นิพพาน คือ อะไรกันแน่

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย ปรมิตร, 15 สิงหาคม 2009.

  1. ปรมิตร

    ปรมิตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    404
    ค่าพลัง:
    +528
    หึหึ

    เพราะพระศาสดาผู้จะตอบคำถามได้อย่างแจ่มแจ้งนั้น มิได้ทรงดำรงพระชนม์อยู่ เพียงเท่านั้นเองขอรับท่านทั้งหลาย
    และผมก็ได้ คำตอบที่น่าสนใจอยู่หลายประการ แค่นี่ก็เกิดกุศลแล้วครับ
    สาธุ พึงสนทนาธรรมในเรื่องที่พึงสนทธนา พระศาสดาย่อมมิตำหนิ
    ก็บอกแล้วน้าว่า ถ้าจะบอกให้ปฏิบัติ อ่ะผมก็พอรู้อยู่ครับ ว่าต้องปฏิบัติถึงจะได้รู้ด้วยตนเอง
    ผมเพียงแค่ อยากให้ อธิบายความเข้าใจในพระนิพพาน ของแต่ล่ะท่านเท่านั้นเองนะครับ ไม่ได้ ไม่รู้อาไร แต่เพียง ศึกษา บัญญัติในพระนิพพาน เพื่อการเทียบเคียงเฉยๆ ว่าแต่ล่ะท่านอธิบายได้กินใจ ลึกซึ้ง ได้ดีขนาดไหน ทั้งท่านผุ้เห้ฯพระนิพพานมาเเล้ว และผุ้ยังไม้เคยเห้นแต่ได้ยินได้ฟังมามาก
    แต่ยังไง ผมก็ยอรับฟังข้อคิดเห้นทั้งหมดนะครับ
    ขอบพระคุณวาทะ ของท่านผู้มีมิตรธรรม อันเลิศ ในการให้ความรู้คับผม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 สิงหาคม 2009
  2. ปรมิตร

    ปรมิตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    404
    ค่าพลัง:
    +528
    ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอแสดงความคิดเห็นสักเล็กน้อย
    ที่ท่านได้แสดงวาทะนั้นก็เป็นการดี หัวข้อนี้มิเป็นประโยชน์แก่ท่านก็จริง
    แต่เป็นประโยชน์สำหรับข้าพเจ้ามาก
    เพราะการแสดงความคิดเห็นของผู้รู้ หรือคัดลอกมา มิได้แปลว่าจะให้ท่านที่อ่านเชื่อ เพียงแต่ได้มีมุมมองที่ต่างออกไป

    ข้าพเจ้าและผู้รู้ทั้งหลาย ต่างรู้ดีว่า มิสามารถอธิบายในภาษาโลกได้ แต่ ทำอย่างไรเล่าเพราะเราต้องอยู่ในโลก หากมีผู้ศรัทธา ไต่ถามด้วยว่า ต้องการทราบจุดมุ่งหมาย เราก็ไม่พึงตอบว่า ไม่รู้ทำๆไปก่อน เด๋วก็รู้เอง แต่ผมก็ไม่ได้กะว่าจะเอาไปสอนใครนะครับ เพียงแค่ให้ท่านผู้เจริญทั้งหลายแสดงความเข้าใจในแบบของท่านเท่านั้นเองขอรับ

    เราสาวกไม่พึง รู้วาระจิตและความคิดของพระพุทธเจ้า

    อนึ่ง ตัณหา คือกิเลสเป็นตัวก่อภพ หากท่าน กระทำให้ตัวเองหลุดพ้นด้วยความอยาก (ดังเช่นที่ได้กล่าวไปว่า พระพุทธเจ้ากล่าวไว้ให้เราอยากปฏิบัติ)
    การกระทำนั้นๆ ก็ยังเจือด้วยกิเลส(อยาก)ให้ตัวเอง(อัตตา)หลุดพ้น
    ซึ่งก็ยากแล้ว เพราะยังมีโซ่ตรวนให้อยู่ในภพทั้งสอง บางทีพระองค์ตรัสเพื่อให้ เป้นกำลังใจ มิใช่ให้เราอยากไปก็ได้นะครับ
    ผมไม่ได้อยากไปพระนิพพาน แต่ต้องการทราบ นิยาม เฉยๆ ไม่ได้ ทราบเพื่ออยากไปแต่พระพุทธเจ้าท่านยกย่องพระนิพานเป็นบรมสุข จึงชวนสนทธนา ธรรมที่ชื่อว่านิพพาน
    อันว่านิพพานเป็นธรรมะที่พึงสนทนา ทั้ง ปริยัติ ปฏิบัติและปฏิเวธ แหล่ะคับ
    ผมมิได้ชักชวนให้สนทนาธรรมอันเพ้อเจ้อเลย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 สิงหาคม 2009
  3. มาริตา

    มาริตา Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    61
    ค่าพลัง:
    +60
    เคยได้ยินมาว่านิพพานมีสองแดน
    คือแบบหลวงพ่อ ที่ว่าเป็นดินแดนทิพย์ และแบบว่างเปล่า
    ยัง งงๆอยู่เหมือนกันค่ะ
     
  4. ปรมิตร

    ปรมิตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    404
    ค่าพลัง:
    +528
    นิพพาน คือ นิพพาน
    555
     
  5. วรกันต์

    วรกันต์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    190
    ค่าพลัง:
    +257
    pig_balletอ่ะ นึกว่า ลืมไปแล้ว เรื่องโพสกระทู้
    อันนี้ลิงค์ ที่ผมเคยโพสไว้ copy ให้หมดเลย

    อันนี้เกิดหลังได้รู้ว่านิพพานคือ อะไรแล้วนะครับ ไม่ได้บอกว่ามันถูกนะ
    http://palungjit.org/threads/เป็นไปได้ไหม-ว่า-นิพพาน-ก็ยังไม่ใช่จุดสิ้นสุดแห่งการดับทุกข์.174155/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 สิงหาคม 2009
  6. วรกันต์

    วรกันต์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    190
    ค่าพลัง:
    +257
    จะเอา คำอธิบาย เสี้ยววินาทีในการบรรลุธรรม สู่การเป็นโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี ด้วยมะ รวมถึงอรหันต์

    อธิบายได้แบบมีเหตุมีผลด้วย มูลเหตุแห่งการละสักกายทิฏฐิ อันนำไปสู่ปัญญา
    :z6
    พูดให้อยาก มะบอกหรอก นะ ฮิฮิ
     
  7. ปรมิตร

    ปรมิตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    404
    ค่าพลัง:
    +528
    คุณวรกันต์ครับ
    ผมเคยสนทนากับเพื่อนเรื่องนี้เมื่อนานมากแล้ว เพื่อนผมก้ให้นิยามแบบคุณนี่หล่ะ ว่า นิพพานอาจเป้นคล้ายๆที่ที่หนึ่งที่ สงบกว่าพรหม มีอายุมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก จนผู้ที่เข้าไปแล้ว ไม่ออกมาอีกเลย ผู้ที่ไปถึงหรือผุ้ที่ไปบังเกิดในนั้น ไม่มีใครได้ลงมาเวียนว่ายตายเกิดอีกเลย ตั้งแต่รู้จักสภาวะนั้น
    ส่วนเรื่องการถ่ายเทของ วิญญาณจิตว่าถ้าวันหนึ่งสัตว์นิพพานกันหมดเเล้ว คงหมดสัตว์ที่บังเกิดขึ้นในโลกนี้อีก หรือในสวรรค์
    ท่านครับ วิญญาณมีจำจวนจากอนันต์จนถึงอนันต์(มันนับไม่ได้ดอกครับ เพราะเป้ฯจำนวนที่นับไม่ได้ เช่นเดียวกับสมการที่หารด้วยศูนย์ ) หากคิดดีๆคุณจะได้ธรรมะจากจำนวนท่เรียกว่าศูนย์นะครับ ทำไมศุนย์คูณจำนวนใดๆก็ได้ศูนย์ แต่ถ้าหารแล้วจะตอบไม่ได้นั่นหล่ะครับ คือ นิพพานในเชิงตัวเลข
    แต่ก็อย่างว่า กฎคือกฎ จะเอากฎของพีชคณิตมาอธิบาย กฎอื่นก็ไม่ได้สมมบูรณ์

    เรื่องนิพพานนั้น ก็อยากรู้อยู่นะ
    แต่ ไม่ทำให้ตัวเองเป็นทุกข์เพราะสิ่งนั้นหรอกนะครับ ความอยากเกิดเพราะมีเหตุ ก็ดับไปเพราะเหตุ(เห้นไหมว่าความอยากดี ก็เป็นทุกข์ ทุกข์แบบคนดี555)
    เพราะว่าเริ่มอยากก็ทุกข์แล้ว ไม่ต้องรอให้สมหวังหรือผิดหวังหรอกนะครับ

    นิพพาน จะเป็นอะไรก็ช่างเถิด เพราะเป็นเพียงนิยาม หรือสมมติ ที่บัญญัติขึ้นเพื่อสื่อความหมายให้ตรงกัน ว่าเป็น สิ่งที่สัมผัสด้วยจิต สุข สงบ สว่าง ว่าง เย็น อันเกิดจากวิมุตติหรือความหลุดพ้น ไม่เร้าร้อนด้วยด้วยกิเลส หรือทุกข์ทั้งหลาย (เพราะไม่มีใครเคยบอกเลยว่า ร้อน หรือมีทุกข์)
    ณ บริเวณหรือจุดที่เรียกว่านิพพาน ก็คือ จุดที่ สูงสุด ในสังสารวัฎนี้ เพราะผู้บริสุทธิ์หลุดพ้น ผู้น่าสรรเสริญ ผู้เจริญทั้งหลายที่พ้นจากอสวะแล้วท่านอยู่ที่นั่น
    เราผู้เดินอยู่พลาง ร้องให้พลาง เสียใจพลาง มีความทุกข์ลากคอ มีกิเลสเคี่ยนหลังอยู่ มีความไม่รู้อันทำให้เข้าใจผิดไปอยู่ ผิดซ้ำๆ ซากๆ เสียใจ ซ้ำๆซากๆ ด้วยเรื่องเดิมๆ ย่ำอยู่กับที่ (เหมือนกงล้อที่มีต้นเหตุแห่งอวิชชาหรือความไม่รู้ หมุนอยู่)
    เวียนว่ายตายเกิด อยู่หาก ไม่ลองออกมาก็ไม่รู้ซักที
    หากยังเห็นว่าสุขบ้างทุกข์บ้างก็ยังทุกข์อยู่ดีเพราะขันธ์เป็นทุกข์โดยตัวของมัน (แล้วทำไมต้องทุกข์ พระพุทธเจ้าก็บอกว่า ก็เพราะเราไปยึดถือเอาเป็นของตัวเข้า นี่ รู้สึกสะใจขึ้นมาทันที หึหึ ทำยังไงจะละความยึดถืออันนั้นได้)

    ผมเพียงเเค่ชวนสนทนาเฉยๆท่าน มิได้เอาจริงแต่อยางใด
    เพียงปุถุชนคนหนึ่งที่ไม่เคยได้เห็น
    หากมีผู้กล่าวสุภาษิตโดยสมเพชว่าโอ๊ยไอ้ตาบอดคลำช้าง ก็แสดงว่าไอ้ตาบอดคนนั้นสนใจช้างนะครับ
    ถ้ามันไม่คลำมันก็ไม่รู้ใช่ไหมครับ ตาบอดทำให้ตาดีไม่ได้ในภพนี้ ก็ต้องคลำเพื่อจำลักษณะของช้างไปเรื่อยๆ เมื่อความครุ่นคิด สงสัยนี้ติดอยู่ก็จะอยู่ในสันดาน วันหนึ่งหากไม่มีผู้มีปัญญาบังเกิดบอกสอน ตาบอดคนนั้นอาจเป็นคนตาดีที่สุด เป็นคนที่เคยได้รู้จักช้างมากที่สุดเพราะคุ้นเคยกับการคลำ การได้ยิน การลิ้มรสหรือการใช้ใจสัมผัส เมื่อเค้าได้เห็นก็ไม่สงสัยว่านั่นช้างหรือไม่ใช่ไหมครับ


    สรุปว่า นิพพานที่ผมเข้าใจคือสภาวะหนึ่งที่กงล้อแห่งปฏิจสมุปบาท นั้นหยุดหมุน
    (สังเกตไหม ไม่ว่าจะไปอยู่ในที่ใดภพใดก็ได้ตั้งแต่อเวจีมหานรกจนถึงอรูปพรหมชั้นสูงสุด กงล้อนั้นก้ยังหมุนอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ทุกขณะ เช่น ณ ขณะนี้ แต่ถ้าดึงอวิชชาหรือสาเหตุจริงๆที่ทำให้มันหมุนออกไปได้ ก็จะหยุดหมุน นิ่ง หลุดพ้น พระพุทธเจ้า และพระอรหันตบุคคลทั้งหลาย ล้วนอยู่ในภาวะนั้นคือ หยุดการหมุนของกงล้อได้แล้ว ถ้าใครบอกว่าไปนิพพานๆ แต่ยังตัดกงล้อนี้ไม่ได้ก็ไปได้ไม่จริงหรือไปจริงก็แค่ไปเห็น มิได้สัมผัสด้วยใจ จึงไม่เรียกว่าเห็นพระนิพพานที่แท้จริงหรอกนะครับเพราะการเห็นแบบนั้นก็ยังเห้นแบบโลกๆอยู่ [พระอริยบุคคลเท่านั้นจึงจะสัมผัสนิพพานด้วยใจได้เพราะแหวกม่านอวิชชา ละกิเลสได้เป็นลำดับๆ] )
    อนุโมทนาในความดีที่จะเกิดขึ้นนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 สิงหาคม 2009
  8. GoogLife

    GoogLife Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    15
    ค่าพลัง:
    +28
    ผทคิดว่าทำให้ถึงคงหมดความสงสัยงั้นเรามาตั้งหน้าตั้งใจทำกันดีกว่าไหม
     
  9. Rupanama

    Rupanama สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +25
    นิพพานมีอะไรอยู่ในนั้นครับ
     
  10. ปรมิตร

    ปรมิตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    404
    ค่าพลัง:
    +528
    นิพพาน มีสิ่งที่โลกไม่มี และไม่มีสิ่งที่โลกมี ครับ55
     
  11. vera_p

    vera_p เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2009
    โพสต์:
    260
    ค่าพลัง:
    +588
    ท่านวรกันต์ คิดถูกแล้วที่สงสัยอย่างนั้น

    ว่างๆก็เอามาอธิบายในที่แจ้งด้วยเน้อ...
     
  12. ปรมิตร

    ปรมิตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    404
    ค่าพลัง:
    +528
    ท่านวีระพี ไม่อธิบาย ตีความนิพพาน ซะหน่อยหรือครับ
     
  13. vera_p

    vera_p เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2009
    โพสต์:
    260
    ค่าพลัง:
    +588
    ท่านปรมิตร... ถ้าบุคคลใดยังไม่สามารถทิ้งคำว่า จิตวาง ให้เป็นของ ว่าง จริงๆได้ ผมหมายความว่า ยังเข้าถึงการนับว่าจิตอยู่ เพราะคนเหล่านั้นเพ่งแต่ธรรมชาติเเห่งจิตไ้ว้ถ่ายเดียว ไม่สละคืนสู่ธรรมภาวะธรรมชาติทั้งปวง ตั้งไว้แต่จิตตะภาวะก็จะยังทรงความเป็นอัตตะจิตลักษณะชาติอยู่(แต่ก็นิพพานหลุดพ้นได้ตามสาวกภาวะ) เพราะเหตุดังนั้น บุคคลนั้นจึงได้แต่จิตวาง จิตสะอาด จากกิเลสคือวางภาระคือวางขันธ์5ลงได้ ทำลายรื้อถอนเสียซึ่งความไม่รู้ออกเสียได้ บุคคลเหล่านั้นก็จะหมายเอา จิตวาง ว่าเป็น จิตว่าง คือว่างเปล่าจากกิเลส แต่

    ในความหมายของผมเอง จะบัญญัติสภาวะแบบนี้ ว่าเป็นจิตว่างไม่ได้ ต้องกล่าวให้ตรงกับภาวะจริงที่ปรากฏ (ตรงนี้ถ้าขัดใจผู้ใด ก็ขออภัยครับ)


    ตามธรรมดากระเบื้องทั้งหลาย มักมีมลทิน มีคราบมันและฝุ่นละอ่องเป็นต้น หากบุรุษใดขัดขจัดล้างชำระซึ่งมลทินเหล่านั้นดีแล้ว ก็จะสะอาดฉันใด จิตก็ฉันนั้น แต่ก็ยังนับว่า กระเบื้องที่สะอาดไร้มลทินนั้นว่า เป็นกระเบื้องอยู่ดีครับ

    แต่พุทธะทั้งปวงนั้น อาศัยเหตุข้างต้นที่กล่าวมานั้น ทำลายเสีย ซึ่งสิ่งที่หมายด้วยการนับว่าจิตสะอาด จิตวางนั้น โดยเป็นหนึ่งเดียวกับเบญจขันธ์(ขันธ์โลกทั้งปวง)เสีย เท่านี้ จิตก็จะไม่เข้าถึงการนับว่า จิต อีกต่อไป จึงเป็นของว่างโดยแท้ รูปไม่ต่างจากความว่าง ความว่างไม่ต่างจากรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็เฉกเช่นเดียวกัน

    รูปจิตรวมกันเป็นหนึ่ง ไม่แบ่งแยก สัพพะสิ่งรวมหนึ่งแยกไม่ออกว่า สิ่งนี้คืออะไร เป็นเช่นไร ลักษณะเป็นอย่างไร เพราะถ้ากล่าวว่า สิ่งนี้เป็นดิน ดินนั้นก็พร้อมที่จะเเปรเปลี่ยนไปเป็นน้ำ จากน้ำก็จะเปลียนไปเป็นดิน จากดินแปรเปลี่ยนไปเป็นไฟ จากไฟเปลียนไปเป็นลม จากมีรูปก็สลายกลายเป็นของว่าง ของว่างกลายเป็นของมีรูป เพราะฉะนั้น ธรรมธาตุทั้งหลายทั้งปวง พร้อมที่จะเเปรเปลี่ยนไปเป็นอะไรก็ได้ ไม่จำกัดรูปแบบ เพราะฉะนั้น โลกนี้ อันเป็นขันธ์ อันเป็นธาตุทั้งหมดทั้งปวง จึงเป็นแค่สมมุติ

    เหล็กหรือทองคำที่ว่าแคล้นแข็ง เมื่อถูกไฟเผาล้น ก็จะกลายเป็นน้ำ น้ำก็จะกลายเป็นไฟ ไฟก็จะเป็นลม เมื่อนานเข้าๆ สุดท้ายหายไปหมดทั้งสิ้น หาตัวตนเเห่งดินน้ำลมไฟไม่ได้

    พุทธะทั้งหลาย เมื่อจำเเนกแจกธรรม รู้ประจักษ์แจ้งทั้งหมดทั้งสิ้นเป็นอันดีแล้ว ซึ่งภาวะดั่งเดิม จิตเข้าถึงซึ่งความเป็นอันเดียวกับธรรมทั้้งปวง หาได้มีความรู้สึกแยกแยะหมายว่า อันนี้ ขันธ์5 อายตนะ12 ธาตุ6 เจตสิกเหล่านั้นไม่ แต่ก็สว่างอยู่ รู้แจ้งอยู่ สงบอยู่ ว่างอยู่ ข้อนี้ผู้รู้ทั้งหลาย บัญญัติว่า ผู้บรรลุนิพพานอันมีเบญจขันธ์เหลือ(ธาตุธรรม)คือยังมีชีวิตตินทรีย์อยู่

    แต่เมื่อตราบใดที่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณอันเป็นขันธ์วัตถุทั้งหลายดับไป ตราบนั้น ที่สมมุติว่า จิต ก็จะดับไปพร้อมๆกับธรรมทั้งหลายเหล่านั้นด้วย แล้ว ก็เข้าถึงความว่างอย่างแท้จริง (หรือพุทธะทั้งหลายกล่าวว่าเมื่อ รูปเวทนาสัญญา สังขาร วิญญาณดับไปจึงนิพพาน แต่พระพุทธเจ้าตรัสว่า วิญญาณดับนั้นแลจึงนิพพาน ซึ่งผมก็เห็นอย่างนี้ด้วยอย่างมาก) ข้อนี้จึงได้ชื่อว่า ปรินิพพาน แบบไม่มีส่วนเหลือ

    ที่มีข้อถกเถียงอย่างหนักว่า ทำไมบางคนจึงเห็นว่าเป็นแดน เป็นเมือง และบางคนก็ว่ามันเป็นแค่สภาวะ

    ท่านปรมิตร การมองเห็นของคนมีไม่เท่ากัน ถึงจะเป็นพระอริยะก็ตาม การมองเห็นไม่เท่ากัน บางท่านเห็นสภาพนิพพานเป็นเมือง ก็เพราะว่า อาศัยขันธ์ อาศัยอุปทานในภพในอัตตภาพนั้นๆ แต่เป็นขันธ์และอุปทานเป็นฝ่ายวิชชานะ ไม่ทุกข์ ไม่ผิด ข้อนี้มันละเอียดอ่อน ต้องอธิบายกันนานโข


    หากผมกล่าวผิดข้อไหนขออโหสิกรรมด้วยนะครับ ทุกๆท่าน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กันยายน 2009
  14. vera_p

    vera_p เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2009
    โพสต์:
    260
    ค่าพลัง:
    +588
    เมื่อท่านปรมิตรได้อ่านข้อความที่กล่าวโดยย่อ และสื่อความไม่ชัดเท่าที่ควรนั้น ด้วยปัญญาของท่านก็จะรู้ว่า มันเป็นภพที่สูงกว่าพรหม หรือ ไม่

    มันเป็นอีกภพนึง หรือว่า มันไม่ใช่ภพอย่างที่คนเข้าใจ


    ท่านปรมิตร ท่านจะรู้ว่า สิ่งนั้นไม่มีที่หมาย จะหมายเอาว่า ตั้งอยู่ ณ.ที่ไหนก็ไม่ได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กันยายน 2009
  15. Readome

    Readome เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    69
    ค่าพลัง:
    +130
    เรื่องนิพพาน อย่าเอามาคุยกันดีกว่า เพราะมันเป็นอจินไตร หากคุยกันไปมันจะเป็นบ้า
    เอาเป็นว่า จิตยังไม่ล่ะ ยังไม่ถึงนิพพาน ดีกว่า อย่าไปถามอะไรมาก เพราะคำถามนี้
    มันเป็นอจินไตร เป็นความลังเลสงสัยและจะทำให้คนสติวิปลาส ก้เหมือนกับไก่กับไข่
    อะไรเกิดก่อนกัน
     
  16. vera_p

    vera_p เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2009
    โพสต์:
    260
    ค่าพลัง:
    +588

    ท่านReadome...เรื่องนิพพานนี้ เจ้าของกระทู้ เขาตั้งมาเพื่อถามถึงความเห็นที่แตกต่างเท่านั้น และดูเหมือนว่า เจ้าของกระทู้เขาก็ไม่ได้นำเอาไปเป็นเรื่องขบคิดจนถึงทำให้เป็นบ้า ประสาท โรคจิต สติวิปลาสนี้ครับ เจ้าของกระทู้เขาแค่ถามเท่านั้น ไม่ได้สัมพันธ์สืบต่อ จนให้มันน่าปวดหัวอะไร หรือ เป็นเรื่องที่น่าขัดใจอะไรส่วนใดเลย(คิดใหม่)

    อันที่จริงเรื่องการนึกถึง หรือ พิจารณา นิพพาน ก็เป็นเรื่องดีเหมือนกันนี้ครับ

    เพราะ 1 ในอนุสสติกรรมฐานทั้ง10 ก็มี อุปสมนิพพานกัมมัฏฐาน เป็นลำดับสุดท้าย คือให้ตามระลึกนึกถึง และพิจารณา ความสงบ สว่าง ว่าง ดับ แห่งนิพพานว่าเป็นคุณเป็นธรรมอันละเอียดประณีต เป็นการสะกดจิตของผู้ที่ฝึกฝนตนด้วยศรัทธา ให้มีจุดมุ่งหมายปลายทางคือความดับทุกข์ ดังที่สายมโนยิทธิ เขาทำกัน
     
  17. Sriaraya5

    Sriaraya5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    3,079
    ค่าพลัง:
    +12,852

    นิพพานคือบ่อคืนของกิเลสตัญหา
     
  18. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    คงตอบให้ท่านไม่ได้หรอก เพราะตัวเองยังเบาปัญญาอยู่ ยังมีกิเลสอยู่

    รู้อยู่แค่เฉพาะตน ไม่รู้จริงห้ามอฺธิบาย เพราะจะพลอยเป็นบาปเป็นกรรมแก่ตัวเอง และผู้อื่น


    แต่ผมคัดลอกหลักธรรมนี้มา อยากให้ท่านอ่านพิจาณาจากหลักธรรมนี่ ซึ่งเป็นธรรมของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงแก่พระอานนท์

    เมืองพระนิพพาน

    ตทนนฺตรํ ในลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส เทศนาต่อไปอีกว่า
    อานนฺท

    ดูกรอานนท์ นิพฺพานํ นครํ นาม อันชื่อว่าเมืองพระนิพพาน ย่อมตั้งอยู่ในที่สุดแห่งโลก โลกมีที่สุดเพียงใด พระนิพพานก็ตั้งอยู่ที่สุดนั้น พระนิพพาน เป็นพระมหานครอันใหญ่ เป็นที่บรมสุขหาที่เปรียบมิได้ คำที่ว่าที่สุดแห่งโลกนั้น จะถือเอาอากาศโลกหรือจักรวาล โลกเป็นประมาณนั้นมิได้ อากาศโลกและจักรวาลโลกนั้น มีที่สุดเบื้องต่ำก็เพียงใต้แผ่นดิน แผ่นดินนี้มีน้ำรองใต้น้ำ นั้นมี ลม ลมนั้นหนาได้ ๙ แสน ๔ หมื่นโยชน์สำรองน้ำไว้ ใต้ลมน้ำลงไปเป็นอากาศหาที่สุดมิได้ ที่สุดโลกเบื้องต่ำก็ เพียงลมเท่านั้น อันว่าที่สุดแห่งจักรวาลโลกเบื้องขวางนั้น มีอนันตจักรวาลเป็นเขต นอกอนันตจักรวาลออกไปเป็น อากาศว่างๆอยู่ จึงว่าโดยขวางมีอนันตจักรวาลเป็นที่สุด อันว่าที่สุดแห่งจักรวาลโลกเบื้องบนนั้น มีอรูปพรหมเป็นเขต เฉพาะอรูปพรหม ๔ ชั้นนั้น
    พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็น นิพพานพรหมหรือนิพพานโลก นิพพานโลกนี้เป็นที่ไม่ สิ้นสุด ส่วนว่านิพพานของพระพุทธเจ้า ซึ่งมีนามว่า โลกุตตรนิพพาน เป็นนิพพานที่สุดที่แล้ว ต่ออรูปพรหม ๔ ชั้นขึ้นไปก็เป็นแต่อากาศที่ว่างๆ อยู่ จึงว่าที่สุดเบื้องบน เพียงอรูปพรหมเท่านั้น จะเข้าใจเอาเองว่าลมรองน้ำและ อนันตจักรวาลและอรูปพรหมเป็นที่สุดของโลก เมือง พระนิพพานคงตั้งอยู่ในที่สุดของโลกเหล่านั้น ดังนี้ พระ พุทธเจ้าจึงห้ามว่า อย่าพึงเข้าใจอย่างนั้นเลย ที่ทั้งหลาย เหล่านั้น ใครๆก็ไม่สามารถจะไปถึงด้วยกำลังกาย หรือ ด้วยกำลังยานพาหนะมียานช้างยานม้าได้ อย่าเข้าใจว่าเมือง นิพพานตั้งอยู่ในที่สุดของโลกเหล่านั้น หรือตั้งอยู่ในที่ แห่งนั้นแห่งนี้ อย่าเข้าใจว่าตั้งอยู่ในที่ใดที่หนึ่งเลย แต่ว่า พระนิพพานนั้น หากมีอยู่ในที่สุดของโลกเป็นของจริง ไม่ต้องสงสัย ให้ท่านทั้งหลายศึกษาให้เห็นโลก รู้โลกเสีย ให้ชัดเจน ก็จักเห็นพระนิพพาน พระนิพพานก็ตั้งอยู่ใน ที่สุดแห่งโลกนั้นเองดูกรอานนท์ บุคคลทั้งหลายถึงที่สุดโลกออกจาก โลกได้แล้ว จึงชื่อว่าถึงพระนิพพาน และรู้ตนว่าเป็นผู้พ้น ทุกข์แล้วและอยู่สุขสำราญบานใจทุกเมื่อ หาความเร่าร้อน โศกเศร้าเสียใจมิได้ ถ้าผู้ใดยังไม่ถึงที่สุดโลก ยังออกจากโลก ไม่ได้ตราบใด ก็ชื่อว่ายังไม่ถึงพระนิพพาน จะต้องทนทุกข์ น้อยใหญ่ทั้งหลาย เกิดๆ ตายๆ กลับไปกลับมาหาที่สุด มิได้อยู่ตราบนั้น บุคคลทั้งหลายเป็นผู้ต้องการพระนิพพาน แต่หารู้ไม่ว่าพระนิพพานนั้นเป็นอย่างไร อยู่ที่ไหน การปฏิบัติ ในทาน ศีล สมาธิ ปัญญา อันเป็นทางไปสู่พระนิพพาน ก็ไม่เข้าใจ เมื่อไม่รู้ไม่เห็นไม่เข้าใจแล้ว จะไปสู่พระนิพพาน นั้นเป็นการลำบากยิ่งนัก เปรียบเหมือนคน ๒ คน ผู้หนึ่ง ตาบอด ผู้หนึ่งตาดี จะว่ายข้ามน้ำมหานทีอันกว้างใหญ่ ในคนทั้ง ๒ นั้น ผู้ใดจักถึงฝั่งข้างโน้นก่อน คนผู้ตาดีต้อง ถึงก่อน ส่วนคนผู้ตาบอดนั้น จะว่ายข้ามไปถึงฝั่งฟากโน้น ได้แสนยากแสนลำบาก บางทีจะตายเสียในท่ามกลางแม่น้ำ เพราะไม่รู้ไม่เห็นว่าฝั่งอยู่ที่ไหน ข้ออุปมานี้ฉันใด คนไม่รู้ ไม่เห็นพระนิพพานอยู่ที่ไหนเป็นอย่างไร ทางจะไปก็ไม่เข้าใจ เป็นแต่อยากได้อยากถึง อยากไปพระนิพพาน เมื่อเป็น เช่นนี้การได้การถึงของผู้นั้นก็ต้องเป็นของลำบากยากแค้นอยู่ เป็นของธรรมดา บางทีจะตายเสียเปล่า จะไม่ได้เงื่อนเค้าของ พระนิพพานเลย ผู้ศึกษาพึงเข้าใจว่า พระนิพพานอยู่ที่สุด ของโลก ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นทางไปพระนิพพาน ถ้า รู้อย่างนี้ยังมีทางที่จะถึงพระนิพพานได้บ้าง แม้เมื่อรู้แล้ว อย่างนั้น ก็จำต้องพากเพียรพยายามเต็มที่ จึงจะถึงเหมือน คนตาดีว่ายข้ามน้ำ ก็ต้องพยายามจนสุดกำลังจึงจะข้าม พ้นได้ มีอุปไมยเหมือนกันฉันนั้น

    ดูกรอานนท์ บุคคล ทั้งหลายผู้ปรารถนาพระนิพพานควรศึกษาให้รู้แจ้งครั้น รู้แจ้งแล้วจะถึงก็ตาม ไม่ถึงก็ตาม ก็ไม่เป็นทุกข์แก่ใจ ถ้าไม่รู้ แต่อยากได้ย่อมเป็นทุกข์มากนัก เปรียบเหมือนบุคคล อยากได้วัตถุสิ่งหนึ่ง แต่หากไม่รู้จักวัตถุสิ่งนั้น ถึงวัตถุสิ่งนั้น จะมีอยู่จำเพาะหน้า ก็ไม่อาจถือเอาได้เพราะไม่รู้ ถึงจะ มีอยู่ก็มีเปล่าๆ ส่วนตัวก็ไม่หายความอยากได้ จึงเป็น ทุกข์ยิ่งนัก ผู้ปรารถนาพระนิพพาน แต่ไม่รู้จักพระนิพพาน ก็เป็นทุกข์เช่นนั้น จะถือเสียว่าไม่รู้ก็ช่างเถอะ เราปรารถนา เอาคงจะได้ คิดอย่างนี้ก็ผิดไป ใช้ไม่ได้ แม้แต่ผู้รู้แล้ว ตั้งหน้าบากบั่นขวนขวาย จะให้ได้ถึงก็ยังเป็นการยาก ลำบากอย่างยิ่ง บุคคลผู้ไม่รู้ไม่เห็นพระนิพพานและจะถึง พระนิพพาน จะมีมาแต่ที่ไหน อย่าว่าแต่พระนิพพานเลย แม้จะกระทำการสิ่งใดก็ดี เป็นต้นว่า ช่างเงิน ช่างทอง ช่างเหล็ก ช่างไม้ ช่างวาดเขียน ต่างๆ เป็นต้น ต้องรู้ ด้วยใจหรือเห็นด้วยตาเสียก่อนจึงจะทำสิ่งนั้นให้สำเร็จได้ ผู้ปรารถนาพระนิพพานก็ต้องศึกษาให้รู้จักพระนิพพานไว้ ก่อนจึงจะได้ จะมาตั้งหน้าปรารถนาเอาโดยความไม่รู้นั้น จะมีทางได้มาที่ไหน ดูกรอานนท์ บุคคลทั้งหลายควรจะ ศึกษาให้รู้ให้แจ้งทางของพระนิพพานไว้ให้ชัดเจนแล้วไม่ควร ประมาท แม้ปรารถนาจะไปก็ไป แม้ไม่ปรารถนาจะไป ก็อย่าไป ครั้นเห็นดีแล้ว จิตประสงค์แล้ว ก็ให้ปฏิบัติ ในทางของพระนิพพานด้วยจิตอันเลื่อมใสก็อาจจะสำเร็จ ไม่สำเร็จก็จะเป็นอุปนิสัยต่อไป ผู้ที่ไม่รู้แม้ปรารถนาจะไป หรือไปอยู่ใกล้ที่นั้นบ่อยๆก็ไม่อาจถึง เพราะเข้าใจผิด คิดว่าอยู่ที่นั้นที่นี้ ก็เลยผิดไปตามจิตที่คิด หลงไปหลงมา อยู่ในวัฏฏสงสาร ไม่มีวันที่จะถึงพระนิพพานได้




    ผู้รู้มากถือตัวไกลพระนิพพาน

    ตทนนฺตรํ ลำดับนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสเทศนา ต่อไปว่า

    อานนฺท ดูกรอานนท์ สิ่งที่ทำให้สัตว์โลกเวียนว่าย ตายเกิดอยู่ในวัฏฏสงสาร ทรมานทุกข์ในนรกและกำเนิด สตว์ดิรัจฉานแล้ว ๆ เล่า ๆ ไม่รู้สิ้นสุดนี้ มิใช่สิ่งอื่นคือตัว กิเลสและตัณหาล่อลวงให้ดวงจิตของสัตว์ทั้งหลายมิให้พ้น ทุกข์ภัยในวัฏฏสงสาร และมิได้ถึงพระนิพพานได้ ถ้าผู้ใด มิได้รู้กองแห่งกิเลสแล้ว ผู้นั้นก็จะประสบภัยได้รับทุกข์ใน อบายภูมิทั้ง ๔ มิได้มีเวลาสิ้นสุด

    ดูกรอานนท์ จงจับตัว ตัณหาให้ได้ ถ้าจับได้แล้ว เมื่อตัวต้องทุกข์ก็จะเห็นได้ว่า ตัวเป็นอนัตตา เมื่อจับไม่ได้ก็เห็นตัวเป็นอนัตตาไม่ได้ บุคคลทั้งหลายที่มาเป็นสานุศิษย์แห่งพระตถาคตนี้ ก็มี ความประสงค์ด้วยพระนิพพาน การที่จะรู้ว่าดีหรือชั่ว กว่ากัน ก็แล้วแต่กิเลสเป็นผู้ตัดสินด้วยว่า พระนิพพาน เป็นที่ปราศจากกิเลสตัณหา ถ้าผู้ใดเบาบางจากกิเลสตัณหา ผู้นั้นก็เป็นผู้ดียิ่งกว่าผู้ยังหนาอยู่ด้วยกิเลสตัณหา ผู้ใดตั้งอยู่ ในนิจศีล คือศีล ๕ ผู้นั้นยังหนาอยู่ด้วยกิเลส แต่ได้ชื่อว่า เป็นผู้บางจากกิเลสได้ชั้นหนึ่ง ถ้าตั้งอยู่ในอุโบสถศีล คือ ศีล ๘ ได้ชื่อว่าบางจากกิเลสได้ ๒ ชั้น ถ้ามาตั้งอยู่ใน ทศศีล คือศีล ๑๐ ผู้นั้นก็ได้ชื่อว่าบางจากกิเลสได้ ๓ ชั้น ผู้เข้ามาตั้งอยู่ในศีลพระปาติโมกข์คือศีล ๒๒๗ ผู้นั้นก็ได้ ชื่อว่า บางจากกิเลสได้ ๔ ชั้น ผลอานิสงส์ก็มีเป็นลำดับ ขึ้นไปตามศีลนั้น ผู้ที่มีศีลน้อยอานิสงส์ก็น้อย ผู้ที่มีศีลมาก อานิสงส์ก็มากขึ้นไปตามส่วนของศีล บุคคลที่มิได้ตั้งอยู่ใน ศีล ๕ ถึงจะมีความรู้ความฉลาดมากมายสักเท่าใดก็ดี ก็ไม่ควรจะกล่าวคำประมาทแก่ผู้ที่มีศีล ๕ ผู้ที่มีศีล ๕ ก็ควร ยินดีแต่เพียงชั้นศีลของตน ไม่ควรที่จะกล่าวคำประมาท แก่ผู้ที่มีศีล ๘ ผู้ที่มีศีล ๘ ก็ควรยินดีแต่เพียงศีลของตน ไม่ควรที่จะกล่าวคำประมาทในท่านที่มีศีล ๑๐ ผู้ที่มีศีล ๑๐ ก็ควรยินดีอยู่ในชั้นศีลของตน ไม่ควรจะกล่าวคำประมาท ในท่านที่มีศีลพระปาติโมกข์ ถ้าแลขืนกล่าวโทษติเตียน ท่านที่มีศีลยิ่งกว่าตน ชื่อว่าเป็นคนหลง เป็นคนห่างจาก ทางสุขในมนุษย์ และสวรรค์ และพระนิพพานแท้

    ดูกร อานนท์ บุคคลผู้ไม่มีศีลปราศจากการรักษาศีล ไม่ควรกล่าว ซึ่งคำประมาทแก่ท่านผู้มีศีล ตัวตั้งอยู่ภายนอกศีลแล้ว มาเข้าใจว่า ตัวเป็นผู้ดีกว่าท่านผู้มีศีล แล้วกล่าวคำสบ ประมาทดูหมิ่นในท่านผู้มีศีล บุคคลจำพวกนั้นชื่อว่าเป็น เจ้ามิจฉาทิฏฐิใหญ่ ชื่อว่าเป็นคนหลงทาง เป็นผู้ห่างจาก ความสุขในมนุษย์และสวรรค์ ดูกรอานนท์ บุคคลผู้ตั้งอยู่ ภายนอกศีลนั้น ได้ชื่อว่าเป็นผู้ตั้งอยู่ในกิเลส ยังเป็นผู้ หนาแน่นอยู่ด้วยกิเลส แม้จะเป็นผู้มีความรู้ความฉลาด มากมายสักปานใดก็ตาม ก็ไม่ควรถือตัวเป็นผู้ยิ่งกว่าผู้มีศีล เหตุว่าผู้ที่ไม่มีศีลนั้นยังห่างจากพระนิพพานมาก ผู้ที่มีศีล ชื่อว่าใกล้ต่อ พระนิพพานอยู่แล้ว ถึงจะไม่รู้อะไร มีเพียง ศีลเท่านั้น ก็ยังดีกว่าผู้ไม่มีศีลอยู่นั่นเอง เพราะท่านเป็น ผู้บางจากกิเลสบุคคลผู้ที่หนาแน่นไปด้วยกิเลส แม้จะเป็น ผู้รู้มากแตกฉานในข้ออรรถและข้อธรรม ประการใดก็ตาม ก็ควรจะทำความเคารพยำเกรงในท่านที่มีศีล จึงจะถูกต้อง ตามคลองธรรมที่เป็นทางแห่งพระนิพพาน ถ้าให้ผู้มีศีล เคารพยำเกรงในผู้ที่ไม่มีศีลและเป็นผู้หนาแน่นด้วยกิเลส เป็นความผิดห่างจากทางพระนิพพานยิ่งนัก

    ดูกรอานนท์ จะถือเอาความรู้และความไม่รู้เป็นประมาณทีเดียวไม่ได้ ต้องถือเอาการละกิเลสได้เป็นประมาณ เพราะว่าผู้จะถึง พระนิพพานต้องอาศัยการละกิเลสโดยส่วนเดียว เมื่อละ กิเลสได้แล้ว แม้ไม่มีความรู้มาก รู้แต่เพียงการละกิเลสได้ เท่านั้น ก็อาจถึงพระนิพพานได้ ดูกรอานนท์ การที่จะได้ ประสบสุขเพราะละกิเลสต่างหาก ผู้ที่มีความรู้แต่มิได้ละเสีย ซึ่งกิเลส ย่อมไม่เป็นประโยชน์ ผีความรู้นั้น แม้จะรู้มาก แสนพระคัมภีร์ หรือมีความรู้หาที่สุดมิได้ก็ตาม ก็รู้อยู่เปล่าๆ จะเอาประโยชน์อันใดอันหนึ่งไม่ได้ และจะให้เป็นบุญเป็น กุศล และได้เสวยความสุขเพราะความรู้นั้นไม่มี เราตถาคต ไม่สรรเสริญผู้ที่มีความรู้มากแต่ไม่มีศีล ผู้มีความรู้น้อย แต่เป็นผู้ตั้งอยู่ในศีล เราสรรเสริญและนับถือผู้นั้นว่าเป็น คนดี ถ้าผู้ใดนับถือผู้ที่มีกิเลสว่าดีกว่าผู้ไม่มีกิเลส บุคคล ผู้นั้นชื่อว่าถือศีลเอาต้นเป็นปลาย เอาปลายเป็นต้น เอาสูง เป็นต่ำ เอาต่ำเป็นสูง ถ้าถืออย่างนี้ผิดทางแห่งพระนิพพาน เป็นคนมิจฉาทิฏฐิ การที่นับถือบุคคลผู้หนาไปด้วยกิเลส ว่าดีกว่าผู้บางเบาจากกิเลส เราตถาคตไม่สรรเสริญเลย บุคคลจำพวกที่บางเบาจากกิเลส ใกล้ต่อพระนิพพาน เรา ตถาคตสรรเสริญและอนุญาตให้เคารพนับถือ การที่ทำบุญ ทำทาน ทำกุศล ปรารถนาเพื่อจะให้บุญ กุศล นั้น พาตน เข้าสู่พระนิพพาน ถ้าไม่รู้ว่าบำเพ็ญบุญกุศลเพื่อให้ช่วย ระงับดับกิเลส ก็เป็นอันบำเพ็ญเสียเปล่า ได้ชื่อว่าเป็นคน หลงโลกหลงทางแห่งพระนิพพาน ถึงรู้มากสักเท่าใดก็ตาม ถ้ายังละกิเลสไม่ได้ก็รู้เสียเปล่าๆ
    เราตถาคตตั้งศาสนาไว้ ไม่ได้หวังเพื่อให้บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งบำเพ็ญหาประโยชน์ อย่างอื่น ตั้งไว้เพื่อประสงค์จะให้บุคคลบำเพ็ญภาวนา เพื่อให้ระงับกิเลสตัณหาเท่านั้น
    การบำเพ็ญภาวนา เมื่อไม่คิดว่าจะให้ระงับดับกิเลสตัณหาแห่งตน ก็ได้ชื่อว่า เป็นคนหลงโลกหลงทางส่วนกุศลที่เกิดจากการบำเพ็ญ ภาวนานั้นจะว่าไม่ได้ไม่มีเช่นนั้นก็ไม่ปฏิเสธ อันที่จริง ก็หาก เป็นบุญเป็นกุศลโดยแท้ แต่ว่าเป็นทางหลงจากพระนิพพาน เท่านั้น การกระทำความเพียรบำเพ็ญภาวนา ทำบุญทำ กุศลอย่างใดอย่างหนึ่งมากน้อยเท่าใดก็ตาม ก็ให้รู้ว่าบำเพ็ญ บุญกุศลและเจริญภาวนา เพื่อระงับดับกิเลสตัณหาของตน ให้น้อยลง ให้พ้นจากกองกิเลสนั้น เช่นนี้ชื่อว่าเดินถูกทาง พระนิพพานแท้


    ดูกรอานนท์ จงพากันประพฤติตามคำสอน ที่เราแสดงไว้นี้ ถ้าผู้ใดมิได้ประพฤติตาม ก็พึงเข้าใจว่า ผู้นั้นเป็นคนนอกพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าได้ตรัสแก่ข้าฯ อานนท์ดังนี้แล้วจึงทรงแสดงต่อไปอีกว่า
    ดูกรอานนท์ เรา ตถาคตบัญญัติศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีลพระปาติโมกข์ไว้ หลายประเภทนั้น ก็เพราะอยากให้สัตว์ยกตนออกจากกอง กิเลส

    ดูกรอานนท์ บุคคลผู้บำเพ็ญศีลมากน้อยประเภทใด ประเภทหนึ่ง ก็เพื่อให้รู้ซึ่งการละกิเลส และยกตนให้พ้นจาก กิเลส เมื่อไม่รู้เช่นนั้นได้ชื่อว่าเป็นคนหลง ส่วนผลอานิสงส์ ที่ได้บำเพ็ญศีลนั้น เราตถาคตได้กล่าวอยู่ว่ามีผลอานิสงส์ จริง
    แต่ว่ามีอานิสงส์น้อยและผิดจากทางพระนิพพาน ถ้า เข้าใจว่าการรักษาศีล เพื่อจะยกตนให้พ้นจากกิเลส รักษา ศีล ๕ ได้แล้ว จะเพียรพยายามรักษาศีล ๘ ศีล๑๐ ศีลพระปาติโมกข์เป็นลำดับไป เพื่อจะยกตนให้พ้นจาก กองกิเลสทีละเล็กทีละน้อยตามลำดับ เมื่อเราตั้งอยู่ในศีล ประเภทใด ก็ตั้งใจรักษาโดยเต็มความสามารถ รู้ดังนี้จึงมี ผลอานิสงส์มาก ไม่เป็นคนหลง และตรงต่อทางพระนิพพาน โดยแท้


    ดูกรอานนท์ กุลบุตรผู้เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา เป็นศิษย์แห่งเราตถาคตนี้ก็หวังเพื่อความระงับดับกิเลส ไม่อยากเกิดในโลกสืบต่อไป เพราะกิเลสนั้นเป็นเชื้อสาย สืบโลก ดลบันดาลใจให้ยินดีไปในทางโลก ครั้นเกิดมาแล้ว ก็ให้เจ็บไข้ แก่ ตาย และให้ ต้องพลัดพรากจากกัน ให้รัก ให้ชัง ให้อด ให้ตี ให้ด่า ให้อยาก ให้ทุกข์ ให้ยากเข็ญใจ อาการกิริยาแห่งกิเลสเป็นเช่นนี้ เราตถาคตจึงทรงอนุญาต ให้บวช เพื่อความระงับดับกิเลส ไม่ให้เกิดมีเป็นเชื้อสาย สืบโลกต่อไป เมื่อรู้อย่างนี้แล้วตั้งใจรักษาศีลเพื่อให้ดับกิเลส และตรึกตรองหาอุบายเพื่อทำลายกิเลสอันเป็นต้นเค้าให้ ขาดสูญ การรักษาศีลพระปาติโมกข์ก็ดี การรักษาข้อวัตร ในธุดงค์ ๑๓ นั้นก็ดี ก็เป็นอันประมวลลงในศีลนั้นทุกอย่าง มิใช่ว่าจะรักษามากมายหลายสิ่งหลายอย่าง จนสิ้นจนหมด หามิได้ เมื่อเรารู้ว่ารักษาศีลเพื่อระงับดับกิเลส ไม่ได้รักษา เพื่ออย่างอื่นแล้ว แม้จะรักษาแต่เล็กแต่น้อยโดยเอกเทศ ไม่ครบตามจำนวนในพระปาติโมกข์ ในจำนวนแห่งธุดงควัตร ก็ได้ชื่อว่าเป็นรักษาครบทุกอย่าง เพราะจับต้นจับเค้ารากเหง้า แห่งกิเลสได้แล้ว เปรียบดังบุรุษตัดต้นไม้ ถ้าตัดเหง้าตัด รากแก้วขาดแล้ว กิ่งก้านสาขาแม้ไม่ต้องตัดก็ตายเอง ถ้า ไปตัดรอนแต่กิ่งก้านสาขารากเหง้าไม่ได้ตัด ต้นไม้นั้น ก็อาจงอกงามขึ้นได้อีก

    ดูกรอานนท์ บุคคลที่บวชใน พระศาสนานี้ ก็เปรียบเหมือนบุคคลผู้ตัดต้นไม้ ฉะนั้น การบวชมิใช่ว่ามุ่งประโยชน์อย่างอื่น บวชเพื่อระงับดับกิเลส เท่านั้น ถ้าไม่หวังเพื่อความดับกิเลสแล้ว ไม่ต้องบวชดีกว่า การที่บวชโดยที่ไม่ได้มุ่งเพื่อการดับกิเลส แม้จะมีความรู้ วิเศษสักปานใด ก็ได้ชื่อว่ารู้เปล่าๆ แต่ว่าการที่เป็นผู้มี ความรู้ความฉลาดนั้น เรามิได้ติว่า ไม่รู้ไม่ดี ไม่เป็นบุญ ไม่เป็นกุศล ก็คงเป็นอันรู้อันดี เป็นบุญเป็นกุศลอยู่นั่นเอง แต่ว่าเป็นความรู้ที่ผิดจากทางพระนิพพาน ดูกรอานนท์ เราตถาคตเทศนาไว้โดยเอนกปริยายนั้น ก็เพื่อจะให้หมู่ ปุถุชนคนเขลาเห็นเป็นอัศจรรย์ และเพื่อให้ได้รับความเชื่อ ความเลื่อมใส เมื่อพาลชนทั้งหลายไม่เห็นเป็นอัศจรรย์แล้ว ก็จะไม่มีความเชื่อความเลื่อมใสในคุณของพระตถาคต ถ้า กล่าวแต่น้อยพอเป็นสังเขปก็ไม่เข้าใจ ไม่เหมือนผู้ที่มีบุญ มีวาสนาแม้จะกล่าวแต่เพียงเล็กน้อยก็เข้าใจได้มากมาย หลายอย่างหลายนัย ธรรมชาติผู้ที่มีปัญญาแท้ ไม่ต้อง กล่าวอะไรเลย ก็รู้ได้ด้วยปัญญาของตนเอง ไม่ต้องให้กล่าว เป็นการลำบาก เราตถาคตได้รับความลำบากเพราะพาล ปุถุชนเท่านั้น ว่ากล่าวสั่งสอนแต่เพียงเล็กน้อยก็ไม่เข้าใจ เพราะเขาถือว่าเขาดีเสียแล้ว แท้ที่จริงความรู้ของเหล่า พาลชนจะรู้ดีไปสักเท่าไร ก็ดีอยู่แต่เพียงมีลมอัสสาสะ ปัสสาสะเท่านั้น ถ้าลมอัสสาสะปัสสาสะขาดแล้ว ก็มีแต่ เน่าเป็นเหยื่อหนอนนอนกลิ้งเหนือแผ่นดินจะหาสาระสิ่งใด ไม่มีเลย มีแต่เครื่องอสุจิเต็มไปสิ้นทั้งนั้น จะถือแต่ว่าตัวมี ความรู้ความดี เมื่อมีความรู้ความดีแล้วจะไม่ตายหรือ จะมี ความรู้มากรู้มายเท่าใดก็คงไม่พ้นตายไปได้ จะมีความรู้ดี วิเศษไปเท่าไร รู้ไปรู้อยู่บนแผ่นดินจะรู้จะดีให้พ้นแผ่นดิน ไปไม่ได้ เมื่อลมยังมีก็อยู่เหนือแผ่นดิน เมื่อลมออกแล้ว ก็คงอยู่เหนือแผ่นดินนั้นเอง จะพ้นจากแผ่นดินไปไม่ได้ และจะมาถือตัวถือตนอยู่นั้น จะพ้นจากแผ่นดินไปไม่ได้ และจะมาถือตัวถือตนอยู่นั้น เพื่อประโยชน์อะไร ส่วน ของเน่าของเหม็นมีอยู่เต็มตัวก็ไม่รู้ไม่เห็น เห็นแต่ว่าตัวรู้ดี ถือเนื้อถือตัวอยู่ เราตถาคตเบื่อหน่ายความรู้ความดีของ พาลปุถุชนมากนัก

    ดูกรอานนท์ ธรรมดาบุคคลผู้ที่เป็น นักปราชญ์มีปัญญาทั้งหลาย ย่อมไม่ถือเนื้อถือตัวว่าเรารู้ดี อย่างนั้นอย่างนี้ ท่านจะมีความรู้มากมายเท่าไร ก็มิได้ ถือเนื้อถือตัวเหมือนอย่างพาลปุถุชน พวกพาลปุถุชน ที่เขาห่างไกลจากพระนิพพานก็เพราะเหตุที่เขาถือเนื้อ ถือตัว การถือเนื้อถือตัวมีมากเท่าใด ก็ยิ่งทำให้ห่างไกลจาก พระนิพพานมากเท่านั้น เหตุว่าประตูเมืองพระนิพพานนั้น แคบนักหนา ผมเส้นเดียวผ่าออกเป็น ๓ เสี้ยว เอาแต่ เสี้ยวเดียวไปแยงเข้าที่ประตูนิพพาน ก็ยังคับแคบเข้าไม่ได้ เพราะฉะนั้นเมื่อท่านต้องการพระนิพพานแล้ว ไม่ควรจะ ถือว่าตัวรู้ดีเป็นผู้ใหญ่เป็นผู้สูงศักดิ์กว่าผู้อื่น ยิ่งถือตนถือตัว ขึ้นเท่าใดก็ยิ่งให้คับประตูพระนิพพานเข้าเท่านั้น จึงว่า พาลปุถุชนทั้งหลายเป็นผู้ห่างไกลจากพระนิพพาน ด้วยเหตุ ที่เขามัวถือเนื้อถือตัวว่าตัวรู้ดีอยู่

    ดูกรอานนท์ บุคคลที่เข้า มาบวชเป็นลูกศิษย์ของพระตถาคตแล้ว ยังปล่อยให้ตน ได้รับความทุกข์อยู่ ผู้นั้นเรากล่าวว่าเป็นพาลปุถุชนคือ เป็นคนโง่เขลาผู้ที่ไร้ปัญญาเช่นนั้น จะเรียกว่าเป็นศิษย์ ของพระตถาคตยังไม่ได้ เมื่อบวชแล้วประพฤติตัวให้เป็นสุข อยู่ทุกเมื่อนั่นแลจึงจะเป็นลูกศิษย์ของพระตถาคตแท้ เรา ตถาคตหวังเพื่อความสุขจึงได้ออกบวช เมื่อบวชแล้วมาทำ ตนของตนให้เป็นทุกข์ บุคคลผู้นั้นชื่อว่าเป็นคนโง่เขลา เบาปัญญาหาที่เปรียบมิได้ ถ้าบุคคลผู้มีปัญญาแล้ว ไม่ทำ ตัวให้เป็นทุกข์เลย บุคคลผู้ไม่มีปัญญาจึงทำตัวให้เป็นทุกข์ ไม่เฉพาะแต่นักบวชจำพวกเดียว แม้คฤหัสถ์ถ้าหาปัญญา มิได้ก็ได้รับความทุกข์ยากลำบากเหมือนกัน ปราชญ์ผู้ปรีชา เมื่อออกบวชแล้ว ท่านย่อมพิจารณาเห็นแจ้งซึ่งมีศีลและ ข้อวัตรที่หนักและเบาแล้ว ท่านไม่ต้องรักษามากมาย หลายอย่างหลายประการนัก เลือกรักษาแต่เล็กแต่น้อย ก็ย่อมได้รับความสุขกายสุขใจ ผู้ที่โง่เขลาเบาปัญญานั้น ย่อมรักษามากมายหลายอย่างต่างๆนานา เพราะเหตุที่ ต้องรักษามากเกินไปจึงเป็นทุกข์ ผู้ที่มีปัญญาแล้วย่อมเลือก รักษาแต่สิ่งที่จริงที่แท้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ก็ย่อมนำมา ซึ่งความสุข เปรียบเหมือนบุคคลผู้ฉลาด ไปตัดไม้ในป่า มาทำกิจอย่างหนึ่ง เมื่อตัดได้แล้วก็ถากเปลือกและกระพี้ ทิ้งเสีย เหลือไว้แต่ที่ต้องการแล้ววัดตัดเอาแต่พอแก่การงาน ของตัวเท่านั้น ไม่ต้องลำบากแก่การแบกการหาม ส่วนบุคคล ผู้ที่ไม่ฉลาด ไม่รู้เท่าต่อการงานที่จะพึงทำ เมื่อไปตัดไม้ ได้แล้ว จะถากเอาแต่ที่ต้องการก็กลัวจะเสีย เพราะตัว ไม่เข้าใจการงานต้องแบกมาทั้งเปลือกทั้งกระพี้ทั้งส่วนยาว ได้รับความเหน็ดเหนื่อยหนักอย่างทวีคูณ ก็เพราะความที่ ตัวเป็นคนโง่เขลาเบาปัญญา

    ดูกรอานนท์ การรักษา แก้วไม่ดีไม่มีราคา แม้จะรักษามากมายหลายพันดวงก็สู้ ผู้ที่รักษาแก้วที่ดีมีราคาดวงเดียวไม่ได้ แก้วที่ไม่ดีไม่มีราคา จะขายก็ไม่ได้ จะเก็บไว้ก็ไร้ประโยชน์ ตกลงต้องรักษาไป เปล่าๆ ส่วนแก้วที่มีราคานั้น จะขายก็ได้เงินมาก หากจะ เก็บไว้ก็เป็นคุณประโยชน์แก่ตน และการเรียนมนต์และเรียน คาถาที่ดีที่ขลังบทเดียวไม่ได้ เมื่อรู้ประโยชน์แห่งศีลและ ข้อวัตรแล้วก็ไม่ต้องรักษามาก เมื่อไม่รู้ไม่เข้าใจก็รักษา พร่ำเพรื่อไปจนไม่มีเขตแดน จึงต้องได้รับความลำบาก เหมือนผู้ที่ไม่รู้การงาน ต้องแบกเอาไม้ทั้งเปลือกทั้งกระพี้ ทั้งส่วนยาวไปเปล่าๆ ฉะนั้น ผู้ปรีชาท่านรักษาวินัยและ ข้อวัตรไม่มาก แต่หากได้รับอานิสงส์เพียงพอเหมือนอย่าง ผู้รักษาแก้วดีดวงเดียว หรือผู้ที่เรียนมนต์และคาถาที่ขลัง บทเดียวเท่านั้น ก็ให้สำเร็จประโยชน์ได้เต็มที่ฉะนั้น

    แต่ว่ามีอานิสงส์น้อยและผิดจากทางพระนิพพาน ถ้า เข้าใจว่าการรักษาศีล เพื่อจะยกตนให้พ้นจากกิเลส รักษา ศีล ๕ ได้แล้ว จะเพียรพยายามรักษาศีล ๘ ศีล๑๐ ศีลพระปาติโมกข์เป็นลำดับไป เพื่อจะยกตนให้พ้นจาก กองกิเลสทีละเล็กทีละน้อยตามลำดับ เมื่อเราตั้งอยู่ในศีล ประเภทใด ก็ตั้งใจรักษาโดยเต็มความสามารถ รู้ดังนี้จึงมี ผลอานิสงส์มาก ไม่เป็นคนหลง และตรงต่อทางพระนิพพาน โดยแท้ ดูกรอานนท์ กุลบุตรผู้เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา เป็นศิษย์แห่งเราตถาคตนี้ก็หวังเพื่อความระงับดับกิเลส ไม่อยากเกิดในโลกสืบต่อไป เพราะกิเลสนั้นเป็นเชื้อสาย สืบโลก ดลบันดาลใจให้ยินดีไปในทางโลก ครั้นเกิดมาแล้ว ก็ให้เจ็บไข้ แก่ ตาย และให้ ต้องพลัดพรากจากกัน ให้รัก ให้ชัง ให้อด ให้ตี ให้ด่า ให้อยาก ให้ทุกข์ ให้ยากเข็ญใจ อาการกิริยาแห่งกิเลสเป็นเช่นนี้ เราตถาคตจึงทรงอนุญาต ให้บวช เพื่อความระงับดับกิเลส ไม่ให้เกิดมีเป็นเชื้อสาย สืบโลกต่อไป เมื่อรู้อย่างนี้แล้วตั้งใจรักษาศีลเพื่อให้ดับกิเลส และตรึกตรองหาอุบายเพื่อทำลายกิเลสอันเป็นต้นเค้าให้ ขาดสูญ การรักษาศีลพระปาติโมกข์ก็ดี การรักษาข้อวัตร ในธุดงค์ ๑๓ นั้นก็ดี ก็เป็นอันประมวลลงในศีลนั้นทุกอย่าง มิใช่ว่าจะรักษามากมายหลายสิ่งหลายอย่าง จนสิ้นจนหมด หามิได้ เมื่อเรารู้ว่ารักษาศีลเพื่อระงับดับกิเลส ไม่ได้รักษา เพื่ออย่างอื่นแล้ว แม้จะรักษาแต่เล็กแต่น้อยโดยเอกเทศ ไม่ครบตามจำนวนในพระปาติโมกข์ ในจำนวนแห่งธุดงควัตร ก็ได้ชื่อว่าเป็นรักษาครบทุกอย่าง เพราะจับต้นจับเค้ารากเหง้า แห่งกิเลสได้แล้ว เปรียบดังบุรุษตัดต้นไม้ ถ้าตัดเหง้าตัด รากแก้วขาดแล้ว กิ่งก้านสาขาแม้ไม่ต้องตัดก็ตายเอง ถ้า ไปตัดรอนแต่กิ่งก้านสาขารากเหง้าไม่ได้ตัด ต้นไม้นั้น ก็อาจงอกงามขึ้นได้อีก

    ดูกรอานนท์ บุคคลที่บวชใน พระศาสนานี้ ก็เปรียบเหมือนบุคคลผู้ตัดต้นไม้ ฉะนั้น การบวชมิใช่ว่ามุ่งประโยชน์อย่างอื่น บวชเพื่อระงับดับกิเลส เท่านั้น ถ้าไม่หวังเพื่อความดับกิเลสแล้ว ไม่ต้องบวชดีกว่า การที่บวชโดยที่ไม่ได้มุ่งเพื่อการดับกิเลส แม้จะมีความรู้ วิเศษสักปานใด ก็ได้ชื่อว่ารู้เปล่าๆ แต่ว่าการที่เป็นผู้มี ความรู้ความฉลาดนั้น เรามิได้ติว่า ไม่รู้ไม่ดี ไม่เป็นบุญ ไม่เป็นกุศล ก็คงเป็นอันรู้อันดี เป็นบุญเป็นกุศลอยู่นั่นเอง แต่ว่าเป็นความรู้ที่ผิดจากทางพระนิพพาน ดูกรอานนท์ เราตถาคตเทศนาไว้โดยเอนกปริยายนั้น ก็เพื่อจะให้หมู่ ปุถุชนคนเขลาเห็นเป็นอัศจรรย์ และเพื่อให้ได้รับความเชื่อ ความเลื่อมใส เมื่อพาลชนทั้งหลายไม่เห็นเป็นอัศจรรย์แล้ว ก็จะไม่มีความเชื่อความเลื่อมใสในคุณของพระตถาคต ถ้า กล่าวแต่น้อยพอเป็นสังเขปก็ไม่เข้าใจ ไม่เหมือนผู้ที่มีบุญ มีวาสนาแม้จะกล่าวแต่เพียงเล็กน้อยก็เข้าใจได้มากมาย หลายอย่างหลายนัย ธรรมชาติผู้ที่มีปัญญาแท้ ไม่ต้อง กล่าวอะไรเลย ก็รู้ได้ด้วยปัญญาของตนเอง ไม่ต้องให้กล่าว เป็นการลำบาก เราตถาคตได้รับความลำบากเพราะพาล ปุถุชนเท่านั้น ว่ากล่าวสั่งสอนแต่เพียงเล็กน้อยก็ไม่เข้าใจ เพราะเขาถือว่าเขาดีเสียแล้ว แท้ที่จริงความรู้ของเหล่า พาลชนจะรู้ดีไปสักเท่าไร ก็ดีอยู่แต่เพียงมีลมอัสสาสะ ปัสสาสะเท่านั้น ถ้าลมอัสสาสะปัสสาสะขาดแล้ว ก็มีแต่ เน่าเป็นเหยื่อหนอนนอนกลิ้งเหนือแผ่นดินจะหาสาระสิ่งใด ไม่มีเลย มีแต่เครื่องอสุจิเต็มไปสิ้นทั้งนั้น จะถือแต่ว่าตัวมี ความรู้ความดี เมื่อมีความรู้ความดีแล้วจะไม่ตายหรือ จะมี ความรู้มากรู้มายเท่าใดก็คงไม่พ้นตายไปได้ จะมีความรู้ดี วิเศษไปเท่าไร รู้ไปรู้อยู่บนแผ่นดินจะรู้จะดีให้พ้นแผ่นดิน ไปไม่ได้ เมื่อลมยังมีก็อยู่เหนือแผ่นดิน เมื่อลมออกแล้ว ก็คงอยู่เหนือแผ่นดินนั้นเอง จะพ้นจากแผ่นดินไปไม่ได้ และจะมาถือตัวถือตนอยู่นั้น จะพ้นจากแผ่นดินไปไม่ได้ และจะมาถือตัวถือตนอยู่นั้น เพื่อประโยชน์อะไร ส่วน ของเน่าของเหม็นมีอยู่เต็มตัวก็ไม่รู้ไม่เห็น เห็นแต่ว่าตัวรู้ดี ถือเนื้อถือตัวอยู่ เราตถาคตเบื่อหน่ายความรู้ความดีของ พาลปุถุชนมากนัก ดูกรอานนท์ ธรรมดาบุคคลผู้ที่เป็น นักปราชญ์มีปัญญาทั้งหลาย ย่อมไม่ถือเนื้อถือตัวว่าเรารู้ดี อย่างนั้นอย่างนี้ ท่านจะมีความรู้มากมายเท่าไร ก็มิได้ ถือเนื้อถือตัวเหมือนอย่างพาลปุถุชน พวกพาลปุถุชน ที่เขาห่างไกลจากพระนิพพานก็เพราะเหตุที่เขาถือเนื้อ ถือตัว การถือเนื้อถือตัวมีมากเท่าใด ก็ยิ่งทำให้ห่างไกลจาก พระนิพพานมากเท่านั้น เหตุว่าประตูเมืองพระนิพพานนั้น แคบนักหนา ผมเส้นเดียวผ่าออกเป็น ๓ เสี้ยว เอาแต่ เสี้ยวเดียวไปแยงเข้าที่ประตูนิพพาน ก็ยังคับแคบเข้าไม่ได้ เพราะฉะนั้นเมื่อท่านต้องการพระนิพพานแล้ว ไม่ควรจะ ถือว่าตัวรู้ดีเป็นผู้ใหญ่เป็นผู้สูงศักดิ์กว่าผู้อื่น ยิ่งถือตนถือตัว ขึ้นเท่าใดก็ยิ่งให้คับประตูพระนิพพานเข้าเท่านั้น จึงว่า พาลปุถุชนทั้งหลายเป็นผู้ห่างไกลจากพระนิพพาน ด้วยเหตุ ที่เขามัวถือเนื้อถือตัวว่าตัวรู้ดีอยู่

    ดูกรอานนท์ บุคคลที่เข้า มาบวชเป็นลูกศิษย์ของพระตถาคตแล้ว ยังปล่อยให้ตน ได้รับความทุกข์อยู่ ผู้นั้นเรากล่าวว่าเป็นพาลปุถุชนคือ เป็นคนโง่เขลาผู้ที่ไร้ปัญญาเช่นนั้น จะเรียกว่าเป็นศิษย์ ของพระตถาคตยังไม่ได้ เมื่อบวชแล้วประพฤติตัวให้เป็นสุข อยู่ทุกเมื่อนั่นแลจึงจะเป็นลูกศิษย์ของพระตถาคตแท้ เรา ตถาคตหวังเพื่อความสุขจึงได้ออกบวช เมื่อบวชแล้วมาทำ ตนของตนให้เป็นทุกข์ บุคคลผู้นั้นชื่อว่าเป็นคนโง่เขลา เบาปัญญาหาที่เปรียบมิได้ ถ้าบุคคลผู้มีปัญญาแล้ว ไม่ทำ ตัวให้เป็นทุกข์เลย บุคคลผู้ไม่มีปัญญาจึงทำตัวให้เป็นทุกข์ ไม่เฉพาะแต่นักบวชจำพวกเดียว แม้คฤหัสถ์ถ้าหาปัญญา มิได้ก็ได้รับความทุกข์ยากลำบากเหมือนกัน ปราชญ์ผู้ปรีชา เมื่อออกบวชแล้ว ท่านย่อมพิจารณาเห็นแจ้งซึ่งมีศีลและ ข้อวัตรที่หนักและเบาแล้ว ท่านไม่ต้องรักษามากมาย หลายอย่างหลายประการนัก เลือกรักษาแต่เล็กแต่น้อย ก็ย่อมได้รับความสุขกายสุขใจ ผู้ที่โง่เขลาเบาปัญญานั้น ย่อมรักษามากมายหลายอย่างต่างๆนานา เพราะเหตุที่ ต้องรักษามากเกินไปจึงเป็นทุกข์ ผู้ที่มีปัญญาแล้วย่อมเลือก รักษาแต่สิ่งที่จริงที่แท้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ก็ย่อมนำมา ซึ่งความสุข เปรียบเหมือนบุคคลผู้ฉลาด ไปตัดไม้ในป่า มาทำกิจอย่างหนึ่ง เมื่อตัดได้แล้วก็ถากเปลือกและกระพี้ ทิ้งเสีย เหลือไว้แต่ที่ต้องการแล้ววัดตัดเอาแต่พอแก่การงาน ของตัวเท่านั้น ไม่ต้องลำบากแก่การแบกการหาม ส่วนบุคคล ผู้ที่ไม่ฉลาด ไม่รู้เท่าต่อการงานที่จะพึงทำ เมื่อไปตัดไม้ ได้แล้ว จะถากเอาแต่ที่ต้องการก็กลัวจะเสีย เพราะตัว ไม่เข้าใจการงานต้องแบกมาทั้งเปลือกทั้งกระพี้ทั้งส่วนยาว ได้รับความเหน็ดเหนื่อยหนักอย่างทวีคูณ ก็เพราะความที่ ตัวเป็นคนโง่เขลาเบาปัญญา
    ดูกรอานนท์ การรักษา แก้วไม่ดีไม่มีราคา แม้จะรักษามากมายหลายพันดวงก็สู้ ผู้ที่รักษาแก้วที่ดีมีราคาดวงเดียวไม่ได้ แก้วที่ไม่ดีไม่มีราคา จะขายก็ไม่ได้ จะเก็บไว้ก็ไร้ประโยชน์ ตกลงต้องรักษาไป เปล่าๆ ส่วนแก้วที่มีราคานั้น จะขายก็ได้เงินมาก หากจะ เก็บไว้ก็เป็นคุณประโยชน์แก่ตน และการเรียนมนต์และเรียน คาถาที่ดีที่ขลังบทเดียวไม่ได้ เมื่อรู้ประโยชน์แห่งศีลและ ข้อวัตรแล้วก็ไม่ต้องรักษามาก เมื่อไม่รู้ไม่เข้าใจก็รักษา พร่ำเพรื่อไปจนไม่มีเขตแดน จึงต้องได้รับความลำบาก เหมือนผู้ที่ไม่รู้การงาน ต้องแบกเอาไม้ทั้งเปลือกทั้งกระพี้ ทั้งส่วนยาวไปเปล่าๆ ฉะนั้น ผู้ปรีชาท่านรักษาวินัยและ ข้อวัตรไม่มาก แต่หากได้รับอานิสงส์เพียงพอเหมือนอย่าง ผู้รักษาแก้วดีดวงเดียว หรือผู้ที่เรียนมนต์และคาถาที่ขลัง บทเดียวเท่านั้น ก็ให้สำเร็จประโยชน์ได้เต็มที่ฉะนั้น

    ขอให้ท่านจงเป็นผู้เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปนะครับ

    ขออนุโมทนาบุญด้วยครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กันยายน 2009
  19. ปรมิตร

    ปรมิตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    404
    ค่าพลัง:
    +528
    อนุโมทนาครับ
    เรื่องพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น กระผม แสดงตามความคิดและความเข้าใจเท่านั้น ครับหากเข้าใจผิดพลาดประการใด ขอคำชี้แนะด้วยนะครับ
    ส่วนเรื่องนิพพานนี้เป็นสิ่งที่ เราทั้งหลายกล่าวถึงกัน เป็นเรื่องเฉพาะตัว จะตอบ จะอธิบายแบบใด จะยกคำสอนของผู้ใด อาจารย์ใด หรือ อาศัยเทียบเคียงธรรมะจากพระสูตร พระวินัยหรือพระอภิธรรมก็ตามแต่ ทัศนะคติของท่านเถิด กระผมใคร่ขอศึกษา

    จำเดิมแต่ไรมา เราทั้งหลายผู้เดินทางไกลย่อมมีหน้าที่ศึกษา
    เมื่อพบกัลญาณมิตรก็สนทนาธรรมตามกาล ย่อมแสดงความคิดเห็น แสดงวาทะก็ด้วยอาศัยกัลญาณมิตรคอยชี้แนะ และให้คำแนะนำ
    ขอบพระคุณมากครับ กับคำชี้แนะและธรรมะที่นำมาให้
    อนุโมทนาครับ ท่านเองก็ขอให้กุศลนี้ส่งผลให้เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไป ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กันยายน 2009
  20. vera_p

    vera_p เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2009
    โพสต์:
    260
    ค่าพลัง:
    +588
    นั่งอ่านความเห็นอยู่ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...