พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล เจดีย์ประจำรัชกาลที่ ๑-๔
การปรารถนาพุทธภูมิ
ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย มุ่งเต็มใจ, 10 เมษายน 2009.
หน้า 3 ของ 7
-
-
นำมาจาก เวปคนเมืองบัว
สารบัญ
คำนำ
อารัมภบท มหาวิบัติ
อารัมภบท อนุสาสนีประจำวัน
บทที่ 1 พระพุทธาธิการ
...........น้ำใจพระโพธิสัตว์
...........กระแตโพธิสัตว์
...........พระพุทธเจ้า 3 ประเภท
...........เรื่องอสงไขย
...........เรื่องกัป
...........ธรรมสโมธาน
...........พระพุทธพากย์
...........พระพุทธภูมิธรรม
...........อัธยาศัยโพธิสัตว์
...........พุทธกรณธรรม
...........พระบารมี 30 ถ้วน
...........อานิสงค์พระบารมี
...........อธิมุตกาลกิริยา
...........พุทธอุบัติ
...........อสุญกัป
...........พระเจ้า 5 พระองค์
...........ทรงเป็นเอก
บทที่ 2 พระบารมีเริ่มแรก
...........พรหมรำพึง
...........มาณพหนุ่มผู้เข็ญใจ
...........สัตตุตาประราชา
...........พระพรหมดาบส
...........มาณพหนุ่มช่างทอง
...........เจ้าหญิงสุมิตตาเทวี
...........อรดีเทวราชบพิตร
บทที่ 3 พระบารมีตอนกลาง
สาครจักรพรรดิภูมิบดี
บทที่ 4 พระบารมีตอนปลาย
สมเด็จพระทีปังกรอุบัติ
สมเด็จพระพระโกณทัญญะอุบัติ
สมเด็จพระสุมังคละอุบัติ
สมเด็จพระสุมนะอุบัติ
สมเด็จพระเรวตะอุบัติ
สมเด็จพระโสภิตะอุบัติ
สมเด็จพระอโนมทัสสีอุบัติ
สมเด็จพระปทุมะอุบัติ
สมเด็จพระนารทะอุบัติ
สมเด็จพระปทมุตระอุบัติ
สมเด็จพระสุเมธะอุบัติ
บทที่ 5 พระบรมไตรโลกนาถ
วัฏสงสาร
พระสัพพัญญูเจ้า
สัญโญชน์
โลกุตรภูมิ
โสตาปันนโลกุตรภูมิ
คุณวิเศษ
สกิทาคามีโลกุตรภูมิ
คุณวิเศษ
อนาคามีโลกุตรภูมิ
คุณวิเศษ
อรหัตโลกุตรภูมิ
ประเภทพระอรหันต์
คุณวิเศษ
บทที่ 6 พระอนันตพุทธคุณ
พระกาฬพุทธรักขิตเถระ
โลกสมุทร
ธรรมบรรพต
ธรรมเมฆ
ธรรมนที
พระพุทธสีหนาถ
รอยพระพุทธบาท
อวสานบท
นิพพานสมบัติ
นิพพานปฏิปทา
ปัจฉิมพจน์[/b] -
<table width="100%" bgcolor="#e4f3f3" border="0"><tbody><tr><td>เก็บความคิดเห็นที่ 37 : (Vicha)</td><td></td></tr><tr><td colspan="2">
<!--emo&:09:--><!--endemo--> อนุโมทนาสาธุด้วยนะครับ คุณ oreo1234จากคุณ : Vicha [ ตอบ: 02 เม.ย. 51 11:36 ] แนะนำตัวล่าสุด | สมาชิกลานธรรมถาวร | ตอบ: 2920 | ฝากข้อความ | </td></tr></tbody></table>
ผม ขอเพิ่มเติมในที่นี้นะครับ บทเรื่องทั้งหมดนั้นเป็นของท่านเจ้าคุณพรหมคุณากร เป็นส่วนหนึ่งในหนังสือศาสตร์ว่าด้วยการเป็นพระพุทธเจ้า หรือ มุนีนาถทีปนี นะครับ ถ้าเป็นเรื่องของวิปัสสนากรรมฐาน ก็จะอยู่ในหนังสือ วิมุตติมาลี เป็นหนังสือที่มีผู้รู้จักกันมากเมื่อประมาณเกือบ 30 ปีมาแล้วครับ
ทั้ง มุนีนาถทีปนี และ วิมุตติมาลี เป็นหนังสือที่ทรงคุณค่ามาก มีอิทธิพลต่อผู้ศึกษาในยุคปัจจุบัน แต่ชื่อของเจ้าคุณ วิลาส ญาณวโร อดีตเจ้าอาวาสวัดดอนญาณนาวา กลับถูกบดบังด้วยชนรุ่นหลังไปเรื่อยๆ เป็นธรรมดา แต่ผลงานของท่านกลับสว่างกระจายเป็นที่รู้จักกันทั่วไปเรื่อยๆ
หมายเหตุ พระพรหมคุณากร หรือท่านเจ้าคุณ วิลาส ญาณวโร ท่านได้มรณภาพไปแล้วที่ประเทศพม่าก็เพราะกรณีวัดธรรมกายนั้นแหละครับ ท่านทรงไว้ซึ่งความถูกต้องในการตรวจสอบเพื่อให้เกิดเป็นธรรมและให้โอกาส เพื่อการปรับปรุง แต่ด้วยกระแสของมวลชนที่ไม่เข้าใจท่านต้องการความเฉียบขาด ท่านจึงต้องสิ้นแม้ยศฐานสมนศักดิ์ และต้องไปจำพรรษาที่ประเทศพม่า ทั้งแต่นั้นมาชื่อของท่านเสมือนหรี่ลงๆ ก็เพราะผู้ที่ปรารถนาเป็นพระโพธิสัตว์นี้แหละ
คงไว้แต่บทความ ที่รวบรวมและโวหารของท่านเท่านั้น แม้แต่ผู้ที่ท่านให้โอกาสก็ยังดัดแปลงบทความของท่าน ผสมรวมกับของผู้อื่น ตกแต่งนิดตกแต่งหน่อยอ้างเป็นของตนเองโดยไม่บอกที่มาที่ไปว่า หยิบยกมาจากส่วนใหนของหนังสือของผู้ใดบ้างเพื่อเป็นเกียรติ์กับท่าน
มี หลายผู้คนนักที่เอาบทความทางธรรมของผู้อื่นไปทั้งดุ้นหรือดัดแปลง โดยไม่บอกที่มาที่ไปเพื่อเป็นเกียรติ์กับท่านผู้รวบรวมและรจนาขึ้นมา และเพื่อได้ง่ายในการสืบค้นตรวจสอบเพื่อความถูกต้อง ผิดทั้งจรรยาบัญและหลักการอ้างอิงเพื่อการศึกษาที่ถูกต้อง
หรือ เป็นเพราะความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า ปรารถนาเป็นพระโพธิสัตว์ นั้นได้ธรรมสิ่งใดมา ก็ไม่ยอมบอกที่มาที่ไป เพื่อแสดงให้เห็นว่าตนเองเป็นผู้รู้ ยิ่งกว่าผู้อื่นเช่นนั้นหรือ?
ผิด ทั้งจรรยาบัญ และผิดทั้งหลักการอ้างอิงเพื่อการศึกษา ดังนั้นความเป็นโพธิสัตว์ของผู้ที่ปรารถนานั้นย่อมคลาดเคลื่อน เพราะรู้ดีตั้งแต่การประสงค์กระทำให้เข้าใจผิดแล้ว
หรือ วิสัยผู้ที่ปรารถนาเป็นพระโพธิสัตว์ เป็นเช่นนี้กันส่วนมากหรือ? แล้วอีกยาวนานเท่าไรจึงจะถึงความเป็นโพธิสัตว์ แล้วยังอีกยาวนานเท่าไรจึงจะสมบูรณ์เพื่อตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
แม้ แต่ช่วงอยู่ในธรรม ของพระพุทธเจ้า และเหล่าพระภิกษุสงฆ์แล้ว ยังไม่สามารถเริ่มต้นได้ถูกต้องตามธรรมเลย ด้วยความหลงยกอัตตาตนเป็นใหญ่ เพื่อชื่อเสียงโดยไม่มองเห็นถึงความถูกต้อง แล้วเมื่อไหรจะได้ชื่อว่า เป็นพระโพธิสัตว์ได้เต็มภูมิเสียที่
ขอโทษนะครับ ไม่เกี่ยวกับคุณ oreo1234 เพราะ คุณ oreo1234 ไม่ทราบที่มาที่ไปอย่างแท้จริงครับ สิ่งที่กระทำอยู่นี้ก็เป็นบุญเป็นกุศลครับเพราะเนื้อธรรมยังมีอยู่ แต่ผู้ที่เป็นต้นเรื่องที่กระทำแบบหวังผลแบบผิดๆ นี้นั้นไม่สมควรเลยครับ.
____________________________________
ธรรมทานย่อมชนะทานทั้งปวง
รสแห่งธรรมย่อมชนะรสทั้งปวง
ความยินดีในธรรมย่อมชนะความยินดีทั้งปวง
ความสิ้นไปแห่งตัณหาย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง. (พุทธพจน์)
กิจที่เราพึงทำ.............. คือให้ธรรมเป็นทาน
ธรรมนั้นจะสืบสาน........ ให้เบ่งบานในใจเขา
ธรรมจะดำเนินจัดสรร..... เป็นประกันไม่ต้องเขลา
เมื่อจิตยังไม่พ้นเบา....... สมัยเราคงพ้นได้.
-
“พระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชดาญาณ” เจดีย์ประจำรัชกาลที่ ๑
:: -
บทที่ 4 พระบารมีตอนปลาย
บัดนี้ จักพรรณนาถึงการสร้างพระบารมี เพื่อพระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณขององค์สมเด็จพระมิ่งมงกุฎศรีศากยมุนีโคดมบรม ครูเจ้าตอนปลาย คือตอนที่ได้รับลัทธยาเทศคำพยากรณ์จากสำนักสมเด็จพระชินวรสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งหลายต่อไป
เมื่อพระองค์ได้ทรงเริ่มสร้างพระบารมีตอน ต้นเป็นมโนปณิธานตั้งความปรารถนาซึ่งพระพุทธภูมิแต่ในพระหฤทัยเป็นเวลานาน 7 อสงไขยและต่อมาได้ทรงสร้างพระบารมีตอนกลางเป็นวจีปณิธาน ตั้งความปรารถนาซึ่งพระพุทธภูมิด้วยการออกโอษฐเปล่งพระวาจาเป็นเวลานาน 9 อสงไขย ตามที่ได้กล่าวมาแล้วในบทก่อน
ตอน นี้ ก็ถึงการสร้างพระบารมีตอนปลายซึ่งเป็นตอนที่สำคัญ เพราะความมุ่งมั่นในพระโพธิญาณของพระองค์ใกล้จะสำเร็จลงแล้ว โดยได้รับลัทธยาเทศคำพยากรณ์จากสำนักแห่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ว่าจักได้ตรัสเป็น พระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ในกาลอนาคตแน่นอน ซึ่งนั่นก็หมายความว่า พระองค์ได้ทรงเป็นนิตยโพธิสัตว์ คือพระโพธิสัตว์ผู้เที่ยงแท้แน่นอนต่อการได้พระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณในตอนนี้ เอง แม้ว่าพระองค์ใกล้จะสำเร็จพระโพธิญาณ เพราะได้ผ่านการสร้างพระบารมีมานาน 2 ตอนต้น รวมกันถึง 16 อสงไขยก็ดี ถึงกระนั้นพระองค์ก็ยังต้องทรงสร้างพระบารมีในตอนปลายนี้อีก เป็นเวลานานถึง 4 อสงไขยกับเศษอีกหนึ่งแสนมหากัป
ก่อนอื่น ขอแจ้งให้ทราบว่า ในการกล่าวถึงการสร้างพระบารมีตอนปลายนี้ตั้งใจว่าจะพรรณนาให้มากกว่าตอน อื่น เพราะเป็นตอนสำคัญที่เราท่านควรสนใจ เมื่อได้ปรับความเข้าใจกันเป็นอันดีเช่นนี้แล้ว ก็จะได้เริ่มเข้าเรื่องเสียที
ที่ว่า สมเด็จพระศรีศากยมุนีโคดมบรมครูเจ้าของเราทั้งหลายได้ทรงพระอุตสาหะสร้างพระ บารมีในตอนปลายนี้ เป็นเวลานานถึง 4 อสงไขยกับอีกหนึ่งแสนมหากัปนั้นพึงทราบตามลำดับพระชาติที่พระองค์ทรงมีโอกาส พบสมเด็จพระพุทธเจ้าและได้รับลัทธยาเทศพยากรณ์จากสำนักสมเด็จพระพุทธเจ้า ทั้งหลายที่พระองค์พบในพระชาตินั้นๆ ดังต่อไปนี้
-
1. สมเด็จพระทีปังกรอุบัติ
บรรดาเวลา 4 อสงไขยกับหนึ่งแสนมหากัปนั้น ในอสงไขยที่หนึ่งตอนแรกทีเดียว ปรากฏว่ามีสารมัณฑกัปหนึ่งบังเกิดขึ้น ก็คำว่าสารมัณฑกัปนี้ ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลายคงจะจำได้ว่าเป็นกัปที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จมาอุบัติตรัสในโลก 4 พระองค์ใช่ไหมเล่า เพราะได้เคยกล่าวไว้แล้วในตอนว่าด้วยเรื่องอสุญกัปโน่นแล้ว ก็สารมัณฑกัปที่เรากำลังพูดถึงกันอยู่นี่ ก็มีสมเด็จพระพุทธเจ้าเสด็จมาอุบัติตรัสในโลก 4 พระองค์ คือ
1.สมเด็จพระมิ่งมงกุฏตันหังกรพุทธเจ้า
2.สมเด็จพระมิ่งมงกุฏเมธังกรพุทธเจ้า
3.สมเด็จพระมิ่งมงกุฏสรณังกรพุทธเจ้า
4.สมเด็จพระมิ่งมงกุฏทีปังกรพุทธเจ้า
ก็ ในระยะกาลที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 3 พระองค์แรก คือ สมเด็จพระตันหังกรพุทธเจ้า สมเด็จพระเมธังกรพุทธเจ้า และสมเด็จพระสรณังกรพุทธเจ้า เสด็จมาอุบัติตรัสในโลกและประกาศพระศาสนาอยู่นั้น พระโพธิสัตว์เจ้าของเราก็ได้มาเกิดในโลกนี้ ได้ประสบพบปะและสร้างพระบารมีในสำนักของพระพุทธเจ้าเหล่านั้นทุกๆ พระองค์มา แต่เพราะวาสนาบารมียังไม่เต็มที่บริบูรณ์ดี จึงยังไม่ได้รับลัทธยาเทศพุทธพยากรณ์จากพระโอษฐของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธ เจ้าทั้งสามพระองค์นั้นเลย ฉะนั้นตอนนี้จึงไม่ค่อยสำคัญเท่าใดนัก มาถึงตอนสำคัญเอาเมื่อถึงศาสนาของสมเด็จพระพุทธเจ้าพระองค์สุดท้ายในสารมัณ ฑกัปนั้น คือ ศาสนาของ สมเด็จพระสรรเพชญทีปังกรพุทธเจ้า จึงจะเกิดเหตุสำคัญ ซึ่งจะได้พรรณนาดังต่อไปนี้ -
“พระมหาเจดีย์มุนีบัตรบริขาร” เจดีย์ประจำรัชกาลที่ ๓ -
จะกล่าวกลับจับความ จำเดิมตั้งแต่ศาสนาของสมเด็จพระมิ่งมงกุฎสรณังกรพุทธเจ้าค่อยเสื่อมสลายสูญิ สิ้นหมดไปแล้ว โลกก็ว่างจากศาสนาอยู่ชั่วระยะกาลนานช้า ต่อมาจึงได้มีสมเด็จพระพุทธเจ้าเสด็จมาอุบัติตรัสขึ้นอีกพระองค์หนึ่ง สมเด็จพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ทรงพระนามว่า สมเด็จพระมิ่งมงกุฎทีปังกรสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อพระองค์ทรงอุบัติขึ้นแล้ว ก็ทรงประกาศพระพุทธศาสนายังศาสนธรรมให้แผ่กว้างออกไปเหล่าสัตว์ทั้งหลายใน สมัยนั้น ครั้นได้รับรสพระธรรมเทศนาต่างก็ได้บรรลุมรรคผลตามสมควรแก่อุปนิสัยของตน เป็นอันมากแล้ว
กาลครั้งนั้น ยังมีพรหมณ์มาณพหนุ่มผู้หนึ่งปรากฏนามว่า สุเมธพราหมณ์ มีทรัพย์มหาศาลนับได้มากมายหลายโกฏิทีเดียว นอกจากนั้นยังเป็นผู้เชี่ยวชาญในเชิงมนต์ เฟื่องฟุ้งรู้แจ้งในไตรเพทางคศาสตร์ฉลาดในศิลปะสิ้นทุกประการ วันหนึ่งสุเมธพราหมณ์ผู้หนุ่มนั้น นั่งอยู่ภายในห้องระโหฐานเป็นที่สงัดแล้วรำพึงขึ้นด้วยจิตตามยปัญญาว่า
-
“ขึ้นชื่อว่า การก่อภพกำเนิดเกิดเป็นรูปกายขึ้นใหม่ย่อมมีกองทุกข์ท่วมท้นหฤทัยเที่ยงแท้ อนึ่ง แม้เมื่อชมน์ชีพแตกพรากจากกายทำลายร่างสรีรพยพนั้นเล่าก็เป็นทุกข์ถึงที่สุด ใหญ่ยิ่งกว่าทุกข์ทั้งปวง การก่อภพชาติใหม่นี้เป็นทุกข์ใหญ่หลวง เพราะว่าก่อชาติกำเนิด ชาติก่อให้เกิดชรา ชราก่อให้เกิดพยาธิมรณะ เมื่อชาติชรา พยาธิ มรณะ มีขึ้นมาได้แล้ว ความไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บไข้ ไม่ตาย ก็คงจะมีเป็นแม่นมั่น อย่ากระนั้นเลย ควรที่เราจะประสงค์เจาะจงแสวงหาความดับชาติชรา พยาธิ มรณะนั้นให้จงได้
อนึ่ง ตัวเราคงต้องตายต้องทอดทิ้งซึ่งร่างกายอันเน่าเปื่อยปฏิกูลนี้ แล้วไปเกิดใหม่ให้ได้ทุกข์อีกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไฉนจึงยังหนักหน่วงห่วงใยในร่างกายเครื่องปฏิกูลนี้อยู่เล่า ควรที่เราจะพึงหาทางออกไป ไม่เกิดเสียจะดีกว่าก็แต่ว่าหนทางนั้นเห็นทีจะพึงพบได้โดยยาก จำเราจะพึงพยายามให้จงมาก อุตสาหะเสาะแสวงหาหนทางนั้นให้พบจงได้ อนึ่งความทุกข์ภัยพยาธิมีแล้วฉันใด ความสุขก็คงมีเช่นเดียวกัน
อีก ประการหนึ่ง เมื่อภวะกำเนิดคือ ความก่อเกิดมีแล้วฉันใด วิภวะคือความไม่ก่อกำเนิดเป็นร่างกาย ก็คงจะมีเช่นเดียวกัน อีกประการหนึ่ง เมื่อความร้อนคือเตโชธาตุไฟมีอยู่แล้ว ความเย็นคืออาโปธาตุ ก็มีไว้สำหรับความร้อนแก้กันฉันใดก็เมื่อไฟคือความเกิด แก่ เจ็บ ตาย บังเกิดมีแล้ว สิ่งที่พึงระงับดับอัคคีเหล่านั้น ก็คงมีเป็นแม่นมั่น อีกประการหนึ่ง เหมือนการบาปมีแล้ว ย่อมมีการบุญแก้ ความเกิดมีแน่ ความไม่เกิดเที่ยงแท้ที่สัตว์พึงปรารถนา ก็คงจักมีเป็นแม่นมั่น
อีก ประการหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษผู้ทรงพลัง แต่มีตัวแปดเปื้อนคูถอุจจาระเน่าเหม็นร้ายกาจนักหนา เมื่อมาเห็นสาระอันเต็มเปี่ยมด้วยน้ำในสะอาด ควรหรือที่เขาจะไม่กระวีกระวาดล้างเนื้อล้างตัวเสียให้หมดมลทิน ก็ตัวเรานี้ ในเมื่อมลทินคือ กิเลสที่ควรล้างกำลังแปดเปื้อน ฉันใด ตัวเรานี่เล่า ก็มีร่างกายอันเปรียบประหนึ่งหมู่มหาโจรในฉกาจสามารถที่จะปล้นผลาญจิตใจให้ ขาดจากกุศลธรรมทั้งปวง จำเราจะตัดห่วงเสน่หาในกายทอดทิ้งอย่าให้มีอาลัย เหมือนหนึ่งบุรุษที่ถูกโจรชิงทรัพย์ไปฉันนั้นเถิด” -
สุเมธมาณพผู้มีปรีชา ครั้นคิดอุปมาทบทวนย้อนหน้าย้อนหลังวิจิตรพิสดารมากมายดังนี้แล้ว ในที่สุด ก็ตัดสินใจให้เปิดคลังสมบัติของตนมากมายหลายโกฏิบริจาคให้เป็นทานแจกจ่าย ยาจกวณิพกพวกอนาถาหาที่พึ่งมิได้จนหมดสิ้นแล้ว ก็ออกไปสู่ประเทศเขตป่าใหญ่ ณ ที่ใกล้เชิงเขาธรรมิกบรรพตจัดแจงสร้างบรรณศาลาอาศรทบทเป็นที่อาศัยเสร็จแล้ว ก็เปลื้องผ้าสาฏกเนื้อดีที่ตนครอง นุ่งผ้าเปลือกป่านและคากรองบวชเป็นดาบสสร้างพรตพรหมจรรย์ ไม่กี่วันต่อมา ก็ละทิ้งเสียซึ่งบรรณศาลาที่อยู่ เพราะรู้ว่ายังทำให้เกิดห่วงใย เข้าป่าลึกเข้าไปอีกอาศัยสถานร่มไม้รุกขมูลเป็นที่อยู่ เลือกดูผลไม้ที่หล่นลงมาเองเป็นประมาณ รับประทานเป็นอาหารพอแต่ว่าเป็นยาปนมัติเครื่องเลี้ยงชีพเท่านั้น มีจิตมุ่งมั่นปฏิบัติโดยทางกสิณานุโยคพยายามอยู่ในอรัญญสถานไม่นานก็ได้ บรรลุอภิญญาสมาบัติ
ครั้นเมื่อสุเมธดาบสผู้ยิ่งด้วยพรต พรหมจรรย์ ท่านได้สำเร็จอภิญญาฌานสมาบัติบริบูรณ์ดี มีวสีภาพเชี่ยวชาญชำนาญแล้ว ก็เพลิดเพลินเจริญฌานเป็นสุขอยู่ หารู้ไม่เลยว่าบัดนี้ สมเด็จพระชินสีห์ทีปังกรสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้มาตรัสเป็นพระบรมโลกนายกแล้ว ความจริงนั้นควรจะรู้ หากไม่มัวเพลิดเพลินเจริญฌานอยู่ เพราะธรรดาวิสัยของผู้ได้อภิญญาสมาบัติย่อมรู้เห็นซึ่งนิมิตในกาลทั้ง 4 ก่อน คือ กาลเมื่อผู้ที่จะเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาปฏิสนธิ 1 กาลเมื่อพระองค์ประสูติจากพระครรภ์ 1 กาลเมื่อได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ 1 กาลเมื่อทรงประทานพระธรรมจักรเทศนา 1 ซึ่งสุเมธดาบสฌานมีอยู่แล้ว จะไม่แสวงหาสระน้ำที่มีอมตธรรมเป็นอุทกวารีแล้วล้างเสียซึ่งมลทินคือกิเลส นั้นหรือไฉน -
“พระมหาเจดีย์ทรงพระศรีสุริโยทัย” เจดีย์ประจำรัชกาลที่ ๔ -
อีกประการหนึ่ง เปรียบเหมือนโยธีนายทหารผู้ชาญฉลาดที่ถูกข้าศึกศัตรูหมู่ปรปักษ์ปัจจามิตรมา ล้อมไว้ เมื่อหนทางที่พอจะประลาตหลีกลี้หนีไปได้ยังมีอยู่ ควรหรือที่จะหลงมุมานะสู้จนเสียชีวิตไม่คิดหนี ก็ตัวเรานี้เมื่อข้าศึกคือกิเลสมีอำนาจร้อนรุมหุ้มห้อมล้อมไว้อยู่ และหนทางเป็นที่เกษมเปรมใจคือพระนิพพาน อันเป็นที่หลีกหนีจากกิเลสมีอยู่ เมื่อเป็นเช่นนี้จักไม่คิดหลีกหนีไปหรือไฉน
-
อีกประการหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีโรคาพยาธิบีฑาอยู่ เพื่อได้พบแพทย์ผู้วิเศษแล้ว ควรหรือที่บุรุษนั้นจะไม่คิดอ่านเยียวยารักษาพยาธิแห่งตนให้หาย ก็ตัวเรานี้ เมื่อโรคาพยาธิคือกิเลสมาย่ำยีบีฑาเบียดเบียนอยู่ จะไม่เสาะแสวงหาแพทย์ทิพยาจารย์ให้พยาบาลขจัดเสียซึ่งโรคาพยาธิ คือ กิเลสหรือไฉน
-
อีกประการหนึ่ง เปรียบเหมือนชายผู้มีน้ำใจรักความสะอาด ซึ่งมีซากศพอันแรงร้ายกาจด้วยกลิ่นเหม็นปฏิกูลน่าเกลียดยิ่ง มาผูกพันกระสันติดอยู่กับคอตน ควรหรือที่ชายคนนั้นจะสู้ทนกลิ่นเหม็นได้ เขาย่อมจะร้อนรนขวนขวายปลดเปลื้องซากศพนั้นให้พ้นจากคอตนเสียโดยเร็วฉันใด ตัวเรานี้เล่าจะเอื้อเฟื้ออาลัยอาวรณ์อะไร ในร่างกายอันเน่าเปื่อยปฏิกูลมากมายอยู่ด้วยซากสารต่างๆ จงรีบหาทางปลดเปลื้องทอดทิ้งเสีย อย่าให้เป็นห่วงใยเฝ้าอาลัยเหลียวแลอยู่ เหมือนบุรุษผู้มีซากศพติดคออยู่นั่นเถิด
-
อีกประการหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษถูกหมู่โจรฉกาจมันอาจหาญพากันมาปล้นกลุ้มรุมชิงฉวยเอาห่อ ทรัพย์ได้แล้ว แลเห็นว่าตัวจักไม่สามารถเพื่อจะหักชิงเอาห่อทรัพย์กลับคืนมาได้ เขาย่อมสิ้นอาลัยในทรัพย์ไม่เสียดาย หมายแต่จะเอาชีวิตรอดรีบวิ่งหนีไปโดยเร็ว ข้อนี้มิได้รู้ในกาลสำคัญที่กล่าวมานี้ ก็เพราะความที่ตนเพลิดเพลินเจริญฌานเป็นการหนักอยู่ จึงมิได้เห็นมิได้รู้ด้วยมิได้ใฝ่ใจดูซึ่งเหตุอื่นเลย ต่อเมื่อหมู่มหาชนเป็นอันมาก อาราธนาสมเด็จพระทีปังกรตถาคตมาแต่ปัจจันตประเทศ จึงเกิดเหตุมหาโกลาหลเป็นการใหญ่ เพราะว่าประชาชนทั้งหลายมีความชื่นชมโสมนัสต่างก็พากันจัดแจงตกแต่งหนทาง แผ้วถางเกลี่ยมูลพูนถมระดมกันกระทำทางเป็นที่สมเด็จพระพุทธดำเนินอยู่
-
ในขณะนั้น สุเมธดาบสผู้มีตบะอันสูง เพราะบรรลุฝั่งแห่งอภิญญาเที่ยวจาริกมาทางอากาศกลางเวหา มองลงมาเห็นประชาชนประชุมอยู่เป็นหมู่มาก ดูหลากประหลาดด้วยล้วนรื่นเริงบันเทิงจิตน่าพิศวง สุเมธดาบสถึงลงจากคัคฆฌัมพรห้วงเวหาหาว แล้วมีพจนประภาษถามข่าวคราวชนมนุษย์หมู่นั้นว่า
“มหาชนชวนรื่นเริงบันเทิงจิต ชวนกันประกอบกิจแผ้วถางปฐพีโสภโณภาสเพื่อบุคคลผู้ใดจะจรมา”
มหาชนเหล่านั้นได้ฟังถาม จึงแจ้งความแก่สุเมธฤาษีผู้มีฤทธิ์ว่า
“ข้า แต่ท่านฤาษี สมเด็จพระทีปังกรสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้อนุตรโลกนายกยอดบุคคลเสด็จอุบัติขึ้นใน โลกแล้ว กาลบัดนี้ข้าพเจ้าทั้งหลายมีใจเลื่อมใสในพระองค์เป็นยิ่งนัก จึงชวนกันแผ้วถางเพื่อให้เป็นทางที่เสด็จพระพุทธดำเนิน ณ สถลมารควิถีเพื่อที่จะได้เสด็จมาแสดงพระธรรมเทศนาโปรดพวกเราชาวเมืองนี้” -
สุเมธฤาษี แต่พอได้สดับว่าสมเด็จพระพุทธเจ้าบังเกิดแล้วในโลกเท่านั้น ก็พลันเกิดปีติเป็นล้นพ้นสุดประมาณ จึงมาจินตนาการว่า กาลนี้ควรที่เราจะหว่านพืชเพื่อผล ขณะนี้เป็นมงคลขณะบังเกิดมี หาควรที่เราจะมาทำละเมินเสียไม่ ครั้นได้คำนึงจินตนาด้วยอำนาจศรัทธากอปรด้วยญาณโสมนัสฉะนี้แล้วจึงกล่าวกะชน เหล่านั้นว่า
“แม้ท่านทั้งหลาย แผ้วถางทางถวายพระพุทธเจ้าละก็จงขอให้โอกาสแก่เราสักแห่งเถิด เราบังเกิดศรัทธาปรารถนาใคร่จะทำทางถวายพระพุทธเจ้าบ้าง”
คราว นั้น ชนทั้งหลายเห็นว่าฤาษีเป็นผู้มีฤทธิ์เพราะเหาะมากลางอากาศได้เช่นนั้น ก็เลยชี้มือไปตรงบริเวณที่ซึ่งถากถางทางยากลำบากเพราะมีเปือกตนโคลนเลน เป็นบริเวณที่ต้องถมหามูลดินมาเกลี่ยให้เสมอ เป็นส่วนที่ทำยาก แล้วบอกแก่ฤาษีว่า “ถ้าท่านปารถนาจะทำทางถวายแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็จงทำบริเวณที่ ตรงนั้นให้สำเร็จด้วยดีเถิด ท่านฤาษี” -
สุเมธดาบสบรมโพธิสัตว์ ครั้นเขายกอนุญาตให้ทำที่ตรงนั้นให้สะอาดเรียบร้อยก็มิรอช้าอุตสาหะตั้งหน้า ประกอบการมีจิตวารรำพึงพระพุทธนาม พุทโธ นั้นเป็นเนืองนิตย์ เปลื้องหนังเสือที่รองนั่งออกผูกทำเป็นถุงกะทอห่อหิ้วซึ่งมูลดิน เอามาถมในที่ลาดลุ่มลึกเป็นเลนเหลวอยู่นั้น มิทันทีจะทำให้สำเร็จตลอด เหลืออยู่ยาวประมาณชั่วตัวคนก็ได้เวลาที่สมเด็จพระทศพลมิ่งมงกุฎพุทธทีปังกร ศาสดา เสด็จพาพระขีณาสวสงฆ์มากมายมาใกล้จะถึง
เสียงศัพท์ บรรเลงอื้ออึง ด้วยสำเนียงทวยเทพศุภสุรคณานิการเป็นถ่องแถวแนวสลอนด้วยมหาชนอเนกแน่นหนา ทำปัจจุคมนาการนำเสด็จพระพุทธดำเนินมา บางหมู่ก็ประโคมดุริยดนตรีแตรสังข์กังสดาลฆ้องกลองก้องสนั่นศัพท์แซ่ซ้อง สาธุการ เอิกเกริกด้วยความโสมนัสทั้งมนุษย์และเทพยดาอินทรีย์พรหมต่างก็มีกรประณมมิ ได้คลายเคลื่อนแลละลานเลื่อนตามเสด็จพระพุทธดำเนินมา ฝูงเทพยดาก็ประโคมทิพยดนตรีหมู่มนุษย์ก็
ประโคมดีดสีตีเป่าตามภาษามนุษย์ ดำเนินนำตามเสด็จพระพุทธลีลา บางเทพยดาก็โปรยปรายทิพยบุปผา ก็ดวงดอกทิพยมณฑารพโกสุมเป็นประธานลอยเลื่อนเกลื่อนทั่วทั้งทิศานุทิศ ณ เบื้องบนนภากาศ หมู่มนุษย์ชาติก็ยกขึ้นซึ่งเครื่องสักการบูชาล้วนเครื่องหอม แห่ล้อมจรลีตามเสด็จพระพุทธดำเนินมา -
กาลครั้งนั้น สุเมธดาบสก็มีจิตเบิกบานอธิษฐานอุทิศชีวิตถวายแด่พระพุทธองค์ จึงปลดเปลื้องชฎาสยายเกษาลง ลาดปูผ้าเปลือกไม้กับหนังเสือรองนั่งบนเปือกตมนั้นแล้ว ก็ทอดกายนอนคว่ำหน้าลงต่อถนนที่ขาดลาดลุ่มเป็นเลนเหลวที่ตนทำยังไม่ทันเสร็จ นั้น พลันตั้งใจคำนึงนึกว่า
“ขออาราธนาพระพุทธองค์ จงทรงพระมหากรุณาพระขีณาสวสงฆ์ทั้งหลายเสด็จทรงย่างพระบาทดำเนินไปบนกายแห่ง ข้าพระบาทนี้เถิด จะได้เกิดเป็นหิตานุหิตประโยชน์แก่ข้าพระบาท พระองค์อย่าได้ย่างพระบาทหลีกลงเลียบลุนเลนเหลวนี้เลย” แล้วก็หมอบคว่ำหน้านิ่งเฉย เพื่อรอให้สมเด็จพระทีปังกรพุทธเจ้าพาพระอริยสงฆ์ทรงเหยียบกายของตน ซึ่งทอดเป็นสะพานอยู่อย่างนั้น -
มีกรณีที่เราท่านทั้งหลาย ควรจะทราบไว้ในตอนนี้ก็คือว่า ในขณะนี้หากสุเมธปรารถนาจะหน่วงเอาอมตธรรมกำจัดกิเลสเสียให้ขาดจากสันดาน แล้ว ก็จักได้สำเร็จแน่นอน เพราะอุปนิสัยแห่งพระอรหัตรุ่งเรืองเต็มอยู่ในสันดานแล้ว เพียงแต่ได้สดับพระสัทธรรมเทศนากึ่งบาทพระคาถาก็จักได้บรรลุอรหัตผล สำเร็จเป็นพระอรหันตอริยบุคคลทันที แต่สุเมธมหาฤาษีเคยสร้างพระบารมีมาเพื่อปรมาภิเษกสัมโพธิญาณปรารถนาการได้ ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้ามานานนักหนา จึงในขณะนี้ท่านมหาฤาษีก็คิดไปว่า
“จะ มีประโยชน์ใหญ่หลวงอย่างไร หากเราจะได้อมตธรรมแต่เพียงตน จะมีประโยชน์ใหญ่หลวงอย่างไร ด้วยการได้ข้ามโอฆสงสารแต่ผู้เดียว แต่เมื่อใด เราได้ถึงความเป็นพระสัพพัญญูผู้ข้ามโลกแล้ว เมื่อนั้นเราจักยังสัตว์ทั้งหลายทั้งมนุษยโลกและเทวโลกให้ข้ามได้ด้วย จักให้ขึ้นสถิตสำเภาธรรม ขนส่งให้ลุล่วงข้ามถึงฝั่งแห่งพระนฤพานให้จงได้” จินตนาคิดไปเสียเช่นนี้ จึงมิปรารถนาเป็นสาวกสำเร็จเป็นพระอรหันต์ในกาลครั้งนี้
หน้า 3 ของ 7