การปล่อยวาง หลวงพ่อชา สุภัทโท

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย aprin, 29 มีนาคม 2008.

  1. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    ตอบปัญหาคนไทย ในอเมริกา รัฐวอชิงตัน

    <TABLE><TBODY><TR><TD vAlign=top align=right width=100>หลวงพ่อ : </TD><TD vAlign=top>................สงสัยทั้งนั้นเหรอ


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right width=100>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>ไม่.....ผม.....เดี๋ยวอาจารย์.....ผมไม่ถาม.........เมื่อกี้ผมถามแล้ว......


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right width=100>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>ใช่.....อยากจะรู้เรื่อง อยากจะรู้อะไรต่ออะไร เรื่องจิตใจว่า เราอยู่นอกพุทธศาสนา.....มา เลื่อมใสได้อย่างไร อยากรู้จักในฐานอย่างนี้


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right width=100>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>ครับ.....เข้าใจครับคือว่า.........นี่ถ้าผมไปเล่าให้ใคร คงจะไม่มีใครเชื่อ


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right width=100>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>ใช่.....ที่ท่าน (หมายถึงท่านสุเมโธ) ตอบให้ท่านฟังน่ะ ท่านตอบไม่ค่อยถูกดีน๊ะ ถูก.....แต่มันไม่เข้าใจ ถามว่า.....ท่านได้ไปเสาะแสวงหาศาสนาอื่นแล้วหรือยัง ท่านว่า......ไม่ได้ไปหรอก คือว่ามาถึงศาสนาพุทธแล้วก็พอ คำที่ว่าพอน่ะ คนฟังก็เห็นว่า ท่านศึกษาน้อยไป นี่น่ะ.....ไม้ฆ้อนนี่เห็นไม๊ (หลวงพ่อหยิบไม้ฆ้อนที่วางอยู่ใกล้ ๆ แสดงประกอบ) ส่วนหนึ่งอยู่ตรงนี้ ส่วนหนึ่งอยู่ตรงโน้น ท่านจับตรงกลางมันขึ้นเท่านี่น่ะ สองข้างมันก็ยกขึ้นเองของมัน


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right width=100>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>ครับ


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right width=100>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>ศึกษาพุทธศาสนานั่นน่ะ มันหมดที่จะสงสัยแล้ว ก็เลยหยุด ท่านได้ไปศึกษาศาสนาอื่น ๆ หรือเปล่า.....ศาสนาอื่น ๆ มันอยู่สองข้างนี้ ตรงนี้เป็นจุดกลางน๊ะ (หลวงพ่อหยิบไม้ฆ้อนที่วางอยู่ใกล้ ๆ แสดงประกอบคำอธิบาย คือตรงนี้ท่านเห็น ความว่า.....ไม่มีที่จะเพิ่มเข้าไปอีกแล้ว ไม่มีที่จะเอาออกไปอีกแล้ว..... ไอ้ความเข้าใจของท่านอย่างนั้น ท่านถึงตอบอย่างนี้ ถ้าได้ศึกษาพุทธศาสนาแล้วก็แล้ว.....เป็นอย่างนั้น อาตมาก็มีความรู้สึกเหมือนกันน๊ะ เรื่องคนนับถือพุทธศาสนา อย่างเมืองไทยเราน่ะ อย่างโยมที่ว่า.....อาตมาก็ฟังได้เหมือนกัน แต่พุทธศาสนาจะสมบูรณ์ทุกเรื่อง.....อันนี้ก็ฟังได้เหมือนกันน๊ะ ถึงอาตมาจะบอกไปว่า จะเอาฝรั่งมาฝึกหัดคนไทยน่ะ.....ไม่รู้เรื่อง.....เรื่องอะไรก็ไม่รู้ โยมศึกษาแต่เรื่องทางโลกทั้งหลาย มันก็เลยดีไปทางโลก รู้เรื่องของโลกไปซ๊ะ ไอ้เรื่องอันนี้.....แท้จริงน่ะ.....ไม่รู้จัก แต่เราอยู่ในกลุ่มพุทธศาสนาทั้งนั้นแหละ แต่เรื่องศาสนาที่แท้จริง ๆ นั้น เราไม่ค่อยจะรู้เรื่อง มันเป็นเสียอย่างนี้


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right width=100>อุบาสก : </TD><TD class=just vAlign=top>ถ้าหากว่าฝรั่งเขาถามผมว่า ศาสนาพุทธคืออะไรนี่ ผมจะตอบว่าอย่างไรครับท่าน


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right width=100>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>อันนี้.....โยมจะต้องไปศึกษาพุทธศาสนาเอาเอง อย่ามาเอาความรู้คนอื่นไปตอบเลย มันไม่ถูกหรอก


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD class=just vAlign=top>ผมไม่ได้หมายความว่าอย่างนั้นครับ.....ผมหมายความว่า.....สมมติเขาถามมาแบบง่าย ๆ ว่า.....พุทธศาสนาคืออะไร ?.....ท่าน.....ท่านพอจะ.....


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>ต๊าย.....อาตมามันไม่ได้ ไม่มีหร๊อก.....พุทธศาสนานี่คือ...... "ความที่ต้อง" เท่านั้นแหละ.... "สิ่งที่ถูกต้อง"


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสิกา : </TD><TD vAlign=top>เป็นความจริงใช่ไม๊ค๊ะ.....ความจริงที่ไม่มีใครค้านได้


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>จริงหรือไม่จริง.....ก็ที่มันถูกต้องนั่นน่ะ.....ทุกวันนี้ ถ้าเราทำถูก.....มันก็สบายกันทุกคน


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสิกา : </TD><TD vAlign=top>ค่ะ


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>มันไม่สบายเพราะทำไม่ถูก ทุกวันนี้ ตรงนั้นแหละ ๆ คำที่ว่า.....ที่ถูกต้องน่ะ มันสำคัญมากที่สุด


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสิกา : </TD><TD vAlign=top>นี่คลุมหมดเลย คำ นี้คลุมได้ทุกแง่เลย


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>แล้วอริยสัจเล่าครับ ?


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>ไม่ต้อง.....ไม่ต้องออกชื่อมันหร๊อก ไอ้สิ่งที่มันที่ถูกต้อง คือความเป็นจริงนั่นน่ะ.....คือพุทธศาสนาล่ะ ถ้าเราไปถึงความเป็นจริงแล้ว จะไปถามอะไรอีกไม๊ ถ้าบอกเอาแก้วมา ก็ยกแก้วมาจะไปถามมันทำไม มันหมดปัญหาแล้ว ยกมาให้ดูแล้ว คือเห็นความจริง มันก็หมดแค่นั้นแหละไม่มีทางที่จะต้องไปแล้ว เราจะยอมรับหรือไม่ยอมรับ เท่านั้นแหละ


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD class=just vAlign=top>คือผมไม่ใช่ว่า จะอยู่ที่ว่า.....เราจะยอมรับหรือไม่ยอมรับ คือว่า.....เราจะมีปัญญาเพียงพอหรือเปล่า ที่จะยอมรับ


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>นั่นแหละ.....ถ้ายอมรับ ก็ต้องมีปัญญาซี่ เอ้า.....คำที่ว่ารับ.....ไม่ใช่ไปรับปลอม ๆ รับอย่างแท้จริงซิ อย่ารับได้ รับเอาซิ อย่างฉันได้มาก.....มากของใช้ไม่ได้มาก ก็จริงอยู่ แต่ว่ามันไม่ดีนี่ จะทำยังไง มันเป็นปริมาณซ๊ะ มันมีคุณภาพอย่างนี้ อาตมาเคยพูดให้ญาติ - โยมฟัง ลูกศิษย์ลูกหานั่นแหละไปทั่วทิศ อย่างเราออกมานี่น่ะไปเรียนความรู้วิชาใช่ไม๊ เรียกว่าศาสตร์ มันหลายศาสตร์เหลือเกินทุกวันนี้น่ะ มันยัดศาสตร์เข้าไป จนจะนับไม่ไหวแล้วล่ะ แต่ว่าศาสตร์อะไรก็ตามเถอะ ถ้าไม่มารวมพุทธศาสตร์แล้ว.....วุ่นวาย.....นี่.....พุทธศาสตร์นี่เว้นจากอิจฉาพยาบาท.....เรียบร้อย.....เมตตา กรุณากันไม่มีทางที่จะไปแล้ว ไม่เห็นแก่ตัวแล้ว นี่.....พุทธศาสตร์ ศาสตร์อื่น ๆ มีความรู้ดีเหมือนกัน ถ้ามารวมพุทธศาสตร์นี่ มันดีหม๊ดทุกศาสตร์เลย ถ้าแยกออกจากพุทธศาสตร์ คือความจริงนี่แล้ว ก็เป็นศาสตร์ทะเลาะกันทั้งนั้นแหละ นี่.....มันเป็นเสียอย่างนั้น อาตมาถึงบอกว่า ไอ้ศาสตร์.....คือพุทธศาสตร์นี่ มันครอบแล้ว


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD class=just vAlign=top>อ้า.....หลวงพ่อครับ อยากจะย้อนกลับไปถึงหลวงพี่ (หมายถึงท่านสุเมโธ) ครับ


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD vAlign=top>เอา.....ได้


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD class=just vAlign=top>อ้า.....หลวงพี่ไปถึงกรุงเทพ ฯ ปุ๊บน่ะฮ๊ะ ไปพบพระพบอะไรเข้า แล้วเกิดความเลื่อมใส แสดงว่าหลวงพี่ต้อง.....อ้า.....คล้าย ๆ ว่า.....


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD vAlign=top>ยังไงก็เชื่อเอาเถ๊อะ.....ว่างั้นซ๊ะ ไปตะครุบเอาเลย ว่างั้นเถอะ


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>นั่นแหละครับ ผมไม่เข้าใจว่า เรื่องอะไร ถึงไปปั๊บ ๆ .....


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>ใช่.....คือเรื่องนั้น ท่านไปเลื่อมใสเฉย ๆ เรื่องแท้จริง ท่านมาค้นคว้าทีหลังนี่.....ใช่ไม๊ ?


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก (อีกคน) : </TD><TD vAlign=top>ไม่มีศรัทธาก่อน



    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>ใช่.....มีศรัทธา.....ศรัทธาน่ะมันเชื่อ ไอ้ความเชื่อเฉย ๆ ตรงนั้น ก็เลยมาทำอย่างนี้ มาค้นคว้าอีก.....การบวช.....ปฏิบัติขึ้นมา มันรู้เรื่องตามเป็นจริงขึ้นมาทีหลัง ทับเข้าไปอีกทีหนึ่ง


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>ตอนแรกอาจจะไม่สมบูรณ์น๊ะครับ


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>ใช่.....อย่างผลไม้น่ะ สีมันใส ๆ ก็ชอบมัน นึกว่ามันจะหวาน.....มันจะเปรี้ยวก็ได้.....อ้าว ไม่ใช่แล้วนี่


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>ใช่ครับ.....


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>แต่ก็เลื่อมใสมันครั้งแรก ผลไม่ผลนี้ เป็นทางที่จะให้ค้นคว้าผลอื่นต่อไปอีก มันเลยได้ความจริงอย่างนั้น นี่เรียกว่า ครั้งแรกนี่.....เชื่อโดยศรัทธาอธิโมกข์.....ไม่มีปัญญา นี่ก็ได้ แต่ถ้าได้ศึกษาแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นมา เป็นศรัทธาที่ประกอบไปด้วยปัญญา ไม่มีทางหลีกเลี่ยงแล้ว จำเป็นจะต้องยอมรับ เพราะมันเป็นอย่างนั้น ศรัทธา.....ถ้าไปถึง เชื่อเลย จับมาดูเฉย ๆ แล้วเชื่อเลยว่าเป็นจริง.....มันมีศรัทธาเฉย ๆ ไม่มีปัญญา ยังไม่รู้เรื่องตามความจริงมัน อย่างผลไม้ นึกว่ามันจะหวาน เอามาทานดู.....มันเปรี้ยว.....อ้าว.....ไม่ใช่แล้ว ก็ทิ้งมันไป </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    <TABLE><TBODY><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>ครับ.....


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>ต้องหาผลไม้ใหม่มา ที่ไหนมันจะหวาน ให้มีปัญญาเกิดขึ้นมาเสียก่อน จึงเป็นความจริงของมันอย่างนั้น เป็นศรัทธาครั้งที่สอง ท่านให้มานั่งภาวนา.....พิจารณา พิเคราะห์ พิจารณาดีแล้ว มันไม่พ้นจากนี้ไป ก็มีความเชื่อครั้งที่สองขึ้นมา.....เอา ๆ ให้หมดน๊ะ


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD class=just vAlign=top>อันนั้นผมพอจะเข้าใจแล้ว นอกจากหลวงพี่องค์นี้ มีคนค่างชาติ ต่างประเทศอื่น ที่เข้าไปบวชนี่มากไม๊ครับ ?


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD vAlign=top>เยอะแยะไปที่วัดป่าพงน่ะ บาทหลวงก็มาบวชอยู่ที่นั่น.....เวลานี้



    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD class=just vAlign=top>โอเค.....แล้วบวชเป็นพระ.....พุทธน๊ะฮ๊ะ นอกจากประเทศไทยแล้ว ที่ไหนมีครับ ?


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD vAlign=top>หา.....คนบวชหรือคนที่จะมาบวช ?



    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>คนที่จะไปบวชได้ครับ


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD vAlign=top>บวชที่ไหน ?



    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>ครับ.....นอกจากเมืองไทยแล้ว


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD vAlign=top>ได้.....ใครจะมีศรัทธามาบวช.....ก็บวชได้ จะบวชในเมืองไทยก็ได้


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD class=just vAlign=top>ไม่ใช่ครับ.....นอกจากผู้ที่จะบวชเป็นพระในเมืองไทยได้แล้วน๊ะฮ๊ะ ที่ประเทศอื่นมีที่ไหนบ้างครับ ?


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD vAlign=top>ยัง.....ยัง ที่นี่ก็ได้ (หมายถึง อเมริกา) ต่อไปได้



    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD class=just vAlign=top>เปล่า.....ไม่ใช่ครับ พูดถึงว่า จะไปบวช ถ้าหากไม่บวชที่เมืองไทย ก็อาจจะบวชที่อินเดีย


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD vAlign=top>ใช่ ๆ



    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>.....หรือที่ลังกา......


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>สถานที่บวช.....พูดถึงสถานที่บวช ศาสนานี่ มันมีอยู่ทุกแห่งทุกหนนั่นแหละ ถ้าเรามีศรัทธาบวชน๊ะ.....คำที่ว่าบวชน่ะ อย่างเมืองไทยเราน่ะ มันมีเถรวาท.....มีเถรสมาคม เป็นหลักพุทธศาสนา.....บวชก็ต้องมีสีมาน๊ะ ผูกสีมา ตั้งสีมาขึ้นจึงบวชได้ ตรงนี้ไม่มีสีมา จะบวชตรงไหนนี่


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>ครับ....คำถามผมไม่ได้หมายความอย่างนั้น


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD vAlign=top>เอา.....ยังไง.....เอาไปซี่



    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD class=just vAlign=top>อย่างสมมติเราจะไปเรียนหนังสือน๊ะครับ มีมหาวิทยาลัยดี ๆ อยู่ ๔-๕ แห่ง ถ้า.....คำถามผมว่า ทำไมถึงมาเลือกบวชในเมืองไทยมากกว่า ไปบวชที่ลังกา หรือมากกว่าไปบวชที่พม่า


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>ไอ้เมืองไทย.....ทำไมคนไทยมันมากกว่าฝรั่งล่ะ.....เพราะมันตั้งรกรากที่นั่นก่อนใช่ไม๊


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>ผมไม่ได้หมายถึง.....


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD vAlign=top>เปรียบเทียบซิ.....เปรียบเทียบ



    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>หมายถึงคนต่างประเทศที่ไปบวช ที่เมืองไทย


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>ใช่.....ไม่รู้เขาละอันนั้น เขาไปมีศรัทธาที่เมืองไทย เขาก็บวชในเมืองไทย รู้เรื่องของเขาไม่ได้ตรงนั้นน่ะ


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>มันต้องมีเหตุผลน๊ะครับท่านครับ


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>มีซิ.....เขาถึงบวช.....อ้าว ทำไมจะไม่มี เขาก็ไปเมืองไทยมาก เขาไปสืบกับพระมาก เขาก็บวชตรงนั้นมาก ไอ้คนหนึ่งไป คนสองไป เพื่อน ๆ ของคน ๆ หนึ่ง มันมีกี่คนน๊ะ ไอ้คนนั้นไปก็ไปเยี่ยมกัน มันก็หลายขึ้นมาเท่านั้นแหละ เหตุผลมันเป็นอย่างนั้น


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>ครับ ๆ


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสิกา : </TD><TD class=just vAlign=top>แล้วอีกอย่าง ต้นรากเง่า ที่จะสั่งสอนอบรม ในการปฏิบัติธรรมะ.....ศาสนกิจ หรือทางวิปัสสนากรรมฐาน หรือสมาธิภาวนา.....อาจารย์ทั้งหลาย ก็อยู่ที่นั่น


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>ใช่ ๆ.....เข้าใจแล้วละ โยมถามว่า ทำไม่ถึงไปบวชเมืองไทยหลาย คือเมืองไทย ไม่รู้จักมันเป็นอะไรล่ะน๊ะ คือคนไปเที่ยวเมืองไทย จุดแรกก็คือมีใครสักคนหนึ่ง มาจากเมืองนอกเป็นฝรั่งเมืองใดก็ตามเถอะ เข้าไปบวชตรงนั้น ก็ได้ความเห็นชัดขึ้นมาน๊ะ ไอ้เพื่อนของคน ๆ นี้มันมีกี่คน ก็ไปเยี่ยมบอกกันไปเรื่อย ๆ ไป อย่างวัดป่าพง ครั้งแรกที่ท่านสุเมโธองค์เดียวนี่ เดี๋ยวนี้รับไม่ไหวเลย.....หลาย แต่ไม่ได้หมดทุกคนน๊ะ.....เลือกเอา บางทีมันก็มีศรัทธามีความเห็น.....มันก็เอาได้มาก บางคนก็มาบวชศึกษา ๕ พรรษา ๒ พรรษาสึกก็มี แต่ว่า.....เขาศึกษาต่างจากคนไทยเรา ศึกษาพุทธศาสนานี้ อย่างอาตมาไปว่า ต้นไม้มันหลายร้อยปีมาแล้วน๊ะ ลูกมันก็ไม่ค่อยมาก.....แต่อ้วน.....เหลือแต่กิ่งที่มันตายน๊ะ มันพังลงมา.....ให้เรากวาดมัน


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>ครับ


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>อย่างเมืองไทยเราเหมือนกัน บวชเดี๋ยวนี้ ๑๕ วัน ๗ วัน เท่านั้นแหละ.....ไม่รู้เรื่องอะไร


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>เรียกว่าบวชเป็นพิธี


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>นั่นแหละ บวชเป็นพิธี อันนั้นเขาไม่ใช่อย่างนั้นนี่ อาตมานี่ให้บวชอย่างน้อย ต้องอยู่ด้วย ๕ พรรษา ที่จะมาเป็นนาคนี่ ต้องพรรษา หรือสองพรรษา ทรมานให้หนักกว่าคนไทยอีก มันถึงเห็นชัด


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>แต่ผมว่า.....ถ้าเผื่อหลวงพ่อพูดว่า ทุกคนบวชกันเพียง ๑๕ วันน๊ะฮ๊ะ


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD vAlign=top>อ้า.....ใช่



    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD class=just vAlign=top>สมมติว่าผู้ชายไทยทุกคน จะบวชกัน ๔-๕ พรรษา เราเลยไม่ต้องทำอะไรกันเลย เป็นพระกันหมดถูกไหมครับ </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    <TABLE><TBODY><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD vAlign=top>มันหมดไม่ได้.....อันนั้นสมมติที่เป็นไปไม่ได้



    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD class=just vAlign=top>แต่มันก็เป็นไปได้ บางคน ๗ วัน บางคน ๓ เดือน ถ้าเผื่อทุกคนบวชไปได้ คนละ ๔ - ๕ พรรษา หมดก็ดี.....


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD vAlign=top>ทำไม ?



    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสิกา : </TD><TD vAlign=top>กลัวจะไม่มีคนทำงานให้ประเทศชาติ ใช่ไหมค๊ะ ?


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>.....(หัวเราะ)


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>อย่าไปกลัวเลย.....ไอ้ไส้เดือนมันกลัวดินจะหมด.....(ทั้งกลุ่มหัวเราะชอบใจ) เราอย่าไปคิดอย่านั้นซิเอ้อ.....ไปคิดแบบนั้นน่ะแบบนกกระสา ไส้เดือนนี่มันเป็นอย่างนั้น อันนี้สมมติไปตัดบทมัน ไอ้ความเป็นจริง เป็นไปไม่ได้อย่างนั้น อย่างอาตมาไปสั่งสอนให้โยมเชื่อ อาตมาก็ทำไม่หมดหรอก ผลที่สุดก็ย้อนไป ๆ หาได้เท่าไรก็เอาเท่านั้น แต่ว่าเหตุผลอาตมาที่ว่า ถ้าบวช ๗ วัน ๑๕ วัน ทุกคนจะเป็นยังไง.....มันจะดีไม๊ ?...... ใครจะมาสอนศีลธรรมให้กันอีกล่ะ.....อย่างนี้.....มันก็คนละแง่ซิ มันเป็นไปไม่ได้ บวช ๑๐ วัน ๑๕ วัน ทุกคนไม่ได้ บวชจนตายก็มี ๕ ปี ๖ ปีก็มี ๖ วัน ๗ วันก็มี มันเป็นเรื่องของธรรมดาอย่างนั้น ไอ้ความคิดเช่นนั้นมันความคิดของไส้เดือนนี่..... (พวกโยมหัวเราะ) จำไว้.....เป็นอย่างนั้นทีก่อนอาตมาเคยมาเมืองนอก มากรุงลอนดอนครั้งหนึ่งน๊ะ พวก บี.บี.ซี. เขาไปสัมภาษณ์ ถ่ายทำเป็นหนังออกมา.....สารพัดอย่าง เขาสัมภาษณ์แล้วพอใจต่อนั้นมา ก็มีพวกฝรั่ง เข้ามาบวชเรื่อย ๆ ตลอดมา ไอ้ความเป็นจริงคือว่า.....เขายังไม่เคยเห็นการทำอย่างนี้


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>ครับ


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>เขาก็อยากจะไปดู.....ไปทำกัน ไปดู.....ไปทำแล้ว มันก็แปลก.....อย่างนี้ ไม่ใช่ได้หมดทุกคนน๊ะ มันเป็นไปอย่างนั้น เรื่องของศาสนานี่


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>ผมมีความสนใจครับ แต่ว่า.....ศรัทธาผมอาจจะไม่แรงเหมือน.....


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD vAlign=top>เออ.......เอามันไว้นั่นก่อน ศรัทธาอย่าเอามาไว้ในนี้เลย



    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD class=just vAlign=top>ศรัทธาผมมีน๊ะฮ๊ะ แล้วผม......พยายามใช้ชีวิตที่ว่า.....ในทางที่ถูกน๊ะฮ๊ะ หรืออาจจะผิดหวังนิดหน่อยน๊ะครับ


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>ไม่เป็นไร.....มันมีผิดถูก สลับกันไปหล่ะ มันมีเปรี้ยวอย่างเดียว มันไม่อร่อยหรอก ให้มันมีเปรี้ยว....มีหวานสลับกันไป


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD class=just vAlign=top>จะให้ทำให้ถูกอย่างหลวงพ่อ หรือหลวงพี่นี่ ผมคงอาจจะ.....ยังมีปัญญาไม่ถึงครับ


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>ใช่.....ก็อยู่ไปซิ ใครจะเฝ้าบ้านล่ะ ถ้าไปหมด เราก็อยู่เฝ้าบ้านซ๊ะคนซิ.....(ทั้งกลุ่มหัวเราะ) แต่กวาดบ้านให้ดี ๆ น๊ะ ทำบ้านให้สะอาดน๊ะ อย่าอยู่เฉย ๆ.....เฝ้าบ้านน่ะ


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสิกา : </TD><TD vAlign=top>คำว่า "สะอาด" นี่ลึกซึ้งมากเลยล่ะ


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>ครับ ๆ


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>เอาซิ.....วันนี้ตั้งใจมาแล้ว ไม่มีเวลานาน จะแก้ความสงสัยลูกหลานเรานี่แหละ ให้ปรึกษากันไม่ใช่ว่าสนทนาเรื่องใด เรื่องพุทธศาสนานี้ก็เรียกว่า.....พวกเรามันอยู่กันนาน แต่ว่าไม่พูดถึงโยมผู้ปฏิบัติศาสนา เลยมันตายไป.....เลยจะไม่ได้เห็นอะไรเลยก็มี ก็เพราะไม่ได้ศึกษาอย่างแม้จริง ฉะนั้นอาตมาก็จะรายงานให้ญาติโยมทราบซักหน่อยนึง อาตมานี้ไม่ได้เรียนอะไรหรอกเรียนเรื่องธรรมชาติ.....เรื่องจิตใจ บวชเข้ามาแล้ว ก็อยู่ไปไม่กี่พรรษา แล้วก็ออกป่าตั้งแต่คราวท่านอาจารย์มั่นยังอยู่ ถึงนี้แหละ ศึกษาพุทธศาสนาตั้งแต่อายุ ๙ ขวบ เป็นเด็กอยู่อย่างนั้นแหละ ไม่รู้เขาไปอะไรกัน ก็ไปกับเขา คลุกคลีอยู่กับพระเจ้าพระสงฆ์


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>โดยที่ไม่รู้จักอะไร ?


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD vAlign=top>ใช่ ๆ......มันมีศรัทธาอย่างว่าแหละ ศรัทธาอย่างโยมว่า



    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>ครับ


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD vAlign=top>ศรัทธาอยากเข้าไปอยู่วัด



    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>แต่ไม่รู้ว่าอยู่เพราะอะไร


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>ไม่รู้เพราะอะไร.....นี่มันเป็นอย่างนี้ ไม่ต้องสงสัยมันแล้วทีนี้ คนเรา.....ถ้าเราไปศึกษาดูน๊ะอย่างเช่นเราน่ะ ให้อาหารมันทุกวัน ๆ มันก็โตขึ้นทุกวันน่ะแหละ จนถึงที่มันทุกวันนี้ เกิดมาครั้งแรก ไม่โตถึงนี้หรอก แต่ให้อาหารมันทุกวัน มันถึงโตขึ้นมาถึงบัดนี้ เราเข้าไปสั่งสมในที่อะไร มันก็ค่อย ๆ เข้าใจขึ้นมา มันก็เปลี่ยน ๆๆๆ นี่.....อย่างเด็ก ๆ เราเกิดมาชอบเล่นอย่างหนึ่ง โตมาขนาดนี้ อยากเล่นอย่างเด็กมันเล่นไม๊


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>ครับ


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>ไม่อยากเล่นอย่างเด็กมันเล่น ไม่มีประโยชน์ แต่เราจะไปพูดกับเด็กว่า แหม.....ทำอย่างนี้ไม่มีประโยชน์ มันเกลียดเอาเลยน๊ะ อย่างนี้ ทำไมเราเป็นเด็กถึงชอบอย่างนั้น พอมันเปลี่ยนแล้ว ทำไมมันไม่เป็นอย่างนั้น นี่.....มันเป็นอย่างนี้ คือธรรมชาติเราได้เสพสมมา มันเป็นอย่างนี้ นี่ท่านเรียกว่าธรรมชาติของมัน


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>ครับ </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  4. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    <TABLE><TBODY><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD vAlign=top>อาตมาให้โอกาสถาม ญาติโยมเรานี่ ไม่ได้เอาอะไรมาพูดให้ฟัง เอาความจริงมาพูดให้ฟัง


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>ครับ ๆ ผมมีปัญหาถามหลวงพ่อ ๆ


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD vAlign=top>เอ้ามี......เดี๋ยวมันจะหมดเวลา......



    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>อย่างนั่งกรรมฐานนี่ นั่งอย่างไรครับ ? ผมคิดว่าพวกเราหลายคน ที่อยากจะนั่งเหมือนกัน


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD vAlign=top>ใช่......



    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD class=just vAlign=top>แล้วผมอยากจะให้ท่านพูดถึง ผลประโยชน์ ทั้งในร่างกาย และจิตใจ ขอโอกาสนมัสการ..... และวิธีทำด้วยครับ


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>วิธีทำก็ได้ ถ้าโยมจะทำก็ไม่ยาก ขอแต่มีใครขอได้ทั้งนั้น กลัวแต่จะไม่มีคนเอาเท่านั้นแหละ (พวกโยมหัวเราะ)


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>ทำไมท่านไปคิดอย่างนั้นล่ะครับ....ผมจะยอมรับหมด


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>ใช่....ก็พูดให้ฟังนี่ จะทำยังไง เรื่องนี้....เรื่องพระน่ะ ไม่ใช่มีอะไรโดยตรงเป็นอย่างอื่นน๊ะ เรื่องที่สั่งสอนตัวเจ้าของนั้นน่ะ สั่งสอนประชาชนทั้งหลาย ที่อุปการะพระมาทุกวันนี้ไม่มีเรื่องอื่นจะกอบโกยไปที่ไหน ไม่มีแล้ว เอาเฉพาะความเป็นอยู่ แล้วก็สงเคราะห์คนอื่นเท่านั้น เรื่องพุทธศาสนานี้ก็เรื่อง ศีลน่ะ.....เรื่องศีล กฎของมันน๊ะ เรื่องสมาธิ.....เรื่องปัญญาเท่านี้ เรื่องศีลเรื่องธรรมนี้ก็เพื่อ ให้เราทั้งหลายไม่มีความเดือดร้อนวุ่นวาย สมมติน๊ะ หมายความว่าอย่างนั้น อย่าไปว่า ทำไมมันวุ่นวาย อย่าไปว่าให้มันน๊ะ ข้อที่สอง.....ความไม่วุ่นวายเกิดขึ้น ความสงบก็เกิดขึ้นมา.....คือสมาธิ เมื่อความสงบเกิดขึ้นมาแล้ว ความสะอาดมันก็มี ปัญญาก็เกิดครอบเลย ที่นี้มาพูดถึงการ กระทำ มันกระทำยากสักหน่อยหนึ่งน๊ะ ยากหน่อย แต่ยากมันก็ไม่เป็นอะไรหรอกยากมันถูกของดีมันน่ะ มันต้องยากก่อน มันจึงเห็นทุกข์ ถ้าคนไม่ทุกข์ มันไม่ลืมตามหรอกถ้ามันมีแต่สุขแล้ว มันหลับสนิททั้งนั้นแหละ ทุกข์นี่มันทำให้มีความคิด ขยายตัวขึ้นมามาก ทุกข์มันเกิดมาเพราะอะไร จะต้องรู้มันอีก ไม่ใช่ว่านั่งให้มันหมดทุกข์เฉย ๆ น๊ะ บัดนี้ฉันหนักแล้ว มันหนักเพราะอะไร เพราะยกแก้วนี่ขึ้นมา มันถึงหนัก ถ้าปล่อยไว้ เฉย ๆ แก้วนี่มันไม่หนัก....หนัก.....แต่ไม่ปรากฏแก่เรา เพระาเราไม่ไปสัมพันธ์กับมัน มันก็ไม่หนักนี่.....เรื่องทุกข์มันเป็นอย่างนั้น เราทำไมถึงหนัก เพราะเรายกแล้วขึ้นมา ทำไมมันถึงทุกข์ ? ......เราไปจับทุกข์มาไว้ แต่เราไม่เข้าใจว่าทุกข์น่ะ.....ว่าทุกข์นั้นมันเป็นของประเสริฐ ทุกข์นั้นจะเป็นของดี ให้วาง......ก็วางไม่ได้ ให้ปล่อย.......ก็ปล่อยไม่ได้ ก็หมักอยู่อย่างนั้นน่ะ ทุกข์ก็ทุกข์อย่างนั้น ดังนั้นพระพุทธเจ้าจึงสอนว่า ให้รู้จักทุกข์ ที่ไปยึดขึ้นมานี่ หมายความว่า ไปหมายมั่นมันจนเกินไป ไม่วางมัน... อย่างนั้นพระพุทธเจ้าท่านสอน อะไรก็ให้รู้จัก เช่นว่า อันนี้ไม่ใช่เรา อันนี้ ถ้าไม่หนักแล้วไม่สบายนี่.....มันหนัก.......ทั้งดิ้น......ทั้งรน อันนั้นมันหนัก ก็พยายามจะไปโกยเอานี่น่ะ คำที่ว่าท่านให้วาง ก็ว่า อื้อ......ผมก็ไม่ต้องทำมาหากินซิ ไม่ใช่อย่างนั้นอีกไม่ใช่ให้ทำมาหากินอีกแหละ ให้ขยันขึ้นในทางที่ชอบ ไม่ใช่ให้เกียจคร้าน ให้ขยันให้สะสมอันนี้ แต่ว่าให้รู้จักวัตถุอันนี้ วัตถุอันนี้ไม่ใช่อาหารสำหรับใส่น้ำมาดื่มเท่านั้น อย่าไปดื่มทั้งแก้วน๊ะ ถ้าดื่มทั้งแก้วมันเป็นทุกข์ ใช่ไหมนี่ ?


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>ใช่ครับ


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>นี่มันไม่ใช่ของเรา แต่เอาไว้ใช้รักษาไว้ให้ดีเพื่อจะได้ใช้ แต่เราเข้าใจว่าไม่ใช่ของเราแต่รักษามันไว้ เมื่อถึงคราวมันแต่แล้วก็แตกไป.....อย่างนี้ ต้องให้สัมพันธ์กัน ต้องรู้จักอันนี้อยู่ มันเป็นเรื่องที่พูดยาก แต่คนเราพอว่าสัมพันธ์กัน ก็นึกว่าของเรา ไปมั่นไปหมายมันจนเกิดความทะเลาะเบาะแว้งกัน ก็เพราะสิ่งนี้ไม่ใช่ของเรา แต่เราไปเข้าใจว่าของเราทุกข์จึงเกิดขึ้นมา มันถึงเป็นของหนักอย่างนี้ ให้รู้จักอย่างนี้ แต่จะต้องเอาไปพิจารณาถึงจะได้ จะต้องไปวิจัยหาเหตุผลของมัน ดังนั้นท่านจึงให้นั่งสมาธิ นั่งสมาธินี่เราไปนั่ง ได้คนศึกษาทางโลกก็ว่า.....ฉันไม่นั่งหรอกไปนั่งหลับตาทำไมอยู่นั่น ลืมตามันก็ยังไม่เห็น (มีเสียงหัวเราะชอบใจ) มันว่าไปอย่างนั้นอีกซ๊ะแล้ว เรามองซิ......เมืองไทยเห็นไม๊ เรานั่งหลับตาถึงไม๊.....นี่มันเรื่องทางนี้ ทางจิตนี่เห็นขนาดนั้น......ไปนั่งจะเกิดประโยชน์อะไร ก็เห็นว่านั่งไม่เกิดประโยชน์ ไปนั่งแผล๊บเดียวก็ง่วงแล้ว คือไม่รู้จักเรื่องของมัน ไอ้ความเป็นจริงน่ะ ตาของคนเราท่านแยกเป็น ๒ อย่าง ตาเนื้ออันหนึ่ง....ตาปัญญาอันหนึ่ง ตาปัญญาเห็นถึงความจริง ควรโศก ไม่โศก ควรดิ้นรน ไม่ดิ้นรน เพราะเห็นตามความเป็นจริงมัน เช่น ว่าแก้วใบนี้มันแตก เราเสียดายมันเหลือเกินน๊ะ.....เสียใจ.....เพราะตาในคุณยังไม่มี ถ้ามีตาในแก้วใบนี้มันจะดี คุณจะเห็นว่าแก้วใบนี้มันแตกแล้ว (หลวงพ่อพูดพร้อมกับใช้นิ้วเคาะแก้ว) และคุณจะต้องใช้แก้วแตกทุกวันทุกเวลา กางเกงตัวนี้มันก็ผุแล้ว เสื้อนี่มันก็ผุอยู่แล้ว เห็นชัดแล้วอย่างนี้ แก้วใบนี้ถึงแม้ว่ามันถืออยู่อย่างนี้ ก็เห็นว่ามันแตกแล้ว ทำไมถึงเห็นว่ามันแตกก็เห็นที่มันไม่แตกนี่แหละ มันจึงบอกว่าแตก มันมีอยู่อย่างนี้ ถ้าหากว่าเรารู้อย่างนี้ทุกอย่างแก้วใบนี้เราก็ใช้ไปโดยทางที่มีปัญญา เราใช้ไป มันจะแตกเพล๊าะลงไปก็ว่า อือ.....มันเป็นอย่างนั้นของมันน่ะ....ทุกข์ไม่มี.....ปัญหาไม่เกิด เพราะว่าเห็นมันเป็นอย่างนั้นแล้ว......นี่......แม้ถึงหนึกไปกว่านั้นอีก อย่างคุณป่วยน่ะ ดูตัวคนจริง ๆ ของเรา.....อันนี้เสียดาย ถ้าคุณป่วยทุกข์ขึ้นมา ถ้าเข้าโรงพยาบาล คุณจะนึกว่า.....โอ.....แหมหายซ๊ะเกิดพ่อคุณให้หายเถิด พระท่านไม่ว่าอย่างนั้น ท่านไม่เห็นหน้าเดียว ท่านว่าหายก็เอา ไม่หายก็เอา นี่ท่านเห็นอย่างนี้เห็นทางที่ไม่ต้องทุกข์ ถ้าไม่หายก็ให้มันไม่หาย ถ้ามันหายก็ให้มันหายไป ถ้าเราอยากให้มันหายไปอย่างเดียว ถ้าเหตุที่มันไม่หายมี ก็ร้องไห้เท่านั้แหละ คือเหตุมันยังเหลืออยู่อย่างนั้น เชื้อมันยังมีอยู่ ธรรมะท่านสอนไว้ข้างในโน้น </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  5. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    <TABLE><TBODY><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD class=just vAlign=top>ท่านหมายถึงว่าถ้าเผื่อเราไปทำอะไร ทำดีที่สุดแล้ว มันเกิดแค่นี้ก็ให้พอใจแค่นั้นใช่ไหมครับ


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD vAlign=top>ใช่.....ก็มันสุดแล้วจะทำยังไงอีกล่ะ


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>อันนี้ถ้าสรุปแล้วหมายความว่า เมื่อมีการเกิดก็ต้องมีการตาม


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>ใช่.....มันเป็นอย่างนั้น ของมันเป็นอย่างนั้นอยู่แล้ว ที่เราทุกข์อยู่นั้นเพราะอะไรน๊ะ อย่างคุณสองคนนี่น่ะ เดินไปเห็นสัตว์สองอย่าง เปรียบเทียบน๊ะธรรมะต้องเปรียบเทียบ อักตัวหนึ่งเป็นเป็ด อีกตัวหนึ่งเป็นไก่ คุณสองคนนี้จะเห็น ไอ้เป็นทำไมไม่เหมือนไก่น๊ะ มันน่าจะเหมือนกันไก่กับเป็ดนี่ คิดจะให้มันเหมือนกันอย่างนั้น นอนก็คิดอย่างนั้น เดินก็คิดอย่างนั้น คิดอยากให้ไก่เหมือนกับเป็ด จะให้เป็ดเหมือนกับไก่ คุณจะทุกข์จนตลอดเวลาเลย ถ้าคุณคิดว่า อือ.....ไอ้เรื่องเป็ดก็ให้เป็นอย่างนั้นน่ะ เรื่อไก่ก็ให้มันเป็นอย่างนั้นของมัน มันเป็นอย่างนั้นแล้ว ปัญหาก็ไม่มี


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>ครับ


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>ปัญหามันก็หมดไปอย่างนั้น ไม่ได้ผูกไว้ นี่คือเห็นตามความจริงมันอย่างนั้น


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>ใช่.....ท่านครับไอ้ข้อนี้ครับ ผมยังไม่เข้าใจ


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD vAlign=top>เอ้าเอาให้มันเข้าใจ ไม่เข้าใจอย่างไร


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD class=just vAlign=top>เราเห็นไปตามเท่าที่เห็นน๊ะฮ๊ะว่า อย่างเมืองไทยน๊ะครับสิ่งที่ว่า.....(ช่วงนี้เทปขาดตอนไป).....อันนี้ผมยังเข้าใจผิด


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD vAlign=top>ให้เข้าใจถูกซิ เป็นไข้ก็ต้องกินยาไปก่อนซิ หรือจะไม่กินเลย


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>ต้องกินไปก่อน


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>นั่น.....เรื่องโลกต้องเป็นอย่างนั้น มันไข้ก็ต้องกินยาไปก่อน ไปกินแล้วจะหายให้หายทุกคนอย่าเพิ่งเข้าใจขนาดนั้น บางคนหาย บางคนไม่หายก็มี ต้องเข้าใจไปแบบนี้ อันนั้นมันเรื่องหลักของธรรมชาติ มันเป็นอย่างนั้นอยู่แล้ว ไม่ให้ตัดออกอย่างนั้น ทีนี้ไอ้บ้านเมืองเราทำไมมันไม่ค่อยปรับปรุงกันยังงั้นเหรอ.....จะไปปรับปรุงมันทำไม.....ยังงั้นเหรอ


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>ครับ ในเมื่อเราเกิดมาไม่กี่ปีเราก็ตายไปแล้ว แล้วเรื่องอะไร.......


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>ไม่ใช่อย่างนั้น ๆๆๆ ถ้าเราเข้าใจในพุทธศาสนา ความคิดเช่นนั้นไม่มี คนขยันถึงแก่ขนาดไหน เป็นต้น ก็ยังกวาดบ้านได้ดีทั้งนั้นแหละ มันเป็นนิสัย ลูกเศรษฐี.....คนเศรษฐีแล้วจึงรักษาอะไรมั่นคง ไม่เหมือนคนขี้เกียจ คนขี้เกียจคือคนทุกข์ ไอ้คนที่ขยันมันเป็นสันดานอยู่แล้ว ยังไงก็ต้องขยันจนแก่ ต้องระมัดระวังอยู่อย่างนี้ เป็นสันดานอย่างนั้น ถ้าพุทธศาสนาไม่ใช่เของเรา ๆ อย่างนั้น ไม่ต้องทำอะไรมัน.....อันนี้มันไม่ใช่ความคิดของพุทธศาสนา มันก็คิดไปแขนงหนึ่ง


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>อ๋อ.....ไม่ใช่ใช่ไหมครับ


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>ไม่ใช่ ๆ แต่ว่าให้หามันมากก็ได้ แต่ว่าเราอย่าให้มันทุกข์กับอันนี้ อย่าให้มันพาเราทุกข์ แต่ให้เราใช้อันนี้อยู่ แต่อย่าให้อันนี้พาให้เราทุกข์ อย่าเป็นทาสของสิ่งนี้ เราหามันมากก็เป็นทาสมันพอแรงแล้ว มันจะแตกจะหัก ก็ยังจะทุกข์กับมันอีก จะเอาดีเมื่อไหร่ล่ะเรา


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>ไม่ยึดมั่น.....ให้วาง


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD vAlign=top>เอ้อ.....นี่เรื่องจิตน๊ะ ให้คุณแยกออกเป็นเรื่องจิตน๊ะ


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD class=just vAlign=top>อย่ามัวเมายึดมั่นในสิ่งทั้งหลาย อ้า.....ผมได้อ่านบทความของพุทธทาสภิกขุน๊ะฮ๊ะว่า อย่านึกว่ายึดมั่นว่าเป็นของเรา ท่านพูดแบบนั้น คำว่ากู.....ของกู แล้วก็อย่ายึดมั่นในนั้นน่ะ ท่านหมายความว่ายังไงครับ


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>นี่แหละ ๆๆ คือกูนั้นมันไม่มี ไม่ใช่ว่าแต่ของมัน ตัวเรานี้ก็ไม่มี กูนี้ท่านหมายถึงเรา ยึดท่านหมายความว่าของนี้ นี่มันเป็นทางให้เราเกิดทุกข์ ถ้าหากว่ามันมีกู มันมีโดยฐานที่สมมติอันนี้คงยังพูดไม่เข้าใจกัน คนหนึ่งพูดไปข้างล่าง คนหนึ่งพูดไปข้างบนนี่ มันเรื่องจิตเรื่องความเป็นจริง กับเรื่องธรรมดานี้ มันพูดยากที่จะเข้าใจกัน พูดอันเดียวกันแต่ไม่เข้ากัน


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>ใช่.....อันนี้ผมว่า เป็นธรรมดาของโลก


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD vAlign=top>ใช่


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก (อีกคน) : </TD><TD class=just vAlign=top>คือผมพอจะเข้าใจแล้วครับ คือเราต้องพยายามไปหาเงินมาซื้อแก้ว เพื่อไว้ใช้แต่เราไม่ได้เป็นทาสของแก้ว


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD vAlign=top>น่านยังงั้น


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก (อีกคน) : </TD><TD class=just vAlign=top>แต่เมื่อรู้ว่าแก้วแตกแล้ว ไม่หมายความว่าเราจะไม่ซื้อ......เราต้องไปหามาเพื่อใช้


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>ใช่......แต่ให้รู้ในนี้อีกต่อไป ให้รู้อย่างนั้นอีกต่อไป ไม่ใช่ว่าไม่ให้แก้วมี


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>อ้อ


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>ที่ว่าของเรานี้ ให้พูดอยู่เสมอว่าของเรา โดยฐานที่สมมติต้องเป็นเรา เช่นว่าชื่อนี่ไม่ตรงกับทุกคนน๊ะ


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD class=just vAlign=top>ท่านครับสมมติว่า.....โอเค.....เราเกิดมาไม่กี่ปีน๊ะฮ๊ะ มีชีวิตอยู่ไม่นาน แล้วเรื่องอะไรเราไม่ควรยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งหลาย แล้วเรื่องอะไรเรามามัวทำมาหากินสร้างทรัพย์สมบัติไปให้


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>ก็นั่นซีท่านถึงว่า.......สร้างก็อย่าให้ทุกข์ซิ ท่านไม่ให้ทุกข์เท่านั้น อยากสร้างก็ได้.....แต่อย่าให้ทุกข์ คนทุกคนสร้างไว้ให้ใครมีไม๊ ?


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสิกา : </TD><TD vAlign=top>ก็ไม่ต้องไปคิดว่าให้ตัวเราอยู่


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD vAlign=top>ใช่.....ท่านพูดความจริง


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสิกา : </TD><TD class=just vAlign=top>สมมติว่า คิดแบบนั้นน๊ะครับ แล้วเราจะสร้างประเทศชาติให้เจริญอย่างไรครับ ..........ถ้าเรานึกว่าไม่ใช่ของเรา.....เราสร้างไว้ทำไม.....ในเมื่อไม่กี่ปีเราก็ตายไปแล้ว


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>นี่ ๆ ใครสร้างนี่....ใครเป็นคนสร้างนี่ (หลวงพ่อชี้ให้ดูตัวอาคาร) คนสร้างได้อะไรไม๊นี่ ทีนี้พระพุทธองค์ท่านไม่สอนอย่างนั้น ท่านไม่สอนให้เป็นคนเห็นแก่ตัวอย่างนั้น อย่างแก้วนี้เรามีสตางค์เราก็ซื้อไว้หลาย ๆ เถอะ เพื่อนเรามาคนละใบ ๆ ได้ใช้ดื่มน้ำก็ได้ ไม่ใช่ว่าไม่ให้มีไม่ใช่ว่าหามาไว้ทำไม มีมากก็ได้ แต่เราอย่าให้มันเป็นทุกข์ คือรู้จักแก้วทุก ๆ ใบเท่านั้น


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD class=just vAlign=top>ครับ.....ยังงั้นผมพอจะเข้าใจ.....เราสร้างได้.....พยายามสร้าง หมายถึงว่าสร้างในสิ่งที่มันถูกทางหรือยังไงครับ ?


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>ใช่.....คือเรื่องถูกทาง ไม่ถูกทางนั้นน่ะ ถึงแม้ว่าคุณจะเอาเงินทองของคุณมาทุ่มเทสร้างขึ้นก็ถูกทางของคุณน๊ะ แต่ว่า....เมื่อบ้านมันจะพังเมื่อใดน่ะ มันก็ยังเป็นของคุณอยู่ มันจะทุกข์อีกจะลำบากอีก ถ้าไฟมาไหม้ก็ลำบาก ให้รู้ไว้อย่างนี้ จะสร้างก็ได้ ถึงคุณจะว่าให้เป็นของคุณก็จริงหรอก.....แต่ว่าผลที่สุด มันก็ไม่เป็นอยู่แล้ว ท่านบอกไปก่อนว่า มันไม่ใช่ของคุณ ถ้าหากว่าเป็นของคุณอย่างแน่นอน คุณจะยิ่งเป็นบ้า หลงไปยิ่งกว่านั้นอีก ขนาดท่านว่าอันนี้ไม่ใช่ของคุณน๊ะ......ระวังน๊ะ.....มันเป็นสมบัติอย่างนี้ ขนาดนี้เรายังตะกายจะไปฮุปไว้ให้มาก ไม่ใช่แต่เท่านั้นยังทะเลาะกันอีก.....ยังปล้นกันอีก.....ของไม่ใช่ของใครซักคนเลย.....เท่านั้นแหละ.....ให้มันเบาทุกข์ลงไปเท่านั้น ให้รู้จักละวางในทางพุทธศาสนานี่ มันก็ถูกของท่านน๊ะ ท่านก็ไม่บังคับให้เราสร้างน๊ะ ใครบังคับให้เราสร้าง.....บ้านเรานี่น่ะ....ความอยากที่มันเกิดขึ้นตรงนั้นเอง


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD class=just vAlign=top>ไอ้ความอยากนี่ครับ ที่ผมสงสัยว่า มันเป็นความที่เรียกว่า......แบบที่เรามีความอยากกัน ใช่ไม๊ครับ? ........มันเป็นความ........


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>ถ้าเรามีปัญญาในความอยากนั้นมันก็ดี ถ้ามันโง่มันก็ไม่ดี คนรวยมันดีหรือเปล่า ? กับคนจนใครมันดีกว่ากัน เอ๊า....จะถามคุณยังงี้แหละ ?


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>ท่านถามว่ายังไงครับ ?


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD vAlign=top>คนรวยกับคนจนใครดีกว่ากัน ?


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>มัน.....มันต้องถามว่า......ดีแบบไหนด้วยครับ


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>แบบไหนล่ะ.....แบบมันดีน่ะแหละ (พวกโยมหัวเราะชอบใจ) ดีถึงที่สุดมันน่ะแหละ เอาดีอะไรก็เอาแหละ


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD class=just vAlign=top>ผม.....คนดีหรือคนรวยดีกว่ากันเหรอฮ๊ะ.......คนจนกับคนรวย ?


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD vAlign=top>คนจนกับคนรวย


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>ผมว่าก็ดีทั้งสองฝ่าย


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD vAlign=top>คนรวยเคยมีทุกข์ไม๊ ?


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>ทั้งสองฝ่ายมีทุกข์ครับ


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD vAlign=top>แน่ะ.....นี่แหละ มันก็เสมอกันอย่างนั้นใช่ไม๊ ?


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>แต่ผมว่า....ไอ้คำว่า....ดีกว่ากันนี่ มันไม่มีใครดีกว่ากัน


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>ใช่.....มันเสมอกันอย่างนั้น นี่พูดถึงที่สุดมัน ถ้าคุณมีบ้านหลังใหญ่ ก็ว่าบ้านของคุณแหละดีกว่าเขาแต่ถ้ามันพัง.......มันก็พังใหญ่น๊ะ (ทั้งกลุ่มหัวเราะชอบใจ) ถ้าน้ำท่วมก็ท่วมหลังใหญ่น๊ะมันเป็นอย่างนี้ มันเป็นบริกรรมอย่างนั้น ให้เราเข้าใจอย่างนั้น


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>ผมไม่แน่ใจว่า ผมเข้าใจอย่างนั้นหรือเปล่า ?


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>ทีนี้ในเวลานี้ ยังไม่เข้าใจ ให้ได้ยินไว้ คุณก็ยังไม่เข้าใจ ให้ได้ยินไว้เถอะ แต่ว่าที่พูดให้ฟังอย่าเชื่อ.....อย่าไม่เชื่อ....ให้ฟัง แต่ฟังไว้เฉย ๆ ฟังได้ ดูด้วยเหตุการณ์ของมันจะเป็นยังไง คุณจะต้องสำนึกอยู่เสมอว่า....เรื่อย ๆ มันเป็นยังไง ให้สังเกตไปเรื่อย ๆ น๊ะ มันเป็นเช่นนั้น เราจะเห็นว่ากิ้งกือ แหม.....มันมีขามาก มันจะวิ่งเร็วน๊ะ...ไก่มันแคงขา...มันวิ่งช้า ๆ


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>ครับ


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>ที่ว่าอย่างนี้ อาตมาจะบอกให้ง่าย ๆ ว่าถ้าความสงสัยอย่างนี้มีอยู่น๊ะ.....ถ้าคุณจะไปเที่ยวถามให้หายสงสัยนั่น ตายก็ไม่หาย....นี่จำไว้อย่างหนึ่งน๊ะ (พวกโยมหัวเราะ)....ถ้าหากว่าคุณจะหายสงสัย เมื่อนั่งสมาธิแล้วจิตสงบขึ้นมาเอง....นั่นแหละ </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  6. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    <TABLE><TBODY><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>แล้วหลวงพ่อจะแนะนำวิธีนั่งสมาธิ.....


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>ได้ ๆๆ......สมาธินี้น่ะ.....สมาธินี่เป็นเรื่องของพี่ทำยากซ๊ะหน่อยนึง ก็เพราะว่ามันเป็นของที่ไม่เคยหยิบมาตั้งแต่เล็ก ๆ จิตใจของเรานี้มันไม่มีกำลัง ยิ่งมีความคิดมาก.....รู้มาก......ไม่มีกำลัง ถ้ากายมันมีกำลัง ต้องวิ่งออกกำลังกายถึงจะมีกำลัง.....จิต.....ต้องให้หยุดพักนิ่งเป็นอันเดียวเสียก่อน จิตมีกำลังเป็นแบบนี้ ทีนี้เราจะมาทำจิตให้หยุดนิ่งเป็นอารมณ์เดียวสักชั่วโมงนึง หรือ ๑ นาที ๓ นาทีก็ดีน๊ะ จะรู้สึกว่าจิตนี้ มันจะมีปัญญาเกิดขึ้นมาได้ ทีนี้มันลำบากที่เรามานั่งสมาธินี่ เย็น ๆ ไปนั่งดูก็ได้น๊ะ หลับตาลงซ๊ะนิดนึง ให้ทำความปล่อยวางทั้งหมด ไม่ต้องนึกคิดอะไรมาก.....ปล่อย.....เวลานี้ปล่อย ให้มีความรู้สึกลมมันออกแล้วลมมันเข้า ให้รู้ตามลมเท่านี้ ไม่ต้องไปทำอะไรมันมาก มันจะรู้อะไร.....จะอะไรอย่าไปคิดวุ่นวายเลย


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>แล้วสมมติอย่างนั่งนี่ ไอ้เรื่องที่เข้าไปในจิต.....


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD vAlign=top>เรื่องอะไร ?



    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD class=just vAlign=top>ไอ้เรื่องที่ผ่านมา หรือเรื่องอะไรที่ผ่านมาในชีวิต หรือเรื่องที่เราเคยไปทะเลาะกับใครอย่างนี้


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD vAlign=top>นั่นแหละ.....เรื่องทรมานและนั่นน่ะ อุดซิ.....มันรั่วตรงไหนก็อุดซิ (หัวเราะ)


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>แต่มัน.....ไอ้ตอนที่เรานั่งน่ะ ไอ้จิตที่มันเข้ามา


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD vAlign=top>จิตอะไร ?



    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD class=just vAlign=top>ไอ้เรื่องอื่นที่มันเข้ามา ผมคิดว่ามันเป็นเรื่องธรรมชาติใช่ไหมครับ ? ที่เราจะต้องนั่งปั๊บตัดให้มัน


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>ไม่ใช่ ๆ ......ไม่ใช่เอาเดี๋ยวนี้น๊ะ....นานน๊ะนี่ อีกชิวิตหนึ่งได้ก็ยังดีน๊ะ ที่พูดนี่น่ะ ไม่ใช่ว่ามันง่ายขนาดนั้นน๊ะ ต้องให้รู้ว่ามันเรื่องอะไร


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD class=just vAlign=top>ผมก็ว่าอย่างนั้นแหละครับ มัน.....ไอ้ที่จะนั่งโดยไม่ให้มีอะไรติดเข้ามา ให้ว่างทีเดียวเลยผมว่ามัน อ้า......


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>ใช่.....หลวงพ่อเข้าใจอย่างนั้นนะ เช่นว่าคุณนั่งฟังเสียงดนตรีที่เขาเล่นน๊ะ คุณก็ต้องการความสงบใช่ไม๊?


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>หูก็ได้ยิน


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>เมื่อได้ยินน่ะคุณจะคิดอย่างไร.....คิดว่าเสียงมารบกวนเราอย่างงั้นเหรอ?


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>ผมไม่นึก


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD vAlign=top>นึกยังงัย.....สบายไม๊ สงบไม๊?



    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>ผมว่าผมสงบ เสียงก็เสียงมีไป


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>หา.....ได้อย่างนั้นจริงหรือ.....หรืออันนี้เป็นคำพูดเฉยๆ นี่



    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD class=just vAlign=top>ไม่.....มันมีอย่างนั้นจริง แต่บางทีถ้าเผื่ออยู่ในอารมณ์ที่ ไม่ถูกกับอารมณ์อย่างนี้ มันก็รบกวนเหมือนกัน


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>นั่นแหละมันรบกวน.....ไม่ใช่สิ่งนั้นมารบกวนเรา เราไปรบกวนเขารู้ไหม?


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>ก็ถูกแล้วนี่ครับ


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>นั่นแหละ.....คุณต้องเข้าใจใหม่ คนจะพูดโต้งๆอยู่ คุณจะว่า แหม....นั่งสมาธิไม่ได้คนมารบกวน เสียงมารบกวนก็คิดได้.....แต่ว่ามันไม่ถูก ถ้าถูกแล้วเราไปรบกวนเขา..... เขาไม่รบกวนเราถ้าคิดอย่างนี้จิตก็สงบง่าย


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD class=just vAlign=top>เดี๋ยวๆ..... หลวงพ่อยอมรับหรือเปล่าว่า ตอนหลวงพ่อนั่งสมาธิ หลวงพ่อมีสิ่งอื่นเข้ามารบกวนไม๊ฮ๊ะ?


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD vAlign=top>มี



    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>มีใช่ไม๊ครับ.....ผมขอถามแค่นี้แหละครับ


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD vAlign=top>เออมี



    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>แล้วหลวงพ่อทำอย่างไรครับ


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>แต่รู้มันอันนี้ไม่เป็นไรนี่ มันเป็นอารมณ์เฉยๆ เราไม่มีอะไรกะมัน ไม่มีความวุ่นวายกับมันแล้ว เห็นไก่มันผ่านก็ อื้อ.....ไก่มันผ่าน เห็นสุนัขมันผ่านก็ อื้อ.....สุนัขมันผ่าน แล้วก็แล้วไป อะไรมันผ่านก็ผ่านแล้วไป


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>หลวงพ่อยังไม่ได้บอกถึงวิธีนั่งเลยครับ


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>นี่นั่งอยู่เดี๋ยวนี้ (พูดพลางแสดงท่าให้ดู) เอาขาขวาทับขาซ้าย.....นี่ๆ.....มือขวาทับมือซ้ายตั้งกายให้ตรง แล้วก็นึกว่าในเวลานี้ เราจะปล่อยวางทั้งหมด เหลือแต่จิตอันเดียว เรื่องการงานทุกสิ่งเราปล่อยแล้วเดี๋ยวนี้


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>ไม่ว่าจะมีปัญหาอะไร ?


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>ใช่.....เดี๋ยวนี้ไม่ต้องนั่งแก้ปัญหากับใครแล้ว เราจะปล่อยวาง แล้วกำหนดเอาความรู้สึกกับลม เอาลมเป็นรากฐาน


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>คือว่า......หายใจให้มันเป็นจังหวะ


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>หายใจให้มันสบาย อย่าไปบังคับใหัมันยาว.....มันสั้นน๊ะ ปล่อยตามสบายของมัน จะมีอะไรมาผ่านก็ช่าง เราจะปล่อยวางมัน นั่งอย่างนี้มันจะเป็นยังไงไม๊....อย่าคิด คิดก็ไม่ส่งเสริมมัน นั่งไปยังงี้มันจะเป็นยังไงไม๊?......มันจะเห็นอะไร? ....อย่าไปคิด ไม่เอาทั้งนั้นแหละ....เราไม่ต้องการอะไร เราต้องการรู้ลมเข้า - ออกเท่านั้น จนกว่าที่เรามีความสงบเข้าไปเรื่อย ๆ


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>แล้วนั่งต้องหลับตาหรือเปล่าครับ ?


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD vAlign=top>หลับตานิดนึงซิ อย่าไปหลับให้มัน.......



    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>แล้วไม่ต้องการอะไรใช่ไหมครับ ?


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>ไม่ต้องเพ่งอะไร ดูนี่ ๆ .....ดูลมเข้า-ออกนี่ ไม่ต้องดูอะไร เอาตามกำลังน๊ะ อย่าไปบังคับมันมาก นั่งไปชำนาญไปแล้วมันนั่งอยู่ได้


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>แล้วนั่งวันละกี่นาทีครับ ?


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>เอาเถอะ......มีโอกาสเท่าไรก็เอาเถอะ...... บางคนไปนั่งอยู่ทั้งวัน มันก็เลยไม่ได้ทำงานเลย


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>ใช่......เสียประโยชน์ไป


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>ใช่......เสียประโยชน์ซิ........ ไอ้คนมีประโยชน์มาก ๆ ยิ่งเสียแล้วนี่ นั่งในเวลาเราจะนอนหรือเวลาเราพักผ่อน....... วันหยุด.....เราหาร่มไม้เย็น ๆ ไป นั่ง


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>เดี๋ยวก็หลับเลยซิครับ ?


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>หลับก็คนมันหมดแล้วนั่นน่ะ คนขี้เกียจมันถึงหลับ เราไปเขียนหนังสือเราเคยหลับไม๊ ? มันก็อย่างเดียวกันนั่นแหละ เราเคยเขียนหนังสือ ทำบัญชีอะไร มันหลับไหมนี่ จะหลับยังไงมันเขียนจ้องอยู่นี่ หลับมันก็พังเท่านั้นแหละ จิตนี้ก็เหมือนกัน มันก็แยกออกจากลมเท่านั้นแหละ คนยังไม่ได้ทำน่ะสงสัย ถ้าเป็นอาตมายิ่งจะสงสัยมากกว่านี้.....ถ้าไม่ได้ทำน๊ะ ทีนี้ต่อไปเมื่อจิตสงบแล้ว ไม่ต้องนั่งมากหรอก นั่งทีละ ๕ นาทีก็ได้ เมื่อคุณออกจากสมาธิ จะไปทำงานอะไรที่ไหนก็ตามที จะยืน เดิน นั่ง นอน ให้มีสติอยู่ว่า เราทำอะไรอยู่เดี๋ยวนี้ อันนี้มันเป็นที่เรียกว่า ให้กำลังเราที่ไม่มีเวลานั่งนาน เราจะทำงาน ยืนเราก็ต้องทำงาน นั่งเราก็ต้องทำงาน นอนก็ต้องทำงาน ให้เรามีสติอยู่อย่างนี้เสมอเท่าที่เราทำได้สองดูให้จิตสงบแล้วดูซิ ลอง ๆ มันจะเป็นยังไงไม๊ ให้มันเกิดขึ้นในที่นั้นแหละ ไอ้ตัวที่มันไม่รู้นั่นแหละ อย่าไปถามคนอื่นเลย ให้มันรู้ขึ้นมาแล้วมันจะบอกตัวมันเอง ตรงนั้นแหละ.....ยังไม่เคยได้ทำกันใช่ไม๊ ?


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>ผมจะลองทำดูครับ.....ก็ผมก็คิดว่า......ผมไปทำแบบของพวอินเดีย


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสิกา : </TD><TD vAlign=top>โยคะหรือค๊ะ ?


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>ไม่ใช่....ไอ้ ๆ......(พูดเป็นภาษาอังกฤษ).....ของอินเดียเค๊า


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD vAlign=top>เอ้อ.....เขาทำยังไง ?



    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD class=just vAlign=top>คือแบบที่ให้พูดถึงคำ..... โดยที่คำ ๆ นี้ไม่มีความหมายอะไรทั้งสิ้น เขาว่าจะทำให้จิตว่างไปโดยที่พูดถึงคำที่ไม่มีความหมาย ก็คล้าย ๆ กันอีกแหละกับของพุทธเรา


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>อันนั้นเราไม่รู้แง่มุมของมัน ไม่ได้ถึงที่สุด เรายังไม่รู้เรื่องของมัน ความเป็นจริงของว่างน่ะ.....คล้าย ๆ แก้วใบนี้ไม่มีใช่ไม๊ ?


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>ครับ


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>ถ้าไม่มีวัตถุ มันจะมีว่างหรือ ว่าง.....มันเกิดจากของที่มีอยู่ แต่ท่านพูดว่า....มันเป็นของว่าง.....(หัวเราะร่วนในลำคอ).....นี่แก้วมันเป็นวัตถุ ท่านบอกว่ามันว่าง.....ทำจิตให้มันว่างจิตจะไปเอาอะไรไปทำให้มันว่าง มันว่างกันหมดซ๊ะแล้วนี่ มันก็จนมุมเท่านั้น คำที่ว่าว่างมันว่างในของที่มีอยู่


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>ถูกแล้วครับ


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD vAlign=top>อันนี้มันเป็นของสมมติ



    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD class=just vAlign=top>ท่านพูดถูกแล้วครับ หมายถึงว่างในสิ่งที่เราคิดอยู่ พอมีอะไรมากระทบให้วางจากสิ่งนั้น


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>ให้วางจากสิ่งนั้น แต่อันนั้นมันมีอยู่น๊ะ..... มีคือเรารู้เฉย ๆ คือมี..... ไม่ได้ยึดมั่นถือมั่นมันแต่มันรู้จักอยู่ ถ้ามันไม่มีมันก็ไม่รู้ มันรู้เพราะสิ่งที่มันมี และก็ว่างมีก็เพราะสิ่งที่มันไม่ว่าง มันต้องเป็นอย่างนั้น


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>ครับ


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>ไอ้ความเป็นจริงแล้วนี่ไม่มีน๊ะ แต่คนมาสมมติว่าแก้ว.......ไปสมมติมาจากอะไรนี่ สมมติมาจากสิ่งที่มันไม่มี ให้มันมี มันเป็นของสมมติ ไอ้ความเป็นจริงแก้วมันก็ไม่ใช่ มันไม่มีอะไรทั้งนั้นมันเป็นธรรมชาติขึ้นมาเฉย ๆ เท่านั้น เราไปตั้งชื่อให้มันแล้วก็ไปยึดชื่อ......ติดชื่อมัน ใครว่าแก้วก็ยึดว่าแก้ว ไอ้คนนี้ยึดว่าถ้วย ก็ว่าถ้วย ไอ้คนไปพบแก้วกับถ้วยนี่พูดคนละอย่าง ก็ทะเลาะกันก็ได้ เพราะว่าอันนี้มันสมมติมันจึงต่างกัน แต่ตามสภาพของมัน มันไม่มีอะไรทั้งนั้นแหละ เราสมมติให้มันเป็นแก้ว เป็นกระโถน เป็นถ้วยขึ้นมา ตามธรรมชาติมันไม่มีอะไร มันมีเมื่อเราสมมติขึ้นมานี้.....อย่างตัวเราทุกคน มีชื่อตั้งแต่วันเกิดหรือเปล่า พอเกิดมาปุ๊บ พ่อ-แม่ก็ตั้งชื่อให้ เป็นนายก. นายข. นี่.....มันมีขึ้นเดี๋ยวนี้ มีประโยชน์ไหมชื่อนี่.....มีซิให้คนรู้จักว่าชื่อนั้น ๆ ถ้าเรียกว่าคน ๆ ถ้ามาตั้งร้อยคนพันคน ใครจะมาล่ะ ก็มาทั้งพันคนร้อยคน จะเป็นประโยชน์อะไรล่ะ ต้องเรียกเป็นนาย ก. นายก. นายข. ก็มามีประโยชน์แค่นี้ สมมติไม่ใช่ว่าไม่มีประโยชน์ ทีนี้วิมุติมันก็พ้นจากนี้ไป คิดว่ามันไม่มีอะไรตรงนี้ ที่มีอยู่เดี๋ยวนี้ก็เรียกว่าสมมติ ของเรานี่ไปซื้อมาเดี๋ยวนี้ถ้ามาหาพระ.....พระก็ว่า......นี่ไม่ใช่ของคุณหรอก คุณก็จะเถียงไม่ใช่ของผมยังไง ผมซื้อมาเดี๋ยวนี้ ซึ้อก็จริงเถอะ ซื้อมาก็ไม่ใช่ อย่างนี้.....มันว่างอย่างนี้


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD class=just vAlign=top>หลวงพ่อมาที่นี่.....ผลประโยชน์..... อ้า.....ท่านยังไม่อธิบาย ผมอยากให้ท่านอธิบาย


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>อาตมาเห็นว่า มันไม่ค่อยยากอะไรน๊ะ ให้ผลมันเกิดมาจากเหตุมันเถอะ ถ้าเราทำแล้วผลมันจะเกิดขึ้นเอง ไม่อยากจะรู้ก็ต้องรู้ เช่น ผลไม้ผลนั้น จะทำยังไง.....ให้เข้าใจอย่างเดียว ก็ให้เข้าใจหมดน๊ะ อาตมาไม่เคยมาเมืองนอกน่ะ.....ไม่รู้ว่าผลอะไร เขาเอามาให้ทาน แหม....อร่อยจริงน๊ะ มันหวาน.....มันหอมรู้จักหมด แต่ชื่อผลอะไรนี่อาตมาก็ไม่สำคัญมาก ไม่ต้องถามหามันแล้วน๊ะ รู้ก็ได้ ถ้ามีคนบอกผลนั้นชื่อนี้ก็รับฟัง ถ้าไม่มีใครบอก็ช่างมัน ให้อาตมาได้ฉันผลไม้ชนิดนี้ก็แล้วกันเท่านั้นแหละ ถ้าเขาว่าผลอันนี้ ผลอันนั้นมันก็ไม่เพิ่มความหวานขึ้นมาอีกหรอกน๊ะ มันไม่เพิ่มความเอร็ดอร่อยขึ้นมาอีก


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>ครับ


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>ให้เข้าใจอย่างนี้ เราก็ไม่ต้องสนใจอะไรเท่าไหร่ ควรรู้ก็รู้ ไม่ควรรู้ก็ไม่ต้องรู้ ผลเกิดจากสมาธิ จิตของคุณจะเยือกเย็น คุณจะมีสติ ปัญหาอะไรเกิดขึ้นมาปุ๊บเป็นต้น คุณจะพยายามตัดอันนั้นไม่ให้เป็นทุกข์


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>คือเรียกว่ารู้จักว่าอะไรเป็นอะไร


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>นั่นแหละ.....มันจะเป็นอย่างนั้น ให้ค่อย ๆ สังเกตไป อย่าเร็วน๊ะ.....นี่น่ากลัวจะร้อนเกินไป


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>ไม่ครับ


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD vAlign=top>เออ.....อย่าให้ร้อนน๊ะ ร้อนไม่พบน๊ะ.....ยิ่งร้อนใหญ่น๊ะ



    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>ผมพยายามนั่งมาตั้ง ๓-๔ ปีแล้วครับ


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>เอ้อ.....ให้วางซ๊ะ คืออย่าไปเอาอะไรเลยนั่งน่ะ เรานั่งทำความเพียรเพื่อการปล่อยวางไม่ใช่จะเอาอย่างนั้นอย่างนี้


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD class=just vAlign=top>ไม่ครับ.....ผมไม่ได้คิดอะไรครับ ทำเพราะเพื่อความพักร้อน


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD vAlign=top>จิตสงบไม๊ ?



    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>ก็บางครั้งก็สงบ บางครั้งก็มีเรื่องไม่สงบ


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>นั่นแหละ.....เรื่องไม่สงบข้างนอก แต่ความคิดเราจะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ คิดเข้าไปหาจุดมันแล้วจะเปลี่ยนลำต้นไปเรื่อย ๆ


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>แต่สรุปแล้วมันดีกับสุขภาพจิตครับ


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD vAlign=top>เอ้อ.....ต้องเอาอย่างนั้น </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  7. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    <TABLE><TBODY><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสิกา (อีกคน) : </TD><TD class=just vAlign=top>หลวงพ่อค๊ะ หนูมีปัญหาอยากจะถามว่า เรื่องการนั่งกรรมฐานนี่น๊ะค๊ะ ซึ่งหนูก็เคยทดลอง และหนูได้ไปที่วัด ก็มีท่านอาจารย์ที่วัดสอนอยู่เหมือนกันว่า วิธีนั่งกรรมฐานนี่น่ะ ให้เรานั่งแบบที่หลวงพ่อได้สอนเมื่อกี้นี้น่ะฮ่ะ แล้วให้เพ่งจิตอยู่ที่ลมหายใจเข้า-ออก ในระหว่างที่ลมหายใจเข้า - ออกนี่น่ะ หลวงพ่อคิดว่าจะเป็นการดีหรือว่า.....สำคัญหรือไม่ที่เราจะใช้คำพูดที่ว่า หายใจเข้า......พุท.....หายใจออก......โธ พุทโธตลอดเวลาเลย หรือว่าเราจะเพ่งจิตอยู่ที่สายลมหายใจค๊ะ ?



    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>มันเป็นอย่างนี้ ๆ อันนี้เราต้องทำผ่านไปแล้วถึงรู้จัก ที่เราหายใจและนึกว่าพุทโธ มันทำงานหยาบ เราฝึกว่า พุทโธ เราก็นั่ง....พุทโธไปเรื่อย เมื่อจิตเรามันละเอียด ไอ้พุทโธมันเป็นของหยาบซ๊ะแล้ว ถ้ามามัวเพ่งว่าพุทโธ มันอยากจะรำคาญ เลยเกิดความสงสัยขึ้นมาเราจะไปว่ามันไม่ได้น๊ะ ไอ้พุทโธนั่นคือตัวผู้รู้นั่นเองแหละ ไม่ต้องว่าพุทโธก็ได้ แต่มันรู้ว่าเข้า - ออก นั่นแหละความรู้นั้นเรียกว่าพุทโธ ไอ้ตัวพุทโธนี่คือคำพูดที่เรารู้ว่า ลมเข้า-ออก อยู่ ขณะนั้นมันเป็นตัวพุทโธอย่างแท้จริง แต่ในระยะที่มันเปลี่ยน เราไปสงสัยว่า ท่านอาจารย์บอกให้ว่าพุทโธ......พุทโธ เราก็ไม่ว่าพุทโธ แต่ลมมันก็เข้า-ออกอยู่ มันจะเป็นตัวสงสัยขึ้น อันนี้ไม่ต้องสงสัยแล้ว ไม่ต้องพูดว่าพุทโธ มันก็รู้อยู่แล้ว ไอ้ความรู้นั่นแหละเรียกว่าพุทโธ ความรู้สึกว่าพุทโธนั่น.....เรียกว่าพุทโธอยู่แล้ว มันเปลี่ยนเท่านี้ เข้าใจเท่านี้ก็พอแล้ว ให้รู้ว่ามันออกหรือมันเข้าเท่านั้นแหละ นั่งอยู่ตรงนี้ ผลที่สุดเห็นจิตอยู่ที่นี่ เห็นลงอยู่นี่นี่ เห็นสติอยู่ที่นี่ เห็นความรู้เกิดพร้อมอยู่ในความสงบ สิ่งทั้งหลายเหล่านี้สงบลงไปแล้วจิตก็เห็นหนึ่งไม่มีอะไรตรงนี้ ทีนี้ออกจากนี้ไป.....ก่อนนั่งสมาธินี่ควรพิจารณา ตั้งแต่ศรีษะลงไปหาปลายเท้า พิจารณากาย.....กายทั้งก้อนนี้เป็นกาย แล้วพิจารณาของในกายนี่มีอะไรอีกบ้างไหม ?.....ทุกครั้ง อันนี้จะส่งเสริมให้เราเข้าไปเห็นว่า.....เออ.....คนเรานี่มันก็ไม่มีอะไรมากมายน๊ะ มันจะพิจารณามีปัญญาไปเอง เมื่อมีปัญญาไอ้ความทุกข์.....ความยากมันก็ทอนเข้ามา อย่างข้าววันนี้กินกี่จาน....นี่.....ทำไมมันกังวล บางวันทะเลาะกัน พ่อบ้าน แม่บ้าน ไม่ได้อยุ่เป็นสุขกันเพราะอะไร?.....มันจะไปค้นคว้ามาอ่านดู มันจะรู้จักปล่อย รู้จักวาง จิตใจเราจะสงบ เห็นแล้วมันก็ปล่อย....ก็วาง เป็นจิตใจที่เยือกเย็น จิตใจที่แน่นหนา เป็นกำลังที่จะเกิดปัญญาของเรา สำหรับให้เราเยือกเย็นในครอบครัวนี้



    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสิกา : </TD><TD class=just vAlign=top>แล้วก็มีอีกอย่างหนึ่ง เอ้อ.....ท่านผู้ใหญ่ซึ่งอายุก็รุ่นราวคุณย่า คุณยายน๊ะค๊ะ ท่านเล่าให้ฟังว่า ท่านได้นั่งกรรมฐาน แล้วเป็นความจริงไหมค๊ะว่าทุกคนเมื่อมีจิตศรัทธาแน่นแล้ว ก็ให้ฝึกกรรมฐานนี่น่ะ เมื่อนั่งไปนาน ๆ เมื่อจิตสงบแล้วก็ จะเห็นอะไรต่าง ๆ เกี่ยวกับนรกสวรรค์หรืออะไรอย่างนี้ ที่เล่าให้ฟังนี้เป็นความจริงไหมค๊ะ ?



    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>อันนี้มันเรื่องเบ็ดเตล็ด มันต้องทิ้งทั้งนั้นแหละ ถ้าเห็นสวรรค์จะกระโดดขึ้นไปได้หรือ เห็นแสงสว่าง....อยู่ในเมืองเรานี่แสงสว่างเยอะไปน๊ะ ไม่ต้องไปนั่งหลับตาก็เห็นสว่างหรอกเดินไปตามเมืองแสงสว่างมันเยอะไปแล้ว ไม่ต้องไปอย่างเห็นอันนั้น อยากจะเห็นความสงบของจิตเรานี้ เมื่อถูก อารมณ์ไม่อยากจะให้มันยึดมั่นถือมั่น อยากให้มันพ้นจากทุกข์เท่านั้นอันนั้นก็เป็นไปได้เหมือนกัน แต่ว่ามันเป็นเครื่องประดับของผู้มีปัญญา มันเป็นของเบ็ดเตล็ดอย่างนั้น ไม่เป็นของควรยึดมั่นถือมั่นอะไรมัน เราไม่ต้องการอันนั้น อันนั้นมันเป็นของภายนอก มันเป็นไปได้ทุกอย่างน่ะแหละ



    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสิกา : </TD><TD class=just vAlign=top>จุดประสงค์ของหลวงพ่อก็คือ..... การนั่งกรรมฐานนี่ ต้องการทำใจให้สงบเท่านั้น



    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD vAlign=top>ใช่



    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสิกา : </TD><TD class=just vAlign=top>แต่ว่าการนั่งกรรมฐานของท่านผู้ใหญ่ ที่เคยเล่าให้หนูฟังเมื่อสมัยเป็นเด็ก คือนั่งกรรมฐานแบบต้องการจะรู้แบบ......



    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>นั่นแหละคนชอบเล่นหมากรุก จะไปนั่งให้รำคาญทำไมอย่างนั้น มันไม่อดหรอกของจะดูอันนั้นไม่ต้องอย่างนั้นแล้วนี่ รู้ว่ามันเป็นของปลอม ก็ไม่ต้องไปรู้ซิ



    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสิกา : </TD><TD vAlign=top>คือถ้าเผื่อนั่งนี่ต้องการจะเห็น ๆ จริงหรือเปล่าค๊ะ ?



    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>ไม่รู้.....บางคนมันก็เห็น บางคนมันก็ไม่เห็น มันคนหลายคนทำ ไม่ใช่คน ๆ เดียวทำ



    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>ไอ้ผล.....เราไม่ต้องการเห็นอะไร



    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD vAlign=top>เอ้อ ๆ ......นั่น



    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD vAlign=top>แล้วเห็นอะไรล่ะครับ ?



    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD vAlign=top>เห็นจิตเจ้าของมันสงบเท่านั้นแหละ



    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>อุบาสก : </TD><TD class=just vAlign=top>ใช่.....เหตุผลมันมีอยู่แค่นั้นแหละ ไอ้การที่ใครบอกว่าเห็นโน่น เห็นนี่ ผมว่า.....แสดงว่าจิตเขาไม่ว่างจริง ถ้าเผื่อเขาเห็นถูกไหมครับ ?



    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just vAlign=top>ใช่....ถ้าเห็นก็เห็นมีเหตุผลดีกว่านั้น เห็นเรื่องจนว่าระงับให้ไม่มีเรื่อง</TD></TR></TBODY></TABLE>

    หลวงพ่อชา สุภัทโท
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 เมษายน 2008
  8. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    สงบเพราะคิดถูก
    ถ้าเรามองเห็นโทษก็จะมองเห็นประโยชน์ขึ้นมาพร้อมกัน

    จะให้ความพอดีของกิเลสตัณหานั้นไม่มีหรอก ผมว่าตัดสินใจลงไปตรงนี้แหละ อายุคงไม่ถึงร้อยปีหรอกนะ ถ้าพวกเราทำให้ถูกต้อง ก็จะมีความสงบระงับเท่านั้นเอง

    ที่เราทำไปทุกวันนี้ผมคิดว่าไม่สมควร เพราะมันจะต้องเสียหลักในการปฏิบัติ เดินออกจากหนทาง ถ้าได้มามากก็ทุกข์มาก ไม่เห็นใครเหลือสักคนเลย เช่นอาจารย์ทองดีเป็นเพื่อนกับผม บวชได้แปดพรรษา เรียนนักธรรมเอกยังไม่ได้ กลับมาสอบอีกเรียนอยู่สี่ปีจึงสอบนักธรรมเอกได้ ติดอยู่นั่นแหละ เหมือนเขาทอดแหใส่กิ่งไม้ ลูกโซ่แหไม่ถึงดิน ก็ติดค้างอยู่บนอากาศ อยู่ไม่ได้สึกออกไปมีครอบครัวแล้ว ไปมีภรรยาได้ไม่นานภรรยาก็ตายก็หาภรรยาใหม่อีก แล้วก็ตายอีก สุดท้ายก็หมดหนทาง เหมือนตากกบแห้งมันจะเกิดประโยชน์อะไรล่ะ

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head3>หนทางของการปฏิบัติ</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ทำอย่างนั้นถ้าออกไปพบกับความทุกข์ก็ไม่ต้องบ่น เพราะความทุกข์มันอยู่ที่นั่น ถ้าความอยากเกิดขึ้นมันก็ทุกข์ ถ้ามีความทุกข์ก็ทนเอา ไม่ต้องบ่นว่ามันเป็นเพราะอะไรมันจึงทุกข์อย่าพูดเลย มันต้องรู้จักวาง อย่างนั้นมันจะเปลี่ยนสภาพไปอีก

    พระพุทธองค์ท่านสอนว่า อัตตาหรืออนัตตา ถ้าเป็นอัตตาก็เป็นตัวตน ถ้าเป็นอนัตตาไม่ได้อาศัยตัวตน อันนี้เป็นคนละเรื่องกัน ให้แก้ไขสิ่งที่พอจะแก้ไขได้ ถ้าสิ่งที่แก้ไม่ได้ก็ปล่อยไปไม่เคยสอนให้อยู่นอกข้อประพฤติปฏิบัติ ถึงจะมีปัญญามากก็ตาม ถ้าเอาตัวเองพ้นทุกข์ไม่ได้ก็ไม่เรียกว่าคนมีปัญญา
    ถ้าคนมีปัญญา พระพุทธเจ้าท่านสอนว่า คนอันธพาลถึงจะมีปัญญามากก็ตาม แต่ก็เป็นปัญญาทราม ปัญญาดีไม่มีเลยพวกโจรมันมีปัญญาในการปล้น พวกนักรบมีปัญญามาก มีไหวพริบดีในการสร้างศาตราอาวุธ สร้างระเบิดสารพัดอย่าง มีความเก่งกล้าสามารถ มีปัญญามากก็จริง แต่เป็นปัญญาทรามปัญญาดีไม่มีเหมือนมะม่วงเน่าให้ประโยชน์ไม่ได้

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head3>ปัญญาทราม</TD></TR></TBODY></TABLE>
    มีปัญญามากอยู่ แต่ตัวเองได้รับความทุกข์ ถึงมีมากก็ไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย มีปัญญาทางสร้างอาวุธมารบยิงฆ่าฟันกันอย่างนี้มันไม่เกิดประโยชน์ เหมือนคนผู้มีปัญญาปรุงยาพิษมากิน คนกินก็ตาย ไก่หรือสุนัขกินก็ตาย มันดีหรือปัญญาอย่างนั้นปัญญาปรุงยาพิษให้คนกินแล้วตาย ในใบสลากยาก็ว่ายาดี ดีอย่างนั้น ดีที่เป็นโทษเป็นภัยต่อชีวิตของคนและสัตว์ในโลก ท่านเรียกปัญญาทราม
    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head3>เมื่อมองเห็นโทษก็เห็นประโยชน์


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    พวกเราก็เหมือนกัน จะไปอยู่ที่ไหนก็ตามถ้าไม่มีปัญญาเอาตัวไม่รอด อยู่ที่นี้ก็เหมือนกัน ถ้าสิ่งใดที่เรามองไม่เห็นโทษของมันอย่างชัดเจน ก็จะเลิกได้ยาก อยากจะเลิกก็เลิกไม่ได้ ถ้าเรามองเห็นโทษก็จะมองเห็นประโยชน์ขึ้นมาพร้อมกัน มันก็เลิกได้ถึงจะจมอยู่ในน้ำหรืออยู่บนพื้นดิน มันก็จะผุดขึ้นมาจนได้ จิตใจของผู้ปฏิบัติอย่างนั้นหาได้ยาก จะมีแต่คำพูดออกมาหลายๆ อย่างแต่ความคิดเห็นจริงๆ นั้นจะไม่มี สิ่งใดที่มาผ่านจะเอาให้หมด ตั้งไว้ไม่อยู่ ครูบาอาจารย์ก็เหมือนกัน ไปที่ไหนท่านก็ไปให้ความรู้ความเห็นสารพัดอย่าง จะรวมลงคือ "ทุกข์"

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head3>ความทุกข์คืออะไร</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ทุกข์เหมือนกับเราแบกของหนักอันหนึ่ง ทุกข์อีกอันหนึ่งคือเป็นหนี้สิน ของคนอื่นก็เป็นทุกข์ ทุกข์เพราะแบกก้อนหินใหญ่ก็เป็นทุกข์ เรื่องทุกข์ เอาใจไปแบกก็เป็นทุกข์ เอากายไปแบกก็เป็นทุกข์ มันมีแต่เรื่องทั้งนั้น ท่านจึงสอนให้เรารู้จักทุกข์ รู้จักเหตุเกิดของทุกข์ รู้จักความดับทุกข์ รู้จักข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ท่านสอนอย่างนี้ จะเป็นทุกข์มาจากอะไรๆ ก็ตามก็ทุกข์อันเดียวกัน ความทุกข์เกิดขึ้นมา ก็คือทุกข์เหมือนกัน ไม่ใช่เรื่องอื่นเลย

    เช่นพ่อค้าที่เคยค้าขาย เป็นคนร่ำรวย มาบวชเป็นพระแทนที่จะมาประพฤติปฏิบัติ ให้เห็นธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า "ก็ไม่เห็น" ก็เลยตายจากสมบัติเงินล้านเงินโกฏิเฉยๆ ถ้าบวชอย่างนี้จะก้าวมาเดินไปให้มันเสียเวลาทำไม อยู่กับเรือนจะไม่ดีกว่าหรือ

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head3>ก้อนทุกข์</TD></TR></TBODY></TABLE>
    นักบวชพวกเรานี้ก็เหมือนกัน ถ้าไม่ประพฤติปฏิบัติปล่อยให้ตัวเองได้รับความทุกข์แล้ว ผมคิดว่ามันไม่เกิดประโยชน์ผมจะเดาเอาไว้เลยก็ได้ ถ้าลงไปเรียนเอาปริญญาแล้วมันก็แค่นั้นแหละเช่นคนหนึ่งชื่อทองดี มาบวชเป็นเณร อยู่ที่นี่มีสารพัดอย่างต่อมาก็อยากสึก ผมก็บอกให้มารวมหมู่คณะแล้วพูดว่า เออ...ให้มันปรุงดีๆ เณรนี้แหละจะตกนรก ถ้าไม่เชื่อลองดูก็ได้ ตกนรกแน่นอนเลย อยากจะไปเรียนหนังสือ เรียนก็เรียนไปตกนรกนั่นแหละ ขนาดพูดให้ฟังอยู่อย่างนี้มันยังไม่รู้จักทุกข์ จะเรียนเอาหนังสือมาอ่านให้มันรู้จักทุกข์ เป็นไปไม่ได้หรอก รู้แล้วว่าไฟมันเป็นของร้อน แต่ก็ยังกระโดดเข้าไปหากองไฟ จะเอาหนังสือมาอ่านให้ไฟมันหยุดร้อนไม่ได้เลย บอกให้รู้อยู่อย่างนี้ก็ยังไม่รู้จัก "ก้อนทุกข์" จะไปเรียนสอบเอาอะไรล่ะ สอบก็จะได้แต่คำพูดนั่นแหละ พอเข้ามาในกรุงเทพฯ ก็มีอันเปลี่ยนแปลงไปมาก

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head3>ปฏิบัติธรรมแบบพระจันทร์ข้างแรม</TD></TR></TBODY></TABLE>
    บางครั้งมาที่เมืองอุบลฯ บาตรก็ไม่เอามา ครองผ้าจีวรสีเหลืองสดใส หิ้วประเป๋าเดินทางอย่างสวยเป็นมันวับๆ เลย ใส่รองเท้าขัดมันได้อย่างสวยเลย เราผู้เป็นอาจารย์ไม่มีรองเท้าใส่เดินด้วยเท้าเปล่าๆ หนังเท้าหนามากจนขนาดเดินไปเหยียบหญ้าคาถูกเท้าไม่เข้าเลย เพราะหนังมันหนา แต่เดี๋ยวนี้ไม่เห็นมาเยี่ยมเลย คงจะตกไปที่ทุกข์มาก เงียบไป ค่อยๆ ห่างออกไปเรื่อยๆ "มันจะต้องดับลงเหมือนพระจันทร์ข้างแรม" น้อยไปๆ เล็กลงๆ แสงก็นับวันแต่จะเล็กลงๆ วงพระจันทร์จะแคบลงไปทุกทีๆ อีกหน่อยก็ตกปั๊บเท่านั้นเอง หมดแสงเลย มันชอบเป็นอย่างนั้น เพราะมันไม่เห็นทุกข์ไม่เห็นโทษ

    คนไม่ได้ภาวนา คือคนที่เขาชอบมีความเพลิดเพลินร่าเริงเป็นกลุ่มหลายๆคน เขาพูดคุยกันด้วยความยิ้มแย้มแจ่มใส ผมก็มีความอัศจรรย์เขาอยู่เหมือนกันว่า เอ...ดูเหมือนเขามีความร่าเริงสนุกสนานอยู่ เหมือนเขาทำงานเสร็จหมดทุกอย่าง ความจริงแล้วทำงานยังไม่เสร็จ

    ผมเองถ้าพูดคุยกับเพื่อนหลายคำ ก็คิดว่าตัวเองยังทำงานไม่เสร็จ งานยังค้างอยู่มาก เหมือนกับไปเที่ยวเล่นกับเพื่อนยังไม่ได้ปล่อยควายออกจากคอก ก็มีความเป็นห่วงควายอยู่อย่างนั้นเพราะงานยังไม่เสร็จ จะไปไหนก็มีความเป็นห่วงอยู่นั่นแหละ ดูคนอื่นเขาปล่อยไปตามอารมณ์อย่างสบาย มีความสนุกสนานพูดล้อกันเล่นสนุกเฮฮา ผมก็คิดทุกระบบว่าตัวเองยังไม่พ้นทุกข์ จะนั่งอยู่ที่ไหนก็เหมือนกับว่าเราทำงานยังไม่เสร็จ จะมีความปรารถนาความเพียรอยู่เสมอไม่หยุดสักที เพราะยังมีกิเลสอยู่มาก มันจะมีความทุกข์อยู่อย่างนี้เรื่อยไป จึงเอามาพิจารณาถ้ามีเรื่องที่คุยกับเพื่อน ก็คุยไม่มาก ทั้งคุยทั้งอยากกลับ

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head3>ดีอยู่ที่การปฏิบัติ

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    การภาวนาของผมตั้งแต่สมัยก่อนเป็นอย่างนี้ พระเณรบางองค์ชอบคุยด้วย บางครั้งเราจะนั่งภาวนาอยู่กุฏิ ก็เดินไปนั่งคุยอยู่นั่นแหละจนผมรำคาญ ผมเลยบอกว่าท่านเฝ้ากุฏิให้ผมด้วยนะ ผมกลัวสุนัขจะมาขี้ใส่กุฏิผม ผมจะไปเดินจงกรมก่อนนะผมเอาอย่างนั้น "เพราะทำงานยังไม่เสร็จ" จะไปนั่งคุยให้มันเสียเวลาทำไม

    มันจะมีจิตใจฝักใฝ่ต่อความเพียรอยู่อย่างนั้น แต่ "พวกเราไม่ชอบดูงานของตัวเองสักที" กลับมาถึงเรือน ขี้แมวเต็มกระด้งเหมือนคนธรรมดาๆ ทุกข์เกิดขึ้นมาก็ไม่ได้ "ปฏิวัติ" มันสักที ไม่ได้ "ปฏิรูป" มันสักที อยู่เฉยๆ ไม่มีการ "ละ" ไม่มีการ"บำเพ็ญ" ไม่รู้จะทำอะไรเพราะสถานที่นี้ทำกันอย่างนี้ มันจึงไปขัดที่จิตใจของพระเณร"ผมไม่อยากจะพูดมากหรอก เพราะไม่ได้ดีอยู่ที่คำพูด แต่ได้ดีอยู่ที่การปฏิบัติไปเรื่อยๆอยู่กับครูบาอาจารย์ให้ดูท่าน เพราะหูเราก็มี ตาเราก็มี ก็ดูได้ฟังได้เหมือนคนหิวข้าวมากๆก็ไม่อยากหรอก เห็นเพื่อนนั่งกินข้าว คนที่หิวข้าวก็จะเข้ามากินกับเพื่อนเลยไม่ได้ไปจับไปคุมเขาเข้ามาหรอกนะ เหมือนไก่มันหิวข้าว เอาข้าวเปลือกมาโปรยให้มันกิน ไก่มันจะวิ่งออกมากินเอง เช่นวัวที่มันเคยกินหญ้า เอาไปปล่อยที่สนามหญ้ามันก็คงต้องกินหญ้า ถ้ามันไม่กินหญ้าก็เป็นหมูเท่านั้นเอง

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head3>ไม่ละชั่วไม่กลัวบาป</TD></TR></TBODY></TABLE>
    อันนี้.... เป็นสถานปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ควรจะเอาไปพิจารณาให้เห็นตามความจริง มันก็จะปฏิบัติได้ ถ้าไม่ได้มันเป็นเรื่องของโลกเขา บวชเข้ามาแล้วก็อยู่กับครูบาอาจารย์ จะทำอะไรก็กลัวแต่ครูบาอาจารย์จะเห็น แต่ไม่กลัวบาป ถ้าลับตาพ่อแม่ครูบาอาจารย์ ทำได้ทุกอย่าง ถ้าอยู่ใกล้ท่านก็กลัว ไม่กล้าทำผิดกลัวท่านจะดุเอา ถ้าอยู่ห่างไกลท่านยิ่งมีความสบาย อยากจะทำอะไรก็ทำได้ โดยมากชอบเป็นอย่างนั้น คนประเภทนี้แหละไม่ละชั่วไม่กลัวบาป ถ้าจะกลัวก็กลัวพระพุทธเจ้า กลัวครูบา-อาจารย์ กลัวท่านจะเห็นเราทำไม่ดี ถ้าลับตาท่านไม่กลัวเลยเหมือนเด็กนักเรียน ตั้งแต่สมัยก่อน พอมองเห็นครูใหญ่ พวกนักเรียนกลัวจนขาอ่อนลงเลย ถ้าครูบอกให้ทำการบ้าน โอ้ย...เรียบร้อยดีมาก สมัยก่อนมีความเคารพคารวะมาก "คาระโวจะนิวาโตจะ" มีความเคารพคารวะ กลัวท่าน ถ้าครูสั่งให้ทำอะไรก็ทำได้ทันที กลัวทั้งครูอาจารย์ กลัวทั้งความผิดมันจะเกิดขึ้นมาเด็กนักเรียนมันไม่ทันสมัยหรอก แม้แต่จะเดินก็ค่อยๆเดิน ไปหาเจ้านายไปหาครูอย่างนี้ นั่งเก้าอี้ก็ไม่เป็น อยากจะนั่งกับพื้นเพราะโง่มาก ต่อมาก็ฝึกให้นักเรียนมีความฉลาด ฝึกให้เข้าถึงเจ้านายหรือครูอาจารย์ ฝึกให้นักเรียนไม่ต้องถือกันกับครู อยู่ด้วยกัน เล่นด้วยกัน โอ๊ยมันก็เหมือนเอาลิงไปหัด เดี๋ยวนักเรียนก็จับศรีษะครูเท่านั้นแหละ ครูมันก็ไม่กลัว ความผิดมันก็ไม่กลัวเลยทุกวันนี้

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head3>ขาดหลักธรรมก็เป็นทุกข์</TD></TR></TBODY></TABLE>
    นักเรียน ป.๔ เข้ามาบวช ให้อ่านหนังสือให้ฟัง อ่านผิดๆ ได้ยินอ่านไปว่าจะไป 'เมียง' (เมือง) ไปซื้อเสื้อ 'เหลี่ยง' (เหลือง) ไปซื้อ 'เกีย' (เกลือ) มาฝึกหัดเอาใหม่ยากเกือบตายนักเรียนทุกวันนี้ สมัยก่อนนักเรียนจบ ป.๔ สอนนักเรียนแทนครูได้ ทุกวันนี้ไม่ทราบว่าเรียนมาจากไหน โอ้ย...อ่านหนังสือไม่ค่อยรู้เรื่องเลย ไม่รู้ไปเรียนมาจากไหน เห็นเด็กอ่านหนังสือได้ยินว่า ฝนตกแล้วแดดออก เห็นแต่มันอ่านไปอย่างนั้น แต่ก่อนอ่านให้ถูกตัวอักษรก็มาก ถ้าเรียนให้รู้เรื่องของมันแล้วก็ไม่ติดขัดหรอกนะ อ่านหนังสือเฉยๆอ่านฟ้องไปถึงยอดมันก็ได้ ทุกวันนี้อ่านไปผิดๆ ให้มันติดปากแล้วแก้ยาก นี้แหละคือสอนให้เด็กไม่ให้มีความเคารพ.เพราะมันขาดความคารวะ ขาดหลักธรรมะ "คาระโวจะนิวาโตจะ สันตุฏฐี จะกะตัญญุตา" ขาดการเคารพ ขาดการคารวะ ขาดกตัญญูกตเวที ขาดไปหมดทุกวันนี้ความเดือดร้อนก็ไปถึงพ่อแม่ สอนก็ไม่ได้ บอกมันก็ไม่ได้ พ่อแม่ก็เป็นทุกข์วุ่นวาย เพราะมันขาดหลักธรรมะนี่แหละ

    สมัยก่อนครูสอนนักเรียนได้หนึ่งอาทิตย์ ก็ต้องสอบอารมณ์ครั้งหนึ่ง มีพระมาสอนเรื่องศีลธรม สอนเรื่องจรรยามารยาท ก่อนจะเลิกโรงเรียนก็ต้องสวดสรรเสริญคุณพระบารมี แต่ทุกวันนี้นักเรียนเก่งไปในทางเล่นกีฬา เตะฟุตบอล มีความสนุกเพลิดเพลินไปทางเล่นมากกว่า เรื่องจรรยามารยาทที่ดีงามนั้นไม่ค่อยได้พูดถึงกัน มันจึงเปลี่ยนไปเรื่อยๆ เพราะมันขาดหลักธรรมะ แสวงหาแต่สิ่งที่สนุกเฮฮา ไปดื่มของมึนเมา ทำให้ตัวเองเป็นคนเสียสติ เหมือนคนเป็นบ้า เป็นบ้าไปหมดทุกคน เป็นบ้าไปหมดทั้งพ่อแม่พี่น้องจนหมดโลก มันดื้อด้าน ว่ายากสอนยาก สอนมันไม่ได้เลย
     
  9. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head3>ไม่ดีตรงไหนก็ควรแก้ตรงนั้น</TD></TR></TBODY></TABLE>
    การปฏิบัติก็เหมือนกัน สมัยก่อนไม่เป็นอย่างนี้หรอกทุกวันนี้ถ้ามีความทุกข์ก็ทุกข์มากจริงๆ เรื่องอาหารไม่ได้ตามชอบใจ อาหารไม่ถูกปากไม่อร่อย ที่อยู่อาศัยไม่ได้ตามชอบใจก็เป็นทุกข์หมด เพราะคนสมัยนี้มีผิวบางมาก ความอดทนมีน้อยทุกวันนี้ เป็นเรื่องที่เสียหายมากเสียเวลาที่มาประพฤติปฏิบัติ มันต้องพูดกันได้ เป็นคนที่สอนง่าย มีความเคารพเชื่อฟังจึงจะถูกต้อง ส่วนมากจะเป็น "ปะทะปะระมะ" คือพูดกันไม่ได้สอนกัน ไม่ได้ ไม่เชื่อฟัง พูดให้ฟังก็ไม่สนใจเหมือนไม่ได้ยิน ใช้ให้ตักน้ำก็ขี้เกียจ หนีไปอยู่กรุงเทพฯ บอกว่าบ้านเราน้ำก็ไม่ค่อยมี ให้พากันไปอยู่ที่กรุงเทพฯ หมดก็ได้ ไม่ต้องอยู่ทางภาคอีสานหรอก เป็นเพราะอะไรนะมันถึงเป็นอย่างนี้ที่ไหนไม่ดีไม่งามก็ควรแก้ไขที่ตรงนั้นการปฏิบัติของเราก็เหมือนกัน ถ้าที่ไหนมันสะดวกก็ไม่ต้องไปทำอะไรมัน ตรงไหนที่มันขัดข้องก็ต้องแก้ไขที่จิตใจของเรานั้น

    ถ้าพูดอย่างโน้นอย่างนี้ในสิ่งที่ไม่ดี ชักชวนกันไปที่นั่นที่นี่เณรน้อยก็จะหูผึ่งไปนั่นแหละ จับกันคุยเป็นกลุ่มก้อนอยู่ในช่วงกลางพรรษา ออกพรรษาแล้วองค์นี้ก็จะไปที่โน้น องค์นั้นก็จะไปที่นี่ วุ่นวายกันอย่างนี้มันจะหมดนะ ฉะนั้นผมจึงถอนตัวออกไป

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head3>การปฏิบัติยังอยู่อีกมาก</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ทีนี้ให้พวกเรามาตั้งเอาใหม่ ประพฤติปฏิบัติเอาใหม่อย่าได้ประมาท การปฏิบัติของเรามีวัดอยู่ ดีแล้วที่ได้เข้ามาบวช ได้อยู่ด้วยความสะดวกสบายทุกอย่าง ไม่ใช่เป็นอย่างนั้นนะ ได้บวชมามันก็เสร็จแต่การบวชเท่านั้น แต่การปฏิบัติของเรายังอยู่อีกมากเป็นกว่าการบวช พวกท่านทั้งหลายไม่เห็นหรือ สัตว์ทั้งหลายที่มีอยู่ในโลก เช่น ปลวก มด อยู่บนพื้นดินก็มีมากหลาย แต่ส่วนที่อยู่ใต้ดินก็มีอีกมากมาย เช่นว่าโบสถ์หลังนี้สร้างขึ้นมาไม่ยากหรอก แต่การที่จะดูแลรักษาโบสถ์หลังนี้ไปอีกนานหลายชั่วอายุคน สักสามชั่วอายุของคนก็ได้ ตอนสร้างโบสถ์นี้ไม่ยากหรอกสร้างสองปีก็เสร็จ ยังเหลือแต่การปฏิบัติรักษา ทำความสะอาดที่นั่นที่นี่ไม่รู้วันเสร็จสักที ไม่ใช่ของง่ายๆนะ สร้างเสร็จแล้วยังเหลือการดูแลรักษา สร้างสองสามปีก็เสร็จ พวกเราจะต้องรักษาโบสถ์หลังนี้ไปอีกนานจนกำหนดไม่ได้ ให้ได้ครึ่งเท่าครึ่งก็ยังดี บวชมาแล้วจะเอาสบายเพราะคิดว่าบวชเสร็จ แต่การปฏิบัติของนักบวชนี้สิมันยาก ยังมีอีกมาก

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head3>สิ่งทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ฉะนั้นพระพุทธองค์ท่านตรัสเป็นพระวาจาเป็นครั้งสุดท้ายว่า "อย่ามีความประมาท" ให้สิ้นลงจนลงได้ ท่านสอนภิกษุทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลายจงทำความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด ท่านพูดตรงจุดจบเลย แต่พวกเรายังมีชีวิตอยู่ก็ไม่ควรประมาท ผมไม่กลัวว่ามันจะเสื่อมหรอกนะ ผลที่สุดมันก็ต้องเสื่อมจนได้ เหมือนกับว่าความจริงมันก็จะตาย ถ้าเจ็บป่วยไข้มาก็จะไม่ฉันยาหรือ ไม่ฉันข้าวเลยอดให้มันตายเลย ดีไหมอย่างนี้ความเสื่อมมันมีเป็นธรรมดา เกิดขึ้นมาแล้วความเจ็บไข้ก็มีเป็นธรรมดา ของมันอยู่อย่างนั้น แต่ว่าถ้าเจ็บไข้ไม่สบายก็ต้องรักษาอันนี้เรียกว่ายาบำบัดโรคภัยไข้เจ็บ ถึงแม้พระพุทธเจ้าของเราท่านก็จัดไว้เป็นปัจจัยสี่ คิลานะเภสัช ท่านไม่ให้ประมาท เช่นแก้วใบนี้มันก็แตกเป็น แต่ถ้าเราใช้มีความระมัดระวังให้ดีแล้ว แก้วมันก็ไม่แตกง่ายๆ จะได้ใช้ไปอีกนาน แต่ถ้าเราไม่คำนึงถึงสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ มันก็จะแตกเร็วขึ้น เพราะมีความประมาทไม่มีความระวังตัวเอง

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head3>ความเจริญของหนองป่าพง</TD></TR></TBODY></TABLE>
    อันนี้ก็เหมือนกัน สาขาของวัดเราก็มีมากขึ้นเกือบจะถึงสี่สิบกว่าสาขาแล้วนะ ผมก็ทำงานมาหลายปีแล้ว ไม่ได้ทำอย่างนี้ พวกเราจะไปอยู่ที่ไหนก็ได้ พระกรรมฐานส่วนมากมีแต่เขาไล่หนีทั้งนั้นแหละ เป็นมาตั้งแต่ครูบาจารย์มั่น ครูบาจารย์เสาร์ เป็นแต่สมัยโน้นจนถึงปัจจุบัน เป็นอย่างนี้ ผมเป็นผู้เดินก่อนกับท่านจันทร์ กับคุณเที่ยง มันหนักมาก ผ่านมาหลายอย่างเป็นพยานของตัวเองในข้อประพฤติปฏิบัติ อยู่ในป่าดงอย่างนี้ เอาชีวิตเข้าแลกเอานะ จึงมีความเจริญขึ้น จะไปที่ไหนก็ว่าไปจากสำนักวัดหนองป่าพง สำนักอาจารย์เที่ยง สำนักอาจารย์จันทร์ สำนักต่างๆ ทั้งหลายเหล่านี้ ออกไปจากวัดหนองป่าพงทั้งนั้น จะไปที่ไหนก็ไม่มีใครดูถูกดูหมิ่นเท่าไรนัก ถ้าเขารู้ว่ามาจากวัดหนองป่าพงหรือสาขา จะไปที่ไหนก็มีความสะดวกสบายพอสมควรโยมเขายกเว้นหรือให้อภัยหลายๆ อย่าง จะเดินทางไปไหนโยมก็ไม่ให้เสียค่ารถหรอก จะเป็นสาขาของวัดหนองป่าพงก็เหมือนกันก็มีความเจริญขึ้นมา พวกเราได้ไปมาอย่างสะดวกสบาย การเผยแพร่ธรรมะหรือการออกธุดงค์ จะไปไหนก็ค่อยจะเดินไปด้วยความระมัดระวัง ผู้เฒ่าจะเดินไปก็ค่อยๆ เดินเพราะกลัวจะหกล้ม จะเคี้ยวอาหารก็เคี้ยวเบาๆ เพราะปวดฟัน จะพูดมากก็ไม่ได้ไม่มีเรี่ยวแรง ค่อยอยู่ค่อยกิน ค่อยไปค่อยมา พ่อแม่พวกเราเคยถามกันว่า ค่อยอยู่สบายดีไหม? เออค่อยอยู่สบายดีอยู่หรอก

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head3>สังขารมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา</TD></TR></TBODY></TABLE>
    สังขารนี้มันค่อยมันเสื่อมไปทุกวันๆ พระท่านสอนว่า"สังขารร่างกายก็ไม่ใช่ของเราหรอก" เราก็โกรธไม่พอใจ ถ้าว่าไม่ใช่ของเราก็เอาไฟมาเผาดูซิ เอามีดมาลองแทงดู พูดไปสารพัดอย่าง ฟังท่านพูดไม่เข้าใจ คิดว่าตัวเองพูดถูก ไปเถียงแต่คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไม่หยุดสักที ไม่ยอมรับธรรมะของท่าน ไม่ใช่ว่าจะเป็นแต่เดี๋ยวนี้หรอกนะ เรื่องอย่างนี้เป็นมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาลโน้นแล้ว มีนางหนึ่งสวยงามกว่าเพื่อนในครั้งพุทธกาล ไปฟังเทศน์ พระพุทธเจ้าท่านเทศน์ให้ฟัง เรื่องเกศา โลมา นะขาทันตา ตะโจ "ร่างกายนี้มันเต็มไปด้วยของไม่สะอาด เป็นของบูดของเน่า ของไม่เห็นสาระแก่นสาร เป็นของน่าเกลียดโสโครก" ก็ไม่พอใจ โกรธพระพุทธเจ้า ว่าดูถูกเหยียดหยาม มีความสำคัญว่าตัวเองสวยงามมาก แต่พระพุทธเจ้าเทศน์ว่าไม่ใช่ของสวยงามผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ ไม่มีอะไรที่สวยงามเลย จึงโกรธพระพุทธเจ้า เพราะความไม่รู้ตามความเป็นจริงนั่นแหละ

    ต่อไปนานไปก็ไปเห็นซากศพคนตาย ก็จึงคิดได้ เอามาเทียบกับตัวเองจึงเห็นจริงตามที่พระพุทธเจ้าท่านสอนว่าเราเป็นผู้หลงผิดจริงๆ จึงได้ไปกราบขอขมาโทษพระพุทธเจ้า เพราะความสำคัญลุ่มหลงของที่มีอยู่กับตัวเองก็จึงไม่รู้จัก ถ้ามันหนาวก็เอาผ้าห่มคลุมไว้ทั้งเนื้อหนังนั่นแหละ แต่ไม่เห็นตัวเองสักที กระดูกผม ก็ไม่เห็น ถ้าครูบาอาจารย์ท่านเทศน์ว่า เกศา โลขา นะขาทันตา ตะโจ ก็คิดว่าพูดอะไรนะ ใครจะไม่เห็นผม หนัง เพราะมันไม่เห็นตามความเป็นจริง ถ้าเห็นสกลร่างกายตามความเป็นจริงแล้ว มันก็จะถอยหรอก โยมจับดูแล้วมันก็วาง ไม่ได้ยึดหมายมันหรอก มันก็วางได้ ถ้าวางก้อนนี้ได้ ก็คือวางกองทุกข์นั่นแหละ ไม่ยึดหมาย

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head3>ใช้งานตามหน้าที่ของสังขาร</TD></TR></TBODY></TABLE>
    มีมือก็ใช้มันไป มือก็ใช้ให้มันจับมา มีหูมันมีหน้าที่ฟัง เสียง ก็ใช้ให้มันฟัง มีปากที่มันเคี้ยวอาหารเป็นก็ใช้ให้มันเคี้ยวจมูกก็ใช้ให้มันสูดลมหายใจเข้าลมหายใจออก ใช้มันไปคนละอย่าง เท้ามีไว้สำหรับเดิน มันปั้นข้าวไม่เป็นก็ต้องให้มันเดิน หูก็ใช้ฟังเสียง จมูกก็ใช้ดมกลิ่น ใช้ไปตามหน้าที่ของมัน จะใช้ให้มันขัดกันก็ไม่ได้อีก เพราะมันไม่ใช่ของเรา ให้เอาหูไปดูหนังดูซิถ้าไม่เชื่อลองดูก็ได้ ใช้ของไม่ถูกที่ของมัน ถ้าเป็นของเราจริงๆจะต้องบังคับมันได้ เอาหูไปดูได้ถ้าเป็นของเราจริงๆ ใช้ให้มันไปทำนาก็ได้ ใช้ตาไปฟังเทศน์ลองดู ถ้าเป็นตาเราจริงๆ ก็ต้องใช้มันไปฟังเทศน์ได้ แต่อันนี้ไปใช้ของคนอื่น ไม่ใช้ของเราเลย มันจึงขัดขวางเราอยู่เรื่อยไป เพราะยึดว่าเป็นของเรา ครูบาอาจารย์ท่านเทศน์ก็ไม่รับ ฟังก็ไม่รับทราบ ไม่เข้าใจ เป็นตัวอัตตาขวางอยู่นั่นแหละ ถ้ารับทราบธรรมะของพระพุทธเจ้าแล้วมันก็ง่าย ยอมรับฟังไม่ฝ่าฝืน ก็เข้าใจธรรมะได้

    ถ้าไม่รับทราบ ไม่รับฟัง ไม่รับรู้เอาแต่ใจตัวเอง สิ่งใดที่ชอบใจจึงเอา สิ่งใดไม่ชอบก็จะไม่เอาเลือกเอาแต่สิ่งที่ชอบ ถ้าเป็นเสียงก็เสียงที่ถูกหู เสียงไพเราะจึงจะเอา ให้คนอื่นทำให้ถูกใจเราจึงจะชอบจึงจะสบายใจ ส่วนมากชอบเป็นอย่างนั้น จะให้ทุกคนทำให้ถูกใจเราคนเดียวจึงจะตรัสรู้ธรรมะได้ มันเป็นไปไม่ได้หรอกคิดดูให้มันดีๆ ธรรมเป็นส่วนหนึ่ง จิตเป็นส่วนหนึ่ง บางคนคิดว่าชอบใจอะไรนั่นแหละเป็นธรรม ถ้าเราชอบก็คิดว่าเป็นของดี บางทีเราไม่ชอบ แต่มันเป็นธรรมจะทำอย่างไรล่ะ

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head3>ขาดปัญญาพาให้ทุกข์</TD></TR></TBODY></TABLE>
    มีแต่สิ่งที่ทำให้ทุกข์ทั้งนั้น ถ้าเราขาดปัญญา ถ้าเรารู้จักใช้ให้มันถูกเรื่องมันก็ง่ายขึ้น ตาก็ใช้ดู หูก็ใช้ฟัง จมูกดมกลิ่น ลิ้นสัมผัส มือจับสิ่งของได้ เท้ามีหน้าที่เดิน ใช้ไปคนละอย่าง ถ้าใช้ถูกเรื่องก็สะดวกขึ้น ถ้าใช้ไม่ถูกเรื่องมันก็ขัดอยู่อย่างนั้นเพราะว่าไม่ใช่ของเราก็ว่าของเราอยู่อย่างนั้น ไม่ยอมรับ ไม่หยุดสักทีต้องมาภาวนาหาเหตุผลของมัน ความคิดเห็นของเรากับคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่ท่านตรัสไว้นั้นต่างกันเสมอ เช่นสภาวะร่างกายของเรานี้มันไม่เที่ยงแท้ ไม่คงทนถาวร แต่เราก็ยังคิดว่าเป็นเราอยู่ ผลสุดท้ายก็เป็นความจริงของพระพุทธเจ้า เป็นธรรมหมดทุกอย่าง เรื่องความยึดถือ ยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นของเรานั้นไม่จริงสักอย่างเลย ถ้าถึงคราวมีอะไรเสียไปก็ร้องไห้ว่าเสียดาย โง่มากจนร้องไห้ เพราะคนไม่เห็นธรรมะไปยึดแต่ของเรา ถ้าไม่ใช่แล้วก็ร้องไห้เท่านั้นเอง ถึงกระนั้นก็ยังไม่รู้จักว่าตัวเองทุกข์ ยังไม่ยอมรับเพราะคนมีความมืดหนาด้วยกิเลสตัณหา จึงชอบเป็นอย่างนั้น

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head3>ธรรมะอยู่กับเรานี่เอง</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ธรรมะไม่อยู่ไกลหรอก อยู่กับเรานี้แหละ จะไปค้นหาที่ไหนก็ไม่เห็น เพราะมันเป็นของที่พอดี สูงไปกว่านี้ก็ไม่เห็น ต่ำไปกว่านี้ก็ไม่เห็น คิดให้พอเหมาะพอดีมันจึงจะได้ ผมว่าพระเณรเราเข้ามาปฏิบัติแล้วอยากจะกลับไปเรียนไปศึกษา เพื่อต้องการอยากจะเป็นอันนั้นเป็นอันนี้ ผมว่ามันใกล้จะหมดแล้ว มันถอนออกมา คงจะเข้าใจว่าทุกวันนี้ไม่ได้ศึกษา ต้องไปเรียนไปสอบได้จึงเป็นเรื่องศึกษา ผมคิดว่าเป็นเรื่องเด็กเล็ก ไม่ใช่เรื่องที่จะหาความพ้นทุกข์หรอก ผมฟังดูแล้วก็พอจะรู้ได้เลยว่า มันถอนออกจากหลักเดิมของการปฏิบัติไปแล้ว ถอนออกไปร้อยคน มันก็ตายร้อยคนนั่นแหละ ไปไม่รอดหรอก

    ลูกศิษย์ลูกหาเคยมีหลายคนที่ไปศึกษาเล่าเรียน ถอยออกไป สุดท้ายก็ไม่มีการปฏิบัติเลย ผู้อยู่ที่นี้ดูหนังสือไปปฏิบัติศึกษาตัวเองไปด้วยเพราะยังต้องการความพ้นทุกข์ ยังดีกว่า มีความอดทนพิจารณาไปให้มันเกิดความฉลาด มีความตั้งมั่นไว้ในหลักธรรมะ อย่าให้มันขาด ใครจะไปเหนือไปใต้ก็ตาม ให้เรามีหลักเอาไว้ ผู้ที่ชอบไปเที่ยวหรือไม่ชอบไปเที่ยว ดีได้ทั้งนั้นถ้ามีความคิดดีคิดถูก
     
  10. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head3>ทางพ้นทุกข์</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ไม่ละกิเลสตัณหาแล้ว ไม่มีทางจะพ้นทุกข์ได้ จะเรียนได้มหาเก้าประโยคก็ตาม ก็ยิ่งจะถอยลงมาข้างล่าง ไปเรียนเพื่อเพิ่มกิเลสตัณหา ไม่ใช่เพื่อแสวงหาความพ้นทุกข์ เพราะคนไม่รู้จักทุกข์ ถ้าคนจะปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์จริงๆ ชีวิตของเราคล้ายๆกับว่าจะอยู่ได้สักวันหนึ่งคืนหนึ่งเท่านั้น มาปฏิบัติเพื่อพ้นไปจากทุกข์ เกิดมาชาตินี้จะตายก็ให้มันตายเพราะการปฏิบัติดีกว่า ให้มันมีความมั่นใจลงตรงนี้ มันก็เห็นหนทางเท่านั้น

    เริ่มต้นแต่ปฏิบัติมาไม่เคยมีความเกียจคร้าน ไม่เคยคิดถอย ถึงจะมีความทุกข์มากอยู่ แต่มันก็ไม่ถอนไม่เลิกการทำความเพียร ใครจะไปที่ไหน จะสิกขาลาเพศไปก็ตาม ผมไม่เคยถอน ไม่เคยเลิกความตั้งใจเลย จะต้องมีจิตใจเด็ดเดี่ยวลงอย่างนั้น ค้นคว้าจากคนอื่น แล้วก็มาค้นคว้าในตัวเอง ทำไปเรื่อยๆ มีการละบาปบำเพ็ญบุญ ปฏิบัติธรรมะ ถ้าใจมันเหมือนกับเขา หาเงินหาทองเอาสิ่งของมาเพื่อความร่ำรวย หาเงินมาได้มากๆ ก็ต้องเอาฝากธนาคารไว้ ตอนอายุเฒ่าแก่มาจะได้อาศัย ปัจจัยเหล่านี้ พอได้ใช้สอย ไม่ต้องวิ่งเต้นขวนขวายอีก ถ้าต้องการเขาก็ไปเบิกเอาจากธนาคารมาใช้สอยให้สบาย ทางโลกเขามีความหมายอย่างนั้น เขาพยายามทำหน้าที่การงานเพื่อเงิน ก็มีความขวนขวายแต่อายุยังหนุ่มยังสาว

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head3>ปฏิบัติให้เห็นธรรมอย่างแจ่มชัด</TD></TR></TBODY></TABLE>
    พวกเรามาปฏิบัติก็เหมือนกัน ปฏิบัติให้รู้จักทุกแง่ทุกมุมให้มีความเฉลียวฉลาดเก็บไว้ใส่ธนาคารไว้เหมือนกัน การปฏิบัติของเราเมื่อมีอายุเฒ่าแก่มาก็จะไม่มีกำลัง จะเดินก็ไม่เหมือนยังหนุ่ม จะอดกลั้นเพื่อทรมานร่างกายก็ไม่ได้ เพราะสภาพสังขารร่างกายก็ทรุดโทรมเป็นไปตามเรื่องของมัน ไม่ได้เดินจงกรมไม่ได้นั่งสมาธิก็ไม่เป็นไร เปรียบเหมือนเรามีเงินฝากไว้ที่ธนาคารแล้ว ไม่ต้องหาเงินอีกก็ได้ เพราะมีทุนสำรองในการใช้จ่ายอยู่แล้วนั่งอยู่เฉยก็ได้ ไม่ต้องกลัวว่าจะอด อันนี้ก็เหมือนกัน ได้ทำไว้ดีแล้ว มีความตั้งมั่นแล้ว เห็นธรรมอย่างแจ่มชัด
    การตรัสรู้ธรรมไม่ใช่ว่าจะอยู่ในอริยาบถนอน เดิน นั่ง ยืน ไม่ใช่อย่างนั้น ถ้ามีความเห็นชอบลงเมื่อใด มรรค สามัคคีรวมลงปุ๊บ นั่นแหละในเวลาเดิน เวลานั่ง เวลานอน ไม่ต้องกระเสือกกระสน เพราะมันรู้อยู่ อันนี้ปฏิบัติแบบผู้เฒ่า ไม่ต้องขวนขวายทุกแง่ทุกมุม ไม่ต้องกระเสือกกระสนเกินไป ไม่ต้องไปเดินธุดงค์ขึ้นภูเขาลูกนั้นลูกนี้ ไม่ต้องเดินจงกรมอยู่ตลอดวันตลอดคืนหรอก สะพายบาตรวิ่งไปที่โน้นที่นี้ เหมือนคนไม่มีที่พึ่งอันนี้เราได้ทำมาแล้วแต่ยังน้อยยังหนุ่ม จึงพอรู้เรื่องมันหมดแล้วนั่งอยู่นอนอยู่ก็คิดถูกได้ ใครอยากจะไปก็ไป ใครอยากจะมาก็มา ไม่เป็นไรเรื่องมันเป็นอย่างนั้น เพราะเรามีกำลังภายใน

    อันนี้พูดถึงที่เราเคยศึกษา โดยมากไม่ได้ศึกษาแต่ไปเที่ยวเฉยๆ ไปเที่ยวที่นั้นที่นี้ ไปเที่ยวที่อำเภอนั้นมันสนุกดี ไปเที่ยวทางโน้นอากาศทะเลมันเย็นดี อาหารทะเลมันอร่อยดีก็เที่ยวไปเรื่อยๆ เที่ยวไปจนตาย วิ่งไปทางทิศเหนือทิศใต้ไม่รู้จะเอาอะไร

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head3>ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบอย่างเดียวก็พอ</TD></TR></TBODY></TABLE>
    สมณะเรานี้ไม่มีอะไรมากมายหรอกนะ มีบาตรใบหนึ่งก็พอมีผ้าไตรจีวรชุดหนึ่งก็พอ จะสะพายสิ่งของไปมากมายให้มันหนักทำไม อยู่ที่ไหนก็สบายถ้าเราปฏิบัติดีปฏิบัติชอบอย่างเดียวก็พอ ที่เอาจริงๆ ก็เอาแต่ความสบายใจ ไม่ต้องไปแยกอะไรให้มันมาก บิณฑบาตได้มาก็เอาแต่พอฉันเท่านั้น เหลือนั้นก็ให้เพื่อนๆ หรือ ให้เป็ดให้ไก่กิน ไม่ต้องไปกระเสือกกระสนให้มันมากหรอก ขอให้เราปฏิบัติดีเท่านั้นก็พอ ให้เป็นสุปะฏิปันโน ไม่ต้องไปเที่ยวที่นั่นที่นี่ ทุกวันนี้เป็นนักท่องเที่ยวไปเรื่อยๆ เลยไม่รู้ว่าอะไรผิดอะไรถูก จะไปหาเอาอะไร ให้ศึกษาหาความรู้ข้อเท็จจริงมันก็วางได้ มันก็อยู่หลักเดิมนี้แหละ ไม่ได้ติดลาภติดยศ ติดสรรเสริญ ติดนินทา ถ้ามันพอดีแล้วนั่งอยู่ก็สบาย

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head3>ถ้าเราดีที่ไหนมันก็ดี</TD></TR></TBODY></TABLE>
    อย่างเช่นท่านเจ้าคุณวัดเทพศิรินทร์ ประวัติของท่าน ท่านเห็นเพื่อนไปธุดงค์หลายองค์ ไปธุดงค์อย่างนี้จะไปเอาอะไรหนอธุดงค์ก็คือข้อปฏิบัติ จะปฏิบัติมันอยู่กุฏิใหญ่ๆ นี้แหละไม่ต้องไปไหน อยู่ในวัดนี้ ยกข้อวัตรขึ้นมาปฏิบัติได้หลายอย่าง ไม่ต้องเดินไปให้ลำบากตรากตรำ จะปฏิบัติธุดงค์อยู่ที่นี่แหละ ถ้ามีความเห็นอย่างนั้นมันก็สงบลงได้ อยู่ที่ไหนก็เหมือนไปธุดงค์ ธุดงค์คือที่เที่ยวสัญจรไปมาเป็น "ธุตังคะ" เป็นข้อปฏิบัติของพระอริยเจ้าที่ทำปุถุชนให้เป็นอริยชนเรียกว่า "ธุดงค์" ที่ทำได้โดยมากเป็นข้อวัตรเพื่อฝึกหัดเกลากิเลส ไม่ใช่เรื่องอื่นไกลอะไร ถ้าจะเทียบทางธรรมะแล้ว ความดีอยู่กับตัวเราเอง ถ้าเราดีอยู่ที่ไหนก็ดี ถ้าเราไม่ดีอยู่ที่ไหนก็ไม่ดี ต้องถามตัวเราว่าดีพร้อมแล้วหรือยัง? ถ้าตัวเองไม่ดี จะหาคนอื่นดีคงไม่เจอ ให้กำหนดพิจารณาจิตก็จะมีความสงบขึ้นมา ถ้าตัวเราดีจะไปที่ไหนก็พบแต่คนดี ก็จะพบธรรมะของพระพุทธเจ้าของเราเท่านั้น ถ้าคนไม่รู้จักตัวเองอยู่ที่ไหนก็ว่าโอ้ยเพื่อนกวน พระองค์นั้นไม่ดี โยมผู้ชาย โยมผู้หญิงไม่ดี ส่วนตัวเองนั้นดีขนาดไหน ไปเที่ยวว่าแต่คนอื่น ถ้าเราดีแล้วคนอื่นไม่ดีก็ตาม มันก็เป็นคนละเรื่องกัน ถ้าเราคิดได้อย่างนี้มันก็สบาย และมีความสงบเท่านั้น

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head3>ปฏิบัติดีและปฏิบัติตรง</TD></TR></TBODY></TABLE>
    เรื่องอย่างนี้เราพยายามทำให้ดูเป็นตัวอย่างอยู่ แต่ก็ยัง ไม่รู้จัก คนอื่นทำให้ดูอยู่อย่างนั้นมันยังไปตำหนิเขาอยู่นะ เขาแสดงความจริงก็ยังไม่รู้จัก มีความขัดข้องเพราะมีความหลงอยู่มาก ก็น่าจะคิดว่าเอออันนั้นดีแล้ว สิ่งที่ไม่ดีเราก็รู้แล้วจะได้ไม่ทำอีก ยังไปตำหนิเขาว่าคนนั้นไม่ดี คนนี้ไม่ดี ไปตำหนิเขาทำไม มันเป็นเรื่องของเขาอันนี้มันเป็นเรื่องของเราไม่ดีเอง มันเป็นทุปะฏิปันโน สุปะฏิปันโนคือผู้ปฏิบัติดี อุชุปะฏิปันโน เป็นผู้ปฏิบัติตรง บางทีดีอยู่แต่ไม่ตรง ตรงอยู่แต่ไม่ดี จะหาทั้งดีด้วยทั้งตรงด้วย เป็นสุปะฏิปันโนก็หายาก หลงความคิดของตัวเอง

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head3>สมาธิกับความเข้มแข็ง</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ผมจึงว่ามันถอนออกจากสมาธิ ผมไม่เคยถอนสักที ถึงจะมีความทุกข์ขนาดไหน ทุกข์จนน้ำตาไหลออกมาก็ตาม ผมไม่เคยถอนออกจากสมาธิ ยังมีความเข้มแข็ง กัดฟันต่อสู้อยู่ตลอดเวลาอดทนสู้ไปเรื่อยๆ ไม่ได้คิดท้อถอย เลิกความตั้งใจ คิดระลึกออกไป อย่างนี้ไม่เคยคิดเลิกเลย เหมือนบุรุษต้องการไฟ เอาไม้สีกันเพราะต้องการไฟ เมื่อความร้อนมันยังไม่สมดุลกัน มันก็ไม่เกิดไฟขึ้นมา ปฏิบัติไปนิดหน่อยรู้ไม่ชัด เห็นไม่ชัด มันจึงละทุกข์ไม่ได้ เพราะอะไรนะ ทำไมมันจึงละทุกข์ไม่ได้ เพราะมรรคยังไม่สามัคคีกัน เหมือนบุรุษต้องการไฟ สีอยู่อย่างนั้นก็ไม่เกิดไฟเพราะความร้อนมันยังไม่พอ ไม่สมดุลกัน ไฟจึงเกิดขึ้นไม่ได้เพราะความร้อนมันไม่พอ

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head3>ความเห็นชอบ</TD></TR></TBODY></TABLE>
    อันนี้ก็เหมือนกันฉันใด ใจของเราให้มันมีหลักปักลงอย่างนี้ อันนี้เราไปหาความรู้ ดีกว่าไปศึกษาในตำรา จิตของเรามันไม่ถอนออกไปเป็นทาสของกิเลสตัณหา มันถูกต้องแล้วล่ะ จะมีความรู้เรียนจบปริญญาอะไรมาก็ตาม ก็ยังเป็นทาสของตัณหาอยู่เพราะมีแต่ไปแสวงหาเอาทุกข์มาใส่ตัวทั้งนั้นแหละ ส่วนมากชอบเป็นอย่างนี้ แต่จิตใจของผมก็ยังมีความตั้งมั่นไม่หวั่นไหว อย่างผมกับมหาสา สมัยก่อนไปปฏิบัติด้วยกัน แต่มหาสาอยากจะไปเรียนนักธรรม ผมก็ไม่ได้ขัดข้อง ผมก็ส่งให้ไปเรียนที่กรุงเทพฯ ส่งเพื่อนไปเรียนแล้ว ผมก็ไม่มีความน้อยใจเลย จนกระทั้งเรียนจบมหาเปรียญเก้าประโยคเท่าทุกวันนี้ จึงได้มาพบกัน

    ส่วนผมก็อยู่ในป่าอย่างนี้มาตลอดไม่ขาดเลย ท่านสอบมหาได้ก็ส่งข่าวว่าสอบได้ ประโยคเจ็ด ประโยคแปด ประโยคเก้ารายงานมาบอกให้ผมทราบ ผมก็มีความสบายใจอยู่เหมือนเดิมเพราะผมไม่มีความทะเยอทะยาน ไม่มีความกระตือรือร้นอยากจะไปกับใคร ไม่ได้คิดอิจฉาใคร ไม่ได้คิดเป็นทุกข์อาภัพอับจนด้วย อยู่ป่าก็สบายมีบาตรกับผ้าไตรจีวร ฉันข้าววันละครั้งเท่านั้นก็พอ จะไปคิดมากให้เราเป็นทุกข์ทำไม ที่เราได้เกิดมาเป็นมนุษย์ "ไม่มีสิ่งใดที่จะทำให้เราได้รับความทุกข์ได้หรอก ถ้าเรามีความเห็นชอบ" "บางวันได้ฉันข้าวกับมะกอกที่มันหล่นลงมาจากภูเขา ผมก็ยังมีความพอใจ ไม่ได้เก็บสะสมสิ่งของอะไรไว้เลย" พระพุทธองค์ท่านไม่สอนพวกเราทั้งหลายอย่างนี้หรอก ท่านไม่ได้ถามว่าวันนี้ฉันเสร็จแล้วเหลือไหม? วันพรุ่งนี้จะฉันกับอะไร? ท่านไม่ได้มาถามอีก มันก็มีของมันมาเอง จะได้มากหรือได้น้อยก็พอ ทุกวันนี้ถ้าได้ข้าว ฉันข้าวสักจานหนึ่ง หิวมากนอนก็ไม่หลับ เป็นทุกข์เป็นร้อน นอนก็เป็นทุกข์ นั่งก็เป็นทุกข์ ไม่รู้เรื่องอะไรวุ่นวายคนโง่ชอบเป็นอย่างนั้นแหละ ไม่น่าจะไปสุขไปทุกข์กับมัน เพราะเรื่องของโลกเป็นอยู่อย่างนั้น
    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD>"จะไปทำอะไรให้โลกนี้มันเต็มได้"
    "ทำตามความอยากไม่พอสักทีหรอกคนเรานี้"

    </TD><TD align=right width=175>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    หลวงพ่อชา สุภัทโท
    http://www.isangate.com/dhamma/thinking_right.html
     
  11. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    [​IMG]
    เทศนาของหลวงพ่อเมื่อครั้งจาริกไปอเมริกาเมื่อปี พ.ศ.2522 แต่ยังทันสมัยสำหรับคนไทย พ.ศ. นี้

    <TABLE><TBODY><TR><TD vAlign=top width=165>[​IMG] </TD><TD vAlign=bottom>วันนี้ ถึงเวลาที่จะได้มาพบท่านทั้งหลายอีกแล้ว จำเป็นจะต้องขอโอกาสท่านทั้งหลายตามเคย วันนี้รู้สึกว่าประชาชนมาเพิ่มขึ้น ดูเหมือนจะมีการถ่ายทอดฉายหนังด้วยไม่ใช่รึ? ทุกวันที่ผ่านมาพูดถึงเรื่องกรรมฐาน ทำจิตใจให้สงบ ทุกครั้งทุกเวลามาแล้ว วันนี้พวกท่านทั้งหลายคงจะซาบซึ้งในอิริยาบถของพระสงฆ์ในหนังด้วย

    วันนี้ จะขอพูดถึงวัฒนธรรมเมืองไทย บางท่านบางคนอาจจะสงสัยว่าพระสงฆ์นี่คืออะไร? มีไว้ทำไม? มีประโยชน์อะไร? อย่างนั้นก็เคยจะมีบ้าง พระสงฆ์เมืองไทยเป็นหลักป้องกันความวุ่นวายจำพวกหนึ่ง เรียกว่า พระสงฆ์ มีประโยชน์มาก เกี่ยวข้องกับประชาชน พุทธบริษัททั้งหลาย ให้ความเห็น ให้มีความสงบระงับ

    เช่นว่า ผู้ครองเรือนมีปัญหาเกิดขึ้นแต่อย่างใดอย่างหนึ่งแล้วจะต้องเข้าไปกราบเรียนพระสงฆ์ขอขยายความนั้นให้รู้จักความเป็นจริง นับตั้งแต่ว่าใครมีลูกหลานว่ายากสอน
    </TD></TR></TBODY></TABLE>ยาก ทั้งหลายเหล่านี้ จะต้องนำตัวเข้าไปหาพระสงฆ์ให้พระสงฆ์ช่วยแนะนำให้เป็นคนดีด้วย

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head>พระสงฆ์กับวัฒนธรรมไทย</TD></TR></TBODY></TABLE>
    หรือมีการทำบุญสุนทานด้วยประการต่างๆ ยกตัวอย่างเช่นว่า การแต่งงานเหล่านี้เป็นต้น ต้องเอาพระสงฆ์เป็นพยาน พร้อมทั้งการช่วยแนะนำสั่งสอนเมื่อแต่งงานกันแล้วจะให้ปฏิบัติอย่างไร? ผู้หยิงจะปฏิบัติอย่างไร ผู้ชายจะปฏิบัติอย่างไร ครอบครัวนั้นจึงจะเจริญอย่างนี้เป็นต้น มีเพื่อการเคารพ คารวะพระสงฆ์นั่นเอง วัฒนธรรมเมืองไทยพระสงฆ์ช่วยสั่งสอนกุลบุตรลูกหลานให้เคารพคนเฒ่าคนแก่ ให้เคารพพ่อแม่ ให้เคารพครูบาอาจารย์ ตลอดมาเรื่อยๆ มา อันนี้เป็นวัฒนธรรมของคนไทย แต่ในเวลานี้ก็เสื่อมไปบ้างแล้วล่ะ มันเสื่อมไปบ้างเพราะว่าไฟน้ำมันสบาย ไฟมันสว่าง ใจคนก็ยิ่งมืด ไฟฟ้ายิ่งสว่างใจคนก็ยิ่งมืดไปเท่านั้น พูดถึงประชาชนเมืองไทยนะเมืองนี้อาตมาเข้ามาอยู่ไม่กี่เดือนยังไม่ทราบนะ ไม่รู้จะเป็นยังไงก็ไม่รู้ (เสียงหัวเราะ ฮือฮา) คงจะเรียบร้อยดีกว่าเมืองไทยมั๊ง

    อันนี้พูดถึงวัฒนธรรมเก่าแก่เมืองไทยให้ฟัง เช่นว่า การแต่งงานผู้หญิงต้องอย่างน้อยอายุ 20 ปี ผู้ชายอายุ 25 ปี เป็นปกติจึงแต่งงานกันได้ เดี๋ยวนี้คงจะข้ามเขตแล้วมั๊งเดี๋ยวนี้ ทุกวันนี้เจ้าหน้าที่น้อย โจรมาก คุมไม่ไหว เนี๊ยะมันเป็นเช่นนี้ ฉะนั้นพวกเราทั้งหลายจึงมาอบรม อบรมพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ธรรมะที่มาอบรมมาตั้งหลายแล้วนี่เป็นธรรมะที่ไม่พ้นสมัย ทุกวันนี้ก็ยังทันสมัยอยู่ เมื่อไรก็ทันสมัยคือไม่มีของเก่า มันใหม่อยู่เรื่อย เช่นว่าคนทำดีก็ยังได้ดีอยู่ คนทำชั่วมันก็ยังได้ชั่วอยู่ตลอดเวลา เมื่อไรก็ยังเป็นอยู่อย่างนี้ ฉะนั้นธรรมะของพระพุทธเจ้าจึงยังเป็นของใหม่อยู่เสมอ ไม่เหมือนจิตใจของบุคคลเรา

    <TABLE><TBODY><TR><TD class=just> ระยะเวลาประมาณสัก 60 กว่าปีมานี้ ที่อาตมาเกิดมามีอายุ 60 กว่าปีนี้ มันเปลี่ยนไปไกลลิบเกือบจะมองไม่เห็นเสียแล้ว นี่วัฒนธรรมมันเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ฉะนั้นวัฒนธรรมของสังคมไทยและธรรมะของพระพุทธเจ้ายังไม่เปลี่ยน ทำดีทุกวันนี้ก็ยังได้ดีอยู่ ทำชั่วก็ยังได้ชั่วอยู่ มิฉะนั้นพวกเราจะต้องนำมาคิด นำมาพิจารณาให้มาก ถึงแก่นสารของธรรมะ เห็นจะดีกว่าวัฒนธรรมที่เราตั้งเอาเองทุกวันนี้ซึ่งไม่ได้เรื่อง แต่มันได้เรื่องมากเกินไป คือมันไม่หมดเรื่องเสียที เรื่องมันมากเหลือเกินจนไม่รู้จะทำอย่างไร เรื่องมากปัญหามันก็มาก ปัญหามากก็แก้ปัญหาไม่ไหวแล้วนี่ แก้ปัญหาทุกวัน หรือยังไง? นี่พูดให้คิดนะไม่ใช่สอนให้เชื่อ สอนให้ไปพิจารณาดีก็เอา ไม่ดีก็ทิ้งไป

    </TD><TD align=right width=243>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE>
    วัฒนธรรมของเมืองไทยพูดถึงลูกหลาน พ่อแม่กับคนแก่ พ่อแม่มีลูกหลายคน แก่ไปแล้วลูกแย่งเอาไปปฏิบัติ เดี๋ยวคนนั้นเอาไปปฏิบัติ 7 วัน 15 วัน เดี๋ยวคนนั้นไม่สบายใจเอาไปปฏิบัติให้สบายกัน อาตมามาเมืองนี้เห็นแต่เอาคนแก่ไปทิ้งไว้ อย่างมากก็มีสุนัขตัวหนึ่งอยู่นั่นนะ วิ่งไปวิ่งมาตอนเช้า เดินตุตะ ตุตะ ตอนเช้า หิ้วของหนักๆ ก็ไม่มีใครจะช่วย ไม่รู้ว่าเป็นไง อาตมายังไม่รู้นะ อบรมกรรมฐานจิตใจเราก็ไม่ได้ ไม่รู้จะไปพึ่งอะไรที่ไหนแล้ว ลูกหลานก็ไม่ค่อยไปเยี่ยม มัวสนุกกันอยู่โน้นอะไรก็ไม่ค่อยรู้เรื่องอย่างนี้ ถ้าหากเราแก่มาแล้วเป็นอย่างนั้นจะเป็นอย่างไร สบายไหม? อันนี้ประการหนึ่ง อาตมาซึ่งเห็นแต่ยังไม่เห็นไม่รู้นะ ไม่รู้ว่าจะเป็นอย่างไร ไม่รู้ มันแปลกมีความรู้สึกอย่างนั้น มีความรู้สึกอยู่ในใจว่าเลี้ยงลูกขึ้นมาไม่มีความหมายอะไรมาก ลูกไม่ช่วยแม่ ไม่ช่วยพ่อ ก็ปล่อยไปอย่างนั้นแหละ

    วัฒนธรรมนี้ก็น่าพิจารณาอยู่เหมือนกันนะ ถ้าเราถูกอย่างนั้น เป็นคนแก่จะเป็นอย่างไรไหม? ใจระทมทุกข์อยู่เสมอทุกเวลา อันนี้ให้เอาไปพิจารณาเอา นี่วัฒนธรรมของคนไทยเป็นอย่างนั้น แต่ในระยะนั้น ในจุดนั้นตามที่อาตมาพิจารณาแล้ว อาคารบ้านช่องก็ไม่สวยงาม ไฟก็ไม่สว่าง เรือนที่อยู่นั้นก็ไม่สวยงาม แต่ว่าใจงาม ไม่ร้อน สบาย สว่างอยู่ในใจ เย็นด้วยความเห็นอย่างนั้น สมัยนั้นเคหะสถานบ้านช่องไม่เจริญ ทุกวันนี้เจริญขึ้นทุกอย่าง แต่ว่าไฟข้างนอกมันสว่าง ไฟข้างในมันจะดับแล้วเดี๋ยวนี้ มืด มืด ผู้หญิงผู้ชายโตขึ้นมาแล้ว อยากจะแต่งงานจะไปขออนุญาตกับพ่อแม่ ปรึกษาพ่อแม่ พอพ่อแม่อนุญาตให้แต่งงานกับคนนี้ก็จะแต่งงานกับคนนี้ ไม่ให้แต่งงานกับคนนี้ก้ไม่ต้องแต่ง สมัยนี้ไม่ต้องปรึกษาใครล่ะมั๊ง มันช้ามันไม่ทันเวลา หึหึ คุมไม่ไหวแล้วเดี๋ยวนี้ ก็เลยไปกันใหญ่อาตมาก็ไม่รู้จะพูดอย่างไรล่ะนะ อันนี้พูดให้ฟังนะ ไม่ใช่นินทานะ ขอโทษด้วยนะมันเป็นอย่างนั้น

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head>โลกเจริญสว่างไสว แต่ใจเรายังไม่สว่าง</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE><TBODY><TR><TD vAlign=top width=205>[​IMG] </TD><TD class=just vAlign=top> เราจะอุปมาให้ฟังอย่างหนึ่งนะ เราอยู่อาคารหลังใหญ่ๆ อย่างนี้มันสบายมาก แต่เรากินยาพิษร้อนอยู่ข้างในจะสบายไหม? อีกคนหนึ่งอยู่อาคารหลังเล็กๆ แต่อาหารไม่มีพิษ ไม่มีโทษ ก็นอนอยู่สบาย อย่างนั้นใครจะเอาอาคารหลังใหญ่หรือหลังเล็ก นอนอาคารหลังใหญ่ถูกลูกศรเขากลิ้งไปกลิ้งมาอยู่อย่างนี้ อาคารหลังใหญ่ๆ นั่นช่วยได้หรือเปล่าไม่รู้ อีกคนหนึ่งอยู่อาคารหลังเล็กๆ ที่ไม่ดีนักแต่ไม่ถูกลูกศรของใคร อยู่ตามสบายอย่างนั้น ใครจะเอาอะไร? เอาล่ะเรื่องวัฒนธรรมเอาแค่นี้ก็พอเนาะ พูดไปมากมันจะมากเหลือเกิน มันจะแสบมากเจ็บมาก

    เอาพูดถึงวัฒนธรรมของพระพุทธเจ้าของเรานะ วัฒนธรรมของพระพุทธเจ้าที่เรามาฝึกกรรมฐานนี้เพื่อให้วัฒนธรรมที่ถูกต้อง เป็นวัฒนธรรมที่ไม่ตามใจของคน เป็นวัฒนธรรมที่ถูกต้องทำแล้วสบาย ทำแล้วไม่เดือดร้อน ทำแล้วไม่วุ่นวาย ทำแล้วมีความสุขมีความสงบ วัฒนธรรมของพระพุทธเจ้าไม่ให้ขโมยของของตนเอง ของคนอื่น เป็นวัฒนธรรมที่ถูกต้องตัวเราเองก็สงบ ผู้อื่นก็สงบ ประเทศชาติก็สงบทั้งนั้น นี่เป็นวัฒนธรรมของพระพุทธเจ้า

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    วัฒนธรรมนี้มีพระพุทธเจ้าเป็นผู้อำนวยการ วัฒนธรรมตัวของเรานี่มีตัณหาเป็นผู้อำนวยการ มีสุขในปัจจุบันแต่มีทุกในวิบากต่อไป วัฒนธรรมของพระพุทธเจ้ามีทุกข์ในปัจจุบันแต่มีสุขในวิบากต่อไปหรือมีสุขในปัจจุบันและมีสุขในวิบากต่อไป ส่วนวัฒนธรรมของตัณหานั้นมันมีทุกข์ในปัจจุบันและมีทุกข์ในวิบากต่อไปด้วย ญาติโยมจะเลือกเอาอันใดก็เอา ที่พวกเราทั้งหลายมานั่งสมาธิกันนี่นะดีแล้ว มันสงบแล้ว แต่ว่าเราไปทำข้างในมันก่อน อย่างอาตมามาจากเมืองไทยนะ เข้าไปในท่าอากาศยานเขาต้องตรวจนะ เรียบร้อยเขาถึงให้เข้าไป ไม่ได้เขาไปเลยหรอก พาสปอร์ตมีไหม ใบเดินทางมีไหม อะไรๆ มีไหม เขาจึงปล่อยให้ไป ตัวเราเหมือนกันต้องตรวจเสียก่อนที่จะไปนั่งสมาธิมันถึงจะสงบง่าย อันนี้ไม่เรียบร้อยไปนั่งก็ไม่สงบหรอก ไม่ค่อยสงบดี

    ฉะนั้นเรื่องศีลธรรมจึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างหนึ่ง ใครมีเรื่องเดือดร้อนในการนั่งสมาธิ มีหรือเปล่าตรงนี้? ตรวจดูก่อนนะ มีของซ่อนภาษีเขานะถึงไม่สบาย ต้องตรวจก่อนนะ ถ้าไม่มีของต้องห้ามมันก็สบาย อันนี้พูดแล้วส่งคืนให้เจ้าของตรวจดูเอาเอง อาตมาพูดถึงตรงนี้ ส่งให้ตรงนี้ที่เหลือเป็นเรื่องที่ท่านทั้งหลายต้องตรวจดูเอาเอง อันไหนมันผิดก็เขี่ยมันออก มันถูกแล้วก็นั่งสมาธิสบายทีนี้ไม่งั้นพระก็ต้องมาสอบอารมณ์อยู่เรื่อย มาตอบปัญหาอยู่เรื่อย มาเทศน์ให้ฟังอยู่เรื่อยอย่างนี้ เราไม่ตอบปัญหาเราเอง แก้ปัญหาเราเอง สอบอารมณ์เราเอง คอยให้พระมาเทศน์ให้ฟังอยู่นั่นแหละ ถ้าเราไม่สอบอารมณ์ตัวเอง ว่ามันผิดตรงไหนคอยแต่จะให้คนอื่นมาสอบเรื่องมันก็ไม่จบ

    คงพอแล้วนะวันนี้ ถ้าคนหิวอาหารไม่ต้องให้นั่งเฝ้าสำรับนานหรอกมาถึงก็ตักเลย มีใครมีปัญหาอะไรไหม? มันมีปัญหาอะไรอยู่ตรงไหน ปัญหานี่จะจับให้หมดจะเอาไปเทที่เมืองไทยให้หมด ปัญหามากเหลือเกินตรงนี้

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top align=right width=75>ญาติโยม : </TD><TD class=just>เรื่องเมืองไทยมีวัฒนธรรมของพระพุทธเจ้านั้น แต่ทำไมเรื่องการบ้านการเมืองถึงยุ่งยากแท้ </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right width=75>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just>เอ้า นั่นไม่ใช่เรื่องของพระพุทธเจ้า มันเป็นเรื่องการบ้านการเมืองต่างหาก อย่างเมืองนี้มีกฎหมายอยู่ ดีอยู่ ทำไมมันถึงมีโจรมีขโมยอยู่ล่ะ ที่มีขโมยเพราะคนไปขโมย กฎหมายไม่ได้ขโมย เป็นคนไปขโมยมันคนละเรื่องกัน </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right width=75>ญาติโยม : </TD><TD class=just>ในประสบการณ์ของหลวงพ่อเองนะครับ เคยได้พบเจอคนที่เป็นชาวบ้าน แต่เขาก็มีจิตใจที่สงบระงับ เงียบสงบ เคยได้เจอหรือเปล่า? </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right width=75>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just>มี เจอ เป็นชาวบ้านแต่เขาฝึกกรรมฐาน </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right width=75>ญาติโยม : </TD><TD class=just>หลวงพ่อยังไม่ได้อธิบายเรื่องโกหกเจ้าของ ขโมยเจ้าของ มีความหมายอย่างไร? </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right width=75>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just>ยังไม่เคยโกหกเจ้าของหรือนั่นนะ อยู่ไปอีกเถอะเดี๋ยวเห็นหรอก ดูเอามันอยู่ในเจ้าของนั่นล่ะไม่ต้องไปศึกษาคนอื่นเลย ดูจิตเจ้าของนั่นแหละ คนมันไม่โกหกเจ้าของ ไม่รู้จักโกหกเจ้าของมันก็โกหกคนอื่นอยู่เรื่อยไป </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right width=75>ญาติโยม : </TD><TD class=just>แล้วเรื่องขโมยเจ้าของล่ะครับยังไม่อธิบาย </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right width=75>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just>จะไปอธิบายอะไรอีกล่ะ มันขโมยมันก็ขโมยอยู่นั่นแหละ ก็หยุดเสียซิ จะให้อธิบายอะไรอีกล่ะ ก้หยุดเสียมันก็ไม่ขโมยเท่านั้น ปัญหานี้ไม่น่าจะให้มันเกิดขึ้นนะ </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right width=75>ญาติโยม : </TD><TD class=just>ความเจริญในโลก หลวงพ่อเห็นว่าไม่ได้อำนวยในการปฏิบัติทางศาสนาหรือว่าต้องมีทั้งสองอย่างจึงจะสมบูรณ์ </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right width=75>หลวงพ่อ : </TD><TD class=just>มีทั้งสองอย่าง โลกเจิญแต่ว่ามันมืดเมื่อโลกเจริญขึ้น โลโกท่านแปลว่าความมืด โลกเจริญก็คือความมืดมันเจริญ ไฟฟ้ามันเจริญขึ้นสะดวกมากตาคนก็ยิ่งบอดเข้าไปทุกวันๆ น้ำสะดวกเท่าใดคนก็ยิ่งไม่อาบน้ำ มันเป้นอย่างนั้น ถ้าคนมีปัญญามันก็สะดวก สะดวกได้ แต่คนมาหลงสุขซะ มาหลงความสว่างซะ หลงน้ำซะ โลกก็เป็นของเขาอยู่อย่างนั้น เรามันหลงตัวเราเองไม่มีอะไร ทุกอย่างในโลกมันถูกต้องทุกอย่างแล้ว จิตของเรายังไม่ถูกต้อง จึงไปสรรเสริญเขาไปโทษเขา ดีใจกับเขา เสียใจกับเขา เพราะเราคิดไม่ถูก เพราะเราไม่มีปัญญา เราคิดผิดไปจึงต้องมานั่งกรรมฐานให้ปัญญามันเกิด ตาในมันเกิด จะได้สว่าง รู้จักว่าผิดก็จะไม่ทำผิดอีกก็เกิดประโยชน์อย่างนั้น

    หลวงพ่อชา สุภัทโท
    http://www.isangate.com/dhamma/watanatamthai.html
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  12. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    [​IMG]

    "ศรัทธา" แปลว่า ความเชื่อ ถ้าพูดง่ายๆ ก็ว่า ศรัทธานี้มีกันทุกคน แต่ว่ามันไม่ถึงศรัทธา ศรัทธามันเชื่อ แต่จิตเราไม่ค่อยจะเชื่อ มนุษย์ทั้งหลายไม่ค่อยจะเชื่อกัน

    เรามาปฏิบัติกันตามสบายนะ ตามสบายใจ คนมีปัญญาได้ประโยชน์หลายมีประโยชน์มาก สมัยก่อนการสวดมนต์ทำวัตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นอุบายฝึกหัดผู้ใหม่นั่นเอง ถ้าเราเข้าใจในการปฏิบัติทุกคนแล้วก็ไม่มีอะไรโดยมากอยู่ตามป่าไม่ค่อยได้ทำวัตรกันหรอก สมัยท่านอาจารย์ทองรัตน์ปฏิบัติอยู่น่ะอยู่กันไปเฉยๆ เรื่อยๆ วันพระรวมกันทำวัตรและก็มีการประชุมกัน กิจวัตรนี้ถ้าหากว่าเราทำอะไรมากไปแล้วมันยุ่ง แต่ถ้าอยากจะทำประจำ เจ้าของอยู่กุฏิของเราก็ทำได้ สวดมนต์ทำวัตรฝึกตัวเองตอนเช้าก็ดีตอนเย็นก็ดี เราทำของเราเองทำเป็นส่วนตัวเรา

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=just vAlign=top>ผู้ปฏิบัตินี่ก็ไม่เหมือนกัน บางองค์นานๆ พูดทีหนึ่งก็เข้าใจ บางองค์ก็ชอบจ้ำจี้จ้ำไชตอนเช้าตอนเย็น ชอบอย่างนั้น บางองค์ชอบเรียบๆ บางองค์ก็ชอบขู่เข็ญกิเลส สารพัดอย่าง การปฏิบัตินี้จึงเป็นอุบายเพื่อจะสั่งสอนจิตของเราให้สงบคำสอนของพระล้วนแล้วแต่เป็นอุบาย ให้เรารู้จักความประสงค์ของพระพุทธเจ้าของเรา ที่เรามาบวชในพุทธศาสนานี้ พระพุทธองค์ทรงมีพุทธประสงค์ อยากจะให้พุทธบริษัทนี้รู้จักข้อประพฤติปฏิบัติ เพื่อทรงพระธรรมวินัย คำสอนของท่านไว้ ให้พระศาสนาของท่านยืนยงคงทนอยู่ตลอดกาลนานนั่นเอง ผู้ปฏิบัติทุกคนทุกท่านก็ต้องอาศัยศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิและปัญญาเป็นกำลัง ท่านกล่าวว่าเป็นกำลังทั้ง ๕ สิ่ง ๕ อย่างนี้ท่านเรียกว่าพละ เป็นกำลังหรือพลัง พลังของจิต


    "ศรัทธา" แปลว่า ความเชื่อ ถ้าพูดง่ายๆ ก็ว่า ศรัทธานี้มีกันทุกคน แต่ว่ามันไม่ถึงศรัทธา ศรัทธามันเชื่อ แต่จิตเราไม่ค่อยจะเชื่อ มนุษย์ทั้งหลายไม่ค่อยจะเชื่อกัน พูดง่ายๆ ก็เรียกว่า บวชมานี้ยังไม่มีศรัทธา ผู้มีศรัทธาจะต้องเคารพคารวะพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์อยู่เสมอ ระวังสิ่งที่ผิดจากพระธรรมวินัย ถ้ารู้จัก ผู้ปฏิบัติย่อมไม่กล้าทำ เพราะเชื่อว่าอันนี้มันผิด อันใดที่ผิดก็เรียกว่าอันนั้นเป็นอาบัตินั่นเอง อาบัติก็แปลว่าผิดไม่ใช่เป็นอย่างอื่น
    </TD><TD align=right width=170>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE>
    เรามาประพฤติปฏิบัติเพื่อให้พ้นจากความผิด ถ้าเรายังมีความผิดอยู่ ก็ยังไม่มีความบริสุทธิ์สมบูรณ์ เมื่อยังไม่รู้จักพระพุทธเจ้า ก็ให้เอื้อเฟื้อศึกษาให้รู้อะไรที่ยังไม่รู้เราจะเมินเฉยเสียก็ไม่ได้ เป็นผู้ไม่มีศรัทธา เชื่อว่าผิดเป็นผิด ถูกเป็นถูก อย่างนี้ อะไรที่เรายังหลงผิดอยู่ ก็เรียกว่าอันนั้นเรายังไม่รู้จัก ไม่รู้จักเราก็เคารพอยู่ สังวรสำรวมอยู่ตลอดเวลา แล้วก็อาศัยคนอื่น อาศัยครูบาอาจารย์แนะนำพร่ำสอน อาศัยความรู้สึกนึกคิดในการปฏิบัติของเราเองด้วยเทียบเคียงกันไป ท่านเรียกว่าศรัทธา อย่าไปเห็นว่าเรามีศรัทธาเราจึงจะบวช แต่บวชแล้วไม่ทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้าของเรา นั่นเรียกว่าศรัทธายังไม่ถึงที่สุดนะ ศรัทธาก็ต้องพยายามทำ อันนี้ยังไม่เรียบร้อยแต่ใจก็พยายามอยู่เสมอ นี่เรียกว่า ศรัทธา ความเชื่อ ต้นตอก็เรียกว่าต้องเป็นผู้มีศรัทธา ถ้าปราศจากศรัทธาแล้ว มันก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร

    ถ้ามีศรัทธาแล้วก็มีความเพียร เพียรเพื่ออะไร? เพียรเพื่อจะละข้อผิดอันนั้น พยายามแสวงหาทางที่ถูกอยู่เสมอ พระพุทธองค์ท่านสอนว่า เมื่อบวชเข้ามาในพระพุทธศาสนาแล้ว ก็ให้ทำตัวเป็นพระภิกษุใหม่อยู่เสมอ ไม่ใช่ว่าเก่า ให้เป็นผู้ใหม่อยู่เสมอ สยดสยองอยู่ต่อข้อปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอด้วยใจ จะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน จิตก็ปรารภอยู่ว่าเราจะทำให้อะไรที่ตรงนั้นเรียบร้อย ได้โดยวิธีอย่างไร? เราจะมีความมักน้อยโดยวิธีอย่างไร? จะปฏิบัติอย่างไรถึงจะเป็นอย่างนั้น ให้เรารำลึกอยู่อย่างนี้เสมอ ให้รู้จักความผิดชอบเฉพาะตัวเราอยู่ทุกเวลานั่นเอง ที่ท่านเรียกว่า อัตโนโจทยัตนัง...จงเตือนตนด้วยตนเอง อันนี้สำคัญกว่า เพราะว่าตนที่สมมตินั้นก็อยู่ที่เรา นั่งเราก็เอาตนนั่ง นอนเราก็เรียกว่าตน อะไรก็เป็นตนทั้งนั้นแหละ

    เรานั่งอยู่เราคิดอย่างไร? ในเวลานี้เราทำอะไรอยู่? เรียกว่า เราตามดูตัวของเจ้าของเราพยายาม การกระทำเช่นนี้ท่านเรียกว่า "วิริยะ" คือเพียร เพียรเพื่อจะละความชั่ว ประพฤติความดี ไม่ใช่เพียรอย่างอื่น เพียรละสิ่งที่ผิดปฏิบัติให้ความผิดหมดไป...ก็เหลือแต่ความที่ไม่ผิด ความที่ไม่ผิดมีอยู่ก็เรียกว่า...ของที่บริสุทธิ์เรียกว่าเป็นผู้เพียร วิริยะรัมภะ ปรารภความเพียร เราจะนั่ง จะยืน จะเดิน จะนอนอยู่ก็ตามมีความปรารภอยู่เสมอ ทำอย่างไรความอยากของเรา ซึ่งมีล้นเหลืออยู่ในใจนี้จะเบาลงไป จะเบาลงไป จะมักน้อย...จะสันโดษ จะมีความเห็นชอบตามธรรมะคำสอนของพระพุทธเจ้าของเรา นั่นเรียกว่าปรารภความเพียรอยู่เสมอ...ไม่ลืม

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=240>[​IMG] </TD><TD class=just vAlign=top>เมื่อมีความเพียรอยู่ก็มี "สติ" สติคือความระลึกได้เมื่อเราพูดอะไร ทำอะไรอย่างไรอยู่ เป็นผู้มีสติตื่นอยู่สะดุ้งอยู่เสมอ เมื่อเรามีสติรู้ง่าย มันก็รู้เร็ว เมื่อมีสติอยู่ถ้าจะเปรียบก็เหมือนกันกับสัตว์บางอย่าง เช่น แมลงมุมที่มันทำรังในอากาศ ใยมันผ่านไปผ่านมาเป็นรังขึงอยู่ เมื่อเสร็จแล้วตัวมันก็หมกอยู่ตรงจุดกลางของรังอันนั้น เฉยอยู่ นิ่งอยู่สงบอยู่ด้วยมีสติอยู่ ถ้าแมลงวัน แมลงผึ้ง แมลงต่างๆ มาผ่านใย มันก็มีความสัมผัสสะดุ้งรู้จัก แมลงมุมก็จะตื่นขึ้นรีบไปจับสัตว์นั้นไว้เป็นอาหาร เมื่อจับเสร็จแล้วก็รีบมาอยู่ยังจุดเก่า ทำความสงบระงับ มีสติ รู้อะไรจะมาถูกเข้าสัมผัส เมื่อไรแมลงมุมก็ตื่น เพราะว่าแมลงมุมอยู่ด้วยสติ ก็เพราะมันจ้องกินอาหาร มันระมัดระวังอยู่อย่างนั้นตลอดเวลา เมื่อจับแล้วก็วิ่งมาอยู่ที่เก่า อย่างนี้เป็นวิสัยของแมลงมุมที่จับสัตว์กิน </TD></TR></TBODY></TABLE>
    แมลงมุมนั้นก็เหมือนกันกับจิตของเรา จิตของเรานั้นอยู่จุดกลางของอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย จิต มีความรู้สึกตื่นอยู่ไม่ว่าอะไรจะมาสัมผัสทางตา ตาเห็นรูป...ก็รู้สึก มีสติอยู่ หูฟังเสียงก็รู้สึก มีสติอยู่ ได้กลิ่นเหม็นหอมอะไร ก็มีความรู้สึก ลิ้นสัมผัสโอชารสต่างๆ ก็รู้สึก ธรรมารมณ์ที่เกิดกับใจ ก็รู้สึก นี่เรียกว่าสัมผัสสัมผัสครั้งแรกก็รู้สึกเฉยๆ รูปก็ดี รสก็ดี กลิ่นก็ดี เสียงก็ดี โผฏ-ฐัพพะก็ดี ธรรมารมณ์ก็ดี เมื่อกระทบก็ยังไม่มีอะไรเกิดขึ้น พอกระทบแล้วมีความรู้สึกต่อไปอีก ซึ่งมันจะเกิดกิเลส เกิดตัณหา เกิดราคะ เกิดโทสะ เกิดโมหะ ผู้ประพฤติปฏิบัตินี้ก็เหมือนกันฉันนั้น ถ้าเราระมัดระวังอยู่สังวรสำรวมอยู่ด้วยอินทรีย์ จะรู้จักตัวของเจ้าของรู้จักจิตของเจ้าของว่า จิตเจ้าของนี้เป็นไปในลักษณะอันใด? ก็รู้จักเมื่อเรารู้จักจิตของเจ้าของแล้ว เราก็จักสั่งสอนจิตของเจ้าของเท่านั้นแหละ ฉะนั้น ตัวสตินี้จึงเป็นตัวที่สำคัญมากที่สุด เมื่อมีสติแล้วเราสังวรสำรวมอยู่ ก็ดึงเอาปัญญามาพิจารณาว่า รูปนี่เป็นอย่างไร เสียงนี่เป็นอย่างไร มีอะไรไหม? ปัญญามาช่วยพิจารณา อันนี้เรียกว่าสติมีคุณค่า

    "สมาธิ" คือความตั้งใจมั่น สมาธินั่นก็เกิดมาจากสตินั่นแหละสติ-สมาธิ ถ้าพูดเรื่องสมาธิ ตามศัพท์สมาธิท่านหมายถึงความตั้งใจมั่น อย่างเราจะละอารมณ์สิ่งที่ชั่วสิ่งที่ไม่ดีน่ะ ไม่คืนคลายมันมั่นในข้อประพฤติของเราในข้อปฏิบัติของเรา สมาธิมีหลายขนาด ที่เราทำกันอยู่ทุกวันนี้ สมาธิที่นั่งแล้วหลับตากำหนดอันใดอันหนึ่งขึ้นมาเป็นอารมณ์ อย่างอานาปานสติที่เราอบรมกันนี้เอาลมหายใจเป็นอารมณ์ เป็นเครื่องหมาย เอาเป็นจุดเด่นที่สุด ทำไมถึงเอาเป็นอารมณ์เพราะว่าจิตนี้มีอารมณ์หลายอย่าง หูฟังเสียงก็เป็นอารมณ์หนึ่ง จมูกดมกลิ่นก็เป็นอารมณ์หนึ่ง มันหลายอารมณ์ สิ่งที่มันหลายๆ อารมณ์มันฟุ้งซ่านดังนั้นท่านจึงรวมจุดมากๆมาเป็นอารมณ์เดียว เราจะเลือกอันใดอันหนึ่งก็เอา
    ที่วัดเรานี้ก็สอนอานาปานสติ อานาปานสตินี้เป็นของง่าย เพราะอะไร เพราะมีอยู่แล้ว เรานั่งอยู่เราก็หายใจอยู่ เรายืนอยู่ก็หายใจอยู่นอนเราก็หายใจของเราอยู่ ดังนั้นก็กำหนดเอาสิ่งที่มีอยู่ใกล้ๆ เป็นอารมณ์ หายใจเข้าหายใจออกเอาอันนี้เป็นอารมณ์ เพื่อจะให้จิตมั่นในอารมณ์ คืออานาปานสตินี้ไม่ให้ฟุ้งซ่านไปหลายอย่าง อารมณ์มันมากแต่เราจะทำให้มันน้อย คือเป็นอารมณ์เดียว เราจึงยกลมขึ้น หายใจเข้า-ออกกำหนดว่า พุทโธ พุทโธ ไว้ในใจของเราเสมอ มีความระลึกอยู่ รู้อยู่ ตื่นอยู่ในพุทโธอันนั้น นี่เรียกว่าเป็นอารมณ์ เมื่อเราทำไป หายใจเข้าก็เป็นพุท หายใจออกก็เป็นโธ พุทโธนั่นก็หมายความว่าผู้รู้อยู่นั่นเอง เรารู้อยู่ด้วยสติของเราที่ตื่นอยู่ ถ้าเรารู้จักจิตของเจ้าของ มีสติอยู่ เราก็รู้จักว่าจิตของเจ้าของคิดอะไร? อะไรเป็นจิตก็เข้าไปเห็นชัด

    ผู้ที่มีอำนาจปรับเอาอารมณ์ทั้งหลายนั่นแหละเรียกว่าตัวจิต สมมติว่าจิตหรือใจ ตัวที่กำหนดรู้ ลมเข้าก็รู้จัก ลมออกก็รู้จักคนที่รู้ลมมันเข้ามันออกนั่นแหละคือตัวจิต เราสมมติว่าเป็นตัวจิตใครตามรู้อยู่เสมอ เราก็รู้จักว่าใครตามรู้อยู่ ผู้ตามรู้อยู่ก็เรียกว่าจิตอารมณ์นั้นก็เป็นอารมณ์ จิตนั้นเป็นตัวจิต นั่นคือผู้รู้ก็เป็นผู้รู้ อารมณ์ก็เป็นอารมณ์ เป็นคนละตอนคนละท่อน ท่านจึงให้ทำเป็นสมาธิ เมื่อเป็นสมาธิมีอารมณ์อันเดียวแล้ว จะเห็นจิตของเจ้าของว่า เออ! จิตนี้เป็นอย่างหนึ่ง อารมณ์นี้เป็นอย่างหนึ่ง ผู้ที่รู้สึกอารมณ์มากระทบเป็นอย่างนั้นก็อย่างหนึ่ง สองอย่างนี้ถ้าหากว่าเราไม่เป็นสมาธิ ไม่ทำสมาธิให้มีอารมณ์เดียวยืนยันอยู่ เราก็ไม่รู้จักจิตของเจ้าของ จิตเจ้าของเศร้าหมองก็ไม่รู้เรื่อง จิตผ่องใสก็ไม่รู้เรื่อง ไม่รู้เพราะอะไร? เพราะเราไม่ได้สั่งสอนจิตของเรา

    พระพุทธองค์ท่านบอกว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใครตามดูจิตของตนคนนั้นจะพ้นจากบ่วงของมาร บ่วงของมารนั้นคืออะไร? คือรูปหนึ่ง เสียงหนึ่ง กลิ่นหนึ่ง รสหนึ่ง โผฏฐัพพะหนึ่ง ธรรมารมณ์หนึ่งอันนี้แหละเป็นบ่วงที่จะผูกจิตผู้ที่ไม่รู้ ให้เข้าไปในอำนาจของมันเข้าไปในอำนาจของความเกลียดหรือความรัก ถ้าหากว่าเรารู้จิตของเจ้าของเช่นนั้น ทั้งเรามีสติอยู่ เราก็รู้ว่าอันนี้เป็นอารมณ์ อันนี้เป็นจิต ถ้าเรามองเห็นว่าอารมณ์เป็นอารมณ์ จิตเป็นจิต เราก็แยกมันออกเป็นสองอย่าง เราก็รู้จักว่าจิตไปยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์ อารมณ์นั้นท่านเรียกว่าโลก หลงอารมณ์ก็คือหลงโลก หลงโลกก็คือหลงอารมณ์ ใครเป็นคนหลง? จิตผู้รู้นั่นแหละมันหลง หลงตามอารมณ์ ที่ดีก็หลงไป ชั่วก็หลงไปตาม สุขก็หลงไป ทุกข์ก็หลงไป เอาตัวไปแทนเสียว่าเป็นตัวทุกข์ ความเป็นจริงนั้น จะทุกข์ก็เพราะมีอุปาทานยึดมั่นในอารมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น เลยไปเป็นเจ้าของอารมณ์
    ความเป็นจริงนั้นอารมณ์ก็เป็นอารมณ์ จิตก็เป็นจิต มันคนละอย่างกัน เมื่อเราเข้าไปยึดว่าอันนั้นดี อันนั้นสวยอย่างนี้เป็นต้น ไม่ใช่ว่าเห็นเฉยๆ เห็นแล้วมีอุปาทานมั่นหมาย ไปยึดมั่นถือมั่นเป็นตัวเป็นตน เป็นเราเป็นเขานั้นเรียกว่าบ่วงของพญามารผูกไป ความพอใจก็ผูกไป ความไม่พอใจก็ผูกไป ความสุขก็ผูกไป ความทุกข์ก็ผูกไป ชั่วก็ผูกไป ดีก็ผูกไปอย่างนี้ก็เพราะว่าเราไม่รู้จักจิต ไม่รู้จักอารมณ์ ถ้าเรารู้จักจิตของเจ้าของแล้ว อารมณ์มันก็เป็นอารมณ์ จิตมันก็เป็นจิต เป็นคนละอย่างถ้าเราไม่รู้จักอันนี้ เราก็เข้าไปเป็นเจ้าของอารมณ์อันนั้น เราก็ต้องรับรองอารมณ์อันนั้นอยู่ ติดตามอารมณ์อันนั้นอยู่ ถ้าเราเห็นเช่นนี้ว่าอันนี้เป็นจิต อันนี้เป็นอารมณ์ เราก็ต้องรู้จักสอนจิตของเจ้าของ เมื่อเรามีความสงบอยู่ ถูกอารมณ์ขึ้นมาเราก็รู้จักว่าอันนี้เป็นอารมณ์ อันนี้เป็นจิต เปรียบง่ายๆคือมันอยู่ใกล้ชิดกัน เหมือนน้ำมันกับน้ำถ้ามันมีน้ำหนักต่างกัน จะเอาใส่ในขวดเดียวกันก็ได้ แต่ว่ามันไม่แทรกซึมเข้าหากัน จิตกับอารมณ์ก็เป็นอย่างนั้น ถ้ารู้จักว่าอันนั้นเป็นอารมณ์ อันนั้นเป็นจิต จะเห็นจิตเป็นจิต เห็นอารมณ์เป็นอารมณ์ สักแต่ว่าอารมณ์เท่านั้น

    <TABLE><TBODY><TR><TD vAlign=top width=170>[​IMG] </TD><TD class=just vAlign=top>อารมณ์นี้แหละท่านเรียกว่าโลก เราหลงโลกก็คือหลงอารมณ์ หลงอารมณ์ก็คือหลงโลก เอาจิตกับอารมณ์ไปพัวพันกันจนแยกกันไม่ได้ แยกไม่ออกว่าอะไรเป็นจิต... อะไรเป็นอารมณ์ อารมณ์นี้ก็สักแต่ว่าอารมณ์ เห็นจิตก็สักแต่ว่าจิต เป็นธรรมธาตุอันหนึ่งเป็นอยู่อย่างนั้น เขาเป็นอยู่อย่างนั้น ตั้งแต่ไหนแต่ไรมาเขาก็เป็นของเขาอยู่อย่างนั้น ถ้าหากว่าเราไม่รู้จักสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น เราก็ไปสำคัญมั่นหมายว่า ทำไมมันเป็นอย่างนั้น ทำไมมันเป็นอย่างนี้ความเป็นจริงอันนี้เป็นของเก่าแก่ มันตั้งอยู่อย่างนั้นเอง ดังนั้นพระพุทธเจ้าท่านจึงให้ปฏิบัติ ให้พิจารณา ที่ท่านสอนว่า ให้ท่านทั้งหลาย หรือสูทั้งหลายจงมาดูโลกนี้อันน่าตระการดุจราชรถ อันพวกคนเขลาทั้งหลายหมกอยู่แต่ผู้รู้หาข้องอยู่ไม่ ท่านพูดตรงเข้าไปเลย เห็นโลกที่มันวุ่นวาย มันก็เป็นอยู่อย่างนั้น โลกนี้ไม่ใช่ว่ามันวุ่นวายมันเป็นของมันอยู่อย่างนั้น ที่เราเข้าไปหมายมั่นไม่พอใจกับมัน มันก็วุ่นวายซิ ถ้ารู้ตามเป็นจริงด้วยปัญญาแล้ว ก็เห็นว่าไม่วุ่นวาย แต่คนไม่มีปัญญาแล้ว ก็เข้าใจว่าที่นั่นมันวุ่นวาย พระพุทธเจ้าท่านจึงตรัสอย่างนั้น ให้มาดูโลกอันนี้...อันน่าตระการดุจราชรถ เพราะคนเขลาคือคนโง่ คือคนไม่รู้จัก คือคนหลงหมกอยู่ แต่ผู้รู้ทั้งหลายรู้แล้วไม่ข้องอยู่ ที่นั่นไม่วุ่นวาย ที่นั่นไม่ขัดข้อง ก็เพราะเห็นว่า ของเขา เป็นของเขา อยู่อย่างนั้น พื้นฐานของการ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>ประพฤติปฏิบัติ พื้นฐานของความเห็นก็ต้องเป็นอย่างนั้น ให้รู้ ถ้าเราไม่รู้มันก็เป็นทุกข์ ไม่รู้ ก็เข้าไปยึดมั่นถือมั่นตลอดกาลตลอดเวลา

    อารมณ์มาทางตาก็มี หูก็มี จมูกก็มี ลิ้นก็มี กายก็มี เกิดมาทางจิตเฉยๆ ก็มี คือมีความรู้สึกเกิดขึ้นมาเดี๋ยวนั้น ทั้งๆ ในเวลานั้นตา หู จมูก ลิ้น กาย ไม่สัมผัสถูกต้องอะไร แต่ว่ามันเป็นธรรมารมณ์ เป็นธรรมเก่าที่เก็บไว้ ในเวลานั้นมันระเบิดขึ้นมาอยู่ที่ใจเพราะว่าในเวลานั้นไม่ได้ยิน ไม่ได้เห็น ไม่อะไรก็ตามทีเถอะ แต่ว่าอันนั้นมันมีอยู่เป็นของเก่า เป็นธรรมารมณ์ เป็นธรรมะ + อารมณ์นั่นเอง มันฝังแน่นอยู่ในใจเรียกว่า "อุปธิธรรม" เมื่อได้ช่องเมื่อไร มันก็ระเบิดขึ้นมา เกิดความยินดีเกิดความยินร้ายขึ้นมา อันนี้คือของเก่าที่มีอยู่แล้ว ในปัจจุบันนั้น ตาก็ไม่ต้องเห็น หูก็ไม่ต้องได้ยิน จมูกก็ไม่ได้กลิ่น ลิ้นก็ไม่ได้รส กายก็ไม่ถูกต้อง แต่ว่ามีอารมณ์ทางจิตเกิดขึ้นมาเฉยๆ ที่เกิดขึ้นมาที่จิตนั้น จิตก็ยังหลงของมันอยู่เรื่อยๆ ยังไปหลงรัก ยังไปหลงใคร่อยู่ในสถานที่นั้นอีก ถ้าเราเห็นเช่นนี้ ถ้าเราดูเช่นนี้ เราทำสมาธิเห็นชัดอยู่อย่างนี้ เราก็พยายามดูซิว่า เกิดแล้วมันก็ดับ ดับแล้วมันก็เกิด เกิดแล้วมันก็ดับ มันเป็นของมันอยู่อย่างนั้น

    พระโยคาวจรท่านเห็นชัดว่า อันนี้เป็นธรรมธาตุอันหนึ่งเท่านั้นเรียกว่า ธรรมะ เกิดแล้วก็ดับไป ดับแล้วก็เกิดขึ้นมา เกิดขึ้นมาแล้วก็ดับไป พระผู้มีพระภาคท่านให้เห็นจิตอันนี้เป็นของเกิดดับอยู่เท่านั้นมันไม่เป็นไปอย่างอื่นอีกถ้ารู้ชัดแล้ว มันก็เกิดดับของมันอยู่อย่างนั้นก็เหมือนโลกน่ะแหละ ถึงเวลาสว่างมันก็สว่าง ถึงเวลามืดมันก็มืด มันก็เป็นของมันอยู่อย่างนั้น แต่คนที่ยุ่งก็ไปให้โทษมันว่า มันมืดเร็วไปหรือมันสว่างเร็วไปอย่างนี้ ถ้ารู้ตามเป็นจริงแล้ว ก็เป็นเรื่องของมันเป็นอยู่อย่างนั้น อันนั้นเรียกว่าเราหลง พระพุทธเจ้าให้ประพฤติปฏิบัติเพื่อให้หายหลง พระโยคาวจรคือใคร? ก็คือพวกเรานี่เองแหละ ให้ศึกษาเข้าไปเห็นความจริง เมื่อจิตสงบมีสติอยู่ มีสัมปชัญญะอยู่ เป็นสมาธิมันก็เห็น ในที่สงบระงับ เมื่อเห็นอาการทั้งหลายเป็นเช่นนั้น ก็เกิดการวิเคราะห์วิจารณ์ขึ้นมา เพ่งสิ่งที่เกิดขึ้นมาอยู่นั้น เป็นอย่างนั้นอยู่เสมอ เมื่อเห็นอาการตามความเป็นจริงของมัน ก็รู้ว่ามันเป็นของมันอยู่อย่างนั้น เมื่อเห็นชัดเช่นนั้น เราก็ไม่ต้องไปเพิ่มอะไรขึ้นอีก ไม่ต้องไปถอนอะไรมันอีก ปล่อยมันอยู่ตามเช่นนั้นเสมอ คนที่ไปเพิ่มอะไรเข้ามา ไปถอนอะไรออกไป ก็คือคนหลงอารมณ์ จึงเกิดยุ่งเกิดวุ่นวายเกิดความไม่สงบ

    พระพุทธเจ้าท่านสอนว่าให้เห็นโลก คือเห็นโลกนี้ตามเป็นจริงอยู่ ท่านให้เห็นชัดด้วยปัญญาว่า มันเป็นอยู่อย่างนั้น ไม่มีทางจะแก้ไข ท่านให้แก้ไขตัวเราเอง ไม่ใช่ไปแก้ไขอย่างอื่น ถ้าเราไปแก้ไขอย่างอื่นนั้นก็เรียกว่า มันเป็นภายนอก นึกว่าเหตุมันเกิดมาจากนั้นเช่นเรามองดูรูปหรือเราฟังเสียง ก็เห็นว่ารูปนั้นเราไม่ชอบ หรือเสียงนั้นเราไม่ชอบ ก็นึกว่ารูปนั้นเป็นเหตุ เสียงเป็นเหตุ ความเป็นจริงเหตุไม่ได้อยู่ที่ตรงนั้น เหตุอยู่ที่จิตของเจ้าของนี่เอง เพราะเราเข้าไปสำคัญมั่นหมายว่า มันเป็นอย่างนั้น มันเป็นอย่างนี้ ความจริงนั้นเหตุเกิดที่เรา แต่เราไปเข้าใจว่าเหตุเกิดอยู่ที่รูป เสียง กลิ่น เมื่อมันกระทบถูกต้อง มันเกิดจากความเห็นนี้เอง อันนั้นมันก็อยู่สภาพของมันอย่างนั้น มิแปรเป็นอย่างอื่น ฉะนั้นพระพุทธเจ้าท่านจึงตรัสให้พุทธบริษัททั้งหลายมาดูโลกอันนี้ให้แจ้ง ให้รู้เรื่องตามความเป็นจริงของมัน ถ้ารู้ตามความเป็นจริงของมัน แล้วก็ไม่มีทางอะไรจะแก้ไขเห็นตามมันเสีย ปัญญารู้เท่าสังขาร ว่าสังขารนั้นเป็นจริงอย่างไร ให้รู้เท่าตามความเป็นจริงอย่างนั้นทุกอย่าง หูเราได้ยินก็ดี อายตนะทั้งหลายที่รวมอยู่นี้ มันเป็นสัจจธรรมทั้งนั้น คือความจริงทั้งนั้น แต่เราไม่รู้จักความจริงก็เลยกลายเป็นของปลอมไปเสีย เข้าไปปรุง ปรุงให้มันเป็นอย่างนั้น ปรุงให้มันเป็นอย่างนี้ ไปแต่งให้มันเป็นอย่างนั้น แต่งให้เป็นทุกข์ ก็เป็นทุกข์ ปรุงไปอย่างอื่นก็ไม่เป็น มันเป็นของมันอยู่อย่างนั้น ถ้าเราเห็นสั้นๆ เช่นนี้ เราก็รู้จักสั่งสอนจิตของเจ้าของแล้วว่าอันนี้เป็นอารมณ์ อันนี้มันเป็นจิต
     
  13. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    อารมณ์นี้ก็สักว่าอารมณ์ จิตนี้ก็สักว่าจิตเท่านั้น ไม่ใช่สัตว์บุคคล ตัวตน เราเขา ผลที่สุดแล้วก็ไม่มีใครทำอะไรทั้งนั้น อารมณ์ก็เป็นเรื่องอนิจจัง จิตก็เป็นอนิจจัง ตัดผ่านไปเสียไม่ต้องข้องแวะไม่ต้องวิจัยมาก เพราะรู้ว่ามันเป็นอย่างนั้น เห็นอารมณ์ที่เกิดดับก็ดี เห็นอารมณ์ดีก็ตาม อารมณ์ชั่วก็ตาม ก็เรียกว่าเป็นอนิจจังทั้งนั้น ถ้าพูดให้ง่ายๆก็ว่า ตัวอนิจจังนี้แหละคือตัวพระพุทธเจ้าล่ะ ตัวสัจจธรรมล่ะตัวที่จะทำให้พระพุทธองค์ของเราให้เกิดเป็นพระพุทธเจ้า สาวกทั้งหลายก็เหมือนกันฉันนั้น ถ้าเห็นอนิจจังชัดเจน ก็เป็นพระสมบูรณ์นั่นเอง เห็นอนิจจังเป็นของไม่เที่ยง ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ อุปาทาน มั่นหมายก็ไม่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้ง ๕ คือมี ๕ กอง กองรูป กองเวทนา กองสัญญา กองสังขารกองวิญญาณ เราไปยึดมั่นถือมั่นว่าขันธ์ทั้ง ๕ นี้ เป็นตัวเป็นตน เป็นเราเป็นเขาโดยใช่เหตุ ตามความเป็นจริงแล้วอันนี้มันเป็น ขันธ์ ๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนไม่ใช่เราไม่ใช่เขา เรียกว่ามันเป็นกอง กองรูปก็เป็นกองหนึ่ง กองเวทนาก็คือกองสุข...กองทุกข์ นี่เป็นกองหนึ่ง สัญญานี้ก็เป็นกองหนึ่ง สังขารนี้ก็เป็นกองหนึ่ง วิญญาณนี้ก็เป็นกองหนึ่ง คนคนหนึ่งมีอยู่ ๕ ก้อนหรือมีอยู่๕ กอง เราจะอยู่ไปได้ด้วยขันธ์ ๕ นี้

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=just vAlign=top>ผู้ที่จะมีความทุกข์มีความเดือดร้อน ก็เพราะยึดเอาก้อนนี้มาเป็นตัวเป็นตนเป็นเราเป็นเขา ใครมันเป็นทุกข์? ขันธ์ ๕ นี้แหละเป็นทุกข์ เพราะเห็นขันธ์ ๕ นี้เป็นตัวเป็นตนเป็นเราเป็นเขา คือไปยึดหมายสิ่งที่ไม่เป็นตัวเป็นตนเป็นเราเป็นเขานี้แหละ มาเป็นตัวเป็นตนเป็นเราเป็นเขา อันนี้มันตรงกันข้ามเลย สิ่งที่ไม่ใช่ตัวใช่ตน เราเข้าใจว่าตัวว่าตน สิ่งที่ไม่ใช่เราใช่เขา เราก็เข้าใจว่าเป็นเราเป็นเขา อันนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิดจากหลักธรรมะ เมื่อผิดจากหลักธรรมะที่เกิดทุกข์ เพราะสิ่งทั้งหลายเป็นก้อนเป็นกองเฉยๆ กองรูปก็เป็นกองหนึ่ง กองเวทนา กองสัญญา กองสังขาร กองวิญญาณ ฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงให้พิจารณาให้เห็นว่า ขันธ์ ๕ นี้เกิดแล้วก็ดับ มันเกิด-ดับ เกิด-ดับเท่านั้น

    </TD><TD vAlign=top align=right width=285>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE>
    หาอย่างอื่น นอกนั้นไม่มี ทุกข์เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป สุขเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ไม่ยั่งยืนถาวรอยู่ มันเป็นอยู่อย่างนั้น ท่านจึงสอนว่าขันธ์ทั้ง ๕ นี้ไม่เที่ยง แต่คนเราทั้งหลายมองไม่เห็น เราว่าเป็นของเที่ยง จึงขัดแย้งกันอยู่ตลอดเวลา ที่ท่านเห็นธรรมะก็คือท่านเห็นตรงนี้ ที่ท่านตรัสรู้ธรรมะก็คือตรัสรู้ตรงนี้ ไม่ใช่รู้อย่างอื่น เห็นชัดเรื่องขันธ์ ๕ นี้ว่าไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ไม่ใช่เราไม่ใช่เขา จิตก็ปล่อยวางเห็นแต่ว่าขันธ์ ๕ เกิดแล้วก็ดับไปเท่านั้น มันเกิด-ดับ เห็นสิ่งที่เกิด-ดับอยู่ตลอดเวลา เมื่อเห็นเช่นนี้ก็ไม่รู้จะไปทำอะไรมัน นี่คือความเห็นที่ถูกต้อง
    เห็นง่ายๆ คิดง่ายๆ ว่ามันเกิด-ดับเท่านั้นแหละ วูบเดียวก็เกิดขึ้นมา วูบเดียวก็ดับไป หาสิ่งใดจะมาเกิด-ดับไม่มีนอกจากสุขกับทุกข์ ทุกข์มันเกิดแล้วก็ดับไป สุขเกิดแล้วก็ดับไป มันเป็นเรื่องเท่านี้เอง ถ้าเราไม่รู้เรื่องสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ก็เหมือนว่าเราจะไม่รู้ธรรมะ ถ้าเรารู้ธรรมะ ก็เห็นเรื่องทั้งหลายเหล่านี้มันเป็นอยู่อย่างนี้ หมดทางที่จะแก้ไข เรียกว่าเห็นโลก เห็นโลกเป็นอย่างนั้น ถ้าเห็นแล้วก็ไม่ต้องแก้ไข ถ้าเห็นแล้วใจสบาย เห็นโลกตามเป็นจริงอย่างนั้นก็เรียกว่าบรรลุธรรมะ คือเห็นรูปเห็นนามนี้เป็นอย่างนั้นอยู่แล้ว เมื่อเห็นสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น เราก็เห็นออกจากตัวของเรา ออกจากตนของเรา ก็เลยเป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตน มีแต่ขันธ์ ๕

    ในสมัยหนึ่ง พระปุณมัณตนีบุตรจะออกไปธุดงค์ พระสารีบุตรซึ่งเป็นพระอาจารย์ของพระปุณมัณตนีบุตร ได้ถามปัญหาแก่ลูกศิษย์ของท่านว่าถ้ามีคนมาเรียนถามท่านว่า พระขีณาสพตายแล้วเป็นอะไร?พระปุณมัณตนีบุตรตอบว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เกิดแล้วดับไป ท่านไม่เห็นว่าท่านเกิดแล้วท่านดับไป ตรงนั้นไม่มีท่านไม่มีตัว ไม่มีตน ไม่มีเรา ไม่มีเขา ท่านก็เลยตอบคำถามพระอาจารย์ว่าพระขีณาสพตายแล้วไม่เป็นอะไร ท่านเห็นแต่เพียงว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เกิดแล้วดับไปเท่านั้นพระสารีบุตรก็พอใจในความเห็นของลูกศิษย์ ว่าอย่างนี้ไปได้แล้ว ท่านก็ปล่อยให้พระปุณมัณตนีบุตรไปธุดงค์ ท่านถามอย่างนั้นเพื่อสอบความเข้าใจของลูกศิษย์ เมื่อลูกศิษย์ตอบมาตามความเป็นจริงเช่นนั้นแล้ว มันหมด ตอบได้หมดที่จะเข้าใจว่าตัวว่าตนตรงนั้นไม่มี พระขีณาสพตายแล้วไม่เป็นอะไร พระขีณาสพก็คือผู้สิ้นไปแล้วสิ้นกิเลสทั้งหลายแล้ว ตายแล้วไม่เป็นอะไร พระปุณมัณตนีบุตรรู้แล้ว ท่านประสบมาแล้วว่าเป็นอย่างนั้น ท่านไม่เห็นว่ามีอะไร เห็นแต่เพียงว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เกิดแล้วดับไป ไม่มีใครเกิดไม่มีใครตาย

    อย่างพระโมกขราชเห็นสุญญตาธรรมเป็นธรรมที่ไม่ตาย ถ้าถึงจุดอันนั้นแล้วไม่ตาย ทำไมถึงไม่ตาย? มันไม่มีคน ไม่มีสัตว์ ถ้าไม่มีคนก็ไม่มีใครจะตาย ไม่มีสัตว์ก็ไม่มีใครจะตาย เห็นชัดแล้วว่ามันพ้นจากตัวตนเราเขา เห็นแต่ธาตุ หรือกองดิน กองน้ำ กองไฟ กองลมเห็นแต่ขันธ์ ๕ มีแต่รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่มีคนไม่มีสัตว์ ตรงกับพราหมณ์ที่เข้าไปถามพระพุทธเจ้าว่า พระผู้เป็นเจ้าคนตายแล้วเกิดมีไหม? พระพุทธเจ้าท่านย้อนถามพราหมณ์ ใครจะมาเกิดมาตายอยู่ที่นี่ ถ้าพราหมณ์มีความเห็นเช่นนี้ ก็เหมือนกันกับที่ว่าลูกศรนั้นแทงหัวใจพราหมณ์ อยู่เท่านั้นแหละ ขวางอยู่ตลอดเวลาแต่ว่าเอามันออกยาก มันเห็นยาก คือมันติดสมมติ ถ้าเราเห็นสมมติเห็นวิมุตติตามความเป็นจริง แล้วมันก็สบายไม่มีใครเกิด ไม่มีใครแก่ไม่มีใครเจ็บ ไม่มีใครตาย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณมันเป็นไปต่างหาก ถ้ามันเป็นเช่นนั้น อะไรจะเกิดที่ไหนมีไหม? ความโลภจะเกิดขึ้นมีไหม? ความโกรธจะเกิดขึ้นมีไหม? ความหลงจะเกิดขึ้นมีไหม?

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=175>[​IMG] </TD><TD class=just vAlign=bottom>สิ่งทั้งหลายเหล่านี้จะเกิดขึ้นมาได้เพราะคน เพราะสัตว์ ถ้าท่านเห็นว่าพ้นไปจากสัตว์ พ้นไปจากคนแล้ว กิเลสจะเกิดกับอะไร? ไม่มีที่เกาะ ไม่มีกิเลส โลภ โกรธ หลง หมดไป เพราะสิ่งทั้งหลายเหล่านี้เกิดขึ้นกับสัตว์ กับมนุษย์ กับตัวกับตน กับเรากับเขา ท่านเห็นว่าไม่มีตัวไม่มีตัว ไม่มีเราไม่มีเขาแล้ว มันจะเกิดกับอะไร ท่านจึงว่าผู้ถึงที่สุดของธรรมะ

    มัจจุราชตามไม่ทัน ท่านเป็นผู้ที่ไม่ตาย จะตายแต่คนหรือสัตว์ ถ้าพ้นไปจากคนหรือสัตว์แล้ว ก็ไม่มีอะไรที่จะตาย ไม่มีอะไรที่จะเกิดจะดับอยู่ตรงนั้น ไม่มีแล้ว พระพุทธเจ้าของเรามีพุทธประสงค์อยากจะให้เราเห็นอย่างนั้นที่ปฏิบัติมานี้ อยากจะให้รู้อย่างนั้น อยากจะให้เป็นอย่างนั้น ให้พ้นจากความเกิด ความแก่ความเจ็บ ความตาย ทุกข์ก็ไม่มี ไม่มีทุกข์ ทุกข์ก็หมด ทุกข์ก็ดับอันนี้ท่านจึงว่าให้ปฏิบัติให้พ้นจากทุกข์ ถ้าเราไม่ยึดมั่นว่าเป็นตัวเป็นตน เป็นเรา เป็นเขา เป็นสัตว์เป็นบุคคลอยู่อย่างนี้ มันก็เกิด แก่เจ็บ ตายอยู่อย่างนั้นแหละ ไม่พ้น พระพุทธองค์ท่านให้เห็นอย่างนั้นท่านสอนอย่างนั้น ท่านให้รู้อย่างนั้น


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    เดินไปก็ไม่มีอะไร มีแต่ขันธ์ ๕ มีแต่กองรูป กองเวทนา กองสัญญา กองสังขาร กองวิญญาณ มีแต่เรื่องขันธ์ ๕ เท่านั้น เป็นไปตามสภาวะของมัน อันนี้ท่านเรียกว่า ให้เห็นออกจากตัวตน ไม่มีอะไรจะเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น เป็นผู้ที่ปล่อยวาง จะได้เห็นว่าเป็นสภาวะธรรมอันหนึ่งเท่านั้น เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป มีแต่เรื่องเกิด-ดับไปทั้งนั้น อันนี้เป็นจุดหมายปลายทางที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา ต้องการให้พวกพุทธบริษัททั้งหลาย ปฏิบัติให้เข้าไปรู้อย่างนั้น ให้เข้าไปเห็นอย่างนั้น ถ้าเข้าไปรู้อย่างนั้นท่านก็เรียกว่าเราเข้าไปรู้ธรรมะ เห็นธรรมะ เมื่อเห็นธรรมะก็เห็นพระพุทธเจ้า เมื่อเห็นพระพุทธเจ้าก็เห็นธรรมะ อันนั้นเป็นเรื่องการปฏิบัติล้วนๆ ทางจิตของเรา
    เรื่องการปฏิบัติที่เราแนะนำพร่ำสอนกันนี้ก็เรียกว่าเป็นศีลธรรม สอนเรื่องศีลธรรมนี้ สอนเรื่องตัวเรื่องตน เรื่องเราเรื่องเขา อย่าไปเบียดเบียนซึ่งกันและกัน เป็นตัวเราเป็นตัวเขา ถ้าสอนธรรมะล้วนๆ ก็เรียกว่า ไม่มีเราไม่มีเขา สอนเรื่องศีลธรรมนี้ก็ต้องมีเรามีเขาความมุ่งหมายของพระพุทธเจ้า มีพระพุทธประสงค์อยากจะให้สาวกทั้งหลายเป็นอย่างนั้น ให้รู้อย่างนั้น ให้เห็นอย่างนั้น ให้เป็นอยู่อย่างนั้น สงบจากสัตว์ สงบจากบุคคล จากตัว จากตน จากเรา จากเขา หมดกันแค่นั้น ในทางพุทธศาสนาของเราท่านสอนอย่างนั้น

    แต่ว่าพุทธบริษัทจะมีศรัทธา จะมาประพฤติปฏิบัติให้เป็นไปตามทำนองนั้นลำบาก ยาก ไม่มีศรัทธาเพียงพอ ความเป็นจริงอย่างนักบวชเรา อย่างพวกเรานี้น่ะ ละฆราวาสวิสัยมาแล้ว ละบ้านละช่องมาแล้ว อะไรทั้งหมดๆ เราก็ทิ้งมาแล้ว อยู่ในวิสัยของสมณะ จุดนั้นเป็นที่หมาย เป็นเป้าหมายของพวกเราทั้งหลาย เป็นเป้าหมายของผู้ประพฤติ เป็นเป้าหมายของผู้ปฏิบัติ ฉะนั้น ท่านจึงสอนให้ละทิฏฐิมานะ ทิฏฐิคือความเห็น มานะคือความยึดในตน ฯลฯ การละนี้แหละคือทางที่จะสงบจริง เย็นจริง

    หลวงพ่อชา สุภัทโท
    http://www.isangate.com/dhamma/fact_01.html
     
  14. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    อย่าหลงอารมณ์
    โลกเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติของมัน เราหลงโลกจึงทุกข์

    เมื่อมีเรา ก็มีของเรามาหมายมั่น เหมือนกันกับฝาผนัง ถ้าไม่มีหัวตะปูแล้วห้อยเสื้อไม่ได้ ห้อยกางเกงไม่ได้ ไม่มีที่เกาะฉันใด ถ้าภาวนาถึงที่แล้วมันก็ "ไม่ใช่เรา" "ไม่ใช่ของเรา" เป็นต้น พระอรหันต์ท่านจึงหลุดพ้น หลุดพ้นจาก "เรา" หลุดพ้นจาก "เขาอาสวะทั้งหลายไม่มีที่เกาะ อาสวะทั้งหลายไม่มีที่แอบอิง ไม่มีที่พึ่ง ถ้ามันหมดตัวเรา

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head>ความยึดมั่นถือมั่น</TD></TR></TBODY></TABLE>
    การกระทำทุกวัน การประพฤติทุกวัน การพิจารณาทุกเวลา จึงเป็นปัญหาที่จะแก้ปัญหาให้รู้จักตัวว่าเราหรือไม่ใช่ของเราออก ถ้ายังมีตัวเราอยู่อย่างอุปาทาน ก็มีของเราตลอดไป เมื่อมีของเรา ก็มีของหาย มีของได้ เมื่อมีได้เมื่อมีเสีย ก็มีสุขก็มีทุกข์ เมื่อมีสุขเมื่อมีทุกข์ก็มีเหตุมีปัจจัยหมุนเวียนเปลี่ยนไป ไม่มีที่สิ้นสุดที่จบลงได้

    ฉะนั้นพระพุทธเจ้าของเราท่านจึงเน้น เน้นข้อประพฤติ เน้นข้อปฏิบัติให้เห็นตามเป็นจริง เมื่อเห็นตามเป็นจริงแล้วก็สบาย แต่เราไม่ค่อยเห็นตามเป็นจริงได้ง่าย
    สมัยก่อนศีล สมาธิ ปัญญาไม่ค่อยมี มีแต่ว่าบรรลุธรรมะไปฟังธรรมก็ภาวนาไปด้วย เมื่อรู้จักธรรมความละอายก็เกิดขึ้นมาไม่กล้าทำในสิ่งที่ผิดทางกาย วาจา ใจ เพราะได้ฟังธรรมะ รู้เรื่องตามความเป็นจริงแล้วจึงมีความละอาย ความละอายท่านเรียกว่า"ศีล" จิตที่มั่นอยู่กับความละอายว่าจะเป็นบาปอยู่นั้น ความมั่นในอารมณ์ที่ว่ามันเป็นบาปอันเดียวนั้นเรียกว่า "สมาธิ" ก็ได้ เมื่อสมาธิความมั่นอยู่ในอารมณ์ ไม่กระทำบาป ทำใจให้สุขุม "ปัญญา" ความรู้เท่าทั้งหลายก็เกิดขึ้นมา บรรลุถึง "สนติธรรม"เห็นตัวเราของเราตามความเป็นจริงว่ามิใช่เราขึ้นมา เป็นตัวปัญญาเกิดขึ้นมาพ้นจากวัฏฏะสงสารอันนี้ได้ ฉะนั้นในครั้งพุทธกาลท่านว่า เมื่อมีการฟังธรรมก็บรรลุธรรมเท่านั้นเอง เมื่อมีศีล สมาธิแล้ว ปัญญาก็เกิดขึ้นมา

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head>ความพอใจทำให้หมดปัญหา</TD></TR></TBODY></TABLE>
    เมื่อหากว่าเราพอแล้ว สิ่งอื่นก็หมดราคา พูดง่ายๆว่าเรารับประทานอาหาร แม้ว่าอาหารจะเอร็ดอร่อยอย่างไรก็ช่างมัน เมื่อมันมีเกินที่เราต้องการแล้ว ถ้าหากว่าเราอิ่มอยู่ทุกอย่างแล้ว อาหารที่เหลือนั้นมันหมดราคาน้อยลง ไม่เหมือนเรารับประทานครั้งแรก ทีแรกอันนั้นก็จะเอา อันนี้ก็จะเอามีราคาหมดทุกอย่าง พออิ่มเข้าอิ่มเข้า อาหารที่อร่อยย่อมหมดราคาน้อยลง เพราะเราอิ่ม มันเลยเป็นของหมดราคา เมื่อความหิวมีอยู่ก็เอาหมด ผักน้ำพริกก็เอา แก่เท่าไรก็ว่าอ่อน เพราะความหิวมีอยู่ ความอยากมีอยู่เป็นต้น ความต้องการมีอยู่ เมื่อความเป็นเราเป็นเขามีอยู่เป็นต้น มันก็มีปัญหาอยู่ตลอดกาลตลอดเวลาเสมอ

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head>หลงโลก หลงอารมณ์</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE><TBODY><TR><TD>ดังนั้นการฟังธรรมะเพื่อจะอบรมใจเราให้เกิดปัญญา เพื่อให้ไปแก้ปัญหาของโลก ปัญหาของโลกอยู่ไหน "โลก" คือ"อารมณ์" ที่มีอยู่รอบๆตา หู จมูก ลิ้น กายเป็นต้น จัดได้ว่าเป็นอารมณ์ ดีชั่วทั้งหลายทั้งปวงเป็นอารมณ์ อารมณ์ทั้งหลายทั้งปวง ถ้าเราหลงอารมณ์ก็คือเรา "หลงโลก" "หลงโลก" ก็คือ"หลงอารมณ์" คำว่าดูโลกไม่ใช่ว่านั่งเครื่องบินไปรอบโลก โลกนั้นคืออารมณ์ อารมณ์ที่ชอบใจไม่ชอบใจ มีสุขมีทุกข์ ทั้งหมดท่านเรียกว่า "อารมณ์" ซึ่งมันเกิดขึ้นกับใจเราก็มี นั่งอยู่เฉยๆก็เกิดขึ้นทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เรามีอยู่รอบสิ่งทั้งหลายเท่านี้แหละเมื่อเราได้สัมผัสกับอารมณ์ทั้งหลายแล้ว ใจเรามันจะหลงอารมณ์ถ้ามันหลงอารมณ์มันก็แก้ปัญหาของโลกไม่ได้ เมื่อแก้ปัญหาของโลกไม่ได้ใจเราก็เศร้าหมอง ก็ไม่ผ่องใสติดอยู่ในโลก เมื่อแก้ปัญหาไม่ได้ ถ้ามันติดปัญหาข้องปัญหาขึ้นมาจริงๆแล้ว บางทีก็ร้องไห้น้ำตาไหล เคยร้องไห้ไหม? แก้ปัญหาลูกไม่ตก แก้ปัญหาเมียไม่ตก แก้ปัญหาวัตถุข้าวของเงินทองไม่ตก แก้ปัญหาความเจ็บไข้ไม่ตก มีแต่น้ำตาไหลออกมาเท่านั้นแหละ คนโง่คนไม่มีปัญญา


    </TD><TD align=right width=180>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head>สภาพของโลกและอารมณ์</TD></TR></TBODY></TABLE>
    คนแก้ปัญหาของโลกไม่ได้ก็ร้องไห้ ถ้าไม่ร้องไห้ก็หนี หนีไปยิงตัวตาย หนีไปกินยาตาย หนีไปโดดน้ำตาย มันก็หนีไปอย่างนั้นแหละ เพราะคนโง่คนชั่วหนีไปทั่วนั่นแหละ เหมือนกับไฟมันไหม้ป่า สัตว์ต่างๆก็หนีไปตามสัญชาติญาณของมันเพราะกลัวตายมันดับไฟไม่ได้ มนุษย์เรานี้เหมือนกันฉันนั้น มันติดในอารมณ์ แก้อารมณ์ของโลกไม่ได้ เดี๋ยวก็ทะเลาะกัน เดี๋ยวก็วุ่นวายกันเดี๋ยวหัวเราะเดี๋ยวก็ร้องไห้วุ่นวาย เป็นอยู่อย่างนี้เอง สภาพของโลกเป็นอยู่อย่างนี้

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head>หลงโลกจึงทุกข์</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ฉะนั้น เราฟังธรรมก็เพื่อจะได้มีความรู้ ไปแก้ปัญหาของโลก เพราะโลกอันนี้ไม่ต้องแก้ปัญหาอะไรให้มันมากมาย มาแก้ความเห็นของเรา มาแก้ความคิดของเรา มาแก้ทิฏฐิของเราให้มีความเห็นอันถูกต้องเป็นสัมมาทิฏฐิเท่านั้น โลกที่มันตั้งอยู่มันก็ตั้งอยู่ตามสภาพของมัน เพราะเราไปหลงโลกมันจึงทุกข์ โลกนั้นมันไม่ทุกข์ โลกนั้นมันไม่ยาก เราเป็นคนยาก

    เหมือนกับเราเดินทางหนทางไกลเท่าไร มันก็ไม่เหนื่อยกับเรา หนทางไม่เหนื่อยเราผู้เดินนี้เหนื่อย เราผู้วิ่งนี้มันหนักหนทางมันจะไปไหนก็ช่าง มันไม่เมื่อย มันก็ไม่เหนื่อย มันเหนื่อยเพราะเราเดินทาง มันเป็นอย่างนี้ ฉะนั้นทางมันพอดีของมันอยู่ พอดีอย่างไร ถ้าเราเดินเหนื่อยเราก็พัก ก็ไม่เป็นไรถ้าเราฉลาด ถ้าเหนื่อยแล้วยังขืนเดินไปก็ตายกับหนทางเท่านั้นแหละทางไม่เป็นอะไร ถึงแม้ว่าเราจะหยุด มันก็ไม่บังคับให้เราเดินไปอีก ถึงแม้เราจะไปอีกมันก็ไม่บังคับให้เราหยุด โลกมันเป็นอย่างนี้ ถ้าเรารู้จักทางก็รู้จักกำลังของเรา พอสมควรเราก็พักได้เราจึงค่อยเดินไป เป็นเรื่องของเรา คนรู้จักทางเป็นอย่างนี้

    คนรู้จักโลกก็เหมือนกัน โลกมันเป็นของมันอยู่อย่างนั้นเองทางนั้นก็เป็นโลก โลกนั้นก็คือหนทาง ถึงแม้ว่าเราเดินต่อมันก็ไม่สิ้นสุดสักที โลกไม่ได้ทำให้เราทุกข์ เราทุกข์เอง ฉะนั้นจึงมาแก้ที่เรา ใจเรานี้มันหลงโลก ไม่ใช่โลกหลงเรา เรามันหลงโลกเข้าใจไหม? ถ้าว่าอาหารทั้งหลาย ถ้ามันอร่อย ไม่ใช่อาหารมันหลงเรา เรามันหลงอร่อยอันนั้น หลงหวาน หลงเปรี้ยว หวานก็พอดีของมัน เปรี้ยวก็พอดีของมัน มันเป็นของพอดี

    <TABLE><TBODY><TR><TD>[​IMG] </TD><TD vAlign=top><TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head>โลกเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติของมัน</TD></TR></TBODY></TABLE>โลกนี้เป็นของพอดี แต่เรามีความโลภ ทะเยอทะยาน ไปเอง ไม่รู้จักโลก ไม่รู้จักภาษาของโลก ไม่รู้จักความหมายของโลกว่ามันเปลี่ยนแปลงอยู่ตามธรรมชาติของมัน อยู่ทุก วินาที ว่าเมื่อมันเกิดแล้วมันก็แก่ แก่แล้วก็เจ็บ เมื่อเจ็บแล้วมัน ก็ตาย

    คนทั้งหลายเกิดแล้วก็ไม่อยากแก่ แก่แล้วไม่อยากไปทางไหน อยากอยู่อย่างนี้ ให้มั่นคงให้ยั่งยืนอยู่นี่ อยู่กับลูกกับหลานนี่ "ลูกไปไร่ไปนา ลูกไปสวนมาบ้าน คนขี้คร้านให้นอนอยู่บ้านอย่างเดียวเท่านั้น ไม่ต้องไปที่ไหนอีก" อยากอยู่นี่ไม่อยากไปทางไหน ไม่อยากให้เฒ่า ไม่อยากให้เจ็บ ไม่อยากให้วุ่นวาย ไปกั้นแม่น้ำทะเลเอาไว้ ถ้ากั้นไม่อยู่ก็ท่วมบ้านท่วมเรือนเหมือนเก่านั้นแหละ ตายหมดเหมือนเก่านั่นแหละ


    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head>รู้แจ้งโลก</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ท่านจึงให้พิจารณาโลก ปัญญารู้เท่าตามความเป็นจริงของโลก โลกเป็นอย่างใดก็ให้รู้เท่าตามเป็นจริงมันซะ ถ้าเรารู้จักปัญหาของโลกแล้ว ก็เหมือนกันกับเรารู้จักธรรมะ รู้บรรลุธรรมะเมื่อรู้จักธรรมะแล้วมันก็รู้แจ้งโลก เมื่อรู้แจ้งโลกก็ไม่ติดในโลกเป็น "โลกวิทู รู้แจ้งโลก"

    ฉะนั้นธรรมะนี้จึงมีอานิสงส์มาก ท่านว่าฟังธรรมะมีอานิสงส์มาก การให้ธรรมเป็นทานได้บุญมากกว่าสิ่งทั้งหลายปวงมันก็ถูกอยู่การฟังธรรมก็ได้บุญ คนฟังธรรมเอาบุญเกิดจากการฟังไม่ค่อยมี ทุกวันนี้ฟังแล้วหมดไป หมดไปเรื่อยๆ ไม่รู้จักอะไรการฟังธรรม การรักษาศีล ปีนี้ชาวพิบูลฯเขามารดน้ำ เขามาขอศีล ขอก็ให้ นั่งดีๆ อาราธนาแล้ว ข้อ ๑. อย่าฆ่าสัตว์ ๒. อย่าลักขโมยของเขา ๓. อย่าไปนอกใจลูก ใจผัว ใจเมีย ข้อ ๔. อย่าโกหกกัน ข้อ ๕. อย่ากินสุรา เอาแหละใครจะเอาก็เอา ถ้าจะเอา เอาไหมล่ะ? พูดอย่างนี้ ทำไมให้ศีลง่ายจัง นั่นแหละให้ง่ายๆอย่างนี้แหละ มันจะยากอะไรถ้าจะเอา เอาไหมล่ะเรื่องเท่านี้ เรื่องไม่มากหรอก เขาไม่ค่อยได้ยิน เขาอาราธนาขอศีลก็ว่าไป มันไม่ค่อยได้เรื่องแบบนั้น มันตรงเกินไป

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head>ข้าวไม่กินจะกินแต่รำ</TD></TR></TBODY></TABLE>
    กระเทาะเอาเปลือกเอารำมันออกหมด ไม่ค่อยอยากจะได้มันไม่รู้จักของกินหรือนี่ ทีเอาข้าวสารให้ไม่ค่อยอยากจะกิน แต่ถ้าเลียแกลบเลียรำนั้นเร็วมาก ชอบมาก

    หลวงพ่อชา สุภัทโท
    http://www.isangate.com/dhamma/emotion_looser.html
     
  15. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    ความหลุดพ้น
    อย่าทำตัวเหมือนสุนัขนอนอยู่บนกองข้าวเปลือก อย่าคิดว่ารู้มากแล้วจะเห็นพระพุทธเจ้า

    เมื่อพระปัญจวัคคีย์หนีจากพระพุทธองค์แล้ว ท่านเห็นว่าเป็นลาภเป็นโชคของท่าน จะได้มีโอกาสทำความเพียร ครั้งเมื่อพระปัญจวัคคีย์อยู่ก็วุ่นวายก่อกวนหลายอารมณ์ บัดนี้พระปัญจวัคคีย์ออกจากท่าน พระปัญจวัคคีย์เห็นว่าพระพุทธองค์นั้นคลายออกจากความเพียรเวียนมาหาความมักมาก เพราะว่าสมัยก่อนนั้นเอาจริงเอาจังเรื่องอัตตกิลมถานุโยโค เรื่องการทรมาน เรื่องการขบ เรื่องการฉัน เรื่องการหลับการนอน เอาแท้ๆ เมื่อถึงคราวอันนี้แล้ว พอมาพิจารณาแล้วมันก็ไม่เป็นไป ประพฤติด้วยทิฏฐิ ประพฤติด้วยมานะ ด้วยความยึดมั่นถือมั่น คิดปรารภโลกว่าเป็นธรรม คิดปรารภตนว่าเป็นธรรมมันไม่ได้ปรารภธรรมะ

    อย่างว่าเราจะทรมาน ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ก่อนจะทำอย่างนั้นก็ปรารภว่าให้โลกสรรเสริญ ให้เขาว่านี่แหละเป็นคนเอาจริงเอาจังก็เลยทำอันนั้น เป็นโลกหมด ทำเพื่อความยกย่องสรรเสริญ ให้เขาว่าดี ให้เขาว่าเลิศ ให้เขาว่าประเสริฐ ให้เขาว่าปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ คิดอย่างนี้แล้วจึงทำ เรียกว่ามันปรารภโลก อีกอย่างหนึ่งคือปรารภตนเอง เชื่อมั่นในความเห็นของตนเอง เชื่อมั่นในการประพฤติปฏิบัติของตน ใครจะว่าผิดก็ช่างถูกก็ตาม ไม่เอาเป็นประมาณ ชอบอย่างไรก็ทำอย่างนั้น ไม่ได้คลำหน้าคลำหลัง นี่ปรารภตนเองอีกประเภทหนึ่ง

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head>อย่าปล่อยอย่าวางด้วยความยึดมั่น</TD></TR></TBODY></TABLE>
    เรื่องปรารภโลกกับปรารภตนนี้ มันมีแต่เรื่องอุปาทานแน่นหนาอยู่เท่านั้น พระพุทธองค์พิจารณาเห็นว่าเรื่องที่จะปรารภธรรมะ คือให้มันถูกธรรมะแล้วจึงทำไม่มี ฉะนั้นการปฏิบัติจึงเป็นหมัน ละกิเลสไม่ได้ ท่านก็หวนมาพิจารณาใหม่คือ ที่ทำงานตั้งแต่ต้นท่านก็มาดูผลงานมัน สิ่งที่ประพฤติปฏิบัตินั้น ผลที่เกิดจากเหตุที่ท่านกระทำนั้นเป็นอย่างไร ภาวนาแล้วคิดไปลึกซึ้งแล้วเห็นว่ามันไม่ถูก มีแต่เรื่องตนเท่านั้น เรื่องโลกเท่านั้น เรื่องธรรมะเรื่องอนัตตานี้ไม่มี เรื่องสูญ เรื่องว่าง เรื่องปล่อย เรื่องวาง ไม่มี คือเรื่องปล่อยวางมันมีอยู่ แต่ว่าปล่อยโดยความยึดมั่นถือมั่น

    ท่านก็คิดไปคิดมาพิจารณาดูแล้ว ถึงจะสอนลูกศิษย์เขาก็เห็นไม่ได้ ไม่ใช่สิ่งที่จะบอกให้ลูกศิษย์เข้าใจกันได้ง่าย เพราะว่าลูกศิษย์นั้นเขาแน่นเหลือเกินในการกระทำอย่างนั้น ในการสอนอย่างนั้น ในความเห็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าของเราท่านก็เห็นว่าทำอย่างนั้นก็ทำตายเปล่า อดตายเปล่า ทำตามโลก ทำตามตน ท่านก็พิจารณาใหม่ หาสิ่งที่มันพอดี เป็นสัมมาปฏิปทา ส่วนจิตก็เป็นจิต ส่วนกายก็เป็นกายเรื่องกายนี้มันไม่ใช่กิเลสตัณหากับใครหรอก ถ้าจะไปฆ่าอันนั้นเฉยๆมันก็ไม่หมดกิเลส มันไม่ใช่ที่ของมัน แม้จะอดขบอดฉัน อดหลับอดนอนให้มันเหี่ยวมันแห้ง ว่าจะให้มันหมดกิเลสนั้น มันก็หมดไม่ได้แต่ความเข้าใจที่ว่ามันได้สั่งสอนในการทรมานนี้ พระปัญจวัคคีย์ติดมาก

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head>ทำอะไรให้เป็นเรื่องธรรมดาๆ</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ต่อนั้นพระพุทธเจ้าก็กลับมาฉันจังหันให้มากขึ้น ให้มันธรรมดาอะไรก็ให้มันธรรมดาๆมากขึ้น พอพระปัญจวัคคีย์เห็นการประพฤติปฏิบัติของพระพุทธองค์เคลื่อนจากของเก่า มันเปลี่ยนจากการปฏิบัตินั้นมา ก็เลยพากันเข้าใจว่าพระพุทธองค์นั้นคลายความเพียรเวียนมาหาความมักมาก ความเห็นผู้หนึ่งมันจะเลื่อนขึ้นไปข้างบน คือพ้นสมมติ อีกผู้หนึ่งเห็นว่ามันจะเลื่อนลงไปข้างล่าง คือคลายความเพียรเวียนมาหาความมักมาก การทนมานตนเองมันแน่นอยู่ในหัวใจของพระปัญจวัคคีย์ทั้งหลาย เพราะพระพุทธองค์ก็เคยสอนอย่างนั้นปฏิบัติมาอย่างนั้น สอนมาอย่างนั้น จนกว่าท่านได้เห็นโทษมัน เห็นโทษมันชัดเจน ท่านจึงละมันได้ เมื่อละมันได้แล้ว ท่านก็เห็นประโยชน์ในการละนั้น ท่านจึงกระทำอย่างนั้นโดยมิได้ลงขอผู้อื่นเลยพอพระปัญจวัคคีย์เห็นพระพุทธเจ้าทำอย่างนั้น ก็พากันหนีจากท่าน เห็นว่ามันไม่ถูก ไม่ทำตาม ก็เหมือนนกที่หนีจากต้นไม้ เห็นว่าต้นไม้ไม่มีกิ่งหรือก้านกว้างขวาง ไม่มีร่มมีเย็น หรือปลาจะหนีจากน้ำ ก็เห็นว่าน้ำมันน้อย ไม่เย็น มันเบื่อ ว่าอย่างนั้น ความเห็นเป็นอย่างนั้น ก็เลยเลิกกันจากพระพุทธเจ้า

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head>กายก็ให้เป็นกาย จิตก็ให้เป็นจิต</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ทีนี้พระองค์ก็ได้พิจารณาธรรม ท่านก็เลยฉันให้สบาย อยู่ให้สบาย จิตก็ให้มันเป็นจิต กายก็ให้มันเป็นกาย จิตมันก็เป็นเรื่องของจิต กายมันก็เป็นเรื่องของกาย ท่านก็ไม่ได้บีบมันเท่าไร ไม่ได้บังคับมันเท่าไร พอแต่จะทำราคะ โทสะ โมหะ ให้บรรเทาลง แต่ก่อนท่านก็เดินอยู่สองทาง กามสุขัลลิกานุโยโค มีความสุขมีความรักเกิดขึ้นมาแล้วก็สนใจเกาะด้วยอุปาทาน เป็นตัวเป็นตนขึ้นมา ไม่ได้ปล่อยไม่ได้วาง กระทบความสุขก็ติดในความสุข กระทบความทุกข์ก็ติดในความทุกข์ เป็นกามสุขัลลิกานุโยโค กับอัตตกิลมถานุโยโค พระองค์ติดอยู่ในสงสาร ท่านมองพิจารณาเห็นชัดเจนเข้าไปว่า อันนี้ไม่ใช่หน้าที่ของสมณะที่จะเดินไปในทางนั้น สุขแล้วก็ยึดสุข ทุกข์แล้วก็ยึดทุกข์คุณสมบัติของผู้เป็นสมณะไม่ใช่อย่างนั้น ไม่ใช่เรื่องยึดเรื่องมั่นเรื่องหมายในสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น ครั้นติดอยู่ในนั้นมันก็เป็นตัวเป็นตน มันก็เป็นโลก ถ้าปฏิบัติบากบั่นในสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น ก็ยังไม่เป็นโลกวิทูไม่รู้แจ้งโลก วิ่งทางซ้ายวิ่งทางขวาอยู่ตลอดเวลา บัดนี้ท่านเพ่งถึงส่วนจิตจริงๆ ตามรักษาจิตของตนล้วนๆ สอนจิตของตนล้วนๆ

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head>เราหวงแหนกายของเราเพราะอะไร?</TD></TR></TBODY></TABLE>
    เรื่องธรรมชาติทุกอย่างมันเป็นไปตามเรื่องของมัน ไม่ได้เป็นอะไร เหมือนกันกับโรคในร่างกายเรานี้ เป็นเจ็บ เป็นไข้ เป็นหวัดเป็นไอ เป็นโรคนั้นโรคนี้ ก็เป็นในร่างกายของเรา ความเป็นจริงคนเราก็หวงแหนกายของเราจนเกินขอบเขตเหมือนกัน ก่อนที่มันจะหวงแหนก็เนื่องจากความเห็นผิด มันจึงปล่อยไม่ได้ อย่างศาลาเราอยู่เดี๋ยวนี้เราสร้างมันขึ้นเป็นศาลาของเรา จิ้งเหลนมันก็มาอยู่ จิ้กจกมันก็มาอยู่หนูมันก็มาอยู่ เราก็เบียดเบียนแต่มัน เพราะเราเห็นว่าศาลาของเราไม่ใช่ของจิ้งเหลนจิ้งจก เลยเบียดเบียนมัน เหมือนกันกับโรคในร่างกายเราที่เป็นอยู่ ร่างกายเราถือว่าเป็นบ้านเป็นของของเรา ถ้าจะมาเจ็บหัวปวดท้องนิดหนึ่งก็ทุรนทุราย ไม่อยากให้มันเจ็บ ไม่อยากให้มันเป็นทุกข์ ขาก็ขาของเราไม่อยากให้มันเจ็บ แขนก็แขนของเราไม่อยากให้มันเจ็บ หัวนี่ก็หัวของเรา ไม่อยากให้มันเจ็บ ไม่อยากให้มันเป็นอะไรเลย ที่นี่ รักษามันให้ได้ หลงไป หลงจากความจริงมา เราก็จรเข้ามาอยู่กับสังขาร นี้ก็เหมือนกัน ศาลานี้ไม่ใช่ศาลาของเราตามความจริงนะ เราก็เป็นเจ้าของชั่วคราว หนูมันก็เป็นเจ้าของชั่วคราวจิ้งเหลนมันก็เป็นเจ้าของชั่วคราว จิ้งจกมันก็เป็นเจ้าของชั่วคราวเท่านั้นแต่มันไม่รู้จักกัน

    <TABLE><TBODY><TR><TD width=183>[​IMG] </TD><TD><TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head>เมื่อยึดมั่นในสังขารก็เป็นทุกข์</TD></TR></TBODY></TABLE>ร่างกายนี้ก็เหมือนกัน ความเป็นจริงพระพุทธเจ้าท่านสอนว่าไม่มีตัวไม่มีตนอยู่นี้ เราก็มายึดสังขารก้อนนี้ว่าเป็นตัวเป็นตน เป็นเราเป็นเขาแน่นอนเข้าไป ทีนี้สังขารจะเปลี่ยนแปลงก็ไม่อยากให้เปลี่ยนบอกเท่าไรก็ไม่เข้าใจ พูดเท่าไรก็ไม่เข้าใจ บอกจริงๆก็ยิ่งหลงจริงๆอันนี้ไม่ใช่ตัว ว่าอย่างนั้น ก็ยิ่งหลงใหญ่ ยิ่งไม่รู้เรื่อง เรามาภาวนาให้มันเป็นตัวเป็นตน ฉะนั้นคนโดยมากไม่เห็นตัวตน ผู้ที่เห็นตัวตนจริงๆก็คือผู้ที่เห็นว่ามิใช่ตัวมิใช่ตน คือเห็นตนตามธรรมชาติ ผู้ที่เห็นตัวด้วยอุปาทานนี้ว่า นี่เป็นตัวเป็นตน ผู้นั้นไม่เห็น มันก้าวก่ายอยู่อย่างนี้นะ จะทำอย่างไร มันไม่เห็นง่ายๆก้อนนี้ อุปาทานมันยึดไว้


    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head>ใช้ปัญญาในการดับทุกข์</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ฉะนั้นท่านจึงบอกว่าให้พิจารณารู้เท่าด้วยปัญญา ให้เห็นด้วยปัญญา คือพิจารณาสังขารว่า มันจริงอย่างไรก็ให้เห็นตามเป็นจริงอย่างนั้น อาศัยปัญญารู้ตามเป็นจริงของสังขารเรียกว่าตัวปัญญา ถ้ารู้ไม่ตามเป็นจริงของสังขารนั้นก็ไปแย้งกัน ไปขัดกัน สังขารนี้มันสมควรที่จะปล่อยไปแล้ว ก็ยังจะไปกางไปกั้นมันไว้ ไปร้องขอให้เป็นอยู่อย่างนั้น หาสิ่งของสารพัดอย่างมาแก้มัน มาไถ่ถอนเอาสารพัด ถ้ามันเจ็บมันไข้แล้วไม่อยากไป จึงค้นหาสูตรอะไรต่างๆพากันมาสวด สูตร โพชฌังโค ธัมมจักร อนัตตลักขณสูตร ไม่อยากให้มันเป็นอย่างนั้นพากันกั้นพากันห้าม ก็เลยเป็นพิธีรีตองไป ยึดมั่นถือมั่นยิ่งไปกันใหญ่โดยบทสวดต่างๆ คือสวดให้มันหายโรค เอามาสวดต่ออายุกัน เอามาสวดให้มันยืนยาว สารพัดอย่าง

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head>จุดหมายของการสวดมนต์-ท่องมนต์</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ความเป็นจริงท่านให้สวดเพื่อเห็นชัด แต่เรามาสวดให้หลงรูปัง อนิจจัง เวทนา อนิจจา สัญญา อนิจจา สังขารา อนิจจา วิญญาณัง อนิจจัง...บทที่สวดนั้นไม่ใช่สวดให้เราหลงนะ สวดให้เรารู้เรื่องตามความเป็นจริงของมันอย่างนั้น จะได้ปล่อยจะได้วาง จะได้ไม่เสียใจ จะได้ทอดอาลัย อันนั้นมันจะสั้น แต่เรามาสวดให้มันยาวออก ถ้ามันยาวอยากจะให้มันสั้น บังคับธรรมชาติให้มันเป็นไป หลงกันหมด ที่มาทำกันในศาลานั้นก็มาหลงกันหมดทุกคน คนที่สวดก็หลง คนที่นอนฟังอยู่ก็หลง ใครที่ไหนก็หลงทั้งนั้น ทำอย่างไรจึงจะไม่เป็นทุกข์ คิดอย่างนั้น จะปฏิบัติที่ไหนกัน จึงปฏิบัติให้มันหลงไปแก้ความจริงในเรื่องนั้น ถ้ามันเกิดขึ้นมาแล้ว ท่านผู้รู้ทั้งหลายเห็นว่ามันไม่มีอะไรเกิดมาแล้วต้องมีโรคอย่างนี้ แต่ว่าพระพุทธเจ้าก็ดี อริยสาวกของท่านก็ดี มีเจ็บมีไข้เป็นธรรมดา ท่านก็รักษาฉันยาเป็นธรรมดาเท่านั้นแหละ มันเป็นเรื่องแก้ธาตุ แต่ความเป็นจริงท่านไม่ได้ถือมั่นถือลางถือขลัง ยึดมั่นจนเกินไปหรอก ท่านก็รักษามันด้วยความเห็นชอบ ไม่ใช่รักษาด้วยความหลง มันหายก็หาย ไม่หายก็ไม่หาย เป็นอย่างนั้น

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head>สวดมนต์เพื่อให้ใจพบแสงสว่าง</TD></TR></TBODY></TABLE>
    อันนี้แหละ เขาว่าศาสนาในประเทศไทยเรามันเจริญ แต่ผมว่ามันเสื่อมจนถึงที่สุดมันแล้ว ในศาลามีแต่หูฟังทั้งนั้น หมดศาลาเลยเอียงหูฟัง มันเอียงซ้ายเลยนะ ตลอดผู้ใหญ่ผู้โตก็ทำอย่างนั้นอยู่ ว่ามันเป็นอย่างนั้น มันเลยหลงตามกันหมดทุกอย่างเลย ฉะนั้นถ้าเราไปเห็นอย่างนั้นแล้ว ก็เลยพูดอะไรไม่ออก มันคนละเรื่องกัน แล้วจะให้มันพ้นทุกข์กันที่ไหน ท่านให้สวดเพื่อให้มันแจ้ง เรามาสวดให้มันมืดมันหันหลังใส่กันเลย ผู้หนึ่งเดินไปทางตะวันตก อีกผู้หนึ่งเดินไปทางตะวันออก จะพบกันได้อย่างไร มันไม่ใกล้เลยเรื่องเหล่านี้ ถ้าหากว่าเราได้ภาวนาแล้ว ตามความเป็นจริงมันเป็นอย่างนั้น ก็กำลังหลงกัน ไม่รู้จะว่ากันได้อย่างไร อะไรก็เป็นพิธีรีตองไปหมดทุกอย่าง สวดอยู่ แต่ว่าสวดด้วยความโง่ ไม่ใช่สวดด้วยปัญญา เรียนแต่เรียนด้วยความโง่ ไม่ได้เรียนด้วยปัญญา รู้ก็รู้ด้วยความโง่ ไม่ได้รู้ด้วยปัญญา มันเลยไปก็ไปด้วยความโง่ อยู่ก็อยู่ด้วยความโง่ มันก็เป็นอย่างนั้น ที่สอนกันทุกวันนี้ก็เรียกว่าสอนให้คนโง่ทั้งนั้นแหละ แต่เขาว่าสอนให้คนฉลาด สอนให้คนรู้ แต่หลักความเป็นจริง ฟังๆดูแล้วก็สอนให้คนหลงงมงาย

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head>อย่ายึดมั่นว่าเป็นของเรา</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ความเป็นจริง หลักธรรมะท่านสอนให้พวกเราทั้งหลายปฏิบัติเพื่อเห็นอนัตตา คือเห็นตัวตนนี้ว่ามันเป็นของว่าง ไม่ใช่เป็นของมีตัวตน เป็นของว่างจากตัวตน แต่เราก็มาเรียนกันให้มันเป็นตัวเป็นตนก็เลยไม่อยากจะให้มันทุกข์ ไม่อยากจะให้มันลำบาก อยากจะให้มันสะดวก อยากจะให้มันพ้นทุกข์ ถ้ามีตัวมีตนมันจะพ้นทุกข์เมื่อไร ดูซิอย่างเรามีของชิ้นหนึ่งที่มีราคามาก เมื่อเราได้รับมาเป็นของเราแล้ว เปลี่ยนเสีย จิตใจเปลี่ยนแล้ว ต้องหาที่วางมัน จะเอาไว้ตรงไหนดีหนอ เอาไว้ตรงนั้นขโมยมันจะย่องเอาไปละมั้ง คิดจนเลิกคิดแล้วหาที่ซ่อนของนะ แล้วจิตมันเปลี่ยนเมื่อไร มันเปลี่ยนเมื่อเราได้วัตถุอันนี้เอง ทุกข์แล้วเอาไว้ตรงนี้ก็ไม่ค่อยสบายใจ เอาไว้ตรงนั้นก็ไม่ค่อยสบายใจ เลยวุ่นกันจนหมดแหละ นั่งก็ทุกข์ เดินก็ทุกข์ นอนก็ทุกข์ นี่ทุกข์เกิดขึ้นมาแล้ว มันเกิดเมื่อไร มันเกิดในเมื่อเราเข้าใจว่าของของเรามันมีมาแล้ว ได้มาแล้ว ทุกข์อยู่เดี๋ยวนี้ แต่ก่อนไม่มี มันก็ไม่เป็นทุกข์ ทุกข์ยังไม่เกิด ไม่มีอะไรเกิดขึ้นที่จะจับมัน

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head>พลิกสมมุติให้เป็นวิมุตติ</TD></TR></TBODY></TABLE>
    อัตตานี้ก็เหมือนกัน ถ้าเราเข้าใจว่าตัวของเรา ตนของเรา สภาพสิ่งแวดล้อมนั้นมันก็เป็นของตนไปด้วย ของเราไปด้วย มันก็เลยวุ่นขึ้นไป เพราะอะไร ต้นเหตุคือมันมีตัวมีตน ไม่ได้เพิกสมมุติอันนี้ออกให้เห็นวิมุตติ ตัวตนนี้มันเป็นของสมมุติ ให้เพิกให้รื้อสมมุติอันนี้ออกให้เห็นแก่นของมัน คือวิมุตติ พลิกสมมุติอันนี้กลับให้เป็นวิมุตติ

    อันนี้ถ้าเปรียบกับข้าวก็เรียกว่าข้าวยังไม่ได้ซ้อม ข้าวนั้นกินได้ไหม กินได้ แต่เราไปปฏิบัติมันซิ คือให้เอาไปซ้อมมัน ให้ถอดเปลือกออกไปเสีย มันก็จะเจอข้าวสารอยู่ตรงนั้นแหละ ทีนี้ถ้าเราไม่ได้สีมันออกจากเปลือกของมันก็ไม่เป็นข้าวสาร ความเห็นเช่นนี้ก็เหมือนกันกับสุนัข สุนัขมันนอนอยู่บนกองข้าวเปลือกนั่นแหละ ท้องร้องจ๊อก...จ๊อก..จ๊อก...มันก็มัวแต่นอนอยู่นั่นแหละ จิตมันหวั่นวิตก "จะไปหากินที่ไหนหนอ" แน่ะ ท้องมันหิวมันก็โจนออกจากกองข้าวเปลือก วิ่งไปหากินอาหารเศษๆทั้งหลายเหล่านั้น ทั้งๆที่มันนอนทับอยู่อาหารมันอยู่ตรงนั้น แต่มันไม่รู้จัก เพราะอะไร มันไม่เห็นข้าว สุนัขมันกินข้าวเปลือกไม่ได้ อาหารมันมีอยู่แต่มันกินไม่ได้ ความรู้เรามีอยู่ถ้าเราไม่เอาไปปฏิบัติ เราก็ไม่รู้เรื่องเหมือนกัน โง่ขนาดสุนัขมันนอนอยู่บนกองข้าวเปลือก นอนทับอาหารอยู่ได้ แต่ว่าไม่รู้จักกินอาหารที่มันนอนทับอยู่ เมื่อหิวอาหารก็ต้องโจนจากข้าววิ่งไปหากินที่อื่น อันนี้มันก็น่าสงสารอยู่เหมือนกัน

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head>อย่าทำตัวเหมือนสุนัขนอนอยู่บนกองข้าวเปลือก</TD></TR></TBODY></TABLE>
    เหมือนกันฉันนั้นข้าวสารมีอยู่ อะไรมันปิด เปลือกข้าวมันปิดสุนัขกินไม่ได้ วิมุตติก็มีอยู่ อะไรมันปิดไว้ สมมุติมันปิดไม่ให้เห็นวิมุตติ ให้พุทธบริษัททั้งหลายนั่งทับ ไม่รู้จัก..'ข้าว' ไม่รู้จักการประพฤติปฏิบัติ นั่นจึงไม่เห็นวิมุตติ มันก็จึงติดสมมุติอยู่ตลอดกาลตลอดเวลา เมื่อมันติดอยู่ในสมมุติมันก็เกิดทุกข์ขึ้นมา เกิดภพขึ้นมา เกิดชาติขึ้นมา ชรา พยาธิ มรณะ ถึงวันตายตามเข้ามา ฉะนั้นมันไม่มีอะไรบังอยู่หรอก มันบังอยู่ตรงนี้ เราเรียนธรรมะ ไม่รู้จักธรรมะ ก็เหมือนกับสุนัขนอนอยู่บนข้าวเปลือก ไม่รู้จักข้าว หิวจวนจะตายมันก็ตายทิ้งเฉยๆนั่นแหละ ไม่มีอะไรกิน ข้าวเปลือกมันกินไม่ได้ มันไม่รู้จักหาอาหารของมันเลย นานๆไปไม่มีอะไรกิน มันก็ตายไปบนกองข้าวเปลือกนั่นแหละ บนอาหารนั่นแหละ
     
  16. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head>อย่าคิดว่ารู้มากแล้วจะเห็นพระพุทธเจ้า</TD></TR></TBODY></TABLE>
    มนุษย์เรานี้ก็เหมือนกัน ธรรมที่เราเรียนมา ธรรมะที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ ถึงจะศึกษาธรรมะเท่าไรก็ตามทีเถิด ถ้าไม่ประพฤติปฏิบัติแล้วก็ไม่เห็น ไม่เห็นแล้วก็ไม่รู้ ไม่รู้ก็ไม่รู้จักข้อปฏิบัติ อย่าพึงว่าเราเรียนมาก เรารู้มากแล้วเราจะเห็นธรรมะของพระพุทธเจ้า ก็เหมือนเรามีตา อย่างนี้ก็นึกว่าเราเห็นทุกอย่าง เพราะว่าเรามองไปแล้ว หรือจะนึกว่าเราได้ยินแล้วทุกอย่าง เพราะเรามีหูอยู่แล้ว มันเห็นไม่ถึงที่สุดของมัน มันก็เป็นตานอกไป ท่านไม่จัดว่าเป็นตาใน หูก็เรียกว่าหูนอกไม่ได้เรียกว่าหูใน มิฉะนั้นถ้าท่านพลิกสมมุติเข้าไปเห็นวิมุตติ แล้วก็เป็นของจริง เห็นชัด ถอนทันที มันจึงถอนสมมุติออก ถอนความยึดมั่นถือมั่นออก ถอนทุกสิ่งทุกอย่าง

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head>ผลไม้ (ธรรมะ) มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ</TD></TR></TBODY></TABLE>
    เหมือนกับผลไม้หวานๆใบหนึ่ง ผลไม้นั้นมันหวานอยู่ก็จริงแต่ว่ามันต้องอาศัยการกระทบประสบจึงรู้ว่ามันหวานหรือมันเปรี้ยวจริงผลไม้นั้นถ้าไม่มีอะไรกระทบ มันก็หวานอยู่ตามธรรมชาติ หวานแต่ไม่มีใครรู้จัก เหมือนธรรมะของพระพุทธเจ้าของเรา เป็นสัจจธรรมจริงอยู่ก็ตาม แต่สำหรับคนที่ไม่รู้จริงนั้นก็เป็นของไม่จริง ถึงมันจะดีเลิศประเสริฐสักเท่าไรก็ตามทีเถอะมันไม่มีราคาเฉพาะกับคนที่ไม่รู้เรื่อง

    ฉะนั้นจะไปเอาทุกข์ทำไม ใครในโลกนี้อยากเอาทุกข์ใส่ตัวมีไหม ไม่มีใครทั้งนั้นแหละ ไม่อยากได้ทุกข์ แต่ว่าสร้างเหตุให้ทุกข์เกิดขึ้นมา มันก็เท่ากับเราไปแสวงหาความทุกข์นั่นเอง แต่ใจจริงของเราแสวงหาความสุข ไม่อยากได้ทุกข์ นี่มันก็เป็นของมันอยู่อย่างนี้ทำไมจิตใจของเรามันสร้างเหตุให้ทุกข์เกิดขึ้นมาได้ เรารู้เท่านี้ก็พอแล้วใจเราไม่ชอบทุกข์ แต่เราสร้างความทุกข์ขึ้นมาเป็นตัวของเราทำไม มันก็เห็นง่ายๆก็คือคนที่ไม่รู้จักทุกข์นั่นเอง ไม่รู้จักทุกข์ ไม่รู้จักเหตุเกิดของทุกข์ ไม่รู้ความดับทุกข์ ไม่รู้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ จึงประพฤติอย่างนั้น จึงเห็นอย่างนั้น จะไม่มีความทุกข์ได้อย่างไรก็เพราะคนไปทำอย่างนั้น

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head>เมื่อคิดผิดก็เกิดทุกข์</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ถ้ามันเป็นเช่นนั้น มันก็เป็นมิจฉาทิฏฐิทั้งดุ้นนั้นแหละ แต่ว่าเราไม่เข้าใจว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ อะไรที่เราได้พูด เราได้เห็น เราได้ทำแล้วเป็นทุกข์ อันนั้นเป็นมิจฉาทิฏฐิทั้งนั้น ถ้าไม่เป็นมิจฉาทิฏฐิมันไม่ทุกข์อย่างนั้นหรอก มันไม่ยึดในความทุกข์อันนั้น มันไม่ยึดในความสุขนั้นๆ ไม่ได้ยึดตามอาการทั้งหลายเหล่านั้น มันจะปล่อยวางตามเรื่องของมัน เช่น กระแสน้ำที่มันไหลมา ไม่ต้องกางกั้นมัน ให้มันไหลไปตามสะดวกของมันนั้นแหละ เพราะมันไหลอย่างนั้น กระแสธรรมก็เป็นอย่างนั้น กระแสจิตของเราที่ไม่รู้จักมันก็ไปกางกั้นธรรมะด้วยที่ว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ แล้วไปตะโกน โน้น มิจฉาทิฏฐิอยู่ที่โน้น คนโน้นเป็นมิจฉาทิฏฐิ แต่ตัวเราเองเป็นมิจฉาทิฏฐิ คือทุกข์เกิดขึ้นมาเพราะเราเป็นมิจฉาทิฏฐิ อันนั้นเราไม่รู้เรื่อง อันนี้ก็น่าสังเกตน่าพิจารณาเหมือนกันนะ ถ้าเป็นมิจฉาทิฏฐิเมื่อไรก็เป็นทุกข์เมื่อนั้น ไม่ทุกข์ในเวลาปัจจุบันนั้น ต่อไปมันก็ให้ผลมาเป็นทุกข์

    อันนี้พูดเฉพาะคนเรามันหลงเท่านั้น อะไรมันปิดไว้ อะไรมันบังไว้ สมมุติมันบังวิมุตติให้คนมองเห็นไม่ชัดในธรรมทั้งหลาย ต่างคนก็ต่างศึกษา ต่างคนก็ต่างเล่าเรียน ต่างคนก็ต่างทำ แต่ทำด้วยความไม่รู้จัก ก็เหมือนกันกับคนหลงตะวันนั้นแหละ เดินไปทางตะวันตกเข้าใจว่าเดินไปทางตะวันออก หรือเดินไปทิศเหนือเข้าใจว่าเดินไปทิศใต้ มันหลงขนาดนี้ เราปฏิบัตินี้มันก็เลยเป็นขี้ของการปฏิบัติโดยตรงแล้วมันก็เป็นวิบัติ วิบัตินี้คือมันพลิกไปคนละทาง หมดจากความมุ่งหมายของธรรมะที่ถูกต้อง สภาพอันนี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ เราก็เข้าใจว่าอันนี้ถ้าทำขึ้น ถ้าบ่นขึ้น ถ้าท่องขึ้น ถ้ารู้เรื่องอันนี้ มันจะเป็นเหตุให้ทุกข์ดับ ก็เหมือนกันกับคนที่อยากได้มากๆนั่นแหละ อะไรๆก็หามามากๆ ถ้าเราได้มากแล้วมันก็ดับทุกข์ จะไม่มีทุกข์ ความเข้าใจของคนมันเป็นอย่างนี้ แต่ว่ามันคิดไปคนละทาง เหมือนกันกับคนนี้ไปทิศเหนือ คนนั้นไปทิศใต้ นึกว่าไปทางเดียวกัน

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head>สังขารทั้งหลายเปลี่ยนแปลงไปเสมอ</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ฉะนั้นพุทธบริษัททั้งหลาย มนุษย์เราทั้งหลายจึงจมอยู่ในกองทุกข์ อยู่ในวัฏฏสงสาร ก็เพราะคิดอย่างนี้ ถ้ามีโรคภัยไข้เจ็บขึ้นมาก็นึกแต่จะให้มันหายเท่านั้น อยากจะให้มันหายเดี๋ยวนี้ จะให้มันหายเท่านั้นแหละ ไม่นึกว่าอันนี้มันเป็นสังขาร อันนี้ไม่มีใครรู้จักสังขารมันเปลี่ยน ทนไม่ได้ ฟังไม่ได้ จะต้องให้หายให้หมด แต่ผลสุดท้ายมันก็สู้ไม่ได้ สู้ความจริงไม่ได้ พังหมด อันนี้คือเราไม่ได้คิด คือมันเห็นผิดหนักเข้าไปเรื่อยๆ

    การประพฤติปฏิบัติทุกอย่างเพื่อเห็นธรรมะมันเลิศกว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวง พระพุทธองค์สร้างบารมีตั้งแต่ทานบารมีไปถึงปรมัตถบารมีเพื่ออะไร ก็เพื่อให้รู้จักอันนี้ เพื่อให้เห็นธรรมะ ให้ปฏิบัติธรรมะ แล้วให้รู้ธรรมะ ให้ใจเป็นธรรมะ ให้ปล่อยวางเพื่อจะไม่ให้หนัก อย่าไปยึดมั่นถือมั่นมัน หรือจะพูดง่ายๆอีกอย่างหนึ่งว่า ให้ยึดแต่อย่าให้มั่น นี่ก็ถูกเหมือนกัน คือเราเห็นอะไรก็จับมันขึ้นมาดูเสีย "เออ...อันนี้ก็อันนั้น" แล้วก็วางมันไป เห็นอันนั้นอีกก็ยึดมาอีก แต่อย่ายึดให้มันมั่น เอามาพิจารณา รู้เรื่องแล้วก็ปล่อยวางเท่านั้นแหละ ถ้ายึดไม่วาง แบกไม่หยุดมันก็หนักตลอดเวลาสิ ถ้าเรายึดมาแบกรู้สึกว่ามันหนักก็ปลงมันไป ทิ้งมันเสีย อย่าให้ทุกข์เกิดขึ้นมา ถ้าเป็นเช่นนี้เราก็รู้จักว่าอันนี้เป็นเหตุให้ทุกข์เกิด เมื่อรู้จักเหตุให้ทุกข์เกิดแล้ว ทุกข์มันเกิดไม่ได้ ทุกข์จะเกิด สุขจะเกิด มันอาศัยอัตตาตัวตน อาศัยเรา อาศัยของของเรา อาศัยสมมติอันนี้ ถ้าสิ่งทั้งหลายเหล่านี้เกิดขึ้นมาแล้ววิ่งไปถึงวิมุตติ มันก็เลิกถอน มันถอนสมมุติออก ถอนความสุขออกจากที่นั่น ถอนความทุกข์ออกจากที่นั่น ถอนความยึดมั่นถือมั่นออกจากที่มันยึดนั้น เท่านั้นแหละ

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head>เมื่อของของเราหายไป ทำไมเราต้องเป็นทุกข์</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ก็คล้ายกับว่าของของเราชิ้นหนึ่งมันหลุดมือหายไป เราก็เป็นห่วงก็เป็นทุกข์กับมัน อีกเวลาหนึ่งเราก็พบของนั้นขึ้นมา ความทุกข์ก็หายแว้บไปทีเดียว แม้ยังไม่เห็นวัตถุอันนั้นความทุกข์มันก็หาย อย่างเราเอาของมาวางไว้ตรงนี้ แล้วหลงเสียนึกว่าของเรามันหายไปก็เป็นทุกข์ เมื่อทุกข์เกิดขึ้นแล้วจิตก็พะวงถึงสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น อีกวันหนึ่งอีกเวลาหนึ่ง จิตใจก็วิตกไปถึงของของเราว่า "อ้อ..เอาไว้ตรงนั้นแน่นอนเลย" พอนึกอย่างนั้น รู้ตามความจริงแล้ว ตายังไม่เห็นของเลย สบายใจเลยทีนี้ อันนี้เรียกว่าเห็นทางใน เห็นกับตาใจไม่ใช่เห็นกับตานอก เห็นด้วยตาใจ ถึงตานอกยังไม่เห็น มันก็สบายแล้ว มันก็ถอนทุกข์ออกทันที อย่างนี้ก็เหมือนกัน ผู้ที่บำเพ็ญธรรมะ บรรลุธรรมะ เห็นธรรมะ ประสบอารมณ์เมื่อไรปุ๊บ นั่นก็คือปัญญาเกิดขึ้น ก็แก้ปัญหาได้ทันท่วงทีเท่านั้นแหละ หายไปเลย วาง ปล่อย

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head>จงปฏิบัติให้เห็นธรรมะ</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ฉะนั้นท่านจึงให้พวกเราพบธรรมะ ทีนี้เราพบธรรมะแต่ตัวหนังสือ พบธรรมะกับตำรา อย่างนั้นมันพบแต่เรื่องของธรรมะ ไม่ได้พบธรรมะตามความจริงที่พระบรมครูของเราสอน จะเข้าใจว่าพวกเราทั้งหลายปฏิบัติดีปฏิบัติชอบได้อย่างไร มันไกลกันมาก พระพุทธองค์เป็นโลกวิทู เป็นผู้รู้แจ้งโลก เดี๋ยวนี้เรารู้ไม่แจ้ง รู้เท่าไรก็ยิ่งมืดเข้าไปเท่านั้น รู้เท่าไรก็ยิ่งมืดเข้าไป คือมันรู้มืด ไม่ใช่รู้แจ้ง รู้ไม่ถึงนั่นเองไม่แจ้ง ไม่สว่าง ไม่เบิกบาน คนก็มาคาติดแค่นี้เท่านั้นแหละ แต่ว่ามันไม่ใช่น้อย มันเป็นของมาก

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head>จงละทุกข์ทันทีเมื่อมองเห็นโทษของมัน</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ทุกคนโดยมากก็ต้องการความดี ต้องการความสุข แต่ว่าไม่รู้จักว่าอะไรมันเป็นเหตุให้สุขให้ทุกข์เกิดขึ้นมา อะไรทุกอย่างถ้าเรายังไม่เห็นโทษมัน เราก็ละมันไม่ได้ มันจะชั่วขนาดไหนก็ละมันไม่ได้ถ้าเรายังไม่ได้เห็นโทษอย่างจริงจัง แต่เมื่อเราเห็นโทษอย่างแน่นอนจริงๆนั่นแหละ สิ่งทั้งหลายเหล่านั้นเราถึงจะปล่อยได้วางได้ พอเห็นโทษอย่างแน่นอนจริงๆ พร้อมกระทั่งเห็นประโยชน์ในการกระทำอย่างนั้น ในการประพฤติอย่างนั้น เปลี่ยนขึ้นมาทันทีเลย อันนี้คนเราประพฤติปฏิบัติอยู่ทำไมมันยังไปไม่ได้ ทำไมมันถึงวางไม่ได้ คือมันยังไม่เห็นโทษอย่างแน่ชัด คือยังไม่รู้แจ้งนี่แหละ รู้ไม่ถึงหรือรู้มืด มันจึงละไม่ได้ ถ้ารู้แจ้งอย่างอรหันตสาวกหรือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา ก็เลิกกันเท่านั้นแหละ แก้ปัญหาหลุดไปทีเดียวแหละ ไม่เป็นของยาก ไม่เป็นของลำบาก
    มันก็เหมือนกันกับเรานั่นแหละ หูเราได้ยินเสียงก็ให้มันทำงานตามหน้าที่ของมันสิ ตาทำงานทางรูปก็ให้มันทำสิ จมูกทำงานทางกลิ่นก็ให้มันทำสิ ร่างกายทำงานถูกต้องโผฏฐัพพะก็ให้มันทำงานตามเรื่องของมันสิ ถ้าแบ่งให้มันทำงานตามหน้าที่ของมันแล้ว มันจะมีอะไรมาแย้งกัน มันไม่ได้ขัดขวางกันเลย อันนี้ก็เหมือนกัน สิ่งเหล่านี้มันก็เป็นสมมุติเราก็ให้มันสิ สิ่งเหล่านั้นก็เป็นวิมุตติ เราก็แบ่งมันสิ เราเป็นผู้รู้เฉยๆ เท่านั้นแหละ รู้ไม่ให้มันขัดข้อง รู้แล้วก็ปล่อย วางมันตามธรรมดา เป็นของมันอยู่อย่างนั้น ของทั้งหลายเหล่านี้เป็นอยู่อย่างนั้น ที่เรายึดมั่นว่าอันนี้ของเรา ใครเป็นคนได้ พ่อเราได้ไหม แม่เราได้ไหมญาติของเราได้ไหม ใครได้ไหม ไม่มีใครได้ พระพุทธองค์จึงบอกให้วางมันเสีย ปล่อยมันเสีย รู้มันเสีย รู้มันโดยที่ว่ายึดแต่อย่าให้มั่น ใช้มันไปในทางที่เป็นประโยชน์ อย่าใช้มันในทางที่เป็นโทษ คือความยึดมั่นถือมั่นที่ทำให้เราเป็นทุกข์

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head>รู้ธรรมเพื่อพ้นทุกข์</TD></TR></TBODY></TABLE>
    รู้ธรรมะมันต้องรู้อย่างนี้ คือรู้ในแง่ที่มันพ้นทุกข์ ความรู้นี้เป็นสิ่งสำคัญ รู้เครื่องยนต์กลไก รู้อะไรสารพัดอย่างก็ดีอยู่ แต่ว่ามันไม่เลิศ ธรรมะก็ต้องรู้อย่างนี้เห็นอย่างนี้ ไม่ต้องรู้อะไรมากหรอก ให้รู้เท่านี้ก็พอ สำหรับผู้ประพฤติปฏิบัติรู้แล้วก็วาง ไม่ใช่ว่าตายแล้วจึงจะไม่มีทุกข์นะ มันไม่มีทุกข์ในเมื่อยังมีชีวิตอยู่ เพราะมันรู้จักแก้ปัญหามันรู้จักสมมุติวิมุตตินี้เมื่อเรามีชีวิตอยู่ เมื่อเราประพฤติปฏิบัตินี่เองไม่ใช่เอาที่อื่นหรอก ดังนั้นท่านอย่าไปยึดมั่นถือมั่นอะไรมาก ยึดอย่าให้มันมั่น บางทีจะคิดว่า "ท่านอาจารย์ทำไมจึงพูดอย่างนี้ สอนอย่างนี้" จะไม่ให้สอนอย่างไร ไม่ให้พูดอย่างไร เพราะว่ามันแน่นอนอย่างนั้น มันจริงอย่างนั้น จริงก็อย่าไปยึดมั่นมันซิ ถ้าไปยึดมั่นมันก็เป็นไม่จริงเท่านั้นแหละ เหมือนสุนัขไปจับขามันดูซิ จับมันไม่วางเดี๋ยวมันก็วุ่นมากัด ลองๆดูซิสัตว์ทั้งปวงก็เหมือนกัน เช่น งูไปยึดหางมันซิ ยึดไม่ปล่อยวาง เดี๋ยวมันก็กัดเราเท่านั้นแหละ

    สมมุตินี้ก็เหมือนกัน ให้ทำตามสมมุติ สมมุตินี้เป็นของใช้เพื่อให้มันสะดวก เมื่อเรามีชีวิตอยู่นี้ไม่ใช่เรื่องจะต้องยึดมั่นถือมั่นจนมันเกิดทุกข์ทรมาน แล้วก็แล้วไปเท่านั้น อะไรที่เราเข้าใจว่าถูก แล้วก็ยึดมั่นถือมั่นไม่แบ่งใคร นั่นแหละคือมันเห็นผิดแล้ว เป็นมิจฉาทิฏฐิแล้ว เมื่อทุกข์เกิดขึ้นมาปุ๊บ มันเกิดมาจากอะไร เหตุมันก็คือมิจฉาทิฏฐิ มันจึงให้ผลเป็นทุกข์ ถ้ามันถูก ผลที่จะเกิดขึ้นมาจะไม่เป็นทุกข์ ท่านไม่ให้แบก ไม่ให้ยึด ไม่ให้มั่น ถูกก็เป็นของสมมุติ แล้วก็แล้วไป ผิดก็เป็นของสมมุติ แล้วก็แล้วไปเท่านั้น ถ้าเราเห็นว่าถูกแล้วคนอื่นมาแย้งก็อย่าไปถือมัน ปล่อยไป ไม่ได้เสียหายอะไร มันไปตามเรื่องตามเหตุ ตามปัจจัยของมันอย่างเก่า พอรู้แล้วก็ปล่อยมันไปตรงนั้นเลย

    แต่โดยมากมันไม่ใช่อย่างนั้น คนเรามันไม่ค่อยยอมกันอย่างนั้นผู้ปฏิบัติเรายังไม่รู้ตัว ยังไม่รู้จิตใจของตน พอพูดอะไรจนคนอื่นว่ามันโง่เต็มที่แล้ว ก็ยังนึกว่ามันฉลาดอยู่นั่นแหละ พูดสิ่งที่มันโง่จนคนอื่นฟังไม่ได้ แต่ก็นึกว่าเราฉลาดกว่าคนอื่น คนอื่นทนฟังไม่ได้ก็ยังว่าเราดีเราถูกอยู่นั่นแหละ มันขายความโง่ของตัวเองโดยไม่รู้เรื่อง

    <TABLE><TBODY><TR><TD class=just>ปราชญ์ทั้งหลายท่านบอกว่า คำพูดอันใดวาจาอันใดที่ปราศจากอนิจจังแล้ว คำพูดนั้นไม่ใช่คำพูดของนักปราชญ์ เป็นคำพูดที่โง่ เป็นคำพูดที่หลง เป็นคำพูดที่ไม่รู้จักว่าทุกข์จะเกิดตรงนั้น พูดง่ายๆให้เห็นเช่นพรุ่งนี้เราตั้งใจว่าจะไปกรุงเทพฯ แล้วมีคนมาถามว่า

    "พรุ่งนี้ท่านจะไปกรุงเทพฯ หรือเปล่า"

    "คิดว่าจะไปกรุงเทพฯ ถ้าไม่มีอุปสรรคขัดข้องก็คงจะไป"

    นี่เรียกว่าพูดอิงธรรมะ อิงอนิจจัง อิงความจริง อิงความไม่เที่ยง แปรเปลี่ยนตามปัจจัยของมัน ไม่ใช่ว่า "พรุ่งนี้ฉันจะไปแน่"

    "ถ้าไม่ไปจริงจะให้ทำอย่างไร จะยอมให้ฆ่าให้แกงไหม" อะไรอย่างนี้ พูดกันบ้าๆ บอๆ
    มันยังเหลืออยู่มากเหมือนกัน การปฏิบัติธรรมะมันลึกซึ้งไปจนเรามองไม่เห็น ที่เรานึกว่าเราพูดถูก แต่มันจะผิดไปทุกคำ ผิดจากหลักความจริงทุกคำ แต่ก็นึกว่าเราพูดถูกไปทุกคำ พูดง่ายๆ เราพูดอะไรบ้าง ทำอะไรบ้าง อันที่มันเป็นเหตุให้ทุกข์เกิด นั่นแหละเรียกว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ เรียกว่าคนหลง คนโง่


    </TD><TD align=right width=155>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head>อย่าติดลาภ ติดยศ ติดสรรเสริญ</TD></TR></TBODY></TABLE>
    โดยมากนักปฏิบัติเราไม่ค่อยจะทบทวนอย่างนี้ เห็นว่าเราดีก็ดีเรื่อยๆไป เช่นเราได้อันหนึ่งขึ้นมา จะเป็นลาภก็ดี ยศก็ดี สรรเสริญก็ดี ก็นึกว่ามันดี ดีตลอดกาลตลอดเวลา แล้วก็ถือเนื้อถือตัวขึ้นมาไม่รู้จักว่าเรานี้คือใคร ที่มันดี มันเกิดจากอะไร เดินไปพบ นาย ก.นาย ข. เหมือนกันหรือไม่ อย่างนี้ พระพุทธองค์ท่านให้วางเป็นปกติอย่างนี้ ถ้าเราไม่สับ เราไม่ขบ ไม่เคี้ยว ไม่ปฏิบัติค้นคว้าอันนี้ ก็เรียกว่ายังจมอยู่ จมอยู่ในใจของเรานั่นแหละ เรียกว่าติดลาภบ้างติดยศบ้าง ติดสรรเสริญบ้าง ก็เปลี่ยนเป็นคนอื่น เพราะสำคัญว่าตัวเรานี้ดีขึ้นแล้ว สำคัญว่าเราเลิศขึ้นแล้ว สำคัญว่าเราเป็นโน่นเป็นนี่แล้วก็เกิดอะไรต่ออะไรขึ้นมาวุ่นวาย

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head>ลักษณะเสมอกันของมนุษย์ทุกคน</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ความเป็นจริงมันไม่เป็นอะไรหรอกคนเรา เป็นก็เป็นด้วยสมมุติถ้าถอนสมมุติไปเป็นวิมุตติ มันก็ไม่เป็นอะไร เป็นสามัญลักษณะ มีลักษณะเสมอกัน ความเกิดขึ้นเบื้องต้น มีความแปรไปเป็นท่ามกลางแล้วก็ดับไปที่สุด มันก็แค่นั้น เห็นสภาพมันเป็นอย่างนั้นแล้ว มันก็ไม่มีอะไรจะเกิดขึ้นมา ถ้าเราเข้าใจเช่นนั้นแล้ว มันก็สบาย มันก็สงบ ที่มันไม่สงบก็เหมือนกับพระปัญจวัคคีย์ประพฤติตามที่ครูบาอาจารย์ท่านสอน เมื่อท่านพลิกไปอย่างนั้นก็ไม่รู้ว่าท่านคิดอะไร ท่านทำอะไรก็เลยหาว่าท่านคลายความเพียรเวียนมาหาความมักมาก ถ้าตัวเราเป็นเช่นนั้น ก็คงจะคิดอย่างนั้น คงจะเป็นอย่างนั้นเหมือนกัน ไม่มีทางแก้ไข แต่ความเป็นจริงแล้วพระพุทธเจ้าท่านเดินขั้นสูงขึ้นไปอีกจากพวกเรา เรายังถือตัวอย่างเก่า คิดไปในทางต่ำ ก็นึกว่าเราคิดอยู่ในทางสูง เห็นพระพุทธเจ้าก็คิดว่า ท่านคลายความเพียรเวียนมาหาความมักมากแล้ว เหมือนกับปัญจวัคคีย์ ปฏิบัติกี่พรรษาคิดดูซิ ขนาดนั้นก็ยังหลงอยู่ ยังไม่ถนัด

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head>อย่ายึดมั่นถือมั่นแม้กระทั่งสิ่งที่ถูก</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ท่านจึงให้ทำงานและให้ตรวจผลงานของตน คือที่มันไม่ยอมเรื่องที่มันไม่ยอม เรื่องที่มันยอม มันก็สลายตัวไปเท่านั้นแหละ ไม่มีอะไร ถ้ามันไม่ยอมมันไม่สลาย มันตั้งตัวขึ้นมาเป็นก้อน เป็นตัวอุปาทาน มันไม่มีการแบ่งเบา นักบวชนักพรตเราโดยมากก็ชอบเป็นอย่างนั้น ถ้าติดอยู่ในแง่ไหนก็ดึงอยู่แง่นั้นแหละ ไม่เปลี่ยนแปลงไม่พินิจพิจารณาเห็นว่าเราถูกแล้วก็เห็นว่าเราไม่ผิด แต่ความเป็นจริงความผิดมันฝังอยู่ในความถูก แต่เราไม่รู้จัก เป็นอย่างไรล่ะ "อันนี้แหละถูกแล้ว" แต่คนอื่นว่ามันไม่ถูก ก็ไม่ยอม เถียงกัน นี่อะไรทิฏฐิมานะ ทิฏฐิคือความเห็น มานะคือความยึดไว้ถือไว้ ถ้าเรายึดในสิ่งที่ถูกไม่ปล่อยให้ใครเลยก็เรียกว่ามันผิด ถือถูกนั่นแหละ ยึดมั่นถือมั่นในความถูก มันเป็นขึ้นเดี๋ยวนี้แหละ ไม่เป็นการปล่อยวาง

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head>แก้ความยึดมั่นถือมั่นได้อย่างไร </TD></TR></TBODY></TABLE>
    สิ่งอันนี้เป็นเหตุที่ทำให้คนเราไม่ค่อยสบาย นอกจากผู้ประพฤติปฏิบัติที่เห็นว่า แง่นี้ปุ่มนี้เป็นปุ่มที่สำคัญ ท่านจะจดไว้ พอพูดไปถึงปุ่มนั้นปั๊บมันจะวิ่งขึ้นมาทันทีเลย ความยึดมั่นถือมั่นวิ่งขึ้นมาอาจจะเป็นอยู่นาน บางทีวันหนึ่ง สองวัน สามเดือนสี่เดือน ถึงปีก็ได้ ขนาดช้านะ แต่ขนาดเร็วความปล่อยวางมันจะวิ่งเข้ามาสกัดหน้าเลย คือพอความยึดเกิดขึ้นปุ๊บก็จะมีการปล่อย บังคับให้วางในเวลานั้นเลย จะต้องเห็นสองอย่างนี้พร้อมกันประสานงานกัน ตัวยึดก็มี ผู้ที่ห้ามความยึดนั้นก็มี เราดูสองอย่างนี้เท่านั้นแหละ ไปแก้ปัญหาอันนี้ บางทีมันก็ยึดไปนานก็ปล่อย พิจารณาเรื่อยไป ทำเรื่อยไป มันก็ค่อยบรรเทาไปน้อยไป ความเห็นถูกมันก็เพิ่มเข้ามา ความเห็นผิดมันก็หายไป ความยึดมั่นถือมั่นมันน้อยลง ความไม่ยึดมั่นถือมั่นก็เกิดขึ้นมา มันเป็นเรื่องธรรมดา ทุกคนเป็นอย่างนั้น

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=head>จงพิจารณาใจของตนเอง เพื่อแก้ปัญหาให้สำเร็จ</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ฉะนั้นจึงให้พิจารณา แก้ปัญหาได้ในปัจจุบัน บางทีตัวนั้นมันวิ่งขึ้นมา ตัวนี้มันก็วิ่งตะครุบเลย หายไปเลย อันนี้เราดูภายในใจของเราหรอก ดูภายในใจของเรา แก้ปัญหาเฉพาะภายในใจของเราเองถ้าเราแก้มันไม่ได้ตรงนี้ เป็นต้น ปุ่มนี้จับไว้ เมื่อมันเกิดอีกที่ไหนก็พิจารณาตรงนั้น พระพุทธองค์ก็ให้เพ่งตรงนี้ให้มากที่สุด

    หลวงพ่อชา สุภัทโท
    http://www.isangate.com/dhamma/looser.html
     
  17. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    ทำให้มันจบ
    "ฉันนี้มันเป็นเพราะอะไรก็ไม่รู้ บางทีก็สบายๆ บางทีก็เป็นทุกข์ บางทีก็สุข บางทีก็ไม่สบาย ไม่รู้ว่าเป็นอย่างไร?"

    วันนี้เป็นวันธรรมสวนะ หรือที่พวกเราพุทธบริษัททั้งหลายเรียกกันว่าเป็นวันพระ เป็นวันชุมนุมผู้ที่มีศรัทธาและความเลื่อมใสมาประพฤติปฏิบัติธรรมะกัน ฉะนั้นต่อไปนี้จงพากันตั้งใจฟัง การฟังธรรมก็ให้รู้จักความหมายถ้าฟังธรรมไม่รู้จักความหมาย ก็เรียกว่าเป็นการเปล่าประโยชน์ ในการฟังธรรมของพวกเรา ธรรมะที่ฟังเป็นทางมรรคที่ทำให้เป็นสัมมาทิฏฐิพ้นจากมิจฉาทิฏฐิ ไม่มีความเห็นผิด พระบรมครูของเรานั้นท่านให้เดินทางมรรค คือศีล สมาธิ ปัญญา

    เรามาวัดในวันพระไม่ใช่ว่าเราต้องการอย่างอื่น เรามาวัดเพราะต้องการธรรมะ เพื่อนำไปประพฤติปฏิบัติ เพราะการมาฟังธรรมะนี้ประโยชน์มากตั้งแต่ต้นจนอวสาน เป็นเครื่องรู้จักทาง และไม่ใช่ทางตามสติกำลังของพวกเรา พระพุทธเจ้าทุกองค์และพระสาวกทุกองค์ ที่ดำเนินตามกันมาก็อาศัยการได้ฟัง เรามาฟังธรรมะเพราะว่าเรายังไม่รู้จัก เราจะรู้จักเพราะการมาฟังธรรมให้รู้ การแสดงธรรมก็คนอื่นนั่นแหละแสดงให้ฟัง ทีนี้มันยังเป็นปัญหาอยู่ว่า ท่านจะแสดงผิดหรือถูกนั้น พวกเราก็ยังไม่รู้จัก เพราะว่าเรายังไม่รู้ ยังไม่รู้ว่าผิดหรือถูกเมื่อเราฟังเราก็ยังไม่รู้ว่าผิดหรือถูก มีผู้อธิบายธรรมะให้เราฟังเราก็ฟังไป แต่ไม่รู้ว่ามันผิดหรือมันถูก เพราะเรายังไม่รู้จัก อันนี้มันก็เป็นปัญหาที่สับสนเรียนแม้กระทั่งตัวของเราเอง ถ้าหากว่าเรารู้แล้วคนอื่นจะพูดผิดหรือถูกเราก็รู้จัก แต่ในเมื่อเรายังไม่รู้ คนอื่นพูดผิดหรือถูกเราก็ยังไม่รู้จักแน่นอน เป็นแต่เพียงสำคัญว่าเห็นว่าจะถูกเท่านั้น เห็นแต่เป็นอย่างนั้นเท่านั้น มันจึงเป็นปัญหาอยู่อย่างนี้เรื่อยไป

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=just>ดังนั้นพระภิกษุสามเณร อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย ผู้แสวงหาโมกขธรรมความพ้นทุกข์ จึงเกิดความสงสัยลังเลอยู่เรื่อยไป สิ่งไหนก็ยังไม่แน่นอน อะไรก็ยังไม่แน่นอน เพราะอะไรถึงไม่รู้แน่นอน ได้ข่าวว่าอาจารย์องค์นั้นชื่อเสียงดีก็ไป ไปฟัง เดี๋ยวก็ได้ข่าวว่าอาจารย์องค์นี้ดีขึ้นอีกก็ไปอีก ไปทุกอาจารย์นั่นแหละ แต่ท่านก็มีความเห็นต่างกันไปคนละอย่าง คนละทาง เราเป็นผู้ฟังก็ลังเลสงสัยว่าอะไรผิดอะไรถูกกันแน่ อย่างนี้เราก็ยังผิดอยู่คือยังติดสินใจไม่ได้ ดังนั้นมันจึงเป็นปัญหาอยู่ตลอดกาลอยู่ตลอดเวลา เมื่อเรายังไม่รู้ถึงที่สุดเมื่อไรเราก็จะต้องเป็นอยู่อย่างนี้ ปัญหามีอยู่ว่า การฟังธรรมนั้นเราควรจะทำอย่างไร จึงจะเป็นไปในทางที่ดี


    </TD><TD vAlign=top align=right width=240>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE>
    เราจึงควรพูดกันให้ดี ฟังให้ดี แล้วก็คิดให้ดี ฟังไม่ดีคิดไม่ดีมันก็ยิ่งไม่เกิดประโยชน์ ฟังดีคิดดีมันก็เป็นประโยชน์ทั้งสองทาง เป็นปัญหาสับสนอยู่อย่างนี้ พระอริยเจ้าทุกๆ องค์จะเป็นผู้มีปัญญามาก หรือน้อยก็ตามก็ได้ตรัสรู้ทั้งนั้น แต่มีปัญญาไม่เท่ากัน เพราะคนเราจะมีปัญญาไม่เหมือนกัน ฟังธรรมอันเดียวกัน กัณฑ์เดียวกัน อาจารย์เดียวกัน แต่ก็ยังไม่รู้เหมือนกันอันนี้ก็เพราะเครื่องรับของเรามันต่างกัน ดังนั้นการฟังธรรมเราควรเก็บหมด ท่านอธิบายมาก็เก็บหมด เก็บไว้แล้วก็อย่าเพิ่งไปเข้าใจว่ามันถูกหมด อย่าเพิ่งไปเข้าใจว่ามันผิดหมด เพราะมันเป็นความคิดหรือความรู้สึกที่มันเกิดขึ้นในใจของเราเท่านั้น หมายความว่าความรู้ตามความเป็นจริงนั้นยังไม่มีในเรา เราถึงเป็นอยู่อย่างนั้น ดังนั้นการตรัสรู้ธรรมะมันถึงเป็นการเนิ่นช้า เพราะเราไม่รู้แน่นอน การไม่รู้แน่นอนนี้เป็นปัญหาที่สับสนเหลือเกิน ทีนี้ถ้าหากว่ามันเป็นปัญหาที่สับสนอย่างนี้เราก็ตกลงใจยังไม่ได้ในเรื่องของความเป็นจริง ดังนั้นเราจึงควรนำเอาอันนี้ไปพิจารณา เพื่อการภาวนานั่นเอง

    เมื่อเราฟังไปนั้นก็เป็นเพียงสักแต่ว่าฟัง เราฟังเราก็พอรู้ แต่รู้ยังไม่ถึง มีทั้งการฟัง มีทั้งการรู้ แต่รู้ยังไม่ถึง มันก็ยังมีความสงสัยลังเลอยู่ตลอดเวลา การปฏิบัติของพวกเราทั้งหลาย จึงมีแต่ความลังเลสงสัยอยู่ตลอดกาล เมื่อยังมีการลังเลสงสัยอยู่ มันก็ยังไม่เห็นโทษในสิ่งที่ควรละ เพียงศีลสิบเท่านั้นก็ยังรับไม่ได้ มันก็ยังไม่เป็นประโยชน์การปฏิบัติของพวกเรานั้น ไม่ค่อยจะตั้งใจปฏิบัติให้เห็นตามความเป็นจริงกัน เปรียบเหมือนกับชาวประมงคนหนึ่ง ไปสุ่มปลาในหนองในคลองสุ่มไปๆ ก็มีอยู่ครั้งหนึ่งที่มีความรู้สึกว่ามีสัตว์ตัวหนึ่งเข้าไปติดอยู่ในสุ่มนั้น มันสัมผัสด้วยกายของเรา ทำให้เราพอจะรู้ได้ แต่เมื่อสัมผัสถึงใจเราก็ยังไม่รู้จัก เพียงแต่รู้ว่ามีตัวอะไรอย่างหนึ่งมาปรากฏอยู่ในสุ่มของเขา เขาก็กดสุ่มลงไปให้แน่น เพราะกลัวว่าถ้าเป็นปลาแล้วมันจะหนีออกไปเสีย กดลงไปให้แน่น แล้วก็เอามือล้วงลงไปก็ปะทะกับสัตว์ที่อยู่ในสุ่มนั้น คลำๆดูก็รู้สึกว่าตัวมันยาวๆ จะว่าเป็นงูก็ไม่ใช่ จะว่าเป็นปลาไหลก็ไม่ใช่ สงสัยอยู่อย่างนี้ คนสุ่มปลาคนนั้นก็ไม่สบายใจไม่รู้ว่าจะทิ้งหรือจะเอามันดี อย่างนี้ก็เป็น "วิจิกิจฉา" ยังลังเลสงสัยอยู่อย่างนั้น ทำให้ชาวประมงนั้นลำบากใจ จะทิ้งหรือจะเอาก็ไม่แน่นอน อันนี้เรียก "วิจิกิจฉา" ถ้าจะปล่อยไปก็กลัวว่ามันจะเป็นปลาไหล หรือว่าจะกำเอามันขึ้นมาก็กลัวว่าจะเป็นงู กลัวมันจะกัดเอา มีความลังเลสงสัยอยู่ จึงเรียกว่าเป็นปัญหาสับสน ในที่สุดก็เลยล้วงลงไปจับเอามันชูขึ้นมาอย่างระมัดระวัง พอมันพ้นน้ำขึ้นมาคอลายๆ เป็นแฉกๆ ก็เห็นชัด รู้ชัดเจนว่ามันเป็นงูเท่านั้นแหละ ก็วางปุ๊บลงโดยไม่รู้ตัวเลย ตัวเรานี้มันก็เตือนตัวเอง มันก็รู้สึกของมันเอง มันแก้เองวางเอง

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=170>[​IMG] </TD><TD class=just>ทางมรรคก็ไม่ต้องคิดเช่นนั้น ง่ายเหลือเกิน เพราะเราเข้าใจ เราคิดได้ว่าถ้ามันกัดแล้วเราจะตาย มันกัดแล้วเราจะเป็นทุกข์ เห็นชัดเจนแล้วเช่นนี้มันก็วางได้ เพราะมันง่าย อันนี้มันทำกันได้ง่าย เราเห็นตัวตนทั้งหลายซึ่งเป็นที่สุดนั้น ถ้าหากว่าเราเห็นขนาดนั้น เห็นโทษมันอย่างนั้น เห็นอันตรายมันอย่างนั้น เราก็ไม่จำเป็นที่จะต้องให้ใครมาพูด หรือมาบอกให้เว้น หรือจ้ำจี้จ้ำไชตัวของเราให้ปล่อยวางความชั่วอันนั้น มันจะปล่อยของมันเอง มันจะรู้มันเอง มันจะเป็นของมันเอง นี่มันเป็นลักษณะอย่างนี้ ถ้าใครเห็นโทษในการกระทำผิดทางกายและทางวาจา หรือทุกอย่างนั้น มันก็ง่ายที่สุด ไม่ใช่ว่ามันยาก จะได้เลิกพูดว่า "แหม! การปฏิบัตินี้มันยากลำบาก" มันยากก็เพราะว่าไม่รู้ตามความเป็นจริง เพราะไม่เห็นตามความเป็นจริง เพราะไม่เห็นโทษในสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นตามความเป็นจริง มันถึงลำบาก เกิดปัญหาสับสนในการประพฤติปฏิบัติของพวกเราทั้งหลาย ถ้าเราเห็นชัดเจนเข้าไปจริงๆอย่างชาวประมงคนนั้น จับตัวงูชูพ้นน้ำขึ้นมา เห็นว่าเป็นงูจริงๆ แล้วก็วาง โดยที่ไม่ต้องมีใครไปบังคับบัญชามัน ตัวเราเมื่อเกิดความรู้สึก มันก็ปล่อยวางของมันเองอย่างนั้น นี่เรียกว่ามันง่ายดี คือมันเป็นอย่างนี้ถ้าเราเห็นชัดแจ้ง มันง่ายที่สุด มันไม่ยาก ถ้าเราจะทิ้งขณะที่เรายังไม่ </TD></TR></TBODY></TABLE>เห็นชัด มันก็ลำบาก มันจึงเป็นวิจิกิจฉา มันลังเลสงสัยอยู่อย่างนั้นตลอดกาลตลอดเวลา

    การฟังธรรมะให้รู้จักตามความเป็นจริงนั้น ไม่ใช่ว่าเราจะรู้เฉพาะที่ท่านเทศน์ให้ฟังอย่างนี้ รู้ในเวลานี้เป็นการรู้ในสัญญาเท่านั้นท่านพูดไป เราก็ฟังไปพิจารณาไป พิจารณาไปเท่านั้นถ้าเราเชื่อ เชื่อเพราะอะไร? เชื่อเราก็เชื่อผู้อื่น ความเชื่อผู้อื่นนั้น พระพุทธเจ้าท่านไม่สรรเสริญ พระพุทธองค์นั้นสรรเสริญผู้ที่รู้ด้วยตนเอง เป็นสิกขีภูโตเอาตนเองเป็นพยานของตน ฟังธรรมจากพระองค์อื่น ฟังธรรมจากผู้อื่นแล้วรู้ รู้แล้วน้อมเข้ามาเป็นโอปนยิโก มาพิจารณาให้เกิดความรู้เกิดความฉลาดรู้ตามความเป็นจริง เห็นว่ามันเป็นโทษจริงๆ อย่างแน่นอนโดยไม่ต้องสงสัย เหมือนชาวประมงคนนั้นรู้จักอสรพิษอย่างแท้จริง อันนี้มันก็ทำให้ปล่อยวางความเชื่อทุกอย่าง ไม่ต้องสงสัยลังเลแล้ว เรียกว่าพ้นวิจิกิจฉา ตัดกระแสของธรรมะอย่างแท้จริง ไม่มีใครจะต้องมาบังคับ ไม่มีใครจะต้องมาจ้ำจี้จ้ำไช ไม่มีใครจะต้องพูดให้ฟังร่ำรี้ร้ำไร คือเข้าถึงธรรมะแล้ว ตัวธรรมะก็เข้าไปถึงใจ ใจก็เข้าไปรู้ตัวธรรมะคือรู้อารมณ์ เมื่อธรรมะเข้าไปถึงใจ ใจนั้นก็รู้จักธรรมะ ธรรมะนั้นก็อยู่ในใจ เมื่อดูใจก็เห็นธรรมะ เมื่อดูธรรมะก็เห็นใจ ทั้งใจ ทั้งธรรมะ เมื่อเราพิจารณาใจเราเมื่อไร เราจะเห็นธรรมะเมื่อนั้น เราพิจารณาธรรมะเมื่อไรเราก็เห็นใจเมื่อนั้น อันนี้เป็นการรู้อย่างแท้จริงที่เกิดจากการประพฤติปฏิบัติด้วยตนเอง

    เมื่อความรู้สึกชนิดปรากฏขึ้นกับเราแล้ว จะนั่งอยู่มันก็พูดอยู่พูดอยู่ รู้อยู่ คิดอยู่ ปฏิบัติอยู่ มีสติอยู่ มีความสังวรสำรวมอยู่ทุกคนจะเป็นอย่างนี้ เมื่อฉลาดแล้วจะไปอยู่ที่ไหนก็ตาม ถ้าเอาตัวของตัวเองเป็นพยานแล้ว จะไปทำความชั่วที่ไหนก็ไม่ต้องมีใครบอกหรอกตัวเองก็ไม่กล้าทำด้วย เพราะเข้าใจแล้วว่า ใครทำดีได้ดี ใครทำชั่วได้ชั่ว จะทำดีทำชั่วก็มีผู้ตามรู้ จะไปทำอยู่ที่ไหนแม้จะไม่มีใครรู้ แต่เราก็ต้องรู้ จะไปทำอยู่ในน้ำก็มีคนรู้ ไปทำอยู่บนบกก็มีคนรู้ หรือใครจะไปทำอยู่บนอากาศก็จะต้องมีคนเห็นอยู่รู้อยู่อย่างนั้น อันนั้นเป็นเพราะอะไร? เพราะพระธรรมมันเกิดจากใจ เราปฏิบัติธรรมะทำความเพียรอยู่อย่างนั้นโดยไม่มีการประมาท เป็นผู้สังวร เป็นผู้สำรวม เป็นผู้ระวังอยู่ อันนี้เรียกว่าเป็นผู้ปฏิบัติจนเป็นวงกลมติดต่อกันอยู่

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=just vAlign=top>เมื่อบุคคลยังไม่รู้จักตัวเอง ธรรมะไม่เข้าถึงใจ ใจไม่เข้าถึงธรรมะ จะทำความชั่วอะไรก็กลัว กลัวคนอื่นจะเห็น กลัวพ่อแม่จะเห็น กลัวครูบาอาจารย์จะเห็น กลัวคนอื่นจะรู้ คือคนยังไม่เห็นธรรมก็ต้องเป็นอย่างนั้น เมื่อไปในสถานที่ใดๆ ที่ว่างจากผู้คน ว่างจากพ่อแม่ว่างจากครูบาอาจารย์ เห็นว่าไม่มีเพื่อนมนุษย์ทั้งหลาย ไม่มีใครอยู่ในที่นั้น ก็พยายามทำความชั่วอยู่ที่ตรงนั้น ด้วยความประมาท เพราะความโง่เขลาเบาปัญญานั่นเอง การกระทำเช่นนั้นเขาก็คิดว่าเขาทำถูกแล้ว พ้นภัยแล้ว เพราะว่าไม่มีใครเห็นเขา ไม่มีใครรู้ว่าเขาเป็นเขาอย่างนี้ ก็กระทำอย่างสนิทใจเลย แต่คนคนนั้นในทางธรรมถือว่าเป็นคนโง่ที่สุด คือเป็นคนดูถูกตัวเองที่สุด


    </TD><TD vAlign=top align=right width=234>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE>ความเป็นจริงนั้นเมื่อจิตมันเป็นธรรมะ เมื่อธรรมะเป็นจิต มันจะกลมกลืนเป็นอันเดียวกันเลย จะไปทำผิดอะไรที่ตรงไหนเป็นต้น ก็ต้องมีคนเห็น คนอื่นไม่เห็นเราก็เห็นคนอื่นไม่รู้เราก็รู้ ดังนั้นถึงจะไปอยู่ตรงไหนก็เป็นอยู่อย่างนั้น จึงเป็นธรรมะ ไม่กล้าทำ เพราะใจมันเป็นธรรมะแล้ว พระอริยสาวกทุกๆ องค์เมื่อใจเป็นธรรมะแล้วก็ต้องเป็นอย่างนั้นทุกๆองค์ ที่ลับไม่มี ที่แจ้งไม่มี อะไรๆ มันก็ไม่มี รู้แต่ว่าท่านประพฤติปฏิบัติถึงที่แล้ว

    นี่คือผลที่ได้รับจากการไปฟังธรรมจากคนอื่น แล้วนำมาประพฤติปฏิบัติ น้อมเข้ามาในใจของเราจนเห็นตามความจริงอย่างนั้นคำสอนของผู้อื่นได้เข้าถึงจิตใจของเรา ใจเราจะรู้ธรรมะ ธรรมะก็จะถึงใจเรา ถ้าใครมาเห็นถนัดชัดเจนอย่างนี้ ก็จะพ้นจากความสงสัย อันนี้ก็เท่ากับเราได้รู้จักฐานะที่ควรหรือไม่ควรแล้ว และถูกต้องตามพระธรรมที่ท่านได้ตรัสบอกเอาไว้ว่า สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง การไม่ทำบาปทั้งหลายทั้งปวงนั่นแหละ เอตัง พุทธานะ สาสะนัง อันนี้เป็นคำสอนของพระศาสดา อันนี้เป็นหัวใจของพระศาสนา เมื่อจิตเราเป็นอย่างนั้น อันนี้ไม่ใช่คำพูดเฉยๆ แต่จิตมันเป็นอย่างนั้นจริงๆ อะไรที่ขึ้นชื่อว่ามันผิด มันบาป ใจของเรามันจะไม่รับ ไม่รับนั้นเรียกว่า สัพพะปาปัสสะ
     
  18. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    ถ้าเราทำอย่างนี้ เราจะเห็นว่า หัวใจพุทธศาสนาคืออะไร เราก็จะเข้าใจว่าอะไรคือการเข้าถึงพุทธศาสนา อะไรคือการเข้าถึงธรรมะเมื่อความชั่วทั้งหลายไม่มีในใจเรา โทษทั้งหลายจึงหมดไป เมื่อโทษทั้งหลายหมดไปความเย็นมันก็เกิดขึ้นมา ใจก็สบาย นั่งอยู่ที่ไหนก็สบาย เดินอยู่ที่ไหนก็สบาย เพราะเรารู้ตัวเราอยู่อย่างนั้น อันนี้เป็นตัวสมาธิแล้ว คือมันสงบ เพราะเรารักษาศีลตัวเดียวเท่านั้นแหละ ให้มันก้าวขึ้นไป มันก็จะเป็นสมาธิเอง กุสะลัสสูปสัมปะทา จิตจะเป็นบุญเป็นกุศลเพราะเราละได้ เมื่อจิตเป็นบุญเป็นกุศล จิตนั้นก็สงบ จิตนั้นก็จะระงับ ถ้าจิตสงบระงับแล้วก็เบิกบานเกิดปัญญา มันจะรู้จักละจิตตะปริโยทะปะนัง รู้จักทำจิตของตนให้ผ่องใส อะไรชั่วเราก็ปล่อยไป อะไรผิดเราก็วางไป อะไรๆต่างๆที่เข้ามาก็จะเอามาพิจารณาแล้วก็วางไป ปล่อยไป คล้ายๆกับน้ำในตุ่มนั่นแหละ ถ้าเราเอาขันไปตักออกมาขันหนึ่ง แล้วก็เททิ้ง ตักออกมาขันที่สองแล้วก็เททิ้ง ตักแล้วก็เททิ้งอยู่อย่างนั้น น้ำที่อยู่ในตุ่มมันก็ต้องมีเวลา มีโอกาสที่จะแห้งหมดไปได้ เพราะจิตเข้าไปปฏิบัติอย่างนั้น

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=just> ทีนี้ถ้าหากเรายังไม่เห็นอย่างนั้น มันก็เหมือนตักน้ำใส่ตุ่มแล้วก็ตักออกไป ตักใส่เข้าในตุ่มหนึ่งขัน แล้วก็ตักออกไปหนึ่งขัน ตักเข้าไปเพิ่มหนึ่งขัน แล้วตักออกไปหนึ่งขัน อย่างนี้เรียกว่าบุญๆ บาปๆ ผิดๆถูกๆ ดีๆ ชั่วๆ เราทุกคนทำอย่างนี้ มันถึงเป็นเรื่องยาก

    เพราะกรรมอันนี้เอง จึงต้องพูดว่า "ฉันนี้มันเป็นเพราะอะไรก็ไม่รู้ บางทีก็สบายๆ บางทีก็เป็นทุกข์ บางทีก็สุข บางทีก็ไม่สบาย ไม่รู้ว่าเป็นอย่างไร?" ทำไมถึงจะไม่รู้ ก็เพราะทำเหตุไว้อย่างนั้น ผลมันจึงออกมาเป็นอย่างนี้บางทีก็ตักออกไปเสีย คือการละบาป บางทีก็ตักเพิ่มเข้ามา คือการทำบาป บางทีก็ละบาปออกไป บางทีก็นำบาปเข้ามา เมื่อนำบาปออกไปมันก็สบาย นำบาปเข้ามามันก็เป็น
    </TD><TD vAlign=top align=right width=240>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE>ทุกข์ มันก็เป็นอยู่อย่างนี้ "ฉันไม่รู้ว่ามันเป็นอย่างไร บางวันมันก็สบ๊าย สบาย บางครั้งมันก็เป็นทุกข์เป็นร้อน ก็ไม่รู้ว่ามันเป็นเพราะอะไร?" ทำไมมันถึงจะไม่รู้ นี่แหละคือคนไม่รู้จักการภาวนา มันก็ไม่มีปัญญา


    เพราะเราทั้งหลายทำอยู่อย่างนั้น เหตุมันเป็นอย่างนั้น ผลมันจึงเกิดเป็นอย่างนั้น เราเป็นคนไม่มีปัญญา ถ้ามีปัญญาเมื่อเห็นผลอันนี้ขึ้นมาแล้ว เราก็พิจารณาไปถึงเหตุว่ามันเกิดมาจากอะไร มันจึงเป็นอย่างนี้ คือเห็นเหตุมันก็เห็นผล เห็นผลแล้วก็เห็นเหตุ เหมือนคนจับไม้ยาวประมาณ ๒ เมตรขึ้นมาวัดดู โดยใช้มือกำมาจากทางปลายไม้กำมาๆ เรื่อยๆ ไปจนถึงทางด้านต้นไม้ ก็จะรู้ว่าไม้นั้นยาวเท่าไร อีกคนหนึ่งมาจับทางต้นไม้ จับกำมาๆจนถึงทางด้านปลายไม้ ก็จะรู้ว่าไม้นั้นมันสั้นมันยาวเท่ากันนั่นแหละ ต่างกันแต่คนหนึ่งวัดจากต้นไม้ไปหาปลาย อีกคนหนึ่งวัดจากปลายไปหาต้น มันก็ท่อนไม้ท่อนเดียวกันนั่นเอง ความสั้นความยาวมันก็เสมอกันเท่ากันอยู่นั่นแหละอันนี้ก็เหมือนกันฉันนั้น ถ้าเรารู้จักพิจารณาเหตุผล เมื่อเห็นผลมันเกิดขึ้นมาเป็นอย่างนี้ เราก็จะรู้ว่าเพราะอะไรมันถึงเป็นอย่างนี้ เพราะเหตุมันเป็นอย่างนี้ ผลมันจึงเกิดอย่างนั้น เมื่อเราทำเหตุอย่างนี้ เราก็รู้จักว่าผลมันจะเกิดอย่างไร เราทำเหตุอย่างไร ผลมันก็เกิดอย่างนั้น ผลมันเกิดอย่างไรเหตุมันก็เป็นอย่างนั้นอันนี้เราจะพิสูจน์ด้วย กาลเวลา

    ผู้ประพฤติปฏิบัติเมื่อเห็นความรู้แจ้งชัดอย่างนี้ มันก็เบากายสบายใจ รู้แบบที่ว่าเรามองเห็นธรรมะโดยที่ไม่จำเป็นจะต้องมาทนทุกข์ทรมาน เพราะผลมันชัดแจ้ง ถ้าหากเห็นว่ามันสุขเป็นบางครั้งเป็นบางคราว ก็จะรู้ว่าอย่างนี้มันเป็นไปได้ยังไง เป็นเพราะการกระทำของเรา การกระทำของเรานั่นแหละคือกรรม ถ้าไม่อย่างนั้นก็โยนให้คนโน้นคนนี้มันก็ลำบาก ไม่มีใครยอมรับ ถ้าไม่มีใครยอมรับก็โยนให้กรรมเสีย อย่างเช่นเกิดเป็นโรคขึ้นมา ไปรักษาที่โรงพยาบาลก็ไม่หายจะไปเอาอะไรกับหมออีก ยาก็หมดแล้วจะทำอย่างไร เราก็คิดเสียว่าโยนให้กรรมเสีย อันเจ้าของกายก็เป็นของสมมติเท่านั้นเอง อันนี้ก็เหมือนกันฉันนั้น โยนให้กรรมแล้วมันก็หมดเท่านั้นแหละ มันจะไปตรงไหนล่ะ มันสุดอยู่ตรงนั้น ต้องไปคิดอะไรให้มันมากมาย เรื่องของการปฏิบัติมันจะต้องเป็นดังนี้

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=230>[​IMG] </TD><TD class=just vAlign=top> สำหรับการปฏิบัติภาวนาของเราทุกวันนี้ คนเรานั้นมันอยากจะรู้ง่าย อยากเห็นง่าย จึงคิดว่ามันปฏิบัติยาก ที่มันปฏิบัติยาก เพราะเราไม่มีการละ ฉะนั้นการสร้างบุญกุศล การประพฤติปฏิบัตินี้ อาตมาเห็นว่า การทำบุญทำกุศลกันนี้ใครๆ ก็ทำกันได้ และก็ไปทำกันเป็นส่วนมาก แต่ว่าการละบาปนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมากกว่าการทำบุญ แต่คนไม่ค่อยจะเอาใจใส่ ไม่ค่อยจะรู้เรื่องของมัน การละบาป คือการตัดราก การทำบุญ คือการเด็ดยอด เด็ดเอายอดไปใช้ เด็ดเอายอดไปกิน มันก็แตกยอดขึ้นมา แตกใบขึ้นมาอีก แตกขึ้นมาเรื่อยๆ ตราบใดที่รากมันยังอยู่ มันก็ยังได้กินอาหารอยู่ ยังมีอาหารหล่อเลี้ยงอยู่ ยอดมันก็เจริญเติบโตขึ้นมาอีก ก็เด็ดมันอีก ก็โผล่ขึ้นมาอีกอย่างนั้น ความลำบากทั้งหลายมันมีอยู่นี่ ก็เพราะอะไร ก็เพราะว่ารากมันยังอยู่ คือการกระทำบาปมันยังอยู่ ดังนั้นการละบาป และการบำเพ็ญบุญจึงเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ที่ท่านกล่าวว่า "การไม่กระทำบาปทั้งปวง" นั่นแหละเป็นหัวใจของพุทธศาสนาแล้ว เมื่อเราละบาปแล้วบำเพ็ญบุญเพิ่มเข้ามาทีละน้อย ก็มีหวังที่บารมีจะเต็มได้ถ้าหากว่าทำบุญแต่ไม่หยุดทำบาป อันนี้ก็ไม่มีเวลาจบ เหมือนกะละมังที่ตั้งหงายอยู่กลางแจ้ง ถึงแม้ฝนจะตกลงมาใส่ทีละหยดๆ มันก็มีโอกาสที่จะเต็มได้ เมื่อเราทำบุญแล้ว เรายังไม่ได้ละบาป ก็เหมือนกับเราเอา </TD></TR></TBODY></TABLE>
    กะละมังไปครอบคว่ำไว้กลางแจ้ง ฝนตกลงมาถูกก้นกะละมังเหมือนกัน แต่ว่ามันถูกข้างนอกไม่ได้ถูกข้างใน เมื่อมันถูกข้างนอกน้ำก็ไม่มีโอกาสที่จะเต็มในกะละมังนั้นได้ อันนี้เรียกว่า "ทำบุญไม่ละบาป"

    ดังนั้นการละบาปจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ อันนี้พระพุทธองค์ท่านก็ตรัสว่า "สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง" การไม่กระทำบาปทั้งปวงนั้นแหละเป็นหัวใจของพุทธศาสนา นั่นเป็นเบื้องต้น ต่อไปๆ มันก็มีเวลาหมด หมดไปเหมือนกับเราเดินไปทีละก้าวๆ หลายๆก้าวเข้า ระยะทางมันก็สั้นเข้ามาๆ ถ้าเราไม่ทำอย่างนี้ คือเดินไปก้าวหนึ่งก็ถอยกลับมาก้าวหนึ่ง เดินไปอีกก้าวหนึ่งแล้วก็ถอยกลับมาอีกก้าวหนึ่ง มันก็จะไปไม่พ้นจากศาลาได้ คือเทียบเอาจากศาลานี้ก็ได้ ถึงแม้เราจะก้าวไปอย่างช้าๆ แต่เราก้าวไปเรื่อยๆ เราก็ยังมีโอกาสที่จะพ้นประตูวัดออกไปได้ มันต่างกันอย่างนี้ ฉะนั้นการละบาปนี้ ท่านบอกว่า ไม่ให้กระทำบาป แล้วก็บำเพ็ญบุญปิดช่องมันเสีย เช่น หม้อมันรั่ว ปิดช่องที่มันรั่ว แล้วจึงเทน้ำใส่ กระทะมันรั่วก็อุดรูรั่วมันเสีย แล้วจึงเทน้ำใส่เรียกว่า ก้นกระทะไม่ดี ก้นหม้อไม่ดี การละบาปของเรายังไม่ดีทำบุญลงไปใส่มันก็รั่ว ก้นกระทะ ก้นกระถางไม่ดี เทน้ำใส่ลงไปมันก็รั่วออกไปหมด จะเทใส่ลงไปทั้งวันมันก็ซึมรั่วออกไปทีละน้อย น้ำก็เหือดแห้งหมดไป ไม่สำเร็จประโยชน์สมความต้องการของเราได้

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD class=just> ดังนั้นหัวใจของพุทธศาสนาคือการกระทำอย่างนี้ คือความเป็นจริงอย่างนี้ คือการละบาปอย่างนี้ คือการบำเพ็ญบุญอย่างนี้ อันนี้มีทางจบที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า ธรรมสามอย่างนี้คือละบาปกับการบำเพ็ญบุญ การสมาทานศีลนี้ ก็คือการละบาปนั่นเองไม่ใช่อื่นไกลพวกเราทั้งหลายชาววัดหนองป่าพง จะรู้ถึงความจริงแล้วหรือเปล่าก็ไม่รู้ ศีลและอำนาจของศีล สีเลนะ สุคะติง ยันติ สีเลนะโภคะสัมปะทา สีเลนะ แปลว่าโดยปกติ โดยปกติกาย ปกติวาจาปกติใจ ไม่ฝ่าฝืนอะไรต่างๆ เป็นศีลที่ปกติ เป็นศีลเดิม เป็นของเดิมเป็นของเก่า เป็นคำเก่า เป็นของที่ยังสะอาด เป็นของที่ไม่เศร้าหมองเป็นของที่ยังไม่สกปรก เรียกว่า "ปกติ" ของใหม่ๆ มันก็ปกติ คือว่ามันยังไม่เก่า ไม่เสื่อม ไม่ผิด อันนี้ท่านเรียกว่าปกติ ปกติของเดิมของเก่า อย่างน้ำที่ใสสะอาดนี้ เดิมเป็นของปกติ แต่เมื่อนำเอาสีแดงสีเหลืองมาใส่มันก็ผิดปกติ คือความสะอาดกาย สะอาดใจ สะอาดวาจา สะอาดตา เป็นของที่สะอาดอยู่เป็นปกติ ดังนั้นศีลนั้นเป็นปกติคือศีลเดิม อย่างที่เรียกว่าจิตเดิม จิตที่ไม่มีอะไร จิตไม่เป็นอะไร จิตเป็นปกติ คือจิตมันว่างๆ อยู่อย่างนั้น

    </TD><TD align=right width=250>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE>

    เรื่องการรักษาศีลนี้ บางคนก็บ่นว่า จะให้ทานกันสักทีก็หาพระที่จะไปให้ศีลก็ไม่มี ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร บางทีให้ทานแล้ว ไปหาน้ำที่จะมากรวดอุทิศให้ก็ไม่มี เลยโง่อยู่ตลอดเวลา เลยโง่เรื่องศีล โง่เรื่องทาน โง่จนตาก็บอด หูก็หนวก ขาก็เป๋ทั้งหมด เสียหมดเลย ศีลนี้เป็น "สัมปัตตวิรัติ" อย่างนี้เป็นศีลให้เรารู้จักมัน ที่เราทำกันมาเป็นปีๆ เป็น "สมาทานวิรัติ" ต้องให้พระบอกความจริง คนที่ให้คนอื่นบอกนั้นคือคนไม่รู้จัก ฉันไม่รู้ว่าศีลนั้นน่ะเป็นอย่างไร? พวกดิฉันทั้งหลายนี่ พวกกระผมทั้งหลายนี่จึงได้กล่าวขอขึ้นว่า มะยัง ภันเตติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐะ...ฯลฯ พวกข้าพเจ้าทั้งหลายนี้ยังไม่รู้จักอันนี้เลยเป็นข้อวัตรของพระภิกษุ เมื่อบวชเข้ามาและจะต้องกระทำต่อๆ ไป ความเป็นจริงนั้นเป็นสัมปัตตวิรัติ งดเว้นด้วยตนเอง เมื่อเรารู้แล้ว เมื่อเรารู้แล้วว่าศีลนั้นมันเป็นอย่างนั้นๆ เมื่อเราต้องการศีลเมื่อไรเราก็มีอยู่แล้ว งดเว้นด้วยตนเองก็ได้ ไม่ต้องมีใครมาบอก นี่คือ สัมปัตตวิรัติ

    อย่างเรามาทำกันวันนี้เรียกว่าเป็น "สมาทานวิรัติ" คือเรายังไม่รู้จัก จึงต้องให้พระบอก บอกขนาดนั้นก็ยังไม่รู้จักนะ ต้อง บอกเป็นภาษามคธด้วยนะก็ยังไม่รู้จักอีก บอกแล้วก็ยังไม่รู้จัก นี่ความเป็นจริงมันเป็นอย่างนี้ แต่ถ้าเป็น "สมุจเฉทวิรัติ" ไม่ต้องสมาทานกับใครไม่ต้องขอกับใคร เพราะมันเป็นของมันเองแล้ว คือมันเป็นของที่ขาวสะอาดแล้ว ไม่ต้องทำสะอาดอีก จะไปทำสะอาดที่ไหนอีกล่ะ ก็เพราะตรงนั้นมันสะอาดแล้วไม่ต้องไปทำสะอาดอีก คือหมายความว่าจิตของพระอริยบุคคล ศีลของพระอริยเจ้าไม่ต้องไปรับไม่ต้องไปส่ง มันเป็นอยู่อย่างนั้น ไม่ต้องขัดอะไรอีก เพราะมันสะอาดอยู่แล้ว เป็นสมุจเฉทคือตัดไปเลย ขึ้นชื่อว่าการกระทำบาปทั้งหลายทั้งปวงแล้วเราไม่ทำเลยดังนั้นท่านจึงไม่มีเจตนาที่จะไปกระทำบาป เรื่องกระทำบาปเมื่อไรก็ไม่เป็นบาป อย่างเช่นท่านเดินไป บังเอิญไปเหยียบสัตว์ตาย เหยียบปูตาย เหยียบมดตาย อย่างนี้ตัวท่านก็ไม่เป็นบาป เพราะเจตนาที่จะกระทำบาปนั้นไม่มี มันเป็นไปอย่างนี้ อันนั้นเป็นสมุจเฉทวิรัติ ตัดไปเลย ไม่ต้องทำอะไรอีกแล้ว รักษาจิตอันเดียวเท่านั้นแหละ ไม่ต้องดูอื่นไกลแล้ว สมมติว่าเกิดมีอะไรขึ้นมาก็มีผู้รับผู้รู้ ใครเป็นคนที่รับรู้? คนที่เป็นผู้รับรู้นั้นเราเรียกว่า "จิต" ของเรา

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=182>[​IMG] </TD><TD class=just vAlign=bottom> ความเป็นจริงแล้ว จิตของปุถุชนเรานี้ ก็เป็นจิตที่มีการกำหนดรู้ตัวของตัวเองเหมือนกัน แต่ยังเป็นจิตที่ยังไม่ได้อบรม เป็นจิตที่ยังไม่บริสุทธิ์ เป็นจิตที่ยังต้องอบรม ต้องประพฤติปฏิบัติอีก

    ฉะนั้นการภาวนาท่านจึงสอนให้กำหนดพุทโธๆ เพื่อให้เกิดพุทโธ ให้เกิดความรู้ชั้นที่สองขึ้นมาชัดเจนขึ้นไปอีก เมื่อเจ้าของจิตเอาความรู้จากพระบรมครู คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ท่านได้ตรัสรู้แจ้ง รู้แล้วก็ตื่น รู้แล้วก็เบิกบาน ความรู้อันนี้มันจะเกิดขึ้นไปอีกชั้นหนึ่งเหนือกว่าจิตของเรา ความรู้อันนี้ที่มาจากการกำหนดพุทโธๆ นี้ ตัวนี้แหละจะเป็นความรู้แจ้ง รู้เลิศ รู้ประเสริฐ ที่จะแนะนำพร่ำสอนจิตของเรา ซึ่งยังเป็นผู้รู้ที่ยังไม่ได้อบรมนั้น คือเรารู้อย่างไรก็เป็นไปตามอย่างนั้น ตามภาษาบ้านนอกเราเรียกว่า เป็นไปตามอารมณ์ ยายของฉันชอบตามอารมณ์ สามีของฉันชอบตามอารมณ์ ภรรยาของฉันชอบ

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ตามอารมณ์ เป็นผู้รู้อยู่แต่ก็ยังหลงอยู่ ผู้รู้คนนี้เรียกว่าผู้รู้ยังไม่ได้อบรม ผู้รู้ยังไม่ได้ฝึก รู้ตัวนี้จะเอาเป็นประมาณไม่ได้

    ฉะนั้นจึงนำคำสอนของพระพุทธเจ้าขึ้นมาภาวนา คือสมมติ"พุทโธ" ๆ ให้มันรู้ขึ้นไปกว่านี้ รู้ให้มันเหนือ เหนือความรู้สึกอันเดิมนี้เหนือรู้ในจิตอันเดิมนี้ขึ้นไปอีก จนมีอำนาจสูงกว่า สูงกว่าจิตเดิมของเรานี้ จึงจะเป็นเหตุที่ทำให้รู้จิตอันนี้ สั่งสอนจิตอันนี้ ผู้รู้อันเก่านี้ได้อบรมตามที่ท่านสั่งสอนไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงตามดูจิตของตน ใครตามดูจิตของตน คนนั้นจะพ้นจากบ่วงของมาร ก็ใครล่ะ จะไปตามดูจิตของตนน่ะ ความรู้อันนี้แหละที่เรียกว่า "พุทโธ" ผู้รู้ผู้ตื่นฉะนั้นเรื่องการฟังธรรมะมันก็ยุ่งยาก ผู้เบิกบาน นี่แหละเป็นผู้ตามดูจิต รู้คนเก่านั้น มันเป็นการรับรู้เฉยๆ รู้ไม่ตื่น รู้ไม่แจ้ง และก็ไม่เบิกบาน ดังนั้นเราจึงน้อมเอาคำสอนนำเอาพระนามของพระพุทธเจ้านี้มากำหนดเป็นอารมณ์ เรียกว่า "พุทโธ ๆ" นี่มันเป็นไปอย่างนี้

    สับสน สำหรับพวกเราที่ยังไม่รู้จักตามความเป็นจริง ถ้ารู้จักตามความเป็นจริงแล้ว เราจะนั่งอยู่ใต้ต้นไม้ต้นไหนก็ได้ฟังธรรมะ ก็เพราะธรรมะนั้นมันอยู่ในใจของเรานี่ เราเก็บความรู้เช่นนี้ พระพุทธเจ้าก็อยู่ในตัวของเราแล้ว เป็นหลักธรรมที่ว่า พระพุทธเจ้าอยู่ที่ใจของท่าน พระธรรมอยู่ที่ใจของท่านพระสงฆ์อยู่ที่ใจของท่าน ถ้าเป็นดังนั้นก็เรียกว่า ท่านผู้นั้นเข้าถึงพระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แล้ว คนคนนั้นเมื่อถึงกาลดับสลายวายชนม์ไปแล้ว ก็จะไม่ตกนรก ยืนยันได้ทีเดียวว่าไม่ตกนรก ทำไมจึงไม่ตกนรก? เพราะในเมื่อปัจจุบันนี้ยังไม่ทำให้มันตกนรกแล้ว ใครจะไปตกนรกที่ไหนเมื่อไรอีกล่ะ ในเมื่อปัจจุบันนี้เรายังทำผิดไม่ได้ ทำไมมันจะผิดได้อีกล่ะ ที่ตกนรกก็เพราะไปทำความผิด สัตว์ตกนรกก็คือคนเป็นทุกข์ คนผู้ทำผิดนั้นคือสัตว์นรก นี่เราเห็นกันง่ายๆ อย่างนี ้ เห็นในปัจจุบันแล้วมันก็เห็นอนาคตด้วย นี่เรียกว่าเหตุมันมีอยู่ตรงนี้

    หลวงพ่อชา สุภัทโท
    http://www.isangate.com/dhamma/the_end_01.html
     
  19. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    กบเฒ่านั่งเฝ้ากอบัว
    พระธรรมเทศนาของหลวงพ่อกัณฑ์นี้ หลวงพ่อได้เทศน์โปรดญาติโยมที่วัดถ้ำแสงเพชร เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2516 (เทียบเคียงกับภาษากลางว่า "ใกล้เกลือกินด่าง")

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=3 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top>[​IMG] </TD><TD>พระธรรมเทศนาของหลวงพ่อกัณฑ์นี้ ได้เทศน์โปรดญาติโยมที่วัดถ้ำแสงเพชร จังหวัดอำนาจเจริญ เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2516

    พวกเราเป็นผู้มีบุญวาสนามาก เพราะพระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า การที่พระพุทธเจ้าจะมาตรัสรู้ในโลกนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยาก

    เราจะได้พบท่านก็ยาก เมื่อพบท่านแล้วจะได้ฟังธรรมท่านก็ยาก ได้ฟังธรรมแล้วจะได้บวชปฏิบัติอยู่ใกล้ท่านก็ยาก หริอแม้แต่บวชแล้วจะมีศรัทธาก็ยาก ก็ลำบาก ท่านว่าอย่างนั้น

    ผู้บวชแล้วเข้าไม่ถึงพระพุทธเจ้าก็มีนะ อย่านึกว่าบวชแล้วจะได้เข้าใกล้พระพุทธเจ้า ถ้าไม่ได้ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยของท่าน ก็ไม่ได้ชื่อว่าเข้าใกล้พระพุทธเจ้า ให้พากันเข้าใจ ดังนั้น ผู้รู้จะเกิดขึ้นภายในจิตใจของมนุษย์ ให้รู้แจ้งแทงตลอดนี้จึงหาได้ยาก


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    บุคคลที่มีเจตนา มีศรัทธามาสอนพวกเราให้เกิดความรู้ความเห็นในความดีความชั่ว ในบุญในบาปนี้ก็ยาก และจะได้ฟังธรรมของท่านนั้นก็ยาก
    อย่างว่าเราฟังธรรมกันโดยทั่วไปทุกวันนี้ ก็ฟังแต่นิทานพื้นทาน เรื่องการะเกดบ้าง สินชัยบ้าง แตงอ่อนแตงแก่บ้าง ฟังกันเล่นๆ อันนั้นไม่ใช่ธรรมะของพระพุทธเจ้า เป็นนิยายฟังกันสนุกเฉยๆ ถ้าฟังธรรมพระพุทธเจ้ามันได้บุญนะ ได้ในปัจจุบันนี้แหละ ธรรมที่จะสอนสัตว์ทั้งหลายนั้นไม่ใช่ง่าย ถ้าคำสอนใดไม่เป็นไปเพื่อหายพยศ ลดมานะ ละความชั่วแล้ว ก็ไม่ใช่ธรรมของพระพุทธเจ้า เป็นธรรมของพวกเดียรถีย์ของพวกชาวนิครนถ์ มันไม่ได้เห็นความจริง ไม่ได้ระบายความทุกข์ออกจากใจ ไม่หายสงสัย ยังไม่ถูกธรรมะ
    ผู้ไม่ได้ปฏิบัติธรรมะ ฟังธรรมะแล้วจะปฏิบัติธรรมนั้นยาก มันยากจะได้เห็น ยากจะได้ฟัง ธรรมะของพระพุทธเจ้านั้นควรรู้ได้ ไตร่ตรองและเห็นตามความเป็นจริงได้ ท่านไม่ได้สอนต่ำสอนสูงอะไร ท่านสอนพอดี สอนธรรมตามบุคคล เหมือนอย่างเด็กตัวเล็กๆ มีกำลังน้อย ท่านก็ไม่ให้แบกหนัก ให้แบกพอดีมันก็แบกไปได้ ผู้ใหญ่มีกำลังมาก ท่านก็ให้แบกสมกับกำลังของผู้ใหญ่ นี้ก็ได้ประโยชน์ เรื่องมันเป็นอย่างนี้

    อันนี้ฉันใด พวกเราจะมีวัดวาอารามปฏิบัติอย่างนี้ก็หายาก ไม่มีทุกกาลนะโยม มีเป็นบางครั้งบางคราว นานๆ เราจึงจะได้พบครั้งหนึ่ง บางคนบุญไม่มีวาสนาไม่ถึง ก็ไม่เห็นอย่างนี้ก็มี

    อาตมาเห็นโยมคนหนึ่งอยู่บ้านอาตมา (บ้านก่อ) บ้านอยู่ริมวัด แกไปไหนมาไหนก็เดินผ่านวัดทุกวัน แต่ไม่รู้จักอะไร แกเคยฟังเทศน์ก็ฟังแต่แหล่มัทรี แหล่ใส่หูจนหูจะหนวก ก็ไม่รู้จักธรรมะ ต่อมาย้ายบ้านไปอยู่อำเภอวานรนิวาส โชคดีที่ได้ไปฟังธรรม เห็นบุญ เห็นบาป เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา กลับมาคราวนี้เลยบวชเป็นพระ แกบอกว่า "มันชั่วจริงๆ ครับท่านอาจารย์" นี่แหละอยู่ใกล้วัดน่าจะได้บุญได้กุศล แต่ไม่รู้เรื่อง สมกับที่ท่านว่า

    กบเฒ่านั่งเฝ้ากอบัว อยู่บนหัวกลิ่นบัวบ่ต้อง
    แมงภู่ง่องบินผ่ายแอ่วมา เอาเกษาดอกบัวไปจ๊อย


    กบอยู่กอบัวแต่ไม่รู้จักบัว ดอกบัวจะบานจะตูม จะร่วงจะโรยก็ไม่รู้เรื่อง วันดีคืนดีอาจโดนด้ามเสียมเขาหรอก นี้ฉันใด ตาแก่คนนั้นก็เหมือนกัน อาตมาเคยเทศน์ให้ฟังว่า กบเฒ่านั่งเฝ้ากอบัว นี่บรรพบุรุษเราท่านว่าไว้ถูก อยู่ใกล้วัดใกล้วาน่าจะรู้จักธรรมะ แต่ไม่รู้เรื่องเลย หนีจากบ้านไปอยู่ที่อำเภอวานรฯ จึงได้ไปฟังเทศน์พระกรรมฐานที่โน่น นี้ท่านว่า ธัมโม จะทุลละโภ โลเก การที่จะได้ฟังธรรมพระพุทธเจ้าเป็นการยาก การทำบุญจะถูกบุญนี้ก็ยาก นี้ก็ลำบาก บุญกุศลจะเกิดขึ้นกับจิตใจก็ยากลำบาก เพราะอะไร เพราะกระจกเรามันไม่สว่าง ยังไม่มีปัญญา พวกเราจงเข้าใจ

    พระพุทธเจ้าของเราทรงเคยเป็นทุกสิ่งทุกอย่าง ตั้งแต่เป็นสัตว์สาวาสิ่ง ขนาดนกกระจาบ โตถึงช้างหรือในระหว่างที่เป็นมนุษย์ ท่านก็เป็นหมดทุกอย่าง เป็นคนร่ำคนรวย เป็นคนยากคนจน ท่านก็ผ่านมาได้ เราก็เหมือนกัน จะอยู่ป่าอยู่เขา ไม่รู้จักศีลรู้จักธรรม ก็ไม่ต้องน้อยอกน้อยใจ เพราะบุญของเรามีอยู่เท่านั้น แต่เราสามารถทำดีได้ถ้าจะทำ มือเราก็มี ร่างกายของเราก็มี ตาหูเราก็มี ได้เห็นได้ยินได้ฟัง มีผู้แนะนำพร่ำสอนอยู่ นี้เรียกว่าสะสมทุนของเรา คือเราจะลงมือทำมาค้าขายวันไหนก็ได้ เพราะสมบัติเรามีอยู่แล้ว มีสมบัติแล้ว มีเครื่องรับแล้ว เมื่อได้ของไม่ดี เราทำให้มันดีได้ มันผิดทำให้ถูกก็ได้ มันแก้ได้

    พระพุทธเจ้าหรือสาวกทั้งหลายก็ดี ท่านไม่ได้เป็นพระอรหันต์มาก่อน ท่านเคยเป็นชาวไร่ชาวนา ขี้เหล้าเมายา เป็นคนลักเล็กขโมยน้อยมาเหมือนกัน คือยังไม่รู้จักบาป บุญ คุณ โทษ คนไม่รู้จักก็ทำอะไรได้ทุกอย่าง แต่เมื่อรู้แล้วท่านก็เลิก ท่านก็ละ ถอนออกมา ได้ฟังธรรมแล้วเข้าใจ รู้นั่นรู้นี่ ตรัสรู้ธรรมะได้
    เรื่องตรัสรู้ธรรมะ เราได้ยินว่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมะ ก็นึกว่าเป็นเรื่องของท่านทุกอย่าง ไม่ใช่นะ เป็นเรื่องของเราทุกคนก็ได้ อันไหนรู้แล้ว ละ นั่นแหละเป็นเครื่องหมายของเรา เหมือนเราเคี้ยวกินอะไรบางอย่าง รู้สึกคัน รู้แล้วก็คายทิ้ง ความรู้ชนิดนี้แหละ ปุถุชนเราควรรู้ เหมือนหัวกลอยเมื่อรู้ว่ามันคันกินไม่ได้ เรายังจะกินอยู่หรือ ก็มีแต่จะทิ้งเท่านั้น มันรู้อย่างนี้แหละ

    ทีนี้รู้ซึ้งเข้าไปกว่านั้นอีก รู้ว่าอันนี้ดี อันนี้ไม่ดี มันผิด ไม่เป็นประโยชน์ เดือดร้อนทั้งแก่ตนและผู้อื่น พิจารณาแล้วรู้ได้ นี้เรียกว่าความรู้อันหนึ่ง ถ้ามันรู้ตามความเป็นจริงแล้ว ไม่มีอะไรสามารถคลี่คลายจิตใจของเราได้ อย่างเราจะทำดี ใครว่าไม่ดีอย่างไรเราก็ไม่ทิ้ง เราทำถูกอยู่ ใครว่าผิดเราก็ไม่ทิ้ง เราไม่บ้า เขาว่าบ้า เราก็ไม่ทิ้งไปเป็นบ้าอย่างเขาว่า แต่คนเราชอบทิ้งเจ้าของ เราไม่บ้า เขาว่าบ้าก็โกรธ เลยเป็นบ้าอย่างเขาว่า เราทำดีเขาว่าไม่ดี ไปโกรธเขา เลยไปเอาของไม่ดีกับเขา มันทิ้งเจ้าของอย่างนี้แหละ ไม่รู้ตามความเป็นจริงของเจ้าของ


    ภาษาธรรมะที่พระพุทธเจ้าท่านสอนนั้น ก็สอนให้แก่พวกเราทั้งหลายนี้แหละ พวกเราที่เป็นปุถุชนให้เป็นอริยชน เหมือนเราจะสร้างบ้านเรือน เราก็ต้องหาสิ่งที่ยังไม่สำเร็จ จะเป็นเสา เป็นขื่อ เป็นแป ฯลฯ มันไม่ได้สำเร็จมาเลยทีเดียวหรอก เราต้องไปแปลงสภาพมันขึ้นมา เสาเรือนก็ดี เดิมเกิดจากไม้ที่มันยาว มันคดอยู่
    ซึ่งรวมอยู่กับต้นไม้นั่นแหละ เราต้องไปเลื่อย ไปแปรรูปออกมา คนฉลาดก็สามารถนำเอามาสร้างบ้านเรือนได้

    เราก็เหมือนกัน ยังเป็นปุถุชนอยู่ มีลูกมีเมีย มีอะไรต่างๆ เป็นธรรมดาของโลก แต่ถ้าเรารู้จักการภาวนา รู้จักธรรมะแล้ว ก็สามารถระบายสิ่งไม่ดี สิ่งที่ผิดออกได้ ไม่วันนี้ก็พรุ่งนี้ ไม่น้อยก็มาก เหมือนกับเราแบกของหนัก เมื่อเอาทิ้งไปทีละน้อยๆ ทิ้งบ่อยๆ มันก็เบาได้ เมื่อทิ้งไปๆ ผลที่สุดก็วางหมด เหมือนกับเราแบกไม้ฟืนนั่นแหละ เมื่อถึงกระท่อมก็ทิ้งโครมเลย มันก็เบาเห็นไหมล่ะ นี่ความเบาเป็นอย่างนี้

    ความชั่วทั้งหลาย ที่เราทำมามันหนักใจของเรา เราค่อยฝึกหัดปฏิบัติไปๆ ใจมันก็ค่อยสว่างไสว ของยากก็เลยกลายเป็นของง่าย ของมืดมันก็สว่าง ของสกปรกมันก็สะอาด รู้จักหลักประพฤติปฏิบัติอย่างนั้น รู้เรื่องอย่างนั้นคือธรรมะ ถ้าไม่รู้เรื่องท่านบอกว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่างนี้ เราก็ไม่รู้อะไร

    คนเราถ้าไม่ได้อบรมธรรมะก็เหมือนกับนักมวยที่ไม่ได้ซ้อม หรือเหมือนหมอลำที่ไม่ได้เรียน ถึงเวลาก็ขึ้นเวทีเลย จะเป็นอย่างไร จะน่าฟังไหม จะน่าฟังได้อย่างไร เพราะไม่ได้ท่องกลอนลำเลย มวยไม่ได้ซ้อมก็เช่นกัน พอขึ้นเวที คู่ชกเขาก็จะเลือกชกเอาตามใจชอบนั่นแหละ

    ฉันใด เราอยู่กับหลาน กับสิ่งของ สกลร่างกาย ล้วนแต่เป็นของไม่จีรังยั่งยืน เป็นอนิจจัง คือไม่เที่ยง วันนี้เสียไปพรุ่งนี้ได้มา วันนี้ดีใจ พรุ่งนี้เสียใจ มันเป็นอย่างนี้ เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา เพราะอนิจจังมันไม่เที่ยงไม่แน่นอน ทั้งภายนอกภายในสกลร่างกายไม่แน่นอนทั้งนั้น วันนี้ดี พรุ่งนี้อาจเจ็บโน่นปวดนี่ก็ได้ มันเป็นอยู่อย่างนั้น ถ้าคนไม่เข้าใจก็น้อยอกน้อยใจในสิ่งเหล่านี้ ว่าทำไมจึงเป็นอย่างนี้ อัชฌัตตา ธัมมา ธรรมภายใน ของภายในคือสกลร่างกายของเรานี้ บางทีเจ็บโน่น ปวดนี่ เจ็บขา ปวดท้อง มันไม่แน่นอน พะหิทธา ธัมมา ธรรมภายนอก คือของผู้อื่นหรือสิ่งของต่างๆ เช่น ต้นไม้ ภูเขา เป็นต้น

    พวกเรามีทั้งโยมผู้หญิง โยมผู้ชายก็เหมือนกัน ถ้าพูดไม่ถูกใจก็โกรธ ถ้าพูดถูกใจก็หัวเราะ เอามะขามเปรี้ยวมาให้ทาน ก็หลับตาหยีไปทุกคนเหมือนกันนั่นแหละ ถ้าหวานก็หวานเหมือนกัน มันเหมือนกันโดยสัณฐาน ลักษณะจิตใจนี้ก็เหมือนกัน สิ่งทั้งหลายเหล่านี้แหละที่เราอาศัยอยู่ เคยรู้เรื่อง แต่คนเราไม่เป็นอย่างนั้น อันนี้ของเรา อันนั้นของเขา อันนี้ของฉัน อันนั้นของคุณ เกิดเรื่องเกิดราวจนยิงกันฆ่ากัน ความจริงมันไม่มีอะไรสักอย่าง เมื่อยังอยู่ก็ทำมาหากินไป ผลที่สุดแล้วก็ไม่ได้เอาอะไรไปหรอก ตอนมาก็ไม่ได้เอาอะไรมา เวลาไปก็ไม่ได้เอาอะไรไป ทำมาไว้ตรงนี้ก็ทิ้งตรงนี้ ถ้าคนรู้จักธรรมะแล้วก็ผ่อนผันได้ อภัยกันได้ บางสิ่งบางอย่างผู้ไม่รู้อะไรก็เอาแล้ว ไม่ยอมกัน

    อาตมาเคยเห็นหมาตัวหนึ่ง เอาข้าวให้มันกิน มันกินแล้วกินไม่หมด มันก็นอนเฝ้าอยู่ตรงนั้น อิ่มจนกินไม่ได้แล้วก็ยังนอนเฝ้าอยู่ตรงนั้นแหละ นอนซึม ประเดี๋ยวก็ชำเลืองตาดูอาหารที่เหลือ ถ้าหมาตัวอื่นจะมากิน ไม่ว่าตัวเล็กตัวใหญ่ก็ขู่... โอ้... ไก่จะมากินก็... โฮ่งๆๆ ท้องจะแตกอยู่แล้ว จะให้เขากินก็ไม่ได้ หวงไว้

    มาดูคนก็เหมือนกัน ถ้าไม่รู้จักธัมมะธัมโม ก็ไม่รู้จักผู้น้อยผู้ใหญ่ ถูกกิเลสคือโลภะ โทสะ โมหะ เข้าครอบงำจิตใจ แม้จะมีสมบัติมากมายก็หวงไว้ ไม่รู้จักเฉลี่ยเจือจาน แม้แต่จะให้ทานแก่เด็กยากจน หรือคนชราที่ไม่มีจะกินก็ยาก อาตมามาคิดดูว่า มันเหมือนสัตว์จริงหนอ คนพวกนี้ไม่มีคุณสมบัติของมนุษย์เลย พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า มนุษย์ดิรัจฉาโน มนุษย์เหมือนสัตว์ดิรัจฉาน เป็นอย่างนั้น เพราะขาดความเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

    ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงว่าให้พากันมีศีล ความมีศีลดีอย่างไร บางคนว่ามีศีลแล้วจะไปสวรรค์ ไปนิพพาน เรื่องสวรรค์เรื่องนิพพาน ก็คือเรื่องความสุขหรือความดีทั้งหลาย ถ้ามีศีลธรรมแล้วอยู่กันสบายไม่ก่อกวน ไม่สร้างความเดือดร้อนใส่หมู่ใส่คณะ ใส่บ้านใส่เมือง ใส่พี่ป้าน้าอา ใส่เจ้าใส่นาย บ่าวไพร่ราษฎร ไม่มีถ้าเรามีศีลธรรมก็อยู่เย็นเป็นสุขสมกับที่พระท่านว่า

    สีเลนะ สุคะติง ยันติ สีเลนะ โภคะสัมปะทา
    สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ตัสมา สีลัง วิโสธะเย


    เวลาให้ศีลสุดท้ายท่านสรุปอย่างนี้ พวกเราว่าม้วนศีล (สรุปหรือบอกอานิสงส์) ทำไมจึงว่า ม้วนศีล ก็เหมือนเรา สานตระกร้านั่นแหละ สานแล้วเราก็ม้วน (ขมวด) ปากมัน แล้วทำหูใส่ ทำสายใส่

    สีเลนะ สุคะติง ยันติ จะมีความสุขเพราะศีล มีความสุขเพราะทำถูก นายจ้างกับลูกจ้างมีความซื่อสัตย์ต่อกัน หรือบ่าวไพร่ราษฎร พี่น้องก็ซื่อสัตย์ต่อกัน มันก็สบายเท่านั้น สีเลนะ โภคะสัมปะทา สมบัติทั้งหลาย ก็มีขึ้นมา ถึงมีน้อยก็สบาย มีหลายก็ไม่ลำบาก ไม่แก่งแย่งกัน นี่คือความสบาย

    ถ้าพูดถึงศีล เอากระเป๋าวางไว้ริมทางก็ไม่หาย ของอยู่บ้านก็ไม่หาย สบาย ถ้าคนไม่มีศีลล่ะ อยู่ในกระเป๋ากางเกงมันยังแย่งเอาเลย คนแก่ขึ้นรถไฟเอาสตางค์ใส่กระเป๋า เสร็จพวกนั้น คนแก่ตกรถเลย นี่ถ้าไม่มีศีลมันเดือดร้อนอย่างนี้ มันเป็น ทุกขะติง ยันติ ไม่ใช่ สุคะติง ยันติ ทุกข์เพราะเบียดเบียนกัน กูเอาของมึง มึงเอาของกู ท่านว่า สีเลน สุคะติง ยันติ สีเลนะ โภคะสัมปะทา
    เพราะฉะนั้นผู้มีน้อยก็สบายตามน้อย ผู้มีมากก็สบายตามมาก เหมือนสัตว์หรือแมลงบางจำพวกมี 2 ขาเท่ามนุษย์นี้ก็สบาย มีสี่ขาก็สบาย มีหลายขาเหมือนกิ้งกือมันก็สบาย โดยเฉพาะในกลุ่มผู้มีศีล ใครมีมากก็สบาย ใครมีน้อยก็สบาย จะไหาที่ไหนกันล่ะ ไม่ใช่ชาติหน้า ไม่ใช่ชาติไหน ชาติปัจจุบันนี้แหละ ถ้าพากันสร้างบุญสร้างกุศลคือสร้างจิตใจของตน คนทุกวันนี้สร้างบุญไม่รู้จักว่าบุญอยู่ตรงไหน ไม่รู้เรื่อง พากันไปทำบุญก็ไปรื่นเริงสนุกสนาน กินเหล้าเมายา ก็เสร็จกันแค่นั้น สนุกเท่านั้น
     
  20. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    " ...เราลองมาพิจารณาดูซิว่า มันมีเหตุมีผลแค่ไหน นี่แหละคือการทำตามประเพณี
    ใครๆ ก็ทำกันอย่างนั้นมาแล้ว แล้วก็มักอ้างว่าทำกันมาตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายาย
    อาตมาว่าจะทำมาตั้งแต่สมัยไหนก็ตามทีเถอะ ถ้ามันไม่ถูกก็ต้องทิ้งมันทั้งหมดนั้นแหละ... "


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=3 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=235>[​IMG] </TD><TD class=just>บุญกุศลคือความดี ไม่ก่อกวน ไม่สร้างความเดือดร้อนวุ่นวาย ดังนั้นจึงว่าเราไม่เคยได้ฟังธรรมพระพุทธเจ้าเลย เวลาของหาย ลูกตาย เมียตาย จึงพากันร้องไห้ตาเปียกตาแฉะ ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น เพราะไม่ได้ฝึกไว้ ไม่ได้ซ้อมไว้ ไม่รู้ว่าของมันเกิดได้ ตายได้ มันหายเป็น มันเป็นเรื่องธรรมดาจริงๆ นะ ดูซิ บ้านไหนเมืองไหนมันก็เป็นอย่างนี้

    พระพุทธเจ้าท่านให้มาภาวนา ภาวนาคืออะไร? คือมาทำจิตใจให้สงบเสียก่อน ปกติใจมันมีอะไรหุ้มห่ออยู่ เป็นใจที่ยังเชื่อไม่ได้ ถ้ามาทำให้สงบแล้ว มันจะเกิดความรู้สึกขึ้นมา ใจมันสบาย สงบ มันจะแสดงอะไรออกมา เห็นรูป เห็นเวทนา เห็นสัญญา เห็นสังขาร เห็นวิญญาณ


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    มันจะค่อยพิจารณาไป เกิดความรู้ว่า อันนี้มันพาดี พาไม่ดี พาผิดพาถูก ท่านให้พิจารณาอันนี้ก่อน เรียกว่า สมถภาวนา เมื่อใจเราสบาย มันสว่าง มันขาว มันสงบ ความนึกคิดที่จิตใจสบายขึ้น มันต่างจากความนึกคิดของคนที่ไม่สบายใจ มีความโลภ ความโกรธ ความหลงอยู่ในใจ คือคนนึกคิดไม่ดี ใจไม่สบาย คิดไปทั่ว

    อย่างพวกเราทั้งหลายที่พากันทำวันนี้ บางคนอาจไม่เคยทำเลย เคยแต่ไปเรียนเอาคาถากับคนนั้นคนนี้ ได้คาถาแล้วก็ไปภาวนาให้พ่อให้แม่ ให้คนโน้นคนนี้ สัตว์โน่นสัตว์นี่ ให้ตนเองไม่มี ตนไม่มีความดี แต่จะให้ความดีแก่คนอื่น จะเอาความดีที่ไหนไปให้เขา อย่างเราจะภาวนาให้พ่อแม่หรือใครก็ตาม ทั้งที่มีชีวิตอยู่หรือล่วงลับไปแล้ว เบื้องแรกเราต้องภาวนาให้ตัวเองก่อน เพื่อชำระความชั่วออกจากจิตใจ ให้ความดีปรากฏขึ้นในตัวเรา ต่อจากนั้นจึงแผ่ความดีที่ตนมีตนได้ให้แก่คนอื่น อย่างนี้จึงจะสำเร็จประโยชน์ได้ ไม่ใช่ว่าให้ทั้งๆ ที่ตนเองไม่มี นี่คือความเข้าใจผิด ภาวนาแล้วก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร

    การภาวนาคือทำให้เกิดขึ้นมีขึ้น ที่ไม่รู้ทำให้มันรู้ ที่ไม่ดีทำให้มันดี ใจเป็นบาปเป็นกรรมทำให้เป็นบุญเป็นกุศล การสร้างบุญไม่ใช่ทำโดยการให้ทานอย่างเดียว การรักษาศีล การเจริญเมตตาภาวนา การฟังธรรมเหล่านี้เป็นบุญทั้งหมด เป็นเหตุที่จะให้บุญเกิด บางคนจะทำบุญแต่ละที ก็คอยแต่จะให้มีเงินมากๆ เสียก่อน เลยไม่ได้ทำสักที เห็นคนอื่นทำก็ออนซอนกับท่าน คิดว่าเพิ่นบุญหลายนอ คนไม่รู้จักบุญ บุญไม่ใช่อย่างนั้น การละความชั่ว ละความผิดมันก็เป็นบุญแล้ว การรักษาศีล การเจริญภาวนา การฟังพระธรรมเทศนา ทำให้เกิดความเฉลียวฉลาดขึ้นมา เหล่านี้ก็ทำให้เกิดบุญขึ้นได้ แล้วคนเราสมัยนี้เข้าใจว่า การทำบุญก็คือการให้ทานเท่านั้น เพราะส่วนมากได้ยินพระท่านเทศน์เรื่อง ทานบารมี ทานอุปบารมี ทานปรมัตถบารมี แต่ไม่ได้อธิบายให้เกิดความเข้าใจ

    (ออนซอน : พลอยยินดีกับคนอื่นในสิ่งที่เขาทำได้ แต่ตนเองไม่มีวาสยา แต่แฝงด้วยความอยากมีอยากเป็นเช่นนั้น)

    คนส่วนมากจึงมักเข้าใจกันว่า การทำบุญคือการนำเอาสิ่งของไปถวายพระมากๆ คนยากคนจนก็เลยทำไม่ได้ เพราะไม่เข้าใจภาษาบาลีดังที่กล่าว

    ความจริงเรื่องการให้ทานท่านแบ่งไว้ 3 ระดับ คือการเสียสละสิ่งของภายนอกจัดเป็นทานบารมี การสละอวัยวะจัดเป็นทานอุปบารมี การสละชีวิตจัดเป็นทานปรมัตถบารมี หรือ ยอมเสียทรัพย์เพื่อรักษาอวัยวะ ยอมเสียอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต ยอมเสียชีวิตเพื่อรักษาธรรม

    เหล่านี้ถ้าเราเข้าใจก็ไม่มีปัญหา ไม่ว่าคนรวยคนจนก็สามารถทำบุญให้ทานได้ โดยเฉพาะทานที่ไม่ต้องสิ้นเปลืองทรัพย์สินเงินทอง คือ อภัยทาน ซึ่งทุกคนสามารถทำได้ และทานชนิดนี้พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญด้วย ดังนั้นการสร้างคุณงามความดีมีอยู่หลายอย่าง ให้พากันเข้าใจ บางคนคิดว่าการทำบุญให้ทานได้ผลอานิสงส์มาก ก็ทุ่มเทใส่จนหมดเนื้อหมดตัว ไม่รู้เรื่อง

    ส่วนคนรู้เรื่อง มีขนาดไหนก็ใช้ไปขนาดนั้น มันอยู่ที่การกระทำ ถ้าทำถูกมันเป็นบุญเป็นกุศลทุกอย่างนั้นแหละ ตัวอย่างเช่น การช่วยเขาขุดบ่อน้ำริมถนน เราผ่านไปก็ได้เห็น เขาทำอะไรก็ช่วยทำ ถามว่าได้บุญไหม ตอบว่าได้ ได้อย่างไร การช่วยเขาขุดบ่อน้ำ ต่อไปภายหน้าเราก็ไม่ต้องซื้อน้ำ ใครผ่านมาก็ไม่ต้องซื้อกิน เพราะเป็นน้ำสาธารณะ ให้ความสุขแก่มนุษย์ทั่วๆ ไป อย่างนี้เป็นต้น

    <TABLE><TBODY><TR><TD class=just>อย่างเราอยู่ศาลาก็ช่วยเขาปักกวาด เขาถอนหญ้าเราก็ช่วย เขาทำอะไรก็ช่วย ไปอาศัยบ้านเขาอยู่ก็เหมือนกัน จะเป็น 2 วัน 3 วัน ก็ต้องช่วยเขาทำในสิ่งที่เราทำได้ นี้เรียกว่า บุญ บุญมันอยู่ที่ใจของเราบ้านไหนมีบุญเรารู้ได้ คนในบ้านรู้จักเคารพพ่อแม่ เคารพผู้เฒ่าผู้แก่ ทำอะไรก็มีความสุข มีความหมาย คนไม่รู้จักบุญก็วุ่นวายอยู่นั่น จะทำบุญแต่ละครั้งต้องฆ่าเป็ด ฆ่าไก่ ฆ่าวัว ไม่รู้จักเสียเลยจริงๆ บุญไม่ลำบากอย่างนั้นนะ ง่ายๆ ทำไปแล้วสบาย คิดขึ้นมาตอนไหนก็สบายใจ จะอยู่บ้านไหนเมืองไหนก็สบาย ไม่ทะเลาะเบาะแว้งกัน ถ้าเข้าถึงธรรมะแล้วเป็นอย่างนั้น

    </TD><TD width=242>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE>
    โยมผู้ชายก็รู้เรื่องโยมผู้หญิง โยมผู้หญิงก็รู้เรื่องโยมผู้ชาย คนหนึ่งโมโห อีกคนหนึ่งก็เฉยเสีย ปล่อยเสีย มันก็สบาย ถ้าไม่รู้จักศีลรู้จักธรรมก็ทะเลาะกันทั้งเช้าทั้งเย็น กูหนึ่ง มึงสอง ไม่รู้จักหยุด ผลที่สุดก็พัง มันก็เดือดร้อน ถ้ารู้จักศีลรู้จักธรรมไม่ต้องเถียงกันหรอก พูดกันคำสองคำก็รู้เรื่อง หยุด มีความเคารพกันอย่างนั้น ผู้ไม่มีศีลมีธรรมก็ดันกันอยู่นั่นแหละ กูสอง มึงสาม กูสี่ มึงห้า เอาตลอดคืนเลย อย่างนี้เรียกว่า หาความไม่ดีมาใส่ตัวเอง คือยังไม่เข้าใจธรรมะ ถ้ารู้จักธรรมะแล้ว โยมผู้หญิงผู้ชายอยู่ด้วยกันสบาย ซื่อสัตย์ต่อกัน จะพูดอะไรก็พูดแต่คำจริงคำสัตย์ ไม่นอกใจกัน อันไหนผิดไปแล้วก็ให้มันแล้วกันไป อย่าเก็บเอามาพูด มันก็จบ อันนี้ไม่อย่างนั้น ของเก่าตั้งแต่สมัยไหนก็ขุดค้นมาว่ากัน จนเกิดทะเลาะกันวุ่นวาย

    อยู่ในวัดวาอาราม พระเจ้าพระสงฆ์มีความสามัคคีกัน องค์หนึ่งพูดแล้วก็จบ ไม่มีปัญหา อยู่ในบ้านในเรือนก็เหมือนกัน พ่อแม่พูดแล้วก็แล้วกัน นี้เรียกว่า อำนาจของศีลของธรรม ถ้ามีศีลมีธรรมมันง่ายอย่างนี้ สีเลนะ สุคะติง ยันติ... เราจะมีปัญญาพ้นจากทุกข์ได้ก็เพราะศีลนี่แหละ ให้เราพิจารณาอย่างนี้

    เมื่อก่อนมีโยมคนหนึ่งเป็นชาวส่วย มาหาอาตมา ถามว่า "ครูบาจารย์ให้ข้าน้อยรักษาศีลจะให้กินอะไร" อาตมาตอบว่า "ก็กินศีลนั่นแหละ" กินอย่างไร แกสงสัย เลยบอกว่า รักษาไปเถอะ เดี๋ยวก็ได้กินหรอก แกคิดไม่ออก แย่จริงๆ วันหนึ่งแกมารักษาอุโบสถ แกบอกว่าไม่รู้คิดอย่างไรหนอ จึงไม่ให้กินข้าวเย็น ลองกินดูก็ไม่เห็นเป็นอะไร เห็นแต่มันอร่อยเท่านั้น แกว่า แล้วทำไมจึงไม่ให้กิน แกคิดไป เลยลองกินดูว่า มันจะผิดเหมือนผีเข้าจ้าวศูนย์หรือเปล่า กินดูแล้วก็ไม่เห็นเป็นอะไร ดีเสียอีก แกว่า ชั่วขนาดนั้นก็มีนะคนเรา แกมารักษาศีล อาตมาเลยบอกว่า เอ้า ให้รักษากันจริงๆ ลองดู ทุกวันนี้รู้จักแล้ว อาตมากลับไปเยี่ยมที่ภูดินแดง (สาขาที่ 3) แกมากราบทุกปี มาสารภาพกับอาตมาว่า "โอ๊ย ครูบาจารย์แต่ก่อนผมไม่รู้เรื่องจริงๆ ครูบาจารย์ว่าให้กินศีล ผมไม่รู้เรื่อง เดี๋ยวนี้คิดได้แล้ว ก็กินศีลอย่างครูบาจารย์ว่า ทุกวันนี้เลยสบาย"

    คนเราให้รักษาศีลรักษาธรรม ก็กลัวแต่ทุกข์ยากลำบาก มันไม่ใช่อย่างนั้นนะ ศีลธรรมให้ความเบา ความสบายแก่เรา ไม่มีโทษไม่มีภัย คิดไปข้างหน้า คิดไปข้างหลังก็สบาย ถ้ามีศีลธรรม คิดไปข้างหลังความผิดเราก็รู้จัก เมื่อรู้จักเราก็ละพวกนั้น ต่อไปก็บำเพ็ญคุณงามความดี มองไปข้างหน้าก็สบาย มองไปข้างหลังก็สบาย ดังนั้น ความทุกข์ทั้งหลายมันอยู่ที่ความเห็นผิด ถ้าเห็นผิดมีทุกข์ทันที ถ้าเห็นถูกแล้วก็สบาย พระศาสดาท่านจึงให้สร้างความเห็น การฟังเทศน์ฟังธรรมก็เพื่อสร้างความเห็นของเรา คือเรายังเห็นไม่ถูกต้อง

    ความจริงสิ่งทั้งหลายทั้งปวงนั้นมันพอดี มันสม่ำเสมออยู่ทุกสิ่งทุกอย่าง เหมือนต้นไม้ในป่านั่นแหละ ต้นยาวก็มี ต้นสั้นก็มี ตรงก็มี คดก็มี ต้นที่มีโพรงก็มี มีทุกอย่าง มันพอดีของมัน คนต้องการต้นคดก็ไปเอา ต้องการต้นตรงก็ไปเอา อยากได้ต้นสั้นต้นยาวก็ไปเอา มันเลยพอดีของมัน ในโลกนี้ก็เหมือนกัน มีทุกสิ่งทุกอย่าง แต่เราไม่รู้จักเอามาใช้ ถ้าเอามีดมาใช้มันก็เอาสันมันมาใช้ มีดเล่มเดียวกันนั่นแหละ ใช้ไม่เป็นก็ไม่เกิดประโยชน์

    ธรรมทั้งหลายก็เหมือนกัน ถ้าเราพิจารณาไม่ถูกเรื่องก็ไม่ได้บุญ ไม่ได้ประโยชน์ เหมือนคนฟังธรรมไม่เข้าใจ ไม่ได้ธรรมะ ปัญญาก็ไม่เกิด เมื่อปัญญาไม่เกิด ความเห็นถูกมันก็ไม่มี ถ้าความเห็นไม่ถูกต้อง การปฏิบัติก็ไม่เป็นผล ผลสุดท้ายฟังเทศน์ฟังธรรมก็เลยเบื่อ เพราะฟังแล้วไม่ได้อะไร อย่างนี้ก็มีอันนี้เพราะความไม่เข้าใจในธรรมะ ถ้าเขาใจในธรรมะแล้วไม่มีปัญหา สบาย

    นั่นแหละท่านจึงบอกว่า ธัมโม จะ ทุลละโภ โลเก การที่จะได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้านี้ก็ยาก คนพูดคนเทศน์มีเยอะ ที่ไหนๆ ก็มี ไม่รู้ว่าพูดขนาดไหน คนปฏิบัติก็เยอะ ไม่รู้ปฏิบัติขนาดไหน ไม่รู้ถูกหรือผิดมันยาก

    ปัพพะชิโต จะ ทุลละโภ ฟังธรรมแล้วจะได้บวชในพระศาสนานี้ก็ยาก เหมือนกับญาติโยมจะบวชลูกบวชหลานแต่ละทีมันหาโอกาสยาก ครั้นบวชแล้วจะมีศรัทธาประพฤติปฏิบัติตามธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้านั้นก็ยาก ดังนั้นทุกวันนี้มันจึงน้อยลงไปๆ

    พระพุทธเจ้าท่านทรงสอนให้เป็นคนมีปัญญา ถ้าไม่มีปัญญาไม่รู้เรื่องจริงๆ เหมือนกับสมัยก่อน มีประเพณีการทำต้นดอกผึ้ง การทำต้นดอกผึ้งเป็นความเชื่อว่า ถ้าบิดามารดาหรือญาติสายโลหิตสิ้นชีวิตไปแล้ว เกรงว่าจะไม่มีที่อยู่ แล้วจะได้รับความลำบาก หากลูกหลานสร้างปราสาทดอกผึ้งอุทิศไปให้แล้ว ก็จะได้มีวิมานหรือปราสาทอยู่อย่างสบาย ไม่น้อยหน้าใครในเทวโลก ก็ทำกันไปตามประเพณี บางทีทำหมดขี้ผึ้งเท่ากำปั้นนี้ แต่เอาควายมาฆ่า เหล้าหมดไม่รู้กี่ลัง ทำกันอย่างนี้จะได้บุญเมื่อไร

    สมมุติว่าเราตาย ลูกหลานทำต้นดอกผึ้งไปให้ เราจะต้องการไหม นึกอย่างนี้ก็น่าจะเข้าใจนะพวกเรา ต้นดอกผึ้งมันจะพาไปสวรรค์ไปนิพพานได้เมื่อไร มันเรื่องเกจิอาจารย์เขียนกันขึ้นมา ว่าทำอย่างนี้ได้บุญหลาย ใครทำแล้วจะได้ไปเกิดเป็นนั่นเป็นนี่ เราลองมาพิจารณาดูซิว่า มันมีเหตุมีผลแค่ไหน นี่แหละคือการทำตามประเพณี ใครๆ ก็ทำกันอย่างนั้นมาแล้ว แล้วก็มักอ้างว่าทำกันมาตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายาย อาตมาว่าจะทำมาตั้งแต่สมัยไหนก็ตามทีเถอะ ถ้ามันไม่ถูกก็ต้องทิ้งมันทั้งหมดนั้นแหละ

    พระพุทธเจ้าท่านให้มีปัญญา คือให้รู้ตามความเป็นจริง ความจริงไม่ใช่อยู่ที่การกระทำสืบๆ กันมา ความจริงอยู่ที่ความจริง เหมือนจิตใจมันโลภ มันโกรธ มันหลง มันไม่มีตัวรู้ มันก็ทำไปตามจิตที่มันหลงนั่นแหละ ก็เลยกลายเป็นประเพณีถือกันมาอย่างนั้น อันนั้นมันประเพณีของคน ไม่ใช่อริยประเพณี ไม่ใช่ประเพณีของพระพุทธเจ้า ทำไปก็ไม่เกิดประยชน์ นี่แหละท่านว่าฟังธรรม แต่ไม่ได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้า ฟังธรรมจากเกจิอาจารย์ เลยทำกันไปอย่างนั้น
     

แชร์หน้านี้

Loading...