ขอถามเรื่อง การฝึกกสิณสีขาว ครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Thumma117, 13 มกราคม 2013.

  1. Thumma117

    Thumma117 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มกราคม 2013
    โพสต์:
    58
    ค่าพลัง:
    +89
    ต้องขอ บอกก่อนว่า เมื่อ 3ปีที่แล้ว เคยลองฝึก กสิณสีแดงไว้ 2-3อาทิตย์ ก้อไม่ได้ เห็นผลอไร เรยยเลิกฝึกไป

    ... แต่เมื่อ วันพุทธที่ผ่านมา นึกลองฝึกสีขาวดูปรากฏว่า รู้สึกดีมากเลย ...แต่ทีนี้ผมมีคำถามครับ
    ผมใช้การเพ่ง แบบที่1. คือ เพ่งที่จุดกึ่งกลาง 15วินาที แล้วหลับตา จะเงาของกสิณหายไป

    ผมฝึก 15นาที ตอนเช้า ..15ตอนกลางคืน ฝึกมาได้ 4วัน

    วันที่ 2 มีอะไรแปลกๆเกิดขึ้นกับตัวผม .. สังเกตุตัวเองว่า พอมีแสงขาวๆ ไม่ว่าจาก ไอโฟน หรือ หลอดนีออน เข้าตา ผมจะรู้สึกสงบสุขมากเลย ความรู้สึกปิติ แบบเว่อร์ๆ.. เป็นแบบนี้ตลอดวัน
    ..แล้วพอผมมองโคมไฟขาวๆ กลมๆ จะมีอาการตึงๆหน้าผาก เหมือนมีอะไร ไปรวมอยู่ โดยที่ผมไม่ได้พยายาม ขอถามเป็นข้อๆดังนี้ว่า

    1. ผมควรจะไปยึดติดกับอารมณ์ สุข ปิติ กับการได้เห็นแสงสีขาวในชีวิตประจำวันหรือไม่ ครับ

    2.การที่มีอาการ ตึงเหมือนอะไรไปรวม บนหน้าผากเหนือคิ้ว โดยไม่ได้พยายามทำ (เป็นไปเอง) และ เป็นนานนด้วย ถือเป็น อาการที่ดีหรือไม่ครับ

    3. การเพ่งนั้น ให้รวมใจไปที่จุดกึ่งกลางของแผ่นกสิณ เท่านั้นหรือเปล่าครับ หรือควรมองไปทั่วๆแผ่นกสิณ
    4. การเพ่งนานๆไปเลย เช่น เพ่งยาวๆ 5นาที แล้วค่อยหลับตา เป็นการฝึกที่ผิด หรือเปล่าครับ
    5.ต้องฝึกบ่อยแค่ไหน นานแค่ไหน กว่า เงาสีดำ ๆ จะกลายเป็น สีขาว เหมือนแผ่น กสิณ จริงๆครับ

    ตอนนี้ผมมาศึกษาต่อ ที่อเมริกา เลยไม่รู้ว่าจะปรึกษาใคร จะไปฝึกที่วัดยานนาวา ก็ไม่ได้สะด้วย เลยต้องถามพี่ๆน้องๆ ในเวบนี้ครับ
    ขอบคุณครับ
     
  2. Bull_psi

    Bull_psi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +1,445
    1.ถ้าสุขเกิดจากสงบภายใน เพียงสงบก็สุขแล้ว งั้นความสุขภายนอกอันไม่เที่ยง พยับแดด เจือด้วยทุกข์อันมาก นี้มีความหมายความจริงอย่างใด ควรหลงไหลยึดถือไหม

    2.เป็นเรื่องการรวมพลังจิตเมื่อสะสมกำลังมากก็เป็นเองตามธรรมชาติ

    3.ก็เป็นทั้งสองเทคนิค ส่วนมากก็จะเพ่งจุดกลางภาพ

    4.เอาแบบไหนก็ได้ที่ทำให้ภาพติดตา ที่ชอบๆ มองสั้น มองนาน มองแว้บๆ

    5.เป็นความละเอียดที่ละเอียดขึ้น บางทีก็เข้าสู่จุดนี้ได้ยากเพราะมากไปด้วยลังเลสงสัย
    มีอีกเทคนิคนึงคือ จับลมในอานาปาณสติให้ลมขาดแล้วเลิกสมาธิมาจับภาพกสิณ
    แล้วอธิษฐานฤทธิ์ในกสิณ

    จิตที่สงบๆ จะเห็นภาพกสิณสีขาวสว่างจ้า ถึงตรงนี้อธิษฐานขอดูภาพต่างๆ

    กสิณเป็นการฝึกในระดับสมถะ ความสงบของจิตใจ ยังไม่ได้ประหารกิเลสใดๆ
    ควรฝึกวิปัสสนาไปด้วยครับ

    ประโยชน์ก็แบบ รักษาความสงบ สุข ปิติไว้ตลอด เวลามีอารมณ์ มีทุกข์มาปะทะ เราก็พยายามรักษาความสงบใจเราไว้ ประเด็นคือระงับอกุศลกรรม

    เห็นความแปรปรวนที่เกิดเห็นไตรลักษณ์
     
  3. Thumma117

    Thumma117 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มกราคม 2013
    โพสต์:
    58
    ค่าพลัง:
    +89
    ขอบคุณครับ จะลองนําไปปฏิบัติดู
     
  4. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320

    ยึดอะไร ติดอันนั้น ติดแล้วเกิดชาติภพเสมอ
     
  5. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,761
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    อาจเป็นเพราะเห็นแสงขาว แล้วจิตรวมสักพัก แม้นยังเป็นสมาธิเล็กน้อยแต่ก็รู้สึกชัด เลยรู้สึกพอใจ ที่ว่าสงบสุข แต่อาจจะยังไม่ถึงขั้น ปิติ สุข ในองค์ของสมาธิจริงๆ

    ส่วนการทำสมาธิสีขาว หากติดตาและเข้าสมาธิได้จริง ควรหาที่ทำในที่สัปปายะค่ะ เพราะการทำฌานสมถะให้จิตเป็นหนึ่ง จะไม่สามารถไปทำในที่ทั่วๆไปได้ ..การดำรงชีวิตปกติ ควรฝึกสติ คือมีสติอยู่กับสิ่งรอบๆตัวมากกว่า ยกเว้นในกรณีที่คล่องฌาน คือสามารถพลิกฌานสมาธิได้ดังใจนึก..เข้าออกได้ตามต้องการ

    ..การจะทำฌาน สามารถทำสมาธิสีขาวแสงขาวได้ทั้งหลับตาและลืมตา สมถะ เป็นการทำให้จิตนิ่งอยู่ในสิ่งที่เกาะเป็นอารมณ์หนึ่งเดียว จนเกิดอุคหนิมิต (อุปจารสมาธิเฉียดฌาน) จนถึงปฏิภาคนิมิต(อัปนาสมาธิ)

    1 ไม่ควรค่ะ ควรหาที่ที่สงบทำ หรือทำได้ชั่วครู่หากไม่เกิดอันตราย
    2 เป็นอาการที่ดีทางสมาธิ แต่ไม่ควรไปยึดจะเป็นอุปาทาน
    3 แผ่นวงกลมสีขาว เพ่งให้เป็นจุดเล็กใหญ่ได้ มองโดยรวม จนเกิดสมาธิก่อน ถ้ามีสมาธิจริงๆ มันก็กวาดได้ค่ะ แต่ถ้ายังไม่มี มันจะแตกซ่านเปล่า
    4 ก็ไม่ผิดค่ะ แต่ส่วนใหญ่เพ่งไม่นานและหลับตา แต่จะเพ่งนานคงไม่เป็นไร ขออย่าเป็นพวกแสงอันตราย จากคอมพ์ หรือไปจ้องไฟฟ้านานไป จ้องพระอาทิตย์ หรืออะไรแบบนี้ จะเป็นอันตรายได้
    5 ทำจนเป็นนิมิตจริง คือสามารถรวมจิตอยู่ที่สีขาวจนเกิดนิมิตขาวสว่างเป็นปฏิภาคนิมิต
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มกราคม 2013
  6. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,213
    ค่าพลัง:
    +3,770
    ไม่รู้ไปเอาวิธีฝึกมาจากไหนนะครับ
    การฝึกกสิณ มองรูปจนจำได้เป็นสัญญา นึกภาพได้แม้หลับตาหรือลืมตาครับ แบบของวัดยานนาวา ผมเคยไปฝึก แต่ผมว่าจะยากกว่าจำภาพแล้วนึกเสียอีก
    อีกทั้งยังเป็นการเอาภาพที่ิติดที่ประสาทตามาใช้ ไม่ได้ใช้ภาพจากใจ อ้อมเกิน

    1. โดยทั่วไปก็ไม่ควรยึดติดอะไรทั้งนั้น แต่ถ้ามันจะปีติ มันจะสุขก็ปล่อยมันไป

    2. อย่าไปคิดมากครับ จิตเราไปจ่อตรงนั้น มันก็ตึงตรงนั้นนั่นแหละ

    3. เพ่งทั้งแผ่นกสิณครับ เพ่งทั้งรูปเลย

    4. ก็ไม่ได้ผิดอะไร แต่ต้องทำใจและตาให้สบายนะครับ

    5. ฝึกกสิณ วัดผลกันเป็นเดือนๆ ปีๆครับ
     
  7. Thumma117

    Thumma117 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มกราคม 2013
    โพสต์:
    58
    ค่าพลัง:
    +89
    ขอขอบพระคุณ ทุกความเห็นครับ

    ผมเอาการฝึกมาจากวัด ยานนาวาแหละครับ .. ตามที่เค้าได้ลง ทางยูทูป อ่ะครับ(ไม่เคยไปฝึกที่วัดจริงๆครับ) เป็นการใช้ประสาทตา อย่างที่คุณ firstini ว่าแหละครับ ...ถ้าจ้องสีขาว หลับตาจะเป็นสีดำ ...จ้องแดง หลับตา จะเป็นเขียว
    ================

    อัพเดทครับ ... เมื่อวานนี้ ผมมอง จ้องแผ่นกสิณ แล้วภาวนา โอทาตกสินัง ไปเรื่อยๆ ปรากฏว่า เหมือน มีสีขาวแบบที่สว่างกว่า แผ่นกสิณกระดาษ ของผม มาซ้อนทับ แผ่นกสิณจริง .. ตอนแรกพอโผล่มา ผมตกใจ .. มันก้อหายไป ... แล้วผมลองตั้งสมาธิ มองแผ่นกสิณ ไปเรื่อยๆ สีก้อเริ่ม ปรากฏ ซ้อน แผ่น กสิณจริง คราวนี้ลองหลับตาลง ก้อเป็นเงากสิณเป็น สีดำเหมือนเดิม แต่ทีนี้ ผมเห็น สีขาวๆ ผุด ตรงกลางของเงากสิณ นั้น

    พอตอนกลางคืน ปิดไฟนอน หลับตา เห็นเหมือน เป็น ปุยเมฆสีขาว รวมตัวเป็นก้อนกลม แต่ไม่คมชัด แต่ถ้าไป พยายามมองมัน มันจะหายไป ... บางทีหลับตา มันก้อโผล่ขึ้นมาเอง แบบว่า ผมควบคุมมันไม่ได้ บางที ปิดไฟนอน มองออกไป เห็นไอ้ปุยเมฆนี้ ในความมืด โดยที่ยังไม่ได้หลับตา ...พอไปตั้งใจมอง มันก้อหายไป

    อย่างนี้คือ อาการประสาท ตาล้าหรือเปล่า ..หรือสมองผม มันจำสีขาวไปแล้ว

    (สมาธิผมดีขึ้น จากวันพุทธที่แล้วมาก เสียงรูมเมททำเสียงดัง แทบไม่มีผลต่อการฝึกกสิณผมเลย)

    ขอบพระคุณครับ
     
  8. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,213
    ค่าพลัง:
    +3,770
    การฝึกกสิณ มีสามขั้นใหญ่ๆ คือ
    การบริกรรมนิมิต เป็นการนึกถึงภาพกสิณ ให้ติดใจ
    เปรียบเหมือนกับ ตอนนี้ให้คุณนึกถึงหน้าพ่อหรือหน้าแม่
    ทำได้มั้ย ทำได้... เห็นชัดมั้ย เห็นชัด จับภาพนั้นให้ได้นานมั้ย ไม่ได้นาน
    จิตก็วอกไปหาอารมณ์อื่น นี่คือขั้นบริกรรมนิมิต
    เราจับภาพวงกลมสีขาว นึกไว้ในใจ เห็นวงกลมสีขาวนั้นชัดเจนในใจ จับภาพให้ชัดให้นาน

    ต่อมาก็คืออุคหนิมิต คือสามารถจับภาพกสิณได้ชัดเจนแจ่มใส (ในใจ)
    ไม่ว่าจะลืมตาหรือหลับตา ก็สามารถเห็นภาพกสิณนั้นได้(เห็นด้วยใจ)
    สามารถจะอธิษฐานให้ภาพกสิณใหญ่ก็ได้เล็กก็ได้ อยู่ทางซ้ายก็ได้ทางขวาก็ได้
    ขยายนิมิตกสิณให้ใหญ่เต็มฟ้าก็ได้ เรียกง่ายๆว่า เล่นภาพนิมิตได้

    จากนั้นนิมิตกสิณจะเปลี่ยนสี... เอาเป็นว่าเป็นสีสวยใสเป็นประกายแล้วกันนะครับ
    เพราะผมเองก็อธิบายไม่ถูก ถึงตรงนี้เป็นการเข้าสู่ปฏิภาคนิมิต ถึงตรงนี้เป็นกำลังสมาธิสูง
    กำลังเข้าใกล้ฌาน และเริ่มปฐมฌาน

    ขณะบริกรรมนิมิตอยู่นั้น ถ้ามีภาพอื่นปรากฏอยู่ให้ตัดทิ้งไปเสีย
    สิ่งที่คุณเห็นเป็นเรื่องปกติ เคยมีเรื่องเล่ามาแล้ว
    พระรูปหนึ่ง บริกรรมกสิณไฟ
    วันหนึ่ง ก็ร้องว่าไฟไหม้ๆๆ แล้วโดดออกจากกุฏิ ลงคูไปเลย
    นั่นเป็นเพราะบริกรรมนิมิตเตโชกสิณแล้วเห็นภาพไฟลุกท่วมห้อง ขาดสติ
    ลืมนึกไปว่านี่คือนิมิตกสิณ

    เรื่องกสิณลองหาอ่านในวิสุทธมรรคดูนะครับ
    หรือเสิร์ชคำนี้
    "เล่าการฝึกกสิณ(แสงสว่าง)จากประสบการณ์ตนเอง"
    ผมว่าท่านได้อธิบายการฝึกกสิณแบบง่ายๆและได้ผลจริง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 มกราคม 2013
  9. Thumma117

    Thumma117 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มกราคม 2013
    โพสต์:
    58
    ค่าพลัง:
    +89
    ได้ลองเสิจ หาข้อมูลเบื้องต้น ตามที่ได้แนะนำแล้ว

    ขอบคุณครับ
     
  10. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    เดี๋ยวๆ

    เดี๋ยวมาทบทวนกันก่อน

    มาทบทวนเรื่อง มโนทวาร กันสักนิด

    มโนทวารนั้น มันมี สภาพธรรมหลายอย่าง จำแนกแตกต่างกัน โดย
    เราจะเรียกว่า " อยานตนะนอก อยานตนะใน "

    อยานตนะนอก ก็หมายถง รูป สี วรรณ เสียงสูง ต่ำ รสที่สัมผัส

    ส่วน อยาตนะใน ก็หมายเอาตรง ใจระลึกได้ ใจรู้สึก

    อยาตนะในนั้น มีความทะลึ่งมาก เพราะ มันเจือด้วย อุปทาน ได้ง่าย

    เช่น เราชิมรส เปรี้ยว แต่ ใจเรามันชอบ มันมีตัณหา มันก็ รู้สึกหวาน
    ( เปรี้ยว แต่ หวานใจ เข้าใจ ความรู้สึกไหม มัน จะไม่ตรงกับความ
    เป็นจริง หากมันเจือตัณหา หรือ อุปทาน มันสามารถ ผลิกไปเป็นอย่างอื่นได้
    แต่ อาจจะหยิบยืมบัญญัติอื่นๆ มากล่าวแทน )

    ทีนี้ กลับมาที่ กสิณ กสิณที่คุณมอง เราจะหมายเอา วรรณะ หรือ ความแตกต่าง

    เรามอง กสิณขาว ก็ให้หมายเอา ตาเราที่สามารถจำแนก พื้นที่ สีขาว จากสีอื่น

    ทีนี้ หากเราไม่เข้าใจ กสิณ เราจะไปเอา กสิณแสงมาทำแทน กลายเป็นเห็น แสงขาว

    พอเข้าใจผิด แทนที่จะระลึกภาพ วรรณสีขาว ก็ไป เที่ยวคว้า แสงขาว

    เหตุนี้เองทำให้ เวลาหลับตา ใจเราผลิกไปเอา แสง ทำให้ ได้ภาพสีดำ

    แต่ถ้าเรา ทำใจให้เบาๆ ไม่เค้น ไม่เครียด แล้ว ระลึก วรรณขาว ให้ได้ ภาพ
    มันจะเหมือนเดิมทุกประการ และ มีสีขาว

    **************

    ตรงนี้ เราสามารถ ซ้อม นอกรูปบบ เพื่อ ทวนการเห็น การเข้าใจได้ โดยอาศัย
    ภาพหน้า พ่อแม่ ที่เรารัก ให้เรา นึกภาพพ่อแม่ ที่เรารัก ให้มี วรรณ ตรงตาม
    จริง โดยไม่ต้องอาศัย รูปภาพ ระลึกเอาสดๆ ได้เลย

    ภาพที่ให้ วรรณ รูปทรง สีสัน ตรงความเป็นจริง อันนั้นแหละ คือ การระลึกวรรณะ

    แต่ เนื่องจาก เราระลึกสดๆ มันจะมี มโนทวารอีกตัวหนึ่ง ทะลึ่งมาปิดบัง คือ
    ความคิดว่า ระลึกหน้าพ่อแม่

    ความคิดที่เป็นอากรระลึกหน้าพ่อแม่ มันจะไม่มี ภาพ วรรณ สีสัน มันจะมีแต่
    ความรู้สึกว่า ระลึกอยู่ ระลึกได้

    ให้ระวัง ตัวความคิดที่มาแอบบอกเราว่า ระลึกได้และ อันนี้ ให้แยก จำแนกออก
    ว่าไม่ใช่การ ฝึกระลึกวรรณะ

    แต่...................

    หากวันใด เธอท้อแท้ หมดความหวัง อยากมีพลัง ลุกขึ้นก้าวได้ใหม่

    จงใช้ใจที่ ระลึกเห็น " ตัวความคิดที่มาบดบัง " ความรับรู้ ทางอยานตนะ
    อื่นๆแทนทั้งหมด เพราะ ตัวต้นจิตคิด ตัวนี้ หากเราระลึกเห็นมันได้
    บ่อยๆ พอใจไหลไปคิด พอใจคิดมาบดบังทัศนะ เราเห็น จำแนกได้
    แล้ว สำรวมจิตไว้ตรงนี้ เธอ.....จะลัดเข้า พระนิพพาน ด้วยการฝึก

    " สติปัฏฐาน 4 " ตัดตรงเข้าเมือง นิพพาน จาก 4 ประตูใน 4 ทิศ !!!
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 มกราคม 2013
  11. Thumma117

    Thumma117 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มกราคม 2013
    โพสต์:
    58
    ค่าพลัง:
    +89
    ขอบคุณครับ สำหรับคำแนะนำ

    คราวนี้สงสัยว่า คนที่ฝึก วรรณกสิน คือพวก กสิณสี จะเจออะไรแปลกๆ แบบผมหรือเปล่า

    คราวนี้หนักกว่าวันก่อน ..
    เมื่อคืน ตอนนอน ปิดไฟ สักพัก ในความมืด ผมเห็นเมฆสีขาว กลม คล้ายวงกสิณในความมืด .... ตอนแรกนึกว่าผี ตกจายย เลยย ..
    คราวนี้ผมไม่ทราบว่าเป็น อาการประสาทตา หรือภาพจากมโนจิตร.. ผมก้อ คิดว่า ฮึ้มมม เอากะมันว่ะ ลองมอง ไอ้เมฆสีขาวนี้ดูก็ได้ ...

    คราวนี้ผมลอง ลากตาไปอีกจุดนึง คราวนี้เมฆ มันก้อตาม ไปอีก แต่ของเก่าที่มุมห้องเดิม มันไม่หายยไป ... คราวนี้ลากไป ลากมา ละเลงเต็มห้องเลยย
    เหมือนๆ กับตาผมเป็นภู่กัน แล้วเมฆนี้เป็น สีที่ละเลงไปทั่วห้อง .. เมฆสีขาวมันบดบัง เสื้อที่แขวนตรงผนัง บังเงาโต๊ะเขียนหนังสือ บังของทุกอย่างในห้อง ... คราวนี้ผมนอนในห้องที่เต็มไปด้วยเมฆอันนี้ มันอยู่เป็น ชั่วโมงเลยนะครับ ..ไม่หายไป จนผมหลับไป
    มีใครฝึกกสิณแล้วเปน แบบนี้บ้าง?
    แล้วก้อ อยากทราบว่า กสิณสีขาว มีกสิณโทษไหม
     
  12. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,801
    ค่าพลัง:
    +7,939
    เอ้ย !!

    ใช้ มโนทวารซี่คร้าบท่าน ให้ หลับตา แล้วยังเห็นภาพ

    ไม่ใช่ไปลืมตาโพลง แล้วมองนั่น มองนี่ ท่ามกลางความมืด

    การมองอะไรในความมืดเนี่ยะ หากท่างตาเล็นติน่า มันจะได้รับแสง
    มากขึ้น แต่ ตาเนื้อเราบังคับมันไม่ได้อยู่แล้ว พอตามันล้า หรือ ไม่
    สามัคคีกัน ( ตาเหล่ เข ฝ่า ฝาง ) มันก็จะ เหมือนเราเอาสีขาวไป
    ทา คือ ไปอุปทานกับ อาการตาฝางว่าเป็นกสิณ นี่ไปกันใหญ่
    [ บางสำนัก ฝึกให้ ปวดหัวตา บี้ลูกตาให้ถล้น แล้ว ภาพมันบิดๆ
    เบี้ยวๆ เกิดการเห็น แสงดาวลูกไก่ บอกว่า เป็น ภาวะของ ฌาณ
    อันนี้ก็มี ประหลาดดี ยิ่งฝึกยิ่ง ติ้งเหล่ ปัทมะ ไปเรื่อย ]

    การฝึกที่เป็น กสิณแสงขาว หรือ อาโลกากสิณ ก็ยังต้องหลับตา
    อยู่ดี จริงๆ ลืมตาก็ได้ แต่ให้เอา มโนทวารเป็นใหญ่

    เอาใจเป็นใหญ่ สำเร็จที่ใจ ไม่ใช่ อยานตนะภายนอก

    มองเห็นห้องมืด ใจจะเห็นเหมือนตอนกลางวัน หากตาเห็นตอนกลาง
    วันจะต้องมีใจเห็นเหมือนอยู่ในความมืด พอเห็นสลับไปสลับมา พวก
    นิวรณ์ พยาบาท ปฏิฆ มันจะเผยตัว ( อาโลกากสิณ ไม่ใช่ ฝึกมอง
    ภาพฉากเดียว จะต้อง มองภาพแบบรับรู้แบบ ตาปลา คือ เห็นแบบ
    ทั่วทุกมุมในคราวเดียว จะไม่มีการ อ้างอิงจุดสายตา เบลอสะเปคมาเจอถีบ )

    **************

    ตรง นิวรณ์ หรือ กิเลส เผยตัว เนี่ยะ เขาให้ยกการเห็น

    พอวันไหน นิวรณ์มันไม่เกิด กิเลสไม่เกิด เขาให้ทำการเห็นจิตที่
    ปราศจากกิเลส ปราศจากกุศล แล้ว จิตมันจะเบิกบาน เพราะความ
    ที่จิตเป็นกุศล

    พอจิตสงัดจากอกุศล สงัดจากนิวรณ์ ตรงนี้จะเป็น จิตของคนภาวนา

    พอเรา เอ้อ จิตนี่เขาพัฒนากันแบบนี้ โดยอาศัย กรรมฐานอะไรก็ได้
    ฝึกเข้ามาเพื่อให้ กิเลส นิวรณ์มันเผยตัว รู้ว่ามีในจิต หรือ รู้ว่าไม่มีใจจิต

    จิตที่ห่างกิเลส ห่างนิวรณ์ มันคือ จิตที่เป็น สมาธิ จิตที่มีปิติ มีความบันเทิง

    จิตที่สงัดจากนิวรณ์ ข้ามอภิชญา โทมนัส ได้ เราจะค่อยๆ เห็นว่า
    จิตแบบนี้ เห็นอะไร ก็ไม่เกิดการกลัว ขี้หด ตดหาย

    ต่อให้ เห็นผี เห็นสาง เห็นเทวดา นางไม้ ก็เหมือนไม่เห็น

    จิตมันจะกลัวขึ้นมาอีกครั้ง จะกังวลอีกครั้ง ก็ต่อเมื่อ จิตปราศจากการทรงสมาธิ

    ...............

    เนี่ยะ หากฝึกถูก เราจะ รู้เหตุ รู้ผล ของการ พัฒนาจิต ว่า มันดียังไง

    ไม่ใช่ ตึ๊กๆ ปึ๊กๆ แช่ แช่ แช่ ก๊อกน้ำซันว่า ไหลเป็นโจ๊ก แบบนั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 มกราคม 2013
  13. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,801
    ค่าพลัง:
    +7,939
    กาตรวจทาน จิต การพัฒนาของจิต เราเอา ความห่างกิเลส จิตตั้งมั่น

    อย่าไป ตั้งจิตผิดว่า การพัฒนาจิต คือ การเห็นอะไรแปลกๆ

    การเห็นนั่นเห็นนี่ หากฝึกผิด ลองสังเกตุเลย ใบไม้ไหว ก็ สะดุ้ง
    หมาชิวาว่าเห่าสะดุ้ง ขี้ เยี่ยว แทบแตก

    แต่ถ้า เห็นอะไรก็ตาม ยินอะไรก็ตาม จิตตั้งมั่น ไม่จม ไม่หลบมุม หลบใน
    แบบนี้ คือ จิตตั้งมั่น จิตทรงฌาณ

    จิตทรงฌาณเนี่ยะ ท่านให้หมั่นประกอบ ทำให้มากๆ กิเลสมันจะถูก
    ทำให้หมดแรงไปเรื่อยๆ จิตใจมันก็หนักแน่น มั่นคง โน้มไปสู่การเห็น
    อะไรก็ได้ แล้วแต่ กรรมเวร

    เหมือนคนเดินย่างสามขุม เข้าไปใน สนามรบที่เขาหั่น สะบั้นกันอยู่
    แต่เราไม่ได้ไปยุ่งอะไรกับเขาด้วย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 มกราคม 2013
  14. Thumma117

    Thumma117 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มกราคม 2013
    โพสต์:
    58
    ค่าพลัง:
    +89
    อ๋อ หากใช้มโนทวาร ก้อคือการระลึกภาพ กสิณกระดาษของผมใช่ไหม
    กสิณผมมีรอยตัด รอยยับอยู่ ในนิมิตของผมก็ควรจะเห็นด้วยใช่ใหม
    แบบว่าตาเปล่ามองกสิณยังไง หลับตาให้คงใว้แบบนั้น ฝึกซํ้าๆ ทุกๆภาพนั้นจะเกิดขึ้นจริงเองสักวัน

    การใช้ประสาทตา ผมก็สงสัยอยู่ว่า ชาตินี้คงไม่มีทางมองเห็นนิมิตรแน่ เพราะมันเป็นวิทยาศาสตร์ เราไม่มีทางมองภาพสีดํากลับเป็นสีขาวได้อย่างแน่นอน
     
  15. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    นิมิต ต้องเกิดใน สมาธิ ใน ฌาน ไม่ใช่นึกเอาเอง อย่างนั้น เรียก วิปัสสนึก นึกนั้นนึกนี้เอาเอง ไม่ใช่ วิปัสสนา ครับ


    กสิณมีรอยตัด รอยยับอยู่

    กสิณโทษ

    อย่าไปเข้าใจผิด แยกไม่ออก นะว่า

    พูดถึง"กสิณโทษ"

    ไม่ใช่"ฝึกกสิณแล้วจะเกิดโทษ"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มกราคม 2013
  16. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ถ้าไม่รู้ว่า กสิณ คืออะไร

    ลองถือภาพ วงกลมสีขาว แล้วลองไปตาม ฝรั่ง ดูนะ ว่าภาพนี่คืออะไร

    หรือ ถือภาพ ไปถามเด็กๆดูนะ ว่า นี่ภาพอะไร

    แล้วจะได้คำตอบ


    กสิณ นะ ต้อง จิต เห็น ใน ฌาน นิมิต กสิณ คือเห็นจริง ตามความเป็นจริง ของ กสิณ ครับ

    ไม่ใช่ นึกคิด เอาเอง นึกภาพขึ้นมาเอง ถ้าเป็นภาพ ที่นึกเอาเอง จิตยังไม่เป็น สมาธิ ฌาน นี่คือ ยังไม่ใช่กสิณ


    การนึกภาพนั้น ภาพนี่ เห็นภาพนั้นภาพนี่ นี่คือ ยังไม่เป็นกสิณ


    จะเป็น กสิณ นั้น ก็คือ การ เพ่ง ภาพกสิณ นั้นๆ ให้ เป็น ฌาน

    ถึงจะเป็น กสิณ ตามความเป็นจริง


    ถ้า ใจ ที่ เพ่งกสิณ อยู่นั้น ยังไม่เป็น ฌาน ก็คือ ยังไม่ได้ กสิณ


    กสิณ แปลว่า "เพ่ง"


    ภาพติดตา ภาพติดใจ คือ "อุคคหนิมิต"

    การเพ่งกสิณ คือ กำหนดภาพกสิณไว้ในใจ

    ใจ เป็น เพ่ง ผู้เห็น

    เห็น เพ่ง จน จิต เข้าสู่ระดับฌาน ในกสิณ นั้นๆ


    จะเป็น กสิณ ได้นั้น ต้อง เพ่ง เท่านั้น

    เพ่งภาพ ภาพกสิณ จนเป็น ฌาน ถึงจะเป็น กสิณ

    เป็น กสิณ ตามความเป็น จริง


    .

    เรียกว่า กสิณโทษ

    เพ่งอะไร ก็ต้องเป็นสีนั้น อารมณ์นั้นๆ ไม่เปลี่ยนแปลง

    ถ้าเปลี่ยนไป เรียกว่า กสิณโทษอย่างนึง


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มกราคม 2013
  17. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    กสิณไม่ใช่มโนภาพนะ กสิณนี่ต้องใช้นิมิตตรง ต้องใช้ดูวัตถุแล้วจำภาพ ไม่ใช่มโนภาพ

    กสิณไม่ใช่มโนภาพนะ กสิณนี่ต้องใช้นิมิตตรง ต้องใช้ดูวัตถุแล้วจำภาพ ไม่ใช่มโนภาพ

    กสิณไม่ใช่มโนภาพนะ กสิณนี่ต้องใช้นิมิตตรง ต้องใช้ดูวัตถุแล้วจำภาพ ไม่ใช่มโนภาพ


    .
     
  18. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ...จะฝึกกสิณกองไหนก่อนดี ?...[/CENTER]


    ถาม: ถ้าเรื่องกสิณควรจะฝึกกองไหนก่อนครับ ?

    ตอบ: ตามที่หลวงพ่อท่านบอก ท่านบอกว่าเอาตำรามาอ่านดูก่อน ชอบกองไหนมากที่สุดให้ทำกองนั้น ถ้าหากว่าชอบหลายกองให้ตั้งใจจุดธูปกราบพระ อธิษฐานว่ากองไหนที่ข้าพระพุทธเจ้าทำแล้วได้ผลเร็วที่สุดให้ชอบกองนั้นมากที่สุด ส่วนใหญ่แล้วพวกเราจะมีพื้นฐานเดิมอยู่เยอะ เพราะฉะนั้นบางทีชอบหลายกอง

    ถาม: เคยไปถามพวกที่ฝึกมโน เขาบอกว่าชาติที่แล้วผมน่าจะได้กสิณไฟมาก่อนครับ เพราะตอนนั่งสมาธิถึงจุดหนึ่งมันเหมือนกับมันแตกเป๊ะๆ จากข้างล่างมาถึงข้างบน แล้วก็พอนั่งเป็นประจำจะได้ยินเหมือนอะไรดังปั้ง ?

    ตอบ: นั่นไม่ต้องไปใส่ใจมัน คือถ้าหากว่าเป็นกรรมฐานในอดีตที่จะได้ ถึงเวลาตัวนิมิตจะปรากฏขึ้นเอง อย่างเช่นว่าเคยได้กสิณไฟมันจะปรากฏเป็นเปลวไฟขึ้นมาเอง ถึงเวลานั้นเราก็จับภาวนาต่อไปเลย แต่ถ้าหากว่ายังไม่ถึงตรงจุดนั้นกำลังยังไม่พอ อารมณ์ใจเรายังไม่เข้าถึงที่สุดของกรรมฐานกองที่ทำอยู่ นิมิตใหม่มันก็ยังไม่มา พอมันเข้าถึงที่สุดกำลังมันเต็มแล้วได้กองใหม่ก็จะมาเอง

    ถาม: อย่างหนูไม่รู้ว่าจะชอบอะไร ไม่ต้องฝึกก็ได้ใช่ไหมคะ ?

    ตอบ: ไม่ต้องฝึก...ได้จ้ะได้ แต่คราวนี้ลุงพุฒ แกจะตกลงหรือเปล่าเท่านั้นเอง ถ้าไม่มีอะไรเป็นเครื่องยึดโอกาสที่เราจะพลาดลงอบายภูมิมันเยอะ อย่างน้อยๆ จะต้องลมหายใจเข้าออกเป็นเครื่องยึด ลมหายใจเข้าออกป้องกันความฟุ้งซ่านได้ดีที่สุด ขณะที่จิตใจฟุ้งซ่านไปอารมณ์ที่อื่น ถ้าเราผูกอยู่กับลมหายใจเข้าออกมันก็ไม่ไปหาความลำบากเดือดร้อนให้กับเรา ไม่อย่างนั้นมันก็ให้เราคิดโน่นคิดนี่พาให้เราทุกข์ ไปนั่งซ้อมเอาทุกวันๆ ตรวจสอบความก้าวหน้าตัวเอง




    สนทนากับพระเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
    เดือนมิถุนายน ๒๕๔๕
    ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ


    ที่มา..
    http://palungjit.org/threads/จะฝึกกสิณกองไหนก่อนดี.157415/
     
  19. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ถ้าไม่เคยฝึกอภิญญามาก่อน หากมาฝึกในชาตินี้จะสำเร็จหรือไม่ ?

    --------------------------------------------------------------------------------






    ถาม : คนที่ทรงอภิญญา จำเป็นหรือไม่ที่ต้องสั่งสมบารมีมาก่อนถึงจะฝึกได้ ? และถ้าคนไม่เคยฝึกมาก่อน จะฝึกเอาดีในชาตินี้จะสำเร็จหรือไม่ ?

    ตอบ : การจะฝึกอภิญญาสมาบัติหรือกรรมฐานใดๆ ก็ตาม ต้องมีพื้นฐานมานับชาติไม่ถ้วนแล้ว ถ้าใครจะเริ่มต้นชาตินี้ก็อีกประมาณสัก ๔ - ๕ แสนชาติ น่าจะเริ่มได้เห็นผลบ้าง..!

    พวกเราที่นั่งที่นี่ทั้งหมด ต้องเคยทำมาแล้วทั้งนั้น ถ้าไม่เคยทำมาจะไม่มานั่งอย่างนี้ ป่านนี้ก็ไปหกคะเมนตีลังกาสนุกสนานอยู่ที่อื่นกันหมดแล้ว


    สนทนากับพระครูวิลาศกาญจนธรรม (พระอาจารย์เล็ก สุธมฺมปญฺโญ)
    ณ บ้านวิริยบารมี เดือนธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕


    ที่มา : เก็บตกจากบ้านวิริยบารมี ต้นเดือนธันวาคม ๒๕๕๕ - กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


    http://palungjit.org/threads/ถ้าไม่เคยฝึกอภิญญามาก่อน-หากมาฝึกในชาตินี้จะสำเร็จหรือไม่.407219/
     
  20. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    Copy มาจากกระทู้อื่นนะ คำตอบอาจไม่ต้องกับ คำถามของ จขกท. ไม่ต้องแปลกใจ นะครับ Copy มาจาก กระทู้อื่น


    บางที อาจมีคำถามแย้งเอาไว้ในใจ

    แต่จะตอบให้เข้าใจง่ายๆ

    สมาธิ หรือ ฌาน นั้นแบ่งออกเป็น

    ขณิกสมาธิ, ฌาน, อุปจารสมาธิ, ปฐมฌาน,
    นิวรณ์ ๕, ทุติยฌาน, ตติยฌาน (ฌาณ๓),
    จตุตถฌาน (ฌาน ๔) รูปฌาน, อรูปฌาน,

    อื่นๆ

    ซึ่ง สมาธิ หรือ ฌาน นั้น จะมี อารมณ์ องค์ประกอบแต่ละ สมาธิ หรือ ฌาน นั้น ๆ อยู่นั้นเอง


    การที่ จิต เป็น สมาธิ ฌาน หรือ ไม่ได้เป็นสมาธินั้น เราสามารถเอาไปเปรียบเทียบ ได้ในองค์ประกอบนั้นๆ



    ตอบให้สั้นๆ ที่สุดนะ



    จขกท. ปฏิบัติ โดยการ ฝึก กสิณ อยู่

    ผลของการฝึกกสิณ ก็คือ ปฐมฌาน นั้นๆ ของ องค์ กสิณนั้นๆ ขึ้นไป

    ทีนี้ เราลองไปเทียบกับ ตำรา ดูนะครับ

    ปฐมฌาน องค์ของปฐมฌาน มี 5 คือ

    ๑. วิตก
    ๒. วิจาร
    ๓. ปีติ
    ๔. สุข
    ๕. เอกัคคตา

    จะเห็นได้ว่า คร่าวๆ ไม่เข้าข่าย ของ สมาธิ ฌาน ใดๆ เลย นั้นเอง

    นั้นก็เพราะว่า จิต ยังไม่ได้เป็น สมาธิ เป็น ฌาน ในองค์ กสิณนั้นๆ นั่นเองครับ

    จิต ยังไม่ได้ ยกเข้าสู่ระดับฌาน ใดๆเลยนั้นเองครับ


    ปฐมฌาน มีอารมณ์เหมือนกับฌานในกรรมฐานอื่นๆ แปลกแต่กสิณนี้
    มีอารมณ์ยึดนิมิตเป็นอารมณ์
    ไม่ปล่อยอารมณ์ให้พลาดจากนิมิต



    ซึ่ง สิ่งที่ จขกท เล่ามาในกระทู้แรก นั้น เป็นแค่ การฝึกเริ่มแรก หรือ ก็คือ เบี้องต้นของการปฏิบัติ นั้นเอง ซึ่ง จิต ยังไม่ได้เป็น สมาธิใดๆ นั้นเองครับ



    จขกท. ลองอ่านดูครับ

    . กสิณ 10 โดย หลวงพ่อฤาษีลิงดำ พระอรหันต์แห่งวัดท่าซุง

    http://www.palungjit.org/smati/k40/kasin10.htm
     

แชร์หน้านี้

Loading...