เทคนิคจัดเป้ยังชีพแบบเบา ๆ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย karan20, 17 กรกฎาคม 2012.

  1. karan20

    karan20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2010
    โพสต์:
    1,297
    ค่าพลัง:
    +2,379
    ที่ผ่านมาหากใครได้ติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องภัยพิบัติ
    เชื่อว่าคงจะได้เคยเห็นข้อมูลเกี่ยวกับรายการสิ่งต่าง ๆ ที่ควรจะต้องเตรียม
    ซึ่งในรายการนั้นก็มีอยู่หลายสิ่งด้วยกัน ซึ่งหากเป็นการเดินทางด้วยยานพาหนะก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่
    แต่หากเกิดเหตุสุดวิสัยไม่สามารถเดินทางต่อไปด้วยยานพาหนะ
    การจัดเป้หรือกระเป๋ายังชีพให้มีน้ำหนักเบาโดยที่มีอุปกรณ์ครอบคลุมความจำเป็นพื้นฐานจะเป็นความรู้ที่จำเป็นอย่างยิ่ง

    บางท่านอาจจะจัดอุปกรณ์ยังชีพและสัมภาระต่างๆตามรายการทั้งหมดไว้ในเป้หรือกระเป๋าใบใหญ่อย่างปะปนกัน
    บ้างก็จัดตามคำแนะนำที่ว่าให้จัดโดยการเรียงลำดับการใช้งานคือของใช้ทีหลังให้เอาไว้ด้านล่างสุดของเป้
    อันนั้นก็น่าจะเป็นหลักการที่ดีในสถานการณ์ปกติ เช่นการไปเดินป่าเพื่อท่องเที่ยวเป็นหมู่คณะ
    แต่คำถามคือหลักการอันนั้นจะยังใช้ได้กับการจัดเป้สำหรับการเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติหรือไม่

    หากมีเหตุการณ์ฉุกเฉินที่จำเป็นต้องใช้ความคล่องตัว
    หรือจำเป็นต้องนำสัมภาระไปให้เบาที่สุดและกระทัดรัดที่สุด
    จากเป้ขนาด 50 ถึง 70 ลิตร น้ำหนักราว ๆ 15 - 25 กิโล ที่เตรียมไว้
    หากต้องลดลงเหลือเพียง 5 - 20 ลิตร น้ำหนัก 3 กิโล - 5 กิโล
    สำหรับผู้ที่มีประสบการณ์เดินทางหรือเดินป่าบ่อยๆ
    ก็อาจพอคาดคะเนได้ว่าอะไรบ้างที่จำเป็นจริงๆ และอะไรบ้างพอจะสละทิ้งได้
    แต่หากไม่มีประสบการณ์ และไม่ได้มีการคิดวางแผนจัดแยกเป็นการเฉพาะไว้ล่วงหน้าแล้ว
    เมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ดังกล่าว อาจตัดสินใจผิดพลาด
    คือเผลอทิ้งสิ่งสำคัญไปเพราะคิดว่าคงไม่จำเป็น

    มีผู้รู้กล่าวว่า
    ความรู้ + ประสบการณ์ = เป้ Backpack ที่มีน้ำหนักลดลง

    คลิปวิดีโอต่อไปนี้แม้ฟังไม่เข้าใจทั้งหมด แต่ก็น่าจะพอทำให้เห็นภาพ
    และเป็นแนวคิดในการจัดเตรียมเป้ขนาดเล็ก-น้ำหนักเบาไว้
    โดยการจัดเตรียมอาจมี 3 แนวทางคือ
    1. จัดเป้ใบเล็กแล้วใส่ซ้อนไว้ในใบเป้ใหญ่
    2. จัดเป้ใบเล็กติดไว้กับเป้ใบใหญ่
    (เป้บางแบบถูกออกแบบให้ประกบหรือถอดแยกเป้ใบเล็กออกจากเป้ใบหลักได้)
    3. จัดเป้ใบเล็กแยกไว้ต่างหากจากเป้หลัง เช่น คาดเอวไว้





     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กรกฎาคม 2012
  2. karan20

    karan20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2010
    โพสต์:
    1,297
    ค่าพลัง:
    +2,379
    ในคลิปวิดีโอพูดเยอะไปหน่อย
    แต่ถ้าพยายามตั้งใจดูก็พอจะได้ความรู้เพื่อนำมาประยุกต์ใช้

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=uiBRIuP73Ew&feature=relmfu]Super Ultralight Backpacking Gear - Part 1 - YouTube[/ame]
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=pjHBSiievS0&feature=relmfu]Super Ultralight Backpacking Gear - Part 2 - YouTube[/ame]
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=bscZt8M_kAo&feature=relmfu]Super Ultralight Backpacking Gear - Part 3 - YouTube[/ame]
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=o3K52nCUWwU&feature=relmfu]Super Ultralight Backpacking Gear - Part 4 - YouTube[/ame]
     
  3. karan20

    karan20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2010
    โพสต์:
    1,297
    ค่าพลัง:
    +2,379
    อันที่จริงแล้วคงไม่ได้มีหน่วยงานหรือวิชาการจัดเป้ระบุว่าเมื่อจัดเป้แล้ว
    เป้หนักเท่าไหร่จึงจะเรียกว่าเป็นเป้น้ำหนักเบา คงต้องถือเอาตามความพอใจของแต่ละท่าน
    อย่างไรก็ตามเพื่อความเข้าใจที่ตรงกันอาจจำแนกได้ดังนี้

    1. เป้ Bacpacking น้ำหนักปกติโดยทั่วไป คือ 10 กิโลกรัมขึ้นไป
    2. เป้ Bacpacking น้ำหนักเบา คือ 5 กิโลกรัมขึ้นไป แต่ไม่เกิน 10 กิโลกรัม
    3. เป้ Bacpacking น้ำหนักเบามาก คือ 2 กิโลกรัมขึ้นไป แต่ไม่เกิน 5 กิโลกรัม
    4. เป้ Bacpacking น้ำหนักเบามากพิเศษ คือ น้อยกว่า 2 กิโลกรัม

    สิ่งที่เรากำลังจะพูดถึงกันคือ ข้อ 2 - 4 (น้ำหนักไม่เกิน 10 กิโลกรัม)

    สิ่งที่เราต้องไม่ลืมคือ นี่ไม่ใช่การเดินป่าหรือขึ้นดอยเพื่อการท่องเที่ยวแบบปกติ
    ดังนั้นไม่มี "ลูกหาบ" เอาไว้คอยช่วยแบกสัมภาระแทนเรา

    ขนาดของเป้ที่เล็กและน้ำหนักที่เบาเป็นที่มาของ
    1. ความคล่องตัวในการเคลื่อนไหวทั้งในแนวระนาบและแนวดิ่ง
    2. เดินทางได้ระยะทางไกลขึ้น หรือรวดเร็วขึ้น
    3. ใช้กำลังหรือพลังงานน้อยกว่า ลดความเหนื่อยล้าและปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ






     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กรกฎาคม 2012
  4. karan20

    karan20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2010
    โพสต์:
    1,297
    ค่าพลัง:
    +2,379
    การเลือกอุปกรณ์ที่เล็กและมีขนาดเบานั้นช่วยให้เรานำอุปกรณ์ไปได้ครบแต่น้ำหนักลดลง
    อย่างไรก็ตามการเลือกอุปกรณ์นั้นให้เลือกอุปกรณ์คุณภาพดีที่มีน้ำหนักเบา
    ไม่ใช่เลือกอุปกรณ์ที่น้ำหนักเบาที่ไม่มีคุณภาพ

    เป้เบา ๆ ฟังดูดี ฟังดูเป็นเครื่องช่วยชีวิตมากกว่าจะเป็นภาระของชีวิต
    เป้เบา ๆ อาจมีประโยชน์มากกว่าเป้ที่หนักๆที่ต้องทิ้งไว้ที่บ้านหรือท้ายรถ
    เพราะเป้เบา ๆ สามารถติดตัวกับเราไปได้ในเกือบทุกที่

    สิ่งที่หนักมากหรือมีขนาดใหญ่ที่สุดในการจัดเป้ Backpack คือ
    1. เป้ (รูปทรงของเป้และวัสดุที่ใช้มีผลต่อขนาดและน้ำหนัก)
    2. เต๊นท์
    3. ถุงนอน

    นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากสิ่งที่ไม่จำเป็นอื่น ๆ เช่น เสื้อผ้าที่มากเกินความจำเป็น
    และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่าง ๆ

    ส่วนอาหารและน้ำดื่มก็ทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก
    อาหารนั้นให้แยกส่วนพิจารณาต่างหาก เพราะต้องมีการหมดอายุเร็ว ต้องปรับเปลี่ยนตลอด
    อาหารและน้ำดื่มนั้นเราสามารถเพิ่มหรือลดปริมาณได้ตามแต่จำนวนวันที่ต้องเดินทาง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 กรกฎาคม 2012
  5. พลายวาต

    พลายวาต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    73
    ค่าพลัง:
    +369
    อุปกรณ์ที่เบาและดีแถมสวยเท่ห์ด้วยหาได้ไม่ยากครับ แต่......แพงมากๆๆๆ:'( น้ำหนักที่หายไปต้องแลกด้วยเงินเป็นเงาตามตัว
     
  6. Poohrich Assawanuwat

    Poohrich Assawanuwat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2008
    โพสต์:
    109
    ค่าพลัง:
    +341
    ชอบอ่านที่คุณ Karan20 นำเสนอ
    ความรู้ดี ๆ ทั้งนั้น
    ขอขอบคุณมากครับ
     
  7. karan20

    karan20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2010
    โพสต์:
    1,297
    ค่าพลัง:
    +2,379
    ดังนั้นสิ่งที่เราต้องการคือ อุปกรณ์ที่คุ้มค่า ราคาสมเหตุสมผล
    อุปกรณ์บางอย่างคุณภาพไม่ต่างกันมากแต่ราคาต่างกันลิบเพราะยี่ห้อ
    ของราคาถูกแต่ใช้การไม่ได้หรือใช้ไม่นานก็พังนั้นน่าเสียดายยิ่งกว่าซื้อของมีคุณภาพ

    อุปกรณ์ยังชีพหากจัดเตรียมเน้นเฉพาะที่จำเป็นจริง ๆ และไม่เน้นยี่ห้อดังๆ
    งบประมาณรวมแล้วถูกกว่าโทรศัพท์อย่าง iPhone (ราคาประมาณ 25,000 บาท)

    อุปกรณ์หลักที่จำเป็นจริง ๆ และมีราคาค่อนข้างสูงคือ
    1. เป้ ฺBackpack ประมาณ 1,500 - 8,000 บาท
    2. ถุงนอน 1,500 บาท - 3,000
    3. เต๊นท์ 1,000 บาท - 3,000 บาท
    4. ชุด Survival Kits (มีดพับ แท่งจุดไฟ นกหวีด และอื่นๆ) 1,000 - 2,000 บาท

    รวม 4 รายการ ราคาประมาณ 5,000 - 16,000 บาท
    ยังเหลืองบประมาณอีก 10,000 - 20,000 บาท สำหรับซื้อของอื่นๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 กรกฎาคม 2012
  8. karan20

    karan20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2010
    โพสต์:
    1,297
    ค่าพลัง:
    +2,379
    อย่าเพิ่งเข้าใจว่าผมแนะนำให้คุณเตรียมอุปกรณ์ให้น้อยที่สุด
    การเตรียมพร้อมอย่างเพรียบพร้อมเป็นสิ่งที่ดี เพียงแต่เราต้องตอบคำถามให้ได้ว่า
    หากเกิดเหตุการณ์ที่เราจำเป็นต้องเดินทางด้วยการเดินเท้า
    เราจะลดขนาดของของเป้ขนาด 50 - 70 ลิตร และน้ำหนักที่มากนั้นได้อย่างไร

    มีผู้รู้กล่าวว่า
    ความรู้ + ประสบการณ์ = เป้ Backpack ที่มีน้ำหนักลดลง

    คำพังเพยไทยท่านว่า "รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม"

    ยิ่งมีความรู้เราก็สามารถประยุกต์ใช้สิ่งต่างๆที่มีอยู่รอบตัวให้เป็นประโยชน์
    ดูตัวอย่างได้ที่ [FONT=&quot]คลิกที่นี่...การเตรียมตัวและการประยุกต์ใช้สิ่งที่มีอยู่ให้เป็นอุปกรณ์ยังชีพ



    [/FONT]
    "รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม"

    หากเราตกอยู่ในสถานการณ์ที่จำเป็นต้องลดขนาดและน้ำหนักของสัมภาระ
    อุปกรณ์ยังชีพที่เราควรมีติดตัวไว้และไม่ควรสละทิ้งอย่างยิ่งคืออุปกรณ์พื้นฐาน
    สิ่งนั้นเราเรียกรวมๆ ว่า Survival Kits

    Survival Kits ที่จำเป็นในอันดับต้น ๆ คือ มีด และอุปกรณ์จุดไฟ

    นอกจากนี้ยังอาจมี นกหวีด กระจก หลอดกรองน้ำ หม้อสนาม(ขนาดเล็ก) เข็มด้าย เข็มกลัด
    ถุงพลาสติก ผ้าห่มฉุกเฉิน ไฟฉาย(ขนาดเล็ก) โซ่เลื่อย เป็นต้น
    เพื่อความเข้าใจตรงกันเราอาจเรียกมันว่า Pocket Survival Kits หรือ Basics Survival Kits
    สิ่งนี้มีความสำคัญเป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่ควรนึกถึงก่อนเป้สะพายหลังขนาดใหญ่
    Pocket Survival Kits คืออุปกรณ์ยังชีพที่มีติดกระเป๋ากางเกงหรือในกระเป๋าถือที่เราใช้ประจำวัน


    ผู้มีความรู้ย่อมเมื่อมี Basics Survival Kits ก็สามารถประยุกต์เป็นส่งยังชีพต่างๆได้
    คือขอเพียงมีอุปกรณ์ยังชีพขั้นพื้นฐาน เขาก็อาจสามารถประยุกต์ใช้สร้างสรรค์อุปกรณ์และสิ่งยังชีพได้อีกมากมาย
    แต่ความรู้ที่ยิ่งกว่า คือความรู้ที่สามารถประยุกต์ธรรมชาติให้เป็น Basics Survival Kits
    พูดง่าย ๆ คือ การใช้ Basics Survival Kits เป็นความรู้ระดับต้น
    แต่ความรู้ที่ยิ่งกว่าคือใช้สิ่งที่มีอยู่รอบๆตัวสร้างเป็น Basics Survival Kits
    เช่น ผู้รู้อาจใช้มีดพกเพียงเล่มเดียวเพื่อหาอาหาร ทำเชือก และสร้างที่พักฉุกเฉิน
    แต่ผู้รู้ยิ่งกว่าคือรู้ว่าหากไม่มีมีด เราอาจใช้เศษแก้วแตก เศษกระเบื้อง หรือเศษหินที่มีความคมเป็นมีดได้

    ผู้รู้ = ผู้รู้วิธีใช้ Basics Survival Kits และพกพามันไปด้วย
    ผู้รู้ยิ่งกว่า = ผู้รู้วิธีใช้และพกพา Basics Survival Kits และหากจำเป็นเขาก็สามารถสร้างมันได้ด้วย


    ตัวอย่างของการเตรียม Basics Survival Kits หรือ Pocket Survival Kits

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=5bBMJ9-VZBQ"]Improvised Cheap Survival Kits -short.wmv - YouTube[/ame]
    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=-TvHpgM7NeI&feature=related"]World's Smallest Survival Kit™ - YouTube[/ame]

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=dtM-qqG2wJ0"]Compact Survival Kit Pt. 1 - YouTube[/ame]
    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=yyh5knEh5D4&feature=channel&list=UL"]Compact Survival Kit Pt. 2 - YouTube[/ame]

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=LkdEN5AsiX0&feature=related"]Nano Survival Kit - YouTube[/ame]


    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=bH1AQNTh6ls&feature=fvwrel"]Neck Survival Kit - YouTube[/ame]

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=p3ZvfZ5VrR0&feature=endscreen"]Survival Kits By Army Ranger Rick - YouTube[/ame]

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=BUcKEUWpOpM&feature=related"]survival kit/ possibles pouch - YouTube[/ame]

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=cYo4HdTNZ80&feature=related"]THE 10 ESSENTIAL ITEMS TO SURVIVE - YouTube[/ame]

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=Iu04nMoYsaU&feature=related"]10 Essential Wilderness Survival Items - YouTube[/ame]


    [FONT=&quot]
    [/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กรกฎาคม 2012
  9. karan20

    karan20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2010
    โพสต์:
    1,297
    ค่าพลัง:
    +2,379
    ยารักษาโรคเป็นหนึ่งในปัจจัย 4
    ในสภาวะวิกฤติเมื่อขาดแคลนยารักษาโรค ผู้รู้อาจสามารถใช้สมุนไพรเป็นยารักษาโรคได้
    แต่หากเราไม่มีความรู้เรื่องสมุนไพรเลย พระพุทธเจ้าได้ตรัสแนะนำยารักษาโรคที่หาได้ง่ายที่สุดไว้นั่นคือ ปัสสาวะ


    ในภาวะขาดแคลนน้ำ และหากเราไม่อยากดื่มปัสสาวะตัวเอง แต่ก็หิวน้ำอย่างมาก
    ทางเลือกหนึ่งคือการกลั่นปัสสาวะก่อนดื่ม แต่นั่นย่อมทำให้มันไม่สามารถใช้รักษาโรคได้

    อุปกรณ์ที่ต้องใช้คือ ถุงพลาสติก ดังนั้นถุงพลาสติกขนาดใหญ่ควรจะเป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่เราควรเตรียมไว้
    ในชุด Pocket Survival Kits (ย่อว่า PSK) หรือ Basics Survival Kits (ย่อว่า BSK)

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=x9bXWXonmFM"]Man vs. Wild- Pee and Plastic - YouTube[/ame]


    จากในคลิปเป็นการใช้เทคนิคการกลั่นน้ำโดยใช้หลักการเดียวกันกับภาพด้านล่างนี้
    เพียงแต่เพิ่มขั้นตอนโดยการรองหลุมที่ขุดด้วยพลาสติกเพื่อกักเก็บฉี่ไว้

    [​IMG]

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กรกฎาคม 2012
  10. karan20

    karan20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2010
    โพสต์:
    1,297
    ค่าพลัง:
    +2,379
    หากติดตามรายการ Man vs. Wild
    จะเห็นว่าผู้สาธิตที่ชื่อว่า Bear Grylls นั้นให้ความสำคัญกับอุปกรณ์พื้นฐานคือ
    มีดพก แท่งจุดไฟ กระติกน้ำ และหม้อสนาม

    หากโจทย์ของเราคือต้องการเตรียม Pocket Survival Kits แบบพกใส่กระเป๋ากางเกงหรือกระเป๋าถือ
    ปัญหาที่น่าสนใจคือเราจะพกพากระติกน้ำกับหม้อสนามได้อย่างไร

    คำตอบสำหรับกระติกน้ำคือ ตอนนี้มีการผลิตถุงใส่น้ำที่มีความทนทานและมีฝาเกลียวปิด
    อย่างราคาถูกมีจำหน่ายในร้ายขายของจากญี่ปุ่นที่ทุกชิ้นราคา 60 บาท
    หรืออย่างมีคุณภาพสูงมีจำหน่ายตามร้านอุปกรณ์เดินป่าในราคาหลักร้อย
    ถุงใส่น้ำขนาดประมาณ 1 - 2 ลิตรเมื่อไม่ได้ใส่น้ำมันสามารถพับเก็บให้มีขนาดเล็กได้

    แต่การพกหม้อสนามใส่กระเป๋ากางเกงหรือกระเป๋าถืออาจเป็นเรื่องไม่ง่ายเลย
    เพราะหม้อนั้นไม่สามารถพับเก็บให้มีขนาดเล็กได้
    แผ่นอลูมิเนียมฟลอย อาจเป็นทางเลือกของเรา
    แต่แนะนำว่าควรเป็นกรณีฉุกเฉินและเตรียมไว้หลายๆแผ่น เผื่อกรณีขาดชำรุดจากการใช้งาน


    ประยุกต์แผ่นอลูมิเนียมฟลอยเป็นหม้อสนาม

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=makUK9uZ5VA"]Improvised Foil Pot - YouTube[/ame]

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=vzJzIOh5E5s"]Tin Foil Survival Pot - YouTube[/ame]






     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กรกฎาคม 2012
  11. karan20

    karan20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2010
    โพสต์:
    1,297
    ค่าพลัง:
    +2,379
    ตอนเด็กๆเวลาไปค่ายลูกเสือ คุณครูมักตรวจให้คะแนนครัว
    หากพบว่าหม้อหุงข้าวดำ ไม่ได้ขัดคราบรอยไหม้ออกก็มักโดนหักคะแนน

    เทคนิคอันหนึ่งหากไม่ต้องการให้หม้อสนามดำคือใช้แผ่นอลูมิเนียมฟลอยหุ้ม

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=LliwTWaVekY"]Aluminum foil's effect on boil time - YouTube[/ame]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กรกฎาคม 2012
  12. karan20

    karan20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2010
    โพสต์:
    1,297
    ค่าพลัง:
    +2,379
    แผ่นอลูมิเนียมฟลอยควรเป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่งที่เตรียมไว้
    เราสามารถใช้ประยุกต์ทำเตาอบพลังแสงอาทิตย์ได้อีกด้วย

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=UoBh4KLP2yA"]เตาแสงอาทิตย์ในภาวะน้ำท่วม - YouTube[/ame]
    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=EsASYQYiduA"]หุงข้าวด้วยแดดอาจารย์สามารถ.flv - YouTube[/ame]
    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=xZWIpKRuur0"]Solar Cooking in Africa - A Remarkable Technology Transfer - YouTube[/ame]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กรกฎาคม 2012
  13. marine24

    marine24 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    2,224
    ค่าพลัง:
    +15,636
    ควรมีเชือกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3/8 - 4/8 (1/2) นิ้ว ยาวประมาณ 20 เมตรไว้ 1 เส้น ฝึกการผูกแบบบ่วงด้วยครับ ไว้ใช้ในลักษณะ ใช้เป็นเชือกช่วยชีวิตข้ามลำน้ำไหลแรง /ให้เฮลิคอปเตอร์ดึงตัวเราขึ้นจากน้ำ หรือบนหลังคา/บนอาคารสูงได้
     
  14. marine24

    marine24 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    2,224
    ค่าพลัง:
    +15,636
    เมื่อวานเพิ่งไปได้มา มันเป็นชุดทำอาหารของ AIKO มี 4 ชิ้น หม้อ จาน กระทะ ถ้วย ราคา 365 บาทจากห้าง บิ๊กซี บางใหญ่ นนทบุรี แพ็คในกล่องใหญ่ ประมาณ 7x7 นิ้ว
     
  15. VALKYLIES

    VALKYLIES Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    31
    ค่าพลัง:
    +55
    เรียน ท่านเจ้าของกระทู้ และเพื่อนสมาชิกฯ

    จากประสบการณ์ทหารชายแดน ผมขอเสริมแนวคิด ดังนี้
    หลักสำคัญที่สุด ในการจัดเป้ยังชีพคือ " จัดของที่จำเป็นต้องใช้จริงๆ "
    สิ่งที่ไม่ใช้ไม่ต้องเอาไป เพื่อลดน้ำหนักลง เท่าที่ท่านจะแบกไปได้



    ตัวอย่างการจัดเป้ยังชีพ ( น้ำหนักโดยประมาณ )

    เป้ธรรมดา น้ำหนักเปล่า 1.5 ก.ก.
    จากซ้ายไปขวา เต๊นท์บุคคล 2คน หนัก 2 ก.ก.
    ถุงนอน หนัก 1 ก.ก. เสื้อกันฝน 3 ขีด ถุงพลาสติกดำสามใบ 3 ขีด
    น้ำและอาหารสำหรับ 3 วัน ( วันละสองมื้อ ) หนัก 2 ก.ก.
    กล่องใส่ยาที่จำเป็น ประมาณ 3 ขีด
    เสื้อผ้า ( กางเกง2 เสื้อแขนยาว2 ผ้าเช็ดตัว ถุงเท้า2 ชุดชั้นใน3 ) น้ำหนัก
    รวมกันประมาณ 2 ก.ก.
    ของใช้ส่วนตัวประจำวัน ประมาณ 1/2 ก.ก.
    สิ่งอุปกรณ์ ไฟฉาย2 วิทยุรับส่ง(หลายความถี่ ใช้กล่องถ่านAA เสายางและเสาชัก ) ไฟแช๊คสามอัน ถ่านอัลคาไลน์แพ็ค8ก้อน ชุดเครื่องมือ เทียนไขสามเล่ม น้ำหนักรวมกันประมาณ 1.5 ก.ก.
    รองเท้าแตะ หนัก 4 ขีด
    เชือกหนึ่งขด 3 ขีด
    มีดสนามขนาดกลางหนึ่งเล่ม 1/2 ก.ก.

    รวมน้ำหนักสิ่งของทั้งหมด 12.6 ก.ก.

    ท่านคิดว่า ท่านจะแบกน้ำหนักขนาดนี้ ได้หรือไม่ และจะไปได้ไกลกี่ ก.ม.
    หากเพิ่มน้ำหนักขึ้นอีก แต่ไม่เกิน 15 ก.ก. ท่านจะไปได้ไกลแค่ไหน
    อย่าลืมว่า นอกจากเป้แล้ว ท่านอาจมีสิ่งของที่ติดตัวอีก เช่น มีดพก ปืนพก เข็มทิศ นกหวีด กระติกน้ำ
    สิ่งของมีค่า ฯลฯ ตามที่ท่านต้องการนำติดตัวไป
    ท่านต้องพิสูจน์ตนเอง ด้วยการฝึกซ้อมแบกเป้ของท่าน ครับ

    สมาชิกที่เป็นทหาร เช่น คุณmarine24 (อดีต) นาวิกโยธิน, น้อง(เสธ.)ด่อง2002 ฯลฯ ต่างให้แนวคิดและความเห็นที่เป็นประโยชน์มาก ครับ
    ผมหวังว่า ท่านผู้อ่านคงจะนำไปapplyใช้สำหรับตัวท่านเอง โดยสมมุติสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่ที่ท่านอาศัยอยู่

    สิ่งของที่จะบรรจุลงเป้ยังชีพของท่าน ขอให้จัดหาตามความสามารถของท่าน
    " สิ่งที่ดี ย่อมมีราคาแพง แต่ใช้คุ้มค่า "
    " ของราคาถูก หาง่าย ใช้ได้ในระดับหนึ่ง "
    " แต่ที่เหมือนกัน หากไม่ได้ใช้ มันก็ไม่มีประโยชน์อะไรเลย "

    หมายเหตุ จากภาพประกอบ อุปกรณ์ที่อยู่ด้านขวาสุดของภาพ ไม่เกี่ยวกับ
    กระทู้นี้ นะครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 24 กรกฎาคม 2012
  16. VALKYLIES

    VALKYLIES Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    31
    ค่าพลัง:
    +55
    ขออนุญาต เสริมอีกครั้งหนึ่งครับ


    เมื่อท่านเตรียมจิตพร้อมรับภัยพิบัติ ท่านเตรียมกาย พร้อมรับภัยพิบัติหรือยัง ?
    หากยัง ท่านต้องฝึกซ้อมตนเอง ซ้อมอพยพออกจากพื้นที่ภัยพิบัติ
    ฝึกแบกเป้ของท่าน ด้วยการLoadน้ำหนักจาก 10 ก.ก. ลองเดินทาง
    ในระยะแรก 5 ก.ม. ท่านจะทำได้หรือไม่ ? คิดเสียว่าเป็นการออกกำลังกายครั้งใหญ่
    ทำให้ได้นะครับ ฝึกแบกเป้ของท่าน เดินให้ได้ไกลที่สุดเท่าที่จะทำได้
    โดยไม่กำหนดเวลา หากไม่ไหว ก็ต้องลดน้ำหนักลง เอาของที่ไม่ใช้ออกไป
    ฝึกให้เคยชิน ก่อนที่จะไม่มีเวลาฝึก

    สุดท้ายขอให้ระลึกอยู่เสมอว่า " ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน และมีพระรัตนตรัยเป็นสรณะที่พึ่งแห่งชีวิต "
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 27 กรกฎาคม 2012

แชร์หน้านี้

Loading...