สิ่งที่พระโพธิสัตว์ทั้งหลายควรทำไว้ในใจให้มั่นคง

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย ธัมมะสามี, 4 พฤษภาคม 2013.

  1. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    ..... และสมเด็จพระวิปัสสีบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงถือเอาพระพุทธคุณทั้งมวลให้อยู่ในเงื้อมพระหัตถ์ ก็พระพุทธคุณอันปรากฏแก่โลกมีดังนี้


    ..... ๑. อรหัง คำว่า อรหังนี้ แปลว่า ท่านผู้ไกลจากกิเลส หมายความว่า พระพุทธองค์ ไม่มีกิเลสเครื่องเศร้าหมองอยู่ในพระหฤทัยเลย เป็นผู้มีจิตบริสุทธิ์ผุดผ่องจริง ๆ อารมณ์กิเลส ที่พระอรหังหรือที่เรียกว่าพระอรหันต์ละได้นั้น มี ๑๐ อย่าง คือ

    ... ก. สักกายทิฎฐิ เห็นว่าร่างกายนี้ ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในกาย กายไม่มีในเรา ท่านละ ความเห็นว่าเป็นตัวเป็นตน เป็นสัตว์บุคคล เราเขาเสียได้ โดยเห็นว่า

    .. " ร่างกายนี้เป็นเพียงแต่ธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ประชุมกันชั่วคราว เป็นที่อาศัยของนามธรรม คือ

    .. เวทนา ความรู้สึกสุขทุกข์ และ ไม่สุข ไม่ทุกข์ คืออารมณ์วางเฉยจากอารมณ์สุขทุกข์

    .. สัญญา มีความจดจำเรื่องราวที่ล่วงมาแล้ว

    .. สังขาร อารมณ์ชั่วร้ายและอารมณ์เมตตาปรานีสดชื่น อันเกิดต่ออารมณ์ที่เป็นกุศล คือความดีและ อารมณ์ที่เป็นอกุศล คือความชั่วที่เรียกกันว่า อารมณ์เป็นบุญ และอารมณ์เป็นบาปที่คอยเข้าควบคุมใจ

    .. วิญญาณ คือ ความรู้ หนาว ร้อน หิวกระหาย เผ็ดเปรี้ยวหวานมันเค็ม และการสัมผัสถูกต้องเป็นต้น วิญญาณนี้ไม่ใช่ตัวนึกคิด ตัวนึกคิดนั้นคือจิต วิญญาณกับจิตนี้คนละอันแต่นักแต่งหนังสือมักจะเอาไป เขียนเป็นอันเดียวกัน ทำให้เข้าใจเขว ควรจะแยกกันเสีย เพื่อความเข้าใจง่าย

    .. อีกสิ่งหนึ่งที่เข้ามา อาศัยกายและไม่ตายร่วมกับร่างกาย สิ่งนั้นก็คือ จิต(หรืออทิสสมานกาย) เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนี้ ตายร่วมกับ ร่างกาย คือกายตายก็ตายด้วย แต่จิตที่เข้ามาอาศัยกายนี้ เข้ามาอาศัยชั่วคราว เมื่อกายตั้งอยู่ คือ ดำรงอยู่ร่วมพร้อมกับ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จิตก็อาศัยอยู่ แต่ถ้าขันธ์ ๕ มีร่างกายเป็นประธานตายแล้ว จิต(หรืออทิสสมานกาย) ก็ท่องเที่ยวไปแสวงหาที่อาศัยใหม่

    .. คำว่าเราในที่นี้ ท่านหมายเอาจิตที่เข้ามาอาศัยกาย เมื่อท่านทราบอย่างนี้ท่านจึงไม่หนักใจ และผูกใจว่า ขันธ์ ๕ คือร่างกายนี้เป็นเราเป็น ของเรา เราไม่มีในกายกายไม่มีในเรา เราคือจิตที่เข้ามาอาศัยในกาย คือ ขันธ์ ๕ นี้

    .. ขันธ์ ๕ ถ้าทรงอยู่ได้รักษาได้ก็อาศัยต่อไปถ้าผุพังแล้วท่านก็ไม่หนักใจ ไม่ตกใจ ไม่เสียดายห่วงใยในขันธ์ ๕ ท่านปล่อยไปตามกฎของธรรมดาเสมือนกับคนอาศัยรถหรือเรือโดยสาร เมื่อยังไม่ถึง เวลาลงก็นั่งไป แต่ถึงจุดหมายปลายทางเมื่อไร ก็ลงจากรถจากเรือ โดยไม่คิดห่วงใยเสียดายรถ หรือเรือโดยสารนั้น เพราะทราบแล้วว่ามันไม่ใช่ของเราเขาก็ไม่ใช่เรา เราก็ไปตามทางของเรา ส่วนรถเรือโดยสารก็ไปตามทางของเขา ต่างคนต่างไม่มีห่วงใย พระอรหันต์ทั้งหลายท่าน มีความรู้สึกอย่างนี้

    .. พระพุทธเจ้าผู้เป็นจอมอรหันต์ พระองค์มีความรู้สึกอย่างนี้ ท่านนักปฏิบัติ ที่ระลึกถึงพระคุณข้อนี้ ก็ควรทำความพอใจตามที่พระองค์ทรงบรรลุเป็นพระอรหันต์อย่างนี้ จะเป็นเครื่องบั่นทอนกิเลสลงได้มาก จนเข้าถึงความเป็นพระอรหันต์อย่างพระองค์ "

    ... ข. วิจิกิจฉา พระอรหันต์ท่านเชื่อมั่นในธรรมปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนแล้ว โดยไม่เคลือบแคลงสงสัยและปฏิบัติตามด้วยศรัทธายิ่ง

    ... ค. สีลัพพตปรามาส ท่านรักษาศีลเป็นอธิศีล คือ ไม่ละเมิดศีลด้วยตนเองไม่แนะให้ใคร ละเมิดศีล ไม่ยินดีเมื่อผู้อื่นละเมิดศีล

    ... ฆ. ละกามฉันทะ คือความยินดีในกามารมณ์ ท่านหมดความรู้สึกทางเพศเด็ดขาดมีอสุจิเหือดแห้ง ความรู้สึกพอใจในกามารมณ์ไม่มีในความรู้สึกของท่านเลย

    ... ง. พยาบาท ท่านตัดความโกรธความพยาบาทได้สิ้นเชิง มีแต่ความเมตตาปรานีเป็นปกติ

    ... จ. รูปราคะ ท่านตัดความสำคัญในรูปฌานว่าเลิศเสียได้ โดยเห็นว่ารูปฌานนี้เป็นกำลังส่งให้ เข้าถึงวิปัสสนาญาณ ไม่ใช่ตัวมรรคผลนิพพาน

    ... ฉ.ท่านตัดความเห็นว่าเลิศในอรูปฌานเสียได้ โดยเห็นว่าอรูปฌานนี้ก็เป็นเพียงกำลังส่งให้ เข้าถึงวิปัสสนาญาณเช่นเดียวกับรูปฌาน

    ... ช. มานะ ท่านตัดความถือตัวถือตนว่า เราเลวกว่าเขา เราเสมอเขา เราดีกว่าเขาเสียได้ โดยวางอารมณ์เป็นอุเบกขา คือเฉย ๆ ต่อยศฐาบรรดาศักดิ์และฐานะความเป็นอยู่เพราะทราบแล้ว ว่าไม่มีอะไรยั่งยืนตลอดกาล

    ... ซ. อุทธัจจะ ท่านตัดอารมณ์ฟุ้งซ่าน ที่คิดนอกลู่นอกทางเสียได้ มีอารมณ์ผ่องใสพอใจ ในพระนิพพานเป็นปกติ

    ... ฌ. ท่านตัดอวิชชา คือความโง่ออกเสียได้สิ้นเชิง ท่านหมดความพอใจในสิ่งที่มีชีวิต และ ไม่มีชีวิต โดยที่คิดว่าเป็นสมบัติยั่งยืนได้สิ้นเชิงท่านเห็นว่า ไม่ว่าอะไรทั้งสิ้นมีเกิดแล้วก็เสื่อมในที่สุด ก็ต้องทำลาย ฉะนั้น อารมณ์ของท่านจึงไม่ยึดถืออะไรมั่นคง มีก็ใช้ เมื่อสลายตัวไปก็ไม่มีทุกข์

    ... ท่านตัดความกำหนัดยินดีในสมบัติของโลกเสียทั้งหมด ไม่มีเยื่อใยรักใคร่หวงแหนอะไร ทั้งหมด แม้แต่สังขารของท่าน



    ..... ๒. สัมมาสัมพุทโธ แปลว่า ตรัสรู้เองโดยชอบ ความหมายนี้ หมายความว่า พระองค์ ทรงรู้อริยสัจ ทั้ง ๔ คือ รู้ทุกข์ คือความไม่สบายกายไม่สบายใจ รู้สมุทัย คือเหตุให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา ๓ ประการ คือ

    ... ๑. กามตัณหา ทะยานอยากได้ในสิ่งที่ยังไม่เคยมี อยากให้มีขึ้น

    ... ๒. ภวตัณหา สิ่งใดที่มีอยู่แล้ว อยากให้คงสภาพอยู่อย่างนั้น ไม่อยากให้เก่า ไม่อยากให้ เปลี่ยนแปลง

    ... ๓.วิภวตัณหา อยากให้สิ่งที่จะต้องสลายตัวนั้น ที่เป็นไปตามกฎธรรมดา มีความปรารถนา ไม่ให้กฎธรรมดาเกิดขึ้น คือ ไม่อยากให้สลายและไม่อยากเสื่อม ไม่อยากตายนั่นเอง ความรู้สึกอย่างนี้ เป็นความรู้สึกที่ฝืนกฎธรรมดา เป็นอารมณ์ที่ก่อให้เกิดความทุกข์
    ทรงนิโรธะ คือความดับสูญไปแห่งความทุกข์ และทรงทราบมรรค คือปฏิปทาที่ปฏิบัติให้ เข้าถึงความทุกข์ คือทุกข์นั้นสูญสิ้นไป ได้แก่ทรงทราบมรรคคือข้อปฏิบัติ ๘ ประการดังต่อไปนี้
    .. ๑. สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ
    .. ๒. สัมมาสังกัปโป ความดำริชอบ
    .. ๓. สัมมาวาจา เจรจาชอบ
    .. ๔. สัมมากัมมันโต มีการงานชอบ
    .. ๕. สัมมาอาชีโว เลี้ยงชีพชอบ
    .. ๖. สัมมาวายาโม ความพยายามชอบ
    .. ๗. สัมมาสติ ระลึกชอบ
    .. ๘. สัมมาสมาธิ ตั้งใจชอบ

    ... ในมรรคคือข้อปฏิบัติที่จะให้เข้าถึงความดับสูญไปแห่งทุกข์นี้ ย่อลงเหลือสาม คือได้แก่ ศีล การรักษากายวาจาใจให้เรียบร้อย ตามขอบเขตของสิกขาบท สมาธิ การดำรงความตั้งมั่นของจิต ที่ไม่เป็นเวรเป็นภัยต่อสังคม คือดำรงฌานไว้ด้วยดี เพื่อเป็นบาทของวิปัสสนาญาณ ปัญญา ได้แก่การ เจริญวิปัสสนาญาณจนรู้แจ้งเห็นจริงตามกฎธรรมดา ไม่มีอารมณ์คิดที่จะฝืนกฎธรรมดานั้น



    ..... ๓. วิชชาจรณสัมปันโน แปลว่า พระองค์ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ คือ ทรงมี ความรู้รอบและความประพฤติครบถ้วน วิชชา แปลว่าความรู้ หมายถึงรู้ในวิชชาสาม ที่สามัญชนไม่สามารถจะรู้ได้ คือ

    ... ๑. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ทรงมีความรู้ในการระลึกชาติที่ล่วงแล้วมาได้อย่างไม่จำกัด ไม่มีผู้อื่นใดจะระลึกชาติได้มากเท่าพระองค์ และพระองค์ทรงมีความชำนาญในการระลึกชาติได้ อย่างเยี่ยม

    ... ๒. จุตูปปาตญาณ พระองค์ทรงมีความรู้ ความเกิด และความตายของสัตว์ โดยทรงรู้ว่า สัตว์ที่ตายไปแล้วนี้ไปเกิด ณ ที่ใด มีความสุขความทุกข์เป็นประการใด เพราะผลกรรมอะไรเป็น เหตุ และทรงทราบว่า สัตว์ที่ตายไปแล้วนี้มาจากไหน ที่มีความสุขความทุกข์อยู่นี้ เพราะอาศัยกรรม อะไรเป็นเหตุ

    ... ๓. อาสวักขยญาณ ทรงรู้วิชชาที่ทำอาสวะกิเลสให้หมดสิ้นไป

    ... จรณะ หมายถึงความประพฤติ พระองค์มีความประพฤติครบถ้วนยอดเยี่ยม ท่านประมวล ความประพฤติที่พอจะนำมากล่าวไว้ได้โดยประมวลมี ๑๕ ข้อด้วยกัน คือ
    .. ๑. สีลสัมปทา พระองค์ทรงถึงพร้อมด้วยศีล คือ ทรงปฏิบัติในศีลไม่บกพร่อง
    .. ๒. อินทรียสังวร ทรงระมัดระวังในการเคลื่อนไหวทุกอิริยาบท
    .. ๓. โภชเนมัตตัญญุตา ทรงรู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร
    .. ๔. ชาคริยานุโยค ทรงประกอบความเพียรของผู้ตื่นอยู่ คือ มีสติสัมปชัญญะครบถ้วน บริบูรณ์
    .. ๕. สัทธา ทรงมีความเชื่อมั่นในผลการปฏิบัติ ไม่มีความเคลือบแคลงสงสัย
    .. ๖. หิริ ทรงมีความละอายต่อผลของความชั่วทั้งมวล
    .. ๗. โอตตัปปะ ทรงเกรงกลัวต่อผลของความชั่วทั้งมวล
    .. ๘. พาหุสัจจะ ทรงสั่งสมวิชาการต่าง ๆ ด้วยการศึกษามาแล้วด้วยดี
    .. ๙. วิริยะ ทรงมีความเพียรไม่ท้อถอย โดยเอาชีวิตเป็นเดิมพัน
    .. ๑๐. สติ ทรงมีสติสมบูรณ์
    .. ๑๑. ปัญญา มีปัญญารอบรู้ในวิทยาการทุกแขนง และทรงรู้แจ้งในอริยสัจ โดยที่มิได้ศึกษา จากผู้ใดมาในกาลก่อน ทรงค้นคว้าพบด้วยพระองค์เอง
    .. ๑๒. ปฐมฌาน ทรงฝึกฌาน จนได้ปฐมฌาน
    .. ๑๓. ทุติยฌาน ทรงฝึกจนได้ฌานที่สอง
    .. ๑๔. ตติยฌาน ทรงฝึกสมาธิ จนได้ฌานที่สาม
    .. ๑๕. จตุตถฌาน ทรงฝึกสมาธิ จนทรงฌานที่ ๔ ไว้ได้ด้วยดีเป็นพิเศษ
    .. ทั้งหมดนี้ จัดเป็นจริยา คือความประพฤติขององค์สมเด็จพระสรรเพชญพุทธเจ้า



    ..... ๔. สุคโต แปลว่า เสด็จไปดีแล้ว หมายความว่า พระองค์เสด็จไป ณ ที่ใด พระองค์ นำแต่ความสุขไปให้เจ้าของถิ่น คือนำความรู้อันเป็นเหตุของความสุขไปให้ ไม่เคยสร้างความ เดือดร้อนให้แก่ผู้ใด ใครก็ตาม บูชาพระองค์แล้ว ไม่เคยผิดหวังที่จะได้รับความสุขในทางปฏิบัติ


    ..... ๕. โลกวิทู แปลว่า รู้แจ้งโลก หมายความว่า โลกทุกโลกมียมโลก คือโลกแห่งการ ทรมาน ได้แก่นรก เปรต อสุรกาย เป็นต้น มนุษย์โลก เทวโลก พรหมโลก และพระนิพพาน อันเป็น ดินแดนพ้นโลก พระองค์ทรงทราบตลอดหมดสิ้น แม้แต่ปฏิปทาที่จะให้ไปเกิดในโลกนั้น ๆ


    ..... ๖. อนุตตะโร ปุริสะทัมมะสารถิ แปลว่า เป็นนายสารถีผู้ฝึก ไม่มีนายสารถีใดมีความ สามารถฝึกได้เสมอเหมือนพระองค์ ทั้งนี้หมายความถึงการฝึกธรรมปฏิบัติ พระองค์ทรงมีญาณพิเศษ ที่เรียกว่า เจโตปริยญาณ ทรงรู้ใจคนว่า ผู้นี้ควรสอนอย่างไรจึงได้ผล พระองค์ทรงฝึกสอนตามที่รู้ด้วย พระญาณนั้น จึงมีความสามารถฝึกได้ดีเป็นพิเศษ


    ..... ๗. สัตถา เทวมนุสสานัง แปลว่า พระองค์ทรงเป็นครูของเทวดาและมนุษย์ ทั้งนี้ หมายความว่า การสั่งสอนเพื่อมรรคผลนั้น พระองค์มิได้ทรงสั่งสอนแต่มนุษย์เท่านั้น แม้เทวดาและ พรหม พระองค์ทรงสั่งสอน การสอนมนุษย์ท่านอาจไม่สงสัย แต่การสอนเทวดานั้นท่านอาจจะแปลกใจ ข้อนี้ขอให้อ่านพุทธประวัติจะทราบ ว่าพระองค์ทรงสั่งสอนเทวดาและพรหมเป็นปกติเกือบทุกวัน เช่นเดียวกับสอนมนุษย์เหมือนกัน


    ..... ๘. พุทโธ แปลว่า ผู้รู้ ผู้ตื่นแล้ว ผู้เบิกบานแล้ว ได้เหมือนกัน ความหมายถึงคำว่า พุทโธก็มีอย่างนี้ คือ หมายถึงพระองค์ทรงรู้พระองค์ ด้วยความเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสติสัมปชัญญะอยู่ ตลอดเวลานั่นเอง


    ..... ๙. ภควา แปลว่า ผู้มีโชค หมายถึงพระองค์เป็นผู้มีโชคก่อนใคร ๆ ที่พระองค์เป็นผู้รู้เท่าทัน อวิชชา คือความโง่เขลาเบาปัญญา ความโง่ไม่สามารถครอบงำพระองค์ได้ โดยอาศัยที่พระองค์ทรง ค้นพบอริยสัจ ๔ จึงสามารถทำลายอำนาจอวิชชาคือความโง่ให้สลายตัวไปเสียได้ เหลือไว้แต่ความฉลาด หลักแหลม ความโง่ไม่สามารถจะบังคับบัญชาพระองค์ให้หลงใหลไปในอำนาจกิเลสและตัณหาได้ต่อไป พระองค์ทรงพบความสุขที่ยอดเยี่ยม ไม่มีความสุขอื่นยิ่งกว่า ความสุขที่ว่านี้ คือ พระนิพพาน


    ..... เมื่อได้ทรงบรรลุพระอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณแล้วทรงอุทานว่า

    ... " เราแล่นไปสิ้นสงสารหลายชาติ แสวงหาช่างทำเรือนไม่พบ การเกิดบ่อยๆ เป็นทุกข์ ดูก่อนช่างทำเรือน เราพบท่านแล้ว ท่านจะไม่ทำเรือนอีก เราหักซี่โครงของท่านหมดแล้ว เรารื้อเรือนยอดเสียแล้ว จิตของเราไม่ได้ปรุงแต่งแล้ว เราได้บรรลุความสิ้นตัณหาแล้ว

    ... ไม่มีคติเพื่อประกาศแก่ผู้ที่พ้นโดยชอบ ผู้ข้ามโอฆะอันผูกมัดด้วยกาม ผู้บรรลุสุขอันไม่หวั่นไหว เหมือนอันใครๆ ไม่รู้คติของผู้ทำลายท่อนเหล็กอันรุ่งเรืองด้วยพระเวท เป็นผู้สงบโดยลำดับ ฉะนั้น "

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 พฤศจิกายน 2013
  2. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    ..... ทรงยับยั้งอยู่ ๗ สัปดาห์ใกล้โพธิพฤกษ์นั่นเอง ครั้งนั้นแล สมเด็จพระวิปัสสีพุทธเจ้า ได้ทรงพระดำริว่า

    ... " ไฉนหนอเราพึงแสดงธรรมที่เราบรรลุแล้วนี้ ซึ่งเป็นธรรมลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ปราณีต จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ส่วนหมู่สัตว์นี้ มีอาลัยเป็นที่ยินดี ยินดีแล้วในอาลัย เบิกบานแล้วในอาลัย ก็อันหมู่สัตว์ผู้มีอาลัยเป็นที่ยินดี ยินดีแล้วในอาลัย เบิกบานแล้วในอาลัย ยากที่จะเห็นได้ซึ่งฐานะนี้ คือ ปัจจัยแห่งสภาวะธรรมอันเป็นที่อาศัยกันเกิดขึ้น (ปฏิจจสมุปบาท) ยากที่จะเห็นได้ซึ่งฐานะแม้นี้คือพระนิพพาน ซึ่งเป็นที่ระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา คลายความกำหนัด ดับทุกข์ ก็และเราพึงแสดงธรรมแต่สัตว์เหล่าอื่นไม่พึงรู้ทั่วถึงธรรมของเรา นั้นพึงเป็นความลำบากแก่เรา นั้นพึงเป็นความเดือดร้อนแก่เรา "

    ... ได้ยินว่า คาถาทั้งหลายที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนักซึ่งพระองค์มิได้เคยสดับมาแล้วแต่ก่อน ได้แจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ดังนี้

    ... " บัดนี้ ไม่ควรเลยที่จะประกาศธรรมที่เราได้บรรลุแล้วโดยแสนยาก ธรรมนี้อันสัตว์ที่ถูกราคะและโทสะครอบงำแล้ว ไม่ตรัสรู้ได้โดยง่าย สัตว์ที่ถูกราคะย้อมไว้ ถูกกองแห่งความมืดหุ้มห่อไว้แล้ว จักเห็นไม่ได้ซึ่งธรรมที่มีปกติไปทวนกระแสละเอียด ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก "

    ... เมื่อพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี พิจารณาเห็นดังนี้ พระทัยก็น้อมไปเพื่อความขวนขวายน้อย มิได้น้อมไปเพื่อจะทรงแสดงธรรมแก่เหล่าเวไนยสัตว์



    ..... ครั้งนั้นแล ท้าวสหัมบดีมหาพรหมซึ่งเป็นหัวหน้าของพรหมทั้งปวง ได้ทราบพระปริวิตกในพระทัยของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสีด้วยใจ แล้วจึงดำริว่า

    ... " ผู้เจริญทั้งหลาย โลกจะฉิบหายเสียละหนอ ผู้เจริญทั้งหลาย โลกจะพินาศเสียละหนอ เพราะว่า พระทัยของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าวิปัสสี ได้น้อมไปเพื่อความขวนขวายน้อยเสียแล้ว มิได้น้อมไปเพื่อจะทรงแสดงธรรม "

    ... ครั้งนั้นแล ท้าวสหัมบดีมหาพรหมนั้นหายจากอกนิฏฐพรหมโลก มาปรากฏเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี เหมือนบุรุษที่มีกำลัง เหยียดออกซึ่งแขนที่คู้เข้าไว้ หรือคู้เข้าซึ่งแขนที่ได้เหยียดออกไว้ฉะนั้น

    ... ครั้งนั้นแล ท้าวสหัมบดีมหาพรหมกระทำผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง คุกชาณุมณฑลเบื้องขวาลงบนแผ่นดินประนมมือไปทางที่สมเด็จพระวิปัสสีพุทธเจ้าประทับอยู่ แล้วได้กราบทูลกะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

    ... " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงแสดงธรรม ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระสุคตจงทรงแสดงธรรม ในโลกนี้สัตว์ที่มีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุเบาบางยังมีอยู่ เพราะมิได้ฟังธรรม สัตว์เหล่านั้นจึงเสื่อมเสียไป ผู้ที่รู้ทั่วถึงธรรมได้ยังจักมีอยู่ "

    ... เมื่อท้าวมหาพรหมนั้นกราบทูลเช่นนี้ สมเด็จพระวิปัสสีบรมครู ได้ตรัสกะท้าวมหาพรหมนั้นว่า

    ... " ดูกรพรหม แม้เราก็ได้ดำริแล้วเช่นนี้ว่า ไฉนหนอเราพึงแสดงธรรม ดูกรพรหม แต่เรานั้นได้คิดเห็นดังนี้ว่า ธรรมที่เราบรรลุแล้วนี้ เป็นธรรมลึกซึ้ง เห็นได้ยากรู้ตามได้ยาก สงบประณีต จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต

    ... ส่วนหมู่สัตว์นี้ มีอาลัยเป็นที่ยินดี ยินดีแล้วในอาลัย เบิกบานแล้วในอาลัย ก็อันหมู่สัตว์ผู้มีอาลัยเป็นที่ยินดี ยินดีแล้วในอาลัย เบิกบานแล้วในอาลัย ยากที่จะเห็นได้ซึ่งฐานะนี้ คือ ปัจจัยแห่งสภาวะธรรมอันเป็นที่อาศัยกันเกิดขึ้น(ปฏิจจสมุปบาท) ยากที่จะเห็นได้ซึ่งฐานะแม้นี้คือ พระนิพพาน ซึ่งเป็นที่ระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา คลายความกำหนัด ดับทุกข์ ก็และเราพึงแสดงธรรม แต่สัตว์เหล่าอื่นไม่พึงรู้ทั่วถึงธรรมของเรา นั้นพึงเป็นความลำบากแก่เรา นั้นพึงเป็นความเดือดร้อนแก่เรา

    ... ดูกรพรหม คาถาที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก ซึ่งเรามิได้สดับมาแล้วแต่ก่อนหรือได้แจ่มแจ้งแล้วดังนี้ บัดนี้ ไม่ควรเลยที่จะประกาศธรรมที่เราได้บรรลุแล้วโดยแสนยาก

    ... ดูกรพรหม เมื่อเราพิจารณาเห็นดังนี้ จิตก็น้อมไปเพื่อความขวนขวายน้อยมิได้น้อมไปเพื่อจะแสดงธรรม "



    ..... แม้ครั้งที่สอง ท้าวมหาพรหมนั้นก็ได้กราบทูลสมเด็จพระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้าดังนั้น... ฯ


    ..... แม้ครั้งที่สาม ท้าวมหาพรหมนั้นก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสีว่า

    ... " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงแสดงธรรม ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระสุคตจงทรงแสดงธรรม ในโลกนี้สัตว์ที่มีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุเบาบางยังมีอยู่ เพราะมิได้ฟังธรรมสัตว์เหล่านั้นจึงเสื่อมเสียไป ผู้รู้ทั่วถึงธรรมได้ ยังจักมีอยู่ดังนี้ "

    ... ครั้งนั้นแล สมเด็จพระวิปัสสีพุทธเจ้าทรงทราบการทูลเชิญของพรหมแล้ว ทรงอาศัยพระกรุณาในหมู่สัตว์ จึงได้ตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ

    ... เมื่อทรงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุก็ได้ทรงเห็นหมู่สัตว์ บางพวกมีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุน้อย บางพวกมีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุมาก บางพวกมีอินทรีย์แก่กล้า บางพวกมีอินทรีย์อ่อน บางพวกมีอาการดีบางพวกมีอาการทราม บางพวกจะพึงให้รู้แจ้งได้ง่าย บางพวกจะพึงให้รู้แจ้งได้ยาก บางพวกเป็นภัพพะสัตว์ บางพวกเป็นอภัพพะสัตว์ บางพวกมักเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย

    ... อุปมาดุจดั่งในกออุบล หรือกอบัวหลวง หรือในกอบัวขาว ดอกอุบล ดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาว เกิดแล้วในน้ำ เจริญแล้วในน้ำ น้ำเลี้ยงอุปถัมภ์ไว้ บางเหล่ายังจมอยู่ภายในน้ำ บางเหล่าตั้งอยู่เสมอน้ำ บางเหล่าตั้งขึ้นพ้นน้ำ อันน้ำมิได้ติดใบแม้ฉันใด

    ... หมู่สัตว์ที่สมเด็จพระโลกนาถทรงตรวจดูด้วยพุทธจักษุ ทรงเห็นก็ฉันนั้นเหมือนกัน บางพวกมีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุน้อย บางพวกมีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุมาก บางพวกมีอินทรีย์แก่กล้า บางพวกมีอินทรีย์อ่อน บางพวกมีอาการดี บางพวกมีอาการทรามบางพวกจะพึงให้รู้แจ้งได้ง่าย บางพวกจะพึงให้รู้แจ้งได้ยาก บางพวกเป็นภัพพะสัตว์ บางพวกเป็นอภัพพะสัตว์ บางพวกมักเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย

    ... ครั้งนั้นแล ท้าวมหาพรหมทราบพระปริวิตกในพระทัย ของสมเด็จพระวิปัสสีทศพลญาณเจ้า ด้วยใจ แล้วจึงได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ด้วยคาถาทั้งหลายความว่า

    ... " ผู้ที่ยืนอยู่ยอดภูเขาสิลาล้วน พึงเห็นประชุมชนได้โดยรอบ ฉันใด ท่านผู้มีเมธาดีมีจักษุโดยรอบก็ฉันนั้นเหมือนกัน ขึ้นสู่ปราสาทอันสำเร็จแล้วด้วยธรรม เป็นผู้ปราศจากความเศร้าโศก ทรงพิจารณาเห็นประชุมชนผู้เกลื่อนกล่นไปด้วยความเศร้าโศก ถูกชาติและชราครอบงำแล้ว

    ... ข้าแต่พระองค์ผู้กล้าผู้ชนะสงครามแล้ว เป็นนายพวก ปราศจากหนี้ ขอพระองค์จงเสด็จลุกขึ้น เปิดเผยโลก ขอผู้มีพระภาคจงทรงแสดงธรรม ผู้ที่รู้ทั่วถึงธรรมได้ ยังจักมีอยู่ "

    ... เมื่อท้าวมหาพรหมนั้นได้กราบทูลแล้ว ดังนี้ สมเด็จพระวิปัสสีพุทธเจ้า จึงได้ตรัสกะท้าวมหาพรหมนั้นว่า

    ... " เราได้เปิดเผยประตูอมตะไว้แล้ว ผู้มีโสตจงปล่อยศรัทธามาเถิด ดูกรพรหม เรารู้สึกลำบากจึงมิได้กล่าวธรรมอันปราณีตซึ่งเราทำให้คล่องแคล่วแล้วในหมู่มนุษย์ ดังนี้ "

    ... ครั้งนั้นแล ท้าวมหาพรหมคิดว่าเราเป็นผู้มีโอกาส อันพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ได้ทรงกระทำแล้ว เพื่อจะทรงแสดงธรรม จึงถวายบังคมพระสรรเพชญพุทธองค์พระนามว่าวิปัสสี กระทำประทักษิณแล้วหายไป ณ ที่นั้นเอง



    ..... ครั้งนั้นแล สมเด็จพระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระดำริว่า

    ... " เราควรแสดงธรรมแก่ใครก่อนเล่าหนอ ใครจะรู้ทั่วถึงธรรมนี้ได้เร็วพลันทีเดียว "

    ... พระวิปัสสีพุทธเจ้าได้ทรงพระดำริว่า

    ... " พระราชโอรสพระนามว่าขัณฑะ และบุตรปุโรหิตชื่อว่า ติสสะ นี้ ผู้อาศัยอยู่ในพระนครพันธุมดีราชธานี เป็นคนฉลาด เฉียบแหลม มีปัญญา มีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุเบาบางสิ้นกาลนาน ไฉนหนอ เราพึงแสดงธรรมแก่พระราชโอรสพระนามว่าขัณฑะ และบุตรปุโรหิตชื่อว่า ติสสะก่อน คนทั้งสองนั้นจักรู้ทั่วถึงธรรมนี้ได้รวดเร็วทีเดียว "

    ... ครั้งนั้นแล สมเด็จพระวิปัสสีอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้หายพระองค์จากที่ควงพระศรีมหาโพธิพฤกษ์ไปปรากฏพระองค์ ณ มฤคทายวันป่าเป็นที่ให้อภัยแก่หมู่เนื้อชื่อว่าเขมะ ในพระนครพันธุมดีราชธานี เปรียบเหมือนบุรุษที่กำลังเหยียดออกซึ่งแขนที่คู้เข้าไว้ หรือคู้เข้าซึ่งแขนที่ได้เหยียดออกไว้ ฉะนั้น

    ... ครั้งนั้นแล สมเด็จพระวิปัสสีพุทธเจ้าตรัสเรียกคนเฝ้าสวนมฤคทายวันมาว่า

    ... " มานี่ นายมิคะทายะบาล เธอจงเข้าไปยังพระนครพันธุมดีราชธานี แล้วบอกกะพระราชโอรสพระนามว่า ขัณฑะ และบุตรปุโรหิตชื่อติสสะ ดังนี้ว่า สมเด็จพระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จถึงพระนครพันธุมดีราชธานีแล้ว กำลังประทับอยู่ที่มิคะทายะวันชื่อว่าเขมะ พระองค์ทรงพระประสงค์จะพบท่านทั้งสอง "

    ... นายมฤคทายะบาลรับพระดำรัสของพระวิปัสสีพุทธเจ้าแล้ว เข้าไปยังพระนครพันธุมดีแล้ว แจ้งข่าวกะพระราชโอรสพระนามว่า ขัณฑะ และบุตรปุโรหิตชื่อว่า ติสสะ ว่า

    ... " สมเด็จพระพุทธเจ้าวิปัสสี เสด็จถึงพระนครพันธุมดีราชธานีแล้ว กำลังประทับอยู่ที่ป่ามฤคทายวันชื่อว่า เขมะ พระองค์ทรงมีพระประสงค์ที่จะพบท่านทั้งสอง "

    ... ครั้งนั้นแล พระราชโอรสพระนามว่าขัณฑะ และบุตรปุโรหิตชื่อว่าติสสะ สั่งให้บุรุษเทียมยาน แล้วขึ้นสู่ยาน ออกจากพระนครพันธุมดีราชธานี พร้อมกับยาน ทั้งหลาย ขับตรงไปยังป่ามฤคทายวันชื่อว่าเขมะ ไปด้วยยานตลอดภูมิประเทศเท่าที่ยานจะไปได้แล้ว ลงจากยานเดินตรงเข้าไปเฝ้าพระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า ถึงที่ประทับ ถวายบังคมสมเด็จพระชินสีห์แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

    ... ครั้งนั้น องค์สมเด็จพระวิปัสสีอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสอนุปุพพิกถาแก่ท่านทั้งสองนั้น คือ ทรงประกาศทานกถา สีลกถาสัคคะกถา โทษของกามที่ต่ำช้า เศร้าหมอง และอานิสงส์ในการออกบวช เมื่อพระผู้มีพระภาคได้ทรงทราบว่าท่านทั้งสองนั้นมีจิตคล่อง มีจิตอ่อน มีจิตปราศจากนิวรณ์ มีจิตสูง มีจิตผ่องใส จึงได้ทรงประกาศธรรมเทศนาที่สมเด็จพระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

    ... ดวงตาเห็นธรรมอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแล้วแก่พระราชโอรสพระนามว่าขัณฑะ และบุตรปุโรหิตชื่อว่าติสสะ ว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดย่อมมีความดับไปเป็นธรรมดา ณ ที่นั่งนั้นแล เหมือนผ้าที่สะอาด ปราศจากมลทินควรรับน้ำย้อมด้วยดี ฉะนั้น

    ... ท่านทั้งสองนั้น เห็นธรรมถึงธรรม รู้แจ้งธรรม หยั่งทราบธรรม ข้ามความสงสัย ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความแกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในสัตถุศาสนา ได้กราบทูลสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวิปัสสี ว่า

    ... " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์ก็แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิดบอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยคิดว่าผู้มีจักษุจักเห็นรูปดังนี้ฉันใด พระผู้มีพระภาคทรงประกาศพระธรรมโดยอเนกปริยายฉันนั้นเหมือนกัน

    ... ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เหล่านี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคและพระธรรมว่าเป็นที่พึ่ง ขอพวกข้าพระองค์พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบท ในสำนักของพระผู้มีพระภาค ณ กาลบัดนี้เถิด "

    ... พระราชโอรสพระนามว่า ขัณฑะ และบุตรปุโรหิตชื่อว่าติสสะ ได้บรรพชา ได้อุปสมบทในสำนักของพระบรมศาสดา พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงยังท่านทั้งสองนั้นให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริงด้วยธรรมีกถา แล้วประกาศโทษของสังขาร(คือร่างกาย)อันต่ำช้าเศร้าหมองและอานิสงส์ในการออกบวช จิตของท่านทั้งสองนั้นผู้อันพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า วิปัสสี ทรงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญให้รื่นเริงด้วยธรรมีกถา ไม่นานนัก จิตก็หลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ยึดมั่นในปัญจขันธ์ (ท่านได้บรรลุพระอรหัตตผลพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาญาณของคู่พระอัครสาวกอันประเสริฐ)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 ธันวาคม 2013
  3. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    ..... หมู่มหาชนชาวพระนครพันธุมดีราชธานี ผู้เป็นบริวารของพระขัณฑะมหาเถระและพระติสสะมหาเถระ ประมาณ ๘๔,๐๐๐ คน ได้สดับข่าวว่า

    ... " สมเด็จพระวิปัสสีอรหันตสัมมาสัมพุทโธเจ้าเสด็จถึงพระนครพันธุมดีราชธานี ประทับอยู่ ณ เขมะมฤคทายวัน ข่าวว่าพระราชโอรสพระนามว่า ขัณฑะ และบุตรปุโรหิตชื่อ ติสสะ ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ออกบวชเป็นบรรพชิต ณ สำนักของสมเด็จพระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว "

    ... คนเหล่านั้นครั้นได้ฟังแล้วต่างก็คิดกันว่า

    ... " ก็พระราชโอรสพระนามว่า ขัณฑะและบุตรปุโรหิตชื่อว่า ติสสะ ปลงผมและหนวดนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ออกบวชเป็นบรรพชิตในพระธรรมวินัยใด พระธรรมวินัยนั้น คงไม่ต่ำทรามแน่นอน บรรพชานั้นคงไม่ต่ำทราม

    ... แต่พระราชโอรสพระนามว่า ขัณฑะ และบุตรปุโรหิตชื่อว่า ติสสะ ยังปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ออกบวชเป็นบรรพชิตได้ ไฉนพวกเราจึงจักออกบวชเป็นบรรพชิตบ้างไม่ได้เล่า "



    ..... ครั้งนั้นแล หมู่มหาชนประมาณ ๘๔,๐๐๐ คนได้ชวนกันออกจากพระนครพันธุมดีราชธานีเข้าไปทางเขมะมฤคทายวัน ที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

    ... พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสอนุปุพพิกถาแก่ชนเหล่านั้น คือทรงประกาศทานกถา สีลกถา สัคคกถา โทษของกามที่ต่ำช้าเศร้าหมอง และอานิสงส์ในการออกบวช

    ... เมื่อพระผู้มีพระภาคได้ทรงทราบว่า ชนเหล่านั้น มีจิตคล่อง มีจิตอ่อน มีจิตปราศจากนิวรณ์ มีจิตสูง มีจิตผ่องใส จึงได้ทรงประกาศพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือ อริยสัจ๔ (ทุกข์ความทนได้ยาก สมุทัยเหตุให้เกิดทุกข์ นิโรธความดับแห่งทุกข์ มรรคทางปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งทุกข์)

    ... ดวงตาเห็นธรรมอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแล้วแก่หมู่มหาชน ๘๔,๐๐๐ คน นั้นว่า " สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดย่อมมีความดับไปเป็นธรรมดา " ณ ที่นั่งนั้นแล เหมือนผ้าที่สะอาดปราศจากมลทินควรรับน้ำย้อมด้วยดี ฉะนั้น

    ... ชนเหล่านั้น เห็นธรรม ถึงธรรม รู้แจ้งธรรม หยั่งทราบธรรม ข้ามความสงสัยปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความแกล้วกล้าไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในสัตถุศาสนา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า

    ... " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยคิดว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้ ฉันใด

    ... พระผู้มีพระภาคทรงประกาศพระธรรมโดยอเนกปริยาย ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เหล่านี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาคกับพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ขอบรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระพุทธเจ้าข้า "

    ... หมู่มหาชน ๘๔,๐๐๐ คนเหล่านั้น ได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของสมเด็จพระวิปัสสีพุทธเจ้าแล้ว พระพุทธเจ้าได้ทรงยังภิกษุเหล่านั้นให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว

    ... ทรงประกาศโทษของสังขาร(คือร่างกาย)ที่ต่ำช้าเศร้าหมอง และอานิสงส์ในพระนิพพาน จิตของภิกษุเหล่านั้น ผู้อันพระผู้มีพระภาคเจ้าวิปัสสี ทรงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริงด้วยธรรมีกถาก็หลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ยึดมั่นถือมั่นในร่างกาย




    ..... ในกาลต่อมาบรรพชิต ๘๔,๐๐๐ รูป ที่บวชตามเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าในวันออกมหาภิเนษกรมณ์ ได้สดับข่าวว่า

    ... " สมเด็จพระวิปัสสีอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จถึงพระนครพันธุมดีราชธานี ประทับอยู่ ณ เขมะมฤคทายวัน และมีข่าวว่า กำลังทรงแสดงธรรมอยู่ "

    ... ครั้งนั้นแล บรรพชิต ๘๔,๐๐๐ รูปเหล่านั้น ได้พากันไปทางพระนครพันธุมดีราชธานีทางเขมะมฤคทายวันที่สมเด็จพระอรหันตสัมมาสัมพุทโธเจ้าประทับอยู่

    ... ครั้นถึงแล้ว ได้ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วพากันนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสอนุปุพพิกถาแก่บรรพชิตเหล่านั้น คือ ทรงประกาศ ทานกถา สีลกถา สัคคะกถา โทษของกามที่ต่ำช้าเศร้าหมอง และอานิสงส์ในการออกบวช

    ... เมื่อทรงทราบว่า บรรพชิตเหล่านั้นมีจิตคล่อง มีจิตอ่อนมีจิตปราศจากนิวรณ์ มีจิตสูง มีจิตผ่องใส จึงได้ทรงประกาศพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือ อริยสัจ๔ (ทุกข์ความทนได้ยาก สมุทัยเหตุให้เกิดทุกข์ นิโรธความดับแห่งทุกข์ มรรคทางปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งทุกข์)

    ... ดวงตาเห็นธรรมที่ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแล้วแก่บรรพชิต๘๔,๐๐๐ รูปนั้นว่า " สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดย่อมมีความดับไปเป็นธรรมดา " ณ ที่นั่งนั้นแล เหมือนผ้าที่สะอาดปราศจากมลทินควรรับน้ำย้อมด้วยดี ฉะนั้น

    ... บรรพชิตเหล่านั้นเห็นธรรม ถึงธรรม รู้แจ้งธรรม หยั่งทราบธรรม ข้ามความสงสัย ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความแกล้วกล้าไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในสัตถุศาสนา ได้กราบทูลสมเด็จพระวิปัสสีอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า

    ... " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยคิดว่าผู้มีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้ ฉันใด

    ... พระผู้มีพระภาคทรงประกาศพระธรรมโดยอเนกปริยาย ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เหล่านี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้ากับพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ขอบรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า "

    ... บรรพชิต ๘๔,๐๐๐ รูปเหล่านั้นได้บรรพชาได้อุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาค พระนามว่าวิปัสสีแล้ว

    ... พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ได้ทรงยังภิกษุเหล่านั้นให้เห็นแจ้งให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริงด้วยธรรมีกถา ทรงประกาศโทษของสังขาร(คือร่างกาย)ที่ต่ำช้าเศร้าหมอง และอานิสงส์ในพระนิพพาน จิตของภิกษุเหล่านั้น ผู้อันพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ทรงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริง ด้วยธรรมีกถา ไม่นานนักก็หลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ยึดมั่นในร่างกาย




    ..... ก็สมัยนั้น ในพระนครพันธุมดีราชธานี มีพระภิกษุสงฆ์อาศัยอยู่มากประมาณหกล้านแปดแสนรูป ครั้งนั้นสมเด็จพระวิปัสสีบรมศาสดา ผู้เสด็จเร้นอยู่ในที่ลับ เกิดความรำพึงในพระทัยว่า

    ... " บัดนี้ ในพระนครพันธุมดีราชธานี มีภิกษุสงฆ์อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ประมาณหกล้านแปดแสนรูป ถ้ากระไร เราพึงอนุญาตภิกษุทั้งหลายว่า

    ... ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเที่ยวจาริกไป เพื่อประโยชน์แก่ชนเป็นอันมากเพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์สัตว์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทพดาและมนุษย์ทั้งหลาย แต่อย่าได้ไปทางเดียวกันถึงสองรูป

    ... เธอทั้งหลายจงแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้นคือศีล งามในท่ามกลางคือสมาธิ งามในปริโยสานคือพระนฤพานอันสงบระงับดับกิเลสทั้งปวง จงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง

    ... ในโลกนี้สัตว์พวกนี้ที่มีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุเบาบางยังมีอยู่ เพราะไม่ได้ฟังธรรม สัตว์พวกนั้นจึงเสื่อมเสียจากความดีไป ผู้ที่รู้ทั่วถึงธรรมได้ยังจักมี แต่ว่าโดยหกปีๆ ล่วงไปพวกเธอพึงกลับมายังพระนครพันธุมดีราชธานี เพื่อแสดงพระปาติโมกข์ "

    ... ครั้งนั้นแล ท้าวมหาพรหมองค์หนึ่ง ได้ทราบความรำพึงในพระทัยของสมเด็จพระพุทธเจ้าด้วยใจแล้ว จึงได้หายตัวจากที่พรหมโลก ไปปรากฏอยู่เฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เปรียบเหมือนบุรุษที่มีกำลัง เหยียดออกซึ่งแขนที่คู้เข้าไว้ หรือคู้เข้าซึ่งแขนที่เหยียดออกไว้ ฉะนั้น

    ... ทันใดนั้น ท้าวมหาพรหมนั้นกระทำผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลีไปทางที่สมเด็จพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ได้กราบทูลว่า

    ... " ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคตข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

    ... บัดนี้ ในพระนครพันธุมดีราชธานีมีภิกษุสงฆ์อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ประมาณหกล้านแปดแสนรูป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงอนุญาตภิกษุทั้งหลายเถิดว่า

    ... ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเที่ยวจาริกไป เพื่อประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์สัตว์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทพดาและมนุษย์ทั้งหลาย แต่อย่าได้ไปทางเดียวกันถึงสองรูป

    ... ภิกษุทั้งหลายเธอทั้งหลาย จงแสดงธรรมงามในเบื้องต้นคือศีล งามในท่ามกลางคือสมาธิ งามในปริโยสานคือพระนฤพานเป็นที่สงบระงับดับกิเลสทั้งปวง จงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง

    ... ในโลกนี้ สัตว์พวกที่มีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุเบาบางยังมีอยู่ เพราะไม่ได้ฟังธรรมสัตว์พวกนั้นจึงเสื่อมเสียจากคุณความดีไป ผู้ที่รู้ทั่วถึงธรรมได้ยังจักมี

    ... ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญแม้ข้าพระองค์ก็จักกระทำโดยที่จะให้ภิกษุทั้งหลายกลับมายังพระนครพันธุมดีราชธานี เพื่อแสดงพระปาติโมกข์โดยหกปีๆ ล่วงไป "

    ... ท้าวมหาพรหมนั้นได้กราบทูลดังนี้แล้วถวายบังคมพระพุทธเจ้ากระทำประทักษิณแล้ว หายไป ณ ที่นั้นเอง




    ..... สมเด็จพระวิปัสสีบรมโลกนาถเจ้า ในเวลาเย็น เสด็จออกจากที่เร้นแล้วตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า

    ... " ภิกษุทั้งหลาย วันนี้เราไปเร้นอยู่ในที่ลับ เกิดความรำพึงในใจว่า ในพระนครพันธุมดีราชธานี มีภิกษุสงฆ์อาศัยอยู่เป็นจำนวนมากประมาณหกล้านแปดแสนรูป ถ้ากระไรเราพึงอนุญาตภิกษุทั้งหลายว่า

    ... ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเที่ยวจาริกไป เพื่อประโยชน์แก่ชนเป็นอันมากเพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์สัตว์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทพดาและมนุษย์ทั้งหลาย แต่อย่าได้ไปทางเดียวกันถึงสองรูป

    ... เธอทั้งหลายจงแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้นคือศีล งามในท่ามกลางคือสมาธิ งามในปริโยสานคือพระนฤพานอันสงบระงับดับกิเลสทั้งปวง จงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง

    ... ในโลกนี้สัตว์พวกนี้ที่มีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุเบาบางยังมีอยู่ เพราะไม่ได้ฟังธรรม สัตว์พวกนั้นจึงเสื่อมเสียจากความดีไป ผู้ที่รู้ทั่วถึงธรรมได้ยังจักมี แต่ว่าโดยหกปีๆ ล่วงไปพวกเธอพึงกลับมายังพระนครพันธุมดีราชธานี เพื่อแสดงพระปาติโมกข์ "

    ... ภิกษุทั้งหลาย ทันใดนั้นแล ท้าวมหาพรหมองค์หนึ่ง ได้ทราบความรำพึงในใจของเราด้วยใจ แล้วจึงได้หายตัวที่พรหมโลก มาปรากฏเฉพาะหน้าเรา เปรียบเหมือนบุรุษที่มีกำลังเหยียดออกซึ่งแขนที่คู้เข้าไว้ หรือคู้เข้าซึ่งแขนที่เหยียดออกไว้ ฉะนั้น

    ... ที่นั้น ท้าวมหาพรหมนั้น กระทำผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่งประนมอัญชลีมาทางเราแล้วพูดกะเราว่า

    ... " ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต ข้อนี้เป็นอย่างนั้น บัดนี้ในพระนครพันธุมดีราชธานี มีภิกษุสงฆ์อาศัยอยู่เป็นจำนวนมากประมาณหกล้านแปดแสนรูป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงอนุญาตภิกษุทั้งหลายเถิดว่า

    ... ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเที่ยวจาริกไป เพื่อประโยชน์แก่ชนเป็นอันมากเพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์สัตว์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทพดาและมนุษย์ทั้งหลาย แต่อย่าได้ไปทางเดียวกันถึงสองรูป

    ... เธอทั้งหลายจงแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้นคือศีล งามในท่ามกลางคือสมาธิ งามในปริโยสานคือพระนฤพานอันสงบระงับดับกิเลสทั้งปวง จงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง

    ... ในโลกนี้สัตว์พวกนี้ที่มีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุเบาบางยังมีอยู่ เพราะไม่ได้ฟังธรรม สัตว์พวกนั้นจึงเสื่อมเสียจากความดีไป ผู้ที่รู้ทั่วถึงธรรมได้ยังจักมี แต่ว่าโดยหกปีๆ ล่วงไปพวกเธอพึงกลับมายังพระนครพันธุมดีราชธานี เพื่อแสดงพระปาติโมกข์โดยหกปีๆ ล่วงไป

    ... ภิกษุทั้งหลาย ท้าวมหาพรหมนั้นพูดกะเรา ดังนี้แล้วไหว้เรา กระทำประทักษิณ แล้วหายไปในที่นั้นเอง

    ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต พวกเธอจงเที่ยวจาริกไปเพื่อประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์สัตว์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทพดาและมนุษย์ทั้งหลาย แต่อย่าได้ไปทางเดียวกันถึงสองรูป

    ... เธอทั้งหลายจงแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้นคือศีล งามในท่ามกลางคือสมาธิ งามในปริโยสานคือพระนฤพานอันสงบระงับดับกิเลสทั้งปวง จงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง

    ... ในโลกนี้สัตว์พวกนี้ที่มีกิเลสเพียงดังธุลีในจักษุเบาบางยังมีอยู่ เพราะไม่ได้ฟังธรรม สัตว์พวกนั้นจึงเสื่อมเสียจากความดีไป ผู้ที่รู้ทั่วถึงธรรมได้ยังจักมี แต่ว่าโดยหกปีๆ ล่วงไปพวกเธอพึงกลับมายังพระนครพันธุมดีราชธานี เพื่อแสดงพระปาติโมกข์โดยหกปีๆ ล่วงไป ดังนี้ "

    ... ภิกษุทั้งหลายรับพระพุทธบัญชาแล้ว ได้เที่ยวจาริกไปในชนบทโดยวันเดียวเท่านั้นโดยมาก




    ..... ก็โดยสมัยนั้นแล ในชมพูทวีปมีวัดอยู่ ๘๔,๐๐๐ เมื่อล่วงไปได้พรรษาหนึ่งแล้ว เทพดาทั้งหลายได้ร้องประกาศว่า

    ... " ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ล่วงไปพรรษาหนึ่งแล้ว บัดนี้ ยังเหลือห้าพรรษา โดยอีกห้าพรรษาล่วงไป ท่านทั้งหลายพึงเข้าไปยังพระนครพันธุมดีราชธานี เพื่อสวดพระปาติโมกข์ "

    ... เมื่อล่วงไปได้สองพรรษาแล้ว เทพดาทั้งหลายได้ร้องประกาศว่า

    ... " ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ล่วงไปสองพรรษาแล้ว บัดนี้ ยังเหลือสี่พรรษา โดยอีกสี่พรรษาล่วงไป ท่านทั้งหลายพึงเข้าไปยังพระนครพันธุมดีราชธานีเพื่อสวดพระปาติโมกข์ "

    ... เมื่อล่วงไปได้สามพรรษาแล้ว เทพดาทั้งหลายได้ร้องประกาศว่า

    ... " ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ล่วงไปสามพรรษาแล้ว บัดนี้ ยังเหลือสามพรรษา โดยอีกสามพรรษาล่วงไป ท่านทั้งหลายพึงเข้าไปยังพระนครพันธุมดีราชธานี เพื่อสวดพระปาติโมกข์ "

    ... เมื่อล่วงไปได้สี่พรรษาแล้ว เทพดาทั้งหลายได้ร้องประกาศว่า

    ... " ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ล่วงไปสี่พรรษาแล้ว บัดนี้ ยังเหลือสองพรรษา โดยอีกสองพรรษาล่วงไป ท่านทั้งหลายพึงเข้าไปยังพระนครพันธุมดีราชธานี เพื่อสวดพระปาติโมกข์ "

    ... เมื่อล่วงไปได้ห้าพรรษาแล้ว เทพดาทั้งหลายได้ร้องประกาศว่า

    ... " ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ล่วงไปห้าพรรษาแล้ว บัดนี้ ยังเหลือพรรษาเดียวโดยอีกพรรษาเดียวล่วงไป ท่านทั้งหลายพึงเข้าไปยังพระนครพันธุมดีราชธานี เพื่อสวดพระปาติโมกข์ "

    ... เมื่อล่วงไปได้หกพรรษาแล้ว เทพดาทั้งหลายได้ร้องประกาศว่า

    ... " ล่วงไปหกพรรษาแล้ว บัดนี้ถึงเวลาละ ท่านทั้งหลายพึงเข้าไปยังพระนครพันธุมดี
    ราชธานี เพื่อสวดพระปาติโมกข์ "

    ... ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้น บางพวกไปด้วยอิทธานุภาพของตน บางพวกไปด้วยอิทธานุภาพของเทวดา เข้าไปยังพระนครพันธุมดีราชธานี โดยวันเดียวนั้น เพื่อสวดพระปาติโมกข์

    ... ได้ยินว่า ณ ที่นั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาควิปัสสีอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสวดพระปาติโมกข์ในที่ประชุมพระภิกษุสงฆ์ ณ เขมะมิคะทายะวัน ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ดังนี้ว่า



    ... สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง การไม่ทำบาปทั้งปวง

    ... กุสะลัสสูปะสัมปะทา การกระทำแต่กุศลคุณงามความดีให้ถึงพร้อม

    ... สะจิตตะปะริโยทะปะนัง การชำระจิตของตนให้ผ่องแผ้วจากกิเลสาสวนุสัยเครื่องดองสันดาน

    ... เอตัง พุทธานะสาสะนัง นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย


    ... ขันตี ปะระมัง ตะโป ตีติกขา พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสตีติกขาขันติความอดทนว่า เป็นตบะอย่างยิ่ง

    ... นิพพานัง ปะระมัง วะทันติ พุทธา พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสพระนิพพานว่าเป็นบรมธรรม(ธรรมอย่างยิ่ง)

    ... นะ หิ ปัพพะชิโต ปะรูปะฆาตี ผู้ยังเบียดเบียนทำร้ายผู้อื่นอยู่หาเป็นบรรพชิตไม่

    ... นะ สะมะโณ โหติ ปะรัง วิเหฐะยันโต ผู้ยังเบียดเบียนผู้อื่นอยู่หาเป็นสมณะไม่

    ... อนูปะวาโท อะนูปะฆาโต การไม่ว่าร้าย การไม่ทำร้าย

    ... ปาฏิโมกเข จะ สังวะโร ความสำรวมในพระปาติโมกข์(พระพุทธบัญญัติตรัสห้ามและพระพุทธานุญาต)

    ... มัตตัญญุตา จะ ภัตตัสมิง ความรู้จักประมาณในการบริโภคภัตตาหาร

    ... ปันตัญจะ สะยะนาสะนัง การนอนการนั่งในที่อันสงัด

    ... อะธิจิตเต จะ อาโยโค การประกอบความเพียรในอธิจิต(คือความเพียรยังจิตให้สงบระงับดับกิเลสทั้งปวง)

    ... เอตัง พุทธานะ สาสะนัง นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายทุกๆพระองค์
     
  4. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    ..... ในพระศาสนาขององค์สมเด็จพระวิปัสสีบรมครูมีธรรมาภิสมัย ๓ ครั้ง

    ... ครั้งแรกเมื่อครั้งทรงประกาศพระธรรมจักรท่ามกลางพระขัณฑะกุมารและติสสะกุมาร ครั้งนั้น ธรรมาภิสมัยได้มีแก่เทวดาทั้งหลายนับประมาณมิได้

    ... สมัยต่อมา ทรงยังภิกษุแปดหมื่นสี่พันซึ่งบวชตามพระขัณฑะราชโอรส และติสสะกุมารบุตรปุโรหิตให้ดื่มอมฤตธรรม นั้นเป็นอภิสมัยครั้งที่ ๒

    ... สมัยต่อมา บุรุษที่นับได้แปดหมื่นสี่พันเหล่านี้ก็คือพวกบุรุษที่รับใช้พระวิปัสสีกุมารนั่นเอง บุรุษเหล่านั้นไปยังที่รับใช้พระวิปัสสีกุมารแต่เช้า ไม่เห็นพระกุมาร ก็กลับไปเพื่อกินอาหารเช้า กินอาหารเช้าแล้วถามกันว่า พระกุมารอยู่ไหน แต่นั้น ได้ฟังข่าวว่า เสด็จไปยังที่ราชอุทยาน จึงพากันออกไปด้วยหวังว่าจักพบพระองค์ ณ ที่ราชอุทยานนั้น เห็นสารถีของพระองค์กลับมา ฟังว่าพระราชกุมารทรงผนวชแล้ว ก็เปลื้องอาภรณ์ทั้งหมดในที่ฟังข่าวนั่นเอง ให้นำผ้ากาสายะมาจากภายในตลาด ปลงผมและหนวดพากันบวช บุรุษเหล่านั้น ครั้นบวชแล้วก็พากันไปแวดล้อมพระมหาบุรุษ

    ... แต่นั้น พระวิปัสสีโพธิสัตว์ทรงพระดำริว่า เราเมื่อจะบำเพ็ญความเพียร ยังคลุกคลีอยู่ ข้อนี้ไม่สมควร คนเหล่านี้ แต่ก่อนเป็นคฤหัสถ์ก็พากันมาแวดล้อมเราอย่างนั้น ประโยชน์อะไรด้วยคนหมู่นี้ ทรงระอาในการคลุกคลีด้วยหมู่ ทรงพระดำริว่าจะไปเสียวันนี้แหละ ทรงพระดำริอีกว่า วันนี้ยังไม่ใช่เวลา ถ้าเราจักไปในวันนี้ คนเหล่านี้จักรู้กันหมด พรุ่งนี้จึงจักไป

    ... ในวันนั้นนั่นเอง มนุษย์ชาวบ้านในบ้านตำบลหนึ่งเช่นเดียวกับอุรุเวละคาม ได้จัดแจงข้าวมธุปายาสอย่างเดียว เพื่อบรรพชิตแปดหมื่นสี่พันเหล่านั้น และพระมหาบุรุษ

    ... ในวันรุ่งขึ้นเป็นวันวิสาขบูรณมี พระวิปัสสีมหาบุรุษเสวยภัตตาหารกับชนที่บวชเหล่านั้นในวันนั้นแล้ว ก็เสด็จไปยังสถานที่ประทับอยู่ ณ ที่นั้น

    ... บรรพชิตเหล่านั้นแสดงวัตรปฏิบัติแด่พระมหาบุรุษแล้ว ก็พากันเข้าไปยังสถานที่อยู่กลางคืนและที่พักกลางวันของตนๆ

    ... แม้พระโพธิสัตว์ก็เสด็จเข้าไปสู่บรรณศาลา ประทับนั่งทรงพระดำริว่า นี้เป็นเวลาเหมาะที่จะออกไปได้ จึงเสด็จออกอภิเนษกรมณ์ ทรงปิดประตูบรรณศาลา เสด็จบ่ายพระพักตร์ไปยังโพธิมัณฑะสถาน

    ... นัยว่า บรรพชิตเหล่านั้น เวลาเย็นก็พากันไปยังที่ปรนนิบัติพระโพธิสัตว์ นั่งล้อมบรรณศาลา กล่าวว่าวิกาลมืดค่ำแล้วตรวจกันดูเถิด จึงเปิดประตูบรรณศาลาก็ไม่พบพระองค์ คิดกันว่า พระมหาบุรุษเสด็จไปไหนหนอ ยังไม่พากันติดตาม คิดแต่ว่า พระมหาบุรุษ เห็นทีจะเบื่อการอยู่เป็นหมู่ ประสงค์จะอยู่แต่ลำพัง เราจะพบพระองค์เป็นพระพุทธเจ้าเท่านั้น จึงพากันออกจาริกมุ่งหน้าไปภายในชมพูทวีป

    ... ลำดับนั้น บรรพชิตเหล่านั้นฟังข่าวว่า สมเด็จพระวิปัสสีถึงความเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ประกาศพระธรรมจักร จึงประชุมกันที่เขมะมิคะทายะวัน กรุงพันธุมดีราชธานี โดยลำดับ

    ... แต่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงแสดงธรรมโปรดบรรพชิตเหล่านั้น ครั้งนั้น ธรรมาภิสมัยได้มีแก่ภิกษุแปดหมื่นสี่พัน นั้นเป็นอภิสมัยครั้งที่ ๓




    ..... ก็ในกาลของสมเด็จพระสรรเพชญพุทธองค์มีสาวกสันนิบาต การประชุมพระสาวกมี ๓ ครั้ง

    ... ครั้งแรก พระผู้มีพระภาคเจ้าวิปัสสีประทับนั่งท่ามกลางภิกษุแสนแปดหมื่นหกพันซึ่งบวชตามพระวิปัสสีสัมพุทธเจ้า และพระอัครสาวก ณ เขมะมิคทายวัน ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ดังนี้ว่า

    ... ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสตีติกขาขันติว่า เป็นตบะอย่างยิ่ง

    ... นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสพระนิพพานว่าเป็นบรมธรรม(ธรรมอย่างยิ่ง)

    ... น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี ผู้ยังทำร้ายผู้อื่นหาเป็นบรรพชิตไม่

    ... น สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโต ผู้ยังเบียดเบียนผู้อื่นอยู่หาเป็นสมณะไม่

    ... สพฺพปาปสฺส อกรณํ การไม่ทำบาปทั้งปวง

    ... กุสลสฺสูปสมฺปทา การยังกุศลให้ถึงพร้อม

    ... สจิตฺตปริโยทปนํ การชำระจิตของตนให้ผ่องแผ้ว

    ... เอตํ พุทฺธานสาสนํ นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

    ... อนูปวาโท การไม่ว่าร้าย

    ... อนูปฆาโต การไม่ทำร้าย

    ... ปาฏิโมกฺเข จ สํวโร ความสำรวมในพระปาติโมกข์

    ... มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ ความรู้จักประมาณในภัตตาหาร

    ... ปนฺตญฺจ สยนาสนํ ที่นอนที่นั่งอันสงัด

    ... อธิจิตฺเต จ อาโยโค และการประกอบความเพียรในอธิจิต

    ... เอตํ พุทฺธาน สาสนํ นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ฯ.

    ... พึงทราบว่า คาถาปาติโมกขุทเทศเหล่านี้เป็นของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ นั้นเป็นสันนิบาตครั้งที่ ๑.


    ... ต่อมาอีก สันนิบาตครั้งที่ ๒ ได้มีแก่ภิกษุแสนหนึ่งซึ่งเห็นยมกปาฏิหาริย์แล้วบวช


    ... ครั้งพระกนิษฐภาดา ๓ พระองค์ ต่างพระมารดาของพระวิปัสสีพุทธเจ้า ปราบปัจจันตะประเทศให้สงบแล้วได้รับพระราชทานพร ด้วยการทำการบำรุงพระผู้มีพระภาคเจ้า นำเสด็จมาสู่พระนครของพระองค์บำรุง ทรงสดับธรรมของพระพุทธองค์ แล้วทรงผนวช

    ... พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งท่ามกลางภิกษุแปดล้านเหล่านั้น ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ณ เขมะมิคะทายะวัน นั้นเป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓




    ..... ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเราเป็นพระยานาคชื่อ อตุละ มีฤทธานุภาพมาก มีนาคหลายแสนโกฏิเป็นบริวาร สร้างมณฑปอันสำเร็จด้วยรัตนะ ๗ เป็นส่วนอันมั่นคงผ่องแผ้วที่น่าดู เช่นเดียวกับดวงจันทร์ เพื่อทำสักการะแด่สมเด็จพระทศพลญาณเจ้าผู้มีกำลังและศีลที่ไม่มีผู้เสมอ มีพระหฤทัยเยือกเย็นด้วยพระกรุณา พร้อมทั้งบริวาร นิมนต์ให้ประทับนั่ง ณ มณฑปนั้น ถวายมหาทานอันเหมาะแก่สมบัติทิพย์ตลอดเจ็ดวัน ได้ถวายตั่งทองขจิตด้วยรัตนะ ๗ อันรุ่งเรืองด้วยประกายโชติช่วงแห่งมณีต่างๆ สมควรยิ่งใหญ่แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

    ... ครั้งนั้น องค์สมเด็จพระวิปัสสีสัพพัญญูพุทธเจ้าทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้น ในเวลาจบอนุโมทนาปีฐะทานว่า

    ... " พญาภุชงค์นาคราชนี้ นานไปในอนาคตกำหนดได้ ๙๐ กัปแต่กาลนี้ไป จักได้ตรัสเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า สมเด็จพระสมณะโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า ในภัทรกัปหนึ่ง อันจักปรากฏมีในอนาคตกาลภายภาคหน้า "

    ... เมื่อเราได้ฟังพระพุทธพยากรณ์ดังนี้ ก็มีจิตยินดีปรีดายิ่งนักประหนึ่งจักได้ตรัสเป็นพระพุทธเจ้าในวันพรุ่งนี้ เราได้สมาทานในข้อวัตรคือ ทาน ศีล ภาวนา และบารมี ๓๐ ทัศให้ยิ่งๆ ขึ้นไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 ธันวาคม 2013
  5. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    ..... องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าวิปัสสีบรมโลกนาถเจ้าพระองค์นั้นทรงมีพระนครชื่อว่า พันธุมดี พระชนกพระนามว่า พระเจ้าพันธุมา พระชนนีพระนามว่า พระนางพันธุมดี คู่พระอัครสาวกชื่อว่า พระขัณฑะมหาเถระ และ พระติสสะมหาเถระ พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า พระอโสกะมหาเถระ คู่พระอัครสาวิกาชื่อว่า พระแม่เจ้าจันทามหาเถรี และ พระแม่เจ้าจันทมิตตามหาเถรี พระศรีมหาโพธิพฤกษ์ชื่อว่า ปาฏลี (ต้นแคฝอย) พระวรกายสูง ๘๐ ศอก พระพุทธรัศมีแห่งพระสรีระแผ่ไป ๗ โยชน์ทุกเวลา พระชนมายุยืนแปดหมื่นปี พระอัครมเหสีของพระองค์พระนามว่า พระนางสุตนู พระโอรสของพระองค์พระนามว่า พระสมวัฏฏะขันธะ ทรงเสด็จออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือรถเทียมม้า



    ..... ในยุคนั้นมนุษย์มีอายุยืนแปดหมื่นปี สมเด็จพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นมีพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น จึงทรงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆะ

    ... องค์สมเด็จพระสยัมภูพระวิปัสสีพุทธเจ้า ทรงเปลื้องเทวดาและมนุษย์เป็นอันมากจากเครื่องผูก ทรงบอกทางและมิใช่ทางกะพวกปุถุชนที่เหลือ พระองค์และพระสาวก สำแดงแสงสว่าง ทรงแสดงอมตะบท(คือพระนิพพาน)อันรุ่งโรจน์แล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน เหมือนกองไฟลุกโพลงแล้วก็ดับเพราะหมดเชื้อ ฉะนั้น

    ... พระวรฤทธิ์อันเลิศ พระบุญญาธิการอันประเสริฐ พระวรลักษณ์อันบานเต็มที่แล้ว ทั้งนั้นก็อันตรธานไปสิ้น สังขาร(คือร่างกาย)ทั้งปวงนี้ ก็ว่างเปล่าจริงหนอ




    ..... องค์สมเด็จพระวิปัสสีอรหันตสัมมาสัมพุทโธเจ้าผู้ประเสริฐกว่านรชน ทรงเสด็จล่วงลับดับขันธปรินิพพาน ณ วัดสุมิตตารามมหาวิหาร พระสถูปเจดีย์อันประเสริฐบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระองค์สูง ๗ โยชน์ ประดิษฐานอยู่ ณ วัดสุมิตตารามมหาวิหารนั้น ฉะนี้แล.

    ... ได้ยินว่า ในสมัยขององค์สมเด็จพระวิปัสสีบรมศาสดานั้น พระพุทธองค์ทรงมีปรกติพูดน้อย พระศาสนาของพระพุทธเจ้าไม่มีสิกขาบทข้อพระพุทธบัญญัติ คงมีแต่พระสัทธรรมคำสอน เพราะพระภิกษุในสมัยนั้นเป็นพระอริยเจ้าเสียโดยมาก ข้อนี้แลเป็นเหตุให้พระศาสนาขององค์สมเด็จพระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้าหลังกาลปรินิพพานไม่นาน พระศาสนาก็เสื่อมสลายไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 ธันวาคม 2013
  6. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    องค์สมเด็จพระสิขีสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ..... ต่อมาภายหลังกาลพระศาสนาขององค์สมเด็จพระวิปัสสีบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าเสื่อมสูญ เมื่อกัปนั้นอันตรธานไปแล้ว ต่อจากนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ไม่อุบัติขึ้นในโลก ๕๙ กัป มีแต่แสงสว่างที่ปราศจากพระพุทธเจ้า เอกราชของกิเลสมารและเทวปุตตะมาร ก็ปราศจากเสี้ยนหนาม

    ... ในสามสิบเอ็ดกัปนับแต่กัปนี้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดขึ้นแล้วในโลกสองพระองค์คือ

    ... องค์สมเด็จพระสิขีสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ดุจไฟอันสุมด้วยไม้แก่นแห้งสนิท ราดด้วยเนยใสมากๆ ไม่มีควัน และองค์สมเด็จพระเวสสะภูสัมมาสัมพุทธเจ้า



    ..... บรรดาองค์สมเด็จพระพุทธเจ้าสองพระองค์นั้น องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าสิขีทรงบำเพ็ญบารมี ๓๐ ทัศเต็มเปี่ยมครบถ้วนบริบูรณ์ แล้วบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต เมื่อถึงกาลที่พระสิขีโพธิสัตว์จะได้ลงมาตรัสเป็นองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้ารื้อขนปวงสัตว์จากโอฆะสงสารเข้าสู่เมืองแก้วพระนิพพาน พระสิขีโพธิสัตว์อันท้าวสักกะเทวราช ท้าวสหัมบดีมหาพรหมและพรหมเทวดาทั้งหลายอาราธนาทูลเชิญแล้ว ก็ได้จุติจากดุสิตเทวโลกนั้นก็ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนางปภาวดีเทวีผู้มีพระรัศมีงามดังรูปทองสีแดง อัครมเหสีของพระเจ้าอรุณ ผู้มีพระคุณอย่างยิ่ง กรุงอรุณวดี ซึ่งมีแต่ทำกุศล ล่วง ๑๐ เดือนก็ประสูติจากพระครรภ์พระชนนี ณ นิสภะราชอุทยาน

    ... ส่วนโหรผู้ทำนายนิมิต เมื่อเฉลิมพระนามของพระองค์ ก็เฉลิมพระนามว่าสิขี เพราะพระยอดกรอบพระพักตร์พุ่งสูงขึ้นดุจยอดพระอุณหิส และเป็นโกณฑัญญะโดยพระโคตร พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่เจ็ดพันปี ทรงมีปราสาท ๓ หลังชื่อว่าสุจันทกะสิริปราสาท คิริยสะปราสาท และนาริวสภะปราสาท ปรากฏมีพระสนมกำนัลสองหมื่นสี่พันนาง มีพระนางสัพพะกามาเทวีเป็นประมุข




    ..... เมื่อพระโอรสพระนามว่าอตุละ ผู้ไม่มีผู้ชั่ง ผู้เทียบได้ด้วยหมู่แห่งพระคุณของพระนางสัพพะกามาเทวีทรงสมภพ พระมหาบุรุษนั้นก็ทรงเห็นนิมิต ๔ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และบรรพชิตแล้ว ขึ้นทรงพระยาคชสารช้างต้นเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ ทรงผนวช บุรุษหนึ่งแสนสามหมื่นเจ็ดพันพากันบวชตามเสด็จ



    ..... พระองค์อันบรรพชิตเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว ทรงบำเพ็ญเพียร ๘ เดือน ในวันวิสาขบูรณมี ทรงละการคลุกคลีด้วยหมู่ คณะ เสวยข้าวมธุปายาสที่ธิดาปิยะเศรษฐี สุทัสสนะนิคมถวาย แล้วยับยั้งพักกลางวัน ณ ป่าตะเคียนหนุ่ม ทรงรับหญ้าคา ๘ กำ ที่ดาบสชื่ออโนมะทัสสีถวาย เสด็จเข้าไปยังพระศรีมหาโพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นบุณฑรีกะ (มะม่วงป่า)

    ... เขาว่าวันนั้นนั่นเอง มะม่วงป่าต้นนั้นสูงชะลูดลำต้นขนาด ๕๐ ศอก แม้กิ่งก็ขนาด ๕๐ ศอกเหมือนกัน ดารดาษด้วยดอกหอมเป็นทิพย์ มิใช่ดารดาษด้วยดอกอย่างเดียวเท่านั้น ยังดารดาษแม้ด้วยผลทั้งหลาย มะม่วงต้นนั้นแถบหนึ่งมีผลอ่อน แถบหนึ่งมีผลปานกลาง แถบหนึ่งมีผลห่าม แถบหนึ่งมีผลมีรสดี พรั่งพร้อมด้วยสีกลิ่นและรส เหมือนทิพยโอชาที่เทวดาใส่ไว้ ห้อยย้อยแด่แถบนั้นๆ ต้นไม้ดอกก็ประดับด้วยดอก ต้นไม้ผลก็ประดับด้วยผล ในหมื่นจักรวาลเหมือนอย่างมะม่วงต้นนั้น

    ... ได้ยินว่า เมื่อพระโพธิสัตว์เสด็จเข้า ณ โพธิมณฑลนั้น เหล่าพรหมเทวดาและทวยเทพทุกชั้นฟ้าเสด็จมาห้อมล้อมพระโพธิสัตว์จนเต็มห้องจักรวาล ท้าวมหาราชทั้ง๔ และบริวารคอยยืนเฝ้าถวายความปลอดภัยในทิศทั้ง๔ พรหมและเทวดาต่างปรากฏกายให้พระสิขีโพธิสัตว์เห็นและยืนพนมมือถวายนมัสการพระโพธิสัตว์กันถ้วนหน้า

    ... พระองค์ทรงลาดสันถัตหญ้ากว้าง ๒๔ ศอก ที่แท่นหินก้อนหนึ่งใต้โคนต้นพระศรีมหาโพธิ์ ในเวลาใกล้ค่ำ ทรงประทับนั่งขัดสมาธิอธิษฐานความเพียรมีองค์ ๔ แล้วทรงตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่นเจริญพระอานาปานสติกัมมัฏฐาน คือ กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ไม่นานนักพระองค์ก็ทรงได้ถึงฌานแปด ทรงเจริญฌานโดยอนุโลม ปฏิโลมจนมีวสีชำนาญดีในการเข้าฌานออกฌาน

    ... ในเวลาปฐมยาม (ประมาณ ๖ โมงเย็น) ทรงตั้งจิตไว้ที่อุปจารสมาธิ แล้วอธิษฐานในพระทัยว่า

    ... " คำว่าพระโพธิญาณนั้นเป็นประการใด ขอจงมาบังเกิดแก่จิตของเราเถิด "

    ... เมื่ออธิษฐานจบ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณก็บังเกิดแก่จิตของพระสิขีโพธิสัตว์เจ้า พระโพธิสัตว์ทรงระลึกพระชาติแต่หนหลัง จนถึงครั้งเริ่มแรกปรารถนาโพธิญาณ ทรงระลึกพระชาติได้โดยไม่มีจำกัด ทำให้พระองค์ทราบว่าได้ปรารถนาพระโพธิญาณแต่เมื่อใด และองค์สมเด็จพระชินมุนีพุทธเจ้าแต่กาลก่อนทรงสอนไว้ว่าอย่างไรบ้าง

    ... เมื่อมัชฌิมยาม(ประมาณ ๔ ทุ่ม) ทรงได้จุตูปปาตญาณ ทรงเห็นการเกิดตายของเหล่าสัตว์ทั้งหลาย ผู้เป็นไปตามกฎแห่งกรรม

    ... ครั้นถึงปัจฉิมยาม(ประมาณตี๔) ทรงหยั่งปัญญาพิจารณาในปัจจยาการ ทรงพิจารณาในปัญจขันธ์ โดยความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

    ... เมื่อยามเช้าตรู่ประมาณหกโมงเช้าพระสุริยาทอแสงสีทอง ก็ทรงได้บรรลุพระอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณ ทรงได้ตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสิขีสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้จอมอรหันต์

    ... ได้ยินว่า ในครั้งนั้นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระอรหันต์ทุกๆพระองค์ ที่เข้าสู่พระนิพพานแล้ว พร้อมทั้งพรหมและเทวดาทุกๆองค์ ต่างก็เสด็จมาอนุโมทนา ในกาลที่องค์สมเด็จพระพุทธสิขีทศพลญาณเจ้าทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณ ข้อนี้เป็นพระพุทธประเพณีที่มีมาแต่เดิม และจะมีต่อไปในอนาคต

    ... ครั้นบรรลุพระโพธิญาณแล้ว ทรงเปล่งพระอุทานว่า

    ... " เราแสวงหาตัณหานายช่างผู้สร้างเรือน เมื่อไม่พบจึงต้องท่องเที่ยวไปตลอดชาติสงสารเป็นอันมาก ชาติ(คือ)ความเกิดบ่อยๆ เป็นทุกข์ ดูก่อนตัณหานายช่างผู้สร้างเรือน เราเห็นท่านแล้ว ท่านจักสร้างเรือนอีกไม่ได้ โครงสร้างเรือนของท่านเราหักหมดแล้ว ยอดเรือนเราก็รื้อออกแล้ว จิตของเราถึงธรรมเป็นที่สิ้นตัณหาแล้ว "




    ..... ทรงยับยั้งใกล้ๆ โพธิพฤกษ์นั่นแล ๗ สัปดาห์ ทรงรับอาราธนาของท้าวสหัมบดีมหาพรหม ทรงเห็นอุปนิสสัยสมบัติของภิกษุแสนเจ็ดหมื่นที่บวชกับพระองค์ จึงเสด็จไปทางอากาศ ลงที่มิคาจิระราชอุทยาน ใกล้กรุงอรุณวดีราชธานี ซึ่งมีรั้วกั้นชนิดต่างๆ อันหมู่มุนีเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักรท่ามกลางหมู่มุนีเหล่านั้น ครั้งนั้น อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่ภิกษุแสนโกฏิ

    ... ต่อมาอีก องค์สมเด็จพระสิขีพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม โปรดพระราชโอรสสองพระองค์ คือพระอภิภูราชโอรสและพระสัมภวะราชโอรสพร้อมด้วยบริวาร ใกล้กรุงอรุณวดีราชธานี ทรงยังสัตว์เก้าหมื่นโกฏิให้ดื่มอมฤตธรรม นั้นเป็นอภิสมัยครั้งที่ ๒

    ... ส่วนครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำยมกปาฏิหาริย์เพื่อหักราน ความเมาและมานะของเดียรถีย์ และเพื่อเปลื้องเครื่องผูกของชนทั้งปวง ใกล้ประตูสุริยะวดีนคร ทรงแสดงธรรมโปรด อภิสมัยครั้งที่ ๓ ก็ได้มีแก่สัตว์แปดหมื่นโกฏิ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 ธันวาคม 2013
  7. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    ..... ในสมัยขององค์สมเด็จพระสิขีจอมมุนีผู้ประเสริฐ ทรงมีสาวกสันนิบาต ๓ ครั้ง

    ... พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งท่ามกลางพระอรหันต์หนึ่งแสนที่บวชพร้อมกับพระราชโอรส คือพระอภิภูมหาเถระ และพระสัมภวะมหาเถระ ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง นั้นเป็นสันนิบาตครั้งที่ ๑


    ... ประทับนั่งท่ามกลางภิกษุแปดหมื่นที่บวชในสมาคมพระญาติ กรุงอรุณวดีทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง นั้นเป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒


    ... พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงท่ามกลางภิกษุเจ็ดหมื่นที่บวชในสมัยทรงฝึกพระยาช้างชื่อธนบาลกะ ในธนัศชัยนคร นั้นเป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓




    ..... ได้ยินว่า ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเราเป็นพระราชาพระนามว่า อรินทมะ ในปริภุตตะนคร ไม่ทรงขัดข้องในที่ไหนๆ

    ... เมื่อพระสิขีศาสดาเสด็จถึงปริภุตตะนคร พระราชาพร้อมทั้งราชบริพาร เสด็จออกไปรับเสด็จมีพระหฤทัย พระเนตรและพระโสตอันความเลื่อมใสถูกต้องแล้ว พร้อมราชบริพาร ถวายบังคมด้วยพระเศียร ที่พระยุคลบงกชบาทไม่มีมลทินของสมเด็จพระทศพลญาณเจ้า นิมนต์สมเด็จพระโลกนาถพุทธเจ้าและพระภิกษุสงฆ์ ถวายมหาทานอันเหมาะสมแก่พระอิสริยะสกุลสมบัติและศรัทธา ๗ วัน

    ... โปรดให้เปิดประตูคลังผ้า ถวายผ้ามีค่ามากแด่สงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ถวายช้างต้นที่ป้องกันข้าศึกได้เหมือนช้างเอราวัณ ซึ่งพรั่งพร้อมด้วยกำลังรูปลักษณะและฝีเท้า ประดับด้วยข่ายทองและมาลัย งามระยับด้วยพัดจามรคู่งาสวมปลอกทองใหม่งาม มีหูใหญ่และอ่อน หน้างามระยับด้วยรอยดวงจันทร์ และถวายกัปปิยะภัณฑ์ มีขนาดเท่าช้างนั่นแหละ

    ... พระศาสดาพระสิขีพุทธเจ้าพระองค์นั้น ก็ทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้นว่า

    ... " พระเจ้าอรินทมะมหาราชนี้ นานไปในอนาคตกำหนดได้ ๓๑ มหากัปแต่กัปนี้ไป จักได้ตรัสเป็นพระสัพพัญญูสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า สมเด็จพระสมณะโคดมปัญญาธิกะสัมมาสัมพุทธเจ้า ในภัทรกัปหนึ่ง อันจักมีปรากฎในที่สุดแห่ง ๓๑ กัป ในอนาคตภายภาคหน้า "

    ... เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยิ่งมีจิตเลื่อมใส จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไปเพื่อบำเพ็ญบารมี ๓๐ ทัศให้เต็มเปี่ยมบริบูรณ์




    ..... พระผู้มีพระภาคเจ้าองค์นั้นทรงมีพระนครชื่อว่า อรุณวดี พระชนกพระนามว่า พระเจ้าอรุณ พระชนนีพระนามว่า พระนางปภาวดี คู่พระอัครสาวกชื่อว่า พระอภิภูมหาเถระ และ พระสัมภวะมหาเถระ พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า พระเขมังกรมหาเถระ คู่พระอัครสาวิกาชื่อว่า พระแม่เจ้าสขิลามหาเถรี และ พระแม่เจ้าปทุมามหาเถรี พระศรีมหาโพธิพฤกษ์ชื่อว่า ต้นปุณฑรีกะ (ต้นมะม่วงป่า) พระสรีระสูง ๗๐ ศอก พระรัศมีแห่งสรีระแผ่ไป ๓ โยชน์เป็นนิตย์ พระชนมายุเจ็ดหมื่นปี พระอัครมเหสีพระนามว่า พระนางสัพพะกามา พระโอรสพระนามว่า อตุละ ออกมหาภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือพระยาช้างต้น


    ... พระชนมายุของสมเด็จพระสิขีพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่เจ็ดหมื่นปี พระองค์มีพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น ทรงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆะ

    ... พระองค์ทั้งพระสาวก ทรงยังเมฆคือธรรมให้ตกลงยังโลกกับทั้งเทวโลกให้ชุ่มชื่น ให้ถึงถิ่นอันเกษมคือพระนิพพาน แล้วก็ดับขันธปรินิพพาน

    ... พระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ พรั่งพร้อมด้วยพระอนุพยัญชนะ ทั้งนั้นก็อันตรธานไปสิ้น สังขารทั้งปวงว่างเปล่าจริงหนอ




    ..... องค์สมเด็จพระพุทธสิขีสยัมภูพุทธเจ้าจอมมุนีผู้ประเสริฐ เสด็จล่วงลับดับขันธปรินิพพาน ณ วัดอัสสารามมหาวิหาร พระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสิขีพุทธเจ้าเป็นแท่งเดียว ไม่กระจัดกระจายไป มนุษย์ชาวชมพูทวีปช่วยกันสร้างพระเจดีย์สำเร็จด้วยรัตนะ ๗ ประการสูง ๓ โยชน์ ประดิษฐานอยู่ ณ วัดอัสสารามมหาวิหารนั้น ฉะนี้แล ฯ.
     
  8. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,678
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,017
    จวนจะถึง"พระองค์ที่๑๐"แล้ว ธรรมะสวัสดีค่ะ ขอบพระคุณค่ะ
     
  9. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    สมเด็จพระเวสสะภูสัทธาธิกะสัมมาสัมพุทธเจ้า


    ..... ต่อจากสมัยของพระสิขีสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อพระศาสนาของพระองค์อันตรธานแล้ว มนุษย์ที่มีอายุเจ็ดหมื่นปีก็ลดลงโดยลำดับจนมีอายุสิบปี แล้วเพิ่มขึ้นอีกจนมีอายุแสนปี แล้วก็ลดลงโดยลำดับจนมีอายุหกหมื่นปี

    ... ครั้งนั้น พระศาสดาพระนามว่าเวสสะภู เทพเจ้าผู้พิชิต ผู้ครอบงำโลกทั้งปวง ผู้เกิดเอง ทรงอุบัติในโลก

    ... พระองค์ทรงบำเพ็ญบารมีมา ๘ อสงไขย กำไรแสนกัป เต็มเปี่ยมบริบูรณ์ครบถ้วนแล้ว บังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิตรอคิวตรัสเป็นพระพุทธเจ้า

    ... เมื่อถึงกาลที่พระเวสสะภูโพธิสัตว์จะได้ตรัสเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ท้าวมัฆวานพร้อมท้าวสหัมบดีมหาพรหม กับทั้งพรหมและเทวดาทั้งหลาย ต่างมาประชุมกันที่วิมานพระเวสสะภูโพธิสัตว์ เพื่ออาราธนาพระโพธิสัตว์จุติตรัสเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทโธเจ้าในโลก เพื่อปลดเปลื้องปวงพุทธเวไนยสัตว์สู่พระปรินิพพาน

    ... เมื่อพระเวสสสะภูพิจารณามหาวิโลกนะแล้ว รับอาราธนาท้าวโกสีย์สักกะเทวราช จุติจากดุสิตเทวโลกนั้นแล้ว




    ...... ถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนางยสวดีผู้มีศีล อัครมเหสีของพระเจ้าสุปปตีตะ ผู้เป็นที่ยำเกรง กรุงอโนมะ

    ... ถ้วนกำหนดทศมาสพระองค์ก็ประสูติจากพระครรภ์พระชนนี ณ อโนมะราชอุทยาน

    ... เมื่อสมภพก็ยังชนทั้งหลายให้ยินดี ทรงบันลือดังเสียงวัวผู้

    ... เพราะฉะนั้น ในวันเฉลิมพระนามของพระองค์ พระประยูรญาติจึงเฉลิมพระนามว่า

    ... เวสสะภู เพราะเหตุที่ร้องดังเสียงวัวผู้ พระองค์เป็นโกณฑัญญะโคตร

    ... พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่หกพันปี

    ... มีปราสาท ๓ หลังชื่อสุจิปราสาท สุรุจิปราสาท และรติวัฑฒนะปราสาท

    ... มีพระสนมกำนัลสามหมื่นนาง มีพระนางสุจิตตาเทวีเป็นประมุข คอยปรนนิบัติพระมหาบุรุษมิได้ขาด

    ... เมื่อพระสุปปะพุทธะกุมารบุตรของพระนางสุจิตตาเทวีสมภพ

    ... พระเวสสะภูราชกุมารทรงเห็นนิมิต ๔ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และบรรพชิต

    ... เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ที่พระราชอุทยานด้วยพระวอทอง

    ... ทรงรับผ้ากาสายะที่เทวดาถวาย ทรงผนวช บุรุษเจ็ดหมื่นบวชตามเสด็จ




    ..... ลำดับนั้น พระองค์อันบรรพชิตเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว ทรงบำเพ็ญเพียร ๖ เดือน

    ... ในวันวิสาขปุรณมี เสวยข้าวมธุปายาสที่พระพี่เลี้ยงชื่อว่าสิริวัฒนา ผู้ปรากฏตัว ณ สุจิตตะนิคมถวาย

    ... ทรงยับยั้งพักกลางวัน ณ ป่าต้นรังหนุ่ม

    ... เวลาสายัณห์ตะวันบ่ายคล้อย ทรงสรงสนานแล้ว

    ... ทรงรับหญ้า ๘ กำที่พระยานาคชื่อนรินทะถวาย

    ... เสด็จเข้าไปยังพระศรีมหาโพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นสาละ หรือต้นรัง ทางด้านทิศใต้

    ... ได้ยินว่า พญาสาละต้นนั้นสูงประมาณ ๑๐๐ ศอกของคนสมัยนั้น มีใบเขียวสดงดงาม ติดดอกงามสะพรั่ง มีกลิ่นหอมดังดอกไม้ทิพย์

    ... พระเวสสะภูโพธิสัตว์เสด็จเข้าไปยังโคนต้นพญาสาละ ทรงลาดหญ้าแปดกำลงบนก้อนหินที่มีลักษณะคล้ายแท่นกว้างประมาณ ๔๐ ศอก

    ... ทรงประทับนั่งขัดสมาธิตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่น เจริญอานาปานสติ กำหนดดูลมหายใจเข้าออก มิช้านานเท่าใด ก็ทรงสมาธิได้ถึงฌาน๘

    ... พระโพธิสัตว์ทรงเข้าฌานออกฌาน โดยอนุโลมปฏิโลม ทรงกระทำวสีให้ชำนาญดีแล้ว

    ... ได้ยินว่า ในกาลที่พระองค์ทรงเสด็จเข้า ณ โพธิมณฑลนั้น ท้าวมหาราชทั้ง๔ พร้อมทั้งบริวาร ได้มายืนเฝ้าอารักขาพระโพธิสัตว์ในทิศทั้ง๔ พรหมและเทวดาทั้งปวงต่างมายืนเฝ้าแวดล้อมพระเวสสะภูโพธิสัตว์ เทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่ก็ได้อยู่ใกล้ ผู้มีศักดิ์น้อยบุญน้อยก็อยู่ไกลสุดขอบจักรวาล ต่างก็ยอกรนมัสการพระมหาบุรุษโดยถ้วนหน้า ปรากฏว่าพระโพธิสัตว์ก็ทรงเห็นเทวดาด้วยพระเนตรของพระองค์

    ... ในเวลาปฐมยาม พระมหาบุรุษทรงตั้งจิตไว้ที่อุปจารสมาธิ ทรงได้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ทรงระลึกพระชาติของพระองค์ได้ไม่มีจำกัด จนถึงเมื่อครั้งแรกเริ่มปรารถนาพระโพธิญาณ ทรงทราบว่าได้รับพระพุทธพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าพระองค์ใดบ้าง และพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์สอนไว้ว่าอย่างไร อันเป็นเหตุให้ได้บรรลุพระโพธิญาณ

    ... ในมัชฌิมยาม ทรงได้จุตูปปาตญาณ ทรงเห็นเหล่าสัตว์ทั้งหลาย เกิดตายและเป็นไปตามกรรมดีกรรมชั่วที่ตนได้ทำเอาไว้

    ... ในปัจฉิมยาม ทรงหยั่งปัญญาพิจารณาในปัจจยาการปฏิจจสมุปบาท ทรงหยั่งปัญญาพิจารณาในขันธ์๕ โดยอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

    ...ในยามเช้าตรู่ใกล้รุ่ง ตะวันทอแสงสีทอง พระเวสสะภูโพธิสัตว์ก็ทรงได้บรรลุพระอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณ ทรงตรัสเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมีหลังคา คือ กิเลสอันเปิดแล้วในโลก

    ... ได้ยินว่า ในกาลที่ทรงได้บรรลุพระโพธิญาณอันอุดมนั้น สมเด็จพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ และพระอรหันต์ทุกๆ พระองค์ ที่ทรงเข้าสู่พระปรินิพพานแล้ว ได้เสด็จลงมาอนุโมทนาด้วยกับสมเด็จพระเวสสะภูบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ... เมื่อได้ตรัสเป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้าแล้วทรงเปล่งพระอุทานว่า

    ... " เราแสวงหาตัณหานายช่างผู้สร้างเรือน เมื่อไม่พบจึงต้องท่องเที่ยวไปตลอดชาติสงสารเป็นอันมาก

    ... ชาติ คือ ความเกิดบ่อยๆ เป็นทุกข์

    ... ดูก่อนตัณหานายช่างผู้สร้างเรือน เราเห็นท่านแล้ว

    ... ท่านจักสร้างเรือนอีกไม่ได้ โครงสร้างเรือนของท่านเราหักหมดแล้ว ยอดเรือนเราก็รื้อออกแล้ว

    ... จิตของเราถึงธรรมเป็นที่สิ้นตัณหาแล้ว "

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 ธันวาคม 2013
  10. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    ..... สมเด็จพระตถาคตเจ้าทรงยับยั้งเสวยวิมุติสุข ณ โพธิพฤกษ์นั้นนั่นแล ๗ สัปดาห์

    ... สมเด็จพระมหามุนีทรงรับอาราธนาของท้าวสหัมบดีมหาพรหมเพื่อแสดงพระสัทธรรมแล้ว

    ... ทรงพิจารณาด้วยพระพุทธญาณก็เห็นอุปนิสัยสมบัติของพระโสณะกุมารและพระอุตตระกุมาร พระกนิษฐภาดาของพระองค์

    ... จึงเสด็จไปทางอากาศ ลงที่อรุณราชอุทยาน ใกล้กรุงอนูปมะ ทรงให้พนักงานเฝ้าพระราชอุทยานไปอัญเชิญพระกุมารมาแล้ว

    ... ทรงประกาศพระธรรมจักรท่ามกลางพระกุมารทั้งสองพระองค์นั้นพร้อมทั้งบริวาร

    ... ครั้งนั้น อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์แปดหมื่นโกฏิ



    ..... ต่อมาอีก สมเด็จพระชินสีห์พุทธองค์ เมื่อเสด็จจาริกไปในชนบท ทรงแสดงธรรมโปรดในถิ่นนั้นๆ ธรรมาภิสมัยก็ได้มีแก่สัตว์เจ็ดหมื่นโกฏิ นั้นเป็นอภิสมัยครั้งที่ ๒



    ..... สมเด็จพระธรรมสามิสร์เจ้า เมื่อทรงทำลายข่าย คือ ทิฏฐิของพวกเดียรถีย์

    ... ล้มธง คือ มานะของเดียรถีย์ กำจัดความเมาด้วยมานะ

    ... ทรงยกธง คือ ธรรมขึ้น ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ในมนุษยบริษัทกว้างเก้าสิบโยชน์ ในเทวบริษัทประมาณมิได้ ณ กรุงอนูปมะนั่นเอง ยังเทวดาและมนุษย์ให้เลื่อมใสแล้ว

    ... ทรงยังสัตว์หกหมื่นโกฏิให้อิ่มด้วยอมตธรรม นั้นเป็นอภิสมัยครั้งที่ ๓




    ..... อนึ่งเล่า สมเด็จพระเวสสะภูสยัมภูญาณเจ้า ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงในวันมาฆปุรณมี ท่ามกลางพระอรหันต์แปดหมื่นที่บวชในสมาคมของพระโสณะมหาเถระและพระอุตตระมหาเถระคู่พระอัครสาวกซ้ายขวา นั้นเป็นสันนิบาตครั้งที่ ๑



    ..... ครั้งภิกษุนับจำนวนได้เจ็ดหมื่นซึ่งบวชกับสมเด็จพระเวสสะภูทศพลญาณเจ้า ผู้ครอบงำโลกทั้งปวง พากันหลีกไป สมัยที่พระเวสสะภูจะหลีกออกจากคณะไป

    ... ภิกษุเหล่านั้นสดับข่าวการประกาศพระธรรมจักรของพระเวสสะภูสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงพากันมายังนครโสเรยยะ ก็ได้พบสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า

    ... สมเด็จพระโลกนาถเจ้า ทรงแสดงธรรมโปรดภิกษุเหล่านั้น

    ... ทรงให้ภิกษุเหล่านั้นบวชด้วยเอหิภิกขุบรรพชาทั้งหมด แล้วทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงในบริษัทที่ประกอบด้วยองค์ ๔ นั้นเป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒



    ..... อนึ่ง ครั้งพระราชบุตรพระนามว่า อุปสันตะ ทรงขึ้นครองราชย์ในกรุงนาริวาหนะ สมเด็จพระจอมมุนีเสด็จไปนครนั้นเพื่ออนุเคราะห์พระราชบุตรนั้น

    ... แม้พระราชบุตรนั้นทราบข่าวการเสด็จมาของพระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมทั้งบริวารจึงทรงออกไปรับเสด็จ นิมนต์มาถวายมหาทาน

    ... ทรงสดับธรรมของพระองค์ก็มีพระหฤทัยเลื่อมใสแล้วทรงผนวช บุรุษหกหมื่นโกฏิก็บวชตามเสด็จ ภิกษุเหล่านั้นบรรลุพระอรหัตผลพร้อมกับพระราชบุตรนั้น

    ... สมเด็จพระเวสสะภูมหามุนีนั้น อันภิกษุเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว ก็ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงนั้นเป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓




    ..... ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเราเป็นพระราชาพระนามว่า พระเจ้าสุทัสสนะ ผู้มีทัศนะน่ารักอย่างยิ่ง ณ กรุงสรภะวดี

    ... เมื่อพระเวสสะภูพุทธเจ้าผู้นำโลกเสด็จถึงกรุงสรภะวดี พระเจ้าสุทัสสนะทรงสดับธรรมขององค์พระเวสสะภู มีพระหฤทัยเลื่อมใสแล้วทรงยกอัญชลีอันรุ่งเรืองด้วยทศนขสโมธาน เสมือนดอกบัวตูมเกิดในน้ำ ไม่มีมลทิน ไม่วิกลบกพร่อง ไว้เหนือเศียร

    ... ถวายมหาทานพร้อมทั้งจีวรแด่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ทรงสร้างพระคันธกุฎี เพื่อเป็นที่ประทับอยู่ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ณ นครสรภะวดีนั้น

    ... ทรงสร้างวิหารพันหลังล้อมพระคันธกุฎีนั้น ทรงบริจาคสมบัติทุกสิ่งทุกอย่างไว้ในพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า

    ... ทรงผนวช ณ สำนักของพระพุทธองค์แล้ว ทรงพร้อมด้วยอาจาระคุณ

    ... ทรงยินดีในธุดงค์คุณ ๑๓ ทรงยินดีในการแสวงหาพระโพธิสมภาร

    ... ทรงยินดีในพระพุทธศาสนาอยู่แล้ว

    ... สมเด็จพระประทีปแก้วเวสสะภูพุทธเจ้าพระองค์นั้น ก็ทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้นว่า

    ... " สามสิบเอ็ดกัปนับแต่กัปนี้ไป สุทัสสนะภิกขุผู้นี้ จักตรัสเป็นพระพุทธเจ้าพระนามว่า สมเด็จพระสมณะโคดมพุทธเจ้า ในภัททกัปภายหน้า "

    ... เราฟังพระดำรัสของพระองค์ จิตก็ยิ่งเลื่อมใสจึงอธิษฐานข้อวัตรคือ ทาน ศีล ภาวนาให้ยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี ๓๐ ทัศ ให้เต็มเปี่ยมบริบูรณ์




    ..... ก็องค์พระเวสสะภูอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นทรงมีพระนครชื่อว่า อโนมะ

    ... พระชนกมีพระนามว่า พระเจ้าสุปปะตีตะ

    ... พระชนนีพระนามว่า พระนางยสะวดี

    ... คู่พระอัครสาวกชื่อว่า พระโสณะมหาเถระ และ พระอุตตระมหาเถระ

    ... พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า พระอุปสันตะมหาเถระ

    ... คู่พระอัครสาวิกาชื่อว่า พระแม่เจ้ารามามหาเถรี และ พระแม่เจ้าสมาลามหาเถรี

    ... พระศรีมหาโพธิพฤกษ์ชื่อว่า ต้นสาละ ต้นรัง

    ... พระสรีระสูง ๖๐ ศอก

    ... พระชนมายุหกหมื่นปี

    ... พระอัครมเหสีพระนามว่า พระนางสุจิตตา

    ... พระโอรสพระนามว่า พระสุปปะพุทธะราชกุมาร

    ... เสด็จออกภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือพระวอทอง




    ..... พระชนมายุของพระเวสสะภูพุทธเจ้า ผู้แสวงหาคุณยิ่งใหญ่พระองค์นั้น ทรงมีพระชนมายุหกหมื่นปี

    ... พระองค์ทรงมีพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น จึงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆะ

    ... พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระสาวก ทรงทำธรรมะให้ขยายไปกว้างขวาง

    ... ทรงจำแนกมหาชน ทรงตั้งธรรมนาวาไว้แล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน

    ... ชนทั้งหมด พระวิหาร พระอิริยาบถล้วนน่าดู

    ... ทั้งนั้นก็อันตรธานไปสิ้น สังขารคือ ร่างกายทั้งปวงว่างเปล่าจริงหนอ




    ..... องค์สมเด็จพระเวสสะภูอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระชินะผู้ประเสริฐ ทรงเสด็จล่วงลับดับขันธปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพาน ณ เขมะมิคะทายะวัน พระมหาวิหารใกล้ป่าที่น่ารื่นรมย์ยิ่งนัก กรุงอุสภะวดีราชธานี

    ... พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์แผ่กระจายไปในประเทศนั้นๆ ฉะนี้แล ฯ.

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 ธันวาคม 2013
  11. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    สมเด็จพระกกุสันธะสัทธาธิกะสัมมาสัมพุทธเจ้า​



    ..... เมื่อสมเด็จพระเวสสะภูสยัมภูพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว เมื่อกัปนั้นล่วงไป ดวงพระทินกร คือ พระชินพุทธเจ้าก็ไม่อุบัติขึ้นเลยถึง ๒๙ กัป

    ... ได้ยินว่า มหาภัททกัปอันประเสริฐที่สามารถทรงพระพุทธเจ้า ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ ได้ถึง ๕ พระองค์นี้ ได้เริ่มตั้งขึ้นเมื่อ ๒๐ ล้านปีที่แล้ว

    ... เมื่อต้นมหาภัททกัปนั้น ได้ยินว่าจริงๆโลกไม่มีสัตว์ มีแต่มนุษย์ ต้นโลกจริงๆเมื่อไฟบรรลัยกัปถอยไปแล้ว ก็มีฝนตก พื้นดินก็สุก พอถูกฝนก็มีกลิ่นหอมเหมือนน้ำผึ้งเดือนห้า มนุษย์ที่มีอยู่ในโลกก็ล้วนเป็นพรหมหรือเทวดาที่หมดวาสนาบารมี พอลงมาเกิด หาพ่อแม่เกิดไม่ได้ ต้องลงมาในฐานะเป็นพรหมหรือเทวดา หรือที่เรียกกันว่าเป็น โอปะปาติกา พอพรหมหรือเทวดาที่หมดวาสนาได้กลิ่นง้วนดินที่หอมเหมือนน้ำผึ้งเดือนห้าเข้า ก็ลองเอานิ้วจิ้มชิมดู รสอร่อยปานดังมธุปายาสทิพย์ ก็ติดอกติดใจกินกันจนอิ่มแปร้ พอกินง้วนดินนานวันเข้า รัศมีกายก็ค่อยๆหายไป เวลานั้นพระอาทิตย์พระจันทร์ยังไม่มี แสงสว่างในตัวยังพอมีอยู่ ต่อมาก็เกิดเพศหญิง เพศชาย มีความรักใคร่เสพสังวาสเกิดขึ้น แสงสว่างในตัวก็ดับไป

    ... แล้วต่อมาพระอาทิตย์ก็เกิดขึ้น พอตอนเย็นพระอาทิตย์ตก พระจันทร์ก็เกิดขึ้น ระหว่างนั้นยังมีแต่คน ไม่มีสัตว์ แล้วต่อมาพวกคนเกิดแล้วตาย ตายแล้วเกิดมาหลายชั่วอายุ ศีลธรรมยังมีอยู่มากในตอนต้น ตายจากคนก็เป็นเทวดาหรือพรหมตามเดิม ต่อมาพวกสัตว์นรกหมดกรรม มาเกิดเป็นเปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน มาเกิดเป็นคนบ้าง ตอนนี้โลกเริ่มยุ่ง ตอนนี้เกิดทำบาปอกุศล ตายไปลงนรก เกิดเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉานจึงมี เมื่อต้นมหาภัททกัปนั้นคนมีอายุประมาณแปดหมื่นปี

    ... หลังจากมหาภัททกัปเกิดมาได้ประมาณ ๓ ล้านปี (หรือเมื่อ ๑๗ ล้านปีที่แล้ว )ก็เป็นกาลสมควรที่จะมีพระพุทธเจ้ามาตรัสโปรดปวงสัตว์สู่พระนิพพาน




    ..... ครั้งนั้นเป็นคิวของพระกกุสันธะโพธิสัตว์ พระองค์ทรงบำเพ็ญบารมี ๓๐ ทัศ มาแปดอสงไขยกำไรแสนกัป แล้วบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต รอตรัสเป็นพระพุทธเจ้า

    ... ครั้นเมื่อถึงกาลถึงเวลาของพระกกุสันธะโพธิสัตว์แล้ว ท้าวสหัสสเนตรพร้อมด้วยพรหมและเทวดาทั้งหลายทั้งปวง พากันมาชุมนุมประชุมกันที่วิมานพระกกุสันธะโพธิสัตว์ ทูลอาราธนาให้พระองค์จุติตรัสเป็นพระสรรรเพชพุทธเจ้า รื้อขนปวงพุทธเวไนยสู่เมืองแก้วพระนิพพานอันบรมสุข

    ... พระโพธิสัตว์ทรงพิจารณามหาวิโลกนะแล้ว รับอาราธนาของเหล่าเทวดาทั้งหลาย จุติจากดุสิตเทวโลกนั้นแล้ว



    ..... ก็ถือปฏิสนธิในครรภ์ของนางพราหมณีชื่อว่า วิสาขา

    ... เอกภริยาของปุโรหิตชื่อว่า อัคคิทัตตะ ผู้อนุศาสน์อรรถธรรมถวายพระเจ้าเขมังกร กรุงเขมะวดี

    ... ก็เมื่อใดกษัตริย์ทั้งหลายสักการะเคารพนับถือพราหมณ์ทั้งหลาย พระโพธิสัตว์ทั้งหลายจึงบังเกิดในสกุลพราหมณ์

    ... ก็เมื่อใด พราหมณ์ทั้งหลายสักการะเคารพนับถือบูชากษัตริย์ทั้งหลาย พระโพธิสัตว์ทั้งหลายจึงบังเกิดในสกุลกษัตริย์




    ..... ได้ยินว่า ในครั้งนั้น พราหมณ์ทั้งหลายอันกษัตริย์ทั้งหลายสักการะเคารพ เพราะฉะนั้น พระกกุสันธะโพธิสัตว์เจ้า ผู้มั่นอยู่ในสัจจะ เมื่อจะยังหมื่นโลกธาตุให้บันลือหวั่นไหวจึงอุบัติในสกุลพราหมณ์ที่ไม่อากูล แต่อากูลด้วยเหตุเกิดสิริสมบัติ

    ... จากนั้น ถ้วนกำหนดทศมาสก็ประสูติจากครรภ์มารดา ณ เขมะวดีอุทยาน เหมือนเปลวไฟแลบออกจากเถาวัลย์ทอง


    ... พระกกุสันธะโพธิสัตว์นั้นเป็นกัสสปปะโดยพระโคตร

    ... เมื่อพระมหาบุรุษเจริญวัยก็เป็นปุโรหิตผู้อนุศาสน์อรรถธรรมถวายพระเจ้าเขมังกรแทนพระบิดา

    ... พระกกุสันธะโพธิสัตว์ครองฆราวาสวิสัยอยู่สี่พันปี

    ... มีปราสาท ๓ หลังชื่อว่ากามะปราสาท กามวัณณะปราสาท และกามสุทธิปราสาท

    ... ปรากฏมีสตรีบริจาริกาสามหมื่นนางมีนางโรจินีพราหมณี เป็นประธาน คอยปรนนิบัติรับใช้พระมหาบุรุษ

    ... เมื่อกุมารชื่อว่า อุตตระ ผู้ยอดเยี่ยมของโรจินีพราหมณ์เกิดแล้ว

    ... พระโพธิสัตว์นั้นก็เห็นนิมิต ๔ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณะแล้ว เกิดความเบื่อหน่ายในฆราวาสวิสัย ใคร่จะพ้นจากกองทุกข์ทั้งปวง

    ... พระมหาบุรุษออกมหาภิเนษกรมณ์ด้วยรถม้าที่จัดเตรียมไว้แล้ว

    ... ทรงผนวช บุรุษสี่หมื่นก็บวชตามพระโพธิสัตว์นั้น




    ..... พระกกุสันธะโพธิสัตว์นั้นอันบรรพชิตเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว

    ... ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๘ เดือน

    ... ในวันวิสาขบูรณมี บริโภคข้าวมธุปายาสที่ธิดาวชิรินธะพราหมณ์ ณ สุจิรินธะนิคม ถวาย

    ... ทรงยับยั้งพักผ่อนกลางวัน ณ ป่าตะเคียน

    ... เวลาเย็นรับหญ้า ๘ กำที่คนเฝ้าไร่ข้าวเหนียวชื่อ สุภัททะ ถวาย

    ... เข้าไปยังพระศรีมหาโพธิพฤกษ์ชื่อ สิรีสะ (ต้นซึก) ซึ่งสูง ๑๐๐ ศอกคนสมัยนั้น มีกลิ่นหอมเมื่อลมโชย

    ... ทรงลาดสันถัตหญ้ากว้าง ๓๔ ศอก ที่แท่นหินก้อนหนึ่งใต้โคนต้นพระศรีมหาโพธิ์

    ... ครั้งนั้น ท้าวมหาราชทั้ง๔ พร้อมบริวารได้มายืนพิทักษ์รักษาพระมหาบุรุษในทิศทั้ง ๔ ท้าวสักกะเทวราชและท้าวสหัมบดีมหาพรหมผู้เป็นหัวหน้าพรหมทั้งปวงนั่งอยู่ใกล้พระโพธิสัตว์ พรหมเทวดาทั้งหมดยืนยอกรนมัสการล้อมพระมหาบุรุษไว้เต็มห้องจักวาลทีเดียว ได้ยินว่า แม้พระโพธิสัตว์ก็แลเห็นเทวดาพรหมที่มาประชุมกัน ณ ที่นั้น

    ... ในเวลาใกล้ค่ำ ทรงประทับนั่งขัดสมาธิอธิษฐานความเพียรมีองค์ ๔ แล้วทรงตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่นเจริญพระอานาปานสติกัมมัฏฐาน คือ กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก

    ... ไม่นานนักพระองค์ก็ทรงได้ถึงฌานแปด ทรงเจริญฌานโดยอนุโลม ปฏิโลมจนมีวสีชำนาญดีในการเข้าฌานออกฌาน

    ... ในเวลาปฐมยาม ทรงตั้งจิตไว้ที่อุปจารสมาธิ ทรงดำริในพระทัยว่า

    ... " ก็พระโพธิญาณนั้นเป็นประการใด ขอพระโพธิญาณจงมาบังเกิดแก่จิตของเราเถิด "

    ... เมื่ออธิษฐานจบ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณก็บังเกิดแก่จิตของพระกกุสันธะโพธิสัตว์เจ้า พระโพธิสัตว์ทรงระลึกพระชาติแต่หนหลัง จนถึงครั้งเริ่มแรกปรารถนาโพธิญาณ ทรงระลึกพระชาติได้โดยไม่มีจำกัด ทำให้พระองค์ทราบว่าได้ปรารถนาพระโพธิญาณแต่เมื่อใด และองค์สมเด็จพระชินมุนีพุทธเจ้าแต่กาลก่อนพระองค์ใดบ้างตรัสพุทธพยากรณ์ และทรงสอนไว้ว่าอย่างไรบ้าง

    ... เมื่อมัชฌิมยาม ทรงได้จุตูปปาตญาณ ทรงเห็นการเกิดตายของเหล่าสัตว์ทั้งหลาย ผู้เป็นไปตามกรรมที่ตัวเองทำไว้

    ... ครั้นถึงปัจฉิมยาม ทรงหยั่งปัญญาพิจารณาในปัจจยาการปฏิจจสมุปบาท ทรงพิจารณาในขันธ์ทั้ง๕ โดยพระไตรลักษณะญาณ คือ ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนแห่งเราของเราจริง

    ... ครั้นเมื่อยามเช้าตรู่ประมาณหกโมงเช้า ดวงตะวันทอแสงสีทอง พระกกุสันธะโพธิสัตว์เจ้า ก็ทรงได้บรรลุพระอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณ ทรงได้ตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระกกุสันธะสัทธาธิกะอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงเปิดหลังคา คือ กิเลสในโลก

    ... ได้ยินว่า ในครั้งนั้นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระอรหันต์ทุกๆพระองค์ ที่อยู่เมืองแก้วพระนิพพาน ต่างก็เสด็จมาแสดงความยินดีอนุโมทนาในกาลที่องค์สมเด็จพระกกุสันธะสัพพัญญูพุทธเจ้าทรงบรรลุพระอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณ

    ... ครั้นบรรลุพระโพธิญาณแล้ว ทรงเปล่งพระอุทานว่า

    ... " เราแสวงหาตัณหานายช่างผู้สร้างเรือน เมื่อไม่พบจึงต้องท่องเที่ยวไปตลอดชาติสงสารเป็นอันมาก

    ... ชาติ คือ ความเกิดบ่อยๆ เป็นทุกข์นักหนา

    ... ดูก่อนตัณหานายช่างผู้สร้างเรือน เราเห็นท่านแล้ว

    ... ท่านจักสร้างเรือนให้เราไม่ได้อีกต่อไป

    ... โครงสร้างเรือนของท่านเราหักหมดแล้ว ยอดเรือนเราก็รื้อออกแล้ว

    ... จิตของเราถึงธรรมอันเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหาแล้ว "
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 ธันวาคม 2013
  12. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    ..... ทรงยับยั้งเสวยวิมุติสุข ความสุขอันเกิดแต่การหลุดพ้นจากอาสวะกิเลสอยู่ที่พระศรีมหาโพธิพฤกษ์ ๗ สัปดาห์

    ... สมเด็จพระมหามุนีเจ้าผู้อันท้าวสหัมบดีมหาพรหมอาราธนาให้แสดงพระธรรมแล้ว ทรงพิจารณาด้วยพระพุทธญาณอันบริสุทธิ์

    ... ทรงเห็นว่าภิกษุสี่หมื่นที่บวชกับพระองค์เป็นผู้สามารถแทงตลอดสัจจะ

    ... ทรงเสด็จวันเดียวเท่านั้น ก็เสด็จเข้าไปยังอิสิปตนะมิคทายวัน ซึ่งอยู่ใกล้ๆ มกิละนคร
    สมเด็จพระพุทธศาสดาจารย์ประทับอยู่ท่ามกลางบรรพชิตเหล่านั้น ทรงประกาศพระธรรมจักร ครั้งนั้น ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์สี่หมื่นโกฏิ




    ..... ต่อมาอีกสมัยหนึ่ง ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ณ โคนต้นรัง ใกล้ประตูกัณณะกุชชะนคร ทรงยังธรรมจักษุให้เกิดแก่สัตว์สามหมื่นโกฏิ นั้นเป็นอภิสมัยครั้งที่ ๒



    ..... ครั้งเมื่อยักษ์ชื่อ นรเทพ ที่เรียกกันว่าเทพแห่งนรชน ณ เทวาลัยแห่งหนึ่ง ไม่ไกลกรุงเขมะวดี ปรากฏตัวเป็นมนุษย์ยืนอยู่ใกล้สระๆ หนึ่ง ซึ่งมีน้ำเย็นประดับด้วยบัวต้นบัวสายและอุบล มีน้ำเย็นรสอร่อยอย่างยิ่ง มีกลิ่นหอมรื่นรมย์สำหรับชนทั้งปวง อยู่กลางทางกันดาร ล่อลวงสัตว์ทั้งหลายโดยเป็นคนเก็บบัวต้นบัวสายบัวขาวเป็นต้นแล้วกินมนุษย์เสีย

    ... เมื่อทางนั้นตัดขาดไม่มีคนไปถึง ยักษ์นรเทพก็เข้าไปดงใหญ่ กินสัตว์ที่ชุมนุมกันในที่นั้นๆ เสีย เส้นทางนั้นโลกรู้จักกันว่าเป็นทางมหากันดาร เขาว่า หมู่มหาชนยืนชุมนุมกันใกล้ประตูสองข้างทาง เพื่อช่วยข้ามทางกันดาร

    ... ครั้งนั้น สมเด็จพระกกุสันธะพุทธเจ้า ผู้ปราศจากกิเลสเครื่องผูกในภพ วันหนึ่งเวลาใกล้รุ่ง ทรงออกจากมหากรุณาสมาบัติตรวจดูโลก ก็ทรงพบนรเทพยักษ์ผู้มีศักดิ์ใหญ่และกลุ่มชนนั้นเข้าไปในข่ายพระญาณ

    ... ครั้นทรงทราบแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าก็เสด็จไปทางอากาศ ทั้งที่กลุ่มชนนั้นแลเห็นอยู่นั่นเอง ก็ทรงแสดงปาฏิหาริย์หลายอย่างเสด็จลงที่อยู่ของนรเทพยักษ์นั้น ประทับนั่งเหนือบัลลังก์อันเป็นมงคล

    ... ครั้งนั้น ยักษ์ผู้กินคนตนนั้น เห็นสมเด็จพระทินกรผู้มหามุนีทรงเปล่งพระฉัพพรรณรังสี ดังดวงทินกรอันสายฟ้าแลบล้อม กำลังเสด็จมาทางอากาศ ก็มีใจเลื่อมใสว่า

    ... " สมเด็จพระทศพลเสด็จมาที่นี้เพื่อทรงอนุเคราะห์เรา "

    ... จึงไปป่าหิมพานต์ที่มีหมู่เนื้อมาก พร้อมด้วยบริวารยักษ์ รวบรวมดอกไม้ทั้งที่เกิดในน้ำทั้งที่เกิดบนบกอันมีสีและกลิ่นต่างๆ เลือกเอาเฉพาะที่มีกลิ่นหอมจรุงน่ารื่นรมย์ใจอย่างยิ่งมาบูชาสมเด็จพระกกุสันธะพุทธเจ้า ผู้นำโลก ผู้ปราศจากโทษ ซึ่งประทับนั่งเหนือบัลลังก์ของตน ด้วยดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้เป็นต้น แล้วร้องเพลงประสานเสียงสดุดี ทำอัญชลีไว้เหนือเศียร ยืนนมัสการ

    ... แต่นั้น มนุษย์ทั้งหลายเห็นปาฏิหาริย์นั้นก็มีจิตใจเลื่อมใส มาประชุมกัน พากันยืนนอบน้อมล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า

    ... ครั้งนั้น สมเด็จพระกกุสันธะอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ไม่มีปฏิสนธิ ทรงยังนรเทพยักษ์ผู้อันมนุษย์และเทวดาบูชายิ่งให้อาจหาญ ด้วยทรงแสดงความเกี่ยวเนื่องของกรรมและผลของกรรม ให้หวาดสะดุ้งด้วยกถาว่าด้วยนรก แล้วจึงตรัสจตุสัจกถา ครั้งนั้น ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์หาประมาณมิได้ นี้เป็นอภิสมัยครั้งที่ ๓




    ..... สมเด็จพระกกุสันธะพุทธเจ้า ผู้รื้อเครื่องผูกภพเสียแล้ว ทรงมีสาวกสันนิบาตครั้งเดียวเท่านั้น

    ... สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดา อันพระอรหันต์สี่หมื่นซึ่งบวชกับพระองค์ ณ ป่าอิสิปตนะมิคทายวัน กรุงกัณณะกุชชะนคร แวดล้อมแล้ว ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ในวันมาฆปุรณมี




    ..... ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเราเป็นพระราชาพระนามว่า เขมะ ทรงถวายบาตรจีวรเป็นมหาทาน และถวายเภสัชทุกอย่างมียาหยอดตาเป็นต้นแด่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน และถวายสมณบริขารอย่างอื่น สดับพระธรรมเทศนาของพระองค์แล้ว มีพระหฤทัยเลื่อมใส ก็ทรงผนวชในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า

    ... พระศาสดากกุสันธะพระองค์นั้นทรงพยากรณ์ว่า

    ... " เขมะภิกษุนี้ เป็นนิยตะโพธิสัตว์เที่ยงแท้ที่จะได้ตรัสเป็นพระสัพพัญญูสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า สมเด็จพระสมณะโคดมสัพพัญญูพุทธเจ้า ในอนาคตกำหนดนับเป็นลำดับที่ ๔ จากเราตถาคตนี้ "




    ..... ก็สมเด็จพระกกุสันธะอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ไม่ชักช้าพระองค์นั้น มีพระนครชื่อว่า เขมะ

    ... พระชนกเป็นพราหมณ์ชื่อว่า อัคคิทัตตะ

    ... พระชนนีเป็นพราหมณีชื่อว่า วิสาขา

    ... คู่พระอัครสาวกชื่อว่า พระวิธุระมหาเถระ และ พระสัญชีวะมหาเถระ

    ... พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า พระพุทธิชะมหาเถระ

    ... คู่พระอัครสาวิกาชื่อว่า พระแม่เจ้าสามามหาเถรี และ พระแม่เจ้าจัมปะนามามหาเถรี

    ... พระศรีมหาโพธิพฤกษ์ชื่อว่า ต้นสิรีสะ (ไม้ซึก)

    ... พระสรีระสูง ๔๐ ศอก

    ... พระรัศมีแห่งพระสรีระแล่นออกไปรอบๆ ๑๐ โยชน์

    ... พระชนมายุสี่หมื่นปี

    ... มีเอกภริยาเป็นพราหมณีชื่อว่า โรจินี

    ... โอรสชื่อว่า อุตตระ

    ... ออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยาน คือ รถเทียมม้า



    ..... สมเด็จพระกกุสันธะพุทธเจ้าพระองค์นั้น มีพระชนมายุสี่หมื่นปี พระองค์ทรงพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น จึงทรงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆะ

    ... พระองค์ทั้งพระสาวก ทรงขยายตลาดธรรมแก่บุรุษสตรี ในโลกกับทั้งเทวโลก ทรงบันลือดุจการบันลือของราชสีห์ แล้วเสด็จดับขันธปรินิพพาน

    ... พระองค์มีพระสุรเสียงมีองค์ ๘ มีศีลบริบูรณ์อยู่นิรันดร ทั้งนั้นก็อันตรธานไปสิ้น สังขาร คือ ร่างกายทั้งปวงก็ว่างเปล่า แน่แท้




    ..... องค์สมเด็จพระกุกกุสันธะบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า พระชินะเจ้าผู้ประเสริฐ เสด็จล่วงลับดับขันธปรินิพพานที่วัดเขมารามมหาวิหาร พระสถูปเจดีย์อันประเสริฐบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระองค์สูง ๔,๐๐๐ เมตร ประดิษฐานอยู่ ณ วัดเขมารามมหาวิหารนั้น ฉะนี้แล ฯ.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 ธันวาคม 2013
  13. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    สมเด็จพระโกนาคมนะสัทธาธิกะสัมมาสัมพุทธเจ้า



    ..... ภายหลังสมัยขององค์สมเด็จพระกกุสันธะสัพพัญญู เมื่อพระศาสนาของพระองค์อันตรธานไปสิ้นแล้ว ประมาณ ๕ ล้านปี ถ้านับถอยหลังจากปัจจุบันนี้ประมาณ ๑๒ ล้านปีที่ผ่านมา มนุษย์ในสมัยนั้นมีอายุประมาณสามหมื่นปี

    ... ในกาลนั้นแล สมเด็จพระพุทธศาสดาจารย์พระนามว่า โกนาคมนะ ผู้มีไม้ดีดพิณมาเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่นก็อุบัติขึ้นในโลก

    ... อีกนัยหนึ่ง พระนามว่า โกนาคมนะ เพราะเป็นที่มาแห่งอาภรณ์ทองเป็นต้น เพราะในเวลาที่พระมหาบุรุษอุบัติขึ้นในโลก ฝนเครื่องประดับทองตกลงมา




    ..... แม้พระโกนาคมนะโพธิสัตว์พระองค์นั้น ทรงเป็นพระสัทธาธิกะพุทธภูมินิยตะโพธิสัตว์ ทรงบำเพ็ญพระบารมี ๓๐ ทัศ แปดอสงไขยกำไรแสนมหากัป

    ... แล้วบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิตเทวโลก ครั้นถึงคิวของพระองค์จักตรัสเป็นพระสัมพุทธเจ้า ผู้นำโลก โปรดปวงเหล่าพุทธเวไนยสู่แดนเอกันตบรมสุข คือ พระนิพพานแล้ว

    ... กาลนั้นเหล่าพรหมเทวดาทั้งหลาย มีท้าวอมรินทราธิราชเป็นประธาน ก็มาประชุมที่วิมานพระโกนาคมนะโพธิสัตว์ อาราธนาให้จุติตรัสเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ต่อไป

    ... พระโพธิสัตว์พิจารณามหาวิโลกนะแล้วเห็นว่าเป็นกาลสมควร ทรงรับอาราธนาของเหล่าเทวดาแล้ว

    ... จุติจากดุสิตเทวโลกนั้นแล้วก็ถือปฏิสนธิในครรภ์ของพราหมณีชื่อ อุตตรา ผู้ยอดเยี่ยมด้วยคุณมีรูปเป็นต้น

    ... ภริยาของ ยัญญะทัตตะพราหมณ์ กรุงโสภะวดี ถ้วนกำหนดทศมาสก็เคลื่อนออกจากครรภ์ของชนนี ณ สุภะวดีอุทยาน




    ..... เมื่อพระองค์สมภพ ฝนก็ตกลงมาเป็นทองทั่วชมพูทวีป

    ... ด้วยเหตุนั้น เพราะเหตุที่ทรงเป็นที่มาแห่งทอง พระประยูรญาติจึงเฉลิมพระนามว่า กนกาคมนะ

    ... ก็พระนามนั้นของพระองค์แปรเปลี่ยนมาโดยลำดับ เป็น โกนาคมนะ พระองค์ทรงเป็น กัสสปะโดยพระโคตร

    ... พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่สามพันปี

    ... มีปราสาท ๓ หลังชื่อว่า ดุสิตะปราสาท สันดุสิตะปราสาท และสันตุฏฐะปราสาท

    ... มีนางบำเรอหนึ่งหมื่นหกพันนางมี นางรุจิคัตตาพราหมณี เป็นประมุข




    ..... เมื่อบุตรชื่อ สัตถะวาหะ ของนางรุจิคัตตาพราหมณีเกิด พระองค์ทรงเห็นนิมิต ๔ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และบรรพชิตแล้ว

    ... ก็ขึ้นคอช้างสำคัญ ออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือพญาช้าง ทรงผนวช บุรุษสามหมื่นก็บวชตาม

    ... พระองค์อันบรรพชิตเหล่านั้นแวดล้อม ก็บำเพ็ญเพียรอยู่ ๖ เดือน

    ... ในวันวิสาขบูรณมี ก็เสวยข้าวมธุปายาสที่อัคคิโสณะพราหมณ์กุมารี ธิดาของอัคคิโสณะพราหมณ์ถวาย

    ... ทรงยับยั้งพักกลางวัน ณ ป่าตะเคียน

    ... เวลาเย็นรับหญ้า ๘ กำที่คนเฝ้าไร่ข้าวเหนียวชื่อ ชฏาตินทุกะ ถวาย

    ... จึงเข้าไปยังพระศรีมหาโพธิพฤกษ์ชื่อ อุทุมพร ต้นมะเดื่อ ซึ่งสูงประมาณ ๑๐๐ ศอกของคนสมัยนั้น พรั่งพร้อมด้วยดอกและผล ทางด้านทักษิณ

    ... ทรงลาดหญ้าลงเป็นที่นั่งกว้าง ๒๐ ศอก ที่หินก้อนหนึ่งคล้ายแท่นที่โคนพระศรีมหาโพธิ์ด้านทิศบูรพา

    ... ในกาลนั้น ท้าวมหาราชทั้ง ๔ พร้อมบริวาร ได้มายืนพิทักษ์รักษาพระมหาบุรุษอยู่ทิศละองค์ พระอินทร์กับท้าวสหัมบดีมหาพรหมนั่งอยู่คนละข้าง เทวดาและพรหมทั้งหลายทั้งจักรวาล ได้มายืนห้อมล้อมยอกรนมัสการพระโกนาคมนะโพธิสัตว์จนเต็มห้องจักรวาล แม้พระโพธิสัตว์ก็ทรงเห็นเทวดาทั้งนั้น




    ..... พระมหาบุรุษทรงประทับนั่งขัดสมาธิ อธิษฐานความเพียรมีองค์ ๔ ทรงกำหนดในพระอานาปานสติกัมมัฏฐาน ดูลมหายใจเข้าออก ไม่นานเท่าใด ก็ทรงได้ถึงฌานแปด พระโพธิสัตว์ทรงเข้าฌานออกฌานจนมีความชำนิชำนาญเป็นวสีดีแล้ว

    ... ในปฐมยาม ทรงตั้งจิตไว้ในอุปจารสมาธิ ทรงทำปุพเพนิวาสานุสสติญาณให้บังเกิด ทรงระลึกถึงขันธ์ที่เคยอยู่อาศัยในภพก่อนกาลก่อนได้ไม่มีจำกัด ทรงทราบว่าทรงได้ปรารถนาพระโพธิญาณมาแต่กาลไหน พระพุทธเจ้าในอดีตทรงสอนว่าอย่างไร ดังนี้เป็นต้น อันเป็นปัจจัยให้พระองค์ได้บรรลุพระโพธิญาณ

    ... ในมัชฌิมยามที่สอง ทรงยังจุตูปปาตญาณให้บังเกิด ทรงเห็นการเกิดตายของเหล่าสรรพสัตว์ในไตรภพ ทรงเห็นความทุกข์ยากลำบากในการเกิดตาย ยังความเบื่อหน่ายในภพชาติให้เกิดแก่พระมหาบุรุษยิ่งนัก

    ... ในปัจฉิมยาม ทรงพิจารณาถึงโลกนี้อันเต็มไปด้วยความทุกข์ยาก ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย และเวียนตายเวียนเกิดตายในวัฏฏะสงสาร ทรงหยั่งปัญญาพิจารณาปัจจยาการ

    ... ต่อมา พระโพธิสัตว์ทรงพิจารณาเห็นความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ ๕ เมื่อพระองค์ทรงพิจารณาเห็นความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ ๕

    ... ในปัจจุสมัยใกล้รุ่ง พระอาทิตย์ทอแสงสีทองที่ขอบฟากฟ้าบูรพาทิศ จิตของพระโพธิสัตว์เจ้า ก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ยึดมั่น

    ... จิตของพระมหาบุรุษทรงพ้นแล้วจากเครื่องผูกมัดทั้งปวง มีพระสันดานเบิกบานดุจดอกบัวหลวงต้องแสงอาทิตย์ฉะนั้น มีพระดำริบริบูรณ์

    ... ทรงบรรลุพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ

    .... ตรัสเป็นองค์สมเด็จพระโกนาคมนะสัทธาธิกะอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ โพธิบัลลังก์นั้น ฉะนี้แล




    ..... ได้ยินว่า ในกาลที่องค์สมเด็จพระโกนาคมนะสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นบรรลุพระโพธิญาณ สมเด็จพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันต์ทั้งหลายที่เข้าพระนิพพานแล้ว ได้เสด็จมาอนุโมทนากับองค์สมเด็จพระโกนาคมน์มหามุนีด้วย
     
  14. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    ..... องค์สมเด็จพระโกนาคมน์พุทธเจ้า ทรงยับยั้งเสวยวิมุตติสุขอยู่ ณ พระศรีมหาโพธิ์ ๗ สัปดาห์ พระองค์อันท้าวสหัมบดีอาราธนาให้แสดงพระธรรมแล้ว

    ... ทรงพิจารณาด้วยพระพุทธญาณ ทรงเห็นอุปนิสัยสมบัติของภิกษุสามหมื่นที่บวชกับพระองค์ เสด็จไปทางอากาศ เสด็จลงที่ป่าอิสิปตนะมิคทายวัน ใกล้กรุงสุทัสสนะนคร อยู่ท่ามกลางภิกษุเหล่านั้น ทรงประกาศธรรมจักร ครั้งนั้น อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์สามหมื่นโกฏิ


    ... ต่อมาอีก ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ณ โคนต้นรังใหญ่ ใกล้ประตูสุนทรนคร ทรงยังสัตว์สองหมื่นโกฏิให้ดื่มอมฤตธรรม นั้นเป็นอภิสมัยครั้งที่ ๒


    ... เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอภิธรรมปิฎกโปรดเทวดาทั้งหลายที่มาประชุมกันในหมื่นจักรวาล มีนางอุตตราพระชนนีของพระองค์เป็นประธาน อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์หมื่นโกฏิ




    ..... แม้สมเด็จพระโกนาคมนะพุทธเจ้า ผู้นำพาปวงสัตว์ข้ามสงสาร มีสาวกสันนิบาตครั้งเดียว

    ... พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อประทับอยู่ ณ สุรินทะวดีอุทยาน กรุงสุรินทะวดี ทรงแสดงธรรมโปรดพระราชโอรสสองพระองค์คือ ภิยโยสะราชโอรส และ อุตตระราชโอรส พร้อมทั้งบริวาร ทรงยังชนเหล่านั้นทั้งหมดให้บรรลุพระอรหัตตผลพร้อมปฏิสัมภิทาญาณ ทรงให้บวชด้วยเอหิภิกขุบรรพชา ประทับท่ามกลางภิกษุเหล่านั้น ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ณ วันมาฆบูรณมี




    ..... ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเราเป็นพระราชาพระนามว่า พระเจ้าปัพพตะ กรุงมิถิลานคร

    ... ครั้งนั้น พระเจ้าปัพพตะพร้อมทั้งราชบริพาร ทรงสดับข่าวว่าพระโกนาคมนะพุทธเจ้าผู้เป็นที่พึ่งของเหล่าสรรพสัตว์ เสด็จถึงกรุงมิถิลานครแล้ว จึงเสด็จออกไปรับเสด็จ

    ... ถวายบังคมนิมนต์สมเด็จพระทศพลญาณเจ้า ถวายมหาทาน ทูลวิงวอนพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับจำพรรษา ณ มิถิลานครนั้น ทรงบำรุงสมเด็จพระชินสีห์สัมมาสัมพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระสงฆ์สาวกตลอดไตรมาส

    ... ถวายของมีค่ามากเช่นผ้าไหมทำในเมืองปัตตุณณะ ผ้าทำในเมืองจีน ผ้ากัมพล ผ้าแพร ผ้าเปลือกไม้ ผ้าฝ้ายเป็นต้น ผ้าเนื้อละเอียด ฉลองพระบาทประดับทองและบริขารอื่นเป็นอันมาก

    ... สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าพระโกนาคมนะเจ้าพระองค์นั้น ก็ทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้นว่า

    ... " พระเจ้าปัพพตะนี้ เป็นนิยตะโพธิสัตว์ผู้เที่ยงแท้ที่จะได้ตรัสเป็นสมเด็จพระสัพพัญญูสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า สมเด็จพระสมณะโคดมพุทธเจ้า จักตรัสเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นลำดับที่ ๔ ในภัทรกัปนี้ "

    ... ลำดับนั้น พระเจ้าปัพพตะนั้นสดับคำพยากรณ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ก็ทรงบริจาคราชสมบัติยิ่งใหญ่ ทรงผนวชในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น




    ..... พระผู้มีพระภาคเจ้าโกนาคมนะพระองค์นั้นทรงมีพระนครชื่อว่า โสภะวดี

    ... พระชนกเป็นพราหมณ์ชื่อว่า ยัญญะทัตตะ

    ... พระชนนีเป็นพราหมณีชื่อว่า อุตตรา

    ... คู่พระอัครสาวกชื่อว่า พระภิยโยสะมหาเถระ และ พระอุตตระมหาเถระ

    ... พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า พระโสตถิชะมหาเถระ

    ... คู่พระอัครสาวิกาชื่อว่า พระแม่เจ้าสมุททามหาเถรี และ พระแม่เจ้าอุตตรามหาเถรี

    ... พระศรีมหาโพธิพฤกษ์ชื่อว่า อุทุมพร ต้นมะเดื่อ

    ... พระสรีระสูง ๓๐ ศอก

    ... พระชนมายุสามหมื่นปี

    ... ภริยาเป็นพราหมณีชื่อ รุจิคัตตา

    ... โอรสชื่อ พระสัตถะวาหะมหาเถระ

    ... เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ด้วยยาน คือ พญาช้าง

    ... พระนครชื่อว่า โสภะวดี มีกษัตริย์พระนามว่า โสภะ ตระกูลของสมเด็จพระโกนาคมน์สัมพุทธเจ้าเป็นตระกูลใหญ่อยู่ในนครนั้น




    ..... ในยุคนั้น พระชนมายุของพระพุทธเจ้าสามหมื่นปี พระองค์ทรงพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น จึงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆะ

    ... พระองค์ทั้งพระสาวก ทรงยกธรรมเจดีย์อันประดับด้วยผ้าธรรม ทรงทำเป็นพวงมาลัยดอกไม้ธรรมแล้วดับขันธปรินิพพานแล้ว

    ... พระสาวกของพระองค์พิลาสฤทธิ์ยิ่งใหญ่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ประกาศธรรมอันเป็นสิริ ทั้งนั้นก็อันตรธานไปสิ้น สังขาร คือ ร่างกายทั้งปวงก็ว่างเปล่าแน่แท้




    ..... องค์สมเด็จพระโกนาคมนะอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงมหากรุณา ผู้เป็นที่พึ่งของไตรโลก ทรงเสด็จล่วงลับดับขันธปรินิพพาน ณ วัดปัพพะตารามมหาวิหาร พระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระโกนาคมน์เจ้า แผ่กว้างไปในประเทศนั้นๆ ฉะนี้แล
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 ธันวาคม 2013
  15. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    สมเด็จพระพุทธกัสสปะสัทธาธิกะสัมมาสัมพุทธเจ้า



    ..... ภายหลังต่อมาจากสมัยสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าโกนาคมนะ เมื่อพระศาสนาของพระองค์อันตรธานแล้ว สัตว์ที่มีอายุสามหมื่นปีก็เสื่อมลดลงโดยลำดับจนถึงมีอายุสิบปี แล้วเริ่มต้นที่อายุประมาณแสนปี แล้วก็เสื่อมลดลงอีกโดยลำดับ

    ... เมื่อศาสนาพระโกนาคมน์พุทธเจ้าอันตรธานแล้วประมาณ ๙ ล้านปี หรือนับถอยหลังจากปัจจุบันนี้ไปประมาณ ๓ ล้านปี เมื่อสัตว์ทั้งหลายมีอายุประมาณสองหมื่นปี สมเด็จพระพุทธกัสสป ผู้ปกครองมนุษย์เป็นอันมาก ก็อุบัติขึ้นในโลก




    ..... พระกัสสปะโพธิสัตว์เจ้าพระองค์นั้นทรงเป็นพระสัทธาธิกะพุทธภูมินิยตะบรมโพธิสัตว์ ทรงบำเพ็ญพระบารมีมาแปดอสงไขยกำไรแสนกัป เมื่อสร้างพระปรมัตถบารมีชาติสุดท้ายแล้วบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต ทรงรออยู่จนถึงกาลที่พระองค์จะตรัสเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว

    ... ท้าวอมรินทรสักกะเทวราชพร้อมด้วยเทวดาพรหมทั้งหลายก็พากันมาประชุมที่วิมาน พระกัสสปะโพธิสัตว์ ทูลอาราธนาให้พระโพธิสัตว์เจ้าจุติยังมนุสสโลกเพื่อตรัสเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้านำพาปวงพุทธเวไนยข้ามกันดารสู่แดนพระนิพพานอันบรมสุข

    ... พระมหาโพธิสัตว์พิจารณามหาวิโลกนะแล้ว รับอาราธนาท้าวสักกะเทวราช

    ... จุติจากดุสิตเทวโลกนั้นแล้วก็ถือปฏิสนธิในครรภ์ของพราหมณีชื่อว่าธนวดี ผู้มีคุณไพบูลย์ ของพราหมณ์ชื่อว่าพรหมทัตตะ กรุงพาราณสี

    ... ถ้วนกำหนดทศมาสก็คลอดออกจากครรภ์ชนนี ณ อิสิปตนะมิคทายวัน แต่ญาติทั้งหลายตั้งพระนามของพระองค์โดยโคตรว่ากัสสปะกุมาร




    ..... พระมหาบุรุษครองฆราวาสวิสัยอยู่สองพันปี

    ... มีปราสาท ๓ หลังชื่อว่าหังสวาปราสาท ยสวาปราสาท และสิรินันทะปราสาท

    ... ปรากฏมีนางบำเรอสี่หมื่นแปดพันนางมีนางสุนันทาพราหมณีเป็นประมุข

    ... เมื่อบุตรชื่อวิชิตเสนะ ของนางสุนันทาพราหมณี เกิดแล้ว พระองค์ทรงเห็นนิมิต ๔ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณะ แล้วเกิดความสังเวชสลดใจ

    ... เมื่อระหว่างที่พระองค์ทรงดำริเท่านั้น ปราสาทก็หมุนเหมือนจักรแห่งแป้นทำภาชนะดิน ลอยขึ้นสู่ท้องนภากาศอันคนหลายร้อยแวดล้อมแล้ว ดุจดวงรัชนีกรในฤดูสารทที่เป็นกลุ่มทำความงามอย่างยิ่งอันหมู่ดาวแวดล้อมแล้ว ลอยไปประหนึ่งประดับท้องนภากาศ ประหนึ่งประกาศบุญญานุภาพ ประหนึ่งดึงดูดดวงตาดวงใจของชน ประหนึ่งทำยอดไม้ทั้งหลายให้งามยิ่ง เอาต้นพระศรีมหาโพธิพฤกษ์ชื่อ นิโครธ ต้นไทร ไว้ตรงกลางแล้วลงตั้งเหนือพื้นดิน




    ..... ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ผู้เป็นมหาสัตว์ทรงยืนที่แผ่นดิน ทรงถือเอาผ้ากาสายะธงชัยแห่งพระอรหันต์ที่เทวดาถวาย ทรงผนวชแล้ว นางบำเรอของพระองค์ก็ลงจากปราสาท เดินเท้าไปอีกประมาณ ๒ กิโลเมตร พร้อมด้วยบริวารจึงพากันนั่งกระทำให้เป็นดุจค่ายพักของกองทัพ แต่นั้น คนที่มาด้วยก็พากันบวชหมด

    ... ได้ยินว่า พระมหาบุรุษอันชนเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว ทรงบำเพ็ญเพียร ๗ วัน

    ... ในวันวิสาขบูรณมี เสวยข้าวมธุปายาสที่นางสุนันทาพราหมณีถวาย

    ... ทรงยับยั้งพักกลางวัน ณ ป่าตะเคียน

    ... เวลาเย็นทรงรับหญ้า ๘ กำที่คนเฝ้าไร่ข้าวเหนียวชื่อ โสมะถวาย

    ... จึงเข้าไปยังพระศรีมหาโพธิพฤกษ์ชื่อ นิโครธ ต้นไทร

    ... ทรงลาดหญ้ากว้างยาว ๑๕ ศอก ที่ก้อนหินคล้ายแท่นประทับนั่งเหนือสันถัตนั้น ทรงอธิษฐานความเพียรมีองค์ ๔

    ... ทรงเจริญในอานาปานสติกัมมัฏฐาน กำหนดลมหายใจเข้าออก ไม่ช้านานเท่าใด พระมหาบุรุษก็ทรงได้ฌานแปด ทรงเข้าฌานออกฌาน ทำจนได้วสีดีแล้ว

    ... ก็ในกาลนั้น บรรดาเทวดาพรหมทั้งหลายได้มายืนห้อมล้อมยอกรถวายนมัสการพระมหาบุรุษ ต่างโปรยปรายดอกไม้ของหอม บูชาพระโพธิสัตว์เจ้า ได้ยินว่าเทวดาแลพรหมมากันเต็มห้องจักรวาลยืนรอพระมหาบุรุษบรรลุพระอภิสัมโพธิญาณ

    ... เมื่อปฐมยาม ทรงได้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ทรงระลึกชาติแต่หนหลังครั้งก่อนของพระองค์ว่าเกิดเป็นอะไรบ้าง ปรารถนาพระโพธิญาณแต่ครั้งไหน พระพุทธเจ้าพระองค์ใดพยากรณ์พระองค์บ้าง และพระพุทธเจ้าทรงสอนว่าอย่างไรบ้าง อันเป็นเหตุให้พระองค์ได้บรรลุพระโพธิญาณ

    ... ครั้นมัชฌิมยาม ทรงได้จุตูปปาตญาณเห็นการเกิดตายของเหล่าสัตว์ทั้งปวง อันเป็นไปตามกฎแห่งกรรมที่ตนทำเอาไว้

    ... ถึงปัจฉิมยาม ทรงหยั่งปัญญาพิจารณาในปัจจยาการปฏิจจสมุปบาท ทรงพิจารณาในปัญจขันธ์ คือ รูปขันธ์กองแห่งรูป เวทนาขันธ์กองแห่งเวทนา สัญญาขันธ์กองแห่งสัญญา สังขารขันธ์กองแห่งสังขาร วิญญาณขันธ์กองแห่งวิญญาณ โดยไตรลักษณญาณ คือ อนิจจังความไม่เที่ยงแท้แน่นอน ทุกขังความเป็นทุกข์ทนได้ยาก อนัตตาความไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนแห่งเราของเราจริง

    ... ไม่นานนักก็จิตของพระมหาบุรุษก็หลุดพ้นจากอาสวะ ทรงได้บรรลุพระสัมโพธิญาณเมื่อยามเช้าตรู่ ตรัสเป็นองค์สมเด็จพระกัสสปะสัทธาธิกะสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นที่พึ่งของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เปล่งพระอุทานว่า

    ... " เราแสวงหาตัณหานายช่างผู้สร้างเรือน เมื่อไม่พบจึงต้องท่องเที่ยวไปตลอดชาติสงสารเป็นอันมาก

    ... ชาติ คือ ความเกิดบ่อยๆ เป็นทุกข์

    ... ดูก่อนตัณหานายช่างผู้สร้างเรือน เราเห็นท่านแล้ว ท่านจักสร้างเรือนอีกไม่ได้

    ... โครงสร้างเรือนของท่านเราหักหมดแล้ว ยอดเรือนเราก็รื้อออกแล้ว

    ... จิตของเราถึงธรรมเป็นที่สิ้นตัณหาแล้ว "




    ..... ได้ยินว่า ครั้งที่สมเด็จพระกัสสปะจอมมุนีบรรลุพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณนั้น พระวิสุทธิเทพทั้งปวง คือ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันต์ทุกๆ พระองค์ที่เข้าสู่เมืองแก้วพระนิพพานแล้ว ต่างเสด็จลงมาอนุโมทนาสาธุการด้วยกับสมเด็จพระมหามุนีนาถเจ้าพระองค์นั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ธันวาคม 2013
  16. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    ..... องค์สมเด็จพระตถาคตเจ้าทรงยับยั้งเสวยวิมุติสุข ความสุขจากการหลุดพ้นกิเลสอยู่ ๗ สัปดาห์

    ... สมเด็จพระสยัมภูญาณเจ้า อันท้าวสหัมบดีมหาพรหมอาราธนาให้แสดงพระสัทธรรมแล้ว

    ... ทรงพิจารณาด้วยพระพุทธญาณอันคล่องแคล่วของพระองค์ ก็เห็นอุปนิสัยสมบัติของภิกษุหนึ่งโกฏิซึ่งบวชกับพระองค์

    ... ทรงเสด็จไปทางอากาศ ลงที่ป่าอิสิปตนะมิคทายวัน กรุงพาราณสี อันภิกษุเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ อิสิปตนะมิคทายวันนั้น ครั้งนั้น ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์สองหมื่นโกฏิ



    ..... ต่อมาอีกสมัยหนึ่ง เมื่อสมเด็จพระศาสดาเสด็จจาริกไปในชนบท อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่สัตว์หนึ่งหมื่นโกฏิ



    ..... ครั้งสมเด็จพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ที่โคนต้นประดู่ ใกล้ประตูสุนทรนคร ทรงแสดงธรรม อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์ห้าพันโกฏิ




    ..... ต่อมาอีก ทรงทำยมกปาฏิหาริย์แล้ว ประทับนั่ง ณ สุธัมมาเทวสภา ที่ดาวดึงส์เทวโลก ทรงแสดงอภิธรรมปิฎก ๗ คัมภีร์ เพื่ออนุเคราะห์เทวดาทั้งหลายในหมื่นโลกธาตุ มี พระนางธนวดีชนนีของพระองค์เป็นประมุข ทรงยังเทวดาสามพันโกฏิให้ดื่มอมฤตธรรม นี้เป็นอภิสมัยครั้งที่ ๔



    ..... อีกครั้งทรงแสดงธรรมโปรด นรเทวยักษ์ เขาว่า ครั้งนั้น มียักษ์ชื่อว่านรเทพ ผู้เป็นนรเทพผู้มีอานุภาพและผู้พิชิต ซึ่งมีศักดิ์ใหญ่และฤทธิ์มา

    ... นรเทพยักษ์นั้นแปลงตัวเหมือนพระราชาในนครหนึ่งในชมพูทวีป ทั้งรูปร่างทรวดทรงสุ้มเสียงท่วงที แล้วฆ่าพระราชาตัวจริงกินเสีย ปฏิบัติหน้าที่พระราชา พร้อมทั้งในราชสำนัก โปรดเสวยเนื้อไม่จำกัดจำนวน

    ... เขาว่า นรเทวยักษ์นั้นเป็นนักเลงหญิงด้วย แต่คราใดสตรีพวกที่ฉลาดเฉลียว รู้จักเขาว่าผู้นี้ไม่ใช่พระราชาของเรา นั่นอมนุษย์ผู้ฆ่าพระราชากินเสีย

    ... ครานั้น เขาทำเป็นละอาย กินสตรีพวกนั้นหมด แล้วก็เดินทางไปนครอื่น

    ... ด้วยประการดังนี้ นรเทวยักษ์นั้นกินมนุษย์แล้วก็มุ่งหน้าไปทางสุนทรนคร พวกมนุษย์ชาวนครเห็นเขา ถูกมรณภัยคุกคามก็สะดุ้งกลัว พากันออกจากนครของตนหนีซมซานไป

    ... ครั้งนั้น สมเด็จพระกัสสปทศพลทรงเห็นพวกมนุษย์พากันหนีไป ก็ประทับยืนประจันหน้านรเทวยักษ์นั้น

    ... นรเทวยักษ์ครั้นเห็นสมเด็จพระวิสุทธิเทพผู้ยิ่งกว่าเทพทั้งปวง ยืนประจันหน้า ก็แผดเสียงกัมปนาทดุดัน ร้ายกาจ แต่ไม่อาจให้พระผู้มีพระภาคเจ้าเกิดความกลัวได้ ก็ถึงพระองค์เป็นสรณะ แล้วทูลถามปัญหา

    ... เมื่อพระองค์ทรงวิสัชนาปัญหา ทรงฝึกเขา แสดงธรรม อภิสมัยครั้งที่ ๕ ก็ได้มีแก่มนุษย์และเทวดาที่มาประชุมกันเกินที่จะนับจำนวนได้ถ้วน




    ..... องค์สมเด็จพระกัสสปะพุทธเจ้าทรงตรัสสอนพุทธบริษัทในคราวหนึ่งว่า

    ... " บุคคลบางคนให้ทานด้วยตนเอง แต่ไม่ชักชวนผู้อื่น เมื่อเขาเกิดเป็นคนอีก เขาย่อมเป็นคนร่ำรวยเงินทอง แต่ไม่มีเพื่อนพ้องบริวาร

    ... ส่วนบางคนตนเองไม่ให้ทาน แต่เที่ยวชักชวนคนอื่นให้ให้ทาน เมื่อเขาเกิดเป็นคนอีก เขาก็ย่อมมีแต่เพื่อนพ้องบริวาร แต่เป็นคนยากจนเข็ญใจ

    ... ส่วนบางคนตนเองก็ไม่ให้ทาน ทั้งไม่ชักชวนคนอื่นให้ให้ทานด้วย เมื่อเขาเกิดเป็นคนอีก เขาย่อมเป็นคนยากจนเข็ญใจ อีกทั้งเป็นคนไร้ญาติขาดมิตรไม่มีเพื่อนพ้อง

    ... ส่วนบางคนตนเองก็ไห้ทาน ทั้งยังชักชวนคนอื่นให้ให้ทานด้วย เมื่อเขาเกิดเป็นคนอีก เขาย่อมเกิดเป็นเศรษฐีร่ำรวยเงินทอง อีกทั้งมีญาติมิตรเพื่อนพ้องมากมาย

    ... บุคคลไม่ควรดูหมิ่นบุญเล็กน้อยว่าจะไม่มาถึง

    ... แม้หม้อน้ำก็ยังเต็มด้วยหยาดน้ำที่ตกลงมาฉันใด

    ... ผู้ฉลาดเมื่อสะสมบุญแม้ทีละเล็กทีละน้อย ก็ย่อมเต็มด้วยบุญฉันนั้น "





    ..... พระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสปะพระองค์นั้นมีสาวกสันนิบาตครั้งเดียวเท่านั้น มีบุตรปุโรหิตในกรุงพาราณสี ชื่อว่า ติสสะ เขาเห็นลักษณะสมบัติในพระสรีระของพระกัสสปะโพธิสัตว์ ฟังบิดาพูดก็คิดว่า

    ... " ท่านผู้นี้จักออกมหาภิเนษกรมณ์เป็นพระพุทธเจ้า อย่างไม่ต้องสงสัย จำเราจักบวชในสำนักของพระองค์จักพ้นจากสังสารทุกข์ "

    ... จึงไปยังป่าหิมพานต์ที่มีหมู่มุนีผู้บริสุทธิ์ บวชเป็นดาบส เขามีดาบสสองหมื่นเป็นบริวาร

    ... ต่อมาภายหลัง เขาทราบข่าวว่าพระกัสสปกุมารออกอภิเนษกรมณ์บรรลุพระอภิสัมโพธิญาณ จึงพร้อมด้วยบริวารมาบวชด้วยเอหิภิกขุบรรพชาในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสปะ แล้วได้บรรลุพระอรหัตตผลพร้อมปฏิสัมภิทาญาณ

    ... พระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสปะทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ในวันมาฆบูรณมีในสมาคมนั้น




    ..... ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเราเป็นมาณพชื่อโชติปาละ อาศัยอยู่ที่เวภฬิคะนิคม เรียนจบไตรเพท มีชื่อเสียงในการทำนายลักษณะพื้นดินและลักษณะอากาศ เป็นสหายของฆฏิการะช่างหม้อ

    ... ดังความที่มีใน พระไตรปิฎก สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ ราชวรรค ฆฏิการสูตรที่ ๑

    ... เรื่องเคยมีมาแล้ว ในประเทศนี้มีนิคมชื่อเวภฬิคะ เป็นนิคมมั่งคั่งและเจริญ มีคนมาก มีมนุษย์หนาแน่น

    ... สมเด็จพระกัสสปะอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอาศัยเวภฬิคะนิคม และในเวภฬิคะนิคม มีช่างหม้อชื่อฆฏิการะเป็นอุปัฏฐากของสมเด็จพระตถาคตเจ้า เป็นอุปัฏฐากผู้เลิศ มีเพื่อนรักชื่อโชติปาละมาณพ

    ... ครั้งนั้น ฆฏิการะช่างหม้อชวนโชติปาละมาณพว่า

    ... " โชติปาละ เราไปหาสมเด็จพระพิชิตมารสัมมาสัมพุทธเจ้ากันดีกว่า เพราะว่าการที่เราได้เห็นพระพุทธเจ้านั้น เป็นมงคลยิ่งนัก "

    ... เมื่อฆฏิการะช่างหม้อพูดชวนอย่างนี้แล้ว โชติปาลมาณพได้ตอบว่า

    ... " อย่าเลยฆฏิการะ จะมีประโยชน์อะไรด้วยพระสมณะศีรษะโล้นนั้นที่เราเห็นแล้วเล่า "

    ... ฆฏิการะช่างหม้อจึงชวนโชติปาละมาณพว่า

    ... " โชติปาละ ถ้าอย่างนั้น เราไปอาบน้ำที่แม่น้ำกันดีกว่า "

    ... ลำดับนั้น ฆฏิการะช่างหม้อและโชติปาลมาณพจึงพากันเดินไปอาบน้ำที่ท่าแม่น้ำ

    ... ครั้งนั้นแล เมื่ออาบน้ำเสร็จแล้ว ฆฏิการะช่างหม้อชวนโชติปาละมาณพว่า

    ... " โชติปาละ พระอารามของพระพุทธกัสสปอยู่ใกล้ๆนี่เอง เราไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้ากันดีกว่า เพราะว่าการที่เราได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เป็นมงคลยิ่งนัก "

    ... เมื่อฆฏิการะช่างหม้อพูดชักชวนอย่างนี้ โชติปาละมาณพได้กล่าวกะฆฏิการะช่างหม้อว่า

    ... " อย่าเลยเพื่อน จะมีประโยชน์อะไรด้วยพระสมณะศีรษะโล้นนั้นที่เราเห็นแล้วเล่า "

    ... ลำดับนั้น ฆฏิการะช่างหม้อได้จับโชติปาละมาณพที่ชายพกแล้วกล่าวว่า

    ... " โชติปาละ พระอารามของพระพุทธกัสสปอยู่ไม่ไกล เราไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้ากันดีกว่า เพราะว่าการที่เราได้เห็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เป็นความดี เป็นมงคล "

    ... ลำดับนั้น โชติปาลมาณพบอกให้ฆฏิการะช่างหม้อปล่อยชายพกแล้วกล่าวว่า

    ... " อย่าเลยเพื่อนฆฏิการะ จะมีประโยชน์อะไรด้วยพระสมณะศีรษะโล้นนั้นที่เราเห็นแล้วเล่า "

    ... ลำดับนั้น ฆฏิการะดึงผมโชติปาละแล้วกล่าวว่า

    ... " โชติปาละ พระอารามของพระพุทธกัสสปอยู่ไม่ไกล เราไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้ากันดีกว่า เพราะว่าการที่เราได้เห็นพระสรรเพชญพุทธเจ้านั้น เป็นความดี เป็นมงคล "

    ... ครั้งนั้น โชติปาลมาณพมีความคิดว่า

    ... " น่าอัศจรรย์หนอท่าน ไม่เคยมีมาหนอท่าน ที่ฆฏิการะช่างหม้อผู้มีชาติต่ำมาจับที่ผมของเราผู้อาบน้ำดำเกล้าแล้วการที่เราจะไปนี้ เห็นจะไม่เป็นการไปเล็กน้อยหนอ "

    ... ดังนี้แล้ว ได้กล่าวกะฆฏิการะว่า

    ... " เพื่อน การที่เพื่อนทำความพยายามตั้งแต่ชักชวนด้วยวาจา จับที่ชายพกจนล่วงเลยถึงดึงผมนั้น ก็เพื่อจะชวนให้กันไปในสำนักสมเด็จพระกัสสปะอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เท่านั้นเองหรือ "

    ... ฆฏิการะตอบว่า

    ... " เท่านั้นเองเพื่อนโชติปาละ จริงเช่นนั้นเพื่อน ก็การที่เราได้เห็นพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เป็นความดี เป็นมงคล "

    ... โชติปาละจึงพูดกับฆฏิการะว่า

    ... " เพื่อนฆฏิการะ ถ้าอย่างนั้น จงปล่อยเถิด เราจักไปเฝ้าพระสมณะ "

    ... ครั้งนั้น ฆฏิการะและโชติปาละมาณพได้เข้าไปเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงที่ประทับ แล้ว ฆฏิการะและโชติปาละมาณพถวายอภิวาทพระทศพลญาณเจ้า แล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฆฏิการะช่างหม้อได้กราบทูลสมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาว่า

    ... " ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ โชติปาละมาณพผู้นี้ เป็นสหายที่รักของข้าพระพุทธเจ้า ขอพระพุทธเจ้าผู้ทรงพระมหากรุณาธิคุณ ทรงแสดงธรรมโปรดแก่โชติปาละมาณพนี้ด้วยเถิด พระเจ้าข้า "

    ... ครั้งนั้น สมเด็จพระจอมมุนีเจ้าตรัสธรรมกถาเพื่อให้โชติปาละนั้นกลับได้สติโดยนัยนี้ว่า

    ... " ดูก่อนโชติปาละ ตัวท่านหาใช่สัตว์ผู้หยั่งลงสู่ฐานะอันต่ำทราม หากแต่ท่านเป็นพระโพธิสัตว์ผู้ปรารถนาพุทธภูมิ จักตรัสเป็นพระสัมพุทธเจ้าต่อจากเราตถาคตนี้

    ... ธรรมดาผู้แสวงหาพระโพธิญาณเฉกเช่นท่าน ควรเร่งขวนขวายในการบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการ

    ... ควรรีบเร่งในการให้ทาน รักษาศีล แลเจริญสมถะภาวนาและวิปัสสนาภาวนา หาควรอยู่ด้วยความประมาท

    ... ดูก่อนโชติปาละ เราตถาคตบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการ ได้ตรัสรู้สัพพัญญุตญาณในโลกด้วยประการใด

    ... แม้ตัวท่านก็จงบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการให้บริบูรณ์ ก็จักแทงตลอดสัพพัญญุตญาณเหมือนเราตถาคตนี้แล "

    ... สมเด็จพระธรรมราชา ทรงยังฆฏิการะช่างหม้อ และโชติปาลมาณพให้เห็นแจ้ง ให้สมาทานให้อาจหาญ ให้ร่าเริงด้วยธรรมีกถา

    ... ลำดับนั้น ฆฏิการะช่างหม้อ และโชติปาละมาณพอันสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสปะผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริงด้วยธรรมีกถา เพลิดเพลินชื่นชม พระภาษิตของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ถวายอภิวาทแล้วหลีกไป

    ... เมื่อได้สดับรสพระสัทธรรมจากสมเด็จพระประทีแก้วแล้ว โชติปาละผู้โพธิสัตว์นั้นอยากจะออกบรรพชาอุปสมบทในพระศาสนาพระมหามุนีเจ้า

    ... ครั้งนั้น โชติปาละมาณพได้ถามฆฏิการะช่างหม้อว่า

    ... " ฆฏิการะ ท่านจะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยเราหรือเปล่า "

    ... ฆฏิการะช่างหม้อตอบว่า

    ... " โชติปาละ ท่านก็รู้อยู่ว่า เราต้องเลี้ยงมารดาบิดา ซึ่งเป็นคนตาบอดผู้ชราแล้วมิใช่หรือ "

    ... โชติปาละมาณพตอบว่า

    ... " ฆฏิการะ ถ้าเช่นนั้น เราจักออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต "

    ... ครั้งนั้น ฆฏิการะช่างหม้อและโชติปาละมาณพ ได้เข้าไปเฝ้าสมเด็จพระพุทธศาสดาจารย์ ถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

    ... ฆฏิการะได้กราบทูลสมเด็จพระสัตถาพุทธเจ้าว่า

    ... " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โชติปาลมาณพผู้ป็นสหายที่รักของข้าพระพุทธเจ้า จะขอบวชในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสงเคราะห์ให้โชติปาละมาณพนี้บวชด้วยเถิด พระเจ้าข้า "

    ... โชติปาละมาณพได้บรรพชาอุปสมบทแล้วในสำนักสมเด็จพระกัสสปะบรมครู

    ... ครั้นเมื่อพระโชติปาละภิกษุอุปสมบทแล้วเป็นผู้ไม่ประมาท ปรารภความเพียร เล่าเรียนพระไตรปิฎก เจริญภาวนาอยู่ ก็สามารถทรงกัมมัฏฐาน๔๐ เป็นฌานแปดทุกกอง ทรงสติปัฏฐาน ๔ ทรงวิปัสสนาญาณ ๙ เป็นผู้ได้อภิญญา๕ สมาบัติ๘ ยังพระพุทธศาสนาให้งามด้วยการปฏิบัติข้อวัตรใหญ่น้อย

    ... องค์สมเด็จพระสรรเพชญ์กัสสปะสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ผู้ทรงเป็นพระบรมโลกนายก ทรงไว้ซึ่งพระสัพพัญญุตตญาณ ได้ทรงมีพระพุทธดำรัสตรัสพยากรณ์ว่า


    ... " อนาคตกาลภายภาคหน้า เมื่อศาสนาแห่งเราตถาคตเสื่อมสูญสิ้นหมดไปแล้ว พระโชติปาละภิกขุ ผู้นี้จักได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระสมณะโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า ต่อจากเราตถาคต "



    ..... ก็พระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสปะพระองค์นั้นทรงมีนครเกิดชื่อว่า พาราณสี

    ... มีชนกเป็นพราหมณ์ชื่อว่า พรหมทัตตะ

    ... มีชนนีเป็นพราหมณีชื่อว่า ธนวดี

    ... มีคู่พระอัครสาวกชื่อว่า พระติสสะมหาเถระ และ พระภารทวาชะมหาเถระ

    ... มีพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า พระสัพพะมิตตะมหาเถระ

    ... มีคู่พระอัครสาวิกาชื่อว่า พระแม่เจ้าอนุฬามหาเถรี และ พระแม่เจ้าอุรุเวฬามหาเถรี

    ... พระศรีมหาโพธิพฤกษ์ชื่อว่า นิโครธ ต้นไทรย้อย

    ... พระสรีระสูง ๒๐ ศอก

    ... พระชนมายุยืนสองหมื่นปี

    ... ภริยาชื่อว่า สุนันทา

    ... บุตรชื่อ วิชิตเสนะ

    ... ออกมหาภิเนษกรมณ์ด้วยยาน คือ ปราสาท

    ... มีนครชื่อว่า พาราณสี มีกษัตริย์พระนามว่า กิกี ตระกูลของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นตระกูลใหญ่ อยู่ในพระนครนั้น




    ..... องค์สมเด็จพระกัสสปะพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่พระองค์นั้น มีพระชนมายุสองหมื่นปี

    ... พระองค์ทรงมีพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น จึงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆะ

    ... ทรงสร้างสระ คือ ธรรม

    ... ประทานเครื่องลูบไล้ คือ ศีล

    ... ทรงนุ่งผ้า คือ ธรรม

    ... ทรงแจกมาลัย คือ ธรรม

    ... ทรงวางธรรมอันใสไร้มลทิน ต่างกระจก ไว้ในมหาชน

    ... บางพวกปรารถนาพระนิพพาน

    ... ก็จงดูเครื่องประดับของเรา ประทานเสื้อคือศีล

    ... ผูกสอดเกราะ คือ ฌาน

    ... ห่มหนัง คือ ธรรม ประทานเกราะชั้นเยี่ยม

    ... ประทานสติเป็นโล่ป้องกัน ประทานธรรมเป็นพระขรรค์อย่างดี ศีลเป็นเครื่องย่ำยีการคลุกคลี ประทานวิชชา ๓ เป็นเครื่องประดับ ผลทั้ง ๔ คือ โสดาปัตติผล สกิทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตตผลเป็นมาลัยสวมศีรษะ ประทานอภิญญา ๖ เป็นอาภรณ์ธรรมเป็นดอกไม้เครื่องประดับ

    ... พระองค์ทั้งพระสาวก ประทานพระสัทธรรมเป็นฉัตรขาว กั้นบาป

    ... เนรมิตดอกไม้ คือ ทางที่ไม่มีภัยแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน

    ... ก็นั่น คือ พระสัมมาสัมพุทธะ ผู้มีพระคุณหาประมาณมิได้ อันใครเข้าเฝ้าได้ยาก

    ... นั่นคือพระธรรมรัตนะที่พระองค์ตรัสไว้ดีแล้ว ควรเรียกให้มาดู

    ... นั่นคือพระสังฆรัตนะ ผู้ปฏิบัติดียอดเยี่ยม ทั้งนั้นก็อันตรธานไปสิ้น

    ... สังขาร คือ ร่างกายทั้งปวงก็ว่างเปล่าแน่แท้




    ..... องค์สมเด็จพระกัสสปะสัมพุทธเจ้า พระชินะศาสดา เสด็จล่วงลับดับขันธปรินิพพานที่วัดเสตัพยารามมหาวิหาร

    ... พระสถูปเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระพุทธกัสสปบรมศาสดาจารย์ก่อด้วยก้อนอิฐทองคำ สูง ๑๖ กิโลเมตร ประดิษฐานอยู่ ณ วัดเสตัพยารามมหาวิหารนั้น ฉะนี้แล ฯ.

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ธันวาคม 2013
  17. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    พระเวสสันดรมหาชาดก​

    ..... ต่อนี้จักพรรณนาในการบำเพ็ญพระบารมีเพื่อพระอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณขององค์สมเด็จพระศรีศากยมุนีพุทธเจ้า ในชาติที่พระองค์เกิดเป็นพระเวสสันดรซึ่งเป็นพระชาติสุดท้ายในการบำเพ็ญพระบารมีอันเนิ่นนานนับได้ ๒๐ อสงไขย กำไรแสนกัป ของสมเด็จพระบรมศาสดาสัมาสัมพุทธเจ้าของชาวเราทั้งปวง

    ... ได้ยินว่า นับถอยหลังจากปัจจุบันนี้ไปประมาณได้ ๓ แสนปี พระโคตมะโพธิสัตว์อันพระอินทร์อาราธนาแล้วจุติมาบำเพ็ญทานปรมัตถบารมี ทานลูกเมีย ดังความปรากฏในพระสุตตันตปิฎก ขุททกะนิกาย มหาชาดก เวสสันดรมหาชาดก ความว่า


    ทศพรคาถา​

    ..... พระศาสดา เมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ นิโครธาราม อาศัยกรุงกบิลพัสดุ์ราชธานี ลำดับนั้น มหาเมฆตั้งขึ้นยังฝนโบกขรพรรษให้ตกแล้ว น้ำฝนนั้นสีแดง เสียงซู่ซ่าไหลไปลงที่ลุ่ม

    ... ผู้ต้องการให้เปียกก็เปียก ฝนนั้นไม่ตกต้องกายของผู้ที่ไม่ต้องการให้เปียก แม้สักหยาดเดียว ชนทั้งปวงเหล่านั้นเห็นอัศจรรย์นั้น ก็เกิดพิศวง ภิกษุทั้งหลายพูดกันว่า

    ... " โอ น่าอัศจรรย์ โอ ไม่เคยมี โอ อานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า มหาเมฆจึงยังฝนโบกขรพรรษ เห็นปานนี้ ให้ตกในสมาคมแห่งพระประยูรญาติทั้งหลาย "

    ... พระศาสดาทรงสดับดังนั้นแล้ว ตรัสถามว่า

    ... " ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เธอทั้งหลายนั่งสนทนากันถึงเรื่องอะไร "

    ... เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว มีพระพุทธดำรัสว่า

    ... " ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่มหาเมฆยังฝนโบกขรพรรษให้ตก แม้ในกาลก่อน เวลาที่เรายังเป็นโพธิสัตว์อยู่ มหาเมฆเห็นปานนี้ ก็ยังฝนโบกขรพรรษให้ตกในญาติสมาคม เหมือนกัน "

    ... ตรัสฉะนี้ แล้วทรงดุษณีภาพ ภิกษุเหล่านั้นทูลอาราธนา จึงทรงนำอดีตนิทานมาตรัสเล่า ดังต่อไปนี้



    ..... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอดีตกาล มีพระราชาพระนามว่า สีวิมหาราช ครองราชสมบัติในกรุงเชตุดร แคว้นสีพี

    ... มีพระโอรสพระนามว่า สญชัยกุมาร เพื่อสญชัยกุมารนั้นทรงเจริญวัย พระเจ้าสีวีมหาราชนำราชกัญญาพระนามว่า ผุสดี ผู้เป็นราชธิดาของพระเจ้ามัททราชมา ทรงมอบราชสมบัติแก่สญชัยราชกุมารนั้น แล้วตั้งพระนางผุสดีเป็นอัครมเหสี

    ... ต่อไปนี้เป็นบุรพประโยค คือ ความเพียร(ในการทำทานการกุศล)ที่ทำในศาสนาของพระพุทธเจ้าในปางก่อนแห่งพระนางนั้น คือ

    ... ในที่สุดแห่งกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ พระศาสดาพระนามว่า วิปัสสี เสด็จอุบัติขึ้นในโลก

    ... ในกาลนั้น พระราชาพระนามว่า พันธุมราช เสวยราชสมบัติในพันธุมดีนคร เมื่อพระวิปัสสีศาสดาประทับอยู่ในเขมมฤคทายวัน อาศัยพันธุมดีนคร

    ... กาลนั้น มีพระราชาองค์หนึ่งส่งสุวรรณมาลาราคา ๑ แสน กับแก่นจันทน์อันมีค่ามาก ถวายแด่พระเจ้าพันธุมราช

    ... พระเจ้าพันธุมราชมีพระราชธิดา ๒ องค์ พระเจ้าพันธุมราชมีพระราชประสงค์ จะประทานบรรณาการนั้น แก่พระราชธิดาทั้งสอง

    ... จึงได้ประทานแก่นจันทน์ แก่พระธิดาองค์ใหญ่ ประทานสุวรรณมาลา แก่พระธิดาองค์เล็ก

    ... ราชธิดาทั้งสองนั้นคิดว่า

    ... " เราทั้งสองจักไม่นำบรรณาการนี้ มาใช้มาประดับที่สรีระของเรา เราจักนำไปบูชาพระพุทธศาสดาจารย์ "

    ... ครั้นคิดดังนี้แล้ว จึงทูลพระราชาว่า

    ... " ข้าแต่เสด็จพ่อ ข้าพระบาททั้งสองจักเอาแก่นจันทน์ และสุวรรณมาลาบูชาสมเด็จพระทศพล "

    ... พระเจ้าพันธุมราชทรงสดับดังนั้น ก็ประทานอนุญาตว่า " ดีแล้ว "

    ... ราชธิดาองค์ใหญ่บดแก่นจันทน์ ละเอียดเป็นจุรณ บรรจุในผอบทองคำ แล้วให้ถือไว้

    ... ราชธิดาองค์น้อยให้ทำสุวรรณมาลา เป็นมาลาปิดทรวง บรรจุผอบทองคำ แล้วให้ถือไว้

    ... ราชธิดาทั้งสองเสด็จไป สู่มฤคทายวันวิหาร

    ... บรรดาราชธิดาสององค์นั้น องค์ใหญ่บูชาพระพุทธสรีระ ซึ่งมีวรรณะดังทองคำของพระทศพล ด้วยจรุณแก่นจันทน์ โปรยปรายจุรณแก่นจันทน์ ที่ยังเหลือในพระคันธกุฏี ได้ทำความปรารถนาว่า

    ... " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอข้าพระองค์พึงเป็นมารดาแห่งพระพุทธเจ้าผู้เช่นพระองค์ ในอนาคตกาล "

    ... ฝ่ายราชธิดาองค์เล็กบูชาพระสรีระ ซึ่งมีวรรณะดังทองคำของพระทศพล ด้วยสุวรรณมาลา ทำเป็นอาภรณ์เครื่องปิดทรวง ได้ทำความปรารถนาว่า

    ... " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เครื่องประดับนี้ จงอย่าหายไปจากสรีระของข้าพระพุทธเจ้า จนตราบเท่าบรรลุพระอรหัต "

    ... ส่วนพระบรมศาสดาก็ทรงทำ บูชานุโมทนาแก่ราชธิดาทั้งสองนั้นว่า

    ... " ก็เธอทั้งสองได้ประดิษฐานการบูชา อันใดแก่เราในภพนี้ วิบากแห่งการบูชานั้น จงสำเร็จแก่เธอทั้งสอง ความปรารถนาเธอทั้งสองเป็นอย่างใด จงเป็นอย่างนั้น "

    ... ราชธิดาทั้งสองนั้นดำรงอยู่ตลอดพระชนมายุ ในที่สุดแห่งพระชนมายุ เคลื่อนจากมนุษยโลก ไปบังเกิดในเทวโลก

    ... ใน ๒ องค์นั้น องค์ใหญ่เคลื่อนจากเทวโลก ท่องเที่ยวอยู่ยังมนุษยโลก เคลื่อนจากมนุษยโลก ท่องเที่ยวอยู่ยังเทวโลก

    ... ในที่สุดแห่งกัปที่ ๙๑ ได้เป็นพุทธมารดามีพระนามว่า มหามายาเทวี

    ... ฝ่ายราชกุมารีองค์เล็กก็ท่องเที่ยวอยู่อย่างนั้น ในกาลเมื่อพระทศพลพระนามว่า กัสสปะ บังเกิด

    ... ได้เกิดเป็นราชธิดาแห่งพระราชาพระนามว่า กิกิราช พระนางเป็นราชกุมาริกาพระนามว่า อุรัจฉทา เพราะความที่ระเบียบแห่งเครื่องปิดทรวง ราวกะว่าทำแล้วด้วยจิตรกรรม เกิดแล้วแต่พระทรวง อันตกแต่งแล้ว

    ... ในกาลเมื่อ ราชกุมาริกามีชนมพรรษา ๑๖ ปี ได้สดับภัตตานุโมทนาแห่งพระตถาคตเจ้า ก็ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล

    ... กาลต่อมา ในวันที่พระชนกทรงสดับภัตตานุโมทนาแล้วทรงได้บรรลุโสดาปัตติผล พระนางได้บรรลุพระอรหัต ผนวชแล้วปรินิพพาน

    ... พระเจ้ากิกิราชมีพระธิดาอื่นอีก ๗ องค์ พระนามของราชธิดาเหล่านั้น คือ

    ... นางสมณี นางสมณคุตตา นางภิกษุณี นางภิกขุทาสิกา นางธรรมา นางสุธรรมาและนางสังฆทาสีเป็นที่ ๗

    ... ราชธิดาทั้ง ๗ เหล่านั้น ในพุทธุปบาทกาลนี้ มีนามปรากฏคือ นางเขมา นางอุบลวรรณา นางปฏาจารา พระนางโคตมี นางธรรมทินนา พระนางมหามายา และนางวิสาขาเป็นที่ ๗

    ... บรรดาราชธิดาเหล่านั้น นางผุสดี ชื่อ สุธรรมา ได้บำเพ็ญบุญมีทานเป็นต้น

    ... เป็นนางกุมาริกา ชื่อ ผุสดี เพราะความเป็นผู้มีสรีระ ดุจอันบุคคลประพรมแล้วด้วยแก่นจันทน์แดง เกิดแล้ว ด้วยผลแห่งการบูชาด้วยจุรณแก่นจันทน์ อันนางได้ทำแล้ว แด่พระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ... ท่องเที่ยวอยู่ในเทวดาและมนุษย์ ต่อมาได้เกิดเป็นอัครมเหสีแห่งท้าวสักกะเทวราช

    ... ครั้งนั้น เมื่อบุพพนิมิตร ๕ ประการเกิดขึ้นแก่ผุสดีเทวธิดา ท้าวสักกะเทวราชทราบความที่นางจะสิ้นอายุ จึงพานางไปสู่นันทวันอุทยานด้วยยศใหญ่ ประทับบนตั่งที่นอนอันมีสิริ ตรัสอย่างนี้กะนางผู้บรรทมอยู่ ณ ที่นอนอันมีสิริประดับแล้วนั้นว่า

    ... " แน่ะนางผุสดีผู้เจริญ เราให้พร ๑๐ ประการแก่เธอ เธอจงรับพร ๑๐ ประการนี้ "

    … ท้าวสักกะเทวราช เมื่อจะประทานพรนั้นได้ทรงพูดว่า

    ... " ดูก่อนนางผุสดีผู้มีรัศมีแห่งผิวพรรณอันประเสริฐ ผู้มีอวัยวะส่วนเบื้องหน้างาม เธอจงเลือกเอาพร ๑๐ ประการ ตามความชอบใจของเธอ "

    ... ผุสดีเทพกัญญาไม่ทราบว่า ตนจะต้องจุติเป็นธรรมดา เป็นผู้ประมาทกล่าวว่า

    ... " ข้าแต่เทวราช ข้าพระบาทขอนอบน้อมแด่พระองค์ ข้าพระบาทได้ทำบาปกรรมอะไรไว้หรือ ฝ่าพระบาทจึงให้ข้าพระบาทจุติจากทิพยสถานที่น่ารื่นรมย์ ดุจลมพัดต้นไม้ใหญ่ให้หักไปฉะนั้น "

    ... ลำดับนั้น ท้าวสักกเทวราชทราบว่า นางเป็นผู้ประมาท จึงได้กล่าวว่า

    ... " บาปกรรม เธอมิได้ทำไว้เลย และเธอไม่เป็นที่รักของเรา ก็หาไม่ แต่บุญของเธอสิ้นแล้ว เหตุนั้น เราจึงกล่าวกับเธออย่างนี้ กาลจุติเธอของเธอใกล้เข้ามาแล้ว เธอจักต้องพลัดพรากจากไป จงเลือกรับพร ๑๐ ประการนี้จากเราผู้จะให้ "

    ... ผุสดีเทพกัญญาได้สดับคำท้าวสักกเทวราชก็รู้ว่าตนจุติแน่แท้ เมื่อจะทูลขอรับพร จึงกล่าวว่า

    ... " ข้าแต่ท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่ของเหล่าสัตว์ทั้งปวง ถ้าพระองค์จะประทานพรแก่ข้าพระบาทไซร้ ข้าแต่พระองค์ขอพรดังนี้

    ... ๑. ขอจงได้เป็นอัครมเหสีของพระเจ้าสีวีราช

    ... ๒. ขอให้มีตาดำเหมือนตาลูกเนื้อมฤคี

    ... ๓. ขอให้มีขนคิ้วดำสนิท

    ... ๔. ขอให้มีชื่อว่า ผุสดี เหมือนเดิม

    ... ๕. ขอให้ได้พระโอรส ที่เป็นพระโพธิสัตว์ผู้ใจบุญ

    ... ๖. เมื่อยามมีครรภ์ไม่นูนเหมือนหญิงทั่วไป

    ... ๗. ขอให้มีถันตั้งเหมือนดอกปทุม แม้มีลูกแล้วก็ไม่คล้อยยาน

    ... ๘. ไม่มีผมหงอก

    ... ๙. มีผิวกายละเอียด

    ... ๑๐. สามารถปล่อยนักโทษประหารได้ "

    ... ท้าวสักกเทวราชได้ทรงสดับดังนั้น จึงตรัสว่า

    ... " แน่ะนางผู้งามทั่วองค์ พร ๑๐ ประการเหล่าใดที่เราให้แก่เธอ เธอจงได้พรเหล่านั้นทั้งหมด ในแว่นแคว้นของพระเจ้าสีวีราช "

    ... ครั้นท้าววาสวะมฆสุชัมบดีเทวราชตรัสอย่างนี้แล้ว ก็ทรงอนุโมทนาประทานพรแก่นางผุสดีเทพอัปสร

    ... ท้าวสักกเทวราชทรงประทานพร ๑๐ ประการแล้ว เป็นผู้มีจิตบันเทิง มีพระมนัสยินดีแล้ว ด้วยประการฉะนี้

    จบทศพรคาถา​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 ธันวาคม 2013
  18. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    หิมวันตวรรณนา​

    ..... ผุสดีเทพกัญญารับพรทั้ง ๑๐ ประการแล้ว จุติจากดาวดึงส์พิภพนั้น บังเกิดในพระครรภ์อัครมเหสีของพระเจ้ามัททราช

    ... ในวันขนานพระนามของพระนางนั้น พระญาติทั้งหลายขนานพระนามว่า ผุสดี ตามนามเดิมนั้น เพราะเมื่อพระนางประสูติมีพระสรีระราวกะว่าประพรมด้วยจุรณแก่นจันทน์

    ... ประสูติแล้ว พระนางผุสดีราชธิดานั้นทรงเจริญด้วยบริวารใหญ่ ในกาลมีพระชนม์ได้ ๑๖ ปี ได้เป็นผู้ทรงพระรูปอันอุดม

    ... ครั้งนั้น พระเจ้าสีวีมหาราชทรงนำพระนางผุสดีมา เพื่อประโยชน์แก่พระเจ้าสญชัยกุมารราชโอรส ให้ยกฉัตรแก่ราชโอรสนั้น ให้พระนางผุสดีเป็นใหญ่กว่าเหล่านารีหมื่นหกพัน ทรงตั้งไว้ในตำแหน่งพระอัครมเหสีของสญชัยราชโอรส พระนางผุสดีได้เป็นที่รักที่เจริญใจแห่งพระเจ้าสญชัย

    ... ครั้งนั้น ท้าวสักกะเทวราช เมื่อทรงอาวัชชนาการก็ทรงทราบว่า บรรดาพรทั้ง ๑๐ ประการที่เราให้แก่นางผุสดี พร ๙ ประการสำเร็จแล้ว

    ... จึงทรงดำริว่า โอรสอันประเสริฐเป็นพรข้อหนึ่ง ยังไม่สำเร็จก่อน เราจักให้พรนั้นสำเร็จแก่นาง

    ... ในกาลนั้น พระมหาสัตว์อยู่ในดาวดึงส์เทวโลก อายุของมหาสัตว์นั้นสิ้นแล้ว ท้าวสักกะทรงทราบความนั้น จึงไปสู่สำนักของพระโพธิสัตว์ตรัสว่า

    ... " แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ ควรที่ท่านจะไปสู่มนุษยโลก ควรถือปฏิสนธิในพระครรภ์แห่งนางผุสดี อัครมเหสีของพระเจ้าสีวีราช ณ กรุงเชตุดร "

    ... ตรัสฉะนี้แล้ว ถือเอาปฏิญญาแห่งพระโพธิสัตว์ และเหล่าเทพบุตรหกหมื่นเหล่าอื่นผู้จะจุติ แล้วกลับทิพยวิมานที่ประทับของตน

    ... ฝ่ายพระมหาสัตว์จุติจากเทวโลกนั้น เกิดในพระครรภ์แห่งพระนางผุสดี

    ... เทพบุตรหกหมื่นก็บังเกิดในเคหสถานแห่งอำมาตย์หกหมื่น

    ... ก็ในเมื่อพระมหาสัตว์เสด็จอยู่ในพระครรภ์พระมารดา พระนางผุสดีผู้มีพระครรภ์ เป็นผู้ทรงใคร่จะโปรดให้สร้างโรงทาน ๖ แห่ง คือ

    ... ๑. ที่ประตูพระนครทั้ง ๔

    ... ๒. ที่ท่ามกลางพระนคร

    ... ๓. ที่ประตูพระราชวัง

    ... ทรงสละพระราชทรัพย์หกแสนกหาปณะทุกวันๆ บริจาคทาน

    ... ครั้นพระเจ้าสญชัยสีวีราชทรงทราบความปรารถนาของพระนาง จึงให้เรียกพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้รู้นิมิตมาทำสักการะใหญ่ แล้วตรัสถามเนื้อความนั้น

    ... พราหมณ์ผู้รู้นิมิตทั้งหลายจึงทูลพยากรณ์ว่า

    ... " ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ท่านผู้ยินดียิ่งในทาน มาอุบัติในพระครรภ์แห่งพระราชเทวี จักไม่อิ่มในทานบริจาค "

    ... พระราชาได้ทรงสดับพยากรณ์นั้น ก็มีพระหฤทัยยินดี จึงโปรดให้สร้างโรงทาน ๖ แห่งมีประการดังกล่าวมาแล้ว ให้เริ่มตั้งทานดังประการที่กล่าวแล้ว

    ... จำเดิมแต่กาลที่พระโพธิสัตว์ถือปฏิสนธิ ส่วนอากรของพระราชาได้เจริญขึ้นเหลือประมาณ เหล่าพระราชาในชมพูทวีปทั้งสิ้น ส่งเครื่องบรรณาการไปถวายพระเจ้าสญชัย ด้วยบุญญานุภาพแห่งพระโพธิสัตว์

    ... พระนางผุสดีราชเทวีมีบริวารใหญ่ เมื่อทรงพระครรภ์ครั้น ๑๐ เดือนบริบูรณ์ มีพระประสงค์จะทอดพระเนตรพระนคร จึงกราบทูลพระราชสวามี

    ... พระเจ้ากรุงสีวีจึงให้ตกแต่งพระนครดุจเทพนคร ให้พระราชเทวีทรงรถที่นั่ง อันประเสริฐทำประทักษิณพระนคร

    ... ในกาลเมื่อพระนางเสด็จ ถึงท่ามกลางถนนแห่งพ่อค้า ลมกรรมชวาตก็ป่วนปั่น ราชบุรุษนำความกราบทูลพระราชา พระราชาทรงทราบความ จึงให้ทำพลับพลาสำหรับประสูติแก่พระราชเทวี ในท่ามกลางวิถีแห่งพ่อค้า แล้วให้ตั้งการล้อมวงรักษาพระนางเจ้าผุสดีประสูติพระโอรส ณ ที่นั้น

    ... พระมหาสัตว์ประสูติจากพระครรภ์แห่งพระมารดา เป็นผู้บริสุทธิ์ ลืมพระเนตรทั้งสองออกมา

    ... เมื่อออกมาก็เหยียดพระหัตถ์ต่อพระมารดาตรัสว่า

    ... " ข้าแต่พระแม่เจ้า หม่อมฉันจักบริจาคทาน มีทรัพย์อะไรๆ บ้าง "

    ... ครั้งนั้น พระชนนีตรัสตอบว่า

    ... " พ่อจงบริจาคทานตามอัธยาศัยของพ่อเถิด "

    ... แล้ววางถุงกหาปณะพันหนึ่ง ในพระหัตถ์ที่แบอยู่

    ... พระโพธิสัตว์พอประสูติแล้วได้ตรัสกับพระมารดา ๓ คราว คือ เสวยพระชาติเป็นมโหสถบัณฑิต เสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร และในพระชาติสุดท้ายคือเป็นสมเด็จพระศรีศากยมุนีพุทธเจ้าของเรา

    ... ครั้งนั้น ในวันถวายพระนามพระโพธิสัตว์ พระประยูรญาติทั้งหลายได้ขยายพระนามว่า " เวสสันดร " เพราะประสูติในถนนแห่งพ่อค้า

    ... ก็ในวันที่พระโพธิสัตว์ประสูติ ช้างพังเชือกหนึ่งซึ่งเที่ยวไปได้ในอากาศ นำลูกช้างขาวทั้งตัวรู้กันว่าเป็นมงคลยิ่งมา ให้สถิตในสถานที่มงคลหัตถี แล้วหลีกไป

    ... ชนทั้งหลายตั้งชื่อช้างนั้นว่า ปัจจัยนาค เพราะช้างนั้นเกิดขึ้น มีพระมหาสัตว์เป็นปัจจัย

    ... พระราชาได้ประทานนางนม ๖๔ นาง ผู้เว้นจากโทษมีสูงเกินไปเป็นต้น มีถันไม่ยาน มีน้ำนมหวานแก่พระมหาสัตว์

    ... ได้พระราชทานนางนมคนหนึ่งๆ แก่เหล่าทารกหกหมื่นคน ผู้เป็นสหชาติกับพระมหาสัตว์

    ... พระมหาสัตว์นั้นทรงเจริญด้วยบริวารใหญ่ กับด้วยทารกหกหมื่น

    ... ครั้งนั้นพระราชาให้ทำเครื่องประดับ สำหรับพระราชกุมารราคาแสนหนึ่ง พระราชทานแด่พระเวสสันดรราชกุมาร

    ... พระราชกุมารนั้นเปลื้องเครื่องประดับนั้น ประทานแก่นางนมทั้งหลาย

    ... ในกาลเมื่อมีชนมพรรษา ๔-๕ ปี ไม่ทรงรับเครื่องประดับที่นางนมทั้งหลายเหล่านั้นถวายคืนอีก

    ... นางนมเหล่านั้นกราบทูลประพฤติเหตุแด่พระราชา

    ... พระราชาทรงทราบประพฤติเหตุนั้น ก็ให้ทำเครื่องประดับอื่นอีกพระราชทาน ด้วยทรงเห็นว่า

    ... อาภรณ์ที่ลูกเราให้แล้ว ก็เป็นอันให้แล้วด้วยดี จงเป็นพรหมไทย

    ... พระราชกุมารก็ประทานเครื่องประดับ แก่เหล่านางนม ในกาลเมื่อยังทรงพระเยาว์ถึง ๙ ครั้ง



    ..... ก็ในกาลเมื่อพระราชกุมารมีพระชนมพรรษา ๘ ปี พระราชกุมารเสด็จไปสู่ปราสาทอันประเสริฐ ประทับนั่งบนพระยี่ภู่ทรงคิดว่า

    ... " เราให้ทานภายนอกอย่างเดียว ทานนั้นหายังเราให้ยินดีไม่ เราใคร่จะให้ทานภายใน

    ... แม้ถ้าใครๆ พึงขอหทัยของเรา เราจะพึงให้ผ่าอุระประเทศ นำหทัยออกให้แก่ผู้นั้น

    ... ถ้าเขาขอจักษุทั้งหลายของเรา เราก็จะควักจักษุให้

    ... ถ้าเขาขอเนื้อในสรีระเราจะเชือดเนื้อ แต่สรีระทั้งสิ้นให้

    ... ถ้าแม้ใครๆ พึงขอโลหิตของเรา เราก็จะพึงถือเอาโลหิตให้

    ... หรือว่าใครๆ พึงกล่าวกะเราว่า ท่านจงเป็นทาสของข้า เราก็ยินดียอมตัวเป็นทาสแห่งผู้นั้น "

    ... เมื่อพระเวสสันดรบรมโพธิสัตว์ทรงคำนึงถึงทาน เป็นไปในภายใน ซึ่งเป็นพระดำริแล่นไปเอง เป็นเองอย่างนี้ มหาปฐพีก็ดังสนั่นหวั่นไหว ดุจช้างตัวประเสริฐตกมัน อาละวาดคำรามร้อง ฉะนั้น

    ... เขาสิเนรุราชก็โอนไปมา มีหน้าเฉพาะเชตุดรนครตั้งอยู่ ดุจหน่อหวายโอนเอนไปมา ฉะนั้น

    ... ฟ้าก็คะนองลั่นตามเสียงแห่งปฐพี ยังฝนลูกเห็บให้ตก สายอสนีอันมีในสมัยมิใช่กาล ก็เปล่งแสงแวบวาบ สาครก็เกิดเป็นคลื่นป่วนปั่น

    ... ท้าวสักกะเทวราชก็ปรบพระหัตถ์ ท้าวมหาพรหมก็ให้สาธุการ เสียงโกลาหลเป็นอันเดียวกัน ได้มีตลอดถึงพรหมโลก

    ... ในกาลเมื่อพระโพธิสัตว์มีพระชนมพรรษาได้ ๑๖ ปี พระโพธิสัตว์ได้ทรงศึกษาศิลปทั้งปวงสำเร็จ

    ... ครั้งนั้น พระราชบิดาทรงใคร่จะประทานราชสมบัติแก่พระมหาสัตว์ ก็ทรงปรึกษาด้วยพระนางเจ้าผุสดีผู้พระมารดา

    ... จึงนำราชกัญญานามว่า มัทรี ผู้เป็นราชธิดาของพระมาตุละ แต่มัททราชสกุล ให้ดำรงอยู่ในที่อัครมเหสี ให้เป็นใหญ่กว่าสตรีหมื่นหกพัน อภิเษกพระมหาสัตว์ในราชสมบัติ

    ... พระมหาสัตว์ทรงสละทรัพย์หกแสน ยังมหาทานให้เป็นไปทุกวันๆ จำเดิมแต่กาล ที่ดำรงอยู่ในราชสมบัติ




    ..... สมัยต่อมา พระนางมัทรีประสูติพระโอรส พระญาติทั้งหลายรับ พระราชกุมารนั้นด้วยข่ายทองคำ เพราะฉะนั้น จึงขนานพระนามว่า ชาลีราชกุมาร พอพระราชกุมารนั้นทรงเดินได้

    ... พระนางมัทรีก็ประสูติพระราชธิดา พระญาติทั้งหลายรับ พระราชธิดานั้นด้วยหนังหมีเพราะฉะนั้น จึงขนานพระนามว่า กัณหาชินาราชกุมารี

    ... พระเวสสันดรโพธิสัตว์ประทับคอช้างตัวประเสริฐอันตกแต่งแล้ว เสด็จไปทอดพระเนตรโรงทานทั้งหก เดือนละ ๖ ครั้ง



    ..... กาลนั้นในกาลิงครัฐเกิดฝนแล้ง ข้าวกล้าไม่สมบูรณ์ ภัย คือ ความหิวเกิดขึ้นมาก มนุษย์ทั้งหลายไม่อาจเป็นอยู่ก็ทำโจรกรรม

    ... ชาวชนบทถูกทุพภิกขภัยเบียดเบียน ก็ประชุมกันติเตียนที่พระลานหลวง เมื่อพระราชาตรัสถามถึงเหตุ จึงกราบทูลเนื้อความนั้น

    ... ครั้งนั้นพระราชาตรัสว่า " ดีละ ข้าจะยังฝนให้ตก " แล้วส่งชาวเมืองกลับไป

    ... ทรงสมาทานศีล รักษาอุโบสถศีลสิ้น ๗ วัน ก็ไม่ทรงสามารถให้ฝนตก

    ... พระราชาจึงให้ประชุมชาวเมือง แล้วรับสั่งถามว่า

    ... " เราได้สมาทานศีล รักษาอุโบสถศีลสิ้น ๗ วัน ก็ไม่อาจยังฝนให้ตกจะพึงทำอย่างไร "

    ชาวเมืองกราบทูลว่า

    ... " ข้าแต่สมมติเทพ ถ้าพระองค์ไม่สามารถให้ฝนตก พระราชโอรสของพระเจ้าสญชัยในกรุงเชตุดรทรงนามว่า เวสสันดร นั้นทรงยินดียิ่งในทาน มงคลหัตถีขาวล้วน ซึ่งไปถึงที่ใดฝนก็ตกของพระองค์ มีอยู่ขอพระองค์ส่งพราหมณ์ทั้งหลายไปทูลขอ ช้างเชือกนั้นนำมา "

    ... พระราชาตรัสว่า " สาธุ " แล้วให้ประชุมเหล่าพราหมณ์ เลือกได้ ๘ คน ชื่อรามะ ๑ ธชะ ๑ ลักขณะ ๑ สุชาติมันตะ ๑ ยัญญะ ๑ สุชาตะ ๑ สุยามะ ๑ โกณฑัญญะ ๑. พราหมณ์ชื่อรามะเป็นประมุขของพราหมณ์ทั้ง ๗. ประทานเสบียงส่งไป ด้วยพระราชบัญชาว่า " ท่านทั้งหลายจงไปทูลขอช้างพระเวสสันดรนำมา "




    ..... พราหมณ์ทั้ง ๘ ไปโดยลำดับลุถึงเชตุดรนคร บริโภคภัตในโรงทาน ใคร่จะทำสรีระของตนให้เปื้อนด้วยธุลี ไล้ด้วยฝุ่น แล้วทูลขอช้างพระเวสสันดร

    ... ในวันรุ่งขึ้น ไปสู่ประตูเมืองด้านปาจีนทิศ ในเวลาพระเวสสันดรเสด็จไปโรงทาน ฝ่ายพระราชาเวสสันดรทรงรำพึงว่า " เราจักไปดูโรงทาน " จึงสรงเสวยโภชนะรสเลิศต่างๆ แต่เช้า ประทับบนคอคชาธารตัวประเสริฐซึ่งประดับแล้ว เสด็จไปทางปาจีนทวาร พราหมณ์ทั้ง ๘ ไม่ได้โอกาสในที่นั้น จึงไปสู่ประตูเมืองด้านทักษิณทิศ ยืนอยู่ ณ สถานที่สูง

    ... ในเวลาเมื่อพระราชาทอดพระเนตรโรงทานทางปาจีนทวารแล้ว เสด็จมาสู่ทักษิณทวาร ก็เหยียดมือข้างขวาออกกล่าวว่า พระเจ้าเวสสันดรราช ผู้ทรงพระเจริญจงชนะๆ

    ... พระเวสสันดรมหาสัตว์ทอดพระเนตร เห็นพราหมณ์ทั้งหลาย ก็บ่ายช้างที่นั่งไปสู่ที่พราหมณ์เหล่านั้นยืนอยู่ ประทับบนคอช้าง ตรัสว่า

    ... " พราหมณ์ทั้งหลายผู้มีขนรักแร้ดก มีเล็บยาว มีขนยาวและฟันเขลอะ มีธุลีบนศีรษะ เหยียดแขนขวา จะขออะไรเราหรือ "

    ... พราหมณ์ทั้ง ๘ กราบทูลว่า

    ... " ข้าแต่สมมติเทพ ข้าพระองค์ทั้งหลายจะทูลขอรัตนะ ซึ่งยังแคว้นแห่งชาวสีพีให้เจริญ ขอพระองค์โปรดพระราชทานช้างตัวประเสริฐ ซึ่งมีงาดุจงอนไถ ซึ่งเป็นราชพาหนะแก่พวกข้าพระองค์เถิด พระเจ้าข้า "

    ... พระมหาสัตว์ได้ทรงสดับคำนั้นแล้ว ทรงดำริว่า

    ... " เราใคร่จะบริจาคทานเป็นไปภายใน ตั้งแต่ศีรษะเป็นต้น พราหมณ์เหล่านี้มาขอทาน เป็นไปภายนอกกะเรา แม้อย่างนั้น เราจะยังความปรารถนาของพราหมณ์เหล่านั้น ให้บริบูรณ์ "

    ... ประทับอยู่บนคอช้างตัวประเสริฐ ตรัสว่า

    ... " เราจะให้ช้างพลายซับมันตัวประเสริฐ เป็นช้างราชพาหนะสูงสุด ที่พราหมณ์ทั้งหลายขอเรา เรามิได้หวั่นไหว "

    ... ครั้นตรัสปฏิญญาฉะนี้แล้ว พระราชาผู้ผดุงรัฐสีพีให้เจริญ มีพระหฤทัยน้อมไปในการบริจาคทาน เสด็จลงจากคอช้าง พระราชทานทานแก่พราหมณ์ทั้งหลาย

    ... พระมหาสัตว์ทรงทำประทักษิณช้าง ๓ รอบ เพื่อทรงตรวจที่กายช้างซึ่งประดับแล้ว ก็ไม่เห็นในที่ซึ่งยังมิได้ประดับ จึงทรงจับพระเต้าทองคำ อันเต็มด้วยน้ำหอมเจือดอกไม้ ตรัสกะพราหมณ์ทั้งหลายว่า

    ... " ดูก่อนมหาพราหมณ์ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงมาข้างนี้ ทรงวางงวงช้างซึ่งเช่นกับพวงเงิน อันประดับแล้วในมือแห่งพราหมณ์เหล่านั้น หลั่งน้ำลงพระราชทานช้างอันประดับแล้ว อลังการที่ ๔ เท้าช้างราคา ๔ แสน

    ... อลังการ ๒ ข้างช้างราคา ๒ แสน ข่ายคลุมหลัง ๓ คือ ข่ายแก้วมุกดา ข่ายแก้วมณี ข่ายทองคำ ราคา ๓ แสน

    ... กระดึงเครื่องประดับที่ห้อย ๒ ข้างราคา ๒ แสน ผ้ากัมพลลาดบนหลังราคา ๑ แสน อลังการคลุมกะพองราคา ๑ แสน สายรัด ๓ สายราคา ๓ แสน

    ... พู่เครื่องประดับที่หูทั้ง ๒ ข้างราคา ๒ แสน ปลอกเครื่องประดับงาทั้ง ๒ ราคา ๒ แสน วลัยเครื่องประดับทาบที่งวงราคา ๑ แสน อลังการที่หางราคา๑ แสน

    ... เครื่องประดับอันตกแต่งงดงามที่กายช้าง ยกภัณฑะไม่มีราคารวมราคา ๒๒ แสน เกยสำหรับขึ้นราคา ๑ แสน อ่างบรรจุของบริโภคเช่นหญ้าและน้ำ ราคา ๑ แสน รวมเข้าด้วยอีกเป็นราคา ๒๔ แสน

    ... ยังแก้วมณีที่กำพูฉัตร ที่ยอดฉัตร ที่สร้อยมุกดา ที่ขอ ที่สร้อยมุกดาผูกคอช้าง ที่กะพองช้าง และที่ตัวพระยาช้าง รวม ๗ เป็นของหาค่ามิได้

    ... ได้พระราชทานทั้งหมดแก่พราหมณ์ทั้งหลาย และพระราชทานคนบำรุงช้าง ๕๐๐ สกุลกับทั้งควาญช้าง คนเลี้ยงช้างด้วย

    ... ก็มหัศจรรย์มีแผ่นดินไหวเป็นต้น ได้มีแล้วพร้อมกับพระเวสสันดรมหาราชทรงบริจาคมหาทาน โดยนัยอันกล่าวมาแล้ว ในหนหลังนั่นแล.

    ... เมื่อบรมกษัตริย์พระราชทานช้างตัวประเสริฐ ในกาลนั้น ได้เกิดมีความน่าสะพึงกลัวขนพองสยองเกล้า ชาวพระนครกำเริบ

    ... ในเมื่อพระเวสสันดรบรมกษัตริย์ผู้ยังชาวสีพีให้เจริญ พระราชทานช้างตัวประเสริฐ ชาวบุรีก็เกลื่อนกล่น เสียงอันอื้ออึงก็แผ่ไปมากมาย

    ... ได้ยินว่า พราหมณ์ทั้งหลายได้ช้างแถบประตูด้านทักษิณทิศ นั่งบนหลัง มีมหาชนแวดล้อม ขับไปท่ามกลางพระนคร มหาชนเห็นแล้วกล่าวกะพราหมณ์เหล่านั้นว่า

    ... " แน่ะเหล่าพราหมณ์ผู้เจริญ ท่านขึ้นช้างของเราทั้งหลาย ท่านได้มาแต่ไหน "

    ... พราหมณ์เหล่านั้นตอบว่า

    ... " ช้างนี้พระเวสสันดรมหาราชเจ้าพระราชทานแก่พวกเรา "

    ... เมื่อโต้ตอบกะมหาชนด้วยวิการแห่งมือเป็นต้น พลางขับไปท่ามกลางพระนคร ออกทางประตูทิศอุดร ชาวพระนครโกรธพระบรมโพธิสัตว์ ด้วยสามารถเทวดาดลใจให้คิดผิด จึงชุมนุมกัน กล่าวติเตียนใหญ่แทบประตูวัง

    ... ครั้งนั้น ในเมื่อพระเวสสันดรผู้ผดุงสีพีรัฐให้เจริญรุ่งเรือง พระราชทานช้างตัวประเสริฐแล้ว เสียงอื้ออึงน่ากลัวเป็นอันมาก ก็เป็นไปในนครนั้น

    ... ครั้งนั้น ชาวเมืองมีจิตตื่นเต้น เพราะพระเวสสันดรพระราชทานช้างสำคัญของบ้านเมือง จึงกราบทูลพระเจ้าสญชัยว่า

    ... " ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ แคว้นของพระองค์อันพระเวสสันดรกำจัดเสียแล้ว พระเวสสันดรพระโอรสของพระองค์ พระราชทานช้างตัวประเสริฐของเราทั้งหลาย ซึ่งชาวแว่นแคว้นบูชาแล้ว ด้วยเหตุไร

    ... พระเวสสันดรพระราชทานช้างของเราทั้งหลาย ซึ่งมีงาดุจงอนไถ เป็นราชพาหนะ รู้ชัยภูมิแห่งการยุทธ์ทุกอย่าง ขาวทั่วสรรพางค์ เป็นช้างสูงสุด คลุมด้วยผ้ากัมพลเหลืองซับมัน อาจย่ำยีศัตรูได้ ฝึกดีแล้ว พร้อมด้วยพัดวาลวีชนี มีกายสีขาวเช่นกับเขาไกรลาส พร้อมด้วยเศวตฉัตรทั้งเครื่องลาดอันงาม ทั้งหมอทั้งคนเลี้ยง เป็นราชยานอันเลิศ เป็นช้างพระที่นั่ง พระราชทานให้เป็นทรัพย์แก่พราหมณ์ทั้ง ๘ เสียด้วยเหตุไร "

    ... ก็และครั้นกราบทูลอย่างนี้แล้ว ได้กล่าวอย่างนี้อีกว่า

    ... " พระเวสสันดรนั้นควรพระราชทาน ข้าวน้ำและผ้านุ่ง ผ้าห่ม เสนาสนะ เพราะว่า ของนั้นสมควรแก่พราหมณ์ทั้งหลาย พระเวสสันดรนี้เป็นพระราชาสืบวงศ์มาแต่พระองค์ เป็นผู้ทำความเจริญแก่สีพีรัฐ

    ... ข้าแต่พระเจ้าสญชัย พระเวสสันดรผู้พระราชโอรสพระราชทานช้าง เสียทำไม ถ้าพระองค์จักไม่ทรงทำตามคำอันนี้ของชาวสีพี ชะรอยชาวสีพีจักพึงทำพระองค์กับพระราชโอรสไว้ในเงื้อมมือของตน "

    ... พระเจ้าสญชัยได้ทรงสดับดังนั้น ทรงสำคัญว่า ชาวเมืองเหล่านี้จักปลงพระชนม์พระเวสสันดร จึงตรัสว่า

    ... " ถึงชนบทจะไม่มี และแม้แว่นแคว้นจักพินาศไปก็ตามเถิด เราก็ไม่พึงเนรเทศพระโอรสผู้หาความผิดมิได้ จากแคว้นของตนตามคำของชาวเมืองสีพี เพราะลูกเกิดแต่อุระของเรา และเราไม่พึงประทุษร้ายในโอรสนั้น เพราะเธอเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลและวัตรอันประเสริฐ แม้คำติเตียนจะพึงมีแก่เรา และเราจะพึงได้บาปเป็นอันมาก ฉะนั้น เราจะฆ่าลูกเวสสันดรด้วยศัสตรา ได้อย่างไร "

    ... ชาวสีพีได้ฟังดังนั้น จึงกราบทูลว่า

    ... " พระองค์อย่าประหารพระเวสสันดรนั้น ด้วยท่อนไม้และศัสตรา เพราะพระปิโยรสนั้นหาควรแก่เครื่องพันธนาการไม่ พระองค์จงขับพระเวสสันดรนั้นเสียจากแคว้น พระเวสสันดรจงประทับอยู่ ณ เขาวงกต "

    ... พระเจ้าสญชัยได้ทรงสดับดังนั้น จึงตรัสว่า

    ... " ถ้าชาวสีพีพอใจอย่างนี้ เราก็ไม่ขัดความพอใจ ขอโอรสของเราจงอยู่ตลอดราตรีนี้ และจงบริโภคกามารมณ์ทั้งหลาย แต่นั้น เมื่อราตรีสว่างแล้ว ดวงอาทิตย์ขึ้นแล้ว ชาวสีพีจงพร้อมกันขับโอรสของเราจากแว่นแคว้นเถิด "

    ... ชาวเมืองสีพีรับพระราชดำรัสว่า พระโอรสนั้นจงยับยั้งอยู่ สักราตรีหนึ่ง

    ... ลำดับนั้น พระเจ้าสญชัยส่งชาวเมืองเหล่านั้นให้กลับไปแล้ว เมื่อจะส่งข่าวแก่พระโอรส จึงตรัสเรียกนายนักการมา แล้วมีพระราชกระแสรับสั่งว่า

    ... " แน่ะนายนักการ เจ้าจงลุกรีบไปบอกลูกเวสสันดรว่า ข้าแต่สมมติเทพ ชาวสีพีและชาวนิคมขัดเคืองพระองค์ มาประชุมกัน พวกคนที่มีชื่อเสียงและพระราชบุตรทั้งหลาย พ่อค้าทั้งหลาย พราหมณ์ทั้งหลาย ทั้งกองช้าง กองม้า กองรถ กองราบ ชาวนิคม ชาวสีพีทั้งสิ้นประชุมกันแล้ว ในเมื่อราตรีนี้สว่างแล้ว ดวงอาทิตย์ขึ้นแล้ว ชาวสีพีทั้งหลายพร้อมกันขับพระองค์จากแว่นแคว้น "

    ... นายนักการนั้นอันพระเจ้ากรุงสีพีส่งไป ก็สวมสรรพาภรณ์ นุ่งห่มดีแล้ว ประพรมด้วยแก่นจันทน์ เขาสนานศีรษะในน้ำ แล้วสวมกุณฑลมณี ไปสู่วังอันน่ารื่นรมย์ ซึ่งเป็นพระนิเวศน์แห่งพระเวสสันดร เขาได้เห็นพระเวสสันดรรื่นรมย์ อยู่ในวังของพระองค์นั้น ซึ่งเกลื่อนไปด้วยเสวกามาตย์ ดุจท้าววาสวะของเทพเจ้าชาวไตรทศ

    ... นายนักการนั้นไป ณ ที่นั้นได้กราบทูลพระเวสสันดร ผู้รื่นรมย์อยู่ว่า

    ... " ข้าแต่พระจอมพล ข้าพระบาทจักทูลความทุกข์ของพระองค์ ขอพระองค์อย่ากริ้วข้าพระบาท นักการนั้นถวายบังคมแล้วร้องไห้ กราบทูลพระเวสสันดรว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พระองค์เป็นผู้ชุบเลี้ยงข้าพระบาท เป็นผู้นำมาซึ่งรส คือความใคร่ทั้งปวง ข้าพระบาทจักกราบทูลความทุกข์ของพระองค์ เมื่อข่าวแสดงความทุกข์ อันข้าพระบาทกราบทูลแล้ว ขอฝ่าพระบาททรงยังข้าพระบาทให้ยินดี

    ... ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ชาวสีพีและชาวนิคมขัดเคืองพระองค์ มาประชุมกัน พวกคนที่มีชื่อเสียง และพระราชบุตรทั้งหลาย และพวกพ่อค้าทั้งหลาย พราหมณ์ทั้งหลาย ทั้งกองช้าง กองม้า กองรถ กองราบ ชาวนิคม ชาวสีพีทั้งสิ้น ประชุมกันแล้ว ในเมื่อราตรีนี้สว่างแล้ว ดวงอาทิตย์ขึ้นแล้ว ชาวสีพีทั้งหลาย พร้อมกันขับพระองค์จากแว่นแคว้น "

    ... พระมหาสัตว์ตรัสว่า

    ... " ชาวสีพีขัดเคืองเราผู้ไม่เห็นความผิด ในเพราะอะไร แน่ะนักการ ท่านจงแจ้งความผิดนั้นแก่เรา ชาวเมืองทั้งหลายจะขับไล่เรา เพราะเหตุไร "

    ... นักการกราบทูลว่า

    ... " พวกคนมีที่ชื่อเสียงและพระราชบุตรทั้งหลาย พ่อค้าทั้งหลาย พราหมณ์ทั้งหลาย ทั้งกองช้าง กองม้า กองรถ กองราบ ขัดเคืองพระองค์ เพราะพระราชทานคชสารตัวประเสริฐ ฉะนั้น พวกเขาจึงขับพระองค์เสีย "

    ... พระมหาสัตว์ได้ทรงสดับดังนั้น ก็ทรงโสมนัส ตรัสว่า

    ... " ดวงหทัยหรือจักษุ เราก็ให้ได้ จะอะไรกะทรัพย์นอกกายของเรา คือ เงิน ทอง มุกดา ไพฑูรย์หรือแก้วมณี ในเมื่อยาจกมาแล้ว เราได้เห็นเขาแล้ว พึงให้พาหาเบื้องขวาเบื้องซ้ายก็ได้ เราไม่พึงหวั่นไหว เพราะใจของเรายินดีในการบริจาค ปวงชาวสีพีจงขับไล่ หรือฆ่าเราเสียก็ตาม พวกเขาจะตัดเราเสียเป็น ๗ ท่อนก็ตามเถิด เราจักไม่งดเว้นจากการบริจาค เป็นอันขาด "

    ... นักการได้ฟังดังนั้น เมื่อจะกราบทูลข่าวอย่างอื่นตามมติของตน ซึ่งพระเจ้าสญชัยหรือชาวเมือง มิได้ให้ทูลเลย จึงกราบทูลว่า

    ... " ชาวสีพีและชาวนิคมประชุมกัน กล่าวอย่างนี้ว่า พระราชาทั้งหลายผู้บวชแล้ว ย่อมไปจากแว่นแคว้นโดยทางใด แม้พระเวสสันดรผู้มีวัตรงดงาม ก็จงเสด็จไปทางนั้น"

    ... ได้ยินว่า นักการนั้นถูกเทวดาดลใจ จึงกล่าวคำนี้

    ... พระโพธิสัตว์ได้ทรงสดับดังนั้น จึงมีพระราชดำรัสว่า " สาธุ " เราจักไปโดยมรรคาที่เสด็จไปแห่ง พระราชาทั้งหลายผู้รับโทษ ก็แต่ชาวเมืองทั้งหลายมิได้ขับไล่เราด้วยโทษอื่น ขับไล่เราเพราะเราให้คชสารเป็นทาน เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจักบริจาคสัตตสดกมหาทาน สักหนึ่งวัน ชาวเมืองจงให้โอกาส เพื่อเราได้ให้ทาน สักหนึ่งวัน รุ่งขึ้น เราให้ทานแล้วจักไปในวันที่ ๓

    ... ตรัสฉะนี้ แล้วตรัสว่า

    ... " เราจักไปโดยมรรคาที่พระราชาทั้งหลายผู้ต้องโทษ เสด็จไป ท่านทั้งหลายงดโทษให้เราสักคืนกับวันหนึ่ง จนกว่าเราจะได้บริจาคทานก่อนเถิด "

    ... นักการได้ฟังดังนั้นแล้วกราบทูลว่า

    ... " ดีแล้ว พระเจ้าข้า ข้าพระบาทจักแจ้งความนั้นแก่ ชาวพระนครและแด่พระราชา "

    ... ทูลฉะนี้ แล้วหลีกไป




    ..... พระมหาสัตว์ส่งนักการนั้นไปแล้ว จึงให้เรียกมหาเสนาคุตมาเฝ้า ดำรัสให้จัดสัตตสดกมหาทานว่า

    ... " พรุ่งนี้เราจักบริจาคสัตตสดกมหาทาน

    ... ท่านจงจัดช้าง ๗๐๐ เชือก

    ... ม้า ๗๐๐ ตัว

    ... รถ ๗๐๐ คัน

    ... สตรี ๗๐๐ คน

    ... โคนม ๗๐๐ ตัว

    ... ทาส ๗๐๐ คน

    ... ทาสี ๗๐๐ คน

    ... จงตั้งไว้ซึ่งข้าวน้ำ เป็นต้นมีประการต่างๆ สิ่งทั้งปวงโดยที่สุด แม้สุราซึ่งเป็นสิ่งไม่ควรให้ "

    ... แล้วส่งอำมาตย์ทั้งหลายให้กลับ แล้วเสด็จไปที่ประทับพระนางมัทรีแต่พระองค์เดียว ประทับนั่งข้างพระยี่ภู่อันเป็นสิริ ตรัสกับพระนางนั้น

    ... พระเวสสันดรบรมกษัตริย์ตรัสเรียก พระนางมัทรีผู้งามทั่วสรรพางค์นั้นมาว่า

    ... " น้องหญิง พัสดุอันใดอันหนึ่งที่พี่ให้แก่พระน้องนาง ทั้งทรัพย์อันประกอบด้วยสิริ เงิน ทอง มุกดา ไพฑูรย์มีอยู่มาก และสิ่งใดที่พระน้องนางนำมาแต่พระชนก ขอพระน้องนางจงเก็บสิ่งนั้นไว้ทั้งหมดเถิด "

    ... พระราชบุตรีพระนามว่ามัทรี ผู้งามทั่วพระกาย จึงทูลถามว่า

    ... " ข้าแต่สมมติเทพจะโปรดให้เก็บทรัพย์ทั้งนั้นไว้ในที่ไหน ขอพระองค์รับสั่งแก่หม่อมฉันผู้ทูลถาม ให้ทราบ "

    ... พระเวสสันดรบรมกษัตริย์จึงตรัสว่า

    ... " ดูก่อนพระน้องมัทรี เธอจงบริจาคทานในท่านผู้มีศีลทั้งหลายตามควร เพราะที่พึ่งของสัตว์ทั้งปวงอย่างอื่น ยิ่งกว่าทานการบริจาค ย่อมไม่มี "

    ... พระนางมัทรีรับพระดำรัสว่า " สาธุ "

    ... ครั้งนั้น พระบรมโพธิสัตว์ เมื่อจะประทานพระราโชวาทแก่พระนางให้ยิ่งขึ้น จึงตรัสว่า

    ... " ดูกรพระน้องมัทรี เธอพึงเอาใจใส่ในลูกทั้งสองในพระชนนีและพระชนกของพี่

    ... อนึ่ง ผู้ใดพึงตกลงปลงใจว่า จะเป็นพระสวามีพระน้องนาง เธอพึงบำรุงผู้นั้นโดยเคารพ ถ้าไม่มีใครมาตกลงปลงใจ เป็นพระสวามีพระน้องนาง เพราะพระน้องนางกับพี่จะต้องพลัดพรากจากกัน พระน้องนางจงแสวงหาพระสวามีอื่นเถิด อย่าลำบากเพราะจากพี่เลย "

    ... ครั้งนั้น พระนางมัทรีมีพระดำริว่า

    ... " พระเวสสันดรผู้ภัสดา ตรัสพระวาจาเห็นปานนี้ เหตุเป็นอย่างไรหนอ "

    ... จึงกราบทูลถามว่า

    ... " ข้าแต่สมมติเทพ พระองค์ตรัสพระวาจา อันไม่สมควรตรัสนี้ เพราะเหตุไร "

    ... ลำดับนั้น พระเวสสันดรจึงตรัสตอบพระนางว่า

    ... " แน่ะพระน้องมัทรีผู้เจริญ ชาวสีพีขัดเคืองเพราะฉันให้ช้าง จึงขับไล่ฉันจากแว่นแคว้น พรุ่งนี้ฉันจักให้สัตตสตกมหาทาน จักออกจากพระนครในวันที่ ๓ "

    ... ตรัสฉะนี้แล้ว ตรัสว่า

    ... " ฉันจักไปป่าที่น่ากลัว ประกอบด้วยพาลมฤค ฉันผู้เดียวอยู่ในป่าใหญ่ มีชีวิตน่าสงสาร "

    ... พระราชบุตรีพระนามว่ามัทรี ผู้งามทั่วสรรพางค์ ได้กราบทูลถามพระราชสวามีว่า

    ... " พระองค์ตรัสพระวาจา ซึ่งไม่เคยมีหนอ ตรัสวาจาชั่วแท้ ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระองค์เสด็จไปแต่พระองค์เดียว ไม่สมควร แม้หม่อมฉันก็จักโดยเสด็จด้วย

    ... ความตายกับด้วยพระองค์ หรือพรากจากพระองค์เป็นอยู่ สองอย่างนี้ ตายนั่นแลประเสริฐกว่า พรากจากพระองค์เป็นอยู่ จะประเสริฐอะไร

    ... ก่อไฟให้ลุกโพลงมีเปลวเป็นอันเดียวกัน แล้วตายเสียในไฟนั้นประเสริฐกว่า พรากจากพระองค์ จะประเสริฐอะไร

    ... นางช้างพังไปตามช้างพลายตัวประเสริฐอยู่ในป่า เที่ยวอยู่ตามภูผาทางกันดาร สถานที่เสมอแลไม่เสมอ ฉันใด หม่อมฉันจะพาบุตรและบุตรีตามเสด็จไปเบื้องหลัง ฉันนั้น

    ... หม่อมฉันจักเป็นผู้ที่เลี้ยงง่ายของพระองค์ จักไม่เป็นผู้ที่เลี้ยงยากของพระองค์ "

    ... พระนางมัทรีราชกัญญากราบทูลพระภัสดาอย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงพรรณนาถึงหิมวันตประเทศ ซึ่งเป็นประหนึ่งว่าได้เคยทอดพระเนตรเห็นแล้ว จึงตรัสว่า

    ... " เมื่อพระองค์ทอดพระเนตรเห็นกุมารทั้งสองนี้ ผู้มีเสียงอันไพเราะ พูดจาน่ารัก นั่งอยู่ที่พุ่มไม้ในป่า เล่นอยู่ที่พุ่มไม้ในป่า จักไม่ทรงระลึกถึงราชสมบัติ "

    ... พระนางมัทรีทรงพรรณนาถึงหิมวันตประเทศ ด้วยคาถามีประมาณเท่านี้ ประหนึ่งพระองค์เคยเสด็จประทับอยู่ ณ หิมวันตประเทศแล้ว ฉะนั้น ด้วยประการฉะนี้



    จบหิมวันตวรรณนา​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ธันวาคม 2013
  19. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    ทานกัณฑ์ ​

    ... แม้พระนางผุสดีราชเทวีมีพระดำริว่า

    ..." ข่าวเดือดร้อนมาถึงลูกของเรา ลูกของเราจะทำอย่างไรหนอ เราจักไปให้รู้ความ "

    ... จึงเสด็จไปด้วยสิวิกากาญจน์ ม่านปกปิดประทับที่ทวารห้องบรรทมอันมีสิริ ได้ทรงสดับเสียงสนทนาแห่งกษัตริย์ทั้งสอง คือพระเวสสันดรและพระนางมัทรี ก็พลอยทรงกันแสงคร่ำครวญ อย่างน่าสงสาร

    ... พระนางผุสดีราชบุตรีพระเจ้ามัททราช ผู้ทรงยศได้ทรงสดับ พระราชโอรสและพระสุณิสาทั้งสองปริเทวนาการ ก็ทรงพลอยคร่ำครวญละห้อยไห้ว่า

    ..." เรากินยาพิษเสียดีกว่า เราโดดเหวเสียดีกว่า เอาเชือกผูกคอตายเสียดีกว่า เหตุไฉน ชาวสีพีจึงให้ขับไล่ลูกเวสสันดรผู้ไม่มีความผิด

    ... เหตุไฉน ชาวนครสีพีจึงจะให้ขับไล่เจ้าเวสสันดรลูกรัก ผู้ไม่มีโทษไม่ผิด ผู้รู้ไตรเพทเป็นทานบดี ควรแก่การขอ ไม่ตระหนี่

    ... เหตุไฉน ชาวนครสีพีจึงจะให้ขับไล่เจ้าเวสสันดรลูกรัก ผู้ไม่มีโทษผิด อันพระราชาต่างด้าวทั้งหลายบูชา มีเกียรติยศ

    ... เหตุไฉน ชาวสีวีจึงให้ขับไล่ลูกเวสสันดร ผู้ไม่มีความผิด ผู้เลี้ยงดูบิดามารดา ประพฤติถ่อมตนต่อผู้ใหญ่ในราชสกุล

    ... เหตุไฉน ชาวสีวีจึงให้ขับไล่ลูกเวสสันดร ผู้ไม่มีความผิด ผู้เกื้อกูลแก่พระเจ้าแผ่นดิน แก่เทพเจ้า แก่พระประยูรญาติ แก่พระสหาย เกื้อกูลทั่วแว่นแคว้น

    ... เหตุไฉน จึงให้ขับไล่ลูกเวสสันดร ผู้ไม่มีความผิดเสีย "

    ... พระนางผุสดีทรงคร่ำครวญอย่างน่าสงสาร ฉะนี้แล้ว ทรงปลอบพระโอรสและพระศรีสะใภ้ ให้อุ่นพระหฤทัย แล้วเสด็จไปเฝ้าพระเจ้าสญชัย กราบทูลว่า

    ... " ชาวสีวีให้ขับไล่พระราชโอรสผู้ไม่มีความผิด รัฐมณฑลของพระองค์ ก็จักเป็นเหมือนรังผึ้งร้าง เหมือนผลมะม่วงหล่นลงบนดิน ฉะนั้น

    ... พระองค์อันหมู่เสวกามาตย์ละทิ้งแล้ว จักต้องลำบากอยู่พระองค์เดียว เหมือนหงส์มีขนปีกหลุดร่วงแล้ว ก็ลำบากอยู่ในเปียกตมอันไม่มีน้ำ ฉะนั้น

    ... ข้าแต่พระมหาราชเจ้า เพราะเหตุนั้น หม่อมฉันจึงขอกราบทูลพระองค์ว่า ประโยชน์อย่าได้ล่วงเลยพระองค์ไปเสียเลย ขอพระองค์อย่าทรงขับไล่พระราชโอรสผู้ไม่มีความผิดนั้น ตามคำของชาวสีพีเลย "

    ... พระเจ้าสญชัยได้ทรงสดับดังนั้น จึงตรัสว่า

    ... " เมื่อเราขับไล่ลูกที่รักผู้เป็นดุจธงชัยของชาวสีพี ก็ทำโดยเคารพต่อขัตติยราชประเพณีธรรมของโบราณ เพราะฉะนั้น ถึงลูกจะเป็นที่รักกว่าชีวิตของเรา เราก็ต้องขับไล่

    ... แน่ะพระน้องผุสดีผู้เจริญ เมื่อฉันขับไล่ คือเนรเทศลูกเวสสันดร ซึ่งเป็นธงชัยของชาวสีพี ก็ทำโดยเคารพยำเกรงต่อขัตติยราชประเพณีธรรมของโบราณ ในสีพีรัฐ เพราะเหตุนั้น ถึงแม้ลูกเวสสันดรนั้นเป็นที่รักกว่าชีวิตของฉัน ถึงอย่างนั้น ฉันก็ต้องขับไล่ "

    ... พระนางผุสดีราชเทวีได้ทรงสดับดังนั้นก็ทรงครวญคร่ำรำพันว่า

    ... แต่กาลก่อนๆ เหล่าทหารถือธง และเหล่าทหารม้าเป็นอาทิ ราวกะดอกกรรณิการ์อันบานแล้ว และราวกะราวป่าดอกกรรณิการ์ ไปตามเสด็จพ่อเวสสันดร ผู้เสด็จไปไหนๆ วันนี้ พ่อจะเสด็จไปแต่องค์เดียว

    ... เหล่าราชบุรุษผู้ห่มผ้ากัมพลเหลืองมาแต่คันธารรัฐ มีแสงสีดุจแมลงค่อมทองตามเสด็จไปไหนๆ วันนี้ พ่อจะเสด็จไปแต่องค์เดียว

    ... แต่ก่อนพ่อเคยเสด็จด้วยช้างที่นั่ง พระวอหรือรถที่นั่ง วันนี้ พ่อจะต้องเสด็จไปด้วยพระบาทอย่างไรได้

    ... พ่อมีพระกายลูบไล้ด้วยแก่นจันทร์ อันเจ้าพนักงานปลุกให้ตื่นบรรทมด้วยฟ้อนรำขับร้อง จะต้องทรงหนังเสืออันหยาบขรุขระ และถือเสียมหาบคาน อันคอนเครื่องบริขารแห่งดาบสทุกอย่าง ไปเองอย่างไรได้ ไม่มีใครนำผ้ากาสาวะและหนังเสือไป

    ... เมื่อพ่อเสด็จเข้าสู่ป่าใหญ่ ใครจะช่วยแต่งองค์ด้วยผ้าเปลือกไม้ ก็ไม่มี เพราะเหตุไร ขัตติยบรรพชิตทั้งหลายจะทรงผ้าเปลือกไม้ได้ อย่างไรหนอ

    ... แม่มัทรีจักนุ่งห่มผ้าคากรองกะไรได้ แม่มัทรีเคยทรงภูษามาแต่แคว้นกาสี และโขมพัสตร์และโกทุมพรพัสตร์ บัดนี้ จะทรงผ้าคากรองจักทำอย่างไร

    ... แม่มัทรีเคยเสด็จไปไหนๆ ด้วยสิวิกากาญจน์ คานหามและรถที่นั่ง วันนี้ แม่ผู้มีวรกายหาที่ติมิได้ จะต้องดำเนินไปตามวิถีด้วยพระบาท

    ... แม่มัทรีผู้มีฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทอ่อน มักมีพระหฤทัยหวั่นขวัญอ่อน สถิตย์อยู่ในความสุข เสด็จไปข้างไหนก็ต้องสวมฉลองพระบาททอง วันนี้ แม่ผู้มีอวัยวะงาม จะต้องดำเนินสู่วิถีด้วยพระบาทเปล่า

    ... แม่จะเสด็จไปไหนเคยมี สตรีนับด้วยพันนางนำเป็นแถวไปข้างหน้า วันนี้ แม่ผู้โฉมงามจะต้องเสด็จไปสู่ราวไพรแต่องค์เดียว

    ... แม่มัทรีได้ยินเสียงสุนัขป่า ก็จะสะดุ้งตกพระหฤทัยก่อนทันที หรือได้ยินเสียงนกเค้าอินทสโคตรผู้ร้องอยู่ ก็จะสะดุ้งกลัวองค์สั่น ดุจแม่มดสั่นอยู่ ฉะนั้น

    ... วันนี้ แม่ผู้มีรูปงามเป็นผู้ขลาดไปสู่แนวป่า ตัวแม่เองจักหมกไหม้ ด้วยความทุกข์นาน เพราะอาศัยวังนี้เปล่าจากลูกรัก ตัวแม่แลไม่เห็นลูกรัก จักผอมผิวเหลือง จักแล่นไปในที่นั้นๆ เหมือนนางนกมีลูกถูกเบียดเบียนเห็นแต่รังเปล่า ฉะนั้น

    ... ตัวแม่จักหมกไหม้ด้วยความทุกข์นาน เพราะอาศัยวังนี้ว่างจากพระลูกรัก ตัวแม่แลไม่เห็นลูกรัก ก็จักผอมผิวเหลือง จักแล่นไปในที่นั้นๆ เปรียบดังนางนกเขามีลูกถูกเบียดเบียนแล้วเห็นแต่รังเปล่า หรือเปรียบเหมือนนางนกจากพรากตกในเปือกตมไม่มีน้ำ ฉะนั้น

    ... เมื่อหม่อมฉันพิลาปอยู่อย่างนี้ ถ้าพระองค์ยังจะขับไล่ พระราชโอรสผู้ไม่มีความผิดนั้นเสียจากแว่นแคว้น หม่อมฉันเห็นจะต้องสละชีวิตเสียเป็นแน่ "

    ... เหล่าสีพีกัญญาของพระเจ้ากรุงสญชัยทั้งปวง ได้ยินเสียงคร่ำครวญของพระนางผุสดีเทวี ก็ประชุมกันร้องไห้ ส่วนราชบริจาริกานารีทั้งหลายในพระราชนิเวศน์ของพระเวสสันดร ได้ยินเสียงเหล่าราชบริจาริกาของพระเจ้ากรุงสญชัยร้องไห้ ต่างก็ร้องไห้ไปตามกัน คนหนึ่งในราชสกุลทั้งสองที่สามารถระทรงตนไว้ได้ ไม่มีเลย ต่างทอดกายาร่ำพิไรรำพัน ดุจหมู่ไม้รังต้องลมย่ำยีก็ล้มลงตามกัน ฉะนั้น

    ... เหล่าสีพีกัญญาทั้งปวงในพระราชวัง ได้ฟังสุรเสียงของพระนางผุสดีทรงกันแสง ก็ประชุมกันประคองแขนทั้งสองร้องไห้ เหล่าราชบุตรราชบุตรี ชายา พระสนม พระกุมาร พ่อค้า พราหมณ์ กองช้าง กองม้า กองรถ กองราบ ฝ่ายข้างวังพระเวสสันดร ก็พากันลงนอนยกแขนทั้งสองร้องไห้ ประหนึ่งหมู่ไม้รังต้องลมประหารย่ำยี ก็ล้มลงตามกัน ฉะนั้น



    ..... แต่นั้นเมื่อราตรีสว่าง ดวงอาทิตย์ขึ้นแล้ว พระเวสสันดรก็เสด็จมาสู่โรงทาน ทรงบำเพ็ญทาน โดยพระโองการว่า

    ... " เจ้าทั้งหลายจงให้ผ้าห่มแก่เหล่าผู้ต้องการผ้านุ่งห่ม น้ำเมาแก่พวกนักเลงสุรา โภชนาหารแก่เหล่าผู้ต้องการโภชนาหาร โดยชอบทีเดียว อย่าเบียดเบียนเหล่าวณิพก ผู้มาในที่นี้แม้แต่คนหนึ่ง จงให้อิ่มหนำด้วยข้าวและน้ำ พวกนี้เราบูชาแล้ว จงให้ยินดีกลับไป "

    ... ในเมื่อพระเวสสันดรมหาราชผู้ยังแคว้นแห่งชาวสีพีให้เจริญเสด็จออกแล้ว วณิพกเหล่านั้นเป็นดังคนเมา คนเหน็ดเหนื่อย ลงนั่งปรับทุกข์กันว่า

    ... " ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ชาวสีพีเหมือนตัดเสีย ซึ่งต้นไม้ที่ให้ผลต่างๆ ที่ทรงผลต่างๆ ที่ให้ความใคร่ทั้งปวง ที่นำมาซึ่งรส คือความใคร่ทั้งปวง เพราะพวกเขาขับไล่พระเวสสันดร ผู้หาความผิดมิได้จากรัฐมณฑล "

    ... ในเมื่อพระเวสสันดรมหาราชผู้ยังแคว้นแห่งชาวสีพีให้เจริญเสด็จออกแล้ว เหล่าคนแก่ คนหนุ่ม และคนกลางคนทั้งหมด ภูต แม่มด ขันที สตรีของพระราชา สตรีในพระนคร พราหมณ์ สมณะ และเหล่าวณิพกอื่นๆ ประคองแขนทั้งสองร้องไห้ว่า

    ... " ดูเถอะ พระราชาเป็นอธรรม พระเวสสันดรเป็นผู้อันมหาชนในเมืองของตนบูชาแล้ว ต้องเสด็จออกจากเมืองของพระองค์ โดยต้องการตามคำของชาวสีวี

    ... พระเวสสันดรมหาสัตว์นั้นพระราชทานช้าง ๗๐๐ เชือก ล้วนประดับด้วยคชาลังการ มีเครื่องรัดกลางตัวแล้วไปด้วยทอง คลุมด้วยเครื่องประดับทอง มีนายหัตถาจารย์ขี่ประจำ ถือโตมรและขอ

    ... ม้า ๗๐๐ ตัว สรรพไปด้วยอัศวาภรณ์เป็นชาติม้าอาชาไนยสินธพ เป็นพาหนะว่องไว มีนายอัศวาจารย์ขี่ประจำ ห่มเกราะถือธนู

    ... รถ ๗๐๐ คัน อันมั่นคงมีธงปักแล้ว หุ้มหนังเสือเหลืองเสือโคร่งประดับสรรพาลังการ มีคนขับประจำถือธนูห่มเกราะ

    ... สตรี ๗๐๐ คน คนหนึ่งๆ อยู่ในรถ สวมสร้อยทองคำประดับกายแล้วไปด้วยทองคำ มีอลังการสีเหลือง นุ่งห่มผ้าสีเหลือง ประดับอาภรณ์สีเหลือง มีดวงตาใหญ่ ยิ้มแย้มก่อนจึงพูด มีตะโพกงามบั้นเอวบาง

    ... โคนม ๗๐๐ ตัว ล้วนแต่งเครื่องเงินทาสี ๗๐๐ คน ทาส ๗๐๐ คน พระองค์ทรงบำเพ็ญทานเห็นปานนี้ ต้องเสด็จออกจากแคว้นของพระองค์

    ... พระราชาเวสสันดรพระราชทานช้างม้ารถ และสตรีอันตกแต่งแล้ว ต้องนิราศจากแคว้นของพระองค์ "

    ... ในเมื่อมหาทาน อันพระเวสสันดรพระราชทานแล้ว พสุธาดลก็กัมปนาทหวาดหวั่นไหว และพระราชาเวสสันดรทรงกระทำอัญชลี นิราศจากแคว้นของพระองค์ นั่นเป็นมหัศจรรย์อันน่าสยดสยอง ให้ขนพองสยองเกล้า ได้เกิดมีแล้วในกาลนั้น

    ... เมื่อพระมหาสัตว์ทรงบริจาคทานอยู่อย่างนี้ ชาวนครเชตุดร มีกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร เป็นต้น ต่างร่ำพิไรรำพันว่า

    ... " ข้าแต่พระเวสสันดรผู้เป็นเจ้า ชาวสีพีรัฐขับพระองค์ผู้ทรงบริจาคทานเสียจากรัฐมณฑล พระองค์ก็ยังทรงบริจาคทานอีก "

    ... ครั้งนั้น เสียงกึกก้องโกลาหลน่าหวาดเสียว เป็นไปในพระนครนั้นว่า ชาวพระนครสีพีจะขับไล่พระเวสสันดรเพราะทรงบริจาคทาน ขอให้พระองค์ทรงได้บริจาคทานอีกเถิด

    ... ฝ่ายเหล่าผู้รับทานได้รับทานแล้ว ก็พากันรำพึงว่า

    ... " ได้ยินว่า บัดนี้ พระราชาเวสสันดรจักเสด็จเข้าสู่ป่า ทำพวกเราให้หมดที่พึ่ง จำเดิมแต่นี้ พวกเราจักไปหาใคร "

    ... รำพึงฉะนี้ก็นอนกลิ้งเกลือกไปมา ประหนึ่งว่ามีเท้าขาดคร่ำครวญด้วยเสียงอันดัง

    ... ก็ในกาลนั้น เทวดาทั้งหลายแจ้งแก่พระราชาในพื้นชมพูทวีปว่า

    ... " พระเวสสันดรทรงบำเพ็ญมหาทาน มีพระราชทานนางขัตติยกัญญาเป็นต้น เพราะเหตุนั้น กษัตริย์ทั้งหลายจึงเสด็จมาด้วยเทวานุภาพ รับนางขัตติยกัญญาเหล่านั้น แล้วหลีกไป "

    ... กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร เป็นต้น รับพระราชทานบริจาคของพระเวสสันดร แล้วหลีกไป ด้วยประการฉะนี้

    ... พระเวสสันดรทรงบริจาคทานอยู่จนถึงเวลาเย็น พระองค์จึงเสด็จกลับพระราชนิเวศน์ของพระองค์ ทรงดำริว่า

    ... " เราจักถวายบังคมลาพระชนกพระชนนีไปในวันพรุ่งนี้ "

    ... จึงเสด็จไปสู่ที่ประทับของพระชนกพระชนนีด้วยรถที่นั่งอันตกแต่งแล้ว

    ... ฝ่ายพระนางมัทรีก็ทรงคิดว่า

    ... " แม้เราก็จักโดยเสด็จพระสวามี จักยังพระสัสสุและพระสสุระให้ทรงอนุญาตเสียด้วย "

    ... จึงเสด็จไปพร้อมพระเวสสันดร พระมหาสัตว์ถวายบังคมพระราชบิดา แล้วกราบทูลความที่พระองค์จะเสด็จไป

    ... พระเวสสันดรกราบทูลพระเจ้าสญชัย ผู้วรธรรมิกราชว่า

    ... " พระองค์โปรดให้หม่อมฉันออกจากเชตุดรราชธานี หม่อมฉันขอทูลลาไปเขาวงกต

    ... ชนทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีแล้วในอดีต หรือจักมีในอนาคต และเกิดในปัจจุบัน เป็นผู้ไม่อิ่มด้วยกามทั้งหลาย ย่อมไปสู่ยมโลก

    ... หม่อมฉันได้บริจาคทานในวังของตน ยังชื่อว่าเบียดเบียนตนและคนอื่น จึงนิราศจากแคว้นของตนโดยความประสงค์ตามคำของชาวสีพี

    ... หม่อมฉันจักเสวยความทุกข์นั้นในป่าที่เกลื่อนด้วยพาลมฤค มีแรดและเสือเหลืองอยู่อาศัยแล้ว หม่อมฉันบำเพ็ญบุญทั้งหลาย เชิญพระองค์จมอยู่ในเปือกตม คือกามเถิด พระเจ้าข้า "

    ... พระมหาสัตว์ทูลกับพระชนกด้วย ๔ คาถานี้ อย่างนี้แล้ว เสด็จไปเฝ้าพระชนนี ถวายบังคมแล้ว เมื่อจะทรงขออนุญาตบรรพชา จึงตรัสว่า

    ... " ข้าแต่เสด็จแม่ ขอพระองค์ทรงอนุญาตแก่หม่อมฉัน หม่อมฉันขอบวช

    ... หม่อมฉันบริจาคทานในวังของตน ยังชื่อว่าเบียดเบียนตนและคนอื่น หม่อมฉันจะออกไปจากแคว้นของตน โดยประสงค์ตามคำของชาวสีพี

    ... หม่อมฉันจะเสวยทุกข์นั้นในป่า ที่เกลื่อนด้วยพาลมฤค มีแรดและเสือเหลืองอยู่อาศัยแล้ว หม่อมฉันบำเพ็ญบุญทั้งหลาย จะไปเขาวงกต "

    ... พระนางผุสดีได้ทรงสดับดังนั้น จึงตรัสว่า

    ... " ลูกรัก แม่อนุญาตลูก บรรพชาจงสำเร็จแก่ลูก ก็แต่แม่มัทรีกัลยาณีผู้มีตะโพกงามเอวบาง จงอยู่กับบุตรธิดา แม่จะทำอะไรในป่าได้ "

    ... พระเวสสันดรตรัสว่า

    ... " หม่อมฉันไม่อาจจะพาแม้ทาสีไปสู่ป่าโดยที่เขาไม่ปรารถนา ถ้าเขาปรารถนาจะตามหม่อมฉันไป ก็จงไป ถ้าไม่ปรารถนาก็จงอยู่ "

    ... ลำดับนั้น พระเจ้ากรุงสญชัยได้ทรงสดับพระดำรัสแห่งพระราชโอรส ก็ทรงคล้อยตาม เพื่อทรงวิงวอนพระสุณิสา

    ... ต่อแต่นั้น พระเจ้ากรุงสญชัยมหาราชทรงคล้อยตามเพื่อทรงวิงวอนพระสุณิสาว่า

    ... " แน่ะแม่ผู้มีสรีระอันประพรมด้วยแก่นจันทน์ แม่อย่าได้ทรงธุลีละออง และของเปรอะเปื้อนเลย แม่เคยทรงภูษาของชาวกาสี แล้วจะมาทรงผ้าคากรอง การอยู่ในป่าเป็นทุกข์ แน่ะแม่ผู้มีลักษณะงาม แม่อย่าไปเลย "

    ... พระนางมัทรีราชบุตรีผู้งามทั่วองค์ได้กราบทูลพระสสุระว่า

    ... " หม่อมฉันไม่ปรารถนาความสุข ที่ต้องพรากจากพระเวสสันดรของหม่อมฉัน "

    ... พระเจ้าสญชัยมหาราชผู้ยังแคว้นแห่งชาวสีพีให้เจริญ ได้ตรัสกะพระมัทรีว่า

    ... " แน่ะแม่มัทรี แม่จงพิจารณา สัตว์เหล่าใดมีอยู่ในป่าที่บุคคลทนได้ยาก คือ ตั๊กแตน บุ้ง เหลือบ ยุง แมลง ผึ้ง มีมาก สัตว์แม้เหล่านั้นพึงเบียดเบียนแม่ในป่านั้น ความเบียดเบียนนั้นเป็นความทุกข์ยิ่งจะพึงมีแก่แม่

    ... แม่จงดูสัตว์เหล่าอื่นอีกที่น่ากลัว อาศัยอยู่ที่แม่น้ำ คือ งู ชื่อว่างูเหลือมไม่มีพิษแต่มันมีกำลังมาก มันรัดคนหรือมฤค ที่มาใกล้มันด้วยขนดให้อยู่ในอำนาจของมัน ยังสัตว์เหล่าอื่น ดำดังผมที่เกล้า ชื่อว่าหมี เป็นมฤคนำความทุกข์มา คนที่มันเห็นแล้วขึ้ต้นไม้ก็ไม่พ้นมัน ฝูงกระบือมักขวิดชนเอาด้วยเขามีปลายแหลม เที่ยวอยู่ราวป่าริมฝั่งแม่น้ำชื่อโสตุม

    ... พระแม่มัทรีเป็นเหมือนแม่โคนมอยากได้ลูก เห็นโคไปตามฝูงมฤคในไพรสณฑ์ จักทำอย่างไร เมื่อแม่มัทรีไม่รู้จักเขตไพรสณฑ์ ภัยใหญ่จักมีแก่แม่ เพราะเห็นฝูงลิง น่ากลัวพิลึก มันลงมาในทางที่เดินยาก แม่มัทรีครั้งยังอยู่ในวัง แม่ไปถึงเขาวงกตจักทำอย่างไร ฝูงสกุณชาติจับอยู่ในเวลากลางวัน ป่าใหญ่ก็จักเหมือนบันลือขึ้น แม่จะอยากไปในราวไพรนั้น ทำไม "

    ... พระนางมัทรีราชบุตรีผู้งามทั่วองค์ ได้กราบทูลพระเจ้ากรุงสญชัยว่า

    ... " หม่อมฉันทราบภยันตรายเหล่านั้นว่า เป็นภัยเฉพาะหม่อมฉันในไพรสณฑ์ แต่หม่อมฉันจะสู้ทนต่อภัยทั้งปวงนั้นไป คือจักบรรเทา แหวกต้นเป้ง หญ้าคา หญ้าคมบาง แฝก หญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้องไปด้วยอุระ จักนำเสด็จพระภัสดาไปมิให้ยาก

    ... กุมารีได้สามีด้วยการประพฤติวัตรเป็นอันมาก เช่นด้วยตรากตรำท้องมิให้ใหญ่ด้วยวิธีกินอาหารแต่น้อย รู้ว่าสตรีมีบั้นเอวกว้างสีข้างผายได้สามี จึงเอาไม้สัณฐานเหมือนคางโคค่อยๆ บุบทุบบั้นเอว เอาผ้ารีดสีข้างทั้งสองให้ผึ่งผายออก หรือด้วยทนผิงไฟแม้ในฤดูร้อน ขัดสีกายด้วยน้ำในฤดูหนาว ความเป็นหม้ายเป็นความเผ็ดร้อนในโลก หม่อมฉันจักต้องไปอย่างแน่นอน

    ... อนึ่ง บุรุษไม่สมควรอยู่ร่วมกับสตรีหม้ายที่เขาทิ้งแล้ว บุรุษไรเล่าจะจับมือถือแขนสตรีหม้าย ที่เขาไม่ต้องการคร่ามา เหล่าบุรุษจิกหย่อมผมของสตรีหม้ายมา แล้วเอาเท้าเขี่ยให้ล้มลง ณ พื้น ให้ทุกข์เป็นอันมากไม่ใช่น้อย แล้วไม่หลีกไป เหล่าบุรุษต้องการสตรีหม้ายผู้มีผิวขาว ถือตัวว่ารูปงามเลิศ ให้ทรัพย์เล็กน้อยฉุดคร่าสตรีหม้ายผู้ไม่ปรารถนาไป ดุจฝูงกาตอมจิกคร่านกเค้าไป ฉะนั้น

    ... อีกอย่างหนึ่ง สตรีหม้ายเมื่ออยู่ในสกุลญาติอันมั่งคั่ง รุ่งเรืองด้วยภาชนะทองคำ ไม่พึงได้ซึ่งคำกล่าวล่วงเกินแต่หมู่พี่น้องและเหล่าสหายว่า หญิงผู้หาผัวมิได้นี้ ต้องตกหนักแก่พวกเราตลอดชีวิต ฉะนี้ไม่มีเลย

    ... แม่น้ำไม่มีน้ำก็เปล่าดาย แว่นแคว้นไม่มีพระราชาปกครองก็สูญเปล่า สตรีแม้มีพี่น้องตั้ง ๑๐ คน ถ้าเป็นหม้ายก็สูญหาย

    ... ธงเป็นเครื่องปรากฏแห่งราชรถ

    ... ควันเป็นเครื่องปรากฏแห่งไฟ

    ... พระราชาเป็นเครื่องปรากฏแห่งแว่นแคว้น

    ... ภัสดาเป็นเครื่องปรากฏแห่งสตรี

    ... ความเป็นหม้ายเป็นอาการเตรียมตรมในโลก หม่อมฉันจักต้องไปอย่างแน่นอน

    ... สตรีใดเข็ญใจก็ร่วมทุกข์กับสามีผู้เข็ญใจ ในคราวถึงทุกข์

    ... สตรีใดมั่งมี มีเกียรติ ก็ร่วมสุขด้วยสามีผู้มั่งมีในคราวถึงสุข

    ... เทวดาและมนุษย์ย่อมสรรเสริญสตรีนั้น เพราะสตรีนั้นทำกรรมที่ทำได้โดยยาก

    ... หม่อมฉันจะนุ่งห่มผ้ากาสายะตามเสด็จพระภัสดาทุกเมื่อ ความเป็นหม้ายแห่งสตรีผู้มีแผ่นดินไม่แยก ก็ไม่เป็นที่ยินดี อีกประการหนึ่ง หม่อมฉันไม่ปรารถนาแผ่นดินที่ทรงไว้ ซึ่งทรัพย์เป็นอันมากมีสาครเป็นที่สุด เต็มไปด้วยรัตนะต่างๆ แต่พรากจากพระเวสสันดรผู้ภัสดา

    ... สตรีใดในเมื่อสามีทุกข์ร้อน ย่อมอยากได้ความสุขเพื่อตน สตรีนั้นเด็ดจริงหนอ หัวใจของหญิงเหล่านั้นเป็นอย่างไรหนอ เมื่อพระเวสสันดรมหาราชเจ้าผู้ยังสีพีรัฐให้เจริญ เสด็จออกพระนคร หม่อมฉันจักโดยเสด็จพระองค์ เพราะพระองค์ทรงประทานสิ่งที่น่าปรารถนาทั้งปวงแก่เกล้ากระหม่อมฉัน "

    ... พระเจ้าสญชัยมหาราชได้ตรัสกะพระนางมัทรี ผู้งามทั่วองค์นั้นว่า

    ... " แน่ะแม่มัทรีผู้มีลักษณะงาม บุตรทั้งสองของแม่เหล่านี้ คือพ่อชาลีและแม่กัณหาชินา ยังเด็กอยู่ แม่จงละไว้ไปแต่ตัว เราทั้งหลายจะเลี้ยงดูหลานทั้งสองนั้นเอง "

    ... พระนางมัทรีราชบุตรีผู้งามทั่วองค์ได้กราบทูลพระเจ้ากรุงสญชัยว่า

    ... " ข้าแต่พระองค์ พ่อชาลีและแม่กัณหาชินาทั้งสองเป็นลูกรักของหม่อมฉัน ลูกทั้งสองนั้นจักยังหฤทัยของหม่อมฉันทั้งสองผู้มีชีวิตเศร้าโศกให้รื่นรมย์ในป่านั้น "

    ... พระเจ้าสญชัยมหาราชผู้ยังสีพีรัฐให้เจริญได้ตรัสกะพระนางมัทรีนั้นว่า

    ... " เด็กทั้งสองเคยเสวยข้าวสาลี ที่ปรุงด้วยเนื้ออันสะอาด เมื่อต้องเสวยผลไม้ จักทำอย่างไร

    ... เด็กทั้งสองเคยเสวยในถาดทองหนักร้อยปละ ซึ่งเป็นของประจำราชสกุล เมื่อต้องเสวยในใบไม้ จักทำอย่างไร

    ... เด็กทั้งสองเคยทรงภูษากาสีรัฐโขมรัฐและโกทุมพรรัฐ เมื่อต้องทรงผ้าคากรอง จักทำอย่างไร

    ... เด็กทั้งสองเคยเสด็จไปด้วยคานหาม วอและรถ เมื่อต้องเสด็จไปด้วยพระบาท จักทำอย่างไร

    ... เด็กทั้งสองเคยบรรทมในตำหนักยอดไม่มีลม ลงลิ่มชิดแล้ว เมื่อต้องบรรทมที่โคนไม้ จักทำอย่างไร

    ... เด็กทั้งสองเคยบรรทมบนพรมทำด้วยขนแกะ ที่ลาดไว้อย่างวิจิตรบนบัลลังก์ เมื่อต้องบรรทมบนเครื่องลาดหญ้า จักทำอย่างไร

    ... เด็กทั้งสองเคยไล้ทาด้วยของหอม ทั้งกฤษณาและแก่นจันทน์ เมื่อต้องทรงธุลีละอองและโสโครก จักทำอย่างไร

    ... เด็กทั้งสองเคยมีผู้อยู่งานพัดด้วยจามรีและแพนหางนกยูง ดำรงอยู่ในความสุข ต้องสัมผัสเหลือบและยุง จักทำอย่างไร "

    ... เมื่อกษัตริย์เหล่านั้นเจรจากันอยู่อย่างนี้แล ราตรีก็สว่าง ดวงอาทิตย์ขึ้น เจ้าพนักงานทั้งหลายนำรถที่นั่งอันตกแต่งแล้ว เทียมม้าสินธพ ๔ ตัว มาเทียบไว้แทบประตูวังเพื่อพระมหาสัตว์ พระนางมัทรีเทวีถวายบังคมพระสัสสุและพระสสุระ แล้วอำลาสตรีที่เหลือทั้งหลาย พาพระชาลีพระกัณหาชินาเสด็จไปก่อนพระเวสสันดร ประทับอยู่บนรถที่นั่ง

    ... พระนางมัทรีราชบุตรีผู้งามทั่วองค์ได้กราบทูลพระเจ้ากรุงสญชัยว่า

    ... " ข้าแต่เทพเจ้า ขอพระองค์อย่าทรงคร่ำครวญเลย และอย่าเสียพระหฤทัยเลย หม่อมฉันทั้งสองยังมีชีวิต เพียงใด ทารกทั้งสองก็จักเป็นสุข เพียงนั้น "

    ... พระนางมัทรีผู้งามทั่วองค์ ครั้นกราบทูลคำนี้แล้วเสด็จหลีกไป พระนางผู้ทรงศุภลักษณ์ทรงพาพระโอรสพระธิดา เสด็จไปตามมรรคาที่พระเจ้าสีวีราชเสด็จ

    ... ลำดับนั้น พระราชาเวสสันดรบรมกษัตริย์ทรงบำเพ็ญทานแล้ว ถวายบังคมพระชนกและพระชนนี และทรงทำประทักษิณ เสด็จขึ้นสู่รถที่นั่งเทียมม้าสินธพ ๔ ตัววิ่งเร็ว ทรงพาพระโอรสพระธิดาและพระมเหสีเสด็จไปสู่เขาวงกต

    ... แต่นั้นพระราชาเวสสันดรเสด็จไปโดยตรงที่มหาชนคอยเฝ้า ตรัสว่า

    ... " เราทั้ง ๔ ขอลาไปละนะ ขอท่านทั้งหลายผู้เป็นญาติ จงปราศจากโรคเถิด "

    ... ลำดับนั้น พระราชาเวสสันดรทรงขับรถที่นั่ง ไปในที่ที่มหาชนยืนอยู่ ด้วยหวังว่า จักเห็นพระราชาเวสสันดร เมื่อทรงลามหาชน ตรัสว่า

    ... " พวกเราขอลาไปละนะ ขอญาติทั้งหลายจงไม่มีโรคเถิด "

    ... เมื่อพระมหาสัตว์ตรัสเรียกมหาชนมาประทานโอวาทแก่เขาเหล่านั้นว่า

    ... " ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่ประมาท จงบำเพ็ญบุญมีทานเป็นต้น ดังนี้อย่างนี้ "

    ... แล้วเสด็จไป พระนางผุสดีราชมารดาแห่งพระโพธิสัตว์ทรงดำริว่า

    ... " ลูกของเรามีจิตน้อมไปในทาน จงบำเพ็ญทาน "

    ... จึงให้ส่งเกวียนทั้งหลายเต็มด้วยรัตนะ ๗ ประการ พร้อมด้วยอาภรณ์ทั้งหลายไปสองข้างทางเสด็จ

    ... ฝ่ายพระเวสสันดรก็ทรงเปลื้องเครื่องประดับที่มีอยู่ในพระวรกาย พระราชทานแก่เหล่ายาจกผู้มาถึงแล้ว ๑๘ ครั้ง

    ... ได้พระราชทานสิ่งที่เหลืออยู่ทั้งหมด พระองค์เสด็จออกจากพระนคร มีพระประสงค์จะกลับทอดพระเนตรราชธานี ครั้งนั้น อาศัยพระมนัสของพระองค์ ปฐพีในที่มีประมาณเท่ารถที่นั่งก็แยกออกหมุน เหมือนจักรของช่างหม้อ ทำรถที่นั่งให้มีหน้าเฉพาะเชตุดรราชธานี พระองค์ได้ทอดพระเนตรสถานที่ประทับของพระชนกพระชนนี เหตุอัศจรรย์ทั้งหลายมี แผ่นดินไหวเป็นต้น ได้มีแล้วด้วยการุญภาพนั้น

    ... เมื่อพระเวสสันดรเสด็จออกจากพระนคร ทรงกลับเหลียวมาทอดพระเนตร แม้ในกาลนั้น แผ่นดินอันมีขุนเขาสิเนรุ และหมู่ไม้เป็นเครื่องประดับ ก็กัมปนาทหวาดหวั่นไหว

    ... ก็เมื่อพระมหาสัตว์ทอดพระเนตรเอง แล้วตรัสพระคาถาเพื่อให้ พระนางมัทรีทอดพระเนตรด้วย ว่า

    ... " แน่ะพระน้องมัทรี เชิญเธอทอดพระเนตร นั่นพระราชนิเวศน์ของพระเจ้าสีพีราชผู้ประเสริฐ นั่นวังของฉันซึ่งพระราชบิดาประทาน ย่อมปรากฏเป็นภาพที่น่ารื่นรมย์ทีเดียว "

    ... ครั้งนั้น พระเวสสันดรมหาสัตว์ยังอำมาตย์ ๖ หมื่น ผู้สหชาติและเหล่าชนอื่นๆ ให้กลับแล้ว ขับรถที่นั่งไปตรัสกะพระนางมัทรีว่า

    ... " แน่ะพระน้องผู้เจริญ ถ้ายาจกมาข้างหลัง แม่พึงคอยดูไว้ "

    ... พระนางก็นั่งทอดพระเนตรดูอยู่ ครั้งนั้น มีพราหมณ์ ๔ คนมาไม่ทันรับสัตตสดกมหาทานของพระเวสสันดร จึงไปสู่พระนคร ถามว่า

    ... " พระเวสสันดรราชเสด็จไปไหน "

    ... ครั้นได้ทราบว่า ทรงบริจาคทานเสด็จไปแล้ว จึงถามว่า

    ... " พระองค์เสด็จไปเอาอะไรไปบ้าง "

    ... ได้ทราบว่า เสด็จทรงรถไป จึงติดตามไปด้วยคิดว่า

    ... " พวกเราจักทูลขอม้า ๔ ตัวกะพระองค์ "

    ... ครั้งนั้น พระนางมัทรีทอดพระเนตรเห็นพราหมณ์ทั้ง ๔ ตามมา จึงกราบทูลพระภัสดาว่า

    ... " ข้าแต่สมมติเทพ ยาจกทั้งหลายกำลังมา "

    ... พระมหาสัตว์ก็ทรงหยุดรถพระที่นั่ง พราหมณ์ทั้ง ๔ คนเหล่านั้นมาทูลขอม้าทั้งหลายที่เทียมรถ พระมหาสัตว์ได้พระราชทานม้าทั้ง ๔ ตัวแก่พราหมณ์ ๔ คนเหล่านั้น

    ... พราหมณ์ทั้งหลายได้ตามพระเวสสันดรมา ได้ทูลขอม้าทั้ง ๔ นั้นต่อพระองค์ พระองค์อันเหล่าพราหมณ์ขอแล้ว ก็พระราชทานม้า ๔ ตัวแก่พราหมณ์ ๔ คน

    ... ก็เมื่อพระเวสสันดรพระราชทานม้า ๔ ตัวไปแล้ว งอนรถพระที่นั่งได้ตั้งอยู่ในอากาศนั่นเอง ครั้งนั้น พอพวกพราหมณ์ไปแล้วเท่านั้น เทวบุตร ๔ องค์ จำแลงกายเป็นละมั่งทอง มารองรับงอนรถที่นั่งลากไป

    ... พระมหาสัตว์ทรงทราบว่า ละมั่งทั้ง ๔ นั้นเป็นเทพบุตร จึงตรัสคาถานี้ว่า

    ..." แน่ะพระน้องมัทรี เชิญเธอทอดพระเนตร มฤคทั้ง ๔ มีเพศเป็นละมั่ง เป็นเหมือนม้าที่ฝึกมาดีแล้วนำเราไป ย่อมปรากฏเป็นภาพที่งดงามทีเดียว "

    ... ครั้งนั้น ยังมีพราหมณ์อีกคนหนึ่งมาทูลขอ รถที่นั่งต่อพระเวสสันดร ผู้กำลังเสด็จไปอยู่อย่างนี้ พระมหาสัตว์จึงยังพระโอรสพระธิดาและพระราชเทวีให้เสด็จลง แล้วพระราชทานรถแก่พราหมณ์ ก็ครั้นเมื่อพระมหาสัตว์พระราชทานรถที่นั่งแล้ว เทวบุตรทั้งหลายได้อันตรธานหายไป

    ... ครั้งนั้น พราหมณ์นั้นนับเป็นที่ ๕ ที่มาทูลขอรถที่นั่งต่อพระโพธิสัตว์ในป่านี้ พระองค์ก็ประทานมอบรถนั้นแก่พราหมณ์นั้น และพระหฤทัยของพระองค์มิได้ย่อหย่อนเลย

    ... ต่อนั้น พระราชาเวสสันดรก็ยังคนของพระองค์ ให้เสด็จลงจากรถ ทรงยินดีมอบรถม้าให้แก่พราหมณ์ ผู้แสวงหาทรัพย์

    ... จำเดิมแต่นั้น กษัตริย์เหล่านั้นทั้งหมดก็เสด็จดำเนินด้วยพระบาท

    ... ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ได้มีพระดำรัสแก่พระนางมัทรีว่า

    ... " แน่ะแม่มัทรี แม่จงอุ้มกัณหาชินาเพราะเธอเป็นน้องเบา พี่จักอุ้มพ่อชาลีเพราะเธอเป็นพี่หนัก "

    ... ก็แลครั้นตรัสฉะนี้แล้ว กษัตริย์ทั้งสองก็อุ้มพระโอรสพระธิดาเสด็จไป

    ... พระราชาเวสสันดรทรงอุ้มพระกุมารชาลี พระมัทรีราชบุตรีทรงอุ้มพระกุมารีกัณหาชินา ต่างทรงบันเทิง ตรัสปิยวาจากะกันและกัน เสด็จไป

    จบทานกัณฑ์​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 ธันวาคม 2013
  20. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    วนปเวสนกัณฑ์ ​

    ..... กษัตริย์ทั้ง ๔ พระองค์ มีพระเวสสันดรเป็นต้น ทอดพระเนตรเห็นคนทั้งหลายที่เดินสวนทางมา จึงตรัสถามว่า

    ... " เขาวงกตอยู่ที่ไหน "

    ... คนทั้งหลายทูลตอบว่า

    ... " ยังไกล "

    ... เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

    ... ถ้ามนุษย์บางพวกเดินมาตามทาง หรือเดินสวนทางมา เราจะถามมรรคากะพวกนั้นว่า เขาวงกตอยู่ที่ไหน คนพวกนั้นเห็นเราทั้งหลายในป่านั้น จะพากันคร่ำครวญน่าสงสาร พวกเขาแจ้งให้ทราบ อย่างเป็นทุกข์ว่า เขาวงกตยังอยู่อีกไกล

    ... พระชาลีและพระกัณหาชินาได้ทอดพระเนตรเห็นต้นไม้ทรงผลต่างๆ สองข้างทางก็ทรงกันแสง ด้วยบุญญานุภาพแห่งพระมหาสัตว์ ต้นไม้ที่ทรงผลก็น้อมลงมาสัมผัสพระหัตถ์ แต่นั้น พระเวสสันดรก็ทรงเลือกเก็บผลาผลที่สุกดี ประทานแก่สองกุมารกุมารีนั้น พระนางมัทรีทอดพระเนตรเห็นดังนั้น ก็ทรงทราบว่า เป็นเหตุอัศจรรย์

    ... พระราชกุมารกุมารีทอดพระเนตร เห็นพฤกษชาติเผล็ดผลในป่าใหญ่ ก็ทรงกันแสง เพราะเหตุอยากเสวยผลไม้เหล่านั้น ต้นไม้ทั้งหลายเต็มไปในป่า ประหนึ่งเห็นพระราชกุมารกุมารีทรงกันแสง ก็ร้อนใจน้อมกิ่งลงมาถึงพระราชกุมารกุมารีเอง

    ... พระนางมัทรีราชเทวี ผู้งามทั่วองค์ได้ทอดพระเนตรเห็น อัศจรรย์นี้ อันไม่เคยมีมา ทำให้ขนพองสยองเกล้า ก็ยังสาธุการ ให้เป็นไป ความอัศจรรย์ไม่เคยมี ทำให้ขนพองสยองเกล้ามีในโลก พฤกษชาติทั้งหลายน้อมลงมาเอง ด้วยเดชานุภาพแห่งพระเวสสันดร

    ... ตั้งแต่เชตุดรราชธานีถึงภูเขาชื่อสุวรรณคิรีตาละ ๕ โยชน์

    ... ตั้งแต่สุวรรณคิรีตาละถึงแม่น้ำชื่อโกนติมารา ๕ โยชน์

    ... ตั้งแต่แม่น้ำโกนติมาราถึงภูเขาชื่ออัญชนคิรี ๕ โยชน์

    ... ตั้งแต่ภูเขาอัญชนคิรีถึงบ้านพราหมณ์ชื่อตุณณวิถนาลิทัณฑ์ ๕ โยชน์

    ... ตั้งแต่บ้านพราหมณ์ตุณณวิถนาลิทัณฑ์ถึงมาตุลนคร ๑๐ โยชน์ รวมตั้งแต่เชตุดรนครถึงแคว้นนั้นเป็น ๓๐ โยชน์ เทวดาย่นมรรคานั้น กษัตริย์ทั้ง ๔ พระองค์จึงเสด็จถึงมาตุลนครในวันเดียวเท่านั้น

    ... เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

    ... เทวดาทั้งหลายย่นมรรคา ด้วยอนุเคราะห์แก่พระราชกุมารกุมารี กษัตริย์ทั้ง ๔ ถึงเจตรัฐ โดยวันที่เสด็จออกนั้นเอง

    ... ก็แลกษัตริย์ทั้ง ๔ เมื่อเสด็จไป ได้เสด็จดำเนินตั้งแต่เวลาเสวยเช้าแล้ว ลุถึงมาตุลนครในเจตรัฐเวลาเย็น

    ... กษัตริย์ ๔ พระองค์เสด็จไปสิ้นทางไกลถึงเจตรัฐ ซึ่งเป็นชนบทมั่งคั่ง มีความสุข มีมังสะ สุรา และข้าวมาก

    ... กาลนั้น มีเจ้าครองอยู่ในมาตุลนคร ๖ หมื่นองค์ พระมหาสัตว์ไม่เสด็จเข้าภายในนคร ประทับพักอยู่ที่ศาลาใกล้ประตูเมือง

    ... ครั้งนั้น พระนางมัทรีชำระเช็ดธุลีที่พระบาทของพระมหาสัตว์ แล้วถวายอยู่งานนวดพระบาท ทรงคิดว่า เราจักยังประชาชนให้รู้ความที่พระเวสสันดรเสด็จมา จึงเสด็จออกจากศาลา ประทับยืนอยู่ที่ประตูศาลาตรงทางประตูเมือง เพราะเหตุนั้น หญิงทั้งหลายผู้เข้าสู่เมืองและออกจากเมือง ก็ได้เห็นพระนางมัทรี ต่างเข้าห้อมล้อมพระองค์

    ... สตรีชาวเจตรัฐเห็นพระนางมัทรีผู้มีลักษณะเสด็จมา ก็ปริวิตกว่า พระแม่เจ้าผู้สุขุมาลชาตินี้เสด็จมา ด้วยพระบาท พระนางเคยเสด็จไปไหนๆ ด้วยยานที่หาม หรือพระวอและรถที่นั่ง วันนี้พระนางมัทรีเสด็จดำเนินไปในป่า ด้วยพระบาท

    ... มหาชนเห็นพระนางมัทรี พระเวสสันดร และพระโอรสทั้งสองพระองค์ เสด็จมาด้วยความเป็นผู้น่าอนาถ จึงไปแจ้งแก่พระยาเจตราชทั้งหลาย พระยาเจตราชทั้ง ๖ หมื่น ก็กันแสงร่ำพิไร มาเฝ้าพระเวสสันดร

    ... พระยาเจตราชทั้งหลายเห็นพระเวสสันดร ก็ร้องให้เข้าไปเฝ้ากราบทูลว่า

    ... " ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ พระองค์ทรงพระสำราญ ไม่มีพระโรคาพาธแลหรือ พระราชบิดาของพระองค์หาพระโรคาพาธมิได้แลหรือ ชาวนครสีพีก็ไม่มีทุกข์หรือ

    ... ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พลนิกายของพระองค์อยู่ที่ไหน รถพระที่นั่งของพระองค์อยู่ที่ไหน พระองค์ไม่มีม้าทรง ไม่มีรถทรง เสด็จดำเนินมาทางไกล ถูกข้าศึกย่ำยีกระมัง จึงเสด็จมาถึงประเทศนี้ "

    ... ครั้งนั้น พระมหาสัตว์ เมื่อจะตรัสถึงเหตุการณ์ที่พระองค์เสด็จมาแก่พระยาเจตราชหกหมื่นเหล่านั้น จึงตรัสว่า

    ... " แน่ะสหายทั้งหลาย เราไม่มีโรคาพาธ เรามีความสำราญ อนึ่ง พระราชบิดาของเราก็ทรงปราศจากพระโรคาพาธ และชาวสีพีก็สุขสำราญดี

    ... แต่เพราะเราให้ช้าง ซึ่งมีงาดุจงอนไถ เป็นราชพาหนะ รู้ชัยภูมิแห่งการยุทธ์ทุกอย่าง ขาวทั่วสรรพางค์ เป็นช้างสูงสุด คลุมด้วยผ้ากัมพลเหลือง ซับมัน อาจย่ำยีศัตรูได้ มีงางาม พร้อมด้วยพัดวาลวีชนี มีกายสีขาวเช่นกับเขาไกรลาส พร้อมด้วยเศวตฉัตร ทั้งเครื่องลาดอันงามทั้งหมด ทั้งคนเลี้ยง เป็นราชยานอันประเสริฐ เป็นช้างพระที่นั่ง ให้เป็นทรัพย์แก่พราหมณ์ทั้ง ๘ คน

    ... เพราะเหตุนั้น ชาวสีพีพากันขัดเคืองเรา และพระราชบิดาก็กริ้วขับไล่เรา เราจะไปเขาวงกต แน่ะสหายทั้งหลาย ท่านทั้งหลายรู้โอกาสแห่งที่อยู่ของพวกเราที่จะอยู่ในป่า "

    ... ลำดับนั้น พระยาเจตราชทั้งหลายทูลพระเวสสันดรว่า

    ... " ข้าแต่มหาราชเจ้า พระองค์เสด็จมาดีแล้ว เสด็จมาแต่ไกลก็เหมือนใกล้ พระองค์ผู้เป็นอิสระเสด็จมาถึงแล้ว สิ่งใดมีอยู่ในประเทศนี้ โปรดรับสั่งให้ทราบเถิด

    ... ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอพระองค์เสวยข้าวสุกแห่งข้าวสาลีอันบริสุทธิ์ ทั้งผัก เหง้าบัว น้ำผึ้ง เนื้อ พระองค์เสด็จมาเป็นแขกของข้าพระบาททั้งหลาย "

    ... ลำดับนั้น พระเวสสันดรตรัสว่า

    ... " สิ่งใดอันท่านทั้งหลายให้แล้ว สิ่งนั้นเป็นอันเรารับแล้ว บรรณาการเป็นอันท่านทั้งหลายกระทำแล้วทุกอย่าง พระราชบิดาทรงขับไล่เรา เราจะไปเขาวงกต พวกท่านรู้โอกาสแห่งที่อยู่ของพวกเรา ที่จะอยู่ในป่า "

    ... พระยาเจตราชทั้งหลายเหล่านั้นทูลว่า

    ... " ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ขอเชิญเสด็จประทับอยู่ ณ เจตรัฐนี้ จนกว่าพระยาเจตราชทั้งหลายไปเฝ้าพระราชบิดาทูลขอโทษ ให้พระราชบิดาทรงเป็นผู้ยังแคว้นแห่งชาวสีพีให้เจริญ ทรงทราบว่า พระองค์หาความผิดมิได้ เพราะเหตุนั้น พระยาเจตราชทั้งหลายจะเป็นผู้อิ่มใจได้ที่พึ่งแล้ว รักษาพระองค์แวดล้อมไป ข้าแต่บรมกษัตริย์ ขอพระองค์ทรงทราบอย่างนี้ "

    ... พระมหาสัตว์ตรัสว่า

    ... " ท่านทั้งหลายอย่าชอบใจไปเฝ้าพระราชบิดา เพื่อทูลขอโทษ และเพื่อให้พระองค์ทรงทราบว่า เราไม่มีความผิดเลย เพราะว่า พระองค์มิได้เป็นอิสระในเรื่องนั้น แท้จริงชาวสีพี กองพล และชาวนิคมเหล่าใด ขัดเคืองแล้ว พวกเขาเหล่านั้นก็ปรารถนาจะกำจัดพระราชบิดา เพราะเหตุแห่งเรา "

    ... พระยาเจตราชเหล่านั้นทูลว่า

    ... " ข้าแต่พระองค์ผู้ยังแคว้นให้เจริญ ถ้าพฤติการณ์นั้นเป็นไปในรัฐนี้ ชาวเจตรัฐขอถวายตัวเป็นบริวาร เชิญเสด็จครองราชสมบัติในเจตรัฐนี้ทีเดียว รัฐนี้ก็มั่งคั่งสมบูรณ์ ชนบทก็เพียบพูนกว้างใหญ่ ขอพระองค์ทรงปลงพระหฤทัยปกครองราชสมบัติเถิด พระเจ้าข้า "

    ... ลำดับนั้น พระเวสสันดรตรัสว่า

    ... " ดูก่อนพระยาเจตบุตรทั้งหลาย ความพอใจหรือความคิดเพื่อครองราชสมบัติ ไม่มีแก่เรา ผู้อันพระชนกนาถ เนรเทศจากแว่นแคว้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรา

    ... ชาวสีพี กองพล และชาวนิคมทั้งหลายคงจะไม่ยินดีว่า พระยาเจตราชทั้งหลาย อภิเษกเราผู้ถูกเนรเทศจากแว่นแคว้น ความไม่ปรองดองจะพึงมีแก่พวกท่าน เพราะเราเป็นตัวการสำคัญ

    ... อนึ่ง ความบาดหมางและการทะเลาะกับชาวสีพี เราไม่ชอบใจ ใช่แต่เท่านั้น ความบาดหมางพึงรุนแรงขึ้น สงครามอันร้ายกาจก็อาจมีได้ คนเป็นอันมากพึงฆ่าฟันกันเอง เพราะเหตุแห่งเราผู้เดียว

    ... สิ่งใดอันท่านทั้งหลายให้แล้ว สิ่งนั้นทั้งหมดเป็นอันเรารับไว้แล้ว บรรณาการเป็นอันท่านทั้งหลายกระทำแล้วทุกอย่าง พระราชบิดาทรงขับไล่เรา เราจักไปเขาวงกต ท่านทั้งหลายรู้ โอกาสแห่งที่อยู่ของพวกเรา ที่จะอยู่ในป่า "

    ... ก็และครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว พระมหาสัตว์ แม้พวกพระยาเจตราชทูลวิงวอนโดยอเนกปริยาย ก็ไม่ทรงปรารถนาราชสมบัติ

    ... ครั้งนั้น พระยาเจตราชทั้งหลายได้ทำสักการะใหญ่แด่พระมหาสัตว์ พระมหาสัตว์ไม่ปรารถนาจะเสด็จเข้าภายในพระนคร

    ... ครั้งนั้น พวกพระยาเจตราชจึงตกแต่งศาลานั้น กั้นพระวิสูตร ตั้งพระแท่นบรรทม ทั้งหมดช่วยกันแวดล้อมรักษา พระเวสสันดรพักแรมอยู่ ๑ ราตรี เหล่าพระยาเจตราชเหล่านั้นสงเคราะห์รักษา บรรทมที่ศาลา

    ... รุ่งขึ้นสรงน้ำแต่เช้า เสวยโภชนาหารมีรสเลิศต่างๆ พระยาเจตราชเหล่านั้นแวดล้อม เสด็จออกจากศาลา พระยาเจตราชหกหมื่นเหล่านั้น โดยเสด็จด้วยพระเวสสันดร สิ้นระยะทาง ๑๕ โยชน์ หยุดอยู่ที่ประตูป่า

    ... เมื่อจะทูลระยะทางข้างหน้าอีก ๑๕ โยชน์ จึงกล่าวว่า

    ... " เชิญเสด็จเถิด ข้าพระองค์ทั้งหลายจักกราบทูลพระองค์ ให้ทรงทราบ อย่างที่คนฉลาดจะกราบทูล เสลบรรพต ซึ่งเป็นที่สงบของปวงราชฤาษี ผู้มีการบูชาเพลิงเป็นวัตร มีจิตตั้งมั่น

    ... โน่น ชื่อว่า คันธมาทน์ พระองค์จะประทับกับพระโอรสทั้งสอง และพระมเหสี "

    ... พระยาเจตราชทั้งหลายร้องไห้ น้ำตาไหลอาบหน้า พร่ำทูลว่า

    ... " ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์บ่ายพระพักตร์ตรงต่อทิศอุดร เสด็จไปจากที่นี้ โดยมรรดาใด

    ... ถัดนั้น พระองค์จักทอดพระเนตรเห็นวิปุลบรรพต อันเกลื่อนไปด้วยหมู่ไม้ต่างๆ มีเงาเย็นน่ารื่นรมย์ โดยมรรคานั้น

    ... ถัดนั้น พระองค์เสด็จพ้นวิปุลบรรพตนั้นแล้ว จักทอดพระเนตรเห็นแม่น้ำเกตุมดี ลึกเป็นน้ำไหลมาแต่ซอกเขา ดาดาษไปด้วยมัจฉาชาติ แลมีท่าอันดี น้ำมากจงสรงเสวยที่แม่น้ำนั้น ให้พระโอรสพระธิดาและพระมเหสีทรงยินดี

    ... ถัดนั้น พระองค์จะได้ทอดพระเนตรเห็นไม้ไทร มีผลพิเศษรสหวาน ซึ่งเกิดอยู่ที่ภูเขาน่ารื่นรมย์ มีเงาเย็นน่ายินดี

    ... ถัดนั้น พระองค์จะได้ทอดพระเนตรเห็น บรรพตชื่อนาลิกะ เกลื่อนไปด้วยหมู่นกต่างๆ แล้วไปด้วยศิลา เกลื่อนไปด้วยหมู่กินนร มีสระชื่อมุจลินท์ อยู่ด้านทิศอีสานแห่งนาลิกบรรพต ปกคลุมด้วยบุณฑริกและอุบลขาวมีประการต่างๆ และดอกไม้มีกลิ่นหอมหวล

    ... ถัดนั้น พระองค์จะเสด็จถึงวนประเทศคล้ายหมอก มีหญ้าแพรกเขียวอยู่เป็นนิตย์ แล้วเสด็จหยั่งลงสู่ไพรสณฑ์ ซึ่งปกคลุมด้วยไม้ดอกและไม้ผลทั้งสอง ดั่งราชสีห์เพ่งเหยื่อหยั่งลงสู่ไพรสณฑ์ ฉะนั้น ฝูงนกในหมู่ไม้ซึ่งมีดอกบานแล้ว ตามฤดูกาลนั้น มีมากมีสีต่างๆ ร้องกลมกล่อมอื้ออึง ต่างร้องประสานเสียงกัน

    ... ถัดนั้น พระองค์จักเสด็จถึงซอกเขาอันเป็นทางกันดารเดินลำบาก เป็นแดนเกิดแห่งแม่น้ำทั้งหลาย จะได้ทอดพระเนตร เห็นสระโบกขรณีอันดาดาษ ด้วยสลอดน้ำและกุ่มบก มีหมู่ปลาหลากหลายเกลื่อนกล่น มีท่าเรียบราบ มีน้ำมากเปี่ยมอยู่เสมอ เป็นสระสี่เหลี่ยมมีน้ำจืดดี ไม่มีกลิ่นเหม็น

    ... พระองค์จงสร้างบรรณศาลา ด้านทิศอีสานแห่งสระโบกขรณีนั้น ครั้นทรงสร้างบรรณศาลาสำเร็จแล้ว ประทับสำราญพระอิริยาบถ ประพฤติแสวงหามูลผลาหาร "

    ... พระยาเจตราชทั้งหลายกราบทูลมรรคา ๑๕ โยชน์ แด่พระเวสสันดร อย่างนี้แล้วส่งเสด็จ คิดว่า ปัจจามิตรคนใดคนหนึ่ง อย่าพึงได้โอกาสประทุษร้ายเลย

    ... เพื่อจะบรรเทาภยันตรายแห่งพระเวสสันดรเสีย จึงให้เรียกพรานป่าคนหนึ่ง ชื่อเจตบุตรเป็นคนฉลาดศึกษาดีแล้ว มาสั่งว่า เจ้าจงกำหนดตรวจตราคนทั้งหลายที่ไปๆ มาๆ สั่งฉะนี้แล้ว ให้อยู่รักษาประตูป่า แล้วกลับไปสู่นครของตน




    ..... ฝ่ายพระเวสสันดรพร้อมด้วยพระราชโอรสพระราชธิดาและพระราชเทวี เสด็จถึงเขาคันธมาทน์ ประทับยับยั้งอยู่ ณ ที่นั่นตลอดวัน

    ... แต่นั่นบ่ายพระพักตร์ทิศอุดร เสด็จลุถึงเชิงเขาวิปุลบรรพต ประทับนั่งที่ฝั่งเกตุมดีนที เสวยเนื้อมีรสอร่อย ซึ่งนายพรานป่าผู้หนึ่งถวาย พระราชทานเข็มทองคำแก่นายพรานนั้น ทรงสรงสนานที่แม่น้ำนั้น มีความกระวนกระวายสงบ เสด็จขึ้นจากแม่น้ำ ประทับนั่ง ณ ร่มไม้นิโครธ ที่ตั้งอยู่ยอดสานุบรรพตหน่อยหนึ่ง เสวยผลนิโครธ

    ... ทรงลุกขึ้นเสด็จไปถึงนาลิกบรรพต เมื่อเสด็จต่อไปก็ถึงสระมุจลินท์ เสด็จไปตามฝั่งสระถึงมุมด้านทิศอีสาน เสด็จเข้าสู่ชัฎไพรโดยทางเดินได้คนเดียว ล่วงที่นั้นก็บรรลุถึงสระโบกขรณีสี่เหลี่ยม ข้างหน้าของภูเขาทางกันดาร เป็นแดนเกิดแห่งแม่น้ำทั้งหลาย

    ... ขณะนั้น พิภพของท้าวสักกเทวราชสำแดงอาการเร่าร้อน ท้าวสักกะทรงพิจารณาก็ทรงทราบเหตุการณ์นั้น จึงทรงดำริว่า

    ... " พระมหาสัตว์เสด็จเข้าสู่หิมวันตประเทศ พระองค์ควรได้ที่เป็นที่ประทับ "

    ... จึงตรัสเรียก พระวิสสุกรรมเทพบุตรมาสั่งว่า

    ... " ดูก่อนพ่อ ท่านจงไปสร้างอาศรมบทในสถานที่อันเป็นรมณีย์ ณ เวิ้งเขาวงกตแล้วกลับมา "

    ... สั่งฉะนี้แล้ว ทรงส่งพระวิสสุกรรมไป พระวิสสุกรรมรับเทวบัญชาว่า สาธุ แล้วลงจากเทวโลกไป ณ ที่นั้น เนรมิตบรรณศาลา ๒ หลัง ที่จงกรม ๒ แห่ง และที่อยู่กลางคืน ที่อยู่กลางวัน แล้วให้มีกอไม้อันวิจิตรด้วยดอกต่างๆ และดงกล้วยในสถานที่นั้นๆ แล้วตกแต่งบรรพชิตบริขารทั้งปวง จารึกอักษรไว้ว่า

    ... " ท่านผู้หนึ่งผู้ใดใคร่จะบวช ก็จงใช้บริขารเหล่านี้ "

    ... แล้วห้ามกันเสียซึ่งเหล่าอมนุษย์ และหมู่เนื้อหมู่นกที่มีเสียงน่ากลัว แล้วกลับที่อยู่ของตน

    ... ฝ่ายพระมหาสัตว์ทอดพระเนตร เห็นทางเดินคนเดียว ทรงกำหนดว่า

    ... " จักมีสถานที่อยู่ของพวกบรรพชิต "

    ... จึงให้พระนางมัทรีและพระราชโอรสธิดาพักอยู่ที่ทวารอาศรมบท พระองค์เองเสด็จเข้าสู่อาศรมบท ทอดพระเนตรเห็นอักษรทั้งหลาย ก็ทรงทราบความที่ท้าวสักกะประทาน ด้วยเข้าพระทัยว่า ท้าวสักกะทอดพระเนตรเห็นเราแล้ว จึงเปิดทวารบรรณศาลาเสด็จเข้าไป ทรงเปลื้องพระแสงขรรค์ และพระแสงศรทั้งพระภูษา ทรงนุ่งผ้าเปลือกไม้สีแดง พาดหนังเสือบนพระอังสา เกล้ามณฑลชฎาทรงถือเพศฤาษี ทรงจับธารพระกร เสด็จออกจากบรรณศาลา ยังสิริแห่งบรรพชิตให้ตั้งขึ้นพร้อม ทรงเปล่งอุทานว่า

    ... " โอ เป็นสุข เป็นสุขอย่างยิ่ง เราได้ถึงบรรพชาแล้ว "

    ... เสด็จขึ้นสู่ที่จงกรม เสด็จจงกรมไปมา แล้วเสด็จไปสำนักพระราชโอรสธิดาและพระราชเทวี ด้วยความสงบเช่นกับพระปัจเจกพุทธเจ้า

    ... ฝ่ายพระนางมัทรีเทวี เมื่อทอดพระเนตรเห็นก็ทรงจำได้ ทรงหมอบลงที่พระบาทแห่งพระมหาสัตว์ ทรงกราบแล้วทรงกันแสง เข้าสู่อาศรมบทกับด้วยพระมหาสัตว์ แล้วไปสู่บรรณศาลาของพระนาง ทรงนุ่งผ้าเปลือกไม้สีแดง พาดหนังเสือบนพระอังสา เกล้ามณฑลชฎา ทรงถือเพศเป็นดาบสินี ภายหลังให้พระโอรสพระธิดา เป็นดาบสกุมารดาบสินีกุมารี

    ... กษัตริย์ทั้ง ๔ พระองค์ประทับอยู่ ที่เวิ้งแห่งคีรีวงกต

    ... ครั้งนั้น พระนางมัทรีทูลขอพรแต่พระเวสสันดรว่า

    ... " ข้าแต่สมมติเทพ พระองค์ไม่ต้องเสด็จไปสู่ป่า เพื่อแสวงหาผลไม้ จงเสด็จอยู่ ณ บรรณศาลากับพระราชโอรสและพระราชธิดา หม่อมฉันจะนำผลาผลมาถวาย "

    ... จำเดิมแต่นั้นมา พระนางนำผลาผลมาแต่ป่า บำรุงปฏิบัติพระราชสวามีและพระราชโอรสพระราชธิดา

    ... ฝ่ายพระเวสสันดรบรมโพธิสัตว์ก็ทรงขอพรกะพระนางมัทรีว่า

    ... " แน่ะพระน้องมัทรีผู้เจริญ จำเดิมแต่นี้เราทั้งสองชื่อว่า เป็นบรรพชิตแล้ว ขึ้นชื่อว่า หญิงเป็นมลทินแก่พรหมจรรย์ ตั้งแต่นี้ไป เธออย่ามาสู่สำนักฉัน ในเวลาไม่สมควร "

    ... พระนางทรงรับว่า " สาธุ "

    ... แม้เหล่าสัตว์ดิรัจฉานทั้งปวงในที่ ๓ โยชน์โดยรอบ ได้เฉพาะซึ่งเมตตาจิตต่อกันและกัน ด้วยอานุภาพแห่งเมตตาของพระมหาสัตว์

    ... พระนางมัทรีเทวีเสด็จอุฏฐาการแต่เช้า ตั้งน้ำดื่มน้ำใช้แล้ว นำน้ำบ้วนพระโอฐ น้ำสรงพระพักตร์มา ถวายไม้ชำระพระทนต์ กวาดอาศรมบท ให้พระโอรสพระธิดาทั้งสอง อยู่ในสำนักพระชนก แล้วทรงถือกระเช้า เสียมขอเสด็จเข้าไปสู่ป่า หามูลผลาผลในป่าให้เต็มกระเช้า เสด็จกลับจากป่า ในเวลาเย็น เก็บงำผลาผลไว้ในบรรณศาลาแล้วสรงน้ำ และให้พระโอรสพระธิดาสรง

    ... ครั้งนั้น กษัตริย์ทั้ง ๔ องค์ ประทับนั่งเสวยผลาผลแทบทวารบรรณศาลา แต่นั้น พระนางมัทรีพาพระชาลีและพระกัณหาชินา ไปสู่บรรณศาลา กษัตริย์ทั้ง ๔ ประทับอยู่ ณ เวิ้งเขาวงกตสิ้น ๗ เดือน โดยทำนองนี้แล ด้วยประการฉะนี้

    จบวนปเวสนกัณฑ์
     

แชร์หน้านี้

Loading...