Share this album with your friends.

จาก http://www.luangporngoen.com/index.php?topic=438.0 ก่อนอื่นต้องขอบอกก่อนว่า ผมไม่ใช่เซียนพระเป็นเพียงผู้นิยมสะสมพระเครื่องเท่านั้น สำหรับหลักการดูที่จะเสนอแนะนี้ ก็ศึกษามานานพอสมควร จากผู้รู้และศึกษาดูจากของตนเองที่มีอยู่บ้าง..ผมจะไม่พูดถึงพิมพ์เพราะมี ให้ดูอยู่แล้วมากมาย แต่จะพูดเฉพาะที่เซียนไม่ยอมกล่าวถึงเท่านั้น.. 1. เนื่องจากพระหลวงพ่อเงินเป็นพระหล่อโบราณ และบางพิมพ์เป็นเบ้าทุบ ฉะนั้นจะไม่มีพระองค์ใดที่เหมือนกันทุกประการ ถ้ามีก็ต้องเก๊องค์หนึ่งล่ะ ผิวพระหล่อจะต้องไม่เรียบและมีรูพรุนของฟองอากาศอยู่ทั่วไป.. 2. ผิวพระจะต้องเก่าแห้งซีด(ดูเทียบกับผิวระฆังอายุ 100 ปีขึ้นไป) จะมีสนิมเขียวเกือบดำจับแน่นมาก บางบริเวณอาจจะมีสนิมสีน้ำตาลเข้มหรือแดงปนน้ำตาลเข้มจับที่ผิว โดยสนิมนี้จะเกิดมาจากด้านในและมาจับแน่นที่ผิวอีกที สนิมเขียวเกิดจากทองเหลือง ส่วนสนิมสีน้ำตาลหรือแดงปนน้ำตาลนี้จะเกิดจากผงแร่เหล็กน้ำพี้ที่ผสมลงไป.. 3. ไม่ว่าจะมองด้านบน หรือด้านข้าง เมื่อหมุนองค์พระไปรอบๆ จะต้องเห็นศรีษะของหลวงพ่อกลมคล้ายบาตรพระคว่ำตลอดเวลา ไม่มีการเปลี่ยนรูปทรง หรืือเปลี่ยนแปลงก็น้อยมาก..จุดนี้เป็นจุดตาย.. 4. ใบหูทั้งสองข้างจะจดไหล่ จึงทำให้ดูใบหน้าหลวงพ่อยื่นออกมาคล้ายๆกับกษัตริย์ฟาโรห์ของอียิปต์ 5. ก้านช่อจะเล็กกลม(พิมพ์นิยม) และส่วนมากจะอยู่ตรงกลาง ไม่มีการตะไบข้างๆ ไม่ว่าจะเป็นพิมพ์ไหน.. 6. เนื่องจากมีการใส่ทองคำและโหละอื่นลงไปผสม จึงทำให้เนื้อพระค่อนข้างหยาบเพราะความไม่เข้ากัน จึงทำให้เห็นเกล็ดทองคำหรือเกล็ดกระดี่ทองคำตามซอกต่างๆอย่างขัดเจน หรือบางท่านเรียกว่า ทองคำลอยหรือจับที่ผิวพระ ไม่ใช่กะหลั่ยทองเพราะทองคำจะติดแน่นกับเนื้อพระ ดูองค์ของผมเป็นตัวอย่างได้ (กรณีที่ ล้างสนิมออกจะเห็นชัดเจนที่สุด) และเกล็ดผงแร่เหล็กน้ำพี้บนองค์พระเป็นจุดๆ.. 7. ถ้าใครได้เคยเห็นภาพถ่ายรูปหล่อหลวงพ่อเงินยุคเก่าๆ เช่น องค์แชมป์ของกำนันวิรัตน์ จะเห็นว่า ผิวพระหลวงพ่อเงินไม่ได้เรียบเหมือนที่โชว์กันอยู่ตามเวป อาจจะเป็นเพราะ มีโลหะผสมหลายอย่าง และไฟที่ใช้หลอมไม่สูงเหมือนปัจจุบันที่ใช้แก๊ส..องค์ของผมก็ใช้ดูเป็นตัวอย่างได้เฃ่นกัน 8. ถ้าส่องดูแล้วเห็นเนื้อพระเป็นมันวาว ก็แสดงว่าเป็นพระหล่อใหม่ ถ้าพระสึกยิ่งดูง่ายถ้ามองเห็นเป็นเนื้อทองเหลืองก็เรียบร้อย จะต้อง

Loading...