เรื่องเด่น อรูปฌาณเป็นสัมมาสมาธิหรือไม่? ทำไมพระไตรปิฎกกล่าวถึงแต่รูปฌาณ...ขอความรู้ครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย วิทย์, 3 มกราคม 2008.

  1. วิทย์

    วิทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,036
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,439
    สัมมาสมาธิในอริยมรรคมีองค์ 8 ก็คือ ฌาน1-4 ทำไมอรูปฌานจึงไม่จัดอยู่ในหมวดของสัมมาสมาธิในอริยมรรคมีองค์ 8 ล่ะครับ
     
  2. นโมโพธิสัตโต

    นโมโพธิสัตโต ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ผู้ดูแลเว็บบอร์ด สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,157
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +29,709
    อรูปฯนั้นละเอียดเกินไป

    ไม่เห็นการเกิดดับที่อายตนะภายนอก คือ หู ตา จมูก ลิ้น ผัสสะที่กายและคิดนึกที่สมอง

    เพราะ มันไปละลายกาย ออกจากการรับรู้

    คล้ายๆกับเอาน้ำแข็งมาถือไว้นานๆ ทั้งที่กายมีอยู่ แต่ มันไม่รู้สึก

    มันจะเข้าไปติดกับธาตุรู้ภายใน เป็นสุดโต่งภายใน ( อรูปที่ฝึกจากสติปัฏฐานฌาณ คือเพ่งกายเป็นหลักเบื้องต้น)
    หรือ ไม่ก็ติดที่ธาตุรู้ภายในที่รวมกับธาตุรู้ภายนอก ( ธาตุรู้ที่องค์บริกรรม

    เริ่มจากช่องว่าง(อากาสา)จนถึง เนวะฯ



    รูปฌาณ2-3-4 เมื่อถอนออกใหม่ๆ เอามาที่ขณิกกะ อุปจาระ ปฐมฯ

    เมื่อน้อมมาดูการเกิดดับอันเป็นปัจจุบันธรรมที่อายตนะต่างๆ
    จะเห็นไตรลักษณ์ตามความเป็นจริงๆ เป็นสภาวะธรรม ไม่ใช่ ธรรมสัญญา

    การหลุดพ้น หรือ ได้สภาวะธรรม ได้ดวงตาเห็นธรรม เป็นไปได้


    ...ที่เหลือเชิญทุกท่านเพิ่มเติม หรือ นำเสนอด้านอื่นครับ /สาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 3 มกราคม 2008
  3. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,606
    ค่าพลัง:
    +1,817
    เพราะ ฌาน ทั้ง 4 เป็นธรรมชาติของมนุษย์ มนุษย์ต้องมีอย่างนั้น เป็นอย่างนั้น

    อรูปไม่จัดเพราะที่เขาเขียนไว้นั้น เป็นสภาพสภาวะจิตใจ ในระดับพระอริยะบุคคล
     
  4. siratsapon

    siratsapon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    368
    ค่าพลัง:
    +641
    เหตุใดสัมมาสมาธิในอริยมรรคมีองค์ 8 ประการถึงมีเพียงปฐมฌาน จนถึงจตุตถฌานเท่านั้น?

    ผมเห็นว่าเป็นเพราะพระพุทธเจ้าจะตรัสถึงเรื่องสัมมาสมาธิ หรือเรื่องอริยมรรค ก็จะตรัสต่อเมื่อทรงสอนถึงเรื่องการดำเนินชีวิตที่ประเสริฐ เป็นสายกลาง ไม่สุดโต้งไปทางด้านใดด้านหนึ่ง และเป็นหลักการปฏิบัติที่สามารถกระทำได้ทุกคน มุ่งเน้นให้เกิดความพ้นทุกข์เป็นสำคัญ ซึ่งระดับสมาธิที่กล่าวเอาไว้ในสัมมาสมาธินั้น เป็นระดับสมาธิที่ทุกคนสามารถกระทำได้ ไม่ยากจนเกินไป ผู้ครองเรือนเองก็สามารถกระทำได้ เป็นระดับสมาธิที่เพียงพอต่อการนำไปบำเพ็ญวิปัสสนาเพื่อให้เกิดปัญญารู้แจ้งตามเป็นจริงของสิ่งต่างๆ จนกระทั่งถอนรากถอนโคนตัดขาดสังโยญน์ให้หมดสิ้นกิเลสได้ครับ

    แต่ถ้าพระองค์ทรงบัญญัติว่าสัมมาสมาธิประกอบไปด้วยถึงระดับอรูปฌานแล้ว ก็จะทำให้เกิดความไม่เป็นสายกลาง จะไม่เป็นหลักปฏิบัติที่ทุกคนสามารถกระทำได้ เพราะยากจนเกินไป เพราะคนที่จะทำสมาธิให้ถึงระดับอรูปฌานได้นั้นจะต้องบำเพ็ญกันจริงๆ จะต้องปลีกวิเวกซึ่งส่วนใหญ่จะต้องเป็นผู้ที่ไม่ครองเรือน เช่น นักบวช เป็นต้น ซึ่งไม่ใช่จะสิ่งที่กระทำได้โดยง่ายครับ
     
  5. เด็กโชว์พาว

    เด็กโชว์พาว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,082
    ค่าพลัง:
    +470
    ถ้าคุณได้อรูปฌานคุณจะเป็นทุกข์เมื่ออกจากฌานครับ เพราะว่ามันจะรู้สึกว่าตัวเองเป็นจิตวิญญาณต้นกำเนิดน่ะครับในสมาธิน่ะ พอออกจากสมาธิมาคุณก็ยังมีกายเนื้ออยู่ทำให้เบื่อหน่ายกายเนื้อครับ ทำให้เบื่อการมีชีวิต มันเป็นทุกข์
    เอาแค่ฌาน 4 ก็พอแล้วมั้ง หรือไม่ถ้าจะลองอรูปฌานนิดๆหน่อยๆก็ไม่น่าจะมีปัญหานะครับ แต่ไม่ควรเสพนานเกินไป
    หรือถ้าคิดว่าได้แล้วจะไปบวชก็ไม่น่าจะมีปัญหา ส่วนตัวผมเองยังไม่อยากนิพพานไม่ดีกว่า ไว้ผมพอถึงชาติที่อยากนิพพานแล้วจะเป็นพระอรหันต์ประเภทปฎิสัมปัตโต แล้วจะค่อยฝึกครับ
     
  6. ผู้เดินทาง

    ผู้เดินทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    203
    ค่าพลัง:
    +407
    ที่กล่าวเฉพาะฌาณ 1-4 นั้นสำหรับผู้ที่มิใช่พระอริยะบุคคล เพราะต้องละสักกายะทิฐิก่อน จึงจำเป็นต้องกำหนดรูปเป็นปัจจัยร่วม
    เมื่อละสักกายะทิฐิได้แล้ว (เป็นพระอริยะบุคคล) หากไปเกิดในอรูปภพ หรือเจริญอรูปกรรมฐาน ก็กำหนดดูพระไตรลักษณ์ใน เวทนา จิต ธรรม เข้าสู่มรรคผลเบื้องสูงต่อไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มกราคม 2008
  7. v.mut

    v.mut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 เมษายน 2006
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +274
    ความเป็นไปได้สำหรับบุคคลโดยทั่วไปแล้วนั้น การพิจารณาในรูปณาน นั้นจะพิจารณาองค์ธรรมได้สะดวกกว่า สำหรับอรูป เป็นสิ่งละเอียดที่เห็น ความเปลียนแปลง เกิดขึ้นตั่งอยู่ดับไป หรือ ความเป็นไตรลักษณ ได้ ยากกว่ากันมาก จึงอาจมิใช่หนทางสำหรับคนโดยทั่วไป แต่ก็มิได้หมายว่าจะเป็นไปไม่ได้ที่จะเข้าถึงโดยอรูปณาน เพียงแต่หนทางยากกว่า จึงค่อนข้างจำเพาะสำหรับบางหมู่เหล่าที่สามารถจะกระทำได้

    สิ่งที่แสดงจึงเป็นไปเพื่อประโยชน์นัยยะโดยรวมของเหล่าสรรพสัตร์ ที่เหมาะสมตามฐานะที่พึงกระทำให้บรรลุได้
     
  8. คนมีกิเลส

    คนมีกิเลส เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    3,973
    ค่าพลัง:
    +19,431
    ขออนุโมทนาบุญจากการสนทนาธรรมของทุกๆท่านครับ
    สาธุ
     
  9. วิทย์

    วิทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,036
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,439
    ขออนุโมทนาครับ ถ้างั้นขอถามต่อนะครับ ในพระสูตรตรัสว่า รูปฌาน4 ที่เป็นสัมมาสมาธินั้นต้องมาจากสัมมาสติ(สติปัฏฐาน 4) คือการระลึกถึง กาย เวทนา จิต ธรรม จนเกิดความสงบขึ้น

    สัมมาสมาธิที่เกิดขึ้นนี้เป็นสมถะหรือวิปัสสนาครับ ถ้าเป็นสมถะเพราะอะไรเป็นวิปัสสนาเพราะอะไร เนื่องจากในอริยมรรคมีองค์ 8 มาสิ้นสุดตรงที่สัมมาสมาธิเท่านั้น ในพระสูตรไม่ได้ระบุโดยตรงว่าเป็นวิปัสสนา(การเห็นแจ้งตามความเป็นจริง)

    และสัมมาสมาธิในอริยมรรคนี้เราสามารถเจริญเพียงแค่สติกับสมาธิโดยละเลย อีก 6 ข้อที่เหลือได้รึเปล่าครับ หรือว่าจำเป็นต้องเจริญให้ครบถ้วนทุกข้อทั้ง 8 ข้อเลยครับ
     
  10. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,801
    ค่าพลัง:
    +7,939
    มรรคที่เกิดจากสัมมาสมาธิ สัมมาสติ จะเกิดแบบครบองค์ ไม่มีสิ่งใดขาดหาย

    ถ้ามรรคมีอาการขาดหาย นั้นเป็นเพราะจงใจกระทำมรรค ไม่ใช่เกิดเอง

    ต้องไม่ลืมว่า ปัญญา ทางธรรมนั้น ไม่สามารถจงใจสร้างได้

    ถ้าจงใจสร้างได้ สั่งได้ บังคับได้ หยิบเอามาใช้เฉพาะเวลาได้
    แปลว่า จงใจทำ ซึ่งแปลว่า คิดเอาเอง
    ท่านพุทธทาสใช้คำว่า น้อม แทนคำว่า คิดเอาเอง ซึ่งนุ่มนวลกว่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มกราคม 2008
  11. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,801
    ค่าพลัง:
    +7,939
    <TABLE width="100%" bgColor=#e4f3f3 border=0><TBODY><TR><TD>ความคิดเห็นที่ 11 : (wit)</TD><TD>











    </TD><TR><TD colSpan=2>
    <!--QuoteBegin--><SAMP>อ้างอิง
    <!--QuoteEBegin-->เราไม่สามารถทำให้สติเกิดได้ตลอดเวลาครับ ต้องรู้บ้างเผลอบ้าง เพราะถ้ามีสติตลอดเวลาหรือตั้งอยู่ได้นานๆ อันนั้นเป็นการจงใจทำหรือเพ่ง มีเบื้องหลังคือโลภะเจตนา <!--QuoteEnd-->
    </SAMP><!--QuoteEEnd-->
    ตรงจุดนี้แหละครับที่ผมสงสัย เลยตั้งกระทู้ถามว่า ถ้าเช่นนั้นในกรณีที่เราใช้ชีวิตประจำวันตามปกติทำโน่นทำนี่ หรือเวลาคิดว่าจะไปที่ใด ก็แสดงว่ามีโลภะเจตนาทั้งนั้นเลยสิครับ แล้วอย่างพระพุทธเจ้าหรือพระอรหันต์ที่ท่านหมดกิเลสแล้วเวลาท่านจะเดินทางไปไหนมาไหน ท่านก็ต้องไม่มีการจงใจว่าจะไปที่ใดเลยรึครับ?​

    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    ขออภัยที่ละลาบละล้วงเอาคำถามจากอีกเว็บหนึ่งมาโพส

    พระสงฆ์รูปหนึ่งที่เป็นที่เคารพในลานธรรม ได้กล่าวว่า
    สมาธิที่เกิดจากการทำสมถะนั้นส่วนใหญ่ไม่ใช่สัมมาสมาธิ

    โดยให้ดูที่สัมมาสติ สัมมาสติที่ควรแก่การงาน ที่ทำให้มรรคเกิดได้พร้อมกัน
    ต้องเป็นสติที่เกิดเองโดยตัวเขาเอง(ไม่ใช่เรา) ซึ่งมีเราเป็นผู้อบรมบ่มเพาะ จนเขาอิ่มรู้
    เขาก็จะเกิดสติเอง และทำงานได้ฉับไวดั่งฟ้าแลบ และเมื่อสัมมาสติที่ระลึกรู้
    สามารถรวมฐานลงสู่ภายใน ไม่ส่งออกนอกอีกก็จะเกิดสัมมาสมาธิ
    เมื่อสัมมาสมาธิเกิดจนถึงขั้นอัปปนาสมาธิอิ่มตัวพอ จิตก็จะไหลรวม
    พอให้เกิดสัมมาปัญญาที่เกิดเองนอกเหนือการควบคุม ไม่จำกัดเวลาเกิด

    วิเศษลักษณะของสติที่รู้รอบคือ รู้อย่างไร้กาลเวลาและขอบเขตภายในปัจจุบันขณะ นั่นจึงส่งผลให้
    กริยา วาจา ใจกระทำโดยความรู้ที่จะไม่ส่งผลให้เกิดข้อผิดพลาดอีก ไม่ว่าวันนี้ พรุ่งนี้

    * * * * * *

    ส่วนคำถามเรื่องจิตอรหันต์นั้น เป็นความสับสนของคำว่า ดับ กับ ไม่จับ
    สำหรับพระสงฆ์ที่กล่าวถึง ท่านก็ใช้คำว่า ย้อมไม่ติด ซึ่งให้ภาพชัดเจนกว่า

    ถ้าพิจารณาไปที่ มรรค ย่อมต้องเห็นอาการของ ขันท์ 5 ที่ยังคงทำงาน ไม่ใช่ไม่ทำงาน
    แต่ส่วนที่เป็นอกุศล(กิเลส) ไม่สามารถแทรก หรือ ย้อมติดจิตได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 มกราคม 2008
  12. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,728
    ค่าพลัง:
    +3,243
    สัมมาทิฏฐิ นี่ ไล่ต่อด้วย สัมมาสังกัปโป นะครับ

    ท่านไปเหมาเอาว่าสมถะส่วนใหญ่ ไม่สัมมาสมาธิ

    เดี๋ยวก็ไปเจอ พวกดำเนินสติส่วนใหญ่ ไม่สัมมาสติหรอกครับ
     
  13. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,728
    ค่าพลัง:
    +3,243
    เอาเป็นว่า สมาธิ ที่ไม่มี สัมมาสติ กำกับ
    ให้ถือเป็น มิจฉาสมาธิ

    เป็นอย่างนี้ คนในโลก จะมีสัมมาทิฏฐิซักกี่คนน้อ...
     
  14. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,801
    ค่าพลัง:
    +7,939
    ขอบคุณครับคุณ บุญยง

    สิ่งที่คุณยกนั้นคงเป็นมรรคผล อันเกิดหลังจาก กระบวนการสิกขา ( สติ สมาธิ ปัญญา -- ตรงนี้ถ้าเขียนให้มีกิจจะ ก็เลยเขียนใหม่เป็น สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาปัญญา )
    แล้วผลจากการทำสิกขาบท คือ มรรค8 ซึ่งเป็นอันจบพรหมจรรย์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มกราคม 2008
  15. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,728
    ค่าพลัง:
    +3,243
    จะดูว่า สัมมาทิฏฐิ แล้วหรือยัง
    ก็ให้ย้อนไปดูว่าเสพส่วนสุด 2 ประการหรือไม่
    ทำอัตตกิลมฐานุโยค หรือเปล่า
    ทำกามสุขัลนุโยค หรือเปล่า
    ถ้าทำอยู่ ก็ไม่มีมรรค
    เมื่อไม่มีมรรค ก็ไม่มีนิโรธ
     
  16. KomAon11

    KomAon11 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    4,803
    ค่าพลัง:
    +18,982
    เพราะแม้จะใช้อรูปฌานทั้ง 4 ก็ยังต้องอธิษฐานด้วยกำลัง รูปฌาน 4 ..ก่อนเข้าอรูปฌาน

    อรูปฌานมันกำลังละเอียดและสูง..ไม่มีความจำเป็นใดๆที่จะต้องใช้ ยกเว้นพวกกำลังใหญ่
     
  17. siratsapon

    siratsapon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    368
    ค่าพลัง:
    +641
    ขอตอบคำถามของคุณ wit ในความเห็นที่ 9 ครับ

    จากคำถามที่ถามมาผมสรุปปัญหาออกมาเป็น 2 ข้อครับ คือ

    1. สัมมาสมาธิที่เกิดขึ้นนี้เป็นสมถะหรือวิปัสสนา และเป็นเพราะอะไร?
    2. สัมมาสมาธิในอริยมรรคสามารถเจริญเพียงแค่สติกับสมาธิโดยละเลยอีก 6 ข้อได้หรือไม่

    ผมขอตอบข้อ 2 ก่อนครับ เพราะเนื้อหาจะต่อเนื่องมาให้ตอบข้อ 1 ครับ

    2. สัมมาสมาธิในอริยมรรคสามารถเจริญเพียงแค่สติกับสมาธิโดยละเลยอีก 6 ข้อได้หรือไม่

    ตอบ เป็นไปไม่ได้ครับ เพราะอะไร? เพราะว่าสัมมาสมาธิของพระอริยะนั้นจะต้องมีองค์ประกอบมาจากองค์มรรคอื่นๆ สืบต่อเนื่องกัน คือ เมื่อประกอบด้วยสัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะจึงพอดีได้ เมื่อประกอบด้วยสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจาจึงพอดีได้ เมื่อประกอบด้วยสัมมาวาจา สัมมาอาชีวะจึงพอดีได้ เมื่อประกอบด้วยสัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะจึงพอดีได้ เมื่อประกอบด้วยสัมมาวายามะ สัมมาสติจึงพอดีได้ เมื่อประกอบด้วยสัมมาสติ สัมมาสมาธิจึงพอดีได้ครับ
    แต่ถ้าหากปฏิบัติเพียงสัมมาสติ กับสัมมาสมาธิโดยไม่มีองค์มรรคอื่นรองรับ การเจริญสติ และสมาธิของคุณนั้นจะกระทำได้ยากครับ เหมือนกับคนที่พยายามจะขี่จักรยานให้เป็นโดยไม่พึ่งพาล้อเล็กๆ สองล้อคอยพยุงก่อนนั่นแหละครับ จะเป็นไปได้ช้า ตรงนี้เราจะเห็นถึงที่พระพุทธเจ้าตรัสเอาไว้อีกในลักษณะหนึ่งว่า ศีลนั้นเป็นฐานแก่สมาธิ สมาธินั้นเป็นฐานแก่ปัญญานั่นเองครับ แม้แต่คนที่จะเจริญสติปัฏฐานสี่เป็นหลักก็ตาม จะปฏิบัติให้สมบูรณ์ได้นั้นพระพุทธเจ้าก็ทรงแนะนำให้มีศีลเป็นพื้นฐานก่อนแล้วจึงเจริญสติปัฏฐานสี่ ซึ่งศีลก็ได้แก่ข้อปฏฺบัติในองค์มรรคเช่นเดียวกัน คือ สัมมากัมมันตะ สัมมาวาจา สัมมาอาชีวะ เป็นพื้นครับ และขณะที่เราเจริญสติไปนั้นก็จะเป็นไปอย่างถูกทาง จะทำให้องค์มรรคต่างๆ พัฒนาขึ้นมาอย่างสมบูรณ์พร้อมกันไปในตัวด้วยครับ ตรงนี้เรียกว่าการเจริญองค์มรรคนั้นมีสัมมาทิฐิเป็นประธาน แต่มีสัมมาสติเป็นตัวนำหน้าครับ

    1. สัมมาสมาธิที่เกิดขึ้นนี้เป็นสมถะหรือวิปัสสนา และเป็นเพราะอะไร?

    ตอบ จากข้อ 2 ที่ตอบไป จะทำให้รู้ว่าสัมมาสมาธิเป็นทั้งสมถะและวิปัสสนาครับ เพราะว่าจะต้องอาศัยการฝึกฝนทั้งในของสมถะ และวิปัสสนาควบคู่กันไป เช่น ขณะที่เรามีสติรู้ว่าความคิดที่เกิดขึ้นนี้เป็นมิจฉาสังกัปปะ ความรู้ที่เกิดขึ้นของเรานี้เป็นสัมมาทิฐิ และสติที่เกิดขึ้นขณะนี้ก็จะเป็นสัมมาสติ และการที่เราพยายามละมิจฉาสัปปะที่เกิดขึ้นนี้อยู่ เป็นสัมมาวายามะ และขณะจิตที่เราจดจ่ออยู่กับการเจริญสัมมาสังกัปปะอยู่-พยายามละมิจฉาสังกัปปะอยู่สมาธิของเราก็จะเป็นสัมมาสมาธิ เป็นต้น ซึ่งการปฏิบัตินี้เราจะใช้ตอนเดินจงกรม หรือตอนนั่งสมาธิ หรือตอนทำกิจการงานก็ได้ เพราะเมื่อถึงคราวที่ผู้ปฏิบัติสำเร็จจนเป็นฌานอันมีพื้นฐาน มีองค์ประกอบมาจากองค์มรรคต่างๆ ทั้ง 7 ข้อเบื้องต้น จะทำให้สมาธิที่ได้นี้เป็นสัมมาสมาธิอันบริสุทธิ์ เป็นสัมมาสมาธิของพระอริยะ แต่หากเราไปฝึกสมาธิอย่างเดียวจนบรรลุฌาน โดยไม่มีองค์มรรคต่างๆ รองรับสมาธิที่ได้นั้นจะไม่ใช่สัมมาสมาธิของพระอริยะ จะเป็นสมาธิที่เป็นของพวกฤาษีชีไพรเคยทำกันครับ จัดไม่จัดว่าเป็นสัมมาสมาธิ
     
  18. วิทย์

    วิทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,036
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,439
    สาธุ....ขออนุโมทนาด้วยครับคุณ siratsapon ชัดเจนครับ _/l\_ และก็ขอขอบคุณคำตอบของท่านอื่นๆด้วยนะครับ
     
  19. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,801
    ค่าพลัง:
    +7,939
    กลับมาพิจารณาธรรมบรรยายของคุณ siratsapon

    ก็ทำให้เข้าใจว่าทำไมหลายท่านจึงหยิบ มรรค มาอธิบายวิธีการปฏิบัติ
    ก่อนหน้านี้เราไม่เข้าใจ ถึงแม้ มรรค จะแปลว่าปฏิปทาในการดับทุกข์
    แต่เราอ่านแล้วติดขัด เลย นิยมใช้ไตรสิกขา ศีล สมาธิ ปัญญา นำการอธิบาย
    เพราะมันให้ทิศทางการศึกษาที่เป็นลำดับมากกว่า
    เหตุเพราะว่า มรรค นั้นถ้าจะอธิบาย ต้องอธิบายให้ครบองค์ในกระแสความเดียว
    ถ้าไม่อธิบายให้ครบองค์ เรามีความรู้สึกว่า เป็น มรรค ที่พร่อง( หนทางที่ขาดๆเกินๆ )
    พระบางท่านก็อธิบายปฏิปทาว่า มรรค 4 บ้าง มรรค 7 บ้าง เป็นหนทาง
    ก็สับสน

    แต่คุณ siratsapon อธิบายได้ครบองค์ทีเดียว 8 แถมเรียบง่าย

    ขอชื่นชมครับ
     
  20. siratsapon

    siratsapon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    368
    ค่าพลัง:
    +641
    คุณเล่าปัง ชื่นชมแล้วครับ...

    ผมเองไม่ใช่ผู้รู้อะไร ผมเพียงแต่ถ่ายทอดธรรมะของพระพุทธเจ้าออกไปเท่านั้นครับ

    ข้อธรรมเหล่าใดล้วนได้จากธรรมะแห่งพระพุทธเจ้าที่ตรัสไว้ดีแล้ว ประสบการณ์เหล่าใดล้วนได้จากการปฏิบัติตามธรรมะแห่งพระองค์ตรัสไว้ดีแล้วเท่านั้นครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...