ถาม : การดื่มกาแฟก่อนที่จะนั่งสมาธิ และสวดมนต์ เพื่อพยายามป้องกันไม่ให้เกิดการง่วงนอน และด้วยหวังว่าจะทำให้จิตใจมีสมาธิจดต่อกับการภาวนาและการสวดมนต์ได้ดีขึ้น จะมีโทษอันใดที่แฝงมาหรือไม่อย่างไรครับ ?
ตอบ : อันดับแรกโรคหัวใจจะถามหา ใครก็ตามที่กินกาแฟไม่ว่าจะด้วยเหตุใดก็ตาม ท้ายสุดต้องเป็นโรคหัวใจทุกคน เพราะว่าหัวใจแต่ละคนจะมีจังหวะการเต้นของตัวเอง พอเรากินกาแฟเข้าไปก็จะไปเร่งอัตราการเต้นของหัวใจให้มากกว่าเดิม ถ้ากาแฟหมดฤทธิ์ หัวใจกลับไปเต้นจังหวะเดิม เรากินใหม่หัวใจก็เต้นผิดจังหวะอีก นาน ๆ ไป จะเป็นอาการที่หมอบอกว่าหัวใจพิการ
อันดับที่สอง ถ้าเราทำโดยอาศัยสารกระตุ้นจนเคยชิน ต่อไปถ้าขาดจะไม่สามารถทำได้
ดังนั้น...เรื่องพวกนี้ต้องระมัดระวังนิดหนึ่ง ถ้าเราสามารถภาวนาจนถึงระดับปีติขึ้นไปจะไม่มีวันง่วงอย่างเด็ดขาด สามวันสามคืนก็ไม่ง่วง จึงต้องตั้งเวลาไว้ว่าเราจะภาวนานานแค่ไหน ไม่อย่างนั้นจะเพลินจนร่างกายทนไม่ไหว
ที่มา วัดท่าขนุน
กินกาแฟก่อนนั่งสมาธิ!?
ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Apinya Smabut, 12 กันยายน 2019.
-
Apinya Smabut นิพพานังสุขัง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
-
นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๒. ทุกนิบาต]
๒. ทุติยวรรค ๑๐. ชาคริยสูตร
๑๐. ชาคริยสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้ตื่นอยู่
[๔๗] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์
กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเป็นผู้ตื่น๑- อยู่อย่างมีสติ มีสัมปชัญญะ มีจิตตั้งมั่น
เบิกบาน ผ่องใส และควรเป็นผู้เห็นแจ้งสมควรแก่กาลในกุศลธรรมทั้งหลาย ในการ
ประกอบเนืองๆ ซึ่งกัมมัฏฐานนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเป็นผู้ตื่น อยู่อย่างมีสติ มีสัมปชัญญะ มีจิตตั้งมั่น
เบิกบาน ผ่องใส และเป็นผู้เห็นแจ้งสมควรแก่กาลในกุศลธรรมทั้งหลาย ในการ
ประกอบกัมมัฏฐานนั้นอยู่ พึงหวังได้ผลอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ อรหัตตผล
ในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ก็จักเป็นอนาคามี”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัส
คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
เธอทั้งหลายที่หลับอยู่ จงรีบตื่น
ที่ตื่นอยู่ จงฟังคำของเรานี้
ความเป็นผู้ตื่นจากความหลับเป็นคุณประเสริฐ
เพราะภัย๒- ย่อมไม่มีแก่ผู้ตื่นอยู่
[๔๗]@เชิงอรรถ :
@๑ เป็นผู้ตื่น หมายถึงเป็นผู้มีความเพียรเป็นเครื่องตื่น (ขุ.อิติ.อ. ๔๗/๑๙๖)
@๒ ภัย ในที่นี้หมายถึง (๑) อัตตานุวาทภัย (ภัยเกิดจากการติเตียนตนเอง) (๒) ปรานุวาทภัย (ภัยเกิดจาก
@การถูกผู้อื่นติเตียน) (๓) ทัณฑภัย (ภัยเกิดจากการถูกลงอาชญา) (๔) ทุคคติภัย (ภัยเกิดจากทุคติ) และ
@(๕) วัฏฏภัยมีชาติ เป็นต้น (ขุ.อิติ.อ. ๔๗/๑๙๙)
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๓๙๗}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๒. ทุกนิบาต]
๒. ทุติยวรรค ๑๑. อาปายิกสูตร
ผู้ที่ตื่นอยู่ มีสติสัมปชัญญะ มีจิตตั้งมั่น
เบิกบาน ผ่องใส พิจารณาธรรมโดยชอบตามกาลที่เหมาะสม
มีสมาธิเป็นธรรมผุดขึ้น๑- พึงกำจัดความมืดได้
เพราะฉะนั้นแล ภิกษุควรประพฤติธรรมเป็นเหตุให้ตื่น
มีความเพียร มีปัญญารักษาตน มีปกติได้ฌาน
ตัดสังโยชน์ในชาติและชราได้แล้ว
ก็จะบรรลุสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในอัตภาพนี้แน่นอน
แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
ชาคริยสูตรที่ ๑๐ จบ