เรื่องเด่น ฌาน... ความสุขในพระพุทธศาสนา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Phanudet, 9 มิถุนายน 2009.

  1. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    [​IMG]


    การบัญญัติความสุขในพระพุทธศาสนา





    (การเลือกนำข้อความตอนนี้มาแปล ก็เพื่อชี้แจงหลักวิชาทางพระพุทธศาสนา ที่แสดงว่าความสุขมีเป็นขั้น ๆ ตั้งแต่ต่ำจนถึงสูงสุด ถึง ๑๐ ขั้น คือความสุขในกาม ความสุขในรูปฌาน ๔ ความสุขในอรูปฌาน ๔ และความสุขในสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ในการแปลจะแปลอย่างเต็มสำนวนเพื่อให้เห็นลีลาของอารมณ์ฌานทั้งที่เป็นรูปฌานและอรูปฌานอยางสมบูรณ์). <CENTER></CENTER>




    "ดูก่อนอานนท์ กามคุณ ๕ เหล่านี้ กามคุณ ๕ เป็นไฉน ? กามคุณ ๕ คือรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นรูปที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด, เสียง, กลิ่น, รส, โผฏฐัพพะ (สิ่งที่พึงถูกต้องได้) ที่พึงรู้แจ้งทางหู, จมูก, ลิ้น และกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นรูปที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด. ดูก่อนอานนท์ นี้แล คือกามคุณ ๕. ดูก่อนอานนท์ ความสุขกายสุขใจอันใด ที่เกิดขึ้นเพระอาศัยกามคุณ ๕ เหล่านี้ ความสุขกายสุขใจนี้ เรียกว่ากามสุข. ดูก่อนอานนท์ คนเหล่าใดพึงกล่าวว่า เขาย่อมเสวยความสุขกายสุขใยอันมีอยู่นั้น นับเป็นความสุขอย่างยอดเยี่ยม เราย่อมไม่รับรู้คำกล่าวของคนเหล่านั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุไร. ดูก่อนอานนท์ เพราะยังมีความสุขอย่างอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุขนั้น." <CENTER></CENTER>




    "ดูก่อนอานนท์ ความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (กามสุข) นั้นเป็นไฉน ? ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าสู่ฌานที่ ๑ อันมีความตรึก (วิตก) ความตรอง (วิจาร) มีความอิ่มใจและความสุข (ปีติสุข) อันเกิดแต่ความสงัดอยู่. นี้แล อานนท์ คือ ความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุขนั้น (กามสุข). ดูก่อนอานนท์ คนเหล่าใดพึงกล่าวว่า เขาย่อมเสวยความสุขกายสุขใจอันมีอยู่นัน (สุขในฌานที่ ๑) นับเป็นความสุขอย่างยอดเยี่ยม เราย่อมไม่รับรู้คำกล่าวของคนเหล่านั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? ดูก่อนอานนท์ เพราะยังมีความสุขอย่างอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่า ความสุข (ในฌานที่ ๑) นั้น." <CENTER></CENTER>




    "ดูก่อนอานนท์ ความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในฌานที่ ๑) นั้นเป็นไฉน ? ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะสงบความตรึก ความตรอง (วิตก วิจาร) ได้ จึงเข้าฌานที่ ๒ อันมีความผ่องใสภายใน มีภาวะแห่งจิต มีอารมณ์เป็นหนึ่งเกิดขึ้น ไม่มีความตรึก ไม่มีความตรอง มีความอิ่มใจ และความสุข (ปีติสุข) อันเกิดแต่สมาธิอยู่. นี้แล อานนท์ คือความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในฌานที่ ๑) นั้น. ดูก่อนอานนท์ คนเหล่าใดพึงกล่าวว่า เขาย่อมเสวยความสุขกายสุขใจอันมีอยู่นั้น (สุขในฌานที่ ๒) นับเป็นความสุขอย่างยอดเยี่ยม เราย่อมไม่รู้คำกล่าวของคนเหล่านั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? ดูก่อนอานนท์ เพราะยังมีความสุขอย่างอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในฌานที่ ๒) นั้น." <CENTER></CENTER>

    "ดูก่อนอานนท์ ความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในฌานที่ ๒) นั้นเป็นไฉน ? ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะคลายความอิ่มใจจึงเป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ เธอเสวยความสุขด้วยนามกาย เข้าสู่ฌานที่ ๓ ซึ่งเป็นเหตุ ให้พระอริยเจ้ากล่าวถึงผู้เข้าฌานนี้ว่าเป็นผู้วางเฉย มีสติอยู่เป็นสุข. นี้แล อานนท์ คือความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในฌานที่ ๒) นั้น. ดูก่อนอานนท์ คนเหล่าใดพึงกล่าวว่า เขาย่อมเสวยความสุขกายสุขใจอันมีอยู่นั้น (สุขในฌานที่ ๓) นับเป็นความสุขอย่างยอดเยี่ยม เราย่อมไม่รับรู้คำกล่าวของคนเหล่านั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? ดูก่อนพระอานนท์ เพราะยังมีความสุขอย่างอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในฌานที่ ๓) นั้น."



    [​IMG]
    <CENTER></CENTER><CENTER></CENTER>




    "ดูก่อนอานนท์ ความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในฌานที่ ๓) นั้นเป็นไฉน ? ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะละสุขละทุกข์ได้ (ละสุขกายทุกข์กายได้) เพราะสุขใจ (โสมนัส) ทุกข์ใจ (โทมนัส) ดับไปในกาลก่อน<SUP>๑</SUP> จึงเข้าถึงฌานที่ ๔ อันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีความบริสุทธิ์แห่งสติ. อันเกิดขึ้นเพราะอุเบกขา (ความวางเฉย). นี้แล อานนท์ คือความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในฌานที่ ๓) นั้น. คนเหล่าใดพึงกล่าวว่า เขาย่อมเสวยความสุขกายสุขใจอันมีอยู่นั้น (สุขในฌานที่ ๔) นับเป็นความสุขอย่างยอดเยี่ยม. เราย่อมไม่รับรู้คำกล่าวของคนเหล่านั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? ดูก่อนอานนท์ เพราะยังมีความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในฌานที่ ๔) นั้น." <CENTER></CENTER>




    "ดูก่อนอานนท์ ความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในฌานที่ ๔) นั้นเป็นไฉน ? ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในพระธรรมวินนัยนี้ เพราะก้าวล่วงความกำหนดหมายในรูป (รูปสัญญา) ด้วยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่งความกำหนดหมาย ความกระทบกระทั่ง (ปฏิฆสัญญา ได้แก่ความกำหนดหมายในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เมื่ออารมณ์ทั้งห้านี้ ผ่านมาทางตา หู เป็นต้น) เพราะไม่ทำไว้ในใจซึ่งสัญญาต่าง ๆ (นานัตตสัญญา-หมายความได้ ๒ อย่าง คือสัญญาที่เป็นไปในอารมณ์ต่าง ๆ และสัญญาต่าง ๆ ๔๔ ชนิด-ดูคำอธิบายในวิสุทธิมรรค อารุปปนิทเทส) ทำไว้ในใจว่า "อากาศไม่มีที่สิ้นสุด" เข้าสู่อรูปฌานชื่ออากาสานัญจายตนะ (มีอากาศไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์) อยู่. นี้แล อานนท์ คือความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในเนที่ ๔) นั้น. ดูก่อนอานนท์ คนเหล่าใดพึงกล่าวว่า เขาย่อมเสวยความสุขกายสุขใจอันมีอยู่นั้น (สุขในอรูปฌานชื่ออากาสานัญจายตนะ) นับเป็นความสุขอย่างยอดเยี่ยม เราย่อมไม่รับรู้คำกล่าวของคนเหล่านั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? ดูก่อนอานนท์ เพราะยังมีความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในอรูปฌานชื่ออากาสานัญจายตนะ) นั้น." <CENTER></CENTER>


    "ดูก่อนอานนท์ ความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในอรูปฌานชื่ออากาสานัญจายตนะ) นั้นเป็นไฉน ? ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ก้าวล่วงอรูปฌานชื่ออากาสานัญจายตนะ ด้วยประการทั้งปวง แล้วทำไว้ในใจว่า "วิญญาณหาที่สุดมิได้" เข้าสู่อรูปฌานชื่อวิญญาณัญจายตนะ (มีวิญญาณหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์) อยู่. นี้แล อานนท์ คือความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในอรูปฌานชื่ออากาสานัญจายตนะ) นั้น. ดูก่อนอานนท์ คนเหล่าใดพึงกล่ววว่า เขาย่อมเสวยความสุขกายสุขใจอันมีอยู่นั้น (สุขในอรูปฌานชื่อวิญญาณัญจายตนะ) นับเป็นความสุขอย่างยอดเยี่ยม. เราย่อมไม่รับรู้คำกล่าวของคนเหล่านั้น. ข้อนันเพราะเหตุไร ? ดูก่อนอานนท์ เพราะยังมีความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในอรูปฌานชื่อวิญญาณัญจายตนะ) นั้น.


    [​IMG]



    <CENTER></CENTER>




    "ดูก่อนอานนท์ ความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในอรูปฌานชื่อวิญญาณัญจายตนะ) นั้นเป็นไฉน ? ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ก้าวล่วงอรูปฌานชื่อวิญญาณัญจายตนะ ด้วยประการทั้งปวง แล้วทำไว้ในใจว่า "อะไร ๆ ก็ไม่มี" เข้าสู่อรูปฌานชื่ออากิญจัญญายตนะ (มีความกำหนดหมายว่าไม่มีอะไรเป็นอารมณ์) อยู่. นี้แล อานนท์ คือความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข ผในอรูปฌานชื่อวิญญาณัญจายตนะ) นั้น. ดูก่อนอานนท์ คนเหล่าใดพึงกล่าวว่า เขาย่อมเสวยความสุขกายสุขใจอันมีอยู่นั้น (ความสุขในอรูปฌานชื่ออากิญจัญญายตนะ) นับเป็นความสุขอย่างยอดเยี่ยม. เราย่อมไม่รับรู้คำกล่าวของคนเหล่านั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะยังมีความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในอรูปฌานชื่ออากิญจัญญายตนะ) นั้น. <CENTER></CENTER>




    "ดูก่อนอานนท์ ความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในอรูปเนชื่ออากิญจัญญายตนะ) นั้นเป็นไฉน ? ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ก้าวล่วงอรูปฌานชื่ออากิญจัญญายตนะ ด้วยประการทั้งปวง แล้วเข้าสู่อรูปฌานชื่อเนวสัญญานาสัญญายตนะ<SUP></SUP> (มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่) อยู่. นี้แล อานนท์ คือความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในอรูปฌานชื่ออากิญจัญญายตนะ) นั้น. ดูก่อนอานนท์ คนเหล่าใดพึงกล่าวว่า เขาย่อมเสวยความสุขกายสุขใจอันมีอยู่นั้น (ความสุขในอรูปฌาน ชื่อเนวสัญญานาสัญญายตนะ) นับเป็นความสุขอย่างยอดเยี่ยม. เราย่อมไม่รับรู้คำกล่าวของคนเหล่านั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะยังมีความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในอรูปฌานชื่อเนวสัญญานาสัญญายตนะ) นั้น. <CENTER>๑๐</CENTER>

    "ดูก่อนอานนท์ ความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในอรูปฌานชื่อเนวสัญญานาสัญญายตนะ) นั้นเป็นไฉน ? ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ก้าวล่วงอรูปฌานชื่อเนวสัญญานาสัญญายตนะ แล้วเข้าสู่สัญญาเวทยิตนิโรธ (สมาบัติที่ดับสัญญาและเวทนา- เป็นสมาบัติสูงสุดที่พระอนาคามีกับพระอรหันต์เท่านั้นทำให้เกิดได้) อยู่. นี้แล อานนท์ คือความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในอรูปฌานชื่อเนวสัญญานาสัญญายตนะ) นั้น.





    <CENTER>[​IMG]</CENTER><CENTER></CENTER><CENTER>สรุปความ</CENTER>

    "ดูก่อนอานนท์ มีฐานะอยู่ที่นักบวชเจ้าลัทธิอื่นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมกล่าวถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ ย่อมบัญญัติสัญญาเวทยิตนิโรธในความสุข ข้อนั้นคืออะไรกัน ? ข้อนั้นจะเป็นไปได้อย่างไรกัน ? (คือสัญญาเวทยิตนิโรธ ดับความจำ ดับความรู้สึก แล้วจะว่ามีความสุขได้อย่างไร ในเมื่อไม่มีความรู้สึก) ดูก่อนอานนท์ นักบวชเจ้าลัทธิอื่น ผู้กล่าวอย่างนี้พึงเป็นผู้อันท่านชี้แจง "ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคย่อมไม่ทรงบัญญัติในความสุขหมายเอาเฉพาะสุขเวทนาอย่างเดียว ในที่ใด ๆ ย่อมหาความสุขได้ ในฐานะใด ๆ มีความสุข พระผู้มีพระภาคย่อมทรงบัญญัติฐานะนั้น ๆ ในความสุข."<SUP></SUP>

    สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค ๑๘/๒๗๘


    ๑. คำว่า ในกาลก่อน คือสุขทุกข์ดับไปตั้งแต่ยังอยู่ในขณะแห่งอุปจาระเกือบจะถึงฌานที่ ๔ คำว่า อุปจาระ แปลว่า ใกล้เคียง หรือเฉียด ก็ได้
    ๒. เนวสัญญานาสัญญายตนะ เป็นอรูปฌานที่ ๔ วิธีเจริญอรูปฌานข้อนี้ คือออกจากอรูปเนที่ ๓ (อากิญจัญญายตนะ) แล้วนึกในใจว่า สัญญา (ความจำได้หมายรู้) เป็นเหตุให้ยุ่งยาก นึกตำหนิสัญญานั้นจนจิตสงบ ก็เข้าสู่อรูปฌานนี้ได้ คำว่า มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีก็ไม่ใช่ หมายความว่า สัญญามีอยู่ แต่ทำหน้าที่ไม่ได้ มีอย่างละเอียดมาก
    ๓. จากพระพุทธภาษิตนี้ แสดงว่า ความสุขมีเป็นชั้น ๆ พระพุทธศาสนาแสดงความสุขหมดทุกชั้นตั้งแต่ต่ำจนถึงสูง แต่ก็อาจย่อความได้ว่าเป็นสุขชั้นเวทนา คือรู้สึกได้เสวยได้ (Sensational Happiness) อย่างหนึ่ง ความสุขที่อยู่เหนือเวทนา ไม่ต้องรู้สึกไม่ต้องเสวย (Happiness Beyond Sensation) อีกอย่างหนึ่ง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 พฤศจิกายน 2011
  2. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    ข้อความทั้งหมดยกอ้างอิงจาก พระไตรปิฏกฉบับ สำหรับประชาชาชน........ของมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์......หน้าที่ 125....ข้อมูลทั้งหมดที่บรรยาย(ในช่วงของพระสูตร) เป็นของท่าน สุชีพ ปุญญานุภาพ......

    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    จุดประสงค์ที่ยกนี้เพื่อจะได้ให้ทุกท่านทำความเข้าใจใหม่ในเรื่องของ ฌาน ในพุทธศาสนา......มีหลายท่านยังมีความข้องใจในเรื่องนี้อยู่มากทั้งหลายสำนักที่มีการบอกสอนธรรมกันแบบไม่ค่อยที่จะถูกต้องกันเท่าไร..........

    <O:p</O:p
    เพื่อตอกย้ำกับท่านทั้งหลายที่ชอบแนวการปฏิบัติแบบฌานจะได้มีศรัทธา ต่อไป......ทั้งยังสามารถ......ตรวจสอบอาการและลำดับของสมาธิ...ตามพระสูตรได้....<O:p</O:p
    ข้อมูลอาจยาวหน่อย...แต่คาดว่าคงจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย.....ต่อการที่ท่านจะปฏิบัติต่อไป......

    <O:p</O:p
    ทั้งนี้มีการกล่าวในพระไตรปิฏกที่สามารถอ้างอิงอีกมาก.....เกี่ยวกับการเจริญ ฌาน ของพระภิกษุในพระธรรมวินัย.......

    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ณ.ตอนนี้ที่ผมได้ศึกษามาบ้าง.......ยังหาไม่เจอคำที่พระพุทธเจ้ากล่าวว่า......ฌาน ไม่ช่วยให้หลุดพ้น......ไม่ใช่ทาง......หินทับหญ้า......ตามที่หลายสำนักกล่าวหากันมาโดยตลอด.......ถ้าท่านใดหาพบช่วยเมตตา...บอกด้วยนะครับ....เพื่อจะได้ปลับความเห็นที่ผิด....เป็นความเห็นที่ถูกต้องตามกัน....เพื่อก้าวสู้การปฏิบัติที่ถูกต้องตามทาง........ต่อไป.......

    ต้องขออนุญาติทางเวบ....ที่จะนำข้อมูลนี้ไปโพสในส่วนของ บอร์ด พระไตรปิฏก...อีกครั้ง........เพื่อรักษาพระธรรมวินัย......แต่ที่นำมาโพสที่นี่ก่อน..เพราะว่ายังมีผูที่ปฏิบัติและยังมีความข้องใจ และเข้าใจผิดในข้อนี้อีกมาก...


    .;40<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มิถุนายน 2009
  3. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,979
    ค่าพลัง:
    +3,259
    ก็คำว่า ความสุขนั่นแหละ ที่เกิดขึ้น อันเป็น ทุกขสัจจ ที่ต้องเห็นว่าห้ามจิตไม่ให้มี
    สุขปราณีตเหล่านั้นได้ เมื่อเห็นแล้วว่านั่นคือ ตัวสุข คือ ภพ ก็ต้องไถ่ถอนออก

    ไม่พึงมีตัณหายึดความสุขนั้นไว้ เพราะไม่ใช่เครื่องขัดเกลา เป็นเพียงเครื่องอยู่สุข
    เพื่อความสุข เพื่อความสงบ ซึ่งต้องไม่หมายเอา

    เมื่อละอภิชญา โทมนัสเสียได้ กิเลสก็ทลายหมดสิ้น แม้แต่ควาสุขในรูปฌาณ
    และ อรูปฌาณ อันเป็นสังโยชน์เบื้องสูง

    คนที่ต้องทำฌาณสูงๆ เพื่อละ ก็เพราะคนๆนั้นเคยทำฌาณชนิดนั้นมาก่อนใน
    อดีตชาติ จึงต้องทำซ้ำเพื่อรู้ว่า จิตติดข้อง เมื่อรู้ว่าจิตติดข้อง แล้วละวางเสีย
    ได้ ก็จะถึงเป็นผู้ละได้จริง

    แต่สำหรับบุคคลผู้ไม่เคยเสพสุขในฌาณชั้นใดๆ มาก่อน ย่อมไม่เคยรู้ เมื่อไม่
    เคยรู้จิตย่อมไม่ไปติดข้อง ดังนั้น บางคนจึงไม่จำเป็นต้องไปทำฌาณเพื่อไถ่
    ถอน ไม่จำเป็นต้องไปสร้างภาระเพื่อที่จะมาไถ่ถอนภายหลัง ซึ่งกว่าจะทำ
    สำเร็จ เพราะอยากสำเร็จ เพราะอยากรู้ถ้วน ก็อาจจะต้องปฏิเสธคำสอนของ
    พระสัพพัญญูไปไม่ต่ำกว่า 4 สมัย

    ธรรมะของพระพุทธองค์ ไม่ใช่ของคนที่เนิ่นช้า พระพุทธองค์ได้ทรงค้นคว้า
    มาเป็นเวลานานแสนนาน เพื่อที่ให้คนๆหนึ่ง พึงเข้าถึงธรรมได้ใน 7 เดือน หรือ
    7 ปี หรือ 7 ชาติ เกินจากนี้ถือว่า พ้นพุทธเกษตรของพระพุทธองค์ไป
     
  4. ปัทมินทร์

    ปัทมินทร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    467
    ค่าพลัง:
    +1,393
    ขอให้ชาวพุทธทุกคนดำเนินตามรอยพระพุทธองค์กันนะครับ เพื่อจิตจะได้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
     
  5. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    [​IMG]


    ฌานว่าด้วยการหลุดพ้น....


    จากการศึกษาดูจากพระสูตรที่ยกมาสองพระสูตรนะครับมีกล่าวไว้ชัดเช่น พระสูตรที่พี่ บดินทร์...ยกมาคือ ...

    **********************************************
    ว่าด้วยเรื่องพระอรหันต์ 2 ประเภท
    ภันเต ข้าแต่พระคุณผู้เจริญ พระอริยสาวกทั้งหลายเหมือนพระผู้เป็นเจ้า ที่ได้สำเร็จแก่พระอรหัตต์ เป็นองค์พระอรหันต์ขีณาสพฉะนี้ มีกี่ประเภท
    ขอถวายพระพร : พระอรหันต์มีสองประเภท พระขีณาสพประเภทหนึ่งแจกเป็น 2
    ข้า แต่พระคุณผู้เจริญ พระอรหันต์สองประเภทนั้น คือ พระอรหันต์สุขวิปัสสก พิจารณาสังขารธรรม และกิเลสขาดเด็ด ๑ พระอรหันต์ปฏิสัมภิทาญาณนั้น แตกฉานในอรรถธรรมนิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ๑
    แต่พระคุณเจ้าว่า พระขีณาสพประเภทหนึ่งแจกเป็น 2 นั้น แจกอย่างไรกัน จะใคร่แย้งสักหน่อย มีนัยอธิบายประการใด
    มหาราช ขอถวายพระพร พระขีณาสพพวกหนึ่ง ชื่อว่า อุภโตภาควิมุตติ เจริญสมาธิจิตในอรูปสมบัติ ยึดหน่วงเอากายเป็นอารมณ์ ยึดหน่วงเอาจิตเป็นอารมณ์ ยึดหน่วงเอาสภาวะสูญเปล่าเป็นอารมณ์ ยึดหน่วงเอาสัญญาจิตเป็นอารมณ์ แล้วพ้นจากรูป จากกายเป็นพระขีณาสพอย่างหนึ่ง คือมีสันดานพ้นจากนามกาย
    อุภโตภาควิมุตติ มี ห้าอย่าง ด้วยพระอริยมัคคญาณ ขณะเมื่อสำเร็จพระอรหัตต์ผลนั้นอย่างหนึ่ง เป็นพระขีณาสพจำพวกเดียวแจกเป็นสองอย่างนี้
    ว่าด้วยอุภโตภาควิมุตติห้า
    นัยหนึ่งว่าพระโยคาวจรกุลบุตรที่เป็นอุภโตภาควิมุตตินั้น มีห้าอย่าง คือ
    ออกจากอากาสานัญจายตนสมาบัติ แล้วถึงพระอรหันต์ พวกหนึ่ง
    ออกจากวิญญาณัญจายตนสมาบัติแล้วถึงพระอรหันต์ พวกหนึ่ง
    ออกจากอากิญจัญญายตนสมาบัติแล้วถึงพระอรหันต์ พวกหนึ่ง<O></O>
    ออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ แล้วถึงพระอรหันต์ พวกหนึ่ง<O></O>
    เมื่อ ได้สำเร็จพระอนาคามีแล้วเข้าสู่นิโรธสมาบัติสิ้นเจ็ดวัน ออกจากนิโรธสมาบัติ แล้วถึงพระอรหันต์ พวกหนึ่ง เป็นอุภโตภาควิมุตติห้า อย่างด้วยประการฉะนี้

    **********************************************
    และพระสูตร ที่ผมยกมา...คือ


    ๖. มหาลิสูตร
    สุตรว่าด้วยการโต้ตอบกับเจ้าฉวีชื่อมหาลิ


    พระผู้มีพระภาคประทับ ณ ศาลาเรือนยอด ป่ามหาวัน กรุงไพศาลี พวกพราหมณ์ที่เป็นทูตชาวโกศลและชาวมคธมากหลาย <SUP></SUP>. มีธุระไปพักอยู่ในกรุงไพศาลี ได้ทราบข่าวจึงจะพากันไปเฝ้าด้วย เจ้าลิจฉลีชื่อ โอฏฐัทธะ ( ปากแหว่ง ) ๓ พร้อมด้วยบริษัทก็ไปเฝ้าด้วย.
    สมัยนั้น พระนาคิตะ เป็นพุทธอุปฐาก ไม่ยอมให้เข้าเฝ้า อ้างว่าพระผู้มีพระภาคกำลังทรงหลีกเร้น ( ทำความสงบ ) อยู่. สามเณรสีหะจึงเจรจากับพระนาคิตะให้บุคคลเหล่านั้นเข้าเฝ้า พระนาคิตะเกี่ยงให้สามเณรสีหะไปกราบทูลเอง.
    เมื่อสามเณรสีหะไปกราบทูล จึงตรัสสั่งให้ปูอาสนะที่ร่มเงาด้านหลังวิหาร เสด็จไปต้อนรับบุคคลเหล่านั้น.
    เมื่อตรัสปราศัยกับบุคคลเหล่าที่เข้าเฝ้าแล้ว โอฏฐัทธะ ลิจฉวี ก็กราบทูลถามเรื่องตาทิพย์ หูทิพย์ ว่ามีหรือไม่ ตรัสตอบว่า มี แล้วทรงแสดงเหตุผลว่า สุดแต่กำลังสมาธิที่เจริญให้มาก เพื่อให้มีตาทิพย์หรือหูทิพย์ และตรัสว่า ภิกษุทั้งหลายมิได้ประพฤติพรามจรรย์ในสำนักของพระองค์เพื่อเจริญสมาธิ ( ที่เป็นเหตุให้ได้ตาทิพย์หูทิพย์เหล่านั้น) เพราะยังมีธรรมที่สูงกว่านั้นที่ควรทำให้แจ้ง คือ ๑. การทำสัญโญชน์ ( กิเลสที่ผูกมัด) ให้สิ้นไป ๓ ประการ อันทำให้เป็นพระโสดาบัน ๒. ทำสัญโญชน์ ๓ ประการนั้นให้สิ้น ทำระคะ โทสะ โมหะให้น้อยลง อันทำให้เป็นสกทาคามี ๓. ทำสัญโญชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการให้สิ้น อันทำให้เป็นพระอนาคามี ๔. ทำอาสวะให้สิ้น ทำให้แจ้งความหลุดพ้นเพราะสมาธิ ( เจโตวิมุติ) และความหลุดพ้นเพราะปัญญา ( ปัญญาวิมุติ ) <SUP></SUP>.
    เมื่อโอฏฐัทธะ ลิจฉลี กราบทูลถามถึงข้อปฏิบัติที่ทำให้แจ้ง ( บรรลุ ) ธรรมเหล่านั้น ก็ตรัสแสดงมรรคองค์ ๘ มีสัมมาทิฏฐิ ( ความเห็นชอบ ) เป็นต้น มีสัมมาสมาธิ ( ความตั้งใจมั่นชอบ ) เป็นที่สุด.
    ครั้นแล้วตรัสเล่าเรื่องมัณฑิยปริพพาชก กับชาลียปริพพาชกไปทูลถามพระองค์ เรื่องชีวะ กับ สรีระ มีข้อความอย่างเดียวกับข้อความในชาลียสูตร ซึ่งจะกล่าวต่อไปสูตรนี้ . เมื่อจบพระธรรมเทศนาโอฏฐัธะ ลิจฉวี ก็ชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาค.
    ( หมายเหตุ โอฏฐัธะ ลิจฉวี มีชื่อเดิมว่า มหาลิ เวลาพระผู้มีพระภาคโต้ตอบด้วย ก็ทรงใช้ชื่อมหาลิ ).
    *************************************************************************
    " ๒. " แสดงว่ากรุงไพศาลีนครหลวงของแคว้นในขณะนั้น เป็นศูนย์กลางการทูตที่ฝ่ายมคธและโกศลติดต่อด้วย

    " ๓. " การตั้งชื่อคนตามลักษณะร่างกายดูจะนิยมกันมาก เช่น กูฏทันตะ ( ฟันเขยิน ) ลกุณฏกภัททิยะ ( ภัททิยะค่อม) กาฬุทายี ( อาทุยีดำ )

    " ๔. " ในที่นี้เป็นอันพระผู้มีพระภาคทรงชี้ให้เห็นว่า สิ่งที่สูงกว่าหูทิพย์ ตาทิพย์ คือการทำกิเลสให้หมดเป็นขั้น ๆ ได้เป็นพระอริยบุคคล ตั้งแต่อย่างต่ำถึงสูงสุด คือเป็นพระอรหันต์ อันแสดงฤทธิ์เดชมิใช่จุดประสงค์ทางพระพุทธศาสนา

    **********************************************
    อ้างอิงจาก....พระไตรปิฏก ฉบับสำหรับประชาชน มมร หน้า 303



    จากอักษรที่แลเงาสี้ฟ้าอ่อนทั้งหมด...เป็นอาการของ สมาธิ(ออกไปทางอรูปฌาน เสียด้วย)......และเป็นเรื่องที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัษถึงว่าสมาธิช่วยให้หลุดพ้นได้ ที่ทรงเรียกว่า เจโตวิมุติ.......เห็นได้ในพระสูตรอย่างชัดเจน...นะครับ..........แสดงว่าจริงแล้วสมเด็จท่านแนะนำให้ฝึกสมาธิ.........และทรงเน้นในมรรคมีองค์ 8 มีสัมมาทิฏฐิ ( ความเห็นชอบ ) เป็นต้น มีสัมมาสมาธิ ( ความตั้งใจมั่นชอบ ) เป็นที่สุด. ....สรุปคือการฝึกสมาธิอย่างถูกต้อง(เพื่อให้เป็น สัมมาสมาธิ)......ย่อมเป็นทางที่ถูก......ทางหนึ่ง......สู่การเป็นพระอรหันต์เจ้า เจโตวิมุติ......

    ...........(อ้างจากกระทู้นี้หน้า ๓ ครับ)..............


    ๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙


    [​IMG]



    สมถะ กับ วิปัสสนา.

    ยกจาก.

    [๘๓๑] เมื่อบุคคลนั้นเจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐอยู่อย่างนี้ ชื่อว่า มีสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ ถึงความเจริญบริบูรณ์ บุคคลนั้นย่อมมีธรรมทั้งสองดังนี้ คือ สมถะและ วิปัสสนา คู่เคียงกันเป็นไป

    เขาชื่อว่า กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ด้วยปัญญาอันยิ่ง
    ละธรรมที่ควรละ ด้วยปัญญาอันยิ่ง
    เจริญธรรมที่ควรเจริญ ด้วยปัญญาอันยิ่ง
    ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ

    พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ สุตตันตปิฎกที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์


    ***************

    ปัญหา การเจริญกรรมฐานมี ๒ อย่างคือ สมถะ และวิปัสสนา ใน ๒ อย่างนี้ จะเจริญสมถะก่อนหรือวิปัสสนาก่อน ? จะเจริญควบคู่กันไปจะได้หรือไม่ ?

    พระอานนท์ตอบ ว่า
    “....ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า
    (หรือ).... เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า
    (หรือ).... เจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป....
    มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพเจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญกระทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด....”

    ปฏิปทาวรรค ที่ ๒ จ. อํ. (๑๗๐)


    *************


    จากพระสูตรและพระอานนท์ได้กล่าวเอาไว้.....ในเรื่องของสมถะต้องคู่เคียงกันไปนะครับ......ไม่ได้มีการแยกกันว่าฝึกแต่สมถะหรือฝึกแต่วิปัสสนา......ดังที่หลายท่านเข้าใจกันในปัจจุบัน........อาจกล่าวได้ว่าจริงๆแล้วสมถะและวิปัสสนาเป็นธรรมที่เกื้อหนุนซึ่งกันและกันครับ.....ทั้งนี้ยังมีพระสูตรที่กล่าวในลักษณะนี้อีกหลายบท.....ซึ่งท่านสามารถติดตามศึกษาในกระทู้นี้และสามารถที่จะสรุปความจากพระสูตรก่อนหน้า...จนมาถึงจุดนี้นะครับ...

    .......(อ้างจากกระทู้นี้หน้า ๘ ครับ)..........

    ;42<!-- google_ad_section_end -->


    นิพพานนัง ปรมังสุขขัง.........นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กันยายน 2010
  6. vera_p

    vera_p เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2009
    โพสต์:
    260
    ค่าพลัง:
    +588
    ท่านภานุเดช === ณ.ตอนนี้ที่ผม ได้ศึกษามาบ้าง.......ยังหาไม่เจอคำที่พระพุทธเจ้ากล่าวว่า......ฌาน ไม่ช่วยให้หลุดพ้น......ไม่ใช่ทาง......หินทับหญ้า......ตามที่หลายสำนัก กล่าวหากันมาโดยตลอด.......ถ้าท่านใดหาพบช่วยเมตตา...บอกด้วยนะครับ.... เพื่อจะได้ปลับความเห็นที่ผิด....เป็นความเห็นที่ถูกต้องตามกัน....เพื่อ ก้าวสู้การปฏิบัติที่ถูกต้องตามทาง........ต่อไป..........

    พระพุทธเจ้าก็ทรงตรัสไว้นะ ว่าไม่สามารถทำให้พ้นทุกข์ได้ แต่ก็ไม่ได้ตรัสปฏิเสธทั้งหมดโดยตรงครับ เพราะธรรมเหล่านี้เป็นธรรมที่ มีอยู่ ใช้อยุ่ ในสัตตาวาสทั้ง 9 จะข้ามจากธรรมเหล่านี้ไปไม่ได้ ฌานก็ดี ญานก็ดี อภิญญาก็ดี คนภายนอกศาสนาเขาก็มี เป็นสาธารณะธรรมของสัตตาวาสทั้งหลายครับ ส่วนฌาน ญาณ อภิญญาที่เกิดขึ้นจากมรรค ผลโดยกำเนิด โดยฐานะ ไม่เป็นสาธารณะธรรมแก่คนภายนอกศาสนคำสอน ไม่เป็นสาธารณะแก่ปุถุชน ที่พระองค์ตรัสไว้ ก็ทรงตรัสบอก แค่หมายเอาคุณลักษณะอาการของฌาน ที่เป็นธรรมชาติของฌานเท่านั้น (เพราะธรรมชาติของฌาน เป็นเพียงแค่สะกดให้ขันธ์ทั้ง 5 นิ่งเท่านั้น ยกเว้นนิโรธสมาบัติ ข้อนี้ผมยังไม่เข้าใจแจ้งครับ ให้คำตอบไม่ได้) ว่าไม่สามารถพ้นทุกข์ได้ (พ้นจากขันธ์ 5) พระพุทธเจ้าไม่ทรงตรัสลักษณะของการสืบต่อของฌานนั้นให้ความสะดวกแก่วิปัสสนานั้นๆ แต่ทรงหมายเอาที่ ตัวธรรมชาติของฌานล้วนๆครับ เช่น ตอนที่พระพุทธเจ้า ไปฝึกปฏิบัติกับฤาษี 2 องค์ที่ได้สมาบัติ 7-8 แล้วก็ทรงดำริว่า ไม่ใช่หนทางดับทุกข์ได้ สิ่งนี้ไม่ใช่เป็นไปเพื่อความดับทุกข์ จึงลาอาจารย์ทั้ง 2 ไปหาทางใหม่
    ท่านอ่านบทความยาวๆนี้ ก็คงย่อ สรุปกิริยาเหล่านี้ได้ครับ (ต้องทิ้งความรู้เดิมเสียก่อน จะได้พิสุทธิ์ของใหม่)

    เพราะด้วยอาการอย่างนี้เอง ผู้ปฏิบัติสำนักต่างๆ (บางสำนัก) ถึงหมายเอาความรู้สึกแบบนี้ ว่ามันเป็นเพียงหินทับหญ้า เพื่อจุดประสงค์จะป้องกันการหลงฌาน เพราะฌานเป็นของอร่อย ถ้าไม่มีวิปัสสนารวมอยู่ด้วย เข้าไปอยุ่แล้ว ออกยากมาก แต่บางสำนักก็ถึงกับ ปฏิฆะในฌาน (อันนี้ก็เกินไป เพราะฌานก็เป็นปัจจัยสืบต่อ ส่งต่อให้วิปัสสนาอยู่ดี มันทิ้งกันไม่ได้)
    ผมไม่ได้จะเป็นตัวเเทนของบางสำนักนะครับ เพราะผมเป็นศิษย์ไม่มีสำนัก เหอๆ

    เพราะฉนั้น ถ้ารู้แจ้งจักประสงค์แล้ว ก็ไม่เถียงกันเท่านั้นครับ แต่ที่เถียงกันเพราะ แต่ละสำนักก็จะมีลูกศิษย์ที่ยังไม่ถึง ก็พล่อยจะปฏิฆะคำสอนของกันและกัน ว่ายิ่งหย่อนกว่ากันแปลความหมายไม่ตรงกัน บางสำนักก็เกิดจากฐานฌานมาก่อน บางสำนักก็เกิดจากฐานวิปัสสนาล้วนมาก่อน บางสำนักก็เกิดจากฐานอิทธิฤทธิ์ทางใจมาก่อน บางก็เกิดมาจากฐานเจริญปฏิจสมุปบาทมาก่อน ถ้าเข้าใจแล้วก็จะตกลงกันได้

    การสื่อสารนี้ เป็นแค่ตัวพิมพ์ที่ตายแล้ว ไม่ใช่การสื่อสารกันแบบอารมณ์สดๆ จึงไม่ค่อยได้ผลประโยชน์เท่าไรครับ


    บทความนี้ถ้าผิดก้อขออภัยครับ ผุ้น้อยปล่อยไก่แล้วครับ หึหึหึ





     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มิถุนายน 2009
  7. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    ไม่เป็นไรครับ......โมทนาสาธุในส่วนธรรมครับ........ช่วยยกมาได้ไมครับ.....เพื่อจะได้เข้าใจในแนวทางที่จะไปพัฒนาให้ตรงตามแนวปฏิบัตินะครับ.....

    ขอเมตตาเป็นพุทธพจน์นะครับ.......ยังไม่ขอรับอาจาริยวาท.....เพราะว่า อาจาริยวาท....ค่อนข้างที่จะสับสน..มีขัดแย้งกันมาก....นะครับ....

    welcome4

    [MUSIC]http://audio.palungjit.org/attachment.php?attachmentid=19467[/MUSIC]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มิถุนายน 2009
  8. vera_p

    vera_p เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2009
    โพสต์:
    260
    ค่าพลัง:
    +588

    อืม...ผมต้องขออภัยอย่างยิ่งเลยนะครับ ผมไม่รู้คาถาพุทธพจน์เลยครับ ทำไงดี ต้องขอโทษด้วย ผมเองเป็นประเภทมีอาหารน้อยแต่นั่งเคี้ยวนานครับ เรื่องคาถาพุทธพจน์ไม่กว้างขวาง รู้แค่ว่าธรรมข้อนี้หมายถึงอะไร ประสงค์อย่างไง พออธิบายได้นิดๆหน่อยๆ ประมาณนี้ครับ ผมก็อยากรู้คาถาพุทธพจน์มากๆเหมือนกันครับ วาสนามีน้อยครับ เลยนั่งแห้งคนเดียว เหอๆ

    รู้สึกผิดแฮะ...อธิบายเองกับหาที่มาที่ไปไม่ได้

    ต้องขออภัยเป็นอย่างมากครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มิถุนายน 2009
  9. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    ไม่เป็นไรครับ......โมทนาสาธุธรรมครับ......คือผมก็เคยได้ยินมาอย่างนั้นแต่ไม่ปักใจนะครับ.........เห็นว่ามีปัญหา....คือนำไปปฏิบัติแล้วไม่เป็นผล...หรือไม่เป็นไปตามนั้น...เลยสอบทานในพระไตร......ปรากฏว่าเป็นปัญหาจริงนะครับ.....คือพระพุทธเจ้าไม่ได้กล่าวตามอาจาริยวาท(ไม่ใช่สิครับ...อาจาริยวาทกล่าวไม่ตรงกับพระพุทธเจ้า)..เลยยกมาเพื่อพิจารณาธรรมร่วมกัน......
     
  10. vera_p

    vera_p เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2009
    โพสต์:
    260
    ค่าพลัง:
    +588
    ฌานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง ทุกๆชั้นล้วนแต่เป็นของอริยะ(อรหันต์)ทั้งหมดนะครับ เพราะเป็นฌานในพระพุทธศาสนา พระองค์ไม่หมายเอาโลกียฌานเลย

    ถ้าจะเป็นประโยชน์จริงๆ ก็เอาพุทธพจน์ตามนั้นไปครับ ตามกระทู้เลย ถูกที่สุดแล้ว ทรงพระพุทธพจน์ไว้ ส่วนขยายห้ามไม่ให้กระเซ็นคงไม่ได้ครับ



    สาธุๆ ได้มีโอกาศสนทนาธรรมผมก็ได้ข้อมูลมาใหม่ๆ ขอบคุณครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มิถุนายน 2009
  11. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    ครับๆ...ดีครับ...โมทนาสาธุบุญ.........พุทธพจน์เป็นอะไรที่คงที่...แก้ไม่ได้ครับ........ถูกที่สุดแล้ว........แม้ครูบาอาจารย์ท่านใหน...ก็ยกย่อง....ว่าไม่ผิดเพี้ยนนะครับ.......

    ผู้ที่ค้านพุทธพจน์....ก็คือค้านพระพุทธเจ้านะครับ.......จะว่าเป็นคนละส่วนกันก็ไม่ได้......พระพระพุทธเจ้าท่านทรงตรัษว่า...พระธรรมวินัย...จะเป็นศาสดาแทนท่าน...แม้ตั้งใจจะตีความให้ผิดเพี้ยนก็ไม่ได้....

    สนทนาธรรมตามกาลดีครับ.......เจริญปัญญา......แต่ถ้ามาถกกันเพื่อความแพ้ชนะ.....คงไม่ใหว...........โมทนาสาธุครับ........ตั้งใจปฏิบัตินะครับ.....



    มีอะไรดีๆมาบอกกันบ้าง.....บ้างครั้งผมผิดผมพลาดไปก็บอกกันได้นะครับ.....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มิถุนายน 2009
  12. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646

    เอ......ถามก่อนนะครับ...ทำไมต้องตีความเป็นพระอรหันต์เท่านั้นหนะครับ.....คืออยากทราบเหตุผล..........

    คือมีคนแปลในลักษณะนี้มากหนะครับ......

    rat_wting
     
  13. บดินทร์จ้า

    บดินทร์จ้า เจโตวิมุตติ-ปัญญาวิมุตติ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    493
    ค่าพลัง:
    +749
    ประโยคนี้เป็นจิกซอร์ตัวต่อไปที่ทุกท่านจะต้องต่อให้สมบูรณ์

    "ดูก่อนอานนท์ ความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในอรูปฌานชื่อเนวสัญญานาสัญญายตนะ) นั้นเป็นไฉน ?
    ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ก้าวล่วงอรูปฌานชื่อเนวสัญญานาสัญญายตนะ แล้วเข้าสู่สัญญาเวทยิตนิโรธ (สมาบัติ ที่ดับสัญญาและเวทนา- เป็นสมาบัติสูงสุดที่พระอนาคามีกับพระอรหันต์เท่านั้นทำให้เกิดได้) อยู่. นี้แล อานนท์ คือความสุขอื่นที่ดีกว่า ประณีตกว่าความสุข (ในอรูปฌานชื่อเนวสัญญานาสัญญายตนะ) นั้น.


     
  14. บดินทร์จ้า

    บดินทร์จ้า เจโตวิมุตติ-ปัญญาวิมุตติ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    493
    ค่าพลัง:
    +749
    <dl><dd>รูปฌาน ๔</dd></dl> <dl><dd>[๑๐๒] ดูกรจุนทะ ก็ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้</dd></dl> สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่
    วิเวกอยู่ ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส ดูกรจุนทะ
    แต่ธรรมคือปฐมฌานนี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา ในวินัยของพระอริยะ เรากล่าวว่า
    เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในอัตภาพนี้ ในวินัยของพระอริยะ
    <dl><dd>อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงบรรลุทุติยฌาน</dd></dl> มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจาร
    สงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรม
    เครื่องขัดเกลากิเลส ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคือทุติยฌานนี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา
    ในวินัยของพระอริยะ เรากล่าวว่าเป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในอัตภาพนี้ ในวินัยของพระอริยะ
    <dl><dd>อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงมีอุเบกขา มีสติ</dd></dl> สัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญ
    ว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อม
    อยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคือตติยฌานนี้เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรม
    เครื่องขัดเกลา ในวินัยของพระอริยะ เรากล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในอัตภาพนี้ ใน
    วินัยของพระอริยะ
    <dl><dd>อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงบรรลุจตุตถฌาน</dd></dl> ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสในก่อนเสียได้ มีอุเบกขาเป็น
    เหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส
    ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคือจตุตถฌานนี้เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา ในวินัยของพระอริยะ
    เรากล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในอัตภาพนี้ ในวินัยของพระอริยะ
    <dl><dd>[๑๐๓] ดูกรจุนทะ ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้</dd></dl> พึงบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน โดยมนสิการว่า อากาศไม่มีที่สุดเพราะก้าวล่วงรูปสัญญา ดับ
    ปฏิฆสัญญา ไม่มนสิการนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวงอยู่ ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า
    เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคืออากาสานัญจายตนฌานนี้ เรา
    ไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลาในวินัยของพระอริยะ เรากล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องอยู่สงบ
    ระงับ ในวินัยของพระอริยะ
    <dl><dd>อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงล่วงอากาสานัญจาย</dd></dl> ตนฌานเสียโดยประการทั้งปวง แล้วมนสิการว่า วิญญาณไม่มีที่สุด พึงบรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน
    อยู่ ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส ดูกรจุนทะ แต่
    ธรรมคือวิญญาณัญจายตนฌานนี้เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา ในวินัยของพระอริยะ
    เรากล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องอยู่สงบระงับ ในวินัยของพระอริยะ
    <dl><dd>อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงล่วงวิญญาณัญจาย</dd></dl> ตนฌานโดยประการทั้งปวง แล้วมนสิการว่า ไม่มีอะไรเหลือสักน้อยหนึ่ง พึงบรรลุอากิญจัญญายตน
    ฌานอยู่ ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส ดูกรจุนทะ
    แต่ธรรมคืออากิญจัญญายตนฌานนี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลาในวินัยของพระอริยะ
    เรากล่าวว่าเป็นธรรมเครื่องอยู่สงบระงับ ในวินัยของพระอริยะ
    <dl><dd>อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แลที่ ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงล่วงอากิญจัญญาย</dd></dl> ตนฌานเสียโดยประการทั้งปวง แล้วพึงบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ ภิกษุนั้นพึงมีความคิด
    อย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคือเนวสัญญานาสัญญาย
    ตนฌานนี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลาในวินัยของพระอริยะ เรากล่าวว่า เป็นธรรม
    เครื่องอยู่สงบระงับ ในวินัยของพระอริยะ
     
  15. บดินทร์จ้า

    บดินทร์จ้า เจโตวิมุตติ-ปัญญาวิมุตติ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    493
    ค่าพลัง:
    +749
    ซึ่งจะต้องรักษาศีล 5 หรือ ศีล 8 ศีล 10 และกุศลกรรมบถ 10 ซึ่งเป็นธรรมเครื่องขัดเกลา และ เจริญวิปัสสนากรรมฐาน ควบคู่ไปด้วยจนกระทั้งจิตประกาศสภาวะธรรม พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี จึงเข้านิโรธสมาบัติ ได้ เพราะสภาวะพระอนาคามี จะมีความคล้ายกันกับฌานตัวที่ 8 สรุปคือ เดินตามพระอริยมรรคมีองค์ 8 ว่าโดยย่อคือ ศีล สมาธิ ปัญญา
     
  16. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,075
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    เรื่องควรเจริญฌานเมื่อใดนี่ ต้องแล้วแต่กรรม แล้วแต่วาระ แล้วแต่เหตุปัจจัย แลัวแต่ฐานะ ^-^
     
  17. บดินทร์จ้า

    บดินทร์จ้า เจโตวิมุตติ-ปัญญาวิมุตติ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    493
    ค่าพลัง:
    +749
    ซึ่งในการเจริญฌานนั้น บางท่านวาสนาจบแค่รูปฌาน ก็แยกมาฝึกวิชา ๘ มีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น จนถึง การดับอาสวะกิเลส เป็นที่สุด
    หรือบางท่านได้ ได้อภิญญา 3 อภิญญา 6 ซึ่งก็ต้องดับอาสวะกิเลส
    บางท่านเจริญอรูปฌานจบตัวที่1 หรือ 2 หรือ 3 หรือ 4 แล้วเจริญวิชา ๘ แล้วมุ่งดับอาสวะกิเลส ครับ ทีนี้จะช้าหรือเร็วก็ขึ้นอยู่กับบุญวาสนาของแต่ละท่าน และเข้าใจแผนที่ที่จะเดิน
     
  18. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    พระจุฬปันถก ไม่ได้ฝึกทำฌานสูงๆ แต่พอบรรลุ
    กลับเป็นผุ้เลิศในมโนมยิทธิกว่าภิกษุใดๆ.... แสดงว่าไม่รู้ว่าแต่ก่อนนู้นถอยไปเป็นแสนๆชาติ ไม่รู้ชาติไหนที่ฝึกทำฌาน สมาบัติ
    พอบรรลุ...ของที่เคยฝึกไว้ได้มามากกว่าเดิมเป็น ลาภี
     
  19. vera_p

    vera_p เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2009
    โพสต์:
    260
    ค่าพลัง:
    +588
    ที่ผมเคยพิมพ์ว่า ...ฌานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง ทุกๆชั้นล้วนแต่เป็นของอริยะ(อรหันต์)ทั้งหมดนะครับ เพราะเป็นฌานในพระพุทธศาสนา พระองค์ไม่หมายเอาโลกียฌานเลย

    ::: ที่ผมวงเล็บว่า (อรหันต์)ห้อยท้ายเข้าไปด้วยนั้น ผมหมายเอาจิตพุทธภาวะของพระพุทธเจ้าที่เป็นพระอรหันต์ครับ เพราะโดยปกติวิสัยธรรมชาติทุกๆคนแล้ว จะสื่อสารออกจากฐานของตนก่อนเป็นสำคัญเสมอ ที่เขาเรียกว่า วิสัย คนไหนฐานภาชนะน้อยก็สื่อสารออกมาตามภาชนะน้อย คนไหนมีฐานภาชนะใหญ่หรือว่ามาก ก็สื่อสารออกมามาก ตามแต่ขนาดภาชนะวิสัยของตนเป็นสำคัญ ถ้าหากคนใด รู้ประมาณภาชนะธรรมของตนน้อยแต่เวลาสื่อสารเกินกว่าสิ่งที่ตนเองมีอยู่ คนนั้นก็หลงความคิดจิตวิปลาส ไม่รู้จักฐานะของตน เพราะฉนั้นพระอริยชั้นสูงเขาจึงมีความถ่อมตนอยู่ตลอดเวลา

    แต่เพราะนี้พระพุทธเจ้าแสดงเอง จึงเรียกว่าวิสัยของพระพุทธเจ้าครับ ผมจึงห้อยคำว่าอรหันต์ไว้ด้วย ผมไม่ได้หมายถึงพระอรหันต์โดยประการทั้งปวงนะครับ ผมแค่ห้อยไว้เฉยๆ แต่ความที่เขียนไปทั้งหมด คือ พระอริยะเจ้าทุกๆชั้นทั้งหมดครับ

    และเพราะผมเองไม่สามารถเข้าถึงหรือเสวยรสของพุทธวิสัย ก็ได้แต่ห้อยๆไว้ กันผิดพุทธพจน์ พุทธเจตนาครับ


    คือมีคนแปลในลักษณะนี้มากหนะครับ ===ที่ท่านภานุเดชถามลักษณะนี้ เหมือนจะเข้าใจว่าธรรมลักษณะนี้มันเพี้ยนๆ หรือป่าวหว่า หรือว่าผมแปลเองคนเดียวเลย เหอๆ อันนี้ก็ละไว้ในฐานที่เข้าใจเน้อครับ...

    พระไตรปิฎกที่พระเถระทรงจำมาทั้งหมด ล้วนแล้วแต่มาจากคำสอนของพระพุทธเจ้าโดยตรง และทุกๆคำสอนก็เป็นพุทธวิสัยล้วนๆและเป็นความหมายของพระพุทธเจ้าล้วนๆ

    พุทธพจน์คำสอนเปรียบเหมือนฝนบนท้องฟ้า ที่ตกลงสู้ภาชนะที่มีขนาดแตกต่างกัน เล็กบ้างใหญ่บ้าง กว้างบ้างสั้นบ้าง ลึกบ้างตื้นบ้าง แล้วแต่ขนาดของภาชนะ ผู้ที่รองรับเอาพระสัทธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าก็มีขนาดไม่เท่ากัน จึงรับเอาคำสอนไม่เท่ากันครับ แต่สุดท้ายฐานต้นเดิมก็ มาจากฝนบนท้องฟ้า

    ก็ถ้าเราจะรักษาพุทธพจน์กันก็ต้องรู้รักษาเจตนรมณ์แบบนี้และทรงไว้ซึ่งพุทธพจน์ล้วนๆแท้ๆที่เกิดจากฐานเดิมด้วย ไม่เอาโอวาทของอาจารย์รุ่นหลังๆ เอาแต่พุทธพจน์ล้วนๆ อันนี้ก็จะสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของท่าน ภานุเดชครับ

    อีกอย่างนึง ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสบอกเรื่องของความสุข(ฌาน)ในพุทธศาสนา ทรงตรัสบอกแค่ ลำดับฌาน ขั้นตอนฌาน และผลฌาน ซึ่งพระธรรมชุดนี้จำแนกเข้าในฝ่าย ผลธรรม ตามหลักปฏิสัมภิทา (อันนี้เป้นความเห็นส่วนตัว เพราะไม่ได้เรียน พูดตามอาการของธรรมครับ) พระองค์ไม่ได้ตรัสบอกวิธีปฏิบัติโดยเอนกปริยาย เพราะอุบายธรรมของแต่ละคนมีไม่เท่ากัน ไม่เหมือนกัน แต่ก็ขอให้ออกมาตามลักษณะที่ทรงแสดงไว้ พระองค์แสดงลำพังแต่ต้นธรรมเท่านั้น เหมือนบุรุษผู้มีกำลัง กำต้นไม้ที่พอดีกับมือ เพื่อที่จะยกถอนขึ้น ไม่ว่ากิ่งก้านใบ มันจะเยอะขนาดนั้น ก็อยู่ภายในมือของบุรุษนั้นคนเดียว อันนี้เป็นอย่างไง ธรรมที่ทรงแสดงก็อย่างนั้นเหมือนกันครับ

    เมื่อผุ้รู้ได้พิจารณาละเอียดถึงคุณลักษณะนี้แล้ว ก็ไม่ควรที่จะปฏิฆะหรือเบียดเบียนกลวิธิอุบายนั้นๆ แต่ทางกลับกันก็ควรที่จะรักษาพุทธพจน์ไว้อย่างมั่นคง เพราะพุทธพจน์ทนต่อการพิสูทธิ์



    ผมต้องขออภัยด้วยนะครับผม อาจจะเเสดงทิฏฐิออกจะเพี้ยนๆไปบ้าง ไม่่ตรงกับตำรับตำรา หยิบยกเอาสิ่งแวดล้อมที่อยู่ใกล้ๆตัวขึ้นมาอ้าง ผู้ปฏิบัติตามบ้านนอก ไม่มีตำรับตำราเสพมากครับ เลยพูดตามประสา หาฝั่งไม่ได้ ไม่มีที่มาที่ไป เหอๆ

    ถ้าดูเหมือนผมมีสัญญาวิปลาสคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริงก็ให้ทักท้วงตักเตือนได้นะครับ สาธุ ๆ ขอให้ผมถึงนิพพานเทอญ (ให้พรตัวเองชะงั้น 555 )


     
  20. vera_p

    vera_p เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2009
    โพสต์:
    260
    ค่าพลัง:
    +588
    ถึงท่านภานุเดช ที่ท่านสงสัยคือพุทธพจน์อันนี้ใช่มั้ยครับ

    <dl><dd>รูปฌาน ๔</dd></dl> <dl><dd>[๑๐๒] ดูกรจุนทะ ก็ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้</dd></dl> สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่
    วิเวกอยู่ ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส ดูกรจุนทะ
    แต่ธรรมคือปฐมฌานนี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา ในวินัยของพระอริยะ เรากล่าวว่า
    เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในอัตภาพนี้ ในวินัยของพระอริยะ
    <dl><dd>อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงบรรลุทุติยฌาน</dd></dl> มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจาร
    สงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรม
    เครื่องขัดเกลากิเลส ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคือทุติยฌานนี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา
    ในวินัยของพระอริยะ เรากล่าวว่าเป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในอัตภาพนี้ ในวินัยของพระอริยะ
    <dl><dd>อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงมีอุเบกขา มีสติ</dd></dl> สัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญ
    ว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อม
    อยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคือตติยฌานนี้เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรม
    เครื่องขัดเกลา ในวินัยของพระอริยะ เรากล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในอัตภาพนี้ ใน
    วินัยของพระอริยะ
    <dl><dd>อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงบรรลุจตุตถฌาน</dd></dl> ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสในก่อนเสียได้ มีอุเบกขาเป็น
    เหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส
    ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคือจตุตถฌานนี้เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา ในวินัยของพระอริยะ
    เรากล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในอัตภาพนี้ ในวินัยของพระอริยะ
    <dl><dd>[๑๐๓] ดูกรจุนทะ ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้</dd></dl> พึงบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน โดยมนสิการว่า อากาศไม่มีที่สุดเพราะก้าวล่วงรูปสัญญา ดับ
    ปฏิฆสัญญา ไม่มนสิการนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวงอยู่ ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า
    เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคืออากาสานัญจายตนฌานนี้ เรา
    ไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลาในวินัยของพระอริยะ เรากล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องอยู่สงบ
    ระงับ ในวินัยของพระอริยะ
    <dl><dd>อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงล่วงอากาสานัญจาย</dd></dl> ตนฌานเสียโดยประการทั้งปวง แล้วมนสิการว่า วิญญาณไม่มีที่สุด พึงบรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน
    อยู่ ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส ดูกรจุนทะ แต่
    ธรรมคือวิญญาณัญจายตนฌานนี้เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา ในวินัยของพระอริยะ
    เรากล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องอยู่สงบระงับ ในวินัยของพระอริยะ
    <dl><dd>อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงล่วงวิญญาณัญจาย</dd></dl> ตนฌานโดยประการทั้งปวง แล้วมนสิการว่า ไม่มีอะไรเหลือสักน้อยหนึ่ง พึงบรรลุอากิญจัญญายตน
    ฌานอยู่ ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส ดูกรจุนทะ
    แต่ธรรมคืออากิญจัญญายตนฌานนี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลาในวินัยของพระอริยะ
    เรากล่าวว่าเป็นธรรมเครื่องอยู่สงบระงับ ในวินัยของพระอริยะ
    <dl><dd>อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แลที่ ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงล่วงอากิญจัญญาย</dd></dl> ตนฌานเสียโดยประการทั้งปวง แล้วพึงบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ ภิกษุนั้นพึงมีความคิด
    อย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคือเนวสัญญานาสัญญาย
    ตนฌานนี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลาในวินัยของพระอริยะ เรากล่าวว่า เป็นธรรม
    เครื่องอยู่สงบระงับ ในวินัยของพระอริยะ

    ขอขอบคุณบดินทร์จ้าที่นำเอามาโพสต์ครับ...เป็นวิทยาทานชั้นยอด
     

แชร์หน้านี้

Loading...