วิธีสังเกต ธิกะ ที่ตัวเองบำเพ็ญมา แบบนี้ถูกไหม

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย PrinceCharming, 25 พฤศจิกายน 2010.

  1. PrinceCharming

    PrinceCharming เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    158
    ค่าพลัง:
    +773
    ผมสงสัยว่าหากเราต้องการดู ธิกะ ของตัวเองว่าบำเพ็ญโพธิสัตว์มาสายอะไรดูแบบนี้ถูกรึเปล่าครับ

    คือดูว่าตัวเราเองมีปัญญา ศรัทธา หรือ วิริยะ มากกว่ากัน โดยดูตัวเอง และให้คนใกล้ชิดช่วยสังเกต

    หรือว่ามีวิธีสังเกตวิธีอื่นอีกครับ
     
  2. เมทิกา

    เมทิกา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    953
    ค่าพลัง:
    +2,392
    สังเกตจากครูบาอาจารย์ที่ท่านเลื่อมใสศรัทธา

    เพราะส่วนใหญ่ก็จะเคยเกิดเป็นลูกหลานท่านเหล่านั้นมาก่อน

    ครูบาอาจารย์ท่านเป็นแบบไหน ลูกศิษย์มักได้แรงบันดาลใจแบบนั้น

    ให้คนใกล้ชิดช่วยดู ก็ไม่รู้ว่าเขาใกล้ชิดกับเรามาทุกชาติหรือเปล่า
    ของเราเอง คนใกล้ชิดยังไม่โมทนากับเราเล้ย เป็นคู่ปรับกันมากกว่า อิอิ


     
  3. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,674
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,017
    http://mail.google.com/mail/?shva=1#inbox/12c8ada8d59c118f
    เรื่องนี้วิเศษจริง และรูปก็สวยๆทั้งนั้น

    โดย พระไพศาล วิสาโล

    จากคอลัมน์ ชวนสังคมคิด เว็บ
    peacefuldeath.info

    [​IMG]





    คน เรามักอยู่ด้วยความรู้สึก คือปล่อยให้ความชอบ-ไม่ชอบ มาเป็นตัวกำหนดชีวิตของตน โดยที่ความชอบ-ไม่ชอบนั้น ก็ขึ้นอยู่กับว่ามันให้ความสุ<wbr>ขและสะดวกสบายแก่ตนหรือไม่ อะไรก็ตามที่ให้<wbr>ความสะดวกสบายหรือความสุขแก่ตน ก็อยากได้อยากหามาครอบครอง ส่วนมันจะเป็นประโยชน์หรือเป็<wbr>นสิ่งถูกต้องหรือไม่ ไม่สนใจ

    ในทางตรงข้าม อะไรก็ตามที่ทำให้ตนสะดวกสบายน้<wbr>อยลงหรือเกิดความยากลำบาก ก็อยากผลักไสออกไป ไม่อยากเกี่ยวข้องด้วย แม้มันจะมีประโยชน์ก็ตาม เด็กจึงเลือกเที่ยวเล่นมากกว่<wbr>านั่งทำการบ้าน ส่วนผู้ใหญ่ก็ชอบสุมหัวคุยกั<wbr>นหรือดูหนังฟังเพลงมากกว่<wbr>าจะทำงานอย่างตั้งใจ



    [​IMG]





    การปล่อยให้ความรู้สึ<wbr>กมาครอบงำชีวิตของตน แท้จริงก็คือการปล่อยให้อั<wbr>ตตามาครองใจ เพราะอัตตาไม่ได้สนใจอะไร นอกจากสิ่งที่<wbr>จะตอบสนองความอยากได้ใคร่เด่นที<wbr>่ไม่เคยพอเสียที เจออะไรที่ไม่ถูกใจจึงโกรธ แม้จะเป็นเรื่องธรรมดาหรือมี<wbr>ประโยชน์ก็ตาม ดังนั้นแค่เจอไฟแดง รถติด ฝนตก เพื่อนร่วมงานไม่ทักทาย พ่อแม่แนะนำตักเตือน อัตตาก็ขุ่นเคืองใจแล้ว

    ถ้าเราปล่อยให้มันครองใจ เราก็ต้องทุกข์ไม่หยุดหย่อน เพราะชีวิตนี้ทั้งชีวิตเราย่<wbr>อมต้องเจอสิ่งที่ไม่ถูกใจเราอยู<wbr>่เสมอ ถึงแม้จะร่ำรวย ยิ่งใหญ่ หรือมีอำนาจมากมายเพียงใด เราก็ไม่สามารถบัญชาหรือควบคุ<wbr>มให้ทุกอย่างเป็นไปตามใจเราได้<wbr>ตลอดเวลา



    [​IMG]





    ความจริงที่ทุกชีวิตหลีกหนีไม่<wbr>พ้น ก็คือ ต้องประสบกับสิ่งไม่พึงปรารถนา และพลัดพรากจากสิ่งพึงปรารถนา อยู่เป็นนิจ รวยแค่ไหนก็ต้องแก่ เจ็บ และตาย เก่งแค่ไหนก็ต้องมีวั<wbr>นประสบความล้มเหลว ยิ่งใหญ่แค่ไหนก็ต้องพลั<wbr>ดพรากจากคนรักไม่ช้าก็เร็ว คนที่ปล่อยให้ชีวิตจิตใจเป็<wbr>นไปตามความรู้สึก ย่อมหาความสุขได้ยาก

    แต่คนเราไม่จำเป็นต้องทุกข์<wbr>ไป ตามเหตุการณ์ที่มากระทบเสมอไป หากเราเป็นอยู่ด้วยปัญญา ไม่เอาความรู้สึกเป็นใหญ่ มีสติรู้เท่าทันอัตตา ไม่ปล่อยให้มันครองใจ เราก็สามารถทำใจให้เป็นปกติได้ แม้ในยามที่ประสบกับสิ่งที่เป็<wbr>นลบในสายตาของคนทั่วไป เช่น เมื่อถูกตำหนิหรือวิพากษ์วิ<wbr>จารณ์



    [​IMG]





    หากเราปล่อยให้อัตตาเป็นใหญ่<wbr>ในใจ เราก็จะรู้สึกขึ้นมาทันทีว่า “กูถูกเล่นงาน” หรือ “กูเสียหน้า” ผลคือเกิดความโกรธและตอบโต้กลั<wbr>บไป ซึ่งอาจทำให้ถูกวิจารณ์กลั<wbr>บมาหนักขึ้น ในทางตรงข้าม หากเรามีสติทันท่วงที<wbr>และสามารถดึงปัญญาออกหน้า เราก็จะหันมาใคร่ครวญว่า สิ่งที่เขาพูดมานั้นเป็นความจริ<wbr>งหรือไม่ มีประโยชน์เพียงใด มันอาจช่วยให้เราเห็นข้อบกพร่<wbr>องของตัวเองชัดขึ้น หรือไม่ก็เผยให้เห็นตัวตนของผู้<wbr>พูด ทำให้เรารู้จักเขามากขึ้น ผลคือนอกจากเราจะฉลาดมากขึ้นแล้<wbr>ว จิตใจยังไม่ร้อนรุ่มหรือทุกข์<wbr>เพราะคำวิจารณ์นั้น



    [​IMG]





    หากเราดำเนินชีวิต ทำกิจวัตรประจำวัน และทำงานด้วยความใส่ใจ โดยไม่มุ่งหวังเพียงแค่ทำงานให้<wbr>เสร็จหรือให้ดีเท่านั้น หากยังถือว่าเป็นการฝึกฝนจิ<wbr>ตใจหรือขัดเกลาตนเองไปด้วย เช่น ฝึกให้มีสติรู้ตัวอยู่เสมอ ลดละความเห็นแก่ตัว บ่มเพาะเมตตากรุณา ก็จะเป็นการเปิดทางให้ปัญญาเข้<wbr>ามาแทนที่อัตตา

    นั่นหมายความว่า เมื่อประสบกับสิ่งไม่พึงปรารถนา หรือพลัดพรากจากสิ่งพึงปรารถนา เราก็สามารถรับมือกับมันได้ โดยไม่ทุกข์



    [​IMG]





    ดังได้กล่าวแล้วว่า เราไม่สามารถควบคุมหรือจั<wbr>ดการให้เกิดสิ่งดี ๆ กับเราได้ตลอดเวลา แต่เมื่อใดก็ตามที่เกิดสิ่งแย่ ๆ กับเรา เราสามารถเลือกได้ว่า จะยอมให้มันมีอิทธิพลต่อชีวิตจิ<wbr>ตใจของเราได้มากน้อยแค่ไหน รวมทั้งเลือกว่าจะมีปฏิกิริ<wbr>ยาอย่างไรกับมันได้ด้วย เช่น จะใช้มันให้เกิดประโยชน์แก่<wbr>เราอย่างไร แต่ทั้งหมดนี้เราจะเลือกได้ก็ต่<wbr>อเมื่อ มีสติและปัญญา ซึ่งเกิดจากการสะสมในชีวิ<wbr>ตประจำวันและการฝึกปฏิบัติอย่<wbr>างสม่ำเสมอ



    [​IMG]




    ขอให้สังเกตว่า เมื่อมีสิ่งแย่ ๆ (หรือสิ่งที่เราไม่ชอบ)เกิดขึ้<wbr>นกับเรา สิ่งนั้นไม่ทำให้เราทุกข์มากเท่<wbr>ากับใจของเราเอง ที่วางไว้ไม่ถูก
    ทันทีที่ได้รับการบอกเล่<wbr>าจากหมอว่า เป็นมะเร็ง หลายคนถึงกับล้มทรุด หมดเรี่ยวแรง กินไม่ได้นอนไม่หลับ ทั้ง ๆ ที่ยังเป็นมะเร็งแค่ขั้นที่ 1
    หลายคนทำงานด้วยความทุกข์ ไม่ใช่เพราะว่างานที่ได้รับนั้<wbr>นเป็นงานยาก แต่เป็นเพราะเขาไม่อยากทำงานชิ้<wbr>นนั้น หรือเพราะไม่พอใจที่เจ้<wbr>านายเอางานของคนอื่นมาให้เขาทำ ฯลฯ
    บางคนก็ทุกข์เพราะเพื่อนๆ ทิ้งงานให้เขาทำคนเดียว ใจที่เอาแต่บ่นว่า “ทำไมต้องเป็นฉัน ?” “ไม่เป็นธรรม ๆ ๆ ๆ” ทำให้เขาทำงานด้วยความทุกข์<wbr>ทรมานราวกับตกนรก ทั้งๆ ที่อยู่ในห้องแอร์



    [​IMG]




    ตอนหนึ่งของรายการ “พลเมืองเด็ก” ที่ออกอากาศช่องทีวีไทย… เด็ก 3 คนได้รับมอบหมายให้ขนของขึ้<wbr>นรถไฟ บังเอิญตอนนั้นมีการถ่<wbr>ายทอดสดการชกของสมจิตร จงจอหอ นักชกเหรียญทองโอลิมปิก เด็กชาย 2 คนจึงทิ้งงานไปดูโทรทัศน์ข้<wbr>างสถานีรถไฟ พิธีกรจึงถามเด็กหญิงซึ่งตั้<wbr>งหน้า ตั้งตาขนของอยู่คนเดียวว่า เธอคิดอย่างไรที่เพื่อนทิ้งงาน เธอตอบว่าไม่เป็นไร เห็นใจทั้งสองคนเพราะนานๆ จะได้ดูสมจิตรชกมวย พิธีกรถามต่อว่า เธอไม่โกรธหรือไม่คิดไปด่าว่<wbr>าเพื่อนหรือ ที่ปล่อยให้เธอทำงานอยู่คนเดียว เธอตอบว่า “หนูขนของขึ้นรถไฟ หนูก็เหนื่อยอย่างเดียว แต่ถ้าหนูโกรธหรือไปด่าว่าเขา หนูก็เหนื่อยสองอย่าง”



    [​IMG]




    คนส่วนใหญ่เลือกที่จะเหนื่<wbr>อยสองอย่าง คือเหนื่อยกายด้วย เหนื่อยใจด้วย ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะ ไม่รู้ทันอารมณ์ความรู้สึกของตั<wbr>ว ปล่อยให้ความโกรธหรือหงุดหงิ<wbr>ดทำร้ายจิตใจของตน จึงทำงานอย่างไม่มีความสุข

    จริงอยู่ การทิ้งงานให้เราทำคนเดียวเป็<wbr>นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง แต่หากใจเรายึดติดกับ “ความถูกต้อง” หรือ “ความน่าจะเป็น” โดยไม่รู้จักวางเลย ความยึดติดนั้นเอง จะกลับมาบั่นทอนทำร้ายจิ<wbr>ตใจของเรา เขาไม่ควรทิ้งงานให้เราทำก็จริง แต่นั่นก็ไม่ควรเป็นเหตุผลที่<wbr>เราจะต้องหันมาซ้ำเติมตัวเอง เหนื่อยใจนั้นไม่มีใครทำให้<wbr>เราได้ นอกจากเราเอง



    [​IMG]




    เหตุการณ์แย่ ๆ นั้น ทำอะไรเราไม่ได้หากเราไม่ปล่<wbr>อยให้มันเข้ามาเล่นงานเราถึงจิ<wbr>ตถึงใจ แม้แต่ความเจ็บป่วย ก็ทำให้กายทุกข์เท่านั้น แต่ทำใจให้ทุกข์ไม่ได้ เว้นเสียแต่เราจะยอมปล่อยให้<wbr>ใจทุกข์ไปกับกายด้วย อันที่จริงนอกจากเราเลือกได้ว่<wbr>าจะปล่อยให้มันมามีอิทธิพลต่อชี<wbr>วิตจิตใจเราแค่ไหนแล้ว เรายังเลือกว่าจะมีปฏิกิริยาอย่<wbr>างไรกับมันได้ด้วย


    เช่น เมื่อเจ็บป่วยเราเลือกได้ว่<wbr>าจะ ดูแลรักษาตัวอย่างไรดี แต่นั่นเป็นแค่ส่วนหนึ่ง เรายังทำได้มากกว่านั้น เช่น ใช้มันให้เป็นประโยชน์ หรือหาประโยชน์จากมัน บางคนพบว่าเจ็บป่วยก็ดีเหมือนกั<wbr>น เพราะจะได้พักจากการทำงานที่หนั<wbr>กอึ้ง ได้มีเวลาอยู่กับครอบครัว นอนอ่านหนังสือที่ชอบ หรือหันมาทำสมาธิภาวนา หลายคนถึงกับอุทานว่า “โชคดีที่เป็นมะเร็ง” เพราะมะเร็งทำให้เขาค้นพบความสุ<wbr>ขที่แท้ อันได้แก่ความสงบทางใจ ผลก็คือชีวิตเขาเปลี่<wbr>ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น



    [​IMG]




    หากเรามีสติและปัญญา ไม่มัวปล่อยใจจ่อมจมอยู่กั<wbr>บความทุกข์ หรือเอาแต่บ่นว่า “ทำไมต้องเป็นฉัน” เราจะพบว่าเหตุการณ์แย่ ๆ ที่ไม่พึงปรารถนานั้นมีข้อดีอยู<wbr>่เสมอ บางคนพบว่าการตกงานทำให้เขามี<wbr>เวลาอยู่กับพ่อแม่และทดแทนพระคุ<wbr>ณท่านได้มากขึ้น ธุรกิจที่ล้มละลายผลักดันให้<wbr>หลายคนเข้าวัดและค้นพบจุดหมายที<wbr>่แท้ของชีวิต อกหักหรือแยกทางจากคนรักก็ช่<wbr>วยให้หลายคนพบกับชีวิตที่อิ<wbr>สระและเป็นตัวของตัวเอง

    นอกจากประโยชน์ในเชิงรูปธรรมแล้<wbr>ว เหตุการณ์แย่ๆ ทั้งหลายยังมีข้อดีอย่างน้อย 2 ประการ ได้แก่

    1. สอนใจเรา
    กล่าวคือสอนให้เราตระหนักถึ<wbr>งความจริงของชีวิตซึ่งมีความผั<wbr>นผวนปรวนแปรเป็นนิจ เช่น ของหายก็สอนใจเราว่าความพลั<wbr>ดพรากจากของรักเป็นเรื่องธรรมดา ไม่มีอะไรที่จะอยู่กับเราหรื<wbr>อเป็นของเราได้อย่างยั่งยืน การถูกตำหนิก็สอนใจเราว่า สรรเสริญกับนินทาเป็นของคู่กัน ไม่มีใครที่จะได้รับการสรรเสริ<wbr>ญอย่างเดียว ไม่ว่าดีแค่ไหนก็ยังถูกนินทา

    2. ฝึกใจเรา
    เช่น ฝึกใจให้ไม่ประมาท ระมัดระวัง เพื่อป้องกันมิให้เหตุร้ายเกิ<wbr>ดขึ้นอีก หรือฝึกใจให้ปล่อยวางเพื่อรับมื<wbr>อกับเหตุร้ายที่แรงกว่าในอนาคต (ถ้าโทรศัพท์หายยังปล่อยวางไม่<wbr>ได้ แล้วจะทำใจได้อย่างไร เมื่อต้องสูญเสียคนรัก เช่น พ่อแม่ ลูกเมีย ซึ่งต้องเกิดขึ้นแน่) หรือฝึกใจให้มั่นคงเข้มแข็ง เพราะเราจะต้องเจออะไรต่ออะไรอี<wbr>กมากมายในวันข้างหน้า อีกทั้งยังฝึกให้เราฉลาดและมี<wbr>ประสบการณ์มากขึ้น (อย่าลืมว่าคนเราเรียนรู้<wbr>จากความล้มเหลวได้มากกว่<wbr>าความสำเร็จ)



    [​IMG]




    ความฉลาดในการรับมือกับเหตุ<wbr>การณ์แย่ๆ นั้น ไม่อาจเกิดขึ้นได้จากห้องเรี<wbr>ยนหรือจากตำรา แต่เกิดได้เพราะเรียนรู้<wbr>จากประสบการณ์ในชีวิตประจำวั<wbr>นและจากการทำงาน ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นกับเราไม่ว่<wbr>าดีหรือร้าย บวกหรือลบ หากไม่ปล่อยใจไปตามอารมณ์ความรู<wbr>้สึก คือชอบหรือไม่ชอบ เพลิดเพลินยินดีหรือคร่<wbr>ำครวญโกรธแค้น แต่มีสติรู้ทันอารมณ์ความรู้สึก และหันมาใคร่ครวญสิ่งที่เกิดขึ้<wbr>นด้วยปัญญา ประโยชน์ย่อมเกิดขึ้นแก่เราเสมอ หรืออย่างน้อยก็ทำให้เห็นช่<wbr>องทางที่จะใช้มันให้เกิ<wbr>ดประโยชน์ สามารถเปลี่ยนร้ายให้กลายเป็นดี หรือเปลี่ยนเคราะห์ให้กลายเป็<wbr>นโชคได้

    ถ้าทำเช่นนั้นได้ เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับเรา แม้จะเลวร้ายเพียงใด จะมิใช่สิ่งที่ยัดเยียดความทุ<wbr>กข์หรือความปราชัยให้แก่เรา แต่จะกลายเป็นสิ่งที่ฝึกฝนจิ<wbr>ตใจ เรา ให้มีสติ ปัญญา และลดละอัตตา ช่วยให้เรามีชีวิตที่โปร่งเบา สงบเย็น และเป็นอิสระจากสิ่งต่าง ๆ ที่มากระทบได้เป็นลำดับ จนในที่สุดก็สามารถอยู่เหนื<wbr>อความทุกข์หรือความผั<wbr>นผวนปรวนแปรทั้งปวงได้ นี้คือสิ่งที่ไม่เหลือวิสั<wbr>ยของเราทุกคน และควรเป็นจุดมุ่งหมายของชีวิ<wbr>ตเราด้วย



    [​IMG]
     
  4. yeen

    yeen เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    678
    ค่าพลัง:
    +3,656
    สังเกตุว่า เวลาเราจะตัดดสินใจหรือพยายามทำอะไรลงไปสักอย่างที่เราปราถนาจะได้ผลในสิงนั้น เราใช้อะไรเป็นตัวนำครับ เราใช้ปัญญา หรือศรัทธา หรือความเพียรเป็นตัวนำ

    แต่การที่จะประสบความสำเร็จในสิ่งใดโดยเฉพาะสิ่งที่ได้ยากยิ่ง ต้องประกอบไปด้วยสามสิ่งนี้ คือ ปัญญา ศรัทธา และวิริยะ แบบครบถ้วนและพอดีกัน ไม่ขาดไม่เกินไปกว่ากัน จึงจะสำเร็จในสิ่งนั้นครับ เพียงแต่ว่าพุธภูมิแต่ละแบบ จะใช้สิ่งนำในการตัดสินใจทำไม่เหมือนกัน แต่พอทำแล้ว ที่เหลือก็จะตามมาเอง จนกว่าจะครบถ้วนสมบรูณ์และลงล็อคกันพอดี ซึ่งก็มีผลทำให้ช้าเร็วต่างกัน
     
  5. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    พุทธภูมิโดยปกติ เขาไม่ได้สนใจในตัวเองเป็นสำคัญนอกจากประโยชน์เพื่อคนอื่นที่สำคัญกว่า.....

    พวกที่สนใจในตัวเองมากกว่าประโยชน์ของคนอื่นพวกนี้ไปได้ยาก......
     
  6. พระอาจารย์ณัฐนนท์ สิรินันโท

    พระอาจารย์ณัฐนนท์ สิรินันโท เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    649
    ค่าพลัง:
    +1,323
    ผู้เป็นปัญญาธิกะ...มีความดำริอยู่ว่า

    สัตว์โลกทั้งหลายเกิดมาแล้วมันก็ต้อง

    มี เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นธรรมดา

    มีดีบ้าง ไม่ดีบ้าง เป็นธรรมดา

    มีรวย มีจน เป็นธรรมดา

    มีสวย ไม่สวย งามไม่ งาม เป็นธรรมดา

    แต่ขอให้มีปัญญาทุกสิ่งอย่างก็สำเร็จได้

    แล้วก็เริ่มสร้างบารมี อันนี้เป็นพวกปัญญาธิกะ

    ต้องบำเพ็ญบารมี 4 อสงไข แสนมหากัปป์ ถึงได้ตรัสรู้


    ************************


    ผู้เป็นศรัทธาธกะ...มีความดำริอยู่ว่า

    สัตว์โลกทั้งหลายที่เกิดมาแล้วมันก็ต้อง

    มี เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นธรรมดา

    มีดีบ้าง ไม่ดีบ้าง เป็นธรรมดา

    มีสวยบ้าง ไม่สวยบ้าง งามบ้างไม่งามบ้าง เป็นธรรมดา

    แต่คำว่ายากจนอย่าได้มีอยู่ในหมู่สัตว์ทั้งหลานเลย เพราะความจนเป็นทุกข์อย่างยิ่ง

    และขอให้มีศรัทธาตั้งมั่นทุกสิ่งอย่างย่อมจักสำเร็จเป็นแน่นอน


    แล้วก็เริ่มสร้างบารมี อันนี้เป็นพวก ศรัทธาธิกะ

    ต้องบำเพ็ญบารมี 8 อสงไข แสนมหากัปป์ถึงได้ตรัสรู้


    **************************


    ผู้เป็นวิริยาธิกะ...มีความดำริอยู่ว่า

    ขึ้นชื่อว่าความแก่ ความเจ็บ ความไข้ ความจนขัดสนยากจน ความไม่งาม คนไม่ดี

    จงอย่าได้มีในหมู่สัตว์ทั้หลายเลย แต่ว่าความตายนั้นถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา

    เมื่อเรามีความเพียรไม่ย่อย่อนเสียแล้วทุกสิ่งอยางย่อมสำเร็จเป็นแน่นอน

    แล้วเริ่มสร้างบารมี อันนี้เป็นพวกวิริยาธิกะ

    ต้องสร้างบารมี 16 อสงไข แสนกัปป์ ถึงได้ตรัสรู้

    ****************

    ปัญญา ศรัทธา วิริยะความเพียร ของพระโพธิสัตว์ทั้ง

    หลายย่อมมีอยู่ในจิตวิญญาณโดยพร้อมมูลอยู่แล้ว

    แต่ผู้เป็นปัญญาธิกะ ใช้ปัญญานำในการสร้างบารมี

    ผู้เป็นศรัทธาธิกะ ใช้ศรัทธานำในการสร้างบารมี

    ผู้เป็นวิริยาธิกะ ใช้ความเพียรพยายามในการสร้าง

    บารมี

    สาธุเจริญพรฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 พฤศจิกายน 2010
  7. linake119

    linake119 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +578
    สาธุ อนุโมทนากับหลวงพี่ฟ้าร้อง และทุกๆ ท่านครับ
    เป็นเช่นนั้นแล แต่หากว่าตั้งปรารถนามาจนจำไม่ได้ว่าตั้งต้นนั้นตนเองปรารถนาไว้แบบไหนนั้น ก็ลองสังเกตที่ความชอบบำเพ็ญแบบไหนครับ ซึ่งตอบยากเหมือนกันครับ แต่ว่าที่สำคัญไม่ว่าจะเป็นแบบไหน แล้วเราบำเพ็ญบารมีที่ควรบำเพ็ญแล้วหรือยัง หรือมัวแต่ยังไม่นั่งคิดอยู่ว่า จะสังเกตว่าเป็นแบบไหนเนี่ย มันเสียเวลาเหมือนกัน ทำเข้า บำเพ็ญเข้า เดี๋ยวก็รู้เองครับ ความรู้ทางใจเนี่ย จะบอกเองครับ
     
  8. Tuumm

    Tuumm เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +7,528
    อนุโมทนาสาธุครับ คำตอบของหลวงพี่ไขข้อข้องใจของผมและเพื่อนอีกหลายท่านได้เป็นอย่างดีเลยครับ ขอบพระคุณครับ

     
  9. itipizo

    itipizo Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    178
    ค่าพลัง:
    +86
    ถ้าจะรู้โดยนัยะของเหล่าพุทธางกูร

    ท่านจะเข้าสมาบัติ ระดับสูง ไล่ไปไล่มา
    จนจิตทรงตัว คล้ายจิตพระอรหันต์
    ก็ใล่ญาณ ตรวจสอบดูเอาครับ
    ตั้งความปรารถนาไว้ ดูไปเรื่อยๆ

    ทำบ่อยๆ กันจิตเฝือ มารแทรก
    ก็จะชัดเจนขึ้น

    การนำตำราเทียบเคียง มันพลาดท่าได้เยอะ
    ต้องตรวจสอบด้วยตนเอง
    เพราะถ้าท่านรู้ตัวว่า ท่านเป็นหน่อเนื้อพุทธางกูร
    สมาบัติ มันเป็นของเล่น เข้าๆออกๆ กันจนชำนาญอยู่แล้ว

    ขออนุโมทนาด้วยครับ ขอให้บำเพ็ยบารมีต่อไป
    จนสำเร็จเป็นนิยตโพธิสัตว์...
     
  10. ชุนชิว

    ชุนชิว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    722
    ค่าพลัง:
    +780
    เป็นตัวของเราเอง เรียนรู้ของเราเอง สงสัยปัจเจกมั้ง แต่ยังคิดสงเคราะห์สรรพสัตว์เหมือนกันนะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...