พระไตรปิฎก จัดว่าเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า และคำสอนของพระสาวกในพุทธกาลที่ทันเห็นพระพุทธเจ้า เช่น พระสารีบุตร พระอานนท์ พระกัจจายนะ ฯลฯ
แต่หลายอย่างที่เราเรียนๆกันมาในตำราพุทธศาสนายุคปัจจุบันไม่ว่าจะแบบเรียนระดับประถมหรือมัธยม หรือคำสอนตามสำนักต่างๆ นั้นไม่มีใน
พระไตรปิฎก จึงขอรวบรวมสิ่งเหล่านั้นมาเท่าที่นึกออกดังนี้
1.เรื่องสมาธิ 3 ระดับ ขณิกกะ อุปจาระ อัปปนา (เคยเห็นในอรรถกถา แต่ไม่ได้อธิบายละเอียด ที่อธิบายละเอียดไม่รู้ว่าอยู่ในคัมภีร์ไหน)
2. วิปัสสนาญาน 16 (ไม่แน่ใจว่ามาจากไหน)
3. กรรมฐาน 40 (หมายถึงที่จัดหมวดหมู่เป็น 40 แต่บางอย่างพระพุทธเจ้าตรัสไว้เป็นคราวๆ เช่น พุทธานุสสติ )
4. พุทธประวัติในช่วงปฐมวัย (ตรงนี้มีในอรรถกถา)
5. นิทานชาดกต่างๆ ยกเว้น ทศชาติชาดก (มีเล่าในอรรถกถา)
6. เรืืองของประวัติสาวกต่างๆ เช่น เรื่องของนางวิสาขา นางมาคัณฑิยา (ตรงนี้อยู่ในอรรถกถา)
7. เรื่องของพระพุทธเจ้าในอนาคตทีื่ถัดจากพระศรีอาริยเมตไตรย (อันนี้มาจากคัมภีร์อนาคตวงศ์)
8. ประวัติที่มาของคัมภีร์พระอภิธรรมปิฎก ว่ามาจากการที่พระพุทธเจ้าแสดงธรรมโปรดพุทธมารดา ตลอด 3 เดือน
(ไม่รู้ว่ามาจากไหน)
9. บัวสี่เหล่าในพุทธประวัติตอนตรัสรู้ใหม่ๆ (ในพระไตรปิฎกพระพุทธเจ้าบอกว่าพิจารณาบัวสามเหล่า แต่อรรถกถาเพิ่มเป็นสี่เหล่า)
10. จำนวนวันที่เสวยวิมุตติสุข 7 สัปดาห์ (ในพระไตรปิฎก บันทึกไว้ 4 สัปดาห์ แต่อรรถกถาเพิ่มเป็น 7 )
11. พระอสีติสาวก 80 องค์ (จริงๆ แล้วในพระไตรปิกพูดถึงตำแหน่งเอตทัคคะ 80 ตำแหน่ง แต่บางองค์เก่งหลายด้านเช่น พระอานนท์ท่านควบทีเดียว 5 ตำแหน่ง ทำให้จำนวนบุคคลท่ีรับตำแหน่งมีไม่ถึง 80 องค์)
นึกได้เท่านี้ ใครช่วยเสริมหรือชี้แนะก็ตามสะดวกเลยครับ
คำสอนในพุทธศาสนาที่ไม่มีในพระไตรปิฎก
ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย Ron_, 27 เมษายน 2013.
หน้า 1 ของ 4
-
...............ส่วนใหญ่ จะอยู่ ใน ตำราวิสุทธิมรรค ของพระพุทธโฆษาจารย์....เมื่อพระพุทธศาสนา ล่วงได้ 236ปี มีการประดิษฐานพระปริยัติธรรมไว้ในลังกาทวีป..มีประวัติพิสดารยิ่งนัก จุดประสงค์ คือเพื่อประโยชน์ในการเรียนรู้ของคนรุ่นหลัง...:cool:
-
ไม่มีในพระไตรปิฏก ก็มีในอรรถกถาไงครับ.....
คัมภีร์ของเถรวาทเรา แบ่งลำดับได้ ๔ ลำดับครับ...
๑.บาลี
๒.อรรถกถา
๓.ฏีกา
๔.อนุฏีกา
สำคัญทุกส่วนครับ......ถ้าไม่มีคัมภีร์ชั้นหลังทั้งสาม พุทธศาสนาอาจสูญสิ้นไปแล้วก็ได้ เพราะบาลีไม่แน่อาจไม่มีใครเข้าใจ ภาษาเมื่อสองพันห้ารอยกว่าปีก่อนไม่ใช่ของที่จะเข้าใจได้ง่ายๆ .... -
จุดประสงค์ ที่เขียน คือ ไม่ได้ตำหนิ อรรถกถาหรือ วิสุทธิมรรค
แต่เพื่อให้รู้ที่มาของข้อมูล เพราะบางอย่างแม้จะไม่มีในพระไตรปิฎก แต่ก็เทียบเคียงได้ กับพระธรรมวินัยคือ หลักตัดสินพระธรรมวินัย แปด 8 ประการ ที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนพระนางปชาบดีโคตมี
แต่คำสอนบางอย่างเช่น เรื่องโลกแบน ในเรื่องภพภูมิต่างๆ และบอกว่าแผ่นดินหนาเท่านั้นเท่านี้ อันนี้ ไม่ตรงความจริงและพระพุทธเจ้าไม่ได้สอน -
และเมื่อรู้ชั้นที่มาของข้อมูลแล้ว ทำให้ตัดสินได้ว่าข้อมูลไหนน่าเชื่อถือกว่ากัน
ยกตัวอย่างเช่น ข้อความในอรรถกถา หลายจุด ขัดแย้งกันเอง ก็ต้องใช้พระไตรปิฎกตัดสินว่า ตรงไหนถูก
เช่น ประวัติละเอียดของอดีตชาติพระโมคคัลลานะ
อรรถกถาบางตอนบอกว่า แค่ทุบตีพ่อแม่แต่ไม่ตาย บางตอนบอกว่า ทุบตีพ่อแม่จนตาย
ที่ถูกคือ อันหลัง เพราะพระโมคคัลลานะ เล่าไว้เองใน พระไตรปิฎก ว่าชาติก่อนโน้น เคยฆ่าพ่อแม่ แต่เล่าไม่ละเอียดแบบในอรรถกถา
หรือ ในอรรถกถาบางเล่มบอกว่า วิหารของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ชื่อพระเชตวันมหาวิหาร และอยู่ที่ตำแหน่งเดิมไม่ว่าจะเปนพระพุทธเจ้าพระองค์ใด
แต่บางเล่มบอกว่า ที่ชื่อเชตวัน เพราะอาณาบิณฑิกเศรษฐี ไปซื้อที่ดินมาจากเจ้าเชต ซึ่งในพุทธกาลก่อนๆ เจ้าของที่คงไม่ได้ชื่อเจ้าเชต ในทุกพุทธกาลแน่ๆ และ ในพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้าตรัสถึงพระพุทธเจ้าองค์ก่อนหน้านี้ ในฆฏิการสูตร ว่า วิหารหลักของพระกัสสปะพุทธเจ้าอยู่ระหว่างเมืองสองเมือง ที่ท่านกำลังเดินทางอยู่ แสดงว่า เป็นคนละตำแหน่งกับ พระเชตวัน แน่ๆ
นอกจากที่อรรถกถามีบางจุดขัดแย้งกับพระไตรปิฎกแล้ว
ใน อรรถกถา ยังมีจุดที่ขัดแย้งกันเอง ด้วย
เช่น บางเล่มบอกว่า ปัจจัย 4 ของพระพุทธเจ้า จะไม่สามารถถูกทำลายด้วยความพยายามของผู้ใด แต่บางเล่ม เล่าถึง โจรแค้นเศรษฐีแล้วไป เผากุฏิพระกัสสปะพุทธเจ้า เศรษฐีกลับดีใจที่จะได้สร้างกุฏิ ใหม่กว่าเดิม สวยกว่าเดิม เป็นต้น -
ข้อ 12 ที่ไม่มีในพระไตรปิฎก
เรื่องฆราวาสที่สำเร็จอรหัตตผล แล้วถ้าไม่บวชก็ต้องดับขันธ์ในวันนั้น
(จากคัมภีร์มิลินทปัญหา) บางคนพูดต่อๆกันไปจนเพี้ยนไปเป็น ภายในเจ็ดวัน
บางคนไม่รู้ที่มาของข้อมูล ก็อ้างว่า พระพุทธเจ้า ตรัสสอนไว้ แบบนี้ ซึ่งเป็นการกล่าวตู่พระพุทธพจน์ จึงต้องแยกแยะข้อมูลให้ถูกว่าอันไหนพระพุทธเจ้าสอนอันไหนไม่ได้สอน มิฉะนั้นคำสอนจะปนกันมั่ว แล้วอะไรที่ผิดก็จะกลายเป็นการจับยัดใส่พระพุทธพจน์เสียหมด ทำให้พระพุทธพจน์มัวหมอง และธรรมแท้จะหายไป ด้วยการปลอมปนคำสอนแบบไม่แยกที่มาให้ชัดเจนว่า อันนี้สาวก รุ่นหลัง สอน
จริงๆ เรื่องนี้ ไม่จำเป็นต้องดับขันธ์ เสมอไป ถ้าท่านพิจารณาเห็นว่าควรอยู่ท่านก็อยู่เพื่อสั่งสอน เพื่อเป็นที่ทำบุญ เพื่อประโยชน์แก่โลก โดยเฉพาะผู้หญิง อย่าไปกลัวว่าจะตาย ถ้าบวชพระ หรือภิกษุณีไม่ได้ก็บวชชีได้ การเชื่อคำสอนแบบผิดๆ ทำให้หลายคนกลัวตายและไม่ปฏิบัติธรรม -
ข้อ 13
ภูเขากว้างยาว สูง อย่างละหนึ่งโยชน์ ทุก 100 ปีเทวดาเอาผ้ามาลูบจนภูเขาราบเสมอดินเรียก 1 กัปป์
อันนี้เกิดจากการบอกเล่าต่อๆกันมาจนข้อมูลหายไปบางส่วน
ที่ถูกคือพระพุทธเจ้าบอกว่า การทำเช่นนี้ ยังไม่ถึง 1 กัปป์เลย และหนึ่งกัปป์ยาวกว่านี้มาก -
การที่จะทำข้อมูลหรือหาข้อมูลได้ดีนั้นนะครับ....ผมเห็นว่าอย่างไรถ้าทำได้อย่างท่าน พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ประยุตโต) เรียบเรียงทำหนังสือ พุทธธรรม อย่างนั้นได้จะดีกว่า...
ถ้าคุณเป็นคนใฝ่รู้คุณลองไปหาอ่านดูนะครับ วันนั้นผู้รู้ทางวิชาการทำจริง เขาทำกันอย่างไร.....
เราเป็นคนรุ่นหลังอย่าพยายามไปตั้งค่าครับว่าสิ่งนั้นดีหรือไม่ดี เราควรที่จะมีความเคารพผู้ที่มาก่อนหน้า อรรถกถาก็ดี เอาเฉพาะว่าในเรื่องของอรรถกถานั้นเกิดก่อนเราเป็นพันปี อย่างน้อยใกล้พระพุทธเจ้ามากกว่าเราเป็นพันปี เขาศึกษามาก่อนถ้าจะเพี้ยนได้ก็เพี้ยนได้น้อยกว่าเราที่ห่างจากพระพุทธเจ้ามา สองพันห้าร้อยกว่าปี ไอ่เรามันคนรุ่นหลังจะว่าเขาว่าพวกสาวก อาจไม่เชื่อไม่ยอมรับฟัง อย่างนี้ผมว่าปัญหาน่าจะอยู่ที่เรามากกว่านะ .....ถ้าเราลองมาถามตัวเองดูอีกทีนะ เรารู้ได้อย่างไรในความหมายของบาลีนั้นเราเข้าใจได้อย่างถูกต้อง ไม่ใช่เพราะเราคิดไปเอง เรามั่นใจในตนเองได้มากขนาดใหน โดยเฉพาะถ้าเราไม่ได้มีความรู้เฉพาะด้านทางบาลี เราก็ไม่พ้นที่จะอ่านเอามาจากแหล่งอื่นที่เขาแปลกัน แล้วถามว่าอันที่เราอ่านนั้นแน่ใจได้ไงว่าเป็นบาลีหละ.....
อรรถกถาจริงแล้วก็เอามาจากพระไตรปิฏกนั่นหละครับ คือเอามาจัดรวมรวมเรียบเรียงใหม่ให้อ่านได้ง่ายขึ้น เพราะว่าข้อมูลในพระไตรฯ กระจัดกระจายมากอ่านยาก และเป็นการอธิบายความให้เข้าใจได้ถูกต้องและง่ายขึ้น ยกตัวอย่าง คัมภีร์วิสุทธมรรค เรื่องการรวบรวมกรรมฐานในพระศาสนาว่ามีอยู่ทั้งสิ้น ๔๐ กอง.....ถ้าเข้าใจว่ากรรมฐาน ๔๐ พระพุทธเจ้าไม่ได้สอน ไม่มีในพระไตรฯ อันนี้แสดงว่าคุณมีการศึกษาที่ยึดแต่ตัวอักษรเท่านั้น การศึกษาอย่างนี้เป็นการศึกษาที่ไม่มีประสิทธิภาพมากนัก คุณหาไม่เจอหลอกครับกรรมฐาน ๔๐ คำนี้ไม่มีหลอก (ถ้าจะหมายเอาแต่ตัวอักษรนะ) กรรมฐาน ๔๐ เกิดขึ้นได้อย่างไร เกิดขึ้นได้จากพระพุทธโฆสาจารย์ ท่านได้รวบรวมกรรมฐานทั้งหมดที่พระพุทธเจ้าท่านได้สอนไว้ ไม่ว่าในพระสูตรก็ดี พระวินัยก็ดี อยู่ตรงจุดใหนทั้งหมดในพระไตรฯ เอามารวบรวมสรุปให้อ่านได้ง่าย ว่ามีทั้งหมด ๔๐ อย่าง อย่างนี้หละครับ เป็นการจัดรวบรวมให้อ่านได้ง่ายเข้า แต่ถ้ากล่าวว่า กรรมฐาน ๔๐ เป็นสิ่งที่ไม่มีในพระไตรปิฏกเลย อันนี้ไม่ใช่นะครับ......คุณจะหาได้ในพระไตรปิฏกทั้งหมดนะ แต่ว่ามันจะกระจัดกระจายมาก เพราะพระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงสอนกรรมฐาน ๔๐ พร้อมกันในเวลาเดียวกัน....อย่างนี้เป็นต้น....
พระไตรปิฏกนั้นมี ๔๕ เล่ม ท่านเทศน์ท่านสอนไว้ที่ใหนอย่างไรเยอะมาก แค่อ่านจบเดียวก็อาจอ่านยังไม่จบ เราไม่ควรตัดสินนะว่ามีหรือไม่มี อาจเป็นเพราะว่าเรายังอ่านไม่เจอก็ได้ ถ้าเราเป็นนักศึกษาจริง เป็นบัณฑิต เราต้องรู้จักที่จะเรียนรู้จากผู้ทรงคุณวุฒิก่อนหน้า ไม่ใช่สุดโต่งทางความคิดของเราเอง...... -
แต่ที่พูดมาเป็นข้อเท็จจริง ถ้าอรรถกถาส่วนใดขัดแย้งกับพระไตรปิฎก ก็ต้งยึดพระไตรปิฎก จริงไหม นี่คือหลักการทางวิชาการพุทธศาสนา ไม่ใช่หลักการที่ผมคิดเอง
ส่วนสิิ่งที่ผมบอก เรื่องอรรถกถา บางส่วนขัดแย้งกันเอง บางส่วนขัดแย้งกับพระไตรปิฎก นี่เป็นข้อเท็จจริงที่ผมอ่านมาแล้วนำมาเล่าให้ฟัง ท่านลองพิสูจน์ด้วยตนเองโดยการตามไปอ่านดูว่าผมพูดจริงไหม
มันเป็นข้อเท็จจริง ไม่ใช่ความเห็นของผม -
และสิ่งที่ผิดคือการไม่แยกแยะข้อมูลให้ชัดเจน
ผมไม่ได้ลบหลู่อรรถกถาจารย์ แต่ต้องแยกให้ชัดเจนว่า
นี่พระพุทธเจ้าสอน นี่เป็นคำสอนของอาจารย์รุ่นหลัง ไม่ใช่ปนกันมั่วว่า สิ่งนี้อาจารย์รุ่นหลังพูด แต่กลับไปบอกว่า พระพุทธเจ้าตรัส ซึ่งเป็นการอ้างอิงข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง -
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุทั้งหลาย จักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว, จักสมาทานศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัดอยู่เพียงใด, ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ ไม่มีความเสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.
มหา.ที. ๑๐ /๙๐ /๗๐.
สำนึกเสมอว่าตนเองเป็นเพียงผู้เดินตามพระองค์เท่านั้น ถึงแม้จะเป็นอรหันต์ผู้เลิศทางปัญญาก็ตาม
ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ ได้ทำมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ได้ทำมรรคที่ยังไม่มีใครรู้ให้มีคนรู้ ได้ทำมรรคที่ยังไม่มีใครกล่าวให้เป็นมรรคที่กล่าวกันแล้ว ตถาคตเป็นผู้รู้มรรค (มคฺคญฺญู) เป็นผู้รู้แจ้งมรรค (มคฺควิทู) เป็นผู้ฉลาดในมรรค (มคฺคานุคา) เป็นผู้ตามมาในภายหลัง.
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แล เป็นความผิดแผกแตกต่างกัน เป็นความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน เป็นเครื่องกระทำให้แตกต่างกัน ระหว่างตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ กับภิกษุผู้ปัญญาวิมุตติ.
ขนฺธ. สํ. ๑๗ /๘๒ /๑๒๖.
ตรัสไว้ว่าให้ทรงจำบทพยัญชนะและคำอธิบายอย่างถูกต้อง พร้อมขยันถ่ายทอดบอกสอนกันต่อไป
ภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุในธรรมวินัยนี้ เล่าเรียนสูตรอันถือกันมาถูก ด้วยบทพยัญชนะที่ใช้กันถูก ความหมายแห่งบทพยัญชนะที่ใช้กันก็ถูก ย่อมมีนัยอันถูกต้องเช่นนั้น. ภิกษุทั้งหลาย ! นี่เป็น มูลกรณีที่หนึ่ง ซึ่งทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้ ไม่เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป...
ภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุเหล่าใด เป็นพหุสูต คล่องแคล่ว ในหลักพระพุทธวจน ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา (แม่บท) พวกภิกษุเหล่านั้น เอาใจใส่ บอกสอนเนื้อความแห่งสูตรทั้งหลายแก่คนอื่น ๆ, เมื่อท่านเหล่านั้นล่วงลับไป สูตรทั้งหลายก็ไม่ขาดผู้เป็นมูลราก (อาจารย์) มีที่อาศัยสืบกันไป. ภิกษุทั้งหลาย ! นี่เป็น มูลกรณีที่สาม ซึ่งทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้ไม่เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป...
**** ในที่นี้ยกมา ๒ นัยยะ จาก ๔ นัยยะ ของมูลเหตุสี่ประการ ที่ทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้ไม่เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป
จตุกฺก. อํ. ๒๑ /๑๙๗ / ๑๖๐.
-
การศึกษาต้องศึกษาให้ครบถ้วนรอบคอบครับ...เพื่อไม่ให้ตกในส่วนสารัตถะไป.... -
ผู้รู้สนทนาธรรมกันตรงนี้ เป็นการให้ความรู้ผู้เข้ามาอ่านด้วยครับ
สาธุ ทุกความคิดเห็นครับ....... -
ถ้าว่างก็ทำครับ อนุโมทนาด้วย ถ้าทำสำเร็จ
แต่คำว่า พระไตรปิฏก นั้นรวมทั้งอรรถกถาและพระอภิธรรมด้วยนะครับ -
สิ่งที่ผมต้องการจะสื่อก็คือ
คนส่วนใหญ่อ้างว่า พระพุทธเจ้าสอน กรรมฐาน 40 และก็คิดว่า กรรมฐานที่พระพุทธเจ้าสอนมีแค่ 40 อย่างเท่านั้น ซึ่งไม่ถูกต้อง
นี่เพราะอะไร เพราะไม่แยกชั้นข้อมูลให้ดี เพราะกรรมฐาน 40 ปรากฏในตำราพุทธศาสนาทั่วๆไป จนคนเข้าใจว่า พระพุทธเจ้าสอนไว้แค่นั้น
แต่ถ้าให้ถูกควรบอกว่า อาจารย์รุ่นหลังจัดไว้ 40 แบบที่นิยมใช้กันในสมัยของอาจารย์ท่านนั้นๆ ไม่ใช่สรุปมาทั้งหมดที่พระพุทธเจ้าสอน (ไม่ได้หมายความว่า อาจารย์ท่านนั้นสอนผิด)
แต่ที่ถูกคือ พระพุทธเจ้าสอนกรรมฐานตามจริตของคน ซึ่งมีมากกว่า 40 อย่าง
เช่น สอนพระจูฬปันถก ให้ลูบผ้าขาว แล้วบริกรรม รโชหรณัง
หรือ สอนนายช่างทองท่านหนึ่งที่เป็นลูกศิษย์พระสาริบุตร ให้ พิจารณาดอกบัว (เดิมพระสารีบุตรสอนให้พิจารณาอสุภะกรรมฐาน <ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในกรรมฐาน 40 ตามตำรารุ่นหลัง> แต่ไม่ได้ผล)
เป็นต้น -
ส่วนอรรถกถา ไม่ใช่ผมปฏิเสธทั้งหมด แต่ปฏิเสธ ในส่วนที่ขัดแย้งกับพระไตรปิฎก
และอภิธรรมผมก็ไม่ได้ปฏิเสธ เพราะเป็น ปิฏกนึงใน 3 ปิฎก
แต่ที่ผมพูดถึง ว่าไม่มีในพระไตรปิฎก คือ ในส่วน ที่มาของพระอภิธรรม
ที่ว่าเกิดจาก พระพุทธเจ้าไปเทศน์อภิธรรม 7 คัมภีร์บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ซึ่งไม่เป็นความจริง เพราะพระพุทธเจ้าไปเทศน์ ภัทเทรัตตสูตร บนสวรรค์
ส่วนพระอภิธรรมนั้นเกิดจากการรวบรวมคำสอนของพระพุทธเจ้ามาจัดหมวดหมู่โดย ไม่อิงสถานที่เวลาเหมือนอย่างพระสูตร และบางอย่างในอภิธรรม เช่น กถาวัตถุ ก็เป็นการถามตอบเพื่อชี้ให้เห็นความเข้าใจผิดของพระในสมัยประมาณ พศ 200 สมัยพระเจ้าอโศก
ดังนั้นที่บอกว่า พระพุทธเจ้าไปเทศน์อภิธรรม 7 คัมภีร์ บนสวรรค์ นี่เป็นคำพูดที่พูดติดปาก แต่ไม่เป็นความจริง
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน
พระพุทธเจ้าเทศน์อภิธรรม 7 คัมภีร์บนสวรรค์จริงหรือ? | drronenv -
.........อย่างนี้ดีกว่า ผม ว่าเราเรียนพระพุทธศาสนา ไม่ใช่เพื่อจับผิด อันนี้จริง อันนี้ไม่จริง แต่เพื่อโยนิโสมนสิการ....อย่างชาดก เด็กเด็กเรียนก็สนุก(ผมยังจำได้ ตอนเด็กเด็กเคยอ่านฉบับการ์ตูน น่าจะเป็นฝีมือชาวอินเดีย เรื่องพญาลิง).....ส่วนท่าน จขกท นำเสนอข้อมูลใดใดมา ก็ดี...นำมาคุยกันเพื่อ สะกิด สะเกา เท่านั้น...แต่จะไปเปลี่ยนแปลงอะไรนั้น คงลำบาก......ถ้าจะให้เป็นประโยชน์จริงจริง นำเสนอ พระ วจนะ มาแสดงนั้นและครับ ดีที่สุด(พระสูตรมีพลังเข้าสู่ใจคน):cool:
-
เรื่องอรรถกถา นั้น ผมเห็นว่ามีประโยชน์ แน่นอน
แต่ก็ต้องอย่าลืมกฎพื้นฐานที่ว่า "ถ้าอรรถกถาส่วนใดขัดแย้งกับบาลี (ที่ผมเรียกว่า พระไตรปิฎก) ก็ต้องยึดบาลีเป็นหลัก"
ซึ่งแน่นอน หมายความว่า อรรถกถาบางส่วนอาจไม่ถูกต้อง ทั้งนี้เพราะผู้รจนาอรรถกถาบางท่าน ก็ไม่ใช่พระอรหันต์ทั้งหมด บางท่านเป็นพระโพธิสัตว์ บางท่านปรารถนา เป็นเอตทัคคะ ในพระพุทธเจ้าองค์ต่อไป แต่ท่านเหล่านั้นเป็นพหูสูต จำมามาก แต่เนื่องจากเวลาที่ผ่านมานานๆ อาจมีคำพูดตกหล่นหรือผิดพลาดไปบ้าง
เช่นที่ผมยกตัวอย่างว่า ประวัติอดีตชาติพระโมคคัลลานะ อรรถกถาบางเล่ม เล่าไว้ผิดในรายละเอียดที่ว่า "ท่านไม่ได้ฆ่าพ่อแม่ แค่ทุบตี"
นอกจากนี้ น่าจะยังมีจุดอื่นที่ไม่ตรงกับพระบาลีอีก จึงน่าจะมีการ บอกกล่าวว่ามีจุดไหนบ้าง เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา -
นอกจาก เรื่องทศชาติชาดกที่ยังพอเห็นในพระไตรปิฎกบ้าง
จริงๆ หัวข้อก็บอกอยู่แล้วว่า ปัจจุบัน เรื่องต่างๆ ที่เรียนๆ สอนๆ กันนั้น (รวมถึงนิทานชาดก เรื่องต่างๆ เช่น พญาลิงโพธิสัตว์ ที่คุณ patrix กล่าวมา) ไม่มีในพระไตรปิฏก บางอย่างอยู่ใน อรรถกถา บางอย่างอยู่ใน คัมภีร์วิสุทธิมรรค ฯลฯ
จุดประสงค์ที่ตั้งกระทู้เพื่อให้รู้ว่า อันไหนมาจากพระไตรปิฎก อันไหนมาจาก อรรถกถา อันไหนมาจากวิสุทธิมรรค อันไหนมาจากไหน เพื่อแยกแยะข้อมูลให้ถูก ไม่ใช่เหมารวมว่าพระพุทธเจ้าสอนไปทั้งหมด ก็แค่นั้นแหละครับ ไม่ได้เพื่อจับผิด (แต่ถ้าพบสิ่งที่ผิดก็ต้องบอกกล่าว เมื่อเป็นธรรมทานแก่คนรุ่นหลังต่อไป)
ถ้าเสนอแต่พุทธวจน ก็จะไม่รู้ว่า เรื่องที่เรียนๆกันนั้น เช่น ขณิกะ อุปจาระ อัปปนา หรือ ชาดก พญาลิง เรื่องนั้นมีที่มาจากไหนบ้างใครเป็นคนสอนบ้าง -
[๔๒๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นเข้า
ไปเฝ้าแล้ว ฯลฯ เมื่อภิกษุรูปนั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ กัปหนึ่ง นานเพียงไรหนอแล
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ กัปหนึ่งนานแล มิใช่ง่ายที่จะนับกัปนั้นว่าเท่านี้ปี
เท่านี้ ๑๐๐ ปี เท่านี้ ๑,๐๐๐ ปี หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ ปี ฯ
ภิ. ก็พระองค์อาจจะอุปมาได้ไหม พระเจ้าข้า ฯ
[๔๓๐] พ. อาจอุปมาได้ ภิกษุ แล้วจึงตรัสต่อไปว่า ดูกรภิกษุเหมือนอย่างว่า ภูเขา
หินลูกใหญ่ยาวโยชน์หนึ่ง กว้างโยชน์หนึ่ง สูงโยชน์หนึ่งไม่มีช่อง ไม่มีโพรง เป็นแท่งทึบ
บุรุษพึงเอาผ้าแคว้นกาสีมาแล้วปัดภูเขานั้น๑๐๐ ปีต่อครั้ง ภูเขาหินลูกใหญ่นั้น พึงถึงการหมดไป
สิ้นไป เพราะความพยายามนี้ ยังเร็วกว่าแล ส่วนกัปหนึ่งยังไม่ถึงการหมดไป สิ้นไป กัปนาน
อย่างนี้แล บรรดากัปที่นานอย่างนี้ พวกเธอท่องเที่ยวไปแล้ว มิใช่หนึ่งกัป มิใช่ร้อยกัป มิใช่
พันกัป มิใช่แสนกัป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลาย
ไม่ได้ ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุเพียงเท่านี้พอทีเดียวเพื่อจะเบื่อหน่าย ในสังขารทั้งปวง
พอเพื่อจะคลายกำหนัด พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๕
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๖ หน้าที่ ๑๘๐/๒๘๘ข้อที่ ๔๒๙
หน้า 1 ของ 4