คู่มือสําหรับผู้แสวงหาที่ปฏิบัติธรรม

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย nondanun, 26 มีนาคม 2007.

  1. nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    ศูนย์วิปัสสนากรรมฐาน วัดพระธาตุห้วยบอนเก่า
    หมู่ 13 บ้านห้วยบอน ต.เวียง
    อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ 50110
    โทร. 09-838-6213, 05-035-5127


    หลวงพ่อธี ทวิจิตตะธัมโม ประธานสงฆ์

    คุณสมบัติของผู้ที่จะเข้ารับการฝึกอบรมวิปัสสนากรรมฐาน

    1. เป็นสุภาพชน รับทั้งชายและหญิง อายุ ไม่น้อยกว่า 7 ปี
    2. ไม่เป็นโรคติดต่อที่สังคมรังเกียจ
    3. ไม่จำกัดเชื้อชาติ ศาสนา
    4. สมัครใจเข้ารับการอบรม และยินดีปฏิบัติตามกฎ ระเบียบของสถานอบรม
    5. งดการสูบบุหรี่ การเคี้ยวหมาก การเสพของมึนเมา ทุกชนิดได้ ตลอดระยะเวลาการอบรม
    6. ยินดีร่วมกันรักษาความเงียบสงบ โดยงดการพูดคุยกันระหว่างผู้ปฏิบัติธรรมด้วยกันตลอดระยะเวลา 7 วัน ของการปฏิบัติ
    7. ไม่ประดับหรือนำของมีค่าเช่น สร้อย แหวน ทอง หรือเงินจำนวนมาก ไปด้วยในการอบรม

    การแต่งกาย

    แต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่สีไม่ฉูดฉาด สุภาพเรียบร้อย ปกปิดร่างกายได้มิดชิด ควรเป็นชุดที่หลวมๆ นุ่งสบาย นั่งสบาย จะเป็นชุดสีขาว หรือไม่เป็นชุดสีขาวก็ได้

    อาหาร

    จัดให้เป็นอาหารมังสะวิรัติ วันละ 2 มื้อ เช้ากับกลางวัน ส่วนมื้อเย็นจะเป็นน้ำปานะหรืออาหารว่าง สำหรับผู้ที่ไม่สามารถอดอาหารมื้อเย็นได้ให้แจ้งล่วงหน้าในวันรายงานตัวจะได้จัดเตรียมอาหารให้เป็นพิเศษเป็นรายๆ ไป

    อุปกรณ์เครื่องใช้ที่ต้องเตรียมไป

    1. เครื่องใช้ประจำตัว เช่น แปรงฟัน สบู่ ยาสีฟัน ผ้าเช็ดตัว ผ้าขาวม้า ยารักษาโรคที่ต้องรับประทานเป็น ประจำ ยาหม่อง ยาทากันยุง ไฟฉาย ฯลฯ
    2. ผ้าห่ม เสื้อกันหนาว และผ้าคลุมตัวเวลานั่งปฏิบัติธรรม (อากาศค่อนข้างหนาวในหน้าหนาว)
    3. มุ้ง หรือ กลด กันยุง
    4. เสื้อผ้าสำหรับผลัดเปลี่ยนใช้ ให้พอดีกับเวลา (ท่านอาจซักผ้าได้ในช่วงพักหลังรับประทานอาหารกลางวัน)

    ระเบียบของศูนย์วิปัสสนากรรมฐาน

    1. รักษาความเงียบอย่างจริงจัง งดพูดคุย ส่งสัญญาณ ทำภาษาใบ้ หรือการกระทำการใดๆ ที่จะก่อให้เกิดเสียงและท่าทางรบกวนผู้อื่นตลอดระยะเวลาการปฏิบัติ พูดคุยกับอาจารย์ได้เมื่อมีปัญหาการปฏิบัติ พูดคุยกับธรรมบริกรได้เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับความเจ็บป่วย หรือเครื่องมืออุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆ
    2. ไม่สัมผัสเนื้อตัวซึ่งกันและกัน
    3. แยกเขตที่อยู่ระหว่างชายและหญิงโดยเด็ดขาด ไม่ไปมาหาสู่กันในระหว่างการปฏิบัติ
    4. งดการติดต่อสื่อสารกับบุคคลภายนอกตลอดระยะเวลาการอบรม งดการใช้โทรศัพท์มือถือ งดการเปิด วิทยุ หรือฟังเทปต่างๆ งดการอ่านหนังสือพิมพ์
    5. งดการประดับประดาตกแต่งร่างกายด้วยน้ำหอม และเครื่องประดับ หรือทาสารที่มีกลิ่นรุนแรง รบกวนผู้อื่น
    6. ไม่ออกนอกบริเวณสถานที่ฝึกอบรม
    7. เว้นจุดธูปเทียน สวดมนต์ ให้ตั้งใจทำปฏิบัติบูชาแทน
    8. งดการออกกำลังกายด้วยท่าทางต่างๆ

    ระยะเวลาการปฏิบัติเป็นกรณีพิเศษ
    สำหรับผู้ที่มีเวลาน้อยไม่สามารถอยู่ได้ตลอด 7 วัน


    ผู้มีเวลาน้อย สามารถสมัครเข้าร่วมการปฏิบัติได้เป็นเวลาอย่างน้อยที่สุดคือ 3 วัน หรือ 5 วัน ก็ได้ โดยแจ้งให้ทราบล่วงหน้าในวันสมัคร หรือรายงานตัว (เป็นกรณีพิเศษเฉพาะระยะเริ่มต้น)

    การพิจารณาตกลงรับการสมัคร

    จะพิจารณาผู้ที่สมัครอยู่ปฏิบัติจนครบ 7 วันเป็นอันดับที่ 1 และพิจารณาผู้ที่สมัคร 5 วัน และ 3 วัน เรียงลงมาตามลำดับ ทั้งนี้เนื่องจากมีที่พักจำนวนจำกัด

    การปฏิบัติสมทบรายวัน แบบไป
     
  2. nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>สำนักปฏิบัติธรรมแม่ชีอมรีรักษ์ ดอยสะเก็ด 1 และ 2
    ถ.เชียงใหม่-เชียงราย ต.เชิงดอย
    อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ 50220
    ดอยสะเก็ด 1 โทรศัพท์ 053-495-823
    ดอยสะเก็ด 2 โทรศัพท์ 01-993-9933


    แม่ชีอมรี ศรีดารักษ์ ประธานและผู้ดูแล
    แม่ชีท่านเป็นลูกศิษย์พระเทพสิทธาจารย์ (หลวงพ่อทอง สิริมงฺคโล)
    วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร
    ต.บ้านหลวง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่

    ผู้เข้าปฏิบัติ : รับผู้เข้าปฏิบัติทุกเพศทุกวัย
    โดยเปิดให้บริการทุกวัน

    แนวปฏิบัติ : เป็นแบบ "พองหนอ ยุบหนอ"

    การปฏิบัติ : สำหรับผู้เข้าปฏิบัติใหม่จะมีครูสอนการปฏิบัติให้
    และมีพระวิปัสสนาจารย์-แม่ครูสำหรับสอบอารมณ์

    เงื่อนไข :

    1. ผู้เข้าปฏิบัติต้องมีผู้รับรองมาแสดงตัวด้วยในวันที่ลงทะเบียนเข้าปฏิบัติ
    2. นำสำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประชาชนของทั้งผู้ปฏิบัติและผู้รับรองมายื่นในวันลงทะเบียน
    3. นุ่งขาวห่มขาวพร้อมสไบ (หากไม่มีทางสำนักมีบริการให้ยืม)
    4. ที่นอน หมอน ผ้าห่ม ทางสำนักมีบริการให้ยืม (หรือจะนำมาเองก็ได้)

    กิจวัตรประจำวัน :

    03.00 น. ทำวัตรเช้า
    06.30 น. รับประทานอาหารเช้า (ฟังเสียงระฆัง)
    07.30 น. ปฏิบัติรวมในศาลา (รอบ 1)
    10.45 น. รวมในวิหาร สวดมนต์และรับประทานอาหารกลางวัน
    12.45 น. ปฏิบัติธรรม (รอบ 2)
    16.00 น. ทำวัตรเย็น
    18.30 น. รับน้ำปานะที่โรงครัวของสำนักฯ
    19.45 น. ปฏิบัติธรรม (รอบ 3)
    22.00 น. พักผ่อน

    หมายเหตุ : วันโกนฟังเทศน์ วันพระเวียนเทียนที่พระวิหารตอนกลางคืน
    (กิจวัตรทุกอย่างให้ฟังเสียงระฆัง)

    การเดินทาง :

    เดินทางจากตัวเมืองเชียงใหม่ ไปอำเภอดอยสะเก็ด ประมาณ 15 กิโลเมตร เป็นเส้นทางที่ใช้เดินทางไป จ.เชียงราย โดยสารรถประจำทางได้โดยขึ้นรถที่ตลาดวโรรส

    สำหรับผู้จะเข้าไปปฏิบัติธรรมที่สำนักนี้ ขอเน้นสำหรับผู้มีความตั้งใจจริงที่จะปฏิบัติ ถ้าเป็นไปได้ควรจะอยู่ปฏิบัติให้ได้ประมาณ 7 วันขึ้นไป (เพื่อประโยชน์สำหรับผู้ปฏิบัติเอง) แต่อย่างไรก็ตามทาง สำนักก็ไม่ได้มีข้อกำหนดไว้ แล้วแต่ทางผู้ปฎิบัติจะจัดสรรเวลามาปฏิบัติได้

    หมายเหตุ :

    ปัจจุบันสำนักปฏิบัติธรรมแม่ชีอมรีรักษ์ มีทั้งหมด 9 สาขา ดังนี้


    1. สำนักปฏิบัติธรรมแม่ชีอมรีรักษ์ ดอยสะเก็ด 1 จ.เชียงใหม่
    โทรศัพท์ 053-495-823

    2. สำนักปฏิบัติธรรมแม่ชีอมรีรักษ์ ดอยสะเก็ด 2 จ.เชียงใหม่
    โทรศัพท์ 01-993-9933

    3. สำนักปฏิบัติธรรมแม่ชีอมรีรักษ์ ลำพูน จ.ลำพูน
    โทรศัพท์ 053-500-507

    4. สำนักปฏิบัติธรรมแม่ชีอมรีรักษ์ ไตรนุสรณ์ จ.สกลนคร
    โทรศัพท์ 042-786-205

    5. สำนักปฏิบัติธรรมแม่ชีอมรีรักษ์ สกลนคร จ.สกลนคร
    โทรศัพท์ 042-786-200

    6. สำนักปฏิบัติธรรมแม่ชีอมรีรักษ์ พนัสนิคม จ.ชลบุรี
    โทรศัพท์ 09-705-0318, 06-128-4907

    7. สำนักปฏิบัติธรรมแม่ชีอมรีรักษ์ ทุ่งโพ จ.ปราจีนบุรี
    โทรศัพท์ 01-736-3141

    8. สำนักปฏิบัติธรรมแม่ชีอมรีรักษ์ สุรินทร์ภักดี จ.สุรินทร์
    โทรศัพท์ 044-520-229

    9. สำนักปฏิบัติธรรมแม่ชีอมรีรักษ์ สุราษฎร์ธานี จ.สุราษฎร์ธานี
    โทรศัพท์ 077-320-162</TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD class=postdetails vAlign=bottom height=40>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม)
    ต.ในเมือง อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50250
    โทรศัพท์ 053 -278 620 ต่อ 0


    พระครูภาวนาวิรัช (สุพัน อาจิณฺณสีโล) เจ้าอาวาส

    วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) มี "ศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติ ประจำจังหวัดเชียงใหม่ (ค่ายธรรมภาวนา)" ตั้งขึ้นภายในวัด และเป็นวัดหนึ่งที่เข้าร่วมโครงการปฏิบัติธรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามแนวนโยบายของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ


    รายละเอียดที่ควรทราบในการเข้าปฏิบัติธรรม ณ วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม)

    สิ่งของที่ต้องเตรียมมา

    1. ดอกบัว 11 ดอก, ธูป-เทียน อย่างละ 1 ห่อ
    2. บัตรประจำตัวประชาชน และมีบุคคลที่เชื่อถือได้มารับรอง
    3. เสื้อ- ผ้าถุง-สไบขาว สำหรับนักปฏิบัติธรรม (หญิง) เสื้อไม่ควรคอกว้าง-แขนกุด
    เสื้อ- กางเกงขาวสำหรับนักปฏิบัติธรรม (ชาย)
    4. ของใช้จำเป็นส่วนตัว เช่น สบู่, แปรงสีฟัน, ยาสีฟัน ผงชักฟอก, ผ้าเช็ดตัว ฯลฯ
    5. อื่นๆ ได้แก่ นาฬิกาปลุก, ผ้ารองนั่ง, ไฟฉาย (หากไปฟ้าดับ), เข็มกลัดซ่อนปลาย
    เสื้อทับในขาว (สวมทับชั้นในให้ดูเรียบร้อย) กระโปรงซับในขาว (เมื่อนุ่งผ้าถุง)

    สิ่งที่ควรทราบในการปฏิบัติธรรม

    1. ไม่ควรสวมเครื่องประดับตกแต่งร่างกาย, ไม่ควรนำของมีค่า-เครื่องประดับติดตัวมา
    2. ไม่ควรใช้เครื่องสำอาง-ของหอม ตกแต่งใบหน้าและร่างกาย และให้เก็บ-มัดรวมผมให้เรียบร้อย
    3. เพื่อความสะดวกสบาย ควรสวมรองเท้าแตะส้นเตี้ย

    4. เพื่อเป็นการไม่เสียเวลาในการปฏิบัติฯ ทางวัดได้จัดเตรียมอาหารตามความเหมาะสมให้
    ทั้งมื้อเช้าและกลางวัน ดังนั้น จึงไม่อนุญาตให้ออกไปซื้ออาหารหรือปรุงอาหารทานเอง
    5. ผู้ปฏิบัติฯ สามารถซื้อของใช้ที่จำเป็นได้ที่ร้านค้าของวัด
    6. ไม่อนุญาตให้ผู้ปฏิบัติฯ ออกไปนอกบริเวณวัดโดยเด็ดขาด นอกจากจำเป็น ซึ่งจะต้องขออนุญาต
    จากพระอาจารย์ผู้สอบอารมณ์ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เป็นกรณีๆ ไป

    7. ให้มาปฏิบัติธรรมพร้อมกันทุกวัน เวลา 13.00 น. นอกจากได้รับการยกเว้นจากพระอาจารผู้สอบอารมณ์
    8. ห้ามจับกลุ่มคุยกัน ไม่ว่าจะเป็นภายในห้องพักหรือบริเวณอื่นๆ ไม่ว่ากับโยคีด้วยกัน
    หรือกับพระเณร- แม่ชีภายในวัด เพราะจะทำให้เสียการปฏิบัติธรรม
    9. ให้สำรวมกริยามารยาท และไม่พูดส่งเสียงดัง

    10. หากมีเพื่อนหรือญาติเยี่ยม ห้ามพากันไปคุยในกุฏิพักและควรพูดคุยกันไม่เกิน 30 นาที
    ห้ามพาบุคคลภายนอก เข้าพัก หรืออาศัยในกุฏิ และห้ามบุคคลต่างเพศเข้าไปในกุฏิ
    11. หากต้องการใส่บาตร ให้แจ้งแม่ชีเจ้าหน้าที่โรงครัว และบริจาคค่าอาหารใส่บาตรได้ที่ตู้บริจาคฯ
    12. ถ้าเจ็บป่วยหรือไม่สบาย ควรแจ้งแม่ซีพี่เลี้ยงให้ทราบ หรือแจ้งแม่ชีเจ้าหน้าที่สำนักงานฯ

    13. หากมีปัญหาให้เรียนปรึกษากับพระอาจารย์ผู้สอบอารมณ์ หรือแจ้งแม่ชีเจ้าหน้าที่สำนักงานฯ
    14. ไม่ควรโทรศัพท์ติดต่อกลับบ้าน ที่ทำงาน หรือ เพื่อน ๆ เพราะจะก่อให้เกิดความฟุ้งซ่าน

    หมายเหตุ พิธีรับ-ลา พระกัมมัฏฐาน เวลา 08.00 น.ของทุกๆ วัน (เว้นวันพระ)

    เว็บไซต์วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม)
    http://www.watrampoeng.org</TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  4. nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม)
    เลขที่ 135 หมู่ 10 ถ.สุเทพ
    ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200
    โทรศัพท์ 053-811-100, 053-810-270


    พระครูสุคันธศีล เจ้าอาวาส
    และเจ้าคณะตำบลสุเทพเขต 2


    วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) มีการจัดตั้ง (๑) "ศูนย์พุทธศาสนานานาสชาติวัดอุโมงค์" เพื่อเป็นโครงการศึกษาเรียนรู้พระพุทธศาสนาในรูปแบบของการสนทนา บรรยายธรรม การศึกษาและวิเคราะห์พระสูตร และการปฏิบัติธรรมตามแบบอานาปานสติ ให้แก่ผู้สนใจทั่วไป ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ และ (๒) ค่ายคุณธรรมวัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) ขึ้นภายในวัด

    ทั้งนี้ วัดอุโมงค์ เป็นวัดหนึ่งที่เข้าร่วมโครงการปฏิบัติธรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการ
    ปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามแนวนโยบายของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ


    ................................................................................................

    ศูนย์พุทธศาสนานานาสชาติวัดอุโมงค์
    (โครงการศูนย์ศึกษาเรียนรู้และปฏิบัติธรรมนานาชาติ วัดอุโมงค์ สวนพุทธธรรม)


    รูปแบบของการอบรม

    1. ให้ศีล 8 แก่ผู้เข้ารับการอบรม
    2. บอกกฎระเบียบ กติกา มารยาท การลุก
     
  5. nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>ศูนย์วิปัสสนาเชียงใหม่
    มูลนิธิศูนย์วิปัสสนาเชียงใหม่ ศูนย์ 2 หมู่บ้านสราญรมย์วิว
    ต.ยุหว่า อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่
    โทรศัพท์ (053) 212-892


    เป็นศูนย์ปฎิบัติธรรมของผู้ที่สนใจอยากจะพัฒนาตน ศึกษาธรรมะในแนวสติปัฎฐานให้ยิ่งๆ ขึ้น ควรมีประสบการณ์ผ่านการอบรมพื้นฐานอย่างต่ำ 3 ครั้ง (รับเฉพาะโยคีเก่า) บางครอสมี "พระราชพรหมาจารย์ (หลวงพ่อทอง สิริมังคโล)" วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ เป็นพระวิปัสสนาจารย์

    สำหรับหลักสูตรพื้นฐานนั้น ทางศูนย์ฯ มีการอบรมพัฒนาจิตเพื่อให้เกิดปัญญาและสันติสุข (ปฎิบัติธรรมในแนวสติปัฎฐานสี่) เพื่อให้ผู้ปฏิบัติรู้ทันปัจจุบัน ตามแนวของคุณแม่สิริ กรินชัย ในแต่ละครอสมีระยะเวลาอบรม 8 วัน 7 คืน โดยมีการจัดอบรมพัฒนาตลอดทั้งปี สถานที่สัปปายะและมีปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติธรรม และเรียนรู้แบบไม่หลงทางดีมาก

    วัตถุประสงค์ในการก่อตั้งศูนย์วิปัสสนาเชียงใหม่

    เพื่อเป็นศูนย์รวมของการปฎิบัติธรรมในแนวสติปัฎฐานสี่ เพื่อให้ชนทั้งหลายได้มีโอกาสเข้าถึงธรรมะของพระพุทธองค์ เพื่อศึกษาปฎิบัติและนำไปใช้ในการพัฒนาตนเองและผู้อื่น สร้างคุณธรรมพื้นฐานให้เกิดขึ้นในจิตใจ เช่น มีสติในชีวิตประจำวัน มีความกตัญญูกตเวทิตาธรรม รู้คุณค่าชีวิตของตนและผู้อื่น สร้างความรักความเข้าใจระหว่างบุคคลในครอบครัวที่เป็นรากฐานสำคัญของสังคมไทย เสริมสร้างคนดีให้เกิดขึ้นในครอบครัว ในท้องถิ่น ในประเทศ และนำความสุขสันติสู่โลกในที่สุด

    การเตรียมตัวและข้อปฏิบัติ

    -- เสื้อผ้าสีขาวหรือสีสุภาพ เพียงพอสำหรับใช้ใน 7 วัน โดยที่ไม่ต้องกังวลเรื่องซักรีด
    -- นำผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน ผ้าห่ม มาเอง (หน้าหนาวควรเตรียมผ้าที่หนาอบอุ่นพอ)
    -- ไม่ควรนำข้าวของและเครื่องประดับมีค่าติดตัวมา ยกเว้นนาฬิกา
    -- สตรีควรแต่งกายสุภาพ ไม่สวมกางเกงขาสั้น ชุดรัดรูป หรือเสื้อคอกว้าง
    -- อาหารและของขบเคี้ยวที่นำติดตัวมา ต้องนำมาไว้รวมกันที่โรงอาหาร ไม่อนุญาตให้นำไปไว้ในห้องพัก
    -- เตรียมกายและใจให้พร้อมในการปฏิบัติธรรม เพื่อลด ละ เลิก อบายมุขและสิ่งเสพติดต่างๆ
    ซึ่งเกิดจากกิเลสในตนนั่นเอง ดังนั้นห้ามนำเอาสิ่งเสพติดเข้ามา เช่น เหล้า บุหรี่และสิ่งเสพติดอื่นๆ
    -- งดพูดคุย ฟังวิทยุ เพลง อ่านและเขียนหนังสือ
    -- งดใช้เครื่องมือสื่อสารทุกประเภท เพื่อให้ได้ความสงบทางจิตอย่างแท้จริง
    -- ไม่รับผู้ที่มีความผิดปกติทางจิต ผู้ที่ติดยาเสพติด หรือผู้ที่เป็นโรคสังคมรังเกียจ

    กำหนดการเวลาการอบรม

    04.00 - 04.30 น. ตื่นนอน ทำกิจส่วนตัว
    04.30 - 05.30 น. ออกกำลังกาย จงกรม - สมาธิ
    05.30 - 07.00 น. ไหว้พระสวดมนต์ ฟังธรรมบรรยาย
    07.00 - 08.00 น. อาหารเช้า
    08.00 - 11.30 น. ต่อระยะจงกรม - สมาธิ
    11.30 - 12.30 น. อาหารกลางวัน
    12.30 - 14.30 น. จงกรม - สมาธิ
    14.30 - 15.00 น. น้ำปานะ
    15.00 - 16.30 น. จงกรม - สมาธิ
    16.30 - 18.00 น. อาบน้ำ ทำกิจส่วนตัว อาหารว่าง
    18.00 - 19.30 น. ไหว้พระ สวดมนต์ ฟังธรรมบรรยาย
    19.30 - 21.30 น. จงกรม - สมาธิ
    21.30 - 04.00 น. นอน

    ผู้เข้ารับการอบรม ควรปฎิบัติตามตารางการอบรมอย่างเคร่งครัด เพื่อก่อให้เกิดผล
    ของการปฏิบัติอย่างรวดเร็ว และดำเนินไปตามหลักการเจริญสติปัฎฐานสี่อย่างสมบูรณ์

    เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
    http://www.vipassanachiangmai.com/</TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD class=postdetails vAlign=bottom height=40>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  6. nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>วัดป่าหมู่ใหม่
    วัดป่าหมู่ใหม่เป็นวัดป่า สายธรรมยุติ เป็นวัดที่สงบเงียบ ตั้งอยู่ท่ามกลางป่า ในเมือง และเป็นเนินเขาเตี้ยๆ
    ท่านพระอาจารย์ประสิทธิ์ ได้อนุรักษ์สภาพพื้นที่ และปลูกป่าและต้นไม้มาตลอด จน ต้นไม้เติบใหญ่ จนปัจจุบัน วัดมีสภาพสมบูรณ์ร่มรื่น เหมาะสมในการปฏิบัติ ภาวนาเป็นอย่างยิ่ง
    ตั้งอยู่ด้านหลัง สำนักงานชลประทานแม่แตง ที่บ้านหมู่ใหม่
    ห่างจากสำนักงานไป ประมาณ 1.5 กม.

    ภายในวัด พระ-เณร ญาติธรรม ทั้งหลายได้อาศัยแสงไปฉาย, เทียนไข, ตะเกียง ในช่วงยาม ค่ำคืน

    เป็นสิ่งที่หาดูได้ยากในวัดปัจจุบัน ทั้งๆที่วัดเองก็มีไฟฟ้าเข้ามาถึงด้านหน้าแล้ว ก็เพียงได้ ใช้อาศัยเปิดเป็นบางจุดสำหรับศาลาด้านหน้า แต่กุฎิต่างๆภายในวัด ไม่ใช้ไฟฟ้า เพราะท่านอาจารย์ ประสิทธิ์ ท่านไม่ต้องการให้มี ไฟฟ้า ใน กุฎิ เพื่อที่พระ-เณร และญาติโยมสามารถปฎิบัติภาวนาได้ โดยไม่มีสิ่งอื่นมาล่อใจ หรือไขว้เขวได้

    น้ำใช้สอยก็ไม่ขาดแคลนอาศัยน้ำจากชลประทานแม่แตง แต่ภายในวัดก็ยังมี บ่อน้ำ สำหรับผู้ที่ ประสงค์จะใช้สอยได้ ซึ่งน้ำบ่อเก็เย็นและใส สะอาด สามารถใช้อาบ,สรงน้ำ หรือซักจีวรหรือ เสื้อ ผ้าได้เป็นอย่างดี ซึ่งดูคล้ายวิถีการใช้ชีวิตของคนสมัยโบราณ ซึ่งหาดูได้ยากเต็มทีในปัจจุบัน
    น้ำดื่มก็ได้อาศัยน้ำฝน โดยเก็บในแท็งค์ปูนหรือภาชนะเก็บน้ำฝนตามจุดต่างๆภายในวัด

    องค์ประกอบต่างๆนี้ ทำให้วัดป่าหมุ่ใหม่ ทั้งที่อยู่ในเมือง ก็กลายเป็นวัดป่า ที่ดูโบราณ เก่าแก่ ดูศักดิ์สิทธิ์ และมีเสน่ห์ ต่อผู้เข้ามาสัมผัสและพบเห็น สมกับเป็นวัดป่าจริงๆ ที่พระ-เณร และญาติ ธรรมทั้งหลาย เข้ามาปฏิบัติกัน เพื่อ มรรค ผล นิพพาน อย่างแท้จริง

    ---------------------------------------------------------------------------------------------------

    พระอาจารย์ประสิทธิ์ ปุญญฺมากฺโร
    เจ้าอาวาสวัดป่าหมู่ใหม่
    อายุ 66 ปี
    พรรษา 46 ปี
    ท่านพระอาจารย์ประสิทธิ์ ปุญญฺม กโร เป็นคนจังหวัดอุดรธานี ที่หมู่ หนองบัวบาน ต.หมากหญ้า อ.หนองวัวซอ ซึ่งบ้านใกล้กับวัดนิโครธาราม
    สมัยนั้นมี หลวงปู่ อ่อน ญาณสิริ เป็นเจ้าอาวาส และตัวท่านได้เข้าวัดตั้งแต่ เด็ก
    เมื่ออายุครบ 18 ปี ก็บวชเป็น สามเณร และบวชเป็นพระเมื่ออายุครบ 20 ปี
    คอยปฎิบัติรับใช้ หลวงปู่ออน ญาณสิริ
    อยู่ตลอดเรื่อยมา

    เมื่อหลวงปุ่อ่อน ญาณสิริ ได้มรณภาพลง ท่านก็ได้ไปปฎิบัติ และอยู่กับ หลวงปู่ชอบ ฐานสโม ที่วัดป่าสัมมานุสรณ์ บ้านโคกมน ต.ผาน้อย อ.วังสะพุง จ.เลย

    แต่กุฎิต่างๆภายในวัด ไม่ใช้ไฟฟ้า เพราะท่านอาจารย์ ประสิทธิ์ ท่านไม่ต้องการให้มี ไฟฟ้า ใน กุฎิ เพื่อที่พระ-เณร และญาติโยมสามารถปฎิบัติภาวนาได้ โดยไม่มีสิ่งอื่นมาล่อใจ หรือไขว้เขวได้

    น้ำใช้สอยก็ไม่ขาดแคลนอาศัยน้ำจากชลประทานแม่แตง แต่ภายในวัดก็ยังมี บ่อน้ำ สำหรับผู้ที่ ประสงค์จะใช้สอยได้ ซึ่งน้ำบ่อเก็เย็นและใส สะอาด สามารถใช้อาบ,สรงน้ำ หรือซักจีวรหรือ เสื้อ ผ้าได้เป็นอย่างดี ซึ่งดูคล้ายวิถีการใช้ชีวิตของคนสมัยโบราณ ซึ่งหาดูได้ยากเต็มทีในปัจจุบัน
    น้ำดื่มก็ได้อาศัยน้ำฝน โดยเก็บในแท็งค์ปูนหรือภาชนะเก็บน้ำฝนตามจุดต่างๆภายในวัด

    องค์ประกอบต่างๆนี้ ทำให้วัดป่าหมุ่ใหม่ ทั้งที่อยู่ในเมือง ก็กลายเป็นวัดป่า ที่ดูโบราณ เก่าแก่ ดูศักดิ์สิทธิ์ และมีเสน่ห์ ต่อผู้เข้ามาสัมผัสและพบเห็น สมกับเป็นวัดป่าจริงๆ ที่พระ-เณร และญาติ ธรรมทั้งหลาย เข้ามาปฏิบัติกัน เพื่อ มรรค ผล นิพพาน อย่างแท้จริง
    ท่าน มัก จะชอบไปธุดงค์ตามที่ต่างๆ ตามป่า เขา ลำห้วย ทั้งภาคอิสาน และภาค เหนือ และจังหวัดต่างๆทั่วไทย ซึ่งก็ได้เดินธุดงค์มาจังหวัด เชียงใหม่ และจังหวัดต่างๆ ตั้งแต่สมัยหลวงปู่ชอบ ยังมีชีวิตอยู่ มาตลอด</TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD class=postdetails vAlign=bottom height=40>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>วัดป่าศาลาปางสัก (วัดสาขาหลวงตามหาบัว)
    ต.ดอยสะเก็ด อ.เมือง จ.เชียงใหม่


    ตั้งอยู่กิโลเมตรที่ 23 บนถนนเชียงใหม่ - เชียงราย
    เป็นวัดป่าปฏิบัติธรรมตามแนวทางหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เน้นการภาวนาบริกรรมพุทโธ

    ด้วยวัดป่าศาลาปางสัก เป็นวัดสายอรัญวาสี และสายปฏิบัติได้รับการก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2545 โดยคณะศิษย์คือคุณป้าจรรยา และ ดร.สุวินัย ผู้บริจาคที่ให้วัด ผู้มีความเลื่อมใสในพระธรรมสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน) วัดป่าบ้านตาด และพระเดชพระคุณพระพุทธพจนวราภรณ์ (หลวงปู่จันทร์ กุสโล) เจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวง โดยได้ทำการถวายที่ดิน ก่อสร้าง ศาลา โรงธรรม กุฏิ ที่พักอาศัย โรงครัว ห้องน้ำ ห้องส้วม ตลอดจน ถาวรวัตถุอื่น และได้ทำพิธีหล่อพระประธานเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2545 โดยพระธรรมสุทธิมงคล

    วัดป่าศาลาปางสักเหมาะแก่การภาวนาเป็นอย่างมากร่มรื่นด้วยแมกไม้นานาพันธ์ เหมาะแก่การพักภาวนา ดังนั้นจึงเรียญเชิญท่านที่สนใจมาปฏิบัติธรรมภาวนาได้ทุกเวลา</TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  7. nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>วัดถ้ำผาจม
    ต.เวียงพางคำ อ.แม่สาย จ.เชียงราย 57130
    โทรศัพท์ 053-731-415 , 053-733-129


    พระครูเกษมวรกิจ (หลวงพ่อวิชัย เขมิโย) เจ้าอาวาส

    วัดตั้งอยู่ติดชายแดนระหว่างไทย
     
  8. nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>วัดพระธาตุศรีโยนก
    ต.ทุ่งฟ้าฮ่าม อ.เชียงแสน จ.เชียงราย


    พระอาจารย์จันทร์โท เจ้าอาวาส

    วัดนี้ตั้งอยู่ริมทะเลสาบเชียงแสน มีกุฏิไม่มาก พอพักอาศัยได้ ถ้ามามากก็พักที่ศาลา รวมกัน...ไม่มีไฟ....ใช้เทียน มีต้นมากแบบป่าโปร่ง ไม่ทึบ.....ไม่มีการบังคับสอน ปฏิบัติอะไรก็ได้.... มีปัญหาค่อยปรึกษาพระอาจารย์ เป็นสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต มีเจ้าอาวาสคือ พระอาจารย์จันทร์โท ฉันมื้อเดียว ถ้าไปอยู่ถือ ศีลอะไรก็ได้ ถ้าทานข้าวเย็น ต้องทำอาหารเอง</TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  9. nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    วัดอุดมวารี
    (วัดป่าสาขาที่ 30 ของวัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี)
    ต.ทรายขาว อ.พาน จ.เชียงราย 57120
    โทร. (053) 958-101, 958-453


    email : mailbox@udomwaree.net

    ประธานสงฆ์
    พระครูอุดมวีรวัฒน์
    หลวงพ่อคูณ ติกฺขวีโร


    ประวัติวัดอุดมวารีโดยสังเขป

    พระอาจารย์คูณ ติกฺขวีโร หลังจากบวช และฝึกการปฏิบัติกัมมัฎฐาน อยู่ที่วัดหนองป่าพง ประมาณ ๘ ปีแล้ว ก็ออกจาริกธุดงค์ เฉกเช่นพระป่าทั่วๆไป ได้กราบลาท่านหลวงปู่ชา สุภัทโท ออกเดินทางจากวัดหนองป่าพง ไปตามป่าเขาภาคต่างๆ เพื่อแสวงวิเวก เจริญอารมณ์กัมมัฎฐาน เมื่อถึงหมู่บ้านทางภาคเหนือ บริเวณเชิงดอยห้วยฮ่อม เห็นว่าเป็นชัยภูมิที่เหมาะ และประชาชนก็นิยมศรัทธา เป็นจำนวนมาก จึงได้ขออนุญาตเจ้าคณะจังหวัด สร้างวัดขึ้น โดยได้รับการสนับสนุน จากชาวบ้านละแวกนั้น ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๘ เป็นต้นมา

    ศรัทธาสาธุชน ที่มีความเลื่อมใสพระอาจารย์คูณ ได้ชักชวนกันมาฟังธรรม และปฏิบัติธรรม พร้อมทั้งได้ร่วมใจกัน บริจาคทรัพย์และปัจจัยสนับสนุน ในการพัฒนาวัดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ได้มีการสร้างศาสนสถาน และพัฒนาเป็นระยะ ตลอดมาจนถึงปัจจุบันนี้

    วัดอุดมวารี ตั้งอยู่บนเนื้อที่ประมาณ ๑๒ ไร่ ของตำบลทรายขาว อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย โดยมีเทือกเขาดอยปุย อยู่ทางทิศตะวันออกของวัด สร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๙ เป็นวัดป่าสาขาที่ ๓๐ ของวัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีพระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท) เป็นบูรพาจารย์

    เว็บไซต์วัดอุดมวารี
    http://www.udomwaree.net


    วัดดอยวชิรทรงธรรม (วัดป่าบ้านเหล่า)
    หมู่ 6 ต.ทุ่งก่อ
    อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย


    หลวงปู่ขาน ฐานวโร เจ้าอาวาส

    เป็นวัดป่าปฏิบัติสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  10. nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>วัดถ้ำพระผางาม
    (ศูนย์ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน สาขาวัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี)
    ต.ผางาม อ.เวียงชัย จ. เชียงราย
    โทร. (053) 736-239


    พระอาจารย์ทองสุข ฐิตสีโล เจ้าอาวาส

    ปฎิบัติธรรมแนวเจริญสติปัฏฐาน 4 ของพระธรรมสิงหบุราจารย์
    (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี

    ตั้งอยู่บนเส้นทางระหว่างที่ตั้ง อ.เวียงชัย ไป อ.พญาเม็งราย เดินทางออกจากที่ตั้ง อ.เวียงชัย ออกเส้นบ้านหนองหลวง ผ่านบ้านดอนศิลาผางาม บ้านป่าบง แล้วทางแยกเข้าศูนย์ฯ อยู่ทางซ้ายมือ มีป้ายหมู่บ้าน และ ป้ายศูนย์ฯ อย่างเห็นได้ชัด เข้าจากทางแยกไปประมาณ 1.5 กม. ศูนย์ฯ ตั้งอยู่ด้านขวามือ มีป้ายชัดเจน อยู่บนภูเขาเล็ก ๆ เป็นที่สัปปายะในการปฏิบัติธรรมมาก บรรยากาศดี มีต้นไม้ใหญ่มากมาย หากสอบถามชาวบ้าน เขาเรียกว่า ผาคอก

    การเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว
    หากออกจาก อ.เมือง เชียงราย โดยปกติออกได้สองแยกคือ

    1. สี่แยก ไป อ.เวียงชัย เส้นนี้ จะผ่านที่ตั้ง ศูนย์ราชการอำเภอเวียงชัย และตรงไปทางบ้านหนองหลวง แล้วเข้าสู่เส้นทาง อ. พญาเม็งราย ผ่านหมู่บ้านต่าง ๆ ตามที่ได้กล่าวแล้ว

    2. สี่แยกแม่กรณ์ ไปทาง อ.เทิง ออกจากแยกประมาณ 6 กม. เลี้ยวซ้าย ผ่านสนามกอล์ฟ สันติบุรี ไป สามแยกบ้านหนองหลวง เลี้ยวขวา เข้า เส้นทางไป อ.พญาเม็งราย ผ่านหมู่บ้านต่าง ๆ ตามที่ระบุแล้วข้างต้น

    การเดินทางจากจังหวัดเชียงราย โดยเฉพาะสถานีขนส่ง ประจำจังหวัด จะมีรถประจำทางวิ่งผ่านปากทางแยกของศูนย์ฯ แต่หากนั่งรถสองแถว (รถเล็ก) ที่สถานีขนส่งฯ เราอาจขอให้เข้าส่งถึงหน้าทางเข้าศูนย์ฯ ได้เลย โดยให้พิเศษอีกเล็กน้อย คนนั่งปกติไม่มากอยู่แล้วค่ะ

    ศูนย์ฯ เปิดรับทุกวันค่ะ ตามสะดวกของญาติธรรม แต่หากต้องการหลีกเลี่ยงคนมาก ก็สอบถามไปตามหมายเลขโทรศัพท์ข้างต้น โดยเฉพาะช่วงปิดภาคเรียน นักเรียน นักศึกษาจะมากค่ะ ช่วงเปิดภาคเรียน จะเป็นข้าราชการและประชาชนทั่วไปค่ะ ช่วงฤดูหนาว จะหนาวมากเป็นพิเศษ เพราะเป็นภูเขาหินค่ะ</TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  11. nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>วัดพระธาตุผาเงา
    ต.เวียง เขต 2 อ.เชียงแสน จ.เชียงราย 57150


    พระครูไพศาลพัฒนาภิรัต เจ้าอาวาส

    อยู่ห่างจากอำเภอเชียงแสนไปตามเส้นทางเชียงแสน-เชียงของ ประมาณ 4 กิโลเมตร อยู่ตรงข้ามโรงเรียนสบคำ เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม มีเนื้อที่ 143 ไร่ สิ่งสำคัญของวัดคือ พระธาตุผาเงา ซึ่งเป็นพระบรมพุทธนิมิตรเจดีย์ พระเจดีย์ทรงระฆังขนาดเล็ก ตั้งอยู่บนหินก้อนใหญ่ แต่เดิมวัดนี้เป็นวัดร้าง ชาวบ้านสบคำต้องการย้ายวัดสบคำจากที่เดิม ที่ถูกแม่น้ำโขงกัดเซาะพังทะลาย จึงได้มาฟื้นฟูวัดร้างแห่งนี้ขึ้นเป็นวัดดังเดิม ภายในพระวิหารหลังเดิม พบพระพุทธรูปปูนปั้นบริเวณหน้าตักพระประธาน ที่เรียกกันว่า หลวงพ่อผาเงา พระพุทธรูปองค์ดังกล่าวถูกฝังอยู่ใต้ฐานชุกชีพระประธาน เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย พระพักตร์รูปไข่ พระหนูเป็นปม พระรัศมีเป็นเปลว แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของศิลปสุโขทัย มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 19-20

    ทั้งนี้ วัดพระธาตุผาเงา เป็นวัดหนึ่งที่เข้าร่วมโครงการปฏิบัติธรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
    ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามแนวนโยบายของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>วัดพระธาตุดอยก่องข้าว
    ต.ดอยฮาง อ.เมือง จ.เชียงราย 57000
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>วัดถ้ำพระบำเพ็ญบุญ
    ต.ธารทอง อ.พาน จ.เชียงราย


    พระอธิการถวิล จันทะสะโร
    เจ้าอาวาสและประธานศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติ


    วัดถ้ำพระบำเพ็ญบุญ แต่เดิมเป็นถ้ำที่เป็นธรรมชาติ มีป่าไม้ร่มรื่น เป็นที่สัปปายะ เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม มีเนื้อที่ประมาณ 80 ไร่ ปัจจุบันได้แต่งตั้งวัดถ้ำพระบำเพ็ญบุญเป็น "ศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติประจำจังหวัดเชียงราย"

    กิจกรรมการปฏิบัติธรรมประจำปี

    1. งานปริวาสกรรมสำหรับพระภิกษุทั่วประเทศ วันที่ 1-10 ก.พ. ของทุกปี
    2. งานอุปสมบทบรรพชาสามเณรของทุกปี ภาคฤดูร้อน วันที่ 1-10 เม.ย. ของทุกปี
    3. งานปฏิบัติธรรมวันวิสาขบูชาของทุกปี สำหรับประชาชนทั่วไปทุกหมู่เหล่า
    4. งานปริวาสกรรมสำหรับพระภิกษุทั่วประเทศก่อนเข้าพรรษาของทุกปี
    5. จัดปฏิบัติธรรมวันแม่แห่งชาติเป็นประจำทุกปี
    6. จัดปฏิบัติธรรมวันพ่อชาติเป็นประจำทุกปี
    7. จัดอบรมนักเรียน นิสิต นักศึกษา ตามที่สถาบันการศึกษาได้กำหนดมา ฯลฯ
    8. จัดอบรมสำหรับหน่วยงานข้าราชการ องค์กรเอกชนต่างๆ
    9. มีประชาชนเข้ารับการปฏิบัติธรรม 3-5-7 วัน ตลอดทั้งปี</TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  12. nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>วัดโพธิสมภรณ์
    ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี


    พระอุดมญาณโมลี (หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป) เจ้าอาวาส

    เป็นวัดที่สร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ ปลายรัชกาลที่ 5 โดย มหาอำมาตย์ตรีพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (โพธิ เนติโพธิ) สมุหเทศาภิบาลมณฑลอุดร ได้ชักชวนราษฎรในหมู่บ้านหมากแข้งสร้างวัด ซึ่งชาวบ้านนิยมเรียกว่า วัดใหม่ ต่อมา พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ได้ทรงประทานนามว่า "วัดโพธิสมภรณ์" ให้เป็นอนุสรณ์แก่พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร ผู้สร้างวัดนี้

    ..................................................................................

    พระอุดมญาณโมลี มหาเถระศรีอุดรธานี

    "หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป" หรือ "พระอุดมญาณโมลี" เป็นมหาเถระที่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธา และเป็นแบบอย่างอันงดงามของพระภิกษุสงฆ์ สามเณร และประชาชนชาวอีสานมาอย่างยาวนาน ด้วยยึดหลักธรรมแห่งองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่ตั้ง มีพลังเกื้อหนุนจากธรรมะของครูบาอาจารย์ ที่คอยสนับสนุนตลอดมา ปฏิปทาอันงดงามของหลวงปู่จึงเป็นครูของชีวิต ที่คณะศิษยานุศิษย์ภาคภูมิใจยิ่ง

    ปัจจุบัน หลวงปู่จันทร์ศรี สิริอายุ 94 พรรษา 74 เจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์ อ.เมือง จ.อุดรธานี อดีตเจ้าคณะจังหวัดอุดรธานี (ธรรมยุต) ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 9 (ธรรมยุต) และที่ปรึกษามหาเถรสมาคม

    อัตโนประวัติ หลวงปู่จันทร์ศรี หรือพระอุดมญาณโมลี มีนามเดิมว่า จันทร์ศรี แสนมงคล เกิดเมื่อวันอังคารที่ 10 ตุลาคม 2454 ที่บ้านโนนทัน ต.โนนทัน อ.เมือง จ.ขอนแก่น

    หลวงปู่มีแววบวชเรียน ตั้งแต่เมื่อครั้งเยาว์วัย ด้วยโยมบิดา-มารดา ได้พาไปใส่บาตรพระทุกวัน จนเกิดความเลื่อมใสในบวรพระพุทธศาสนา ในบางครั้ง ด.ช.จันทร์ศรี จะนำเด็กรุ่นราวคราวเดียวกันทั้งชายและหญิง 7-8 คน ออกไปเล่นหน้าบ้าน โดยตนเองจะเล่นรับบทเป็นพระภิกษุเป็นประจำ

    อายุครบ 10 ขวบ โยมแม่นำไปฝากไว้กับเจ้าอธิการเป๊ะ ธัมมเมตติโก เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ศรี เจ้าคณะตำบลโนนทัน และเป็นครูสอนนักเรียนโรงเรียนประชาบาล โดยรับไว้เป็นลูกศิษย์ใกล้ชิด อยู่รับใช้ได้เพียง 1 เดือน หลวงพ่อนำเด็กชายเข้าเรียนภาษาไทย ตั้งแต่ชั้น ประถม ก.กา จนจบชั้นประถมบริบูรณ์ หลวงพ่อเห็นว่ามีความสนใจในทางสมณเพศ จึงได้ให้เข้าพิธีบรรพชา เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2468

    จนมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ สามเณรจันทร์ศรี ได้เข้าพิธีอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดศรีจันทร์ อ.เมือง จ.ขอนแก่น เมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ.2474 โดยมีพระครูพิศาลอรัญญเขตต์ (จันทร์ เขมิโย) เจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระมหาปิ่น ปญญาพโล วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ มีพระอาจารย์กรรมฐานจำนวน 25 รูป นั่งเป็นพระอันดับ

    อุปสมบทได้เพียง 7 วัน ท่านได้ติดตามหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี และพระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ เดินรุกขมูล ตั้งแต่เดือนมกราคมไปจนถึงเดือนมีนาคม ก่อนลาหลวงปู่เทสก์ ขอไปศึกษาทางด้านพระปริยัติธรรมต่อในกรุงเทพมหานคร

    พ.ศ.2474 สอบได้นักธรรมชั้นตรี ได้ในสนามหลวง คณะจังหวัดขอนแก่น พ.ศ.2475 สอบนักธรรมชั้นโท ได้ในสนามหลวง คณะจังหวัดขอนแก่น

    พ.ศ.2477 สอบนักธรรมชั้นเอก ได้ในสนามหลวง สำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ

    พ.ศ.2480 สอบเปรียญธรรม 3 ประโยค สำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ พ.ศ.2485 สอบเปรียญธรรม 4 ประโยค สำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร

    พ.ศ.2484 สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงมีพระบัญชาให้ ไปสอนพระปริยัติธรรม แผนกธรรมและบาลี ณ วัดสุทธาวาส ต.พระธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร

    ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2484 หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้ไปพำนักอยู่ที่วัดป่าสุทธาวาส เป็นเวลา 15 วัน ทำให้หลวงปู่จันทร์ศรีได้มีโอกาสใกล้ชิดหลวงปู่มั่น ชั่วระยะเวลาหนึ่ง ถือเป็นกำไรแห่งชีวิตอันล้ำค่า

    พ.ศ.2475 ท่านได้กลับมาอยู่จำพรรษาที่วัดบวรนิเวศวิหาร เพื่อศึกษาเปรียญธรรม 5 ประโยค

    พ.ศ.2486 สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงมีบัญชาให้ไปเป็นครูสอนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม แผนกบาลี ป.ธ. 3-4 สำนักเรียนวัดธรรมนิมิตร ต.บางแก้ว อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม เป็นเวลานานถึง 10 ปี

    ต่อมาวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2497 สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ก็ทรงมีพระบัญชาให้มาอยู่ที่วัดโพธิสมภรณ์ ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี เพื่อทำศาสนกิจคณะสงฆ์ เนื่องจากพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) มีอายุเข้าปูนชรา เป็นรองเจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์

    พ.ศ.2498 เหลวงปู่จันทร์ศรี ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดอุดรธานี (ธรรมยุต)

    พ.ศ.2507 เป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์ พระอารามหลวงชั้นตรี พ.ศ.2516

    พ.ศ.2531 เป็นเจ้าคณะภาค 9 (ธรรมยุต)

    ลำดับสมณศักดิ์ของหลวงปู่จันทร์ศรี พ.ศ.2475 เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอกที่ พระครูสิริสารสุธี พ.ศ.2498 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระสิริสารสุธี พ.ศ.2505 เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่พระราชเมธาจารย์ พ.ศ.2517 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพเมธาจารย์

    วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2533 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมบัณฑิต

    วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2544 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองที่ พระอุดมญาณโมลี

    หลวงปู่จันทร์ศรี มีความจำเป็นเลิศ แม้ย่างเข้าวัยชรา แต่หลวงปู่ยังจำเหตุการณ์ต่างๆ ในอดีตได้อย่างแม่นยำ โดยเฉพาะเมื่อเล่าเรื่องต่างๆ ให้ฟัง หลวงปู่จะบอกชื่อคน วันเวลา ได้อย่างละเอียดเป็นที่น่าอัศจรรย์

    สิ่งสำคัญในชีวิตหลวงปู่ คือการมีโอกาสได้ปฏิบัติใกล้ชิดกับพระเถระผู้ใหญ่ อาทิ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ วัดบวรนิเวศวิหาร, สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสโส) วัดพระศรีมหาธาตุ, หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต, พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม พระอาจารย์มหาปิ่น ปัญญาพโล เป็นต้น

    ดังนั้น หลวงปู่จึงมีความรอบรู้ขนบธรรมเนียมประเพณี ทั้งในเมือง ในราชสำนัก และสำนักพระกัมมัฏฐาน และธรรมเนียมชาวบ้านเป็นอย่างดี หลวงปู่จันทร์ศรี เป็นหลวงปู่ใจดีของลูกหลาน โดยไม่เลือกชั้นวรรณะและไม่ยึดติดลาภสักการะ ไม่ติดในบริวาร ชีวิตหลวงปู่เรียบง่าย เป็นอยู่อย่างสามัญ แม้ท่านจะได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบการปกครองคณะสงฆ์ แต่หลวงปู่ไม่ทิ้งการปฏิบัติกัมมัฏฐาน

    เมื่อมีเวลาว่าง หลวงปู่จะไปพักผ่อนเยี่ยมเยียนวัดวาอารามต่างๆ แม้อยู่ลึกในหุบเขา เพื่อให้กำลังใจพระกัมมัฏฐาน พระเล็กเณรน้อย อย่างไม่ลดละ ความสุขของหลวงปู่ จึงอยู่ที่การได้ทำนุบำรุงบวรพระพุทธศาสนา เยี่ยมเยียนพระสงฆ์ ให้กำลังใจสอนธรรมแก่ประชาชน ให้รู้จักดีชั่ว บาปบุญคุณโทษ ปฏิปทาของหลวงปู่จันทร์ศรี จึงเป็นดั่งดวงประทีป ดวงชีวิต เป็นหลักชัยและหลักใจของลูกหลานชาวเมืองอุดรธานี และผองชาวพุทธตลอดไป ตราบนานเท่านาน


    ที่มา : นสพ.ข่าวสด หน้า 1
    คอลัมน์ มงคลข่าวสด
    วันที่ 06 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 ปีที่ 15 ฉบับที่ 5456</TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD class=postdetails vAlign=bottom height=40>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  13. nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>วัดภูสังโฆ (วัดเสิงเคิง)
    บ้านกุดหมากไฟ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี


    พระอาจารย์วันชัย วิจิตตฺโต เจ้าอาวาส

    เป็นวัดปฏิบัติสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

    การเดินทาง มาจากตัวเมืองอุดร บนถนนอุดร-เลย ถึงทางแยกไปตัว อ.หนองวัวซอ เลี้ยวซ้าย ระยะทางตรงนี้ ประมาณ 22 กม. ตรงไปเรื่อย จะผ่านตัวอ.หนองวัวซอ ให้ตรงไปอีกบนถนนลาดยาง จนเกือบสุดถนน ให้เลี้ยวซ้ายไปทางบ้านกุดหมากไฟ ตามถนนลาดยางไปไม่ไกล จะต้องเลี้ยวซ้าย มีป้ายบอก ให้สังเกตป้าย และถามทางไปเรื่อยๆ จนสุดถนนลาดยาง จะมีทางเลี้ยวขวา (ถนนดินแดง) ไปเรื่อยๆ ก็จะถึงวัด

    หรือ เดินทางจาก อ.เมือง จ.อุดรธานี ก็นั่งรถสองแถวที่จะไปบ้านกุดหมากไฟ สุดสายเลย แล้วบอกให้สองแถวเลยไปส่งต่อที่วัดภูสังโฆ ได้เลย สองแถวจะรู้หมดทุกคัน ชาวบ้านจะเรียกชื่อวัดว่า วัดเสิงเคิงหรือวัดภูสังโฆ ก็จะทราบเป็นส่วนใหญ่</TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  14. nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>ในจังหวัดอุดรธานี สถานที่ปฏิบัติธรรมมีมาก ส่วนมากจะเป็นวัดที่เน้นในสายปฏิบัติแนวหลวงปู่มั่น ภูริทัตโตมหาเถระ ชึ่งมีลูกศิษย์ลูกหาสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน เช่น

    1. วัดป่าบ้านตาด
    ต.บ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี


    หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน เจ้าอาวาส

    2. วัดป่านิโครธาราม
    บ้านหนองบัวบาน ต.หมากหญ้า
    อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี


    หลวงปู่บัว สิริปุณโณ และหลวงปู่มหาปราโมทย์ ปาโมชโช เคยมาปฏิบัติจำพรรษาที่วัดแห่งนี้ ปัจจุบันท่านมรณภาพแล้วเหลือแต่เจดีย์บรรจุอัฐิธาตุ ท่านทั้ง 2 รูปนับว่าเป็นพระอรหันต์ ในวัดเหมาะแก่การปฏิบัติธรรม

    หลวงพ่อประสิทธิ์ บุญญมากโร เป็นเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

    3. วัดป่าหนองแซง (วัดราษฎรสงเคราะห์)
    ต.หมากหญ้า อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี


    หลวงปู่เสน ปัญญาธโร เจ้าอาวาส

    4. วัดป่าบ้านค้อ
    ต.เขือน้ำ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี


    หลวงพ่อทูล ขิปปปัญโญ เจ้าอาวาส

    เว็บไซต์
    http://www.thelittlekpy.com/
    http://www.geocities.com/kippapanyo/index1.htm

    5. วัดป่าปูลูสันติวัฒนา
    บ้านปูลู ต.บ้านเชียง อ.หนองหาน จ.อุดรธานี


    หลวงปู่พวง สุวีโร เป็นอดีตเจ้าอาวาส

    6. วัดป่านิโรธรังษี
    หมู่ 7 บ้านกลางใหญ่
    ต.กลางใหญ่ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี


    เป็นวัดปฏิบัติสายหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

    7. วัดป่าสันติกาวาส
    (หลวงปู่บุญจันทร์ กมโล)
    บ้านหนองตูม ต.ไชยวาน อ.ไชยวาน จ.อุดรธานี


    พระอาจารย์สมหมาย อัตตมโน เป็นเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

    8. วัดพระธาตุบัวบก
    จ.อุดรธานี


    เป็นวัดปฏิบัติที่หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต และคณะศิษย์เคยธุดงค์มาจำพรรษา

    ทุกวัดล้วนเหมาะแก่การการปฏิบัติภาวนาเป็นอย่างยิ่ง</TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ข้อมูลจากคุณวิระยุทธบอร์ดธรรม
     
  15. nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    วัดป่าจันทรังสี (วัดป่านาสีดา)
    ต.กลางใหญ่ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี


    วัดป่าหลวง
    หมู่ 7 บ้านถ่อนใหญ่ ต.นาข่า
    อ.เมือง จ.อุดรธานี 41000


    วัดถ้ำกกดู่
    ต.โนนหวาย อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
    โทรศัพท์ 01-975-8515, 042-298-422


    พระอาจารย์สมาน กุสุโม เจ้าอาวาส

    เป็นวัดปฏิบัติสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
    ภายในวัดจะมี เจดีย์พิพิธภัณฑ์หลวงปู่คำพอง ติสฺโส


    วัดป่าจันทรังสี (วัดป่านาสีดา)
    ต.กลางใหญ่ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี


    หลวงปู่คำพอง ติสฺโส
    วัดถ้ำกกดู่
    ต.โนนหวาย อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี


    ประวัติหลวงปู่คำพอง ติสฺโส
    โดยเลือกตรง ประวัติอาจารย์สายพระป่า (อยู่ด้านซ้ายมือ)
    ต่อจากนั้น ก็เลือกตรง... หลวงพ่อคำพอง ติสโส
    http://www.dharma-gateway.com/monk/monk-main-page.htm


    วัดป่าสีทน
    หมู่ 2 บ้านหนองตูม
    ต.บ้านจั่น อ.เมือง จ.อุดรธานี


    พระอาจารย์สุพิศ สุนทโร เจ้าอาวาส
    ท่านเป็นลูกศิษย์หลวงปู่อ่อนสา สุขกาโร


    เป็นวัดปฏิบัติสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  16. nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    วัดป่าบ้านนาคูณ
    หมู่ 4 บ้านนาคูณ ต.บ้านผือ
    อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี 41160


    หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ เจ้าอาวาส


    วัดป่าหนองกอง
    หมู่ 2 บ้านหนองกอง ต.บ้านผือ
    อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี 41160


    หลวงปู่เพียร วิริโย เจ้าอาวาส

    ทั้ง 2 วัดนี้ เป็นวัดปฏิบัติสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

    การเดินทาง จากจังหวัดอุดรธานี มุ่งหน้าไปทางจังหวัดหนองคาย เมื่อผ่านทางข้ามรถไฟ ให้เลี้ยวซ้ายไปบ้านค้อ อำเภอบ้านผือ เมื่อผ่านตลาดบ้านผือ ให้เลี้ยวขวา แล้วถามชาวบ้านว่าจะไป วัดป่าหนองกอง หลวงปู่เพียร วัดท่านไม่ไกลจากตลาดหนองผือ วัดป่าบ้านนาคูณ หลวงปู่บุญมี ก็ไม่ไกลจากกัน

    วัดป่าบ้านเพิ่ม
    ต.บ้านก้อง อ.นายูง จ.อุดรธานี


    หลวงพ่อคำสด อรุโณ เจ้าอาวาส

    เป็นวัดปฏิบัติสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

    วัดนาหลวง (อภิญญาเทสิตธรรม)
    สำนักวิปัสสนาธุระ (ภูย่าอู่)
    บ้านนาหลวง ต.คำด้วง
    อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี 41160


    พระภาวนาวิสุทธาจารย์ (หลวงปู่ทองใบ ปภสฺสโร) ประธานสงฆ์

    เว็บไซต์วัดนาหลวง

    http://school.obec.go.th/sawa/puyaau.1.htm

    รอยพระพุทธบาทที่ภูย่าอู่
    http://www.konmeungbua.com/foot/phuyaeu.html

    หมายเหตุ : ได้รับข้อมูลมาจากคุณ jomjam

    วัดป่าภูก้อน
    บ้านนาคำ ต.บ้านก้อง อ.นายูง จ.อุดรธานี
     
  17. nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>สำหรับฆราวาส ผู้มาปฏิบัติธรรม

    ในระยะแรกหลวงตาท่านไม่รับฆราวาสที่มุ่งมาปฏิบัติธรรม แต่เมื่อมีผู้สนใจมากขึ้นๆ ท่านจึงอนุโลมผ่อนผัน มีฆราวาสทั้งชายและหญิง ทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศที่มุ่งมาพักปฏิบัติธรรมจำนวนมากในปัจจุบัน ทางวัดจัดให้มีเขตชาย-หญิงชัดเจน ไม่คลุกเคล้าปะปนกัน ผู้มุ่งมาปฏิบัติธรรมล้วนแต่อยู่ในความสงบสำรวม ตามกฎระเบียบของวัดที่มุ่งเน้นด้านจิตตภาวนา ระยะเวลาที่ให้พัก ทางวัดไม่ให้อยู่ถาวร แต่อนุญาตให้อยู่พักได้ไม่เกิน ๗-๑๐ วัน

    สำหรับผู้มุ่งมาทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ หลวงตาท่านจะแสดงธรรมเป็นประจำวันทุกวัน การบิณฑบาตจะเริ่มประมาณ ๖.๐๐ น. เริ่มฉันประมาณ ๗.๐๐ น. พระภิกษุสามเณรที่วัดป่าบ้านตาดนี้ฉันเพียงวันละมื้อเดียวเท่านั้น เพื่อมิให้เป็นความกังวลและเสียเวลา หลวงตาจะเริ่มเทศนาประมาณ ๗.๓๐ น. หากมีคณะผู้แสวงบุญจากทั่วทุกสารทิศมุ่งมาฟังเทศน์ของหลวงตา ในยามบ่ายหลังจากท่านกลับจากการเดินทางเพื่อมุ่งสงเคราะห์โรงพยาบาล ฯลฯ ท่านมักจะเมตตาเทศนาแก่คณะดังกล่าวอีกครั้งหนึ่ง

    -----------------------------------------------------------------

    การเดินทางไปวัดป่าบ้านตาด

    1. เครื่องบิน
    - มีเที่ยวบินระหว่างกรุงเทพฯ - อุดรธานี ทุกวัน วันละ 3 เที่ยวบินดังนี้

    1) เวลา 06.50 น.
    2) เวลา 12.30 น.
    3) เวลา 18.15 น.

    - มีเที่ยวบินระหว่างอุดรธานี - กรุงเทพฯ ทุกวัน วันละ 3 เที่ยวบินดังนี้

    1) เวลา 08.40 น.
    2) เวลา 14.25 น.
    3) เวลา 20.05 น.

    2. รถไฟ
    (หมายเหต : กรุณาตรวบสอบกับการรถไฟแห่งประเทศไทยก่อน ก่อนการเดินทาง)
    - มีการเดินรถระหว่างกรุงเทพฯ - อุดรธานี ทุกวัน โดยออกจากสถานีรถไฟกรุงเทพฯ
    ตามเวลาดังนี้

    1) เวลา 06.00 น. ขบวนรถเร็ว กรุงเทพฯ - หนองคาย
    2) เวลา 08.20 น. ขบวนรถดีเซลรางปรับอากาศ กรุงเทพฯ - อุดรธานี
    3) เวลา 18.30 น. ขบวนรถเร็ว กรุงเทพฯ - หนองคาย
    4) เวลา 20.00 น. ขบวนรถดีเซลรางปรับอากาศ กรุงเทพฯ - หนองคาย
    5) เวลา 20.45 น. ขบวนรถด่วน กรุงเทพฯ - หนองคาย

    - มีการเดินรถระหว่างอุดรธานี - กรุงเทพฯ ทุกวัน โดยออกจากสถานีรถไฟอุดรธานี
    ตามเวลาดังนี้

    1) เวลา 07.26 น. ขบวนรถดีเซลรางปรับอากาศ หนองคาย - กรุงเทพฯ
    2) เวลา 09.15 น. ขบวนรถเร็ว หนองคาย - กรุงเทพฯ
    3) เวลา 18.35 น. ขบวนรถดีเซลรางปรับอากาศ อุดรธานี - กรุงเทพฯ
    4) เวลา 19.04 น. ขบวนรถเร็ว หนองคาย - กรุงเทพฯ
    5) เวลา 20.02 น. ขบวนรถด่วน หนองคาย - กรุงเทพฯ

    3. รถทัวร์
    - มีรถบัสปรับอากาศออกจากบริษัททัวร์สายตะวันออกเฉียงเหนือหลายบริษัท ที่สถานีขนส่งหมอชิต ถนนกำแพงเพชร เขตจตุจักร กทม 10900
    หมายเหต : ก่อนเข้าเมืองอุดรธานี ให้ลงบนถนนใหญ่มีป้ายว่า " บ้านคำกลิ้ง " จะมีรถ SKY LAB ( รถมอเตอร์ไซด์ที่มีรถพ่วงสำหรับผู้โดยสารนั่ง ) เข้าไปถึงวัดใช้เวลาเพียง 10 นาที

    -----------------------------------------------------------------

    อ่านประวัติอย่างละเอียดของหลวงตามหาบัวได้ที่นี่ >> http://www.luangta.com/resume/resume_luangta.php</TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  18. nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    ศูนย์ปฏิบัติธรรม
    วัดประสิทธิธรรม บ.ดงเย็น ต.ดงเย็น อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี
    วัดหลวงปู่พรหม จิรปุญโญ , วัดหลวงปู่ผาง
    ปฏิบัติธรรมตามแนวทางหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
    ปัจจุบันมี หลวงปู่พระอาจารย์วิสุทธิ์ ศิริจันโท เป็นเจ้าอาวาส

    ----------------------------------------------------------------------------------------------------
    วัดประสิทธิธรรม
    เป็นวัดป่า ธรรมยุตินิกาย เป็นวัดที่หลวงปู่ผาง ปริปุญโณ จำพรรษาก่อนมรณภาพ วัดประสิทธิธรรมเป็นสถานที่ สัปปายะ เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม ปัจจุบันมีพระอาจารย์วิสุทธิ์ ศิริจันโท เป็นเจ้าอาวาส
    เจดีย์บรรจุอัฐิธาตุหลวงปู่พรหม จิรปุญโญ
    ตั้งอยู่บริเวณวัดประสิทธิธรรม เป็นเจดีย์บรรจุอัฐิธาตุของหลวงปู่พรหม พระอาจารย์สาย กัมฎาน ชื่อดัง คู่หลวงปู่มั่นในอดีต



    วัดป่าบ้านค้อ ต.เขือน้ำ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี
    การปฏิบัติตามแนวทาง สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต



    วัดประชาชุมพลพัฒนาราม
    บ้านหนองใหญ่ ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี


    หลวงปู่อ่อนสา สุขกาโร มีปฏิปทาค่อนข้างจะเก็บตัว ไม่ชอบยุ่งเรื่องของใคร หากมีปัญหาการปฏิบัติก็ถามท่านได้ครับ แต่ท่านจะตอบสั้นๆ ทำให้นึงถึงปฏิปทาของหลวงปู่เสาร์ ส่วนการอบรมการแสดงธรรมนั้นเท่าทีได้ยินมาไม่เคยครับ

    วัดของหลวงปู่อยู่ใกล้ถนนรอบเมืองอุดรครับ สมมตว่าท่านเดินทางมาจากขอนแก่น พอถึงสี่แยกรอบเมือง ให้เลี้ยวซ้าย (ถ้าตรงเลยเข้าเมืองอุดร เลี้ยวซ้ายไปหนองบัวลำภู เลย เลี้ยวขวาไปสกลนคร) แล้ววิ่งไปประมาณ 1 กม เห็นหนองน้ำใหญ่อยู่ทางขวามือแล้วเลี้ยวขวาเข้าบ้านหนองใหญ่ เข้าวัดหลวงปู่เลย วัดหลวงปู่อยู่ติดกับหนองน้ำ สามารถมองเห็นจากถนนรอบเมือง
     
  19. nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    วัดสังฆทาน
    ต.บางไผ่ อ.เมือง จ.นนทบุรี
    โทรศัพท์ (02) 447-0799 , 447-0800


    หลวงพ่อสนอง กตปุญโญ เจ้าอาวาส

    หลวงพ่อสังวาลย์ เขมโก อดีตเจ้าอาวาส

    เว็บไซต์

    http://www.sanghathan.co.uk/
    http://www.vimokkha.com/thai.htm
    http://www.geocities.com/katapoonyo/

    แผนที่
    http://www.vimokkha.com/map.htm

    วัดสนามใน
    ต.วัดชลอ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี 11130
    โทรศัพท์ 02-883-7251


    หลวงพ่อทอง อาภากโร เจ้าอาวาส

    - แนวปฏิบัติแบบ : การเจริญสติตามแนวของหลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ
    - บริการฟรี

    เว็บไซต์
    http://dhammaforlife.com/


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top><HR>วัดศรีประวัติ
    หมู่ 1 ถนนพระประแดง-สุพรรณบุรี
    ต.ปลายบาง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี 11130
    โทรศัพท์ 01-616-2205


    พระอาจารย์ทอง ฐิติธัมโม เจ้าอาวาส

    แนวปฏิบัติแบบการเจริญสติปัฎฐานในแนวรูปนาม

    การเดินทาง ถ้าไปทางพุทธมณฑล ตรงสี่แยกทศกัฎฐ์
    เข้าถนนตลิ่งชั่น-บางบัวทอง จากจุดนั้นประมาณ 2 กม. ก็ ถึงวัด

    เว็บไซต์
    http://www.geocities.com/tvb1111/sipawat.htm</TD></TR></TBODY></TABLE>


    วัดกระโจมทอง
    ต.วัดชลอ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี 11130


    หลวงพ่อสุทัศน์ โกสโล เจ้าอาวาส

    เป็นวัดปฏิบัติสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  20. nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611


    ภาพหลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต (ปี พ.ศ. 2550 ท่านอายุ 94 ปี)
    (ศิษย์ท่านพ่อลี ธัมมธโร, ศิษย์หลวงปู่ชอบ ฐาสโม, สายธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)

    ..........................................................

    ที่พักสงฆ์สวนทิพย์
    สวนทิพย์ 17/9 ถนนสุขาประชาสรรค์ 2 ต.บางพูด
    อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
    โทร. 02-583-4540-2
    แนวปฏิบัติ สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต แนวภาวนาบท พุทโธ
    เจ้าอาวาสปัจจุบัน หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต
    (ศิษย์ท่านพ่อลี ธัมมธโร ,ศิษย์หลวงปู่ชอบ ฐาสโม ,สายธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)
    ไปกราบหลวงปู่ และ เข้าฟังธรรมจากท่านกันให้ได้นะครับ

    ท่านพักอยู่ที่ http://www.suanthip.com/

    ..........................................................

    1. สถานที่จอดรถผู้มาร่วมงาน สามารถจอดที่
    -ที่จอดรถสวนทิพย์ และ ริมถนนภายในบริเวณสวนทิพย์ รวมส่วนที่แยกไปร้านสองฝั่งคลอง
    -ร้านอาหาร วชิรปราการ ติดกับสวนทิพย์
    -หมู่บ้านสิทธารมย์ (ประมาณ 30 คันอยู่ตรงข้ามทางเข้าสวนทิพย์)
    -วัดบางพูดนอก ถึงก่อนสวนทิพย์ ประมาณ 100 เมตร กรณีเข้ามาจากทางตลาดปากเกร็ด
    -วัดกู้ ถึงก่อนสวนทิพย์ ประมาณ 150 เมตร กรณีเข้ามาทางซอยข้างโรงเรียนอัมพรไพศาล
    -ขณะนี้ทางเข้าทางตลาดปากเกร็ดสะดวกขึ้น อาจเลือกจอดรถที่ ที่จอดรถใต้สะพานพระราม4 ซึ่งอยู่หน้าตลาดปากเกร็ด แล้วนั่งรถตุ๊กเข้าสวนทิพย์ ประมาณ 2 กม.

    ..........................................................

    ประมวลภาพที่พักสงฆ์สวนทิพย์
    และภาพหลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต ในงานงานมุฑิตาสักการะครบรอบอายุ 94 ปี
    http://www.watpa.com/board_detail.asp?board_id=1507
    http://www.watpa.com/board_detail.asp?board_id=1492
     

แชร์หน้านี้