ทำวิปัสนาแล้วอารมณ์ถอยกลับเข้าสมถะแก้อย่างไรครับ (อานาปานสติ)

ในห้อง 'ประสบการณ์อภิญญา' ตั้งกระทู้โดย ธรรมมนุษย์, 9 พฤษภาคม 2010.

  1. ธรรมมนุษย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2010
    โพสต์:
    397
    ค่าพลัง:
    +1,908
    ผมเจริญวิปัสนากรรมฐานในช่วงอุปจารสมาธิแต่พิจารณาไปสักพักอารมณ์กลับดิ่งเข้าไปหาความสงบแบบสมถะ(ปฐมฌาน) ต้องถอยเข้าถอยออกประจำทำอย่างไรถึงจะให้อารมณ์วิปัสนาทรงตัวอยู่ได้นานครับ

    ขอบุญกุศลที่ข้าพเจ้ากระทำในวันพระใหญ่วิสาขบูชาทั้งหมด

    > รักษาศีลบริสุทธิ์
    > ไหว้พระ
    > ฟังธรรม
    > ถวายสังฆทาน
    > ถวายผ้าไตร
    > เวียนเทียน
    > สวดมนต์ภาวนา
    > เจริญกรรมฐาน

    ขอมอบเป็นเสบียงบุญโดยไม่มีประมาณแด่ทุกท่านที่เข้าตอบ
    แสดงความคิดเห็นจงสำเร็จแก่ทุกท่านเถิด
     
  2. octavian เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    86
    ค่าพลัง:
    +485
    ไม่ต้องทำอะไรครับ ปล่อยตามดูจิตไปเรื่อยๆ
    อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
     
  3. ธรรมมนุษย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2010
    โพสต์:
    397
    ค่าพลัง:
    +1,908
    ถ้าไม่ใช่นักปฎิบัติจริงก็คงตอบคำถามผมได้ยากนะครับ
    ผมก็กำลังค้นหาคำตอบด้วยตนเองอยู่ว่าเพราะอะไร
     
  4. Sriaraya5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    3,079
    ค่าพลัง:
    +12,852
    ทำไรถึงจะให้อารมณ์วิปัสนาทรงตัวอยู่ได้นานครับ

    นั่นนั่น คุณกำลังนึกถึงอารมณ์ ของพระอริยะแล้วคับ


    และนำใจของตนไปเปรียบกับพระอริยะนะครับ
    คิดอย่างนี้ จะทำให้ก้าวหน้า แต่ถว่าจะถึง

    ความเป็นอริยะได้จริงๆ คุณจะต้องเห็นทุกข์เห็นโทษของรูปเสียก่อนนะครับ
    มันถึงจะละกิเสล จิตเข้าอนัตตาธรรมได้<!-- google_ad_section_end -->
     
  5. ธรรมมนุษย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2010
    โพสต์:
    397
    ค่าพลัง:
    +1,908
    ขอบคุณมากครับ ทุกท่านที่ให้ความกระจ่างผมได้ก็ถือว่าท่านเป็นนักปฏิบัติโดยแท้ไม่ได้อวดอ้างคุณวิเศษแต่ประการใดนอกจากคำสอนของพระบรมศาสดา

    ตอนนี้ผมไม่ได้แบ่งว่าอารมณ์สมาธิจะเกิดอุปจารสมาธิหรืออัปปนาสมาธิแต่อย่างใดพอจิตรู้สึกสงบว่างจากนิวรณ์อารมณ์วิปัสนาก็จะเกิด (สมาธิอบรมปัญญา ?) แต่พอพิจารณาไปสักพักก็จะเกิดอารมณ์นิ่งจิตสงบคล้ายกลับเข้าสมถะหรือจะเรียกว่า (ปัญญาอบรมสมาธิ ?) ก็ไม่ทราบ เพราะการเดินสมาธิของผมมันเป็นออโต้จิตมันวิ่งขึ้นวิ่งลงระหว่างสมาธิกับฌานตลอดและมีปัญญาสอดแทรกเข้ามาเสมอและการพิจารณา ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ฯลฯ ในทำวิปัญสนากรรมฐานหากผมตั้งใจจะกลายเป็นสัญญาไปหมดและหากเราไม่ตั้งใจตัวปัญญาจะเกิดขึ้นมาเองแบบอัตโนมัติอรรถธรรมก็จะเกิดขึ้นมาเองให้เราพิจารณาและมีเพียงสัญญาเพียงเล็กน้อยเป็นฐานตัวปัญญาก็จะต่อยอดความรู้ให้ถึงที่สุดแห่งการพิจารณาตามพละกำลังของเรา
     
  6. ธรรมมนุษย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2010
    โพสต์:
    397
    ค่าพลัง:
    +1,908
    ผมยังไม่กระจ่างไม่สามารถแยก รูปนาม ให้เห็นเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แต่ข้ออรรถข้อธรรมที่ตัวปัญญาหยิบขึ้นมาพิจารณาก็จะเป็นเรื่องที่ง่ายกว่ารูปและนาม อย่างเช่น ความเป็นพระโสดาปันแรกเริ่มต้องตัดสักกยะทิฐิ (ความยึดมั่นในตัวกูของกู) ยังไงเราก็ต้องตายอย่ายึดมั่นถือมั่นในร่างกายอันนี้

    พระบรมศาสดาท่านสอนว่าให้พิจารณามรณนุสติกรรมฐาน ตอนแรกก้อไม่เข้าใจว่าเพราะเหตุใด (แค่นึกว่าเราต้องตายมันไม่เห็นผลเพราะเป็นความรู้สติสมองที่รับรู้) หลังจากเจริญปัญญาสัญญาแรกเริ่มเพียงเล็กน้อยจิตรับรู้ว่ากองกระดูกของเราเองที่เวียนว่ายในวัฐสงสารนับพันหมื่นแสนชาติมากมายยิ่งนักและจิตก็บอกว่าพอกันที่เราจะออกจากละครเรื่องนี้อีกไม่เกิด 7 ชาติ

    ร่างกายมันไม่ใช่ของเราอยู่แล้วสติสมองเรารับรู้ว่าไม่ใช่ แต่สำคัญคือ จิตเราไปยึดติดกับร่างกายหากถอดถอนความยึดมั่นถื่อมันของจิตออกจากกายได้ (โดยพิจารณา ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง หรือ อสุภะกรรมฐาน ต่อไป) แยกรูปแยกนาม เห็นเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนันตา สักกายะทิฐิก็เป็นอันขาดสะบั้นลงในทันที่

    อันนี้คือความรู้ที่ผมได้มาขณะเจริญปัญญาถูกผิดไม่ทราบได้แต่จะทดลองทำตามเพราะว่าธรรมะคือเรื่องภายในกายถูกผิดต้องทดลองให้รู้แจ้งครับ



     
  7. Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ผมว่า จขกท ยังแยกไม่ออกเลยนะคับ ว่า อปุจารสมาธิ คืออะไร ปฐมฌาน คือ อะไร

    แล้วก็ ขอโทษทีนะคับ ปฐมฌาน วิปัสนา ได้คับ ถ้า ปฐมฌาน จริง

    ขอ Copy มาให้อ่าน


    ปฐมฌาน หรือปฐมสมาบัตินี้ ท่านกำหนดองค์ของปฐมฌาน หรือปฐมสมาบัติไว้ ๕ อย่าง
    ดังต่อไปนี้
    ๑. วิตก จิตกำหนดนึกคิด โดยกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ว่าหายใจเข้าหรือออก ถ้าใช้คำ
    ภาวนา ก็รู้ว่าเราภาวนาอยู่ คือภาวนาไว้มิให้ขาดสาย ถ้าเพ่งกสิณ ก็กำหนดจับภาพกสิณอยู่ตลอดเวลา
    อย่างนี้เรียกว่าวิตก
    ๒. วิจาร ถ้ากำหนดลมหายใจ ก็ใคร่ครวญกำหนดรู้ไว้เสมอว่า เราหายใจเข้าหรือหายใจออก
    หายใจเข้าออกยาวหรือสั้น หายใจเบาหรือแรง ในวิสุทธิมรรคท่านให้รู้กำหนดลมสามฐานคือ หายใจเข้า
    ลมกระทบจมูก กระทบอก กระทบศูนย์เหนือสะดือนิดหน่อย หายใจออกลมกระทบศูนย์ กระทบอก
    กระทบจมูกหรือริมฝีปาก
    ถ้าภาวนา ก็กำหนดรู้ไว้เสมอว่า เราภาวนาถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ประการใด
    ถ้าเพ่งภาพกสิณ ก็กำหนดหมายภาพกสิณว่า เราเพ่งกสิณอะไร มีสีสันวรรณะเป็นอย่างไร
    ภาพกสิณเคลื่อนหรือคงสภาพ สีของกสิณเปลี่ยนแปลงไปหรือคงเดิม ภาพที่เห็นอยู่นั้นเป็นภาพกสิณ
    ที่เราต้องการ หรือภาพหลอนสอดแทรกเข้ามา ภาพกสิณเล็กหรือใหญ่ สูงหรือต่ำ ดังนี้เป็นต้น อย่างนี้
    เรียกว่า วิจาร
    ๓. ปีติ ความชุ่มชื่นเบิกบานใจ มีเป็นปกติ
    ๔. ความสุขเยือกเย็น เป็นความสุขทางกายอย่างประณีต ซึ่งไม่เคยมีมาในกาลก่อน
    ๕. เอกัคคตารมณ์ มีอารมณ์เป็นหนึ่ง คือ ตั้งมั่นอยู่ในองค์ทั้ง ๔ ประการนั้นไม่คลาดเคลื่อน
    ข้อที่ควรสังเกตก็คือ ปฐมฌานหรือปฐมสมาบัตินี้ เมื่อขณะทรงสมาธิอยู่นั้นหูยังได้ยินเสียง
    ภายนอกทุกอย่าง แต่ว่าอารมณ์ภาวนาหรือรักษาอารมณ์ไม่คลาดเคลื่อน ไม่รำคาญในเสียง เสียงก็ได้ยิน
    แต่จิตก็ทำงานเป็นปกติ อย่างนี้ท่านเรียกว่า ปฐมฌาน คือ อารมณ์เพ่งอยู่ โดยไม่รำคาญในเสียง
    ทรงความเป็นหนึ่งไว้ได้ ท่านกล่าวว่า กายกับจิตเริ่มแยกตัวกันเล็กน้อยแล้ว ตามปกติจิตย่อมสนใจ
    ในเรื่องของกาย เช่นหูได้ยินเสียง จิตก็คิดอะไรไม่ออกเพราะรำคาญในเสียง แต่พอจิตเข้าระดับ
    ปฐมฌาน กลับเฉยเมยต่อเสียง คิดคำนึงถึงอารมณ์กรรมฐานได้เป็นปกติ ที่ท่านเรียกว่าปฐมสมาบัติ
    ก็เพราะอารมณ์สมาธิเข้าถึงเกณฑ์ของปฐมฌาน ที่จิตกับกายเริ่มแยกทางกันบ้างเล็กน้อยแล้วนั่นเอง
     
  8. อินทรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    418
    ค่าพลัง:
    +562
    ทำไม ไม่ปล่อยให้จิตสงบเป็นอัปนาสมาธิไปก่อนละครับ ให้จิตเป็นสมาธิในจนจิตเป็นเอกัคคตารมณ์จนเต้มที่แล้ว จะเป็นณาณ1 หรือฌาน4 ก้ให้เป็นไปเลย
    พอจิตเสวยอารมณ์เต็มที่แล้ว ปล่อยให้จิตถอนออกจากสมาธิมาเอง ตอนที่ถอนจิตออกจากสมาธิแล้วเริ่มรู้สึกตัวนีแหละ เอาตรงมาพิจารณาอาการทางร่างกาย อย่างใดอย่างหนึ่งให้ชัดแจ้งลึกซึ้งในการพิจารณา พิจารณากลับไปกลับมา ก้จะทำได้นานๆจนต่อเนื่องได้เหมือนกัน เพราะอารมณ์ที่ถอนออกจากฌานได้แล้วเปนอารมณ์ที่เบาสบายและปลอดโปร่งมากสามารถรองรับการเจริญสติ เจริญปัญญา ได้เป็นอย่างดี เรียกว่า ได้สมถะก่อน แล้วค่อยเอาสมถะ
    มาต่อยอดคือวิปัสสนาทีหลัง

    อีกวิธีหนึ่งถ้าแน่ใจว่าตัวเองได้อารมณ์ฌาน หรือเป็นอัปนาฌานได้จริงๆแล้วล่ะก็ ตอนที่อย่ในขณิกะ หรืออุปจาระสมาธิก็ดี พยายามอย่าให้จิตนิ่งรวมลงไปจนเป็นฌาน ให้จิตจดจ่ออยู่แค่อุปจาระสมาธิก็พอ อย่าให้ลึกกว่านั้น จากนั้นใช้สติควบคุมจิตให้ทัน ใส่คำภาวนาเข้าไปเพื่อรั้งจิตให้คงที่ จดจ่อความร้สึกไปที่ส่วน
    ใดส่วนหนึ่งของร่างกายในกายตัวเองนี้ จะทำให้สามารถพิจารณาโดยมีสติและสมาธิภายในจิตทำให้เห็นรุปนามและแยกรูปแยกนามออกจากกันได้และเริ่มเดินวิปัสสนาได้แล้ว ทำให้วิปัสสนาที่เกิดขึ้นไม่ตกและสามารถน้อมนำให้ไปเห็น
    การเกิดการดับของอารมณ์และจิตได้ง่ายขึ้น ยกเข้าสู่กฏพระไตรลักษณ์เป็นก้าวแรกของวิปัสสนาทางปัญญาขั้นแรก เมื่อได้วิปัสสนาแล้วก้เอาสติและปัญญาที่เกิดจากวิปัสสนามาเป็นดาบคมๆจัดการกับนิวรณ์ธรรม รวมถึงอุปาทานในตัวตน พยาบาทและราคะต่อไป:boo::cool:
     
  9. รู้รู้ไป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    953
    ค่าพลัง:
    +3,165
    ขอร่วมแสดงความเห็นด้วยครับ
    หากว่าการดูกายดูใจทำงานตามจริงเรียก วิปัสนนา แล้ววิปํสนาทำเพื่อให้เห็นตามความเป็นจริง จะทำวิปัสนาก็ต้องตามดูมันไป มีสติรู้การทำงานของมัน
    เพียรดูเพียรรู้ เพื่อให้ได้ความจริง
    เมื่อดู เมื่อรู้อยู่ย่อมเป็นวิปัสนา
    เมื่ออยู่ในความสงบย่อมเป็นสมถะ
    เมื่ออยู่ในกิเลสย่อมไม่รู้ไม่สงบร้อนใจเป็นทุกข์

    อนุโมทนาด้วยครับ เป็นกำลังใจให้ผู้ปฏิบัติดี มีความรู้ทุกท่านครับ
     
  10. ผ่านมาเฉยๆ ไรเซ็นมันพูดว่าอะไรหว่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    964
    ค่าพลัง:
    +1,221
    ให้เวลาในการปฏิบัติน้อย ๑
    เร่งในผล ๑
    จริงๆแล้วการภาวนาจะต้องสลับกันไปอย่างนี้ถูกแล้วครับ
    สมถะและวิปัสสนาเปรียบเหมือนปลายไม้ที่ชื่อภาวนาแต่อยู่คนละด้าน
    เมื่อเดินปัญญาจนจิตต้องการพักหรือหมดกำลังก็ต้องเข้าพักเป็นธรรมดา
    เมื่อพักจนพอสมควรแล้วก็จะสามารถออกมาเดินปัญญาได้ครับ
    ส่วนคำถามของท่านนั้นให้พิจารณาสาเหตุข้างต้น
    เหมือนเคยตอบแล้วนะ
     
  11. วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,318
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,005
    ขณะปฏิบ้ติ อย่าไปยึดติดในอะไรใดๆทั้งปวงครับเเล้วทุกอย่างจะดีเอง เจริญในธรรมครับ ขอให้ตั้งใจปฏิบัติธรรมต่อไปครับ เป็นกําลังใจให้ครับ
     
  12. paul1234 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2009
    โพสต์:
    392
    ค่าพลัง:
    +634
    ในการปฎิบัติวิปัสสนา อารมณ์ จะเข้าิวิปัสสนา แล้ว ถอยมาเป็นสมถะ ไปเรื่อยปกติครับ เรายังต้องเพิ่มความเพียร อีกครับ

    ความรู้สติปัฎฐาน การฝึกดูจิต <CITE>www.wimutti.net</CITE>
    ลองแวะเข้า download MP3 ไปฟังครับ
     
  13. โป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    183
    ค่าพลัง:
    +256
    เหมือนท่านอื่นบอกนั่นแหละครับ...

    มันกลับไปกลับมา...เป็นธรรมดา

    ทำสมถะให้่ถึงที่สุด เมื่อสงบมีกำลังแล้วให้ถอนออกมาพิจาณาร่างกาย

    เมื่อกำลังหมด คุณจะทราบเอง และกลับเข้าไปสมถะใหม่ วนเวียนอยู่อย่างนี้ เป็นธรรมดา..ครับ
     

แชร์หน้านี้