การถือ ศีล8 ทานนม หรือนมถั่วเหลือง หลังเที่ยงได้มั้ยครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย หมี พลเสน, 5 มกราคม 2012.

  1. หมี พลเสน

    หมี พลเสน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    620
    ค่าพลัง:
    +358
    เห็นพระบางท่าน ดื่มได้ แต่ผมอยาก สอบถาม ว่าความจริงแล้ว ดื่มได้รึเปล่าครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 17 ตุลาคม 2012
  2. นราสภา

    นราสภา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,962
    ค่าพลัง:
    +356
    เเถวบ้าน ท่านเรียกว่า ช่องว่างทางกฎหมายยยยยยยยยยยยยยยยยย

    ขยับโยก ย้าย บ่ายไปตามกําลังของ ความศรัทา
     
  3. ballbeamboy2

    ballbeamboy2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    1,622
    ค่าพลัง:
    +1,618
    ถ้าพระดื่มได้ ฆราวาสก็คงดื่มได้ เพราะศีล พระ มากกว่า ศีล8อีก แต่ผมก็ไม่รู้ ไม่ค่อยเชื่อว่าดื่มนมได้

    เพราะ อ่านมาอีกที ในสมัยพุทธกาล มีคนรวยรักษาศีล 8 ไม่ให้ลูกดื่มนม แล้วลูกดื่มก็ไปบ้วนปาก อ่านมาอีกที ครับ รอผู้รู้มาบอก
     
  4. Gorgeous

    Gorgeous เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    61
    ค่าพลัง:
    +109
    ประโยชน์ของศีล ทำให้เราสละกิเลส สำหรับกรณีนี้ในความรู้สึกหลังจากที่ได้ไปปฎิบัติ มันทำให้เราไม่ยึดติดในรสชาติของอาหาร ทำให้รู้ว่ามันเป็นความหิวหรือความอยากกินกันแน่ ซึ่งส่วนมากเป็นเพราะอยากกิน แต่เหนือสิ่งอื่นใดคือควรบริโภคให้พอดีจ้า เช่นวันไหนอยู่บ้านเฉย ก็ ศีล 8 เพราะเราไม่ได้ใช้พลังงานมาก วันไหนทำงานหนักก็บริโภคแป้งเพิ่มขึ้นหน่อย จะได้ไม่เพลีย เหนือสิ่งอื่นใดประโยชน์ของศีล ทำให้วิปัสสนาก้าวหน้า เราทำเพื่อเรียนรู้ตามความเป็นจริง ว่าอยากกินหรือเพื่อบำบัดความหิวให้ร่างกายอยู่ได้ นี่คือแก่นแท้หรือประโยชน์ที่ได้หรือการรู้เห็นตามสัจจธรรมความเป็นจริง
     
  5. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    [​IMG]




    เรื่องของน้ำปานะ



    น้ำปานะ คือ เครื่องดื่ม ที่คั้นจากลูกไม้ หรือ น้ำคั้นผลไม้ ท่านจัดเป็น "ยามกาลิก" คือ ของที่ร้บประเคนไว้แล้ว ฉันได้วันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ถือเอาใจความง่าย ๆ ก็คือ ของที่ฉันได้หลังเที่ยงไปแล้วนั่นเอง หรือ ฉันได้ทั้งวันทั้งคืนก่อนรุ่งอรุณ



    ในปัจจุบัน ปัญหาเรื่องน้ำปานะ ก่อความกังวลใจให้แก่ชาวพุทธพอสมควร เพราะมีเครื่องดื่มเกิดขึ้นมากมายล้วนแต่ไม่มีในสมัยพุทธกาล แต่เราก็อาศัยเปรียบเทียบเอาจากมหาปเทศฝ่ายพระวินัยได้
    แต่ถึงอย่างนั้น ในวงพระเองก็ยังมีการตีความไม่ตรงกัน เช่น นมสด พระฝ่ายมหานิกายก็ว่าฉันได้ แต่พระฝ่ายธรรมยุตว่าฉันไม่ได้ แต่ก็ฉันเนยแข็งที่ทำจากนมสดได้มันก็ชอบกลอยู่


    ผู้ที่เป็นต้นบัญญัติ ให้เกิดมีการดื่มน้ำปานะขึ้นเป็นท่านแรก ก็คือ เกณยชฎิล ปรากฏหลักฐานอยู่ในพระไตรปิฎก พระวินัย เล่มที่ 5 ข้อที่ 86 ในที่นั้นพระพุทธองค์ทรงแสดงน้ำปานะ หรือน้ำอัฏฐบานไว้ 8 อย่าง ดังนั้น



    <TABLE style="MARGIN: auto auto auto 19.5pt; WIDTH: 51.64%; BACKGROUND: white; -moz-background-clip: border; -moz-background-origin: padding; -moz-background-inline-policy: continuous" border=0 cellPadding=0 width="51%"><TBODY><TR style="HEIGHT: 18.05pt"><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 44.76%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-RIGHT-COLOR: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="44%">1. น้ำมะม่วง


    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 53.14%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-RIGHT-COLOR: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="53%">2. น้ำลูกหว้า</B>


    </TD></TR><TR style="HEIGHT: 18.05pt"><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 44.76%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-RIGHT-COLOR: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="44%">3. น้ำกล้วยมีเมล็ด</B>


    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 53.14%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-RIGHT-COLOR: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="53%">4. น้ำกล้วยไม่มีเมล็ด</B>


    </TD></TR><TR style="HEIGHT: 18.05pt"><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 44.76%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-RIGHT-COLOR: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="44%">5. น้ำมะทราง</B>


    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 53.14%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-RIGHT-COLOR: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="53%">6. น้ำลูกจันทน์หรือน้ำองุ่น</B>


    </TD></TR><TR style="HEIGHT: 18.05pt"><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 44.76%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-RIGHT-COLOR: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="44%">7. น้ำเง่าบัว</B>


    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 53.14%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-RIGHT-COLOR: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="53%">8. น้ำมะปรางหรือน้ำลิ้นจี่</B>


    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </B>


    ถ้านับเรียงชนิดก็เป็น 10 ชนิด แต่จริง ๆ แล้วมีมากกว่านี้แยะ เพราะทรงอนุญาตเพิ่มเติมไว้อีก ดังนี้
    ทรงอนุญาตน้ำผลไม้ทุกชนิด เว้นน้ำต้มเมล็ดข้าวเปลือก
    ทรงอนุญาตน้ำดอกไม้ทุกชนิด เว้นน้ำดอกมะทราง
    ทรงอนุญาตน้ำอ้อยสด


    ถ้าจะพิจารณากันตามพระพุธานุญาตในตอนท้ายนี้แล้ว ก็น่าจะตีความได้กว้างขวางมาก กล่าวคือ ถ้าเว้นน้ำต้มเมล็ดข้าวเปลือกและน้ำดอกมะทรางแล้ว อย่างอื่น ๆ ก็น่าจะฉันได้หมด


    ที่มีปัญหามากก็เรื่องนมสดและน้ำเต้าหู้ ที่ทำจากเมล็ดถั่วเหลือง น้ำถั่วเหลืองนี้ แม้ในฝ่ายพระมหานิกายบางพวกก็ไม่ฉัน และผู้ที่ตีความค่อนข้างเคร่งก็เป็นพระฝ่ายปฏิบัติ หรือพระกรรมฐาน ส่วนพระตามวัดทั่วไป ท่านก็ฉันได้ทุกอย่าง ขอให้โยมเอามาประเคนเถอะ แม้แต่นมข้น (มีแป้งผสมอยู่ด้วย) ชงโอวัลตินหรือไมโล ท่านก็ไม่รังเกียจ


    ก่อนที่จะคุยกันเกี่ยวกับน้ำปานะต่อไป ควรจะมาดูหลักฐานกันก่อน ว่าเรื่องน้ำปานะนี้ มีหลักฐานในที่ใดบ้าง ? ที่ยกมาข้างต้นนี้ เป็นพระพุทธบัญญัติจากพระวินัย แต่ยังมีหลักฐานในพระสูตรอีกแห่งหนึ่ง คือเล่มที่ 29 ข้อ 7 ดังนี้



    <TABLE style="MARGIN: auto auto auto 19.5pt; WIDTH: 64.02%; BACKGROUND: white; -moz-background-clip: border; -moz-background-origin: padding; -moz-background-inline-policy: continuous" border=0 cellPadding=0 width="64%"><TBODY><TR style="HEIGHT: 18.05pt"><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 36.1%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-RIGHT-COLOR: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="36%">1. น้ำผลสะคร้อ


    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 62.22%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-RIGHT-COLOR: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="62%">2. น้ำผลเล็บเหยี่ยว</B>


    </TD></TR><TR style="HEIGHT: 18.05pt"><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 36.1%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-RIGHT-COLOR: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="36%">3. น้ำผลพุทรา</B>


    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 62.22%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-RIGHT-COLOR: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="62%">4. น้ำมัน (งา)</B>


    </TD></TR><TR style="HEIGHT: 18.05pt"><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 36.1%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-RIGHT-COLOR: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="36%">5. น้ำเปรียง</B>


    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 62.22%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-RIGHT-COLOR: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="62%">6. น้ำข้าวยาคู (รสเปรี้ยว)</B>


    </TD></TR><TR style="HEIGHT: 18.05pt"><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 36.1%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-RIGHT-COLOR: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="36%">7. น้ำนม</B>


    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 62.22%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-RIGHT-COLOR: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="62%">8. น้ำปานะที่ทำด้วยรส (ผักหรือผักดอง)</B>


    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </B>



    จากมังคลัตถทีปนี (แปล) เล่ม 3 ข้อ 8 ดังนี้



    <TABLE style="MARGIN: auto auto auto 19.5pt; WIDTH: 64.02%; BACKGROUND: white; -moz-background-clip: border; -moz-background-origin: padding; -moz-background-inline-policy: continuous" border=0 cellPadding=0 width="64%"><TBODY><TR style="HEIGHT: 18.05pt"><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 36.1%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-RIGHT-COLOR: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="36%">1. น้ำผลเล็บเหยี่ยว


    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 62.22%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-RIGHT-COLOR: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="62%">2. น้ำผลพุทราเล็ก</B>


    </TD></TR><TR style="HEIGHT: 18.05pt"><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 36.1%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-RIGHT-COLOR: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="36%">3. น้ำผลพุทราใหญ่</B>


    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 62.22%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-RIGHT-COLOR: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="62%">4. น้ำเปรียง</B>


    </TD></TR><TR style="HEIGHT: 18.05pt"><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 36.1%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-RIGHT-COLOR: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="36%">5. น้ำมัน</B>


    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 62.22%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-RIGHT-COLOR: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="62%">6. น้ำนม</B>


    </TD></TR><TR style="HEIGHT: 18.05pt"><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 36.1%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-RIGHT-COLOR: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="36%">7. น้ำยาคู</B>


    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 62.22%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-RIGHT-COLOR: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="62%">8. น้ำรส </B>


    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </B>

    ข้อที่ควรคิด ก็คือ คำว่า น้ำนม หรือ นมสด จะเป็นนมสดจากเต้า หรือจากกล่องก็ตาม พระเณรหรือผู้ถืออุโบสถ ฉันหรือดื่มหลังเที่ยงได้หรือไม่ ?


    ผู้เขียนเคยถามอาจารย์เสฐียรพงษ์ วรรณปก และอาจารย์จำนงค์ ทองประเสริฐ ท่านว่าฉันได้ ถ้าใครว่าฉันไม่ได้ ให้ลองถามท่านผู้รู้ดูทีหรือว่า คำว่า ปโยปานัง แปลว่าอะไร ?
    ศัพท์ที่ว่า ปย หรือ ปโยปานํ ท่านแปลว่า น้ำนม ถ้าไม่ใช่นมสดแล้วจะเป็นนมอะไร ? ที่ควรพิจารณาก็คือมีหลักฐานในที่ 2 แห่ง คือ ทั้งในพระไตรปิฎก และในมงคลทีปนี ดังที่บอกไว้แล้ว


    เดิมที่ผู้เขียนก็ไม่ฉันนมสด เพราะเหตุว่าไม่พบหลักฐาน แต่เมื่อเห็นว่ามีหลักฐานบ่งไว้ชัด ๆ ก็เลยฉันมาตลอด แต่ ที่น่ารังเกียจก็คือ นมข้นหรือหางน้ำนม ซึ่งมีแป้งผสมอยู่ด้วย และไมโลหรือโอวัลติน ซึ่งมีไข่ผสมอยู่ด้วยกับน้ำเต้าหู้ ซึ่งบางท่านว่าฉันไม่ได้


    ในปัจจุบันนี้ มีเครื่องดื่มออกมาใหม่ ๆ แปลก ๆ แยะ ถ้าเราไม่รู้จริงในส่วนผสม หรือในพระวินัย ก็ไม่ควรจะดื่ม ถ้าเกิดมีการหิวกระหาย ก็ยังมีทางบรรเทาได้ เช่น น้ำตาล เป็นต้น แก้หิวได้ดีนัก การอ้างเพียงแต่ว่า องค์โน้นท่านยังฉันได้ สำนักนี้ก็ฉันได้ ไม่ควรนำมาใช้ เพราะจะเกิดค่านิยมทำตาม ๆ กันไป แล้วแก้ภายหลังยาก เพราะความเคยชิน ควรจะคำนึงถึงพุทธบัญญัติเป็นหลัก


    พระพุทธองค์ทรงทราบดี ว่าการทรมานร่างกายเกินไปหรือการบำรุงจนเกินไป จะเป็นผลเสียทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต การเดินสายกลาง คือไม่ตึงนักและไม่หย่อนนักย่อมจะสำเร็จประโยชน์ได้เร็วกว่า
    ถ้าเกิดว่า มีความสงสัยในข้อใดหรืออะไร ? เราควรจะศึกษา หรือสอบถามท่านผู้รู้ก่อน ยึดหลักฐานจากพระไตรปิฎกไว้ก่อนเป็นดีที่สุด จะได้ไม่ก่อปัญหา หรือความขัดแย้งตามมาในภายหลัง


    ข้อน่าสังเกต ก่อนจบบทความนี้ ผู้เขียนใคร่ขอฝากความเห็นเกี่ยวกับพระวินัย และการตีความไว้สักเล็กน้อยว่า เป้าหมายหลักในการบัญญัติพระวินัยของพระพุทธองค์นั้น ผู้เขียนจับพระพุทธประสงค์ได้ว่า ทรงมุ่งเป้าไว้ 3 จุดใหญ่ คือ


    1. เพื่อมิให้ชาวบ้านรังเกียจ หรือติเตียนพระเป็นใหญ่
    2. เพื่อให้พระเป็นที่เลื่อมใสของชาวบ้าน
    3. เพื่อมิให้เกิดการขัดแย้งกันเองภายในหมู่สงฆ์



    ในข้อหนึ่ง เราจะเห็นตัวอย่างในสมัยพุทธกาลมากมาย ที่พระทำอะไรแล้วชาวบ้านไม่รังเกียจ พระพุทธเจ้าก็ไม่ทรงบัญญัติเป็นข้อห้าม แต่ถ้าสิ่งใดชาวบ้านตำหนิแล้วก็จะทรงบัญญัติห้ามในทันที


    ในข้อสอง พระต้องพึ่งชาวบ้าน ต้องฝากปากท้องเขาอยู่ ถ้าเขาไม่เลื่อมใสในสิ่งใด ? พระไปทำเข้าก็เกิดปัญหา เขาไม่ศรัทธา พระก็อดตายแน่


    ในข้อสาม ความสามัคคีในหมู่สงฆ์ เป็นสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงปรารถนายิ่งนัก เพราะถ้าภายในสงฆ์แตกกันเสียแล้ว ศาสนาก็อยู่ไม่ได้


    ในอดีตที่ผ่านมา ความแตกสามัคคีในหมู่สงฆ์ ส่วนมากจะเป็นเรื่องเล็ก ๆ แล้วกลายมาเป็นการแยกพวกแยกหมู่กัน เป็นเรื่องที่ไม่ควรให้เป็นประวัติศาสตร์ซ้ำรอยอีก ทางที่ดีและถูกต้องนั้น ถ้าเรายังไม่แน่ใจว่า สิ่งที่เราทำแล้วหรือยังไม่ทำก็ตาม ถ้าไม่แน่ใจ่ว่าจะถูก ก็ควรค้นดูหลักฐานพระพุทธบัญญัติก่อน ถ้าหาไม่พบหรือไม่แน่ใจ ก็ควรที่จะสอบถามท่านผู้รู้


    การที่เราไม่รู้ และขืนทำไปก่อนนั้น ย่อมจะเกิดผลเสียอย่างน้อย 2 ประการ คือ


    1. ทำให้ท่านผู้รู้รังเกียจ และดูหมิ่นเอาได้ ว่าเราไม่มีความรู้ เมื่อไม่รู้แล้ว ก็ไม่ยอมศึกษาหรือสอบถามอีกด้วย เป็นเหตุให้บัณฑิตไม่อยากคบหาเรา


    2. มักจะเกิดการเคยตัว และเคยชินจนติดเป็นนิสัย แม้จะรู้ว่าผิดในภายหลังก็แก้ยาก เพราะการตามใจกิเลสตัณหานั้น มีแต่จะพอกพูนยิ่งขึ้น ได้ที่จะเบาบาง หรือหมดไปนั้น อย่าคิดเลย


    ดังนั้น ทางที่ดีและถูกต้องในการบวช ควรจะตั้งเป้าไว้ที่การศึกษาก่อนอื่นใด คือก่อนที่จะลงมือปฏิบัติทางจิต เพราะถ้าบวชแล้วไปปฏิบัติในทันที มันจะเบื่อการเรียนหรือบางทีก็นึกรังเกียจพวกที่เรียนปริยัติ หาว่าเป็นพวกในลานเปล่า



    แน่นอน, ถ้าเรียนรู้แล้วไม่ปฏิบัติ มันก็เป็นพวกใบลานเปล่าแน่ และในทำนองเดียวกัน การปฏิบัติโดยไม่เรียน มันก็มีผลเสียอย่างน้อย 2 อย่าง คือ อาจทำให้หลงผิด หรือปฏิบัติผิด เมื่อปฏิบัติผิดมรรคผลก็ไม่เกิด และอาจทำให้ล่าช้า หรือติดอาจารย์ได้ง่าย คือติดในทางผิดๆ แต่ถ้าเรายึดพระพุทธพจน์ พระไตรปิฎกไว้ก่อน โอกาสที่จะเสี่ยงหรือผิด ก็เป็นไปได้ยาก หรือไม่มีเลย เพราะพระไตรปิฎกผ่านการกลั่นกรองมามาก และเป็นที่รับรองกันทั่วโลก.



    ข้อมูล: หนังสือ "พระไตรปิฎก ฉบับเก็บตก" จัดทำโดย ธรรมรักษา


    http://www.watpaknam.org/donation10-...%E0%B8%B0.html

     
  6. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    จะถือศีล 8 แล้วยังห่วงว่าจะหิวตอนดึกๆ อีกหรือ?
     
  7. pakhun

    pakhun สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +9
    ทานได้ครับ ทานเพื่อความอยู่รอดครับ ไม่ผิดศิลครับ ผมก็เคยบวชแล้วครับ ยังทานปกติเลย แม้แต่ กินน้ำก็ยังดื่มครับ
     
  8. Fabreguz

    Fabreguz เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    645
    ค่าพลัง:
    +1,911
    ถั่วเหลือง เป็นอาหาร ถึงจะคั้นเป็นน้ำ ก็กินหลังเที่ยงไม่ได้..
    .
    เหมือนจะให้เราปั่นข้าว ปั่นอาหารเป็นน้ำ เหมือนอาหารผู้ป่วยในโรงพยาบาล
    .
    เราจะปั่นให้เอาแต่น้ำ กากไม่เอา ยังไงก็คืออาหาร ไม่ใช่น้ำปานะ..
    .
    ผมเคยอ่านในหนังสือเกี่ยวกับการถวายของให้พระ ของพระอาจารย์เปลี่ยน วัดป่าอรัญญวิเวก อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
    .
    ในปัจจุบัน ผมจะไม่ถวายนม นมถั่วเหลืองหลังเที่ยงเลย ถ้าจะถวายก็ถวายตอนเช้าๆ
    .
    ข้าวสาร, มาม่า ก็จะไม่ถวายพระ เพราะอาหารพระเก็บข้ามวันไม่ได้ ก็จะไปถวายที่
    .
    โรงครัว ให้เด็กวัด หรือแม่ชี เป็นผู้รับเพื่อจะได้เก็บไว้ทำอาหารได้..
    .
     
  9. TPC

    TPC เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    474
    ค่าพลัง:
    +2,435
    ควรฉันตามที่พระพุทธเจ้าประกาศ อันเป็นน้ำผลไม้ที่ท่านกำหนดไว้
    อย่างอื่นผิดแปลก ไม่แน่ใจหากกลัวบาบก็อย่าไปฉันนะครับ เราไม่ฉันดีกว่า
    เพราะเราถ้าเราฉันเราก็ทุกข์ใจเพราะไม่รู้ว่าบาบหรือผิดวินัยผิดศีลหรือเปล่าครับ

    แต่หากว่ากันตามเหตุและผล น้ำนมวัว นมถั่วเหลือง จัดได้ว่าเป็นอาหารที่อยู่ในกลุ่มอาหารหลัก อยู่ท้อง ต่างกับน้ำผลไม่ที่พระพุทธเจ้าประกาศ ครับ อย่าไปฉันเลยครับ
    เรื่องการฉัน หากฝึกตนได้แล้วอดทนหน่อยในช่วงแรก นานไปก็ชินเองครับ ระวังรักษาศีลให้ดีรักษาแล้วต้องรักษาให้สุดชีวิตครับ ถ้าไม่มั่นใจก็อย่ารับ หรืออย่าทำครับ สาธุ
     
  10. ธรรมรังสี

    ธรรมรังสี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2011
    โพสต์:
    189
    ค่าพลัง:
    +2,218
    ถูกต้องตามที่ ท่านธรรมรักษา ได้อธิบายไว้


    พระพุทธองค์ทรงวางพระพุทธบัญญัติเอาไว้แล้ว มีทั้ง ต้นบัญญัติ และ อนุบัญญัติ


    สมัยพุทธกาล แรกๆ พระสงฆ์ไม่ใส่รองเท้าด้วยซ้ำไป ได้ท่านพระมหากัจจายนเถระนี่แหละ ทูลขอพระบรมพุทธานุญาตต่อองค์พระบรมศาสดา


    การอาบน้ำของพระสงฆ์ ก็เช่นกัน แต่เดิมทรงมีพระพุทธบัญญัติว่า ให้พระสงฆ์อาบน้ำทุกๆ 15 วัน ท่านพระมหากัจจายนเถระก็ทูลขอ ให้ได้อาบได้ทุกวัน


    ท่านดูตามความเหมาะสมดอก อย่าถือแบบตึงเกินไป หรือ หย่อนเกินไป ให้ดูกาลเทศะด้วย ดูความเป็นจริงด้วย ไม่ใช่ถือแบบตะพึดตะพือ โดยไม่รู้เหตุรู้ผล ไม่รู้จุดมุ่งหมาย ไม่รู้จักผ่อนหนักผ่อนเบา (แต่ถ้าอยากจะถือแบบเคร่งๆ ก็ไม่มีใครว่า แต่อย่าเอามาโจมตีผู้อื่น เพราะเป็นการไม่สมควรเลย สำหรับนักปฏิบัติธรรม)


    การจะกินอะไรก็ตาม ต้องพิจารณาก่อนที่จะกิน เพื่อไม่ให้ติดในรสชาติ ไม่ให้เกิดความมัวเมา ไม่ให้เกิดความโลภในอาหารหรือในเครื่องดื่ม จะดื่มจะกินอะไรก็ต้องมีสติ มีเหตุมีผลในการกิน มีปัญญาในการกิน ในการถือศีล รักษาศีล


    การรักษาศีล จึงจะเอื้อต่อ สมาธิ และ ปัญญา ให้เจริญก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไป


    เรื่อง นม นี่ ยังไม่เท่าไหร่ พระธรรมยุตพระป่า ฉันสาหร่ายอบแห้ง เมล็ดทานตะวัน ขิงสด ขิงดอง ปรมัติ (ยำผักสมุนไพรรวม) สมอ มะขามป้อม ฯลฯ ซึ่งไม่ผิดพระวินัย เพราะจัดเป็น ยาวชีวิก (พืชที่เป็นยา ฉันได้ตลอดเวลา) พระมหานิกายกลับไม่นิยมฉัน


    อาตมาบวชเป็นพระธรรมยุต เคยไปพักทั้ง วัดมหานิกาย และ วัดธรรมยุต หลายๆ แห่ง ต้องปรับตัวเอาเอง เพื่อมิให้เป็นที่รังเกียจของหมู่คณะ ที่ไหนฉันยังไงก็ฉันตามเขาไป แต่พิจารณาก่อนที่ฉันทุกครั้ง ฉันเพื่อเป็นยา ฉันแต่พอดีๆ ไม่ใช่มีเท่าไหร่ยัดเข้าไปให้หมด หรือ บางโอกาสก็งดฉันอาหารไปเลย ฉันแต่น้ำเปล่า 1 วันบ้าง 2 วันบ้าง 3 วันบ้าง 4 วันบ้าง 5 วันบ้าง 6 วันบ้าง 7 วันบ้าง เพื่อให้ร่างกายเบา ธาตุขันธ์ไม่หนักหน่วงถ่วงการเจริญภาวนา


    เดินสายกลาง สบายใจกว่า


    ธรรมะพีเดีย | Thammapedia : พระสงฆ์ : พระอสีติมหาสาวก : ประวัติพระมหากัจจายนเถระ



    ขอเจริญพร
     
  11. อริยพัฒน์

    อริยพัฒน์ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2015
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +3
    ความ อยาก คือ กิเลส
    (ความเห็นส่วนตัวนะคะ)
    เเต่ถ้าเราฉัน เพื่อเป็นยา เช่น นม คงไม่เป็นไรมั้งคะ เเต่ก่อนเราจะฉันพึงพิจารณาเสียก่อนว่าเราฉันเพราะอยาก หรือ ท้องเราเป็นโรคกระเพราะถึงจะต้องดื่มนม.
     
  12. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    เป็นโยม ไม่ใช่พระ กินได้ครับ เพราะศีล 8 ไม่ได้ห้ามรับประทานถั่วเหลือง
     
  13. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ก็ต้องไปดูว่าจะยึดเจ้าอาวาส หรือ ยึดธรรมวินัย ^^
     
  14. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ช่วงแรกของเล่ม "๔ สุดยอดเมืองพม่า"

    สนทนากับพระเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
    เดือนมกราคม ๒๕๔๗(ต่อ)
    ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ ​

    ถาม[/B]: (ไม่ชัด)
    ตอบ : ปูทะเลนี่มันมาจากเรื่อง พระมหาชนก ที่นางมณีเมขลาอุ้มพระมหาชนกไปไง คราวนี้พระมหาชนกพอสัมผัสเนื้อที่เป็นทิพย์ของนางฟ้าเข้า ก็เลยเคลิ้มหลับ นางมณีเมขลาท่านก็สั่งว่าไปแล้วก็ให้ตั้งโพธิยาวิชชาลัยคือวิทยาลัยแหล่งรวมความรู้ เพื่อที่จะได้สั่งสอนชาวบ้านเขา
     คราวนี้คนเคลิ้มๆ มันฟังเป็นปูทะเลย์วิชชาลัย (หัวเราะ) ต้องไปดูในหนังสือพระมหาชนกที่ในหลวงแต่ง นั่นแหละตั้งแต่นั้นมาในหลวงท่านก็ใช้คำว่า ปูทะเลย์ มาล้อพวกเราเล่นอยู่เรื่อย
     บ้านตรงนั้นเรียกว่าเมืองลับแล เพราะว่ามันเป็นบ้านที่ไปถามที่ตำบล ที่อำเภอ ที่จังหวัด ไม่มีใครรู้จัก บังเอิญว่าไปเจอคนรู้จักทางเขาแนะนำให้ ก็ย่ำต๊อกเข้าไปเรื่อย มันต้องเดินข้ามเขาไปประมาณ ๖ ชม. ถึงจะไปถึง หมายความว่าสุดทางรถแล้วนะ ประเภทโฟร์วีลลุยไม่ได้แล้ว เพราะเหลือแต่ป่าล้วน ๆ อีก ๖ ชม.
     คราวนี้พอเข้าไปก็ไปทำอะไรบวม ๆ ให้ชาวบ้านเขาเห็นไว้เยอะ เขาก็เลยมั่นใจว่า พระองค์นี้คงจะพอเอาตัวรอดได้ เลยเล่าให้ฟังเรื่องของช้างตัวเล็ก ๆ ที่อาศัยอยู่ในน้ำ ก็เลยไป ขอให้เขานำทางไป เจ้าพวกนั้นพาเราไปถึงตรงนั้นมันชี้ที่ให้ก็พากันเผ่นแน่บกันไปหมด เพราะเขากลัวมาก เขาบอกว่าช้างน้ำนี่แค่มันเอางาแทงเงาก็ตายแล้ว แต่ว่าเราไม่ใช่หรอก คนที่เห็นเงาตัวเอง แสดงว่าต้องยืนริมน้ำ ในเมื่อยืนอยู่ริมน้ำช้างโผล่มาตอนไหนไม่รู้มันจิ้มเอาก็ตายซิ ก็เลยล่ำลือถึงขนาดว่าแทงเงาก็ตายแล้ว แต่ว่างาช้างน้ำมันมีอาถรรพ์ เพราะว่าอย่างพวกช้างบกสัตว์ใหญ่ ๆ นี่ มันเคยเดินเป็นด่านช่างประจำที่
     เมื่อกี้บอกว่าว่ามันลึกประมาณครึ่งหน้าแข้งเลย กว้างเป็นวาเลยก็มี ถ้าเอางาช้างน้ำไปขีดกั้นไว้ ช้างมันจะเปลี่ยนด่านไปเลย มันจะไม่ผ่านตรงนั้นอีก พวกบรรดากะเหรี่ยงที่เลี้ยงช้างจะพยายามหางาช้างน้ำให้ได้ ถ้าได้งาช้างน้ำมาเขาจะเอามาทำเป็นลายที่ขอสับมันน่ะ ต่อให้ช้างตกมันก็บังคับอยู่ แต่ว่าเขาบอกต่อ ๆ กันมาว่า ถ้าพกงาช้างน้ำอยู่ในลักษณะนั้นอย่าขี่ช้างต่อเนื่องกัน ถ้าขี่คอช้างต่อเนื่องกันอำนาจของงาช้างน้ำ จะทำให้ช้างตัวนั้นเฉาตายเร็ว มันแบบโดนข่มอยู่ตลอดเวลา
     ทีนี้ของเรา ก็ไปดูไปอะไรจนกระทั่งพออกพอใจก็ออกมา เสียดายตอนั้นไม่มีกล้อง ยิ่งถ้ามีดิจิตตอลอย่างสมัยนี้ล่ะพ่อจะปั้นรูปเจ๋ง ๆ มาให้ดูเลย แล้วหลังจากนั้นประมาณ ๓-๔ ปี ถึงได้เริ่มมีข่าวที่ว่าพบช้างน้ำที่ในทุ่งใหญ่ แล้วหลังจากนั้นอีกปีกว่า ๆ เจ้าของร้านรุ่งโรจน์ภัณฑ์ ที่ทองผาภูมิได้มาตัวหนึ่งเป็น ๆ ต้องปิดร้านหนีเลย เพราะว่าทั้งชาวบ้านทั้งหนังสือพิมพ์ ทั้งโทรทัศน์แห่กันไป เขาเชื่อว่ามันนำโชคลาภมาให้ ดังนั้นตัวหนึ่งเขาเลยขายกันเป็นแสนเป็นล้าน แล้วอะไรที่มันเห่อปั๊บ คนไทยปลอมได้ปุ๊บเลย (หัวเราะ) แล้วรายล่าสุดที่ออกมาว่าจะขายงาช้าง ๕๐๐ ล้าน ไอ้นั่นก็บ้าเกินไป คู่หนี่งขายได้ซักแสนก็บุญตายชักแล้ว
    ถาม: อันนั้นจริงมั้ยครับ (ไม่ชัด)
    ตอบ : ก็เคยเห็นที่ท่านชาติชายเขาเก็บไว้ ๓ คู่ ก็แปลว่า ๖ ข้าง ลักษณะคล้าย ๆ อย่างนั้น แต่ความโค้งไม่อย่างนั้น ขนาดใกล้เคียงกันหมด
    ถาม: แล้วทำไมชาวบ้านถึงได้พบศพช้างอยู่ในน้ำ ?
    ตอบ : พวกนี้อาศัยอยู่ใต้น้ำ ใครจะไปรู้มันตายยังไง มันอาจจะตายเพราะหมดอายุขัยแล้วลอยตามน้ำไป หรือว่าตายเสร็จโดนสัตว์อื่นกินไปก็ไม่รู้ ตอนที่ไปดูอยู่มันก็เอามาวางล่ออยู่ตรงปากทางว่าเราจะเอามั้ย ? เราก็แค่เอาด้ามกลดช้อนขึ้นมาดู พอเห็น เออ...สีมันขาวสวยดี ขาวเหลืองเหมือนงาทั่ว ๆ ไปนี่แหละ
     คราวนี้เป็นพระไปธุดงค์ด้วย บอกแล้วว่าถ้าเจ้าของไม่ได้บอกออกปากให้ แม้แต่ทรายเม็ดเดียวก็ไม่เอาออกมาก็โยนคืนมันไป แต่ท่านชาติชายแกโซ้ยมาซะ ๓ คู่ (หัวเราะ) ตอนอยู่ด้วยกันที่เกาะพระฤๅษีดูของแกมาหลายทีเหมือนกัน
    ถาม: เป็นอุบายให้คนทำบุญ
    ตอบ : อันนั้นมีส่วนอยู่ แต่ว่าที่แน่ ๆ คือสมัยก่อนทำยาก ถนนหนทางลำบากไปหมด คุณต้องไปชักลากไม้ในป่ามา กว่าจะออกมาได้แต่ละท่อนเป็นเดือนเป็นปี กว่าจะได้ขึ้นมาครบถ้วน กว่าจะสร้างขึ้นมา โน่นแน่ะ...ส่วนใหญ่คนเราจะมีหลักฐานมีเงินทองพอที่จะสร้างได้มันต้องวัย กลางคนไปแล้ว ยิ่งมาเจอประเภททำนาน ๆ กว่าจะเสร็จอีก เสร็จก็ตายพอดี หรือไม่ก็ตายเสียก่อนเสร็จ
    ถาม: ทำพิธีตัดบุญออก ?
    ตอบ : ทำได้จ้ะ คือได้ทำ เรื่องตัดบุญออกไม่มีสิทธิ์ที่จะไปตัดเขาหรอก ใครทำใครได้ ต้องการหรือไม่ต้องการก็ได้อยู่แล้ว เรื่องพวกนี้เราฟังแล้วใช้ปัญญาตรองดู ปัญญาพื้น ๆ แค่นั้นก็พอว่ามันเป็นไปได้ไหม ? ถ้าเป็นไปไม่ได้จริง ๆ ก็อย่าไปเชื่อ ไม่ใช่ฟังแล้วเชื่อไปทั้งหมดก็พาเรายุ่ง
    ถาม: สมัยก่อนสร้างหลวงพ่อทันใจคงง่าย ?
    ตอบ : ก็ลองดูสิ สมัยก่อนกว่าจะหล่อพระได้สัก ๑ องค์ เรี่ยไรทองเหลืองกันเป็นปี หลาย ๆ ปี เรี่ยไรกันข้ามภาคข้ามจังหวัดกันน่ะ แล้วกว่าจะเอาเรือลากเรือจูงมาเพียงพอที่จะหล่อได้ คิดดูสิ โน่นก็ขัน นี่ก็จอก ไอ้นั่นก็ตะบันหมาก กว่าจะรวมได้สัก ๒ คัน ๓ คัน ต้องใช้ของมากเท่าไร คนเรี่ยไรจะตายเสียก่อน ไม่ใช่คนทำ
    ถาม: หลวงพ่อทันใจหล่อด้วยอะไร ?
    ตอบ : แล้วแต่จ้ะ ขอให้ทำให้เสร็จภายใน ๑ วันเท่านั้น
    ถาม: ถ้ามีเงินก็ได้เลย
    ตอบ : ได้เลย ก็นี่แหละ สังฆทานสร้างพระอยู่ทุกวัน เพราะเรายกพระมา ๑ องค์ สิทธิ์ของเราอยู่แล้ว
    ถาม: วิกาละโภชนา พระกับฆราวาสต่างกันไหม ?
    ตอบ : ถ้าฆราวาส หลวงพ่อท่านบอกว่าส่วนใหญ่แล้วทำงานมันเลิกเที่ยง ท่านบอกว่าให้กำหนดไว้ว่าไม่เกินบ่าย ๒ โมง แต่ว่าของพระนี่...ถ้าเที่ยงตรงเป๊งก็ต้องเลิกเลย เพราะโลกมันนิยมอย่างนั้น ความจริงวิกาลแปลว่ากลางคืน ศีลพระมีอยู่ ๒ ข้อ ที่กล่าวชัด ๆ ถึงเวลาวิกาล ก็คือรับประทานอาหารในเวลาวิกาลอย่างหนึ่ง และเข้าบ้านในนเวลาวิกาลโดยไม่ได้บอกลาอย่างหนึ่ง
     แต่คราวนี้ของเรา เวลาวิกาลที่ไม่ได้บอกลาจะเข้าไปในบ้าน เขาตีว่าพระอาทิตย์ตกดินแล้ว แต่ว่าเวลาวิกาลที่ฉันอาหาร เขาตีว่าหลังเที่ยงไปแล้ว มันลักลั่นกัน แต่พม่ามันตีราคาเดียวกัน เพราะฉะนั้น พระพม่าฉันมื้อเย็นกันเพลิดเพลินเจริญใจไปเลย ถือว่าวิกาลเหมือนกัน แต่จริง ๆ เราต้องมาดูตรงจุดที่ว่า พระพุทธเจ้าท่านปรารถนาให้เรารู้จักโภชเนมัตตัญญุตา คือ ประมาณในการกิน การรู้จักประมาณในการฉันแต่พอควรแก่ธาตุขันธ์ตัวเอง มันก็ไม่ทำให้กิเลสกำเริบ มันทำให้ร่างกายโปร่งเบา มันทำให้ภาวนาได้ง่าย มันทำให้ไม่ต้องมีห่วงมีกังวลในการเตรียมอาหารมื้อต่อไป ดังนั้นแม้ว่าฆราวาสเราจะว่ากันจนถึงบ่าย ๒ โมง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าให้เรากินตั้งแต่เช้ายันบ่าย ๒ โมง มันต้องรู้จักประมาณบ้าง
     สมัยก่อนมีโยมอยู่คนหนึ่ง ชุดนี้ทำงานเก่ง เวลาไปวัดท่าซุง คุณจะเห็นชุดขาวพรึ่บไปทั้งชุด ๓๐ – ๔๐ คนเลย มีอยู่รายหนึ่งถือศีลแปด อธิษฐานว่าจะกินถึงบ่าย ๒ โมง ปรากฎว่ากินวันหนึ่ง ๑๐ กว่ามื้อ ตกลงว่าให้กิน ๓ มื้อเท่าเดิมดีกว่า เปลืองน้อยกว่าเยอะเลย ต้องรู้จักประมาณในการกิน ไม่ใช่ว่าตะบันไป ให้มันเป็นมื้อเป็นคราว
    ถาม: ไอศกรีม ?
    ตอบ : ไอศกรีม จริงๆ ถ้าหากว่าเป็นพระ ไม่มีพวกถั่ว ลอดช่อง สาคู มันเป็นแค่นมเนยมันได้ แต่หลวงพ่อท่านเคยขอไว้ ท่านบอกว่าถ้าไม่ถึงกับจะตายห่าจริง ๆ อย่าไปแดกมันเลยลูก มันน่าเกลียด คือเห็นพระนั่งกินไอติมอยู่ มันงามไหมล่ะ ? โดยเฉพาะตอนเย็น ๆ แต่ว่าศีลของพระเป็นอย่างนั้น คราวนี้ของโยมเขาไม่ได้ห้ามเอาไว้ชัด ถ้าเรารู้ชัดว่ามันไม่ใช่อาหารก็ว่าไป แต่ไม่ใช่กินไป ๓ ถ้วย ๕ ถ้วย เอามันแค่พอระงับการกระวนกระวายของร่างกายที่จะเกิดจากความหิว
    ถาม: น้ำเต้าหู้ ?
    ตอบ : น้ำเต้าหู้ ถ้าพระไม่ได้จ้ะ แต่โยมได้ เพราะว่าของพระเขาระบุไว้ชัดเลยว่าอันไหนเป็นอาหาร อันไหนเป็นเภสัช ส่วนที่เป็นอาหารเขาระบุไว้ชัดเลย สาลี วีหี ตัณฑุลา สาลีคือข้าว วีหีคือถั่ว ตัณฑุลาคืองา น้ำเต้าหู้นี่มันมาจากถั่ว ถึงทำเป็นน้ำแล้วเขายังถือว่าเป็นอาหารอยู่ เพราะฉะนั้นพวกน้ำเต้าหู้ น้ำถั่วเหลือง แลคตาซอย ไวตามิลค์ ถวายพระไป ถ้าท่านไม่รู้ท่านฉันไปก็เป็นโทษเหมือนกัน
     แต่มาตอนหลังมันถวายกันจนกระทั่งพระไปไม่เป็นแล้ว คือไม่ว่ากี่มื้อถวายแต่อย่างนั้น แล้วเขาถามว่ายังไง ? บอกคุณก็ฉันไป ๑ แก้วก็พอ ไม่ใช่ฟาดไป ๓ ขวด ๕ ขวด มันต้องรู้จักประมาณ ในเมื่อโยมเขาถวายมา ถ้าเราไม่ฉัน เขาก็เกิดน้อยใจ เสียใจ กำลังใจเขาตก คุณก็ฉันให้เขาดูสักแก้ว ครึ่งแก้ว แล้วเราก็ไปปลงอาบัติของเรา เพราะเรารู้ว่าไม่ถูกต้อง มันไม่ใช่เจตนาเราจะฉันเอาอิ่มเอาสนุกจะกินให้อ้วนพี จะกินให้ยั่วกิเลสมันเกิดขึ้น แต่ว่าการฉันโดยบังคับด้วยสถานการณ์เพราะต้องการรักษาศรัทธาญาติโยม แต่ถ้าเป็นอาตมารับมา ก็ส่งต่อไปเลย อาตมาไม่ค่อยรักษาศรัทธาหรอก มันมาเยอะ เราเหนื่อย
    ถาม: ไอศกรีมไม่ต้องเคี้ยว
    ตอบ : จริง ๆ มันเป็นส่วนของนมเนย พระพุทธเจ้าท่านอนุญาตให้เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ถ้านมเป็นเนยเฉย ๆ ไม่เป็นไร แต่ก็อย่างว่าน่ะ ที่หลวงพ่อท่านว่ามันน่าเกลียด ถ้าเป็นโยมกินไปเถอะ เพราะเขาไม่รู้หรอกว่าเรารักษาศีลแปดหรือเปล่า ยกเว้นเราโกนหัวนุ่งขาวห่มขาว
    ถาม: ไอศกรีมกะทิก็ห้ามด้วย
    ตอบ : ก็ดูสิว่ามันจะไม่มีของอื่นที่เป็นอาหารอยู่ ถ้าหากว่ามีพวกผลไม้มีลอดช่อง มีถั่ว ก็ฉันไม่ได้อยู่แล้ว จริง ๆ กะทิเป็นน้ำมัน ที่เขาห้าม คือ ห้ามน้ำพวกที่เป็นมหาผล ที่เขาห้ามเพราะว่าน้ำมันมีฮอร์โมนมาก เป็นพระต้องการความสงบ กินไอ้ที่มีฮอร์โมนเยอะ ๆ เข้าไป มันหาที่ไปไม่เป็นหรอก
    ถาม: น้ำผลไม้ก็ไม่ได้ ?
    ตอบ : น้ำผลไม้เขาห้ามไอ้ที่ใหญ่กว่ากำปั้น ส่วนใหญ่พวกสับปะรด แตงโม ส้มโอ มะพร้าวอ่อน ฮอร์โมนเยอะมาก ฉันเข้าไปจะไม่สุขสงบ แรก ๆ ท่านอนุญาตไว้ ๘ อย่าง เรียกว่า อัฏฐบานคือ อัฏฐปานะ น้ำ ๘ อย่าง มาตอนหลังท่านบัญญัติเพิ่มเติมว่า ถ้าเป็นผลไม้แล้วโตไม่เกินลูกมะตูม คือกะว่าประมาณกำปั้นนี่ ถ้าไม่โตเกินนั้นก็อนุญาตให้ ถ้าโตเกินนั้นไม่อนุญาต


    http://www.grathonbook.net/book/63.html
     
  15. ณฉัตร

    ณฉัตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2015
    โพสต์:
    635
    ค่าพลัง:
    +792
    สรุปว่า ตามพระไตรปิฎก ศีลพระ กับศีล ๘ ของญาติโยม เหมือนกันไหมครับ พระตอนผมบวช 15 วัน ท่านให้ปลงอาบัติทุกวัน ถ้าผมจำไม่ผิด ทำกับพระองค์ลำดับใกล้กันเพราะบวชกัน100กว่าองค์ อันนี้ ค่อยสบายใจว่า ศีลไม่ขาด หรือว่าศีลขาดไปแล้ว เมื่อฉันนมถั่วเหลืองกล่องทุกคืนก่อนเข้านอน

    แล้วตอนไปถือศีล ๘ เค้าก็แจกนมอีกตอนเย็น มีญาติโยมมาคอยแจกผู้ปฏิบัติ แต่ไม่มีปลงอาบัติอย่างพระ อย่างนี้ ศีล ๘ ขาดแล้วขาดเลยหรือเปล่า

    บวชพระแค่ครั้งเดียว แต่ไปถือศีล ๘ ที่วัดตั้งหลายครั้งที่ผ่านมา ตอนเย็นก็มีคนมาแจกนมถั่วเหลืองกล่อง แล้วเราก็เห็นเค้าดูดกัน อย่างนี้ ความตั้งใจถือศีล ๘ ก็ไม่บริบูรณ์ แล้วมันเสียหายแค่ไหนครับต่อไปถ้าไปวัดแล้วจะทำตัวยังไง ในฐานะผู้ถือศีล ๘
     
  16. alkuwaiti

    alkuwaiti เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    372
    ค่าพลัง:
    +1,257
    คือถ้าปฏิบัติธรรมในช่วงกลางคืนต่อ ก็จะต้องใช้พลังงานในการปฏิบัติ การฉันนมวัวหรือนมถั่วเหลืองก็จะให้พลังงาน ทำให้มีเรี่ยวแรงในการปฏิบัติธรรม เพราะไม่อย่างนั้นสิ่งที่จะเกิดขึ้นคือการเป็นลม หน้ามืดกองอยู่ตรงนั้น แต่ถ้าไม่ได้ทำอะไรในยามวิกาลก็ไม่ควรฉัน

    ในสมัยพุทธกาลพระสงฆ์สมัยนั้นปฏิบัติธรรมกันแบบจริงจังมาก บางท่านทำตั้งแต่มืดถึงเช้าไม่ได้พักผ่อนเพื่อหวังบรรลุธรรม แล้วในสมัยนั้นไม่มีสารกันบูด ไม่มีตู้เย็นเก็บอาหาร ไม่มีนมใส่กล่อง เมื่อบิณฑบาตรนมสดมาจากตอนเช้า เมื่อฉันอาหารเสร็จพระท่านก็จะทำการล้างบาตร ถ้าอาหารเหลือก็อาจเก็บไว้ฉันต่อได้ อาจหาภาชนะอะไรมารองเก็บนมไว้ แต่ถ้าปล่อยไว้ถึงเที่ยงวัน นมนั้นก็ไม่น่าฉันแล้วและอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพด้วย ถ้าฉันไม่หมดมันก็จะบูดเน่าเสียในเวลาไม่นาน ดังนั้นถ้าเอานมสดที่ได้จากตอนเช้ามาฉันต่อในตอนบ่ายหรือตอนกลางคืนมันคงไม่ดีต่อสุขภาพแน่ๆ

    ส่วนน้ำปานะพระท่านยังสามารถรับถวายจากชาวบ้านในยามวิกาลได้ หรือเก็บผลไม้เอาไว้พอจะฉันก็ค่อยเอามาคั้นทีหลัง

    ถึงแม้ว่าจะเป็นน้ำปานะที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ก็ควรฉันแต่พอดี และฉันเท่าที่จำเป็น เพื่อไม่ให้ลุ่มหลงไปกับรสชาติของผลไม้นั้นเพราะมันจะมาเป็นอุปสรรคขัดขวางต่อการบรรลุธรรม

    จะคิดอะไรก็ควรคิดแบบผู้มีปัญญาด้วยเหตุและผลประกอบกัน จงพิจารณาไตร่ตรองเอาเองเถิด
     
  17. ณฉัตร

    ณฉัตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2015
    โพสต์:
    635
    ค่าพลัง:
    +792
    ขอบคุณครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...