อาการของอุเพงคาปีติ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย saturday_rainy, 5 กันยายน 2010.

  1. saturday_rainy

    saturday_rainy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2009
    โพสต์:
    335
    ค่าพลัง:
    +957
    นักปฎิบัติหลายท่านคงผ่านพบมาหลายรูปแบบมาแล้ว แต่โดยมากไม่ได้คุยกันในเรื่องรายละเอียด
    รูปแบบที่สงสัยคืออาการตัวลอยสูงขึ้นไป บางครั้งสูงติดฝ้าเพดานมั่ง
    แต่บางครั้งสูงประมาณระยะไม่ได้ แต่ความเร็วของการพุ่งเร็วยิ่งกว่า lift ตึกใบหยกเสียอีก แต่ในส่วนนี้ไม่ได้ทำให้ผมสงสัยมากเท่ากับ
    เวลาที่เกิดอาการหมุนเป็นลูกข่างนรก เมื่อกำหนดขณะนอน ขามันจะไปฟาดกับผนังห้องด้วย บางครั้งเวลาเอาพัดลม มาใกล้มันเตะเอาด้วย
    บางท่านอาจบอก ก็ดูเฉยๆสิ มันจะเป็นยังไงก็รู้ เป็นเวทนา
    แต่มันเจ็บจริงสิครับ แถมไม่ได้มารอบเดียว เลยดูเฉยๆไม่ได้
    แล้วถ้าเป็นท่านนักปฏิบัติเวลาเจอแบบนี้ ท่านมีวิธีจัดการมันยังไง หรือคำอธิบายเพื่อเข้าใจสภาวะนี้ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ก็อนุโมทนาครับ
     
  2. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    อาการปิติเป็นอาการที่ถามกันมาก.....ซึ่งผู้ปฏิบัติมักจะข้องใจเมื่อเกิดอาการนี้....
    <O:p</O:p
    <TABLE style="WIDTH: 45%; mso-cellspacing: 1.5pt; mso-yfti-tbllook: 1184" class=MsoNormalTable border=1 cellPadding=0 width="45%"><TBODY><TR style="mso-yfti-irow: 0; mso-yfti-firstrow: yes; mso-yfti-lastrow: yes"><TD style="BORDER-BOTTOM: #f0f0f0; BORDER-LEFT: #f0f0f0; PADDING-BOTTOM: 0.75pt; BACKGROUND-COLOR: transparent; PADDING-LEFT: 0.75pt; PADDING-RIGHT: 0.75pt; BORDER-TOP: #f0f0f0; BORDER-RIGHT: #f0f0f0; PADDING-TOP: 0.75pt">อาการและอารมณ์ของอุปจารสมาธิ<O:p</O:p
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    <O:p</O:p

    อาการของอุปจารสมาธิคือปีติได้แก่อารมณ์ความอิ่มใจเมื่อทำมาถึงตอนนี้อารมณ์
    จะชุ่มชื่นมาก อารมณ์สะอาดเยือกเย็น มีความเป็นสุขอย่างยอดเยี่ยมไม่เคยพบความสุข
    อย่างนี้มาก่อนเลยในชีวิตตอนนี้เวลาภาวนาลมหายใจจะเบากว่าปกติมาก อารมณ์เป็นสุข
    ร่างกายของนักปฏิบัติที่เข้าถึงระดับนี้ผิวหนังจะนวลขึ้นเพราะอารมณ์ที่มีความสุขแต่อาการ
    ทางร่างกายนี่สิที่ทำให้นักปฏิบัติตกใจกันมากนั่นก็คือ
    ๑.อาการขนลุกซู่ซ่าเมื่อเกิดอาการอย่างนี้หรืออย่างอื่นที่กล่าวถึงต่อไปจะมีอารมณ์
    ใจเป็นสุขขอให้ทุกท่านปล่อยอาการอย่างนั้นไปตามสภาพของร่างกาย จงอย่าสนใจเมื่อสมาธิ
    สูงขึ้นหรือลดตัวลงต่ำกว่านั้น อาการอย่างนั้นก็จะหมดไปเองอาการขนลุกพองถ้ามีขึ้นพึงควร
    ภูมิใจว่าเราเข้าถึงอาการของปีติระดับหนึ่งแล้ว อย่ากังวลอาการของร่างกาย
    ๒. อาการของปีติขั้นที่ ๒ได้แก่อาการน้ำตาไหล
    ๓.อาการของปีติขั้นที่ ๓คือร่างกายโยกโคลงโยกไปข้างหน้าบ้างข้างหลังบ้าง
    บางคราวโยกแรง จนศีรษะใกล้ถึงพื้น
    ๔.อาการของปีติขั้นที่ ๔ตามตำราท่านว่าตัวลอยขึ้นบนอากาศแต่ผลของการปฏิบัติ
    ไม่แน่นัก บางรายก็เต้นเหมือนปลุกตัว บางรายก็ตัวลอยขึ้นบนอากาศเมื่อลอยไปแล้ว ถ้าสมาธิ
    คลายตัวก็กลับมาที่เดิมเอง(อย่าตกใจ)
    ๕. อาการของปีติขั้นที่ ๕คือมีอาการแผ่ซ่านในร่างกายซู่ซ่าเหมือนมีลมไหลออก
    ในที่สุดเหมือนตัวใหญ่และสูงขึ้นหน้าใหญ่แล้วมีอาการเหมือนลมไหลออกจากกายในที่สุด
    ก็มีความรู้สึกว่าตัวหายไปเหลือแต่ท่อนหัว
    อาการทั้งหมดนี้ เมื่อเกิดขึ้นอารมณ์ใจจะมีความสุข ฉะนั้นนักปฏิบัติให้ถืออารมณ์ใจ
    เป็นสำคัญอย่าตกใจในอาการตามที่กล่าวมาแล้วนั้นพอสมาธิสูงถึงระดับฌานก็จะสลายตัว
    ไปเองปีตินี้เมื่อเกิดขึ้นแล้วอารมณ์จะเป็นสุขคือถึงระดับที่สี่ ที่จะเข้าถึงปฐมฌาน ต่อไปก็
    เป็นปฐมฌานเพราะอยู่ชิดกัน
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    **************************************************<O:p</O:p

    เข้าศึกษาได้ตั่งแต่เริ่มต้น...ทั้งหมด....ได้ที่นี่....หนังสือเล่มนี้เนื้อหาเพียงพอสำหรับผู้ที่จะปฏิบัติด้วยตนเอง....รวบรวมวิธี...และอาการทางสมาธิ...ทั้งหมด....ควรศึกษาให้เข้าใจสัก 1 รอบ(ไม่ยาวนัก)แล้วปฏิบัติได้เลย....คำถามทางสมาธิส่วนใหญ่ที่ถามในบอร์ดมักอยู่ที่นี่.......

    วิธีฝึกกรรมฐานด้วยตนเองแบบง่ายๆ....โดยหลวงพ่อฤาษีลิงดำ...

    http://www.palungjit.org/smati/books/index.php?cat=7 <O:p</O:p
     
  3. talkthumma

    talkthumma Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2010
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +32
    เพราะจับกับปิติมากเกินไป
    พอปิติเกิดก้ไห้รู้ว่านี้เป็นปิติ ปิติเกิดแล้ว ก้ปล่อยมันไปอย่าไปสนใจสนใจนิมิตรหรือสิ่งที่เรากำหนดต่อไปไม่ใช่ย้ายไปกำหนดปิติ
    เมื่อเราไม่สนใจมันแล้วมันก้หายไปเอง แต่หากจับอยู่ที่มันอาการก้จะยิ่งรุนแรงขึ้น
     
  4. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,903
    ค่าพลัง:
    +7,316
    เนื่องจากไม่มีประสบการณ์ แต่ชอบสอดรู้ ก็เลยไปอาศัยอากูเกิล ช่วยคลายสงสัย
    ก็ไปได้คำตอบหนึ่ง ไม่รู้จะถูกใจท่าน จขกท. หรือเปล่านะ แต่ที่แน่ๆ คำตอบนี้โดนใจเรามาก

    ๗. กายกรรมบนเก้าอี้

    อาตมาติดนิสัยชอบการห้อยโหนโยนตัวมาตั้งแต่เด็ก ขนาดขึ้นไปเล่นไล่จับกับพี่ ๆ น้อง ๆ บนยอดไม้เป็นประจำ ทำไมไม่ตกลงมาคอหักตายซะตั้งแต่ตอนนั้นก็ไม่รู้ อาจเป็นเพราะเคยเกิดเป็นลิงมาหลายชาติก็เป็นได้... โตขึ้นมาหน่อยก็เป็นแฟนหนังทาร์ซาน ติดใจนายจอห์นนี่ ไวท์สมุลเล่อร์เป็นที่สุด แล้วมาเป็นแฟนยอดหญิงยิมนาสติคนาเดีย โคมานิซี่ มีการถ่ายทอดยิมนาสติคทีไร แทบต้องเอารถขุดมาขุดตัวจากหน้าจอทีวีเลยล่ะ... ความบันเทิงประเภทเดียวที่สามารถควักเงินจากกระเป๋าอาตมาได้ คือพวกกายกรรม หรือละครสัตว์อย่างอเมริกันเซอร์คัส นั้นอยากดูแต่ไม่ได้ดู เพราะบวชมาหลายพรรษาแล้ว ขืนแหกคอกไปดู มีหวังถูกขับออกจากวัดเป็นแน่แท้...

    เมื่อมาฝึกกรรมฐานตามแนวของหลวงพ่อ จะด้วยเป็นวิสัยเก่า ๆ ที่ชอบหกคะเมนตีลังกาหรือเปล่าก็ไม่ทราบ ทำให้อาตมาต้องมาเล่นกายกรรมซะเอง เป็นการเล่นที่เป็นเองโดยไม่ต้องมาเสียเวลาหัดซะด้วยซิ... ปกติอาตมาใช้คำภาวนาว่า "พุทโธ" ซึ่งหลวงพ่อแนะนำว่าเป็นคำภาวนาที่ง่าย และมีผลใหญ่ถึงพระนิพพาน พอมีเวลาว่างจากงานประจำ อาตมาจะฉวยโอกาสภาวนาทันที โดยไม่ยอมหายใจทิ้งเปล่า ๆ อย่างเด็ดขาด...

    การภาวนาของอาตมานั้นแบ่งออกเป็นวันละสามเวลาคือ เช้ามืดตื่นตีสาม ออกกำลังกายแล้วอาบน้ำอาบท่า สวดมนต์นิดหน่อย อ่านกรรมฐาน ๔๐ วันละบท พออารมณ์ทรงตัวก็จับคำภาวนา จนหกโมงเช้าถึงเริ่มทำงาน... รอบกลางวันพักเที่ยง เสียเวลาไปกับการกิน ๑๕ นาทีแล้วมุดเข้าไปใต้ท้องรถ จับอารมณ์ภาวนาในอนุสติ ๑๐ ประการ เริ่มจากอานาปานุสติที่เป็นแม่บทใหญ่ คือนึกถึงลมหายใจ เข้า ออก จนกระทั่งอารมณ์ทรงตัว... แล้วใคร่ครวญถึงความดีอันหาประมาณไม่ได้ของพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ทั้งหลาย เรื่อยไปถึงความดีของเทวดา ว่าต้องทรงความดีเช่นไรจึงสามารถเกิดเป็นเทวดา เป็นพรหม เป็นพระอรหันต์ วิสุทธิเทพได้... จากนั้นตรึกตรองถึงอานิสงส์ใหญ่ของการบริจาคให้ทาน และการรักษาศีล คิดถึงสภาพร่างกายที่มีแต่ความสกปรกโสโครก ไม่น่ารักน่าใคร่ ถ้าตายจากมันไปตอนนี้ เราขอไปพระนิพพาน จิตเกาะนิพพานเป็นจุดสุดท้าย... การภาวนาช่วงนี้มีเวลาแค่ ๔๕ นาที อารมณ์บางทีแนบแน่นจนแทบไม่อยากลุกไปทำงานเลย แต่ก็ไม่อาจจะอู้ได้ เพราะชักช้าแม้นาทีเดียว ตีนหนัก ๆ จะลอยมากระทบจนหลุดจากการภาวนาไปเอง...!

    รอบค่ำร่างกายเหนื่อยมากแล้ว หลังจากบริหารร่างกาย อาบน้ำกินข้าวเรียบร้อยก็กราบพระ คิดตามที่หลวงพ่อสอนว่า เราอาจจะตายตั้งแต่คืนนี้โดยไม่ได้เห็นวันใหม่ก็ได้ ถ้าเราตาย เราขอไปนิพพานแห่งเดียว... แล้วนึกถึงพุทโธ หงายหลังไม่ทันแตะพื้นก็หลับคร่อกไปเลย แต่ละวันภาวนาได้ไม่สมใจอยาก ต้องมาเพิ่มการภาวนาในวันหยุด คือวันอาทิตย์ ซึ่งการภาวนาในวันหยุดนี้เอง ที่อาตมาต้องเล่นกายกรรมอยู่เป็นนาน...

    อาตมานั่งภาวนาอยู่ที่โต๊ะบัญชี ครู่หนึ่งก็เห็นแสงสว่างแพรวพราวยังกับเพชรลอยอยู่ข้างหน้า (หลับตาเห็น) แสงสว่างนั้นมีแรงดึงดูดมหาศาล อาตมาต้านไม่อยู่ ถูกดูดจนสภาพร่างกายตัวเองก้มลงหน้าติดกับโต๊ะไปเลย... แสงนั้นยังคงดูดต่อไป จนหน้ากดลงบนมือที่วางราบบนโต๊ะ แรงกดหนักจนปวดมือเหมือนกระดูกจะแตก จึงเลิกการภาวนาถอนจิตคืนมา อาการก็หายไป ภาวนาใหม่เมื่อไรก็เป็นใหม่อีก... พอขยับเก้าอี้ห่างโต๊ะมาก ๆ มันดูดจนศรีษะติดกับปลายเท้า งอก่องอขิงไปเลย พอคิดว่าจะดูดไปถึงไหนวะ...? มันก็เปลี่ยนจากดูดเป็นผลักออกตัว ค่อย ๆ ยืดตรง แล้วหงายไปทีละน้อย จนศีรษะติดพื้นดิน...! ก้นอยู่บนเก้าอี้กลม ศีรษะกับเท้าติดพื้นอยู่คนละด้าน เป็นการติดท่าสะพานโค้งของยิมนาสติค บางทีติดอยู่เป็นครึ่ง ๆ ชั่วโมง บางทีก็ดิ้นตูมตาม ตกเก้าอี้ไปกองแอ้งแม้งกับพื้นก็บ่อยไป...

    แม้ร่างกายมันจะอาละวาดขนาดไหน จิตมันก็เป็นสุขแนบแน่นกับการภาวนา เป็นอยู่นานนับเดือนกว่าอาการต่าง ๆ จะหมดไป อาตมาทราบภายหลังว่าเป็น ๑ ในปิติทั้ง ๕ ชื่อว่า อุเพ็งคาปิติ ถ้าท่านผู้อ่านภาวนาแล้วเป็นแบบนี้ จงอย่ากลัว อย่าตกใจ ให้ภาวนาไปเรื่อย ๆ ไม่นานอาการต่าง ๆ ก็จะหมดไปเอง บางคนกลัวจนไม่กล้าภาวนา ทำให้ทิ้งความดีไปอย่างน่าเสียดาย....

    ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๓
    พระเล็ก สุธมฺมปญฺโญ

    ʹյ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กันยายน 2010
  5. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,979
    ค่าพลัง:
    +3,259
    อยากจัดการจริงหรือเปล่า

    หากไม่อยากจัดการ ก็ว่าไปตามพระท่าน ท่านให้ลุย ก็ลองลุยต่อ

    แต่ถ้า หากอยากจัดการ อันนี้ คือ ถามหา ปัญญา ก็แปลว่า จะใช้
    ปัญญาสิกขาเข้าไปบริหารอย่างไร เข้าไประงับอย่างไร ก็มีวิธีง่ายๆคือ

    1. แยกออกให้มันเป็น ขันธ์ เป็น กอง ที่ไม่เกี่ยวกับเรา เสียก่อน

    2. พอแยกออกเห็นเป็น กองขันธ์ชนิดหนึ่ง ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของๆเรา
    เดี๋ยวมันก็มา เดี๋ยวมันก็ไป จะไปจะมาก็เนื่องจากทำเหตุ ตอนไม่ทำเหตุ
    ก็ไม่มา ตอนไม่เจตนาทำเหตุกลับมา ตอนเจตนาทำเหตุบางทีไม่มา นี่
    ก็คือ เอามาแยก ขันธ์ แล้ว ตามด้วย การเล็งเห็น อุปทานขันธ์

    กล่าวคือ มันไม่ได้เกิดขึ้นทุกครั้งเสมอไป บางครั้งมันมาดูด มาดึง แต่
    กายไม่ได้หมุนตาม มันก็มี บางทีกายหมุนไปก่อน การดูดการดึงปรากฏ
    ทีหลังก็มี

    สรุปคือ ใช้ปัญญาเข้ามาพิจารณาให้มันเป็น

    1. กองขันธ์ ( เป็น ปิติ ชนิดหนึ่ง )
    2. กองขันธ์นั้นมีอุปทานขันธ์ร่วมด้วยจึงบังเกิด ( เล็งเห็น อุปทานขันธ์ )

    พอวิจัยได้ว่า มันเป็น อาการปิติอย่างหนึ่ง(กองหนึ่ง) และมันจะแสดงผล
    ไม่ใช่ทุกครั้งเสมอไป(เกิดเฉพาะมีอุปทานขันธ์ร่วมด้วย) จิตจะผลิกมาเห็น
    คุณ และ โทษ คือ มันมีทั้งคุณ และมีทั้งโทษ หลังจากนั้น จิตคุณจะ
    ถามหาอุบายนำออก ซึ่งก็แค่ปล่อยตรงส่วน อุปทานขันธ์ออกไป จังหวะ
    ไหนเกิดโดยไม่มีอุปทานขันธ์ร่วมด้วยมันก็เป็นคุณ หากจังหวะไหนเกิดแล้ว
    มีขันธ์5เกิดร่วมด้วยมันก็เป็นโทษ พอเห็นทั้งคุณและโทษด้วยการเล็งเห็น
    อุปทานขันธ์มีหรือไม่มี ก็เห็นอุปทานขันธ์มันเกิดดับ(ตัวปัญญามาละ)

    คราวนี้ก็จะบริหารเป็นหละ ...

    พอบริหารเป็นนะ คราวนี้น้อมมันไปรวมๆ อยู่ที่เดียวกันได้ ไปรวมไว้ที่
    ฐานได้ พอรวมไว้ที่ฐานได้นะ เรื่องสัดส่ายของสรรพรางกายจะไม่มีแล้ว
    เหลือแต่ใจ แล้วเน้นที่ใจให้มี ให้หนัก หลังจากนั้นค่อยน้อมกายเข้ามา
    ร่วมอีกที ....ที่เหลือ...ไปดูเอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กันยายน 2010
  6. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,075
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ปิติ?เจตสิกธรรมที่ยังกายและจิตใจให้อิ่มเต็มมีประเภท ๕ คือ


    (๑)?ขุททกาปิติ?กายและจิตอิ่มจนขนพองชูชันทำให้น้ำตาไหล
    (๒)?ขณิกาปิติ?กายและจิตอิ่มมีแสงสว่างดังฟ้าแลบปรากฎในจักษุทวาร
    (๓)?โอกกนติกาปิติ?กายและจิตอิ่ม ปรากฏดั่งคลื่นและละลอกทำให้ไหวให้สั่น
    (๔)?อุพเพงคาปิติ?กายและจิตอิ่มและกายเบาเลื่อนลอยไปได้
    (๕)?ผรณาปิติ?กายและจิตอิ่ม เย็นสบายซาบซ่านทั่วสรรพางค์กาย

    http://www.watpanonvivek.com/index....-07&catid=39:2010-03-02-03-51-18&limitstart=1
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กันยายน 2010
  7. saturday_rainy

    saturday_rainy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2009
    โพสต์:
    335
    ค่าพลัง:
    +957
    ขอบคุณสำหรับคำแนะนำและการช่วยเหลือครับ อาการที่เกิดกับผมนี้เกิดมาหลายหนจนผมไม่ได้สนใจจะนับแล้ว แต่ครั้งหลังๆมันหวดแรงผิดปกติ เลยต้องตั้งคำถาม
    บางทีอาจเป็นเพราะผมเคยฝึกแบบจาพนม มาแต่ปางก่อนก็ได้ จึงผาดโผนแบบไม่พึ่งสลิง ไม่มีตัวแสดงแทน
    ส่วนอาการหลังจากนี้จะสงบครับ เพียงแค่เราดูมันเฉยๆ จะหลับตาก็ได้ หรือดูเอาสนุกๆก็ได้ สภาวะหลังจากนั้นจะเป็นไปตามที่คุณ phanudet บอก
    สำหรับคุณเอกวีร์ คำตอบของท่านผมขอน้อมรับนำไปปฎิบัติครับ อนุโมทนา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กันยายน 2010

แชร์หน้านี้

Loading...