ฝึกทำความรู้ตัวมาสองปี จนเกิดสภาวะนี้เรียกว่าฌานมั้ยครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย captain9, 6 กันยายน 2018.

  1. captain9

    captain9 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2018
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +6
    ผมฝึกสติโดยการรู้ตัว ในการเคลื่อน การเดิน การหายใจออกและเข้า การมอง การเหลียว ในอริยบทต่างๆ ทำมาเรื่อยๆ จากหลงนานๆกว่าจะรู้ตัวที จนรู้ตัวได้บ่อยขึ้นๆ จนเข้าปีที่สอง พอรู้ตัวปุ๊บ อารมณ์ความปรุงแต่งดับสนิท มีแต่สติรู้ตัวอย่างเดียวครับ ผมก็ทำต่อไปเรื่อยๆ พอจะกระทบอารมณ์ปุ๊บก็มีสติรู้ตัวปั๊บตามมาทันที อารมณ์จะเกิดๆมันก็ดับไปทันที และผมสังเกตว่าอารมณ์มันดับได้นานเท่าไหรก็ได้ ตราบที่ผมยังมีสติรู้ตัวอยู่ ไม่มีความรู้สึกดี หรือ ไม่ดี มีแต่รู้ คือรู้ตัว หรือรู้ทุกอย่างได้อย่างเสมอกัน มันเหมือนรู้แต่สิ่งที่ถูกรู้ไม่ได้มีความหมาย มีแต่รู้ตัวอย่างเดียว คือรู้เฉยๆ อาการแบบนี้เรียกว่าฌานมั้ยครับ ขอขอบคุณเพื่อนๆพี่ๆที่เข้ามาตอบด้วยนะครับ ที่เล่ามาเป็นประสบการณ์ฝึกจากการอ่านและทำตามที่อ่าน โดยไม่มีครูบาร์อาจารย์สอน หรือ ชี้แนะ จึงทำให้ไม่รู้ว่ามันคืออะไร แต่ก็จะฝึกรู้สึกตัวต่อไปเรื่อยๆครับ กราบขอบคุณผู้ชี้แนะและให้ความรู้ความเมตตาครับ สาธุ สาธุ สาธุ
     
  2. hastin

    hastin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,115
    ค่าพลัง:
    +3,085
    ก็เป็นสมาธิก่อนฌานครับ บ้างก็เรียก อุปจาร
    แบบนี้มันจะเป็นการใช้สมาธิเพื่อกดข่มกิเลส เวลาสมาธิหมดฟุ้งกว่าปกติไปอีก
    หาตำราอ่านมากๆครับ ช่วงแรกอ่านเล่มเล็กๆก่อนก็ได้ พุทธสุภาษิต มงคลชีวิต
    วิสุทธิมรรค โดยเฉพาะ สติปัฏฐาน 4 ต้องรีบเรียนก่อนเลย จะได้เข้าใจแนวทางเบื้องต้น

    กาย เวทนา จิต ธรรม เรียนรู้พร้อมกันจริง
    แต่เวลาไปดูข้อสอบ สอบกันที่ สังโยชน์
    ข้อ 1 เน้นไปที่หมวดกายก่อน เราก็ต้อง พยยามปฎิบัต กายคตาสติ อสุภะ มรณานุสติ เพื่อลดความยึดมั่นก่อนเลย

    เรื่องของจิต ไปเน้นที่สังโยชน์ 4 และ 5 ซึ่งจะเน้นที่การ ดู รู้ คิด สรุป วาง โดยไม่มีความพอใจ หรือ ไม่พอใจ แต่ถ้าชอบก็ทำไปก่อนก็ได้

    แต่เบื้องต้นควรเน้นไปที่ สังโยชน์ข้อ 1 เพราะในการปฎิบัติในระดับสูงขึ้น จะต้องใช้สติ สมาธิ ปัญญา ที่สูงขึ้นตามลำดับขั้น

    ถ้าไปสู้สังโยชน์ 4/5 เลย อาจจะไม่ไปไหน เพราะกำลังอาจไม่พอสู้
     
  3. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,567
    ค่าพลัง:
    +9,957
    +++ อาการที่ "สติมีเสถียรภาพ เรียกว่า ดำรงค์สติมั่น"
    +++ อาการ "สิ่งที่ถูกรู้ไม่ได้มีความหมาย" นั่นคือ "อาการ ไม่ยึด"
    +++ อาการของ "ฌาน (ชาน)" คืออาการของ "ธัมมารมณ์" ที่มีความ เสถียรภาพ
    +++ ยามใดที่ "จิตอยู่ใน ธัมมารมณ์เดี่ยว ธัมมารมณ์เดียว" ยามนั้นเรียกว่า "จิตทรงฌาน (รู้สึกจิต)"

    +++ แต่ของคุณ เป็น "จิตทรงสติ" ซึ่งเป็นลักษณะของ "ญาณ (ยาน)(รู้)"
    +++ คำแนะนำเบื้องต้น คือ "อยู่กับ รู้" ไปเรื่อย ๆ จนกว่าอาการ

    1. "กายที่ถูก "รู้" ไม่มีความหมาย" เป็น กายานุปัสสนา แยกออกจาก สติ
    2. "กายที่ถูก "รู้สึก" ไม่มีความหมาย" เวทนานุปัสสนา แยกออกจาก สติ
    3. "จิต (ความปรุงแต่ง) ที่ถูก "รู้" ไม่มีความหมาย" จิตตานุปัสสนา แยกออกจาก สติ
    4. "อารมณ์ (ความรู้สึกจิต) ที่ถูก "รู้สึก" ไม่มีความหมาย" ธัมมานุปัสสนา แยกออกจาก สติ

    +++ เมื่อ "สติ" แยกออกจาก "ฐานทั้ง 4" และสามารถ "ตั้งอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง" แล้ว จึงเป็น "มหาสติ ที่เป็น ปัฏฐาน" ด้วยตัวมันเอง

    +++ จากนั้นให้สังเกตุถึงอาการที่ "การกำหนดจิตทุกชนิด ถูกรู้" โดยการ รู้ นั้น "จะมีอาการเกิด/ดับ ในตัวมันเอง" ตรงนี้เรียก "กิริยาจิต"

    +++ จากนั้นให้หมั่น สังเกตุอาการต่าง ๆ ที่เข้ามา "บดบังมหาสติ (จิต)" จนชัดเจนได้ในตนเองว่า "สิ่งที่เข้ามาบดบังนั้นมี เกิด/ดับ เสมอ"

    +++ แต่อาการของ "มหาสติ" นั่นเอง ที่เป็นสภาวะที่ "เกิดมานานแล้ว แต่โดนสภาวะอื่นต่างหาก เข้ามาบดบัง" และไม่มีอาการ "เกิด/ดับ"

    +++ และให้ "สำรวจ รู้" ด้วยตนเองว่า "สภาวะของ มหาสติ นั้น" พ้นจากอาการ "เกิด แก่ เจ็บ ตาย รวมทั้ง ทุกข์" ด้วยหรือไม่

    +++ ขอตอบแต่เพียง "คร่าว ๆ" แค่นี้ก่อน นะครับ
     
  4. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,801
    ค่าพลัง:
    +7,939
    จขกท สำรวจ ตามความเป็นจริงเข้ามา ตรงๆ

    รู้ได้ขนาดนี้ ทำไม ยังต้อง มาตั้งกระทู้ ........

    ยิ่งภาวนายิ่งรู้ ยิ่ง งง ว่า รู้อะไร !! แล้ว ไงต่อ

    นะ

    หาก กำหนดรู้ สภาวะรู้ ที่กำลังรู้อยู่ว่า รู้แบบนี้ ยิ่งรู้ยิ่ง งง
    ยิ่งมืดแปดด้าน ต้องถามผู้อื่น แล้วไงต่อ

    ให้ สำรวจเข้ามา ยกขึ้นกำหนดรู้ รู้ซื่อๆ ไม่ต้องตำหนิ

    พอ รู้ชัด สภาวะ รู้ ที่เป็นอยู่ ทั่วถึงแล้ว ให้ พึงทราบว่า ขาด สัมปชัญญะ 1000%

    รู้แค่นี้แหละ

    พอ ภาวนาแล้ว มันรู้ทั้งตัว รู้ไปหมด รู้แต่ยัง ถามแล้วไงต่อ ให้
    กำหนดรู้สภาวะนั้นๆ ที่กำลังปรากฏ ซื่อๆว่า ไม่มีสัมปชัญญะ

    แล้ว ยังไงต่อ

    ขยับเนื้อ ขยับตัว ปรกติ นี่แหละ ต่อ แล้ว รู้ลงเป็น ไตรลักษณ์
    ไม่ใช่รู้แล้วโน้น นั่นนี่ เที่ยง

    แม้น สภาวะ ตัวรู้ ที่เด่นดวง นั้น ก็ต้องไม่เที่ยงด้วย สติเกิดดับด้วย ตัวรู้เกิดดับด้วย

    ดับเพราะอะไร

    เพราะ นมสิการ ตั้งอยู่ไม่ได้

    ทวนกระแสไป ทำไม นมสิการ ตั้งอยู่ไม่ได้ หาก การใคร่ครวญแยบคาย
    แบบนี้ไม่มี ก็รู้ไปซื่อๆ สัมปชัญญะ หายจ้อย ....

    แล้ว ไม่ต้อง ตำหนิจิต นะ .............

    ภาวนาไปเรื่อยๆ แล้ว จะ ปัดติโถ ............ง่าย ไม่ต้องทำอะไรเลย ไม่มี
    เรื่อง แล้วไงต่อ มีแต่ ตามเห็นทุกขสัจจ อนิจจัง อนัตตา ไปเรื่อยๆ
    แม้น ญาณไปเห็นทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ก็ดับด้วย สัมปชัญญะ ถึงจะสว่างไสว
    ไม่ต้องถามใคร แล้วไงต่อ
     
  5. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,425
    ค่าพลัง:
    +35,019
    อาการแบบนี้ เรียกทางกิริยาได้ว่า
    กำลังสมาธิในระดับที่เพียงพอที่จะดับ(มันได้มาจาก
    การที่เราฝึกรู้ตัวนั้นหละครับ ได้ในลักษณะสมาธิแบบเล็กๆน้อยๆ
    ที่มันสะสมกันจากความต่อเนื่องที่ได้จากการรู้ตัว
    บางคนเค้าก็นั่งสมาธิอย่างเป็นทางการร่วมด้วย
    แต่ถ้าไม่มารู้ตัวในระหว่างวันร่วมด้วย สมาธิมันก็หายไปในระหว่างวันอีก
    ดังนั้น ถ้าเรารู้ตัวในระหว่างวันได้ต่อเนื่อง ก็ถือว่า เรายังสร้างสมาธิสะสม
    เล็กๆน้อยๆของเราได้อยู่ ไม่ต้องมาเสียเวลานั่งเกร๊งกล้ามตูดให้เมื่อยครับ)
    อารมย์ต่างๆที่มันเกิดขึ้นมาได้
    และมีกำลังสติทางธรรมที่จะรู้เท่าทัน
    อารมย์ต่างๆที่เกิดขึ้นมา.......
    กำลังสมาธิตรงนี้ จะต้องมีความสัมพันธ์กับกำลังสติ
    ซึ่งตรงจุดนี้ถือว่าดี.......
    เพราะถ้าสติดีแต่กำลังสมาธิไม่พอ เรื่องที่ขึ้นมาต่างๆ
    เหล่านั้นมันก็จะยังไม่ดับนั้นเอง....
    ทำนองเดียวกัน ถ้าสมาธิดี แต่สติไม่เร็วพอ..
    เรื่องต่างๆมันก็จะเกิดไปก่อนซักระยะหนึ่ง เราถึงจะค่อยรู้ทัน
    ตรงนี้ถือว่า เป็นกิริยาปกติทั่วไป กรณีที่ สติกับสมาธิ ไม่สัมพันธ์กัน......
    และถือว่า พอมีปัญญาทางธรรมขึ้นมาบ้างแล้ว
    แต่เป็นในระดับที่จะตัดเรื่องราวที่สติระลึกได้ทัน
    และได้สมาธิสะสมมาหนุน ทำให้มันเฉยๆได้.....
    แต่ เราจะแปลกใจว่า เรื่องที่เราเคยเฉยๆได้ ตัดได้เร็วนั้น
    พอเวลาผ่านไป ทำไมเราถึงยังระลึกเรื่องนั้นขึ้นมาได้อีก...
    ตรงนี้จะบอกว่า เป็นเรื่องปกติ.....


    ที่นี้ อารมย์เฉยๆ กิริยาเฉยๆ พึ่งให้ระลึกไว้ว่า
    มันเป็น กิริยาที่มีตัวไปกระทำมันอยู่ ก็คือ
    พอสติจับเรื่องที่จะขึ้นมาได้ บวกกับสมาธิสะสม
    ที่เพียงพอที่จะข่มมันได้ มันก็จะเฉยๆอยู่อย่างนั้น....
    บวกกับปัญญาทางธรรมที่เพียงพอจะหนุนการตัด
    ที่ทำให้เราเข้าใจว่า เราเฉยๆได้ตามระดับกำลังสมาธิสะสมของเรา
    แต่มันไม่สามารถพัฒนาไปต่อได้..........ทำอย่างไรถ้าจะไปต่อ?......


    มี ๒ วิธีซึ่งควรทำร่วมกัน.....คือ ๑.วิธีการเพิ่มกำลังสติทางธรรม
    ๒.วิธีพัฒนาต่อ
    ไปทางด้านปัญญาทางธรรม

    วิธีแรก
    ๑. ถ้าเราสามารถสังเกตุได้ทัน ก่อนที่กำลังสติมันจะรู้ทันเรื่องๆหนึ่งๆและตัดไป
    อาจจะงง...จะขอยกตัวอย่างง่ายๆตั้งแต่เริ่มต้นฝึกให้ฟังดังนี้
    เช่น เมื่อก่อน นาย ก ว่าเราแบบนี้
    -กิริยาเราจะเริ่มจาก รู้สึกโกรธเลยและโต้ตอบ
    - ต่อมาได้ยินไม่โต้ตอบแต่รู้สึกโกรธ ซึ่งส่งผลต่อร่างกายให้ร้อน ให้รู้สึกหงุดหงิด
    พอเราระลึกรู้ตัวไปเรื่อยๆได้ ก็จะทันอารมย์ แต่ใช้เวลาซักพักถึงหายไป และต่อมา จะพบว่า
    - พอนาย ก ว่ามา เราจะเฉยๆ ไม่สนใจ ไม่ส่งผลให้เกิดอารมย์ใดๆเหมือนก่อน
    แต่พอเวลาผ่านไปกลับพบว่า เรากลับยังระลึกเรื่องที่ นาย ก ว่าเราได้อยู่
    และก็ปรุงไปตามเรื่องตามราว.....
    - ต่อมา หลังจากปรุงไปตามเรื่องตามราวแล้ว ด้วยที่เราฝึกรู้ตัวอยู่
    ทำให้เรา มาดับเรื่อง นาย ก ที่เราเคยระลึกขึ้นมาหลังจากที่เวลาผ่านมาระยะได้
    และเราอาจจะแปลกใจว่า ทำไมถึงระลึกเรื่อง นาย ก ได้ แต่เราก็ไม่ได้คำตอบอะไร ?
    - แต่ถ้าเป็นเรื่องอื่นๆ ที่ไม่ส่งผลตรงต่อจิตใจให้เรา โกรธ โลภ หลงเลย
    เราจะพบว่า พอเรารู้ทันปุ๊บ มันก็จะตัดปั๊บ และก็สามารถให้มันเฉยๆได้
    เท่าที่เราจะมีสติระลึกรู้อยู่(จริงๆคือ เฉยๆได้ ตามกำลังสมาธิสะสม ณ เวลานั้น)
    นี่คือ กิริยาที่มาถึง ณ ปัจจุบันนี้ ถือว่า ดีและเป็นเรื่องปกติ....

    เล่าย้อนลำดับเหตุการณ์ให้ฟังเพื่อให้เราฝึกสังเกตุ
    และ ถามว่า สังเกตุตอนไหน ถึงจะเป็นการฝึกเพิ่มกำลังสติทางธรรมได้?
    ถ้าเราสามารถสังเกตุ กิริยา ก่อนที่สติจะตัดและสมาธิบวกปัญญาทางธรรมเล็กน้อย
    จะเข้าถึงกิริยา นิ่งๆเฉยๆได้ทัน สังเกตุกิริยาก่อนหน้านี้ได้ทันบ่อยๆ
    กำลังสติทางธรรมเราจะเพิ่มขึ้นได้เอง..........ถ้ามันเพิ่มขึ้นได้
    ต่อไปมันจะไม่เฉยๆแล้วกับเรื่องนั้นๆ และมันจะพยายามตามค้นคว้า
    ตามทำความเข้าใจจนกว่า มันจะรู้เหตุที่ทำให้เรื่องนั้นเกิด ตรงนี้เล่าให้ฟัง
    ก่อนหน้า อาจจะยังงง แต่ถ้าทำได้ มันจะเกิดแบบที่เล่าให้ฟัง
    และมันจะตามค้นทุกเรื่อง จบวิธีการเพิ่มกำลังสติทางธรรม....


    วิธีที่ ๒....
    ตอนนี้ เราได้ในกระบวณการ ดับไปนานเท่าไร ซึ่งมันเป็นกระบวณการขั้นปลาย
    ซึ่งมันไม่ส่งผลต่อการพัฒนาทางด้านนามธรรม ด้านกำลังสมาธิ และปัญญา
    ที่จะไปรู้เหตุรู้ผลได้ ถามว่าดีไหมที่ผ่านมา ตอบว่า ดี เพราะอยู่ในเส้นทาง
    แต่ยังไม่เพียงพอต่อการ ที่จิต จะสามารถย้อนไปค้นถึง
    สาเหตุและเข้าใจกระบวณการเกิดเรื่องนั้นๆได้
    ซึ่งจะทำให้ มันไม่เกิด การระลึก นึกขึ้น คิดได้อีก ในอนาคต
    หรือเมื่อเวลาผ่านไปอีกซักระยะหนึ่ง..........



    วิธีพัฒนาต่อมา ก็คือ มาเพิ่มการสังเกตุให้ทันว่า

    ๑. เรื่องนั้นเกิดเพราะอะไร ( ปกติจะสติรู้ทันปุ๊บ ตัดปั๊บ เฉยๆได้นานเท่าไรรู้
    แต่กลับไม่รู้เลยว่า เกิดเพราะอะไร ดับไปเวลาไหน เพราะถ้าดับไปแล้วส่วนมากจะลืม
    ไปเลย จะบอกว่า เรื่องปกติ)
    ๒. เกิดเวลาไหน.......ปกติแทบจะนึกไม่ถึง
    ๓. ดับเวลาไหน.......ปกติคือไม่ได้สนใจว่ามันดับไปตอนไหน ไม่ได้ระลึกดู
    และที่ ๔. คือ ดับเพราะอะไร ตรงนี้แทบไม่ได้สังเกตุเลย......

    เพิ่ม ๔ ข้อที่ได้แนะนำตรงนี้ให้ได้ก่อนครับ.....
    เจ้ากิริยาที่นิ่งๆเฉยๆ ซึ่งเป็นกิริยาที่ดี แต่มันไม่สามารถพัฒนาต่อไปได้
    มันถึงจะมีพัฒนาการ ต่อไป ที่จะสร้างให้มัน ช่วยย้อนไปค้น
    เหตุที่ทำให้เรื่องนั้นเกิด ว่าสาเหตุจากอะไร ส่วนการสังเกตุว่า ข้อ ๒ ว่าเกิดเวลาไหน
    เป็นอุบายในการเริ่มต้นให้จิตเข้าถึงกระบวณการที่ทำให้เกิดได้
    และการสังเกตุว่า ข้อ ๓.ดับเวลาไหนเป็นกระบวณการเริ่มต้นที่ให้จิต
    เข้าถึงสาเหตุของการดับได้ ซึ่งมันต้องอาศัยองค์ประกอบต่างๆเหล่านี้
    เพื่อที่จะให้เข้าถึงว่า เรื่องนั้นเกิดได้เพราะอะไร และสุดท้ายเรื่องนั้นดับเพราะอะไร

    ตัวจิตมันถึงจะ เกิดกิริยา อ้อๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ แบบคลี่คลาย แบบไม่สงสัยในเรื่องนั้นๆ
    แบบเข้าใจได้แล้วจบ ซึ่งต่อมามันจะส่งผลให้ใจเรารู้สึก โล่งๆโปร่งๆ สบายๆ
    ปนความรุ้สึกเย็นๆเล็กน้อย บริเวณลิ้นปี่เรานั่นหละครับ.....


    และที่สำคัญก็คือ ถ้ามันได้ อ้อๆๆๆๆๆๆ หรือกิริยาเกท เข้าใจแต่อธิบายไม่ได้
    และเย็นไปแล้ว....เรื่องนั้นๆที่เราเกท อ้อๆ มันจะไม่ย้อนระลึกขึ้นมาอีกในอนาคตครับ



    เป็นตรงนี้ ทำตรงนี้ให้ได้ หลายๆเรื่องๆ กิริยาโปร่งๆโล่งๆกาย สบายใจแถวๆลิ้นปี่
    ของเรา ถ้ามันสามารถเกิดได้นานขึ้น ซึ่งปกติมันจะเริ่มจากหลักวินาทีก่อน(เรื่องปกติ)

    ต่อไป ความเข้าใจทางด้านนามธรรม ของเราก็จะดีขึ้นเองตามลำดับ
    และถ้าเรามีเชื้อ ด้านสมาธิระดับสูง ด้านการรับรู้ความสามารถพิเศษต่างๆ
    มันก็จะค่อยๆขึ้นมาเอง ของมันตามลำดับ โดยที่เราไม่ต้องไปนั่งเรียน
    ไปนั่งฝึกให้เมื่อยตูด ไปนั่งฟังใครโม้ว่า ต้นเองวิเศษวิโส อะไรให้เสียเวลา
    ความสามารถการรับรู้ต่างๆมันก็จะค่อยๆขึ้นมาเองตามลำดับ
    ตามแต่ระยะเวลาที่ จิตโปร่งๆโล่งๆ เบาๆ แถวลิ้นปี่ได้เอง ตามธรรมชาติ


    เราก็จะยังอยู่ในวิธี ที่ได้ทั้งทางด้านปัญญา และความสามารถที่เกิดขึ้นมาเอง
    ต่างๆเหล่านั้น แค่จะทำให้เราแปลกใจ แต่เราจะไม่ไปยึดไปติดมัน
    เพราะเรามีภูติต้านทานด้านปัญญา คอยหนุนให้เราเข้าใจว่า
    อะไรเป็นหลักในทางพุทธศาสนาอยู่นั่นเองครับ......

    ปล. ท้ายนี้อ่านไว้ ประกันได้ว่า จะไม่มีคำว่าหลงสภาวะหรือหลงตัวเอง....
    คำว่าฌานในที่นี้นั้น มันมี ๒ กิริยา คือ ๑.กิริยาเข้าถึงได้ หรือ เคยเข้าถึงได้
    ซึ่งอาจจะมาจากการฝึกสมาธิและไม่เคยฝึกสมาธิเลยก็ได้
    ยกตัวอย่าง เช่น นาย ก เคยนั่งสมาธิเข้าถึง ระดับฌาน ๘๐
    (ไม่มีหรอกยกตัวอย่างให้เห็นภาพนะ) ถ้านาย ก หลงตัวเอง
    ยึดอัตตาตัวตน ก็จะเข้าใจว่า ตัวเอง ได้ฌาน ๘๐ และคุยฟุ้งว่า
    ตนเอง เก่งอย่างโน้นนี่นั้น ดูถูกคนอื่นๆไปเรื่อย เกทเนาะ...
    แต่ทางปฏิบัติ เราไม่ได้ดูกันตรงนี้ เราจะดูตรงที่ว่า นาย ก ในเวลาใช้
    ชีวิตลืมตาปกตินั้น สามารถใช้งานทางจิตได้ในระดับกำลังฌานที่เท่าไร
    เช่น นาย ก อาจจะใช้งานได้แค่ กำลังระดับฌาน ๐.๕ เราจะเรียกว่า
    นาย ก ได้ฌาน ๐.๕ ไม่ใช่อย่างที่นาย ก ฟุ้งเฟ้อว่าตนได้ฌาน ๘๐ พอเก๊ทเนาะ

    ๒. กิริยาใช้งานได้ จากกำลังระดับฌานนั้นๆ...เช่น นาย ข สามารถสามารถ
    เห็น นามธรรมต่างๆได้ในเวลาลืมตาปกติ อย่างนี้ แสดงว่า นาย ข ได้ฌานระดับ ๐.๕
    หรือ สามารถปรับธาตุได้ ปรับพลังงาน ดึงพลังงานได้ แสดงว่า นาย ข ได้ฌาน ๑
    หรือนาย ข สามารถทำโน้นนี่นั้นได้ ตามระดับฌาน ก็แสดงว่า นาย ข ได้ฌานนั้นๆ
    จะสังเกตุว่า เราจะเรียกว่า ได้ฌานนั้น เราจะวัดกันตรงความสามารถ
    ในการนำไปใช้งานได้จริง ในขณะที่ลืมตาใช้ชีวิตปกติประจำวัน
    ไปใช่ประเภท มีลีลา ท่างทาง หลับตาปี๊ อย่างนี้ไม่ใช่นะครับ....ยกเว้นบางกรณี



    และสุดท้าย ก็จะต้องมาดูอีก ว่า นาย ข แม้ว่าใช้งานได้แล้วนั้น
    กำลังสมาธิที่ได้ เป็นสัมมาหรือมิจฉาสมาธิ.....เช่น นาย ข ได้ฌานระดับ ๐.๕ มาก่อน
    แต่ผ่านมาหลายปีแล้ว ก็ยังอยู่เท่าเดิม แถมในระยะเวลาที่ผ่านมา ความสามารถดันเคยเสื่อม
    แสดงว่า นาย ข แม้ใช้งานได้ แต่ว่า ยังเป็นมิจฉาสมาธิอยู่

    มันบอกอะไรเรา มันบอกว่า นาย ข ไปติด ไปยึด ไปเน้น
    เรื่องความสามารถ โดยไม่สนใจเรื่องปัญญา
    ที่เป็นเรื่องหลักของพุทธศาสนานั้นเอง
    เลยเป็นเหตุให้ความสามารถ รวมทั้งสมาธิมีขึ้นๆลงๆหรือมีเสื่อมนั้นเอง.....


    ดังนั้นทำความเข้าใจส่วนท้ายให้ดี....ความสามารถทุกอย่างที่มันเกิดขึ้นมา
    มันควรมาจากหลังที่เราได้ เดินปัญญา รู้เข้าใจเหตุแห่งการเกิดและดับได้ก่อน
    เราถึงจะไม่ยึด ไม่หลง กับเรื่อง ฌาน สมาธิ ความสามารถต่างๆ
    และถ้าไม่หลงไม่ยึดแล้ว ถ้าเรามาเน้นด้านปัญญาต่อ
    ความสามารถต่างๆ ตลอดจนความเข้าใจทางนามธรรม
    ของเรามันก็จะดีขึ้นได้เองตามลำดับ โดยไม่มีคำว่าเสื่อมถอย.....

    มันจะไม่มีเสื่อมถอย ถ้าเราเอากำลัง ความสามารถมาหนุน
    เพื่อช่วยให้จิต เรามันคลาย ความยึดมั่นถือมันต่างๆได้
    ความยึดมัน นั้นเริ่มต้น การไม่ยินดีในกามคุณ
    ไม่ชื่นชมในกามารมย์ ไม่ว่า จะรูปก็ดี
    ไม่ว่าจะนามก็ดี(ย้ำว่า นามธรรมต่างๆ)...


    เราก็จะไปได้เอง ตามลำดับ
    ส่วนตัวจิต ความสามารถก็จะพัฒนา
    ควบคู่กันไป.....

    ที่เราพลาดกัน คือ ยึดทั้งในรูป (ตำรา ตัวตน สิ่งที่ตนเห็น ที่ตนรู้ ได้ฟัง ได้ยินมา)
    ยึดทั้งในนาม คือ อารมย์ต่างๆ ทั้งโทสะ โมหะ โลภะ จนเอามาเป็นตัวตน
    ยึดในนามธรรมต่างๆ ที่ไม่เที่ยงทั้งหลาย ว่ามีตัว มีตน.........


    มายาจิต เป็นเพียงกลจิตชนิดหนึ่ง
    แม้เห็นได้ด้วยตาเปล่าก็ยึดไม่ได้
    ถ้าเผลอไปยึด ส่วนใดส่วนหนึ่ง
    มันจะขวาง การไปรู้เหตุของกระบวณที่เกิด
    และขวางการไปรู้เหตุที่ทำให้กระบวณการนั้นดับ
    แต่เราจะไปหลงกับ ในกระบวณการที่เกิดไปแล้ว
    และไปยึดว่า เป็นการรู้ เป็นผู้รู้ ทั้งๆที่ กระบวณการต่างๆ
    ตั้งแต่ที่มันเริ่มเกิด เกิดไปแล้ว ดับไปแล้ว
    ทั้งหมดนั้น มันเป็นแค่ การปรุงแต่งอย่างหนึ่งของจิตเราเองครับ


    แค่เพียงแต่เล่าให้ฟัง
     
  6. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024
  7. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819



    ไม่ใช่ครับ
     
  8. ชั่งเถอะ

    ชั่งเถอะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ธันวาคม 2017
    โพสต์:
    253
    ค่าพลัง:
    +339
    ทำไม saber ชอบที่จะปิดมรรคผม ผู้อื่น อันนี้เป็นวิบาก หนักนะ คนที่ทำได้แล้ว แล้วไปบอกว่า ไม่ใช่ ให้หลงทางไปอีกนิ วิบากตัวนี้จะส่งผลให้ saber ไม่มีทางที่จะ ได้มรรคผลใดๆ เลย ไปอีกหลายอสงไขย์นะ

    ทำไม่ได้แล้วชอบ เอาตำรามากางนี้ มันยังไงนะ
     
  9. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,604
    ค่าพลัง:
    +3,014

    การรู้ มันก็ดีอยู่หรอก แต่มันทำให้คุณ บรรลุธรรม ใหม
    คำตอบคือ ไม่

    ก็เพราะว่า คุณมัวจ้องมันอยู่ คุณจึงจับมันได้
    แต่ถ้าคุณ ไม่ได้จ้องมันหละ

    เอาในชีวิตจริงเมื่อมี ความพอใจ ไม่พอใจ เกิดขี้น
    คุณปล่อยวางได้ไหม
    ถ้ายังไม่ได้ แสดงว่า ทำผิดทาง
    ที่คุณทำ สุดท้ายเป็น อรูปญาน ไป ไม่ใช่การบรรลุธรรม
     
  10. kenny2

    kenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    1,966
    ค่าพลัง:
    +1,483
    ผลของสมาธิในเบื้องต้นคือแสวงหาสุขและความสงัดจากสิ่งทั้งปวงด้วยสติสัมปชัญญะและได้รับสุขจากการแสวงหาสิ่งนั้น สุขที่เกิิดเกิิดจากจิตที่เป็นสมาธิเป็นสุขที่เลิศกว่าสุขใด...และเมื่อสุขนั้นได้จากการสิ้นสงสัยในสิ่งต่างๆด้วยสติสัมปชัญญะและพิจารณาคลายตัวด้วยปัญญา สุขนั้นยิ่งกว่าการมีสุขใดเพราะมันไม่ใช่ทั้งสุขในส่วนต้น ท่ามกลางและส่วนปลาย เป็นสุขที่แม้วินาทีเดียวก็มีคุณค่ามากมายเกินให้ค่าเพราะชั่วขณะที่้เห็นความทุกข์แต่ละลำดับและเห็นเหตุของทุกข์นั้นด้วยสติสัมปชัญญะถือว่ากำลังมองเห็นโลกความเป็นจริงที่ทุกคนไม่เคยคิดจะเห็นเพราะไม่อยากเห็ยตั้งแต่แรกจากส่วนลึกของจิต...ถึงจุดนี้ขออนุโมทนา
     
  11. ชั่งเถอะ

    ชั่งเถอะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ธันวาคม 2017
    โพสต์:
    253
    ค่าพลัง:
    +339
    การอยู่กับรู้ โดยปัจจุบันขณะ รับรู้ทุกสิ่ง คือสภาวะ ของ พุทธะ เพียงแต่ต้อง ทำให้เข้าใจในสภาวะ จนขันธ์ แยกออกด้วยตัวมันเอง จึงถือเป็นการตื่นรู้โดยแท้จริง

    การไม่สนใจคือ คือแนวทางของ ฤษี
    หากคุณยังเป็น ฤษีอยู่ มันจะพ้นไปได้อย่างไร คับ

    ท่านควรทำความเข้าใจใหม่ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กันยายน 2018
  12. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    "ฝึกสติโดยการรู้ตัว ในการเคลื่อน การเดิน การหายใจออกและเข้า
    การมอง การเหลียว ในอริยาบทต่างๆ ทำมาเรื่อยๆ "


    ทำได้อย่างนี้ก็สุดยอดแล้วครับ
    เพียงแต่ว่า ให้มันรู้สึกตัวได้เองโดยอัตโนมัติ ได้บ่อยขึ้น

    อีกอย่างอารมณ์มันดับได้ไม่นานหรอกครับ
    มันเกิดดับเป็นสายน้ำ จนแทบไม่มีช่องว่าง

    ที่เห็นว่ามันดับได้นาน นั่นมัน มีตัวอื่นเข้ามาแทนที่ตะหาก
    เรียกว่าไม่ทันตัวที่มันละเอียดขึ้น แต่ก็ไม่ใช่เรื่องแปลก

    มันก็ยังต้องฝึกไปเรื่อยๆให้ความเป็นอัตโนมัติมันไวและละเอียดขึ้นตามลำดับ

    อารมณ์มันเกิดดับเป็นสายน้ำ
    สติก็ต้องตามให้ทันเป็นสายน้ำ รู้เท่าเอาทันในอารมณ์
    แล้วสมาธิ ปัญญามันก็จะตามมาเองเป็นลำดับ


    การฝึกโดยกำหนดสติ รู้เฉยๆ เป็นการฝึกที่เรียกว่า วิธีทำ
    เป็นขั้นตอนการฝึก เรียกว่าเป็นมรรคขั้นตกแต่ง มรรคขั้นสาสวะ

    ผลของการฝึกแบบนี้ จะทำให้ความเป็นอัตโนมัติ
    ในการกำหนดสติเกิดขึ้นเองได้อัตโนมัติได้บ่อยขึ้น
    เรียกว่า อารมณ์เกิดขึ้น สติจะเกิดขึ้นรู้เท่าทันอารมณ์โดยอัตโนมัติ

    การรู้เท่าทันอารมณ์ที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติเหล่านี้
    หากเกิดขึ้นได้เมื่อไร ได้บ่อยๆต่อเนื่อง

    ตรงนี้เรียกว่า ฌาน ในพระพุทธศาสนาได้เกิดขึ้น เรียกว่า ลักขณูปนิชฌาน

    ยิ่งต่อเนื่อง ได้มากเท่าไรเป็นสายน้ำ ลักขณูปนิชฌาน จะมีความปราณีตขึ้น

    (อันนี้นอกเรื่องอภิญญาญานต่างๆที่เคยฝึกมาแต่ปางก่อนจะเริ่มเชื่อมต่อกลับมาเองโดยอัตโนมัติ
    ตรงนี้เป็นจุดที่นักตำราจะไม่เคยรู้ ว่าสติปัฏฐานมันจะเชื่อมโยงอภิญญาแต่ปางก่อนมาได้อย่างไร ได้แต่โบ้ยว่า สติปัฏฐานเป็น สุขวิปัสโก)

    สิ่งที่ จขกท. ทำอยู่ รู้เฉยๆไปเรื่อยๆครับ

    หาก

    สังเกตเห็นว่า อารมณ์มันเกิด ดับได้นานเท่าไหรก็ได้ ตราบที่ยังมีสติรู้ตัวอยู่อัตโนมัติ
    มีปีติ ซาบซ่าน มีความสงบ เบาโปร่ง ที่สติรู้เท่าทันอารมณ์ ไม่มีความรู้สึกดี หรือ ไม่ดี มีแต่รู้ คือรู้ตัว หรือรู้ทุกอย่างได้อย่างเสมอกัน มันเหมือนรู้แต่สิ่งที่ถูกรู้ไม่ได้มีความหมาย มีแต่รู้ตัวอย่างเดียว คือรู้เฉยๆ ในอาการ ของอารมณ์จิต ที่เกิด ดับ เกิด ดับ แบบนี้เรียกว่า ลักขณูปนิชฌาน
    เป็นฌานในพระพุทธศานา
     
  13. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,604
    ค่าพลัง:
    +3,014


    สภาวะของ พุทธะ มีแค่ สาม อย่างคือ
    ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ของเรา
    ส่วนอย่างอื่น คืออะไรลองตรองดู
    หากพ้นจากสามสิ่งนี้ ก็ไม่มีทางจะบรรลุธรรมได้
    ทำไปให้ตายก็เหนื่อยเปล่า เสียเวลาเยิ่นเย้อ
     
  14. Sataniel

    Sataniel "วิชชาและวิมุติ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,490
    ค่าพลัง:
    +2,363
    -พูดผิด พูดใหม่ได้ครับ สภาวะของพุทธะ คือ ไม่ทุกข์ ไม่ใช่ของเรา และไม่มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ดังนั้นจะใช้คำว่าไม่เที่ยงไม่ได้นะครับ

    และประโยคที่ว่า หากพ้นจากสามสิ่งนี้ "ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ของเรา" ก็จะไม่มีทางบรรลุได้ ?
    -ผมนี่เกิดอาการ "งง" มากๆเลยแหละครับ จริงๆ แค่ หากพ้น "ไม่เที่ยง กับเป็นทุกข์นี่ มันเรียกว่าการบรรลุธรรม แล้วไม่ใช่เหรอครับ? ส่วน "ไม่ใช่ของเรา" อันนี้ครับถึงจะถูก

    ต้องขออนุญาตแก้ให้นะครับ ถ้าจะถกกันน่ะ เพราะว่า หากท่านพิมพ์มาอย่างนี้แสดงว่าสัญญา ที่เคยเข้าใจมา มันเป็นเช่นนี้ และการไปพิมพ์อย่างนี้มันจะทำให้เกิดสัญญาหลอน ประเภทที่ปฏิบัติเท่าไหร่ก็ไปต่อไม่ได้นะครับ แถมอาจจะมีวิบากตามมา ในกรณีที่ผู้ติดตามอ่านเขานำไปใช้ นี่คือการ "ปิดมรรคผล ผู้อื่น" ใช่หรือไม่ ? ภาษาเป็นสิ่งสำคัญนะครับไม่งั้นจะมีการเถียงกันในเว็บทำไม อย่างสภาวะรู้(ที่เกิดจากสติรู้) กับตัวรู้ที่หลายๆคนใช้กัน/ตัวดู/ผู้ดู(อัตตาจิต)หรืออะไรก็ตามแต่ เนี่ยคนละตัวกันหากใช้ภาษาผิด รับรอง เละ นะครับ ช้วยแก้ด้วยความหวังดีครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 กันยายน 2018
  15. Sataniel

    Sataniel "วิชชาและวิมุติ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,490
    ค่าพลัง:
    +2,363
    ขออนุญาตแทรกนะครับ "การรู้เนี่ยแหละ ตัวทำให้บรรลุธรรมเลยครับ"

    ปล.การรู้ในที่นี้ หมายถึง สติรู้ ไม่ใช่การเพ่ง/ดู ที่เข้าใจว่ามันเป็นรู้นะครับ

    "ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่น รู้ธรรมเฉพาะหน้า" ขาดรู้เมื่อไหร่ ก็ย่อมดู เมื่อดู ย่อมเป็น ทุกข์(สภาวะใดๆก็ตามที่มีการเคลื่อนไม่สามารถคงอยู่ได้) ดังนั้นฌาน ในภาษาของผมก็คือทุกข์ แต่ไม่ใช่ทุกข์ในคำที่แปลๆกันว่าความเจ็บปวดรวดร้าว เข้าใจให้ตรงกันก่อนไม่งั้นจะคุยกันไม่รู้เรื่องนะครับ ดั่งคำที่บอกว่า การเกิดเป็นทุกข์ นั่นแล

    ส่วนที่ว่าทำไมเมื่อดูย่อมทุกข์ ตัวอย่างง่ายๆ ดูลมหายใจจนเป็นฌาน คือการเพ่งจนเกิดอารมณ์เด่นอารมณ์เดียว มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และ ดับไป ไม่สามารถทรงฌานได้ตลอดดังนั้นแน่นอนมันเป็นทุกข์ และเมื่อดูภายนอก รับธรรมารมณ์(ความรู้สึก)จากภายนอก หรือจะเรียกว่าจิตส่งออก/กามาวจร ก็รับความรู้สึกจากการดู/เพ่ง จากภายนอก ซึ่งอารมณ์ภายนอก ก็เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ดังนั้นการดู/เพ่ง = ทุกข์ นะครับ ถ้ามัวแต่ดูไม่รู้ ก็ "เจ๊ง" ครับ
     
  16. ชั่งเถอะ

    ชั่งเถอะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ธันวาคม 2017
    โพสต์:
    253
    ค่าพลัง:
    +339
    อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คือ สิ่งที่ต้องพิจารณา ครับ ไม่ใช่ให้เราไปดูมัน

    สภาวะรู้ คือ สภาวะที่พ้น จาก สิ่งเหล่านั้นที่เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

    เมื่อเข้าสู้สภาวะรู้ ขันธ์ ที่เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จะแยกออก เองโดยอัตโนมัติ

    เมื่อปราศจากสิ่งเหล่านี้จึงเรียกว่า วิมุติ คือ การหลุดพ้นจาก ขันธ์ ที่เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

    สภาวะรู้คือพุทธะ เป็นจิต ที่เหลืออยู่ หรือ มีอยู่แล้ว เท่านั้นเอง ก็พ้นจาก เกิดแก่เจ็บตาย

    มัวแต่ไปจ้องมันอยู่อย่างนั้น คิดถึงแต่มันอยู่อย่างนั้น จะพ้นได้เมื่อไหร่ละครับผม

    ขันธ์ เมื่อเห็นมัน ไม่เที่ยงก็รู้อยู่ รู้ตื่น ต่อ ความไม่เที่ยงนั้น ไม่เข้าไปเป็นมัน เมื่อมหาสติเกิด สภาวะรู้ ก็เกิด ก็รู้แจ้งได้เอง ว่า พ้นจาก ขันธ์ ที่เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้ว

    ให้ทำความเข้าใจใหม่นะครับ ลองพิจารณาดู กอด มันไว้ จะพ้นหรือ หรือต้องสละมันออก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 กันยายน 2018
  17. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,567
    ค่าพลัง:
    +9,957
    +++ nilakarn เอ๋ย ยาหมดแล้ว ก็ไปซื้อเพิ่ม ตามหมอสั่งนะ

    +++ คนที่ "สติไม่เต็ม" อย่าคิดเอาเองว่า โพสท์แล้วจะไม่มีกรรมนะ

    +++ การโพสท์แบบ "กลับทิศ ตรงกันข้ามกับ พระพุทธเจ้า" หนะ โทษมหันต์นะ

    +++ แต่ก่อน ๆ ก็ยังไม่ "ถึงระดับนี้" แต่ช่วงนี้ "ไปฝึก อะไรมา" ถึงได้ "เละหนักกว่าเดิม" มากมายนัก
    +++ สภาวะของ พุทธะ "ต้องพ้นจาก" สาม อย่างคือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ของเรา
    +++ ส่วนอย่างอื่น คืออะไร "ให้ตั้งสติ รู้เอา"
    +++ หากพ้นจากสามสิ่งนี้ "จึงจะ" บรรลุธรรมได้
    +++ "หากไม่ทำ" ตายไปก็เหนื่อยเปล่า เสียเวลาเยิ่นเย้อ


    +++ ให้ nilakarn ทบทวนตนเองให้ดี ๆ ก่อนที่จะโพสท์นะ

    +++ รบกวน MOD ช่วยดูแล nilakarn ด้วยนะครับ
     
  18. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,604
    ค่าพลัง:
    +3,014


    ขอบคุณครับท่าน ผมชอบพูดเรื่อง บ้าๆอยู่แล้วครับ เพราะว่า ผมคือ คนบ้า
    คนที่รับฟังผม ก็คือ คนบ้า ต่อจากผม
    ส่วนคนที่ ยังไม่รับฟัง ก็ไม่แน่ว่า ต่อไปจะไม่รับฟัง
    ส่วนคนยังไม่บ้า ก็ยังไม่ใช่สายผม เป็นสายอื่น สายอื่นก็ทำหน้าที่สั่งสอนไปครับ
    สุดท้ายเมื่อฝึกจนจิตแก่กล้า จากคนปกติ
    อาจจะยอมรับตัวเองว่า บ้า ก็ได้ครับ ผมรับได้หมดแหละ ขอบคุณครับ
     
  19. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,604
    ค่าพลัง:
    +3,014


    ความจริง พระ ควรจะสอนว่า
    สิ่งที่สำคัญที่สุดของ พระพุทธศาสนาคือ
    พระไตรลักษณ์ คือ ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นสิ่งสมมุติ
    สามอย่างนี้ต่างหากที่จะทำให้คน บรรลุธรรม
    มิใช่ พระพุทธ พระธรรม และ พระสงฆ์
    ตัวเองเท่านั้น ที่จะทำให้ ตัวเอง บรรลุธรรม ไม่ใช่สิ่งอื่นใด
     
  20. Sataniel

    Sataniel "วิชชาและวิมุติ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,490
    ค่าพลัง:
    +2,363
    ถ้าสายตาจะสั้นจนอ่านไม่เข้าใจ หลายๆคอมเม้นท์ทั้งจากผมและหลายๆคน ก็ควรเปลี่ยนแว่นใหม่นะครับ หรือว่าลุงแก่แล้วเลยไม่เข้าใจครับนี่

    ไม่เกี่ยวว่าสายไหนแต่เกี่ยวกับท่านกำลังแต่งธรรมของพระพุทธเจ้าให้เป็นอื่นใช่ไหม? สิ่งที่ควรทำถ้าใช่ก็แก้ไม่ก็ลบครับ นี่ละเจตนาของผมครับ การขอบคุณยอมรับไม่รับมันไม่ได้เกี่ยวอะไรเลยครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...