวว่า โลกนี้ไม่มี โลกอื่นไม่มี ผู้ไปเกิดในโลกอื่นไม่มี ผู้นั้นก็ได้ชื่อว่ากล่าวถูก ได้ชื่อว่าเป็นบัณฑิต”
    พระนาคเสนตอบว่า
    “ขอถวายพระพร ขอมหาบพิตรจงตั้งพระทัยฟังถ้อยคำของอาตมภาพ”
    “โยมตั้งใจฟังอยู่แล้ว”
    “ขอถวายพระพร ถ้อยคำของอาตมภาพที่พ้นออกไปจากปาก ไปถึงพระกรรณของมหาบพิตรนั้น ในระหว่างที่ยังไปไม่ถึงนั้น เสียงของอาตมภาพมีสีอย่างไร มีทรวดทรงอย่างไร ?”
    “เห็นไม่ได้ พระผู้เป็นเจ้า”
    “ขอถวายพระพร ถ้ามหาบพิตรว่าเห็นไม่ได้ เสียงของอาตมภาพก็ไม่ไปถึงพระกรรณของมหาบพิตร มหาบพิตรก็ตรัสคำเหลาะแหละน่ะชิ”
    “โยมไม่ได้พูดเหลาะแหละ ถึงถ้อยคำของพระผู้เป็นเจ้าไม่ปรากฎสีเขียว หรือสีเหลืองในระหว่างทางก็จริง แต่ถ้อยคำของพระผู้เป็นเจ้าก็มาถึงโยมจริง”
    “ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร ถึงผู้ไปเกิดในโลกอื่นนั้น จะไม่ปรากฏสีเขียวหรือสีเหลืองในระหว่างทางก็จริง แต่ผู้ไปเกิดในโลกอื่นนั้ก็มีอยู่เหมือนกับถ้อยคำของอาตมา”
    “น่าอัศจรรย์ พระนาคเสน ขอพระผู้เป็นเจ้าจงเสวยราชสมบัติใหญ่ในชมพูทวีปทั้งสิ้นนี้เถิด เพราะขันธ์ ๕ นี้ไม่ได้ไปสู่โลกอื่น ขันธ์ ๕ ไม่มีอะไรตกแต่ง เกิดขึ้นเอง สงสารก็ไม่มี”

    <center>
    อุปมาด้วยการทำนา
    </center> “ขอถวายพระพร มหาบพิตรเคยโปรดให้ทำนาหรือไม่?”
    “อ๋อ ...เคยให้ทำ”
    “ขอถวายพระพร ข้าวสาลีที่ปลูกลงในพื้นดินย่อมมีรวงงอกขึ้น เมื่อรวงข้าวสาลีงอกขึ้น จะว่างอกขึ้นเองหรืออย่างไร ?”
    “ข้าแต่พระนาคเสน ข้าวสาลีที่ปลูกลงในพื้นดินย่อมมีรวงงอกขึ้น จะว่างอกขึ้นเอง ไม่มีผู้ใดกระทำไม่ได้”
    “ขอถวายพระพร ถ้าข้าวสาลีที่ปลูกลงในพื้นดิน ยังไม่มีรวงงอกขึ้น เมื่อรวงยังไม่งอกขึ้น จะว่าไม่มีผู้ปลูก จะว่าข้าวสาลีไม่มีจะได้หรือไม่ ?”
    “ไม่ได้ พระผู้เป็นเจ้า”
    ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร ถ้าขันธ์ ๕ นี้ไปเกิดเอง คนตาบออดก็ไปเกิดเป็นคนใบ้อีก บุญก็ไม่มีประโยชน์อันใด ถ้าขันธ์ ๕ ไม่มีสิ่งใดตกแต่ง เป็นของเกิดขึ้นเอง ขันธ์ ๕ ก็จะต้องไปนรกด้วยอกุศลกรรม”
    “ขอนิมนต์อุปมาให้ยิ่งขึ้น”

    <center>
    อุปมาด้วยการจุดประทีป
    </center> “ขอถวายพระพร เหมือนอย่างมีผู้เอาประทีปมาจุดต่อกัน เปลวประทีปดวงประทีปดวงเก่า ก้าวไปสู่ประทีปดวงใหม่หรืออย่างไร ประทีปทั้งสองนั้น มีขึ้นเองไม่มีผู้กระทำอย่างนั้นหรือ ?”
    “ไม่ใช่อย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้า”
    “ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร ขันธ์ ๕ นี้ไม่ได้ไปสู่โลกอื่น ขันธ์ ๕ นี้ไม่ใช่เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสิ่งใดทำให้เกิดขึ้น”
    “ข้าแต่พระนาคเสน เวทนาขันธ์ ไปสู่โลกอื่นหรือ ?”
    “ขอถวายพระพร ถ้าเวทนาขันธ์ไปสู่โลกอื่น ผู้ที่ไปเกิดในโลกอื่น ก็คือเวทนาขันธ์อย่างนั้นชิ ?”
    “ไม่ใช่อย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้า”
    “ขอถวายพระพร เพราะเหตุนั้นแหละ มหาบพิตรจงเข้าพระทัยเถิดว่า เวทนาขันธ์ในอัตภาพนี้ไม่ได้ไปสู่โลกอื่น”
    “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า สัญญาขันธ์ ไปสู่โลกอื่นหรือ ?”
    ขอถวายพระพร ถ้าสัญญาขันธ์ไปสู่โลกอื่น ผู้มีมือด้วนเท้าด้วนในอัตภาพนี้ ไปสู่โลกอื่นแล้ว ก็ต้องมีมือด้วนเท้าด้วนอีกหรืออย่างไร?”
    “ไม่ใช่อย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้า”
    “เพราะเหตุนั้นแหละ มหาบพิตรจงเข้าพระทัยเถิดว่า สัญญาขันธ์ในอัตภาพนี้ ไม่ได้ไปสู่โลกอื่น”
    “ขอนิมนต์อุปมาให้ยิ่งขึ้นไปอีก”

    <center>
    อุปมาด้วยกระจก
    </center> “ขอถวายพระพร มหาบพิตรมีกระจกส่องพระพักตร์หรือไม่”
    “มี พระผู้เป็นเจ้า”
    “ขอถวายพระพร มหาบพิตรจงทรงหยิบเอากระจกมาวางไว้ตรงพระพักตร์มหาบพิตร”
    “โยมหยิบมาตั้งไว้แล้ว”
    “ขอถวายพระพร ดวงพระเนตร พระกรรณ พระนาสิก พระทนต์ ของมหาบพิตรปรากฏอยู่ในกระจกนี้เอง หรือว่ามหาบพิตรทรงกระทำให้ปรากฎ ?”
    “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ดวงตา จมุก ฟัน ของโยมปรากฎอยู่ในวงกระจกนี้ ด้วยโยมกระทำขึ้น”
    “ขอถวายพระพร ถ้าอย่างนั้นเป็นอันว่า มหาบพิตรได้ควักเอาพระเนตร ตัดเอาพระกรรณ พระนาสิก และถอนเอาพระมนต์ขอมหาบพิตร เข้าไว้ในกระจกแล้ว มหาบพิตรก็เป็นคนตาบอด ไม่มีพระนาสิกและพระทนต์อย่างนั้นชิ ?”
    “ไม่ใช่อย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้า เงาปรากฎในกระจก เพราะอาศัยโยมกระทำขึ้น ไม่ใช่ว่าเพราะโยมไม่ได้กระทำขึ้น”
    “ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร ไม่ใช่ว่าขันธ์ ๕ นี้ไปโลกอื่น ทั้งไม่ใช่ว่าขันธ์ ๕ ไม่มีสิ่งกระทำ เป็นของเกิดขึ้นเอง
    สัตว์ถือกำเนิดในครรภ์มารดาด้วยกุศลกรรม
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> ปัญหาที่ ๗ </center> <center> ถามเรื่องถือ
    กำเนิดในครรภ์มารดา
    </center>
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]
    ข้าแต่พระนาคเสน เมื่อสัตว์จะเข้าถือกำเนิดในท้องมารดา เข้าไปทางทวารไหน ?”
    [/FONT] “ขอถวายพระพร ไม่ปรากฎว่าเข้าไปทางทวารไหน”
    “ขอนิมนต์อุปมาด้วย”
    “ขอถวายพระพร หีบแก้วของมหาบพิตรมีอยู่หรือ?”
    “มีอยู่ พระผู้เป็นเจ้า”
    “ขอถวายพระพร ขอจงนึกเข้าไปในหีบแก้วดูชิ”
    “โยมนึกเข้าไปแล้ว”
    “ขอถวายพระพร จิตของโยมไม่ปรากฎว่านึกว่าเข้าไปทางไหน”
    “ข้าแต่พระนาคเสน จิตของโยมไม่ปรากฏว่านึกเข้าไปทางไหน”
    “ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร สัตว์ที่เข้าไปถือกำเนิดในท้องมารดา ก็ไม่ปรากฎว่าเข้าไปทางไหนฉะนั้น”


    “ข้าแต่พระนาคเสน การที่พระผู้เป็นเจ้าแก้ปัญหาปฎิภาณอันวิจิตรยิ่งนี้ได้เป็นอัศจรรย์นักหนา ถ้าพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่คงจะประทานอนุโมทนาสาธุการเป็นแน่แท้”

    <center> ปัญหาที่ ๘ </center> <center> ถามเรื่องโพชณงค์ ๗ </center> “ข้าแต่พระนาคเสน โพชณงค์ มีเท่าไร ?”
    “ขอถวายพระพร มี ๗ ประการ”
    “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า บุคลลตรัสรู้ด้วยโพชณงค์เท่าไร?”
    “ขอถวายพระพร บุคคลตรัสรู้ด้วยโพชณงค์ข้อเดียว”
    “คือข้อไหน พระผู้เป็นเจ้า ?”
    “ขอถวายพระพร คือข้อ ธัมมวิจยสัมโพชณงค์” (ใคร่ครวญธรรมะ)
    “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ถ้าอย่างนั้น พระพุทธองค์ทรงโพชณงค์ ๗ ไว้ทำไม ?”
    “ขอถวายพระพร พระองค์จะเข้าพระทัยความข้อนี้อย่างไร...คือดาบที่บุคคลสวมไว้ในฝัก บุคลไม่ได้ชักออกจากฝัก อาจตัดสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ขาดได้หรือ?”
    “ไม่ได้ พระผู้เป็นเจ้า”
    “ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือ บุคคลปราศจาก ธัมมวิจยสัมโพชณงค์ แล้วตรัสรู้ด้วยโพชณงค์ ๖ ไม่ได้”
    “ถูกแล้ว พระนาคเสน”

    <center>
    อธิบาย
    </center> โพชณงค์ คือองค์เป็นเครื่องตรัสรู้มี ๗ ประการ ดังนี้
    ๑ สติ ระลึกนึกไว้เสมอ
    ๒ ธัมมวิจยะ ใคร่ครวญธรรมะที่เราจะปฎิบัติ
    ๓ วิริยะ มีความเพียรต่อสู้กับอุปสรรค
    ๔ ปีติ สร้างความอิ่มเอิบใจให้ปรากฎกับจิต
    ๕ ปัสสัทธิ ความสงบ คือสงบจากนิวรณ์ หรือสงบจากกิเลส
    ๖ สมาธิ มีความตั้งใจมั่น
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] ๗ อุเบกขา ทรงอารมณ์เดียวเข้าไว้ไม่ยอมรับทราบอารมณ์อื่นเข้ามาสนใจ [/FONT]
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> ปัญหาที่ ๙ </center> <center> ถามถึงความมาก
    กว่ากันแห่งปาบและบุญ
    </center>

    “ข้าแต่พระนาคเสน บุญและปาบข้างไหนมากกว่ากัน”
    “ขอถวายพระพร บุญมากกว่าบาป บาปน้อยกว่า”
    “ข้าแต่พระผู้ป็นเจ้า ทำไมจึงว่าบุญมากกว่า บาปน้อยกว่า ?”
    “ขอถวายพระพร บุคคลทำบาปแล้ว ย่อมร้อนใจในภายหลังว่า เราได้ทำบาปไว้แล้วเพราะเหตุนั้นบาปก็ไม่ได้มากขึ้น
    ส่วนบุญเมื่อบุคคลทำเข้าแล้วไม่เดือดร้อนในภายหลัง มีแต่ปราโมทย์ ปีติ ใจสงบมีความสุข จิตเป็นสมาธิ
    เพราะฉะนั้น บุญจึงมากขึ้น ดังมีบรุษผู้มีมือมีเท้าขาดแล้ว ได้บูชาพระด้วยดอกบัวเพียงกำเดียว ก็จักได้เสวยผลถึง ๙๑ กัป ด้วยเหตุนี้แหละ จึงว่าบุญมากกว่า ขอถวายพระพร”
    “ชอบแล้ว พระผู้เป็นเจ้า”

    <center> ปัญหาที่ ๑๐ </center> <center> ถามถึงการทำบาปแห่งผู้ไม่รู้ </center> “ข้าแต่พระนาคเสน สมมุติว่าทีคน ๒ คน คนหนึ่งรู้จักบาป อีกคนหนึ่งไม่รู้จัก แต่กระทำบาปด้วยกันทั้งสองคน ข้างไหนจะได้บาปมากว่ากัน ?”
    “ขอถวายพระพร ข้างไม่รู้จักได้บาปมากกว่า”
    “ข้าแต่พระนาคเสน ราชบุตรของโยมหรือราชมหาอำมาต์คนใดรู้ แต่ทำผิดลงไปโยมลงโทษแก่ผู้นั้นเป็นทวีคูณ”
    “ขอถวายพระพร มหาบพิตรจะเข้าพระทัยความข้อนี้อย่างไร ..คือสมมุติว่ามีคน ๒ คน จับก้อนเหล็กแดงเหมือนกัน คนหนึ่งรู้ว่าเป็นก้อนเหล็กแดง อีกคน หนึ่งไม่รู้ คนไหนจะจับแรงกว่ากัน ?”
    “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า คนไม่รู้จับแรงกว่า”
    “ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือผู้ไม่รู้บาปได้บาปมากกว่า”
    “ชอบแล้ว พระนาคเสน”

    <center> ปัญหาที่ ๑๑ </center> <center> ถามถึงผู้ที่ไป
    อุตตรกุทวีปและสวรรค์
    </center> “ข้าแต่พระนาคเสน ผู้ไปสู่อุตตกุรทวีปหรือพรหมโลก หรือไปทวีปอื่นด้วยกายนี้มีอยู่หรือ ?”
    “ขอถวายพระพร มีอยู่”
    “ข้อนี้คืออย่างไร พระผู้เป็นเจ้า ?”
    “ขอถวายพระพร มหาบพิตรกระโดดที่แผ่นดินนี้ได้คืบหรือศอก?”
    “อ๋อ..โยมเคยกระโดดได้ ๘ ศอก”
    “พอโยมคิดว่าจะกระโดด กายของโยมก็เบา โยมจึงกระโดดได้ถึง ๘ ศอก”
    “ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือภิกษุผู้มีฤืธิ์ มีอำนาจทางจิตภาวนา อธิษฐานจิตแล้ว ก็เหาะไปสู่เวหาสได้”
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] “ถูกแล้ว พระนาคเสน” [/FONT]
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> ปัญหาที่ ๑๒ </center> <center> ถามเรื่องกระดูกยาว </center>

    ข้าแต่พระนาคเสน มีคำกล่าวว่า มีกระดูกยาวตั้ง ๑๐๐ โยชน์ โยมไม่เชื่อ เพราะต้นไม่ที่สูงตั้ง ๑๐๐ โยชน์ ก็ยังไม่มีกระดูกที่ไหนจักยาวตั้ง ๑๐๐ โยชน์
    “ขอถวายพระพร มหาบพิตรเคยได้ทรงสดับหรือไม่ว่า ปลาในมหาสมุทรตัวยาวตั้ง ๕๐๐ โยชน์มีอยู่ ?”
    “เคยฟัง พระผู้เป็นเจ้า”
    “ถ้าอย่างนั้น กระดูกของปลาที่มีตัวยาวตั้ง ๕๐๐ โยชน์ จักยาวตั้ง ๑๐๐ โยชน์มิใช่หรือ ?”
    “ใช่แล้ว พระผู้เป็นเจ้า”

    <center> ปัญหาที่ ๑๓ </center> <center> ถามเรื่องเกี่ยวกับลมหายใจ </center> “ข้าแต่พระนาคเสน บุคคลอาจทำลมหายใจให้ดับได้หรือ ?”
    “ขอถวายพระพร ได้”
    “ได้อย่างไร พระผู้เป็นเจ้า ?”
    “ขอถวายพระพร มหาบพิตรเคยได้ยินเสียงคนนอนกรนบ้างหรือ?”
    “อ๋อ...เคยชิ พระผู้เป็นเจ้า”
    “ขอถวายพระพร เวลาเขาพลิกกายเสียงกรนเงียบไปไหม ?”
    “เงียบไป พระผู้เป็นเจ้า”
    “ขอถวายพระพร เสียงกรนนั้นเป็นเสียงของผู้ไม่ได้อบรมกาย ไม่ได้อบรมศีล ไม่ได้อบรมจิต แต่เมื่อพลิกตัวก็ยังหายไป ส่วนลมหายใจของผู้ได้รับอบรมกาย อบรมศีล อบรมจิต เข้าจตุตถณาน จะไม่ดับหรือ...มหาบพิตร ?”
    “ชอบแล้ว พระนาคเสน”

    <center>
    อธิบาย
    </center> คำว่า “จตุตถณาน” ได้แก่ ณาน ๔ ที่มีลักษณะดับความรู้สึกจากลมหายใจในขณะนั้น
    ซึ่งเป็นอาการทั่วไปของผู้ที่เข้าณาน ๔
    มิใช่ว่าลมหายใจจะดับสิ้นไป ดังนี้

    <center> ปัญหาที่ ๑๔ </center> <center> ถามว่าอะไรเป็นสมุทร </center> “ข้าแต่พระนาคเสน มีคำกล่าวกันอยู่ว่า “สมุทร ๆ” น้ำหรือชื่อว่าสมุทร ?”
    “ขอถวายพระพร น้ำเค็มมีอยู่ในที่เท่าใดที่เท่านั้นแหละ เรียกว่าสมุทร”
    “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า เหตุใดสมุทรจึงมีรสเดียว คือรสเค็ม”
    “ขอถวายพระพร เพราะมีน้ำขังอยู่นานจึงเค็ม”
    “สมควรแล้ว พระนาคเสน”

    <center> ปัญหาที่ ๑๕ </center> <center> ถามเรื่องการตัดสิ่งที่สุขุม </center> “ข้าแต่พระนาคเสน บุคคลอาจตัดสิ่งที่สุขุมกว่าสิ่งทั้งหลายได้หรือ ?”
    “ขอถวายพระพร ได้”
    “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า อะไรชื่อว่าเป็นสิ่งสุขุมกว่าสิ่งทั้งหลาย”
    “ขอถวายพระพร พระธรรม ชื่อว่าสุขุมกว่าสิ่งทั้งหลาย แต่ธรรมะไม่ใช่สุขุมไปทั้งหมด คือสุขุมก็มี หยาบก็มี แต่ว่าสิ่งที่ควรตัดด้วยปัญญามีอย่างเดียว คือ ธรรมะ นอกจากนั้นไม่มี”
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] “ชอบแล้ว พระนาคเสน” [/FONT]
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> ปัญหาที่ ๑๖ </center> <center> ถามความวิเศษแห่งปัญญา </center>

    “ข้าแต่พระนาคเสน ปัญญา อยู่ที่ไหน ?”
    “ขอถวายพระพร ปัญญาก็ไม่ได้อยู่ที่ไหน”
    “ถ้าอย่างนั้น ปัญญาไม่มีน่ะชิ”
    “ขอถวายพระพร ลมอยู่ที่ไหน ?”
    “ลมไม่ได้อยู่ที่ไหน”
    “ถ้าอย่างนั้น ลมก็ไม่มีน่ะชิ”
    “ถูกแล้ว พระนาคเสน”

    <center> ปัญหาที่ ๑๗ </center> <center> ถามความต่างกัน
    แห่งวิญญาณเป็นต้น
    </center> “ข้าพระนาคเสน ปัญญา วิญญาณ ชีพในภูต เหล่านี้ มีอรรถะพยัญชนะต่างกันหรือว่ามีอรรถะอย่างเดียวกัน มีพยัญชนะต่างกัน ?”
    “ขอถวายพระพร วิญญาณ มีการ รู้สึก เป็นลักษณะ ปัญญา มีการ รู้ทั่ว เป็นลักษณะ ชีพในภูต คือผู้ที่เกิดแล้วไม่มี”
    “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ถ้าไม่มีชีพเป็นตัวเป็นตน ก็ใครเล่าเห็นรูปด้วยตา ได้ฟังเสียงด้วยหู สูดกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น สัมผัสด้วยกาย รู้จักอารมณ์ด้วยใจ?”
    “ขอถวายพระพร ถ้าชีพเห็นรูปด้วยตาตลอดถึงรู้จักมารมณ์ด้วยใจแล้ว เมื่อเปิดตาขึ้น ชีพนั้นก็ต้องมีหน้าไปข้างนอก ต้องได้เห็นนรูปดาวได้ดี เมื่อเปิดหู จมูก ลิ้น กาย ใจ ชีพนั้นก็ต้องหันหน้าไปภายนอก รู้จักอารมณ์ได้ดีอย่างนั้นหรือ?”
    “ไม่ใช่อย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้า”
    “ขอถวายพระพร ถ้าอย่างนั้น ชีพก็ไม่มีในภูต”
    “ชอบแล้ว พระนาคเสน”

    <center>
    อธิบาย
    </center> คำว่า “อรรถะ” คือแปลมีความหมาย ส่วน “พยัญชนะ” คือแปลตามศัพท์ หรือที่เรียกกันว่า “แปลยกศัพท์” นั้นเอง

    <center> ปัญหาที่ ๑๘ </center> <center> ถามถึงเรื่องสิ่งที่
    ทำได้ยากของพระพุทธเจ้า
    </center> “ข้าแต่พระนาคเสน สิ่งที่ทำได้ยากที่พระพุทธเจ้าได้ทรงกระทำนั้น ได้แก่อะไร ?”
    “ขอถวายพระพร พระพุทธเจ้าได้ทรงกระทำสิ่งที่ได้ยาก ได้แก่การทรงแสดงซึ่งธรรมอันไม่มีรูปร่าง อันมีอยู่ในจิต เจตสิก อันเป็นไปในอารมณ์อันเดียวเหล่านี้ได้ว่า อันเป็นผัสสะ อันนี้เป็นเวทนา อันนี้เป็นสัญญา อันนี้เป็นเจตนา อันนี้เป็นจิต”
    “ขอนิมนต์อุปมาด้วย”
    “ขอถวายพระพร เปรียบเหมือนกับบุรุษคนหนึ่งลงเรือไปที่มหาสมุทร วักน้ำขึ้นมาวางไว้ที่ลิ้น ก็รู้ว่านี้เป็นน้ำคงคา นี้เป็นน้ำยมนา นี้เป็นน้ำสรภู นี้เป็นน้ำอจิรวดี นี้เป็นน้ำมหิ ดังนี้ได้ เป็นของง่ายหรือยากล่ะ?”
    “เป็นของยาก พระผู้เป็นเจ้า”
    “ขอถวายพระพร การที่พระพุทธเจ้าทรงบอกสิ่งที่ไม่มีรูปร่าง ที่มีในจิตใจ ที่เป็นอารมณ์อันเดียวกันว่า นี้เป็นผัสสะ นี้เป็นเวทนา นี้เป็นสัญญา นี้เป็นเจตนา นี้เป็นจิต ดังนี้ยิ่งยากกว่านั้น”
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] “ถูกแล้ว พระผู้เป็นเจ้า [/FONT]
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> ปัญหาที่ ๑๙ </center> <center> พระเจ้ามิลินท์ทรง
    เลื่อมใสได้ปวารณาพระนาคเสน
    </center>
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]
    พระนาคเสนถวายพระพรว่า
    [/FONT] “มหาบพิตรทรงทราบว่า เวลานี้เป็นเวลาอะไรแล้ว ?”
    “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า โยมทราบว่าเวลานี้เป็นเวลามัชฌิยามแล้ว เพราะคบเพลิงสว่างไสว”
    ขณะนั้นพวกเจ้าพนักงานก็นำผ้า ๕ พบมาถวาย ข้าราชการโยนกทั้งหลายก็ทูลขึ้นว่า
    “พระภิกษุองค์นี้ฉลาดมาก เป็นบัณฑิตแท้ พระเจ้าข้า”
    พระเจ้ามิลินท์ตรัสตอบว่า
    “ถูกแล้ว...เธอทั้งหลาย ถ้ามีอาจารย์อย่างนี้ มีศิษย์อย่างนี้ ไม่ช้าก็ต้องรู้ธรรมะได้ดี”
    พระเจ้ามิลินท์ทรงยินดีด้วยการแก้ปัญหาของพระนาคเสน จึงถวายผ้ากัมพลราคาแสนตำลึงแก่พระนาคเสนแล้วตรัสว่า
    “ข้าแต่พระนาคเสน จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป โยมจะให้จัดอาหารไว้วันละ ๑๐๘ สะหรับ สิ่งใดที่สมควรอันมีในพระราชวังนี้ โยมขอปวารณาพระผู้เป็นเจ้าทั้งนั้น”
    “อย่าเลย มหาบพิตร อาตมาภาพพอมีชีวิตอยู่ได้ก็แล้วกัน”
    พระเจ้ามิลินท์ตรัสต่อไปว่า
    “ข้าแต่พระนาคเสน โยมรู้ว่าพระผู้เป็นเจ้าพอมีชีวิตอยู่ได้ ก็แต่ว่าขออพระผู้เป็นเจ้าจงรักษาตัวของพระผู้เป็นเจ้า และรักษาตัวของโยมไว้
    ข้อที่ว่า ขอให้พระผู้เป็นเจ้ารักษาตัวพระผู้เป็นเจ้าไว้นั้น คืออย่าให้มีผู้ติเตียนได้ว่า พระนาคเสนทำให้พระเจ้ามิลินท์ทรงเลื่อมใสแล้ว ก็ไม่ได้อะไร
    ข้อที่ว่า ขอให้รักษาตัวโยมไว้นั้น คืออย่างไร...คืออย่าให้มีผู้กล่าวได้ว่า พระเจ้ามิลินท์ทรงเลื่อมใสแล้ว ไม่ได้ทรงแสดงอาการเลื่อมใสแต่อย่างใด”
    พระเถระจึงตอบว่า
    “แล้วแต่พระราชประสงค์”
    “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า พญาราชสีห์อันบุคคลขังไว้ในกรงทองย่อมหันหน้าไปภายนอกฉันใด ถึงโยมจะอยู่ครองบ้านครองเมือง ก็หันหน้าไปภายนอกฉันนั้น ถ้าโยมออกไปบรรพชา ก็จะมีชีวิตอยู่ไม่นาน เพราะศัตรูโยมมีมาก

    <center>
    แสดงความชื่นชมต่อกัน
    </center> ครั้นพระนาคเสนเถระแก้ปัญหาพระเจ้ามิลินท์เสร็จแล้ว จึงกลับไปสู่สังฆาราม เมื่อพระนาคเสนกลับไปแล้วไม่ช้า พระเจ้ามิลินท์ก็ทรงคิดดูว่า
    เราได้ถามเป็นอย่างไร พระผู้เป็นเจ้าแก้เป็นอย่างไร จึงทรงนึกได้ว่า สิ่งทั้งปวงเราได้ถามดีแล้ว พระผู้เป็นเจ้าก็ได้แก้ดีแล้ว
    ฝ่ายพระนาคเสนก็นึกอย่างเดียวกันกับพระเจ้ามิลินท์ เช้าขึ้นจึงได้ครองจีวรสะพายบาตรเข้าไปที่พระราชนิเวศน์ แล้วนั่งลงบนอาสนะ
    พระเจ้ามิลินท์กราบไหว้แล้ว จึงตรัสขึ้นว่า
    “ข้าแต่พระนาคเสน ขอพระผู้เป็นเจ้าอย่าคิดว่า โยมได้ถามปัญหาพระนาคเสนแล้ว พระผู้เป็นเจ้าย่อมให้ราตรีที่ยังเหลืออยู่ สิ้นไปด้วยความยินดีนั้น ขออย่าเห็นอย่างนี้
    โยมได้นึกตลอดราตรีว่า การถามของเราเป็นอย่างไร ก็นึกได้ว่า การแก้ของพระผู้เป็นเจ้าเป็นอย่างไร ก็นึกได้ว่า เราถามดีแล้ว พระผู้เป็นเจ้าแก้ดีแล้ว
    พระเถระก็ตอบว่า
    “ขอถวายพระพร ขอมหาบพิตรอย่าคิดว่า อาตมาภาพได้แก้ปัญหาของพระเจ้ามิลินท์แล้ว มหาบพิตรย่อมทรงบรรทมหลับตลอดราตรีที่ยังเหลืออยู่ด้วยความยินดีนั้น ขออย่าทรงเห็นอย่างนี้
    อาตมาภาพได้คิดอยู่ตลอดราตรีที่ยังเหลืออยู่ว่า พระเจ้ามิลินท์ถามว่าอะไรแล้ว เราได้แก้อะไรแล้ว ก็นึกได้ว่า พระเจ้ามิลินท์ได้ถามสิ่งทั้งปวงแล้ว เราก็ได้แก้สิ่งทั้งปวงแล้ว”
    เป็นอันว่า ปราชญ์ทั้งสองนั้น ได้แสดงความชื่นชมยินดีต่อกันและกันอย่างนี้

    <center>
    จบวรรคที่ ๗
    </center>
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> ตอนที่ ๑๒ </center> <center> นอกวรรค </center> <center> โคตมีปัญหาเรื่อง
    ถวายผ้าของพระนางโคตมี
    </center>
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]
    พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า “ข้าแต่พระนาคเสน เมื่อ พระมหาปชาบดีโคตมี จะถวายผ้าคู่ใหม่แก่พระพุทธเจ้านั้นพระตรัสว่าว่า
    [/FONT] “ขอพระนางจงถวายสงฆ์เถิด เมื่อพระนางถวายสงฆ์แล้ว ก็จักเป็นบูชาแก่เราด้วยบูชาสงฆ์ด้วย" ดังนี้
    โยมจึงขอถามว่า พระตถาคตเจ้าไม่เป็นผู้ทีพระคุณหนัก มีคุณวิเศษ เป็ฯผู้ควรแก่ถวายกว่าพระสงฆ์หรือ เพราะว่าผ้าคู่นั้นเป็นผ้าที่พระเจ้าแม่น้าทรงปลูกฝ้ายเอง ก็บเอง ดีดเอง ปั่นเอง กรอเอง ทอเอง
    ถ้าพระตถาคตเจ้ามีพระคุณยิ่งกว่าวิเศษกว่าพระสงฆ์แล้ว ก็จะต้องตรัสว่าเมื่อถวายเราก็จักมีผลมาก ต้องไม่ให้ถวายพระองค์ ให้ถวายแก่พระสงฆ์เสียนี้แหละ โยมจึงยังสงสัยอยู่ ขอพระผู้เป็นเจ้าจงแก้ไขให้โยมสิ้นสงสัยเถิดด”
    พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า
    “เมื่อพระนางมหาปชาบดีโคตมีผู้เป็นพระเจ้าแม่น้า น้อมนำผ้ามาถวาย พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า จงถวายสงฆ์ เมื่อถวายสงฆ์แล้วเป็นอันชื่อว่า บูชาเราด้วย บูชาสงฆ์ด้วย
    ที่ไม่ได้ทรงโปรดให้ถวายพระองค์นั้น ไม่ใช่เพราะพระองค์เป็นผู้ไม่ควรเคารพ หรือไม่ควรถวาย เป็นเพราะทรงเล็งเห็นประโยชน์ในอนาคตว่า
    เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว สงฆ์จักเป็นที่สักการบูชา เมื่อจะทรงยกย่องคุณของสงฆ์ให้ปรากฎ จึงได้ตรัสว่า ขอพระนางจงถวายสงฆ์เมื่อถวายสงฆ์แล้ว จักเป็นอันชื่อว่าได้บูชาเราด้วย ได้บูชาสงฆ์ด้วย”

    <center>
    อุปมาเหมือนบิดายกย่องบุตร
    </center> “เปรียบเหมือนบิดาเมื่อยังมีชีวิตอยู่ ย่อมยกย่องคุณความดีอันมีอยู่ของบุตร ในที่เฝ้าพระราชาซึ่งประทับในท่ามกลางของหมู่อำมาตย์นายประตู หมู่โยธา ราชบริพาร ทั้งหลายให้ปรากฎ ด้วยคิดว่าต่อไปข้างหน้า บุตรของเราจักได้เป็นที่บูชาของคนทั้งหลาย
    ข้อนี้อุปมาฉันใด พระตถาคตเจ้าเมื่อจะทรงยกย่องคุณของพระสงฆ์ให้ปรากฎ ด้วยทรงเล็งเห็นประโยชน์ในอนาคตว่า เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว สงฆ์จักเป็นที่บูชาของคนทั้งหลายจึงได้ตรัสว่า
    “จงถวายแก่สงฆ์ เมื่อถวายสงฆ์แล้วจักเป็นอันบูชาเราด้วย บูชาสงฆ์ด้วย “ฉนั้น
    “ขอถวายพระพร ไม่ใช่ว่าสงฆ์จะมีคุณยิ่งวิเศษกว่าพระตถาคตเจ้า เพียงด้วยเหตุที่โปรดให้ถวายผ้าเท่านั้น
    อีกประการหนึ่ง มารดาบิดาย่อมให้บุตรนุ่งผ้า แต่งตัวให้บุตร อาบน้ำให้บุตรขัดสีให้บุตรเป็นธรรมดา บุตรเป็นผู้ยิ่งกว่าหรือวิเศษกว่ามารดา ด้วยเหตุเพียงมารดาบิดานุ่งผ้าให้แต่งตัวให้ อาบน้ำให้ ขัดสีให้เท่านั้นหรืออย่างไร?”
    “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ไม่ใช่บุตรประเสริฐกว่ามารดาบิดาด้วยเหตุเพียงเท่านี้”
    “ข้อนี้ก็นั้นแหละ มหาบพิตร ไม่ใช่พระยิ่งกว่า วิเศษกว่า ด้วยเหตุเพียงโปรดให้ถวายผ้าเท่านั้น แต่เมื่อพระตถาคตเจ้าจะทรงกระทำสิ่งที่ควรกระทำกระทำแก่สงฆ์ จึงโปรดให้ถวายผ้าแก่สงฆ์”

    <center>
    อุปมาเหมือนพระราชา
    </center> อีกอย่างหนึ่ง สมมุติว่ามีว่ามีบุรุษคนใดคนหนึ่ง น้อมนำเครื่องบรรณาการมาถวายพระราชา พระราชาได้พระราชาทานเครื่องบรรณาการนั้นแก่ข้าราชการ หรือทหาร หรือปุโรหิต คนใดคนหนึ่ง vผู้ที่ได้รับพระราชทานนั้น จะได้ชื่อว่ายิ่งกว่า วิเศษกว่าพระราชา ด้วยเหตุเพียงได้รับพระราชทานของนั้นเท่านั้นหรืออย่างไร?”
    “ไม่ใช่อย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้า”
    “ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร คือไม่ใช่พระสงฆ์เป็นผู้ยิ่งกว่า วิเศษกว่า พระตถาคตเจ้า ด้วยการให้ถวายผ้าเท่านั้น
    อีกประการหนึ่ง พระสงฆ์ย่อมเกิดจากพระตถาคตเจ้า เมื่อพระตถาคตเจ้าจะตั้งพระสงฆ์ตำแหน่งควรบูชาแทนพระพุทธเจ้าจึงได้โปรดให้ถวายผ้า
    อีกอย่างหนึ่ง พระตถาคตเจ้าทรงดำริพระสงฆ์เป็นผู้บูชาอยู่ตามความแล้ว ไม่ใช่ว่าพระตถาคตเจ้าจะทรงยกย่องพระสงฆ์ว่า เป็นผู้ควรบูชายิ่งกว่าพระองค์
    อีกประการหนึ่ง ผู้ใดควรแก่การบูชาพระตถาคตเจ้าก็ทรงสรรเสริญการบูชาผู้นั้น
    ดูก่อน มหาราชะ มหาบพิตรพระราชสมภาร องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นวิสุทธ์เทพยิ่งกว่าเทพดาอื่น เมื่อจะทรงยกย่องข้อปฎิบัติ คือความมักน้อยไว้ ก็ได้ตรัสไว้ใน คัมภีร์มัชฌิมนิกาย อันด้วยธรรมทายาทว่า
    “ภิกษุองค์ก่อนโน้น เป็นผู้ควรบูชากว่าสรรเสริญกว่า” ดังนี้ ไม่มีผู้ใดผู้หนึ่งในโลก จะยิ่งกว่า วิเศษกว่า พระตถาคตเจ้า พระตถาคตเจ้าเป็นผู้ควรแก่การถวายทานเป็นผู้เยี่ยม เป็นผู้ยิ่ง”
    ภาษิตสรรเสริญคุณพระพุทธเจ้า
    ดูก่อนมหาราชะ มีเทวบุตรองค์หนึ่งชื่อว่า มาณวคามิกะ ได้กล่าวขึ้นในท่ามกลางเทยดาและมนุษย์ ต่อพระพักตร์พระพุทธเจ้าว่า
    “ภูเขาเวปุลลบรรพต เป็นภูเขาประเสริฐกว่าภูเขาทั้งปวง อันมีในแขวงราชคฤห์ ภูเขาเสตบรรพต เป็นภูเขาใหญ่กว่าภูเขาทั้งหลายในป่าหิมพานต์
    ดวงอาทิตย์ประเสริฐกว่าสิ่งที่มีในอากาศทั้งสิ้น มหาสมุทรใหญ่กว่าแม่น้ำทั้งหลาย ดวงจันทร์ดีกว่าดวงดาวทั้งหลาย พระพุทธเจ้าเลิศกว่ามนุษยโลกและเทวโลกทั้งสิ้น” ดังนี้
    คำนี้ มาณวคามิกะเทพบุตร ได้กล่าวไว้ถูกต้องดีแล้ว พระพุทธเจ้าก็ทรงเห็นชอบด้วยแล้ว
    อนึ่ง พระสารีบุตรเถระ ได้กล่าวไว้ว่า
    “ผู้ถึงสรณะ หรือยกมือไหว้ ด้วยใจเลื่อมใสต่อพระพุทธเจ้าเพียงครั้งเดียวเท่านั้นก็อาจช่วยผู้นั้นให้ข้ามพ้นได้” ดังนี้
    ส่วนองค์สมเด็จพระชินสีห์ผู้ทรงกำจัด พลมารเสียได้แล้ว ผู้เป็นวิสุทธิเทพยิ่งกว่าเทพยดาทั้งหลาย ก็ได้ตรัสไว้ว่า
    “บุคคลเอก เมื่อจะเกิดขึ้นในโลก ก็เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์สุขของโลก บุคคลเอกนั้นได้แก่พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า”
    ดังนี้ ขอถวายพระพร”
    “ดีแล้วพระนาคเสน โยมขอรับไว้ด้วยดีซึ่งการกล่าวแก้ปัญหาข้อนี้

    <center>[FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]
    จบนอกวรรค
    [/FONT]</center>
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> เริ่มเมณฑกปัญหา </center>

    ลำดับนั้น พระนาคเสนเถระได้กลับสู่สังฆารามอีก พระเจ้ามิลินท์ผู้มีพระวาจาเฉลียวฉลาด ผู้ชอบไต่ถาม ผู้มีความรู้ยิ่งผู้เฉียบแหลม ได้เข้าใกล้พระนาคเสน พื่อให้ความรู้แตกฉาน
    เมื่อมีการไต่ถามโต้เถียงกับพระนาคเสนอยู่เนือง ๆ ไม่ขาดสาย ก็มีความรู้แตกฉานชำนาญในพระไตรปีฎก
    อยู่มาคืนหนึ่งเมื่อทรงรำลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า อันประกอบด้วยองค์ ๙ ก็ได้ทรงเห็น เมณฑกปัญหา (คือปัญหาสองแง่) อันเป็นปัญหาที่แก้ไขยาก
    ด้วยถ้อยคำที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้เป็นปริยาย (คือโดยอ้อม) ก็มี ตรัสไว้โดยอรรถะ (คือมีความหมายลึกซึ้ง) ก็มี เป็นคำของพระพุทธสาวกก็มีอยู่
    ความหมายของถ้อยคำเหล่านั้นเป็นของรู้ได้ยาก เปรียบเหมือนแพะชนกัน นานไปเบื้องหน้า จะเกิดวิวาทกันในถ้อยคำเหล่านั้น
    เราควรจักให้พระนาคเสนเลื่อมใสต่อเราแล้ว ให้กล่าวแก้ซึ่ง เมณฑกปัญหา คือปัญหาอันอุปมาดังแพะชนกันให้แจ้งไว้ ปัญหาที่แก้ยากเหล่านั้น จักมีผู้
    แก้ได้ตามทางที่พระนาคเสนได้ชี้ไว้  

    <center>
    ทรงสมาทานวัตรบท ๘
    </center> เมื่อพระเจ้ามิลินท์ทรงดำริดังนี้แล้ว ทรงประดับ ประดาพระองค์ดีแล้ว ก็ทรงระลึกถึงสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าในอดีต อนาคต ปัจจุปัน แล้วทรงสมาทานวัตรบท ๘ ว่า
    เราจะประพฤติตบะ จักทำให้อาจารย์ยินดีแล้ว จักถามปัญหา ทรงดำริดังนี้แล้ว ก็ทรงเปลื้องเครื่องประดับของกษัตริย์ ทรงแต่งพระองค์เป็นมุนี มาทานคุณธรรมทั้ง ๘ คือ
    ๑. จักไม่ทรงวินิจฉัยอรรถคดีตลอดถึง ๗ วัน
    ๒. ไม่ให้เกิดราคะ
    ๓. ไม่ให้เกิดความโกรธ
    ๔. ไม่ให้เกิดความหลง
    ๕. จักนบนอบกระทั้งทารกทาริกาของพวกทาสี
    ๖. จักรักษากายวาจาให้ดี
    ๗. จะรักษาอายตนะทั้ง ๖ ให้ดี
    ๘. จักทำใจให้เมตตา

    ครั้นทรงมั่นอยู่ในคุณธรรมทั้ง ๘ นี้ตลอด ๗ วันแล้ว รุ้งเช้าวันที่ ๘ ก็เสวยพระกระยาหารเช้า แล้วสำรวมพระเนตรเป็นอันดี มีพระวาจาพอประมาณ มีพระอริยาบทอันดี มีพระทัยมั่นคงเบิกบาน แล้วเข้าไปหาพระนาคเสนเถระ กราบไหว้แล้วทรงยืนตรัสว่า
    “ข้าแต่พระนาคเสน โยมมีเรื่องที่จะสนทนากับพระผู้เป็นเจ้าในป่าที่เงี่ยบสงัด โดยลำพังสองคนไม่มีผู้อื่นปะปน
    ป่านั้นต้องเป็นป่าประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นว่าที่สมควรแก่สมณะ เป็นป่าที่สมควรถามปัญหา ในการถามและแก้นั้นไม่ควรให้มีข้อลี้ลับ ควรให้แจ่มแจ้งทุกข้อ ควรให้เข้าใจได้ด้วยอุปมา
    ข้าแต่พระนาคเสน แผ่นดินใหญ่นี้ย่อมเป็นที่เก็บเป็นที่ซ่อน ซึ่งสิ่งที่ควรเก็บควรเก็บควรซ่อนฉันใด โยมก็สมควรฟังข้อลึกลับ ที่ควรเก็บซ่อนไว้นั้น เมื่อมีข้อควรปรึกษาเกิดขึ้น โยมก็สมควรแก่ปรึกษา”
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] พระเจ้ามิลินท์ตรัสอย่างนี้แล้ว ก็พร้อมกับพระเถระออกไปสู่ป่าใหญ่แห่งหนึ่งแล้วตรัสต่อไปอีกหลายอย่าง [/FONT]
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> ที่ไม่ควร
    ปรึกษากัน ๘ ประการ
    </center>
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]
    พระเจ้ามิลินท์ตรัสว่า
    [/FONT] “ข้าแต่พระนาคเสน บุรุษผู้ที่จะปรึกษาหารือกัน ควรรู้ไว้ว่า

    <center>ที่ควรงดเว้นมีอยู่ ๘ คือ </center> ๑. ที่อันไม่สม่ำเสมอ
    ๒. ที่มีภัย
    ๓. ที่มีลมแรง
    ๔. ที่กำบัง
    ๕. ที่ศาลเจ้า
    ๖. ที่ถนนหนทาง
    ๗. ที่ก้าวขึ้นก้าวลง
    ๘. ที่ท่าน้ำ

    ที่ทั้ง ๘ นี้ เป็นที่ควรงดเว้นเพราะเหตุไรเพราะเหตุว่า
    เมื่อปรึกษากันในที่ไม่สม่ำเสมอ คือ ยืน เดิน นอน ไม่สบาย เรื่องที่ปรึกษาหารือกันก็จะไม่ส่ำเสมอดี
    เมื่อปรึกษากันในที่มีภัย ใจก็จะสะดุ้งกลัว จะไม่แลเห็นเหตุผลได้ดี
    เมื่อปรึกษากันในที่มีลมมแรง เสียงลมพัดตลบอบไป มิอาจที่จะคิดความหมายนั้นได้
    เมื่อปรึกษากันในที่กำบัง ก็จะมีผู้แอบฟัง
    เมื่อปรึกษากันที่ศาลเจ้า ของหนัก ๆ ก็จะหักพังลงมา
    เมื่อปรึกษากันในที่หนทาง ก็จะไม่ได้ความดี เพราะมีคนเดินไปมาสับสน
    เมื่อปรึกษากันในที่ขึ้นลง จิตใจก็จะไม่มั่นคง
    เมื่อปรึกษากันในที่ท่าน้ำ ก็จะมีผู้รู้แพร่งพราย
    เพราะฉะนั้น จึงควรเว้นที่ทั้ง ๘ คือ ที่ไม่สม่ำเสมอ ที่มีภัย ที่มีลมแรง ที่กำบัง ที่ศาลเจ้า ที่หนทาง ที่ก้าวขึ้นก้าวลง ที่ท่าน้ำ เหล่านี้เสีย”

    <center>คนที่ไม่ควรปรึกษา ๘ จำพวก </center> เมื่อพระเจ้ามิลินทื์ทรงแสดงที่ควรเว้น ๘ แห่งดังนี้แล้ว จึงทรงแสดง บุคคลควรเว้นอีก ๘ จำพวกว่า
    “ข้าแต่พระนาคเสน บุคคลผู้ที่ถูกปรึกษาแล้ว ทำเรื่องให้เสียไปมีอยู่ ๘ จำพวก คือ
    ๑. คนมีราคะจริต คือหนักในทางราคะ
    ๒. คนโทสะจริต มากด้วยโทสะ
    ๓. คนโมหะจริต มากด้วยความลุ่มหลง
    ๔. คนมานะจริต มากด้วยการถือตัว
    ๕. คนโลภเห็นแต่ได้
    ๖. คนขี้เกียจ ย่อท้อ อ่อนแอ
    ๗. คนเห็นแก่ตัวฝ่ายเดียว
    ๘. คนพาล คือคนโง่มุทะลุ”

    พระนาคเสนจึงถามว่า
    “คนทั้ง ๘ จำพวกนั้น ให้โทษอย่างไร?”
    พระเจ้ามิลินทร์อธิบายถวายว่า
    “คนราคะจริต เมื่อปรึกษาด้วยอำนาจราคะ ก็ทำเรื่องที่ปรึกษาให้เสียไป ถึงคนจำพวกอื่นอีก ๗ จำพวกก็เหมือนกัน
    เพราะฉะนั้น บุคคล ๘ จำพวก คือ คนหนักในราคะ โทสะ โมหะ มานะ โลภะ เกียจคร้าน เห็นแก่ตัว โง่เขลา จึงเรียกว่า
    “คนทำให้เสียเรื่องปรึกษา”

    <center>คนที่ปิดความลับไม่ได้ ๙ จำพวก </center> “ข้าพระนาคเสน บุคคล ๙ จำพวก ปิดข้อความอันลี้ลับไว้ไม่ได้ บุคคล ๙ จำพวกนั้น ได้แก่จำพวกไหนบ้าง คือ
    ๑. คนราคะจริต หนักในราคะ
    ๒. คนโมสะจริต มากด้วยโทสะ
    ๓. คนโมหะจริต มากด้วยความหลง
    ๔. คนขี้เกียจ ขี้กลัว
    ๕. คนหนักในอามิส
    ๖. สตรีทั้งปวง
    ๗. นักเลงสุราและนักเลงต่าง ๆ
    ๘. คนชอบแต่งตัว
    ๙. เด็กทั่วไป ทั้งหญิงทั้งชาย”



    พระเถระถามอีกว่า
    บุคคล ๙ จำพวกนั้น มีโทษอย่างไรบ้าง”
    พระเจ้ามิลินท์ตรัสตอบว่า
    "บุคคล ๙ จำพวกนั้น มีโทษอย่างไรบ้าง"
    "พระเจ้ามิลินท์ตรัสตอบว่า
    บุคคล ๙ จำพวกนั้น จำพวกราคะ ก็ปิดความลับไม่ได้ด้วยอำนาจราคะ คือเมื่อรักใครแล้ว ก็เปิดความลับให้ฟัง


    จำพวกโทสะ เมื่อโกรธขึ้นมา ก็พูดความลับโพล่งออกมา
    จำพวกโมหะ เมื่อมีใครพูดดีก็หลงเชื่อแล้วเปิดความลับให้ฟัง
    จำพวกขี้ขลาด เมื่อกลัวก็เปิดความลับ
    จำพวกหนักในอามิส เมื่อมีผู้ให้อามิสสินข้าง ก็บอกความลับ
    จำพวกสตรี เป็นพวกมีปัญญาน้อยเมื่อถูกชักดักหน้าชักดักหลัง ก็เปิดความลับให้ฟัง
    จำพวกนักเลงสุรา เมื่อเมาแล้วก็เปิดความลับง่าย
    จำพวกชอบแต่งตัว ก็กังวลอยู่แต่เรื่องแต่งตัว อาจจะเผลอพูดความลับออกมาได้ง่าย
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] จำพวกทารก ก็มีความคิดยังอ่อนเกินไป ไม่อาจปิดความลับไว้ได้” [/FONT]
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <center> เหตุให้เจริญ
    ความรู้ ๘ ประการ
    </center>
    [FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial] [/FONT][FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]
    “ข้าแต่พระนาคเสน เหตุจะให้ความรู้ดีขึ้นมีอยู่ ๘ ประการ คือ
    [/FONT]
    ๑. เจริญด้วยวัยอายุ
    ๒. ความได้ยศศักดิ์
    ๓. การชอบการซักไซ้ไต่ถาม
    ๔. ไม่คบพวกเดียรถีย์
    ๕. การนึกถูกทาง
    ๖. การสมทนาเรื่องต่าง ๆ
    ๗. มากด้วยความรักในเหตุผล
    ๘. อยู่ในประเทศอันสมควร

    ข้าแต่พระนาคเสน ภูมิภาคนี้ประกอบด้วยองค์ ๘ อีกอย่างหนึ่ง โยมก็เป็นเพื่อนร่วมคิดอย่างเยี่ยมในโลก
    โลกนี้ยังเป็นไปอยู่ตราบใด โยมยังมีชีวิตอยู่ตราบใด ก็จักรักษาความลับไว้ให้ได้ตราบนั้น
    ความรู้ย่อมเจริญขึ้นด้วยเหตุ ๘ อย่างนี้ ศิษย์ผู้ปฎิบัติชอบเหมือนอย่างทุกวันนี้หาได้ยาก ส่วนอาจารย์ก็ควรปฎิบัติชอบให้ประกอบด้วยคุณของอาจารย์ ๒๕ ประการ

    <center>
    คุณของอาจารย์ ๒๕ ประการ
    </center> ๑. ดูแลศิษย์เนือง ๆ
    ๒. รู้จักคนที่ควรคบและไม่ควรคบ
    ๓. รู้ว่าศิษย์ประมาทหรือไม่ประมาท
    ๔. รู้ว่าที่ศิษย์นอน
    ๕. รู้ว่าศิษย์เจ็บไข้
    ๖. รู้ว่าศิษย์ได้อาหารหรือยังไม่ได้
    ๗. รู้คุณวิเศษต่าง ๆ
    ๘. รู้จักแจกแบ่งอาหารให้ศิษย์
    ๙. รู้จักปลอบศิษย์ไม่ให้กลัว
    ๑๐. สอนให้ศิษย์ประพฤติตามเยี่ยงอย่างคนดี
    ๑๑. ต้องรู้จักรอบ ๆ บ้าน
    ๑๒. ต้องรู้จักรอบ ๆ วิหาร
    ๑๓. ไม่ควรเล่นหัวตลกคะนองกับศิษย์
    ๑๔. ควรรู้จักอดโทษศิษย์
    ๑๕. ควรตั่งใจทำดีต่อศิษย์
    ๑๖. ควรประพฤติให้เป็นระเบียบต่อศิษย์
    ๑๗. ไม่ควรปิด ๆ บัง ๆ ศิษย์
    ๑๘. สอนความรู้ให้ศิษย์สิ้นเชิง
    ๑๙. ควรคิดอยากให้ศิษย์รู้ศิลปะ
    ๒๐. ควรคิดแต่ทางที่จะให้ศิษย์เจริญ
    ๒๑. ควรคิดอยากให้ศิษย์ชอบเรียน
    ๒๒. ควรมีจิตอันเมตตาต่อศิษย์
    ๒๓. ไม่ควรทิ้งศิษย์เวลามีอันตราย
    ๒๔. ไม่ควรประมาทกิริยาต่อศิษย์
    ๒๕. ควรประคองศิษย์ผู้พลั้งพลาด

    ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า คุณของอาจารย์มีอยู่ ๒๕ ประการ ดังที่ว่านี้ ขอพระผู้เป็นเจ้าจงประพฤติชอบต่อโยม ด้วยคุณธรรมเหล่านี้ศิษย์ผู้เป็นเช่นนี้หาได้ยาก
    ความสงสัยใหญ่ได้มีอยู่แก่โยมเพราะ “มณฑกปัญหา” คือปัญหาอันเปรียบด้วยแพะชนกัน สมเด็จพระภัควันต์ได้ทรงแสดงไว้แล้ว ต่อไปข้างหน้าจักมีการถือผิดกัน ทะเลาะกันใน เมณฑกปัญหานั้น
    อาจารย์ผู้ถูกปรวาที (ฝ่ายตรงข้าม) ไต่ถาม เมื่อรู้ก็จะแก้ได้ จะจำแนกแจกเนื้อความได้ จักทำลายปัญหาที่เป็นข้อปมออกได้
    ต่อไปข้างหน้าพระภิกษุผู้เหมือนกับพระผู้เป็นเจ้าจักหาได้ยาก ขอพระผู้เป็นเจ้าจงให้จักษุ ในปัญญาแก่โยมไว้ เพื่อจะข่มเสียงซึ่งคำที่เป็นเสี้ยนหนามต่อพระศาสนา”
    พระนาคเสนเถระรับว่า “ดีแล้ว มหาบพิตร” แล้วจึงแสดงคุณแห่งอุบาสก ๑๐ ว่า
    “มหาบพิตร คุณของอุบาสกมีอยู่ ๑๐ ประการ คืออะไรบ้าง?”

    <center>
    คุณแห่งอุบาสก ๑๐ ประการ
    </center> ๑. เป็นผู้ร่วมสุขร่วมทุกข์กับพระภิกษุสงฆ์
    ๒. รักษากายวาจาดี
    ๓. ถือธรรมะเป็นใหญ่
    ๔. ยินดีในการจะแนกแจกทาน
    ๕. พยายามเพื่อให้รู้คำสอนของพระพุทธเจ้า
    ๖. เป็นผู้มีความเห็นถูก
    ๗. เป็นคนเชื่อกรรม
    ๘. ไม่ถือผู้อื่นว่าดีกว่าพระพุทธเจ้า
    ๙. ยินดีในความพร้อมเพรียง
    ๑๐. ไม่เป็นคนลวงโลก มีแต่นับถือพระรัตนตรัยโดยตรง

    ขอถวายพระพร คุณของอุบาสกทั้ง ๑๐ นี้ มีอยู่ในมหาบพิตรแล้ว การที่มหาบพิตรเล็งเห็นความเสื่อมเสียแห่งพระพุทธศาสนามุ่งแต่ความเจริญแล้วนั้น เป็นการสมควรแท้
    อาตมาภาพถวายโอกาสแก่มหาบพิตร ขอมหาบพิตรจงทรงไต่ถามตามพระทัยเถิด”

    <center>[FONT=Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial]
    จบตอนเริ่มเมณฑกปัญหา
    [/FONT]</center>
     

แชร์หน้านี้

Loading...