15-01-2013, 09:19 AM #25
tjs
สมาชิก
tjs's Avatar
วันที่สมัคร: Apr 2012
สถานที่: เมืองพุทธโสธร
ข้อความ: 189
Groans: 0
Groaned at 6 Times in 5 Posts
ได้ให้อนุโมทนา: 980
ได้รับอนุโมทนา 1,642 ครั้ง ใน 173 โพส
พลังการให้คะแนน: 110
tjs has a brilliant futuretjs has a brilliant futuretjs has a brilliant futuretjs has a brilliant futuretjs has a brilliant futuretjs has a brilliant futuretjs has a brilliant futuretjs has a brilliant futuretjs has a brilliant futuretjs has a brilliant futuretjs has a brilliant future
สรุปคือ อุปาทาน ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน กับ อุปาทานขันธ์
แต่ อุปาทาน เป็นสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกับอุปาทานขันธ์ อาศัยอยู่ในอุปาทานขันธ์
อุปาทานเกิดได้ด้วยเครื่องที่ปรุงแต่งให้เกิดในอุปาทานขันธ์ อันเครื่องปรุงแต่งทั้งหลายที่ทำให้อุปาทานมันเกิด เราเรียกว่า ฉันทะราคะจริต หรือหากเรา เจริญวิปัสสนาจนเห็นสภาวะจริง มันก็อาศัยการเกิดจาก ตันหาราคะประการหนึ่ง มันอาศัย ผัสสะประการหนึ่ง มันอาศัย อายตนะนอกและในประการหนึ่ง มันอาศัยอวิชชาประการหนึ่งเกี่ยวเนื่องสืบเนื่องอยู่เนื่องประการฉะนี้ครับ
อ่านตำราให้เข้าใจ พอเข้าใจแล้วเมื่อนำความรู้ที่เข้าใจมาเจริญสมาธิ ภาวนา วิปัสสนา นำสติ ตามดู ธรรมารมณ์ทั้งหลาย ตามดูจิตตน จนเห็นธรรมชาติของจิต ย่อมเข้าถึงตัวรู้โดยแท้จริง ที่สำคัญยิ่งกว่า ตัวรู้ในตำราครับ สาธุ ครับ
จิตพร้อม? รับภัยพิบัติ
ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ภูภู, 6 เมษายน 2012.
หน้า 563 ของ 857
-
-
อืม..."ฉันทะราคะจริต"
ทำไมต้องพ่วงท้าย หรือยุคนี้ "ทางเดียวกันไปด้วยกัน ช่วยชาติประหยัดพลังงาน"
ยกเลิก 91 ใช้ 95 นำร่องลดโซฮอล์ หรืออย่างไร
ฉันทราคะ ก็คือ ฉันทะ+ราคะ
ราคะจริต ก็คือ ราคะ+จริต
เอ้อ..คุณ tjs ตอนนี้ผมเพลินไปกับอุปาทาน กับตัวอักษรของคุณ
พอบอกเหุตผลได้ไหม ทำไมต้องเอาสิ่งนี้มาลงด้วย หรือจะทำให้ผมรู้จักตัวทุกข์ ในตัวพลังการคาดคะเน
-
บุคคลผู้รู้มาก
เมื่อมีความรู้ๆใดมากระทบกับปัญญาความรู้ของตน ย่อมมีการแสดงออกหลายประการเช่น
ส่วนหนึ่งก็กล่าวด้วยมิจฉาทิฐฏิ ว่าสิ่งที่ผู้อื่นรู้มากล่าวมาไม่ถูก ไม่จริง ตนต่างหากคือผู้รู้จริงผู้รู้ถูก จึงกล่าวถามกลับไปด้วยมิจฉาทิฏฐิ หรือ
ส่วนหนึ่ง ย่อมสงสัยมาก หากความรู้เหล่านั้นที่มากระทบ มีความแตกต่างผิดแผกไปจากที่ตนรู้หรือเข้าใจ จนเกิดข้อกังขาไม่มั่นใจ จึงกล่าวถามกลับไป หรือ
ส่วนหนึ่ง สงบนิ่งและวางเฉย ก็ด้วยมีปัญญาละเอียดลึกลงในธรรม พิจารณาด้วยเนื้อความใจความแก่นแท้แห่งธรรม มิได้มองแค่ผิวกระพี้อันแค่คำพูดหรือภาษาเขียน
ส่วนหนึ่ง ก็กล่าวแต่พอสมควร แค่ควรแก่กาละเทศะและบุคคล เพื่อเพิ่มพูนปัญญาของตนให้มีภูมิปัญญายิ่งๆขึ้นไป สาธุครับ
ฉันทะราคะจริต เป็นคำควบ บ้างก็เขียนว่า ฉันทะ-ราคะจริต บ้างก็เขียนว่า ฉันทะจริต ราคะจริต
บางโอกาสเราก็กล่าว คำที่อาจจะเป็นการรวบรัด เพื่อง่าย ต่อการพูดและเขียน แต่ด้วยเนื้อความแล้วไม่มีแตกต่างไปจากสิ่งที่พระพุทธเจ้าสอนครับ สาธุครับ
-
เอาธรรมะถามตอบของหลวงตา มาให้เพื่อนสมาชิกได้พิจารณาเป็นแนวทางดีกว่า
-
บุคคลผู้มีความทุกข์
1.ส่วนหนึ่ง ยังไม่ทุกข์ เพราะยังไม่ได้รับผลแห่งทุกข์นั้น และยังไม่เห็นหรือไม่รู้ว่านั่นคือทุกข์ ทุกข์ส่วนนี้ย่อมแก้ไขยากที่สุดหรือแก้ไขไม่ได้เลย เพราะยังไม่ได้รับผลแห่งทุกข์และก็ยังไม่เห็นความจริงว่าเป็นทุกข์
2.ส่วนหนึ่ง ยังไม่ทุกข์ เพราะยังไม่ได้รับผลแห่งทุกข์นั้น แต่ก็มีปัญญาคือมีดวงตาเห็นทุกข์ที่ปรากฏอยู่ ทุกข์ส่วนนี้จัดว่ายังสามารถแก้ไขให้ดีขึ้นได้เพราะอาศัยว่ามีดวงตาเห็นแล้วรู้แล้ว
3.ส่วนหนึ่ง ทุกข์เกิดขึ้นแล้ว แต่ยังขาดปัญญาขาดดวงตาเห็นในสัจจธรรมความจริงของทุกข์นั้น ทุกข์ส่วนนี้ก็ยังจัดว่าแก้ไขได้ยาก เพราะมีความทุกข์แต่ไม่รู้ที่มาที่ไปเหตุทั้งหมด รับรู้แค่ผลที่เกิด การแก้ไขให้พ้นทุกข์หรือดียิ่งขึ้นนั้น จึงยังเป็นของที่ทำได้ยาก
4.สุดท้าย ทุกข์เกิดขึ้นแล้วได้รับแล้ว พร้อมทั้งรู้แล้ว มีปัญญาดวงตาเห็นแจ้งในทุกข์ทั้งหมดแล้ว เห็นทั่วในทุกข์นั้นแล้ว ทุกข์ส่วนนี้ จึงจัดว่าแก้ไขได้ง่าย เพราะผู้มีดวงตาเห็นธรรมคือเห็นในทุกข์ดีแล้ว ย่อมมีปัญญาเหนือทุกข แล้ว การแก้ไขทุกข์ต่างๆจึงทำสำเร็จได้โดยง่าย ทุกข์ทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมดับลงโดยง่าย สาธุครับ
ทุกข์ของท่านเป็นอย่างไรเล่าครับ สาธุครับ
สิ่งที่เรากล่าวหรือนำมาแสดงไว้นั้นเกือบทั้งหมดนั้น ก็สืบเนื่องด้วยพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า
ประกอบกับการที่เรานำไปปฏิบัติบูชา การเจริญสมาธิวิปัสสนา พิจารณาในทุกข์แห่งตน
เรามิได้กล่าวเทียบเคียงถึงผู้ใด เพราะเราไม่เคยมองว่าผู้อื่นเป็นอย่างไร เรามองเฉพาะจิตใจเราเท่านั้น
รู้เฉพาะตนเท่านั้น ธรรมที่กล่าวแสดงก็เกิดเฉพาะเราผู้ปฏิบัติเท่านั้น
ก็แค่เพียงเพื่อนำเกล็ดธรรมที่ผุดออกมาจากวิปัสสนา นำมาบอกเล่า ในสัจจธรรมก็เท่านั้นครับ สาธุครับ -
เหตุที่ไม่ใส่ใจก็เพราะ เตือนกันแล้ว เมื่อเขาไม่สนใจ แล้วเราจะไปใส่ใจทำไม
ศาสนาล่วงมาได้ 2600 ปี ก็แน่นอนอยู่แล้ว
มักมีผู้พยายาม ปฏิรูปดัดแปลงถ้อยภาษาธรรม
โดยให้เหตุผลว่า ตนเองเป็นผู้ปฏิบัติ เพราะรู้เฉพาะตน จะบัญญัติศัพท์อย่างใดก็ได้ อย่างนั้นหรือ
ไม่เคยได้ยินหรอก ฉันทะจริต พยายามจะผนวกรวมให้เป็นราคะ แต่ฝ่ายเดียว ให้จนได้
ฉันทะ แปลว่า ความพอใจ นี่หากเป็นผู้เคยสดับ
คนๆนั้น จะน้อมไปในอิทธิบาท4 ซึ่งบาทฐานของอภิญญา ก็ย่อมได้ หากมีวาสนา
หรือหากแปล แบบที่โลกนำมาใช้ อิทธิบาท คือ บาทฐานแนวทางของการประสบความสำเร็จ
ต่อหน้าที่ เช่น การเรียน การทำงาน เป็นต้น
ฉันทะ เป็นการพอใจ ซึ่งเป็นคำกลางๆ ฝ่ายกุศลจิต
ราคะ คือ กิเลสตัณหา เป็นฝ่ายสมุทัย ฝ่ายอกุศลจิต
จะเอา ฉันทะ จัดรวมไปใน ฝ่ายอิฏฐารมณ์ เสียให้ได้ ไม่รู้ปฏิบัติมายังไง
"ฉันทะราคะจริต" ไม่เคยได้ยินหรอก คงเป็นลิขสิทธิ์ของคุณ tjs แต่ผู้เดียว
นี่หากเป็นอาจารย์ผู้บอกกรรมฐานแบบนี้นะ
เตรียมปิดสำนักได้เลย เพราะออกสื่อ กับการรู้เฉพาะตน ด้วยการบัญญัติแต่งเติมศัพท์ใหม่
อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล แต่กลับนัวกันไปหมด เพราะบอกว่า "บ้างก็เขียนว่า ฉันทะจริต ราคะจริต"
แสดงให้ว่า มีความหมายเดียวกัน หรือ สภาวะธรรมเดียวกัน อย่างนั้นหรือ
เอ้อ หากจริต 6 ประเภท หรือ ฉันทตา หรือ ฉันทสมาธิ นี่เคยได้ยิน
จริต นั่นคือ นิสัยวาสนา (เราเองไม่มีจริต ใช้ถ้อยคำภาษาสวยหรู แอ็คอาร์ท ซะด้วยสิ ห้วนๆขวานผ่าลูกโป่ง ^^)
ฉันทะ คือ ความพอใจ
ราคะ คือ กิเลส
คงจะแยกออกอยู่กระมัง หากแยกไม่ออก ต่อไปเราจะเพิกข้ามไปเสีย
ประเดี๋ยวจะมาหาว่าเราเป็นทุกข์ เรื่อง กล้วยๆ แค่นี้เอง
ฉะนั้น จึงได้กล่าวไป ตอนต้นว่า
"ทุกข์เกิดขึ้นตั้งอยู่แล้วดับไป เพราะรู้แล้ว จึงเพิกไม่ใส่ใจในสิ่งไม่ใช่สาระ
เหตุที่ไม่ใส่ใจก็เพราะ เตือนกันแล้ว เมื่อเขาไม่สนใจ แล้วเราจะไปใส่ใจทำไม"
ฝากไว้ ท่านนักปฏิบัติ ลองลดทิฏฐิ มาพิจารณา คำว่า "ฉันทะ" ให้ดีๆ
บวกด้วย คำว่า "สมาธิ" จึงเป็น "ฉันทสมาธิ"
เพราะอะไร เพราะเราอาศัย คำว่า "บุคคลผู้รู้มาก" ที่ให้มา นั่นแหละ มาบอกกล่าว
-
มนุษย์ ทั้งหลายย่อมเป็นไปตามกรรม บุคคลจัดว่ายังเป็นผู้เลวอยู่ ยังพอกพูนด้วยทิฏฐิมานะหรือสักกายะทิฏฐิ มีหลายจำพวก วาระนี้จะขอกล่าวแค่สองจำพวกดังนี้คือ
1บุคคลผู้ยึดมั่นในตน กล่าวแสดงตนอวดอุตริธรรมที่ไม่มีในตน และไม่รับฟังหรือยอมรับในภูมิที่ผู้อื่นมีหรือกล่าวแสดง
2.บุคคลผู้ยึดมั่นในธรรมแห่งครูบาอาจารย์แห่งตน ยึดมั่นกอดไว้อย่างเดียวคือตู้พระธรรม มีมิจฉาทิฏฐิ ไม่ยอมสดับรับฟังและเชื่อในธรรมประการอื่นๆที่ผู้อื่นกล่าวแสดง
บุคคลทั้งสองนี้จัดว่าโง่พอกัน ไม่ได้โง่อย่างเดียว แต่ยังเลวด้วยเพราะเมื่อโง่แล้วย่อมแสดงออกด้วย กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมออกมา อันเป็นอกุศลกรรม
ฉนั้นความเป็นผู้มีความรู้มาก แต่ขาดสัมมาทิฏฐิ ขาดพรหมวิหารธรรม ขาดธรรมประจำใจที่ดี สุดท้ายคือขาดปัญญาในธรรม แล้วอย่างนี้ก็หวังได้ว่า ย่อมไม่มีทางเป็นคนดีคนประเสริฐได้ แล้วจะเป็นผู้ห่างไกลทุกข์และกิเลสทั้งหลายได้อย่างไรครับ สาธุ -
ถามเพื่อคลายความสงสัย แต่แล้วผู้มีธรรม กลับพยายามยัดเยียดความเป็นมิจฉาทิฏฐิให้
ไปฝึกพรหมวิหาร มาให้เถอะครับ
ตรงนี้ คุณลองไปตรวจสอบดูตนเองด้วยนะ
-
นัยอีกความหมาย ลองกลับไปหาตำราใหม่ดูใหม่อีกครั้งครับ
ท่านพุทธทาส กล่าวไว้ดีงามแล้วครับ
ฉันทะ คือ ความพอใจ
ราคะ คือ กิเลสตัณหา
มีการสนธิคำ ใหม่ดังนี้คือ ฉันทะราคะจริต แปลว่า จริตอันเกี่ยวเนื่องด้วยความพอใจในกิเลสตัณหา [ลองไปค้นหาดูดีๆนะครับ มีที่มาที่ไปครับไม่อย่างนั้นผมก็ไม่นำคำนี้มาใช้หรอกครับ]
ฉนั้น อย่ายึดติดในตำรา ตำรามีไว้ให้ศึกษาไม่ใช่มีไว้ให้ยึดติดแขวนคอไว้ต้องกอดมันไว้ทิ้งไม่ได้อย่างนั้นหรือ
จงเอาเยี่ยงและเอาอย่างพระพุทธเจ้า ท่านมิเคยยึดติดในครูอาจารย์ และความรู้แห่งครูอาจารย์ เมื่อท่านยังเจริญไปไม่ถึงเป้าหมาย ก็ไม่หยุดอยูแค่นั้น ท่านมีความเพียรเป็นที่สุด จิตใจท่านกว้างยิ่งกว่าทะเลทั้งจักรวาล ปัญญาท่านมากยิ่งกว่าน้ำในทะเลทั่วทั้งจักรวาล
เมื่อไหร่ที่จิตใจเราคับแคบไม่เปิดกว้าง ก็อย่าหวังว่า เราจะมีปัญญาแตกฉานกว้างใหญ่ไพศาลจะมีปัญญามากดุจเม็ดทรายในทะเลอย่างนั้นหรือครับ สาธุครับ
-
คุณ tjs คุณลองกลับไปทวนพิจารณาให้ดีๆ ประเด็นแต่ตอนต้น
เราถามคุณเรื่องอะไร แต่กลับตอบมา เพียงเพื่อจะยัดเยียดความเป็นมิจฉาทิฏฐิ อย่างนั้นหรือ -
สิ่งที่คุณเห็น มันไม่ใช่เสมอไปหรอก เหตุก็คือมีอคติ เป็นรากเหง้า นั่นแหละครับ -
นี่แหละหนา วัฏฏะเคลื่อนไปเพราะความหลงตน หลงว่าตนเป็นผู้ปฏิบัติ เหนือดีกว่าใคร
พอเห็นใครนำตำรามาลง ก็พยายามยัดเยียดว่ายึดในตำรา
พอเห็นว่านำธรรมครูบาอาจารย์มาลง ก็ว่ายึดในตัวบุคคล
สุดท้าย พอสนทนากันไป จบลงด้วยการเป็นมิจฉาทิฏฐิ
หากไม่ใช่เพราะอคติ แล้วจะคืออะไร
คนมีใจเป็นธรรม มีพรหมวิหาร นะ เขาจะรู้กุศโลบาย กับการตะล่อมจิต
รู้ว่าคนนี้พอใจในตำราปริยัติ คนนี้พอใจในธรรมครูบาอาจารย์ในแนวทางการปฏิบัติ
จากนั้น เขาจะมีปฏิภาณ ยกกุศโลบายเพื่อส่งเสริม
และเลี่ยงการกล่าวจาบจ้วง มิจฉาทิฏฐิต่อกัน
เพราะสิ่งที่นำมาโพสมาลง นั่นเป็นธรรมจากผู้รู้ทั้งสิ้น
เราทำไมจะไม่รู้คุณ tjs ล่ะครับ เพราะคุณไม่มีฉันทะ กับธรรมะหลวงพ่อท่านหนึ่ง ยังไงล่ะครับ
จึงพยายามเพื่อจะยัดเยียดมิจฉาทิฏฐิให้ ใช่หรือไม่ สิ่งเหล่านี้กลบเกลื่อนผมไม่ได้หรอก -
_/\_ ขออภัยด้วยครับ
ผมอ่านข้อความของทั้งสองท่านแล้ว
รู้สึกเหมือนฟังเทศน์ ปจุฉา วิสัชนา
แต่คำศัพท์ เยอะมาก สูงมาก
ทำให้ไม่เข้าใจครับ
_/\_ ถ้าเป็นการไม่สมควร ก็ขอขมาโทษด้วยครับ -
เพื่ออะไร เพื่อดูว่าใครจะมาบอกกล่าว มาในลักษณะใด
แท้จริงแล้ว ก็เพียงสมมุติบัญญัติ ในการสื่อความหมาย เพื่อให้เข้าถึงระดับปรมัต
ก็เหมือนเราจะสื่อความหมายคุยกัน ไม่ต้องพยายามหลีกเลี่ยงมันหรอก
กับคำว่า "เรา เขา คุณ ผม ดิฉัน" เพราะมันเป็นสรรพนามในการสนทนาระหว่างกัน
แต่ปรมัตนั่น คือเรื่องภายในระดับจิตใจ ไม่มสัตว์บุคคลตัวตนเราเขา เพราะนั่นคืออุปทานขันธ์
แต่ทีนี้ การสนทนากัน กลับพยายามเลี่ยงคำสรรพนามเหล่านั้น เพื่อให้ดูว่า ไม่มีเราเขา ไม่มีตัวตน
โอ้ย...มันคนละเรื่องกันเลยครับลุง -
<embed src="http://www.youtube.com/v/XuuVZ2Op0Y0?hl=th_TH&version=3&autoplay=1" type="application/x-shockwave-flash" width="260" height="27" allowscriptaccess="always" allowfullscreen="true"></embed>
-
[ame=http://www.youtube.com/watch?v=WoPbhr-rpqw&feature=player_detailpage#t=299s]อัสนี & วสันต์ - หัวใจสะออน - YouTube[/ame]
"หัวใจสะออน"
ขออนุญาติเปิดเพลงขั้นรายการหน่อยนะค่ะ
ธรรมะมีหลากหลาย อ่านเพื่อเป็นอาหารใจค่ะ รู้และเข้าใจไม่ทั้งหมด ตามภูมิของแต่ละท่าน ....แต่ก็ไม่ใช่ปัญหาค่ะ...หรือง่ายๆเลย อย่าไปออนซอนหลาย555
ปล.ช่วงนี้นายหัวไม่อยู่ ไปประชุม CEO เลยทำหน้าที่ ดีเจชั่วคราวก่อน อาจจะไม่เป๊ะ เหมือนนายหัวเปิด แต่ก็พอฟังได้จ้า -
"เราทุกคนสามารถหนีนรกได้ แต่ต้องระมัดระวังอารมณ์ คำว่าอารมณ์คืออย่าปล่อยให้อารมณ์ที่ไม่ดีเข้ามาข้องใจ คือความกังวลในความไม่ดีนิดหน่อยอย่าให้มีในใจ"
#จากหนังสือหนีนรก(หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) -
"...โลกมันหมุนเวียนเปลี่ยนไป หมุนไปตลอดไม่มีหยุด เรียกว่าโลก สรรพสัตว์ทั้งหลายก็อาศัยอยู่ในโลกก็ย่อมหมุนเวียนเปลี่ยนไปตามโลก ความหยุดหมุนของโลกนี้ไม่มี สรรพสัตว์ทั้งหลายก็ไม่มีการหยุดหมุนความอยาก ความทะเยอทะยานดิ้นรนไป นี่เรียกว่าสัตว์โลก ที่เรียกว่าสัตว์โลกก็เพราะว่ามันหมุนไปตามโลกกัน มีแต่ว่าพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลายท่านไม่หมุนตามโลก แต่ก็ไม่ฝืนโลก ท่านทวนกระแสโลกแล้ว ผู้ที่เพียรเพ่งธรรม ผู้ที่ปฏิบัติธรรมก็กำลังทวนกระแสโลกอยู่นั่นเอง มองอย่างนี้จะกว้างถ้าเปรียบแล้ว ถ้าเปรียบให้แคบลงมาอีกก็เหมือนกับว่า สายน้ำสายนี้ไหลลงสู่เหวที่สูงและชัน เหล่าสรรพสัตว์ทั้งหลายก็อยู่ในน้ำทั้งหมด น้ำก็เชี่ยวกราด บางคนก็ปล่อยใจตามสบาย ปล่อยเนื้อปล่อยตัวไหลไปตามกระแสน้ำ เพราะคิดว่ามันเป็นความสุข ไม่ทวนกระแสน้ำ ตามกระแสน้ำ ในไม่ช้าก็ไม่มีใครช่วย ตกเหว ถึงแก่ความตาย แต่ในขณะที่กำลังปล่อยตัวตามกระแสนั่นเอง ก็มีผู้คนจำนวนไม่มากเท่าไหร่ แหวกว่ายทวนกระแสน้ำนั้นขึ้นไป ให้ถึงต้นสายของน้ำ เหล่าคนที่เห็นนั้นอยู่ที่ปล่อยตัวตามกระแสน้ำก็หัวเราะเยาะเย้ยบ้าง ดูหมิ่นถากถางบ้าง ว่าไร้สาระไม่เป็นประโยชน์อะไร นี่สู้อย่างเรานี่สบาย ก็ปล่อยไปตามนี้แหละมีความสุขกว่า ... จะไปทวนทำไมก็ของมันเป็นอยู่อย่างนี้ ส่วนคนนั้นก็ไม่ฟังว่ายทวนกระแสน้ำไม่หยุดไม่หย่อน ท้อขนาดไหนก็เพียรว่ายทวนไป วันหนึ่งจะถึงต้นน้ำจนได้ และสุดท้ายก็ถึงต้นน้ำเอาจริงๆ เรียกว่า ทวนกระแสน้ำขึ้นไป และคราวนี้มาถึงต้นน้ำแล้ว จะเอาน้ำที่ไหนมาพาให้ไปตามกระแสนั้นอีกเล่า?กระแสน้ำเหล่านั้นเปรียบเหมือนกระแสกิเลสคลื่นกิเลสทั้งหลาย การทวนกระแสน้ำหมายถึงการทวนกระแสกิเลสขึ้นไปหาต้นตอของกิเลส ตัวของกิเลสจริงๆ อยู่ที่ใด... "
ตอนหนึ่งของพระธรรมเทศนา เรื่อง ผู้ทวนกระแสโลก
โดย หลวงพ่อครูบาเจ้าเพชร วชิรมโน -
:: สถานที่อยู่ของธรรม :::
"... สิ่งใดเป็นที่รื่นเริงบันเทิงใจในการคลุกคลีตีโมง ในการเพลิดเพลินในสิ่งที่สะดวกสบาย สถานที่แห่งนั้นไม่มีธรรมอยู่ มีแต่กิเลสเป็นเครื่องส่งเสริมย้อมจิต สถานที่อยู่ของธรรมนั้นเป็นสถานที่ธรรมโปรดปรานและชอบอยู่มากที่สุด นักปฏิบัติพึงรู้สถานที่นั้นเป็นเช่นไร สถานที่ธรรมอยู่นั้นคือ รุกมูลร่มไม้ หมายถึงคือใต้ต้นไม้ ตามป่าตามเขา ตามเงื้อมผาเงื้อมถ้ำ ตามป่าช้า ป่ารก คือตามสถานที่ไม่มีคนเข้าไปรบกวน ไม่มีเสียงอึกทึกครึกโครมดังไปถึง แม้แต่เสียงสัตว์ที่มีเสียงดังมากก็ไม่เหมาะ เพราะพระธรรมจะไม่อยู่ เพราะพระธรรมจะหนีเข้าไป
สถานที่ใดขาดแคลนอาหารที่จะขบฉันหรือรับประทานเข้าไปก็มีน้อย ขาดบ้างแคลนบ้าง อดบ้างอิ่มบ้าง บางครั้งก็ไม่เพียงพอ นั่นแหละ พระธรรมชอบอาศัยอยู่แถวนั้น ที่ใดนอนลำบากหนาวสั่นเวลาค่ำคืน พื้นแข็งกระด้างไม่นุ่มนวล ผ้าห่มก็ผืนน้อยพอปกคลุมกายได้ หมอนก็เป็นหมอนเก่าซอมซ่อ สถานที่นั่นแหละพระธรรมชอบนอน อาหารการกินไม่ถูกปากถูกใจ ไม่ต้องตาต้องใจ เวลารับทานเข้าไปก็รับทานไปด้วยความลำบากลำบน เพราะอาหารไม่ถูกอกถูกใจ ไม่เหมือนที่บ้านที่ช่องหรือสถานที่เคยไปอยู่อาศัย ถ้าพระภิกษุก็สถานที่ลูกศิษย์ศรัทธามาก จัดอาหารอันปราณีตถวาย อาหารไม่ถูกอกถูกใจอาหารธุรกันดานนั่นแหละ พระธรรมก็อาศัยอยู่กินแถวนั้นแหละ ไม่ได้อยู่กินที่อื่น สถานใดเป็นสถานวุ่นวายไปหมด เดินไปไหนก็วุ่นวายมีแต่คนรอบข้างเต็มไปหมด สถานที่นั้นพระธรรมไม่อยู่ พระธรรมหนี กิเลสอยู่ พระธรรมชอบอยู่ในสถานที่ไม่ค่อยมีคนพลุกพล่านวุ่นวาย เวลาเดินไปไหนก็รู้สึกปลอดโปร่งโล่งสบาย คือสถานที่เดินของพระธรรมนั่นเอง พระธรรมชอบเดินแถวนั้น เดินแถวทางจงกลมที่สงบเงียบ ไร้ผู้คนเข้ามาวุ่นวาย
เมื่อเรารู้ที่อยู่ของพระธรรมเราก็หาพระธรรมได้ หาธรรมะได้
เมื่อเรารู้ที่นอนของธรรม เราก็หาธรรมะได้
เมื่อเรารู้ที่กินของธรรม เราก็หาธรรมที่กินได้
เมื่อเรารู้ที่เดินของธรรม เราก็หาที่เดินของธรรมได้
สถานที่ใดเป็นสถานที่กันดานลำบาก บางครั้งก็แทบจะยากที่จะอยู่อาศัย แต่ก็พอยังอัตภาพไปได้ พระธรรมอุดมสมบูรณ์จริงๆ ... ธรรมชอบความไม่พร้อมมูล แต่ก็ไม่ถึงว่าขาดแคลนซะไม่มีอะไรจะกิน ไม่ถึงขนาดนั้น พระธรรมก็ต้องกิน ฉะนั้นนักปฏิบัติปรารถนาธรรมพึงรู้สถานที่ธรรมอยู่ เมื่อรู้ว่าสถานที่ธรรมอยู่ ณที่ใด พึงไป ณที่นั่น ธรรมนั้นก็จะบังเกิดขึ้นในจิตในใจ เมื่อธรรมบังเกิดขึ้นในจิตในใจ บุคคลผู้แสวงหานั้นก็จะกลับกลายเป็น "พระ" แทน มิใช่ปุถุชนอีกเลย ... พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ก็อยู่ในจิต ถ้าแสวงหาธรรมเป็นก็เป็นพระได้..."
พระธรรมเทศนาตอนหนึ่งในเรื่อง ที่ใดขาดแคลนที่นั้นอุดมด้วยธรรม
โดย หลวงพ่อครูบาเจ้าเพชร วชิรมโน -
พระธรรมเทศนา ครูบาเจ้าเพชร วชิรมโน
พุทโธ ความคิด พิจารณากาย โทษของกาม ? - Buddhism Audio
หน้า 563 ของ 857