การบริจาคเลือด , ดวงตา , อวัยวะ , ร่างกาย ให้สภากาชาดไทย

ในห้อง 'ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์และสัตว์' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 มีนาคม 2006.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    'บริจาคอวัยวะ' บุญยิ่งใหญ่...ให้ชีวิตใหม่พ้นทุกข์
    http://www.dailynews.co.th/web/html/...e=1&Template=1

    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=messageblack vAlign=center align=middle height=20></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=messageblack vAlign=center align=middle height=20></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=messageblack vAlign=center align=middle height=20></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=messageblack vAlign=center align=middle height=20></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    เป็นที่ทราบกันสำหรับความสำคัญของอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายและจากปัจจุบันที่มีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยต้องทุกข์ทรมานจากการที่อวัยวะสำคัญไม่ว่าจะเป็น หัวใจ ตับ ไต ปอด ฯลฯ ไม่สามารถทำงานตามปกติได้

    การปลูกถ่ายอวัยวะ เป็นวิธีการรักษาที่จะช่วยต่อชีวิตใหม่ให้แก่ผู้ป่วยที่หมดหวังรักษาด้วยวิธีการอื่น ๆ ให้มีชีวิตอยู่ต่อไปได้ซึ่งปัจจัยสำคัญในการรักษานี้คือ การให้ได้มาซึ่งอวัยวะบริจาคจากผู้เสียชีวิต ทั้งนี้เพราะการบริจาค อวัยวะของผู้มีจิตศรัทธาสามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยให้มีคุณภาพชีวิต ที่ดีกว่าเดิม

    จากการคาดคะเนในประเทศไทยแต่ละปีมีผู้เสียชีวิต ที่อยู่ในเกณฑ์บริจาคอวัยวะได้เกือบสองพันคน แต่ในความเป็นจริงยังมีข้อจำกัดในการนำอวัยวะบริจาคจากผู้เสียชีวิตมาใช้รักษาผู้ป่วยอยู่ไม่น้อย ซึ่งอุปสรรคสำคัญคือ การขาดความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการบริจาคอวัยวะภายหลังเสียชีวิต

    จากที่ผ่านมา สภากาชาดไทย องค์กรกลางการกุศลได้ให้ความช่วยเหลือโดยเป็นศูนย์กลางดำเนินการเสนอโครงการ จัดตั้งศูนย์รับบริจาคอวัยวะแห่งสภากาชาดไทย ขึ้น โดยในปี พ.ศ. 2536 สภากาชาดไทยได้จัดตั้งศูนย์รับบริจาคอวัยวะและในปีต่อมาได้จัดหาสถานที่ ทำการของศูนย์ฯ โดยตั้งอยู่ ณ ตึกกองอาสากาชาด ถนนราชดำริ จากนั้นย้ายที่ทำการมายังชั้น 5 อาคารเทิดพระเกียรติสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) ถนนอังรีดูนังต์ และจากปี พ.ศ. 2537 ที่เริ่มปฏิบัติงานมาจวบปัจจุบันศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย ครบรอบ 15 ปี อีกทั้งในวันนี้ยังเป็นวันศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย

    ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทยได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชนร่วมกันให้ความรู้ สร้างความเข้าใจการบริจาคอวัยวะทั้งในเรื่อง สมองตาย ซึ่งใช้เป็นเกณฑ์ตัดสินการเสียชีวิต การจัดระบบการจัดสรรอวัยวะอย่างเป็นธรรม ตลอดจนรณรงค์ประชาชนในสังคมให้เกิดความเข้าใจถูกต้อง สร้างการรับรู้เข้าใจเกี่ยวกับการบริจาคอวัยวะ นายแพทย์วิศิษฏ์ ฐิตวัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย เล่าถึงจำนวนผู้รอรับการบริจาค พร้อมให้ความรู้การบริจาค อวัยวะให้ชีวิตใหม่ช่วยเหลือผู้ป่วยว่า จากจำนวน ผู้รอรับบริจาคอวัยวะที่ขึ้นทะเบียนไว้กับศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย ซึ่งในเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ มีจำนวนรวมกว่าสองพันราย โดย มีจำนวนผู้รอรับบริจาคไตมาก ที่สุด รองลงมาได้แก่ ตับ หัวใจและปอด ฯลฯ

    ขณะที่โอกาสการได้รับ บริจาคอวัยวะยังคงมีไม่มากเพียงแค่ 36 รายซึ่งคิดเป็นสัดส่วน ระหว่างจำนวนผู้ลงทะเบียนขอรับบริจาคอวัยวะกับจำนวนผู้ได้รับ บริจาคอวัยวะอยู่ในระดับแค่ร้อยละ 1.5 และแนวโน้มคาดว่าจะมีจำนวนผู้ขอรับบริจาคเพิ่มขึ้น

    การบริจาคอวัยวะนอกจากจะช่วยชีวิต ให้ชีวิตใหม่แก่ ผู้ป่วยแล้วยังช่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ศูนย์รับบริจาคอวัยวะฯ มีนโยบายส่งเสริมสนับสนุนให้มีการบริจาคอวัยวะให้มากเพียงพอต่อการปลูกถ่ายอวัยวะภายในประเทศ จัดสรรอวัยวะที่ได้รับบริจาคอย่างเป็นกลางเสมอภาค โดยไม่มีการซื้อขายอวัยวะและให้ได้รับประโยชน์สูงสุดต่อการนำอวัยวะต่าง ๆ ไปใช้
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ขาดแคลน อาจารย์ใหญ่ ญาติแจ้งช้าศพเน่า ไม่ทันสอน

    �Ҩ�����˭� �ԡĵ�Ҵ��Ź Ⱦ�Ҩ�����˭� ������͹

    ที่มา กระปุก


    [​IMG]


    วิกฤตขาดแคลน"อาจารย์ใหญ่" ญาติแจ้งช้า"ศพเน่า"ไม่ทันใช้สอน มอ.สงขลาหวั่นไฟใต้ไม่กล้าไปรับ (มติชนออนไลน์)

    จุฬาฯ ชี้วิกฤต"อาจารย์ใหญ่" เหตุหนึ่งมาจากญาติแจ้งช้า ทำให้ศพเน่าใช้การไม่ได้ แนะให้ใช้น้ำแข็งวางช่องท้อง "พระมงกุฎ"เฉลี่ยรับปีละ 20 ร่าง ให้นักเรียนศึกษา 6:1 มอ.สงขลาเจอปัญหาความไม่สงบภาคใต้ ไม่กล้าออกไปรับศพบริจาค

    <STYLE disabled></STYLE>จากกรณีข่าวเกิดวิกฤต "อาจารย์ใหญ่" ขาดแคลน อันเนื่องมาจากตัวเลขการบริจาคร่างไร้วิญญาณที่พร้อมจะให้นิสิต นักศึกษาแพทย์ แพทย์ฝึกหัด รวมทั้งอาจารย์แพทย์ใช้เป็นตำราเรียนเริ่มลดน้อยลงทุกๆ ปี จนไม่เพียงพอต่อความต้องการ ส่งผลกระทบกับการเรียนการสอนวิชาแพทย์หลายสถาบันนั้น

    เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม รศ.นพ.ธันวา ตันสถิตย์ หัวหน้าภาควิชากายวิภาคศาสตร์ ผู้อำนวยการศูนย์การฝึกผ่าตัด คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า อีกปัญหาที่ทำให้ขาดแคลนอาจารย์ใหญ่ เกิดจากเมื่อผู้ที่แสดงความจำนงบริจาคร่างกายเสียชีวิต ญาติติดต่อแจ้งมายังศูนย์บริจาคร่างกายล่าช้า ทำให้ศพเน่าและไม่สามารถนำมาใช้ได้

    "ร่างกายของมนุษย์เมื่อเสียชีวิต ส่วนที่เน่าเร็วที่สุดคือ ช่องท้อง หากแจ้งบริจาคร่างกายช้ากว่า 12-18 ชั่วโมง ร่างจะไม่สามารถใช้ได้ ดังนั้น หากมีการเสียชีวิตเกิดขึ้น ญาติควรรีบแจ้งมายังศูนย์ฯ ทันทีภายใน 12-18 ชั่วโมง โดยไม่ต้องรอใบมรณะบัตรจากอำเภอ ขอเพียงใบชันสูตรของตำรวจหรือแพทย์ผู้ตรวจศพก็พอ เพราะหากข้ามวัน ร่างจะเริ่มเน่าทำให้คุณภาพของอาจารย์ใหญ่ไม่ค่อยดี และระหว่างที่รอให้เจ้าหน้าที่ไปรับศพให้นำถุงน้ำแข็งวางบริเวณท้องน้อยของศพ การทำเช่นนี้จะช่วยทำให้ศพเน่าช้าลง" รศ.นพ.ธันวา กล่าว และว่า อาจารย์ใหญ่จะได้รับการแสดงความเคารพจากคณาจารย์และนิสิตแพทย์อย่างสมเกียรติ ที่สำคัญเมื่อเรียนจบ 1 ปี ร่างอาจารย์ใหญ่ยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณ ในการจัดพิธีพระราชทานเพลิงศพเป็นกรณีพิเศษด้วย โดยญาติไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น

    ด้าน พ.อ.มานพ ชัยมัติ อาจารย์ประจำภาควิชากายวิภาคศาสตร์ กองการศึกษา วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์พระมงกุฎเกล้า กล่าวว่า ตัวเลขการบริจาคร่างอาจารย์ใหญ่ในส่วนของวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์พระมงกุฎเกล้า ถือว่าไม่มาก แต่ละปีจะเฉลี่ยอยู่ที่ 20 ร่าง โดยนักศึกษาแพทย์จะใช้เรียนในสัดส่วนนักเรียนแพทย์ 6 คนต่ออาจารย์ใหญ่ 1 ร่าง และจะใช้เรียนตลอดทั้งปี ส่วนแพทย์ฝึกหัดผ่าตัดจะมีร่างอาจารย์ใหญ่เพียง 2 ร่างต่อปี ซึ่งดูจากตัวเลขถือว่าค่อนข้างน้อย

    "สาเหตุที่คนบริจาคร่างอาจารย์ใหญ่เข้ามาน้อย อาจจะสรุปได้ลำบาก แต่ส่วนหนึ่งคือ วิทยาการทางการแพทย์ก้าวหน้ามากขึ้น ทำให้คนมีอายุยืนยาวขึ้น บางคนแจ้งความจำนงค์บริจาคร่างกายตอนอายุ 40 ปี แต่เสียชีวิตตอนอายุ 80 ปี ทำให้จำนวนอาจารย์ใหญ่ที่จะได้รับมาแต่ละปีจึงมีไม่มาก บางปีหากขาดแคลนอาจารย์ใหญ่จริงๆ คงต้องติดขอไปยังคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เนื่องจากมีร่างอาจารย์ใหญ่ค่อนข้างมาก" พ.อ.มานพ กล่าว

    ผศ.พรพิมล คีรีรัตน์ หัวหน้าภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(มอ.) เปิดเผยว่า มอ.สงขลา ประสบปัญหาอาจารย์ใหญ่ไม่พอเช่นกัน แต่ละปีจะมีอาจารย์ใหญ่ 40-50 ร่างในการเรียนการสอน ซึ่งถือว่าไม่เพียงพอ แต่ไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพการเรียนการสอน เพียงทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้จริงไม่ทั่วถึง ซึ่งได้แก้ปัญหาโดยให้นักศึกษาจัดกลุ่มให้เยอะขึ้นตามจำนวนอาจารย์ใหญ่ที่มี หากเป็นไปได้ น่าจะมีอาจารย์เพิ่มอีกปีละ 10 ร่าง จะทำให้การเรียนการสอนของนักศึกษาทั่วถึงมากขึ้น แต่ปีใดที่มีร่างอาจารย์ใหญ่น้อยกว่านี้ ก็จะขอความอนุเคราะห์ไปยังโรงพยาบาลศิริราช ขอร่างอาจารย์ใหญ่มาเสริม ทั้งนี้ช่วงหลายปีที่ผ่านมามีประชาชนจาก 14 จังหวัดภาคใต้แสดงความจำนงค์บริจาคร่างเป็นอาจารย์ใหญ่เพิ่มมากขึ้น โดยขณะนี้มีกว่า 6,000 ราย

    "ปัญหาอย่างหนึ่งที่ทำให้เรามีอาจารย์ใหญ่น้อย เนื่องจากสถานการณ์ไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำให้เราไม่กล้าจัดส่งเจ้าหน้าที่ไปรับร่างของอาจารย์" ผศ.พรพิมล กล่าว

    พญ.ผาสุก มหรรฆานุเคราะห์ หัวหน้าภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) กล่าวว่า แต่ละปีการศึกษา คณะแพทยศาสตร์ มช.ต้องใช้อาจารย์ใหญ่ประมาณ 300 ร่าง แต่ไม่ประสบปัญหาไม่เพียงพอ โดยหลังจากโรงพยาบาลได้รับศพของผู้อุทิศร่างกายก็จะนำมาฉีดน้ำยารักษาศพ และนำศพลงแช่ในน้ำยาอีกครั้ง ใช้เวลา 2 ปี จึงจะนำขึ้นมาเพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้ หรือเพื่อทำโครงกระดูกไว้ศึกษา

    พญ.ผาสุก กล่าวว่า ที่ผ่านมาได้รับการอนุเคราะห์จากผู้มีกุศลจิตบริจาคร่างกายอย่างต่อเนื่อง ทำให้รถยนต์ที่ใช้ในการเดินทางไปรับร่างอาจารย์ใหญ่มีสภาพทรุดโทรม จึงตั้งกองทุนเพื่อจัดซื้อรถยนต์รับร่างอาจารย์ใหญ่ ผู้มีจิตศรัทธาสามารถติดต่อสมทบทุนได้ที่ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มช.โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เช่นเดียวกับการติดต่อขออุทิศร่างกาย หรือติดต่อได้ที่โทร. 0-5394-5312 หรือโอนเงินผ่านบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาคณะแทยศาสตร์ มช.เลขที่บัญชี 566-477327-3 ชื่อบัญชีรถรับร่างอาจารย์ใหญ่

    รศ.พรทิพย์ บุญเรืองศรี อาจารย์ประจำภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น(มข.) กล่าวว่า ตั้งแต่ปี 2516 จนถึงปัจจุบัน มีผู้ศรัทธาลงทะเบียนบริจาคร่างกาย ปีละประมาณ 1,000 - 2,000 ราย ขณะนี้มีรายชื่อผู้บริจาคอยู่เกือบ 40,000 ราย แต่ไม่ได้หมายความว่า มีอาจารย์ใหญ่เข้ามาให้นักศึกษาได้เรียนรู้ทั้งหมด เนื่องจากผู้บริจาคยังไม่เสียชีวิต และบางรายที่เสียชีวิตก็มีข้อจำกัดไม่สามารถนำร่างมาใช้ประกอบการเรียนการสอนได้ เช่น เสียชีวิตจากโรคติดต่อร้ายแรง เสียชีวิตจากอุบัติเหตุและอวัยวะส่วนใหญ่ได้รับความเสียหาย

    "มีสถาบันการศึกษาหลายแห่งติดต่อขอให้ภาควิชาฯ ส่งร่างของอาจารย์ใหญ่ เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอน เช่น มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก มหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขตลำปาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จ.นครราชสีมา มหาวิทยาลัยมหิดล รวมทั้งการนำอาจารย์ใหญ่มาใช้ในงานวิจัยทางวิชาการ เนื่องจากทางภาควิชาฯ มีความพร้อมและมีการจัดการที่ดี" รศ.พรทิพย์ กล่าว



    ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก มติชน
    [​IMG]

    http://palungjit.org/threads/พระวัง...้าต้องการที่จะได้.22445/page-1548#post2126184
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    กาชาดไทยปรับมาตรการ คัดเลือกผู้บริจาคโลหิตใหม่

    ������ ��ҡҪҴ��� ��Ѻ�ҵá�� �Ѵ���͡�����ԨҤ���Ե����

    ที่มา กระปุก



    [​IMG]



    คุณปู่วัย 70 บริจาคโลหิตได้แล้ว (กรุงเทพธุรกิจ)

    สภากาชาดไทยปรับมาตรการคัดเลือกผู้บริจาคโลหิตใหม่ เพิ่มอายุบริจาคได้ถึง 70 ปี จากเดิมหยุดแค่ 60 ปี บ่งชี้ว่าคนไทยสุขภาพแข็งแรงมากขึ้น

    สภากาชาดไทยแจ้งถึงมาตรการใหม่ในการคัดเลือกและดูแลผู้บริจาคโลหิต โดยได้ปรับเปลี่ยนคุณสมบัติของผู้บริจาคโลหิต จากเดิมอายุผู้ที่สามารถบริจาคโลหิตได้จะต้องมีอายุ 17-60 ปี เปลี่ยนเป็น 17 ปีบริบูรณ์ – 70 ปี​

    ผู้ที่มีอายุ 17 ปี ไม่ถึง 18 ปี จะต้องได้รับการลงนามในหนังสือยินยอมจากผู้ปกครอง เพื่อให้รับทราบ และอนุญาตให้บริจาคโลหิตได้ ส่วนผู้ที่บริจาคโลหิตมาจนถึงอายุ 60 ปี จากเดิมจะต้องหยุดบริจาค หากต้องการบริจาคโลหิตต่อไปจนถึงอายุ 70 ปี จะต้องมีใบรับรองแพทย์ว่าสามารถบริจาคโลหิตได้​

    นอกจากนี้ยังปรับเปลี่ยนแบบสอบถามในการคัดเลือกผู้บริจาคโลหิตใหม่ ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศและมีความครอบคลุมเพิ่มมากขึ้น โดยเพิ่มเติมคำถามเรื่องของพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ ในข้อ 12 เป็น 4 ข้อย่อย โดยมิได้เฉพาะเจาะจงบุคคลหรืออาชีพใด

    หากผู้บริจาคโลหิตไม่แน่ใจ หรือสงสัยว่าอาจมีพฤติกรรมเสี่ยง จำเป็นต้องงดการรับบริจาคโลหิตอย่างถาวร จากเดิมที่ถามเพียงว่ามีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศที่เป็นเพศเดียวกันหรือไม่ ข้อ 13 สำหรับผู้ที่เคยเจ็บป่วยรับโลหิตที่ประเทศอังกฤษระหว่างปี 2523-2539 และข้อ 14 ผู้ที่เคยพำนักอยู่ในประเทศอังกฤษระหว่างปีดังกล่าวเป็นระยะเวลา 6 เดือนขึ้นไป จำเป็นต้อง "งด" รับบริจาคโลหิตอย่างถาวร เช่นเดียวกัน เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่มีการแพร่ระบาดของโรควัวบ้าในอังกฤษ และมีรายงานการติดเชื้อวัวบ้าจากการรับโลหิต ทั้งนี้ ได้เริ่มใช้แล้วในศูนย์บริการโลหิตฯ ส่วนกลาง และจะครอบคลุมทั้งประเทศไม่เกินปีนี้​

    ในส่วนของการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เจ้าหน้าที่ที่คัดกรองผู้บริจาคโลหิต จะซักประวัติการเดินทางมาจากประเทศที่มีการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าว เพราะหากเดินทางกลับมาภายใน 15 วัน ก็คงแนะนำว่า ให้งดบริจาคโลหิตก่อน เพื่อดูอาการป่วย ทั้งนี้โรคดังกล่าวเป็นโรคที่ระบาดมาเร็วไปเร็ว อาการไม่ค้างอยู่ในผู้ป่วยนาน จึงไม่จำเป็นต้องระบุข้อคัดกรองในแบบสอบถามแต่อย่างใด​

    สภากาชาดไทยได้ตั้งเป้าในปี 2558 ให้จัดหาผู้บริจาคโลหิตด้วยความสมัครใจ 100% เนื่องจากปัจจุบันจำนวนผู้สมัครใจมาบริจาคอยู่ประมาณ 93% ที่เหลือจะเป็นกรณีที่สถานพยาบาลไม่สามารถหาโลหิตได้ทัน จึงจำเป็นต้องมีการซื้อขายโลหิต โดยให้ค่าตอบแทนกับผู้ที่จะมาบริจาค ขณะนี้มีประมาณ 0.2% จากที่เมื่อ 30 ปีที่แล้วมีประมาณ 50%

    ส่วนการบริจาคโลหิตโดยญาติของผู้ป่วยเอง มีประมาณ 7-10% จำเป็นจะต้องมาพิจารณาอีกครั้งว่า ในจำนวนนี้เป็นญาติจริงหรือญาติแฝง แล้วแอบมีการซื้อขายโลหิต ทั้งนี้ สิ่งที่สภากาชาดต้องดำเนินการ คือ เมื่อผู้ป่วยต้องการโลหิตสามารถนำไปมอบให้ได้ทันที โดยไม่ต้องประกาศฉุกเฉินระดมผู้บริจาคโลหิตหรือมีการซื้อขายโลหิต​

    ติดต่อสอบถามและขอรับเอกสารความรู้ เกี่ยวกับการบริจาคโลหิต ได้ที่โทร. 0 2256 4300, 0 2263 9600 ต่อ 1760 หรือ www.blooddonationthai.com

    ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
    [​IMG]
    โดย : พวงชมพู ประเสริฐ​
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>เตรียมพร้อมอย่างไรก่อนบริจาคโลหิต
    Quality of Life - Manager Online

    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>7 มกราคม 2553 09:20 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=330 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=330> [​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>บทความโดย : รศ.พญ.ศศิจิต เวชแพศย์ ภาควิชาเวชศาสตร์การธนาคารเลือด

    คำว่า “โลหิต” อาจฟังดูน่าหวาดเสียว และน่ากลัวสำหรับคนบางคน แต่สำหรับโรงพยาบาลแล้ว โลหิตเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญในการรักษาผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยผ่าตัด ผู้ป่วยโรคเลือด ผู้ป่วยมะเร็ง รวมทั้งการรักษาหลายๆ อย่างในปัจจุบันนี้ จะไม่สามารถทำได้หากไม่มี

    โลหิตมีความสำคัญอย่างไร

    ในร่างกายคนเรามีเลือดไหลเวียนอยู่ในตัว เพื่อทำหน้าที่ลำเลียงอาหาร สารน้ำ ออกซิเจนไปทั่วร่างกาย ขณะเดียวกันก็นำสารพิษ ของเสีย และคาร์บอนไดออกไซด์จากส่วนต่าง ๆ เพื่อนำไปกำจัดออกจากร่างกายเพื่อให้ร่างกายทำหน้าที่ได้อย่างปกติ ในเลือดมีทั้งของเหลว (ส่วนน้ำ) และเซลล์ชนิดต่าง ๆ ซึ่งมีหน้าที่ต่าง ๆ กัน กล่าวคือ

    เม็ดเลือดแดง ทำหน้าที่ นำออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อ และนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เนื้อเยื่อออกไปขับถ่าย เม็ดเลือดแดงมีปริมาณประมาณร้อยละ 40 – 45 ของเลือดทั้งหมด และมีอายุเพียง 120 วัน

    เม็ดเลือดขาว ทำหน้าที่ ให้ภูมิคุ้มกันเหมือนทหาร ปกป้องเชื้อโรคในร่างกาย มีปริมาณประมาณ 1% ของเลือด
    เกร็ดเลือดทำหน้าที่ช่วยให้เลือดแข็งตัว มีลักษณะเป็นชิ้นส่วนของเซลล์ขนาดเล็ก มีอยู่ประมาณ 5% ของเลือด

    พลาสมา เป็นสารน้ำสีเหลือง มีโปรตีน เกลือแร่ ไขมัน ฮอร์โมน ไวตามิน มีปริมาณร้อยละ 55 ของเลือด

    ประเภทของหมู่โลหิต (กรุ๊ปเลือด)
    โลหิตที่อยู่ในคนไทยเรา แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ 1. หมู่โอ พบได้ประมาณร้อยละ 38 , 2. หมู่เอ พบร้อยละ 21, 3. หมู่บี พบร้อยละ 34 และ4. หมู่เอบีพบร้อยละ 7

    นอกจากนี้ในหมู่เลือด เอ บี โอ แต่ละชนิด จะพบว่าประมาณ 1 ถึง 3 คน ในจำนวนประชากร 1,000 คน จะมีหมู่เลือดอาร์เอ็ชลบ ซึ่งเป็น หมู่โลหิตที่หายากหรือหมู่โลหิตพิเศษ เท่าที่พบมา เราพบว่าหมู่โลหิตโอ เป็นหมู่โลหิตที่หาง่าย เมื่อเทียบกับหมู่โลหิตประเภทอื่นที่บริจาคกันเข้ามา สำหรับผู้ที่ไม่เคยบริจาคโลหิตมาก่อน แต่อยากช่วยเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ไม่ยากเลยค่ะ


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400> [​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>คุณสมบัติของผู้บริจาคโลหิต
    เป็นผู้มีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว อายุ 18 – 60 ปี น้ำหนักตั้งแต่ 45 กิโลกรัมขึ้นไป ไม่อยู่ในระหว่างรับประทานยาปฏิชีวนะ ยาป้องกันเลือดแข็งตัวและฮอร์โมนเพศ ไม่มีประวัติเป็นโรคมาลาเรียในระยะเวลา 3 ปี ไม่ได้รับการถอนฟันหรือขูดหินปูน ภายใน 72 ชั่วโมงก่อนบริจาคเลือด ไม่มีบาดแผลสด หรือแผลติดเชื้อใดๆ ตามร่างกาย ผู้หญิงที่ไม่อยู่ในระยะตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

    ใครบ้างที่ไม่สามารถบริจาคโลหิตได้
    ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ โรคปอด มะเร็ง ลมชัก โรคเลือดออกง่ายแต่หยุดยาก ผู้ที่เป็นหรือเคยเป็นไวรัสตับอักเสบบีหรือคู่ครอง(สามีหรือภรรยา)เป็นไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับ อักเสบซี รวมทั้งผู้ติดเชื้อเอสไอวีหรือซิฟิลิส ผู้เสพยาเสพติดชนิดใช้เข็มฉีดยา ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ มีคู่นอนหลายคนหรือเปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ ผู้ชายมีเพศสัมพันธ์กับชาย น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ มีต่อมน้ำเหลืองตามร่างกายโตหรือมีไข้โดยไม่ทราบสาเหตุ

    เตรียมพร้อมอย่างไรก่อนบริจาคโลหิต

    การเตรียมตัวก่อนบริจาคโลหิต
    เพื่อมิให้ผู้บริจาคโลหิตอ่อนเพลียมากหลังบริจาคโลหิต ผู้บริจาคโลหิตจึงควรเตรียมตัวก่อนบริจาคโลหิต 1 – 2 วัน ควรดื่มน้ำมากๆ เพื่อให้ร่างกายสดชื่น เลือดไหลเวียนดี งดดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ไม่ควรเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายที่ต้องเสียเหงื่อมากก่อนบริจาคโลหิต 1 วัน รับประทานอาหารก่อนบริจาคโลหิตประมาณ 4 ชั่วโมงนอนหลับพักผ่อนเพียงพอประมาณ 6 ชั่วโมง

    แต่ละครั้งโรงพยาบาลต้องการโลหิตประมาณ 350 – 450 ซีซี / คน ซึ่งปริมาณจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวของผู้บริจาค และเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับโลหิตที่ปลอดภัย โลหิตที่ได้จะต้องผ่านกระบวนการทดสอบก่อนนำไปให้ผู้ป่วยคือ ตรวจหาไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี ซิฟิลิส และตรวจหาไวรัสเอดส์

    รับประทานอะไรหลังบริจาคโลหิต
    หลังการบริจาคโลหิตเสร็จแล้ว ควรนั่งพักประมาณ 10 -15 นาที รับประทานขนมหรืออาหารว่าง ดื่มน้ำ/เครื่องดื่ม 1-2 แก้ว แล้วรับประทานอาหารตามปกติ ไม่ควรงดอาหาร โดยเฉพาะอาหารประเภทเนื้อสัตว์ต่างๆ ตับ ไข่ เลือดหมู เลือดไก่ ผักใบเขียวและผักที่มีสีเหลือง งดสูบบุหรี่หลังบริจาคโลหิตอย่างน้อย ? ชั่วโมง งดดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และถ้าจะดื่ม ผู้บริจาคโลหิตควรรับประทานอาหารให้มากพอก่อนดื่มสุราหรือแอลกอฮอล์

    เห็นไหมคะว่า หากมีการเตรียมพร้อมก่อนมาบริจาคโลหิตก็ไม่ใช่เรื่องยากเลย เมื่อคุณบริจาคโลหิตไปแล้วเท่ากับคุณได้กระตุ้นร่างกายให้สร้างเม็ดเลือดแดงขึ้นมาใหม่ (เม็ดเลือดแดงมีอายุประมาณ 120 วัน) มีผลให้สุขภาพแข็งแรงยิ่งขึ้น สำหรับผู้หญิงสามารถบริจาคได้ทุก 6 เดือน ส่วนผู้ชายบริจาคได้ทุก 3 เดือน

    คุณเป็นผู้หนึ่งที่สามารถช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ได้ มาร่วมบริจาคโลหิตกับโรงพยาบาลศิริราชได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ที่ห้องรับบริจาคเลือด ตึก 72 ปี ชั้น 3 นอกจากนี้ยังมีหน่วยรับบริจาคโลหิตเคลื่อนที่ทุกวันจันทร์ – วันศุกร์ ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล สอบถามรายละเอียดและนัดหมายล่วงหน้าได้ที่ โทร. 02-419 8081 ต่อ 110

    เลือดท่านเพียงน้อยนิด ช่วยชีวิตผู้ป่วยได้

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    --------------------------------------------
    ศิริราชจัดกิจกรรมเพื่อคุณ

    วันเด็กปีนี้ พิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราช จัดกิจกรรมต้อนรับหนูน้อย ในงาน “ตัวน้อยรักษ์โลก” อิ่มฟรี! สนุกกับกิจกรรมมากมาย อย่าพลาด 9 ม.ค. 53 ที่ตึกอดุลยเดชวิกรม ชั้น 2 รพ.ศิริราช เวลา 09.00 – 16.00 น.

    สมาคมศิษย์เก่าแพทย์ศิริราช ขอเชิญแพทย์ศิริราชทุกรุ่นร่วมงานราตรีคืนสู่เหย้า Home coming day วันเสาร์ที่ 16 ม.ค.53 เวลา 17.00 – 22.30 น. ณ บริเวณสนามหญ้าหอประชุมราชแพทยาลัย รพ.ศิริราช สอบถามได้ที่ โทร. 0 2419 8518, 085 1999314
     
  6. 9046

    9046 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    487
    ค่าพลัง:
    +2,503
    กระผมก็บริจาค ไปทั้งร่างกายแล้วครับ
    เพราะว่าเราตายแล้ว
    ร่างกายของเราก็ประดุจดั่งท่อนไม้และท่อนฟืน
    หาประโยนช์มิได้ ให้คนอื่นนำไปใช้เป็นประโยนช์ต่อไปดีกว่าครับ
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>ขอบคุณความเป็นผู้ให้...จากใจจริง
    /เรื่องเล่านิสิตแพทย์
    Campus - Manager Online
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>10 มกราคม 2553 15:16 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>เรื่องเล่านักศึกษาคอลัมน์นี้ Life on campus พาไปฟังเรื่องราวของ นิสิตรั้วจามจุรี ต่อ หนึ่งภารกิจการเรียนรู้ที่ใครหลายคนอาจจะขนลุกขนพอง หากไม่เคยได้สัมผัส กับ การผ่าร่างอาจารย์ใหญ่ เรื่องราวความรู้สึกและประสบการณ์นี้จะถูกถ่ายทอดโดย 1 ใน 300 นิสิตแพทย์รั้วจามจุรีที่ได้ร่วมเรียนรู้บนเรือนร่างไร้ลมหายใจของอาจารย์ใหญ่ผู้เสียสละ


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>ตึก ตึก ตึก ตึก...
    ฉันย่ำเท้าออกมาจากหอยูเซนเตอร์ หอพักนิสิตรั้วจามจุรีที่คุ้นเคยหลังจากใช้ชีวิตอยู่มาเป็นปีที่ 2 วันนี้เป็นเช้าวันเสาร์ที่อากาศแจ่มใส แต่ฉันต้องแต่งชุดนิสิตเดินมุ่งหน้าไปคณะทั้งที่เข็มนาฬิกาบอกเวลาว่ายังไม่ถึงแปดนาฬิกา ขณะที่เดินเข้าไปในรั้วจุฬาฯใหญ่ ก็พลันเห็นป้ายคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ฉันแอบนึกอิจฉาเพื่อนต่างคณะที่ป่านนี้คงนอนหลับกันอย่างสบายในห้องแอร์เย็นฉ่ำ แต่ฉันกลับต้องไปผ่ากรอสในห้องแอร์เย็นเฉียบ

    "ผ่าอาจารย์ใหญ่ไม่กลัวหรอ" ฉันนึกถึงบทสนทนาที่เพื่อนๆ และใครหลายๆ คนก็มักจะถามฉันอยู่เป็นประจำ

    "ไม่กลัวหรอกค่ะ อาจารย์ใหญ่ท่านมีจิตประสงค์ดี" ฉันตอบพร้อมกับรอยยิ้มทุกครั้งโดยไม่สนใจความฉงนบนใบหน้าของผู้ถาม
    จริงอยู่ว่าสิ่งที่พวกเราศึกษาอยู่นั้นคือ 'ศพ' แต่สำหรับอาจารย์ใหญ่ ท่านไม่ได้เป็นศพที่เป็นเพียงร่างไร้วิญญาณ รอการฌาปนกิจตามหลักศาสนาเท่านั้น แต่ท่านเป็น 'ศพ' ที่เปี่ยมไปด้วยจิตศรัทธาของความเป็นผู้ให้...ให้โดยไม่หวังผลตอบแทน
    หลายคนคิดว่า ความตายคือสิ่งสุดท้ายของชีวิต เพราะเมื่อความรู้สึกนึกคิดของวิญญาณออกจากร่างแล้ว ก้อนเนื้อที่ถูกปกคลุมด้วยผิวหนังร่างนั้น สุดท้ายก็ต้องกลายเป็นผงเถ้าธุลีไปเหมือนๆ กัน

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>แต่ฉันเชื่อว่าอาจารย์ใหญ่แต่ละท่านไม่ได้คิดแบบนั้นแน่นอน
    เพราะความตายไม่ใช่ปลายทาง แต่กำลังจะเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ให้แก่นิสิตแพทย์เกือบ ๓๐๐ คนในแต่ละปี เพื่อเป็นฐานความรู้ไปรักษาคนไข้ในภายภาคหน้าอีกหลายชีวิต การให้ของท่าน ไม่ใช่การให้ด้วยทรัพย์สินเงินทองเหมือนมรดกที่ตกทอดให้ลูกหลาน แต่เป็นการให้ที่นำไปต่อชีวิตคนให้เป็นประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์อย่างไม่มีที่สิ้นสุดยามเมื่อสิ้นลมหายใจ...

    พลั่ก!
    แรงถูกกระทำจากการเดินชนตามกฎของนิวตันที่ว่า Action = Reaction ทำให้ร่างของฉันเด้งกลับและสัมผัสได้ว่าเดินชนคนเข้านั่นเอง
    เขาเป็นฝรั่งตัวใหญ่ใจดีเสียด้วยสิ ฉันรีบขอโทษขอโพยยกใหญ่ แต่ชายเจ้าของผมสีบลอนด์ ตาสีฟ้าก็ไม่ว่าอะไร ได้แต่ยิ้มๆ แล้วบอก "It's alright' It's ok" ก่อนจะโบกมือลาและเร่งรีบเดินเข้าไปในตึกเปรมบุรฉัตร ตึกที่เป็นห้องพักอาจารย์ชาวต่างประเทศ ชายคนนั้นคงเป็นอาจารย์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนี้สินะ เขาทำให้ฉันนึกถึงฝรั่งตัวใหญ่ใจดีที่เป็นอาจารย์อีกคนหนึ่ง

    "รู้สึกตื่นเต้นมากเลยที่ได้อาจารย์เป็นฝรั่ง" ตัวแทนจากโต๊ะแล๊ปโต๊ะหนึ่งกล่าวถึงอาจารย์ใหญ่รูดอล์ฟ โฮริช วอลล์ “แม้ว่าร่างของท่านจะใหญ่กว่าคนทั่วไป ทำให้ผ่ายาก แต่โต๊ะเราก็รู้สึกดีที่ได้ศึกษาท่าน ทำให้ได้เห็นความแตกต่างของร่างกายจากทั้งคนไทยและคนต่างชาติ"

    ความไม่ได้เป็นคนไทยของท่านทำให้ฉันฉุกคิดขึ้นมาว่า แท้จริงแล้ว จิตศรัทธาของผู้ให้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ ศาสนา หรืออายุเลย
    "ตอนแรกอาจารย์ใหญ่ท่านบอกลูกว่าถ้าตายแล้วอยากให้เอาร่างของท่านโยนลงทะเล เพราะท่านชอบกินปลามาก แต่ลูกสาวให้ความเห็นว่าถ้าจะทำอย่างนั้น ไปบริจาคร่างกายให้นิสิตแพทย์ศึกษาเสียดีกว่า ท่านก็เห็นดีเห็นงามด้วย" เขาเล่าติดตลก

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>อาจารย์ใหญ่เฮี้ยง เซียงหว่องที่เป็นอาจารย์ประจำโต๊ะที่ฉันศึกษาอยู่เสียชีวิตด้วยโรคติดเชื้อในกระแสโลหิตด้วยอายุ 80 ปีนั้น ในตอนแรกก็ไม่อยากบริจาคร่างกายด้วยความเชื่อตามประสาคนโบราณว่าเสียชีวิตแล้วควรนำไปประกอบพิธีกรรมทางศาสนา แต่ด้วยการอธิบายถึงความขาดแคลนอาจารย์ใหญ่ที่คณะแพทย์ จุฬาฯ ประสบโดยลูกชายที่ชอบทำบุญทำทานเป็นชีวิตจิตใจแล้ว อาจารย์ใหญ่เฮี้ยงก็ยอมบริจาคร่างกายด้วยกุศโลบายอันยิ่งใหญ่และจิตใจอันบริสุทธ์
    จะเห็นได้ว่าไม่ว่าจะเป็นอาจารย์ใหญ่ประจำโต๊ะไหนๆ ทุกท่านก็มีจิตศรัทธาเต็มใจที่จะมอบและเสียสละร่างกายให้พวกเราได้เรียนกัน

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=left border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=300 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=300>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=5>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>ท้องฟ้าวันนี้โปร่งสบาย เมฆสีขาวก้อนโตกำลังลอยตามแรงลมเอื่อยๆ ทำให้พระพักตร์พระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลแลดูผ่องใสเป็นพิเศษ ฉันยกมือไหว้เหมือนทุกครั้งที่เดินผ่านมา ก่อนจะปิดเครื่องเล่น MP3 ด้วยความหงุดหงิดที่หูฟังเสียงไม่ดังอีกแล้ว อุปกรณ์ใดในโลกนี้ที่มนุษย์พยายามคิดค้นขึ้นมาสุดท้ายก็ยังไม่มีสิ่งไหนเรียกได้ว่าสมบูรณ์แบบ มันทำให้ฉันคิดถึงตำราเรียนแพทย์ที่แม้จะมีภาพประกอบที่สีสันสวยงามพร้อมคำอธิบายทุกสิ่งทุกอย่างแล้วก็ยังไม่สามารถทำให้นิสิตเข้าใจได้ 100% เท่ากับการศึกษาจากอาจารย์ใหญ่
    นี่คงเป็นเหตุผลสำคัญที่จำเป็นจะต้องมีการศึกษาจากร่างกายมนุษย์จริงๆ ในรั้วโรงเรียนแพทย์กระมัง
    เพราะคงไม่มีอุปกรณ์ใดจะดีไปกว่าการได้ลงมือผ่าและจับต้องด้วยมือของเราเอง เห็นด้วยตาของเราเอง ไม่มีเทคโนโลยีใดจะทดแทนคุณค่าทางการศึกษานี้ได้อีกแล้ว แหล่งความรู้ที่ไม่ว่าเมื่อใดก็ให้ข้อมูลที่ถูกต้องเสมอ และยังไม่ต้องให้นิสิตจินตนาการทึกทักเอาเองจากตัวหนังสือใน textbook เล่มโต แต่เป็นการได้เรียนรู้ ได้เข้าใจจากของจริง จำได้ง่าย แม้บางครั้งจะลืมไปบ้าง แต่ก็ง่ายที่จะทบทวน
    ฉันกดลิฟต์หมายเลข 5 ที่ตึกแพทยพัฒน์เพื่อพาตัวเองไปชั้นเรียนที่เรียงรายด้วยร่างของอาจารย์ใหญ่ แม้วันนี้จะไม่ใช่วันแรกของการผ่ากรอส แต่ความตื่นเต้นก็ยังคงอยู่ทุกครั้งด้วยความอยากรู้ว่าวันนี้จะได้เรียนรู้อะไรใหม่บ้างหรือเปล่า ฉันเป็นหนึ่งในหลายๆ คนที่รักวิชา anatomy อย่างสุดขั้วหัวใจ หากไม่มีการเรียนการสอนวิชานี้แล้ว นิสิตแพทย์คงยากที่จะเข้าใจโครงสร้างพื้นฐานในระบบต่างๆ ของร่างกาย
    พวกเราพยายามผ่ากรอสด้วยความระมัดระวังเพื่อไม่ทำให้เส้นเลือดและเส้นประสาทที่หายากขาดไป เลาะไขมันออกออกมาให้ได้เห็นเป็นกล้ามเนื้อที่สวยงาม การได้ลงมือศึกษาด้วยตัวเองทำให้เราจำได้มากขึ้น มีความรู้มากขึ้นตามเนื้อหาวิชาที่ได้เรียนรู้ทุกวัน

    ติ๊ง!
    เสียงลิฟต์บอกจุดหมายปลายทางของฉันในเช้าวันนี้ ขณะที่เดินเข้าไปในห้องกรอสก็เห็นอาจารย์ท่านหนึ่งช่วยนิสิตผ่ากรอสประจำโต๊ะ อีกมุมหนึ่งของห้องมีรุ่นพี่แพทย์ใช้ทุนกำลังอธิบายโครงสร้างสร้างและกลไกการทำงานของเนื้อหาที่จะสอบในอีกไม่กี่วันข้างหน้า อาจารย์หลายๆ ท่านเดินไปมาคอยให้ความช่วยเหลือและตอบคำถามที่นิสิตสงสัย

    ฉันรู้สึกว่าตัวเองช่างโชคดีนักที่ได้มีโอกาสเข้ามาศึกษาคณะแพทย์ในรั้วจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีคณาจารย์ที่น่ารักและเก่งระดับแนวหน้า ผู้ไม่ได้ยัดเยียดความรู้ให้พวกเราท่องจำเพียงอย่างเดียว แต่สอนให้พวกเราสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตของการเป็นแพทย์จริงๆ

    ฉันเปิดผ้าคลุมสีขาวสะอาดออกจากร่างอาจารย์ใหญ่เฮี้ยงประจำโต๊ะ ไหว้ขอขมาด้วยความขอบคุณอย่างทุกครั้งที่เคยทำ ใบหน้าของอาจารย์นั้นหากมีชีวิตเหมือนอาจารย์ทั่วไปก็คงจะยิ้มออกมาเมื่อพบหน้าลูกศิษย์ แต่ท่านคงไม่สามารทำเช่นนั้นได้ เพราะท่านเป็นอาจารย์ใหญ่ผู้ไร้วิญญาณ

    กระนั้นฉันยังคงสัมผัสได้ถึงความศรัทธา ความเสียสละที่ท่านมีให้ลูกศิษย์แพทย์เสมอมาอย่างไม่เสื่อมคลาย / นางสาวจริงใจ
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    สภากาชาดไทย ชวนบริจาคโลหิตช่วงฤดูร้อน

    บริจาคเลือด สภากาชาดไทย ชวน บริจาคโลหิต

    [​IMG]

    สภากาชาดไทยชวนบริจาคโลหิตบรรเทาภาวะโลหิตขาดแคลนช่วงฤดูร้อน (สำนักข่าวไทย)

    พญ.สร้อยสอางค์ พิกุลสด ผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย เปิดเผยว่า ในช่วงฤดูร้อน มีนาคม-เมษายนของทุกปี จำนวนผู้มาบริจาคโลหิตลดลง เนื่องจากผู้บริจาคโลหิตซึ่งเป็นกลุ่มนักเรียน นักศึกษา ร้อยละ 25 อยู่ในช่วงปิดภาคเรียน ทำให้ปริมาณโลหิตที่เคยได้รับบริจาคจากกลุ่มดังกล่าวลดลง และส่งผลให้การจัดหาโลหิตของศูนย์บริการโลหิตฯ ไม่เป็นไปตามเป้า คือ ในแต่ละวันจะต้องได้รับโลหิตจากผู้บริจาค 1,500 ยูนิตขึ้นไป

    อีกทั้งในช่วงเดือนเมษายน จะมีวันหยุดหลายวันในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประชาชนส่วนใหญ่จะเดินทางกลับภูมิลำเนา และท่องเที่ยวในต่างจังหวัด ก็ส่งผลให้มีผู้มาบริจาคโลหิตลดลงอย่างต่อเนื่อง

    ดังนั้น ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ จัดโครงการ "แล้งนี้ไม่แล้งน้ำใจ ด้วยการให้โลหิต" รณรงค์ให้ประชาชนร่วมบริจาคโลหิต เพื่อบรรเทาภาวะการขาดแคลนโลหิตในช่วงเวลาดังกล่าว และเตรียมพร้อมสำรองเลือดให้แก่ผู้ป่วย ในช่วงวันหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ 13-18 เมษายนนี้ ซึ่งทุกวันยังคงมีความต้องการใช้โลหิต เนื่องจากทุกวันยังมีผู้ป่วยในโรงพยาบาลต่าง ๆ อีกดป็นจำนวนมากยังคงต้องได้รับโลหิตในการรักษา

    ขอเชิญชวนให้ประชาชนบริจาคโลหิตในโครงการฯ ตั้งแต่บัดนี้ ถึง 30 เมษายน 2553 ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ โดยผู้บริจาคโลหิตในโครงการฯ จะได้รับมอบวัตถุมงคล "เหรียญหลวงพ่อคูณ" เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ทุกท่าน สอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ โทร. 0 2256 4300, 0 2263 9600-99 ต่อ 1101, 1760



     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    บริจาคดวงตากุศลแรง
    Daily News Online > หน้าสตรี > บริจาคดวงตากุศลแรง

    [​IMG]


    ต่อโลกมืดให้สว่าง

    โลกที่มืดมิดเพราะดวงตาบอดสนิทของผู้พิการทางสายตาหลายต่อหลายคนสามารถเยียว ยาได้ หากทุกคนร่วมทำกุศลโดยการบริจาคดวงตาให้แก่ ศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทย ซึ่งได้ดำเนินการเชิญชวนประชาชนร่วมกันแสดงความจำนงบริจาคดวงตาอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี และในปี 2553 ศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทย เปิดตัวพรีเซ็น เตอร์ศูนย์ดวงตาฯ ประจำปีนี้ ซึ่งได้รับเกียรติจาก นัท-มีเรีย เบนเนเดตตี้ ศิลปิน บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด เป็นพรีเซ็นเตอร์รณรงค์บริจาคดวงตา เพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วยกระจกตาพิการ และรณรงค์ให้ประชาชนเห็นคุณค่าของดวงตา รู้สึก อยากมีส่วนร่วมเป็นผู้หนึ่งที่นำแสงสว่างมาสู่เพื่อนมนุษย์ ขณะเดียวกันพรีเซ็นเตอร์คนล่าสุดได้แสดงความจำนงร่วมบริจาคดวงตาด้วย เมื่อเร็ว ๆ นี้ ที่สำนักงานอาสากาชาด สภากาชาดไทย

    ผศ.พญ.ลลิดา ปริยกนก ผอ.ศูนย์ดวงตาฯ กล่าวว่า ศูนย์ดวงตาฯ มีหน้าที่หลักในการเป็นศูนย์กลางรับการแสดงความจำนงอุทิศดวงตาภายหลังจากผู้บริจาคเสียชีวิตลงแล้ว เมื่อรับแจ้งจากญาติภายในเวลา 6 ชั่วโมงจะมีเจ้าหน้าที่จากสภากาชาดไทยไปจัดเก็บดวงตา โดยส่วนของดวงตาที่มีความสำคัญ สามารถนำไปใช้ผ่าตัดเปลี่ยนดวงตาได้คือ ส่วนสีใส ๆ ในดวงตา เรียกว่ากระจกตา สามารถนำไปรักษาผู้ป่วยตามีปัญหา ในระดับที่สามารถรักษาได้ ไม่ถึงกับขั้นที่เส้นประสาทดวงตาเสีย เช่น กระจกตาขรุขระ, กระจกตาติดเชื้อ, กระจกตาขุ่นมัว เป็นต้น

    “แต่ละปีมีผู้มีจิตกุศลร่วมบริจาคขณะที่ยังมีชีวิตอยู่กว่า 30,000-40,000 ราย การช่วยเหลือคนตาบอดให้กลับมาอยู่ในโลกที่มีแสงสว่างอีกครั้ง สามารถประกอบอาชีพได้ เหมือนชุบชีวิตใหม่ให้แก่พวกเขาเหล่านั้น เป็นกุศลที่แรงกล้า คนไทยอาจมีความเชื่อผิด ๆ เรื่องพิธีกรรมหลังความตายว่าสภาพศพอาจดูไม่ดี แต่เชื่อว่าการทำสิ่งดี ย่อมได้แต่สิ่งดี ๆ กลับมาแน่นอน” ผอ.ศูนย์ดวงตาฯ กล่าว

    สำหรับผู้สนใจร่วมแสดงความจำนงบริจาคดวงตากับศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ 0-2256-4039-40 หรือที่ www.eyebankthai.com
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    สภากาชาด รับบริจาคโลหิต ช่วงสงกรานต์





    [​IMG]


    สภากาชาด รับบริจาคโลหิต ช่วงสงกรานต์ (ไอเอ็นเอ็น)

    สภากาชาดไทย จัดโครงการ แล้งนี้ ไม่แล้งน้ำใจ ด้วยการให้โลหิต เตรียมสำรอง รับผู้ป่วยช่วงเทศกาลสงกรานต์

    พ.ญ.สร้อยสอางค์ พิกุลสด ผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย เปิดเผยว่า เนื่องในวันหยุดเทศกาลสงกรานต์ที่จะถึงนี้ คาดว่ามีประชาชนจำนวนมาก ทยอยเดินทางออกต่างจังหวัดเป็นจำนวนมาก ทางสภากาชาดไทย จึงจัดโครงการ "แล้งนี้ ไม่แล้งน้ำใจ" ด้วยการให้โลหิต พร้อมรณรงค์ให้ประชาชนร่วมบริจาคโลหิตเพื่อบรรเทาภาวการณ์ขาดแคลนโลหิตและสำรองโลหิตไว้ให้ผู้ป่วยในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งทางศูนย์โลหิตจะต้องจัดหาโลหิตให้ได้วันละ 1,500 ยูนิต และมีโลหิตสำรองคลังวันละ 3,000 ยูนิต จึงจะเพียงพอแก่ความต้องการของผู้ป่วย โดยผู้ที่สนใจบริจาคโลหิต ตามโครงการดังกล่าว สามารถติดต่อให้บริจาคได้ที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ถนนอังรีดูนังต์ และผู้ที่บริจาคในช่วงวันที่ 10-18 เม.ย. นี้ จะได้รับเสื้อยืดที่ระลึก อีกด้วย

    อย่างไรก็ตาม โครงการดังกล่าวนั้น เป็นโครงการที่จัดทำเพื่อสำรองโลหิต ให้ผู้ป่วยในเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งที่ผ่านมาพบว่า เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง และผู้บาดเจ็บก็ต้องการโลหิต จำเป็นในการช่วยเหลือผู้ป่วย จึงขอเชิญชวนผู้ประสงค์เข้าบริจาคได้ ตั้งแต่เวลา 08.30-16.30 น. หรือ โทรศัพท์สอบถาม ที่หมายเลข 02-256-4300​



    [​IMG]
    ขอขอบคุณภาพประกอบจาก สภากาชาดไทย
    <!-- google_ad_section_end --><!-- / message --><!-- sig -->
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    กาชาด วอนบริจาคเลือดรองรับช่วงสงกรานต์

    กาชาด วอนบริจาคเลือดรองรับช่วงสงกรานต์


    [​IMG]

    กาชาด วอนบริจาคเลือดรองรับช่วงสงกรานต์ (ไอเอ็นเอ็น)

    สภากาชาดไทย ขอรับบริจาคโลหิตให้ผู้ป่วย ในช่วงวันหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ เนื่องจากไม่มีหน่วยงานใด จัดกิจกรรมรับบริจาคโลหิต โดยจะต้องจัดหาโลหิตให้ได้วันละ 1,500 ยูนิต จึงจะเพียงพอสำหรับผู้ป่วย โดยในวันนี้ (12 เมษายน) ศูนย์บริจาคโลหิตแห่งชาติ ถนนอังรีดูนังต์ ยังคงเปิดรับบริจาคโลหิตตามปกติตั้งแต่เวลา 08.30 น.-16.30 น. และออกหน่วยเคลื่อนที่รับบริจาคโลหิตไปที่สถานีกาชาด 11 วิเศษนิยม บางแค รับบริจาคโลหิตตั้งแต่เวลา 09.00 น.-15.00 น. มหาวิทยาลัยรามคำแหงหัวหมาก เวลา 10.00 น.- 15.00 น. และเดอะมอลล์บางแคเวลา12.00 น.-18.00 น.

    สำหรับวันหยุดสงกรานต์ ตั้งแต่วันที่12-18 เมษายน 2553 ศูนย์บริจาคโลหิตแห่งชาติ ถนนอังรีดูนังต์ เปิดรับบริจาคโลหิตเวลา 08.30 น.-15.30 น. พร้อมทั้งมอบของที่ระลึกให้กับผู้ที่มาบริจาคทุกท่าน


    [​IMG]
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    การบริจาคอวัยวะ
    Thekop Room - การบริจาคอวัยวะ

    Dec 7, '08 12:53 PM
    for everyone

    การบริจาคอวัยวะ
    ---------------------

    การบริจาคอวัยวะเป็นเรื่องที่คนไทยยังไม่คุ้นเคยเท่าไรนัก และมีคำถามมากมายที่ทำให้ผู้คิดจะบริจาคยังมีความลังเลอยู่ ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย จึงต้องประสบกับปัญหาต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะความเชื่อที่ยังอาจมีหลงเหลืออยู่บ้าง เช่น ถ้าบริจาคอวัยวะให้เขาไปแล้ว เกิดมาชาติหน้าจะมีอวัยวะไม่ครบ

    ดังนั้น เพื่อให้เกิดความกระจ่างต่อสาธารณชนทั่วไป น.พ. วิศิษฏ์ ฐิตวัฒน์ ผู้อำนายการศูนย์รับบริจาคอวัยวะ ฯ จึงได้เข้านมัสการเรียนถามพระคุณเจ้าพระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตโต) เจ้าอาวาสวัดญาณเวศกวัน ต.บางกระทึก อ.สามพราน จ.นครปฐม ซึ่งได้รับคำตอบที่เป็นประโยชน์และไขข้อข้องใจได้เป็นอย่างดี

    น.พ.วิศิษฏ์ มีข้อห้ามในศาสนาพุทธหรือไม่เกี่ยวกับเรื่อง "การบริจาคอวัยวะ"

    พระธรรมปิฎก ตามปกติแล้วไม่มีข้อห้าม มีแต่จะสนับสนุน เพราะการบริจาคอวัยวะเป็นการเสียสละเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นต้องการให้ผู้ อื่นพ้นจากความทุกข์ และมีการบริจาคจึงเป็นหลักธรรมที่สำคัญของศาสนา ไม่ว่าจะเป็น "ทศพิธราชธรรม"ก็ดี การบำเพ็ญ "บารมี" ของพระพุทธเจ้าเมื่อยังเป็นพระโพธิสัตว์ก็ดี ก็มีการบริจาคเป็นคุณธรรมข้อแรก เรียกว่า "ทาน" และ "ทานบารมี" คือการให้เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น

    โดยเฉพาะในการบำเพ็ญของพระโพธิสัตว์นั้น การบริจาคอวัยวะเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น เป็นความคิดที่จำเป็นเลยที่เดียวที่ต้องทำ เพราะการก้าวไปสู่โพธิญาณ ต้องมีความเข้มแข็งของจิตใจ ในการเสียสละเพื่อความดี ทั้งนี้ทานที่เป็นบารมี จะแบ่งเป็น ๓ ขั้น เช่นเดียวกับบารมีอื่นๆ คือ

    ทานบารมีระดับสามัญ คือการบริจาคทรัพย์สินเงินทองถึงจะมากมายแค่ไหนก็จะอยู่ในระดับนี้

    ทานระดับรอง หรือจวนสูงสุด เรียกชื่อเฉพาะว่า "ทานอุปบารมี" ได้แก่ ความเสียสละทำความดี ถึงขั้นสามารถบริจาคอวัยวะเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นได้ เพื่อรักษาธรรม

    แน่นอนว่า การบริจาคอวัยวะนั้นเป็นบุญธรรมสำคัญและเป็นบุญมาก ตามหลักพระพุทธศาสนานอกจากเป็นบารมีขั้นทานอุปบารมีแล้ว ยังโยงไปหาหลักสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่เรียกว่า "มหาบริจาค" คือการบริจาคใหญ่ ซึ่งพระโพธิสัตว์จะต้องปฏิบัติอีก ๕ ประการ คือ บริจาคทรัพย์ บริจาคราชสมบัติ บริจาคอวัยวะ และนัยน์ตา บริจาคตัวเองหรือบริจาคชีวิต และบริจาคบุตรและภรรยา

    น.พ.วิศิษฏ์ ถ้าถามว่าการบริจาคอวัยวะนั้นได้บุญหรือเปล่าและใครเป็นคนได้ อย่างเช่น คนหนึ่งแสดงความจำนงบริจาคอวัยวะได้ แต่เสียชีวิตในภาวะที่ไม่สามารถบริจาคได้ กับอีกคนหนึ่งไม่ได้แสดงความจำนงบริจาคอวัยวะไว้ แต่เสียชีวิตด้วยภาวะสมองตาย แล้วญาติได้ตัดสินใจบริจาค อันนี้ไม่ทราบว่าใครจะเป็นคนได้บุญ หรือได้บุญมากน้อยอย่างไร

    พระธรรมปิฎก ในแง่นี้ต้องแยกออกเป็น ๒ ประเด็น ประเด็นที่หนึ่งก็คือว่า "เป็นบุญหรือไม่?" ซึ่งตอบได้เลยว่าเป็นบุญอยู่แล้ว ดังที่พระโพธิสัตว์ท่านบริจาค และเป็นบุญชั้นสูงถึงขั้นเรียกว่าบารมีเลยทีเดียว แต่สำหรับคนทั่วไปจะมีความตั้งใจที่จะบรรลุโพธิญาณหรือไม่เป็นอีกเรื่อง หนึ่ง ถ้าเราไม่มีความตั้งใจไม่ได้ตั้งปณิธานอย่างนี้ ก็ไม่เรียกว่าเป็นบารมี แต่เป็นบุญซึ่งจัดว่าเป็นบุญอันยิ่งใหญ่เลยทีเดียว เพราะเป็นบุญที่ทำได้ยาก ต้องมีความเสียสละจริงๆ เป็นอันว่าได้บุญแน่นอน เพราะเกิดจากเจตนาที่เสียสละให้ด้วยความกรุณาปราถนาดีต่อผู้อื่นอันใหญ่หลวง

    ในส่วนที่ว่า "ใครจะเป็นผู้ได้บุญ?" นั้น ตอบง่ายๆ ว่าใครเป็นผู้บริจาคคนนั้นก็ได้ เพราะมันอยู่ที่เจตนาของผู้นั้น ในกรณีที่เป็นคนตายไปแล้วและญาติบริจาค ก็เลยกลายเป็นว่าคนที่ตายไปแล้วไม่ได้รับ เพราะว่าไม่ได้ตั้งเจตนา ในแง่นี้ต้องพูดอีกขั้นหนึ่ง คือญาติที่บริจาคนั้นต้องอุทิศกุศลไปให้เขาอีกทีหนึ่ง ในทางธรรมถือว่า ถ้าบริจาคในขณะที่ตัวยังเป็นอยู่ ก็จะเป็นบุญขั้นสูง

    น.พ.วิศิษฏ์ คนที่ได้รับอวัยวะไปแล้ว ทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้เจ้าของอวัยวะจะได้รับผลบุญนั้นหรือไม่ เพราะทางศูนย์รับบริจาคอวัยวะฯ ไม่ได้บอกชื่อของคนที่บริจาค ผู้ที่รับอวัยวะไปจะอธิฐานอย่างไรดี

    พระธรรมปิฎก แม้จะไม่ระบุชื่อผู้ที่เราอุทิศส่วนกุศลให้ เพียงแต่ตั้งใจว่าอุทิศให้แก่เจ้าของอวัยวะที่บริจาคให้เรา ก็ถือว่าเราก็ได้อุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้กับท่านเจ้าของที่บริจาคอวัยวะให้ เราแล้ว

    น.พ.วิศษฏ์ ปัญหาที่เราเจอในการทำการประชาสัมพันธ์ให้คนทั่วไป แสดงความจำนงบริจาคอวัยวะคือ บางคนยังเชื่อว่าถ้าให้อวัยวะเขาไปแล้วในชาตินี้ เกิดมาชาติหน้าจะมีอวัยวะไม่ครบ

    พระธรรมปิฎก อันนี้ไม่จริงเลย โดยมีแง่พิจารณา ๒ อย่างคือ

    ๑. ในแง่หลักฐานทางคัมภีร์แสดงว่า พระพุทธเจ้าเมื่อเป็นพระโพธิสัตว์ทรงบริจาคนัยน์ตา ก็เป็นเหตุให้พระองค์ทางได้สมันตจักษุ คือมีพระเนตรหรือดวงตาที่เป็นพิเศษสุดของพระพุทธเจ้า ซึ่งเราแปลว่าเป็นดวงตาที่มองเห็นโดยรอบ ไม่ได้หมายถึงดวงตาที่เป็นวัตถุอย่างเดียว แต่หมายถึงดวงตาทางปัญญาด้วย ในแง่พระคัมภีร์ก็สนับสนุนชัดเจนว่าในชาติหน้ามีแต่ผลดี

    ๒. ในแง่เหตุผลที่เข้าใจกันว่าบริจาคอวัยวะไปแล้ว เกิดมาอวัยวะจะบกพร่อง เหตุผลที่ถูกต้องมันไม่ใช่อย่างนั้น เราต้องมองว่าชีวิตที่เกิดมานี้ จิตใจเป็นส่วนสำคัญในการปรุงแต่งสร้างสรรค์ ถ้าเรามีเมตตาคิดดีปรารถนาดีต่อผู้อื่น ยิ้มแย้มแจ่มใส ต่อไปตาเราจะถูกปรุงแต่งให้แจ่มใสเบิกบาน

    ในทางกลับกัน ถ้าเราคิดร้ายต่อผู้อื่น มักโกรธ อยากจะทำร้ายรังแกเขาอยู่เรื่อย หน้าตาก็จะบึ้งตึงเครียด หรือถึงกับดูโหดเหี้ยมนี้เป็นผลมาจากสภาพจิตที่เคยชินในชีวิตประจำวัน แม้แต่ในชาติปัจจุบันนี้เอง

    ทีนี้ชีวิตที่จะเกิดต่อไปก็จะต้องอาศัยจิต ที่มีความสามารถในการปรุงแต่ง ขอให้คิดง่ายๆ ว่า คนที่จะบริจาคอวัยวะให้คนอื่น ก็คือ ปราถนาดีต่อเขา อยากให้เขาเป็นสุข อยากให้เขาพ้นทุกข์ หายเจ็บป่วย จิตอย่างนี้ในตอนคิดก็เป็นจิตที่ดี คือจิตใจที่ยินดีเบิกบาน คิดถึงความสุขความดีงามความเจริญ จิตก็จะสะสมความโน้มเอียงและพัฒนาความสามารถในด้านนี้ ถ้าคิดบ่อยๆ จิตก็จะยิ่งมีความสามารถและมีความโน้มเอียงไปในทางที่จะปรุงแต่งให้ดี และคุณสมบัตินี้ก็จะฝังอยู่เป็นสมรรถภาพของจิต

    เพราะฉะนั้นในการบริจาคเราจึงต้องทำจิตใจให้ผ่องใส ให้ประกอบด้วยคุณธรรม มีเมตตาปราถนาดี และอันนี้แหละที่จะทำให้เราได้บุญมาก

    น.พ.วิศษฏ์ แพทย์ควรปฏิบัติตัวอย่างไรกับผู้บริจาคอวัยวะ

    พระธรรมปิฎก เขาบริจาค เขาเป็นผู้เสียสละเป็นผู้มีคุณธรรม เพราะฉะนั้นเราก็ต้องมองว่าเราต้องยกย่องให้เกียรติ และถือว่าเขาเป็นผู้บำเพ็ญประโยชน์ให้สังคม ช่วยให้เพื่อนมนุษย์อยู่ดีหายโรค หายภัย และเป็นอยู่ดีขึ้น นั่นก็ควรแสดงออกอย่างใดอย่างหนึ่ง ในการยอมรับหรือเห็นคุณค่า ซาบซึ้งในประโยชน์ที่เขาได้ทำไปแล้ว การปฏิบัติต่อกันก็ธรรมดา แต่หากว่าเรามีจิตดีแล้วการปฏิบัติการแสดงออกก็จะดีจริงๆ

    --------------------------------------------
    คัดลอกจาก: ธรรมเพื่อชีวิต
    เล่มที่ ๒๕ ฉบับวันเข้าพรรษา ๒๕๔๓
    มูลนิธิพุทธศาสนาศึกษา
    วัดบุรณศิริมาตยาราม
    ++++++++++++++++++++++
    การบริจาคเห็นแยกไว้ 2 แบบครับ คือ
    1.บริจาคดวงตา
    2.บริจาคอวัยวะ
    แต่ถ้าประสงค์จะบริจาคทั้งสองแบบก็ได้
    สำหรับบริจาคอวัยวะ โทรไปที่ ศูนย์บริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย โทร.1666
    เขาจะส่งเอกสารมาให้กรอกแล้วส่งกลับ จากนั้นจะส่งบัตรกลับมาให้เราเก็บไว้ หรือสะดวกไปติดต่อเองได้ตามที่อยู่ข้างล่างครับ

    อาคารเทิดพระเกียรติสมเด็จพระญาณสังวร ( เจริญ สุวฑฒโน) ชั้น 5
    ถ.อังรีดูนังต์ ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

    สำหรับบริจาคดวงตาที่เดียวกันครับ แต่ชั้น 7
    หรือโทร 02-256-4039,02-256-4040 ต่อศูนย์ดวงตา ( ตลอด 24 ชม.)

    +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

    บริจาคไปหมดหละ ตอนนี้เหลือแต่บริจาคร่างกายไปเป็นอาจารย์ใหญ่ หุหุ

    ตายทั้งที ขอให้มีประโขชน์นิดนึ่งก็ยังดี

    ส่วนการบริจาคเลือด ทำทุกๆ ๓ เดือน อยู่แล้ว
     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    กาชาดขาดเลือด ขอรับบริจาคเพิ่มด่วน
    กาชาดขาดเลือด ขอรับบริจาคเพิ่มด่วน - ข่าวไทยรัฐออนไลน์

    สภากาชาดไทย ประกาศของรับบริจาคเลือดด่วน หลังจากที่ประสบปัญหาวิกฤติ ขาดเลือดสำรองทุกกรุ๊ป เหลือไม่ถึงวันละ 1,000 ยูนิต วอนประชาชนบริจาคเลือดให้ผู้ป่วย...

    พญ.สร้อยสอางค์ พิกุลสด ผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย กล่าววันนี้ (4 พ.ค.) ว่า เนื่องจากขณะนี้ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ประสบปัญหาโลหิตสำรองลดลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีผู้เดินทางมาบริจาคโลหิตที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ถนนอังรีดูนังต์ ลดลงเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในช่วงวันหยุดต่อเนื่องวันแรงงานแห่งชาติที่ผ่านมา มีผู้มาบริจาคโลหิตลดลงวันละไม่ถึง 1,000 ยูนิต แต่ไม่เพียงพอสำหรับผู้ป่วยที่ต้องการโลหิตวันละ 1,500 ยูนิต

    ผอ.ศุนย์บริการโลหิตฯ กล่าวด้วยว่า สภากาชาดไทยจึงได้ดำเนินการจัดหน่วยเคลื่อนที่เพิ่มเติม และขยายเวลารับบริจาคโลหิต ดังนี้ วันที่ 5 พ.ค.53 ได้เพิ่มรถรับบริจาคโลหิตเคลื่อนที่ ไปจอดบริเวณด้านหน้าห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์บางแค ถนนเพชรเกษม รับบริจาคโลหิต เวลา 12.00-18.00 น.
    สำหรับวันที่ 7 พ.ค.53 ขยายเวลาเปิดรับบริจาคโลหิตที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ถนนอังรีดูนังต์ ตั้งแต่เวลา 08.00-19.30 น. ผู้บริจาคโลหิตสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ฯ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ โทร. 0-2256-4300 และ 0-2263-9600-99 ต่อ 1101

    http://www.thairath.co.th/content/edu/80942

    .<!-- google_ad_section_end --> <!-- / message --><!-- sig -->
     
  14. nanja99

    nanja99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    81
    ค่าพลัง:
    +279
    พอดีว่าบัตรที่บริจาคดวงตาหายไป
    ช่วยติดต่อทางอีเมล์ด้วยจ้า
    malak_61036@hotmail.com
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    เรื่องควรรู้ก่อน...บริจาคโลหิต

    <style>p { margin: 0px; }</style> เลือด...ยังเป็นที่ต้องการเสมอ เพราะว่ามักมีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยที่ไม่คาดฝัน หรือมีความจำเป็นในการให้เลือดผู้ที่กำลังเจ็บป่วยอยู่เสมอ

    การบริจาคโลหิตนอกจากจะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกันแล้ว ยังช่วยให้เราตรวจเช็กสภาพร่างกายของตัวเราเป็นระยะ ๆ เช่นกัน

    แต่ก่อนจะไปบริจาคเลือดก็ต้องเตรียมตัว เช่นกัน

    โดยโรงพยาบาลเปาโล เมโมเรียลได้ให้คำแนะนำว่า

    คุณต้องนอนหลับให้เพียงพอไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง และมีสุขภาพสมบูรณ์พร้อมที่จะบริจาคโลหิต

    คุณ ต้องดูว่าในช่วง 3 วันก่อนการบริจาคเลือดได้รับประทานยาแอสไพริน ยาคลายกล้ามเนื้อ หรือยาแก้ปวดข้อหรือไม่ เพราะอาจทำให้มีเกล็ดเลือดผิดปกติได้ เลือดแข็งตัวช้า บวมช้ำง่าย เลือดที่บริจาคไปก็ไม่มีคุณภาพ หรือไปถอนฟันเหงือกอาจอักเสบมีบาดแผลในช่องปาก เป็นทางนำเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือดก็ไม่ควรบริจาคเลือด

    ต้องดูว่ามีอาการท้องเสีย ท้องร่วงภายใน 7 วันก่อนบริจาคเลือดหรือไม่ ผู้รับเลือดอาจได้รับเชื้อที่มากับเลือดได้

    มีอาการน้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ อาจมีสาเหตุจากโรคเบาหวาน ไทรอยด์เป็นพิษ เครียด วิตกกังวล ก็ไม่ควรบริจาคเลือด

    มีประวัติโรคตับอักเสบ หรือคนในครอบครัวเป็นก็ต้องมีผลตรวจแน่นอนแล้วว่าปลอดเชื้อ

    สำหรับ ผู้ที่ควรงดบริจาคเลือด อาทิ เป็นโรคหัวใจทุกชนิด โรคไทรอยด์ชนิดเป็นพิษ โรคมะเร็งทุกชนิด โรคเรื้อรังอื่น ๆ โรคโลหิตออกง่าย-หยุดยาก เป็นโรคทางกรรมพันธุ์ โรคไตชนิดเรื้อรัง วัณโรค โรคผิวหนังบางชนิด โรคติดต่ออย่างวัณโรค ไอเรื้อรังก็ไม่ควรบริจาคเลือด มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศกับผู้อื่น ซึ่งมีโอกาสติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์สูง โรคบางชนิดมีระยะฟักตัวนาน อาจตรวจไม่พบเชื้อ เช่น HIV

    รวมทั้งได้ รับการผ่าตัดใหญ่ภายใน 6 เดือน หรือผ่าตัดเล็กภายใน 1 เดือน เนื่องจากการผ่าตัดใหญ่ทำให้มีการเสียเลือดมาก ร่างกายต้องใช้เวลาและสารอาหารในการซ่อมแซม ควรงดบริจาคชั่วคราว ส่วนผ่าตัดเล็กที่เสียเลือดไม่มาก ควรรอให้แผลหายก่อนค่อยบริจาคเลือด

    ฉะนั้น ควรปรึกษาเจ้าหน้าที่สภากาชาดก่อนบริจาคเลือดเพื่อดูช่วงเวลาที่เหมาะสมใน การบริจาค อาทิ ผู้ที่เคยได้รับเลือดจากผู้อื่นในระยะ 1 ปีที่ผ่านมา ฉีดวัคซีนในระยะ 14 วัน หรือฉีดเซรุ่มในระยะ 1 ปีที่ผ่านมา เข้าพื้นที่มีเชื้อมาลาเรียชุกชุมในระยะ 1 ปี หรือป่วยเป็นมาลาเรียในระยะ 3 ปี คลอดบุตรหรือแท้งบุตรภายใน 6 เดือนที่ผ่านมา อยู่ในระหว่างให้นมบุตรหรือตั้งครรภ์ เจาะหู สัก ฝังเข็ม ผู้ที่อยู่ระหว่างมีรอบเดือนไม่ควรบริจาคเลือด

    การบริจาคเลือดนั้นดีแน่...แต่ก็ต้องเตรียมสภาพร่างกายของเราให้พร้อมเหมือนกัน


     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .
    บริจาคเลือด...ยิ่งให้ ยิ่งได้



    [​IMG]


    ยิ่งให้ ยิ่งได้ (Twenty-four Seven)

    ทำ ใจสู้เข็มแล้วเดินหน้าไปบริจาคเลือดกันดีกว่า เพราะนอกจากจะช่วยเหลือผู้อื่นทางอ้อมแล้ว การบริจาคเลือดยังตอบแทนผู้ให้ด้วยสุขภาพดี ๆ อีกต่างหาก

    ในเลือดของเราประกอบด้วยพลาสมา (น้ำเหลือง) และเม็ดเลือดแดง 8% ของน้ำหนักตัว หรือประมาณ 18 แก้วน้ำ ในผู้ชายจะเท่ากับ 4-6 ลิตร ส่วนผู้หญิงจะเท่ากับ 4-5 ลิตร โดยมีไขกระดูกทำหน้าที่สร้างเม็ด เลือด ได้แก่ เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด ซึ่งแต่ละชนิดจะมีอายุขัยไม่เท่ากัน เมื่อหมดอายุขัยเม็ดเลือดจะถูกทำลาย และขับถ่ายออกมาในรูปของเหงื่อ ปัสสาวะ และอุจจาระ ส่วนไขกระดูกก็จะทำการผลิตเลือดชุดใหม่เข้ามาแทน

    แท้ จริงแล้วร่างกายคนเราต้องการเลือดเพียง 16 แก้วน้ำ ส่วนที่เหลือคือส่วนสำรอง การบริจาคเลือดประมาณ 350-450 มิลลิลิตร จึงไม่เป็นอันตรายใด ๆ แถมยังเร่งให้ร่างกายสร้างเลือดใหม่ซึ่งแข็งแรงและมีประสิทธิภาพมากกว่า กระตุ้นการทำงานของไขกระดูก และยังเป็นการตรวจสุขภาพทางอ้อม เพราะหากผู้บริจาคมีความผิดปกติในเลือดเมื่อใด ทางสภากาชาดจะแจ้งให้ผู้บริจาคทราบทันที

    ขอขอบคุณข้อมูลจาก
    -http://www.247freemag.com/home.php-

    [​IMG]



    -http://health.kapook.com/view30675.html-
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    กาชาด ขอรับบริจาคเลือด รับมือสงกรานต์!


    [​IMG]


    กาชาด ขอเลือด รับมือสงกรานต์! (ไทยโพสต์)

    สภากาชาดไทยเพิ่มยอดรับบริจาคเลือดรับมือเทศกาลสงกรานต์ หวั่นขาดโลหิตช่วยกรณีฉุกเฉินจากอุบัติเหตุ-ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ชี้เหตุวันหยุดยาวคนกลับต่างจังหวัด ทำยอดบริจาคลดลง พร้อมจัดกิจกรรมแล้งนี้ไม่แล้งน้ำใจ แจกเสื้อยืดให้ผู้บริจาค ตั้งเป้าจัดหาเพิ่มขึ้น 500 ยูนิต

    เมื่อวันที่ 9 เมษายน พญ.สร้อยสอางค์ พิกุลสด ผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย เปิดเผยว่า เนื่องจากช่วงเทศกาลสงกรานต์ของทุกปี ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย มักจะประสบปัญหาการขาดแคลนโลหิตเนื่องจากมีวันหยุดยาวติดต่อกันหลายวัน ประชาชนในกรุงเทพฯ จะเดินทางออกไปยังต่างจังหวัดเป็นจำนวนมาก ส่ง ผลให้มีผู้บริจาคโลหิตลดลง ขณะนี้ได้จัดโครงการแล้งนี้ไม่แล้งน้ำใจด้วยการให้โลหิต ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 16 เมษายน ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ถนนอังรีดูนังต์ โดยจัดทำเสื้อยืดที่ระลึกพิมพ์ข้อความว่า "ทุกคนเป็นฮีโร่ได้ด้วยการบริจาคโลหิต" เพื่อแจกผู้บริจาคทุกคน

    พญ.สร้อยสอางค์ ระบุว่า ขณะนี้อยู่ในช่วงปิดภาคการเรียน จึงไม่มีหน่วยรับบริจาคโลหิตเคลื่อนที่ตามสถานศึกษาต่างๆ ทำให้ยอดรับบริจาคหายไปถึง 30% ต้องรณรงค์ให้นักเรียนนักศึกษาเดินทางมาบริจาคถึงที่ศูนย์บริการโลหิตฯ แต่ก็ยังไม่เพียงพอและกังวลว่าในช่วงเทศกาลสงกรานต์จะมีคนมาบริจาคน้อย จึงต้องรณรงค์ให้ประชาชนได้ร่วมทำบุญบริจาคโลหิตในช่วงเทศกาลสงกรานต์เพื่อ เตรียมพร้อมสำรองโลหิตให้แก่ผู้ป่วย ซึ่งทุกปีช่วงเทศกาลสงกรานต์จะเกิดอุบัติเหตุและมีความต้องการใช้โลหิตเป็น จำนวนมาก

    "ในแต่ละวันศูนย์บริการโลหิตฯ ต้องเตรียมพร้อมสำรองโลหิตในคลังเลือดไม่ต่ำกว่าวันละ 3,000-4,500 ยูนิต โดยจะต้องจัดหาโลหิตให้ได้ตามเป้าหมายคือ วันละ 1,500 ยูนิต แต่ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ตั้งเป้าเพิ่มขึ้นอีก 500 ยูนิต เป็นวันละ 2,000 ยูนิต เพื่อแจกจ่ายโลหิตให้แก่โรงพยาบาลต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ 60% และส่งไปยังต่างจังหวัดอีก 40% และคาดว่าจะต้องส่งต่างจังหวัดเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินที่ประสบอุบัติเหตุระหว่างการเดินทางในเทศกาล สงกรานต์" ผอ.ศูนย์บริการโลหิตฯ กล่าว

    สำหรับโลหิตที่จัดหาได้ในแต่ละวันนั้นจะจัดส่งให้ตามโรงพยาบาลต่าง ๆ โดยปริมาณความต้องการโลหิตร้อยละ 23 เป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ได้แก่ ผู้ป่วยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย ฮีโมฟีเลีย ต้องรักษาด้วยการได้รับโลหิตต่อเนื่องตลอดชีวิต อีกร้อยละ 77 เป็นผู้ป่วยโรคต่าง ๆ ได้แก่ โรคมะเร็ง ผ่าตัด คลอดบุตร รวมทั้งอุบัติเหตุต่าง ๆ ซึ่งหากมีโลหิตสำรองที่เพียงพอก็จะสามารถช่วยเหลือชีวิตได้อย่างทันท่วงที

    นอกจากนี้ สถานการณ์ ของโลหิตหมู่พิเศษ หรือ Rh negative ในประเทศไทยยังอยู่ในเกณฑ์น่าเป็นห่วง เพราะมีปริมาณการบริจาคเลือดต่ำกว่าความต้องการหลายเท่าตัว ศูนย์บริการโลหิตฯ จึงรณรงค์ให้เกิดความตื่นตัวในการบริจาคโลหิตอย่างต่อเนื่องอย่างน้อยปีละ 3-4 ครั้ง จากข้อมูลสำรวจทั่วโลกพบว่า คนยุโรปมีโลหิตหมู่พิเศษ หรือ Rh- ประมาณ 16-35% คนแอฟริกันเป็น Rh- ประมาณ 7% ส่วนคนเอเชียมีกรุ๊ปเลือด Rh- ไม่ถึง 1% คนไทยนั้นยิ่งพบน้อยมากเพียง 0.3% อธิบายง่ายๆ ว่า ใน 1,000 คนจะพบเพียง 3 คนที่เป็น Rh- ส่วนคนไทยอีก 99.7% เป็น Rh+ เมื่อผู้ป่วยที่มีโลหิตหมู่พิเศษต้องการใช้โลหิตจำนวนมากเพื่อช่วยรักษา พยาบาล จึงมักประสบปัญหาเรื่องการจัดหาเลือดที่ไม่เพียงพอและไม่ทันเวลาต่อความต้อง การ ส่งผลให้เป็นอันตรายต่อชีวิต ทั้งนี้ ปัจจุบันมีผู้บริจาคเลือด Rh- ในประเทศไทยอยู่เพียงกว่า 5,000 คน และมีผู้บริจาคใหม่ไม่ถึงปีละ 400 คน ทำให้ในคลังของศูนย์บริการ โลหิตฯ ยังขาดแคลนเลือด Rh- อย่างมาก จึงรณรงค์ให้ประชาชนทั่วไปบริจาคเลือดเพื่อจะได้รับบริการตรวจหาหมู่เลือด อย่างถูกต้องโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย



    ขอขอบคุณข้อมูลจาก -http://thaipost.net/x-cite/100412/55239-

    [​IMG]



    -http://health.kapook.com/view39429.html-

    .
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    ต่อลมหายใจใหม่ ด้วยการให้...มาบริจาคอวัยวะกันเถอะ
    -http://hilight.kapook.com/view/76226-

    [​IMG]

    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
    ขอขอบคุณภาพประกอบจาก [ame="http://www.youtube.com/watch?v=wc_72tPz3j4"]คุณ SittipolWeCare สมาชิกเว็บไซต์ยูทูบดอทคอม[/ame]

    ทุก ๆ วัน จะมีผู้ป่วยที่ทนทุกข์ทรมานจากโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ หรือจากการประสบอุบัติเหตุ จนทำให้อวัยวะในร่างกายไม่สามารถทำงานได้ปกติ หนทางเดียวที่จะช่วยต่อลมหายใจให้พวกเขาได้ก็คือ การปลูกถ่ายอวัยวะ ซึ่งก็คือการนำอวัยวะใหม่จากผู้มีจิตศรัทธามาเปลี่ยนกับอวัยวะเดิมของผู้ ป่วย ที่จะช่วยให้พวกเขากลับมามีชีวิตใหม่ได้อีกครั้ง

    แต่ทว่า...ปัจจุบัน ผู้มีจิตศรัทธาที่ประสงค์ร่วมบริจาคอวัยวะมีจำนวนเพียงน้อยนิด ทำให้ในแต่ละปี จะมีผู้ป่วยที่โชคดีได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะไม่ถึงร้อยละ 10 ขณะที่ผู้ป่วยอีกเกือบร้อยละ 90 ต้องทนทุกข์ทรมาน และเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมากในการรักษาตนเอง เพื่อรอโอกาสที่จะได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะที่อาจจะมาถึงหรือไม่ ก็ไม่มีใครทราบได้ ซ้ำร้าย หลาย ๆ คน ต้องจบชีวิตลงก่อนที่จะได้รับโอกาสปลูกถ่ายอวัยวะ

    [​IMG]

    ด้วยเหตุนี้ เอง ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย จึงได้ร่วมกับ กลุ่มสิทธิผล วีแคร์ จัดประกวดภาพยนตร์โฆษณา เพื่อการบริจาคอวัยวะ (TVC for Life) เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ผู้คนในสังคมรับรู้ว่า ยังมีอีกหลายชีวิตที่รอการช่วยเหลือ และคนที่จะสามารถยื่นมือมาช่วยเหลือพวกเขาได้ ไม่ใช่ใครที่ไหน แต่คือ "พวกเรา" ทุกคนนั่นเอง

    สำหรับในการประกวดภาพยนตร์โฆษณาดังกล่าว ผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ คือ นางสาวทักษพร ใจอ่อนน้อม และนางสาวดวงตะวัน ศิริคูณ นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากทีม Found ที่ได้เขียนบทและผลิตภาพยนตร์โฆษณาออกมาได้โดนใจกรรมการอย่างที่สุด ก่อนที่ทีมงานมืออาชีพอย่าง "ฉิก สกล เต็งเจริญ" ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง เลิฟ จุลินทรีย์ รักมันใหญ่มาก และ "วงศ์วริศ อาริยวัฒน์" มิวสิคโปรดิวเซอร์ รุ่นใหม่ไฟแรง จะนำบทภาพยนตร์ไปต่อยอด พร้อมกับแต่งเพลง จนออกมาเป็นมิวสิควิดีโอชุด "เฝ้ารอ" ที่มีเนื้อหากินใจผู้ชมจนได้รับการกล่าวขานไปตาม ๆ กัน

    [​IMG]

    ลองไปชม มิวสิควิดีโอ "เฝ้ารอ" ที่สร้างขึ้นจากแรงบันดาลใจในชีวิตจริง เชื่อว่า ใครที่ได้ชมมิวสิควิดีโอเรื่องนี้แล้ว คงจะเห็นความสำคัญของการบริจาคอวัยวะมากขึ้น เพราะนี่คือการ "ให้" ครั้งสุดท้ายในชีวิตของเรา แต่มันคือการเริ่มต้นครั้งใหม่ของลมหายใจใครอีกหลายคน

    สำหรับ ผู้มีจิตศรัทธาจะบริจาคอวัยวะ สามารถติดต่อได้ที่ ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย อาคารเทิดพระเกียรติสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) ชั้น 5 ถนนอังรีดูนังต์ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทร. 1666 หรือคลิกเข้าไปดูรายละเอียดที่เว็บไซต์สภากาชาดไทย หรือเว็บไซต์ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ


    MV เฝ้ารอ - ศูนย์บริจาคอวัยวะสภากาชาด - YouTube
    MV เฝ้ารอ - ศูนย์บริจาคอวัยวะสภากาชาด - YouTube
    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=wc_72tPz3j4"]MV เฝ้ารอ โพสต์โดย คุณ SittipolWeCare สมาชิกเว็บไซต์ยูทูบดอทคอม[/ame]

    -http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=wc_72tPz3j4-
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948

แชร์หน้านี้

Loading...