เอกะจะรัง จิตตัง…จิตดวงเดียวเที่ยวไป
ธรรมโอวาทหลวงพ่อพระราชพรหมยาน
เขาถามว่า จิตมีกี่ดวง บอก เอ๊ะ! ของข้ามันมีดวงเดียวนี่นะ พ่อให้มาดวงเดียว เขาบอกผิดตำรา ถามตำราของแกมีกี่ดวง เขาบอกอย่างย่อมัน ๘๐ อย่างพิสดารมี ๑๒๐ กว่าใช่ไหม…ถามมันติดตรงไหนบ้างล่ะ ติดตั้งแต่ฝ่าส้นตีนขึ้นไปถึงหัวแกใช่ไหม ยังไม่หมดเลย…” (หัวเราะ)
“พระพุทธเจ้าตรัสว่า “เอกะจะรัง จิตตัง…จิตดวงเดียวเที่ยวไป” ไอ้ที่บอกเป็นหลายดวง คืออารมณ์เข้ามาสิงจิตอยู่ใช่ไหม.. อย่างจิตมีความโกรธ จิตมีความโลภ จิตมีความหลง ใช่ไหม.. จิตมีความรัก อารมณ์ของจิตก็ต่างกันไป นั่นมันเป็นอารมณ์ไม่ใช่ดวงจิต ดวงจิตจริงมันดวงเดียว”
ความจริงจิตน่ะ มันดวงเดียว เหมือนน้ำใส ๆ ใส่แก้วใช่ไหม.. ถ้าสีแดงใส่เข้าไป ไอ้น้ำนั่นน่ะออกเป็นสีแดง ถ้าสีเขียวใส่ไปน้ำก็เป็นสีเขียว ไอ้นั่นน้ำเปลี่ยนสีไปเพราะใส่สีเข้าไป จริง ๆ แล้ว น้ำมันใส แก้วมันใส
และที่เราทำเวลานี้ เราทำเพื่อให้จิตใสตามเดิม ถ้าจิตใสตามเดิมก็ไปนิพพานได้
ที่มา fb ศูนย์พุทธศรัทธา
จิตพร้อม? รับภัยพิบัติ
ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ภูภู, 6 เมษายน 2012.
หน้า 523 ของ 857
-
พระคาถายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก (แปล)
๑. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้รู้แจ้งโลก
๒. ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เป็นพระอรหันต์ว่า เป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เป็นพระอรหันต์ ด้วยเศียรเกล้า
ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ทรงตรัสรู้เองโดยชอบว่า เป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ทรงตรัสรู้เอง ด้วยเศียรเกล้า
ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ ด้วยเศียรเกล้า
ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เสด็จไปดีแล้ว ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เสด็จไปดีแล้ว ด้วยเศียรเกล้า
ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้รู้แจ้งโลก ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้รู้แจ้งโลก ด้วยเศียรเกล้า
๓. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นอนุตตะโร คือ ยอดเยี่ยม
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ตื่นจากกิเลส
๔. ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ยอดเยี่ยม ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ยอดเยี่ยม ด้วยเศียรเกล้า
ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ
ด้วยเศียรเกล้า
ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เป็น
ศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ด้วยเศียรเกล้า
ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ตื่นจากกิเลส ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ตื่นจากกิเลส ด้วยเศียรเกล้า
๕. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น รูปขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เวทนาขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น สัญญาขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น สังขารขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น วิญญาณขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว
๖. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ดินจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ไฟจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ลมจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ น้ำจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ อากาศจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์
๗. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ สวรรค์ชั้นยามา
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ สวรรค์ชั้นดุสิต
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ สวรรค์ชั้นนิมมานรดี
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในกามาวจรภูมิ
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในรูปาวจรภูมิ
๘. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ปฐมญาน
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ทุติยญาน
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ตติยญาน
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ จตุตถญาน
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ปัญจมญาน
๙. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในอรูปาวจรภูมิ คือ อากาสานัญจายตนะและเนวสัญญานาสัญญายตนะ
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในอรูปาวจรภูมิ คือ วิญญาณัญจายตนะและเนวสัญญานาสัญญายตนะ
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในอรูปาวจรภูมิ คือ อากิญจัญญายตนะและเนวสัญญานาสัญญายตนะ
๑๐. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระโสดาปัตติมรรค
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระสกิทาคามิมรรค
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระอนาคามิมรรค
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระอรหัตตมรรค
๑๑. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระโสดาปัตติผล และ พระอรหัตตผล
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระสกิทาคามิผล และ พระอรหัตตผล
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระอนาคามิผล และ พระอรหัตตผล
๑๒. ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นอิสสระแห่งชมภูทวีป
ธรรมะฝ่ายกุศล ขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้าห้าพระองค์ ด้วยหัวใจพระวินัยปิฎก ด้วยหัวใจพระสุตตันตปิฎก ด้วยหัวใจพระอภิธรรมปิฎก
ด้วยมนต์คาถา ด้วยหัวใจมรรคสี่ ผลสี่ และ นิพพานหนึ่ง ด้วยหัวใจพระเจ้าสิบชาติทรงแสดงการบำเพ็ญบารมีสิบ
ด้วยหัวใจพระพุทธคุณเก้า ด้วยหัวใจพระไตรรัตนคุณ ธรรมะฝ่ายกุศล มีนัยอันวิจิตรพิสดาร
๑๓. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต
๑๔. ธรรมะฝ่ายกุศล ของผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงเทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกา
ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ธรรมะฝ่ายกุศล พระพุทธเจ้าเป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้รู้แจ้งโลก ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นยามา
ธรรมะฝ่ายกุศล ด้วยความศรัทธาต่อพระพรหม ด้วยพระบารมีอันยอดเยี่ยมของพระโพธิสัตว์ทั้งห้า ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต
๑๕. ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นดุสิต
๑๖. ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ผู้เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นนิมมานรดี
๑๗. ธรรมฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้รู้แจ้ง สังขารขันธ์ รูปขันธ์ เป็นของไม่เที่ยง เป็นความทุกข์ มิใช่เป็นตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นปรนิมมิตตวสวัสดี
๑๘. ธรรมะฝ่ายกุศล ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นพรหมโลก ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า ด้วยคำสัตย์ปฏิญาณนี้ ขอความสุขสวัสดี จงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่งตราบเข้าสู่พระนิพพาน
๑๙. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า ด้วยการสวดมนต์พระคาถานี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด
๒๐. ด้วยการสวดพระคาถามหาทิพมนต์นี้ และด้วยการกล่าวคำสัตย์ปฏิญาณนี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด
๒๑. ด้วยการสวดพระคาถามหาทิพมนต์นี้ และด้วยการกล่าวคำสัตย์ปฏิญาณนี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด
๒๒. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ผู้เข้าถึงรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
๒๓. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ผู้เข้าถึงรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระธรรม ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว
๒๔. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว
๒๕. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์ สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ปฏิบัติดีแล้ว
๒๖. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์ สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ปฏิบัติดีแล้ว
๒๗. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ด้วยคำสอนของ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอกราบไหว้พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ด้วยพระธรรมคำสั่งสอน ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตนของเราจริง
***************************************************** -
การบริกรรมภาวนา ต้อง ทำให้ ติดต่อกัน ทำแล้ว ทำอีก ๆ แต่ว่า อย่าได้ ปรารถนา อะไร
ตอนที่ วิปัสสนา ต้อง พยายาม ปล่อยวาง การยึดมั่นถือมั่น ว่า ตัวกู ของกู อะไรของกู ออกจาก จิต จากใจ
ต้องปล่อยวาง ทำไปเรื่อย ๆ ติดต่อกัน หนักเข้า ๆ จิตใจของเรา มันจะเชื่อง คุ้นเคย ต่อ อารมณ์กรรมฐาน
สติของเรา ก็จะ แก่กล้า ขึ้น เราจะผูกมัด จิตของเรา ได้ดี ความเพียรของเรา ก็จะ แก่ขึ้น ๆ
สติของเรา ก็จะ แก่ขึ้น ทุกวัน ๆ เมื่อ จิตของเรา สูง ขึ้น บริสุทธิ์ สะอาด ขึ้น ตั้งมั่นดีแล้ว มันจะ ไม่นึก ไม่คิด อะไร
จิต ตั้งมั่น อยู่ใน อารมณ์เดียว ไม่นึกถึงอะไร ไม่นึกถึงใคร ไม่อาลัย แม้แต่ ตัวเรา เอง
ครูบาพรหมา พรหมจักโก
ที่มา fb สมาธิ จิต -
คำสอนสมเด็จองค์ปฐม
คนหลงร่างกาย เพราะไม่รู้จักสันตติของร่างกาย
สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตา ตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ดังนี้
๑. อย่าสนใจอาการของกายให้มากนัก ให้รักษาอารมณ์ สังขารุเบกขาญาณเข้าไว้ พยายามวางเฉยกับอารมณ์เหน็ดเหนื่อยอ่อนเพลีย คิดว่าเราอาจจักตายวันนี้เดี๋ยวนี้ไว้เสมอ
๒. จงกำหนดรู้ทุกข์เยี่ยงนี้มีกับเราได้ เพราะการมีร่างกาย เราจักขอทนอยู่กับมันเป็นชาติสุดท้าย ต่อไปหากเมื่อไม่มีร่างกาย คำว่าเหน็ดเหนื่อยอ่อนเพลียเยี่ยงนี้ จักไม่มีกับเราอีกต่อไป
๓. อาการเหน็ดเหนื่อยอ่อนเพลีย เมื่อได้พักร่างกายเต็มที่แล้ว ก็ย่อมจักคลายหายเหนื่อยหายเพลียได้ แต่เจ้าก็จักเห็นว่ามันหายเหนื่อยหายเพลียไม่จริง พอเริ่มทำงานใหม่อีก มันก็เหนื่อยก็เพลียอีก ร่างกายมันไม่เที่ยงอยู่อย่างนี้ การมีร่างกายทำให้ต้องมีกิจการงานทำไป ไม่มีวันสิ้นสุด มันน่าเบื่อหรือไม่น่าเบื่อ (ก็รับว่าน่าเบื่อ)
๔. ทุกอย่างมันเป็นสันตติ ไม่รู้จักมีที่สิ้นสุด หากไม่กำหนดรู้เอาไว้เสมอ ๆ ก็เหมือนบุคคลที่หลงอยู่ในร่างกาย
๕. หลงคิดอยู่เสมอๆ ว่า ร่างกายนี้มันเที่ยง เคยชินอยู่กับการมีร่างกาย อยากจักมีร่างกายอยู่ร่ำไป ไม่คิดว่าสักวันหนึ่งมันกับเราก็จักต้องพรากจากกัน หากยังมีอารมณ์ผูกพันอยู่กับร่างกาย ว่านี่เป็นเรา มีในเรา ไม่อยากแก่ ไม่อยากเจ็บ ไม่อยากตาย ไม่อยากให้มันเหน็ดเหนื่อย อ่อนเพลีย หลงใหลใฝ่ฝันให้มันแข็งแรง ทรงตัวอยู่อย่างนี้แหละ มันจึงได้ชื่อว่าหลงอยู่ในสันตติที่ไม่มีวันสิ้นสุด ไม่ได้อยู่ในอารมณ์ตัดร่างกาย แต่อยู่ในอารมณ์เกาะติดร่างกาย
๖. วางอารมณ์จิตเสียใหม่ วัดอารมณ์ของการปลดร่างกายอยู่ตลอดเวลา นั่นแหละคือการปฏิบัติพระกรรมฐาน
๗. ทรงตรัสเน้นว่า การปฏิบัติไม่ต้องเลือกเวลา ไม่ต้องเลือกสถานที่ จิตอยู่ที่ไหน ไม่ทิ้งอารมณ์ที่นั่น นี่แหละคือพระกรรมฐาน
ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๗
รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน -
แสวงหาิินิพพานเท่าไร ก็ไม่พบ
หยุดแสวงหาเมื่อไร พบนิพพานทันที
เธอเข้าใจสิ่งนี้เมื่อไร เธอก็เข้าใจหัวใจของพุทธศาสนาเมื่อนั้น
เธอบรรลุสิ่งนี้เมื่อไร เธอก็บรรลุไม่เพียงหัวใจของพุทธศาสนา แต่เธอจะบรรลุหัวใจของทุกศาสนาด้วย
นิพพาน หรือ พระเจ้า ก็คือสิ่งนี้ คือเชาว์ปัญญา.... เชาว์ปํญญานี้นี่เองคือสิ่งเดียวกันกับที่เราเรียกว่า ความว่าง หรือสุญญตา อันความว่างนั้น เราถือว่า “เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา
คนเรามักจะแบกเอาสิ่งที่เรียกว่า ความทรงจำ ประสบการณ์ ความกังวล ความโศกเศร้า หน้าที่การงาน ชื่อเสียง ความสำเร็จ ความกลัว ความรัก ความขัดแย้ง ฯลฯ เอาไว้ โดยคิดว่าเป็นเรื่องสำคัญ ทั้งๆที่เรื่องเหล่านั้นล้วนเป็นเรื่องไร้สาระทั้งสิ้น มันมีสาระเพราะคนเหล่านั้นไปคิดยึดติดกับมัน
แก่นแท้ของคำสอนของพระพุทธเจ้านั้นมีขึ้นเพื่อถอดถอน ความทะยานอยาก ความโกรธ ความหลง และความคิดยึดติดสิ่งเหล่านี้
ความสุขทั้งมวลบนโลกใบนี้ที่มนุษย์ถวิลหา พระพุทธองค์ทรงพบมาหมดแล้ว แต่ก็นั้นแหละ สิ่งเหล่านั้นไม่ใช่ความสุขที่แท้จริงที่พระองค์แสวงหา ความสุขที่แท้จริงที่พระพุทธองค์แสวงหากลับเป็น ความสงบจากความทะยานอยาก สงบจากความโกรธความหลง
พระพุทธองค์ทรงพบความสุขที่แท้จริงที่พระองค์แสวงหา จากการหยุดความคิดปรุงแต่งจากความทะยานอยาก ความโกรธ ความหลงในใจของพระองค์เอง
เมื่อหยุดค้นหา หยุดความคิดปรุงแต่งจากความทะยานอยาก หยุดความโกรธ หยุดความหลงในใจของพระองค์เองแล้ว พระองค์ก็เปิดตามองดู ใช่แล้ว....ความสุขสงบที่แท้ที่ทรงตามหานั้น อันที่จริงมันอยู่ตรงนี้ อยู่ที่นี่เสมอมา คืออยู่ภายในใจของพระองค์เอง เพียงแค่พระองค์หยุด และวางลงซึ่งความยึดถือเท่านั้น
"แสวงหากลับไม่พบ หยุดแสวงหาจึงพบ"
"ธรรมะ" ในพระพุทธศาสนานั้นไม่ได้อยู่ในตำรับตำราหรืออยู่ในคัมภีร์ใด แต่อยู่ในความว่างดั้งเดิมหรือจิตเดิมแท้ สรรพสิ่งอื่นนอกเหนือจากความว่างดั้งเดิม ที่อยู่ในความคิดของเรา ล้วนเกิดจากการสั่งสมความทรงจำ ประสพการณ์ มายาภาพ แลมายาคติทั้งมวลเอาไว้ ไม่ยอมวางลง
เมื่อไม่ยอมวางความคิดแปลกปลอมจากความว่างดั้งเดิม จิตมนุษย์จึงนำเอาความสุขความทุกข์ทางโลกที่ไม่จีรังยั่งยืนเข้ามา
เธอจงปลดปล่อยความคิดปรุงแต่ง ความทรงจำ ประสพการณ์ ปลดปล่อยมายาภาพ แลมายาคติทั้งมวล ออกไป เธอไม่มีความคิดปรุงแต่งอีกเลยว่า เธอเป็นชาวพุทธ เธอเป็นคริสต์ อิสลาม ฮินดู หรือเธอเป็นแพทย์ เป็นนักการเมือง เป็นพระ หรือเธอเป็นคนกวาดถนน เธอจงปลดปล่อยคิดปรุงแต่ง ความทรงจำ ประสบการณ์เหล่านั้นออกไปให้หมด เหลือเพียงความว่างเปล่าดั้งเดิมเท่านั้น
เมื่อไรที่เธอเข้าใจสิ่งนี้ เมื่อนั้นเธอก็เข้าใจหัวใจของพุทธศาสนา
เมื่อไรที่เธอบรรลุสิ่งนี้ เมื่อนั้นเธอก็จะบรรลุไม่เพียงหัวใจของพุทธศาสนา แต่เธอจะบรรลุหัวใจของทุกศาสนาในโลกและในจักรวาล
พระอานนท์ ปฏิบัติ และแสวงหานิพพานเท่าไร..ไม่พบสักที พอท่านหยุดแสวงหา หัวถึงหมอน พบนิพพานทันที
☰Freedom☰ แสวงหาิินิพพานเท่าไรก็ไม่พบ หยุดแสวงหาเมื่อไร พบนิพพานทันที -
[ame=http://www.youtube.com/watch?v=-30t7GFcInk]MV น้ำตาฟ้า : เต้ วัชสัณห์ - YouTube[/ame]
ฟังเพลงแล้ว ฝึกดูสภาวะธรรมไปด้วยนะ -
ภาวนาจนสติปัญญาอัตโนมัติ จะเห็นแต่ทุกข์
หลวงพ่อปราโมทย์ : หัดเบื้องต้นนะ มีสติก็มีความสุข มีสมาธิก็มีความสุข มีปัญญาก็มีความสุข จนสติมันทำงานบ่อย อัตโนมัติขึ้นมา แต่เดิมเห็นความสุขโผล่ขึ้นมาแล้วหายไป โผล่แล้วหายไป ต่อไปไม่ใช่อย่างนั้น ภาวนาไปถึงจุดหนึ่งนะ พอสติปัญญามันอัตโนมัติเนี่ย มันจะเห็นเลย โผล่มาทีไร ทุกข์ทุกทีเลย กระทั่งความสุขก็เป็นความทุกข์
ความสุขก็เป็นความทุกข์นะ เป็นสิ่งที่เสียดแทงใจเหมือนกัน ความสุขก็ทำให้จิตใจเสียสมดุลย์ ความทุกข์ก็ทำให้ใจเสียสมดุลย์ ฝึกไปๆเห็นมีแต่ทุกข์ กายนี้ทุกข์ ใจนี้ทุกข์ นะ จะทำอะไรๆก็ทุกข์นะ ตรงไหนก็ทุกข์หมดเลย ทุกๆหน ทุกๆแห่ง เต็มไปด้วยความทุกข์ทั้งหมดเลย ทุกข์จนเบื่อหน่าย ขอไม่ดู ขอไม่ดูดีกว่า กลับไปเป็นคนบ้าๆแบบเดิมดีกว่า สบายดี จิตก็ไม่ยอม อย่านึกนะว่าจะสุข ไม่ใช่เวลาที่จะมีความสุข ตอนนี้น่ะ เป็นเวลาที่จะต้องเรียนรู้ความจริง ของกายของใจ
เราพัฒนามีสติ มีใจที่ตั้งมั่นขึ้นมานะ จะเห็นเลยว่ามันมีแต่ทุกข์ ทุกข์ทั้งวัน ทุกข์ทั้งคืน หลับก็ทุกข์ ตื่นก็ทุกข์ สมัยภาวนาไม่เป็นนะ ไปนอนหลับก็ว่ามีความสุข ตอนนี้ภาวนาเป็น จำนวนมากแล้ว รู้สึกมั้ยว่าหลับก็ไม่มีความสุขเหมือนแต่ก่อนแล้ว แล้วสุขอยู่ที่ไหน สุขหายไปแล้ว
ในความเป็นจริง ความสุขเป็นภาพลวงตา ในความเป็นจริง โลกนี้เต็มไปด้วยความทุกข์ คนหลงหรอกมันมองไม่เห็นความทุกข์ กิเลสตัวหนึ่งนะมันหลอกลวง กิเลสมันหลอกลวง ตัณหาพาให้เราไปเห็นว่า อย่างโน้นสิแล้วจะสุข อย่างนี้สิแล้วจะสุข มันหลอกให้เราอยากไปเรื่อยๆ หลอกให้เราดิ้นไปเรื่อยๆ พอดิ้นๆไปนะ ตัณหามันหลอก มีแฟนสิแล้วจะสุข มีแล้วไม่สุขน่ะ มันสอนต่อ ต้องมีเมียถึงจะสุข มีเมียแล้วไม่สุขน่ะ ต้องมีใหม่แล้วสุข มันสอนเราไปเรื่อยๆนะ ผลักดันเราไปเรื่อยๆเลย โอ้..มันขับ มันผลักดันนะ เป็นแรงผลัก บีบคั้นอยู่ตลอดวันตลอดคืนเลย
กิเลสตัณหานะ ศัตรูร้ายของความสงบสุขในชีวิต ทีนี้จิตใจของเรายังไม่มีสติปัญญาพอจะทำลายรากแก้วของมัน กิเลสตัณหาเกิดทั้งวันเลย แต่ก่อนมันเกิดขึ้นมานะ เราสนองกิเลสไปเรื่อย เราไม่รู้หรอกว่า กิเลสตัณหาทำความทุกข์ให้ ตอนนี้เรามีสติมีปัญญาขึ้นมา เราแค่เห็นเลย แค่ใจอยากขึ้นมาก็ทุกข์แล้ว ใจมีความอยากขึ้นมาก็ทุกข์แล้ว รู้สึกมั้ย ใจถูกบีบคั้นตลอดเวลาเลย ทั้งวันทั้งคืนมีแต่บีบคั้นนะ ไม่รู้จะสุขตรงไหน
ไปนอนหลับมันยังไม่หลับดีเลย ร่างกายหลับนะ กรนคร่อกๆเลย จิตดันตื่นขึ้นมา มองเห็นกายนอน น่าอเน็จอนาถ เห็นร่างกายเต็มไปด้วยความทุกข์ ตัวจิตเอง พอมีสติถี่ๆขึ้นมานะ เห็นทุกอย่างหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มันไม่ใช่สุขบ้างทุกข์บ้างนะ มันจะกลายเป็นทุกข์ล้วนๆเลย ทุกอย่างเกิดขึ้นมาแล้วล้วนแต่บีบคั้นทั้งนั้นเลย เป็นความบีบคั้นทั้งสิ้น เป็นทุกข์ทั้งสิ้นเลย
หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันเสาร์ที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๒ ก่อนฉันเช้า -
ถ้าไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์ ก็ยังไม่ปล่อยวาง
หลวงพ่อปราโมทย์ : ใจลึกๆมันจะรู้สึกอยู่ตลอดเลยว่า อะไรน้อ..ที่ยังไม่รู้ มีสิ่งบางสิ่งที่ยังไม่รู้อยู่ เพราะไม่รู้สิ่งนี้แหละ จิตถึงไม่ถึงที่สุดแห่งทุกข์ ลึกๆมันจะรู้สึกอย่างนี้อยู่ตลอดนะ
ภาวนาบางวัน บางครั้งบางคราว จิตปล่อยวางจิต พอจิตปล่อยวางจิตเสร็จแล้วไม่นานนะ ก็ไปหยิบฉวยจิตขึ้นมาดูต่อ เมื่อไหร่จะวางได้ ยกตัวอย่างไปหยิบพัดนี่ขึ้นมา แล้วก็มาคร่ำครวญ เมื่อไหร่จะวางได้ ทำยังไง(วะ)จะวางได้ น่ะ เนี่ย มันโง่อยู่อย่างนี้ มันโง่อยู่อย่างนี้ โอ๊ย..มันยากนะ กว่ามันจะเข้าใจ กว่าจะรู้นะว่าไม่รู้อะไรทำให้ไม่วาง ไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์ ความไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์นั่นแหละ เรียกว่าอวิชา
เพราะฉะนั้นทางที่จะหลุดพ้นนะ ก็คือ ต้องทำวิชาให้เกิด อวิชาก็จะดับไป วิชาคือความรู้แจ้งอริยสัจจ์ ข้อที่ ๑ รู้ทุกข์ ทุกข์คือกายกับใจ รูปกับนาม หน้าที่ของเราต้องรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริงเรื่อยไป การภาวนามีเท่านี้เอง การทำวิปัสสนากรรมฐานก็คือ การที่มีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง เห็นไตรลักษณ์ของกายของใจ ความจริงก็คือไตรลักษณ์นั่นเอง ดูอย่างนี้เรื่อยไป
พอมันรู้แจ้งนะ กายกับใจเป็นไตรลักษณ์แจ่มแจ้ง เรียกว่ารู้ทุกข์แจ้ง ทุกข์ล้วนๆเลยไม่เห็นดีวิเศษอะไรเลย จิตจะสลัดคืนกายคืนใจให้โลก หมดความยึดถือกายยึดถือใจ พอไม่ยึดถือกายไม่ยึดถือใจปั๊บนะ สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ สมุทัยจะถูกละอัตโนมัติ ตัณหาจะไม่มีอีกแล้ว
ตัณหามันคือความอยากให้กายให้ใจเป็นสุข อยากให้กายให้ใจพ้นทุกข์ พอไม่ยึดกายไม่ยึดใจก็ไม่มีความอยากที่จะให้มันเป็นสุข ไม่มีความอยากให้มันพ้นทุกข์นะ ตัณหาไม่มี เมื่อตัณหาไม่มี ตัณหาไม่เกิด ตัณหาดับสนิทไม่มีอีกแล้วนะ นิโรธคือนิพพานก็ปรากฎ พระนิพพานคือความสิ้นตัณหา ขณะจิตที่รู้แจ้งนิพพานนั้นแหละ รู้ทุกข์ ละสมุทัย แจ้งนิพพานขึ้นมา ขณะนั้นแหละคือการเกิดอริยมรรคนะ
เส้นทางเดินของพระอริยะทั้งหลายท่านก็เดินอย่างนี้นะ ไม่เผลอไม่เพ่ง รู้กายรู้ใจไป ไม่ไปหลงติดอยู่ที่ใดที่หนึ่ง คอยรู้เรื่อยๆไป วันหนึ่งก็ถึง เกิดความเข้าใจความเป็นจริงของกายของใจก็วาง รู้ตามความเป็นจริงจึงเบื่อหน่าย เพราะเบื่อหน่ายจึงคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น หลุดพ้นก็จะรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์คือการประพฤติปฏิบัติจบแล้ว กิจที่ควรทำ-ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นที่จะทำเพื่อความบริสุทธิ์หลุดพ้นไม่มีอีกแล้ว งานในทางศาสนาพุทธเป็นงานที่มีเวลาสิ้นสุด ไม่เหมือนงานในโลกที่ไม่มีวันสิ้นสุดนะ
หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
แสดงธรรมที่สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม
บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี
แสดงธรรมเมื่อ วันศุกร์ที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๒ ก่อนฉันเช้า -
จิตเรา เป็นประเภทใด
ใครที่เห็นความเลวของตนเอง นั่นแสดงว่า ผู้นั้นกำลังพัฒนาไปสู่ที่ดี
แต่ถ้าผู้ใด ยังมองไม่เห็นความเลวของตน อันนั้นยังเลวอยู่
หรือ
มองเห็นแต่ความเลวของผู้อื่น แต่กลับมองความเลวของตนไม่เห็น อันนี้แย่ที่สุด คือ เลวมาก
สรุปแล้ว
มองหาแต่ความเลวตนเองจะดีกว่า?
และวิธีกำจัดความเลวของคนได้ ก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
แต่อย่าไปหาตำราไปไล่กวดคนอื่นๆนะ หรือนำตำราสอนได้เฉพาะคนอื่น
แต่กลับไม่สอนตนเอง อันนั้นใช้ได้ ใช้ไปซื้อกาแฟ อย่างเดียว...อิอิ -
ธรรมะไม่ต้องไปอ่านมากหรอก
แต่พยายามอยู่กับธรรมชาติ เพราะธรรมชาติคือธรรมะ
ธรรมชาติฝ่ายดี ก็คือ สติ
ธรรมะฝ่ายไม่ดี ก็คือ กิเลส
เลือกเอากันเองนะ...ผู้เจริญทั้งหลาย
พยายามทำให้เกิดบ่อยๆ สติลูกเดียว
อย่าไปเกาะตำรามาก พอรู้มากก็จะไปถาม ไปสอนแต่คนอื่นเขาอีก
เขาเรียกว่า คนร้อนวิชา
สังเกตดูเอาง่ายๆ แต่ถ้าเราไม่รู้ แล้วเราจะโง่ไปถามคนอื่นๆไหม๊
มีสติสิ มีแต่ใจเย็น ดูง่ายๆ แค่ความโกรธเกิดขึ้น เมื่อสติมาเมื่อไหร่
ความโกรธ ก็ค่อยๆจืดจางและหายลงไปทีละน้อยๆ
แต่ถ้าไม่มีสติ เราก็ยิ่งจะวิ่งหาความโกรธ จะเอาแต่ความโกรธอยู่นั่นแหล่ะ
เวลาโกรธกันนะ ก็เหมือนหมาบ้ากัดกันดีๆนี่แหล่ะ
สรุปแล้วเจ็บทั้งคู่
ขอให้ดูคู่สามีภรรยาก็ได้ ลิ้นกับฟัน ปะทะกันอยู่บ่อยๆ
ไม่เหมือนรักกันใหม่ๆ ลิ้นกับฟันโดนกัน ไม่ยักเป็นอะไร...อิอิ
(เวลาจุ๊บกัน)
ฮ่าๆ เลิกพร่ำดีก่า
-
“มีธรรมะแล้วก็เหมือนอยู่ในมุ้ง
แล้วกวักมือเรียกยุง (ความทุกข์) ให้มากัด”
-ท่านพุทธทาสภิกขุ- -
คนชัยภูมิยกมือขึ้น!!!
บุคคลใด ที่อยู่ใกล้ๆ วัดป่าห้วยกุ่ม อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ
อย่าเป็นคนใกล้เกลือกินด่าง
เพราะท่านเป็นพระสุปฎิปันโน และ พระอรหันต์
รีบๆไปกราบไหว้กันซะนะ...
ปล.แต่ถ้าบุคคลใด ไปบวชเนกขัมมะ ท่านมีที่พักให้ แต่ให้ปฎิบัติเองนะ
แต่ถ้าผู้ใดมีปัญหาไปสอบถามกับท่านตอนเช้า หรือหลังฉันอาหาร
แต่ระวังนิดนึง เพราะท่านอ่านวาระจิตคนเป๊ะๆ หลอกท่านไม่ได้นะ
เดี๋ยวก็รู้ว่า ใครมาปฎิบัติจริงหรือไม่จริง ท่านรู้หมด...
ผู้เขียนไปมารอบเดียวเอง แต่อยากไปอีก
พี่ภู..มาบอกบุญแล้วนะครับ -
เพราะ “ความตาย” แน่นอน
แต่ “เวลา”
ที่จะตาย ไม่แน่นอน
นี่จึง ทำให้
ชีวิต มีคุณค่า
ทำให้ เวลา มีค่า
- พระอาจารย์ชยสาโร - -
ดูจิต(ตนเอง)สนุกกว่ากันเยอะเลย
อย่าไปดูเลย ภายนอกจิต(ตนเอง) เพราะมันไม่สนุกหรอก
เห็นมีแต่ มายา เห็นมีแต่ ทุกข์
ของจริงๆ หรือ แก่นธรรมจริงๆนั้น ก็อยู่ภายในกาย ภายในจิต(ตนเอง) นี่แหล่ะ
ยิ่งดูก็ยิ่งพบเจอ แต่สิ่งจริงๆดีๆสุขๆ ทั้งนั้นเลย
ยิ่งดูมากเท่าไหร่ สติปัญญาก็มากเท่านั้น
ดูแต่สิ่งภายนอก ที่ไม่ใช่เรื่องจิต เห็นมีแต่หลงและก็หลง ลูกเดียว
แต่ขอร้อง ถ้าใครดูถึงข้างในแล้ว ห้ามติดสุขจากฌาน หรือ หลงไปยึดติดกับนิมิต
อันนั้นแย่แน่ๆเลย เพราะเป็นการสร้างอัตตาละเอียดยิ๊บๆเลย ใครเตือนก้ไม่ฟังแร๊ะ
ครูก็จะหนีเข้าอุเบกขาละนะ...เห่อๆ
ฐานะเตือนแล้วดื้อตาใสแจ๋วเลย บอกให้รู้แล้ววาง
เอาแบบครูดัชดีไหม๊
ครูดัชบอกศิษย์ว่า ทิ้งนะๆนิมิตน่ะ แต่ถ้าไม่ทิ้ง ข้านี่แหล่ะจะทิ้งเอ็ง ฮ่าๆ พี่ภูขำฟ๊ะ!
ดูไปๆ
ดูกิเลส เช่น รัก โลภ โกรธ หลง และเจตสิก(อารมณ์ของจิต)
ดูไปๆ
ดูมันผุดออกมาจากความคิด ดูมันผุดมาจากภายนอก(สิ่งกระทบจิต)
บางวันมันเดลิเวอรี่ดอกไม้หรือยาหอมให้เรา แต่บางวันมันเดลิเวอรี่ไฟร้อนๆมาให้เรา
แต่ถ้ามันประทานสิ่งที่ดีๆ ใจเราก็พอง แต่ถ้ามันประทานสิ่งที่ไม่ดีๆ ใจเราก็แฟ๊บ
อยู่แค่นี้เอง
แล้วพวกเราจะไปตามมันทำไม๊
สำหรับผู้มิได้ฝึกจิต ก็มักจะตามไม่ทันกับสิ่งเหล่านี้ เป็นธรรมดา
แต่สำหรับผู้ที่ฝึกจิตมาดี ก็มักตามทันกับสิ่งเหล่านี้ ก็เป็นธรรมดา
จิตเราตามไม่ทัน เราก็ทุกข์เท่านั้นเอง แต่ถ้าจิตใครตามทันก็ ไม่ทุกข์เท่านั้นเอง
แล้วมาบ่นกันทำไม๊ ว่าทุกข์ๆ ฉันทุกข์จะตายอยู่แล้วเนี๊ย
ใคร๊จะไปเอาทุกข์ออกให้กันได้เล่า เห่อๆ
เรื่องยากทำมามากมาย แค่เรื่องง่ายๆกลับมองข้ามไปซะงั้น
นึกเอาเองนะว่า ฉลาดจริงๆหรือว่าโง่จริงๆ ตะเอง
จิตอยู่ที่ตนเองแท้ และมิใช่จิตใครๆด้วย แต่เป็นจิตตนเอง
แต่กลับไปเที่ยวดู แต่จิตของคนอื่น เช่น ชอบนินทาผู้อื่น ชอบเพ่งโทษผู้อื่น
ที่หนึ่งเลย ยกแต่ความเลวให้กับผู้อื่นๆเนี๊ย เก่งนัก แต่ตนเองเอาแต่ความดีเท่านั้น
แล้วมันจะหาดีได้ไหม๊เนี๊ย คนแบบนี้
ว่าแต่ว่า ผมก็ยังเลวอยู่นะ ไม่ใช่ไม่เลว ตราบใดยังมีขันธ์ ๕ นี้
ฝึกสติเพื่อทำให้จิตนิ่ง และ จิตนิ่งเพื่อตามกิเลสให้ทัน
ตามกิเลสให้ทันเพื่อ เราจะได้เลิกโง่เขลาสักทีนึง
และจะได้เป็นสุข..เมื่อนั้น
เพราะฉะนั้น ฝึกสติก็เหมือนฝึกจิตทางอ้อม
ฝึกจิตทางอ้อมก็เหมือนได้ปัญญาทางตรง คือนำมาใช้กับทางโลกก็ได้ นำมาใช้กับทางธรรมก็ได้
ดีไหม๊?
ปล.ผู้ที่หลงกาย แปลว่า หลงภพ หลงชาติ
แต่ถ้าใดหลงดูแต่จิต มีแต่นิพพานบนดิน กับนิพพานจริงๆ -
[ame=http://www.youtube.com/watch?v=shIncYDsYjQ]หลวงพ่อสายทอง เตชะธัมโม.wmv - YouTube[/ame]
ประวัติพระอรหันต์
หลวงพ่อสายทอง เตชะธัมโม
วัดป่าห้วยกุ่ม อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ
ปล.คุณหมออุษาวดี ฟังให้จบๆนะครับ -
ผู้ที่ยังมีแต่ความสงสัย ก็จะสงสัยอยู่อย่างนี้แหละ
เมื่อสงสัยก็อย่ากรู้ว่าถ้าเราตายแล้วเราจะไปอยู่ไหน. ที่เขาสงสัยอย่างนี้ก็เพราะว่าสิ่งที่
เขากลัวที่สุดคือกลัวความตาย. จริงอยู่ทุกคนกลัวตาย ผู้ที่เตรียมพร้อมก่อนที่จะตายเขาก็
ไม่กลัวตายเพราะเขามั่นใจว่าถ้าเขาตายไปพร้อมกับความเตรียมพร้อมของเขา เขาก็จะ
พ้นทุกข์ ที่จะต้องเป็นห่วงและกลัวตาย เพราะเขามีสติที่พร้อม ผู้ที่จะมีสติพร้อมก็ต้องมี
จิตใจที่คิดแต่จะทำแต่ความดี เมื่อเราคิดแต่เรื่องดีทำดี เราก็จะมีแต่ความสุข แม้แต่เวลา
จะตายก็ยังสุข สุขเพราะว่ามีสติพร้อมที่จะระลึกถึงความดีที่ตนเองได้ฝึดฝนและสระสมมา
เมื่อเราทำแต่ความดี สิ่งที่เราระลึกถึงตอนที่เราจะหมดลมหายใจ คือบุญกุศลที่ได้สร้างและ
สระสมและฝึกฝนปฏิบัติมา ฉนั้นผู้ที่ได้เตรียมพร้อมแล้วจะมั่นใจว่าตัวเองไม่ถามไม่กังวล
และสงสัยว่าตายแล้วจะไปไหน ผู้ที่ปฏิบัติและฝึกฝนชำระจิตใจปฏิบัติแต่ความดีเขาก็จะ
เฉยๆต่อความตาย ทุกๆคนรู้ว่าสุดท้ายก็คือตายเพราะไม่มีใครหลีกได้ นั่นแหละครูบา
อาจารย์ หลวงปู่ หลวงตา ท่านถึงได้ห่วงนักห่วงหนา ท่านถึงได้ฝากธรรมะต่างๆไว้แทนตัว
ท่านซึ่งแต่ละธรรมะแต่ละครูบาอาจารย์. ซึ่งเป็นคำสังสอนที่ท่านได้รับการถ่ายทอดมาจาก
พระพุทธเจ้าซึ่งเป็นคำสั่งสอนที่วิเศษที่สุด และเมื่อท่านนำมาปฏิบัติท่านก็จะได้รับผลกับ
ตัวท่านเอง. และจะได้ไม่ต้องสงสัยอีก. หลวงปู่สังวาล เขมโก ท่านได้กล่าวไว้ว่า. ถ้าตาย
ในขณะจิตโกรธ โลภ หลง จิตอยู่ในสภาวะนี้จิตจะไปเป็นสัตว์เดรัจฉาน. ถ้าขณะจิตที่เป็น
กุศล... คิดถึงคุณงามความดีที่ได้กระทำไว้ก็จะได้ไปสวรรค์ ไม่ไปอบายภูมิ ถ้าตายใน
ขณะจิตสงบนิ่งเฉยๆ ก็จะไปเป็นพรหม หรือสำเร็จพระอรหันต์ไปเลย.กราบหลวงปู่เจ้าค่ะ
ที่ให้ความรู้และให้ความสว่างความเข้าใจให้หายสงสัย. สาธุ กราบหลวงปู่ด้วยเศียรเกล้า. -
ความไม่มีมานะทิฐิ
ทิฐิ คือความเห็น ความเข้าใจตามแนวความคิดของตน ซึ่งเป็นกระบวนการพัฒนาให้เกิดเป็นปัญญาได้ ทิฐินี้ถ้าได้ถูกพัฒนาไปจนเป็นความรู้ ความเห็นตามความเป็นจริง คือตรงตามสภาวะ ก็จะทำให้พ้นขั้นของทิฐิไป และความรู้นั้นก็จะไม่ถูกยึดเป็นของตน เพราะมันได้กลายเป็นของกลางเสียแล้ว แต่ถ้ารู้ผิดและติดอยู่กับความหลง ก็จะกลายเป็นมานะทิฐิซึ่งเป็นกิเลสตัวใหญ่อีกตัวหนึ่ง เช่น หลงในยศ หลงในเกียติ หลงในความเก่ง หลงในความมีบารมีมาก หลงในความวิเศษของตนเอง หลงในตนเอง มีความศรัทธาในพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และครูบาอาจารย์ทั้งหลาย อีกทั้งมีความมั่นใจในการปฏิบัติ ถึงแม้ว่าหลายสิ่งหลายอย่างอาจจะเป็นปัจจัตตัง (ผู้ปฏิบัติย่อมรู้เองเห็นเองยากที่จะอธิบาย) ก็ตาม ก็ยังถือว่าเป็นความดีความงามที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนให้มีวิริยะ อุตสาหะ ในการปฏิบัติให้ถึงเป้าหมาย และที่สำคัญถ้ามีสูงเกินไปเกินขอบเขตแล้วล้นออกมาก็อาจจะเป็นสิ่งที่สามารถกระทบกระทั้งตัวผู้ปฏิบัติเองให้จิตเศร้าหมองหรือผู้อื่นได้อีกด้วย ดังนั้นควรต้องระวังควบคุมให้มันอยู่ในความพอดี อยู่ด้วยความอ่อนน้อม ถ่อมตนและที่สุดก็วางจิตให้เป็นอุเบกขาได้
(ที่มา จนส.การปฏิบัติสมาธิวิปัสนา สังโยชน์ 10)
ขอบคุณ คุณ NOOM ESPANDA ที่สมัคร “มณีตรี” ให้หลายๆๆ -
เมื่อรับศีลแล้ว กระทำผิดศีล ทั้งมีเจตนาบ้าง ไม่เจตนาบ้าง จะเป็นบาปหรือไม่ ?
“การรับศีลไปแล้วทำผิดบ้างถูกบ้าง แต่ว่าไม่ได้เจตนา เป็นแต่เพียงขาดการสำรวม ขาดสติ ทำให้ศีลเศร้าหมองนิดหน่อย
ทีนี้การที่มารับศีลแล้วรักษาให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ไม่ได้ มีขาดตก บกพร่องบ้าง ถ้าข้อเปรียบเทียบก็เหมือนกันกับว่า ผู้ที่มีเสื้อใส่แต่เป็นเสื้อขาด ก็ยังดีกว่าผู้ที่ไม่มีเสื้อจะใส่เสียเลย
การสมาทานศีลนี้ ถึงแม้ว่าจะขาดตกบกพร่องบ้างก็ยังดี อันนั้นเป็นเรื่องวิสัยธรรมดาของปุถุชน ก็ย่อมมีการบกพร่องบ้าง ในเมื่อฝึกไปจนคล่องตัวแล้ว มันก็สมบูรณ์ไปเอง ดีกว่าไม่ทำเลย”
: หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
ที่มาfb ธรรมโอสถ -
สิ่งที่นักปฏิบัติหน้าใหม่ (หรือเก่าด้วย) กลัวกันเป็นนักหนาคือ การ “จิตตก” มันเป็นอาการที่กำลังใจซึ่งทรงไว้ในด้านดี เกิดพลาดท่าพลาดทาง เลี้ยวกลับไปหาความเลวเก่า ๆ เอาดื้อ ๆ บางคนตั้งหลักไม่ทัน ทำใจให้ยอมรับไม่ได้ เกิดฟุ้งซ่านคิดมาก แทบจะฆ่าตัวตายประชดชีวิตไปเลยก็มี...!
ความจริงอาการ “จิตตก” หรือ “กำลังใจตก” หรือ “สมาธิตก” เป็นของธรรมดาที่ผู้ปฏิบัติทุกคนต้องเจออยู่แล้ว ไม่เห็นจะต้องเสียอกเสียใจอะไร ก่อนนี้เราทำความเลวอยู่ มาตอนนี้หันมาทำความเลวใหม่ เพราะหลงกลพญามารที่มาล่อลวง ก็ไม่ได้ขาดทุนอะไรเลย เพราะเรามาจากที่ต่ำ การย้อนกลับที่ต่ำคือเท่าทุน มิหนำซ้ำยังกำไรประสบการณ์อีกต่างหาก...!
เมื่อรู้ตัวก็ตั้งหน้าทำดีใหม่ ระวังไว้ว่าคราวก่อนเราพลาดตรงไหน ถึงเวลาอย่าให้พลาดอีก...แต่ก็นั่นแหละ เล่ห์เหลี่ยมของมารนั้นยากที่เราจะระวังป้องกัน ปิดจุดนี้มันตีจุดนั้น ตั้งป้อมรับจุดนั้น มันเข้าตีจุดโน้น...วนเวียนไปไม่รู้จบ จนกว่าเราจะประกอบไปด้วยสติสัมปชัญญะสมบูรณ์พร้อมนั่นแหละ...มารจึงหลอกไม่ได้...
๑๓ พฤษภาคม ๒๕๓๓
พระเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
ที่มา : หนังสืออดีตที่ผ่านพ้น
ตอนที่ ๕๘ : เกราะแก้วแห่งธรรม เว็บวัดท่าขนุนดอทคอม -
ความรู้ผิดความรู้ที่ไม่จริง(อวิชชา)
ความรู้ผิดทั้งหลายเหล่านี้ได้สะสมพอกพูนมาแต่ละภพแต่ละชาติ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องขันต์ 5 หรือสิ่งที่ประกอบกับขันต์ 5 ซึงสิ่งเหล่านี้จะเป็นลูกโช่เกาะกับสังโยชน์ข้ออื่นๆ อีกนักปฏิบัติควรศึกษาให้รู้แนวทาง เพื่อไปให้ถึงเป้าหมายหรือจุดที่สำคัญต่างๆ แล้วลงมือปฏิบัติ ให้ถึงความดีของแต่ละขั้นแต่ละตอนจนถึงจุดสูงสุดโดยถือหลักที่ว่า พิจารณาทุกสิ่งให้เห็นสภาวะความเป็นจริงหรือสัจจะธรรมของมัน แล้วใช้สิ่งต่างๆ เหล่านี้ไปตามความเป็นจริง
มีธรรมะที่เกี่ยวข้องกับการวิปัสสนา ที่นักปฏิบัติควรจะรู้ไว้ ก็คือวิปัสสนูกิเลสที่เกิดขึ้นกับนักปฏิบัติบางคน มีลักษณะดังนี้
นักปฏิบัติได้ปฏิบัติสมาธิ และวิปัสสนาไปสักระยะหนึ่งแล้ว มีอาการคล้ายๆ ปล่อยวางทุกอย่าง จิตมีอาการคล้ายๆ สุขและสงบอยู่ ลักษณะอย่างนี้อาจจะทำให้นักปฏิบัติ บางคนเข้าใจว่าตนเองปฏิบัติได้มรรคผลนิพพาน เป็นพระอรหันต์แล้ว แต่ความเป็นจริงแล้วนักปฏิบัติต้องลงมือปฏิบัติอีกมาก ต้องปฏิบัติสมาธิให้ชำนาญ สามารถที่จะเรียกให้ขึ้นมาเมื่อไหร่ก็ได้และยังต้องปฏิบัติสมาธิไม่มีวันหยุด ทำไปจนตาย ถึงตายแล้วก็อาจจะทำต่อไปอีก ส่วนวิปัสสนาตัดกิเลสแต่ละอย่างก็ต้องทำจริงละจริง ต้องใช้วิชาสู้กับกิเลสเหล่านี้อย่างจริงจัง มีทั้งหยิบยกข้นมาพิจารณาซึ่งเปรียบกับการทดลองในห้องทดลอง และที่ต้องสู้ในภาคสนามซึ่งเปรียบเสมือนแบบฝึกหัดที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ส่วนกิเลสที่นักปฏิบัติต้องเจอ มีลักษณะอยู่ 2 ลักษณะ ได้แก่ ลักษณะที่ 1 เป็นกิเลสใหม่ที่เข้ามาหานักปฏิบัติทั้งสมาธิวิปัสสนามาบ้างแล้ว อาจจะรู้เท่าทันบ้างในกิเลสเหล่านี้ หลายครั้งอาจจะสามารถขจัดมันได้ ระงับมันได้ ดูไม่หนักหนาเท่าไร นักปฏิบัติทำได้อย่างนี้ก็ถือว่าเก่งแล้ว ลักษณะที่ 2 ดูแล้วค่อนข้างยากและต้องใช้เวลา เป็นกิเลสที่ฝังจมลึกอยู่ในจิตหลายภพหลายชาติมาแล้ว มองดูอาจจะไม่เห็นมันได้ง่ายๆ ข้างนอกดูดี ดังนั้นการชำระกิเลสในลักษณะนี้ส่วนใหญ่แล้วต้องลงภาคสนาม หาเหยื่อมาล่อให้มันออกมา
ตัวอย่างเช่น : มีเรื่องรุนแรงเกิดขึ้นเพื่อให้นักปฏิบัติเห็นความโกรธที่ซ้อนเร้นอยู่ในจิตของตนเองซึ่งจะมากหรือน้อยก็แล้วแต่เรื่อง ส่วนเหตุการที่เปรียบเสมือนเป็นภาคสนามที่ให้นักปฏิบัติ ได้วิปัสสนาชำระความโกรธ ให้ออกจากจิตไปเรื่อยๆ จนหมด ตัวอย่างอีกอย่างหนึ่งที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ เปรียบเทียบได้ว่า เราเอาถังน้ำไปตักน้ำคลองที่มันขุ่นถ้าเราเขย่าถังไม่หยุดนิ่งสักที น้ำในถังย่อมขุนไม่มีวันใส แต่ถ้าเราวางถังให้นิ่งสงบ น้ำขุ่นในถังก็จะตกตะกอน น้ำใสขึ้นจนสามารถมองเห็นตะกอน ความสกปรกที่มันจมนอนอยู่ก้นถัง เราก็จะรู้ภาระที่จะต้องเอาตะกอนออกทิ้งว่าทำอย่างไร นั้นคือต้องเขย่าถังแรงๆ ให้ตะกอนที่ก้นถังลอยฟุ้งขึ้นมา แล้วเราก็ช้อนทิ้งไปเรื่อยๆ เมื่อมองดูแล้วไม่ค่อยมีตะกอน เราก็หยุดเขย่าปล่อยให้น้ำนิ่ง เมื่อน้ำนิ่งแล้วก็ส่องดูที่ก้นถังผ่านความใสของน้ำ พบว่า ตะกอนยังมีอยู่ ก็เขย่าใหม่อีก แล้วก็ช้อนอีกตามแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนตะกอนหมด ตัวอย่างนี้เปรียบได้เหมือนกับการฝึกจิตให้เป็นสมาธิ เมื่อจิตสงบเป็นสมาธิแล้วก็จะเห็นกิเลสที่มีอยู่ในจิตได้ง่ายขึ้น การเขย่าถังน้ำก็เปรียบได้เหมือนกับสิ่งล่อหรือเกิดแบบฝึกหัดให้เราได้เห็นกิเลสแล้ว
วิปัสสนาชำระ ดังนั้นเรื่องราวต่างๆ หรือสิ่งที่เรียกว่าความทุกขุ์ที่มันเกิดขึ้นในชีวิตนี้ สำหรับนักปฏิบัติแล้วเราถือว่าเป็นแบบฝึกหัดที่ให้เราวิปัสสนากิเลส ไม่ควรถือว่าเป็นโชคร้ายเพียงอย่างเดียว หรือบางคนอาจจะตัดพ้อต่อว่า ทำบุญมามาก แต่ทำไมบุญไม่ช่วย และอาจจะเลิกปฏิบัติเลิกทำบุญไปเลย…!!
(ที่มา จนส.การปฏิบัติสมาธิวิปัสนา สังโยชน์ 10)
หน้า 523 ของ 857