@@..คำครู ผู้ชี้-นำ-อุปถัมภ์ สู่พระโพธิญาณ & เรื่องเล่าจากกัลยาณมิตร.@@

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 10 กรกฎาคม 2015.

  1. นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,446
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,124
    ค่าพลัง:
    +70,477
    สุขที่สัตว์ปรารถนาจะพึงได้





    19 กันยายน 2497

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)

    มตฺตาสุขปริจฺจาคา ปสฺเส เจ วิปุลํ สุขํ
    จเช มตฺตาสุขํ ธีโร สมฺปสฺสํ วิปุลํ สุขนฺติ.



    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมีกถา แก้ด้วยสุขที่สัตว์ปรารถนาจะพึงได้พึงแสวงหา ยิ่งใหญ่นัก ไม่มีใครปฏิเสธทุกทั่วหน้า สุขนี้สมเด็จพระบรมศาสดาทรงรับสั่งด้วยพระองค์เอง เพื่อจะให้สัตว์แสวงหาสุขยิ่งขึ้นไป ไม่ใช่สุขเล็กๆ น้อยๆ ให้ละสุขเล็กน้อยเสีย ให้ยึดเอา ความสุขยิ่งๆ ขึ้นไป นี่เพราะเราท่านทั้งหลาย ทั้งคฤหัสถ์บรรพชิต หญิงชายทุกทั่วหน้า เมื่อเกิดมาเป็นมนุษย์ทุกทั่วหน้าด้วยกัน แสวงหาสุขทุกหมู่เหล่า แม้สัตว์เดรัจฉานเล่า ก็ต้อง แสวงหาสุขเหมือนกัน หลีกเลี่ยงจากทุกข์ แสวงหาสุขอยู่เนืองนิตย์อัตรา เพราะว่าสุขจะพึง ได้สมเจตนานั้น ผู้แสวงหาเป็น จึงจะได้ประสบสุขยิ่งใหญ่ไพศาล ถ้าแสวงหาไม่เป็น ก็ได้รับ สุขเล็กๆ น้อยๆ หาสมควรแก่อัตภาพที่เป็นมนุษย์ไม่ เหตุนี้ตามวาระพระบาลี พระองค์ได้ ทรงแสดงไว้ว่า มตฺตาสุขปริจฺจาคา ปสฺเส เจ วิปุลํ สุขํ จเช มตฺตาสุขํ ธีโร สมฺปสฺสํ วิปุลํ สุขํ. แปลเนื้อความว่า ถ้าบุคคลพึงเห็นสุขอันไพบูลย์ เพราะละสุขพอประมาณเสีย ผู้มี ปัญญาเมื่อเห็นสุขอันไพบูลย์ ก็พึงละสุขพอประมาณเสีย นี่เนื้อความของพระบาลีคลี่ความ เป็นสยามภาษา ได้เนื้อความเท่านี้

    ต่อแต่นี้จะอรรถาธิบายขยายความเป็นลำดับไป สุขเล็กน้อย กับ สุขไพบูลย์ นี้ เป็น ใจความในพระคาถานี้ สุข มีสุขตั้งแต่สุขเล็กๆ น้อยๆ ไปเป็นลำดับ จนกระทั่งถึงสุขที่สุด สุขเล็กน้อย ก็สุขมนุษย์ที่อาศัยอยู่ในสมัยทุกวันนี้เป็นสุขเล็กน้อย สุขเทวดาก็สุขมากขึ้นไป เป็นชั้นๆ เป็นสุขใหญ่ขึ้นไป เทวดา 6 ชั้น ก็สุขขึ้นไปเป็นลำดับ สุขมนุษย์ไม่เท่าสุขใน จาตุมหาราช สุขในจาตุมหาราชไม่เท่าสุขในดาวดึงส์ สุขในดาวดึงส์ไม่เท่าสุขในชั้นยามา สุขในชั้นยามาไม่เท่าสุขในชั้นดุสิต สุขในชั้นดุสิตไม่เท่าสุขในชั้นนิมมานรดี สุขในชั้น นิมมานรดีไม่เท่าสุขในชั้นปรนิมมิตวสวัตตี สุขในชั้นปรนิมมิตวสวัสตีไม่เท่าสุขในพรหมปาริสัชชา สุขในชั้นพรหมปาริสัชชาไม่เท่าสุขในชั้นพรหมปโรหิตา สุขในชั้นพรหมปโรหิตาไม่เท่าสุขใน ชั้นมหาพรหมา สุขในชั้นมหาพรหมาไม่เท่าสุขในปริตตาภา สุขในชั้นปริตตาภาไม่เท่าสุข ในชั้นอัปปมาณาภา สุขในชั้นอัปปมาณาภาไม่เท่าสุขในชั้นอาภัสสรา สุขในชั้นอาภัสสรา ไม่เท่าสุขในชั้นปริตตสุภา สุขในชั้นปริตตสุภาไม่เท่าสุขในชั้นอัปปมาณสุภา สุขในชั้นอัปปมาณสุภาไม่เท่าสุขในชั้นสุภกิณหา สุขในชั้นสุภกิณหาไม่เท่าสุขในชั้นอสัญญีสัตตา สุขในชั้น อสัญญีสัตตาไม่เท่าสุขในชั้นเวหัปผลา สุขในชั้นเวหัปผลาไม่เท่าสุขในชั้นอวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี อกนิฏฐา สุขในชั้นอกนิฏฐาไม่เท่าสุขในชั้นอากาสานัญจายตนะ อากาสานัญจายตนะไม่เท่าสุขในชั้นอากิญจัญญายตนะ อากิญจัญญายตนะไม่เท่าสุขในชั้นวิญญาณัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะไม่เท่าสุขในอากิญจัญญายตนะ อากิญจัญญายตนะไม่เท่า สุขในเนวสัญญานาสัญญายตนะ นี่ว่าในภพ 3 ยังไม่ถึงนิพพาน แต่ว่าสุขเป็นลำดับไปดังนี้ ผู้แสวงหาสุข เกลียดจากทุกข์ อยากได้สุข ผู้ที่อยากได้สุขนั้น ต้องละสุขพอประมาณเสีย จึงจะพบสุขอันสมบูรณ์ ยิ่งใหญ่ไพศาลเป็นลำดับขึ้นไป

    ละสุขเป็นประมาณเป็นไฉน มาเกิดในมนุษย์โลก เป็นหญิงก็ดี เป็นชายก็ดี จงแสวงหา เถิด ความสุขอยู่ในทาน การให้ ยิ่งใหญ่ไพศาล ความสุขอยู่ในทานการให้ หรือความสุขอยู่ ในศีล รักษากายวาจาให้เรียบร้อยดีไม่มีโทษ หรือสุขอยู่ในการเจริญภาวนา ให้เป็นเหตุลงไป เป็นสุขยิ่งใหญ่ไพศาล ให้อุตส่าห์ให้ทาน สมบัติเงินทองข้าวของที่เป็นสวิญญาณกทรัพย์ และ อวิญญาณกทรัพย์ที่เราหาได้มา เก็บหอมรอบริบไว้หรือได้มรดกมาก็ดี สิ่งทั้งหลายนั้นเมื่อเรา รักษาอยู่ เมื่อเรายังมีชีวิตเป็นอยู่ ก็เป็นของเราอยู่ แต่พอแตกกายทำลายขันธ์เท่านั้น สมบัติ เหล่านั้นไม่ใช่ของเราเสียแล้ว กลายเป็นของคนอื่นเสียแล้ว ไม่ใช่ของเราจริงๆ ในมนุษยโลก เราผ่านไปผ่านมาเท่านั้นเอง ไม่ใช่เป็นบ้านเมืองของเรา ไม่เป็นถิ่นทำเลที่เราอยู่ เป็นทำเลที่ สร้างบารมี มาบำเพ็ญทาน ศีล เนกขัมม์ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา เท่านั้น นี่ข้อสำคัญรู้จักหลักนี้แล้ว ให้ละสุขอันน้อยเสีย สุขอันน้อยนั่นคืออะไร รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่เราใช้สอยอยู่นี้ รูปที่ชอบใจ เสียงที่ชอบใจ กลิ่นที่ชอบใจ รสที่ชอบใจ สัมผัสที่ ชอบใจ ติดอยู่ในกามภพ ที่ให้เราซบอยู่ในกามภพนี้โงศีรษะไม่ขึ้น ไอ้ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส นั่นแหละเป็นสุขนิดเดียว สุขเล็กน้อยไม่ใช่เป็นสุขมาก สุขชั่วปรบมือกระพือปีกไก่เท่านั้น มันสุขน้อยจริงๆ ให้ละสุขน้อยนั้นเสีย ให้ละ 5 อย่างนี้ คือ รูปที่ชอบใจ เสียงที่ชอบใจ กลิ่น ที่ชอบใจ รสที่ชอบใจ สัมผัสที่ชอบใจ เมื่อละได้แล้วเรียกว่า จาคะ สละสุขที่ยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส นั้นได้ ยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส นั้นเป็นไฉน เงินทองข้าวของ สวิญญาณกทรัพย์ อวิญญาณกทรัพย์ เหล่านี้เรียกว่า รูปสมบัติ ที่เรายินดีในรูปสมบัตินั้นแหละ เรียกว่า ยินดีในรูป เสียงยกย่องสรรเสริญ ยกยอสรรเสริญ ชมเชยต่างๆ เหล่านี้ ที่เป็น โลกธรรมเหล่านี้นั่นแหละ ยินดีในเสียง ถ้าเราไปยินดีติดอยู่ในเสียงสรรเสริญอันนั้นละก้อ ทำให้เพลินซบเซาอยู่ในโลกเป็นทุกข์ เป็นสุขกับเขาไม่ได้ กลิ่นหอมเครื่องปรุงต่างๆ อันเป็น ที่ชื่นเนื้อเจริญใจนั่นแหละ ยินดีในกลิ่น มัวยินดีในกลิ่นอยู่เถิดจะซบเซาอยู่ในมนุษยโลก ใน กามภพ ดุจคนสลบโงศีรษะไม่ขึ้น ติดรสเปรี้ยวหวานมันเค็มอยู่นี่แหละ ยินดีในรส ถ้าว่า ติดอยู่ในรสเช่นนั้นแล้วละก็ หรือติดรสอันใดก็ช่าง ความติดรสอันนั้นแหละ ทำให้โงหัว ไม่ขึ้น ยินดีในความสัมผัส ถูกเนื้อต้องตัว ถ้าเอาใจไปยินดีในสัมผัสถูกเนื้อต้องตัวเข้าแล้ว เข้าไปอยู่ในเปือกตมทีเดียว โงศีรษะไม่ขึ้นอีกเหมือนกัน 5 อย่างนี้ให้สัตว์โลกจมอยู่ใน วัฏฏสงสาร ยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ติดอยู่ในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ออกจาก วัฏฏะไม่ได้ กิเลสวัฏฏ์ กัมมวัฏฏ์ วิปากวัฏฏ์ ออกไม่ได้ ออกจากภพ 3 ไม่ได้ ออกจาก กามไม่ได้ เพราะสละสิ่งทั้ง 5 ไม่ได้ ถ้าสละสิ่งทั้ง 5 อันเป็นสุขน้อยนี้เสียได้แล้ว เมื่อสละสิ่งทั้ง 5 เสียได้แล้ว จะได้ประสบสุขอันไพบูลย์ ต้องประสบสุขอันไพบูลย์แท้ๆ สุขอันไพบูลย์ ยิ่งๆ ขึ้นไป ละสุขของมนุษย์ได้แล้ว ต้องไปติดอยู่ในชั้นจาตุมหาราชของทิพย์อีก ก็ต้องติดอยู่ แบบเดียวกัน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ก็ได้ชื่อว่าละไม่ได้ เพราะของเป็นทิพย์เสียอีก ละชั้น จาตุมหาราช ก็จะไปติดชั้นดาวดึงส์อีก ชั้นดาวดึงส์ก็ปล่อยเสียอีก ละเสียอีก จะเข้าถึงยามา ดุสิต นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัตตี ละได้ทั้งหมดนี้ ใครอุตส่าห์พยายามรักษาศีลมั่นจริง เมื่อ สละพวกนี้ได้แล้ว ทำศีลให้มั่นขึ้น ศีลมั่นแล้วเจริญเป็นทางสมาบัติทีเดียว ให้เข้าสู่รูปฌาน ทั้ง 4 ให้ได้ คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน จะได้ไปรับสุขยิ่งใหญ่ไพศาลไป กว่านี้ และยิ่งไปกว่านั้น เมื่อเข้าถึงฌานทั้ง 4 แตกกายทำลายขันธ์ก็ได้ไปบังเกิดในพรหม 16 ชั้น ได้รับความสุขยิ่งขึ้นไปเป็นชั้นๆ จนกระทั่งถึงขนาด ถึงพรหมชั้นที่ 11 หรือ 12-13-14-15-16 ขึ้นไปก็ตามเถอะ แต่ว่าอย่าติดนะ ติดในชั้นพรหมไม่ได้ ละเสียได้เป็นสุข ให้ละสุขใน รูปภพนี้เสีย แม้จะได้ไปครองสุขในอรูปภพต่อไปอีก ยึดเอาอะไรไปครองสุขในอรูปภพต่อไป อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ สุขแค่นั้นจะเพียงพอแล้วหรือ ถ้าเราต้องการประสบสุขอันไพบูลย์ใหญ่ไพศาลแล้วก็ให้ละสุข ในอรูปพรหมอีก อย่าติดสุขในอรูปภพนั้น ให้ไปถึงนิพพานทีเดียว เมื่อไปถึงนิพพานแล้ว นั่นแหละ จะได้ประสบสุขอันไพบูลย์ และสุขอันนั้นเป็นสุขสำคัญ สุขอื่นสู้ไม่ได้

    เมื่อรู้ว่าสุขเช่นนั้นแล้ว ทำอย่างไรต่อไป วิธีจะละตั้งแต่มนุษย์นี่ จะละสุขในมนุษย์หละ เราจะละท่าไหน ต้องแก้ไขวิธีละทีเดียว ต้องใช้ละด้วยกาย ละด้วยวาจา ละด้วยใจ ต้องใช้ทาน ศีล ภาวนา เป็นฆราวาสครองเรือนให้หมั่นให้ทาน ให้ละสุขน้อยโดยการบริจาคทาน ที่มีสมบัติ ยิ่งใหญ่ไพศาลในมนุษยโลกดังนี้ ถึงมีพอประมาณหรือมีเล็กน้อยก็ช่าง อุตส่าห์ละเถิด จงให้ ทาน ให้ความสุขในภพนี้และภพหน้าต่อไปนับภพไม่ถ้วน ให้อุตส่าห์ให้ทาน ทานนี่แหละเป็น ข้อสำคัญนัก ท่านยืนยันตามตำรับตำราว่ามนุษย์จะได้รับความสุขในมนุษย์โลก ก็เพราะอาศัย การให้ทานกัน ด้วยเหตุนี้ พระโพธิสัตว์เจ้าสร้างบารมีมาเกิดในมนุษยโลก ก็ย่อมให้ทานใน เบื้องหน้า ท่านเป็นผู้เก็บหอมรอมริบ สนับสนุนอุปถัมภ์ค้ำชูแก่บริวารของท่านไม่แพ้ฝ่ายใด ท่านก็อุปถัมภ์ค้ำชูตลอด เพราะท่านเป็นผู้มีสมบัติยิ่งใหญ่ไพศาล ท่านบริจาคทานอย่างนี้ อัตราการให้ทานนี่แหละที่จะส่งเราให้ไปถึงสุขยิ่งใหญ่ไพศาล ถ้าไม่มีทาน จะมีสุขอันยิ่งใหญ่ ไพศาลไม่ได้ เพราะไม่มีผลทานส่งให้ จะถึงสุขยิ่งใหญ่ไพศาลไม่ได้ เพราะฉะนั้น ถ้าเกิดมาใน มนุษยโลก ถ้าเป็นคนจนเสียแล้ว เราจะทำความดีให้เต็มส่วนเต็มที่ไม่ได้ เพราะว่าจะรักษา ศีลก็รักษาไม่ได้ จะเจริญภาวนาก็เจริญไม่ไหว เพราะเป็นคนจนเสียแล้ว ไม่ได้รักษาศีล เจริญ ภาวนา เพราะห่วงการงาน ต้องประกอบกิจการงาน การงานเหนี่ยวรั้งไว้ให้ไปทำการงาน จิตที่จะทำให้ยิ่งใหญ่ไพศาลในศีล ภาวนา ก็ทำไม่ได้ ถ้าว่ามีสมบัติสมบูรณ์แล้ว จะรักษาศีล ก็รักษาได้สมบูรณ์บริบูรณ์ จะเจริญภาวนาก็เจริญได้ ไม่มีห่วงหน้าห่วงหลัง จะบริจาคทานก็ทำ ได้สมความเจตนาทีเดียว มีสมบัติสมควรที่จะบริจาคทานแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ก็เพราะอาศัย ผลทานนั่นแหละเป็นข้อสำคัญของทานนะ ศีลก็ดี ภาวนาก็ดี ถ้าบริจาคทานแล้วมีผลลัพธ์ ทานมยํ บุญคือความบริสุทธิ์สำเร็จด้วยทาน ฉกามาวจรํ เป็นเหตุให้เกิดในกามาวจร 6 ชั้น ทานเป็นเหตุให้เกิดในกามาวจร 6 ชั้น ได้รับความสุขยิ่งใหญ่ไพศาลขึ้นไปเป็นลำดับ เพราะ ทานส่งให้ สีลมยํ บุญคือความบริสุทธิ์แล้วสำเร็จด้วยศีล ศีลสำเร็จแล้วเป็นเหตุให้เกิดใน ชั้นอกนิฏฐา ภพพรหมชั้นที่ 16 โน้น ต้องวางหลักอย่างนี้ ภาวนามยํ บุญคือความบริสุทธิ์ สำเร็จด้วยการเจริญภาวนา อมตผลํ เป็นผลที่จะให้บรรลุถึงชั้นนิพพาน สำเร็จภาวนาแล้ว เป็นผลจะให้มนุษย์ถึงชั้นนิพพาน ทานให้สำเร็จในสวรรค์ 6 ชั้น ศีลให้สำเร็จในพรหม 16 ชั้น ภาวนาให้สำเร็จนิพพาน ให้สำเร็จผลนิพพานทีเดียว นี่ต้องวางหลักไว้อย่างนี้ เมื่อได้รู้หลัก อย่างนี้เป็นข้อสำคัญ ทาน ศีล ภาวนา เหล่านี้เป็นข้อสำคัญนัก ให้ถึงสุขอันไพบูลย์ได้ สุขอัน เป็นส่วนเต็มที่ได้ เพราะทานก็จะต้องส่งผลไปถึงแค่สวรรค์ เมื่อถึงแค่สวรรค์แล้ว ศีล ก็ต้อง ส่งผลให้ไปถึงแค่ชั้นอกนิฏฐา ภพรูปพรหม ส่วนภาวนาก็ส่งผลให้ถึงนิพพาน เมื่อถึงนิพพาน แล้ว ก็จะได้รับสุขอันวิเศษไพศาลทีเดียว นี่เป็นชั้นๆ ไปดังนี้

    เมื่อรู้จักหลักอันนี้แล้วก็ค่อยๆ เดินเป็นลำดับขึ้นไป ตั้งต้นแต่ กายมนุษย์ นี่วัดปากน้ำ ทำกันอยู่แล้ว ทำอยู่แล้วถึงนิพพานมากมายแล้ว ไม่ต้องเข้าใจเป็นอย่างอื่นไป ตั้งหน้าตั้งตา ทำทีเดียว เมื่อมาเป็นภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกาแล้ว ทำให้เรียบร้อยแล้ว เรียกว่า ใจ เราทำทีเดียว เรียกว่าเราทำทีเดียว ต้องทำใจให้หยุด เมื่อถึงเวลาให้ทาน เราก็ให้ทานตาม กาลสมัย ให้ศีลบริสุทธิ์ไว้ แล้วก็เจริญภาวนาเสมออย่าให้คลาดเคลื่อน ทำใจให้หยุด เจริญ ภาวนาทำใจให้หยุด พอใจหยุดเท่านั้น เข้าถึงทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ ใจหยุด นั่นแหละจะพบพระบรมศาสดา

    หยุดตรงไหน ที่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ หยุดตรงนั้น พอหยุดได้แล้ว ละก้อ พอหยุดเท่านั้นแหละ สมกับบาลีว่า นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ สุขอื่นนอกจากนิ่งไม่มี นี่เจอ สุขแท้แล้วนี่นะ สุขจริงตรงนี้นะ เจอสุขแล้ว เจอที่สุขแล้ว เมื่อเจอสุขสูงสุดอย่างนี้ละก็ ให้ตั้งหน้าตั้งตาทีเดียว ทำใจให้หยุดนิ่ง หยุดทีเดียว หยุดหนักเข้า อย่าถอยหลังกลับ หยุด ในหยุดหนักเข้า อย่าถอยหลังกลับ ผู้เทศน์ได้สั่งสอนกันแล้วให้หยุดอย่างนี้ หยุดไม่ถอยกลับ 23 ปีแล้ว 23 ปี 2 เดือนเศษแล้ว หยุดในหยุดไม่ถอยหลังกลับกันเลย ยังไม่ได้ถอยกลับ กันเลย ได้พบแล้วสุขอันไพศาลเหลือประมาณมากมาย เล่าไม่ถูก พูดไม่ออก บอกไม่ได้ ทีเดียว ด้วยเหตุฉะนั้นผู้ที่อยู่ทีหลัง ภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา เมื่อต้องการความสุข แล้วก็ต้องทำใจให้หยุด นั่นแหละเป็นตัวสุข เป็นตัวสุขแท้ๆ สิ่งอื่นสุขไม่เท่าไม่ทันทั้งนั้น พอใจ หยุดได้ก็เป็นสุขทางภาวนา ภาวนาขั้นสูง เมื่อสุขไปทางภาวนา ทำใจหยุดได้แล้ว ก็จะบรรลุ ปฐมมรรค ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ต่อไป จากกายมนุษย์ก็จะถึงกายมนุษย์ละเอียด แล้วก็เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ในกายมนุษย์ละเอียด ละสุขในกายมนุษย์ ละเอียดเสีย ก็เข้าถึงกายทิพย์หยาบ นี่สุขเป็นขั้นๆ ขึ้นไป

    พอเข้าถึงกายทิพย์หยาบแล้ว ก็เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานในกายทิพย์อีก ถึงดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ก็เข้าถึงกายทิพย์ละเอียด พอเข้าถึง กายทิพย์ละเอียด เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานในกายทิพย์ละเอียด ดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ พอละสุขในกายทิพย์ละเอียดเสีย ก็เข้าถึงกายรูปพรหม ให้สูงขึ้นไป

    ถึงกายรูปพรหม ก็เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานในกายรูปพรหมอีก เข้าถึง ดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ อีก ละสุขในกายรูปพรหมเสีย ก็ถึงกาย รูปพรหมละเอียด ใจเข้าถึงให้หยุดอยู่ตามส่วนอีก เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะอีก ละสุขในกายรูปพรหมละเอียดเสีย ก็ถึงกาย อรูปพรหมหยาบ

    ถึงกายอรูปพรหมหยาบ ก็เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานในอรูปพรหม ดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ละสุขในกายอรูปพรหมหยาบเสีย ก็เข้าถึง กายอรูปพรหมละเอียด ใจกายอรูปพรหมละเอียดก็หยุดอยู่ศูนย์กลางตามส่วนอีก เข้าถึง ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ละสุขใน กายอรูปพรหมละเอียดเสีย ก็ถึงกายธรรม สุขเกินสุขขึ้นไปอีก สุขเกินสุขหนักขึ้นไปอีก ใจของกายธรรมหยาบหยุดเข้า ก็ถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ละสุขในกายธรรมหยาบเสีย ก็เข้าถึงกายธรรมละเอียด สุขหนักขึ้นไป ใจของกายธรรมละเอียดก็หยุด ถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ละสุขในกายธรรมละเอียดเสีย ก็เข้าถึงกายธรรม พระโสดาหยาบ ซึ่งเป็นสุขมากกว่า เข้าถึงกายพระโสดาหยาบแล้วสุขหนักขึ้นไป

    ใจของกายธรรมพระโสดาหยาบก็หยุดอีก เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ในกลางกายนั้น เข้าถึงกายธรรมพระโสดาละเอียด ละกายพระโสดาหยาบเสีย ก็เข้าถึงกายพระโสดาละเอียด สุขหนักขึ้นไป ใจของกายพระโสดา ละเอียดก็หยุดอีก ถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ละสุขในกายธรรมพระโสดาละเอียด เพราะสุขน้อยกว่าเสีย ก็เข้าถึงกายธรรม พระสกทาคาหยาบ สุขหนักขึ้นไป สุขมากขึ้นไปกว่า

    ใจของกายธรรมพระสกทาคาหยาบก็หยุดในกลางของหยุดต่อไปอีก ถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ก็เข้าถึงกายธรรม พระสกทาคาละเอียด ละสุขในกายธรรมพระสกทาคาหยาบเสียได้ สุขหนักขึ้นไป ใจของ กายพระสกทาคาละเอียดก็เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ก็เข้าถึงกายพระอนาคาหยาบ ละสุขในกายธรรมพระสกทาคาละเอียด เสีย เพราะเป็นสุขน้อยกว่า ก็เข้าถึงกายธรรมพระอนาคาหยาบ สุขมากกว่า ละเอียดกว่า

    ใจของกายธรรมพระอนาคาหยาบหยุดก็เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ก็เข้าถึงกายธรรมพระอนาคาละเอียด ละสุขในกาย พระอนาคาหยาบเสีย เพราะสุขน้อยกว่า ก็เข้าถึงกายพระอนาคาละเอียด สุขมากกว่า

    ใจของกายธรรมพระอนาคาละเอียดก็หยุดต่อไปอีก เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล ดวงสมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ก็เข้าถึงกายธรรมพระอรหัตหยาบ ละสุขในกายพระอนาคาละเอียดเสีย ก็เข้าถึงกายธรรมพระอรหัตหยาบ สุขมากกว่า นี่เป็น เช่นนี้ เป็นนิรามิสสุข เป็นวิราคธาตุวิราคธรรมทีเดียว ใจของกายธรรมพระอรหัตหยาบหยุดนิ่ง กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายพระอรหัต ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ก็เข้าถึงกายธรรมพระอรหัตละเอียด ละสุขในกายธรรมพระอรหัตหยาบเสีย ก็เข้าถึงสุขในกายธรรมพระอรหัตละเอียด ละสุขใน กายธรรมพระอรหัตละเอียดเสีย ก็เข้าถึงกายธรรมพระอรหัตในพระอรหัตที่ละเอียดๆๆๆๆๆ ต่อๆ ไปอีกนับไม่ถ้วน นี่มันเป็นสุขอย่างนี้ เดินนิพพานนี้ วิปุลํ สุขํ สุขถึงขนาดนี้ ถ้าว่า ไม่ละสุขที่น้อยเสีย ก็ไม่ได้สุขใหญ่สมความปรารถนา

    ถ้าเมื่อมาเจอกายมนุษย์แล้วมาสุขกับกายมนุษย์ มัวงมอยู่แต่รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส นั่นแหละ มันก็ได้เท่านั้นจนแก่ตาย เอาดีไม่ได้เลย สุขแค่นั้นเอง นี่มันสุขน้อยอย่างนี้ เพียงนิดเดียวเพราะอะไร เพราะรู้ไม่เท่าทันตัวเอง ไม่ฉลาด รู้ไม่เท่าทันตัวเอง ไม่ได้ฟังธรรม ของพระพุทธเจ้า ไม่ได้ฝึกฝนใจในทางพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ ไม่ได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ฝึกฝนใจในธรรมของสัตบุรุษ ความเห็นจึงพิรุธไปเช่นนั้น ถ้าหากว่าฉลาด รู้จักให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ถ้าแม้ว่ายังไม่ได้สูงขึ้นไปก็จะได้สุขในชั้นจาตุมหาราช ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัตตี เหล่านี้ มันก็เวียนอยู่ในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส นั่นแหละ ในกามนั่นเอง มันยังเป็นกาม ไปทางโลกก็สุขนิดหน่อยเท่านี้ ไม่ได้อะไรหละ สุขอยู่ชั่วคราว มนุษย์นี่ก็สุขอยู่ชั่วคราว ประเดี๋ยวเดียว อายุร้อยปีเท่านั้นอย่างมาก หรือน้อยกว่านั้น ก็ ประเดี๋ยวเดียวเท่านั้น ถ้าเราได้เห็นเทวดาก็สุขตามส่วนขึ้นไป อายุก็ตามส่วนขึ้นไป จะนาน หนักเข้า แต่ว่าถึงกระไรก็เถอะ ปรนิมมิตวสวัตตี สุขมากน้อยเท่าใดก็ช่าง สุขประเดี๋ยวเดียวเท่านั้น ไม่มากเท่าใด ไปถึงรูปพรหมก็สุขเป็นกัปๆ เหมือนกัน เป็นมหากัปถึงอกนิฏฐภพ ถึงเวหัปผลานั่นแน่ อสัญญีสัตตาโน่น 500 มหากัป ถึง 500 มหากัป ก็สุขนิดเดียวอีก เหมือนกัน ไม่จริง หลอกๆ ไม่จริงหรอก สุขในชั้นเนวสัญญานาสัญญา อกนิฏฐาโน่น สุขสูง ขึ้นไป สุขสูงขึ้นไปขนาดนั้นก็ขนาดพันมหากัปเท่านั้น ไม่เท่าไรนัก สุขยิ่งขึ้นไป นี่ไม่ใช่สุข ในทางนิพพาน มีชั้นสุขสูงสุดอย่างนี้ ถ้าสุขในภพถึง 84,000 มหากัปในโลก เพราะติดสุข ในภพเหล่านี้แหละเรียกว่าติดสุขน้อย ไม่ใช่สุขใหญ่ สุขใหญ่คือสุขอันไพบูลย์ ให้ละสุขน้อย อันนั้น เมื่อไปถึงแล้วก็ไม่ติดสุขหนักขึ้นไป ไม่ถอยเลย ไม่ได้หยุดอยู่กับที่ สุขทวีขึ้นไป เหล่านี้เลย ไม่มีถอยกลับ นี่ต้องนับว่าวิชชาวัดปากน้ำ วิชชาสมถวิปัสสนาเดินให้ถูกแนวนั้น ทีเดียว เข้าถึงธรรมกายให้ได้ เข้าถึงธรรมกายเป็นลำดับไป ยิ่งใหญ่ไพศาลนับประมาณไม่ได้ จะไปพบพระพุทธเจ้า พระนิพพาน พระอรหันต์ ก็จะรู้ตัวทีเดียวว่า อ้อ! เราเกิดมาเป็นมนุษย์ พบพระพุทธศาสนา ได้รู้จักของจริง เห็นของจริงอย่างนี้ ไม่เสียทีที่พ่อแม่อาบน้ำป้อนข้าวมา อุ้มท้องมาไม่หนักเปล่า แม้บุคคลที่จะทูนไว้ด้วยเศียรเกล้าก็ไม่เมื่อยเปล่า ไม่หนักเปล่า ได้ชื่อว่าเป็นคนมีปัญญา ประกอบคุณสมบัติยิ่งใหญ่ไพศาลใส่อาตมาของตนได้ ไม่เสียทีที่ เกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา ที่ได้ชี้แจงแสดงมาในการละสุขน้อย ประสบสุขมาก สมมาดปรารถนา สมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า สิทฺธมตฺถุๆๆๆ อิทํ ผลํ เอตสฺมึ รตนตฺตยสฺมึ สมฺปสาทนเจตโส ขอจิตอันผ่องใส ขอจิตอันเลื่อมใสในพระรัตนตรัยนี้ ให้ท่านทั้งหลาย จงเป็นผลสำเร็จๆๆๆ สมมาดปรารถนาทุกประการ ดังอาตมภาพรับประทานวิสัชนา มาพอ สมควรแก่เวลา สมมติยุติธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
     
  2. นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,446
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,124
    ค่าพลัง:
    +70,477




    ทำใจให้ใสเท่านั้นแหละ เป็นใช้ได้
    อิฏฐารมณ์เป็นที่นิยมชื่นชอบของทุกคนส่วนอนิฏฐารมณ์ไม่เป็นที่นิยม ไม่เป็นที่ปรารถนา เราท่านทั้งหลาย ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต เมื่อรู้จักอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์เหล่านี้แล้วมีทางเลี่ยงได้โดยทำดังนี้ คือต้องบังคับจิตให้ดี ต้องตั้งจิตให้ดี ถ้าตั้งจิตให้ดีถูกหลักถูกฐานของที่ตั้งจิตแล้ว จะสามารถต่อสู้กับอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ได้
    ต้องหมั่นเอาใจจดจ่ออยู่ที่กลางกั๊ก อันเป็นศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ให้หมั่นเอาใจไปจรดอยู่ตรงนั้นเสมอ ไม่ว่าจะนั่ง นอน ยืน เดิน กิน ดื่ม จะทำ จะพูด แม้แต่จะอุจจาระ ปัสสาวะ ก็หยุดอยู่ตรงนั้นเสมอ จรดหนักเข้า ๆ ๆ ๆ พอชินหนักเข้า ก็ชำนาญหนักเข้า ๆ ๆ ๆ ก็หยุดได้
    พอใจหยุดเสียได้เท่านั้นแหละ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เสื่อมลาภ เสื่อมยศ ติฉินนินทา ทุกข์ ไม่มีทางกระทบกระเทือนแล้ว เฉยเสียแล้ว ถ้าทำจิตให้ได้ขนาดนี้แล้ว บุคคลผู้นั้นได้ชื่อว่า ถึงซึ่งมงคลสูงสุดแล้วถ้ายังอาดูรเดือดร้อนไปตามอนิฏฐารมณ์ เป็นอัปมงคลแท้ ๆ
    หลวงพ่อย้ำว่า “อัปมงคลมิใช่เป็นแต่เฉพาะฆราวาส หญิง ชายเท่านั้น ภิกษุ สามเณรก็เป็นได้เหมือนกัน พอสงบไม่ลง ทำใจให้หยุดไม่ได้ ก็เป็นอัปมงคล หลวงพ่อท่านเคยสอนพระสงฆ์ สามเณรว่า “ ภิกษุ สามเณรในพระพุทธศาสนา พอบวชแล้วไม่ต้องทำอะไร ทำใจให้ใสเท่านั้นแหละเป็นใช้ได้ ถ้าใจไม่ใส ภิกษุ สามเณรนั้นใช้ไม่ได้ ยังเป็นภิกษุสามเณรภายนอก ภายในเป็นไม่ได้ พอทำใจให้ใสได้เท่านั้นก็เป็นที่บูชาของมหาชนทีเดียว”
     
  3. นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,446
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,124
    ค่าพลัง:
    +70,477
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,446
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,124
    ค่าพลัง:
    +70,477
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,446
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,124
    ค่าพลัง:
    +70,477



    อย่าไปนึกว่าคนในโลกเขาจะรักเราทุกคน
    เเละอย่าไปนึกว่าคนในโลกเขาจะเกลียดเราทุกคน
    จงถือว่ารักหรือเกลียดไม่มีความสำคัญ
    ความสำคัญมีอยู่ว่า อย่าไปคบกับความชั่ว
    อย่ารับคำนินทา เเละก็อย่ารับคำสรรเสริญ
    ใครเขานินทาว่าร้ายเรา
    ก็ปล่อยให้ความเลวตกอยู่กับเขาเเต่เพียงผู้เดียว
     
  6. นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,446
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,124
    ค่าพลัง:
    +70,477




    “ วัดปากน้ำไม่มีคาถา ไม่มีน้ำมนต์ มีแต่หยุดในหยุด
    เอ็งจะเอาเปลือกหรือเอาแก่น”
     
  7. นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,446
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,124
    ค่าพลัง:
    +70,477
    ทานวัตถุ ( ฉากหลัง)

    <iframe width="480" height="360" src="https://www.youtube-nocookie.com/embed/ZTHai2qXBW4?&autoplay=&rel=0" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>




    ทานวัตถุ-ฉากหลัง
    วันอังคารที่ ๓ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๙๙
       อิทานา ตสฺส ภควโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส           
                    ปรินิพฺพานโต ปัฎฺฐาย เอกูนฺสตุตฺตรจตุสตาธิกานิ           
                        เทฺวสวจฉรสหสฺสานิ อติกฺกนฺตานิ ปจฺจุปนฺรกาลวเสน           
    จิตฺตมาตสฺส ตติยํ ทินฺนํ วารวเสน ปน           
             ภุมฺมวาโร โหติ เอวํ ตสฺส ภควโตปรินิพฺพานา           
              สาสนายุกาลคณนา สลฺลกฺเขตพฺพา สกฺกจฺจํ ธมฺโม โส ตพฺโพติฯ
    ศุภมัสดุ พระพุทธศาสนายุกาล จำเดิมแต่ปรินิพพาน แห่งองค์พระสมเด็จพระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น บัดนี้ล่วงแล้วได้ ๒๔๙๙ พรรษา ปัจจุบันสมัยเมษายนมาส สุรทินที่ ๓ อังคารกาลของพุทธปรินิพพานอันกำหนดนับ ด้วยประการฉะนี้ เบื้องหน้าแต่นี้จงตั้งสัมมนาหาระจิต ตามคำภาษิต ดังจะแสดงต่อไปนี้เถิดเทอญ

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส (๓ หน)
    อนฺนํ ปานํ วตฺถํ ยานํ                            มาลา คนฺธํ วิเลปนํ
    เสยฺยาวสฺถํ ปทีเปยฺยํ                            ทานวตฺถู อิเม ทส
    อนฺนโท พลโท โหติ                            วตฺถโท โหติ วณฺณโท
    ยานโท สุขโท โหติ                             ทีปโท โหติ จักขุโท
    มนาปทายี  ลภเต  มนาปํ  อคฺคสฺส   ทาตา  ลภเต  ปุนคฺคํ
    สรสฺส  ทาตา  วรลาภิ โหติ   เสฏฺฐนฺทโท   เสฏฺฐมุเปติ ฐานํ
    อคฺคทายี วรทายี                                เสฏฺฐทายี จ โย นโร
    ทีฆายุ ยสฺวา โหติ                               ยตฺถ ยตฺถูปปชฺชตีติ
    เอเตน สจฺจวชฺเชน                               สุวตฺถิ โหตุ สพฺพทา
    อาโรคิยสุขญฺเจว                                กุสลญฺจ อนามยํ
    สิทฺธมตฺถุ สิทฺธมตฺถุ                             สิทฺธมตฺถุ อิทํ ผลํ
    เอตสฺมึ รตนตฺตยสฺมึ                            สมฺปสาทนเจตโสติ
    ณ บัดนี้อาตมภาพจะได้แสดงธรรมิกถา เป็นจารีตประเพณีสืบมา แต่ไหนแต่ไรไป พระพุทธเจ้าจะอุบัติตรัสขึ้นในโลก ก็มีทานวัตถุการให้ซึ่งกันและกันอยู่ พระพุทธเจ้าจะไม่อุบัติเกิดขึ้นในโลก ทานวัตถุก็มีการให้กันอยู่ แต่ว่าทานบัญญัติไว้เป็นทานวัตถุ วัตถุ ๑๐ ประการ

    ทานการให้จำเป็นทีเดียว ต้องสงเคราะห์อนุเคราะห์ซึ่งกันและกัน โลกซึ่งเป็นอยู่ได้นี้เริ่มต้นทีเดียว ตระกูลต้องให้ทานในกันและกัน ถ้าไม่ให้ทานในกันและกันละก็ ตระกูลอยู่ไม่ได้ แม้แต่พระมหากษัตริย์ปกครองประเทศ ต้องให้ทานในกันและกัน ไม่ให้ทานในกันและกันละก็ ปกครองประเทศอยู่ไม่ได้ ยิ่งให้ต้องให้หนัก พระมหากษัตริย์ต้องให้หนัก  ให้ข้าราชบริพารน้อยใหญ่ ต้องให้หนัก เพราะการปกครองใหญ่ กว้าง ต้องให้มากออกไป ผู้ปกครองตระกูลน้อย ตระกูลใหญ่ก็ต้องให้หนักขึ้นไป ตระกูลน้อยก็ต้องให้ไปตามส่วน  ถ้าให้มากเท่าไรตระกูลนั้นก็ต้องยิ่งใหญ่ขึ้นไป การให้เป็นข้อสำคัญนัก ไม่ใช่เป็นของพอดีพอร้าย ให้พินิจพิจารณาดูเถิด เราเกิดมาเป็นหญิงเป็นชาย เมื่อเกิดมาจากตระกูลพ่อแม่ เมื่อพ่อแม่ไม่ให้สิ่งหนึ่งสิ่งใดเลย  ลูกหญิงลูกชายนั้นจะนับถือกันแค่ไหนถือไกลมากทีเดียว ถือไกลมากทีเดียว

    หรือไม่เช่นนั้น ถ้าว่ามีสมบัติมากๆ ก็จะหาเรื่องใส่เอา พ่อแม่ก็จะนอนตาย แต่ถึงเวลาตายเห็นจะลืมตาตาย  ไม่หลับตาตาย สมบัติมากมายอย่างนี้ ว่าต่างๆ นานา เพื่อจะแคะไคล้ หาเรื่องอุบายเสียดสีต่างๆ เพราะไม่ได้สมบัติ เขาไม่ให้  นี่ลูกหญิงลูกชายกับพ่อแม่ถึงขนาดนี้คนอื่นล่ะ คนอื่นเมื่อไม่สงเคราะห์ไม่อนุเคราะห์ ก็ไม่อยู่ด้วยทีเดียว หลีกเลี่ยงทีเดียว นี่การให้จำเป็นนะ ไม่ใช่เป็นของไม่จำเป็น จำเป็นทีเดียวท่านถึงวางตำรับตำราไว้ พระพุทธเจ้าได้อุบัติตรัสเกิดขึ้นในโลก เมื่อก่อนท่านอยู่องค์เดียว ท่านก็แสวงหาอาหารบิณฑบาตจำเพาะ ได้บ้างไม่ได้บ้างก็ตามกาล ท่านพอจะอดทนได้เมื่อมีผู้เลื่อมใสติดตามท่านไปอีก  ตั้งแต่ท่านออกแล้ว ปัญจวัคคีย์ก็ติดตามท่านไปทั้ง ๕ รูปด้วยกัน แต่ว่าท่านเหล่านี้เลี้ยงตัวได้ทั้งนั้น  เลี้ยงตัวได้ทั้งนั้นติดท่านไป ดูแลท่าน นั่นตอนนั้นท่านยังไม่สำเร็จแล้วท่านปัญจวัคคีย์มาแยกท่านเสีย ท่านทำทุกกรกรรม จนสำเร็จพระสัมมาสัมโพธิญาณ ภายใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์แต่ลำพังพระองค์เดียว มารมาผจญ มารก็สงบไป ได้บรรลุพระโพธิญาณ ภายใต้ต้นศรีมหาโพธิ์นั้น และต่อจากนั้นท่านได้ออกโปรดสรรพสัตว์ทั้งหลาย ตั้งต้นแต่พระปัญจวัคคีย์ แสวงหาปัญจวัคคีย์ ให้ปัญจวัคคีย์ได้บรรลุมรรคผล  อัญญาโกณฑัญญะ ภัททิยะ วัปปะ มหานานะ จนถึงพระอัสสชิทั้ง ๕ ได้บรรลุมรรคผลเหมือนท่านขึ้นแล้ว  เพราะท่านเหล่านั้นชำนาญในเรื่อง อดมาแล้ว  ท่านไม่ค่อยห่วงใยมากนัก  ต่อไปท่านก็ประกาศศาสนา และไปโปรดพระยส  ๕๕  ได้สำเร็จมรรคผลแล้ว  ก็ส่งไปประกาศศาสนาไม่ซ้ำรอยกัน เพื่อให้พุทธศาสนากว้างขวางออกไปและท่านได้เอาใจใส่  ผู้ที่เข้ามาบวชอยู่กับพวกท่าน พระราชกุมาร ๓๐ นั่นก็เป็นราชกุมารที่คงแก่เรียน  ผ่านมหาวิทยาลัยมาแล้วทั้งนั้น เลี้ยงตัวกันได้ไม่ต้องห่วงใยนักไปโปรดพวกชฎิล  ๑๐๐๓ รูป ให้ได้สำเร็จมรรคผล แล้วท่านก็ออกเที่ยวไปเรื่อย ในเมืองราชคฤห์พันสามรูปนั้นสืบไป ไปโปรดชาวเมืองราชคฤห์ ๑๒ นหุต  ได้สำเร็จมรรคผล ๑๑ นหุต เหลืออีก หนึ่งนหุต ที่ตั้งอยู่ในไตรสรณคมน์

    คราวนี้ท่านก็ต้องอุปการะมากมายจริง ต้องเป็นประมุขนำบิณฑบาต จากพลเมืองทั้งหลายเหล่านั้น เพื่อจะให้ภิกษุบริษัทบวชเข้ามาในตอนหลังๆ จะได้เลี้ยงตัวได้เหมือนท่าน  ท่านก็เอาพระทัยใส่อย่างนี้ ไม่ได้ทอดธุระเลย ปุพพัณเหปิณฑปาตัง  แสวงหาอาหารบิณฑบาตเลี้ยง ให้เลี้ยงตัวอยู่ได้ศาสนาจะได้ดำรงอยู่คู่กันไป สั่งสอนกันไปทีเดียวแต่ว่าถึงสั่งสอนเกิดจากข้อหนึ่งข้อใด  ก็ต้องเอาพระทัยใส่ในเรื่อง ทานการให้  ถ้าไม่ให้ทานก็ไม่สำเร็จประโยชน์อีกเหมือนกัน นี้เป็นเงื่อนไขสำคัญเมื่อรู้จักเงื่อนไขสำคัญอันนี้แหละก็ คนมีปัญญาจะเป็นคนชั้นสูงชั้นใหญ่ เพียงเท่าใดก็ได้  ถ้ารู้จักทานการให้ถ้ารู้จักทานการให้จะเป็นคนสูงคนใหญ่เพียงเท่าใด  ก็เป็นได้ อุตส่าห์ให้ อุตส่าห์บำรุงไป อุตส่าห์หล่อเลี้ยงไป ถ้าว่าคนไม่มีสติปัญญาหล่อเลี้ยงได้ไม่เท่าไรนัก  ให้เขาเป็นอยู่ของเขาไป ถ้าคนโง่ ต้องหนักหน่อยหนึ่ง นี้แหละการให้นี่เรียกว่าเป็นประเพณีของคนมีปัญญา ไม่ใช่เป็นประเพณีของคนโง่ คนมีปัญญาอยู่ในสถานที่ใด หญิงก็ดี ชายก็ดี เป็นใหญ่ในที่นั้น เพราะทานการให้ สงเคราะห์ อนุเคราะห์เขาอยู่เสมอไป  ใหญ่ในที่นั้นไม่ต้องสงสัยคนมีปัญญา

    ถ้าคนโง่ ไม่มีปัญญาอยู่ในที่ไหนจมมืดอยู่ในที่นั้น  ไม่ให้ใคร  มีอะไรให้ไม่ได้ กลัวจะหมดกลัวจะสิ้น กลัวจะเปลืองไป ให้เป็นหมดเป็นสิ้นเป็นเปลืองไป  ให้ไม่ได้ ให้ไปเล็กไปน้อย กลัวจะหมดจะสิ้นเปลืองไปเสียแล้วหนักเข้าต้องอยู่คนเดียว อยู่คนเดียวเจ็บไข้ได้ป่วย ไม่มีใครเยี่ยมไปเยียนเลย เพราะอะไร?  ไม่มีอามิสเครื่องล่อเลย  ไม่มีอาหารรางวัลอะไรสักนิ๊ดหนึ่ง  เขาไม่เยี่ยมนี่คนโง่เป็นอย่างนี้ ฆ่าตัวเองทั้งเป็น
    คนฉลาดเลี้ยงตัวเอง สร้างตัวเองทั้งเป็น ส่งเสริมตัวเองทั้งเป็น นี่คนฉลาด

    เพราะฉะนั้น นักปราชญ์จึงได้วางตำรับตำราไว้
    อนฺนํ ปานํ วตฺถํ ยานํ      มาลา คนฺธํ วิเลปนํ
    เสยฺยาวสฺถํ ปทีเปยฺยํ  ทานวตฺถู อิเม ทส
    ทานวตฺถู อันว่าทานวัตถุทั้งหลาย อิเมเหล่านี้ ทส ๑๐ ทานวัตถุทั้งหลายเหล่านี้ ๑๐ ประการ
    อันนัง                ให้ข้าว
    ปานัง                ให้น้ำ
    วัตถัง                 ให้ผ้าสำหรับนุ่งห่มใช้สอย
    ยานัง                 ให้เครื่องอุปการะแก่เครื่องไปมา ให้ยานให้ค่าโดยสาร ให้ยาน  ให้ค่าโดยสาร ตกรถ  ถ้ามีก็ให้  มีก็ให้
    มาลา                ให้ระเบียบดอกไม้
    คันธัง                ให้ของหอม
    วิเลปนัง             ให้เครื่องลูบไล้
    ไสยยาวัสถัง       ให้ที่นอน และที่พักอาศัย ที่อยู่เป็นสุขเบิกบานสำราญใจ
    ปทีไปยยัง          ตามประทีปในที่มืด เพื่อให้เห็นหนทางสว่าง

    ๑๐ อย่างนี้เรียกว่า ทานวัตถุ คิดดูซิว่า เราให้อาหาร เราให้อาหารเขารับประทาน  ให้มากก็ได้รับความสุขมาก ให้น้อยคนเขาก็ได้รับสุขน้อย แล้วแต่จะให้  ให้ข้าว  ให้ขึ้นที่ไหนเป็นกษัตริย์ในที่นั้น ไม่ใช่น้อย เรียกว่า อันนัง
    ปานัง ให้น้ำ เราไม่มีน้ำใช้  เขาเอาน้ำมาให้ก็ดี  หรือเวลาเราต้องการเขาเอามาให้ก็ดี หรือให้น้ำเป็นแท๊งค์ๆ เป็นจักๆ เป็นถังๆ ก็ได้ เขาจะมีอุปการะคุณแก่เราเพียงแค่ไหน  เราต้องเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เขาอยู่เหมือนกัน เขาให้น้ำ วัตถัง  ให้ผ้าสำหรับนุ่งห่มใช้สอยต่างๆ นี่เราจะขอบพระเดชพระคุณท่านเท่าไร ให้ผ้า ยานัง  เราจะไปในทางเหนือทางใต้เวลานี้เรารู้สึกทีเดียว ให้ค่ารถค่าเรือเป็นข้อสำคัญนัก ต่อเท้าต่อมือให้ทีเดียว ต่อหนทางให้ทีเดียว ใครจะให้อุปการะก็ตาม ไปมารถรา  หรือยวดยานพาหนะใดๆ เหล่านี้เรียก ยานัง ทั้งนั้น พอให้ก็เป็นพระเดชพระคุณ มาลา  ให้ระเบียบดอกไม้ ระเบียบดอกไม้ ดูไม่สุขเท่าไรนัก ให้ระเบียบดอกไม้ หรือจะให้ระเบียบ ดอกไม้ สำหรับหอม หรือไม่หอม มีกลิ่นหรือไม่มีกลิ่น นั่นแหละให้ดอกไม้ ก็คิดดูซิ ในเวลาเราต้องการดอกไม้ เขาให้  เราจะขอบพระเดชพระคุณเพียงแค่ไหน เวลาเราต้องการ ถ้าไม่ต้องการดูก็อย่างงั้นแหละ  เวลาต้องการก็ว่าดี นั่นมาลา คันธัง  ให้ของหอมนี้แหละเป็นที่ชอบใจล่ะ เข้ามาใกล้ก็ชื่นอกชื่นใจ สบายอกสบายใจขอบพระเดชพระคุณท่านมากทีเดียว เรียกว่าคันธัง วิเลปันนัง  เครื่องลูบไล้ เครื่องลูบไล้สำหรับร้อน เมื่อลูบเข้าแล้วก็เย็นกายสบายใจ เย็นหมดทั้งร่างกาย เขาเรียกว่าเครื่องลูบไล้ ของน้อยไม่ใช่มากนัก เขาเรียกว่า เครื่องลูบไล้  ให้เกิดชื่นอกชื่นใจ เย็นกาย ให้เกิดเย็นชื่น ให้เกิดเย็นใจ เขาเรียกว่าเครื่องลูบไล้ เครื่องลูบไล้อย่างจีน เขาเล่นละครจีน เล่นงิ้วเขาเอาสีไปไล้หน้า หรือเครื่องไล้เขามี แต่งให้เป็นรูปขึงขังขึ้น หรือให้เป็นรูปแปลกประหลาดลวงตาขึ้น นั่นก็เป็นเครื่องลูบไล้เหมือนกัน แต่นั่นหนาขึ้นไม่ใช่บางแต่ว่าสิ่งเหล่านี้ เมื่อเขาต้องการใครเอาไปให้ เขาก็ขอบพระเดชพระคุณมากมายทีเดียว ไสยยาวัสถัง เสยฺยา ที่นอน วสฺถํ ที่นอนที่อยู่ พักพาอาศัยตลอดทั้งชาติ  ชั่วคราวก็ดี  หรืออาสนะสำหรับนั่งพักพาอาศัยก็ดี เหล่านี้ใครให้ก็เป็นอันขอบใจมากทีเดียว เสยฺยาวสฺถํ นี้ ปทีไปยยัง  ที่มืดตามประทีปไปให้ เราไปเห็นเช่นนั้น แต่ว่าเขาให้เรา เราก็ต้องรักใคร่เขาทีเดียว  เรียกว่านับถือเขาทีเดียว ไม่ใช่เขานับถือเรา

    อย่างนี้ต้องจำเป็นตำรับตำราไว้  อยู่ในโลกต้องประพฤติอย่างนี้  ถ้าว่าหญิงก็ดี ชายก็ดี ประพฤติอย่างนี้แล้ว หญิงคนนั้นชายคนนั้นแหละจะได้ชื่อว่า เป็นที่พึ่งของตน จะได้ชื่อว่าเป็นแม่ของตนถ้าเป็นชายก็เป็นพ่อของตน ผู้ให้นั้นแหละเป็นแม่เป็นพ่อทีเดียว เหมือนกับพ่อแม่ให้ลูก คนอื่นให้ไม่ได้ ให้ได้แต่ลูก ลูกก็เรียกพ่อเรียกแม่ คนอื่นเขาก็ไม่เรียกพ่อเรียกแม่ ถ้าให้ได้  เหมือนลูกนั้นเหมือนลูกหมดทุกคน คนอื่นก็เรียกพ่อแม่เหมือนลูกทุกๆ คน นั้นแหละการให้สูงอย่างนี้ ให้ถึงกับเป็นพ่อเป็นแม่เพราะฉะนั้น การให้เป็นตัวสำคัญ ทั้ง ๑๐ อย่างนี้แหละ จำไว้เป็นตำรับตำรา เราเป็นมนุษย์ยังไม่ถึงชาติที่สุดแล้วต้องให้ ถ้าไม่ให้แล้ว ไปในภายภาคข้างหน้ามันกันดาร  ไม่สมบูรณ์ด้วยเครื่องกินเครื่องใช้ มันขาดตกบกพร่องถ้าว่าให้อยู่เนืองนิตย์อัตราแล้ว ไม่ขาดตกบกพร่อง ไม่ทุกข์ไม่ยาก ในระหว่างนั้นๆ  พอใช้พอสอยทีเดียว

    เพราะการให้เป็นตัวสำคัญ ท่านจึงได้วางเป็นตำรับตำราเป็นแบบแผนไว้ว่า อนฺนโท พลโท โหติ อนฺนโท พลโท โหติ ข้าวต้มข้าวสวย ผู้ให้ข้าวสวย หรือข้าวต้มก็ช่าง ของอื่นมีผู้ให้ข้าว ได้ชื่อว่าให้กำลัง อนฺนโท พลโท โหติ ผู้ให้ข้าวได้ชื่อว่าให้กำลัง  แต่ว่าในที่นี้ท่านบอกให้กำลังอย่างเดียวในที่อื่นให้ข้าวอย่างเดียว ให้โภชนาหารอย่างเดียวได้ชื่อว่า ให้อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณ ทีเดียวให้กำลังด้วย  ให้ปัญญา ให้ความสุขด้วย ให้ความสวยความงามด้วย ให้อายุด้วย  ๕ อย่าง  ให้ข้าวอย่างเดียวแต่ในที่นี้ท่านวางหลักไว้ว่า ผู้ให้ข้าวได้ชื่อว่าให้กำลัง อนฺนโท พลโท โหติ
    วตฺถโท โหติ วณฺณโท ผู้ให้ผ้าสำหรับนุ่งห่มใช้สอยเหล่านั้น ได้ชื่อว่าให้ความสวยงาม ได้ชื่อว่าให้ความสวยงาม ให้ผ้าสำหรับนุ่งห่มใช้สอยต่างๆ นั้นน่ะ ได้ชื่อว่าให้ความสวยงาม  เกิดชาติใดภพใด ไอ้ความสวยงามจะต้องติดตัวไปในชาติหน้า เพราะตัวสร้างความสวยงามของตัวไว้

    ผู้ให้ข้าวได้ชื่อว่าให้กำลัง  เราเอาอาหารให้แล้ว เกิดชาติใดภพใดตัวจะต้องมีกำลังไม่ขาดตกบกพร่องตลอดชาติ  ทุกชาติไป นับชาติไม่ไหว เพราะตัวได้สร้างกำลังของตัวไว้แล้ว จะต้องสร้างไว้อย่างนี้ ยานโท สุขโท โหติ ผู้ให้ยานเครื่องอุปการะแก่การไปมา หรือค่าอุปกรณ์ค่ารถ ค่าเรือ ให้สำเร็จแก่การไปมาได้ ผู้นั้นได้ชื่อว่าให้ความสุขแท้ๆ ยานโท สุขโท โหติ ผู้ให้ยาน  ได้ชื่อว่า ให้ความสุขให้เขาไปรถไปเรือได้ เราก็ได้รับความสุขเท่านั้น เมื่อตัวสร้างความสุขของตัวไว้เช่นนี้แล้ว ภพชาติต่อๆ ไปความสุขต้องอยู่กับตัว  ในเรื่องยาน ตัวไม่ขาดตกบกพร่องแล้ว ชาติต่อๆ ไปต้องมีใช้ทุกขณะทุกเมื่อไป เพราะตัวได้สะสมอบรมในเรื่องยานของตัวไว้   นี้ได้ชื่อว่า ยานโท สุขโท โหติ ทีปโท โหติ จักขุโท ทีปโท โหติ จักขุโท ผู้ให้ประทีป ให้ประทีป คือให้ไฟนั้นเอง  ผู้ให้ประทีปได้ชื่อว่าให้นัยน์ตา ให้ความเห็น

    ก็จริงล่ะ ในเมื่อมืดๆ เขาจุดประทีปตามไปให้ ก็เดินเห็นทางได้สะดวก ได้ชื่อว่าให้ดวงตาถ้ามืดอยู่เช่นนั้นละก็ไม่เห็นอะไร มีนัยน์ตาก็เหมือนไม่มีนัยน์ตา เมื่อสว่างขึ้นเช่นนั้น ก็ได้ชื่อว่ามีนัยน์ตาขึ้น  ทีนี้ได้ชื่อว่าให้นัยน์ตา ผู้ให้ประทีปได้ชื่อว่าให้นัยน์ตา ทีปโท โหติ จักขุโท  เป็นผู้ให้ประทีป ได้ชื่อว่าให้ความเห็น หรือให้นัยน์ตานี่เป็นหลักสำคัญ เกิดชาติใดภพใด นัยน์ตาของตัวมันไม่ต้องรักษาโรคหรอก ทุกชาติ ทุกภพไป เพราะตัวให้นัยน์ตา สร้างนัยน์ตาของตัวไว้ซะแล้ว สมบูรณ์บริบูรณ์นับชาตินับภพนับชาติไม่ถ้วนเพราะสร้างนัยน์ตาของตัวเป็นอันดีไว้แล้ว นี่ในบาทพระคาถานี้แก้ไขในเรื่องการให้ แก้ไขเรื่องการให้ แก้ไขเรื่องการให้ ก็ไม่ใช่เท่านั้น ยังแก้ไขอีก บาทพระคาถาต่อไปว่า


    มนาปทายี ลภเต มนาปํ มนาปทายี ลภเต มนาปํ
    ผู้ให้ของดี ผู้ให้ของชอบใจ  ย่อมได้ของชอบใจ
    มนาปทายี  ผู้ให้ของชอบใจ
    ลภเต มนาปํ ย่อมได้ของชอบใจ  สิ่งใดมาถึงตัวแล้วชอบใจทั้งสิ้น เพราะตัวได้สั่งสมของชอบใจของตัวไว้
    ถ้าให้ของที่ไม่ชอบใจ ก็ตรงกันข้ามได้ของที่ไม่ชอบใจ
    ให้ของที่ชอบใจ  ได้ของที่ชอบใจ 

    ตรงข้ามอย่างนี้ ให้อุตส่าห์พยายามที่จะให้สิ่งหนึ่งสิ่งใดต้องเป็นที่ชอบใจของตัว ได้ชื่อว่าให้ความสมหวังของตัวทุกภพทุกชาติ นับชาติไม่ถ้วนไว้ ต่อไปภาคหน้าเป็นของตัวแท้ๆ  ที่ตัวให้นั้นชื่อว่า มนาปทายี ลภเต มนาปํ

    อคฺคสฺส ทาตา ลภเต ปุนคฺคํ ผู้ให้ของเลิศ อคฺคสฺส ทาตา ลภเต ปุนคฺคํ ให้ของเลิศ  ย่อมได้ของเลิศ  เลิศเพียงแค่ไหน ก็แล้วแต่วัตถุนั้นๆ แล้วกาละนั้นๆ แล้วแต่ประเทศนั้นๆ  ที่เขานิยมวัตถุกันวรสฺส ทาตา วรลาภิ โหติ ให้ของชอบใจ ย่อมได้ของชอบใจ สิ่งใดที่ชอบใจ   ถ้าอยากจะได้ของที่ชอบใจอยู่แล้วละก็  ให้ทำของที่ชอบใจนั้นไว้ ให้สร้างของที่ชอบใจของตัวไว้ บริจาคทานแก่ สมณพราหมณ์ วณิพก คนยาจก ขอทาน และคนอนาถา ให้ของที่ชอบใจย่อมได้ของที่ชอบใจอยู่เนืองนิตย์อัตราจงอุตส่าห์พยายามสั่งสมของตัวไว้เสีย เมื่อตัวมาประสบพบพุทธศาสนาแล้ว ต่อไปในภายหน้า เมื่อรู้ข้อทั้งหลายเหล่านี้แล้ว ต้องสั่งสมของตัวเสีย  ย่อมเป็นของตัวแท้ๆ ใครทำได้ของคนนั้น คนอื่นจะแย่งชิงอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ได้ เสฏฺฐนฺทโท เสฏฺมุเปติ ฐานํ ให้ของดีได้ของดี เสฏฺฐนฺทโท เสฏฐมฺเปติ ฐานํ ให้ฐานะอันเลิศย่อมเข้าถึงซึ่งฐานะอันเลิศ ให้ฐานะอันเลิศ ย่อมถึงซึ่งฐานะอันเลิศ

    ฐานะอันเลิศนั้นเป็นไฉน?  ที่เขาได้กันในบัดนี้ ฐานะอันเลิศเป็นชั้นๆ ขึ้นไป ในทางราชการเราก็เห็น มียศถาบรรดาศักดิ์เป็นชั้นๆ ขึ้นไป นั้นเกิดจากผู้ให้ทั้งนั้น  นั่นเกิดจากผู้ให้ทั้งนั้น ถ้าไม่ให้  ก็ไม่ได้  เป็นหญิงก็ดี  ชายก็ดี เราใช้อยู่ก็ต้องให้ฐานะมัน ให้ฐานะเป็นใหญ่ในหน้าที่การงานนั้นๆ ให้มันเป็นหัวหน้าการงานขึ้น ให้มันมีตำแหน่งหน้าที่การงานบ้างซิ  ก็ได้ชื่อว่าให้ฐานะอันเลิศเหมือนกันตลอดไป ก็ย่อมได้ประสบฐานะอันเลิศเหมือนกัน ไปตามกาล ตามส่วนถ้าแม้นว่าเป็นกษัตริย์ ฐานะอันเลิศเหล่านี้ท่านประทานได้ ตามความชอบจิตชอบใจของท่าน หรือเป็นนายกก็ให้ฐานะอันเลิศอย่างนี้ได้ เมื่อให้ฐานะอันเลิศก็ย่อมประสบกับฐานะอันเลิศ

    อคฺคทายี วรทายี เสฏฐทายี จโย นโร  อคฺคทายี วรทายี เสฏฐทายี  จ โย นโร คนใดให้ของเลิศ ให้ของเป็นที่ชอบใจ ให้ของประเสริฐ จะไปเกิดในที่เช่นใด จะไปเกิดในที่เช่นใด
    ทีฆายุ ยสวา โหติ    ย่อมเป็นผู้มีอายุยืน มียศในที่นั้นๆ ไปเกิด
    ยตฺถ ยตฺถูปปชฺชตีติ  จะไปเกิดในที่ใดๆ
    ทีฆายุ ยสฺวา โหติ    ย่อมเป็นผู้มีอายุยืน  มียศในที่นั้นๆ นี้ส่วนเหล่านี้มีที่เกิดอย่างนี้
    เอเตน สจฺจวชฺเชน   ด้วยสัจวาจาภาษิตนี้ เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยสัจวาจาภาษิตนี้
    สุวตฺถิโหตุ สพฺพทา   ขอความสวัสดีจงมี และสุขอันเกิดจากความไม่มีโรค และอนามัยเป็นอันดี จงมีแก่ท่านทั้งหลายในกาลทุกเมื่อ ด้วยสัจจวาจาภาษิตนี้ ขอความสวัสดีจงมี

    สิทฺธมตฺถุ สิทฺธมตฺถุ สิทฺธมตฺถุ อิทํ ผลํ
    เอตสฺมึ รตนตฺตยสฺมึ สมฺปสาทนเจตโส
    ขอจิตอันเลื่อมใสในพระรัตนตรัยนี้ ขอผลแห่งจิตอันเลื่อมใสในพระรัตนตรัยนี้ จงเป็นผลสำเร็จ จงเป็นผลสำเร็จ จงเป็นผลสำเร็จทุกประการ ดังรัปประทานวิสัชนามา  ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา นี้เนื้อความของพระบาลีแท้ๆ  ออกจากกระแสวาระพระบาลีไม่คลาดเคลื่อน ต่อแต่นี้จะอรรถาธิบายขยายความเป็นลำดับไปว่า
    อนฺนํ  ปานํ  วตฺถํ  ยานํ มาลา คนฺธํ วิเลปนํ เสญฺยาวสถํ ปทีเปยฺยํ ทานวตฺถู อิเม ทส
    ทานวัตถุ ๑๐ ประการนี้ วัตถุเป็นเครื่องให้ทานเรียกว่า ทานวัตถุ วัตถุเป็นเครื่องให้ทาน ๑๐ ประการเหล่านี้ เราก็ใช้อยู่เสมอ ข้าวเราก็ใช้อยู่ ก็ได้รับประทานกันเพราะว่าเป็นของมีค่า ไม่ใช่ของไม่มีค่า  มีค่าหมดทั้งประเทศ ทุกประเทศไม่ว่าประเทศไหน นิยมกันนักเรื่องอาหารนี้ แต่ว่าอาหารบางประเทศทราม  บางประเทศประณีตนี่แล้วแต่ฉากหลังที่หล่อเลี้ยงประเทศนั้นๆ ถ้าวิชาหยาบไม่ละเอียด  ก็ได้อาหารทรามเกิดในประเทศของตัว ถ้าแม้ว่าฉากหลังมีกายละเอียดรักษาวิชาไว้ได้ดี  ก็ได้ของประณีตหล่อเลี้ยงประเทศของตัว  ที่ตัวรักษาฉากหลังนั้น เป็นตัวสำคัญ ฉากหลังนี้เราต้องนับถือนะ ไม่ใช่เราไม่นับถือเมื่อไร 

    ฉากหลังนี้คือใคร?  

    อยากจะรู้ฉากหลัง นี่ติดตัวนี่  ให้เราเป็นอยู่นี่แหละ เราเป็นอยู่ก็ได้ ไม่เป็นอยู่ตายไปเสียก็ได้ฉากหลังนี่  ถ้าไม่มีล่ะก็  มันก็เป็นอยู่ได้ซี่  มันจะตายได้ยังไง มีมีฉากหลัง แต่ว่าผู้ปฏิบัติศาสนาทั้งภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ไม่ควรจะทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ตัวของตัวเสีย  ควรจะรู้ชี้ตัวของตัว รู้ชี้อย่างไรว่าตัวของตัวมีฉากหลัง  ให้ตัวเป็นอยู่ได้  ให้ตัวสูงก็ได้ ให้ตัวต่ำก็ได้ ให้ตัวอดก็ได้ ให้ตัวจนก็ได้ ให้ตัวมีก็ได้ อันนี้ฉากหลังมีนะ แต่ว่าใครล่ะเป็นฉากหลังนั่น นี่ฉากหลังเป็นตัวสำคัญ ให้มนุษย์เป็นอยู่ หญิงก็ดีชายก็ดี ให้เป็นคนชั้นสูงก็ได้ ให้เป็นคนประณีตก็ได้ ให้เป็นคนที่ไหว้ที่เคารพที่บูชาที่สักการะเขาทั้งหมดก็ได้ ให้เขาติเตียนว่ากล่าวนินทาๆ ด่าแช่งก็ได้ ฉากหลังนี้ล่ะเป็นตัวสำคัญนัก ถ้ารู้จักฉากหลังล่ะก็  ไปให้ถึง  ไปเป็นกันเองกับฉากหลังเสีย ถ้าว่าทำได้อย่างนี้ ตัวเองจะเบาใจเพียงแค่ไหน เป็นมนุษย์คนหนึ่งๆ ถ้าไม่รู้จักฉากหลัง เข้าไม่ถึงฉากหลังแล้วล่ะก็  ตัวเองจะหนักใจแค่ไหน  จะไม่สะดวกในใจแค่ไหน เพราะความเป็นอยู่ก็ไม่ใช่ของตัว ความดีความชั่วที่ตัวกระทำ กระทำเหล่านี้ไม่ใช่ของตัวทั้งนั้น ทำชั่วเขาจะให้ความดีก็ได้ ทำดีเขาจะให้ความชั่วก็ได้  เพราะฉากหลังไม่เป็นของตัวนี่ วางใจไม่ได้  เมื่อวางใจไม่ได้  ก็ต้องลำบากใจอยู่ในขณะนี้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ต้องเรียนให้รู้จักฉากหลัง รู้จักเป็นชั้นไปนะ ฉากหลังนี่เป็นตัวสำคัญ  มนุษย์นี้เป็นตัวฉากหน้าล่ะ

    มนุษย์หญิงชายที่มานั่งมาฟังเทศน์อยู่นี่ ฉากหลังมี ฉากหลังกระซิบอยู่ข้างในนั้นแหละ ให้เทศน์เรื่องนั้นเรื่องนี้ ให้พูดอย่างนั้นอย่างนี้ ผู้ฟังก็อยู่ข้างในเหมือนกัน กายมนุษย์ก็นั่งไป  ไอ้ฉากหลังก็กระซิบไป ให้จำเท่านั้น จำเท่านี้ จำเท่าโน้น  นักวิชาพวกนี้นี่อีกชุดหนึ่ง ฉากหลังเข้าไป ก็กายที่ฝันออกไป ไอ้กายที่ฝันนั่นเป็นฉากหลังล่ะนะ แล้วไอ้กายที่ฝันนั่นแหละมีฉากหลังอีก มีกายทิพย์เป็นฉากหลังของกายมนุษย์ละเอียดเข้าไปอีก ไอ้กายมนุษย์ละเอียดนั่นแหละ กายทิพย์นั่นแหละเป็นฉากหลังของกายมนุษย์ละเอียด นั่นแหละมีฉากหลังอีก  เขาเรียกว่ากายทิพย์ละเอียด ไอ้กายทิพย์ละเอียดนั้นแหละ มีฉากหลังอีกเขาเรียกว่ากายรูปพรหม
    ในกายรูปพรหมมีฉากหลังอีก  เรียกว่ากายรูปพรหมละเอียด
    ในกายรูปพรหมละเอียด มีฉากหลังอีกเรียกว่ากายอรูปพรหม
    ในกายอรูปพรหม มีฉากหลังอีกเรียกว่ากายอรูปพรหมละเอียด
    ในกายอรูปพรหมละเอียด มีฉากหลังเรียกว่า กายธรรม
    ในกายธรรมนั่นแหละ มีฉากหลังอีกเรียกว่ากายธรรมละเอียด
    ในกายธรรมละเอียด มีฉากหลังอีกเรียกว่ากายธรรมพระโสดา
    ในกายธรรมพระโสดา มีฉากหลังอีก เรียกว่ากายธรรมพระโสดาละเอียด
    ในกายธรรมพระโสดาละเอียด  มีฉากหลังอีก เรียกว่ากายธรรมพระสกทาคา
    ในกายธรรมพระสกทาคา     มีฉากหลังอีก     เรียกว่ากายธรรมพระสกทาคาละเอียด
    กายธรรมพระสกทาคาละเอียด   มีฉากหลังอีก  เรียกว่ากายธรรมพระอนาคา
    กายธรรมพระอนาคา ยังมีฉากหลังอีก เรียกว่ากายธรรมพระอนาคาละเอียด
    กายธรรมพระอนาคาละเอียด ยังมีฉากหลังอีก เรียกว่ากายธรรมพระอรหัต
    กายธรรมพระอรหัต ยังมีฉากหลังอีก เรียกว่ากายธรรมพระอรหัตละเอียด
    กายธรรมพระอรหัต กายธรรมพระอรหัตละเอียดนี่แหละ

    ผู้เทศน์นี่ตรวจเข้าไปฉากหลังนี่แหละ ๒๕ ปียังไม่เต็มดี ในการตรวจฉากหลังนั้น  ยังไม่เต็มเดือนเต็มวันดี  ยังไม่หมดฉากหลังนี้  ยังไม่สุดฉากหลัง นี่ยังไม่สุดภาคหล่อเลี้ยงเหล่านี้ ยังไม่สุดฉากหลัง ยังไม่สุด ยังไม่สุด ผู้เทศน์ก็ยังเป็นบ่าวเขาอยู่ ยังเป็นบ่าวเป็นทาสเขาอยู่ ยังเอาตัวรอดไม่ได้ เพราะอะไร ไปยังไม่สุดฉากหลัง  เขายังปกครองเราอยู่  นี้ไปต้องไปให้สุด  เมื่อไปสุดแล้ว  เราจะเห็นฉากหลังในฉากหลังเข้าไปอีก เมื่อไปสุดแล้ว  เราจะพบฉากหลังในฉากหลังเข้าไปอีก ฉากหลังในฉากหลังนี้จะมีอีกเท่าไรยังไม่รู้ได้  มีเห็นมีหาย ภิกษุ สามเณร ควรจะรู้ ถ้าไม่รู้ก็เสียคนทีเดียว เป็นบ่าวเป็นทาสเขาไปทั้งชาติ เอาตัวรอดไม่ได้ เรียกว่า ตัณหา ทาโส อทานิสิ ไม่ผิดล่ะ ไม่คลาดเคลื่อนเลยทีเดียว เพราะอะไร เพราะไม่รู้ฉากหลัง ก็เป็นบ่าวเป็นทาสเขาตาย ถ้ารู้ฉากหลัง บังคับฉากหลังได้ล่ะก็ ก็เลิกเป็นบ่าวเป็นทาสเขา มันก็เป็นเจ้าเป็นนายเขาบ้าง นี่เป็นชั้นๆ นะ ให้เข้าใจทีเดียว ให้เข้าใจให้แน่ทีเดียว เมื่อเข้าใจแน่ล่ะก็เราจะต้องเริ่มต้นในชาตินี้ทีเดียว เรารอไว้ไม่ได้ ถ้าว่าชาตินี้ยังไม่รู้ฉากหลัง ยังไม่พบฉากหลังเราจะต้องยอมตาย ต้องเข้าถึงฉากหลังให้ได้ เราจะต้องยอมตาย ต้องเข้าถึงฉากหลังให้ได้

    ไอ้ผู้ปกครองเราลับๆ ใช้เราลับๆ อยู่ เราไม่รู้เลย พระสมณโคดมบรมครูเอง พอไปเห็นกายมนุษย์ละเอียดเข้าเท่านั้น ทรงรับสั่งแล้ว  อเนกชาติสํสารํ สนฺธาวิสํ อนิพฺพิสํ คหการํ คเวสนฺโต ทุกฺขา ชาติ นั่นทรงรับสั่งแล้ว เรานี่เวียนว่ายตายเกิดไม่รู้จักจบนี้  เพราะท่านนี่เอง พาให้เราเวียนว่ายตายเกิด ไม่รู้จักจบ เมื่อไปพบชั้นหนึ่ง และไปพบจนกระทั่งถึงตัวสร้างบ้านสร้างเรือน กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหาสร้างบ้านสร้างเรือน สร้างกายท่านไม่มีจบ 

    นั่นไปพบเรื่องนั้นก็ยิ่งคำนึงยกใหญ่ทีเดียว จึงได้ทำลายล้าง กาม ตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหาเสีย ออกจากไตรภพไป หลบออกจากไตรภพไป ไอ้ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ทำอะไรท่านไม่ได้ แต่ว่าทำไม่ได้ ทำไม่ได้ขั้นหยาบหยาบ ขั้นละเอียดนั้นอยู่ในความปกครองเขา ฉากหลัง ฉากหลังใหญ่โตโน้น ยังบังคับพระสมณโคดมอยู่ เราจะไปให้พ้น ให้เลยฉากหลังที่บังคับพระสมณโคดมอยู่ พระอรหันต์อยู่ พระพุทธเจ้าอยู่ มากน้อยเท่าไร จะไปให้เลยหมดทีเดียว ไม่ให้มีฉากหลังต่อไป นั่นแน่ะ  เราจะเอาตัวรอดได้แล้ว เอาตัวรอดได้แล้ว ถ้าไปไม่ถึงขนาดนั้น เรามาพบพระพุทธศาสนาคราวนี้ ก็เสียคราวเหมือนกัน เอาตัวรอดไม่ได้ ทำไมเอาตัวรอดไม่ได้ล่ะ ก็ไปไม่ตลอดฉากหลัง จะเอาตัวรอดได้อย่างไร?  มันก็ยังเป็นบ่าวเป็นทาสเขาอยู่อย่างนั้นเมื่อเป็นเช่นนั้น เราจะต้องคาดคั้นทีเดียว จะต้องคาดคั้นทีเดียว ต้องไต่เข้าไปทีเดียว เป็นกายๆเข้าไป  อย่าเข้าใจว่า ไอ้ที่เขาใช้ให้ทำชั่วด้วยกาย วาจา ใจ เขากระซิบให้ทำอย่างนั้น  เขากระซิบให้ทำอย่างนี้น่ะ  ไอ้นั่นก็เป็นบ่าวเป็นทาสเขานะซี เขาถึงใช้ได้ตามชอบใจ ให้ไปทำผิดวินัยซะป่นปี้ เหลวไหลป่นปี้ ให้กายเป็นเลว เป็นเปลวไป

    นี่เพราะอะไรล่ะ?

    ก็เพราะไอ้ฉากหลังมันบังคับ เขาไม่ได้แกล้ง ฉากหลังมันบังคับ ไม่รู้เท่าทันฉากหลัง  ฉากหลังบังคับเสียหายป่นปี้ นี้แหละให้ระวังฉากหลังเป็นตัวสำคัญ  จะทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดในสากลโลกทั้งสิ้น  จะทำงานใหญ่งานโตงานย่อยเท่าหนึ่งเท่าใด ให้ระวังให้รอบตัวทีเดียว  ระวังให้รอบตัว  ฉากหน้าฉากหลังให้ระวังให้รอบตัวทีเดียว  ทว่าทำฉากหลัง ฉากหลังได้อย่างนี้แล้วล่ะก็  การงานอย่างนั้นจะสำเร็จทุกสิ่งทุกประการ  แต่ว่าทำฉากหน้าฉากหลังให้ดีนะ ถ้าทำไม่ดีแล้วล่ะก็ประเดี๋ยวก็ไปนอนหลับในที่ใดที่หนึ่ง เพราะไม่ทันเขา จะไปโทษเขาไม่ได้ เพราะเราไม่เข้าข้างใคร เหตุนี้นี่แหละเราอุตส่าห์เริ่มต้นให้ทาน เริ่มต้นให้ทาน ให้บริสุทธิ์ในใจให้เบิกบานทีเดียว จะได้เกิดปัญญาและเฉลียวฉลาดขึ้น
    ขั้นที่สองประคองใจของเรา เจตนาของเรา ให้อยู่ในศีล ศีลแล้วด้วยเจตนา เจตนาหํ  ภิกฺขเว  สีลํ 
    เจตนาบริสุทธิ์ในองค์ทั้ง ๕ ทั้ง ๘ ทั้ง ๑๐

    เจตนาบริสุทธิ์ในปาณาติบาต อทินนา กาเมสุมิจฉาจาร มุสา สุรา เหล่านี้  หรือเจตนาบริสุทธิ์ใน ๘ หรือเจตนาบริสุทธิ์ใน ๑๐ ก็แล้วแต่จะบริสุทธิ์ได้แค่ไหน  รักษาความบริสุทธิ์ของ กาย วาจา ใจ ให้มั่น  แล้วอย่าให้คลาดเคลื่อน  แล้วแก้ไขใจให้ใส  แก้ไขใจให้ใส เราจะได้เห็นฉากหลังชัดหนักขึ้นทุกทีไป แก้ไขใจให้ใส เราจะได้เห็นฉากหลังชัดหนักขึ้นทุกทีไป  (หลวงพ่อพูดซ้ำๆ กัน ไม่ได้พิมพ์ผิด ซึ่งมีอยู่หลายที่)เมื่อให้ทาน ประพฤติความบริสุทธิ์เป็นศีล รักษาใจให้ใสเป็นปัญญา เพียรนึกอัตตาทั้งวันทั้งคืน เว้นไว้แต่หลับเสีย ตื่นขึ้นมาก็เป็นอย่างนั้นอยู่เสมอไป จะเป็นอะไรก็เป็นไป  แล้วก็มุ่งหมายจะไปที่สุดฉากหลังให้ได้  ถ้าว่าไม่สุดแล้วก็ตายเถอะ ชาติหนึ่งไม่ยอมกันเด็ดขาดเชียว ไม่ยอมกันล่ะที่จะเลิกไป  เป็นไม่เอา ใครจะชวน  ใครจะชวนให้เลี้ยวลดซะ ให้เที่ยวเสียเวลา เที่ยวนอน เที่ยวคุยซะ ทำผิดทางทำผิดลู่ผิดทาง ผิดทางฉากหลังซะเช่นนี้ล่ะก็ ตัดหัวไม่ยอม ไม่เชื่อ ไม่เชื่อเด็ดขาดเชียว เจ้าไอ้นี่คนบ่าวคนทาสเขานี้ มันจะชวนให้เราเป็นบ่าวเป็นทาสอีกละ เราจะไปเห็นอะไรด้วยละ เราไม่ยอมเด็ดขาดทีเดียว เราจะไปให้ตลอด ให้เลยฉากหลังอันนี้ให้ได้  ให้ถึงที่สุดฉากหลังให้ได้ ใครจะทำเป็นมั่ง ก็ไต่สวนเลยทีเดียว นี้วิชาของวัดปากน้ำ มีอยู่แล้วในเวลานี้  วิชาตรวจฉากหลังเรานี่ คือธรรมกายปรากฏอยู่แล้ว เขากำลังตรวจอยู่แล้ว เขากำลังทำกันอยู่แล้ว นี่แหละของจริง

    พระเณรไม่รู้จักของจริงล่ะก็ อย่าโกงตัวเอง   อย่าดูถูกตัวเอง ให้อุตส่าห์พยายามตรวจฉากหลังของตัวให้สุดให้ได้ ถ้าไม่สุดตัวล่ะก็ ไม่สุดฉากหลังของตัวเองล่ะก็ ตัวก็เป็นบ่าวทาสเขาอยู่นั่น ไม่ต้องไปสงสัย เมื่อรู้เมื่อเข้าใจดังนี้แล้ว ตัวก็จะได้บรรลุผลที่ยิ่งใหญ่ไพศาล หาประมาณมิได้  พระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งไปพบท่านเข้า ถ้าเราไปได้สุด ท่านก็จะยิ้มในพระทัยว่า เออ..อ้ายนี่ มันลูกผู้ชายจริง เออ..ไอ้นี่เป็นคนมีปัญญา เป็นผู้หญิงมีปัญญาจริง เป็นผู้ชายก็ฉลาดจริง  ไม่ใช่คนโง่ นอกจากนั้น  ถ้าไม่พยายามให้สุดฉากหลังเช่นนี้ล่ะก็ เป็นบ่าวทาสเขา ไม่ใช่คนฉลาด จะเอาเป็นเกณฑ์ไม่ได้ ให้แน่นอนอย่างนี้นะ  แน่นอนอย่างนี้แล้วจะเอาตัวรอดได้ แต่เข้าใจนะว่าเขาใช้เราเท่านั้น ใช้เราเท่านี้เป็นบ่าวเป็นทาสเขาน่ะ เพราะเราไม่ทันฉากหลังเหล่านี้ เขาก็ใช้เราตามชอบใจ ใช้เป็นบ่าวเป็นทาสป่นปี้ถึงจะมีปัญญาแค่ไหนก็ช่าง ใช้เป็นบ่าวเป็นทาสป่นปี้ เหตุนี้ต้องแก้ไขทีเดียว ต้องไปให้สุด สุดฉากหลังให้ได้ เริ่มต้นดังกล่าวแล้ว ต้องบริจาคทานตามใจนึก ใจเบิกบานสำราญใจ ทำใจให้ใส เบิกบานสำราญใจ  ทำใจให้บริสุทธิ์ เจตนาให้ดี บริสุทธิ์ทางกาย ทางวาจา ทางใจ ให้สะอาด ทำใจให้ใส ให้ใส ดีล่ะก็ ดูฉากหลังใหญ่  ประพฤติทีเดียว ทั้งวันทั้งคืนเว้นไว้แต่หลับเสีย ตื่นแล้วก็ไม่ได้รอท่าล่ะ ทำให้สุดให้ได้  ไม่สุดไม่ยอมเป็นเด็ดขาด

    ถ้าเราไม่ไป  เราก็ตาย
    เราไปเราก็ตาย
    ไปหรือไม่ไปล่ะ?
    ถ้าไม่ไปก็ตาย ไม่กี่เดือนกี่ปีก็ตาย  มนุษย์หมดทุกคน
    จะไปหรือไม่ไปล่ะ?   ไม่ไปก็ตาย   ไปดีกว่าไม่ไป
    ไอ้นั่นมันตายเปล่าหาหลักฐานไม่ได้ หากว่าไปได้ถึงแค่ไหนก็แล้วแต่ ชาติต่อๆ ไปอีก ไม่ถอยหลังกลับกัน  นี่แหละนับว่าเป็นคนมีปัญญา ดำเนินแนวทางพระพุทธศาสนา ต้องดำเนินอย่างนี้ เป็นทางสูงสุดในพระพุทธศาสนาที่ได้ชี้แจงแสดงมานี้ ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบายพอสมควรแก่เวลา

    วรญฺญํ สรณํ นตฺถิ  สิ่งอื่นไม่ใช่ที่พึ่งที่ประเสริฐของเราท่านทั้งหลาย
    สรณํ เม รตนตฺยํ  รัตนตรัยเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของเราท่านทั้งหลาย
    เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้
    สทา โสตถี ภวนฺตุเต ขอความสุขสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย ทั้งคฤหัสถ์บรรพชิตบรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมา ตามสมควรแก่เวลา สมมติขอยุติธรรมิกถาโดยอรรถนิยมความไว้เพียงเท่านี้

    เอวํ  ก็มีด้วยประการฉะนี้



    http://www.watpaknam.org/content.php?op=dsn_67
     
  8. นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,446
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,124
    ค่าพลัง:
    +70,477
    หลวงพ่อฤาษีลิงดำ - ประวัติสร้างสมเด็จองค์ปฐมและเจดีย์พุดตาล

    <iframe width="640" height="360" src="https://www.youtube-nocookie.com/embed/SpoDzZiUBfc?&autoplay=&rel=0" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>
     
  9. นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,446
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,124
    ค่าพลัง:
    +70,477
    อานิสงส์สร้างพระพุทธรูปสมเด็จองค์ปฐม ฯ

    อานิสงส์การสร้างสมเด็จองค์ปฐม

    หลวงพ่อ “ช่างมาถามเกี่ยวกับลักษณะองค์ปฐม อาตมาบอกสร้างแบบพระพุทธรูปธรรมดา แต่ต้องอ้วนหน่อยนะ คือมีเนื้อมากหน่อย ไม่ใช่อ้วนพุงพลุ้ยนะ และก็เวลาลงไปสอนกรรมฐาน เมื่อเสร็จแล้วเขาก็คุยกันเขาก็ถามปัญหา ถามไปถามมา เขาถามถึงพระพุทธเจ้าองค์ปฐมว่า ถ้าจะสร้างจะมีอานิสงส์ยังไง ลุงสองลุง นายบัญชี กับลุงพุฒิ ท่านมายืนอยู่นานแล้ว ท่านไม่มีโอกาสคุย เพราะอาตมาขึ้นไปคุยกับพระซะ
    ท่านบอกว่า การสร้างองค์ปฐมนี่ ท่านเปลี่ยนบัญชีใหม่ เอาบัญชีมาให้ดู บอก นี่…บัญชีเล่มนี้ (คือว่าเป็นอีกเล่มหนึ่งจากที่ที่จดธรรมดา) “บัญชีสีทอง” เป็นทองคำล้วนทั้งเล่มเลย ฉันอยากได้บัญชีเอามาขาย ท่านบอก.. ถ้าสร้างองค์ปฐมลงบัญชีเล่มนี้โดยเฉพาะ ก็แสดงว่าคนที่จะสร้างพระพุทธเจ้าองค์ปฐมได้นี่ ต้องเป็นคนมีบุญมาก…หรือไง? แต่ก็ไม่ได้หมายความต้องเงินมากนะ คือว่าโดยมากเราจะนึกไม่ถึงกันใช่ไหม เรานึกกันถึง พระกกุสันโธ พระโกนาคม พระพุทธกัสสป แต่ยังไม่เคยนึกถึงองค์ปฐม ส่วนใหญ่ไปนึกถึง พระศรีอาริย์ ยังไม่เป็นพระพุทธเจ้า ใช่ไหม นี่องค์นี้เป็นองค์แรก ก็คุยกันแล้ว ท่านบอกว่า การสร้างพระพุทธเจ้าองค์ปฐมทำได้ยาก คือว่าเป็นพระพุทธเจ้าต้นพระพุทธเจ้าทั้งหมด ใช่ไหม และการทำบุญเนื่องในการสร้างวิหารก็ดี สถานที่ก็ดี เอาของไปประดับก็ตาม ทีนี้อย่างคนมีเงินน้อย ๆ ใช่ไหม ก็มีสตางค์ไม่มาก เอาสตางค์ 9 สตางค์ 10 สตางค์ ไปใส่แท่น อย่างนี้ลงบัญชีสีทองหมด
    คือไม่หมายความต้องมีเงินมากเสมอไปนะ ที่เขามีน้อยๆ บาทสองบาท 10 สตางค์ 20 สตางค์ พวกนี้เอาไปใส่แท่นอย่างนี้ลงบัญชีทองหมด...
    ก็ถามว่า บัญชีสีทองหมายถึงอะไร ท่านบอก มันหมายถึงกลับไม่ได้ เพราะว่าพระพุทธเจ้าทุกองค์ต้องโมทนา หมด”

    ผู้ถาม : “หลวงพ่อครับ การหล่อองค์ปฐมด้วยทองคำนี่อานิสงส์จะเหมือนกับหล่อพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน หรือว่าจะแตกต่างกันอย่างไรครับ ถ้าเป็นทองคำเหมือนกัน?”
    หลวงพ่อ : “ก็มีอานิสงส์เหมือนกัน แต่ว่าต่างกันอยู่นิดหนึ่งที่ไปนิพพานเร็ว ไปนิพพานเร็วมาก เพราะเขาเข้า บัญชีสีทอง ไม่ใช่ตัวทอง บัญชีทั้งเล่มเป็นทอง ลงบัญชีเล่มนั้น”
    ผู้ถาม : “หมายถึงเป็นเจ้าภาพหล่อองค์ปฐมนี่หรือครับ?”
    หลวงพ่อ : “ใช่ ๆ ๆ จะทองคำก็ดี จะเป็นเงินก็ตาม…เหมือนกันลงบัญชีเล่มเดียวกัน”





    <iframe width="480" height="360" src="https://www.youtube-nocookie.com/embed/8ssi4sWpaLo?rel=0" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>
     
  10. นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,446
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,124
    ค่าพลัง:
    +70,477
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,446
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,124
    ค่าพลัง:
    +70,477
    <iframe width="480" height="360" src="https://www.youtube-nocookie.com/embed/tKF8fQdYlpk?rel=0" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>
     
  12. นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,446
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,124
    ค่าพลัง:
    +70,477
    <iframe width="480" height="360" src="https://www.youtube-nocookie.com/embed/niun64KGZpI?&autoplay=&rel=0" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>
     
  13. นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,446
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,124
    ค่าพลัง:
    +70,477




    "พระโพธิสัตว์ - หน่อพุทธภูมิ - การแบ่งภาค"


    เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๓
    วันหนึ่ง ขณะที่ผู้เขียนกำลังนั่งคุย
    กับหลวงปู่ ท่านได้ถามผู้เขียนว่า
    "เคยได้ยินเรื่องการแบ่งภาคไหม"

    ผู้เขียนเรียนตอบท่านว่า
    "เคยครับ ในเรื่องรามเกียรติ์ พระรามแบ่งภาค
    มาจากพระนารายณ์ มีจริงหรือครับหลวงปู่"

    หลวงปู่ท่านนิ่งอยู่อึดใจหนึ่งแล้วตอบว่า
    "มีจริงเหมือนกัน อย่างหลวงปู่ทวดแบ่งภาคมาเกิดไงละ"

    เกี่ยวกับเรื่องนี้ เคยมีนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    เรียนถามหลวงปู่ ซึ่งหลวงปู่ตอบว่า
    "มี...แต่ทำได้ในพวกหน่อพุทธภูมิ"

    หลวงปู่ท่านเคยบอกผู้เขียนว่า
    "แกรู้ไหมว่า ในหลวงท่านเป็นใคร
    ท่านคือผู้ปรารถนาพุทธภูมิ กำลังใจของท่าน
    พวกนี้จะต้องเป็นผู้นำหมู่คณะ ดูอย่างวัวยังมีจ่าฝูง
    นกก็ต้องมีหัวหน้าฝูง วัดก็ต้องมีเจ้าอาวาส
    อย่างหลวงพ่อใหญ่ (พระโบราณคณิสร
    อดีตเจ้าอาวาสวัดสะแก)
    แต่หน่อพุทธภูมิที่มีบารมีเต็มแล้ว สูงแล้ว
    เขามักจะไม่เป็นกษัตริย์ เพราะจะมีภาระหนักหน่วง
    ส่วนใหญ่เขามักเป็นคนธรรมดาแล้ว บวชพระ
    แต่จะบำเพ็ญบารมีจนในที่สุดจะกระเทือนถึงพระราชวงศ์เอง
    พระเจ้าแผ่นดินองค์นี้ท่านมีบุญมาก
    และเป็นแบบอย่างให้ข้าราชการผู้ใหญ่ทำตาม"

    ผู้เขียนจึงเรียนถามท่านต่อไปว่า
    "หลวงปู่ครับ หน่อพุทธภูมิที่บารมีเต็มแล้ว
    ท่านก็ไม่ต้องมาเกิดแล้วใช่ไหม รอการตรัสรู้เลยที่ชั้นดุสิต
    หรืออย่างหลวงปู่ก็ไม่ต้องมาเกิดแล้วใช่ไหมครับ"

    หลวงปู่ตอบว่า
    "กำลังของพุทธภูมิมีหน้าที่ที่จะทำให้มหาชนมีความสุข
    ถ้ามีคนเรียกร้องหรือบ้านเมืองเกิดยุคเข็ญก็ต้องลงมาช่วย
    จะคิดเอาแต่สบายได้ยังไง นั่นไม่ใช่ความคิดของหน่อพุทธภูมิ
    อย่างนี้พระอรหันต์สำเร็จแล้ว ท่านก็ไม่ต้องยุ่งกับใคร
    ไม่ต้องทำอะไรแล้วซิ"

    ผู้เขียนจึงถามท่านว่า
    "หลวงปู่ไม่ไปนิพพานหรือ"

    ท่านตอบว่า
    "จะไปได้อย่างไร คนนี้ก็เรียก คนนั้นก็ร้อง
    ข้าไปแค่หัวตะพานก็พอ ดูอย่างหลวงปู่ทวดซิ
    มีคนเรียกร้องท่านมากมาย บารมีท่านเต็มท้องฟ้า
    อย่างข้าเอง คนไหนคิดถึงข้า ข้าก็คิดถึงเขา
    คนไหนไม่คิดถึงข้า ข้าก็คิดถึงเขา เพราะในวันหนึ่งๆ
    ข้าต้องอธิษฐานไปให้หมู่คณะทุกวันไม่เคยขาด
    วันละ ๓ ครั้ง เขาจะได้ไม่เป็นอันตรายทั้งเช้ามืด ตอนเย็น
    ตอนกลางคืน ก่อนนอน เพื่อเป็นการช่วยเหลือหมู่คณะ"

    ผู้เขียนฟังจบ พร้อมกับสำนึกในเมตตาของหลวงปู่
    ที่มีต่อลูกศิษย์อย่างมาก หลวงปู่ท่านได้ย้ำด้วยความเมตตาต่อไปอีกว่า

    "คิดถึงพระครั้งหนึ่ง บารมีพระมาถึงเราไปกลับ ๗ เที่ยว
    รวมแล้ว ๑๔ ครั้ง ได้กำไรดีไหมล่ะ นี่มีในพระไตรปิฎก
    พระพุทธเจ้าบอกกับพระอานนท์
    ถ้าเราคิดถึงพระได้เหมือนกับคิดถึงแฟนเมื่อไหร่
    แสดงว่าจะดีแล้ว"


    ข้อมูลจากหนังสือกายสิทธิ์
    จัดทำโดยคณะศิษยานุศิษย์
    สำนักสงฆ์พุทธพรหมปัญโญ
    ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่


    คติธรรมคำสอนโดย... หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ

    Graphics by... ชยปุญฺโญ ภิกขุ (อธินันท์ อ่ำบุญ) Athinan Aumboon วัดพุทธพรมปัญโญ (ถ้ำเมืองนะ) ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่

    ท่านสามารถรับชม วีดีโอ ประวัติหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ, ประวัติหลวงตาม้า, ประวัติวัดพุทธพรหมปัญโญ (ถ้ำเมืองนะ) ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ และ วีดีโอ อื่นๆ ของวัดพุทธพรหมปัญโญ (ถ้ำเมืองนะ) ได้ที่... http://www.youtube.com/user/Athinan58?feature=mhee

    ท่านสามารถดาวน์โหลดหนังสือคติธรรมคำสอน โดย... พระอาจารย์วรงคต วิริยธโร (หลวงตาม้า) หมายเหตุ ไม่สามารถแสดงหน้าตัวอย่างได้ เพราะไฟล์มีขนาดใหญ่ 131 MB และไม่ใช่ไวรัส ได้ที่... https://docs.google.com/file/d/0B_b4WKOY-ZOmdVp5RVZNWEk2bTA/edit?usp=sharing

    ท่านสามารถดาวน์โหลดหนังสือหลวงตาสอนศิษย์ เล่มที่ 1/5 ฉบับเต็มได้ที่... https://docs.google.com/file/d/0B_b4WKOY-ZOmeHgwWnhVZU85ajg/edit?usp=sharing

    ท่านสามารถดาวน์โหลดหนังสือหลวงตาสอนศิษย์ เล่มที่ 2/5 ฉบับเต็มได้ที่... https://docs.google.com/file/d/0B_b4WKOY-ZOmU1E2eEhzczE2MzQ/edit?usp=sharing

    ท่านสามารถดาวน์โหลดหนังสือหลวงตาสอนศิษย์ เล่มที่ 3/5 ฉบับเต็มได้ที่... https://docs.google.com/file/d/0B_b4WKOY-ZOmMGVzQnYzWUI2Ukk/edit?usp=sharing

    ท่านสามารถดาวน์โหลดหนังสือหลวงตาสอนศิษย์ เล่มที่ 4/5 ฉบับเต็มได้ที่... https://docs.google.com/file/d/0B_b4WKOY-ZOmZU1SempNQjh4NXM/edit?usp=sharing

    ท่านสามารถดาวน์โหลดหนังสือหลวงตาสอนศิษย์ เล่มที่ 5/5 ฉบับเต็มได้ที่... https://docs.google.com/file/d/0B_b4WKOY-ZOmcmVtYmd1cHhTY1E/edit?usp=sharing

    ท่านสามารถดาวน์โหลดเรื่องเล่าหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ ได้ที่... https://docs.google.com/file/d/0B_b...YTk4LWE3ZDQtNWI4NWU4MTI4YWE0/edit?usp=sharing

    ท่านสามารถดาวน์โหลดการปฏิบัติกัมมัฏฐานโดยละเอียดของหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ ได้ที่... https://docs.google.com/file/d/0B_b...NjA4LTkxNTYtMjM3YjhkMjcxYWI2/edit?usp=sharing

    ท่านสามารถดาวน์โหลดหนังสือไตรรัตนญาณจักรพรรดิเปิดโลก ได้ที่... https://docs.google.com/file/d/0B_b...ZmEyLWI0NjctNTIzOTBmMzI1ZGJl/edit?usp=sharing

    ท่านสามารถดาวน์โหลดบทสวดจักรพรรดิ ได้ที่... https://docs.google.com/file/d/0B_b...YTI4LThhZmYtYjY4ZmRlZWIyNGQz/edit?usp=sharing
     
  14. นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,446
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,124
    ค่าพลัง:
    +70,477
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Y10222695-7.gif
      ขนาดไฟล์:
      142.3 KB
      เปิดดู:
      1,861
  15. นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,446
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,124
    ค่าพลัง:
    +70,477
  16. นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,446
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,124
    ค่าพลัง:
    +70,477
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 4751.jpg
      ขนาดไฟล์:
      43.7 KB
      เปิดดู:
      153
  17. นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,446
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,124
    ค่าพลัง:
    +70,477




    ณ โอกาสนี้ ขอคัดย่อข้อความส่วนท้ายจากเทปที่หลวงพ่อฤาษีฯ ท่าน บันทึกไว้ในประวัติหลวงพ่อปาน มาให้ได้อ่านกันครับ

    ปัจฉัมโอวาทของหลวงพ่อปาน

    ท่านบอกว่า “ลูกทุกคน เมื่อพ่อตายไปแล้ว จงอย่าทิ้งกรรมฐานที่พ่อให้ไว้ เป็นกรรมฐานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อย่าถือว่าเป็นของพ่อ ต้องถือว่าเป็นของพระพุทธเจ้า

    ฆราวาสทุกคนอย่าทิ้งคาถาพระปัจเจกพุทธเจ้านะ แล้วจะเอาตัวรอดได้ แต่ถ้าใครไม่ปฏิบัติจะเอาตัวไม่รอด แล้วจะมาโทษพ่อไม่ได้ เพราะสมบัติส่วนใหญ่พ่อให้ไว้หมดแล้ว คือมนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ พรหมสมบัติ นิพพานสมบัติ พ่อให้หมดแล้ว ลูกทุกคนจงพยายามรักษาไว้ให้ดี” …แล้วท่านก็อธิบายกรรมฐานตามสมควร…
     
  18. นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,446
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,124
    ค่าพลัง:
    +70,477
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,446
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,124
    ค่าพลัง:
    +70,477
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,446
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,124
    ค่าพลัง:
    +70,477
    <iframe width="480" height="360" src="https://www.youtube-nocookie.com/embed/2du71MttLOQ?&autoplay=&rel=0" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>
     

แชร์หน้านี้