ปัญญา อันเกิดจากจิตเดิมแท้เป็นอย่างไร ?

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย อยู่ร่ำไป™, 30 มิถุนายน 2011.

  1. อยู่ร่ำไป™

    อยู่ร่ำไป™ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +42
    ปัญญา อันเกิดจากจิตเดิมแท้ หรือฐีติจิต มีลักษณะอย่างไรครับ

    อย่างนี้ต้องปฏิบัติ โดยใช้ สมถะนำวิปัสนา หรือวิปัสนานำสมถะ หรือใช้ทั้งสมถะ และวิปัสนาควบคู่กันไป
    เพื่อให้เข้าถึงฐีติจิตนั้น
    รบกวนสอบถามผู้รู้ ไว้เป็นกรณีศึกษา
    ผู้ไม่รู้ก็ตอบได้นะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มิถุนายน 2011
  2. Ongsathit

    Ongsathit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    626
    ค่าพลัง:
    +574
    -ผมก็ไม่ใช่ผู้รู้ แต่พอตอบได้ ปัญญา อันเกิดจากจิตเดิมแท้ คือ ปัญญาที่เห็นสิ่งทั้งหลายเป็นสิ่งสมมุติ และอยู่ภายใต้กฎไตรลักษณ์
     
  3. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,287
    คือมันไม่ได้เกิดใช่ไหม มันมีอยู่แล้วจิตมันรู้อยู่แล้วที่เราต้องทำคือมีสติ คือความ
    ระลึกได้ มีสติ สัมปชัญญะ รู้ว่าทำอะไร อย่างไร เพื่ออะไร สัมปชัญญะนี่มันเป็น
    ปัญญาอย่างอ่อน เหมือนสติปัญญา ถ้าเรามีสติระลึกได้มากมันก็เกิดเป็นปัญญา
    คือความรู้มันมีอยู่แล้วเราเอามาใช้มันเกิดเป็นปัญญา
     
  4. บัวบูชา

    บัวบูชา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2005
    โพสต์:
    118
    ค่าพลัง:
    +313
    มองทุกเรื่องเป็นความธรรมดา
     
  5. บัวทิพย์

    บัวทิพย์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2005
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +38
    ทำจิตให้เป็นน้ำนิ่ง(สมาธิ) และตัวรู้ (ปัญญา=รู้แจ้ง)จะผุดขึ้นมาจากจิตเอง
     
  6. Darkever

    Darkever เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 เมษายน 2011
    โพสต์:
    450
    ค่าพลัง:
    +333
    สมาธิที่เต็มภูมิแล้ว จะเห็นฐีติภูตัง จิดแท้จิตดั้งเดิม
    เพาะธรรมชาติจิตแต่เดิมนั้น มีสภาพผ่องใส แต่มีกิเลศมาบัง
    เมื่อกิเลศ ถูกสมาธิ ขจัดไป จิตก็จะกลับมาผ่องใสเหมือนเดิม
    แต่ถึงแม่จิตจะผ่องใส สะอาดด้วยสมาธิ แต่ก็เป็นแค่ชั่วคราว
    จึงต้องใช้วิปัสสนาตัดกิเลศ คือพิจารณาขันธ์5 รูปนามในกายของตน
    นั่งก็คือ ใช้สมาธิสลับกับวิปัสสนา เมื่อเข้าสมาธิเต็มภูมิ
    ก็พิจารณาขันธ์5 รูปนามในกายของตน เมื่อเหนื่อยจิตเริ่มฟุ้ง
    ก็หันกลับเข้ามาพัก ที่สมาธิ สมาธิเพื่อพักจิต พักเต็มที่แล้วก็เดินทางวิปัสนาอีก
     
  7. CottonFields

    CottonFields เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    127
    ค่าพลัง:
    +149
    อนุโมทนากับท่านเจ้าของคำถามนะครับ เมื่อมีการเริ่มต้นที่อยากจะได้ความรู้ก็เหมือนได้เข้ามาอยู่ในหนทางที่จะไปให้ถึงฝั่งครับ แต่จะถึงหรือไม่ถึงก็ขึ้นกับอิทธิบาทสี่ของท่าน

    คำตอบของท่าน ongsathit1 โดนเลยครับ ถือว่าเป็นคำตอบรวบรัดตัดใจความของผู้เข้าใจครับ ขออนุโมทนาด้วยอย่างยิ่งครับ



    ปัญญาอันเกิดจากจิตเดิมแท้มีลักษณะ " รู้ " เห็นตามความเป็นจริงไม่มีอติลำเอียงใด ๆ เข้ามาปนได้เลย
    " รู้ " ว่าทุกสิ่ง ไม่ว่าจะเป็นรูปนามทั้งหลาย ไม่เว้นแต่จิตใจร่างกายที่เรานึกเอาว่าเป็นของเรา จริง ๆแล้วล้วนตกอยู่ในกฏแห่งความจริงสามประการคือ
    อนิจจังไม่เที่ยง ทุกขังทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ และอนัตตาไม่ใช่ตัวตนไม่สามารถบังคับบัญชาได้


    ทำไมรู้ตามจริงในไตรลักษณ์แล้วจึงหลุดพ้นได้


    ก็เพราะเมื่อเรารู้ชัดกระจ่างด้วยปัญญาแล้ว เราจะเห็นความไม่เป็นแก่นสารของสิ่งทั้งปวง หาสาระเพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวในสิ่งใด ๆ ไม่ได้เลยแม้แต่ทรัพย์สมบัติ ลาภยศ ญาติมิตร ครอบครัว ครูบาอาจารย์

    จิตย่อมสว่างโพรง เหมือนถูกปลดปล่อยจากพันธนาการทั้งปวง กิเลศตัญหาต่าง ๆ ไมสามารถเข้ามาหลอกลวงให้คล้อยตามได้อีกเลย

    การจะเข้าถึงจิตเดิมแท้ ต้องอาศัยเกื้อกูลกันทั้งสมถะและวิปัสนาครับ
    สมถะเป็นบาทให้จิตมีกำลังใช้ปัญญาตรึกตรองหรือวิปัสนาทิ้งอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ครับ

    กระทู้นี้ดีนะครับ แล้วผมจะเข้ามาสนทนาด้วยเรื่อย ๆ ครับ
     
  8. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,075
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ถามอย่างนี้ไม่รู้จะตอบอย่างไง เพราะตัวจิตเดิมแท้ มันโง่แท้ ๆ ไม่มีความรู้ ไม่มีภูมิต้านท้านอะไรเลย กิเลสตัณหาลากไปไหนมันก็แปรไปตามปัจจัยนั้น หาปัญญาจากจิตเดิม มันไม่มีหรอก เพราะมันเป็นตัวหลง เป็นต้นตอกิเลส ของนามรูป ของชาติภพ

    แต่ถ้าถามว่าการที่ปฎิบัติจนเห็นจิตเดิมแท้ จะเกิดปัญญาอย่างไร ก็อย่างที่ตอบไปแล้ว

    ส่วนเรื่องการปฎิบัติให้เห็น คุณก็ตอบมาแล้วนี่ มันก็เป็นแนวที่พระศาสดาประทานไว้แล้ว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กรกฎาคม 2011
  9. panup

    panup Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    94
    ค่าพลัง:
    +57
    ความหมายของปัญญาในทางโลกกับทางธรรมไม่เหมือนกัน

    เอาจุดเริ่มต้นของปัญญาในทางธรรมก่อน คือว่า ต้องสามารถแยก แยก

    รูป กับ นาม หรือที่เรียกกันว่าแยกรูป แยกนาม นั่นแล

    คือเป็นผลโดยตรงของของการปฏิบัติที่มีจุดตั้งต้นมาจากการปล่อยวางในโลก มีความเพียรฝึกกำลังจิตให้นิ่ง ให้ละเอียดยิ่งขึ้นไปเรื่อย ๆ

    ส่วนเรื่องของจิตเดิมแท้ มันก็คือจิตเดิมแท้ ปล่อยให้มันเป็นจิตเดิมแท้ หรือจิตเดิมอะไรก็แล้วแต่ไปก่อน

    ถ้าจะใช้วิชาเดา... ตอบว่า พ้นจากผู้ตื่น เป็นผู้เบิกบาน ครับ
     
  10. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ก่อนอื่น ต้องเข้าใจ ความหมายของคำว่าจิตเดิม กับคำว่า ฐีติ


    กรณีคำว่าว่าจิตเดิมนั้น มีธรรมชาติปภัสสร

    คำว่าฐีติ หมายถึง ความตั้งขึ้น แต่หากหมายเอาจะสื่อถึงคำว่า ฐีติภูตัง

    ก็จะเสนอว่า จิตเดิม กับ ฐีติถูตัง คนละความหมายกัน
    และคนละลักษณะกันหากฝึกได้ถึงจุดนี้

    คำว่าฐีติแปลว่า ความตั้งขึ้น
    ภูตัง แปลว่าเปลี่ยนแปร เปลี่ยนแปลงไป
    มีคำที่สวยๆอีกคำในพระไตรเรียกว่า ฐีติธรรมญาน

    การเข้าถึงจิตเดิม หรือ จิตปภัสสร จะมีแต่สภาพรู้ รู้แต่สิ่งสิ่งเดียวในตัวของมัน ไม่ได้เกิดปัญญาอะไร

    แต่คราวนี้มาดูลักษณะที่เนื่องทำให้เกิดปัญญา
    หากเคยทำได้ครั้งหนึ่ง ก็ต้องทำให้ได้ครั้งที่ 2 แล้วสังเกตุ ดูว่า เวลาที่ จิตเคลื่อนลงจากจิตปภัสสร มันจะมีอะไรตามมา ตรงนี้ถ้าสังเกตุได้ทัน และมีความชำนาญ ฐีติภูตังจะเริ่มเกิดตรงนี้ และจะเริ่มเดิน ปัญญาอบรมจิตตั้งแต่ตรงนี้ ลักษณะนี้จะเป็นการฝึกโดยตั้งสมถะนำ
     
  11. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,903
    ค่าพลัง:
    +7,316
    ปัญญานั้นเกิดจาก การรู้สภาวะของตนตามจริง

    เห็นดีชั่วของตนเองตามจริง ด้วยใจที่เป็นกลาง ไม่ลำเอียงเข้าข้างตัวเอง

    ปัญญาถึงจะเดินหน้าสะสมการรู้เห็นทุกข์สุข เห็นสภาพของตนเองตามจริง

    เห็นไตรลักษณ์ของสุขและทุกข์ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป

    ปัญญาถึงขัดเกลาตนเองได้ด้วยปัญญาตน ด้วยประสบการณ์ที่ปัญญารู้เห็นสภาพตามจริงของตน

    การเจริญของปัญญา ก็เดินหน้าสะสมปัญญารู้ ไปเรื่อยๆ อื่นๆ(ศีล สมาธิ) ก็เจริญตามไปเอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กรกฎาคม 2011
  12. เงาของจิต

    เงาของจิต สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2011
    โพสต์:
    43
    ค่าพลัง:
    +4
    ผู้ที่สติหยั่งลงถึงจิตเดิม จะเกิดเป็นความรู้เป็นทัศนะ เห็นทุกข์ที่ดับไป เห็นเหตุที่ทุกข์ดับลงไป เห็นความผ่องใส ตั้งมั่นเป็นที่พึ่งแห่งตน ปล่อยวาง สิ่งไม่ใช่ตนลง รู้ถึงสิ่งไม่ใช่ตนชัดเจน

    เมื่อจิตถอนขึ้นจะเกิดเป็นความรู้ความเห็น ประจักษ์ใจชัด ว่าสิ่งที่หลงแต่เดิมมาว่าเป็นสุข เป็นทุกข์ทั้งสิ้น เทียบไม่ได้กับจิตสงบ จึงกล่าวได้ว่าเป็นนิพพานของผู้มีกิเลส



    กิจที่จะพึงทำ..เกิดขึ้น การชำระความโง่ ความหลงยึดถือ ไถ่ถอนอุปทานเพื่อจิตบริสุทธิ์

    ส่วนสมถะหรือวิปัสสนาย่อมแยกจากกันได้ยาก ล้วนเป็นอาการของจิตที่เป็นการกระทำเพื่อพิจารนาความจริงของทุกข์ เพื่อออกจากทุกข์ เพื่อดับเหตุแห่งทุกข์ เพื่อถึงความสิ้นไปแห่งกองทุกข์.. 

    เป็นงานของผู้มีกิจเพื่อจิตบริสุทธิ์ ต้องทำไปควบคู่กัน ไม่งั้นก็จะได้แค่เจริญแล้วเสื่อม เสื่อมแล้วเจริญ เมื่อเหตุของความเสื่อมไม่มี มีแต่เหตุอันเต็มพร้อม จึงเป็นผู้ไม่จมลงอีก เป็นผู้ไม่เสื่อม เป็นผู้เข้าสู่กระแสแห่งความพ้นทุกข์ ด้วยการสร้างเหตุในปัจจุบัน
     
  13. เงาของจิต

    เงาของจิต สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2011
    โพสต์:
    43
    ค่าพลัง:
    +4
    ส่วนลักษณะของจิตเดิมเป็นอย่างไร.. "ผ่องใส ตั้งมั่นเป็นที่พึ่งแห่งตน สักว่ารู้อย่างแท้จริง ไม่ยึดถือ.. ในกาย ในสามโลก เหนือคำพูด เหนือความคิด" 
     
  14. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    เวลา เรายกคำว่า ฐีติภูตัง มาใช้ หากเรายกมาไม่หมด เราจะโดน พวกศาสนา
    พราหมณ์สับขาหลอกทันที

    โดยการกล่าว่า การปฏิบัติจนมาถึง ฐีติภูตัง ปรากฏ ก็เหมาเข่งได้ว่า เข้าถึงธรรม
    แล้ว เข้าถึงหลักเกณฑ์แล้วในการ วิ่งกลับมาจับหลักแบบลิงนอกศาสนา

    เราต้องระมัดระวังให้ดี การเหมาเข่ง การเห็นการปรากฏ ของ ฐีติภูตัง แล้วเหมา
    ว่า นี่คือตัว ปัญญา ก็จะเป็นอันโดนพวกเขาต้มหมด

    ในทางศาสนาพุทธนั้น ปัญญาต้องเป็นการเห็นไตรลักษณ์ หากการเห็นใดมีการ
    เห็นไตรลักษณ์ประกอบ จะมีแนวโน้มเป็นสัมมาทิฏฐิเข้ามา

    อย่างเช่น ไปเห็น ฐีติภูตัง แล้ว มันแสดงไตรลักษณ์ให้เห็นหรือเปล่า หากไม่ นั่น
    ก็แปลว่า เกิดอาการเหมาเข่ง เกิดการเอาจินตนาการไปจับ เห็นฐีติภูตังเที่ยงแท้
    ไปเสีย

    แล้วจะทำอย่างไร ดูยังไง ให้เห็น ฐีติภูตังแสดงไตรลักษณ์ ก็หาก ฐีติภูตังมัน
    แสดงตัว ร้อยละร้อยมันจะเด่นดวง จนดูไม่ออกว่า ไตรลักษณ์อยู่ตรงไหน

    จึงต้องใช้ อุบาย ศาสนาพุทธสอนให้ใช้อุบาย หรือ ปัญญาอันยิ่ง(คนละตัวกันกับ
    ปัญญ่เห็นไตรลักษณ์) ปัญญาอันยิ่งเป็นเรื่องของอุบายในการพิจารณา เราจึง
    อาศัยการดู "อาการของจิต" ที่มันจะก่อตัวหลังจาก ฐีติภูตังปรากฏ เราจะเน้น
    ที่การเห็น อาการของจิต ที่ส่งออกจากฐาน ดูให้ทันปัจจุบัน ดูแรกๆเพื่อให้รู้จัก
    การปรากฏของ "อาการของจิต" เมื่อดูเป็นแล้ว คราวนี้พิจารณาให้ดีว่า อาการของ
    จิตเหล่านั้น บ้านใครเรียกกุศลบ้าง เป็นกุศลก็รู้ เป็นอกุศลก็รู้ เป็นกลางๆ ก็รู้

    รู้แล้วให้ปล่อยความรู้นั้นอีก อย่าจับว่า นั่นคือปัญญา มันยังเป็นแค่ขั้นตอน ปัญญา
    อันยิ่ง หรือ ยังดำเนินอุบายในการดูอยู่

    พอดู"อาการของจิต" บวกกับเห็นว่าเป็น กุศล อกุศล กลางๆ อันนี้จะเริ่มเข้าส่วนที่
    เรียกว่า เรียนรู้ "สภาวะธรรม" ซึ่งก็จะจำแนกแยกแยะไปตามประสบการณ์ของบัญญัติ
    ก็เรียกว่า วิจัยธรรม ธรรมวิจัยย ซึ่งบางท่านก็อาศัย "อภิธรรมปิฏก" เข้ามาประกอบ
    บางท่านก็อาศัยความมุ่งมั่นศรัทธาแทนตัวปัญญาหรืออภิธรรมไป ทำให้ไม่ต้องเรียก
    ชื่อก็ได้

    พอรู้จัก สภาวะธรรมแล้ว ก็จะมีเครื่องมือครบ คือ รู้ ฐีติภูตัง รู้ อาการของจิต รู้ สภาวะ
    ธรรม(เป็นปัจจุบัน เรียก เห็นตามความเป็นจริง) รวมทั้งหมด แล้ว เรียกว่า เจริญการ
    เห็น สัจจญาณ พอเห็นบ่อยๆเข้า จะสะสม กิจญาณ คือ รู้สภาพธรรมเหล่านั้น อาการ
    เหล่านั้นมีหน้าที่อะไร ชักจูงจิตไปไหน ก่อเกิดอะไร ล่วงเข้ากามภูมิไหน แล้วก็รู้
    สภาพธรรมไปเรื่อยๆ จนกระทั่ง อิ่มการเห็น เรียกว่า "บารมีเต็ม"

    พอ บารมีเต็ม ก็คือ มีเงินในธนาคาร มีเยอะ คราวนี้ หากจิตมันเข้าไปยังจุด "ฐีติภูตัง"
    แล้ว กำลังจะเคลื่อนแสดง "อาการของจิต" จิตจดจำ "สภาวะธรรม" นั้นได้ มันถึงจะ อ๋อ
    ไอ้เรือหาย ฐีติภูตังมันแสดงไตรลักษณ์ให้เห็นต่อหน้าต่อตา หญ้าปากคอก แท้ๆเลย

    ซึ่ง เห็นแล้ว มันจะโอ้โห มันจะไม่ งง ไม่รู้เหนือรู้ใต้ว่า อะไรคือปัญญา เพราะว่า การ
    มาเห็น หรือ ย้อนไปเห็น จิตเห็น(อาการของ)จิตเป็นมรรค ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิตแสดง
    ไตรลักษณ์หญ้าปากคอกอย่างแจ่มแจ้งเป็นนิโรธน จิตส่งออก(เคลื่อนจากฐีติจิต)เป็น
    สมุทัย ผลของมันคือนำทุกข์มาให้(ล่วงเข้ากามภูมิ)
     
  15. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    เนี่ยะ ความเห็นอย่างข้างบนนั้น พวก โดนศาสนาพรหมาณ์ต้มมาจนสุก

    ถามว่า อาศัยอะไรกล่าว

    สังเกตุข้างบน จะเห็นว่า เป็นความไม่รู้ว่า การเห็นเจริญแล้วเสื่อม อันนั้น คือ อุบายธรรม คือ ส่วนการเจริญปัญญาอันยิ่ง หากเป็น
    พวกนอกศาสนา เขาจะปฏิเสธการใช้อุบายตรงนี้ แล้วใช้ เรื่อง เจริญ กับ เสื่อม มาเป็น ข้ออ้างในการกีดกัน ให้เราออกห่าง ให้เรา
    สงสัยในทาง ที่ควรเห็น พอเราละทิ้งการเห็น ก็เป็นอันเสร้จ จะมุ่งจับฌาณสมาบัติตัวใดสักตัวหนึ่ง เป็นนิพพานไป เขาเรลยเรียก
    หรือ ชูคำที่คล้ายๆกันว่า เป็นผู้ไม่เสื่อม ก็ดูอย่าง เนวสัญญานาสัญญาวิญาตนะ มีอายุตั้ง 84000 มหากัป

    มหากัปเชียวนะมึง!! อย่าทำเป็นเล่นไป

    การยกเรื่อง เจริญ แล้ว เสื่อม มาเป็นข้ออ้างให้ ยึดติดการปฏิบัติ แทยที่จะเป็น อุบายธรรม อันนี้ พระพุทธองค์จัดอยู่ในเรื่อง
    เดรัจฉานกถา 10 ประเภท

    ดังนั้น เจริญแล้วเสื่อม เราอย่าเอามาเป็นเงื่อนไข ในการชี้นำการปฏิบัติ เราเป็นคนศาสนาพุทธ เราเอาเจริญแล้วเสื่อม
    นั้นมาแค่อาศัยระลึก รู้แล้วปล่อย ไม่เอามาดีดดิ้น สร้างเงือนไข พอเห็นมากๆเข้า มันจะแจ้งว่า ปัดโถ่ นี่แหละคือการ
    เห็นไตรลักษณ์ที่ควรพิจารณา ให้เห็นบ่อยๆ เห็นให้มากๆ ว่ามันออกมาจากไหน มันออกมาเพราะอะไร อะไรเป็นเหตุ
    ที่แท้จริงของการปรากฏ มันก็จะสวนกระแสย้อนเข้าไปเห็น ที่ตั้งที่ยอดภู พอเห็นปั๊ป ไอ้เรือหาย นี่กูพึงภาวนาเป็น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กรกฎาคม 2011
  16. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    สังเกตนะว่า

    อันนี้ เขาโพสมาเป็น ลำดับต่อมา เวลาห่างกันร่วม 8 นาที

    8 นาที ผ่านไป มันพึงนึกได้ว่า เห้ย กูพูดไม่จบ ตะกี้ กูจินตนาการไปไม่ถึง

    พอพูดว่า ไม่เสื่อมอีกต่อไป จิตมันขาด มันเข้าไปว่างๆ ว่างๆ อยู่ 8 นาที พอ8นาที
    จิตมันเลิกภูมิใจในวาทะ อัตตวาทุปาทาน มันก็ออกมาคิดใหม่ เห้ย ตะกี้กูลืมไป
    อีกประโยค แล้วมันก็เข้ามาพูดอีก หลังเวลาให้ไป 8 นาที หลงไป 8 นาที

    กลับมา ก็มาโพส ขณะที่โพส จิตไม่ใช่ไม่เสื่อมอีกต่อไป แต่กำลังเสื่อมเป็น "อสุรกายภูมิ"
    อยู่โดยที่ไม่รู้เรื่อง อะไรเลย

    เรียกว่า อาการกลับมาเขย่งเป็นผู้รู้ อาการกลับมากอดอกมาดมั่นว่ารู้ นี่คือ อสุรกายภูมิ

    ผู้ เมาไป 8 นาที พึ่งรู้ว่า โดนจับโยนมาที่ ตีนเขา เลยต้องเขย่งกลับไปที่ ภูตัง ฐีติภูมัน
     
  17. เงาของจิต

    เงาของจิต สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2011
    โพสต์:
    43
    ค่าพลัง:
    +4
    พูดได้น่าฟัง จับผิดได้ดี สนทนามีประโยชน์ครับ ยังไงก็ดับที่เหตุนะครับ 

    ถ้ายังหาตัวจิตไม่เจอ ก็พิจารนากาย แยกขันธ์ เข้าสู่จิต 

    ถ้าท่านที่รู้จักจิตดีแล้ว เมื่อเข้าสู่ฐานของจิต ขยับออกมา ก็พิจารนาอาการกระเพื่อมต้นๆจิต 

    ถ้าหลงกายก็หลงเกือบทุกๆเรื่อง ถ้ายังไม่สามารถแก้ความหลงกาย ก็ยังต้องเกิดอีกนาน อย่าไล่ตะครุบเงาปลายจิต หาเหตุความกระเพื่อมไม่เจอ

    จะเอายอดก็อย่ารีบกระโดดสูงนักระวังตกต้นตาลนะครับ
     
  18. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    ขอโทษครับ จะพูดมันก็พูดได้นะว่า ข้าดูกาย ข้าดูกาย ข้าไม่หลงไปเป็น พรหม

    จะเอาไม้จิ้มฟัน คอยแงะ เนื้อติดฟัน ไว้ตลอดด้วยการ อ้างว่า "ข้าดูกาย"ๆ นี่
    หากมันเฉไฉ ต้นคด ปลายตรง ไม่มีนะ ไม่มี!!!

    กายนี้มันมาจากอะไร มันออกมาจากจิต

    กายคุณ คุณดูแล้วได้อะไร หากไม่เข้ามาเห็น เงาของจิตที่ปรุงกาย กายมัน
    มาทีหลังจิตเท่าไหร่ไม่รู้ต่อเท่าไหร่ กายบางส่วนนู้นๆๆ มาจากจาก จิตที่ประ
    กอบเอาไว้เมื่อ 840000 มหากัปนู้น มันพึงมาปรากฏ เคยเห็นไหม พวกมี
    กายแบบนี้ พวกกายตอบๆแห้งๆ หน้าเรียวๆ ที่ชอบพูด หรือชักชวนให้กระ
    โดดเกาะ ฐีติจิตๆ ตะพึดตะพือ เพื่อสร้าวแรงทยานให้มั่นคง พอจะตายปั๊ป
    จิตมันดีดเข้าฌาณไปเลยนะ ไปอยู่อีก 840000 มหากัป ดังนั้น เขาฝึกันที่
    จิตมันออกรู้ เขาฝึกกันที่การดูอาการของจิต เขาก็ดูเงาของจิต กัน แต่เขา
    ดูเพื่อพิจารณาทุกขสัจจ ไม่ใช่ไปจ้องบอกว่า อย่างนี้กูไม่เอา แล้วฝึกการดีด
    ดิ้นเข้ารูปฌาณอรูปฌาณเอา ฐีติจิต ตะพึดตะพือ เคยได้ยินไหม

    ฐีติภูตัง ทิฏฐิภูตัง ทิฏฐิภูอาจม หรือ "กองขี้ควาย" !!! หนะ

    * * * *

    ไอ้พูดๆว่า ดูกายๆ หนะ เขาดูอะไร กันแน่ รู้เรื่อง หรือเปล่า หรือได้แต่
    อ้างเอาไว้ เพราะ กลัวว่า จะพูดออกจากหลักเกณฑ์
     
  19. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    เห็นไหมว่า กลับกลอก ไหนหละ ต้องไปเห็น ฐีติภูตัง ต้องไปที่ ยอดภู ยอดจิต
    ที่ตั้งต้นของจิต

    แล้วนี่อะไร มาพูดจาทักท้วงตัวเอง ไม่ให้เดินเข้าไปที่ ฐีติภูตัง

    ตกลง จะต้องไปเห็นไหม ไอ้ ฐีติภูตังนี่ หรือว่า ต้องเดินมันรอบๆตีน
    เข้า รอบๆ โคนต้นไม้ อย่ากระโดดขึ้นไป

    แต่คนเป็น เขามี คนเป็นเข้ารู้ ไป ฐีติภูตังแล้วก็ให้ดูที่จิตมันออกรู้

    จิตออกรู้ คืออะไร ป่านนี้แล้ว เก่งขนาดนั้นแล้วรู้หรือยัง หากรู้แล้ว
    มันต่างจาก จิตออกไปคิด จิตเกิดตัวคิดไหม

    แล้วไง สุดท้ายก็คือ มาดู จิตไหลไปคิด

    ดูจิตไหลไปคิด ดูทำไม ก็ดูเพื่อให้ จิตเห็นฐานของจิต ฐีติภูตัง

    เอ้า ....ภาวนาแทบตาย ก้เพื่อมา ยืนอยู่ตรงจุดเดียวกัน มาภาวนา
    กันตรงจุดเดียวกันเนืองๆ คือ

    ดูเงาของจิต พิจารณา เวรกรรม แล้วจะพูด ขวางชาวบ้านชาวช่องไปทำไม

    พูดแล้ว ก็มาวกสอนว่า เอ่อ ดูอย่างนั้นแหละ

    "ปัญญาอบรมสมาธิ ปัญญาอบรมสมาธิ พุทโธๆๆๆ นี่ ปัญญาอบรมสมาธินะ"

    ก็ปัญญาอบรมสมาธิ นั่นแหละ ดูจิตออกคิดพิจารณาทุกขสัจจ จนจิตสงบเข้าไปที่ ฐีติภูตัง !!!

    แล้วค่อยดูจิตที่ออกรู้......เอ้า !!!
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 กรกฎาคม 2011
  20. สุรีย์บุตร

    สุรีย์บุตร https://youtu.be/8qf8khXqUjU

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    1,562
    ค่าพลัง:
    +2,128
    บอกตรงๆไปเลยสิคุณนิวรณ์ ว่าให้ไปฝึกดูจิตกับสำนักดูจิตก่อน
     

แชร์หน้านี้

Loading...