สวัสดีครับ บุญกุศลนั้นเป็นกระแสพลังและเป็นสิ่งที่เราสามารถที่จะสัมผัสได้
ถึงในกระแสแห่งบุญกุศลนั้นฯถ้าจิตเราถึง การที่บอกว่ายิ่งให้ยิ่งได้นั้น
คนเรา ไปแปลความหมายที่ไม่ตรงนักครับ ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจ
เรื่องบุญก่อนครับ เพราะเราจะไม่สามารถจะให้ในสิ่งที่เราไม่มีได้ ครับ
และบุญที่ให้ กับบุญที่ใด้รับจากการให้หรือการอนุโมทนา นั้นเป็นคนละอย่างกันครับ เราจึงใช้คำว่าส่วนบุญ ไม่ไช่เราไปเที่ยวยกให้ใครต่อใครจนหมด
แล้วเราไม่มีบุญกุศลเหลืออยู่เลยครับ ถ้าบุญกุศลให้แล้วไม่มีหมดจริงเราก็คงจะสร้างบุญกุศลกันเพียงแค่คนละครั้งเดียวเท่านั้นครับ
เจริญธรรมมาด้วยเมตตาจิต
จิตพร้อม? รับภัยพิบัติ
ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ภูภู, 6 เมษายน 2012.
หน้า 485 ของ 857
-
ไฟล์ที่แนบมา:
-
-
หากที่เรากล่าวไปกระทบจิตผู้ใดเราขอขมามา ณ.ที่นี้ -
[ame=http://www.youtube.com/watch?v=wVS3plQ4Ijw]โลกนี้คือละคร-สุเทพ วงศ์กำแหง.wmv - YouTube[/ame]
..โลกนี้คือละคร..แต่ละคนก็เล่นไปตามบท..ที่กรรมเป็นผู้กำกับ..
-
-
แต่สำหรับผู้ปฏิบัติที่เห็นทุกข์เห็นโทษ
ต่างก็พากันแหกหนีออกจากโรงละครแห่งนี้...
สาธุครับ -
บุญกุศลนั้นเป็นกระแสพลังสงบเย็นชุ่มฉ่ำจะมีแสงและรัศมีแห่งบุญกุศลนั้นแผ่ไปรอบ
กายของผู้ที่มีจิตเป็นบุญกุศล จะมีน้อยหรือมากขึ้นอยู่กับบุญกุศลและบุญบารมี ของแต่ละท่านได้สั่งสมมาตั้งแต่ในอดีดชาติ จนถึงปัจจุบัน พลังแสงและรัศมีจะสามารถมองเห็นได้
สำหรับเฉพาะผู้ที่ได้ตาทิพย์ หรือที่เราเรียกกันว่าทิพยโสตญาณ และผู้ที่ทรงฌานอยู่
จะสามารถที่จะสัมผัสกระแสพลังบุญกุศลได้เช่นกันทางจิตครับ
ส่วนมากที่เราส่งบุญกุศลไปเทพเทวดานั้นจะเห็นกระแสและแสงพลังแห่งบุญกุศลก่อนใครและจะมาคอยรับตักตวงและขอแบ่งไปก่อนที่จะถึงผู้รับครับมิไช่ผู้รับจะได้บุญไปเต็มเสมอไป
เรียกว่าถูกตัดตอนครับ
เจริญธรรมมาต้วยเมตตาจิตไฟล์ที่แนบมา:
-
-
กรุณา อธิบายต่อเลยค่ะ ยังไม่จบเพียงแค่นี่ คุณคมสันต์
เรื่องการอุทิศบุญน่ะค่ะ -
หรืออยู่ที่ในภพภูมิต่างฯก็จะไม่สามารถมารับในส่วนบุญกุศลที่เราได้อุทิศไปได้
บุญกุศลที่เราอุทิศไปให้นั้นก็จะกลับมาหาเรา เหมือนเดิมครับ คือจะต้องมีความพร้อมทางจิตทั้งผู้ให้และผู้ที่จะรอรับครับ -
เอาอีกๆ พี่ภู กำลังติดตาม+ตามติดธรรมะของเธออยู่นะ
แต่กว่าจิตจะเข้าสู่ความว่างมากๆ หรือ กว่าจิตจะเข้าถึงพุทธะนี้ มิใช่ง่ายๆ
แต่ก็ไม่อยากสำหรับผู้ที่มีอินทรีย์แก่กล้า
ก่อนที่จิตเจริญหรือพัฒนามาถึงจุดๆนี้ จิตจะต้องผ่าน การเจริญสติภาวนา(เพาะจิต)
จนจิตนิ่งเสียก่อน จิตถึงจะไปต่อก็คือ ปิติหรือสมาธิระดับอุปจารสมาธิ(เฉียดฌาน)
จนถึงสมาธิล้วนๆก็คือ ฌานหรืออัปปนาสมาธิ
จิตทรงฌาน+ฌานอย่างต่อเนื่อง=จิตจึงจะเข้าสู่วิปัสสนาอัตโนมัติของเขาเอง
โดยที่เรา(สติ)ก็ไม่สามารถทำให้จิตเขาวิปัสสนาเองได้
เมื่อจิตเข้าวิปัสสนาเองได้แล้ว ในระหว่างแหล่ะ ผู้ปฎิบัติส่วนใหญ่มักจะมีสติตามจิตไม่ทัน
ถึงอย่างไรก้ไม่ทัน จะทันต้องรอจิตหยุดนิ่งโน้นแหล่ะ ถึงบางอ้อ บางอ๊าวกัน
หรือรอจนกว่ากายใจจะปรับตัวกันทัน
เมื่อจิตมาถึงตรงนี้แล้ว นั่นก็หมายถึง จากที่จิตเคยทรงฌาน จิตก็จะเกิดญาณรู้ต่างๆ
และจนพัฒนาไปได้สูงสุดตอนนี้ เห็นจะมีแต่ จิตเป็นพุทธะ
หรือจิต+สติ=จิตปัญญา=จิตถึงจะเป็นผู้ดู +ผู้รู้รู้ และปล่อยวางเฉยได้ เกือบจะทั้งหมด
จิตยิ่งละเอียดมาก ก็ย่อมรู้มาก เป็นธรรมดา
ยิ่งยิ่งละเอียดมาก ก็ย่อมเห็นนิมิตต่างๆนานา เป็นธรรมดา
สรุปแล้ว เรา(จิต)ไปเห็น ไปรู้ ไปรู้สึกอะไรมาก็ตาม จะต้องวางให้เป็น
แต่ถ้าใครรู้แล้ว และวางไม่เป็น นั่นก็แสดงว่า เรากำลังไปสร้างอัตตาขึ้นมาใหม่แล้ว
ก่อนการปฎิบัติพวกเราคงจะจำกันได้ใช่ไหม๊ว่า เราปฎิบัติธรรมก็เพื่ออะไร
ถ้าไม่ใช่เพื่อความหลุดพ้น
ผู้ที่จะหลุดพ้นได้สนิทใจนั้น ก็คือ ผู้ที่รู้และวาง เท่านั้น
ขอให้ผู้ปฎิบัติธรรมทั้งหลายทั้งปวง ลองไปถามใจของตนเองกันดูนะว่า
ท่านมาปฎิบัติธรรมเพื่ออะไร?
เพื่อความหลุดพ้น
แต่ถ้าต้องการหลุดพ้นนั้น ก็ต้องรู้จักคำว่า ปล่อยวาง
แต่ถ้าผู้ปฎิบัติท่านใด ไม่รู้จักคำว่า ปล่อยวางแล้ว ก็จะไม่รู้จักคำว่า หลุดพ้น
-
ธรรมชาติแห่งจิต
ตามปรกติ จิตจะไม่ชอบอยู่นิ่งเฉย ชอบเรียนรู้ไปเรื่อยๆ หรือ คนที่มีความลังเล-คนที่ขี้สงสัย
จิตจะนิ่ง จิตจะใส จิตจะบริสุทธิ์
จิตจะเป็นบุญ เป็นกุศล หรือ จิตจะเป็นพุทธะ ไม่ได้หรอก
เจ้าของจิตจะต้องทำเหตุให้ดีเสียก่อน
เริ่มต้น...(บันไดบุญ)
การทำบุญภายนอก เช่น การทำบุญทำทานเล็กๆน้อยๆ สร้างกุฎิ สร้างโบสถ์
การทำบุญภายนอกเพื่อจะนำไปสู่การทำบุญภายในหรือเข้าถึงการปฎิบัติ เช่น สวดมนต์ไหว้พระ ฟังเทศน์ ฟังธรรม
เมื่อจิตใจเริ่มเข้าถึงความละเอียดได้บ้างแล้ว เราก็อยากทำบุญภายในหรือปฎิบัติธรรม เช่น การเจริญสติภาวนา
และมีวิธีเดียวที่จะทำให้นิสัยของคนเราเปลี่ยนไปในทิศทางที่ดี
นั่นก็คือ การเจริญพระกรรมฐาน หรือ การเจริญสติภาวนา
แถมเพลงสากลเพราะๆ
https://www.youtube.com/watch?NR=1&v=xSTGwyJiqmg&feature=endscreen -
นิสัยเมื่อก่อน..
ก่อนปฎิบัติธรรม
สับสน+ลังเล+สงสัย
ชายมั่น ติดตัวรู้(กรูรู้แล้ว มรึงไม่ต้องบอกกรู)
"Ego" mean the "self", "identity" or other related concepts.
ทฤษฎีธรรมะสอบเต็มร้อย รู้+เข้าใจหมดแร๊ะ
แต่ทำไม๊ ปฎิบัติตามไม่ได้ทันทีทันใด (มีคำถามปัจจุบันนะ)
ระหว่างปฎิบัติธรรม
ปิดการรับรู้กับทางโลกเลย
เช่น ไม่ดูทีวี ไม่อ่านหนังสือพิมพ์
ห่างเพื่อน ไม่อยากพูดกับใคร พูดน้อย กินน้อย เรียบง่าย
ปฎิบัติมากกว่าปริยัติ อยู่กับกายใจตนเองมาก ตัดจากโลกภายนอก
ไม่เป็นทาสเวลา ไม่เป็นทาสสตีฟจ๊อบส์(Steven Paul Jobs)
หลังปฎิบัติธรรม
รู้+วาง=เฉย(นิ่ง+รู้รู้)=จิตปัญญา=เรา(จิต)เป็นผู้ดู
ชนกิเลสตนเองทั้งหมด มิใช่ไปหาชนกิเลผู้อื่น
มิใช่ไปหนีปลีวิเวก ต้องอยู่ได้ทั้งทางธรรมและทั้งทางโลกด้วย
หาข้อสอบทำหลังการปฎิบัติ เพราะการปฎิบัติธรรมนั้น ไม่มีข้อสอบ
มีแต่ปฎิบัติ
แล้วเราจะรู้ไหม๊ว่า ที่เราปฎิบัติมายาวนานนั้น จะสอบผ่านหรือไม่?
การปฎิบัติธรรมสำคัญที่สุดก็คือ ผลของการปฎิบัติ
ผลของการปฎิบัติก็คือ ปฎิเวธ
เพราะปริยัติเกิดขึ้นได้ก็เพราะ ผลของการปฎิบัติธรรม หรือ ปฎิเวธ
บทสรุปของการปฎิบัติธรรม แนวจิตเกาะพระ
ที่ชัดเจน ได้แก่
๑.จิตใจเปลี่ยนไปมากน้อยเพียงใด เช่น จากเมื่อก่อนเป็นคนที่โกรธง่าย แต่ตอนนี้ไม่มี
๒.ไม่เรื่องมาก อยู่ง่ายกินง่าย ไม่มีตัวตน+มานะ
๓.ลมหายใจแผ่วเบา เพราะเราใช้พลังจิตน้อย
๔.แยกกาย แยกจิตได้ชัดเจน
๕.อยู่เหนือขันธ์๕ อยู่เหนืออารมณ์
๖.ออกจากทุกข์ได้
๗.เข้าใจผู้อื่นมากกว่าตนเอง
๘.ชอบช่วยผู้อื่นมากกว่าตนเอง เพราะเข้าใจคำว่า อนัตตา
เป็นต้น
ปล.ขอให้ผู้ปฎิบัติท่านอื่นๆมาแชร์กันบ้างนะ
แถมเพลงเพราะๆ
https://www.youtube.com/watch?v=zS0q4PQp7V4 -
-
การทำให้จิตว่าง
(วันนี้ขอสอนจิตบุญลูกศิษย์ออกอากาศซักหน่อย..)
อ๋อ..ที่แท้จิตท่านนี้ก็เป็น"ปัญญินทรีย์จริต" เป็นตัวนำนั่นเอง..555
การทำจิตให้ว่าง เกิดขึ้นได้2ระดับคือ
1. กำหนดทำ(ตั้งใจกระทำ)
2. ไม่กำหนดทำ(แต่จิตทำเอง-จากปัญญาญาณ)
1. การกำหนดทำหรือตั้งใจจะกระทำให้จิตว่าง แท้จริงแล้วก็คือการเดินทางไปสู่"เจโตวิมุติ" อันเป็นความว่างที่เกิดจากฝ่ายสมถะเริ่มตั้งแต่ฌาน1ไปจนถึงฌาน8ตามลำดับ โดยกุศโลบายกรรมฐานวิธีต่างๆ ซึ่งเราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้"สติ"ไปประคอง"จิต"ด้วยอุบายกรรมฐาน ตัดทิ้งนิวรณ์5 เพื่อเข้าสู่ความว่างชั่วคราวซึ่งอาศัยกำลังแห่งฌานสมาบัติกดทับเอาไว้
(ความว่างชั่วคราว-เพราะว่าเมื่อใดที่เราจะต้องนำสติไปทำภาระกิจอย่างอื่นแล้ว ไม่สามารถมานั่งประคองจิตอยู่ตลอดเวลาได้ เมื่อนั้นเจ้าความว่างนั้นก็จะค่อยๆจางหายไป)
2. การไม่กำหนดทำหรือไม่ได้ตั้งใจจะกระทำให้จิตว่าง แต่ว่าจิตเขาว่างของเขาเอง แท้จริงแล้วก็คือการเดินทางไปสู่"ปัญญาวิมุติ"(การเดินมรรคขั้นสูง) อันเป็นความว่างที่เกิดจากวิปัสสนาญาณ ปัญญาญาณตามลำดับ จนกระทั่งจิตเขาละวางสรรพสิ่งต่างๆลงได้ทั้งหมดด้วยปัญญาวิมุติอย่างเป็นอัตโนมัติ(ญาณ)ด้วยตัวของจิตเอง โดยที่"สติ"ตามดูตามรู้คือ มีหน้าที่เป็นแค่เพียงท่านผู้ชมอย่างเดียว
นี้แล..จึงจะเป็นความว่างอย่างถาวรหรือที่หลายๆท่านเรียกกันว่า พระอรหันต์, นิพพาน, นิโรธ, จิตประภัสสร, จิตพุทธะ, สุญญตาวิหาร, ว่างมหาศาล, ดับไม่เหลือเชื้อ, ปัญญาวิมุติ, เจโตวิมุติที่ไม่หวนกำเริบอีก, รู้แจ้งแทงตลอด, จบกิจ(แบบปัตติผล), ฯลฯ สุดแล้วแต่ว่าจะเรียกอะไร แต่ปลายทางแล้วนั้นก็คือ"สิ่งๆเดียวกัน"
หลักในการเดินทางไปสู่ความว่างแบบง่ายๆ(พูดง่าย ทำไม่ง่ายนะครับ..555 แต่ก็ต้องทำ!..)
- ค่อยๆเอา"ของเดิม"ที่คั่งค้างอยู่ในจิตตนเองออกเสียให้หมด ค่อยๆละวางลงทีละเรื่องสองเรื่อง(ก็คือการเดินมรรคพื้นฐานนั่นเอง-ถอดถอนอุปาทานทั้งมวล) ออกไปจนหมดสิ้น(ก็ด้วยการวิปัสสนาพิจารณาอย่างถ่องแท้ ด้วยปัญญา เข้าใจกฎแห่งธรรมชาติแล้วจึงวางลง)
- แล้วอย่าพยายามไปเติม"สิ่งใหม่"เข้ามาในจิตอีก หมายถึงว่าแค่เพียง รู้-วางเท่านั้นพอ อย่าไป"ยึดโยงเข้ามาในจิตให้เพิ่มขึ้นอีก" ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็แล้วแต่(เพราะยิ่งไปยึด ไปแบกมัน ไปหามมัน มันก็หนัก!.. หากว่าเราเพียงละวางมันลงซะ มันก็เบาสบายๆ..ว่างๆอยู่อย่างนั้น..)
- หมั่นมี"สติ"(หรือ"มหาสติ"ถ้าทำได้)ตั้งมั่นอยู่บนความไม่ประมาททั้งปวง ในทุกๆปัจจัยกระทบและ/หรือทุกๆเรื่อง หมั่นพิจารณาเข้าไปๆว่า ในวันหนึ่งๆเราตัก"สิ่งๆหนึ่ง"เข้ามาในจิตเพิ่มให้หนักขึ้น หรือเรากำลังตักสิ่งๆหนึ่งให้ออกไปจากจิตตนเองให้มันมีพื้นที่ความว่างมากขึ้น อยู่ตลอดทุกเมื่อเชื่อวันหรือไม่?" ==> ท่านจะทราบของท่านเองว่า"สุดท้ายแล้ว จิตท่านมันมุ่งไปสู่ความหนักมากยิ่งๆขึ้น หรือว่าเบาบางลงจนกระทั่งมันว่าง..ว่างอย่างที่สุด!.."
ปล.เว้นจากพระสัพพัญญูแล้ว "ไม่มีใครที่จะล่วงรู้วาระจิตของเราเองได้ดีไปกว่า สติสัมปชัญญะของตัวเราเอง.." จงจำเอาไว้!
จงมีศรัทธา เชื่อมั่นใน "สติ+สัมปชัญญะ"แห่งตนเอง..(แบบสัมมาทิฏฐิด้วยนะครับ)
อะไรที่มีคำว่า"สัมมา"นำหน้า เรื่องนั้นๆก็คือ เรื่องที่เป็นไปเพื่อมุ่งสู่ความหลุดพ้น ปล่อยวางลง ไม่ยึดติดและไม่ถูกอวิชชาเข้าครอบงำให้"หลงทาง".. สังเกตุดูได้ง่ายๆว่าเรื่องนั้นจะอยู่ภายใต้ ศีล สมาธิ ปัญญาเท่านั้น
หากเรื่องนั้นๆก่อกำเนิดมาจาก"อภิญญา" ทุกๆท่านจงพึงระวัง พึงระวัง และพึงระวังให้มาก.. อย่าหลงทาง! ให้เดินตรงมุ่งสู่มรรคผลนิพพาน(อย่างแท้จริง) อย่าเดินอ้อมหรือเดินตกข้างทางนะครับ..
"ธรรมะผุดรู้"ที่เกิดขึ้นใดๆก็แล้วแต่ สามารถที่จะนำมาเปรียบเทียบกับพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าหรือพระอรหันต์สาวกเจ้า(ซึ่งได้รับการพิสูจน์มาแล้วว่าเป็น"พระสัทธรรม" จริงแท้แน่นอนไม่หลงทาง..) หากธรรมะผุดรู้นั้น สอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับพระพุทธธรรมแล้วไซร้ ทุกๆท่านจงร่วมโมทนาสาธุด้วย หากมิใช่ก็...หรืออุเบกขาไป ก็เท่านั้นเอง
ไม่มีไรแค่มาบ่นยามเช้าให้ฟังกัน เพราะเห็นจิตบุญลูกศิษย์loveอยู่หลายๆท่านกำลังสาระวนกับการออกไปแสวงหา ขนขวายบางสิ่งบางอย่าง เอามาแบก เอามาหามให้มันหนักมากยิ่งๆขึ้น จึงแค่จะเตือนสติลูกศิษย์loveกัน ให้ละและวางลง มีเพียงสติของตนเองเท่านั้นที่หมั่นตามรู้ตามดูจิตของตนเองให้มากๆเข้าไว้ ปล่อยให้วิบากกรรมต่างๆได้ทำหน้าที่ของมันไป เพียงแค่เราไม่เข้าไปยึดว่าเป็น"ตัวกู+ของกู"ซะแล้ว ก็พอจะมีทางเห็นได้ว่า"จิตนั้นพอจะมีโอกาสรอด"ได้อย่างจริงแท้แน่นอน.. สาธุครับ
ขอให้ทุกๆท่านเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปด้วยเทอญ.. สาธุสวัสดี -
https://www.youtube.com/watch?v=qu4S736SHos
พี่ภูขอส่งกำลังใจช่วยครูเพ็ญ
จิตบุญทุกท่าน และทุกท่านในที่นี้ด้วย
ขอให้ท่านผ่านพ้นไปด้วยดี
"ด่านวัดกำลังใจ"
ใช่ว่าพี่ภู ไม่ได้โดนวัด โดนหนักเหมือนกัน
ว่าแต่ว่า..จิตใครจะนิ่งมากกว่ากัน
เมื่อทุกคนเกิดมาแล้ว ย่อมไม่มีอะไรได้ดั่งใจปรารถนาไปเสียทุกอย่าง
พี่ภูขอให้พวกเราได้จิตปัญญา ก็คือ จิตเป็นผู้ดู มิใช่ผู้ตาม
เพราะธรรมอะไร ไม่สำคัญเท่ากับจิตตนเอง
เพราะจิตนิ่งเท่านั้น จึงสุขได้ จึงไร้ทุกข์
จิตว่างหรือจิตอนัตตาเท่านั้น จึงไร้สุข จึงไร้ทุกข์
การสร้างสติ
จิตปุถุชน คอยหมั่นเจริญสติภาวนา
จิตเกาะพระ คอยหมั่นนึกถึงพระ
จิตบำเพ็ญและจิตบุญ คอยหมั่นทรงฌานเป็นนิจ
จิตพุทธะ คอยหมั่นทรงอารมณ์พระพุทธเจ้า
-
อย่างเช่นเราพึ่งออกจากกรรมฐาน กำลังบุญกุศลหรือแสงแห่งบุญนั้นกำลังสูงมากๆ ครั้นจะอุทิศให้แก่ดวงจิตสัมพเวสีเลย เปรียบไปดั่งเช่น "โยนน้ำตาลทั้งกระสอบไปทับมดตัวนึง" มดตัวนั้นคงจะตายก่อนจะได้กินน้ำตาลพอดี หากถ้าเป็นดวงจิตที่ภูมิสูง ท่านสามารถรับได้สบายๆเลย(ถ้าเราอุทิศให้ท่านนะ)
ดังนั้นแล้ว การอารธนาแปรเปลี่ยนบุญจึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอยู่ไม่น้อยเลย..
ขอโมทนาสาธุกับคุณคมสันต์usaด้วยครับ สาธุ สาธุ -
ปรารภธรรมะให้ฟัง
ปรารภธรรมะให้ฟัง
คราวหนึ่ง หลวงปู่ดูลย์กล่าวปรารภธรรมะให้ฟังว่า เราเคยตั้งสัจจะจะอ่านพระไตรปิฎกจนจบ ในพรรษาที่ ๒๔๙๕ เพื่อสำรวจดูว่าจุดจบของพระพุทธศาสนาอยู่ตรงไหน ที่สุดแห่งสัจจธรรม หรือที่สุดของทุกข์นั้น อยู่ตรงไหน พระพุทธเจ้าทรงกล่าวสรุปไว้ว่าอย่างไร ครั้นอ่านไป ตริตรองไปกระทั่งถึงจบ ก็ไม่เห็นตรงไหนที่มีสัมผัสอันลึกซึ้งถึงจิตของเราให้ตัดสินใจได้ว่า นี่คือที่สิ้นสุดแห่งทุกข์ ที่สุดแห่งมรรคผล หรือที่เรียกว่านิพพาน ฯ
มีอยู่ตอนหนึ่ง คือ ครั้งนั้นพระสารีบุตรออกจากนิโรธสมาบัติใหม่ๆ พระพุทธเจ้าตรัสเชิงสนทนาธรรมว่า สารีบุตร สีผิวของเธอผ่องใสยิ่งนัก วรรณะของเธอหมดจดผุดผ่องยิ่งนัก อะไรเป็นวิหารธรรมของเธอ พระสารีบุตรกราบทูลว่า "ความว่างเปล่าเป็นวิหารธรรมของข้าพระองค์" (สุญฺญตาวิหาร) ฯ
ก็เห็นมีเพียงแค่นี้แหละ ที่มาสัมผัสจิตของเรา.
จบพระไตรปิฎกหมดแล้ว จำพระธรรมได้มากมาย พูดเก่งอธิบายได้อย่างซาบซึ้ง มีคนเคารพนับถือมาก ทำการก่อสร้างวัตถุไว้ได้อย่างมากมาย หรือสามารถอธิบายถึง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ได้อย่างละเอียดแค่ไหนก็ตาม "ถ้ายังประมาทอยู่ ก็นับว่ายังไม่ได้รสชาติของพระศาสนาแต่ประการใดเลย เพราะสิ่งเหล่านี้ยังเป็นของภายนอกทั้งนั้น เมื่อพูดถึงประโยชน์ ก็เป็นประโยชน์ภายนอกคือเป็นไปเพื่อสงเคราะห์สังคม เพื่อสงเคราะห์ผู้อื่น เพื่อสงเคราะห์อนุชนรุ่นหลัง หรือเป็นสัญญลักษณ์ของศาสนวัตถุ ส่วนประโยชน์ของตนที่แท้นั้น คือ ความพ้นทุกข์ "จะพ้นทุกข์ได้ต่อเมื่อรู้ จิตหนึ่ง.."
ขอให้ทุกๆท่านเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปด้วยเทอญ.. สาธุสวัสดี -
อำนาจของพระรัตนตรัย นั้น ด้วยมหาพุทธานุภาพ ด้วยมหาธรรมานุภาพ ด้วยมหาสังฆานุภาพ มีอานุภาพไม่มีประมาณ นอกจากสามารถอาราธนา แปรสภาพบุญให้แก่จิตวิญญาณผู้ที่จะรับให้สามารถรับบุญได้แล้วนั้น
ด้วยอำนาจของพระรัตนตรัย นี้ยังสามารถอาราธนา เพื่อเบิกบุญเก่าที่เราได้เคยสร้างสั่งสมไว้ อันกองบุญที่สะสมไว้ในทิพย์วิมาน เมื่อเราอาราธนา เบิกบุญ แสงสว่างแห่งบุญนั้น ก็จะสว่างจ้าเคลื่อนจากทิพย์วิมาน ลงมายังจิตของผู้อาราธนา เมื่อถึงเวลานั้น ผู้อาราธนาก็สามารถอุทิศบุญอันเป็นแสงสว่างนั้น ให้แก่จิตทั้งหลายได้ จิตทั้งหลายเมื่อเห็นในแสงสว่างแห่งบุญที่เคลื่อนลงมาก็สามารถอนุโมทนารับในบุญเหล่านั้นได้ครับ
ไหนๆก็ไหนๆแล้วขอเสริมอีกว่า
อนึ่งผู้ทรงฌาณ ย่อมสามารถอาราธนา อำนาจแห่งพระรัตนตรัยด้วยกำลังแห่งฌาณ ขอบารมีแห่งพระรัตนตรัย เปิดทั้ง3ไตรภูมิ เพื่อการแผ่และอุทิศบุญของตนให้ทั่วถึงทุกสรรพสัตว์ทั้ง3ไตรภูมิ ก็สามารถทำได้ ด้วยอำนาจแห่ง พุทธานุภาพ ธรรมานุภาพ สังฆานุภาพ ย่อมสามารถเปิดทั้ง3ไตรภูมิ เมื่อ3ไตรภูมิเปิดแล้ว หรือที่เรียกว่าเปิดโลกทุกชั้นภพแล้ว เหล่าจิตวิญญาณทั้งหลายทั้ง นรก บาดาล มนุษย์ สวรรค์ ทุกชั้นย่อมเปิดออก แสงสว่างแห่งบุญที่เกิดในขณะนั้นย่อมสามารถปรากฏให้เห็นได้ชัดทั่วทั้ง3ไตรภูมิเหมือนอยู่ใกล้กันกับจิตทั้งหลาย จิตทั้งหลายทั้ง3ไตรภูมิเมื่อเห็นปรากฏนิมิตและเห็นในแสงสว่างแห่งบุญนี้ ก็สามารถอนุโมทนาในบุญนี้ได้ ยังความปิติสุขเกิดขึ้นแก่จิตทั้งหลายเหล่านั้นได้ชั่ววาระหนึ่งครับ
แต่วิธีนี้ผู้ที่จะทำการอุทิศบุญแบบนี้ได้นั้น ย่อมต้องเป็นผู้ที่จิตทรงฌาณมีกำลังแห่งสมาธิฌาณที่แก่กล้าพอสมควร จึงสามารถกระทำได้ครับ
การอุทิศบุญที่กระผมกล่าวให้ฟังนี้ ใจความสาระก็มีประมาณนี้ครับสาธุ สาธุ สาธุ
-
กล่าวได้ชอบแล้ว ชอบแล้ว.. สาธุ สาธุ -
โพธิปักขิยธรรม
โพธิปักขิยธรรม
(จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)
โพธิปักขิยธรรม หรือ โพธิปักขิยธรรม 37 เป็นธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ คือ เกื้อกูลแก่การตรัสรู้ เกื้อหนุนแก่อริยมรรค มี 37 ประการคือ
สติปัฏฐาน 4
สัมมัปปธาน 4
อิทธิบาท 4
อินทรีย์ 5
พละ 5
โพชฌงค์ 7
มรรคมีองค์ 8
โพธิปักขิยธรรม ในบางแห่งตรัสหมายถึงโพชฌงค์ 7 เช่น
"ภิกษุทั้งหลาย ก็โพธิปักขิยธรรมเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ เป็นโพธิปักขิยธรรมย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ วิริยินทรีย์ ... สตินทรีย์ ... สมาธินทรีย์ ...ปัญญินทรีย์ เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้."
"ภิกษุทั้งหลาย บรรดาสัตว์ดิรัจฉานทุกจำพวก สีหมฤคราช โลกกล่าวว่า เป็นยอดของสัตว์เหล่านั้น เพราะมีกำลัง มีฝีเท้า มีความกล้า ฉันใด บรรดาโพธิปักขิยธรรม ทุกอย่าง ปัญญินทรีย์ เรากล่าวว่า เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความ ตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือนกัน."
ส่วนที่ตรัสถึงโพธิปักขิยธรรม 37 ประการโดยตรง เช่น
"ภิกษุเป็นผู้มีธรรมงามอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วย ความเพียรในการเจริญโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการเนืองๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีธรรมงามอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีศีลงาม มีธรรมงาม ด้วยประการดังนี้ ฯ"
โพธิปักขิยธรรม เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าสามัคคีธรรมมี ๓๗ ประการคือ
๑. สติปัฏฐาน ฐานเป็นที่กำหนดของสติ ๑.๑การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย (กายานุปัสสนา) ๑.๒การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา(เวทนานุปัสสนา) ๑.๓การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต (จิตตานุปัสสนา) ๑.๔การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม (ธรรมานุปัสสนา)
๒. สัมมัปปธาน หลักในการรักษากุศลธรรมไม่ให้เสื่อม ๒.๑การเพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในตน (สังวรปธาน) ๒.๒การเพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว(ปหานปธาน) ๒.๓การเพียรสร้างกุศลให้เกิดขึ้นในตน(ภาวนาปธาน) ๒.๔การเพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ไม้ให้เสื่อมไป(อนุรักขปธาน)
๓. อิทธิบาท เป้าหมายของความเจริญ ๓.๑ความชอบใจทำ พอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น(ฉันทะ) ๓.๒ความแข็งใจทำ เพียรหมั่นประกอบในสิ่งนั้น(วิริยะ) ๓.๓ความตั้งใจทำ เอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้น ไม่ทอดทิ้งธุระ(จิตตะ) ๓.๔ความเข้าใจทำ การใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองหาเหตุผลในสิ่งนั้น(วิมังสา)
๔. อินทรีย์ ๔.๑ให้เกิดความเชื่อ (ศรัทธา) ๔.๒ให้เกิดความเพียร (วิริยะ) ๔.๓ให้เกิดความระลึกได้ (สติ) ๔.๔ให้เกิดความตั้งมั่น (สมาธิ) ๔.๕ให้เกิดความรอบรู้ (ปํญญา)
๕. พละ กำลัง ๕.๑ความเชื่อ (ศรัทธา) ๕.๒ความเพียร (วิริยะ) ๕.๓ความระลึกได้ (สติ) ๕.๔ความตั้งมั่น (สมาธิ) ๕.๕ความรอบรู้ (ปํญญา)
๖. โพชฌงค์ องค์แห่งการตรัสรู้ ๖.๑มีความระลึกได้ (สติ) ๖.๒มีความพิจารณาในธรรม (ธัมมวิจยะ) ๖.๓มีความเพียร (วิริยะ) ๖.๔มีความอิ่มใจ (ปีติ) ๖.๕มีความสงบสบายใจ (ปัสสัทธิ) ๖.๖มีความตั้งมั่น (สมาธิ) ๖.๗มีความวางเฉย (อุเบกขา)
๗. มรรค หนทางดับทุกข์ ๗.๑ใช้เพื่อเห็นชอบ คือ เห็นอริยสัจ (สัมมาทิฏฐิ) ๗.๒ใช้เพื่อดำริชอบ คือ ดำริละเว้นในอกุศลวิตก (สัมมาสังกัปปะ) ๗.๓ใช้เพื่อเจรจาชอบ คือ เว้นจากวจีทุจริต(สัมมาวาจา) ๗.๔ใช้เพื่อทำการงานชอบ คือเว้นจากกายทุจริต (สัมมากัมมันตะ) ๗.๕ใช้เพื่อทำอาชีพชอบ คือ เว้นจาก การเลี้ยงชีพในทางที่ผิด(สัมมาอาชีวะ) ๗.๖ใช้เพื่อเพียรชอบ คือ สัมมัปปธาน (สัมมาวายามะ) ๗.๗ใช้เพื่อระลึกชอบ คือ ระลึกในสติปัฏฐาน ๔(สัมมาสติ) ๗.๘ใช้เพื่อตั้งใจมั่นชอบ คือ เจริญฌานทั้ง ๔ (สัมมาสมาธิ)
ขอให้ทุกๆท่านเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปด้วยเทอญ.. สาธุสวัสดี -
หน้า 485 ของ 857