วิธีคิดแบบรู้ทันคุณ โทษ และทางออก

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย มาจากดิน, 17 มิถุนายน 2017.

  1. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    วิธีโยนิโสมนสิการ เท่าที่แสดงมา ได้นำเสนอโดยพยายามรักษารูปร่างตามที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์พุทธศาสนา ผู้ศึกษาไม่พึงติดอยู่เพียงรูปแบบหรือถ้อยคำ แต่พึงมุ่งจับเอาสาระเป็นสำคัญ

    พึงย้ำไว้ด้วยว่า โยนิโสมนสิการนี้ เป็นหลักธรรมภาคปฏิบัติ ที่ใช้ประโยชน์ได้ทุกเวลา มิใช่จะต้องรอไว้ใช้ต่อเมื่อมีเรื่องที่จะเก็บเอาไปนั่งขบคิด หรือปฏิบัติได้ต่อเมื่อปลีกตัวออกไปนั่งพิจารณา แต่พึงใช้แทรกอยู่ในการดำเนินชีวิตประจำวัน ที่เป็นไปอยู่ทุกที่ทุกเวลานั่นเอง
     
  2. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    วิธีคิดแบบรู้ทันคุณ โทษ และทางออก

    วิธีคิดแบบรู้ทันคุณโทษและทางออก หรือพิจารณาให้เห็นครบทั้ง อัสสาทะ อาทีนวะ และนิสสรณะ เป็นการมองสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริงอีกแบบหนึ่ง ซึ่งเน้นการยอมรับความจริงตามที่สิ่งนั้นๆ เป็นอยู่ ทุกแง่ทุกด้าน ทั้งด้านดี ด้านเสีย และเป็นวิธีคิดที่ต่อเนื่องกับการปฏิบัติมาก เช่น บอกว่า ก่อนจะแก้ปัญหา ต้องเข้าใจปัญหาให้ชัด และรู้ที่ไปให้ดีก่อน หรือก่อนจะละสิ่งหนึ่งไปหาอีกสิ่งหนึ่ง ต้องรู้จักทั้งสองฝ่ายดีพอ ที่จะให้เห็นได้ว่า การละและไปหานั้น หรือการทิ้งอย่างหนึ่งไปเอาอีกอย่างนั้น เป็นการกระทำที่รอบคอบ สมควร และดีจริง

    อัสสาทะ แปลว่า ส่วนดี ส่วนอร่อย ส่วนหวานชื่น คุณ คุณค่า ข้อที่น่าพึงพอใจ

    อาทีนวะ แปลว่า ส่วนเสีย ข้อเสีย ช่องเสีย โทษ ข้อบกพร่อง (อาทีนพ ก็เขียน)

    นิสสรณะ แปลว่า ทางออก ทางรอด ภาวะหลุดรอดปลอดพ้น หรือสลัดออกได้ ภาวะที่ปลอดหรือปราศจากปัญหา มีความสมบูรณ์ในตัว ดีงามจริง โดยไม่ขึ้นต่อข้อดีข้อเสีย ไม่ขึ้นต่ออัสสาทะ และอาทีนวะ ของสิ่งที่เป็นปัญหาหรือภาวะที่สลัดออกมานั้น (นิสสรณ์ ก็ได้)
     
  3. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    การคิดแบบนี้ มีลักษณะที่พึงย้ำ ๒ ประการ

    ๑) การที่จะชื่อว่า มองเห็นตามเป็นจริงนั้น จะต้องมองเห็นทั้งด้านดี ด้านเสีย หรือทั้งคุณ และโทษของสิ่งนั้นๆ ไม่ใช่มองแต่ด้านดี หรือคุณอย่างเดียว เช่น ที่ชื่อว่ามองเห็นกามตามเป็นจริง คือ รู้ทั้งคุณ และโทษของกาม *

    ๒) เมื่อจะแก้ปัญหา ปฏิบัติหรือดำเนินมรรควิธีออกไปจากภาวะที่ไม่พึงประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งนั้น เพียงรู้คุณโทษ ข้อดีข้อเสีย ของสิ่งที่เป็นปัญหา หรือภาวะที่ไม่ต้องการเท่านั้น ยังไม่เพียงพอ จะต้องมองเห็นทางออก มองเห็นจุดหมาย และรู้ว่าจุดหมายหรือที่จะไปนั้น คืออะไร คืออย่างไร ดีกว่า และพ้นจากข้อบกพร่อง จุดอ่อน โทษ ส่วนเสีย ของสิ่งหรือภาวะที่เป็นปัญหาอยู่นั้นอย่างไร ไม่ต้องขึ้นต่อคุณโทษ ข้อดีข้อเสียแบบเก่าอีกต่อไปจริงหรือไม่ จุดหมาย หรือที่ไป หรือภาวะปลอดปัญหาเช่นนั้น มีอยู่จริง หรือเป็นไปได้อย่างไร


    ทั้งนี้ ไม่พึงผลีผลามละทิ้งสิ่งที่คิดว่าเป็นปัญหา หรือผลีผลามปฏิบัติ เช่น พระพุทธเจ้า ทั้งที่รู้แจ่มแจ้งว่ากามมีข้อเสีย มีโทษมากมาย แต่ถ้ายังไม่เห็นนิสสรณะแห่งกาม* ก็ไม่ยืนยันว่าจะไม่เวียนกลับมาหากามอีก
    ……………..

    ที่อ้างอิง *

    * เน้นอีกว่า ไม่พึงเข้าใจความหมายของกามแคบๆอย่างสามัญในภาษาไทย ขอทำความเข้าใจด้วยตัวอย่าง เช่น ภิกษุรูปหนึ่งพบชาวบ้าน ก็ทักทายถามสุขทุกข์ของเขา และครอบครัวของเขา ถ้าไม่ถามด้วยเมตตา แต่มุ่งให้เขาชอบใจแล้วนิมนต์อยู่รับการอุปถัมภ์บำรุง เป็นต้น อย่างนี้เรียกว่าปราศรัยเพราะอยากได้กาม (ดู ธ.อ.4/42)

    * นิสสรณะ ในที่นี้ คือ ปีติสุขที่ไม่ต้องอาศัยกาม (ดูพุทธพจน์ที่จะอ้างต่อไป)
     
  4. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    "ภิกษุทั้งหลาย ก่อนสัมโพธิ เมื่อยังเป็นโพธิสัตว์ ผู้ยังมิได้ตรัสรู้ เราได้มีความคิดว่า อะไรหนอคือส่วนส่วนดี (อัสสาทะ) ในโลก อะไรคือส่วนเสีย (อาทีนวะ) อะไรคือทางออก (นิสสรณะ)?

    เรานั้นได้มีความคิดว่า ความสุขความฉ่ำชื่นใจ ที่เกิดขึ้นอาศัยสิ่งใดๆในโลก นี่คือส่วนดีในโลก
    ข้อที่โลกไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา นี้คือส่วนเสียในโลก
    ภาวะที่บำราศฉันทราคะ เป็นที่ละฉันทราคะในโลกได้ (นิพพาน) นี้คือทางออกในโลก


    "ภิกษุทั้งหลาย เราได้เที่ยวแสวงหาอัสสาทะของโลก อันใดเป็นอัสสาทะในโลก อันนั้นเราได้ประสบแล้ว อัสสาทะในโลกมีเท่าใด อัสสาทะนั้น เราได้ประสบแล้ว
    อาทีนวะในโลก มีเท่าใด อาทีนวะนั้น เราได้เห็นเป็นอย่างดีแล้วด้วยปัญญา
    เราได้เที่ยวแสวงหานิสสรณะของโลก อันใดเป็นนิสสรณะของโลก อันนั้นเราได้ประสบแล้ว นิสสรณะในโลกมีเท่าใด นิสสรณะนั้น เราได้เห็นเป็นอย่างดีแล้วด้วยปัญญา

    "ภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่รู้ประจักษ์ชัดตามเป็นจริง ซึ่งอัสสาทะของโลก โดยความเป็นอัสสาทะ ซึ่งอาทีนวะ โดยความเป็นอาทีนวะ และซึ่งนิสสรณะ โดยความเป็นนิสสรณะ ตราบใด ตราบนั้น เราก็ยังไม่ปฏิญาณว่าตรัสรู้แล้ว ซึ่งอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ....

    "ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอัสสาทะจักมิได้มีในโลกแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงติดใจในโลก แต่เพราะอัสสาทะในโลกมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงติดใจในโลก

    ถ้าอาทีนวะจักมิได้มีใน โลกแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงเบื่อหน่ายในโลก แต่เพราะอาทีนวะในโลกมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในโลก

    ถ้านิสสรณะจักมิได้มีในโลกแล้ว ไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงสลัดออกได้จากโลก แต่เพราะนิสสรณะในโลกมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงสลัดออกจากโลกได้

    "ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายยังไม่รู้แจ้งประจักษ์ชัดตามเป็นจริง ซึ่งอัสสาทะของโลก โดยความเป็นอัสสาทะ ซึ่งอาทีนวะ โดยความเป็นอาทีนวะ ซึ่งนิสสรณะ โดยความเป็นนิสสรณะ ตราบใด ตราบนั้น สัตว์ทั้งหลายก็ยังสลัดออก ไม่เกาะเกี่ยว หลุดพ้นจากโลก....เป็นอยู่ด้วยใจไร้เขตแดนไม่ได้
    เมื่อเมื่อใด สัตว์ทั้งหลายรู้ประจักษ์ชัดตามเป็นจริง ซึ่งอัสสาทะของโลก โดยความเป็นอัสสาทะ ซึ่งอาทีนวะ โดยความเป็นอาทีนวะ ซึ่งนิสสรณะ โดยความเป็นนิสสรณะ
    เมื่อนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงจะสลัดออก ไม่เกาะเกี่ยว หลัดพ้นจากโลก...เป็นอยู่ได้ด้วยจิตใจไร้เขตแดน


    "ภิกษุทั้งหลาย สมณะทั้งหลายก็ดี พราหมณ์ทั้งหลายก็ดี เหล่าหนึ่งเหล่าใด ยังไม่รู้อัสสาทะของโลก โดยความเป็นอัสสาทะ ซึ่งอาทีนวะ โดยความเป็นอาทีนวะ ซึ่งนิสสรณะ โดยความเป็นนิสสรณะ
    สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ก็ยังยอมรับไม่ได้ว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะทั้งหลาย ยังยอมรับไม่ได้ว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ทั้งหลาย และท่านเหล่านั้น ก็ยังไม่ชื่อว่าประจักษ์แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งอรรถแห่งความเป็นสมณะหรือซึ่งอรรถแห่งความเป็นพราหมณ์

    "ภิกษุทั้งหลาย ก่อนสัมโพธิ เมื่อยังเป็นโพธิสัตว์ ผู้ยังมิได้ตรัสรู้ เราได้มีความคิดว่า อะไรหนอคือส่วนดีของรูป อะไรเป็นส่วนเสีย อะไรเป็นทางออก
    อะไรหนอคือส่วนดีของเวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ อะไรเป็นส่วนเสีย อะไรเป็นทางออก

    เรายังไม่รู้ประจักษ์ชัดตามเป็นจริง ซึ่งอัสสาทะของอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านั้น โดยความเป็นอัสสาทะ ซึ่งอาทีนวะ โดยความเป็นอาทีนวะ ซึ่งนิสสรณะ โดยความเป็นนิสสรณะ ตราบใด
    ตราบนั้น เราก็ยังไม่ปฏิญาณว่า ตรัสรู้แล้ว ซึ่งอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ.."

    "ภิกษุทั้งหลาย สมณะทั้งหลายก็ดี พราหมณ์ทั้งหลายก็ดี เหล่า หนึ่งเหล่าใด ไม่รู้ชัดตามเป็นจริง ซึ่งส่วนดีของกามทั้งหลาย โดยความเป็นส่วนดี ซึ่งส่วนเสีย โดยความเป็นส่วนเสีย และซึ่งนิสสรณะ โดยความเป็นนิสสรณะ ข้อที่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น จักชื่อว่ารู้เท่าทัน (ปริญญา) กามทั้งหลายเอง หรือจักชักจูงผู้อื่นให้ปฏิบัติตามแล้วรู้เท่าทันกามทั้งหลายได้นั้น ย่อมมิใช่ฐานะที่่จะเป็นไปได้

    "ส่วนสมณะหรือพราหมณ์ เหล่าหนึ่งเหล่าใด รู้ชัดตามเป็นจริง ซึ่งส่วนดีของกามทั้งหลาย โดยความเป็นส่วนดี ซึ่งส่วนเสีย โดยความเป็นส่วนเสีย และซึ่งนิสสรณะ โดยความเป็นนิ สสรณะ ข้อที่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น จักชื่อว่ารู้เท่าทัน (ปริญญา) กามทั้งหลายเอง หรือจักชักจูงผู้อื่นให้ปฏิบัติตามแล้วรู้เท่าทันกามทั้งหลายได้นั้น ย่อมเป็นฐานะที่่่จะเป็นไปได้"

    "ภิกษุทั้งหลาย อะไรคือส่วนดีของกามทั้งหลาย ? ความสุข ความฉ่ำชื่นใจที่เกิดขึ้นอาศัยกามคุณ ๕ นี้ คือส่วนดี ของกามทั้งหลาย

    "อะไรคือส่วนเสียของกามทั้งหลาย ? … กองทุกข์ที่เห็นประจักษ์อยู่เอง ...กองทุกข์มีในเบื้องหน้า....

    "อะไรคือนิสสรณะแห่งกามทั้งหลาย ? ภาวะบำราศฉันทราคะ เป็นที่ละฉันทราคะในกามทั้งหลาย (นิพพาน) นี้คือ นิสสรณะแห่งกามทั้งหลาย" (ม.มู.12/197-9/168-172; 212-8/181-4)

    "ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมนสิการอยู่ ซึ่งกามทั้งหลาย จิตไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่แนบสนิท ไม่น้อมดิ่งไปในกามทั้งหลาย แต่เมื่อเธอมนสิการเนกขัมมะ จิตย่อมแล่นไป ย่อมเลื่อมใส ย่อมแนบสนิท ย่อมน้อมดิ่งไปในเนกขัมมะ

    จิตของเธอนั้น เป็นอันดำเนินไปดี อบรมดีแล้ว ออกไปได้ดี หลุดพ้นดีแล้ว ไม่เกาะเกี่ยวแล้วกับกามทั้งหลาย

    อาสวะ ความคับแค้นเดือดร้อนเหล่าใด ที่จะเกิดขึ้นเพราะกามเป็นปัจจัย เธอเป็นผู้หลุดพ้นแล้วจากอาสวะ ความคับแค้น ความเดือดร้อนเหล่านั้น เธอจะไม่เสวยเวทนานั้น นี้เรียกว่านิสสรณะแห่งกามทั้งหลาย"



    "เรานี้เอง ครั้งก่อน เมื่อยังเป็นผู้ครองเรือนอยู่ เอิบอิ่ม พรั่งพร้อมด้วยกามคุณทั้งห้า บำรุงบำเรอตน...ต่อมา เรานั้นทราบตามเป็นจริง ซึ่งเหตุเกิดขึ้น ซึ่งความดำรงอยู่ไม่ได้ ซึ่งส่วนดี ซึ่งส่วนเสีย และซึ่งทางออก ของกามทั้งหลาย จึงละกามตัณหา บรรเทาความเร่าร้อนกาม ปราศจากความกระหาย มีจิตสงบภายใน เป็นอยู่

    "เรานั้น มองเห็นสัตว์เหล่านั้น ผู้ยังไม่หมดราคะในกามทั้งหลาย ถูกกามตัณหาชอนไช ถูกความเร่าร้อนกามเร้ารุม เสพกามอยู่ เราก็หาใฝ่ทะยานต่อสัตว์เหล่านั้น หาพลอยอภิรมย์ในกามเหล่านั้นไม่ ข้อนั้น เพราะเหตุไร ?

    ก็เพราะเรารื่นรมย์อยู่ด้วยความชื่นชมยินดี ที่ไม่ต้องมีกาม ไม่ต้องมีอกุศลธรรม จึงไม่ใฝ่ทะยานต่อความสุขที่ทรามกว่า ไม่นึกอภิรมย์ในความสุขที่ทรามกว่านั้น"


    "ดูกรมหานาม ก่อนสัมโพธิ เมื่อยังเป็นโพธิสัตว์ ผู้ยังมิได้ตรัสรู้ เราได้เห็นเป็นอย่างดีด้วยสัมมาปัญญา ตามเป็นจริงว่า กามทั้งหลายมีอัสสาทะน้อย มีทุกข์มาก มีความคับข้องมาก อาทีนวะในกามนี้ยิ่งนัก

    แต่เรานั้น ยังมิได้ประสบปีติสุข ที่ไม่ต้องอาศัยกาม ไม่ต้องมีอกุศลธรรมทั้งหลาย หรือปีติสุขอื่นที่ประณีตยิ่งกว่านั้น เราก็ยังปฏิญาณ (ยืนยัน) มิได้ก่อนว่า จะเป็นผู้ไม่วกเวียนมาหากามทั้งหลาย

    "แต่เมื่อใด เราได้มองเห็นอย่างดีด้วยสัมมาปัญญา ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า กามทั้งหลาย มีอัสสาทะน้อย...และเรานั้น ได้ประสบปีติสุข อันปลอดจากกาม ปลอดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย พร้อมทั้งปีติสุขอื่นที่ประณีตยิ่งกว่านั้น เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณได้ว่า เป็นผู้ไม่วกเวียนมาหากามทั้งหลาย" (ม.มู.12/211/180)

    นี้เป็นตัวอย่างจากบาลี พอเป็นเครื่องแสดงให้เห็นแนวความคิดแบบนี้
    วิธีคิดแบบนี้ ใช้ได้กับเรื่องทั่วๆไป แม้แต่ข้อธรรม เช่น ในปฏิสัมภิทามรรค กล่าวถึงอัสสาทะ และอาทีนวะของอินทรีย์ ๕

    ดังเช่นที่ว่า ความไม่ปรากฏแห่งอุทธัจจะ ความไม่ปรากฏแห่งความเร่าร้อนเพราะอุทธัจจะ ความแกล้วกล้าเนื่องจากการดำเนินชีวิตโดยไม่ฟุ้งซ่าน และการประสบสุขวิหารธรรมอันประณีต เป็นอัสสาทะของสมาธิ


    การที่อุทธัจจะยังปรากฏขึ้นได้ การที่ความเร่าร้อนเนื่องจากอุทธัจจะยังปรากฏขึ้นได้ ภาวะที่ยังเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นอาทีนวะของสมาธิ ดังนี้ เป็นต้น * (ขุ.ปฏิ.31/433-4/311-4)


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มิถุนายน 2017
  5. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,293
    ค่าพลัง:
    +12,622
    อจ.มจด.อ่านรู้เรื่อง อ่านเข้าใจ
    ก็สรุปให้ศิษย์ฟังสัก 3 บรรทัดนะฮะ
    แต่ถ้าอ่านไม่เข้าใจก็แนะว่าไปปล่อยเต่า ปล่อยแมว
    ปิดทองปลาไหลก็พอ อย่าไแดิ้นรนมาก
    เพราะต้นทุน อจ.มีจำกัด
     
  6. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ในทางปฏิบัติระดับชีวิตประจำวัน โดยมากเป็นเพียงการเลือกระหว่างสิ่งที่มีโทษมากคุณน้อย กับสิ่งที่มีคุณมากโทษน้อย หรือแม้ได้นิสสรณะ ก็มักเป็นนิสสรณะแบบสัมพันธ์ คือ ทางออกที่ดีที่สุดในกรณีนั้นๆ

    ในภาวะเช่นนี้ ก็ไม่ควรลืมใช้วิธีคิดแบบคุณโทษและทางออก คือ ควรยอมรับส่วนดีของสิ่งหรือข้อปฏิบัติที่ตนละเว้น แลไม่ควรมองข้ามเป็นอันขาด ซึ่งโทษ ข้อบกพร่อง จุดอ่อน ส่วนเสีย หรือช่องทางที่จะเสียของสิ่งหรือข้อปฏิบัติที่ตนเลือกรับเอา

    การคิดมองตามความเป็นจริงเช่นนี้ จะทำให้ปฏิบัติได้ถูกต้องที่สุด มีความไม่ประมาท

    อาจนำเอาส่วนดีของสิ่งที่ตนละเว้นมาใช้ประโยชน์ได้ และสามารถหลีกเลี่ยง หรือมีโอกาสแก้ไขส่วนเสีย ส่วนบกพร่อง ที่ติดมากับสิ่งหรือข้อปฏิบัติที่ตนเลือกรับเอานั้นได้ด้วย

    ในการสั่งสอน ตัวอย่างแสดงแนวคิดแบบรู้ทันคุณ โทษ และทางออกนี้ ก็คือ พระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า ที่เรียกว่า อนุบุพพิกถา ซึ่งเป็นแนวการสอนธรรมแบบหลัก ที่ทรงใช้ทั่วไป หรือใช้เป็นประจำ โดยเฉพาะก่อนทรงแสดงอริยสัจ ๔

    อนุบุพพิกถา นั้น กล่าวถึงการครองชีวิตดีงาม โอบอ้อมอารีช่วยเหลือกัน ดำรงตนในสุจริต ที่เรียกว่า ทาน และศีล

    แล้วแสดงชีวิตที่มีความสุขความเอิบอิ่มพรั่งพร้อม ที่เป็นผลของการครองชีวิตดีงามเช่นนั้น เรียกว่า สัคคะ

    จากนั้น แสดงแง่เสีย ข้อบกพรอง โทษ ความไม่สมบูรณ์เพียงพอของความสุข ความพรั่งพร้อมเช่นนั้น เรียกว่า กามาทีนวะ และ

    ในที่สุด แสดงทางออก พร้อมทั้งผลดีต่างๆ ของทางออกนั้น เรียกว่า เนกขัมมานิสังสะ

    เมื่อผู้ฟังมองเห็นผลดีของทางออกนั้นแล้ว จึงทรงแสดงอริยสัจ ๔ ต่อท้าย เป็นตอนจบ

    (พุทธธรรมหน้า 642)
     
  7. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    ถามหน่อยก่อน คือว่า อ.แมว รู้จักคุณของกามไหม
     
  8. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,293
    ค่าพลัง:
    +12,622
    ในระดับสมมุติก็คือความสุข ยินดี เพลิดเพลิน หวานหอม
    เอร็ดอร่อย

    ส่วนระดับปรมัตถ์จะมีคุณด้วยหรือความสุข เพลิดเพลิน เอร็ดอร่อยเพราะมันไม่ใช่สิ่งเลิศเลอน่าข้องแล้ว
    ครับ อจ.
     
  9. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    พุทธพจน์ชัดเจนออกขนาดนั้น ยังไม่เข้าใจ แล้วจะกล่าวไปใยถึงการสรุปของผมเล่า อ.แมว
    กลับขึ้นไปดูอีกสองรอบนะ
     
  10. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,293
    ค่าพลัง:
    +12,622
    อจ.อ่านไม่รู้เรื่องก็ไม่สามารถพูดให้รู้เรื่องได้เลย
    ภาษาธรรมนี่สามารถทำให้คนปลิ้นปลอกเอ๋อได้
    นะ อจ.แม้คนจะเก่งในทางภาษาเขียนขนาดไหน
    ก็เอ๋อหมดเพราะจิตไม่เปิดรับ

    บอกว่าให้ อจ.ไปปล่อยสัตว์ เป็นเจ้าภาพผ้าป่า
    หาเงินไถ่โคกระบือดีกว่า ทำบ่อยๆ จิตจะเปิด
    รับความละเมียดละไมในภาษธรรมได้บ้าง
    ต้นทุน อจ.น้อยไปหน่อย
     
  11. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    บอกให้ไปทำสิ่งง่ายๆก่อน เช่น ถวายสังฆทาน ปิดทองฝังลูกนิมิต ปล่อยสัตว์น้ำสัตว์บก อ.แมว เคือง ย้อนแย้ง คิกๆๆ

    เออ พอลงธรรมะระดับสุดยอดให้ดูนี่

    http://palungjit.org/threads/ถ้ารักจะพูดว่าไม่มีผู้ทำกรรม-ก็ต้องเลิกพูดด้วยว่าผมเจ็บ.613187/


    ก็ร้องเป็นอาแป๊ะย้อมผ้า อิอิ
     

แชร์หน้านี้

Loading...