"ตัวรู้" เหตุใดไม่ใช่ตัวตน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย sarute, 7 มกราคม 2012.

  1. sarute

    sarute สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2012
    โพสต์:
    8
    ค่าพลัง:
    +0
    เหตุใดตัวรู้ หรือ ถ้าผมเข้าใจไม่ผิด ก็คือ วิญญาณ(การกำหนดได้ หมายรู้) ถึงมิใช่ตัวตนครับ เพราะเมื่อมีสิ่งถูกรู้ ก็มีสิ่งที่รับรู้ เเละสิ่งที่รับรู้เรื่องราวที่เราเผชิญอยู่ นึกคิดขึ้นมาเองนั้น ก็น่าจะมีตัวตนอยู่ อาจเป็นรูปของจิตวิญญาณหรือพลังงานอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเฉพาะไปในเเต่ละบุคคล เช่น พระอริยะก็น่าจะมีตัวรู้ที่สว่างไสวมาก คนธรรมดาก็มืดๆมัวๆหน่อย เมื่อมองตัวตนในรูปของจิตวิญญาณที่เป็นนามธรรมเเล้ว ตัวตนของเราก็น่าจะมีอยู่ในลักษณะนี้ใช่หรือไม่ครับ

    ผมพึ่งเริ่มศึกษาครับ ยังไม่ได้ปฏิบัติจริงจัง เลยสงสัยในสิ่งที่นึกคิดขึ้นมา ผมคะเนเอาว่าถ้าปฏิบัติไปจนถึงขั้นหนึ่งเเล้ว ก็อาจเข้าใจในสิ่งนี้ได้ เเต่ผมก็ยังไม่เเน่ใจ ก็เลยเป็นคำถามมาถามผู้รู้ครับ

    ขอบคุณครับ
     
  2. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,287
    เพราะตัวรู้ก็ไม่เที่ยง ต้องเปลี่ยนแปลงไป สุดท้ายคือไม่มีตัวตนให้ยึดได้
     
  3. khundech

    khundech Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    50
    ค่าพลัง:
    +54
    ตัวรู้ ที่ไม่ใช่ตัวตน มันเป็นการพิจารณาธรรมขั้นสูง
    แต่ช่วงเริ่มต้น เราต้องจับเอาตัวรู้นี้ล่ะ ที่ยึดจิตไว้ ไม่ให้วอกแวก
    เหมือนเดินขึ้นบันไดบ้าน จับราวบันไดเดินขึ้นไป จะรู้สึกว่ามั่นคง ปลอดภัย
    แต่พอถึงตัวบ้านแล้ว ก็ปล่อยมือจากราวบันไดเสีย เพราะมันไม่จำเป็น
     
  4. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    การจะดู ตัวตน นั้น หากเราใช้ศัพท์เชิงแบบว่า เจ้าเข้าเจ้าของ ก็อาจจะติดวังวน
    แล้วโดนหลอกโดยพวกศาสนาพรหมณ์ ย้อนถามเอาดื้อๆว่า "แล้วใครรู้" อันเป็น
    คำถามที่ชักชวนเราเข้าไปติดกับดัก "ปรมาตมันต์" ของศาสนาเขา

    เรามาดูกันใหม่ พระพุทธองค์ประทานวิธีพิจารณาไว้ให้ง่ายๆคือ

    "สัตว์ ย่อมกิน อาหาร" เมื่อใดมี "อาหาร เมื่อนั้นมีสัตว์"

    เทวดา ถือว่าเป็นสัตว์ เพราะกิน ปิติ เป็นอาหาร

    พรหม ถือว่าเป็นสัตว์ เพราะกิน ผัสสะ เป็นอาหาร

    มะนุด โลภมากหน่อย กินได้ทุกอย่าง ไม่ว่าจะ คำข้าว ปิติ หรือ ผัสสะ

    ทีนี้ !

    อาหารเนี่ยะ มี4อย่าง คือ "คำข้าว" "ปิติ" "ผัสสะ" แล้วก็มีอีกตัวคือ "วิญญาณ"

    ก็จะเห็นว่า ที่คุณเจ้าของกระทู้ ระบุฟาดเปรี้ยงลงไปว่า
    อันนั้นก็เพราะว่า มันเป็นตัวอาหาร เราจึงต้องยอนกลับมาว่า แล้วอะไร เสพวิญญาณ

    อะไรก็ตามที่กระทำตัวเสพวิญญาณ(การรู้ หมายรู้) สิ่งนั้นก็ถือว่า เป็น สัตว์ อยู่ มีภพอยู่

    ค่อยๆทำความเข้าใจนะ ตอนนี้ เราแค่ นิยามการพิจารณาการมีอยู่ของ ภพ ชาติ ชรา
    มรณะ โดยดูจาก สิ่งใดก็ตามที่หิว!เป็นกิจ มีการกินอาหาร4 สิ่งนั้นก็จะเรียกว่า สิ่งเป็นตัว
    เป็นตน เป็นภพ ซึ่ง เราจะต้องถอนออก

    ถอนอย่างไร

    ก็ถ้า เทวดาชั้นดี รู้แล้วว่า ปิติ คืออาหาร หากเขาหาอุบายนำออก ทำให้ไม่ติด
    ในอาหาร หรือที่เรียกว่า เอาตัณหาออก สิ้นตัณหา เขาก็เลิกติดรส ปิติ ติดรสอาหาร

    สังเกตดีๆนะ เราชำระกันตรง ตัณหา หรือ การติดรสอาหาร ไม่ใช่ ชำระกันด้วยการไม่กิน
    อาหาร อาหารก็กินไปอย่างเดิม ตามวาสนา บุปบาป ที่ตนสั่งสมมา

    แต่ถ้าเป็น สัตว์ที่ถอนตัณหา ความอยากในอาหาร ความติดใจในอาหารได้สิ้น เมื่อนั้น
    เขาชื่อว่าพ้นความเป็นสัตว์ รู้ได้เฉพาะตัว

    เช่นเดียวกัน กับ พรหม หากถอนตัณหาไม่ติดในผัสสะ ก็คือปล่อยความยึดมั่นถือมั่น
    ในการเป็นพรหม ก็เรียกว่า หลุดพ้น

    เช่นเดียวกับ มนุษย์ ซึ่งความโลภมากกลับได้เปรียบ เพราะมีอาหาร4อย่าง ให้เสพ
    กันไม่อั้น หากเป็นผู้ฉลาด เป็นบัณฑิต หมั่นสดับธรรม ก็จะรู้ อุบายนำออกการติดใจ
    ในอาหารทั้ง4นั้น ครบทั้งหมด ทำให้เป็น ภพเดียวที่มีประสบการณ์ถ้วนทั้งหมด ทำ
    ให้ ภพมนุษย์เป็นภพของคนที่สอนธรรมะ ได้ดีที่สุด เป็นภพที่ใช้ตรัสรู้ดีที่สุด

    ก็นะ ค่อยๆพิจารณาไป หาก ....ยังมี วิญญาณเป็นอาหาร และยังหาอุบายนำตัณหา
    ออกไม่ได้ ก็เรียกว่า ไม่พ้น

    พ้นการติดใจในการเสพอาหาร4แล้ว รู้ถ้วนในอุบายการนำออกอยาตนะ6 แล้ว ก็เป็น
    อันว่าสามารถมุ่งไปสู่ที่สุดแห่งภพ หมดความทะยานอยากในอาหาร ได้ตามลำดับไป
     
  5. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,480
    ค่าพลัง:
    +1,880
    ท่านพี่ ยกเรื่องอาหาร ผมขอต่อด้วยยกพระวจนะมาแสดง พระวจนะ" ภิกาษุทั้งหลาย ถ้าไม่มีราคะ ไม่มีนันทิ ไม่มีตัณหา ในอาหารคือคำข้าว ก็ดี ในอาหารคือ ผัสสะ ก็ดี ในอาหารคือ มโนสัญเจตนาก็ดี ในอาหารคือ วิญญานก็ดี แล้วไซร้ วิญญานก็เป็นสิ่งที่ตั้งอยู่ไม่ได้ เจริญงอกงามไม่ได้ในสิ่งนั้นนั้น วิญญานตั้งอยู่ไม่ได้ เจริญงอกงามอยู่ไม่ได้ในที่ใด การก้าวลงแห่ง นามรูปย่อมไม่มีในที่นั้น การก้าวลงแห่ง นามรูปไม่มีในที่ใดความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ย่อมไม่มีในที่นั้น ความเจริญในสังขารไม่มีในที่ใด การบังเกิดในภพใหม่ย่อมไม่มีในที่นั้น การบังเกิดในภพใหม่ต่อไปไม่มีในที่ใด ชาติ ชรา มรณะต่อไปไม่มีในที่นั้น ชาติชรามรณะต่อไปไม่มีในที่ใด ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกที่นั้นว่าเป็นที่ ไม่โศก ไม่มีธุลี และไม่มีความคับแค้น ดังนี้.....ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเรือนยอด หรือ ศาลาเรือนยอด ที่ตั้งอยู่ทางทิศเหนือหรือใต้ก็ตาม เป็นเรือนมีหน้าต่างทางทิศตะวันออก ครั้นดวงอาทิตย์ขึ้นมา แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์ส่องเข้าไปทางช่องหน้าต่างแล้ว จักตั้งอยู่ที่ใหนในเรือนนั้นเล่า....."ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์ จักปรากฎที่ฝาเรือนข้างในทิศตะวันตกพระเจ้าข้า" ...........ภิกษุทั้งหลายถ้าฝาเรือนทางทิศตะวันตกไม่มีเล่า แสงแห่งดวงอาทิตย์นั้นจักปรากฎในที่ใด....."ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์นั้น จักปรากฎที่พื้นดิน พระเจ้าข้า" ...........ภิกษุทั้งหลายถ้าผืนดินไม่มีเล่า แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์นั้นจักปรากฎในที่ใด........."ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์จักปรากฎในน้ำพระเจ้าข้า"...................ถ้าไม่มีน้ำเล่า แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์ จักปรากฎที่ใหนอีก.............."ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์นั้น ย่อมเป็นสิ่งไม่ปรากฎแล้วพระเจ้าข้า".........................ภิกษุทั้งหลาย ฉันใดก็ฉันนั้นแล ถ้าไม่มีราคะ ไม่มีนันทิ ไม่มีตัณหา ในอาหาร คือคำข้าวก็ดี ในอาหารคือผัสสะก็ดี ในอาหารคือมโนสัญเจตนาก็ดี ในอาหารคือ วิญญานก็ดี แล้วไซร้ วิญญานก็เป็นสิ่งที่ตั้งอยู่ไม่ได้งอกงามไม่ได้ในอาหารคือคำข้าว เป็นต้นนั้นนั้น วิญญานตั้งอยู่ไม่ได้งอกงามไม่ได้ในที่ใด การก้าวลงแห่ง นามรูป ย่อมไม่มีในที่นั้น การก้าวลงแห่ง นามรูป ไม่มีในที่ใด ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลายย่อมไม่มีในที่นั้น ความเจริญแห่งสังขารไม่มีในที่ใด การบังเกิดในภพใหม่ย่อมไม่มีในที่นั้น การบังเกิดในภพใหม่ไม่มีในที่ใด ชาติ ชรา และมรณะต่อไปย่อมไม่มีในที่นั้น ชาติชรามรณะต่อไปไม่มีในที่ใด ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกที่นั้นว่าเป็นที่ ไม่โศก ไม่มีธุลี และไม่มีความคับแค้นดังนี้-----นิทาน.สํ.16/124-125/248-/249..:cool:
     
  6. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,480
    ค่าพลัง:
    +1,880
    ตามหลัก อิทิปัจจัยตา สิ่งนี้มีสิ่งนี้จึงมี....สิ่งนั้นดับ สิ่งนั้นจึงดับ....นั้นหมายถึงความไม่มีตัวตนที่เที่ยง(ไม่ใช่ส่วนสุดทั้งสองข้างคือ "มี" กับ "ไม่มี" นะครับ)แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เราก็ไม่ได้ภาวนาเพื่อ ความ มีหรือ ไม่มี แต่เพื่อ การไม่ก่อทุกข์(ทุกข์อริยสัจ) นั้นคือการละสมุทัย(ตัณหา) เพื่อเข้าถึง นิโรธ ด้วยอริมรรคมีองค์8:cool:
     
  7. ครูสน

    ครูสน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    43
    ค่าพลัง:
    +82
    ตัวรู้...คือ..รู้ตัว รู้ที่กาย....รู้ที่ใจ แล้ววางไว้ก็จะหายไป(ดับไป) ปล่อยวางนั่นเอง
    อาการสุขและะทุกข์เป็นอุปทานที่ปรุงแต่งขึ้นที่ใจ เพราะไปจับ ไปยึด ไปถือไว้..ครับ
     
  8. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    ขอบพระคุณครับ ตอนโพสเสร็จก็ตะงิดๆอยู่ว่า อาหาร นี่เรายกอะไรผิดแน่ๆ
    เพราะ มโนสัญญาเจตนาหาร มันหายไป แต่ตอนนั้น นึกมะออก อยากจะกล่าว
    ถึง สัตว์ สัตว์ สัตว์ ให้มันชัดๆ เลย เบลอเลย

    อ้าว ท่านสาธุชน ก็จำเรื่องอาหาร ให้ตรงตามพุทธพจน์นะคร้าบ

    ไม่งั้นจะวนเวียนอยู่กับ สัตว์ แบบผมนี่แหละ แย่เลย ทึบกันเห็นๆ
     
  9. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,480
    ค่าพลัง:
    +1,880
    อ้อ ท่านพี่ กล่าวถึงเนื้อความคือ ตัณหา แจ่ม อยู่แล้วนี่ครับ ผมขอเสริมนิดนึง:cool:
     
  10. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    ตัวรู้มี ๓ อย่าง
    วิญญานรู้
    สัญญารู้
    ปัญญารู้
    ทั้ง ๓ เป็นนามธรรม จึงมิใช่ตัวตน
     
  11. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    273
    ค่าพลัง:
    +1,456
    วิญญาณธาตุ วิญญาณขันธ์ นี่คือตัวเดียวกัน
    แตกต่างเพียงว่าจะพิจารณาเป็นธาตุหรือเป็นขันธ์เท่านั้น
    พิจารณาเป็นธาตุ ก็เรียกวิญญาณธาตุ
    พิจารณาเป็นขันธ์ ก็เรียกวิญญาณขันธ์

    จิตคือผู้รู้ หรือ ตัวรู้
    ตัวไปเกิดไปตาย ตามภพตามร่างต่าง ๆ
    ส่วนวิญญาณคือความรู้
    ตัวรู้หรือผู้รู้นั่นแหละ ไปรู้ในความรู้ต่าง ๆ
    จิตไปรู้ในวิญญาณ
    ผู้รู้ รู้ในความรู้ ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

    จิตไปเกิดในภพในร่างต่าง ๆ เป็นสัตว์ เป็นคน เทวดา สัตว์นรก
    ก็จิตนี่ละไปปฏิสนธิกับวิญญาณในภพในร่างต่าง ๆ

    ปฏิสนธิ ก็คือ ผสมผสานกลมกลืน
    คือ จิตผสมผสานกับวิญญาณ
    จนกระทั่งแยกไม่ถูกว่า จิตปฏิสนธิกับวิญญาณ
    สัตว์โลกจึงหลงกันไปว่าความรู้ในอายตนะต่าง ๆ เป็นตนไปเสีย

    จะรู้จริงเห็นจริงได้ก็ต้องภาคปฏิบัติ
    ศีล สมาธิ ปัญญา
    ว่า จิต หรือ ผู้รู้ ก็อย่างหนึ่ง
    วิญญาณก็อย่างหนึ่ง
    เวิกจอกเวิกแหนกิเลสตัวปิดบังออก
    ก็เห็นความจริงตามเป็นจริง

    ภาคปฏิบัติเท่านั้นนะถึงรู้ได้
    อ่านพระอภิธรรมให้ตายก็รู้ไม่ได้หรอก
     
  12. sarute

    sarute สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2012
    โพสต์:
    8
    ค่าพลัง:
    +0
    ขอบคุณมากๆครับ

    ผมชอบการเปรียบเปรยของพระพุทธเจ้ามากๆ

    อย่างไรก็ตาม เนื่องจากภูมิธรรมผมยังน้อยอยู่มาก จึงอ่านไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่
    เเต่ก็จะพยายามปฏิบัติต่อไปครับ

    ตอนนี้ไม่เข้าใจว่าทำไม วิญญาณ ถึงเป็นอาหาร
    เพราะถ้าวิญญาณเป็นอาหาร ก็ต้องมีผู้กินอาหารต่ออีกทอดอยู่ดี
    ซึ่งผู้กินอาหารก็คงจะเป็น ดวงจิต กระมังครับ ???
     
  13. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    รู้สึกว่าภูมิธรรมเยอะนะเนี่ย อนุโมทนาธรรมที่ถูกต้องครับท่าน
     
  14. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,075
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ไม่รู้ว่าให้ความหมายไว้อย่างไรนะครับ

    ตัวรู้ หากเป็นสติที่เจริญแล้ว มันจะรู้เท่าทันถึงการทำงานของขันธ์ทั้งปวง รวมถึงรู้ด้วยว่า ขณะวิญญาณกำลังทำหน้าที่ของมันอยู่ ซึ่งวิญญาณมันก็ทำแค่นั้น คือ รับรู้แล้วจบ ส่วนขันธ์อื่นก็รับหน้าที่ต่อไป จะปรุงโดยสังขาร จะเวทนา จะสัญญา มันก็วน ๆ อยู่เป็นวงจรทุกข์

    ในที่นี้ผมไม่ได้หมายความว่าตัวรู้ รู้ตัวนี่ เป็นสภาวะเดียวกับวิญญาณนะ แต่เป็นการรู้วิญญาณหรือเห็นขันธ์ห้า เหมือนความสว่างเข้าไปทำลายความมืดอีกทีหนึ่ง

    ส่วนเรื่องตัวตน มันไม่มีอะไรที่เป็นของเราอย่างแท้จริงหรอกครับ มีแต่อุปทาน มีแต่สมมุติมันขึ้นมาทั้งนั้น ยิ่งยึด ยิ่งถือ ยิ่งจับ มันก็ยิ่งเป็นทุกข์ ซึ่งขันธ์ทั้งห้า ไม่ว่าจะเป็นสังขาร วิญญาณ นามรูป มันก็เกิดมาเพื่อรองรับเป็นขี้ข้ากิเลสตัณหาทั้งนั้นครับ

    อนุโมทนาสำหรับคำถาม และความสนใจในธรรม ^ ^
     
  15. sarute

    sarute สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2012
    โพสต์:
    8
    ค่าพลัง:
    +0
    ขอบคุณครับ ^^

    ผมงงในคำกล่าวนี้น่ะครับ
    "ในที่นี้ผมไม่ได้หมายความว่าตัวรู้ รู้ตัวนี่ เป็นสภาวะเดียวกับวิญญาณนะ"

    ก็หมายความว่ามีสภาวะบางอย่างที่รับรู้วิญญาณอีกทีหรอครับ ? รับรู้ขันธ์ห้า
    เเต่เท่าที่อ่านดู เหมือนพระพุทธเจ้า พยายามจะสอนว่า การรับรู้ของเราก็เกิดจากเหตุปัจจัย เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เป็นวงจรที่เป็นวงกลม ถ้าสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ก็ดับไปด้วย จึงไม่มีประโยชน์อันใดที่จะมาโต้เถียงกันว่า ใครเป็นผู้รู้ อะไรคือตัวรู้กันเเน่

    อย่างไรก็ตามผมก็ยังสงสัยในคำสอนอยู่ เพราะผมยังมีอุปทานที่ยึดในขันธ์อยู่ ย่อมเห็นว่า มันน่าจะมีอะไรที่คล้ายๆกับพลังงานบางอย่าง(เช่น ดวงจิต) ที่เป็นที่อาศัยของ วงล้อปฏิจจสมุปบาทนี้ ผมก็เลยรู้สึกว่าบางทีศาสนาอื่นๆอาจจะถูกก็ได้ เพียงเเต่เขากล่าวถึงสภาวะที่หลุดพ้นไปเเล้วจากขันธ์ทั้งห้า ซึ่งทำให้คนที่ยังมีอวิชชาอยู่นั้น เข้าใจผิด หลงว่าเป็นตัวเป็นตนอยู่ เเต่ศาสนาพุทธสอนให้คนละอุปทานขันธ์ทั้งห้า ซึ่งเป็นการสอนที่ตรงจุดที่สุด

    คิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ยังไงกันบ้างครับ
     
  16. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,287
    มันไม่มีประโยชน์ที่จะมาหาตัวรู้เพราะตัวรู้มันรู้ไม่ได้ ผู้สังเกตุจะถูกเกตุไม่ได้
    มันอาจจะรู้สิ่งอื่นทั้งหมดที่มันสามารถจะรู้ได้แต่มันรู้ตัวเองไม่ได้ พยายามยัง
    ไงก็ทำไม่ได้ การเข้าถึงตัวรู้มีแต่การรู้เท่านั้น
     
  17. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,480
    ค่าพลัง:
    +1,880
    หนึ่งในอาหารสี่คือวิญญาน ความีวิญญานตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ได้เพราะนันทิราคะตัณหาในอาหารคือวิญญานเอง......คุณลองดูตรง ณ ที่วินาทีนี้เลย(ตอนนี้เลย)...การที่จะมีอะไรขึ้นมา(จะเรียกว่าขันธ์)ก็ได้ จะเรียกว่านามรูปก็ได้ เกิดจากความเพลินพอใจ(ราคะตัณหา นันทิ)..ไม่ว่าจะเป็น กายสังขาร จิตสังขาร(คิด) วจีสังขาร...ทีนี้ทำไมพระศาสนา สอนให้ละกิเลสตัณหา ก็ เพราะมันเป็นสาเหตุของการเกิด ภพ ชาติ(จากปฎิจสมุปบาท) อันนำไปสู่การเกิดทุกข์(ปัญจุปาทานักขันธ์)...ถ้าอยากรู้ว่า บรรลุธรรมแล้วจะเป็นยังไง? ก็ต้องภาวนา ต่อไป ผมเองก็อยากรู้เหมือนกัน(คิดไปไม่ได้คำตอบจริง):cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มกราคม 2012
  18. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    ตรงนี้สังเกตุดีๆนะครับ การปรารภว่า "ดวงจิต กระมัง" นั้น มันเฉียดญาณ
    แต่เราจะมีการทำให้ แจ้ง อีกครั้งหนึ่ง เราจะไม่เอาแค่ "การเฉียดญาณ"

    มาดู ธรรมนิยาม Term Of Defination กันหน่อย

    สุตมัยปัญญา จินตมัยยะปัญญา และ ภวมัยยะปัญญา

    ปัญญาของบัณฑิตในศาสนาพุทธ จะมี 3 ตัว การที่คุณมาถามแล้วมี
    คนมาตอบ ตรงนี้จะมีผลตรง สุตมัยยปัญญา คือ คุณสามารถฟังคำ
    ตอบได้หลากหลายและไม่ชิงด่าใครเสียก่อน ตรงนี้เราจะเรียกว่า ความ
    เต็ม หรือความมี สุตมัยยปัญญา "ปัญญาในการฟัง ฟังจนได้ปัญญา"

    เมื่อ สุตมัยปัญญาเต็มที่ คุณจะ จินตนาการไปถึง สิ่งที่เหนือกว่า
    เรื่องที่ฟังเอาจากผู้อื่นได้ เรียกว่าเกิด จินตมัยปัญญาที่ออกมาจากตน
    ถ้า คุณฟังจินตนาการของคุณแล้ว แล้วหยิบออกมาได้ถูกต้อง ถูกบริบท
    การสนทนา ไม่เกิดการแตกประเด็น ก็เรียกว่า เกิดความเต็มในจินตมัย
    ปัญญา "ปัญญาในการพิจารณา พิจารณาจนเกิดปัญญา"

    แต่..........

    ตรง "แต่" นี้จะสำคัญนะครับ ลองฟังตรงนี้ให้ดีๆ ถ้าคุณฝึกฝนการมี
    ปัญญาด้วยวิธีการดังกล่าวข้างต้น คุณจะพบเลยว่า มันไปต่อไม่ได้ และ
    ความไปต่อไม่ได้เนี่ยะ ร้อยละร้อยก็จะเห็นว่า เอ "ศาสนาอื่นเขาก็พูดถูก
    นี่หว่า" ขึ้นมา ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น

    ก็เพราะว่า คุณยังไม่ได้ทำกระบวนการ "ทำให้แจ้ง" ถ้าคุณขาดการทำให้
    แจ้งตรงนี้ไป เรียบร้อยเลยครับ คุณจะไม่มีวันรู้ว่า ศาสนาพุทธสอนอะไร
    และก็ไม่แปลก ที่จะปรารภว่า ศาสนาพุทธไม่ต่างจากศาสนาอื่น

    ดังนั้น เราต้องท้าทายตัวเองให้เป็น ต้องบอกตัวเองดังๆว่า กูจะไม่อาศัยเชื่อ
    เอาตามแต่ที่จะ จินตนาการไปถึงวันหนึ่ง กาลหนึ่ง เท่านั้น

    แต่จะต้องทำให้เห็น ในปัจจุบัน ประจักษ์แก่ใจ รู้แจ้งแก่ใจ เต็มใจ ชนิด
    ที่ว่า มั่นใจได้ร้อยเปอร์เซนต์ว่าไม่พลาด ไม่มีกิจอื่นให้ศึกษาอีก ไม่มีอะไร
    ที่จะต้องจิตตนาการไปอีก เพราะ ความรู้ปัจจุบันนี้ ทั่วถึงหมดแล้ว (ถ้า
    ตรงไหนยังไม่ทั่วถึงนะ ตรงนั้นก็จะเกิด จินตนาการโดยอาศัยฟังจากคนอื่น
    อยู่อีก -- เรียกว่า ตรัสรู้ชอบด้วยตนเองไม่ได้ )

    ก็นะครับ

    วิธีทำให้แจ้ง มีมากมาย ลองปรารภเลือกเอามาสักวิธี ทำให้มากๆ ทำแล้ว
    อย่ารีบร้อนเอาจินตนาการมากล่าว ทำแล้วเอาผลของความแจ้งชัด ที่มีแต่
    อุบายทำให้จิตสงบ ระงับ มากล่าว รับรองว่า สนทนากันมันหยดเลย
     
  19. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,075
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    นามธรรมเหล่านี้ อาศัยกันและกันไงครับ เราอ่านตำราก็จะพอรู้คร่าว ๆ บ้างว่า เพราะสิ่งนี้มี จึงมีสิ่งนั้น เช่นเดียวกัน ขันธ์ห้า นามธรรม รูปธรรม ต่างก็อาศัยซึ่งการในการทำงาน พอเกิดเป็นคน พอเป็นก้อนทุกข์แล้ว มันต่างทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ

    ที่นี้ตัวรู้ รู้ตัวที่ว่า มันก็เป็นนามขันธ์เช่นกัน แต่เป็นคนละสภาวะกันเท่านั้นเอง จะให้ไม่สับสน ก็เรียกสติก็ได้ เรียกปัญญาก็ได้

    งงว่าอะไรที่เห็น ตอบไปว่าปัญญาที่เห็น งงว่าอะไรที่เท่าทันขันธ์ห้า ตอบว่าสติที่เท่าทัน

    นอกจากอุปทานขันธ์ห้าจะเป็นทุกข์แล้ว ทางแก้ทุกข์ก็อยู่ที่ตัวมันเองด้วย ท่านจึงว่าเป็นเครื่องมือไงครับ วิชชาไงครับ โพชฌงคไงครับ ธรรมที่เป็นคู่ปรับกับทุกข์ เป็นคู่ปรับกับกิเลสตัณหา

    พลังงานที่ว่า ถ้าจะเทียบ ก็คงเป็นยางเหนียว เป็นสิ่งร้อยรัดให้อยู่ในภพในกองทุกข์ มันก็คือ กิเลสตัณหานั่นไงครับ ซึ่งหากปฎิบัติเรื่องพวกนี้เป็นเรื่องที่สามารถทำให้เห็น ทำให้แจ้งได้ แต่ถ้านึกคิดเอา มันก็เหมือนไปปรุงแต่งเพิ่ม เราลองจับจุดจับหางดูที่การปรุงแต่งนี้ก็ได้ครับ ปรุงก็ให้รู้เท่าทัน กิเลสมีไม่กี่อย่างครับ โลภ โกรธ หลง หากไม่ทันก็เอา อยากได้สิ่งไหนแล้วไม่ได้ก็ทุกข์ ได้รับในสิ่งที่ไม่อยากได้ก็ทุกข์ พลัดพลากจากสิ่งที่รักมันก็ทุกข์

    เรื่องตนเป็นตน หรือมีอะไรที่เราเป็นเจ้าของได้ มันเพิ่งแค่เรื่องสิ่งร้อยรัดตัวแรกเองครับ ส่วนเรื่องศาสนาอื่น ผมไม่ได้ศึกษา ผมไม่พูดดีกว่า

    ค่อย ๆ ศึกษา พร้อมด้วยค่อย ๆ ปฎิบัติครับ เจริญธรรม ^ ^
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มกราคม 2012
  20. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,903
    ค่าพลัง:
    +7,316
    ขอยกบทความของท่าน พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
    มาอ่านประกอบการวินิจฉัย "ตัวรู้" เหตุใดไม่ใช่ตัวตน

    ความจริงมีอยู่ตามธรรมดา พระพุทธเจ้ามีปัญญา ก็มาค้นพบและเปิดเผย

    จุดเริ่มต้นนี้ชัดอยู่แล้วในพุทธพจน์ว่า "อุปฺปาทา วา ภิกฺขเว ตถาคตานํ อนุปปฺาทา วา ตถาคตานํ ฐิตา ว สา ธาตุ …." มีเนื้อความว่า..... "ตถาคตคือพระพุทธเจ้า จะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นก็ตาม ความจริงก็คงอยู่เป็นกฎธรรมดา เป็นความแน่นอนของธรรมชาติ ว่าดังนี้ๆ"
    นี่คือการมองความจริงตามแบบของพระพุทธศาสนา พุทธพจน์นี้เป็นหลักพื้นฐาน เราควรเริ่มต้นด้วยหลักนี้ นั่นคือพระพุทธศาสนามองสิ่งทั้งหลายเป็นเรื่องของธรรมชาติและกฎธรรมชาติ เป็นความจริงที่เป็นอยู่อย่างนั้นตามธรรมดาของมัน ไม่เกี่ยวกับการเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้า
    ในพุทธพจน์นี้ พระพุทธเจ้าตรัสต่อไปว่า..... "ตถาคตมารู้ความจริง ค้นพบความจริงนี้แล้ว จึงบอกกล่าว เปิดเผย แสดง ชี้แจง ทำให้ง่าย ว่าดังนี้ ๆ" พุทธพจน์นี้บอกฐานะของพระศาสดาว่า ฐานะของพระพุทธเจ้า คือผู้ค้นพบความจริง แล้วนำจริงนั้นมาเปิดเผย แสดงให้ปรากฏ พระพุทธเจ้าไม่ใช่เป็นผู้บัญญัติ หรือเป็นผู้สร้าง ผู้บันดาลขึ้นมาจากความไม่มี พระองค์เพียงแต่แสดงความจริงที่มีอยู่ การที่พระองค์บำเพ็ญบารมีทั้งหลายเพื่อตรัสรู้เข้าถึงความจริงที่มีอยู่เป็นธรรมดาตลอดเวลา ไม่มีใครเสกสรรค์บันดาล (ไม่มีผู้สร้าง เพราะถ้ามีผู้สร้าง ก็ต้องมีผู้ที่สร้างนั้น ถ้ามีผู้สร้างมีได้เอง ก็แน่นอนว่า สภาวธรรม ก็มีอยู่ได้โดยไม่ต้องมีผู้สร้าง) มันไม่อยู่ใต้อำนาจบังคับบัญชาของใคร ไม่มีใครบิดผันเปลี่ยนแปลงมันได้ ผู้ใดมีปัญญาจึงจะรู้เข้าใจและใช้ประโยชน์มันได้
    เพราะฉะนั้น การรู้ความจริงของธรรมชาติจึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง เราก็จะปฏิบัติต่อสิ่งทั้งหลายได้ถูกต้องเหมือนในทางวิทยาศาสตร์ฝ่ายวัตถุ ที่ค้นพบความจริงคือกฎธรรมชาติบางอย่าง เมื่อค้นพบแล้วก็นำเอากฎธรรมชาติส่วนนั้นมาใช้ทำอะไรต่างๆ ได้ เช่น การสร้างสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ตั้งแต่เรือกลไฟ รถยนต์ รถไฟ เรือบิน คอมพิวเตอร์ ทางวิทยาศาสตร์เอาแต่ความจริงในโลกวัตถุ ส่วนพระพุทธศาสนามองความจริงของโลกและชีวิตทั้งหมดว่า เป็นเรื่องของธรรมชาติที่มีอยู่และเป็นไปตามธรรมดา เมื่อพระพุทธเจ้ามาค้นพบแล้ว ก็ทรงทำให้เข้าใจง่ายขึ้นโดยวิธีจัดรูปร่างระบบแบบแผนให้เรียนรู้ได้สะดวกและวางเป็นกฎเกณฑ์ต่างๆ นี่คือการจับเอาหลักความจริงทั้งหลายมาจัดเป็นระบบขึ้นเพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจของเรา
    ทีนี้ความจริงของสิ่งทั้งหลาย หรือกฎธรรมชาติเป็น อนิจจัง ไม่เที่ยง ไม่คงที่ เกิดแล้วดับไปเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เป็น ทุกขัง คงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ และเป็น อนัตตา ไม่เป็นตัวตนของใครที่จะไปสั่งบังคับให้เป็นไปตามปรารถนาได้ เราจะยึดถือครอบครองไม่ได้ เพราะมันเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน หรือดำรงอยู่ตามสภาวะของมัน แต่แท้จริงแล้วตัวตนอย่างนั้นไม่มี มีแต่เพียงภาพปรากฎชั่วคราว ส่วนตัวจริงที่อยู่เบื้องหลังคือกระบวนการแห่งความสัมพันธ์กันของสิ่งทั้งหลายที่คืบเคลื่อนไปเรื่อยๆ ภาพตัวตนที่ปรากฏนั้นก็จะเปลี่ยนแปลงไป
    ดังนั้นตัวตนที่แท้ยั่งยืนตายตัวที่จะยึดถือครอบครองบังคับบัญชาอะไรๆ ได้ จึงไม่มี (คำว่า อัตตา คือตัวตนที่เที่ยงแท้ยั่งยืนตายตัวตลอดไป) มีแต่ภาพรวมของปรากฏการณ์ที่เกิดจากความสัมพันธ์ของสิ่งทั้งหลายในกระบวนการของมัน เรียกว่าเป็นเพียงสภาวธรรม ไม่เป็นตัวตนของใคร
    นี้คือความเป็นจริงของกฎธรรมชาติ ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงสอนเรื่อง "ไตรลักษณ์" เป็นหลักที่เด่นว่าสิ่งทั้งหลายนี้..... อนิจฺจํ ไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้วดับหาย มีความเปลี่ยนแปลง..... ทุกฺขํ คงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ อยู่ในภาวะขัดแย้ง ถ้าเราไปเกี่ยวข้องด้วยความอยาก มันก็ฝืนความปรารถนา แล้วก็..... อนตฺตา ไม่เป็นตัวตนของใครได้ ใครจะยึดถือครอบครองสั่งบังคับไม่ได้ เพราะมันเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน หรือดำรงอยู่ตามสภาวะของมัน
    http://www.dhammajak.net/prayut4/-7.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มกราคม 2012

แชร์หน้านี้

Loading...