ใบหน้าแบบราชตระกูลสุริยวงษ์
ขอเชิญท่านที่มีความจงรักภักดีและเทิดทูนในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย จงรักภักดี, 28 เมษายน 2009.
หน้า 216 ของ 234
-
-
จีนมีปืนคาบศิลาใช้ในสมัยราชวงศ์หมิง โดยมีลักษณะเป็นไกยิง
พอจะเป็นไปได้ไหมคะว่าปืนนี้เข้ามาไทยปี พ.ศ.2126 โดยคนสยามเรียกปืนชนิดนี้ว่า "ปืนนกสับ"
ในศตวรรษที่ 16 จีนผลิตปืนนกสับโดยใช้เทคโนโลยียุโรป พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตงอาจจะมีที่มาแบบนี้ จึงเป็นปืนนกสับที่จีนผลิต ตามเทคโนโลยียุโรป พม่ายังไม่มีใช้เพราะสยามนำเข้าด้วยวิธีพิเศษคือเข้ามาพร้อมกับพ่อของพระนางมณีจันทร์. ท่านจางเคยเป็นเสนาบดีกลาโหมมาก่อนจะขึ้นตำแหน่งเน่ยเก๋อ(ราชเลขานุการ) -
เมื่อจางจวีเจิ้งขึ้นเป็นบุรุษที่มีอำนาจสูงสุดในประเทศจีน เป็นไปได้ไหมว่า สมเด็จพระมหาธรรมราชาซึ่งรู้จักท่านจางอยู่แล้ว จึงเห็นเป็นโอกาศที่จะส่งทูตนำโดยพระนเรศไปขอความช่วยเหลือด้านการทหาร มีเค้านะคะ
-
น้ำพระทัยสมเด็จพระนเรศท่านมีความเสียสละสูง ท่านตั้งใจจะไม่มีลูกไม่มีภรรยา เพราะท่านพร้อมจะตายได้ทุกเมื่อ ส่วนสตรีที่มีบุตรกับท่านก่อนหน้าเจ้าขรัวจะมาถึงสยาม เป็นนางกำนัลหรือนางที่อยากรับใช้ท่านซึ่งบางนางก็มีลูกกับพระองค์ท่าน พระองค์ท่านรู้จักบ้างไม่รู้จักบ้าง แต่สภาพการณ์แบบนี้พระบิดาของสมเด็จพระนเรศไม่ทรงเห็นด้วยที่พระนเรศจะใช้ชีวิตแบบนี้ พระบิดาจึงเสาะหาหญิงที่พอเหมาะพอสมมาให้พระนเรศท่านเพื่อแต่งงาน พระบิดาเห็นว่าการแต่งงานนี้มีผลดีมากกว่าผลเสีย เพราะได้ความร่วมมือทางการเมืองและการทหารด้วย พระนเรศจึงต้องฝืนมีภรรยาเป็นตัวเป็นตนตามพระบัญชาของพระบิดา น้ำใจพระนเรศเพื่อบ้านเมืองนี้เป็นพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้
ส่วนเจ้าหญิงต่างเมืองที่เหมาะสมก็โดนบุเรงนองกวาดไปเป็นภรรยาหมดแล้ว พระราชบิดาจึงต้องหาเจ้าหญิง ท่านผู้หญิงจากแดนไกลมาให้พระโอรส
ขออโหสิกรรมกับทุกคนทุกผู้ที่ตกอยู่ในห้วงรักห้วงแค้นฝังแน่นในสัญญาติดตามมาตั้งแต่อดีตชาติทุกภพทุกชาติทุกผู้ทุกนามทั้งที่รู้ก็ดีและที่ไม่รู้ก็ดี ณ ห้วงเวลาหนึ่ง ๆ ต่างคนต่างถูกกำหนดบทบาทกันมา บทบาทเป็นเพียงมายา สลายมายาทิ้งจะพบว่า ทุกสิ่งล้วนอนิจจัง เดินตามองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นเป็นสิ่งที่ประเสริฐเลิศสุดในสามโลก ตามรอยพระพุทธองค์ -
บรรยากาศเกาะบางอออิน มีลมพัดเฉี่อยฉิวตลอดทั้งวัน สมัยสู้รบ เกาะนี้ทำหน้าที่รับเลี้ยงเด็กกำพร้าและพ่อแม่แก่ๆของทหารที่ออกรบแล้วหาคนดูแลไม่ได้ พระนเรศนำคนเหล่านี้มาให้พระนางดูแล พระนางตั้งโรงครัวใหญ่ๆเหมือนสมัยอยู่ที่บ้านกรุงปักกิ่ง โดยต้องมีอาหารพร้อมทานได้ติดครัวอยู่เสมอทั้งกลางวันกลางคืน เพราะทหารที่มาเกาะนี้อาจจะมาเข้าเวรหรืออาจจะมาประชุมทัพอาจมาถึงตอนดึกๆ เพราะเดินทางไกล ต้องอิ่มท้องทุกคน เมื่อแรกของตำหนักบ้านเลน เป็นสถานที่สำหรับงานด้านสนับสนุนกองทัพเสียมากกว่าจะอยู่เพื่อความรื่นรมย์
-
ถ้าพระองค์ไลนำกระถางธูปเก่าที่พระนางเอาไว้ปักธูปไหว้ฟ้าดินมาวางต่อที่หน้าวัดชุมพล กระถางนี้ก็น่าจะ 400 ปี แล้ว พระนางชอบทำอะไรเป็นสัญลักษณ์ของความรัก พระนางตั้งใจจะสื่อให้พระสวามีทรงทราบ. นกเป็ดน้ำคู่แปลว่าความรักนิรันดรที่มีต่อคู่ของตน
สองพระองค์ทรงบอกรักกันผ่านสัญญลักษณ์ให้กันเสมอเพื่อให้อีกฝ่ายอุ่นใจในยามที่ต้องไกลห่างกัน
-
https://youtube.com/shorts/-pII5bS9WWo?si=qjZSWr191tSQaGk4 ภาพจาก AI ภาพนี้ใกล้เคียง
ความงามของพระนางถูกถ่ายทอดลงมายังพระธิดา(เจ้าแม่วัดดุสิตองค์แรก) หลานสาวพระธิดาพระเจ้าปราสาททอง (กรมหลวงโยธาทิพย์) และเหลนสาวพระธิดาพระนารายณ์มหาราช (กรมหลวงโยธาเทพ) น่าจะออกแนวสวยหวานกันทุกพระองค์
กรมหลวงโยธาเทพแต่งสำเภาค้าขายเองทรงเก่งและคล่องแคล่วเหมือนสมเด็จทวด
พระนางมณีรัตนา เป็นชื่อแบบเป็นทางการเมื่อรับยศต้องเปลี่ยนชื่อไปจากเดิม ส่วนคำว่ามณีจันทร์เป็นสมเด็จพระนเรศทรงตั้งให้ท่านว่านางเรืองแสงได้ในที่มืด หมายถึงผิวสว่างจนมองเห็นได้ในที่มืด ทรงให้เป็นเหมือนพระจันทร์ ชื่อจริงที่ท่านจางตั้งให้ตอนเกิด ใช้อักษรภาษาสวยๆและความหมายดี แบบบัณฑิต การตั้งชื่อลูกของคนจีนจะสะท้อนความรู้ด้านภาษาศาสตร์ของผู้บิดาด้วย คนจีนที่มีความรู้จะใช้ความคิดพิจารณาอย่างมาก ในการตั้งลูกของตนเพราะชื่อลูกสะท้อนภูมิปัญญาของพ่อ แต่มาอยู่สยามแล้ว ท่านจางเปลี่ยนมาตั้งชื่อง่ายๆให้นางซึ่งชื่อแปลว่า ดอกโบตั๋น
ป.ล. คิดเพิ่มเติม ภายหลังในราชสำนักจึงมีค่านิยมอยากจะเรืองแสงได้ในที่มืดจึงมีการทาหน้าขาวเวลาถวายตัว อันที่จริงการทาหน้าขาวแบบนั้นไม่สวยขึ้นเลย คิดว่าทำเป็นประเพณีนิยมมากกว่าค่ะ
จะไปค้นหาคนสกุลจางสายสกุลก็น่าจะยังคงอยู่ สำหรับชื่อลูกผู้ชายของคนจีนจะตั้งเป็นชั้น เช่นชั้นปู่จะมีคำหนึ่งที่ใช้ร่วมกัน ชั้นพ่อก็จะมีคำหนึ่งที่ใช้ร่วมกันของคนชั้นพ่อ ซึ่งจะเป็นคนละคำจากคนชั้นปู่ ชื่อของแต่ละคนจะบอกลำดับชั้นในตระกูลว่าแก่อ่อนในเชิงสายเครือญาติอยู่ที่ชั้นไหน -
พูดถึงสายเลือด พระนางกับพระมารดาของพระนางเท่านั้นที่เป็นคนที่มีสายเลือดของเจงกิสข่านในบ้านของท่านจางหลังนี้ เนื่องจากเผ่ามองโกลอยากจะดองกับราชวงศ์หมิง จึงถวายเจ้าหญิงมาให้จักรพรรดิองค์หนึ่ง แต่พระจักรพรรดิองค์พ่อพระเจ้าว่านลี่กำลังป่วยหนัก คงจะเห็นว่าคนที่พอจะรับเจ้าหญิงเป็นชายาได้ก็คงจะเป็นท่านจางเท่านั้น เจ้าหญิงจึงแต่งเข้ามาบ้านท่านจางเป็นภรรยาที่สอง เจ้าขรัวเรียกเจ้าหญิงว่า แม่น้อย ส่วนภรรยาคนแรกของท่านจาง เจ้าขรัวเรียกนางว่า แม่ใหญ่ แม่น้อยมีลูกคนเดียวเป็นผู้หญิง ก็คือพระนางหรือเจ้าขรัวมณีจันทร์นี่แหละ เป็นที่มาว่าทำไมพระนางจึงสวยมากสวยมาย สวยปะล้ำปะเหลือ สวยเกินคนจีนทั่วไป (เจงกีสข่านก็ชอบนำสาวงามทั่วแคว้นที่ไปพิชิตมาเป็นภรรยาเหมือนกัน บรรดาลูกหลานผู้หญิงจึงมีสวยๆ)
ราชสำนักหยวน ให้ความสำคัญกับความงามโดยเฟ้นหาสาวงามมาเป็นนางสนม มีการให้คะแนนความงามด้วย ต้องได้ 16 ถึง 20 คะแนน จึงจะมีโอกาศรับใช้พระจักรพรรดิ
กุบไลข่าน กับการคัดสาวงามบำเรอเผ่ามองโกล จากบันทึก “มาร์โค โปโล” (silpa-mag.com)
ฉะนั้น
เลือดเจงกิสข่านก็มา
ตามศักดิ์ของราชวงศ์หยวน (ราชวงศ์ก่อนราชวงศ์หมิง) พระนางหรือเจ้าขรัวยังสามารถถือว่าเป็นเชื้อพระวงศ์ของราชวงศ์หยวนพระองค์หนึ่ง ผู้ใหญ่ทั้งสองด้าน (พระมหาธรรมราชากับท่านจาง จวี เจิ้ง) จึงมองว่าพระนางมณีจันทร์เป็นเชื้อพระวงศ์
เจ้าโบราณคำนึงถึงสายเลือดเป็นสำคัญ -
ประวัติวัดจูงนาง คล้ายประวัติของพระนางตอนฆ่าตัวตาย(แต่ไม่ตายเพราะช่วยทัน) ไม่อยากแต่งงานกับกษัตริย์เหมือนกันด้วย แต่พระนางโดดลงแม่น้ำเจ้าพระยา ไม่ใช่แม่น้ำน่าน
ปี 2128 พระนเรศพาพระนางกับพระธิดาวัยแบเบาะ ขึ้นพิษณุโลก พระนเรศเคยเห็นบ้านพระนางที่กรุงปักกิ่งมาแล้ว อยากให้พระนางเห็นวังของท่านที่พิษณุโลกบ้าง ขึ้นจากเรือพระที่นั่งแถวนี้กระมัง เพื่อจะขึ้นช้างต่อไปวังจันทน์ เป็นช่วงที่คนสมัยนี้อาจจะเรียกว่าช่วงฮันนีมูนของทั้งสองพระองค์ก็น่าจะได้ แต่ว่าทั้งสองพระองค์ทรงมีลูกอ่อนแล้ว ชาวบ้านเห็นกษัตริย์มาคงตื่นเต้นกันมาก มีเรื่องเล่าอะไรๆก็เล่าสู่กันฟัง(เดาสภาพการณ์) ถ้าไม่ใช่เพราะสงครามพระนเรศคงยอมให้พระนางมาอยู่ที่พิษณุโลกตามที่ทรงขอเพราะพระนางชอบอากาศที่วังจันทน์มาก มีป่าไม้ใหญ่โดยรอบและ ร่มเย็น
https://anyflip.com/gdzhb/sxwj/basic
ชีวิตคู่ของสองพระองค์หลังผ่านมรสุมช่วงแรกมาได้ ก็นับได้ว่าทรงครองคู่กันด้วยความรักที่ทรงมอบให้กันและกันอย่างสุดหัวใจ -
เพลงนี้เหมือนไว้ถวายพระเกียรติสมเด็จพระนเรศ เพลงนี้เหมาะกับบ้านเมืองสมัยของพระองค์ท่านมากที่สุด
ขอพระองค์ทรงเป็นหลักชัยของบ้านเมืองตราบนานเท่านาน -
พระราชวงศ์หลังพระเจ้าปราสาททองสืบสานคำว่า ราชสกุล สุริยวงศ์ มาตลอด
อาทิพระนามของเจ้าฟ้ากุ้ง คือ
เจ้าฟ้าธรรมธิเบศไชยเชษฐ์สุริยวงศ์
ความรู้เรื่องความเป็นสยาม ความเป็นราชสกุลสืบสานมาบนแผ่นดินนี้ยาวนาน คนโบราณก็ได้พยายามสื่อสารให้พวกเราฟังนานแล้ว แต่ว่าพวกเราแปลความหมายนี้ไม่ค่อยได้กัน -
เพิ่งรู้จากหมิงสือลู่ว่าการที่พระนเรศไปโจมตีอังวะ เป็นผู้ว่าการมณฑลกวางตุ้งและกวางสี นัดมาให้เข้าโจมตีอังวะพร้อมกัน (สงครามครั้งสุดท้ายของพระชนม์ชีพ)
-
กษัตริย์แคว้นบางแคว้นในสยามก็ได้แต่งงานกับธิดาพระเจ้ากรุงจีนอยู่เหมือนกัน การที่พระนางมณีจันทร์มาแต่งงานกับพระนเรศนั้น คล้ายการดำเนินตามรอยกษัตริย์ในอดีตของบางแคว้น (คนโบราณเขามองว่าไม่แปลก แต่คนสมัยนี้มองว่าแปลกก็เป็นไปได้ค่ะ) -
ภายหลังสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชหงสาวดีปี ๑ ในพระราชกฤษฎีกานั้นเรียกพระนามสมเด็จพระนเรศวรว่า
"สมเด็จบรมบาทบงกชลักษณ์อัครบุริโสดม บรมหน่อนรา เจ้าฟ้านเรศวร์เชษฐาธิบดี" -
ว่าด้วยคำว่า เจ้า เป็นแซ่ของกษัตริย์ราชวงศ์ซ่งใต้ด้วย และยังนำมาใช้เรียกคนที่มีเชื้อเจ้าในสยามด้วย
เจ้าพระยาดำรงราชานุภาพเขียนอธิบายยศเจ้าไว้ ดังนี้
เช่น พระเจ้าอู่ทอง ทรงเคยเป็นเจ้า ชื่อเจ้าอู่
https://th.m.wikisource.org/wiki/อธิบายว่าด้วยยศเจ้า_(2472) -
เจ้าอู่
พ่อของพระนางมณีจันทร์ (ท่านจาง) ย่อมรู้ประวัติศาสตร์ของภูมิภาคนี้ ท่านเรียกพระนเรศว่า หัวเจ้าซ่ง เป็นเพราะประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ มาแบบนั้นส่วนหนึ่ง คนเหนือก็เรียกเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินว่า หัวเจ้า เช่นในการเอ่ยถึงพระลอ
https://www.matichonweekly.com/culture/article_694933 -
ด้วยถือว่าพระนางมณีจันทร์เป็นเชื้อพระวงศ์องค์หนึ่ง พระโอรสและพระธิดา จึงดำรงพระยศเจ้าฟ้าเมื่อพระราชบิดาขึ้นครองราชย์
ภายหลังต่อมาอีก 20 กว่าปี เมื่อพระเจ้าปราสาททองได้เป็นกษัตริย์ จึงคืนพระอิสริยยศให้พระพี่นาง พระสุวรรณขวัญเมือง (เจ้าแม่วัดดุสิต) และพระเจ้าปราสาททองทรงตรากฎหมายให้โอรสธิดาของเจ้าฟ้าที่เป็นเจ้านายฝ่ายหญิง ได้ยศเจ้าฟ้าด้วยตามพระมารดา นั่นคือ ท่านโกษาเหล็ก และโกษาปาน มียศชั้นเจ้าฟ้า
สายพระยศของโกษาเหล็กและโกษาปาน จึงมีลูกหลาน เป็นหม่อมเจ้า เป็นพระยาราชนิกูล เป็นยศชั้นหม่อมเจ้า และคนในวังจะรู้กันว่าสายสกุลนี้มียศอยู่ในพระราชวงศ์ ภายหลังพระเจ้าตากสินจึงให้สร้อยพระนามรัชกาลที่ 1 ให้มีพระนามพระนเรศอยู่ในยศสมัยเป็นเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก คนในวังตั้งแต่สมัยอยุธยาน่าจะรู้กันแต่ไม่ได้พูดให้เอิกเกริก
สายสกุลชั้นหลังจึงตั้งชื่อลูกมีคำว่าทอง ตามพระมารดาที่ทรงพระนามว่า พระสุวรรณขวัญเมือง ยศชั้นเจ้าฟ้า
โกษาธิบดี (ปาน) ยศชั้นเจ้าฟ้า (เป็นเจ้าฟ้าพระราชนัดดาของพระเจ้าปราสาททอง)
https://youtube.com/shorts/BHY-Lqai-ig?si=QkF_SROa2bU0jECv
เจ้าพระยาวรวงษาธิราช (ขุนทอง) ยศชั้นพระองค์เจ้า (ลูกเจ้าฟ้า)
เจ้าพระยาวรวงษาธิราช (ขุนทอง) - วิกิพีเดีย (wikipedia.org)
พระยาราชนุกูล (ทองคำ) ยศชั้นหม่อมเจ้า (ลูกพระองค์เจ้า)
พระยาราชนิกูล (ทองคำ) - วิกิพีเดีย (wikipedia.org) -
ได้เห็นว่า กระบวนนี้เป็นพระราชพิธีตรวจพลสวนสนาม เนื่องจากอยุธยาเป็นเมืองน้ำ การตรวจพลจึงเคลื่อนด้วยกองเรือ จะสังเกตว่ามี"เจ้า" อาจจะเป็นพระเจ้าแผ่นดินก็ได้ค่ะ ยืนอยู่บนฝั่งคอยรับการเคารพ มีฉัตรกั้นแสดงฐานะเป็นเจ้า (สำหรับในสมัยพระนเรศพระองค์ไม่ประสงค์ให้เอาฉัตรมากั้น ทรงยืนเด่นในชุดพระมหากษัตริย์ผ้าสีดำคาดทอง ไม่สวมพระมาลา ยืนเด่นแม้แดดจะเริ่มแรงเพราะเข้าสู่ช่วงใกล้เที่ยงแล้ว โดยกระบวนเรือยังแล่นเข้ามาผ่านที่ประทับได้อีกเพราะเห็นกระบวนเรือต่อเนื่องไปอีกไกล) ฝรั่งวาดไว้ได้แต่เขาไม่รู้คนสยามกำลังทำอะไร (โปรดใช้วิจารณญานค่ะ เพราะพูดเท่าที่สัมผัสได้ ) ของจริงมีการสร้างที่ประทับให้กษัตริย์ทรงยืนรับการตรวจพลเป็นที่ประทับทำด้วยไม้ไม่มีหลังคา เป็นการทำที่ประทับเพื่อใช้ชั่วคราว สมัยที่มีสงคราม กษัตริย์จะไม่ทรงแสดงถึงความสบายหรือจะไม่ทรงแสดงออกถึงความอ่อนแอ การยืนรับแถวทหารได้ตลอดพระราชพิธีเป็นความทรนงองอาจของกษัตริย์นักรบ ส่วนใหญ่จะชวนทูตต่างประเทศมาชมด้วยเพื่อให้ทูตเอาไปกราบทูลพระเจ้าแผ่นดินของประเทศตนว่าสยามมีความยิ่งใหญ่เพียงใด
-
ดิฉันเคยสอบถามไปที่เพจเฟสบุ๊ค "พระนางพญา กรุวัดบ่อทองคำ จ.พิษณุโลก" ไปเมื่อประมาณปี 2557 ว่ามีสัญญลักษณ์อะไรเกี่ยวกับเด็กอ่อนบ้างไหม ทางเจ้าของเพจไม่ได้ตอบ แต่ถ้าเจ้าของเพจเข้ามาอ่านกระทู้ในนี้ น่าจะจำคำถามของดิฉันได้ เพราะดิฉันถามแปลกกว่าคนอื่น
เวลาผ่านไปเกือบ 10 ปี เข้าสู่ปลายปีที่แล้วคือปี 2566 ได้ไปตรวจสอบที่เพจอีกครั้ง ปรากฏว่า เจอ สัญญลักษณ์ที่เกี่ยวกับเด็กอ่อนแล้ว ที่ไม่ได้อธิบายตั้งแต่เจอ เพราะอึ้งอยู่ค่ะ
รูปหน้านาง
หลังเป็น ทรงประกาศอิสรภาพ
และรูปหน้านาง
หลังเป็นปลาตะเพียน (ปลาตะเพียนน่าจะหมายถึงเด็กน้อย เด็กแบเบาะ นอนเปล)
อึ้งไม่หายค่ะ ที่หาจนเจอ
พระนางมณีจันทร์ต้องถือว่าเข้าสู่ราชวงศ์สุโขทัย(พระร่วง) แต่พระเจ้าปราสาททองทรงตั้งราชวงศ์ใหม่ (ให้พระราชมารดาอยู่ในราชวงศ์สุโขทัย โดยพระเจ้าปราสาททองไม่ได้อวยยศพระพันปีในราชวงศ์ปราสาททองให้เพื่อให้ชัดเจนว่า พระราชมารดาของพระองค์เป็นเจ้าในราชวงศ์สุโขทัย) -
จากลายดาว 8 แฉก หลังองค์พระ ซึ่งข้าพเจ้าแปลความหมายไม่ออก 10 กว่าปี ด้วยความเชื่อว่า ต้องเป็นดาว 9 แฉก จึงจะเป็นมงคลตามคติของคนไทย ข้าพเจ้าไม่มีพื้นฐานการบูชาเทพเจ้าฮินดูเลยทำให้แปลความหมายไม่ได้ และวันนี้ลองหาความหมายของดาว 8 แฉกดู ก็เจอความหมายตามคติการบูชาพระแม่ลักษมี ขึ้นมา เมื่อลองอ่านดูจึงทำให้พอจะเข้าใจแล้วว่าทำไมพระกรุนี้มีดาว 8 แฉก หลังพระ เกือบครึ่งกรุ
พระนเรศทรงพิจารณาแล้ว พระนางทรงงามมาก ทรงมั่งคั่งมาก ทรงมีพระธิดาให้พระองค์ ทรงทำให้แผ่นดินบริบูรณ์ขึ้น จึงทรงเปรียบพระนางมณีจันทร์เสมือน พระแม่ลักษมี ซึ่งพระแม่จะมาเกิดคู่พระวิษณุเสมอ ไม่ว่าพระวิษณุจะอวตารลงมาเป็นพระองค์ใด ทั้งสองพระองค์ทรงเกิดมาเพื่ออยู่คู่กัน
พระกรุนี้ คนยังไม่เชื่อถือเพราะคติการสร้างพระแปลกประหลาดกว่าพระกรุอื่นนั่นเอง
พระนางมณีจันทร์ทรงสวยและรวยมาก และทรงอวตารตามลงมาเพื่ออยู่คู่พระนเรศ
โพสนี้เมื่อโพสแล้วขนลุกซู่ตลอดเวลา
พระลักษมี ในศาสนาพุทธมหายาน และทิเบต คือ พระวสุนธรา เป็นองค์เดียวกัน
วสุธารา (Vasudhārā) ในภาษาสันสกฤตมีความหมายว่า "สายธารแห่งอัญมณี" เป็นพระโพธิสัตว์แห่งความมั่งคั่ง ความเจริญรุ่งเรือง และความอุดมสมบูรณ์ ตามคติเถรวาทคือพระแม่ธรณีที่บีบมวย แต่ในคติพุทธศาสนาของชาวเนวาร์ในเนปาล เป็นพระโพธิสัตว์สตรีที่อำนวยพรความมั่งคั่ง ความเจริญรุ่งเรือง และความอุดมสมบูรณ์ จึงมีความเกี่ยวโยงกับการบูชาพระศรี หรือพระลักษมี เทพีของศาสนาพราหมณ์ ซึ่งทางมหายานในญี่ปุ่นบูชาเป็นเทพีแห่งความมั่งคั่งทางพุทธศาสนาเช่นกัน ปัจจุบันชาวเนวาร์ไม่นิยมบูชากันมากนักแล้ว
ในคัมภีร์เรื่อง "สุจันทรอุบาสกปริปฤจฉา" กล่าวว่า
คนธรรมดาผู้ยากไร้ที่ชื่อสุจันทร มาเข้าเฝ้าพระศากยมุนีพุทธเจ้า เพื่อขอวิธีที่จะมีเงิน มีทอง ธัญญาหารและอัญมณีมากมายมาเลี้ยงครอบครัวใหญ่ของเขา และจะได้ทำโภคทรัพย์นั้นมาทำการกุศล พระศากยมุนีพุทธเจ้าทรงพิจารณาเห็นว่ามนต์พระโพธิสัตว์วสุธาราจะเหมาะกับวัตถุประสงค์ของสุจันทรอุบาสก พระองค์จึงสอนคาถาและพิธีกรรมปฏิบัติที่จะส่งผลให้โชคลภาและความเจริญรุ่งเรือง เมื่อสุจันทรอุบาสกทำพิธีกรรมและท่องมนต์ วสุธาราก็บันดาลความสำเร็จให้ สุจันทรอุบาสกจึงสอนมนต์ให้คนอื่นๆ พระอานนท์เห็นเรื่องที่เกิดขึ้น จึงทูลถามพระศากยมุนีว่า สุจันทรได้รับโชคลาภอย่างรวดเร็วได้อย่างไร พระศากยมุนีจึงสั่งให้พระอานนท์ฝึกมนต์นี้ และสอนให้ผู้อื่น เพื่อที่จะเกิดประโยชน์แก่บุคคลทั้งหลาย
มนต์บูชาพระวสุธารา คือ โอม วสุธาเร สวาหา (oṃ Vasudhāre svāhā)
อ้างอิง เพจเฟสบุ๊ค "คลังพระพุทธศาสนา" กระทู้ที่ 100028534734661 ค้นหาโดยใช้คำว่า "วสุนธารา"
พระกรุนี้จึงใส่อัญมณีเข้าไปร่วมการสร้างพระ และเมื่อพระนางได้รับการสถาปนาขึ้นที่พระอัครมเหสี จึงทรงได้รับพระนาม มณีรัตนา อันหมายถึง อัญมณี นั่นเองไฟล์ที่แนบมา:
-
หน้า 216 ของ 234