อนัตตา คืออะไร???

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย bkgolf_th, 26 ธันวาคม 2005.

  1. bkgolf_th

    bkgolf_th Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    56
    ค่าพลัง:
    +78
    อนัตตา คืออะไรเหรอครับ

    ไม่มีตัวตน หรือ ไม่มีอยู่เลย...

    เช่น พลังงานไฟฟ้า นี่ถือว่าเป็นอนัตตามั้ยครับ...
     
  2. bkgolf_th

    bkgolf_th Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    56
    ค่าพลัง:
    +78
    คือผมกำลังจะถามว่า...

    เราคือดวงวิญญาณ พลังงานชีวิตที่ละเอียดอ่อน คงอยู่ตลอดไป เป็นอมตะ ไม่ดับสูญ...

    อย่างงี้ถือว่าเป็นอนัตตามั้ยครับ...
     
  3. NiNe

    NiNe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,792
    ค่าพลัง:
    +7,482
    จิตดวงเดียว ไม่มีดับ ไม่มีสลาย ทุกอย่างยังคงอยู่ เป็นนิรันดร์
    จิตอาจท่องเที่ยวไปได้ไม่จำกัด ทุกภพภูมิที่มีอยู่ ท่องไปทั้ง 3

    ตราบใดที่ยังไม่เข้าสู่นิพพาน ย่อมโคจรไป ได้ไม่เหน็ดเหนื่อย
    เกิด ดับ ... ดับ เกิด ... เกิด ดับ ... ดับ เกิด ไปได้เรื่อยๆๆๆๆ

    แต่จิตมีดวงเดียวเท่านั้น ครับ
    นั่นแหละ คือคำว่า "อนัตตา"
     
  4. dany

    dany สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    15
    ค่าพลัง:
    +17
    คำว่าอนันตา คือ ของหรือสิ่งที่ไม่มีตัวตนอยู่จริง หรือมีก็ระยะเวลาหนึ่งเท่านั้นมานานก็เสื่อมดับไป ยกเว้นแต่จิตที่ต้องรอการชำล่ะหรือบำเพ็ญให้เป็นกลางบริสุทธิ์จึงจะเข้าสู่นิพพานซึ่งต้อง เกิด ดับ เกิด ดับ อย่างนี้ไปเรื่อยๆเปรียบเสมือนการแปรค่าพลังงานให้เป็นกลาง
     
  5. โยคี

    โยคี สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +7
    พูดคำเดียวง่ายๆๆว่า..................สงัด...........................
     
  6. sakkrit99k

    sakkrit99k เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    70
    ค่าพลัง:
    +167
    อนัตตา คือความไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนที่แท้จริง เช่น เก้าอี้ที่คุณเรียกและเห็นอยู่ มันเป็นอนัตตา เพราะว่าเมื่อแยกออกเป็นชิ้นๆ คุณก็เรียกว่าไม้ เรียกว่าเศษหนัง เศษฟองน้ำ ตะปู ถ้าดูที่มาก็แปลเปลี่ยนจาก ธาตุ สี่ ดิน น้ำ ไฟ ลม จนเป็นตัวเป็นตน เป็นชิ้นเป็นอัน เป็นคนสัตว์สิ่งของ ที่เรายึดติดกันว่าเป็นของกู เป็นตัวกู การปฏิบัติจิตจึงให้สลัด การยึดติด ให้เห็นเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพราะเมื่อไหร่ที่ใจยึดติด ก็เป็นเหตุแห่งทุกข์พันธนาการไปทุกภพ ทุกชาติไม่มีวันหลุดพ้น สรุปแล้วไม่มีอะไรที่เป็นของๆเรา ตัวจิตก็ไม่ใช่ของเรา ตัวสติก็ไม่ใช่ของเรา มีสติเป็นทาง แต่ไม่ใช่ของเรา
     
  7. ผู้พ่ายแพ้ขันธ์ 5

    ผู้พ่ายแพ้ขันธ์ 5 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2004
    โพสต์:
    50
    ค่าพลัง:
    +64
    ถ้าตอบแบบปุถุชน ก็คงประมาณนี้

    อนัตตา
    ไม่ได้หมายถึงไม่มีตัวตน แต่ควรหมายถึงไม่มีตัวตนที่แท้จริงถึงจะถูก
    ขอยกตัวอย่างต้นหญ้าต้นหนึ่ง ถ้าเรานับการเติบโตของมันตั้งแต่เริ่มโผล่ออกขึ้นมาจากพื้นดิน ถ้ามองด้วยตามนุษย์ปกติท่านก็จะเห็นว่ามันคือต้นหญ้าต้นหนึ่ง ที่มีอยู่จริงท่านสามารถสัมผัสได้จริง แต่ถ้ามีกล้อง VDO ที่มีความถี่ซัก 1 ในล้านเฟรม/วินาที เมื่อเอาไปถ่ายต้นหญ้าแล้วนำมา replay ดูทีละเฟรมท่านก็จะเห็นว่าต้นหญ้าในเฟรมที่ n-1 กับเฟรมที่ n มันคนละต้นกันเลยทีเดียว เพียงแต่ว่าต้นหญ้าเฟรมที่ n มีปัจจัยอันเกิดจากการปรุงแต่งมาจากต้นหญ้าในเฟรมที่ n-1 เลยทำให้เกิดต้นหญ้าเฟรมที่ n ขึ้นมา ผลที่ปรากฎก็คือเราสรุปไม่ได้เลยว่าต้นหญ้าต้นนี้ตัวตนจริงๆของมันอยู่ที่เฟรมไหน แต่เรารับความจริงได้อย่างหนึ่งคือรับรู้ว่ามันมีอยู่เป็นขณะๆไปเท่านั้นเอง
    อนัตตาจึงมีความหมายที่เข้าถึงด้วยความคิดปุถุชนประมาณนี้แหละท่านๆ ส่วนความหมายที่ลึกกว่านี้นั้นต้องทำเอาเองปฏิบัติเอาเองล่ะท่าน ธรรมของตถาคตเป็นปัจจัตตังในส่วนที่เป็นปรมัตถ์ และภาวะปรมัตถ์จะแสดงซึ่งๆหน้าเฉพาะผู้ที่เห็นได้เพียงคนเดียว และคนที่เห็นได้ก็ไม่สามารถที่จะนำมาถ่ายทอดด้วยภาษาใดๆในโลกให้อีกคนหนึ่งรู้ตามที่ตนเห็นมาได้
     
  8. อีริค

    อีริค Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    42
    ค่าพลัง:
    +30
    เรามีศาสนากันไว้ทำไม ครับ
     
  9. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,801
    ค่าพลัง:
    +7,939
    ต้องดูบริบทของการใช้

    เหมือนกับใช้คำว่า ตา ถ้าอยู่กับ คู่สามียาย ก็ความหมายหนึ่ง ถ้าอยู่กับ อยู่บนหน้า ก็ อีกความหมายหนึ่ง

    อนัตตา ก็เห็นจะมีการใช้อยู่สองบริบท

    บริบทที่เป็นรูปธรรม ก็หมายถึง ไม่มีตัวตน ซึ่งตรงข้ามกับ อัตตา ซึ่งแปลว่ามีตัวตน ดังนั้นประโยคที่ใช้ในบริบทนี้จะใช้คู่กัน อัตตา อนัตตา

    บริบทไตรลักษณ์ ก็หมายถึง บังคับไม่ได้ กล่าวในแง่ที่ว่า ไม่มีอะไรจะไปบังคับให้มันเป็นได้ ซึ่งก็ใช้ร่วมกับ อนิจจัง ทุกขัง โดย อนิจจัง แปลง่ายๆว่า แปรปรวนเสมอ ทุกขัง แปลง่ายๆว่า ทนอยู่สภาพเดิมไม่ได้

    เวลาใช้ก็ต้องดูว่าจะเอาไปใช้แสดงอะไร บริบทใด หน้าที่ใด ถ้าไม่ดูบริบท ใช้กันแบบสั้นๆ ก็จะทำให้คำกำกวมไป เช่น ตาเสีย อันนี้แปลออกไหมว่าคำว่า ตา หมายถึงอะไร

    ที่ใช้กันแล้วทำให้สับสนก็เช่นประโยค

    นิพพาน เป็น อนัตตา อันนี้กล่าวลอยๆ ทำให้งงได้ ไม่มีบริบท

    ถ้ากล่าว เป็น นิพพาน เป็น อนัตตา ไม่เป็น อัตตา

    ความหมายที่จะสื่อ ก็คือ นิพพาน เป็น สภาพไม่มีรูป ไม่เป็น รูปที่มองเห็นได้ไม่ว่าจะมองด้วยตาเนื้อ หรือ ตาใน


    นิพพาน เป็น อนัตตา อันนี้กล่าวลอยๆ ทำให้งงได้ ไม่มีบริบท

    ถ้ากล่าว เป็น นิพพาน เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พอกล่าวปุ๊ป ครบบริบทปั๊ป ผิดเลย จะเห็นว่า ประโยคนี้เป็นไปไม่ได้ เพราะ นิพพาน ไม่แปรปรวน คงสภาพนิพพานไม่แปรเปลี่ยน และบังคับด้วยตัวมันเอง เหมือนใช้คำว่า ตาลับฟ้า จะเห็นคำวา ตา จะหาความหมายไม่ได้ ทำให้ประโยคผิดทั้งหมด อันนี้ คนที่มีการศึกษาก็จะรู้ว่า ใช้ไม่ได้ เขียนในบริบทแบบนี้ไม่ได้

    ตรงประโยคที่ว่าบังคับด้วยตัวมันเอง เมื่อกล่าวคู่กับ ไม่มีเหตุใกล้ให้เกิด ไม่มีสิ่งอื่นสร้างมันได้ นอกจากตัวมันเอง สร้างเอง กำกับเอง ก็จะเข้าใจมากขึ้น

    ดังนั้น บางทีสมองคนเรามันลักลั่น พอ พูดว่า นิพพานเป็นอนัตตา คนเราไปจับเอาคำว่า อนัตตา ในบริบทไตรลักษณ์ ก็เลยวุ่น เหมือนเรากล่าวคำว่า วิญญูหีติ จะเห็นคำบางคำมั่นลักลั่น ไปเป็นของสงวนทันที

    ทั้งหมด....
    การเข้าใจแบบนี้เป็นความเข้าใจแบบเอาไปตอบข้อสอบนะ ไม่ใช่เข้าถึง คือ ถ้าเข้าถึงแล้ว จะไม่มีการอธิบายใดๆ เหตุที่คนเข้าถึงจะไม่อธิบายเพราะนิพพานมันใหญ่กว้างมาก เขาเลยเปรียบให้เหมือนช้าง เราไม่สามารถคลำแล้วบอกได้ครบ อธิบายเมื่อไหร่วุ่น

    เชื่อดิ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 พฤศจิกายน 2007
  10. Rattanaporn

    Rattanaporn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +13,348
    ขออนุโมทนาค่ะ....คุณผู้พ่ายแพ้ขันธ์.....คุณอธิบายความหมายของอนัตตาให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นมาก ๆ ค่ะ....ชัดเจนที่สุดเลยค่ะ....บางครั้งสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เราเข้าใจแล้ว...แต่ก็ยากในการสื่อสารเป็นคำพูดได้...ต้องหมั่นฝึกฝนพากเพียรปฏิบัติเองถึงจะเข้าใจได้อย่างลึกซึ้งค่ะ....

    "เป็นธรรมที่บุคคลผู้ศึกษาปฏิบัติจะพึงเห็นได้ด้วยตนเอง"......และ.....
    "ผู้รู้ธรรมแล้วทั้งหลาย จะพึงรู้ได้เฉพาะตนเองเท่านั้น"
     
  11. wisarn

    wisarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    727
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +2,503
    ไตรลักษณ์

    ไตรลักษณ์ แปลว่า "ลักษณะ ๓ อย่าง" หมายถึงสามัญลักษณะ หรือลักษณะที่เสมอกัน หรือข้อกำหนด หรือสิ่งที่มีประจำอยู่ในตัวของสังขารทั้งปวงเป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ ๓ อย่าง ได้แก่
    1. อนิจจตา (อนิจจัง) - ความไม่เที่ยง ความไม่คงที่ ความไม่ยั่งยืน ภาวะที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมและสลายไป
    2. ทุกขตา (ทุกขัง) - ความเป็นทุกข์ ภาวะที่ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้นและสลายตัว ภาวะที่กดดัน ฝืนและขัดแย้งอยู่ในตัว เพราะปัจจัยที่ปรุงแต่งให้มีสภาพเป็นอย่างนั้นเปลี่ยนแปลงไป จะทำให้คงอยู่ในสภาพนั้นไม่ได้ ภาวะที่ไม่สมบูรณ์มีความบกพร่องอยู่ในตัว
    3. อนัตตตา (อนัตตา) - ความเป็นอนัตตา ความไม่ใช่ตัวตน ความไม่มีตัวตนที่แท้จริงของมันเอง ไม่ใช่ของใคร ไม่อยู่ในอำนาจควบคุมของใคร
    ลักษณะ ๓ อย่างนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สามัญลักษณะ คือ ลักษณะที่มีเสมอกันแก่สังขารทั้งปวง และเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธรรมนิกาย คือกฎธรรมดาหรือข้อกำหนดที่แน่นอนของสังขาร

    สิ่งที่ปิดบังไตรลักษณ์

    ไตรลักษณ์ แสดงตัวของมันเองอยู่ตามธรรมดาตลอดทุกเวลา แต่คนทั่วไปก็มองไม่เห็น ทั้งนี้เพราะเป็นเหมือนมีสิ่งปิดบังคอยซ่อนคลุมเอาไว้ ถ้าไม่ใส่ใจพิจารณาอย่างถูกต้องก็มองไม่เห็น สิ่งที่เป็นเหมือนเครื่องปิดบังซ่อนคลุมเหล่านี้ คือ
    • อนิจลักษณะ มี สันตติ (การสืบต่อเนื่อง) เป็นตัวปิดบัง - การที่ไม่เห็นความไม่เที่ยงแท้ ก็เพราะมีการสืบต่อเนื่องปิดบัง เช่น จิต เกิดดับตลอดเวลา แต่ยังเห็นเป็นจิตเดิม เพราะมันเกิดดับสืบต่อเนื่องกันไป
    • ทุกขลักษณะ มี อิริยาบถ (ท่าทาง) เป็นตัวปิดบัง - ทันทีที่ทุกขลักษณะแสดงตัว ธรรมชาติก็จะตอบสนองโดยการเปลี่ยนอิริยาบถ เพื่อปิดบังทุกขลักษณะ
    • อนัตตลักษณะ มี ฆน (ความเป็นกลุ่มก้อน) เป็นตัวปิดบัง - ที่ไม่เห็นอนัตตลักษณะ แต่เห็นเป็นกลุ่มก้อน เช่น ชีวิต เห็นเป็นตัวตน ไม่เห็นเป็นขันธ์ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เพราะทั้ง 5 จับเป็นกลุ่มก้อน
    :cool:
     
  12. วิทย์

    วิทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,036
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,439
    คำว่า อนัตตา นี้มีที่มาที่ไปครับ นั่นคือสิ่งใดเกิดขึ้นสิ่งนั้นย่อมดับไป เมื่อสิ่งใดดับไปได้สิ่งนั้นย่อมเป็นอนัตตา(ในที่สุด) แต่ถ้าสิ่งใดไม่เกิดสิ่งนั้นก็ไม่ดับ สิ่งใดไม่ดับสิ่งนั้นก็ไม่ใช่ อนัตตา ครับ


    ๖. ฉฉักกสูตร (๑๔๘)
    <CENTER> </CENTER><CENTER> </CENTER>[๘๑๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของ-
    *อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก
    ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว พระผู้มี-
    *พระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมแก่เธอทั้งหลาย อัน
    ไพเราะในเบื้องต้น ในท่ามกลาง ในที่สุด พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ ประกาศ
    พรหมจรรย์อันบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง คือ ธรรมหมวดหก ๖ หมวด พวกเธอจงฟัง
    ธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า
    ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ฯ

    [๘๑๑] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า พวกเธอพึงทราบอายตนะภาย
    ใน ๖ อายตนะภายนอก ๖ หมวดวิญญาณ ๖ หมวดผัสสะ ๖ หมวดเวทนา ๖
    หมวดตัณหา ๖ ฯ
    [๘๑๒] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบอายตนะภายใน ๖ นั่น เราอาศัย
    อะไรกล่าวแล้ว ได้แก่ อายตนะคือจักษุ อายตนะคือโสตะ อายตนะคือฆานะ
    อายตนะคือชิวหา อายตนะคือกาย อายตนะคือมโน ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึง
    ทราบอายตนะภายใน ๖ นั่น เราอาศัยอายตนะดังนี้ กล่าวแล้ว นี้ธรรมหมวดหก
    หมวดที่ ๑ ฯ

    [๘๑๓] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบอายตนะภายนอก ๖ นั่น เรา
    อาศัยอะไรกล่าวแล้ว ได้แก่ อายตนะคือรูป อายตนะคือเสียง อายตนะคือกลิ่น
    อายตนะคือรส อายตนะคือโผฏฐัพพะ อายตนะคือธรรมารมณ์ ข้อที่เรากล่าว
    ดังนี้ว่า พึงทราบอายตนะภายนอก ๖ นั่น เราอาศัยอายตนะดังนี้ กล่าวแล้ว นี้
    ธรรมหมวดหก หมวดที่ ๒ ฯ

    [๘๑๔] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดวิญญาณ ๖ นั่น เราอาศัย
    อะไรกล่าวแล้ว คือ บุคคลอาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักษุวิญญาณ อาศัยโสตะ
    และเสียง จึงเกิดโสตวิญญาณ อาศัยฆานะและกลิ่น จึงเกิดฆานวิญญาณ อาศัย
    ชิวหาและรส จึงเกิดชิวหาวิญญาณ อาศัยกายและโผฏฐัพพะ จึงเกิดกายวิญญาณ
    อาศัยมโนและธรรมารมณ์ จึงเกิดมโนวิญญาณ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบ
    หมวดวิญญาณ ๖ นั่น เราอาศัยวิญญาณดังนี้ กล่าวแล้ว นี้ธรรมหมวดหก หมวด
    ที่ ๓ ฯ

    [๘๑๕] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดผัสสะ ๖ นั่น เราอาศัย
    อะไรกล่าวแล้ว คือ บุคคลอาศัยจักษุและรูปเกิดจักษุวิญญาณ ความประจวบของ
    ธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ อาศัยโสตะและเสียงเกิดโสตวิญญาณ ความประจวบของ
    ธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ อาศัยฆานะและกลิ่นเกิดฆานวิญญาณ ความประจวบของ
    ธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ อาศัยชิวหาและรสเกิดชิวหาวิญญาณ ความประจวบของ
    ธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ อาศัยกายและโผฏฐัพพะเกิดกายวิญญาณ ความประจวบ
    ของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ อาศัยมโนและธรรมารมณ์เกิดมโนวิญญาณ ความ
    ประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดผัสสะ ๖
    นั่น เราอาศัยผัสสะดังนี้ กล่าวแล้ว นี้ธรรมหมวดหก หมวดที่ ๔ ฯ

    [๘๑๖] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดเวทนา ๖ นั่น เราอาศัย
    อะไรกล่าวแล้ว คือ บุคคลอาศัยจักษุและรูปเกิดจักษุวิญญาณ ความประจวบของ
    ธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
    อาศัยโสตะและเสียงเกิดโสตวิญญาณ ...
    อาศัยฆานะและกลิ่นเกิดฆานวิญญาณ ...
    อาศัยชิวหาและรสเกิดชิวหาวิญญาณ ...
    อาศัยกายและโผฏฐัพพะเกิดกายวิญญาณ ...
    อาศัยมโนและธรรมารมณ์เกิดมโนวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓
    เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวด
    เวทนา ๖ นั่น เราอาศัยเวทนาดังนี้ กล่าวแล้ว นี้ธรรมหมวดหก หมวดที่ ๕ ฯ

    [๘๑๗] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดตัณหา ๖ นั่น เราอาศัย
    อะไรกล่าวแล้ว คือ บุคคลอาศัยจักษุและรูปเกิดจักษุวิญญาณ ความประจวบของ
    ธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็น
    ปัจจัย จึงมีตัณหา
    อาศัยโสตะและเสียงเกิดโสตวิญญาณ ...
    อาศัยฆานะและกลิ่นเกิดฆานวิญญาณ ...
    อาศัยชิวหาและลิ้นเกิดชิวหาวิญญาณ ...
    อาศัยกายและโผฏฐัพพะเกิดกายวิญญาณ ...
    อาศัยมโนและธรรมารมณ์เกิดมโนวิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓
    เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
    ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดตัณหา ๖ นั่น เราอาศัยตัณหาดังนี้ กล่าวแล้ว
    นี้ธรรมหมวดหก หมวดที่ ๖ ฯ

    [๘๑๘] ผู้ใดกล่าวอย่างนี้ว่า จักษุเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร จักษุ
    ย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้
    ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะ
    ฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่าจักษุเป็นอัตตานั้นจึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ จักษุจึง
    เป็นอนัตตา
    ผู้ใดกล่าวว่า รูปเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร รูปย่อมปรากฏแม้ความ
    เกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่งนั้น
    ต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่
    กล่าวว่า รูปเป็นอัตตานั้นจึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ จักษุจึงเป็นอนัตตา รูปจึง
    เป็นอนัตตา
    ผู้ใดกล่าวว่า จักษุวิญญาณเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร จักษุวิญญาณ
    ย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแลปรากฏแม้ความเกิด แม้ความ
    เสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น
    คำของผู้ที่กล่าวว่าจักษุวิญญาณเป็นอัตตานั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ จักษุจึง
    เป็นอนัตตา รูปจึงเป็นอนัตตา จักษุวิญญาณจึงเป็นอนัตตา
    ผู้ใดกล่าวว่า จักษุสัมผัสเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร จักษุสัมผัสย่อม
    ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความ
    เสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นแลเสื่อมไป เพราะฉะนั้น
    คำของผู้ที่กล่าวว่าจักษุสัมผัสเป็นอัตตานั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ จักษุจึง
    เป็นอนัตตา รูปจึงเป็นอนัตตา จักษุวิญญาณจึงเป็นอนัตตา จักษุสัมผัสจึงเป็น
    อนัตตา
    ผู้ใดกล่าวว่า เวทนาเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร เวทนาย่อมปรากฏ
    แม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม
    สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น คำ
    ของผู้ที่กล่าวว่าเวทนาเป็นอัตตา นั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ จักษุจึงเป็น
    อนัตตา รูปจึงเป็นอนัตตา จักษุวิญญาณจึงเป็นอนัตตา จักษุสัมผัสจึงเป็นอนัตตา
    เวทนาจึงเป็นอนัตตา
    ผู้ใดกล่าวว่า ตัณหาเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร ตัณหาย่อมปรากฏแม้
    ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่ง
    นั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น คำของ
    ผู้ที่กล่าวว่า ตัณหาเป็นอัตตานั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ จักษุจึงเป็นอนัตตา
    รูปจึงเป็นอนัตตา จักษุวิญญาณจึงเป็นอนัตตา จักษุสัมผัสจึงเป็นอนัตตา เวทนาจึง
    เป็นอนัตตา ตัณหาจึงเป็นอนัตตา ฯ

    [๘๑๙] ผู้ใดกล่าวว่า โสตะเป็นอัตตา ...
    ผู้ใดกล่าวว่า ฆานะเป็นอัตตา ...
    ผู้ใดกล่าวว่า ชิวหาเป็นอัตตา ...
    ผู้ใดกล่าวว่า กายเป็นอัตตา ...
    ผู้ใดกล่าวว่า มโนเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร มโนย่อมปรากฏแม้
    ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่ง
    นั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น คำของ
    ผู้ที่กล่าวว่า มโนเป็นอัตตานั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ มโนจึงเป็นอนัตตา
    ผู้ใดกล่าวว่า ธรรมารมณ์เป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร ธรรมารมณ์ย่อม
    ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแลปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม
    สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น คำ
    ของผู้ที่กล่าวว่าธรรมารมณ์เป็นอัตตา นั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ มโนจึง
    เป็นอนัตตา ธรรมารมณ์จึงเป็นอนัตตา ฯ
    ผู้ใดกล่าวว่า มโนวิญญาณเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร มโนวิญญาณ
    ย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแลปรากฏแม้ความเกิด แม้ความ
    เสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น
    คำของผู้ที่กล่าวว่า มโนวิญญาณเป็นอัตตา นั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้
    มโนจึงเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์จึงเป็นอนัตตา มโนวิญญาณจึงเป็นอนัตตา
    ผู้ใดกล่าวว่า มโนสัมผัสเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร มโนสัมผัสย่อม
    ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความ
    เสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะ
    ฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า มโนสัมผัสเป็นอัตตา นั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้
    มโนจึงเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์จึงเป็นอนัตตา มโนวิญญาณจึงเป็นอนัตตา มโน-
    *สัมผัสจึงเป็นอนัตตา
    ผู้ใดกล่าวว่า เวทนาเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร เวทนาย่อมปรากฏ
    แม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม
    สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น คำ
    ของผู้ที่กล่าวว่า เวทนาเป็นอัตตา นั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ มโนจึงเป็น
    อนัตตา ธรรมารมณ์จึงเป็นอนัตตา มโนวิญญาณจึงเป็นอนัตตา มโนสัมผัสจึงเป็น
    อนัตตา เวทนาจึงเป็นอนัตตา
    ผู้ใดกล่าวว่า ตัณหาเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร ตัณหาย่อมปรากฏ
    แม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม
    สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น คำ
    ของผู้ที่กล่าวว่า ตัณหาเป็นอัตตา นั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ มโนจึงเป็น
    อนัตตา ธรรมารมณ์จึงเป็นอนัตตา มโนวิญญาณจึงเป็นอนัตตา มโนสัมผัสจึงเป็น
    อนัตตา เวทนาจึงเป็นอนัตตา ตัณหาจึงเป็นอนัตตา ฯ

    [๘๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทาอันให้ถึงความตั้งขึ้นแห่งสักกายะ
    ดังต่อไปนี้แล บุคคลเล็งเห็นจักษุว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็น
    รูปว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็นจักษุวิญญาณว่า นั่นของเรา
    นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็นจักษุสัมผัสว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตา
    ของเรา เล็งเห็นเวทนาว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็นตัณหาว่า
    นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็นโสตะว่า นั่นของเรา ... เล็งเห็น
    ฆานะว่า นั่นของเรา ... เล็งเห็นชิวหาว่า นั่นของเรา ... เล็งเห็นกายว่า นั่นของ
    เรา ... เล็งเห็นมโนว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็นธรรมารมณ์
    ว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็นมโนวิญญาณว่า นั่นของเรา
    นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็นมโนสัมผัสว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตา
    ของเรา เล็งเห็นเวทนาว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็นตัณหา
    ว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา ฯ

    [๘๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทาอันให้ถึงความดับสักกายะ ดังต่อ
    ไปนี้แล บุคคลเล็งเห็นจักษุว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา
    เล็งเห็นรูปว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็นจักษุวิญญาณ
    ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็นจักษุสัมผัสว่า นั่น
    ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็นเวทนาว่า นั่นไม่ใช่ของเรา
    ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็นตัณหาว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่
    ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็นโสตะว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ... เล็งเห็นฆานะว่า นั่นไม่ใช่
    ของเรา ... เล็งเห็นชิวหาว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ... เล็งเห็นกายว่า นั่นไม่ใช่ของเรา
    ... เล็งเห็นมโนว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็น
    ธรรมารมณ์ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็นมโน-
    *วิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็นมโนสัมผัส
    ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็นเวทนาว่า นั่นไม่ใช่
    ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็นตัณหาว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่
    ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ฯ

    [๘๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยจักษุและรูปเกิดจักษุวิญญาณ
    ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ย่อมเกิดความ
    เสวยอารมณ์ เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง เขาอันสุขเวทนา
    ถูกต้องแล้ว ย่อมเพลิดเพลิน พูดถึง ดำรงอยู่ด้วยความติดใจ จึงมีราคานุสัยนอน
    เนื่องอยู่ อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไห้ คร่ำครวญ
    ทุ่มอก ถึงความหลงพร้อม จึงมีปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่ อันอทุกขมสุขเวทนา
    ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่ทราบชัดความตั้งขึ้น ความดับไป คุณ โทษ และที่สลัด
    ออกแห่งเวทนานั้น ตามความเป็นจริง จึงมีอวิชชานุสัยนอนเนื่องอยู่ ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ข้อที่บุคคลนั้นยังไม่ละราคานุสัยเพราะสุขเวทนา ยังไม่บรรเทาปฏิฆานุ-
    *สัยเพราะทุกขเวทนา ยังไม่ถอนอวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนา ยังไม่ทำวิช-
    *ชาให้เกิดเพราะไม่ละอวิชชาเสีย และจักเป็นผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันได้
    นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยโสตะและเสียง เกิดโสตวิญญาณ ...
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยฆานะและกลิ่น เกิดฆานวิญญาณ ...
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยชิวหาและรส เกิดชิวหาวิญญาณ ...
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยกายและโผฏฐัพพะ เกิดกายวิญญาณ ...
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยมโนและธรรมารมณ์ เกิดมโนวิญญาณ
    ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ย่อมเกิดความ
    เสวยอารมณ์ เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง เขาอันสุขเวทนา
    ถูกต้องแล้ว ย่อมเพลิดเพลิน พูดถึง ดำรงอยู่ด้วยความติดใจ จึงมีราคานุสัย
    นอนเนื่องอยู่ อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไห้ คร่ำครวญ
    ทุ่มอก ถึงความหลงพร้อม จึงมีปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่ อันอทุกขมสุขเวทนา
    ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่ทราบชัดความตั้งขึ้น ความดับไป คุณ โทษ และที่สลัดออก
    แห่งเวทนานั้น ตามความเป็นจริง จึงมีอวิชชานุสัยนอนเนื่องอยู่ ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ข้อที่บุคคลนั้นยังไม่ละราคานุสัยเพราะสุขเวทนา ยังไม่บรรเทาปฏิฆา-
    *นุสัยเพราะทุกขเวทนา ยังไม่ถอนอวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนา ยังไม่ทำ
    วิชชาให้เกิดเพราะไม่ละอวิชชาเสีย แล้วจักเป็นผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบัน
    ได้ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ ฯ

    [๘๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยจักษุและรูปเกิดจักษุวิญญาณ
    ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ย่อมเกิดความ
    เสวยอารมณ์ เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง เขาอันสุขเวทนา
    ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พูดถึง ไม่ดำรงอยู่ด้วยความติดใจ จึงไม่มี
    ราคานุสัยนอนเนื่องอยู่ อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก
    ไม่ร่ำไห้ ไม่คร่ำครวญทุ่มอก ไม่ถึงความหลงพร้อม จึงไม่มีปฏิฆานุสัยนอนเนื่อง
    อยู่ อันอทุกขมสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมทราบชัดความตั้งขึ้น ความดับไป
    คุณ โทษ และที่สลัดออกแห่งเวทนานั้น ตามความเป็นจริง จึงไม่มีอวิชชานุสัย
    นอนเนื่องอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลนั้นละราคานุสัยเพราะสุขเวทนา
    บรรเทาปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนา ถอนอวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนา ยัง
    วิชชาให้เกิดขึ้นเพราะละอวิชชาเสียได้ แล้วจักเป็นผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ใน
    ปัจจุบันได้ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยโสตะและเสียง เกิดโสตวิญญาณ ...
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยฆานะและกลิ่น เกิดฆานวิญญาณ ...
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยชิวหาและลิ้น เกิดชิวหาวิญญาณ ...
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยกายและโผฏฐัพพะ เกิดกายวิญญาณ ...
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยมโนและธรรมารมณ์ เกิดมโนวิญญาณ
    ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ย่อมเกิดความ
    เสวยอารมณ์ เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง เขาอันสุขเวทนา
    ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พูดถึง ไม่ดำรงอยู่ด้วยความติดใจ จึงไม่มี
    ราคานุสัยนอนเนื่องอยู่ อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก
    ไม่ร่ำไห้ ไม่คร่ำครวญทุ่มอก ไม่ถึงความหลงพร้อม จึงไม่มีปฏิฆานุสัยนอนเนื่อง
    อยู่ อันอทุกขมสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมทราบชัดความตั้งขึ้น ความดับไป
    คุณ โทษ และที่สลัดออกแห่งเวทนานั้น ตามความเป็นจริง จึงไม่มีอวิชชานุสัย
    นอนเนื่องอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลนั้นละราคานุสัยเพราะสุขเวทนา
    บรรเทาปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนา ถอนอวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนา ยัง
    วิชชาให้เกิดขึ้นเพราะละอวิชชาเสียได้ แล้วจักเป็นผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุ-
    *บันได้ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ

    [๘๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อม
    เบื่อหน่ายแม้ในจักษุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุวิญญาณ
    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน
    ตัณหา
    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโสตะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเสียง ...
    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกลิ่น ...
    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรส ...
    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโผฏฐัพพะ ...
    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมารมณ์ย่อมเบื่อหน่าย
    แม้ในมโนวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา
    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในตัณหา เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด
    จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว และทราบชัดว่า
    ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้วกิจอื่นเพื่อความ
    เป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
    พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค และเมื่อพระผู้มีพระภาคกำลังตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้
    อยู่ ภิกษุประมาณ ๖๐ รูป ได้มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่นแล ฯ


    <CENTER>จบ ฉฉักกสูตร ที่ ๖</CENTER><CENTER></CENTER><CENTER>ที่มา:</CENTER><CENTER>http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=14&A=10324&Z=10554</CENTER>
     
  13. อีโต้

    อีโต้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    510
    ค่าพลัง:
    +256
    ผมคิดว่าสิ่งที่ ผู้พ่ายแพ้ต่อขันธ์5 เขียนมานั้น มันน่าจะหมายถึง อนิจจัง มากกว่านะครับ เพราะสิ่งที่คุณนำเสนอมามันแสดงถึงความไม่เทียงของสังขาร ส่วนอนัตตาที่แท้จริงนั้น ไม่สามารถที่จะบรรยายได้ด้วยตัวหนังสือ เพราะเป็นสิ่งที่สมองของมนุษย์ไม่สามารถเข้าใจได้ ต้องเข้าถึงได้ด้วยการบำเพ็ญภาวนาถึงจะเข้าใจ ส่วนคุณ WISARN it เอาข้อมูลมาจาก นักธรรมเอก ธรรมวิจาร ใช่ป่าว
     
  14. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,075
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา

    ความทุกข์ทั้งหลายทั้งปวง ไม่เที่ยง ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น
     
  15. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    ศาสนามีไว้เป็น Guidline

    วิปัสสนากรรมฐาน เป็นภาคปฏิบัติ

    แต่การแก้สมการ คือ ตัวของตัวเองจ้า
     
  16. pakung

    pakung เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,625
    ค่าพลัง:
    +429
    ความขี้เกียจนั่นเอง
     
  17. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870

    ช่ายยยเลย.........ขี้เกียจจน ได้ดี
     
  18. ผู้อยากรู้

    ผู้อยากรู้ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    54
    ค่าพลัง:
    +0
    แล้ว "อนัตตา ของขายเกลี้ยง" คืออะไรค่ะ
     
  19. nuttadet

    nuttadet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,892
    ค่าพลัง:
    +6,454
    คือ คำ คำนึง
     
  20. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +2,983
    อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็น นาม คือสภาวะธรรม

    ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่มีตัวตน สภาวะของความสูญ ว่างเปล่า

    สภาวะที่ไม่ยึดถืออะไร มีแต่ ความปล่อยวาง แล้วสงบเย็น

    ในที่นี้ เฉพาะ อนัตตา คือ ความไม่มีตัวตน อธิบาย เปรียบเทียบ เหมาะที่สุดเห็นชัด "กูเป็นใคร มึงรู้เปล่า?" การโดนดูถูก ไม่ได้รับการยกย่อง ไม่ได้รับเกียรติก็โกรธ เป็นเพราะ อัตตา ถือตัว ถือตน

    เจ้ายศ เจ้าอย่าง เอาแต่ใจตนเอง ไม่ยอมแพ้ แพ้ไม่เป็น สร้างภาพให้ดูเหนือคนอื่น เห็นแก่ตัว เห็นแก่ได้ งก โลภมาก ทำทุกอย่างเพื่อตัวเอง หยามไม่ได้ อวดวิเศษเพื่อให้ดูเก่ง เพื่อลาภผล และหลาย ๆ อย่าง ที่ทำเพื่อตัวเอง หลงตัวเอง

    สิ่งเหล่านี้มันคือ อัตตา ทั้งสิ้น ที่ผูกให้ตนเป็นทุกข์ จมอยู่กับมันไปไหนไม่รอด ใคร ๆ ก็เห็นแก่ตัวทั้งนั้น ปลดโซ่ตรวนตัวนี้ได้ บรรลุ อนัตตา หมดความเห็นแก่ตัวได้ มันก็เกิด ว่างเปล่า ไม่ต้องทำอะไร เพื่อใคร................แม้แต่ตัวมันเอง เบาไหม?




    เช่น ศักดิ์ศรี
     

แชร์หน้านี้

Loading...