"รักษาศีล ต้องสมาทานหรือไม่"
"การรักษาศีล" ท่านแบ่งไว้ ๔ แบบ คือ
- สมาทานวิรัติ ๑
- เจตนาวิรัติ ๑
- สัมปัตตวิรัติ ๑
- สมุทเฉจวิรัติ ๑
- "สมาทานวิรัติ" หมายถึง "การตั้งสัจจะต่อหน้าพระสงฆ์" กรณีขอศีลจากพระสงฆ์ว่า ข้าพเจ้าจะงดเว้น ในศีล ๕ ศีล ๘ หรือศีล ๑๐ "เหมาะสำหรับท่านที่ ไม่ค่อยมั่นใจในตัวเอง" ต้องการระลึกถึงบ่อย ๆ "คือเอาพระสงฆ์เป็นพยาน"
- "เจตนาวิรัติ" คือ "ตั้งสัจจะกับตัวเอง" ว่าจะรักษาศีลให้ครบถ้วน ให้บริบูรณ์ "เอาตัวเองเป็นพยาน" อย่างนี้ สำหรับผู้ที่มีความเชื่อมั่นในตัวเอง มีความมั่นใจสูง มีศรัทธาแก่กล้ามากขึ้น
- "สัมปัตตวิรัติ" หมายถึง ศีลเกิดขึ้นโดยธรรม แต่เป็นครั้งเป็นคราว ไม่สม่ำเสมอ ไม่ต่อเนื่องกัน เช่น "คนที่เคยยิงนก ตกปลา พอเห็นนกเห็นปลาติดอวนติดแห ก็เกิดความสงสาร จึงปล่อยนกปล่อยปลานั้นไป" อย่างนี้เรียกว่า "ศีลเกิดขึ้นโดยธรรม"
- "สมุทเฉจวิรัติ" คือศีลของบรรดาท่านพระอริยะเจ้า(ตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป) "เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องสมาทาน ไม่ต้องกำหนด" เกิดขึ้นโดยธรรมและสม่ำเสมอ ไม่มีด่างพร้อย ไม่มีเศร้าหมอง คงอยู่ตลอดชีวิต
อนิสงค์ของศีล ที่ว่า "สีเลน สุคติงฺยันฺติ สีเลนโภคสัมปทา" นั้น "เกิดจากการรักษาศีล" ไม่ได้เกิดจากการสมาทานศีล
เหตุนั้น "การรักษาศีล จะสมาทานหรือไม่สมาทาน หากงดเว้นตามข้อห้ามของศีล ก็เรียกว่า ได้บุญได้กุศล ได้อานิสงส์เสมอกัน เพราะที่สุดของศีล คือเจตนางดเว้น" (วิรัติ) ..
"การรักษาศีล ต้องสมาทานหรือไม่"
ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย วิริยะ13, 25 เมษายน 2017.
-
-
สาธุ
-
สาธุ สาธุ สาธุ
-
ขออนุโมทนา สาธุ ครับ
-
สาธุ สาธุ สาธุ ค่ะ
-
ขออนุโมทนา ครับ
อยากให้พวกที่ว่า "ถ้าไม่สมาทานศีลแล้ว ไม่ได้บุญ" มาอ่าน ครับ -
-
เหมือนเสือสองตัว ที่เห็นกวางเดินผ่าน ..
- ตัวหนึ่ง อยากกินอยากฆ่า แต่ทำไม่ได้ ได้แต่กระวนกระวายใจอยู่ "เพราะถูกขังอยู่ในกรง" (เหตุเพราะเจ็บป่วย)
- ตัวหนึ่ง มีอิสระ จะกินจะฆ่าก็ทำได้ "แต่ก็สงบอยู่เป็นปกติเพราะมีเจตนารักษาศีล"
ถามว่า "ตัวไหนได้รับอานิสงส์ของศีล" ..
ท่านจึงว่า "รักษาศีล รักษาที่ใจ เมื่อมีเจตนาที่จะรักษาศีล ศีลก็เกิดขึ้นโดยสมบูรณ์" อย่างพระโพธิสัตว์ ลอยคออยู่กลางทะเล อมน้ำไว้ในปาก ตั้งสัจจะอธิษฐานว่า "เราจะรักษาศีลตั้งแต่บัดนี้ไป" อย่างนี้ศีลก็เกิดขึ้น ..
เจริญธรรม -