สาธุ สาธุ สาธุ ขออนุโมทนาบุญกับจิตบุญน้องใหม่ดวงที่ 119,120 และ 121 พร้อมทั้งครูผู้สอนทุกท่านด้วยค่ะ สาธุ
จิตพร้อม? รับภัยพิบัติ
ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ภูภู, 6 เมษายน 2012.
หน้า 480 ของ 857
-
สาธุ อนุโมทนาบุญกับจิตบุญดวงที่ ๑๑๙ ๑๒๐ ๑๒๑ และครูผู้สอนตลอดจนผู้เกี่ยวข้องทุกท่านด้วยค่ะ
-
จึงจะได้คำตอบเรื่องของบุญ และการทำบุญ เพราะมีคนเคยถามว่า บุญเป็นตัวอย่างไร. ผู้เขียนทราบดีแล้ว. บุญไม่เป็นตัวไม่เป็นตน ไม่มีตัวตน แต่เมื่อเราทำบุญแล้วผลนั้น
ตามมาให้เห็นทันตา ชาตินี้เลย ไม่ต้องรอภพหน้า ชาติหน้าเห็นทันตาไม่ต้อง
สงสัย เพราะที่ตนเองที่ทำมาได้ร้บแล้วชาตินี้ หลายๆอย่าง บุญนี้มหัศจรรย์จริงๆ
ยกตัวอย่างง่ายๆ พึ่งคิดเมื่อคืนนี้เอง เช้านี้ คุณอุษาวดี ก็นำมาลงให้เลย นี่คือ
บุญใหญ่ที่สุด เพราะได้นำคำตอบเรื่องบุญลงมาเขียนเพื่อให้ท่านผู้อ่านได้เข้าใจเรื่่องบุญมากขึ้น ตัวดิฉันนี้ได้ประจักษ์แล้วในผลบุญ แม้กระทั่งตอนที่เขียนเรื่องบุญก็ได้บุญแล้ว ไม่ต้องสงสัย เพราะรู้แล้วว่าได้บุญที่ได้เขียนให้ผู้อ่านได้
รู้ถึงเรื่องบุญ ท่านอ่านท่านก็ได้บุญแล้ว หวังว่าท่านที่สงสัย และกำลังสงสัยอยู่
คงเข้าใจไม่มากก็น้อยนะคะ เพราะดิฉันก็เอาตัวอย่างที่เกิดขึ้นกับตัวเองง่ายๆมาเปรียบเทียบให้ได้เข้าใจเรื่องบุญ จริงๆแล้วถ้าจะให้บอกเล่าทั้งหมดที่เกิดขึ้น
กับตัวเองนั้นมีเย้อะมากแต่เอาตัวอย่างที่ง่ายๆขึ้นมาเขียน.นี่คือสิ่งที่ออกจากใจ
ผู้เขียน ถ้าท่านๆผู้ใดมีคำอธิบายมากกว่านี้ก็ช่วยกันเอาบุญมาเล่าสู่กันฟังด้วย
นะคะ ขอขอบคุณ คุณอุษาวดี ที่นำเรื่องบุญมาเขียนลง และขออนุโมทนาบุญ
กับ ท่านพระอาจารย์สุธรรม สุทัมโมเจ้าค่ะ ขอน้อมรับและขออนุโมทนาบุญกับ
ท่านผู้ให้และผู้ที่นำธรรมะนี้ลงมาเขียนสาธุอนุโมทามิ
-
-
พุทธวจนะ- สัพพะปาปัสสสะ อะกะระณัง คือ การไม่ทำบาปทั้งปวง.
กุสะลัสสูปะสัมปะทา คือ การทำกุศลให้ถึงพร้อม.
สะจิตตะปะริโยทะปะนัง คือ การชำระจิตของตนให้บริสุทธิ์ผ่องใส.
เอตัง พุทธานะสาสะนัง ธรรม 3 อย่างนี้ เป็นคำ สั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.
คัดมาจากหนังสือธรรมะสว่างใจ วัดสันติวงษ์สาราม เบอรมิ่งแฮม U.K ค่ะสาธุ
-
-
ปกิณกธรรม. โดยหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี จากหนังสือ เทสโกวาท. เมี่อโง่
เมื่อเรารู้จักโง่แล้ว. ความรู้นั้นแลเป็นความฉลาด.
การไม่เห็นความโง่ของตน. แต่สำคัญว่าตนฉลาด นั่นยิ่งโง่เข้าทุกที.
เหตุนั้นการปฏิบัติของพวกเรา. จงปฏิบัติตรงที่กายกับใจนี่แหล่ะ.
อย่าส่งออกไปภายนอก. ใครจะเรียนอะไรที่ใหน ก็เรียนไปเถิด.
ถ้าเพ่งเข้ามาในตัวนั้น. จะเรียกว่า เรียนความโง่ของตน. อย่าส่งออกไปภายนอกก็แล้วกัน
ลูกขอน้อมรับเพื่อสติ และปัญญาเจ้าค่ะสาธุ สาธุ สาธุ.
-
พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ตรัสสอนสิ่งเดียวกันคือ
สัพพะปาปัสสสะ อะกะระณัง คือ การไม่ทำบาปทั้งปวง คือ ศีล
กุสะลัสสูปะสัมปะทา คือ การทำกุศลให้ถึงพร้อม คือ สมาธิ
สะจิตตะปะริโยทะปะนัง คือ การชำระจิตของตนให้บริสุทธิ์ผ่องใส คือ ปัญญา
จะเห็นว่าพระพุทธเจ้าตรัสสอนเรื่องศีลก่อน เพราะศีลเป็นเบื้องต้น เป็นบาทฐานของการปฏิบัติ เหมือนเราเรียนประถมก่อนไปมัธยม ถ้าป.1 ยังสอบไม่ผ่านจะไปสมัครเรียนม.1 ก็...
จิตเกาะพระเหมือนโรงเรียนกวดวิชาก็จริง แต่ถ้าป.1 ยังสอบไม่ผ่าน จะเอาไปกวดวิชาให้จบมหาลัยก็ม่ายหวายยยยเหมือนกัน
แต่ถ้าไม่มีศีลมาก่อน แต่จะตั้งใจรักษาศีลอันนี้ไปได้ค่ะ เริ่มเมื่อไรก็มีศีลเมื่อนั้น
สาธุค่ะกับธรรทานค่ะพี่มาลินี เราคงใจตรงกัน กำลังคิดจะลงเรื่องศีลอยู่พรุ่งนี้พอดี โปรดติดตามต่อค่ะ -
เมี่ยงคำ .. ธรรมะ
เมื่อวานนี้ จิตบุญ ๑๒๐ นำเมี่ยงคำมาฝากหลังจากจบงานสัมมนา วันนี้พึ่งได้ทานตอนเย็น ...
เมี่ยงคำ
1.ใบชะพลู หรือใบทองหลาง
2.มะพร้าวหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ คั่ว
3.หอมแดงหั่นเป็นชิ้นลูกเต๋า
4.ขิงหั่นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า
5.มะนาวหั่นทั้งเปลือกเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า
6.พริกขี้หนูซอย
7.ถั่วลิสงคั่ว
8.กุ้งแห้ง (เลือกที่เป็นชนิดจืด)
น้ำราดเมี่ยงคำ
1.น้ำตาลปี๊บ 1 ถ้วย
2.กะปิ (เผาเพื่อเพิ่มความหอม)
3.น้ำปลาอย่างดี 1 ถ้วย
4.ข่าหั่นละอียด 1 ช้อนโต๊ะ
6.ตะไคร้หั่นฝอย 1 ช้อนโต๊ะ
7.กุ้งแห้งโขลกละเอียด ¼ ถ้วย
ส่วนประกอบเยอะยิ่งนัก แต่เราทานเท่าที่ได้รับมา ...น้ำราด/ถั่วลิสงคั่ว/มะพร้าวหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ คั่ว/ใบชะพลู
ถ้าเป็นเมื่อก่อนนี้ เราคงต้องหาส่วนประกอบให้ครับ มันถึงจะได้รสชาติได้ความสมบูรณ์แห่งส่วนผสม ถ้าไม่ครบ ก้อไม่ทาน เพราะมันไม่ถึง ไม่ครบ เป็นเช่นนั้นแน่ๆ
แต่วันนี้ เราทานไป เคี้ยวไป พร้อมกับธรรมะที่ผุดขึ้นมาในจิต
มนุษย์เจ้าเอ๋ย เจ้าเคยชินมานานสินะ กับการปรุงแต่ง กับความสมบูรณ์แบบ(จอมปลอม)ที่เจ้าสร้างกันขึ้นมา จนลืมแก่นแท้
กินไป เพื่อผลอันใดลูกเอ๋ย ... เพื่อให้ขันธ์เจ้าอิ่มก้อเพียงพอแล้วมิใช่หรือ
กินไปก้อเพื่อให้อวัยวะภายในเจ้าได้ทำงาน เพื่อให้เจ้ามีพลังงานในการทำ ทั้งกรรมดีและกรรมชั่วมิใช่หรือ
แล้วใยเจ้าต้องปรุงทุกสิ่งที่อยู่รอบตัวเจ้า หลงไปกับสิ่งภายนอก มิยอมสนใจจิตภายในอันควรทำ
เจ้าปรุงตั้งแต่เจ้าลืมตา แปรงต้งอยี่ห้อนี้ ยาสีฟันจักต้องแบบนี้ สบู่ต้องเช่นนั้น ยาสระผมมันต้องแบบนี้ เสื้อผ้ามันต้องแบบนั้น ทุกสิ่ง เจ้าปรุง เจ้าหลงมันมานานเกินไปแล้วลูกเอ๋ย
ปรุงมาแล้วกี่ภพกี่ชาติ เจ้าลืมพ่อแล้วหรือ เจ้าลืมคำเราแล้วหรือ
เรามิเคยสอนให้เจ้าปรุง เจ้ายึดเลย แต่เจ้ากลับมัวเมากับกิเลส กับสิ่งยั่วยุ สิ่งสมมคชติทั้งหลายในโลกใบนี้
เราลืมไปแล้วหรือ แก่นคือสิ่งใด แก่นคือจิต จิตที่มีธรรม
แล้วใยไปวิ่งห่สุขปลอมกันไปใย เมื่อมิได้ เจ้าก้อจักทุกข์ เจ้ามิเคยเลยที่จะหยุดปรุง
เราเคี้ยวไป มิต่างกันเลย กับสิ่งที่สมบูร์ในส่วนผสม ทำไมเราเคี้ยว เรากลืนแล้วมิเห็นเราตาย ส่วนผสมไม่ครบแล้วไง ท้องเจ้าอิ่มได้ไหม
การเดินหน้าเข้าหาธรรมแท้ในจิตเจ้าก้อเช่นกัน มิต่างกับที่เจ้ากำลังกินอาหารนี้
ก่อนกิน...เจ้าเคยรู้ไหมว่าเจ้าต้องกินกี่คำ ท้องเจ้าจึงจะอิ่ม เจ้ามิมีทางรู้ เพราะเหตุใด ก้อมันเป็นอนาคต เจ้าจะไปรู้เพื่อการณ์ใด ให้หลุดจากปัจจุบัน
เจ้าเพียงกินๆๆๆ เมื่ออิ่มเจ้าก้อจักรู้เองใช่หรือไม่
แล้วใยเมื่อเจ้าปฎิบัติธรรมแล้ว ต้องมานั่งนับทำไมว่าเมื่อไหร่ เดินมรรคอีกกี่วัน ทรงฌานอีกกี่นาทีถึงจะถึงเจ้าค่ะ/ครับ
เจ้ามุ่งออกนอกกับความอยาก ความสงสัยนั้นเพื่อเหตุใด ให้จิตส่าย ให้จิตหลุดจากฌาน หลงทางแล้วลูกเอ๋ย ...
เจ้าเพียง ทำๆๆๆ ตามแนวเราที่บอกไว้แล้ว(ศีล สมาธิ ปัญญา) ด้วยใจกลาง เพียงเท่านี้ เจ้าก้อไม่ต่างกับอาหารที่เจ้ากำลังเคี้ยว เคี้ยวไป ทานไป มิคาดหวัง มิสงสัย แล้วเจ้าลองดูสิ กินไปเรื่อยๆ ทำให้ต่อเนื่อง แล้วเจ้าจักอิ่มเอง จักถึงเอง
เพียงเท่านี้นะ ทำทุกอย่างให้เป็นธรรมชาตินะลูก เจ้าจะอยู่กับธรรมชาติ เพื่อให้เห็นธรรม แล้วใย มักทำตัวมิเข้าใจธรรมชาติ อยู่เหนือธรรมชาติ ผิดทางแล้ว ...
เจ้าเป็นดวงจิตนึงเท่านั้น มิต้องสนใจสิ่งใดภายนอก ธรรมมิได้อยู่ที่ใคร ที่เรา หรือ ที่ใดๆ
ธรรมอยู่ในจิตเจ้า
จงมอง จงรู้ จงดู แล้วจักเข้าใจ
หาแก่นในนี้ให้เจอ แล้วเจ้าจักเข้าใจธรรมแท้ ... ขอให้เจริญในธรรม
จบ.๑๑ เรือลำนี้จะไม่จมไฟล์ที่แนบมา:
-
-
ขอมอบผลบุญจากธรรมทานเมี่ยงคำนี้ ให้ครอบครัวจิตบุญ๑๒๐ ๑๒๑ ...
ครอบครัวนี้จะเป็นครอบบครัวจิตบุญในไม่ช้านี้ ... สาธุ
การให้ชนะการกระทำทั้งปวง
เราจักให้ธรรมแก่หมู่เจ้าตลอดไป จงรับไป จงเปิดตา เปิดจิต มองจิตตน แล้วจะพ้นทุกข์ถาวรนะ
มาเป็นล้านเราก้อจักพาไป ขอใมห้มาจริง เอาจริง เรือลำนี้จะนำพาไป ด้วยจิตเจ้าเอง
จบ.๑๑ เรือลำนี้จะไม่จม
ปล. รู้แน่ๆว่า ท่านพี่ลูกพลังที่เคารพของผมต้องมาแซวแน่ๆ คิดได้ไง ธรรมะเมี่ยงคำ 55555 (รู้ทันอีกแล้ว อิอิ) -
ข้อที่ควรคิด
อะไรเป็นทางเดินของสติ รูปนาม สภาวธรรม เป็นทางเดินของสติ
อะไรเรียกวิปัสสนา ความรู้แจ้งตามความเป็นจริง เรียกวิปัสสนา
อะไรเป็นตัววิปัสสนา คือ ปัญญาเป็นตัวของวิปัสสนา
ใครเป็นผู้เจริญวิปัสสนา สติเป็นผู้เจริญวิปัสสนา สติเอารูปนามเป็นอารมณ์ เอารูปนามเป็นทางเดิน เปรียบเสมือนคนเดินทางต้องอาศัยทาง ฉะนั้น
ลักษณะของนิพพาน คือ สงบ รสของนิพพาน คือ ไม่เคลื่อน
เครื่องปรากฏของนิพพาน คือ ไม่มีนิมิต ขอให้ท่านจงเจริญในธรรมยิ่งๆขื้นด้วยเทอญ. -
สตินั้น มีความสำคัญมาก เกิดขึ้นกับทุกสิ่ง
สติกับ ศีล
สติกับ ฌาณ
สติกับ ปัญญา
ท่านทั้งหลายขอให้เกาะสติให้แน่น แต่ไม่ต้องยึดเอาไว้ เพราะสติก็เป็น ส่วนประกอบของจิต เป็นเจตสิกฝ่ายกุศลเท่านั้น มีเหตุก็เกิด หมดเหตุก็ดับ ไม่สามารถ บังคับได้ แต่สามารถทำให้เจริญขึ้นได้ โดยนำจิตไปอยู่กับพระ เพื่อเป็นทางเดินแห่งมรรค -
อานิสงฆ์ของวิปัสสนา
บรรดาผลประโยนช์ทั้งหลาย ไม่มีอะไรจะเทียบเท่าวิปัสสนา เป็นประทีบที่สว่างแจ่มแจ้งเจิดจ้าอยู่ในจิตของชาวพุทธ ผู้กระทําพระวิปัสสนากัมฏฐานมองเห็นสรรพสิ่งได้ทะลุ ปรุโปร่งในรูปนามของตนเองและผู้อื่น ทราบชัดในจิตทางตา จิตทางหู จิตทางจมูก จิตทางลิ้น จิตทางกาย จิตทางมโน รู้แจ้งแทงตลอดในจิตของสัตว์ในอบายภูมิ จิตเปรต จิตอสุรกาย จิตสัตว์นรก และจิตสัตว์เดรัจฉานทราบถึงจิตของมนุษย์และจิตของเทวดา ตลอดจิตของพรหม ทราบชัดของจิตที่เป็นกุศล เป็นบุญ และจิตที่เป็นอกุศล เป็นตลอดจิตที่เป็นอัพยากฤตไม่เป็นบุญ ไม่เป็นบาป ขณะใดจิตอยากรู้ได้เกิดขื้นก็รู้ได้ทัน จิตโกรธเกิดก็รู้ทัน จิตหลงเกิดขื้นก็รู้ทัน จิตที่เป็นผลของบุญเกิดขื้นก็รู้ทัน จิตที่เป็นผลของบาปเกิดขื้นก็รู้ทันจิตที่กุศลเกิดขื้นก็ทราบ เมื่อทราบในจิตจนเป็นจิตตานุปัสสนา เห็นการเกิดขื้นดับไปของจิตจนสิ้นเหตุสิ้นปัจจัยของกุศลจิต ไม่เกิดอีก ไม่เดือดร้อนเพราะจิตบาปอีก จึงเป็นบรมสุขในโลกนี้ และในโลกหน้า ตราบจนกระทั้งพ้นจากโลก.ขอให้ท่านผู้อ่านจงเป็นผู้มีอานุสงฆ์ ได้พ้นจากทุกข์ทั้งปวงด้วยเทอญ.
ที่มา จากหนังสื่อ วัดเนรมิตวิปัสสนา. -
ผู้มีสติจะต้อง...
เป็นผู้ตามเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ
เป็นผู้ตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ
เป็นผู้ตามเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ
เป็นผู้ตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ
ผู้มีสัมปชัญญะต้อง เป็นผู้รู้ตัวรอบคอบ
หากท่านมี ๕ สิ่งติดตัว
๑. ความเข้าใจที่ถูกต้อง
๒. ความมุ่งหมายที่ถูกต้อง
๓. ความพยายามที่ถูกต้อง
๔. ความระลึกที่ถูกต้อง
๕. ความตั้งจิตมั่นไว้ในแนวที่ถูกต้อง
ท่านก็เอาตัวรอดในครั้งนี้และครั้งต่อๆไปได้แล้วล่ะครับ :love: -
เพราะไม่รู้อริยสัจ จึงต้องแล่นไปในสังสารวัฏ / พุทธวจน
The Buddha's Teaching
แผนภูมิ ธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า
การวนเวียนอยู่ในทุกข์
หนทางดับทุกข์
หลักธรรม ๑๐ ประการจดจำง่าย
หมายเหตุ ก็อปเขามาอีกที เผื่อเป็นวิธี ที่ทำให้เธอเข้าใจ และหวังว่าคงจะเข้าใจ ในความปราถนาดี -
จงตั้งจิตให้ตรง ดำรงจิตให้ตั้งมั่น
คือจงมีความศัทธา อันประกอบด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา
ศีล เป็นฝ่ายธรรม จะเป็นเกาะปกป้องคุ้มครองเราจากสิ่งไม่ดีงาม แม้มารก็ห่างไกล
สมาธิ เป็นการตั้งจิตให้จดจ่ออยู่ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ในการนี้ที่เราตั้งจิตเราให้จดจ่ออยู่ที่พระ จนจิตรวมลงเป็นอารมณ์เดียวไม่วอกแวกไม่ฟุ้งซ่าน
ปัญญา ประกอบด้วยปัญญาทางโลก ปัญญาทางธรรม
เพราะเราเป็นปุถุชนคนธรรมดามีครอบครัว มีสามี มีภรรยา มีลูก ต้องดูแล หนีไม่พ้นต้องเกี่ยวพันเป็นภาระ จงทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด เพราะนี่คือสิ่งที่ถูกเรียกว่าหน้าที่ ที่เป็นทางด้านร่างกายเป็นภาระทางโลก ตายแล้วก็จบไม่ต้องทำมันอีกต่อไป
แต่ทางด้านจิตวิญญาณ เป็นหน้าที่ ที่เราต้องบำรุงแสวงหาความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่จิตวิญญาณเราเอง เพราะตายแล้ววิญญาณยังอยู่ จิตวิญญาณจึงต้องมีที่ไป
" จิตดวงเดียวท่องเที่ยวไป เกาะสิ่งไหนเป็นสิ่งนั้น จิตเกาะบุญ ไปเป็น เทวดา นางฟ้า พรหม จิตเกาะบาป ไปเป็น เปรต อสูรกาย สัตว์เดรัจฉาน
แต่จำเอาไป จิตไม่เกาะบุญ เกาะบาป จิตเรียนรู้ปล่อยวาง ไปนิพพาน นะลูกเอ้ย "
ธรรมะ ที่พระพุทธองค์สอนเราทรงหยิบเอาธรรมชาติ มาสอนเราแม้แต่พระองค์ไม่ได้สอนให้เราอยู่แยกตามลำพังกับธรรมชาติ ถ้าอย่างนั้นเราจะเข้าใจธรรมะได้อย่างไร สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ที่เราเข้าไปเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะกับบุคคล กับสิ่งของ กับสัตว์
โดยใช้ตัวเราเป็น ศูนย์กลางการเรียรู้ ผ่านตา หู จมูก(กลิ่น) ลิ้น(รสชาด) กาย(สัมผัส) ใจ (ความรู้สึกนึกคิด)
วิธีที่จะสัมผัสธรรมให้เข้าใจ คือการใช้วิธี สังเกตุ รู้
รับรู้ แล้ววางเฉย (อุเบกขา)
[/SIZE] -
เครื่องวัดความหลง
ได้แก่...
ผู้ใดเห็นความสำคัญ หรือ ให้ความสนใจต่อร่างกายมากกว่าจิตใจ
ก็แปลว่า ยังหลงอยู่
แต่ถ้าผู้ใดเห็นความสำคัญ หรือ ให้ความสนใจต่อจิตใจมากกว่าร่างกาย
ก็แปลว่า ยังไม่หลง
ตกลง หลงหรือไม่หลง อย่างไหนดีกว่า
ขอตอบว่า..ไม่หลงดีกว่า
เพราะคำว่า "หลง" แปลว่า หาทางไม่เจอ หรือ ยังตกอยู่ในวังวนที่เดิม
เพราะคำว่า "หลง" เป็นกิเลสตัวหนึ่ง
เพราะคำว่า "หลง" แต่ถ้าหากผู้ใด หลงมากก็ทุกข์มาก
เพราะคำว่า "หลง" ความหมายคล้ายคลึงกับคำว่า การยึดติด
เพราะฉะนั้นถ้าหากผู้ใด หลงมาก หรือ ยึดติดมาก มีแต่จะทุกข์มากเท่านั้น
แต่ถ้าไม่หลง ไม่ยึดติดเลย ก็จะไม่ทุกข์เลย
แต่ความหมายตรงกันข้ามกับคำว่า หลง หรือ การยึดติด นั่นก็คือ การปล่อยวาง
สรุปแล้ว
ถ้าหากผู้ใด จะออกจากทุกข์ได้ ก็ต้องข้ามคำว่าหลง หรือ การยึดติดให้ได้
โดยการปล่อยวาง
แต่คำว่า "ปล่อยวาง"
ถามต่อไปว่า อะไรทำหน้าที่ปล่อยวาง
ตอบว่า..จิตตนเอง มิใช่เราหรือสติเรา
แต่พวกเราจะรู้จักคำว่า "ปล่อยวาง" นี้เป็นอย่างดี
ปล่อยวางได้สนิทใจ หรือ ไม่ติดใจกันได้ จึงมิใช่เรื่องง่ายๆ
เพราะฉะนั้น
ผู้ที่จะปล่อยวางกับสรรพสิ่ง หรือ สมมุติทั้งหลาย ทั้งปวงนี้ได้
ผู้นั้นจะต้องเริ่มต้น หรือ รู้จักวิธีที่จะทำให้จิตตนเองนิ่งเสียก่อน
นั่นก็คือ การเจริญสติภาวนา หรือ กรรมฐานที่มีอยู่ทั้งหมด ๔๐ กอง
จิตนิ่งได้เมื่อใด ทุกข์ก็คลายลงไป เมื่อนั้น
จิตนิ่งนานๆเข้า ความทุกข์หายไป ความสุขก็จะเข้ามาแทนที่
จิตนิ่งอาจจะแบ่งได้ตามความใจของการปฎิบัติดังนี้ ก็คือ
จิตนิ่งเล็กน้อยหรือขณิกสมาธิ(จิตปุถุชนหรือจิตไม่ได้ปฎิบัติ) จิตแบบนี้ไม่เหมาะสำหรับการปฎิบัติธรรม
จิตนิ่งขนาดกลาง(จิตที่ทรงฌาน) เหมาะสำหรับการปฎิบัติธรรม แต่จิตนิ่งชั่วคราว
เพราะถ้าฌานถอยหรือฌานเสื่อม จิตก็ไม่นิ่งหรือวิ่งไปตามกระแสโลกได้เหมือนเดิม
แต่จิตนิ่งมาก(จิตที่สอบผ่านวิปัสสนาญาณหรือญาณ) จิตถึงจะนิ่งอย่างถาวร
จิตในที่นี้จะหมายถึง ผู้ที่มีอินทรีย์ที่แก่กล้าแล้วเท่านั้น เพราะจิตได้ญาณแล้ว หลอกไม่ได้แล้ว
แต่ก็ประมาทไม่ได้อยู่ดี เพราะตราบใดยังครองขันธ์ ๕ ยังถือว่าไม่บริสุทธิ์
สรุปแล้วผู้ที่จะออกจากความทุกข์ จะข้ามให้พ้นคำว่า หลง หรือ การยึดติด
และนำจิตไปสู่การปล่อยวางจากสรรพสิ่งทั้งปวงนี้ได้
ตอนนี้มีอยู่หนทางเดียว นั่นก็คือ การนำจิตมาเจริญอริยมรรค หรือ มรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น
นอกนั้น ไม่มี
การปฎิบัติจิตเกาะพระ
ก็เป็นวิธีหนึ่งที่จะนำจิตพวกเราให้ออกจากทุกข์นี้ได้
เพราะจิตเกาะพระ ก็นำจิตของผู้ปฎิบัติเดินตามรอยมรรค์มีองค์ ๘ เช่นเดียวกัน
-
ธรรมะมีเรื่องที่จะต้องปฏิบัติ ๒ อย่าง.
ธรรมะมีเรื่องปฏิบัติ ๒ อย่าง คือ ละชั่ว กับ ปพฤติดี.
การละชั่ว ได้แก่ศิล มีความหมายเท่ากับขจดเสียด ไล่สนิม.
ความชั่วมันทำลายมนุษย์ เหมือนกับสนิมมันทำลายเหล็ก
สนิมเกิดจากเหล็ก แล้วก็ทำลายเหล็ก ฉันใด.
ความชั่วมันเกิดจากคน แล้วมันก็ทำลายคนฉันนั้น.
เหล็กถ้ามันถูกน้ำ สนิมมันก็จะเกาะ แต่ถ้าเราเอาธรรมะนี้. มาใช้กับเราเอง.
เช่นเราเคยทำชั่ว เรารู้ตัวเปลี่ยนมาทำความดีก็ยังไม่สายเกินไปเพราะใจเราขัดได้.
เปลี่ยนมาเป็นประพฤติดี สนิมที่เกาะก็จะค่อยๆจางลงใสสะอาดหมดจด เพราะการปพฤติ
ดีของเรา ยังไม่สายเกินไปที่จะเปลี่ยนจากการทำชั่ว มาทำความดี และประพฤติดี
ละชั่ว มีศิล ประพฤติดี แล้วจิตใจเราก็จะสะอาด สนิมก็เกาะไม่ได้ เมื่อสนิมเกาะไม่ได้
ใจเราบริสุทธิ์ ทีนี้เราคิดอะไร จะทำอะไรในทางที่ดีที่ถูกมันก็จะไม่มีอะไรมาขัดขวางเรา
เราจะเห็นผลดีในการกระทำนั้นง่ายขึ้น เพราะทำด้วยใจมีศิลธรรม ขอฝากไว้กับผู้อ่านทุกๆ
ท่านค่ะ.
-
บทเพลงจากพระนิพพาน :: ดอกบัวบานเมื่อบำเพ็ญ......
[ame=http://www.youtube.com/watch?v=SyiGgFFUar0]ดอกบัวงามเมื่อบำเพ็ญ - YouTube[/ame]
ปัญญาญาณปางก่อนเลือนรางหายไป
เมื่อมีกายต้องกรำทุกข์ เวียนวนอย่างนั้น
อวิชชามากมาย มามัดใจยากเปลี่ยนผัน
เหล่าเวไนยเกี่ยวกรรมกันมาแสนนาน
มือจูงมือเร่งช่วยพี่น้องรับธรรม
ขอแจ้งธรรมในการณ์นี้ ถึงกาลสุดท้าย
อย่าเพียงพบ แล้วลา ใจพุทธะต้องห่างหาย
จากนาวาต้องตรมทุกข์ ยากพ้นวัฏฏะ
จิตแห่งฟ้าจงรักษาให้ประคองไว้
ดำเนินธรรมที่ตั้งใจ เพื่อไปสู่แดนนิพพาน ศรัทธาพร้อมร่วมกัน เซียนน้องพี่รอเบื้องบน
สิ้นปุถุชน ดอกบัวงดงาม
สายน้ำเอย คือกาลที่มันไหลไป แม้ร่างกายต้องสลาย
แล้วพลันดับไป แต่จิตธรรมของเรา
จะไม่มีวันเสื่อมคลาย ยังมีกาย
จิตสวยงามบำเพ็ญให้ดี
จากกายไป จิตสวยงามยังคงเช่นเดิม
=========================
วัน เวลา หมุนเวียน เปลี่ยนไป ขอเพียงคงไว้ซึ่งจิตเดิม "จิตพุทธะ" ...ธรรมะสวัสดี -
วจนะจากพระไตรปิฏก. การที่ คน ยืน เดิน นั่ง นอน คู้เขา หรือเหยียดออก นี่เป็นความ
เคลื่อนไหวของร่างกาย. ปุถุชนผู้มีปัญญาน้อยย่อมไม่พิจารณาเห็นตามความเป็นจริงถึงร่าง
กาย ที่มีกระดูกเป็นโครงร่างรึงรัดด้วยเส้นเอ็นฉาบทาด้วยเนื้อหนังมีผิวหนังหุ้มไว้หาความสะอาดไม่ได้มี่กลิ่นเหม็นเป็นสุสานฝังซากศพสัตว์มากมายหลายชนิด ขับถ่ายของไม่สะอาดมีน้ำลายน้ำมูกเป็นต้น ให้ไหลออกมาทางทวาร๙ ขับเหงื่อไคลให้ไหลออกทางรูขุมขนนั้นๆู้ิ
ต้องบำรุงรักษาไว้ให้สะอาดอยู่เสมอ. ผู้ที่เข้าใจผิดคิดแต่จะยกย่องตัวเอง ดูหมิ่นคนอื่นจะมีประโยนช์อะไร
ซ้ำกลับจะไม่รู้แจ้งเห็นจริงในอริยสัจ๔เสียอีก.
หน้า 480 ของ 857