การฝึกสมาธิ วิปัสนา กรรมฐาน มโนมยิทธิ ต่างกันยังไงคะ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย หญิงแต้ว, 28 กุมภาพันธ์ 2009.

  1. หญิงแต้ว

    หญิงแต้ว สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    35
    ค่าพลัง:
    +4
    ระหว่างการฝึกสมาธิ วิปัสนา กรรมฐาน มโนมยิทธิ ถ้าเราเพิ่งเริ่มต้น ควรใช้วิธีไหนคะ เคยแต่นั่งสมาธิปกติตามที่เคยเรียนรู้มาตั้งแต่เด็กค่ะ ทีนี้พอได้ลองไปถือศีลอยู่วัด ก็เลยเริ่มสนใจขึ้นมา เริ่มศึกษาบ้าง ถึงรู้ว่ามีวิธีปฏิบัติหลายแบบ ยิ่งพอมาเจอเว็ปนี้ข้อมูลเพียบ ยิ่งรู้สึกลังเลค่ะ ว่าควรยึดแนวทางไหนดี ปกติจะกำหนดลมหายใจเข้า พุทธ ออก โธ ธรรมดาค่ะ
     
  2. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    โดยความเข้าใจส่วนตัวนะครับ
    สมาธิ คือ การทำให้อยู่ในอารมณ์เดียวอย่างตั่งมั่น
    วิปัสนา คือ การรู้แจ้ง
    กรรมฐาน คือ การกระทำเพื่อเป็นที่รองรับที่มั่นคง แบ่งได้ 40 แบบ ทำเพื่อสร้างสมาธิ
    มโนมยิทธิ คือ ฤทธิ์ทางใจ

    แนะนำให้ไปศึกษา จากพระไตรปิฏก เกี่ยวกับการฝึกอย่างเคร่าๆก่อน ก่อนจะลงมือทำ หรือ ลองไปฟังและอ่านก่อนก็ได้ครับ ตามลิ้งค์นี้เลยhttp://www.geocities.com/thaniyo/

    จะอ่านหนังสือได้ต้องหัดอ่านให้เป็นก่อน เมื่ออ่านเป็น ก็เลือกหนังสืออ่านได้ครับ
     
  3. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    มโนมยิทธิ แปลว่า มีฤทธิ์ทางใจ
    เป็นวิชาที่ทำให้ผู้ฝึก สามารถนำจิตไปท่องเที่ยวยังภพภูมิต่างๆได้
    สถานที่หลัก ที่จะไปก็คือพระนิพพาน และพระจุฬามณีย์บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
    เพื่อให้เห็นว่าพระนิพพานที่แท้จริงมีลักษณะอย่างไร
    มโนมยิทธิ เป็นวิชา ที่ฝึกง่าย และได้อานิสงค์มากมาย

    มโนมยิทธิ จะต้องใช้ทั้ง กำลังจากทั้งสมถะ และวิปัสสนา จะขาดส่วนใดส่วนหนึ่งไม่ได้เลย
    ในส่วนของสมถะ ก็คือต้องทำให้จิตสงบ
    ในส่วนของวิปัสสนา ก็คือการพิจารณาร่างกาย จนจิตไม่ติดในร่างกาย จิตมีความสะอาด
    เมื่อจิตมีทั้งความสงบ และสะอาด ก็จะสามารถบังเกิดฤทธิ์ทางใจได้

    สนใจการฝึกปฏิบัติแบบมโนมยิทธิใช่ไหมครับ
    หากสนใจก็ลองไปฝึกที่วัดท่าซุง หรือซอยสายลมดูสิครับ
    ซอยสายลมอยู่ ใกล้ๆสถานีรถไฟฟ้าซอยอารีย์ครับ

    65_1182878122.jpg_727.jpg

    ลองไปฝึกดูก็แล้วกันครับ
     
  4. หญิงแต้ว

    หญิงแต้ว สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    35
    ค่าพลัง:
    +4
    แนะนำให้ไปศึกษา จากพระไตรปิฏก เกี่ยวกับการฝึกอย่างเคร่าๆก่อน ก่อนจะลงมือทำ หรือ ลองไปฟังและอ่านก่อนก็ได้ครับ ตามลิ้งค์นี้เลยhttp://www.geocities.com/thaniyo/


    ขอบคุณค่ะจะลองเข้าไปอ่านดูก่อน ตามคำแนะนำค่ะ
     
  5. หญิงแต้ว

    หญิงแต้ว สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    35
    ค่าพลัง:
    +4



    ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ แต่สำหรับการฝึกแบบนี้ รู้สึกกลัวๆค่ะ แล้วจะแน่ใจได้ยังไงคะ ว่าเราเห็นจริง ไม่ได้หลอนไปเอง เอ่อ ที่ถามไม่ได้เจตนาจะลบหลู่นะคะ สงสัยจริงๆค่ะ
     
  6. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,075
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ตราบใดยังมีอามิส ไม่ใช่นิพพาน ^-^
     
  7. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ดีแล้วครับๆ....ศึกษาให้เข้าซักหน่อย พอฝึกจริงๆ จะได้เข้าใจมากขึ้น
    ยินดีด้วยครับ


    การฝึกสมาธิ วิปัสนา กรรมฐาน มโนมยิทธิ ต่างกันยังไงคะ


    มาดูว่าแตกต่างกันอย่างไร

    วิปัสนา เป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดปัญญา เห็น ความไม่เที่ยงของกาย ของจิต ... ความลำบากกายลำบากจิต ... ความบังคับกาย บังคับจิตให้ถาวรมิได้ ..เพื่อแจ้งถึง นิพพาน ...กระบวนการนี้ อยู่ใน หมวดที่เรียกว่า
    สติปัฏฐาน 4 ซึ่งเมื่อเราเรียนรู้ วิธีการนี้แล้วอย่างรู้ถูก ก็จะสามรถทำควบคู่กับกองสมาธิ( กรรมฐาน 40 แบบ) ที่เราเลือกมาได้

    สมาธิ เป็นกระบวนการที่ทำให้จิตได้ตั้งมั่น พอจิตตั่งมัน ก็จะมีกำลัง มีพลังจิต
    การสร้างสมาธิ แยกได้เป็น
    1.ส่วนที่เป็น กุศล ต้องอาศัย ทาน ศีล เป็นพื้นฐาน ซึ่ง พระพุทธเจ้า แนะนำในสร้างสมาธินี้ไว้ 40 แบบ ตามแต่ที่ชอบ อย่างใดอย่างหนึ่ง
    2.ส่วนที่เป็นอกุศล คือพวกทีฝึกเวทมนต์ไสยศาสตร์ในการปองร้าย

    กรรมฐาน เป็น ชื่อเรียก ประเภท สามารถเรียกได้ เช่น
    วิปัสนากรรมฐาน
    สมถะกรรมฐาน สมถะกรรมฐาน ก็คือ สมาธิ ที่พระพุทธเจ้าท่านแนะนำที่เป็นกุศล
    เพื่อเป็การเรียกที่เป็นรูปแบบ

    มโนมยิทธิ คือ ฤทธิ์ทางใจ ต้องอาศัย สมาธิการฝึก ให้จิต ตั่งมั่น จนถึงภาวะที่เรียกว่า ฌาน 4 ก่อน จึงจะฝึกฤทธิ์ทางใจ หรือมโนมยิทธิได้ดี ซึ่งยังอยู่ในหมวด สมาธิอยู่ หรือเรียก ว่า หมวด สมถะอยู่

    ว่าอีกอย่าง คือ
    อาหารเป็นคำๆ เป็นกำลังให้กาย ... สมาธิก็เป็นกำลังให้จิต วิปัสนาก็เป็นดั่งอาวุธของจิตที่สู้กับ กิเลส ตัณหา อวิชาได้...

    คงพอจะเข้าใจความแตกต่างได้บ้างนะครับ..
     
  8. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    ฝึกอันใหนก็ได้หละครับ.....มีผลเสมอกันนะ.....ต้องดูองค์ประกอบหลายอย่างเหมือนกันนะ....อย่างแรก ศีล(ก็แบ่งไปอีก 5 , 10 ,227) , สมาธิ (กรรมฐาน 40 กอง ให้ดีต้องดูจริตเราจะพัฒนาได้เร็ว) , ปัญญา (เป็นผลได้อย่างอย่างแรกทั้ง 2 อย่าง ประกอบด้วยการพิจารณาและเกิดความรู้เห็นตามความเป็นจริง)

    บอกได้เลยครับว่าทุกกองมีค่าและมีผลเสมอกัน....ไม่มีอันใดดีไปกว่ากัน.....แล้วแต่คนที่ฝึก......อยู่ ในหมวดของสมถะ.....เพื่อให้เกิดความสงบ มีกำลังไปสู่วิปัสสนา(เจริญปัญญา)...........

    ไม่ว่าจะฝึกแบบมหาสติ หรือ กรรมฐาน 40 ก็ตาม จุดแรกซึ่งเป็นกรรมฐานแม่บทคือ อานาปานุสสติกรรมฐาน(ในกรรมฐาน 40....ในมหาสติเรียกว่า อานาปานบรรพ )......จะต้องทำได้.......ที่คุณฝึกถูกแล้ว ........ทำต่อไป......ไม่ต้องไปเริ่มใหม่นะ...เสียเวลา....ทำต่อไป....

    ส่วนวิชชามโน....นั้น....ประกอบไปด้วยกรรมฐานหลายหมวดรวมกัน...ใช้ร่วมกัน เช่น อานา + กสิน + วิปัสนา แล้วถึงจะเป็น วิชชามโน ..........ผู้ไม่เคยได้ฝึกตอบไม่ได้หลอกครับนอกจากเดา......ฉนั้น.....ถ้าอยากรู้ไปฝึกเอง.........

    สรุปแล้วสำหรับคุณนั้น.....ให้ผมแนะนำนะ.......อย่าทิ้งของเดิม.....อย่าเห็นอันใหม่ดีกว่าอันเก่า.........แนะนำให้ศึกษาต่อที่นี่ นะ ......วิธีฝึกกรรมฐานด้วยตนเองแบบง่ายๆ....จะยกตัวอย่างมานิดหน่อยนะครับ.....แนะนำให้อ่านทั้งหมด 1 รอบ แล้วปฏิบัติตามเลยนะ......บอกได้นะครับ....คำถาม ทางการปฏิบัติส่วนใหญ่ใน บอร์ดนี้ อยู่ในนี้ทั้งหมด....อ่านจบทำตาม....สงสัยอ่านต่อแก้ไม่ได้ค่อยถาม(เป็นวิธีการปฏิบัติของผู้ที่เอาดี...).........


    <TABLE width="46%" align=center border=1><TBODY><TR><TD>เริ่มทำสมาธิ

    </TD></TR></TBODY></TABLE></B>​
    เริ่มทำสมาธิใช้วิธีง่าย ๆ ไม่ต้องมีพิธีรีตองมาก ใช้ธูปเทียนเท่าที่มีบูชาพระ
    ใช้เครื่องแต่งกายตามที่ท่านแต่งอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องแต่งตัวสีขาว ฯลฯ เป็นต้น
    เพราะไม่สำคัญที่เครื่องแต่งตัว ความสำคัญจริง ๆ อยู่ที่ใจ ให้คุมอารมณ์ใจให้อยู่ตามที่เรา
    ต้องการก็ใช้ได้


    <TABLE width="43%" align=center border=1><TBODY><TR><TD>อาการนั่ง

    </TD></TR></TBODY></TABLE></B>​
    อาการนั่ง ถ้าอยู่ที่บ้านของท่านตามลำพัง ท่านจะนั่งอย่างไรก็ได้ตามสบาย จะนั่งขัดสมาธิ
    นั่งพับเพียบ นั่งห้อยเท้าบนเก้าอี้ หรือ นอน ยืน เดิน ตามแต่ท่านจะสบาย ทั้งนี้หมายถึงหลังจากที่ท่าน
    บูชาพระแล้ว เสร็จแล้วก็เริ่มกำหนดรู้ลมหายใจเข้า และหายใจออก คำว่า กำหนดรู้ คือหายใจเข้าก็รู้
    หายใจออกก็รู้ ถ้าต้องการให้ดีมาก ก็ให้สังเกตด้วยว่าหายใจเข้ายาวหรือสั้น หายใจออกยาวหรือสั้น
    ขณะที่รู้ลมหายใจนี้ และเวลานั้นจิตใจไม่คิดถึงเรื่องอื่นๆ เข้าแทรกแซง ก็ถือว่าท่านมีสมาธิแล้ว
    การทรงอารมณ์รู้เฉพาะลมหายใจเข้าออก โดยที่อารมณ์อื่นไม่แทรกแซง คือไม่คิดเรื่องอื่นในเวลา
    นั้น จะมีเวลามากหรือน้อยก็ตาม ชื่อว่าท่านมีสมาธิแล้ว คือตั้งใจรู้ลมหายใจโดยเฉพาะ


    <TABLE width="41%" align=center border=1><TBODY><TR><TD>ภาวนา

    </TD></TR></TBODY></TABLE></B>​
    การเจริญกรรมฐานโดยทั่วไปนิยมใช้คำภาวนาด้วย เรื่องคำภาวนานี้อาตมาไม่จำกัดว่า
    ต้องภาวนาอย่างไร เพราะแต่ละคนมีอารมณ์ไม่เหมือนกัน บางท่านนิยมภาวนาด้วยถ้อยคำ
    สั้น ๆ บางท่านนิยมใช้คำภาวนายาว ๆ ทั้งนี้ก็สุดแล้วแต่ท่านจะพอใจ อาตมาจะแนะนำคำภาวนา
    อย่างง่ายคือ "พุทโธ" คำภาวนาบทนี้ ง่าย สั้น เหมาะแก่ผู้ฝึกใหม่ มีอานุภาพและมีอานิสงส์มาก
    เพราะเป็นพระนามของพระพุทธเจ้า การนึกถึงชื่อของพระพุทธเจ้าเฉย ๆ พระพุทธเจ้า
    ตรัสไว้ในเรื่อง มัฏฐกุณฑลีเทพบุตร ว่าคนที่นึกถึงชื่อท่านอย่างเดียว ตายไปเกิดเป็นเทวดา
    หรือนางฟ้าบนสวรรค์ไม่ใช่นับร้อยนับพัน พระองค์ตรัสว่านับเป็นโกฏิ ๆ เรื่องนี้จะนำมาเล่า
    ข้างหน้าเมื่อถึงวาระนั้น
    เมื่อภาวนาควบคู่กับรู้ลมหายใจจงทำดังนี้ เวลาหายใจเข้านึกว่า "พุท" เวลาหายใจออก
    นึกว่า "โธ" ภาวนาควบคู่กับรู้ลมหายใจตามนี้เรื่อย ๆ ไปตามสบาย ถ้าอารมณ์ใจสบายก็ภาวนา
    เรื่อย ๆ ไป แต่ถ้าเกิดอารมณ์ใจหงุดหงิดหรือฟุ้งจนตั้งอารมณ์ไม่อยู่ก็จงเลิกเสีย จะเลิกเฉย ๆ
    หรือดูโทรทัศน์ หรือฟังวิทยุหรือหาเพื่อนคุยให้อารมณ์สบายก็ได้ (เพื่อเป็นการผ่อนคลาย
    อารมณ์) อย่ากำหนดเวลาตายตัวว่าต้องนั่งให้ครบเวลาเท่านั้นเท่านี้แล้วจึงจะเลิก ถ้ากำหนด
    อย่างนั้นเกิดอารมณ์ฟุ้งซ่านขึ้นมาจะเลิกก็เกรงว่าจะเสียสัจจะที่กำหนดไว้ ใจก็เพิ่มการฟุ้งซ่าน
    มากขึ้น ถ้าเป็นเช่นนี้บ่อย ๆ ก็จะเกิดเป็นโรคประสาทหรือเป็นโรคบ้า ขอทุกท่านจงอย่าทนทำ
    อย่างนั้น

    ศึกษาต่อได้ที่นี่ http://www.palungjit.org/smati/books/index.php?cat=148
     
  9. หญิงแต้ว

    หญิงแต้ว สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    35
    ค่าพลัง:
    +4
    พอเข้าใจแล้วค่ะ ขอบคุณผู้รู้ทุกท่านค่ะ จะพยายามฝึกปฏิบัติต่อเนื่องค่ะ
     
  10. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    จะฝึกมโนมยิทธิ ควรฝึกสมาธิ ให้ดีก่อน อย่าเพิ่งส่งจิตออกไป

    เช่น บริกรรมก็ควรเอาแต่คำบริกรรม จนจิตนิ่งเป็นเอกคตาจิต

    แล้วค่อย เอาจิตที่นิ่ง ปราศจากนิวรณ์ในตอนนั้น เจริญมโนมยิทธิื
     

แชร์หน้านี้

Loading...