จิตพร้อม? รับภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ภูภู, 6 เมษายน 2012.

  1. Wittayapon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    1,075
    ค่าพลัง:
    +19,233
    " ....ท่านทั้งหลายจงอย่าทำตัวเป็นตัวบุ้งตัวหนอนคอยกัดแทะกระดาษแห่งคัมภีร์ใบลานเปล่าๆ
    โดยไม่สนใจพิจารณาสัจธรรมอันประเสริฐที่มีอยู่กับตัว แต่มัวไปยึดธรรมที่ศึกษามาถ่ายเดียว
    ซึ่งเป็นสมบัติของพระะพุทธเจ้า มาเป็นสมบัติของตน ด้วยความเข้าใจผิด
    ว่าตนเรียนรู้และฉลาดพอตัวแล้ว ทั้งที่กิเลสยังกองเต็มหัวใจยิ่งกว่าภูเขาไฟ มิได้ลดน้อยลงบ้างเลย

    จงพากันมีสติคอยระวังตัว อย่าให้เป็นคนประเภทใบลานเปล่าๆ เรียนเปล่าและตายทิ้งเปล่า
    ไม่มีธรรมอันเป็นสมบัติของตัวอย่างแท้จริงติดตัวบ้างเลย"
    ....นี่คือคำสอนที่องค์หลวงปู่มั่นเคยพูดอยู่เสมอๆ
     
  2. Wittayapon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    1,075
    ค่าพลัง:
    +19,233
    "คนไม่สนใจธรรม ธรรมก็ไม่เข้าถึงใจคน จึงกลายเป็นคนก็สักว่าคน

    ธรรมก็สักว่าธรรม ไม่อาจยังประโยชน์ให้สำเร็จได้ แม้คนจะมีจำนวนมาก

    และแสดงธรรมให้ฟังทั้งพระไตรปิฏก จึงเป็นเหมือนเทน้ำใส่หลังหมา

    มันสลัดออกเกลี้ยงไม่มีเหลือ ธรรมจึงไม่มีความหมายในใจของคน

    เหมือนน้ำไม่มีความหมายบนหลังหมา ฉันนั้น"


    คำสอนหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  3. Wittayapon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    1,075
    ค่าพลัง:
    +19,233
    ฝึกจิต เปลี่ยนจิต ปล่อยจิต
    ธรรมชาติของใจนี้
    มันฝึกกันได้...นำมาใช้ประโยชน์ได้
    เปรียบได้กับต้นไม้ในป่า...
    ถ้าช่างไม้ผ่านมา...ต้องการไม้ไปสร้างบ้าน
    เขาก็จะมองหาต้นไม้ในป่านี้
    และตัดต้นไม้เอาไปใช้
    ไม่ช้าเขาก็สร้างบ้านเสร็จเรียบร้อย
    การปฏิบัติภาวนาและการพัฒนาจิตต่างกันอย่างนี้
    ต้องเอาใจที่ยังไม่ได้ฝึก มาฝึก...มาสร้าง
    จนมันละเอียด ประณีตขึ้น รู้ขึ้น และว่องไวขึ้น
    เมื่อเรารู้จักธรรมชาติ เข้าใจธรรมชาติ
    เราก็เปลี่ยนมันได้...ทิ้งมัน ปล่อยมันไปได้
    ใจของเราก็จะสงบ
    ใจของเราก็จะเป็นอิสระ ก็จะไม่ทุกข์อีกต่อไป

    พระโพธิญาณเถร
    (หลวงพ่อชา สุภัทโท)
     
  4. Wittayapon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    1,075
    ค่าพลัง:
    +19,233
    อดีตเป็นธรรมเมา อนาคตเป็นธรรมเมา

    จิตดิ่งอยู่ในปัจจุบัน รู้ในปัจจุบัน ละในปัจจุบัน

    ตัดตัณหา ตัดกิเลส ตัดมานะทิฐิ

    ตัดความยึดมั่นถือมั่นของตนให้เสร็จลงก็สงบได้

    อดีตมันล่วงไปแล้วไม่ต้องคำนึงถึง ถือเอาบุญเอาบาปในปัจจุบัน

    เราทำบุญทำบาป บุญบาปอันนี้แหละพาหมุนไปในปัจจุบัน

    อดีตผ่านไปแล้วเป็นมาแล้วอย่าไปคำนึงถึงเอามาเป็นอารมณ์

    อดีต อนาคตตัดออกให้หมด

    "อตฺตาหิ อตฺตโน นาโถ" ตนแลเป็นที่พึ่งของตน

    ให้ตั้งอยู่ในพระไตรสรณคมณ์ตลอดชีวิต

    เอาพุทโธเป็นมรรคเป็นอารมณ์ของใจ

    มีพุทโธ ธัมโม สังโฆเป็นอารมณ์ของใจ อย่าให้เป็นธรรมเมา

    เมาคิด เมาอ่าน เมาอดีต เมาอนาคต ใช้การไม่ได้

    ตัดอดีต อนาคตลงให้หมด จิตดิ่งอยู่ในปัจจุบัน

    รู้ในปัจจุบัน ละในปัจจุบัน วางในปัจจุบัน แจ้งอยู่ในปัจจุบัน

    ตั้งความสัตย์ลงไปว่า เวลานี้เราทำจิตทำใจให้สงบ

    อย่าไปคิด อดีต อนาคตผ่านไปแล้ว เอาปัจจุบันนี้แหละเป็นที่ตั้ง


    หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จังหวัดเชียงใหม่
     
  5. Wittayapon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    1,075
    ค่าพลัง:
    +19,233
    เราเกิดแก่ เจ็บ ตาย
    ในโลกนี้หนักขนาดไหน
    การเกิด แก่ ตาย ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย
    เป็นเรื่องทุกข์ทั้งนั้น
    ไม่ปรากฏว่าเป็นความสุขเลย
    เวลาประกอบความเพียรเท่านี้
    ทำไมจะเห็นว่าเป็นความทุกข์เป็นความลำบาก
    เราจะหาแดนพ้นทุกข์ได้ที่ตรงไหน
    จุดใดเป็นจุดที่เราจะเกิดความอบอุ่นมั่นใจ
    ถ้าไม่เกิดขึ้นจากความเพียร ความพยายาม
    หนักก็เอา เบาก็สู้ เป็นก็สู้ ตายก็สู้ ไม่ถอยหลัง
    ตายเอาดาบหน้าทั้งนั้น
    ทำแบบนี้แลคือลูกศิษย์ตถาคต
    ให้ถือกิจนี้เป็นสำคัญ
    นี่แหละแดนแห่งความพ้นทุกข์อยู่ที่ตรงนี้

    หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
    วัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี
     
  6. dutchanee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    1,127
    ค่าพลัง:
    +12,745
    หุหุ อย่างน้อยก้อพับเป็นถูงใส่กล้วยทอดได้นะ เห็นเดี๋ยวนี้ไม่ค่อยมีแล้ว สงสัยขายทอดต่อได้ราคาดีกว่า หุหุ
     
  7. dutchanee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    1,127
    ค่าพลัง:
    +12,745
    ซูฮก แม่นางแห่งขุนเขาอัญญะมณี เอ๊า..หนึ่งจอก น้ำตะใคร้
     
  8. อัญญะมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2012
    โพสต์:
    144
    ค่าพลัง:
    +2,169
    แหม...ชื่นใจจริง ๆ ขอบคุณเจ้า

    ธรรมนี้หลั่งมาดั่งน้ำฝนอันชื่นใจ
    จากท่านพ่อนั้นไซร้
    สู่กระทู้จิตพร้อม รับภัยพิบัติเอย

    อิอิอิ
     
  9. ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    สงสัยกรรมตามสนองเราแล้ว
    เราเคยขโมยซีนครูเพ็ญมาก่อน แต่มาบัดนาว ทำไมถึงเป็นตาของเราบ้าง
    โฮ๊ะๆๆ
    เราหวังจะให้ครูเพ็ญ(ครูละอียด) มาบรรยายให้ท่านผู้มีเกียรติในกระทู้นี้กันสักหน่อย นึกว่าสงสาร ผู้ที่มาเสียนว่ายตายเกิดด้วยกันเถอะ

    (แต่ผมขอชาตินี้ เป็นชาติสุดท้ายนะ..ส่วนคนอื่นๆผมไม่ทราบ เพราะผมไม่อยากไปอยู่สวรรค์ พรหม นรกไม่ต้องเอ๋ยถึง ผมลบออกจากจิตไปแล้ว
    และจิตมันจะไปไหนกันดี สำหรับผู้ไม่เอาแม้นแต่กระทั่งร่างกายของตน อาการ อารมณ์ กิเลสอยู่ครบในร่างกาย แต่ผมจับจิตตนเองแยกออกมาให้ถาวร คือรอวันตายมาถึง ถือว่าเราโชคดี คือตรูหมดเวร เพราะทิ้งทุกสิ่ง ทุกอย่างไว้กับร่างกาย คือที่อาศัยของดวงจิตชั่วคราว)

    เดี๋ยวผมจะตอบให้ก็ได้ แต่ขอเพียงสั้นๆนะ เพราะผมไม่อยากพร่ำธรรมยาว มันดูเหมือนที่ครูเพ็ญว่ามาก็จริงนะ คือเหมือนเราสาดน้ำทิ้งไปเปล่า แต่ที่ผมพยายามพร่ำให้กันฟังอยู่น่ะ พอดี ผมมิได้หวังสิ่งใดกลับคืนมาหรอก หรือมิได้ว่านพืช เพื่อหวังผล หรือสิ่งตอบแทนจากเมล็ดพืช
    เพราะสิ่งที่ผมให้ไปนั้น มีแต่สิ่งดีๆ ใครรับได้กฌรับไป
    ใครอ่านทิ้งขว้างก้ไม่เป็นไร
    แต่ถ้าใครพอจะมองเห็นธรรมแล้วนำไปปฎิบัติ ต่อยอด และสำเร็จธรรม เพียงแค่คนเดียว ผมก็ถือว่ากำไรแล้วนะ
    กำไรของผมหมายถึง พี่ภูนั้นให้ลูกเดียว
    ให้ลูกเดียว เข้าใจกันไหม๊?
     
  10. ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    ไปๆมาๆ คนร้อนวิชาก็คือเราจนได้ เอิ๊กๆ
    ผมขอตอบเพียงสั้นนะ (ไม่อยากสาดน้ำทิ้งตามครูเพ็ญว่ามา..คิคิ)
    ไม่เป็นไร พอดีน้ำที่ข้างในผมมีเยอะ(น้ำใจ)

    น้องอุตส่าห์เมตตาถามมา ผมก็เมตตาตอบไป
    วันนี้ผมจะไม่พูดธรรมะตามตำรากันนะ
    แต่จะขอพูดธรรมะตามแบบสไตล์ภูภู...ก็แล้วกัน
    ผิดถูกแย้งกันได้ แต่ผมไม่ขี้แย้งใครหรอก เพราะทุกธรรม เมื่ผมรู้ก็ปล่อยวางลูกเดียว ไม่เก็บมันไว้ให้รกจิต รกใจตนเอง
    ปล่อยว่างลูกเดียว ใครต้องการอะไรก็อย่ามาถามผมนะ
    เพราะผมให้ ให้ไปหมดแล้ว

    (เข้าเรื่อง)

    1. ช่วยอธิบายศีลละเอียดด้วยว่าเป็นเช่นไร?
    แสดงว่าศีลหยาบน้องเขาขอผ่าน แสดงว่ารักษาศีลครบสมบูรณ์แล้วนะ(หวังว่าจะเป็นเช่นนั้น)
    ศีลละเอียดก็จะหมายถึง การระมัดระวังเรื่องจิตอย่างเดียว(มโน)
    ศีลหยาบวัดที่ตัวเจตนาเป็นหลัก แต่ศีลละเอียดนั้นวัดที่จิตใจเป็นหลัก
    บางครั้งเรียกว่า ศีลข้อเดียว คือศีลใจ(ไม่ใช่สินใจ คนนั้นของนกฉัตรชัยเขานะ) แค่คิดก็ผิดแล้ว ไม่เจตนาก็ผิด
    เพราะศีลละเอียดเลย ศีลหยาบ กลางแล้ว ก็คือ การกระทำ และคำพูด
    (ไม่เข้าใจถามใหม่)
    ความจริงกระทู้มิได้ให้มาเอาแค่ได้คำตอบแล้ววิ่งกลับบ้านไปนอนกันเฉยๆนะ ไม่เอามันนะ เดี๋ยวตกนรกมันกว่านี้อีก คอยชม
    ขอให้พวกเราปฎิบัตินำความลังเล สงสัยกันมากกว่า หรือมาหาคำตอบจากผู้อื่นอยู่เรื่อยไปนะ อันนี้เลิกนะ จริงๆถามได้หมด แต่ถ้าถามลองภูมิโดนนะ เพราะคำตอบของเราจะดีที่สุด ถูกใจที่สุด เพียงแค่ทำสมาธิกันให้เป็น หรือง่ายที่สุดตอนนี้ก็คือ ทำจิตเกาะพระ กันให้ได้ เดี๋ยวทุกอย่างจะจบลงอย่างสวยงาม

    2. ช่วยอธิบาย ขั้นตอนและขบวนการที่ มีสิ่งมากระทบ แล้วเราก็รับรู้ ปรุงแต่ง แล้วตอบสนองกลับไป (ช่วยอธิบาย คำจำกัดความของ สติ จิต ใจ ตัวรู้ ผู้รู้ ผู้ถูกรู้ ให้ด้วยครับ เพราะว่า งง.. ไม่ค่อยจะเข้าใจแจ่มชัด หรือว่าอาจจะเข้าใจผิดอยู่?) รวมถึงวิธีการที่จะทำให้ เกิดและดับอยู่ที่ตรงนั้นเลย เช่น เมื่อกระทบ รับรู้ ดับที่ตรงนั้นเลย
    โหๆมาเป็นชุด ชอบคำถามออโต้ดีจัง
    ขออธิบายความหมายของคำๆนี้ก่อน...
    สติ หมายถึง ตัวรู้
    จิต(mild) หมายถึง ผู้รู้ (ดวงจิต จิตเดิมแท้)
    ใจ(feeling) หมายถึง ผู้ถูกรู้ (เจตสิก แปลว่าท่าทาง ลักษณะ อาการ อารมณ์ของจิต) ที่คนมักพูดถึงกันเสมอๆว่า จิตมีหลายดวง หลายสิ! โดยเฉพาะคนที่คิดมาก คิดลึก ชอบตกอยู่กับความคิด จิตปรุงแต่ง ฟุ้งซ่านกันมาก จึงเกิดจิตขึ้นมาใหม่

    คนทั่วไป(ทางโลก)มักใช้จิตกับใจ(จิตใจ)รวมกัน พอมาเรียนธรรมะกันมักจะสับสน ในคำ ในความหมาย เพราะความรู้ทางโลกเปรียบแค่สัญญา จึงมิใช่ปัญญาตามที่เราเข้าใจกัน เพราะอีกไม่นานเดี๋ยวก็ลืม
    แต่ความรู้ในทางธรรมเปรียบเสมือนปัญญา
    แต่จริงๆแล้วจิตคนเรามีดวงเดียว คือ จิต(ผู้รู้) ดวงจิต จิตแท้ จิตแก่น จิตบุญ จิตประภัสสร เป็นต้น
    และใจของเรานี้แหล่ะ เป็นจิตปรุงแต่งมาจากอายตนะภายนอก ที่เรารับเกันเข้ามากัน หรือผู้ถูกรู้
    แต่จะมีสติเป็นผู้ดู จิต(ผู้รู้) และใจ(ผู้ถูกรู้) อีกทีนึง เริ่มงงกันยัง คนพูดเริ่มงงแร๊ะ!
    แต่ทั้งผู้รู้และผู้ถูกรู้นี้ ก็ไม่เที่ยง เพราะผู้ถูกรู้ เกิดจากผู้รู้ นี่ไง ไฟกิเลสจะดับกันได้ก็ต้องดับตัวผู้รู้นี้กันนะ
    แล้วจะดับกันตรงไหน ตอนไหน???
    เราก็ทำจิตเกาะพระกันสิ! คือทำสมาธิ หรือจิตทรงฌานกัน
    เพราะว่า ถ้าสติเกิดขึ้น ผู้รู้+ผู้ถูกรู้=สมาธิ ก็หมายความว่า จิตจะหยุดการปรุงแต่ง(ชั่วคราว แต่ถ้าจิตไม่เป็นสมาธิ หรือฌานถอย ฌานเสื่อม ผู้รู้(จิต)ก็จะยังไม่เลิกปรุงแต่ง)
    นี่ไงเขาถึงให้พวกเราหมั่นเจริญสติภาวนากันอยู่บ่อยๆกันก็เพราะว่า ให้สติเกิดกันบ่อยๆ นั่นเอง
    เพราะสติเกิด จิตก็จะเป็นสมาธิ และจิตปัญญาจึงตามมาทีหลัง
    แต่จะให้จิต(ผู้รู้)เลิกปรุงแต่งแบบถาวร หรือให้หมดเชื้อไฟ เชื้อกิเลสนั้น เราจะต้องปฎิบัติธรรม ขั้นจินตามยปัญญา คือใช้ปัญญาน้อมจิตเข้ามาหาไตรลักษณ์กันในที่สุด

    ในเมื่อผู้รู้ ยังไม่รู้ผู้รู้ แสดงว่าผู้รู้ยังเป็นผู้หลงกันอยู่ ยึดมั่นว่าผู้รู้เป็นตนเป็นผู้รู้ ยังมีความคิดแบ่งแยกว่า นี่เรา นั่นเขา
    แต่เมื่อผู้รู้ รู้ผู้รู้ แสดงว่าผู้รู้ รู้แจ้ง ไม่มีหลง
    ผู้รู้แจ้งเมื่อมีอะไรมากระทบก็รู้ ว่ามันไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน
    เมื่อจิตผู้รู้ รู้แจ้ง ก็ไม่หลงคว้าเงาเจ้าของ การปรุงแต่ง ความคิดจึงเปรียบได้ดั่งเงาจิต ในเมื่อจิตละความพอใจ ไม่พอใจออกได้แล้ว
    ความคิดเกิดขึ้นก็ดับไป เวทนาพอใจและไม่พอใจยังไม่เกิด
    แต่ถ้าจะอธิบายอย่างละเอียด ปฏิบัติจนถึงขั้นเห็นตอมันจริงๆ ถ้าสติยังไม่แก่กล้าพอที่จะดูการเกิดดับของความคิด
    ก็มาดูที่เวทนา พอใจและไม่พอใจ หรือเฉยๆ เมื่อตอนมีการกระทบทางอายตนะ ดูไปเรื่อยๆ เห็นความไม่เที่ยงของมันไปเรื่อยๆ จนกว่าสติจะแก่กล้า และจนกระทั้งรู้ถึงตอเหตุของมัน แล้วขุดตอมันออก ตอมันคือ อวิชชา เมื่อมีรูป รส กลิ่น เสียงมากระทบอายตนะ รู้สักแต่ว่ารู้ สิ่งถูกรู้ก็สักแต่ว่าเท่านั้น เห็นมันมากระทบกันแล้วก็สลายไป ก็แค่นั้นเอง
    ถ้ารู้เท่าทันตรงนั้นกันอย่างชัดเจน เราจะเห็นว่าความพอใจและไม่พอใจไม่ทันเกิดด้วยซ้ำไป นั่นคือ ขบวนการสุดท้ายจริงๆ
    ผู้รู้แจ้งกันจริงๆ ก็น่าจะเป็นพระอรหันต์ เพราะว่าอวิชชา หรือความโง่ ความไม่รู้จริงมันดับสลายไปแล้ว สังขาร หรือความคิดปรุงแต่งไปกับสิ่งที่ผู้ถูกรู้นั้นไม่มีแล้ว จิตเป็นอิสระ จิตอุเบกขา จิตจิตเป็นกลาง จิตเข้าถึงธรรมชาติที่เป็นกลาง เป็นจิตพุทธะ ไม่เกิดไม่ดับ ไม่สุขไม่ทุกข์(แบบชาว) แต่มีความผาสุก สันติสุข อย่างเที่ยงแท้แน่นอน
    นั่นแหละ! พระนิพพาน ดินแดนบรมสุข ศานติสุขของพระพุทธเจ้า หรือดั่งกับพระอรหันต์กันทั้งหลาย


    จริงๆแล้ว จิตมีดวงเดียว ก็คือ จิต ดวงจิต(ผู้รู้) เท่านั้น คือจิตประภัสสร
    แต่ที่เราเข้าใจมีดวงจิตหลายดวงเกิดขึ้นภายในจิต มีหลายดวงนั้น
    ก็หมายถึงว่า อาการ อารมณ์ของจิต(เจตสิก)นั่นเอง
    เพราะทั้งจิตเกิดขึ้นก็ดับไปอีก หรือจิตตัวแรกดับไป จิตตัวที่สองก็เกิดขึ้นมาแทน จะเป็นอยู่อย่างนี้ตลอดกันไป จนเข้าจิตใครเข้านิพพาน
    ถึงบอกกับพวกเราว่า รู้อะไรแล้วให้ปล่อยวาง ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น
    นี่ก็คือ การดับตรงนี้(ทุกข์เกิดที่ไหน ก็ดับที่นั้น)
    หรือรู้ธรรมอะไรมาก็ให้ลงท้ายด้วยธรรมตัวสุดท้ายก็คือ พระไตรลักษณ์ให้หมด(ดับไม่เหลือ)

    แต่จะมีสติเท่านั้น ที่จะเข้าไปดู ไปรู้ กับตัวผู้รู้ และผู้ถูกรู้
    แต่ถ้าเมื่อไหร่ เรามีสติ ทั้งผู้รู้และผู้ถูกรู้ก็จะหยุด เพราะจิตเป็นสมาธิ เป็นฌาน
    คือผู้รู้หยุดการปรุงแต่ง และก็จะคงเหลือแค่ ผู้รู้กับตัวรู้
    สติ+จิต=สมาธิ ฌาน+ปัญญา=วิปัสสนา=ญาณ
    =ผู้หยั่งรู้=รู้ตามความเป็นจริง=ละปล่อยวาง ไม่ยึดถือ=ไตรลักษณ์=ความว่าง
    สรุปแล้ว เราจะต้องนำจิตออกมาจากกิเลส หรือแยกกายกับจิตออกจากกันให้จงได้ ให้สิ้นเชิง
    ถึงจะได้ไม่รู้สึกเป็นทุกข์กันอีกต่อไป
    ยกจิตด้วย ทำจิตเกาะพระกัน แล้วท่านจะหายสงสัย
    (ยาวจนได้) บอกแล้วอย่าให้ผมพูด ธรรมะทุกท่านจะรู้กันได้ง่าย ต้องทำจิตให้นิ่งกันก่อน
    เพราะเรียนรู้ภายนอก(ความรู้ทางโลก) จะรู้น้อยกว่าทางในจิต(ทางธรรม)
    คือรู้ทางในจิตของตนนั้น รู้มาก รู้กว้าง รู้ลึก รู้ละเอียด
    ธรรมะยิ่งพูดให้ฟังกันมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งไม่รู้เรื่อง เหมือนจะรู้เรื่องดี แต่ไม่เข้าใจกันหรอก
    เพราะฉะนั้นจงรีบปฎิบัตินำความสงสัยของตนเองจะดีกว่าที่สุด
     
  11. Kim_UoonSo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    518
    ค่าพลัง:
    +5,937
    ชีวิต กับ ต้นไผ่




    คนเราก็เหมือนหน่อไม้ที่เกิดมาพ้นดิน
    ดินเปรียบเสมือนทุกข์ และนรกที่เราต่างอยากหลีกหนีไปให้พ้นๆ
    เปลือกที่ห้อหุ้มหน่อไม้เปรียบเสมือนกิเลสที่เกาะเราไว้แน่นหนากลัวว่าเนื้อในเราจะบอบช้ำ



    นานวันหน่อไม้ก็โตขึ้นจนเป็นต้นไผ่ แตกกิ่งก้านสาขาออกไปเหมือนคนเราที่โตขึ้นก็มีลูก มีครอบครัว ทำงานหาเงินเลี้ยงชีพไปเรื่อยๆ ทะเยอทะยานให้ยอดกิ่งไผ่พุ่งไปสู่ฟ้าหวังจะได้ความสุขในชีวิต



    ยอดกิ่งไผ่สูงขึ้นไปไม่มีวันหยุด เหมือนมนุษย์ไม่รู้จักคำว่าพอ
    มองกลับมาทางเก่า มองมาที่ดินโคนต้นก็ยิ่งช้ำใจ เกิดเป็นมนุษย์ก็เจอทุกข์อยู่ร่ำไป
    มองไปข้างหน้า มองไปบนฟ้าก็ไร้จุดหมาย ไม่รู้จะต้องวิ่งไปอีกไกลแค่ไหน ชีวิตถึงจะเจอคำว่า "สุข" พอ



    มนุษย์ทุกคนก็เหมือนกอไผ่ แตกหน่อกันไปไม่สิ้นสุด
    เกิดแล้วก็เกิดเล่า ตายแล้วก็ตายเล่า
    แต่เมื่อเกิดแล้วก็สมควรเรียนรู้สิ่งที่อยู่ภายในตัวเอง
    มัวแต่วิ่งหน้าไปหาึความสุขเหมือนต้นไผ่ก็มีแต่จะเหนื่อยเปล่า...
    แต่ใครจะรู้เล่าว่า "ในต้นไผ่มีเยื่อแห่งเพชรอยู่"
    เพชรอันนั้นทั้งสว่าง สะอาด สดใส มีประกายที่รอคอยให้ใครได้แกะเปลืองแล้วเจอเข้าสักวัน



    ในวันนี้ที่ท่านยังหลงกับสิ่งภายนอก
    ท่านได้มองไปภายในใจตัวเองแล้วหรือยังว่าใจของท่านใช่เพชรหรือไม่?
    ขอให้ทุกท่านตามหาเพชรนั้นให้เจอ

    "เพชรแห่งพระนิพพาน"




    ปล. ว่าจะนอนแต่ก็ทำธุึระมาหลายชั่วโมง ทั้งปวดหัวแต่ก็ต้องทำงาน แต่พอจะนอนกลับนอนไม่หลับ มันนอนไม่ได้ สุดท้ายก็คิดเรื่องนี้ได้เลยลุกมาพิมพ์ให้ทุกท่านได้อ่าน เผื่อจะเป็นประโยชน์กับใครบ้าง
    ตอนนี้หว้าพิมพ์เสร็จแล้วและหัวก็คลายอาการปวดลงบ้่างแล้ว คงจะนอนหลับได้ดี.. ขอให้ทุกท่านนอนหลับฝันดี ราตรีสวัสดิ์ค่ะ



     
  12. ลูกพลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    413
    ค่าพลัง:
    +8,932
    อ้างอิง:
    ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ ลูกพลัง
    เรียนคุณภูและครูเพ็ญ ได้โปรดช่วยอธิบายข้อสงสัยของผมด้วยสัก 2 ข้อ ดังนี้
    .......(คำตอบข้างล่าง).......
    ขอขอบพระคุณล่วงหน้าครับ และขอให้ทุกๆท่านเจริญในธรรมครับ
    ไปๆมาๆ คนร้อนวิชาก็คือเราจนได้ เอิ๊กๆ
    ผมขอตอบเพียงสั้นนะ (ไม่อยากสาดน้ำทิ้งตามครูเพ็ญว่ามา..คิคิ)
    ไม่เป็นไร พอดีน้ำที่ข้างในผมมีเยอะ(น้ำใจ)

    น้องอุตส่าห์เมตตาถามมา ผมก็เมตตาตอบไป
    วันนี้ผมจะไม่พูดธรรมะตามตำรากันนะ
    แต่จะขอพูดธรรมะตามแบบสไตล์ภูภู...ก็แล้วกัน
    ผิดถูกแย้งกันได้ แต่ผมไม่ขี้แย้งใครหรอก เพราะทุกธรรม เมื่ผมรู้ก็ปล่อยวางลูกเดียว ไม่เก็บมันไว้ให้รกจิต รกใจตนเอง
    ปล่อยว่างลูกเดียว ใครต้องการอะไรก็อย่ามาถามผมนะ
    เพราะผมให้ ให้ไปหมดแล้ว

    (เข้าเรื่อง)
    1. ช่วยอธิบายศีลละเอียดด้วยว่าเป็นเช่นไร?
    แสดงว่าศีลหยาบน้องเขาขอผ่าน แสดงว่ารักษาศีลครบสมบูรณ์แล้วนะ(หวังว่าจะเป็นเช่นนั้น)
    ศีลละเอียดก็จะหมายถึง การระมัดระวังเรื่องจิตอย่างเดียว(มโน)
    ศีลหยาบวัดที่ตัวเจตนาเป็นหลัก แต่ศีลละเอียดนั้นวัดที่จิตใจเป็นหลัก
    บางครั้งเรียกว่า ศีลข้อเดียว คือศีลใจ(ไม่ใช่สินใจ คนนั้นของนกฉัตรชัยเขานะ) แค่คิดก็ผิดแล้ว ไม่เจตนาก็ผิด
    เพราะศีลละเอียดเลย ศีลหยาบ กลางแล้ว ก็คือ การกระทำ และคำพูด
    (ไม่เข้าใจถามใหม่)
    ความจริงกระทู้มิได้ให้มาเอาแค่ได้คำตอบแล้ววิ่งกลับบ้านไปนอนกันเฉยๆนะ ไม่เอามันนะ เดี๋ยวตกนรกมันกว่านี้อีก คอยชม
    ขอให้พวกเราปฎิบัตินำความลังเล สงสัยกันมากกว่า หรือมาหาคำตอบจากผู้อื่นอยู่เรื่อยไปนะ อันนี้เลิกนะ จริงๆถามได้หมด แต่ถ้าถามลองภูมิโดนนะ เพราะคำตอบของเราจะดีที่สุด ถูกใจที่สุด เพียงแค่ทำสมาธิกันให้เป็น หรือง่ายที่สุดตอนนี้ก็คือ ทำจิตเกาะพระ กันให้ได้ เดี๋ยวทุกอย่างจะจบลงอย่างสวยงาม
    2. ช่วยอธิบาย ขั้นตอนและขบวนการที่ มีสิ่งมากระทบ แล้วเราก็รับรู้ ปรุงแต่ง แล้วตอบสนองกลับไป (ช่วยอธิบาย คำจำกัดความของ สติ จิต ใจ ตัวรู้ ผู้รู้ ผู้ถูกรู้ ให้ด้วยครับ เพราะว่า งง.. ไม่ค่อยจะเข้าใจแจ่มชัด หรือว่าอาจจะเข้าใจผิดอยู่?) รวมถึงวิธีการที่จะทำให้ เกิดและดับอยู่ที่ตรงนั้นเลย เช่น เมื่อกระทบ รับรู้ ดับที่ตรงนั้นเลย
    โหๆมาเป็นชุด ชอบคำถามออโต้ดีจัง
    ขออธิบายความหมายของคำๆนี้ก่อน...
    สติ หมายถึง ตัวรู้
    จิต(mild) หมายถึง ผู้รู้ (ดวงจิต จิตเดิมแท้)
    ใจ(feeling) หมายถึง ผู้ถูกรู้ (เจตสิก แปลว่าท่าทาง ลักษณะ อาการ อารมณ์ของจิต) ที่คนมักพูดถึงกันเสมอๆว่า จิตมีหลายดวง หลายสิ! โดยเฉพาะคนที่คิดมาก คิดลึก ชอบตกอยู่กับความคิด จิตปรุงแต่ง ฟุ้งซ่านกันมาก จึงเกิดจิตขึ้นมาใหม่

    คนทั่วไป(ทางโลก)มักใช้จิตกับใจ(จิตใจ)รวมกัน พอมาเรียนธรรมะกันมักจะสับสน ในคำ ในความหมาย เพราะความรู้ทางโลกเปรียบแค่สัญญา จึงมิใช่ปัญญาตามที่เราเข้าใจกัน เพราะอีกไม่นานเดี๋ยวก็ลืม
    แต่ความรู้ในทางธรรมเปรียบเสมือนปัญญา
    แต่จริงๆแล้วจิตคนเรามีดวงเดียว คือ จิต(ผู้รู้) ดวงจิต จิตแท้ จิตแก่น จิตบุญ จิตประภัสสร เป็นต้น
    และใจของเรานี้แหล่ะ เป็นจิตปรุงแต่งมาจากอายตนะภายนอก ที่เรารับเกันเข้ามากัน หรือผู้ถูกรู้
    แต่จะมีสติเป็นผู้ดู จิต(ผู้รู้) และใจ(ผู้ถูกรู้) อีกทีนึง เริ่มงงกันยัง คนพูดเริ่มงงแร๊ะ!
    แต่ทั้งผู้รู้และผู้ถูกรู้นี้ ก็ไม่เที่ยง เพราะผู้ถูกรู้ เกิดจากผู้รู้ นี่ไง ไฟกิเลสจะดับกันได้ก็ต้องดับตัวผู้รู้นี้กันนะ
    แล้วจะดับกันตรงไหน ตอนไหน???
    เราก็ทำจิตเกาะพระกันสิ! คือทำสมาธิ หรือจิตทรงฌานกัน
    เพราะว่า ถ้าสติเกิดขึ้น ผู้รู้+ผู้ถูกรู้=สมาธิ ก็หมายความว่า จิตจะหยุดการปรุงแต่ง(ชั่วคราว แต่ถ้าจิตไม่เป็นสมาธิ หรือฌานถอย ฌานเสื่อม ผู้รู้(จิต)ก็จะยังไม่เลิกปรุงแต่ง)
    นี่ไงเขาถึงให้พวกเราหมั่นเจริญสติภาวนากันอยู่บ่อยๆกันก็เพราะว่า ให้สติเกิดกันบ่อยๆ นั่นเอง
    เพราะสติเกิด จิตก็จะเป็นสมาธิ และจิตปัญญาจึงตามมาทีหลัง
    แต่จะให้จิต(ผู้รู้)เลิกปรุงแต่งแบบถาวร หรือให้หมดเชื้อไฟ เชื้อกิเลสนั้น เราจะต้องปฎิบัติธรรม ขั้นจินตามยปัญญา คือใช้ปัญญาน้อมจิตเข้ามาหาไตรลักษณ์กันในที่สุด

    ในเมื่อผู้รู้ ยังไม่รู้ผู้รู้ แสดงว่าผู้รู้ยังเป็นผู้หลงกันอยู่ ยึดมั่นว่าผู้รู้เป็นตนเป็นผู้รู้ ยังมีความคิดแบ่งแยกว่า นี่เรา นั่นเขา
    แต่เมื่อผู้รู้ รู้ผู้รู้ แสดงว่าผู้รู้ รู้แจ้ง ไม่มีหลง
    ผู้รู้แจ้งเมื่อมีอะไรมากระทบก็รู้ ว่ามันไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน
    เมื่อจิตผู้รู้ รู้แจ้ง ก็ไม่หลงคว้าเงาเจ้าของ การปรุงแต่ง ความคิดจึงเปรียบได้ดั่งเงาจิต ในเมื่อจิตละความพอใจ ไม่พอใจออกได้แล้ว
    ความคิดเกิดขึ้นก็ดับไป เวทนาพอใจและไม่พอใจยังไม่เกิด
    แต่ถ้าจะอธิบายอย่างละเอียด ปฏิบัติจนถึงขั้นเห็นตอมันจริงๆ ถ้าสติยังไม่แก่กล้าพอที่จะดูการเกิดดับของความคิด
    ก็มาดูที่เวทนา พอใจและไม่พอใจ หรือเฉยๆ เมื่อตอนมีการกระทบทางอายตนะ ดูไปเรื่อยๆ เห็นความไม่เที่ยงของมันไปเรื่อยๆ จนกว่าสติจะแก่กล้า และจนกระทั้งรู้ถึงตอเหตุของมัน แล้วขุดตอมันออก ตอมันคือ อวิชชา เมื่อมีรูป รส กลิ่น เสียงมากระทบอายตนะ รู้สักแต่ว่ารู้ สิ่งถูกรู้ก็สักแต่ว่าเท่านั้น เห็นมันมากระทบกันแล้วก็สลายไป ก็แค่นั้นเอง
    ถ้ารู้เท่าทันตรงนั้นกันอย่างชัดเจน เราจะเห็นว่าความพอใจและไม่พอใจไม่ทันเกิดด้วยซ้ำไป นั่นคือ ขบวนการสุดท้ายจริงๆ
    ผู้รู้แจ้งกันจริงๆ ก็น่าจะเป็นพระอรหันต์ เพราะว่าอวิชชา หรือความโง่ ความไม่รู้จริงมันดับสลายไปแล้ว สังขาร หรือความคิดปรุงแต่งไปกับสิ่งที่ผู้ถูกรู้นั้นไม่มีแล้ว จิตเป็นอิสระ จิตอุเบกขา จิตจิตเป็นกลาง จิตเข้าถึงธรรมชาติที่เป็นกลาง เป็นจิตพุทธะ ไม่เกิดไม่ดับ ไม่สุขไม่ทุกข์(แบบชาว) แต่มีความผาสุก สันติสุข อย่างเที่ยงแท้แน่นอน
    นั่นแหละ! พระนิพพาน ดินแดนบรมสุข ศานติสุขของพระพุทธเจ้า หรือดั่งกับพระอรหันต์กันทั้งหลาย

    จริงๆแล้ว จิตมีดวงเดียว ก็คือ จิต ดวงจิต(ผู้รู้) เท่านั้น คือจิตประภัสสร
    แต่ที่เราเข้าใจมีดวงจิตหลายดวงเกิดขึ้นภายในจิต มีหลายดวงนั้น
    ก็หมายถึงว่า อาการ อารมณ์ของจิต(เจตสิก)นั่นเอง
    เพราะทั้งจิตเกิดขึ้นก็ดับไปอีก หรือจิตตัวแรกดับไป จิตตัวที่สองก็เกิดขึ้นมาแทน จะเป็นอยู่อย่างนี้ตลอดกันไป จนเข้าจิตใครเข้านิพพาน
    ถึงบอกกับพวกเราว่า รู้อะไรแล้วให้ปล่อยวาง ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น
    นี่ก็คือ การดับตรงนี้(ทุกข์เกิดที่ไหน ก็ดับที่นั้น)
    หรือรู้ธรรมอะไรมาก็ให้ลงท้ายด้วยธรรมตัวสุดท้ายก็คือ พระไตรลักษณ์ให้หมด(ดับไม่เหลือ)

    แต่จะมีสติเท่านั้น ที่จะเข้าไปดู ไปรู้ กับตัวผู้รู้ และผู้ถูกรู้
    แต่ถ้าเมื่อไหร่ เรามีสติ ทั้งผู้รู้และผู้ถูกรู้ก็จะหยุด เพราะจิตเป็นสมาธิ เป็นฌาน
    คือผู้รู้หยุดการปรุงแต่ง และก็จะคงเหลือแค่ ผู้รู้กับตัวรู้
    สติ+จิต=สมาธิ ฌาน+ปัญญา=วิปัสสนา=ญาณ
    =ผู้หยั่งรู้=รู้ตามความเป็นจริง=ละปล่อยวาง ไม่ยึดถือ=ไตรลักษณ์=ความว่าง
    สรุปแล้ว เราจะต้องนำจิตออกมาจากกิเลส หรือแยกกายกับจิตออกจากกันให้จงได้ ให้สิ้นเชิง
    ถึงจะได้ไม่รู้สึกเป็นทุกข์กันอีกต่อไป
    ยกจิตด้วย ทำจิตเกาะพระกัน แล้วท่านจะหายสงสัย
    (ยาวจนได้) บอกแล้วอย่าให้ผมพูด ธรรมะทุกท่านจะรู้กันได้ง่าย ต้องทำจิตให้นิ่งกันก่อน
    เพราะเรียนรู้ภายนอก(ความรู้ทางโลก) จะรู้น้อยกว่าทางในจิต(ทางธรรม)
    คือรู้ทางในจิตของตนนั้น รู้มาก รู้กว้าง รู้ลึก รู้ละเอียด
    ธรรมะยิ่งพูดให้ฟังกันมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งไม่รู้เรื่อง เหมือนจะรู้เรื่องดี แต่ไม่เข้าใจกันหรอก
    เพราะฉะนั้นจงรีบปฎิบัตินำความสงสัยของตนเองจะดีกว่าที่สุด
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย ภูทยานฌาน2 : วันนี้ เมื่อ 03:21 AM



    กราบขอบพระคุณ คุณพี่ภูด้วยความจริงใจและท่านอื่นๆด้วยที่ช่วยให้ ธรรมทานแก่ข้าพเจ้า (รวมถึงผู้อ่านท่านอื่นๆด้วย) สาธุ สาธุ...

    สรุป ผมจับประเด็นได้ว่า
    1. ศีลละเอียด คือ ศีลในจิต เป็นมโนกรรม
    สันนิฐานว่าน่าจะพิชิตได้ด้วย
    1.1 การทรงฌาน (อย่างน้อยก็อุปจารสมาธิ) ให้ได้ตลอดเวลา --> พิชิตได้ชั่วคราวเท่ากำลังสมาธิที่มี
    1.2 การทรงสติ ให้ได้มากที่สุดหรือตลอดเวลา --> ศีลละเอียดก็น่าจะผ่านได้

    2. สติและจิต ทำให้รวมเป็นหนึ่งเพื่อสร้างกำลังทางปัญญา ด้วยการปลงลงที่พระไตรลักษณ์
    ไม่ต้องไปสนใจคำนิยามหรือยึดติดกับมัน จำได้เดี๋ยวก็ลืม...
    รู้-วาง รู้-วาง รู้-วาง, เกิด-ดับ เกิด-ดับ เกิด-ดับ
    ถึงที่สุด ธรรมะที่เกิดจาก การปฎิบัติก็ไม่ยึดติด....

    ขอให้เจริญในธรรม(ขั้นสูงสุด)ทุกๆท่านครับ...
     
  13. Wittayapon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    1,075
    ค่าพลัง:
    +19,233
    ขอเขียนนิดนึงครับ แล้วจะขอแปลงร่างเป็นขอมดำดิน ไปตามหาอะไรสักพักครับ
    "อย่าอยู่ อย่างอยาก"

    สวัสดีครับ
     
  14. Plapersia เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2012
    โพสต์:
    93
    ค่าพลัง:
    +775
    พี่วิทย์บอก อย่าอยู่อย่างอยาก คิดถึงเพลงนี้ อย่าอยู่อย่างอยาก ฮ่าๆ

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=Azvh8SSwlDI]อย่าอยู่อย่างอยาก - YouTube[/ame]

    เหมือนกับ จิตเกาะพระ ถ้าเราอยากถึงฝั่งฝัน(จิตยก) ก็ควรจะรีบต่อเรือ(หารูปพระสวยๆ) แล้วเล่นเรือไปให้ถึงฝั่ง(ฝึกจิเกาะพระ) ทำแล้วดีไหม บอกไปคงไม่รู้ชัดเห็นจริงต้องลอง(จิตเกาะพระดู)แล้วจะรู้ว่าดีอย่างไร ^^

    ประยุกต์เอามาจากเนื้อเพลงนะค่ะ ใครที่ซุ่มอยู่ แอบเข้ามาดูบ่อยๆ อยากให้ลองทำดูค่ะ คนพิมนี่ยังไม่ถึงฝั่งฝันค่ะ กำลังแล่นเรืออยู่ แต่ต้องพยายามต่อไปนะค่ะ ฝั่งไกลแค่ไหน มองไม่เห็นฝั่งก็ต้องพยายามต่อไปค่ะ เหมือน "พระมหาชนก" ในหนังสือพระราชนิพนธ์ของในหลวงไงค่ะ ^^
     
  15. ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    รู้ให้หนำใจอีกรอบกับธรรม: เรื่องการดูจิต

    ในเมื่อสติ คือ ตัวรู้
    ทำหน้าที่คล้ายๆตัวเรา(สมมุติ) พยายามอธิบายให้พอเข้าใจก่อน เพราะถ้าถึงเวลาปฎิบัติกันจริงๆแล้ว ต่อไปนี้เราจะไม่ใช่ สติ(ตัวรู้) ไม่ใช่จิต(ผู้รู้) เจกสิก(ผู้ถูกรู้) และตัวท้ายสุดนี้ ก็คือ ปัญญา(ตัวผู้รู้)
    และตัวสุดท้ายนี้ ถือว่าสำคัญที่สุดของขบวนการเจริญสติภาวนา(ทำสมาธิ) หรือเรื่องการดูจิต ที่บอกว่าสำคัญมากนั้นก็เพราะว่า จะทำให้จิตของเรายกกันได้ก็ตอนนี้ ทำให้จิตหยุดการปรุงแต่งการปรุงต่อไป ที่เราเรียกว่า เจตสิก ทำให้เราพ้นทุกข์ บรรลุธรรมกันตรงนี้
    ทำหน้าที่ ตามดู ตามรู้จิต และเจตสิก

    จิต คือ ผู้รู้
    จิต หรือวิญญาณ มีชื่อเรียกได้หลายอย่าง เรียกตามเหตุปัจจัย เช่น วิญญาณขันธ์ มโนธาตุ จิตเดิมแท้ จิตประภัสสร จิตพุทธะ เป็นต้น
    จิตเป็นธรรมชาติชนิดหนึ่งที่รู้อารมณ์ และอารมณ์ก็เป็นธรราชาติที่ถูกจิตรู้ แต่ถ้าจิตรู้สิ่งใด สิ่งนั้นคือ อารมณ์

    สรุปว่า: จิตเป็นผู้รู้ อารมณ์เป็นสิ่งที่ถูกรู้ หรือผู้ถูกรู้
    จิตคือ ธาตุรู้เดิม ใจคืออาการของจิตที่ถูกกระทบแล้วนำมาปรุงแต่ง คิดฟุ้งซ่านกันต่อไป
    ธรรมชาติแห่งจิตจะคอยทำหน้าที่ ไปรับรู้เรื่องราวต่างๆ หรืออาการ อารมณ์ของจิตจะเข้ามากันทางอายตนะ6ทั้งภายนอก และทางใน หรือเรียกกันว่า สิ่งต่างๆที่มากระทบจิต และพร้อมส่งไปให้กับใจ หรือเจตสิกต่อไป(รู้สึก นึกคิด ปรุงแต่งกันต่อไป ตามเหตุและปัจจัย)
    ปกติจิตมีดวงเดียว คือจิตตัวนี้แหล่ะ! แต่จิตตัวนี้แหล่ะ+ จะไปสร้างจิตอีกหลายดวงจนนับไม่ถ้วน จิตหลายดวงที่กล่าวมานั้นก็คือ ใจ หรือเจตสิก
    จิตเกิดดับอย่างรวดเร็วมาก และเป็นการยากที่บุคคลจะรู้เท่าทันได้ เราถึงต้องอาศัยทำให้สติเกิดขึ้นอยู่บ่อยๆกันก็เพราะด้วยเหตุนี้ เพราะธรรมชาติของสติเองก็ยังไม่เที่ยงเหมือนกัน คือลักษณะของการเกิดของสติเราเป็นดั่งเส้นรอยปะ

    อารมณ์จิต(ใจ หรือเจตสิก) คือ ผู้ถูกรู้
    เจตสิก มี ๕๒ ตัว มีอะไรบ้าง? อยากรู้ไปหาเพิ่มเติมกันเอง
    เจตสิก แปลว่า ธรรมะประกอบแห่งจิต หรือสิ่งที่เกิดขึ้นในใจ ทางใจ
    เจตสิก หมายความว่า ลักษณะ อาการ อารมณ์ต่างๆของจิต

    ปล. ท่านผู้อ่านจะรู้ซึ้งถึงแก่นสารธรรมกันได้ทั้งหมดนี้ คือท่านจะต้องเป็นผู้ปฎิบัติเอง
    ดูเอง เห็นเอง รู้เอง และก็ชอบเอง
    เพราะคนส่วนใหญ่มักจะสับสนกับภาษาสมมุติ(ภาษาทางโลก) เพราะภาษามันดิ้นได้ แต่ถ้าเรานำจิตเข้าไปดู ไปรู้กันแล้ว ต่อไปเราจะรู้มาก เข้าใจมากกว่านี้ เพราะจิตรู้มาก รู้ลึก รู้กว้าง รู้ละเอียด มากว่าที่เรารู้กันทางโลกเป็นไหนๆ
    โดยเฉพาะเรื่องจิตใจ จิตและใจแตกต่างกันอย่างไร และบางคนพูดกันมากกับเรื่อง ตัวรู้ ผู้รู้ ผู้ถูกรู้ และตัวผู้รู้ จนดูสับสน อลหม่าน
    เพราะฉะนั้นความรู้ที่ได้จากบุคคลอื่น หรือจากตำราก็ตาม ขอแค่อ่านพอให้เรารู้ก็พอ พวกเราอย่านำตำรา หรือความรู้มาหักล้าง หรือเถียงกันอยู่เลย คนที่มัวหักล้าง หรือเถียงกันอยู่นี้ เผลอตายไปลงนรกกันโดยมิรู้ตัว เพราะจิตตก เสียอารมณ์ เพราะความโกรธ หรือไม่พอใจ จิตตกอยู่ในอบายกันแล้ว

    แต่ผู้ที่รู้กันจริงๆนั้น ส่วนใหญ่เป็นพระอรหันต์ หรือจิตอรหันต์ เพราะพวกเขาเหล่านั้น ปลีกวิเวก หลบหนีจากผู้คน (ผมหมายถึงจิตของท่านนะ) แต่ยังคงปล่อยกายให้ทำหน้าที่กับทางโลกไป จิตของท่านนิ่งสงบ บรมสุขกันอยู่ภายใน คือจิตเลิกปรุงแต่ง หรือดับเจตสิกต่างๆกันได้ตรงนั้น แต่ถ้าเราหยุดคิด หยุดอารมณ์กันได้ที่จิตไปรับรู้มาจากอายตนะ6 สิ่งที่มากระทบจิตนั้นจึงไม่มีผล เช่น ทุกข์เกิดที่ไหน ก็ดับที่นั่น ทุกข์เกิดที่จิต เราก็ดับที่จิต แต่ดับกันตอนไหน เมื่อไหร่นั้นก็คือ พบเจอ รู้ตัวเมื่อใดก็ให้ดับกันเมื่อนั้น
    แต่ความจริงๆแล้ว จิตก็ยังคงอยู่กับร่างกายนี้ไปจนจนแตกดับ สลาย ตายไปข้างนึง
    แต่ร่างกายต้องต้องผลิตกิเลส ผลิตทุกข์ให้กับเราอยู่ตลอดเวลานั่นแหล่ะ! เหมือนดั่งเช่นความโกรธมีอยู่ แต่ผู้ฝึกจิตมาดีก็จะไม่สนใจ หรือไปให้ความสำคัญกับมันอีกต่อไปแล้ว เพราะจิตผู้ฝึกมาดีรู้แล้วความโกรธนั้น เป็นสาเหตุ ต้นเหตุที่ทำให้เราเป็นทุกข์ เพราะกายไม่เที่ยง จิตเองก็ยังไม่เที่ยง คือ จิตจะเกิดดับรวดเร็วมาก แต่เราจะรู้กันก็ต่อเมื่อสติ และมีปัญญาเป็นตัวช่วยดับ(คือไม่ให้สนใจไปตามอารมณ์ของจิตที่เกิดขึ้น นั่นเอง)

    ธรรมะยิ่งพูดก็ยิ่งเพลิน สำหรับผมนะ แต่ผู้อ่านจะยิ่งทำให้งง หรือสงสัยกันไปใหญ่ได้ เพราะจิตผู้อ่านมีหลายระดับจิต หลายภูมิปัญญา หลายภูมิธรรม
    โดยเฉพาะกับผู้จิตไม่นิ่งด้วยแล้ว จะยิ่งไปกันใหญ่
    แต่เรื่องธรรมนั้นง่ายนิดเดียว แต่ถ้าใครสามารถทำจิตเกาะพระให้ได้ ให้แนบแน่น เพราะท่านจะมีสติเกิดมากและบ่อยมาก จิตท่านจะนิ่ง เพราะจิตเป็นสมาธิ จิตทรงฌาน
    และท่านที่มีสติ มีสมาธิ มีฌานกันตรงนี้กัน จิตของเราจึงมีกำลังไปดับ ตัด ฆ่ากิเลสตั้งแต่หยาบ กลาง ละเอียดกันได้
    แต่จะดับ ตัด ฆ่ากิเลสประเภทชั่วคราว หรือถาวรกัน ก็ต้องอยู่ที่กำลังใจ หรือบุญ บารมี และความเพียรของตัวของท่านเอง
    (ปัญญา วาสนา และบารมี)

    อยากพ้นทุกข์ พ้นกรรมกันก็หมั่นรักษาจิต มิให้จิตปรุงแต่ง มิให้จิตฟุ้งซ่าน หรือมิให้สิ่งต่างๆที่มากระทบจิต ที่มาจากอายตนะ6(ุทั้งนอกและใน หรือ6คู่นั้น)
    ซึ่งเป็นการดับทุกข์ ดับต้นทุกข์ ดับเหตุแห่งทุกข์กันตรงนี้

     
  16. ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    ธรรมทุกธรรม ทั้งหมดนี้
    หรือ คำตอบทั้งหมดของเรานี้ จะอยู่เฉพาะบุคคลที่สามารถทำจิตเกาะพระกันได้แนบแน่นกันแล้ว

    ถ้าไม่เชื่อก็ลองไปสอบถามชาวจิตบุญ จิตยก หรือผู้ที่ทำจิตเกาะพระสำเร็จกันแล้ว
    ว่าพวกเขาเป็นอย่างไร รู้สึกอย่างไร
    กับการที่เรามีพระพุทธเจ้า พระอริยเจ้า อยู่ภายในจิต หรือดวงจิตของตนเองแล้ว

    สำหรับผู้ที่ยังปฎิบัติกันยังไม่ได้ ขอเป็นกำลังใจให้กัน และจะได้มีโอกาสไปสำรวจศีลของตนเองด้วย
    ว่าศีลของตนนั้น มันขาด มันผุ มันไม่ครบอย่างไร

    สำหรับการละกิเลสได้ชั่วคราว หรือถาวรนั้น ก็ขึ้นอยู่กับเหตุ และปัจจัย หรือ
    ปัญญา วาสนา บารมี
    และตัวพิสูจน์ ก็คือ ญาณรู้ในกิเลสที่ละ และทีเหลือเป็นเครื่องพิสูจน์
    แต่เมื่อไม่มั่นใจ ระยะเวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ เท่านั้น
     
  17. ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    Dhammanee

    มาทีหลังตามให้ทันพรรคพวกกันนะ
    บนพระนิพพานยังมีที่ว่างเยอะ ไม่มีภัยพิบัติด้วย
    ส่วนนรกจะไม่มีที่ให้กันอยู่แล้ว แต่สวรรค์ พรหมนั้นก็งานเยอะ คือต้องคอยเก็บดาว
    555...คลายเครียดกันน่ะ

    (ท่านนี้จิตแรงดี แต่ต้องสติแรงด้วยนะ เพราะรถกับเครื่องยนต์จะต้องสัมพันธ์กัน)

    ปล. ขอให้พวกเรานำจิตไปเกาะแต่สิ่งที่ดีๆ หรือที่เรียกกันว่า ฝ่ายบุญ ฝ่ายกุศลกัน (เท่านั้น) กันนะครับ
     
  18. dutchanee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    1,127
    ค่าพลัง:
    +12,745
    เรื่องของจิตเป็นเรื่องที่ละเอียดล้ำลึกสุดพรรณา หาที่เปรียบมิได้
    การนำบางเรื่องบางราวมาเล่าเขียนเพียรบอก บางครั้ง
    อาจมิสามารถบรรยายออกมาได้ดั่งที่จิตท่านนั้นๆได้รับมา
    จิตใครก็จิตใคร ถามกันมาได้ ก็ตอบกันไปตามที่รู้ ที่เห็น
    เป็นปัจจัตตัง เหมือนข้าพเจ้าเห็นเพื่อนปั่นจักรยานได้
    เกิดความอยากว่า เมื่อไหร่เราจะปั่นได้บ้าง ข้าพเจ้า ได้
    เข้าไปถามเพื่อนว่า เธอปั่นจักรยานเริ่มจากตรงไหน เอา
    เท้าไปวางก่อนหรือเอามือไปจับแฮนด์ก่อน เพียรถาม ๆ ๆ
    พอจะลองปั่นเองก็กลัว วันหนึ่ง ถาม จนเพื่อนหันมา
    มองหน้าข้าพเจ้า แล้วเพื่อนก็......(โยนจักรยานลงไป) เอ๊า มรึงหัดปั่นเอง เดี๋ยวมรึงจะรู้ว่า มรึงจะต้องเริ่มตรงไหน มรึงไม่หัดปั่นเอง
    มรึง มรัวแต่ถาม มรึงก็เดินเอาสิ......
    เรื่องของจิตก็ไม่ต่างกัน หากเราเริ่มด้วยการปฎิบัติแทนการสงสัย
    จิตจะเป็นไปตามวาระการของเขา เขาจะเรียนรู้ เมื่อติดขัดสิ่งใด หรือตัน ในสภาวการณ์ไหน เขาก็จะออกตัวหาครูผู้รู้ช่วยแนะนำ
    การฝึกจิต ฝึกสติ หากได้เฉพาะภาคทฤษฎี ก็เหมือนกับ เรากินข้าว
    แต่เสือกดันไปเลือกกินเปลือกข้าว หาเม็ดในข้าวไม่เจอ
    แต่หากได้ปฎิบัติไปด้วย ฉลาดค่ะ
    ได้กินเม็ดข้าวข้างใน หากปฎิบัติเยอะขึ้น มากขึ้น เราก็จะรู้ว่า กินเม็ดข้าวดิบนานแล้ว ต้องหาวิธีทำข้าวให้สุก และถึงเวลานั้นข้าวที่สุก
    หอมหวนก็จะวางตรงหน้า ให้ได้ทานกันอย่างอิ่มหนำใจ
    เช่นกัน.......... การนำจิตมาเกาะพระ
    หากเราอ่านหรือทราบจากครูแล้ว เรา
    ก็ลองนึกภาพไปเลย เห็นไม่เห็น เห็นแบบไหน สีอะไร ......
    เมื่อถามครูท่านแล้ว พอท่านตอบ คุณก็เก็ต แต่หาก
    อยู่ ๆ คุณมาถามครูเลย โดยไม่ได้ปฎิบัติ ไม่เก็ต ไม่เกิ๊ต ละ
    .....มะเหง็ก.............
     
  19. ลูกพลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    413
    ค่าพลัง:
    +8,932
    เข้าใจมรรคแล้ว ที่เหลือก็แค่ ทำ ทำ ก็คงจะเห็นธรรม...สักวันหนึ่ง...ตามวาสนาและบารมี...
    กราบขอพระคุณอีกครั้งครับ...
    จะตามไปโดนพลัน...
     
  20. dutchanee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    1,127
    ค่าพลัง:
    +12,745
    พระนิพพาน
    การไขว่คว้าหานิพพาน มุ่งหวัง มาดมั่น ตั้งจิต ตั้งใจที่จะไปให้ได้
    บ่ดั้ย เป็นดังเช่น การแข่งวิ่งชิงขันกัน นะ เพราะการไขว่ฟ้าคว้าดาว
    ในลักษณะนี้จะมีผู้รับรางวัลตำแหน่งอยู่ไม่กี่ท่าน แต่การมุ่งมั่น ไข่วฟ้า
    คว้านิพพาน ไม่จำกัดจำนวน มีตำแหน่งให้เพียบ ประตูนิพพานเปิดกว้าง
    แต่จิตคนเราดันไปเห็นแคบนิดเดียว บางท่าน โห ไม่เห็นเลยประตูนิพพาน
    บางคน ไม่รู้จัก ไม่เอา จิตไม่รับ ไม่ต้องการ เพราะนิพพาน เป็นไปได้
    เฉพาะพระเท่านั้น ผิด....แค่คิดก็ผิด แค่สะกิดก็กระเจิง
    พระนิพพาน ...เป็นไปได้แน่นอน ก่อนอื่น
    มาสร้างศรัทธาความเชื่อว่า นิพพาน ไปได้ในชาตินี้ และเมื่อถึงแล้ว
    คำว่าชาติหน้า .....ไม่รู้จัก
    มีศรัทธาในพระรัตนตรัย ...องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า อย่างสูงสุด
    และมีศรัทธา เชื่อมั่นในตัวเอง
    มีศีลครบแม้จะเป็นไปอย่างหยาบก่อน
    และ เชื่อ ยอมรับว่า ตัวเรานี้ไม่นาทีใดก็นาทีหนึ่ง ต้อง...ตาย
    ......ได้ตามนี้ แบบเบาๆ ก้อมา..ลุย..กัน
    มาทำจิตเกาะพระ ... จุดหมายปลายทาง ของการทำจิตเกาะพระคือ
    .....พระนิพพาน.........
     

แชร์หน้านี้