อยากทราบว่าการพิจารณาไตรลักษณ์นั้นเป็นอย่างไรคะ

ในห้อง 'ประสบการณ์อภิญญา' ตั้งกระทู้โดย เวิ้งว้าง, 9 พฤศจิกายน 2010.

  1. เวิ้งว้าง

    เวิ้งว้าง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    53
    ค่าพลัง:
    +177
    อยากทราบว่าการพิจารณาไตรลักษณ์นั้นเป็นอย่างไร และอยู่ในฌานไหนคะ

    ขอบคุณค่ะ
     
  2. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,075
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    กว้างมากครับ เห็นทุกข์ตามจริง เห็นสมุทัยตามจริง พิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม ธรรมทั้งปวง ย่อมลงสู่ไตรลักษณ์อยู่แล้วครับ ตรงนี้ไม่ต้องกังวลไป

    การทำสมาธิ ย่อมมีผลให้เกิดความสงบ เมื่อมีความสงบนิวรณ์เบาบาง ก็จะย่อมเห็นความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ในทุกข์ทั้งหลาย ในเหตุแห่งทุกข์ทั้งหลาย อย่างนี้ก็ไหลลงไตรลักษณ์แล้ว

    ดั่งเช่น ครูอาจารย์ท่านกล่าว ทำสมาธิได้ฌาน ได้ฌานแล้ว ปัญญาญาณจะตามมา

    การพิจารณาไตรลักษณ์ ทำได้ทั้งในขณิกะสมาธิ ในอุปจาร หรือแม้แต่ในขั้นอัปนาสมาธิ ถ้าจะเทียบเป็นองค์ฌาน ทำสมาธิพอได้ฌานนิดหน่อยมีวิตก วิจาร ก็ใช้ได้ครับ
     
  3. อินทรี

    อินทรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    418
    ค่าพลัง:
    +562
    อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เกิดขึ้น-ตั้งอยู๋-ดับไป

    เปนหนทางของวิปัสสนา เหนแล้วรู้แล้วเข้าใจแล้วจะเกิดปัญญาญาน หรือ
    เกิดวิปัสสนาขึ้น นามเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูปเกิดก่อน นามจึงเกิดตามมา:boo:

    พระไตรลักษณ์ที่ว่าเกิดขึ้นได้โดยอาศัยสติในสมาธิ คือมีสติระลึกถึงรูปกับนามคือรู้กายกับจิตในขณะที่จิตตนตั้งมั่นขึ้น และสนใจอยู่เพียงเรื่องๆเดียวที่เปนปัจจุบัน จิตที่เกิดขึ้น ณ ตอนนั้นจะเป็นจิตตรง กิเลสคือราคะ โทสะ และโมหะจะครอบงำไม่ได้ และในไตรลักษณจะเน้นความไม่เที่ยง ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกล้วนไม่เที่ยง แม้จิตของเราก้ไม่เที่ยงเหมือนกัน เมื่อเหนความไม่เที่ยงเหล่านี้ก้หยิบยืมสติและสัมปชัญญะนำมาทบทวนให้แคบลงคือดูรูป เวทนา สัญญา
    สังขารและวิญญาณ ซึ่งขันธ์ห้าที่ว่าหากจะพิจารณาจะอยู่ในหมวยกายคตาสติกับหมวดกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ทำไปแล้วเกิดปัญญาเหนความจริงของขันธ์ห้าและเหนความไม่เที่ยงคือความเกิด-ดับในขันธ์ห้าตามมาด้วยเช่นกัน ทำให้เหนพระไตรลักษณ์({) เกิดความรู้ในระดับวิปัสสนาขึ้นมา
     
  4. Jsus Christ

    Jsus Christ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2015
    โพสต์:
    138
    ค่าพลัง:
    +82
    การพิจารณาไตรลักษณ์ กระทำได้ทุกฌาน หรือ ไม่มีฌาน

    ไตรลักษณ์ คือ การปราฏกขึ้น การทรงอยู่ด้วยความแปรปรวน และการสลายไป

    แต่ในการทำวิปัสสนานั้น จะละเอียดมากกว่าทั่วไป จะต้องเคยประสบกับความสงบของจิตในระดับ จตุตถฌาน มาก่อน การพิจารณาธรรมจึงจะมีความยุติธรรม ไม่เอนเอียง ออกจากความสันโดษ

    การทำวิปัสสนา มีรากฐานมาจากไตรลักษณ์เป็นหลักเสมอ ในการพิจารณา กาย เวทนา จิตตา และ ธรรมา หรือ เข้าไปพิจารณา การเกิด การแก่ การเจ็บ การตาย ว่า เป็นทุกข์อย่างไร ไม่ควรยึดอย่างไร จนเกิดเป็น นิพพิทาญานขึ้น เป็นต้น
     
  5. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    ฌานที่มีการการพิจารณาก็คือฌานที่มีวิตกและวิจารนั้นละ(วิตกและวิจารคือการพิจารณา)
    ฌานยิ่งสูง ยิ่งนิ่ง ไม่มีการพิจารณา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 สิงหาคม 2015
  6. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494

    ชีวิตหรือรูปนามนี้แหละเป็นไตรลักษณ์ เมื่อชีวิตเป็นไตรลักษณ์ ก็ต้องเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน เพื่อให้เห็นชีวิตนี้ตามเป็นจริง และ

    อยู่ในฌานไหน? ถ้าเป็นฌาน ในความหมายหนึ่งของสมาธิ ก็เจริญไปพร้อมๆกับวิปัสสนา (ปัญญา)

    ถ้าความหมายของฌาน ที่เป็นสมาธิล้วน (เน้นสมาธิ) ก็เป็นสมถกัมมัฏฐาน ซึ่งเป็นคนละทางกัน
     
  7. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494
    สิ่งที่ปิดบังไตรลักษณ์


    ทั้งที่ความเป็นอนิจจัง ทุกข์ และอนัตตานี้เป็นลักษณะสามัญของสิ่งทั้งหลาย เป็นความจริงที่แสดงตัวของมันเองอยู่ตามธรรมดาตลอดทุกเวลา แต่ คนทั่วไปก็มองไม่เห็น ทั้งนี้เพราะเป็นเหมือนมีสิ่งปิดบังคอยซ่อนคลุมไว้ ถ้าไม่มนสิการคือไม่ใส่ใจพิจารณาอย่างถูกต้อง ก็มองไม่เห็น สิ่งที่เป็น เหมือนเครื่องปิดบังซ่อนคลุมเหล่านี้ คือ

    1. สันตติ บังอนิจจลักษณะ
    2. อิริยาบถ บังทุกขลักษณะ
    3. ฆนะ บังอนัตตลักษณะ

    อธิบายข้อที่ 1 สันตติ บังอนิจจลักษณะ

    1. ท่านกล่าวว่า เพราะมิได้มนสิการความเกิด และความดับ หรือความเกิดขึ้นและความเสื่อมสิ้นไปก็ถูก สันตติ คือ ความสืบต่อ หรือ ความเป็นไปอย่างต่อเนื่องปิดบังไว้ อนิจจลักษณะ จึงไม่ปรากฏ สิ่งทั้งหลายที่เรารู้เราเห็นนั้น ล้วนแต่มีความเกิดขึ้นและความแตกสลายอยู่ภายในตลอดเวลา แต่ความเกิด-ดับ นั้นเป็นไปอย่างหนุนเนื่องติดต่อกันรวดเร็วมาก คือ เกิด-ดับ-เกิด-ดับ-เกิด-ดับ ฯลฯ ความเป็นไปต่อเนื่องอย่างรวดเร็วยิ่งนั้น ทำให้เรามองเห็นเป็นว่า สิ่ง นั้นคงที่ถาวร เป็นอย่างหนึ่งอย่างเดิม ไม่มีความเปลี่ยนแปลง เหมือน อย่างตัวเราเองหรือคนใกล้เคียงอยู่ด้วยกัน มองเห็นกันเสมือนว่า เป็นอย่างเดิมไม่เปลี่ยนแปลง แต่เมื่อเวลาผ่านไปนานสังเกตดู หรือไม่ เห็นกันนานๆ เมื่อพบกันอีกจึงรู้ว่าได้มีความเปลี่ยนแปลง ไปแล้วจากเดิม แต่ความเป็นจริง ความเปลี่ยนแปลงนั้นเกิดขึ้นอยู่ตลอด เวลาทีละน้อยและต่อเนื่องจนไม่เห็นช่องว่าง

    ตัวอย่างเปรียบเทียบพอให้เห็นง่ายขึ้น เช่น ใบพัดที่กำลังหมุนอยู่อย่าง เร็วยิ่ง มองเห็นเป็นแผ่นกลมแผ่นเดียวนิ่ง เมื่อทำให้หมุนช้าลง ก็ เห็นเป็นใบพัดกำลังเคลื่อนไหวแยกเป็นใบๆ เมื่อจับหยุดมองดู ก็เห็นชัดว่า เป็นใบพัดต่างหากกัน 2 ใบ 3 ใบ 4 ใบ หรือเหมือนคนเอามือจับก้านธูปที่จุดไฟติดอยู่แล้วแกว่งหมุนอย่างรวด เร็วเป็นวงกลม มองดูเหมือนเป็นไฟรูปวงกลม แต่ความจริงเป็นเพียงธูปก้าน เดียวที่ทำให้เกิดรูปต่อเนื่องติดเป็นพืดไป หรือเหมือนหลอดไฟฟ้าที่ติดไฟ อยู่สว่างจ้า มองเห็นเป็นดวงไฟที่สว่างคงที่ แต่ความจริงเป็นกระแสไฟฟ้า ที่เกิด-ดับไหลเนื่องผ่านไปอย่างรวดเร็ว หรือเหมือนมวลน้ำในแม่น้ำ ที่มองเห็นดูเป็นผืนหนึ่งผืนเดียว แต่ความจริงเป็นกระแสน้ำที่ไหลผ่านไปๆ เกิดจากน้ำหยดน้อยๆมากมายมารวมกันและไหลเนื่อง สิ่งทั้งหลายเช่นดังตัวอย่างเหล่านี้ เมื่อใช้เครื่องมือหรือวิธีการที่ ถูกต้องมากำหนดแยกมนสิการเห็นความเกิดขึ้นและความดับไป จึงจะประจักษ์ความ ไม่เที่ยงแท้ ไม่คงที่ เป็นอนิจจัง

    อธิบายข้อที่ 2 อิริยาบถ บังทุกขลักษณะ

    2. ท่านกล่าวว่า เพราะมิได้มนสิการความบีบคั้นกดดันที่มีอยู่ตลอดเวลา ก็ถูกอิริยาบถ คือความยักย้ายเคลื่อนไหว ปิดบังไว้ ทุกขลักษณะจึง ไม่ปรากฏ ภาวะที่ทนอยู่มิได้ หรือภาวะที่คงสภาพเดิมอยู่มิได้ หรือ ภาวะที่ไม่อาจคงอยู่ในสภาพเดิมได้ ด้วยมีแรงบีบคั้นกดดันขัดแย้งเร้าอยู่ ภายในส่วนประกอบต่างๆนั้น จะถึงระดับที่ปรากฏแก่สายตา หรือความรู้สึกของคน มักจะต้องกินเวลาระยะหนึ่ง แต่ในระหว่างนั้น ถ้ามีการคืบเคลื่อน ยักย้าย หรือ ทำให้แปรรูปเป็นอย่างอื่นไปเสียก่อนก็ดี สิ่งที่ถูกสังเกตเคลื่อนย้ายพ้นจากผู้สังเกตไปเสียก่อน หรือ ผู้สังเกตแยกพรากจากสิ่งที่ถูกสังเกตไปเสียก่อนก็ดี ภาวะที่บีบคั้น กดดัน ขัดแย้งนั้น ไม่ทันปรากฏให้เห็น ปรากฏการณ์ ส่วนใหญ่มักเป็นเช่นนี้ ทุกขลักษณะ จึงไม่ปรากฏ

    ตัวอย่างง่ายๆ ก็คือ ในร่างกายของมนุษย์นี้แหละไม่ต้องรอให้ถึงขั้นชีวิตแตกดับดอก แม้ในชีวิตประจำวันนี้เอง ความบีบคั้น กดดัน ขัดแย้งก็มีอยู่ตลอดเวลา ทั่วองคาพยพ จนทำให้มนุษย์ไม่อาจอยู่นิ่งเฉยในท่าเดียวได้ ถ้าเราอยู่หรือต้องอยู่ใน ท่าเดียวนานมากๆ เช่น ยืนอย่างเดียว นั่งอย่างเดียว เดินอย่างเดียว นอนอย่างเดียว ความบีบคั้น กดดันตามสภาวะจะค่อยๆเพิ่มมากขึ้นๆจนถึงระดับที่เกิดเป็นความรู้สึกบีบคั้น กดดันที่คนทั่วไปเรียกว่าทุกข์ เช่น เจ็บ ปวด เมื่อยจนในที่สุดก็จะทนไม่ไหวและต้องยักย้ายเปลี่ยน ไปสู่ท่าอื่น ที่เรียกว่าอิริยาบถอื่น เมื่อความบีบคั้น กดดัน อันเป็นทุกข์ตามสภาวะนั้นสิ้นสุดลง ความบีบคั้น กดดัน ที่เรียกว่า ความรู้สึกทุกข์ (ทุกขเวทนา) ก็หายไปด้วย (ในตอนที่ความรู้สึกทุกข์หายไปนี้ มักจะมีความรู้สึกสบาย ที่เรียกว่าความสุขเกิดขึ้นมาแทนด้วย แต่อันนี้เป็นเพียงความรู้สึกเท่านั้น ว่าโดยสภาวะแล้ว มีแต่ความทุกข์หมดไปอย่างเดียว เข้าสู่ภาวะปราศจากทุกข์)

    ในความเป็นอยู่ประจำวันนั้น เมื่อเราอยู่ในท่าหนึ่ง หรืออิริยาบถหนึ่งนานๆ พอจะรู้สึกปวดเมื่อยเป็นทุกข์ เราก็ชิงเคลื่อนไหว เปลี่ยนไปสู่ท่าอื่นหรืออิริยาบถอื่นเสีย หรือเรามักจะเคลื่อนไหว เปลี่ยนท่า เปลี่ยนอิริยาบถอยู่เสมอ จึงหนีรอด จากความรู้สึกทุกข์ไปได้ เมื่อไม่รู้สึกทุกข์ ก็เลยพลอยมองข้าม ไม่ เห็นความทุกข์ที่เป็นความจริงตามสภาวะ ไปเสียด้วย ท่านจึงว่า อิริยาบถบังทุกขลักขณะ

    อธิบายข้อที่ 3. ฆนะ บังอนัตตลักษณะ

    3. ท่านกล่าว ว่า เพราะมิได้มนสิการความแยกย่อยออกเป็นธาตุต่างๆ ก็ถูกฆนะ คือความเป็นแท่งเป็นก้อนเป็นชิ้นเป็นอันเป็นมวลหรือเป็นหน่วยรวม ปิดบังไว้ อนัตตลักษณะจึงไม่ปรากฏ

    สิ่งทั้งหลาย ที่เรียกว่าอย่างนั้นอย่างนี้ ล้วนเกิดจากเอาส่วนประกอบทั้งหลาย มารวบรวมปรุงแต่งขึ้น เมื่อ แยกย่อยส่วนประกอบเหล่านั้นออกไปแล้ว สิ่งที่เป็นหน่วยรวม ซึ่งเรียกว่าอย่างนั้นๆ ก็ไม่มี โดยทั่วไป มนุษย์มองไม่เห็นความจริงข้อนี้ เพราะถูกฆนสัญญาคือความจำหมายหรือความสำคัญหมายเป็นหน่วยรวม คอยปิดบังไว้ เข้ากับคำกล่าวอย่างชาวบ้านว่า เห็นเสื้อ แต่ไม่เห็นผ้า เห็นแต่ตุ๊กตา มองไม่เห็นเนื้อยาง คือ คนที่ไม่ได้คิดไม่ได้พิจารณา บางทีก็ถูกภาพตัวตนปิดบังตาหลอกไว้ ไม่ได้มอง เห็นเนื้อผ้าที่ปรุงแต่งขึ้น เป็นรูปเสื้อนั้น ซึ่งว่าที่จริง ผ้านั้นเองก็ไม่มี มีแต่เส้นด้ายมากมายที่มาเรียงกันเข้าตามระเบียบถ้าแยกด้ายทั้งหมดออกจาก กัน ผ้านั้นเองก็ไม่มี หรือเด็กที่มองเห็นแต่รูปตุ๊กตา เพราะถูกภาพตัวตนของตุ๊กตาปิดบังหลอกตาไว้ ไม่ได้มองถึงเนื้อยาง ซึ่งเป็นสาระที่แท้จริงของตัวตุ๊กตานั้น เมื่อจับเอาแต่ตัวจริง ก็มีแต่เนื้อยาง หามีตุ๊กตาไม่ แม้เนื้อยางนั้นเอง ก็เกิดจากส่วนผสมต่างๆ มาปรุงแต่งขึ้นต่อๆกันมา

    ฆนสัญญา ย่อมบังอนัตตลักษณะไว้ในทำนองแห่งตัวอย่างง่ายๆ ที่ได้ยกมากล่าวไว้นี้ เมื่อใช้อุปกรณ์หรือวิธีการที่ถูกต้องมา วิเคราะห์มนสิการ เห็นความแยกย่อยออกเป็นส่วนประกอบต่างๆ จึงจะประจักษ์ในความไม่ใช่ตัวตน มองเห็นว่า เป็นอนัตตา
     

แชร์หน้านี้

Loading...