ทำบุญไหว้พระ ยลยอดศิลปะไทย ที่ "วัดเบญจมบพิตร"

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย paang, 8 กุมภาพันธ์ 2006.

  1. paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,326
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=350 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=350> </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>พระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร สถาปัตยกรรมที่สมบูรณ์แบบของศิลปะไทย</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5></TD></TR></TBODY></TABLE> วันมาฆบูชาที่ใกล้จะถึงนี้ (13 ก.พ.) ฉันรู้ว่าหลายคนคงดีใจที่จะได้มีวันหยุดเพิ่มขึ้นอีกวันหนึ่ง แต่ในเมื่อเป็นวันสำคัญทางศาสนาพุทธทั้งที จะหยุดอยู่บ้านเฉยๆ ก็ใช่ที่ ต้องออกมาทำบุญด้วยจึงจะถูก แต่ถ้ายังไม่รู้จะไปทำบุญที่ไหน ฉันขอแนะนำให้มาที่ "วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม" วัดกลางเมืองตั้งอยู่ใกล้กับทำเนียบรัฐบาล ที่นอกจากจะได้มาทำบุญแล้วก็ยังจะได้ชม "สถาปัตยกรรมที่สมบูรณ์แบบของศิลปะไทย"อีกด้วย

    สำหรับชาวต่างชาติแล้ว จะรู้จักวัดเบญจมบพิตรนี้ในชื่อของ "The Marble Temple" หรือวัดหินอ่อนอันงดงามที่ใครๆ ต่างก็อยากมาชม เพราะฉะนั้น ฉันจึงไม่แปลกใจเมื่อก้าวเท้าเข้าไปในวัดเบญจฯ แล้ว ได้พบกับนักท่องเที่ยวหลายเชื้อชาติ มากหน้าหลายตา กำลังเดินชมวัดบ้าง ตั้งท่าถ่ายรูปอยู่บ้างเต็มไปหมด

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right border=0><TBODY><TR><TD width=5></TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=250 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=250> </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>พระพุทธรูปปางต่างๆ ที่ประดิษฐานอยู่รอบๆ พระระเบียง</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5></TD></TR></TBODY></TABLE> ก่อนที่จะได้ทราบว่าวัดเบญจฯ นี้มีสุดยอดสถาปัตย์อยู่ตรงไหน มาทราบประวัติของวัดกันก่อนดีกว่า หลายคนเข้าใจผิดว่า วัดเบญจมบพิตร เป็นวัดประจำพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จริงๆ แล้ววัดราชบพิตรสถิตมหาสีมารามต่างหากที่เป็นวัดประจำรัชกาลของท่าน แต่ทั้งนี้วัดเบญจมบพิตรก็เป็นอีกวัดหนึ่งที่มีความผูกพันกับพระองค์ท่านอย่างมากเช่นกัน

    วัดเบญจมบพิตร เดิมชื่อว่าวัดแหลม หรือวัดไทรทอง วัดแห่งนี้เคยเป็นกองบัญชาการกองทัพในพระนคร เมื่อครั้งที่เจ้าอนุวงศ์ผู้ครองนครเวียงจันทน์ยกกองทัพมาตีไทยในพ.ศ.2369 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯให้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ เป็นผู้บัญชาการกองทัพที่วัดแห่งนี้

    และเมื่อการปราบกบฏเสร็จสิ้นลง พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ พร้อมด้วยพระเชษฐภคินี พระขนิษฐภคินี และพระกนิษฐภาดา ร่วมเจ้าจอมมารดาทั้งหมด 5 พระองค์ ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดแห่งนี้ขึ้น และมาถึงในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้ทรงเปลี่ยนชื่อเป็น "วัดเบญจบพิตร" ซึ่งมีความหมายว่าเป็นวัดของเจ้านาย 5 พระองค์

    ต่อมาในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงมีพระราชประสงค์จะสร้างสวนดุสิตและพระราชวังดุสิตเพื่อเป็นที่ประทับพักผ่อนพระราชอิริยาบถ การสร้างพระราชวังนั้นได้กินพื้นที่ของวัดดุสิต และวัดร้างอีกแห่งหนึ่งในบริเวณใกล้เคียง ซึ่งตามธรรมเนียมแล้วจะต้องสร้างวัดทดแทน ดังนั้น พระองค์จึงมีพระราชประสงค์จะ "ผาติกา" หรือสถาปนาวัดเบญจบพิตร วัดใกล้เคียง ซึ่งในขณะนั้นชำรุดทรุดโทรมอยู่ขึ้นมาแทน เมื่อสถาปนาขึ้นแล้วได้พระราชทานนามวัดใหม่ว่า "วัดเบญจมบพิตร" อันมีความหมายว่า วัดของพระเจ้าแผ่นดินรัชกาลที่ 5

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=300 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=300> </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>พระที่นั่งทรงผนวช</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5></TD></TR></TBODY></TABLE> เอาล่ะ... ทีนี้ก็มาถึงตรงที่ว่า วัดเบญจมบพิตร ถือเป็น"สถาปัตยกรรมที่สมบูรณ์แบบ" อย่างไร ก่อนอื่นฉันต้องบอกชื่อของสถาปนิกผู้ที่ออกแบบแปลนแผนผังของวัดเสียก่อน ท่านมีพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ผู้ซึ่งทรงได้รับยกย่องว่าเป็น "นายช่างใหญ่แห่งกรุงสยาม" พระองค์ได้ทรงออกแบบพระอุโบสถและพระระเบียงอย่างวิจิตรงดงามด้วยแบบอย่างศิลปะและสถาปัตยกรรมไทยโบราณ โดยพระอุโบสถของวัดเบญจมบพิตรนั้นเป็นแบบจตุรมุข มีพระระเบียงโอบรอบด้านหลัง ถือเป็นพระอุโบสถที่สร้างได้สัดส่วนสวยงามเป็นอย่างยิ่ง

    และสิ่งที่ช่วยเสริมความงดงามยิ่งขึ้นไปอีกก็คือ ผนังของพระอุโบสถแทนที่จะเป็นลวดลายประดับกระจก หรือกระเบื้องเหมือนวัดอื่นๆ ก็กลับประดับด้วยหินอ่อนอย่างดีที่ส่งตรงมาจากประเทศอิตาลี แลดูสะอาดตา และด้านหน้าพระอุโบสถมีสิงห์สลักหินอ่อนอยู่สองตัวนั่งคุมสองข้างบันไดอยู่ ดูน่าเกรงขามมิใช่น้อย สิงห์ทั้งสองตัวนี้ ขุนสกลประดิษฐ์ ช่างในกรมช่างสิบหมู่ เป็นผู้ปั้นแบบตามภาพที่สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงเขียนขึ้น

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=left border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=250 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=250> </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>พระพุทธชินราชองค์จำลอง พระประธานในพระอุโบสถ</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=5></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5></TD></TR></TBODY></TABLE> ด้านในพระอุโบสถมีพระประธานคือพระพุทธชินราช ซึ่งจำลองมาจากพระพุทธชินราชองค์จริงที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก ในตอนแรกนั้นรัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชดำริจะอัญเชิญพระพุทธชินราชองค์จริงจากเมืองพิษณุโลกมาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ แต่ชาวเมืองพิษณุโลกได้แสดงความหวงแหน เพราะพระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา ซึ่งเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองพิษณุโลกอีกสององค์ก็ได้ถูกอัญเชิญลงมายังพระนครแล้ว จึงได้กราบบังคมทูลยับยั้ง พระองค์จึงโปรดฯ ให้ช่างหล่อรูปจำลองของพระพุทธชินราชมาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถนี้แทน

    ด้านในพระอุโบสถนี้มีสิ่งที่แตกต่างไปจากวัดอื่นๆ ที่ฉันเคยเห็น นั่นก็คือบนฝาผนังไม่ได้มีงานจิตรกรรมเป็นรูปพุทธชาดก หรือเรื่องรามเกียรติ์อย่างที่นิยมกัน แต่เป็นลวดลายเทพนมพุ่มข้าวบิณฑ์สีเหลืองบนพื้นขาว และที่พิเศษก็คือ มีภาพของพระธาตุและเจดีย์ที่สำคัญๆ ทั่วประเทศอยู่ตามช่องคูหา ฉันเดินชมรอบๆ แล้วก็เห็นว่ามีทั้งหมด 8 องค์ด้วยกัน คือ พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม พระธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน พระศรีรัตนมหาธาตุเมืองเชลียง และพระมหาธาตุที่วัดช้างล้อม เมืองศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย พระมหาธาตุเมืองละโว้ จังหวัดลพบุรี พระธาตุพนม จังหวัดนครพนม พระเจดีย์ชัยมงคลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และพระมหาธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช

    ขนาดของพระอุโบสถวัดเบญจฯ นั้นไม่ใหญ่โตนักก็จริง แต่จำนวนนักท่องเที่ยวที่มีมาก ก็ทำให้ภายในอุโบสถแคบไปถนัด ฉันเดินหลบนักท่องเที่ยวในพระอุโบสถออกมาสู่พระระเบียงด้านหลัง ความโดดเด่นอีกอย่างหนึ่งของวัดเบญจฯ ก็อยู่ที่พระระเบียงนี้ เพราะรัชกาลที่ 5 ทรงตั้งพระราชหฤทัยจะให้ทำเป็นพิพิธภัณฑ์ที่รวบรวมพระพุทธรูปโบราณสมัยต่างๆ และปางต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นทั้งในและต่างประเทศ แสดงให้ประชาชนได้ชม

    พระพุทธรูปเหล่านี้ มีทั้งที่เป็นพระพุทธรูปโบราณ และเป็นพระพุทธรูปที่ใช้วิธีหล่อขยาย หรือย่อส่วนจากตัวอย่างของโบราณ นอกจากนั้นยังมีทั้งพระพุทธรูปที่นำมาจากในกรุงเทพฯ และหัวเมืองต่างๆ รวมทั้งมาจากต่างประเทศ อย่างเช่นญี่ปุ่น อินเดีย พม่า และลังกาอีกด้วย สำหรับพระพุทธรูปจากอินเดีย หรือพม่า อาจจะแยกแยะไม่ออก แต่ถ้าเป็นพระพุทธรูปของญี่ปุ่นละก็จะสังเกตได้ทันที เพราะจะมีสัญลักษณ์อยู่ที่แต่ละองค์จะมีดวงอาทิตย์ส่องแสงอยู่ตรงพระเศียร

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=300 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=300> </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>สิงห์หินอ่อนนั่งเฝ้าพระอุโบสถอยู่ด้านหน้า</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5></TD></TR></TBODY></TABLE> ไม่ใช่แต่เพียงเท่านี้ แต่ที่วัดเบญจฯ ยังมีสิ่งที่น่าสนใจอีกมาก หากเดินออกมาทางด้านข้างของพระอุโบสถ จะเจอกับสะพานข้ามคูน้ำสีแดงอยู่สามสะพานด้วยกัน มีชื่อว่า สะพานพระรูป สะพานถ้วย และสะพานงา ข้ามสะพานไปแล้วจะเจอกับพระที่นั่งสองหลัง คือพระที่นั่งทรงผนวช และพระที่นั่งทรงธรรม

    สำหรับพระที่นั่งทรงผนวชนั้น รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดฯ ให้รื้อจากพุทธรัตนสถาน ที่สวนศิวาลัย ภายในพระบรมมหาราชวังมาไว้ที่นี่เพื่อเป็นกุฏิเจ้าอาวาส โดยยังรักษารูปแบบเดิมไว้ โดยภายในพระที่นั่งทรงผนวช มีพระแท่นบรรทม พระบรมรูปเมื่อทรงผนวช พระบรมรูปสลักหินอ่อน พระพุทธรูป พระเสลี่ยงน้อย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงถวายเพื่อเป็นธรรมาสน์แสดงธรรมและแสดงพระปาติโมกข์ครั้งแรกในวัดเบญจมบพิตร และภายในยังมีภาพเขียนเกี่ยวกับพระราชประวัติของรัชกาลที่ 5 ไว้ด้วย สำหรับพระที่นั่งองค์นี้จะเปิดให้เข้าชมก็เฉพาะวันที่ 23 ตุลาคมเท่านั้น แต่ถ้าใครจะมาชมเป็นหมู่คณะก็ลองติดต่อขอเข้าชมเป็นพิเศษได้

    ได้ทั้งไหว้พระทำบุญ ได้ทั้งชมความงดงามของสถาปัตยกรรมชิ้นเอกไปในคราวเดียวอย่างนี้ ก็ไม่ควรพลาดชม ที่ "วัดเบญจมบพิตร"


    * * * * * * * * * * </TD></TR></TBODY></TABLE>
    วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ราชวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ 69 ถนนพระราม 5 แขวงจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300 โทร.0-2282-2667, 0-2281-7825, 0-2282-5591 เวลาเปิดปิด 8.00-17.00 น. ชาวต่างชาติมีค่าธรรมเนียมเข้าชมคนละ 20 บาท การเดินทาง มีรถประจำทางสาย 5, 16, 23, 50, 70, 72, 99, 201 และรถปรับอากาศสาย 3, 505, 509 ผ่าน

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left></TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้