เกิด-ดับเรื่องที่เห็นยากและทำยาก

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมแท้ว่าง, 7 เมษายน 2017.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,293
    ค่าพลัง:
    +12,622
    เอาเวลานอนมานั่งเล่น มันก็ง่วงหงุดหงิดง่ายครับ
    ช่วงเวลา 4 ทุ่มถึงตื 2 ถ้านอนได้สุขภาพดีเลย
    และจะหงุดหงิดยากร่างกายและสมองจะเสื่อมช้าลง
     
  2. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    ในหมวด สติปัฏฐาน จะเริ่มจากตรงไหนก็ได้ ผลสุดท้ายจะเหมือนกันหมดครับ

    หรือ อะไรก็ได้ ที่เป็นการฝึกไปเพื่อ ให้เกิดสัมมาสติ อันนั้นใช้ได้หมด

    จะว่าไปอีกอย่าง

    หากไม่เอา กาย ใจ ว่าโดยย่อ
    กายใจของใครของมัน มาฝึก สัมมาสติจะไม่มีทางเกิดขึ้น

    ในมหาสติปัฏฐานสูตร
    จึงมีแต่เรื่องเกี่ยวกับ กายใจ
     
  3. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,293
    ค่าพลัง:
    +12,622
    ธรรมะของพระพุทธเจ้า พิศดารมากเริ่มที่บทใด
    หมวดใดก็ตามจะไปจบแบบเดียวกันหมด
    ถ้าไปเจอธรรมที่ขัดแย้งกันแปลว่า ไม่ใช่
    ต้องมีฝ่ายหนึ่งฝ่ายผิดพลาด น่าทึ่งมากครับ
     
  4. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,293
    ค่าพลัง:
    +12,622
    ธรรมะของพระพุทธเจ้าทั้งปวงที่เป็นไปเพื่กการบรรเทาทุกข์หรือดับทุกข์ หรือเพื่อชี้ทางแห่งความสุข
    ควรต้องไม่มีความขัดแย้งกัน

    ที่ขัดแย้งกันน่าจะเกิดจากความคิดหรือความเข้าใจผิดส่วนตัวของผู้ศึกษายังไม่ครบถ้วนมากกว่า
     
  5. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    เข้าใจประมานนั้นเหมือนกันครับ
     
  6. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762

    ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อ

    ๑.วิราคะ ; ความคลายกำหนัด, ไม่ติดพัน มิใช่เพื่อความกำหนัดย้อมใจ การเสริมให้ติด

    ๒.วิสังโยค ; ความหมดเครื่องผูกรัด,ความไม่ประกอบทุกข์ มิใช่เพื่อผูกรัดหรือประกอบ

    ทุกข์

    ๓.อปจยะ ; ความไม่พอกพูนกิเลส มิใช่เพื่อพอกพูนกิเลส

    ๔.อัปปิจฉตา ; ความมักน้อย มิใช่เพื่อความมักมาก

    ๕.สันตุฏฐี ; ความสันโดษ มิใช่เพื่อความไม่สันโดษ

    ๖.ปวิเวก ; ความสงัด มิใช่เพื่อความคลุกคลีอยู่ในหมู่

    ๗.วิริยารัมภะ ; การประกอบความเพียร มิใช่เพื่อความเกียจคร้าน

    ๘.สุภาตา ; ความเป็นคนเลี้ยงง่าย มิใช่เพื่อความเลี้ยงยาก

    ธรรมเหล่านี้พึงรู้ว่าเป็นธรรม เป็นวินัย เป็นสัตถุสาสน์ (คำสอนของพระศาสดา)


    หากใช้หลักตัดสิน
    ที่พระพุทธเจ้า สอนมา 8 ข้อนี้ จะเป็นแนวทางที่จะช่วยได้ครับ
     
  7. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,293
    ค่าพลัง:
    +12,622
    อันนี้ต้องนักบวช หรือภิกษุแล้วครับ
    เอาแค่ ๓ ข้อหนักๆ เข้มๆ ก็พอครับ
    เพราะยังอยุ่เรือน
     
  8. ผ่านมาเฉยๆ

    ผ่านมาเฉยๆ ไรเซ็นมันพูดว่าอะไรหว่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    964
    ค่าพลัง:
    +1,221
    ขออภัยครับลุงปราบ
    วีริยรัมภา หรือ วีริยารัมภะ ครับ
    ไม่ได้บอกว่าลุงปราบผิดนะครับ
    แต่ผมจำมาแบบนี้อะ เลยสับสนว่า ผมจำมาผิดรึเปล่า
    ขออภัยถ้าขัดเคือง
     
  9. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    บางเล่มแปลโดยใกล้เคียงกันครับ
    ต่างกันตรงบาลี แต่โดยรวมๆแปลเป็นไทย จะใกล้เคียงกันครับ

    มีบาลีอีกประโยคนึง อย่างเช่น

    โยคาเวชายะเตภูริ แปลว่า ปัญญาเกิดจากการปฏิบัติ

    บางเล่มจะเขียนเป็น
    โยคาเวชะยะติภูริ
    บทภาษาบาลี หากแปลเป็นไทย ก้ต้องดูที่ผลด้วยครับ ต้องทำใจกับภาษาไทย


    มีอีกหลายคำ อย่างคำว่า โทษะ ภาษาไทยจะแปลเป็นโกรธ
    ในบาลีบางเล่ม โทษะ จะแปลว่า เร็ว ความเร็ว นั่นหมายถึง เร็วจนยั้งไม่อยู่

    ในบางวลีจะบอกว่า คนใจเร็ว นั่นหมายถึง โทษะจริต


    อันนี้ก้เป็นเหตุนึง ที่ทำให้ นักปฏิบัติ กับนักยึดแต่อักษร แต่ไม่ดูที่ผล

    เวลาอธิบายเป็น เอหิปัสสิโก จะไม่สามารถ อธิบายธรรมอย่างพิสดารได้ครับ
     
  10. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    เรื่อง ของธรรมะ ไม่มีพระไม่มีโยมครับ
    เป็นเรื่องของ นักปฏิบัติล้วนๆ หากมุ่งตรงนิพพาน

    ส่วนเรื่อง บทบัญญัติ แยกเพศ เช่น เพศสมถะ เพศฆราวาส
    ก็เป็นแต่เพียงบัญญัติ วินัยเพื่อความสวยงาม แก่มหาชนหมู่มาก

    ความเคารพธรรมก้จะเป็นไปตาม วินัย
    ตามหน้าที่
    พระสงฆ์อย่างนึง
    สามเณรอย่างนึง
    อุบาสกอย่างนึง อุบาสิกาอย่างนึง
    ฆราวาสอย่างนึง
    ก้ล้วนทำตามหน้าที่
     
  11. pinit417

    pinit417 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มีนาคม 2016
    โพสต์:
    189
    ค่าพลัง:
    +164
    ถามว่าหลังจากที่คุณรู้ว่าโกรธนี่ ความโกรธมันดับลง(ค่อยๆดับลง)โดยที่คุณไม่ได้ทำอะไรเลยเหรอครับ ไม่มีการกำกับจิตเลยเหรอครับ
    ตามความเข้าใจผม ถ้ารู้ว่าอยากนี่แสดงว่าตัณหาได้เกิดขึ้นแล้ว.. หมายถึงตาเห็นหน้าอกผู้หญิง ส่งผ่านมาที่ใจ จิตได้ปรุงแต่งเป็นที่เรียบร้อย จึงเกิดตัณหาความอยากขึ้น...

    ถามครับ ...
    1. ก่อนที่คุณจะรู้ถึงการเกิดของตัณหา..อยาก...คุณได้รู้ถึงสภาวะการปรุงแต่งของจิตหรือเปล่าครับ
    2. แล้วที่ว่ารู้ว่าอยาก แล้วความอยากมันดับลง คุณทำอะไรให้มันดับหรือว่ามันดับไปเองครับ
    อันนี้ที่ผมเข้าใจคือเป็นการแยกจิตกับกายครับ โดยเอาจิตดูอาการปวดของกาย แล้วต้องวางใจให้เป็นอุเบกขา...อันนี้ที่ผมทำ....ไม่ทราบว่าคุณทำแบบนี้ นี้แบบอื่นครับ... ถ้าเป็นแบบอื่น ขอทราบเป็นความรู้ด้วยครับว่าทำยังไง...

    สุดท้ายคุณปฏิบัติโดยใช้หลักปฏิบัติแบบไหนครับ
     
  12. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,293
    ค่าพลัง:
    +12,622
    หน้าที่ของฆราวาสคือทำอะไรยังงัยก็ได้
    ขอให้รอดจาก"อบายภูมิ " ซึ่งก็เป็นไฟท์บังคับ
    ให้อยู่ในกรอบของศีลธรรม
     
  13. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    ขออภัยนะครับ ขออนุญาตขัดจังหวะนิดนึง
    พระพุทธองค์บัญญัติอะไร คงไม่ใช่เพื่อความสวยงามหรอกครับ
    ธรรมที่ครอบทั้งหมดก็มี ธรรมที่แบ่งแยกแตกต่างก็มี

    ธรรมที่ครอบทั้งหมด คือ อริยสัจ
    ธรรมที่แยกเฉพาะฐานะก็มีครับ เช่น ธรรมของพระสงฆ์ พระวินัยสำหรับสงฆ์
    ธรรมของพระอริยเจ้าเช่น โพชฌงค์
    ธรรมสำหรับผู้ครองเรือน ก็มีมากมายครับ

    ทั้งนี้ เพราะฐานะของบุคคลแตกต่างกัน ก็ต้องมี ธรรมเพื่อการประพฤติปฏิบัติที่ต่างกัน
    ส่วน จิตใจ มีเหมือนกัน ก็ย่อมมี อริยสัจที่เหมือนกัน
     
  14. Supop

    Supop เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    587
    ค่าพลัง:
    +3,154
    ขออนุโมทนาในธรรมทุกท่านครับ


    เมื่อจิตมีโทสะเกิด แล้วเกิดมีสติระลึกได้ทันพอดี โทสะคลายลง นั่นเป็นเพราะ มีสติพร้อมสมาธิ ถ้ามีเพียงสติ ก็จะรู้เพียงอย่างเดียวว่าโทสะ แต่หยุดโทสะของตนไม่ได้ แต่ถ้ามีสมาธิด้วย จะรู้ว่ามีโทสะเกิดขึ้นโดยสติ และกำลังของสมาธิ คือความตั้งมั่นไม่หวั่นไหวตาม จึงทำให้จิตไม่ไหลตามไปกับโทสะ การยึดมั่นจึงคลายลง จิตที่มีสติพร้อมสมาธิจะเป็นสภาวะกลาง


    เมื่อเกิดโทสะขึ้นจากการถูกกระทบ เรามีสติพร้อมสมาธิเกิดขึ้นมาในเวลานั้น ถ้าประครองสภาวะสติและสมาธิดูโทสะนั้นไว้ จะเห็นการคลายออก เราจะเข้าใจในสภาวะยึดและคลายของจิต


    แต่ก่อนกระผมเคยสงสัยว่า ทำไมเวลาเราโกรธแล้วจึงไม่ยอมฟังเหตุผลใดๆของใครเลย แม้แต่คนที่รัก แม้แต่มิตร แม้แต่ผู้มีพระคุณก็ยังทำลายกันได้ แต่เมื่อกระทำจนความโกรธหรือโทสะเบาลงแล้ว จึงคิดได้ว่าไม่สมควรทำเช่นนั้นลงไป

    แล้วก็บังเกิดเป็นความทุกข์ความเสียใจจากสิ่งที่กระทำ

    ทำไมจึงคิดถึงความดีหรือความรักที่ให้กันในตอนที่มีโทสะไม่ได้

    แต่บางคนคิดได้ คลายความโกรธได้ในตอนนั้น เพราะอะไร

    อาจจะเป็นเพราะ เขาเกิดมีสติมีสมาธิขึ้นมาได้ แต่ก็ในบางครั้ง เพราะ สติและสมาธิยังเป็นสิ่งไม่เที่ยง

    แต่เมื่อมีการทำจนเกิดความชำนาญ ก็จะเริ่มมีสติได้บ่อยครั้งขึ้น และไวมากขึ้นละเอียดขึ้นเรื่อยๆ จนอาจจะเรียกได้ว่า อัตโนมัติ (แต่กระผมก็ยังไม่แน่ใจว่าจะใช่ มหาสติตามพระธรรมหรือไม่)


    เมื่อเริ่มทันเห็นการยึดติดถือมั่นในตน เมื่อถูกกระทบ จิตบังเกิดโทสะ แล้วจิตเข้าไปยึดเอาโทสะนั้นอีกที

    สภาวะนี้จากที่กระผมเห็นมาจากประสบการณ์ จึงพอจะเข้าใจได้ว่า ไม่ใช่แค่เพียงจิตเกิดอารมณ์โกรธหรือโทสะแค่นั้น แต่จิตไปยึดเอาโทสะนั้นมาเป็นตัวตนอีกที จิตจึงเป็นโทสะ


    กระผมเคยได้ยินทางภพภูมิอื่นเล่าให้ฟังว่า ผู้ที่จะไปเกิดเป็นเปรตนั้น ไม่ใช่จะเป็นง่ายๆ ต้องเป็นจิตเฉพาะ ซึ่งตอนนั้นก็ยังไม่เข้าใจอะไร ว่าเฉพาะยังไง

    แต่มาเข้าใจได้ทีหลังแล้วว่า ไม่ใช่กรรมที่ใครบันดาลหรือสาปให้เป็น แต่เป็นจิตที่เกิดความโลภและเห็นแก่ตัว จนจิตเป็นเปรต จิตของเปรตจึงมีลักษณะที่เล็กไม่กว้าง และคับแคบ เพราะความเห็นแก่ตัวและความโลภ

    ภพภูมิอื่นก็เช่นกัน เพราะจิตเป็นเช่นนั้นเอง จึงไปเกิดเป็นอย่างนั้นเอง


    สติและสมาธิจึงสำคัญดังนี้ สติทำให้รู้ว่าอะไรเกิดขึ้นมากระทบจิต และสมาธิทำให้จิตตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว เป็นกลาง (เมื่ออยู่ในสภาวะนี้ แล้วแต่จะเลือกกระทำต่อไปว่าจะไปทางไหนดี ยังกระทำโดยมีความยึดติดถือมั่นอยู่) จนไปสู่ความสงบ แล้วจึงเกิดปัญญา จากสภาวะธรรมต่างๆที่เข้ามาให้เรารู้ (สภาวะนี้จึงได้รู้ในสัจธรรม คลายความยึดติดถือมั่นไปเรื่อยๆเอง)


    และไม่ว่าสภาวะธรรมใดจากภายนอก เราสามารถดูให้เห็นเข้าไปถึงภายในได้ทั้งหมด หรือดูจากหยาบเข้าไปสู่ความละเอียด แม้จะเป็นกิเลส แม้จะเป็นความคิด แม้จะเป็นสิ่งที่กระทบทางอายตนะทั้ง 6


    นอกเรื่องไปเยอะ ต้องขออภัย


    สุดท้ายนี้ขออย่าได้เชื่อถือหรือยึดมั่นในสิ่งใดที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไปเลย


    ขอให้เจริญในธรรมทุกท่านครับ
     
  15. pinit417

    pinit417 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มีนาคม 2016
    โพสต์:
    189
    ค่าพลัง:
    +164
    เยี่ยมเลยครับ...
    ที่คุณ Supop กล่าวถึงคือมีสติระลึกได้ตอนที่มีความโกรธพอดี... แล้วถ้าคุณ Supop มีสติตั้งไว้ก่อนที่จะมีอะไรมากระทบทำให้โกรธนี่ คุณ Supop รู้สึกยังไงครับ..
    ขอทราบสภาวะธรรมช่วงนั้นด้วยครับ จะเอามาเทียบเคียงของตนเองครับ
     
  16. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,567
    ค่าพลัง:
    +9,957
    +++ คุณ Supop ลองทำตรงนี้ดูนะ ไม่ถึง 1 นาทีหรอก สำหรับคุณ

    +++ 1. กำหนด "เข้าสติ" ที่คุณคุันเคย สัก 10 วินาที แล้ว "ถอน" ออกมาเฉย ๆ (ตรงนี้ คือ การทำจนเกิดความชำนาญ ก็จะเริ่มมีสติได้บ่อยครั้งขึ้น และไวมากขึ้น ของคุณ)
    +++ 2. จากนั้น "กำหนดสติ" อีกครั้ง คุณจะทราบได้เองว่า "การกำหนดของจิต เพื่อเข้าสู่สตินั้น ถูกรู้อยู่ก่อนแล้ว" เพราะมัน "รู้อยู่แล้ว" ส่วนจะ "ตาม" การกำหนดนั้นหรือไม่ ย่อมขึ้นกับ นักปฏิบัติ

    +++ ทั้ง 2 ข้อนั้น เป็นเรื่องของ "สติ" ทั้งสิ้น ข้อ 1 เกิดจากการกำหนด ส่วนข้อ 2 เป็น "สติ" ที่มีอยู่แล้ว และ "รู้จัก การกำหนดจิต ทุกชนิด"
    +++ คุณ Supop ลองทำดูนะ ไม่เกิน 1 นาที แน่นอน แล้วลองพิจารณาว่า ข้อไหนใกล้กับ "มหาสติตามพระธรรม" มากกว่ากัน

    +++ ขอให้ เจริญในธรรม นะครับ
     
  17. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    ธรรมะ ของพระพุทธเจ้า
    หากปฏิบัติตาม ไม่จำกัดกาลครับ

    ไม่ว่าภิกษุที่บวชเพื่อมุ่งตรงนิพพานหรือฆราวาส ที่มุ่งตรงนิพพาน

    ย่อม เดินทางเดียวกันครับ คือสติปัฏฐาน

    สำหรับ วินัย ก็จำแนกตามเพศสถานะ
    หากไม่มี วินัยแล้ว ความสวยงามก็จะไม่เกิดขึ้นแก่หมู่คณะบริษัท4

    ภิกษุบวชเพื่อมุ่งตรงนิพพาน ก็มี วินัยในการฝึก
    ฆราวาสที่มุ่งตรงนิพพานก็มีวินัยในการฝึก

    และอีกอย่านึง มันบังคับกันไม่ได้ ไม่มีใครอุ้มใครเข้านิพพานได้
    หากตัวเราเองไม่ทำเอง
    หากเราไม่ฝึก ฝืน นิสัย ตัวเองเพื่อพัฒนาไปในทางที่พ้นทุกข์
    ก็ไม่มีใครจะมาช่วยได้เช่นกันครับ

    คำสอนพระพุทธเจ้า เมตตาแล้ว กรุณาแล้ว มุฑิตาแล้ว จบลงที่อุเบกขาครับ
    ธรรมไม่มีข้อแม้ มรรคไม่มีข้ออ้าง
     
  18. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    คุยได้ครับ อย่าซีเรียส


    คำสอนมีหลายหมวด

    พระอภิธรรมปิฏก ท่านแจกแจง สภาวะธรรมบัญญัติ ชื่อเรียก

    พระสุตตันปิฏก
    เป็นเรื่องเล่าจากการสดับของพระอานนท์ที่ได้ยินได้ฟังจากพระพุทธเจ้าแล้วมาถ่ายถอด

    พระวินัยปิฏก
    เป็นบทบัญญัติ เป็นวินัยในการประพฤติ ไม่ว่าจะเป็นภิกษุ ภิกษุณี สามเณร อุบาสกอุบาสิกา
    หากไม่มีวินัยเสียแล้ว ทหารกล้าจะไม่มีความสวยงามพร้อมเพียงของกองทัพ
    ออกศึกที่ไหนก็แพ้
    เช่นเดียวกับภิกษุที่ขาดวินัยจะหาความสวยงามในหมู่คณะไม่มี ศึกนอกศึกในก็จะแพ้ตลอด
     
  19. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,083
    ค่าพลัง:
    +3,024
    คุยกันเรื่อง การปฏิบัติของตน ดีกว่าครับ

    อย่า เอา พระธรรม มาวิจารณ์กันเลยนะครับ..ไม่สมควร เราไม่มีหน้าที่นั้นครับ...
     
  20. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    ขอบคุณครับ ไม่ซีเรียสครับ :D
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...