ธรรมกาย1 : คุยกับชาวธรรมกาย

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย Sonny, 30 กันยายน 2006.

  1. Sonny

    Sonny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2006
    โพสต์:
    50
    ค่าพลัง:
    +156
    วิชชาธรรมกายนั้น จำแนกได้ 2 ส่วนครับ
    คือวิชชาเบื้องต้น กับวิชชาชั้นสูง
    วิชชาชั้นต้นนั้น ท่านเจ้าคุณพรหมโมลี
    ซึ่งตอนนี้ใครๆ ก็กล่าวหาว่าท่านเข้าข้างวัดพระธรรมกาย
    ท่านเคยวินิจฉัยไว้แล้วว่า เป็นเพียงสมถะที่เจือด้วยวิปัสสนาเบื้องต้นเท่านั้น สำหรับวิชชาธรรมกายชั้นสูง
    ทั้งเรื่องธรรมกายดำ ธรรมกายขาว ที่ต่อสู้กัน
    เรื่องพระพุทธเจ้าต้นธาตุ และพระพุทธเจ้ามนุษย์
    และเรื่องนิพพานเป็นอัตตา
    อันนี้แหละครับ ที่ไม่เกี่ยวอะไรกับพระพุทธศาสนาเลย

    จุดที่น่าคิดก็คือ เพราะเหตุใดเมื่อเดินวิชชาเบื้องต้นไปแล้ว
    ปลายทางจึงแตกแขนงไปไกลได้ขนาดนั้น
    ผมเห็นว่า น่าจะเนื่องจากเป็นการทำสมถะ
    โดยขาดสัมมาทิฏฐิเป็นเครื่องชี้นำนั่นเอง

    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสัมมาทิฏฐิด้วยอริยสัจจ์ 4
    และท่านกล่าวถึงอวิชชาว่า คือการไม่รู้อริยสัจจ์ 4
    เมื่อเริ่มปฏิบัติ โดยไม่มีสัมมาทิฏฐิเป็นเครื่องประคับประคอง
    การปฏิบัติจึงพลาดไปไกลได้ขนาดโต้แย้งพระสัทธรรม
    เพราะความยึดมั่นถือมั่นในอัตตาตัวตนนั่นเอง
    เนื่องจากไม่ทราบว่า ความอยากและความยึด จะนำทุกข์มาให้
    [9 พ.ค. 2542]

    คำถามของ คุณคนคนนึง น่าสนใจดีครับ
    เพิ่งเคยเห็นชาวธรรมกายในห้องสมุด
    ถามว่าคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างไร และถามด้วยความสุภาพ
    คือถามว่า
    "ธรรมกายได้แบ่งไว้เป็น 18 กาย
    คือตั้งแต่กายมนุษ์หยาบกายมนุษย์ละเอียด...กายธรรมโคตรภู...กายพระโสดา..กายพระอรหัต
    ผมไม่แน่ใจว่าจะนำไปเทียบกับรูปฌาณ4 อรูปฌาณ4 โคตรภู โสดาปัตติมรรคโสดาปัตติผล.
    อรหัตมรรคอรหัตผล ได้หรือไม่"

    ขอเรียนว่า วิชชาธรรมกายทั้ง 18 กายนั้น
    รวมความแล้วจะอยู่ภายในไม่เกิน "ปฐมฌาน" เท่านั้นครับ
    เพราะอาการที่จิตกำหนดเข้าไปที่กลางของกลางกายเป็นลำดับชั้นไปนั้น
    แสดงให้เห็นว่า จิตยังมี "วิตก" คือการตรึกนึก
    หรือการยกเอารูป เพื่อกำหนดเข้ากลางไปตามลำดับ มาเป็นอารมณ์
    ประการสำคัญที่สุด
    อาการที่กำหนดเข้าไปที่จุดศูนย์กลางกายนั้น
    แท้จริงยังเป็นสภาวะของสมาธิธรรมดา
    ยังไม่ถึงขั้นสัมมาสมาธิ ซึ่งจำเป็นสำหรับการทำวิปัสสนา

    ถ้าคุณคนคนนึง รู้จักจิตที่รู้ตัว ตั้งมั่น เป็นกลาง อ่อนโยน ควรแก่การงาน
    จะทราบชัดด้วยตนเองว่า การกำหนด"เพ่งจิตออก" ไปรู้ที่ศูนย์กลางกายนั้น
    เป็นสมาธิที่ไม่ใช่สัมมาสมาธิ
    ความรู้สึกตรงนั้นจะเงียบสงบจริงครับ
    แล้วง่ายที่จิตจะน้อมเข้าไปเกาะตรงจุดนั้น แล้วสงบตามไปด้วย
    เหตุใดจุดนั้นจึงสงบ
    ก็เพราะว่ากิเลสตัณหาอุปาทาน ไม่ได้ผุดขึ้นจากจุดศูนย์กลางกาย
    (แต่มันกระทบให้จิตรู้ได้ที่ หทยวัตถุ ซึ่งไม่ได้อยู่ที่ท้องน้อย)
    โอกาสที่จะเห็นการเกิดและดับของรูปนามอย่างเป็นปัจจุบัน จึงไม่มีจริง
    แต่กิเลสตัณหาจะเหมือนจางลงๆ ไปตามลำดับ
    เพราะจิตเรา "ไม่เข้าไปรับรู้"
    ไม่ใช่เพราะถูกอริยมรรคชะล้างไปตามลำดับ

    ถ้าคุณคนคนนึง จริงใจ ที่จะเรียนรู้แนวทางปฏิบัติธรรมเพิ่มเติม
    ผมยินดีสนับสนุน ขอเวลาพบผมสัก 2 ชั่วโมงเท่านั้น
    ผมคิดว่าพอจะช่วยให้ทราบความแตกต่างระหว่างวิชชาธรรมกาย กับสัมมาสมาธิได้ครับ
    (ถ้าไม่ฝึกวิชชาธรรมกายจนติดแน่นฝังลึกแล้วนะครับ ถ้าฝังลึกก็ต้องแก้กันนาน
    แต่ผมก็เคยแก้กรรมฐานให้เพื่อนที่ได้ธรรมกายระดับละเอียดมาแล้วเหมือนกัน)

    เหตุผลที่ผมไม่เลือกที่จะอธิบายธรรมะที่แตกต่างกันด้วยคำพูด
    โดยเฉพาะเรื่องฌานสมาบัติ จนถึงมรรคผล
    ก็เพราะคำพูดมันสื่อ "สภาวะ" ได้ไม่ดีพอ
    พูดกันอีกสิบกระทู้ก็ยังยากจะเข้าใจได้
    สู้เรียนรู้กัน จากจิตสู่จิต จะเข้าใจได้ง่ายกว่ากันมากครับ

    อันนี้ก็แล้วแต่คุณคนคนนึง จะพิจารณาตัดสินใจเอาเองครับ
    เพราะการที่ผมจะต้องแนะนำกรรมฐานนั้น
    ผมก็ต้องเสียเวลาและกำลังจิตเหมือนกัน
    แต่ที่ทนทำอยู่ทุกวันนี้ ก็เพื่อแทนคุณพระพุทธเจ้าเท่านั้น
    ทั้งที่ใจจริงเอือมระอาการถกเถียงกันเรื่องศาสนาเต็มทีแล้วครับ
    อยากจะมุ่งขัดเกลาตนเองมากกว่ามายุ่งกับผู้อื่น
    [11 พ.ค. 2542]

    ผมได้ทราบว่า คุณคนคนนึง อยู่ต่างประเทศ
    จึงจำเป็นที่เราจะต้องคุยกันทางตัวหนังสือครับ
    เสียดายที่ว่า แทนที่จะเข้าใจกันได้ในเวลาสักชั่วโมงหนึ่ง
    กลับต้องใช้เวลาคุยกันนานมาก แล้วก็จะเข้าใจได้เพียงผิวเผินเท่านั้น
    เพราะธรรมะที่แท้จริงนั้น
    ยากจะเรียนรู้ได้ด้วยการอ่านและการฟัง รวมทั้งการคิดๆ เอาด้วย

    ก่อนที่ผมจะตอบคำถาม ขอโอกาสกล่าวถึงหลักการปฏิบัติธรรมก่อนนะครับ
    ถ้าเข้าใจตรงนี้ จะช่วยให้เข้าใจคำตอบได้ง่ายขึ้น

    ที่จริงก่อนที่เราจะฝึกหัดปฏิบัติธรรม
    เราควรมีสัมมาทิฏฐิเสียก่อนว่า
    พระพุทธศาสนานั้น ท่านมุ่งเน้นการฝึกจิตตนเองจนพ้นจากทุกข์
    เพราะจิตเกิดความรู้ความเข้าใจอริยสัจจ์ 4
    ความสงบก็ดี การรู้การเห็นก็ดี
    กระทั่งการเข้าไปอยู่รวมกับบรมอัตตาหรือปรมาตมันก็ดี
    ยังไม่ใช่แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา
    เพราะไม่ได้ต่างอันใดกับลัทธิฮินดูเลยครับ

    เมื่อเราทราบแล้วว่า เราจะปฏิบัติเพื่อปลดเปลื้องจิตใจออกจากทุกข์
    เราก็ต้องทราบเสียก่อนว่า ความทุกข์เกิดขึ้นที่ไหน ดับไปที่ไหน
    ความทุกข์เกิดได้เพราะเหตุใด ทำอย่างใดเหตุแห่งทุกข์จะดับไป

    พระผู้มีพระภาคจึงทรงประทานธรรมอันประเสริญสูงสุด
    คือมหาสติปัฏฐาน หรือการเจริญสติอันยิ่งใหญ่
    เพื่อให้เราปฏิบัติตาม จนก้าวถึงความพ้นทุกข์ได้

    หลักสำคัญของการเจริญสติปัฏฐาน อยู่ที่ว่า
    เราต้องเตรียมความพร้อมของจิตให้ดีเสียก่อน
    คือจิตที่จะเจริญสติปัฏฐานได้จริง ต้องเป็นจิตที่มีคุณภาพ
    คือเป็นจิตที่ไม่ถูกกิเลสครอบงำ มีความรู้ตัวไม่เผลอ
    มีสติว่องไวรู้เท่าทันสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ
    มีความเป็นกลางต่อสภาพธรรมที่ไปรู้เข้า
    จิตชนิดนี้ จึงเป็นจิตที่สามารถทำตัวเป็นผู้สังเกตการณ์อารมณ์
    หรือสภาพธรรมที่กำลังปรากฏได้

    "เครื่องมือหนึ่ง" ในการสร้างจิตชนิดนี้คือสัมมาสมาธิ
    ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ด้วยฌาน 4 ที่เป็นแบบสัมมาสมาธิ
    ได้แก่ การที่จิตสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
    บรรลุปฐมฌาน มีวิตก วิจาร มีปีติและความสุขเกิดแต่ความวิเวก

    เมื่อจิตบรรลุปฐมฌานแล้ว จะพบความผ่องใสแห่งจิตภายใจ
    ตัวผู้รู้ หรือจิต จะปรากฏขึ้นมาให้เห็นชัดแยกจากสิ่งที่ถูกรู้
    ความฟุ้งซ่านของจิตอันได้แก่วิตกวิจาร ก็จะสงบระงับไป
    เหลือแต่จิต ที่รู้ปีติและความสุข มีปีติและความสุขเป็นอารมณ์ที่จิตรู้

    ถัดจากนั้นผู้ปฏิบัติจะสังเกตเห็นว่า ตัวจิตที่รู้อารมณ์นั้นเป็นกลาง คือเป็นอุเบกขา
    ส่วนปีติอันเป็นความโลดโผนของจิตจะดับไป เหลือแต่ความสุขอันประณีต
    ผู้ปฏิบัติจะมีความรู้ตัวไม่เผลอส่งจิตเข้าไปยึดถือความสุขที่จิตไปรู้เข้า
    และมีสติระลึกรู้ความสุขนั้นด้วย
    สภาวะอันนี้เป็นตติยฌาน

    ถัดจากนั้น ผู้ปฏิบัติจะเห็นอีกว่า ความสุขที่เกิดขึ้นนั้น ยังเป็นของหยาบ
    เป็นภาระที่จิตจะต้องแบกหาม
    จิตจะสลัดความสุขทิ้ง คราวนี้จิตก็เป็นกลาง และรู้อารมณ์ที่เป็นกลาง
    อะไรสักเล็กน้อยแปลกปลอมเข้ามาสู่ภูมิรู้ของจิต
    จิตจะรู้เท่าทันชัดเจนทีเดียว
    เปรียบเหมือนเราเช็ดโต๊ะจนสะอาดและไม่มีสิ่งของตั้งบนโต๊ะ
    แม้ขี้ฝุ่นเล็กๆ แปลมปลอมมาตกบนโต๊ะ เราก็รู้ชัดได้ทันที
    สภาวะจิตตรงนี้จึงเป็นจิตที่ตั้งมั่น มีสติว่องไว อ่อนโยน ควรแก่การนำไปเจิรญสติปัฏฐาน

    เช่นผู้ที่จะเจริญกายานุปัสสนา ก็ใส่ใจที่จะรู้กายที่กำลังปรากฏ
    จะเจริญเวทนานุปัสสนา ก็ใส่ใจที่จะรู้เวทนาที่กำลังปรากฏ
    จะเจริญจิตตานุปัสสนา ก็ใส่ใจจะรู้จิตสังขาร
    เช่นความคิดนึกปรุงแต่ง ดีชั่วต่างๆ ที่กำลังปรากฏ
    หรือจะเจริญธัมมานุปัสสนา ก็มีสติระลึกรู้กลไกการทำงานของจิต
    เช่นรู้อริยสัจจ์ รู้การเกิดขึ้นและดับไปของนิวรณ์
    รวมทั้งอิทธิพลหรือการทำงานของมัน เป็นต้น

    เมื่อจิตมีสติรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏ
    โดยจิตไม่เผลอกระโดดเข้าไปยุ่งเกี่ยวยึดเกาะสภาพธรรมนั้น
    สภาพธรรมที่กำลังปรากฏ จะแสดงไตรลักษณ์ทันที
    ต่อหน้าต่อตา และไม่ขาดวรรคขาดตอน
    จิตก็ได้เรียนรู้เรื่อยไป จนถึงจุดหนึ่งก็จะสรุปความรู้ได้ว่า
    สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้น สิ่งนั้นล้วนแต่ต้องดับไปทั้งสิ้น
    ถึงจุดนี้จิตจะปล่อยวางอารมณ์ทั้งหมด
    ก้าวกระโดดเข้าสู่นิโรธะคือความดับสนิทของบรรดาสังขารธรรมทั้งปวง
    มรรคผล ก็บรรลุกันตรงนี้ครับ

    ที่เล่ามายืดยาวนี้ เพื่อตอบคำถามแรกของคุณคนคนนึง
    ที่ว่าวิชชาธรรมกายเทียบได้กับฌาน และมรรคผลนิพพานหรือไม่
    หากลองดำเนินจิตตามที่ผมกล่าวมานี้
    ก็จะทราบในทันทีครับว่า
    การเพ่งกสิณ การสร้างรูปนิมิต โดยมีทฤษฎีชี้นำหรือมิจฉาทิฏฐินั้น
    จิตไม่สามารถเข้ามาเจริฐสติปัฏฐานได้จริง
    คำว่ากายพระโสดาบัน กายพระอรหันต์
    เป็นการยืมชื่อพระอริยบุคคลมาใช้เรียกรูปนิมิตเท่านั้น
    เหมือนที่ข้างทำเนียบรัฐบาลมีถนนพิษณุโลก
    ถัดออกไปมีถนนสุโขทัย
    ทั้งที่ทำเนียบรัฐบาลไม่ได้อยู่ใกล้พิษณุโลกและสุโขทัยเลย

    หรือไปเรียกดวงนิมิตว่าดวงธัมมานุปัสสนาบ้าง
    ดวงปฐมมรรคบ้าง
    ก็เป็นการยืมชื่อมาใช้เรียกกันอย่างอัตตโนมัติ
    กระทั่งชื่อวิชชาธรรมกาย ก็เป็นการยืมพระนามของพระพุทธเจ้ามาใช้เท่านั้นเอง
    เพราะธรรมกายแท้จริงคือองค์พุทธคุณ
    ธัมนุปัสสนาก็เป็นหลักเป็นวิธีเจริญสติปัฏฐาน
    มรรค ก็คืออริยมรรคที่จะประหารกิเลส
    นับเป็นคนละเรื่องโดยสิ้นเชิงครับ

    ผมอ่านคำสอนขององค์หลวงพ่อวัดปากน้ำ(หลวงพ่อสด)
    ท่านระบุเลยว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้เพราะวิชชาธรรมกาย
    แล้วท่านก็เคารพพระธรรม คือพระธรรมกายนั้นเป็นสรณะ
    ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว ทรงตรัสรู้เพราะทรงเจริญสติปัฏฐาน
    ในหมวดอานาปานสติ ซึ่งมี 4 ขั้นตอน
    จนถึงจุดหนึ่งท่านจึงเจริญธัมมนานุปัสสนา
    รู้อริยสัจจ์ 4 (ปฏิจจสมุปบาท) จนแทงตลอดในธรรม
    ระหว่างพระธรรมกาย กับปฏิจจสมุปบาทนั้น เป็นเรื่องคนละเรื่อง
    ที่ไม่อาจโยงเข้าถึงกันได้เลยครับ

    มาถึงคำถามสุดท้ายที่ว่า
    "ท่านยังบอกว่าถ้าไม่ถนัดก็ให้ทำใจให้สงบนิ่งๆ ไม่ทราบว่าผมจะเข้าใจถูกหรือไม่ว่า
    ถ้าหากเราทำใจสงบนิ่งๆโดยที่มีสติสัมปชัญญะกำกับแล้วจะรู้จะเห็นเป็นอย่างอื่น
    (คือแทนที่จะเห็นธรรมกายเป็นชั้นๆ
    เราจะเห็นอะไรแทนครับ เพราะเท่าที่ผมทราบมาท่านก็ให้ใช้สติกำกับด้วย
    ส่วนธรรมกายนั้นจะผุดขึ้นมาเองโดยที่เราไม่ต้องไปนึกหรือคิดอะไร)"

    ผมขอเรียนอย่างตรงไปตรงมาว่า
    สิ่งที่ท่านสอนนั้นถูกต้องโดยหลักของสมาธิธรรมดาครับ
    เพราะถ้าคุณอยากเห็นดวงนิมิต
    คุณจะใช้กำลังสติที่กล้าแข็งไปเพ่งเอาที่ศูนย์กลางกายไม่ได้
    สมาธินั้นมีเคล็ดลับที่สำคัญคือ ต้องดำเนินจิตโดยปราศจากความจงใจเพ่งจ้อง
    หากประคองสติระลึกรู้อยู่ที่ศูนย์กลางกายอย่างสบายๆ
    จิตจะรวมเข้าที่ศูนย์กลางกายได้ แล้วดวงนิมิตก็จะปรากฏออกมาเป็นดวงสว่าง
    เมื่อมีดวงสว่างแล้ว จิตที่เคยรู้ว่าตรงนี้มีพระธรรมกาย
    ก็จะสร้างรูปพระจากอำนาจของดวงสว่างนั้นเอง
    เมื่อจ้องเข้าที่กลางรูปพระ ถ้าจ้องแรงก็ไปต่อไม่ได้
    ต้องประคองสติเบาๆ ระลึกพอดีๆ ก็จะเกิดนิมิตซ้อนต่อไปอีก

    สิ่งที่หลวงพ่อของคุณสอน จึงถูกต้องครับ
    แต่ถูกต้องในหลักของสมถะล้วนๆ (ผมเลี่ยงคำว่ามิจฉาสมาธิน่ะครับ)
    และไม่ใช่สัมมาสมาธิตามหลักฌาน 4 ที่ผมยกมากล่าวในตอนต้นนั้นเลย
    ขาดอะไรทราบไหมครับ
    ขอเรียนว่า ขาดความรู้ตัว ซึ่งเป็นธรรมอันเอก ครับ
    เรียกว่ามีสติ แต่ขาดสัมปชัญญะ
    คือถ้าจิตจะระลึกรู้ดวงนิมิตนั้น โดยจิตไม่เผลอส่งกระแสไหลเข้าไปในดวงนิมิต
    เห็นนิมิต สักแต่ว่าเป็นสภาพธรรมอันหนึ่งที่กำลังปรากฏ
    ก็จะเห็นนิมิตนั้นเกิดแล้วก็ดับไป เช่นเดียวกับสภาพธรรมอื่นๆ นั่นเอง
    รูปนิมิตนั้น ไม่ใช่ที่พึ่งที่อาศัยอันปลอดภัยใดๆ เลย
    เมื่อจิตหมดความสำคัญมั่นหมายแล้ว
    จิตจะรวมรู้ลงที่จิตผู้รู้ ไม่ใช่ส่งหลงออกไปที่รูปนิมิตนั้น

    ที่ผมทราบอาการดำเนินของจิตอย่างนี้ ก็เพราะเคยพบเห็นผู้ทำวิชชามาแล้ว
    ที่จิตจะเคลื่อนออกไปเกาะอารมณ์ที่ศูนย์กลางกาย
    การที่จิตเคลื่อนไปนั้น มันเคลื่อนหรือทะยานอยาก(มีตัณหา)
    ด้วยอำนาจของโมหะและราคะ
    โมหะคือไม่รู้ว่านั่นไม่ใช่ทาง จิตกำลังเคลื่อนอยู่ก็ไม่รู้ว่ากำลังเคลื่อน
    จิตสร้างภพ ก็ไม่รู้ว่ากำลังสร้างภพ
    แล้วจิตก็ไปสบายเสวยอารมณ์คือนิมิตด้วยอำนาจของราคะ

    อ้าว ยังมีคำถามอีกข้อหนึ่งที่ยังไม่ได้ตอบครับ ที่ถามว่า
    "ผมก็ยังสงสัยว่าจะเป็นไปได้ไหม
    ที่จิตของบางคนอาจจะตั้งอยู่ที่ศูนย์กลางกาย
    เพราะมันก็ไม่ไกลจากกลางอกเท่าไหร่นัก"

    ขอเรียนว่า จิตนั้นตั้งที่ไหนก็ได้ครับ
    กระทั่งจะถอดจากกาย ไปตั้งบนยอดไม้ก็ไปได้
    แต่จิตที่รู้ตัว ตั้งมั่น รู้กิเลสตัณหานั้น
    กิเลสตัณหาเกิดที่ใด ก็ต้องไปดูในที่นั้นสิครับ
    เหมือนเราจับกระต่าย ก็ควรเฝ้าอยู่ที่ปากรูของมัน
    จะเที่ยวเพ่นพ่านไปหาที่โน้นที่นี้ทำไมกันครับ
    กิเลสเกิดที่ไหน ก็รู้มันตรงนั้นแหละครับ
    หรืออย่างเวลาเราขัดใจมากๆ ที่เขามาว่าหลวงพ่อของเรา
    รู้สึกแน่นในอก หรือรู้สึกแน่นที่ท้องน้อยละครับ
    อันนี้ผมว่าเราอย่างเพิ่งกล่าวถึงเรื่องของคนอื่นเลยครับ
    เอาเป็นว่า ถ้าความรู้สึกสุข รู้สึกทุกข์ รู้สึกเฉยๆ
    หรือราคะ โทสะ โมหะ
    หรือแรงทะยานอยากของจิต
    สิ่งเหล่านี้เกิดที่ไหน ก็รู้ตรงนั้นดีกว่าครับ
    มันจะอยู่ที่หทยวัตถุ หรือที่ท้องน้อย ก็ช่างมัน
    ดูของจริงเอาเลย แล้วก็จะทราบความจริงครับ
    [12 พ.ค. 2542]

    ถามเร็วเหลือเกินครับ
    ขอตอบสั้นๆ เป็นข้อๆ เลยนะครับ

    "1. ผู้ที่ปฏิบัติเข้าถึงธรรมกายในระดับหนึ่งจะสามารถแก้ผังชีวิตของคนได้"
    - การแก้ผังชีวิตไม่ใช่จุดประสงค์ของพระพุทธศาสนาครับ
    ลองพิจารณาสักนิดนะครับ ว่าการแก้ไขนั้น
    เกิดเพราะความหวงแหนในขันธ์ 5 นี้ใช่ไหม
    แล้วแก้ได้ตลอดไปจริงไหม
    ความจริงก็คือ ไม่มีใครแก้ได้ทุกคราวไป
    หากกรรมตัดรอนแล้ว อย่างไรก็ต้องตายครับ
    สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงสอนนั้นก็คือ ทำอย่างไรเราจะไม่ทุกข์
    ทำอย่างไรจะพ้นเด็ดขาดจากกองขันธ์นี้
    ไม่ใช่ถนอมขันธ์อันเป็นก้อนอัตตานี้ไว้อย่างนั้น
    เพราะไม่สามารถรักษาไว้ได้ตลอดไปครับ

    "ตามความเห็นของคุณสันตินันท์
    วิชชาธรรมกายจะไม่มีทางที่จะได้ญาณอันสุดท้ายหรือครับ"
    - ญาณในวิชชา 3 นั้น 2 อย่างแรกเป็นโลกียญาณ
    วิชชาธรรมกายทำได้ครับ
    ส่วนญาณที่ 3 เป็นญาณแห่งการหลุดพ้น เป็นวิปัสสนาญาณทางพระพุทธศาสนาเท่านั้น

    ไม่ทราบว่าเคยได้ยินคำว่าโสฬสญาณหรือญาณ 16 ไหมครับ
    ที่เริ่มต้นด้วยนามรูปปริจเฉทญาณ หรือการจำแนกรูปนามขันธ์ 5
    จุดเริ่มต้นของวิปัสสนาเริ่มตรงนี้ครับ
    ซึ่งวิชชาธรรมกายไม่ได้เข้ามาที่ตรงนี้เลย
    มีแต่สร้างรูป แล้วยึดรูป จน "นิพพาน" แล้วรูปก็ยังอยู่อีก

    ผู้เจริญวิปัสสนาที่ไม่สามารถจำแนกรูปนาม
    ไม่รู้สภาพธรรมคือรูปนามที่กำลังปรากฏเฉพาะหน้า
    ไม่มีทางล้างอวิชชาตัณหาอุปาทาน เข้าถึงความหลุดพ้นได้เลย

    "ส่วนคนที่สามารถเข้าถึงธรรมกายพระอรหัต
    จะถือว่าเป็นการคิดเอาเองหรือเปล่าครับว่าหลุดพ้นแล้ว"
    -คิดเอาเองครับ ไม่ต้องดูอื่นไกลหรอกครับ
    ถ้าฝึกจนได้วิชชาธรรมกายแล้ว ลองดูองค์หลวงพ่อวัดปากน้ำสิครับ
    ยังเกิดในสวรรค์ชั้นต้นๆ เท่านั้นเอง
    เพียงแต่ชาวธรรมกายคิดต่อไปให้ท่าน ว่าท่านเป็นต้นธาตุ เกิดได้อีก
    ที่คิดได้อย่างนั้น เพราะไม่เข้าใจปฏิจจสมุปบาทครับ
    ว่าความเกิดของรูปนามนั้น เกิดได้ด้วยอวิชชาเท่านั้น

    ผมเสียดายจัง ถ้าคุณคนคนนึง อยู่ใกล้ๆ ผม
    ผมจะสอนวิธีให้รู้จักสภาพจิตของผู้อื่น
    แล้วลองกลับไปดูท่านที่สอนคุณมา
    ก็จะทราบว่า ท่านเหล่านั้น ยังเป็นปุถุชนอยู่ครับ
    ที่จริงท่านเหล่านั้น ก็รู้ตัวนะครับว่ายังไม่บรรลุมรรคผลอะไรเลย

    "2. เห็นผู้ทำวิชชาได้ปกติจะนำวิชชาไปต่อสู้กับพวกมาร"
    นี่แหละครับ มันเกิดจากวิชชาธรรมกายชั้นสูงล่ะครับ
    ที่เชื่อว่าในสากลจักรวาลมีธรรมกาย 2 ฝ่าย คือธรรมกายดำ(มาร) กับธรรมกายขาว
    ผมเรียนตามตรงก็ได้ว่า ชาวธรรมกายสายอื่น
    เขาก็เห็นว่าชาววัดพระธรรมกายเป็นสายดำ
    เกิดมาเพื่อทำลายธรรมกายขาว
    ทางวัดพระธรรมกายก็ทำวิชชา ไว้สู้ธรรมกายดำเหมือนกัน
    เพราะคิดว่าตนเป็นฝ่ายขาวเหมือนกัน

    รวมความแล้ว ไม่ได้ทำเพื่อความพ้นทุกข์ อันเป็นแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาครับ
    คล้ายการฝึกวิทยายุทธ์มากกว่าครับ

    "มีไหมครับที่พระอรหันต์จะไม่ได้ทั้งวิชชาและจรณะ ส่วนอภิญญา6
    นั้นถ้าหากปฏิบัติแค่สมถะภาวนาแล้วได้ ก็คิดว่าคงจะได้ง่ายกว่าอันอื่นถูกไหมครับ"
    -ผู้สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ คือพระพุทธเจ้าครับ
    ส่วนอภิญญา 6 นั้น 5 อย่างแรกเป็นสาธารณะ ไม่ใช่พระอริยบุคคลก็มีได้
    และพระอริยบุคคลบางท่านก็ไม่มี
    ไม่ใช่ของดีวิเศษอะไรนักหนาหรอกครับ
    เพราะพระเทวทัตท่านก็เหาะได้ แต่ก็พลัดลงอเวจีไปแล้ว

    นอกเรื่องสักหน่อยครับ ผมเคยสนทนาธรรมกับพลวงพ่อพุธ ฐานิโย
    ท่านบอกว่าท่านไม่สนใจเรื่องอภิญญา (ทั้งที่ท่านก็มีอภิญญาบางอย่าง)
    อย่างการฝึกเพื่อให้เหาะได้นั้น อย่างมากก็เหาะได้เฉพาะบุคคล
    สู้วิชาวิทยาศาสตร์ไม่ได้ เขาทำเครื่องบินให้เหาะได้ทีละหลายร้อยคน
    ไม่เหมือนวิชาพ้นทุกข์ของพระพุทธเจ้า ที่ใครก็ไม่มีวิชาอย่างนี้

    "4) ขอเปลี่ยนเรื่องนิดนึงนะครับ ผมสังเกตในยามที่โกรธ
    ที่รู้สึกมักจะเป็นตรงหัวมากกว่าจะเป็นตรงส่วนอื่น"
    - อ๋อ อันนั้นประเภทโกรธจนเลือดขึ้นหน้า ความดันขึ้นแล้วครับ
    มันเป็นอาการทางกายไปแล้วครับ
    คราวนี้เอาใหม่ครับ มาสังเกตให้ละเอียดขึ้นว่าความโกรธเกิดได้อย่างไร
    เอาตั้งแต่ได้ยินคนพูดขัดใจเราเลย
    เสียงทำให้เราโกรธได้ไหม
    หรือว่าเสียงไม่ได้ทำให้โกรธ
    แต่การแปลความหมายของเสียง (เช่นแปลเสียงออกว่า เขาพูดอย่างนี้ๆ) ทำให้โกรธ
    หรือการแปลความหมายก็ยังไม่ทำให้โกรธ
    แต่การตีค่าว่า ดี/ไม่ดี (เช่น อ้าว หมอนี่กำลังด่าเรานี่) ทำให้โกรธ
    หรือการตีค่าก็ยังไม่โกรธ
    แต่มันกระตุ้นโทสานุสัยให้พุ่งขึ้นมา จึงโกรธ
    หรือว่าโทสานุสัยที่พุ่งขึ้นมาก็ยังไม่ทำให้โกรธ
    แต่การที่จิตเคลื่อนตามแรงกระตุ้นของโทสานุสัย จึงทำให้โกรธ

    ถามมาหลายเรื่อง ผมชอบคำถามสุดท้ายนี้มากเลยครับ
    เพราะนี่แหละ เป็นคำถามของชาวพุทธ ผู้พยายามจะต่อสู้กิเลสตัณหา
    ขออนุโมทนาครับ
    [12 พ.ค. 2542]

    ขอเรียนคุณคนคนนึง เพิ่มเติมสักเล็กน้อยครับ
    คือการตอบที่ผมตอบนั้น มุ่งเอาความเข้าใจเป็นหลักอย่างไม่อ้อมค้อม
    บางอย่างที่ตอบอาจจะตรงเกินไปในความรู้สึก หรือรู้สึกว่าเป็นการล่วงเกิน
    ก็ขออย่าได้เข้าใจว่ามีเจตนาร้ายหวังล่วงเกินใดๆ เลยครับ
    และหากมีสิ่งใดไม่พอใจ ก็ต้องขออภัยด้วยนะครับ
    [12 พ.ค. 2542 18:41:34]

    สาธุครับ คุณคนคนนึง
    อย่างนี้จึงนับว่าเป็นผู้แสวงหาที่แท้จริงครับ
    เมื่อแสวงหารอบด้านแล้ว จะสมัครใจ พอใจปฏิบัติแนวทางใด ก็ได้ครับ
    ดูเอาที่เหมาะสม หรือแก้ปัญหาชีวิตของตนได้มากที่สุด
    ไม่เป็นการเบียดเบียนตนเอง ไม่เบียดเบียนผู้อื่น
    ได้เท่านี้ก็ดีวิเศษแล้วครับ

    เช่นถ้าต้องการฤทธิเดช อยากได้อภิญญา จะฝึกวิชชาธรรมกายก็ได้
    (ที่จริงสายปฏิบัติอื่นก็ทำได้เหมือนกันครับ ไม่ใช่มีอภิญญาเฉพาะธรรมกาย
    เช่นครูบาพรหมจักร วัดพระพุทธบาทตากผ้า ศิษย์ครูบาศรีวิชัย
    ท่านเหยียบรอยเท้าฝังไว้ในก้อนหิน ราวกับเหยียบโคลน
    และผู้ทรงอภิญญาในสายพระป่าก็มีหลายองค์)
    หรือถ้าพอใจอยากเวียนว่ายตายเกิด ไปสู่พรหมโลก จะฝึกวิชชาธรรมกายก็ได้

    แต่ถ้าต้องการเจริญวิปัสสนา เพื่อความดับสนิทแห่งทุกข์
    ต้องเริ่มจากการฝึกจิตให้เป็นสัมมาสมาธิ
    คือรู้ ตั้งมั่น เป็นกลาง ไม่หลงตามอารมณ์
    แล้วเริ่มจำแนกรูปนามขันธ์ 5 ต่อไป
    โดยเลือกที่ตั้งของสติตามสติปัฏฐาน จะเป็นกาย เวทนา จิต ธรรม อะไรก็ได้
    ไม่มีทางที่ 2 หากประสงค์จะเข้าถึงพุทธศาสนาที่แท้จริงครับ
    [13 พ.ค. 2542]

    คงเข้ามาตอบกระทู้นี้ได้เป็นคราวสุดท้ายครับ
    เพราะจะไปต่างจังหวัด กลับมากระทู้น่าจะตกไปแล้ว
    ก่อนอื่นขอเรียนว่า คุณคนคนนึง มีธรรมเครื่องเตือนใจเช่นนี้เอง
    จึงเปิดใจกว้างได้มาก อย่างสิครับจึงจะสมกับเป็นลูกพระพุทธเจ้า
    คือศึกษาธรรมของพระพุทธเจ้าโดยตรง

    สำหรับวิชชาธรรมกายชั้นสูงนั้น ผมเห็นมีหนังสือเกี่ยวกับเรื่องนี้หลายเล่มนะครับ
    เคยเห็นวางขายอยู่ทั่วๆ ไป เป็นชุดทีเดียว
    แต่รวมความแล้วก็หนีไม่พ้นคำว่า "สังขารขันธ์"
    หรือกองแห่งความคิดนึกปรุงแต่งของจิต

    ในธรรมเทศนาของหลวงพ่อวัดปากน้ำ ก็มีกระจายอยู่หลายแห่งครับ
    เช่นเรื่องมาร ท่านก็แสดงถึงมารชนิดที่เทวดาอินทร์พรหมวิ่งหนี
    ใหญ่กว่าวสวัตตีมารเสียอีก
    เรื่องต้นธาตุต้นธรรม เรื่องนิพพานเป็นอัตตา เรื่องการทำวิชชา
    สิ่งเหล่านี้ผมไม่สะดวกที่จะเล่าในที่นี้
    เพราะรับปากเพื่อนธรรมกายว่าจะไม่เปิดเผยในที่สาธารณะ
    ถ้าสนใจขอให้หาอ่านเอานะครับ

    ส่วนเรื่องผู้ฝึกวิชชาธรรมกายที่แตกแขนงมาจากองค์หลวงพ่อวัดปากน้ำ
    มีหลายสายครับ ทั้งที่ผู้นำเป็นพระ และเป็นฆราวาส
    กระทั่งต้นธาตุตอนนี้ก็มีหลายองค์ ไม่เฉพาะคุณไชยบูลย์หรอก
    แต่อันนี้เป็นเรื่องภายในสำนักธรรมกาย ผมขอไม่กล่าวถึงครับ
    คือที่เรามาคุยกันนี้ เรามุ่งเอาความเข้าใจในข้ออรรถข้อธรรมเป็นหลักดีกว่า

    อ่านจากที่ คุณคนคนนึง เขียนไว้ข้างบน ทราบว่ากำลังเจริญสติปัฏฐานอยู่
    หากเป็นไปได้ ช่วยเล่าให้ฟังหน่อยสิครับว่า
    ปฏิบัติอย่างไร แล้วมีผลเป็นอย่างไรบ้าง
    แต่อย่าเพิ่งเล่าในกระทู้นี้นะครับ
    เอาไว้อาทิตย์หน้าช่วยหาพื้นที่ในกระทู้ธรรมสักแห่งหนึ่งแล้วค่อยเล่า
    เพื่อผมจะได้มีโอกาสอ่านบ้าง
    ขอบคุณครับ
    [13 พ.ค. 2542]

    http://www.bangkokmap.com/pm/index.php?option=com_content&task=view&id=80&Itemid=40&PHPSESSID=9c62958396c6aaaf12de35747f76e6bd
     
  2. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    คำกล่าวข้างบนนี้ เป็นเรื่องของผู้ไม่เข้าใจวิชชาธรรมกาย แต่พยายามดลความน่าเชื่อถือให้วิชชาธรรมกายอย่างช่ำชอง เพราะท่านเหล่านั้นมีความรู้อยู่ในทางอื่นเป็นทุนแต่พยายามใช้ความรู้นั้นมาลกความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับวิชชาธรรมกาย เพื่อให้เกิดความไขว้เขว หรืออย่างน้อยก็ความเรรวนในผู้ที่มีความรู้น้อย หรือไม่มีพื้นความรู้ในวิชชาธรรมกายเลยเป็นทุนอยู่แล้วนั่นเอง



    1.คำว่ากายพระโสดาบัน กายพระอรหันต์
    เป็นการยืมชื่อพระอริยบุคคลมาใช้เรียกรูปนิมิตเท่านั้น
    เหมือนที่ข้างทำเนียบรัฐบาลมีถนนพิษณุโลก
    ถัดออกไปมีถนนสุโขทัย
    ทั้งที่ทำเนียบรัฐบาลไม่ได้อยู่ใกล้พิษณุโลกและสุโขทัยเลย
    หรือไปเรียกดวงนิมิตว่าดวงธัมมานุปัสสนาบ้าง
    ดวงปฐมมรรคบ้าง
    ก็เป็นการยืมชื่อมาใช้เรียกกันอย่างอัตตโนมัติ
    กระทั่งชื่อวิชชาธรรมกาย ก็เป็นการยืมพระนามของพระพุทธเจ้ามาใช้เท่านั้นเอง
    เพราะธรรมกายแท้จริงคือองค์พุทธคุณ



    ตอบ เรื่องที่คุณสันตินนท์คิดเป็นเพียงข้อสันนิษฐานของท่าน ซึ่งอาจจะจริงหรือไม่จริงก็ได้ แต่ถ้าไม่จริง แล้วที่จริงคืออะไร?


    การพูดเหตุผลในเรื่องที่เกี่ยวกับชื่อของกายต่างๆ นั้น ก็อาจทำความยุ่งยากให้กับผู้ที่เชื่อเรื่องอนัตตาว่าต้องไม่มีตัวไม่มีตนมากจนเอามาจับทุกเรื่องปนเปไปหมด จนยากที่เขาเหล่านั้นจะเข้าใจเรื่องกาย รูปนิมิต และของจริงที่ไม่ใช่รูปนิมิตได้


    ถ้าเราย้อนกลับไปสำรวจเรื่องรูปกาย นามกาย และธรรมกาย ที่มีอยู่ในสมัยพุทธกาลและในสมัยหลังพุทธกาลก็จะทราบดีว่าได้มีการกล่าวถึงชื่อเหล่านี้อยู่เหมือนกัน


    ผมก็เคยคุยกับคุณหมอถึงเรื่องที่มาที่ไปของชื่อกาย ชื่อดวงธรรมต่างๆ มาแล้ว หลวงพ่อสดไม่ได้บัญญัติขึ้นเอง อย่าลืมว่าถ้าเราคิดแต่เพียงว่ากายต่างๆ ที่เห็นเป็นเพียงแค่รูปนิมิต อย่างนี้ก็จบกัน เหมือนคิดว่าทุกอย่างเป็นอนัตตาไม่มีตัวไม่มีตนหลังตายก็จบกันคิดต่อไปไม่ได้เดี๋ยวมันจะไปเข้าหลักมีตัวมีตนเข้า ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ นี่เพราะเราเข้าใจเขวกันไปหมด กายต่างๆ มีอยู่ในทุกๆ คน เป็นกายในกายซ้อนกันเป็นชั้นๆ ไม่ว่ามนุษย์หรือสัตว์เดรัจฉาน หรือเทวดา พรหม กระทั่งเปรต อสุรกาย และไม่ว่าเขาจะเป็นคนชาติใด เป็นชายหรือหญิง เด็กหรือคนแก่ ต่างก็มีกาย ๑๘ กายหลักทั้งสิ้นเป็นกกธรรมชาติอยู่แล้ว กายแต่ละกายก็มีใจครอง คือมีชีวิตจิตใจเหมือนกายมนุษย์หยาบที่นั่งอ่านอยู่นี่ ที่น่าแปลกก็คือทำไมเราไม่เคยรู้จักกายละเอียดที่ซ้อนอยู่ในตัวเรา ทั้งๆ ที่กายเหล่านี้ก็อยู่กับเราแท้ๆ นี่เพราะอำนาจของอวิชชา


    ถ้าคุณหมอเชื่อว่าโลกหลังความตายมีอยู่ เราก็ต้องมาคิดว่า กายมนุษย์เมื่อตายลงก็เปื่อยเน่าผุพังกันไป แสดงว่าต้องมีกายอีกกายรับบทบาทหน้าที่แทนกายมนุษย์หยาบ นั่นก็คือกายมนุษย์ละเอียด(กายฝัน) กายฝันทำหน้าที่รับผลแห่งกรรมสืบต่อผลบุญผลบาปผลไม่บุญไม่บาปที่กายมนุษย์หยาบทำไว้ตั้งแต่อยู่บนโลก และเมื่อกายมนุษย์หยาบตายลงก็เน่าเปื่อยผุพังไปตามธรรมดา พวกอนัตตาตกขอบก็มาบอกว่าหลังตายแล้วต้องเป็นอนัตตาคือไม่มีตัวไม่มีตนอันใดเพราะถ้าเชื่อว่ายังมีตัวมีตนเข้าอีกก็เป็นพวกสัสสตทิฏฐิคือเห็นว่าตัวตนมียึดมั่นในตัวตนไปนั่น ซึ่งเป็นความคิดที่ไม่เข้าท่าเลย ความเข้าใจผิดในความหมายของอนัตตานี่เอง(คือเข้าใจความหมายของอนัตตาเกินขอบเขตหรือเข้าใจเขวไปเอง) ทำให้อวิชชาเข้ามาซ้อนความคิดว่าตัวตนไม่มี มีกายมนุษย์หยาบกายเดียว ปิดบังปัญญาที่จะรู้แจ้งเห็นจริงให้มืดไป


    ตราบใดที่เรายังไม่หมดกิเลส เชื้ออวิชชานุสัยก็ยังปรุงภพปรุงชาติให้เกิดใหม่ต่อไปไม่สิ้นสุด เพียงแต่เราไม่เกิดใหม่เป็นมนุษย์ทันที(มีบ้างแต่น้อย)เพราะผลแห่งกรรมทั้งหลายที่เราทำไว้จึงต้องวนเวียนไปยังภพภูมิต่างๆ คิดง่ายๆ ถ้าเราเข้าใจว่าตายแล้วไม่สูญ ตราบใดยังไม่หมดกิเลสก็ต้องเวียนว่ายตายเกิดตามหลักกฏแห่งกรรมและวัฏฏสงสารตามระดับจิตต่อไป ภพต่างๆ จึงมีขึ้นมารองรับเพื่อให้การเวียนว่ายตายเกิดยาวนานไม่มีที่สิ้นสุด


    เมื่อคนๆ หนึ่งตายลงขันธ์ ๕ ที่ประกอบเป็นกายมนุษย์หยาบก็เปื่อยเน่าไป ขันธ์ ๕ ที่ละเอียดกว่าคือขันธ์ ๕ ของกายฝัน(กายมนุษย์ละเอียด)ก็ทำหน้าที่เป็นตัวละครต่อไป ก็โลดแล่นไปตามกฏแห่งกรรมต่อไป(**เรื่องขันธ์ ๕ ซ้อนขันธ์ ๕ มีรายละเอียดในหนังสือมรรคผลพิสดารภาค๒ หน้า ๑๕๐)


    ช่วงเปลี่ยนถ่ายภพนี่เองเป็นช่วงสำคัญ เมื่อบุคคลคนนั้นปฏิบัติดีจนสามารถไปเกิดยังสวรรค์ ๖ ชั้น กายฝันเมื่อไปอยู่ยังภพสวรรค์ก็หายไปซ้อนอยู่ในดวงธรรมฯของกายทิพย์ กายทิพย์ก็ทำหน้าที่เป็นตัวละครในสวรรค์ต่อไป จะเห็นว่ากายฝันกับกายทิพย์คนละกายกันแต่ทำงานประสานรับช่วงกันอยู่อย่างนี้ แต่ถ้ามนุษย์ผู้นั้นก่อนตายบำเพ็ญจิตจนได้รูปฌาณและเข้าฌาณตาย กายรูปพรหมก็ทำหน้าที่ไปเกิดยังภพรูปพรหมทั้ง ๑๖ ชั้น ตามแต่ระดับฌาณจะอำนวย ส่วนกายฝัน และกายทิพย์ ก็ซ้อนอยู่ในดวงธรรมฯของกายรูปพรหมนั้น แต่ถ้ามนุษย์ผู้นั้นก่อนตายบำเพ็ญฌาณได้ระดับอรูปฌาณและตายขณะเข้าอรูปฌาณก็ไปเกิดในภพอรูปพรหม กายอรูปพรหมก็ทำหน้าที่เป็นตัวละครในภพนั้นต่อไป ส่วนกายอื่นๆ ก็เข้าไปซ้อนกันอยู่ในดวงธรรมฯของกายอรูปพรหมนั่นเอง


    ส่วนคนที่ไปเกิดเป็นสัตว์นรก เปรต อสุรกาย กายฝันของเขาเปลี่ยนรูปร่างไปตามอำนาจบาปอกุศลนั่นเองกายอื่นๆไม่เปลี่ยน กายอื่นๆ ก็ซ้อนอยู่ในดวงธรรมฯของกายฝันที่เปลี่ยนไปเป็นสัตว์นรก เปรต อสุรกายนั่นเทียว ส่วนสัตว์เดรัจฉานกายนอกเป็นกายสัตว์เดรัจฉานจริงแต่กายในตั้งแต่กายฝันเขาเป็นมนุษย์ กายหยาบเป็นสัตว์เดรัจฉานกายเดียวเพราะเป็นกายหยาบ แต่ถ้าเป็นสัตว์เดรัจฉานในนรก กายฝันเป็นเปลี่ยนเป็นสัตว์เดรัจฉานกายอื่นไม่เป็นแต่ก็ซ้อนอยู่ในกายสัตว์นั้นเพราะเป็นกายละเอียด นี่เรียกภูมิโลกียหรือเรียกว่าภพ๓ นั่นเอง


    ดุจเดียวกัน เมื่อผู้นั้นบำเพ็ญเพียรไปจนถึงขั้นโลกุตรภูมิสามารถบรรลุมรรคผลเป็นพระอริยบุคคลชั้นต่างๆ เมื่อครั้นดับจิตทำลายขันธ์ ก็เข้าธรรมกายไปอยู่ยังภพภูมิเหล่านั้น ตั้งแต่พระโสดาปัติมรรค พระโสดาปัติผล พระสกิทาคามีมรรค พระสกิทาคามีผล พระอนาคามีมรรค พระอนาคามีผล ก็คือท่านเอาธรรมกายเข้านิพพานในส่วนของท่านคือธรรมกายพระโสดาหยาบ(มรรค) ธรรมกายพระโสดาละเอียด(ผล) ธรรมกายพระสกิทาคามีหยาบ(มรรค) ธรรมกายพระสกิทาคามีละเอียด(ผล) ธรรมกายพระอนาคามีหยาบ(มรรค) ธรรมกายพระอนาคามีละเอียด(ผล) ตามพระไตรปิฎกระบุชัดว่าท่านเหล่านั้นยังอยู่ในภพ ๓ ชั้นสุธาวาสพรหม เป็นวิสุทธิเทพ ยังไม่พ้นไปจากภพ ๓ แต่เมื่อบรรลุพระอรหัตมรรค(หยาบ) และพระอรหัตผล(ละเอียด) จึงพ้นจากภพ ๓ ไม่กลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีก เป็นอันเสร็จกิจ


    ที่กล่าวมาทั้งหมดกำลังชี้ให้เห็นว่า กายหลักทั้ง ๑๘ กายมีอยู่แล้ว แต่เราไม่เคยเห็นเอง แต่ละกายมีคุณธรรม คุณสมบัติประจำกายอย่างไร ก็คือมีระดับภูมิจิต ภูมิธรรมอย่างไร ก็ได้บอกไปแล้ว มีความสัมพันธ์กันอย่างไร นี่เรียกว่าขันธ์ซ้อนขันธ์ ภพซ้อนภพ โลกในกาย ดังนั้นการที่เราเห็นกายทั้ง ๑๘ กายได้อย่างน้อยก็ทำให้เรารู้ว่าหลังตายแล้วยังมีโลกหลังความตายรองรับอยู่ ตายแล้วไม่สูญเพราะอวิชชายังอำนวยผลอยู่ ที่สำคัญคือกายมนุษย์หยาบนี่แหละก่อนตายจะสร้างภูมิจิตภูมิธรรมหรือบุญหรือบาปแค่ไหนอย่างไร ถ้าเรารีบเร่งทำความเพียรให้พ้นทุกข์ ก็จงรีบดำเนินชีวิตไปตามครรลองของพระพุทธศาสนาสร้างภูมิจิตภูมิธรรมทั้งสมถะและวิปัสสนา ถึงแม้กำลังความเพียรบวกกับเหตุปัจจัยแห่งความสำเร็จคือบุญบารมียังไม่มากพอที่จะให้พ้นทุกข์ในชาตินี้ แต่ก็ยังหวังในภูมิสุคติได้ เมื่อกลับมาเกิดอีกก็อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียร จนหมดกิเลสได้


    การเห็นกายทั้ง ๑๘ กายจึงเป็นการบ่งบอกให้ทราบว่า ความหลุดพ้นมีจริง การเวียนว่ายตายเกิดมีจริง และตนเป็นที่พึ่งแห่งตนคืออะไร กายหลัก ๑๘ กาย ท่านมีชีวิตจิตใจไม่ใช่แค่รูปนิมิต ท่านจำได้หมดว่าเราเวียนว่ายตายเกิดมายาวนานแค่ไหน (ยกเว้นกายมนุษย์หยาบกายเดียวเพราะตายแล้วเน่าเปื่อยผุพัง กายมนุษย์จึงจำอะไรไม่ได้) เมื่อเราเห็นกายหลัก ๑๘ กาย อย่างถูกต้อง ก็เป็นการยืนยันว่าเราเข้าใกล้มรรคผลนิพพานแล้ว เมื่อเราทำใจหยุดใจนิ่งกับกายใดได้เป็นเนื้อเดียวกัน เราก็สามารถรับรู้ความรู้สึก ภูมิจิตภูมิธรรมของกายนั้นๆ ได้เป็นอย่างดี ไม่ได้ยืมชื่อมาตั้งเพราะกายเหล่านี้ท่านแสดงตนและแสดงบุคคลิกลักษณะให้เห็นเองว่าท่านมีภูมิจิตภูมิธรรมระดับใดอยู่ในชั้นโลกีย์หรือโลกุตตระ

    .............................

    2. ขอเรียนว่า วิชชาธรรมกายทั้ง 18 กายนั้น
    รวมความแล้วจะอยู่ภายในไม่เกิน "ปฐมฌาน" เท่านั้นครับ
    เพราะอาการที่จิตกำหนดเข้าไปที่กลางของกลางกายเป็นลำดับชั้นไปนั้น
    แสดงให้เห็นว่า จิตยังมี "วิตก" คือการตรึกนึก
    หรือการยกเอารูป เพื่อกำหนดเข้ากลางไปตามลำดับ มาเป็นอารมณ์
    ประการสำคัญที่สุด
    อาการที่กำหนดเข้าไปที่จุดศูนย์กลางกายนั้น
    แท้จริงยังเป็นสภาวะของสมาธิธรรมดา
    ยังไม่ถึงขั้นสัมมาสมาธิ ซึ่งจำเป็นสำหรับการทำวิปัสสนา



    ตอบ การที่จะระบุว่าจิตอยู่ในฌาณใด เราจะมาพิจารณาตอนเดินวิชชา ๑๘ กายไม่ได้ เพราะการที่เราเดินวิชชา ๑๘ กายอยู่ เป็นการไปรู้เห็นว่าเรามีกายในกายอยู่อย่างไร เดินวิชชาเป็นอนุโลมปฏิโลม ๑๘ กาย เพื่อให้กายใส ให้ใจหยุด นิ่ง แน่น ได้ถูกส่วน เหมาะแก่การทำวิชชาชั้นสูงต่อไป ซึ่งเป็นคนละขั้นตอนกับการทำฌาณสมาบัติ ฉะนั้นการเดินวิชชา ๑๘ กายจึงไม่ใช่การทำจิตเข้าสู่องค์ฌาณแต่อย่างใด ต้องตำหนิผู้วิจารณ์ว่ากล่าวไม่ถูกต้องอย่างยิ่ง


    ผู้ฝึกวิชชา ๑๘ กายทุกคนทราบดีว่า ขั้นนี้เป็นเพียงสมถะเบื้องต้นเหมือนเราออกฟุตเวิร์ก หรือวอมอัพคือเตรียมตัวอยู่เป็นการออกกำลังกายเพื่อทำให้กายทั้ง ๑๘ กายพร้อมในการเดินวิชชาต่อไปเท่านั้น ยังไม่ได้เข้าไปทำวิชชาขั้นสมถะและวิปัสสนาเลย


    เมื่อเราจะเดินฌาณสมบัติในภูมิสมถะเราจึงเริ่มตั้งแต่เดินวิชชา ๑๘ กายเป็นอนุโลมปฏิโลมจนกายใสดีแล้ว ใจหยุด นิ่ง แน่น ใจตั้งมั่นคงพร้อมที่จะเดินวิชชาอื่นๆ ต่อแล้ว ประสงค์จะเดินฌาณสมาบัติ เราก็ใช้กายโลกีย์ทั้ง ๘ กายเรียน เรารู้ดีว่ากายมนุษย์ กายทิพย์ ไม่มีแผ่นฌาณ ถ้าจะเดินฌาณต้องใช้กายพรหม และกายอรูปพรหม ประสงค์เดินฌาณ ๔ หรือรูปฌาณ เราก็ใช้กายพรหมเดินฌาณ ข้อดีของการเดินฌาณด้วยวิชชาธรรมกาย คือ เราได้ทั้งอารมณ์ฌาณและเห็นแผ่นฌาณที่รองรับก้นกายด้วย ฌาณคือพาหนะของกาย พากายไปยังที่ต่างๆ ได้ สมัยพุทธกาลเราฝึกทำฌาณให้เกิดแก่กายมนุษย์ได้จึงเหาะเหิรเดินอากาศได้


    อารมณ์ของฌาณปรากฏชัดมากครับเวลาเดินวิชชาตั้งแต่ ปฐมฌาณ ทุติยฌาณ ตติยฌาณ จตุถฌาณ ทางคณะของเราร่วมกันเดินวิชชามาแล้ว สามารถทำอารมณ์ฌาณได้ตามนั้นชัดเจนเพราะเราใช้กายในกายคือกายรูปพรหมเดินวิชชา ถ้าเราประสงค์จะทำอรูปฌาณ ๔ ก็ใช้กายอรูปพรหมทำวิชชา กายอรูปพรหมมีแผ่นฌาณรองรับที่ก้นกาย ๘ แผ่น ครบทั้งรูปฌาณ ๔ อรูปฌาณ ๔ ได้ทั้งอารมณ์ฌาณและเห็นแผ่นฌาณทำงานสัมพันธ์กันชัดเจน


    คุณหมอครับของอย่างนี้ต้องฝึกต้องปฏิบัติจึงจะเข้าใจได้ จู่ๆ มาออกความเห็นโดยอัตโนมัติ แถมเป็นความเห็นมั่วๆ เราไม่เคยกล่าวเลยว่าแค่เดินวิชชา ๑๘ กาย ก็คือจิตเข้าสู่องค์ฌาณแล้ว มันแค่เริ่มต้นของสมถะครับ ยังไม่ได้ทำวิชชาเกี่ยวกับเดินฌาณสมาบัติเลย


    ส่วยกายธรรมนั้นมีแผ่นฌาณ ๘ แผ่นรองรับที่ก้นกายเหมือนกัน การใช้กายธรรมเดินฌาณจะได้อารมณ์ฌาณละเอียดปราณีตกว่าใช้กายพรหมและกายอรูปพรหมเดินวิชชา เนื่องจากกายธรรมเป็นกายโลกุตตระ การที่เราจะเดินวิชชาอย่างไรในการเรียนวิชชาธรรมกายแบ่งหลักสูตรไว้ชัดเจนครับ เราเรียนเกี่ยวกับสมถะภูมิเราก็ใช้กายโลกีย์เรียน ถ้าเป็นในส่วนวิปัสสนาภูมิเราใช้กายธรรมเรียน โดยเรียนไปตามหลักสูตรที่พระพุทธเจ้าวางไว้ตรงตามตำรา


    ขอแนะนำให้คุณหมออ่านหนังสือที่ท่านอาจารย์การุณย์เขียนขยายความรู้เป็นแนวเดินวิชชาโดยยึดตามหลักของตำราหลวงพ่อวัดปากน้ำเดิมเป็นเกณฑ์ แต่เนื่องจากตำราสมัยหลวงพ่อเป็นสำนวนโบราณยากแก่การอ่านแล้วจะเข้าใจได้โดยตลอด ผู้อ่านหลายท่านเมื่ออ่านจบแล้วก็ยังไม่สามารถเดินวิชชาตามบทฝึกได้ ท่านอาจารย์จึงเห็นสมควรที่จะทำเรื่องยากให้ง่ายขึ้น เพื่อสะดวกต่อการเดินวิชชาจึงได้ทำหนังสือแนวเดินวิชชาขึ้นดังนี้

    หนังสือแนวเดินวิชชา หลักสูตรคู่มือสมภาร บทบัญญัติที่ ๓ วิธีทำญาณโดยใช้ธรรมกายและดูอริยสัจ ๔ หน้า ๔๖

    หนังสือแนวเดินวิชชา หลักสูตรวิชชามรรคผลพิสดาร ๑ บทบัญญัติที่ ๖ วิธีเข้าฌาณสมาบัติ หน้า ๔๑

    หนังสือแนวเดินวิชชา หลักสูตรวิชชามรรคผลพิสดาร ๒ หมวด สมถะ - วิปัสสนา หน้า ๕๗


    ส่วนที่คุณสันตินนท์อ้างเรื่อง "อาการที่กำหนดเข้าไปที่จุดศูนย์กลางกายนั้น แท้จริงยังเป็นสภาวะของสมาธิธรรมดา" ขอเรียนว่าถ้าใจเราไม่หยุด นิ่ง ได้ถูกส่วน ใจจะไม่ตกศูนย์เด็ดขาด คือ จะเดินวิชชาเข้ากายในกายไม่ตลอด การที่ใจหยุดนิ่งถูกส่วนถึงแม้จะเป็นคนละเรื่องกับการเดินฌาณ แต่ก็เข้าขั้นสมถะชัดเจน ส่วนการกล่าวอ้างว่าเป็นสมาธิธรรมดา ยังไม่ถึงขั้นสัมมาสมาธิ เป็นการกล่าวอ้างความคิดเห็นส่วนตัวของคุณสันตินนท์เอง เพราะการวิจารณ์เรื่องกาย ๑๘ กาย และระดับจิตในองค์ฌาณท่านก็เข้าใจผิดมาแต่ต้น ผมจึงเห็นว่าไม่ถูกหลักถูกเกณฑ์อะไรทั้งสิ้น
    ...............................

    3. ถ้าฝึกจนได้วิชชาธรรมกายแล้ว ลองดูองค์หลวงพ่อวัดปากน้ำสิครับ
    ยังเกิดในสวรรค์ชั้นต้นๆ เท่านั้นเอง
    เพียงแต่ชาวธรรมกายคิดต่อไปให้ท่าน ว่าท่านเป็นต้นธาตุ เกิดได้อีก
    ที่คิดได้อย่างนั้น เพราะไม่เข้าใจปฏิจจสมุปบาทครับ
    ว่าความเกิดของรูปนามนั้น เกิดได้ด้วยอวิชชาเท่านั้น



    ตอบ ข้อที่ว่า "ถ้าฝึกจนได้วิชชาธรรมกายแล้ว ลองดูองค์หลวงพ่อวัดปากน้ำสิครับ ยังเกิดในสวรรค์ชั้นต้นๆ เท่านั้นเอง" ตรงนี้ท่านเอาหลักฐานอะไรมายืนยัน ภูมิรู้ภูมิธรรมของท่านหรือ? ญาณทัสสนะของท่นหรือ?
    ส่วนความคิดเรื่องต้นธาตุไม่ใช่ชาวธรรมกายคิดต่อไปเอง หลวงพ่อท่านก็บอกเราตั้งแต่สมัยท่านมีชีวิตอยู่ และบอกเหตุผลในเชิงลึกไว้มากมาย ซึ่งยากแก่การบอกเล่าในที่นี้ แต่เราเข้าใจหลวงพ่อดี และที่พยายามจะเอาปฏิจจสมุปบาทเข้ามาจับผมเห็นว่าอ้างขึ้นมาเพื่อให้เกิดน้ำหนักย้ำให้เห็นว่าพวกเราชาวธรรมกายเข้าใจผิดเพราะด้อยปัญญาเรื่องปฏิจจสมุปบาท ที่ว่าความเกิดของรูปนามเกิดได้ด้วยอวิชชาเท่านั้น นั่นเป็นเหตุผลเบื้องต้น เหตุผลลึกซึ้งมีมากกว่านั้น


    ผมมีความเห็นว่า หลายท่านที่เป็นนักอนัตตานิยมจะคิดแต่หลังตายแล้วต้องอนัตตา โดยเฉพาะพระพุทธเจ้าหลังปรินิพพานคืออนัตตาไม่มีตัวไม่มีตนอีกต่อไป จะถูกก็ถูกส่วนเดียวไม่ถูกทั้งหมด ธาตุธรรมที่สะอาดบริสุทธิ์ไม่มีเกิด แก่ เจ็บ ตาย อีก เพราะอยู่พ้นวิสัยแห่งวัฏฏสงสาร ไม่ได้หมายความว่า จะเกิดไม่ได้อีก แต่เมื่อพ้นแล้วจึงเข้ากฏเกณฑ์ไม่เกิด แก่ เจ็บ ตาย อีกถูกต้อง ถ้าแต่ถ้ามีเหตุจำเป็นจริงๆ ก็สามารถเกิดได้อีก แต่ไม่มีใครอยากเกิดอีกแน่นอนเพราะภพ ๓ ไม่เป็นที่น่าพึงใจกับผู้หลุดพ้นแล้วนั่นเอง และท่านถือว่าหมดกิจของท่านแล้ว เหมือนคนออกจากบ่ออาจมแล้ว ทำตนสะอาดดีแล้ว จู่ๆ จะให้โดดลงบ่ออีก ใครจะไปยอม อีกอย่างคือเมื่อเข้านิพพานจึงเข้าใจเรื่องของมารดี จึงไม่มีใครอยากกลับมาเกิดอีก


    แต่หลวงพ่อเป็นกรณีพิเศษ หลวงพ่อก็บอกเองอยู่แล้วในโอวาทของหลวงพ่อฯ เทศน์ในโอกาสวันเกิด เมื่อ ๗ ตุลาคม ๒๔๙๘

    ตอนหนึ่งกล่าวว่า "ผู้เทศน์มารู้ตัวเมื่อบวชแล้วว่า "ต้นธาตุ" (คือพระพุทธเจ้าองค์แรก ขณะนี้อยู่บนอายตนะนิพพาน) ใช้ให้จุติมาเกิดเพื่อปราบมาร...


    มีกฎเกณฑ์อยู่ว่าวิชชาธรรมกายเป็นวิชชาของพระพุทธเจ้า(จะเรียกอะไรก็ได้เพราะสมัยพุทธกาลไม่ได้มีชื่อว่าวิชชาธรรมกาย) คือต้องระดับพระพุทธเจ้าจึงจะรู้เห็นได้ ค้นพบได้ แต่เนื่องจากหลังพุทธปรินิพพาน ๕๐๐ ปี วิชชาธรรมกายมืดดับไป (ซึ่งก็ตรงกับควมเชื่อเดิมของชาวพุทธในอินเดียที่กล่าวกันสืบมาว่า วิชชาวิปัสสนาหมดไปจากอินเดียหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ ๕๐๐ ปี ยืนยันจากสารคดี ตามรอยพระพุทธเจ้า) เมื่อดับไปแล้วก็มีกฎว่าต้องระดับพระพุทธเจ้าเท่านั้นที่จะมาฟื้นฟูวิชชาอีกครั้ง แต่ก็มีกฎอีกว่าพระโพธิสัตว์ที่จะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าจะเกิดขึ้นพร้อมกัน ๒ องค์ไม่ได้ หลวงพ่อสดไม่ใช่พระโพธิสัตว์เพราะเป็นพระพุทธเจ้าอยู่แล้วและไม่ใช่พระพุทธเจ้าภาคโปรดที่จะลงมาตั้งศาสนาอย่างพระสมณโคม ที่สำคัญโชคไม่ดีที่พุทธบิดา พุทธมารดาของหลวงพ่อยังไม่ได้มรรคผล หลวงพ่อจึงต้องลงมาเกิดเพื่อทำงานให้ธาตุธรรม โดยมาฟื้นฟูวิชาวิปัสสนา(วิชชาธรรมกายตามที่หลวงพ่อเรียก) ให้กลับมาอีกครั้ง แต่ครั้งนี้ต้องถึงระดับภาคปราบไม่ใช่แค่ภาคโปรดสัตว์ เพราะยังมีศาสนาอยู่


    วิชชาภาคโปรดและภาคปราบเหมือนกันในความรู้พื้นฐาน แต่มีข้อแตกต่างตรงการนำไปใช้ คือ ภาคโปรดสอนศาสนา ให้ผู้คนที่มีบารมีเต็มส่วนแล้ว หลุดพ้นให้มากที่สุด แต่ภาคปราบต้องคิดมากกว่านั้น วิชชาเข้มข้นกว่านั้น เพราะไม่ใช่ดับอวิชชาภายใน เฉพาะตนอย่างภาคโปรด แต่ต้องดับอวิชชาภายนอก เป็นการขับเคลื่อนกองทัพธรรมภาคขาวในการทำวิชชารบ คณะของหลวงพ่อทุกคน จึงไม่ได้หวังแค่มาทำความเพียรเพื่อให้พ้นทุกข์ส่วนตัว แต่เรามาทำความเพียรเพื่อให้ธาตุธรรมเป็นเอกราช เป็นเหตุเฉพาะกิจ เฉพาะคราว เป็นภาระพิเศษ ไม่เหมือนชาวบ้าน ใครตกที่นั่งเช่นนี้ยังหมดกิเลสไม่ได้(พลรบของหลวงพ่อ ซึ่งขณะนี้อยู่บนสวรรค์ชั้นดุสิตทั้งนั้น) ยังตัดช่องน้อยแต่พอตัวไม่ได้ เพราะกองทัพปราบมารมีไม่มาก ธาตุธรรมพิเศษอย่างนี้มีน้อย ต้องทำงานจนกว่าธาตุธรรมภาคขาวจะพอพระทัย
    ...............................

    4. สิ่งที่หลวงพ่อของคุณสอน จึงถูกต้องครับ
    แต่ถูกต้องในหลักของสมถะล้วนๆ
    และไม่ใช่สัมมาสมาธิตามหลักฌาน 4 ขาดอะไรทราบไหมครับ
    ขอเรียนว่า ขาดความรู้ตัว ซึ่งเป็นธรรมอันเอก ครับ
    เรียกว่ามีสติ แต่ขาดสัมปชัญญะ
    คือถ้าจิตจะระลึกรู้ดวงนิมิตนั้น โดยจิตไม่เผลอส่งกระแสไหลเข้าไปในดวงนิมิต
    เห็นนิมิต สักแต่ว่าเป็นสภาพธรรมอันหนึ่งที่กำลังปรากฏ
    ก็จะเห็นนิมิตนั้นเกิดแล้วก็ดับไป เช่นเดียวกับสภาพธรรมอื่นๆ นั่นเอง
    รูปนิมิตนั้น ไม่ใช่ที่พึ่งที่อาศัยอันปลอดภัยใดๆ เลย
    เมื่อจิตหมดความสำคัญมั่นหมายแล้ว
    จิตจะรวมรู้ลงที่จิตผู้รู้ ไม่ใช่ส่งหลงออกไปที่รูปนิมิตนั้น



    ตอบ นี่เป็นคำถามของท่านที่ยังติดนิมิตอยู่ ติดที่รูปนิมิตอยู่ ยากอยู่ที่จะทำให้ท่านเข้าใจว่า นิมิต และการเห็นของจริงที่พ้นเรื่องนิมิตเป็นอย่างไร เห็นว่ามีรูป มีกายต่างๆ เห็นต่างๆ ก็เหมารวมว่าเป็นนิมิตทั้งหมด


    ผมก็บอกแล้วถ้าเป็นเพียงรูปนิมิตก็จะไม่มีชีวิตจิตใจ กายในกายทุกกายมีใจครองคือมีชีวิตจิตใจ พูดคุยด้วยได้ มีคุณธรรมสูงด้วย ดวงธรรมแต่ละดวงก็มีคุณสมบัติประจำอยู่ ทำหน้าที่ต่างๆ กัน(เรื่องนี้ขอละได้ก่อน กล่าวมากไปเกรงว่าจะเกินคำถาม) เราใช้รูปนิมิตเป็นดวงแก้วหรือพระพุทธรูปขาวใสเพียงเริ่มต้นเพื่อให้เห็นดวงปฐมมรรคซึ่งอยู่ที่ศูนย์กลางกายของแต่ละคนเท่านั้น ถ้าจะกล่าวว่าสมัยพุทธกาลทำไมไม่กล่าวถึงเรื่องนี้บ้าง ก็ต้องบอกว่าคงจะมีการกล่าวไว้อยู่ แต่วิชาภาคปฏิบัติมันกร่อนไป คลาดเคลื่อนไป เพราะเมื่อเราสังเกตดูแล้ววิชาภาคปฏิบัติในพระไตรปิฎกมีแต่ตัวทฤษฎี หรือเป็นปริยัติของภาคปฏิบัติมากกว่าเป็นขั้นปฏิบัติจริง คืออ่านแล้วต้องนำมาจัดรูปแบบการปฏิบัติอีกทีตามแต่อาจารย์แต่ละท่านจะเห็นควร และปัจจุบันนี้ อาจารย์เจ้าสำนักทั้งหลายก็ชอบและติดใจที่จะกล่าวการปฏิบัติแต่เพียงตื้นๆ ง่ายๆ และต่างคนต่างคิดวิธีปฏิบัติทั้งๆ ที่เรามีพระไตรปิฎกเล่มเดียวกัน


    บางอย่างคลาดเคลื่อนนิดเดียวก็พลาดเป้าไปเลย อย่างเรื่องอานาปานัสสติ ก็คือเอาอากาศเป็นนิมิต ตรงที่สุดของลมหายใจ เข้า - ออก ก็คือศูนย์กลางกาย โดยธรรมชาติไม่จำเป็นต้องกำหนดเป็นฐานต่างๆ ก็ได้ แต่ที่กำหนดเป็นฐานต่างๆ เพราะการเกิดการตายของมนุษย์ ใช้ทางนี้เข้า - ออก คือ เกิด - ดับ เข้า - ออก ตามฐานทั้ง ๗ นี้จริงๆ
    คุณสันตินนท์จะอ้างเรื่องสติสัมปชัญญะอะไร ผมก็เห็นว่าไม่ถูกเรื่อง ถูกราวอีกเพราะท่านเข้าใจผิดมาแต่ต้น แล้วจะวินิจฉัยการปฏิบัติวิชชาธรรมกายในขั้นต่อๆ ไปได้อย่างไร
    คนที่เรียนวิชชาธรรมกายอย่างถูกต้องจริงจัง จนเห็นธรรมกายผมเห็นว่าเขาเลยเรื่องนิมิตและการติดนิมิตไปแล้ว แต่คนที่วิจารณ์นั่นเอง ยังติดนิมิตอยู่ และพยายามยัดเยียดให้ท่านที่เรียนวิชชาธรรมกายอยู่ว่าติดในรูปนิมิต ก็เราทราบสภาวะธรรมของการติดและไม่ติดดีอยู่ แต่ท่านไม่ทราบ ถ้าจะพูดให้ชัด การเกิดดับของธรรมทั้งปวง การสืบต่อเป็นสันตติของธรรมทั้งปวง มันต้องเห็นครับแล้วจึงรู้ ไม่ใช่กำหนดคิดตรึกตรองไปเอง หลายท่านคิดแต่ว่าสมาธิแบบเห็นนั่นเห็นนี่เพราะหลงติดในนิมิต หลงรูปนิมิต เพราะของท่านเล่นแต่สภาวะธรรมอันไม่มีตัวไม่มีตนที่ท่านปรุงแต่งว่าคืออนัตตาที่ถูกต้องของพระพุทธเจ้า อนัตตาที่เกินของเขตไปจนต้องมีแต่อารมณ์ขณะจิตหนึ่งๆ ไม่มีรูปมีร่างเห็นอย่างนี้อวิชชาเขาก็หลอกให้หลงในอนัตตาอุปาทานนั่นเอง


    วิชชาธรรมกายไม่มีการส่งจิตออกนอก ต้องเข้ากลางของกลางตลอด เข้าไปในกายละเอียดใจละเอียดที่ซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ นี่ต่างหาก
    แต่ก็ต้องยอมรับว่า ถ้าเราเรียนวิชชาธรรมกายเพียงผิวเผินก็อาจเหมือนติดนิมิต ติดอารมณ์สงบ เพราะเขาไม่พัฒนายกภูมิเข้าสู่วิปัสสนา พอใจแค่ความสงบ สบาย อันนี้ก็สุดแต่วาสนาบารมีของแต่ละคน
    .........................

    5. ผู้ที่ปฏิบัติเข้าถึงธรรมกายในระดับหนึ่งจะสามารถแก้ผังชีวิตของคนได้"
    - การแก้ผังชีวิตไม่ใช่จุดประสงค์ของพระพุทธศาสนาครับ
    ลองพิจารณาสักนิดนะครับ ว่าการแก้ไขนั้ภ



    ตอบ เรื่องการแก้ผังชีวิตของคนได้นี่ เอามาพูดแค่สักแต่ว่าพูดไม่ได้ ผู้พูดต้องยกตัวอย่างว่า แก้ผังชีวิตของใคร อย่างไร เพราะไม่ใช่ว่า ฝึกวิชชาธรรมกายแล้ว จะแก้ไขอะไรก็ได้ตามใจของผู้นั้น มันมีเหตุผลมากมาย เพราะวิชชาธรรมกายเป็นวิชชาระดับปกครอง ระดับรู้เห็นเรื่องราวของธาตุธรรมได้ การจะแก้ไขอะไร ได้หรือไม่ได้ ต้องใช้ความรู้สูง ถามว่าถ้าแก้ได้จริง แล้วชีวิตเขาดีขึ้น อยู่ในศีลในธรรม ชีวิตมีแต่ความสุข ความเจริญ แล้วไม่ดีหรือ? แต่มันไม่ง่ายอย่างที่ท่านผู้พูดกล่าวดอกครับ
    ..............................

    ข้อสุดท้ายของผมเองครับ

    ผมคิดว่าธรรมกายที่เราเห็นอาจเป็นรูปนิมิตเหนี่ยวนำให้สงบครับ เป็นรูปภายในทีมีอยู่จริงแต่ไม่เที่ยง เมื่อสงบจะน้อมนำไปดูเหตุการณ์หรือนรกสวรรค์ได้จริงหรือฟังเสียงสัตว์ก็ได้ แม้ไม่ได้ธรรมกายก็มีคนทำได้ โดยไม่ต้องผ่านวิชชานี้ แต่เมื่อลงลึกวิชชานี้ผมว่าอาจจะเป็นได้ไหมที่หลง เพราะเริ่มไม่ตรง เช่น ทำความดี ก็มีคนมาขโมยบารมีได้ มีฝ่ายดำฝ่ายขาว และแต่ละสำนักก็ไม่ตรงกัน แม้พระธรรมกายก็ยังเห็นไม่เหมือนกัน ทำนองนี้นะครับ


    ตอบ ถ้าคุณหมอยังติดใจเรื่องนิมิตคุณหมอก็ไม่มีทางเข้าถึงของจริงดอกครับ เพราะตัวลังเลสงสัยตัวนี้จะหลอกความรู้สึกคุณหมอตลอดเวลา เป็นนิวรณ์ตัวร้าย ขวางกั้นการเข้าถึงธรรมกาย อย่าลืมนะครับ เราต้องแยกแยะระหว่างของจริงกับของหลอก ผมก็บอกแล้วส่วนใหญ่มีแต่ของหลอกไม่ใช่ของจริง ของจริง ความรู้จริง เมื่อรู้เห็นแล้วต้องนำมาใช้ประโยชน์ ในการกำจัดทุกข์ กำจัดภัย กำจัดโรค และกำจัดอวิชชา ในระดับนั้นๆ ได้
    ส่วนเรื่องฝ่ายขาวฝ่ายดำนั้น ถ้าจะพูดกันแล้วคงไม่อยู่ในวิสัยของผู้ไม่เคยรู้เห็น เพราะเมื่อเราไม่เคยรู้เห็นเรามักจะจินตนาการไปเอง ของจริงอาจไม่ตรงกับสิ่งที่เรานึกคิดจินตนาการก็ได้ เรื่องทำบุญแล้วโดนขโมยดวงบุญไปได้นี่เป็นเรื่องละเอียดลึกซึ้งอยู่ เป็นเรื่องใหญ่ในธาตุในธรรมยากที่จะหยั่งลงได้ด้วยปัญญาธรรมดา เหลือวิสัยที่จะตรึกนึกตรอง ยังมีเรื่องน่าอกสั่นขวัญหายอีกหลายเรื่องที่เกิดในธาตุในธรรม แต่ก็ยากที่จะเปิดเผยเพราะผู้ไม่รู้จะเข้าใจผิดได้ ขอเพียงเราพัฒนาภูมิรู้ภูมิธรรมให้มากกว่านี้ก็อาจสามารถเข้าใจได้บ้าง


    เรื่องสุดยอดและยอดสุด เป็นคำตอบของคำถามทั้งปวงก็คือเรื่องของธาตุธรรมนี่แหละ ทำไมผมพูดอะไรจึงต้องอ้างอิงเรื่องธาตุธรรม เรื่องภาคขาวภาคดำสารพัดธาตุสารพัดธรรม เรื่องฝ่ายพระฝ่ายมาร เพราะมันเป็นคำตอบของคำถามทั้งปวง เป็นฉากหลังที่คอยกำกับการแสดงเราอยู่ เราต้องไปรู้ไปเห็นบ้าง เหมือนเรายืนอยู่บนยอดภูเขาสูงคือรู้เรื่องธาตุธรรมนั่นเอง เมื่อมองลงมาเราจึงเห็นทิวทัศน์ทั้งปวงรอบตัวเราอย่างชัดเจน


    คุณหมอต้องปล่อยวางความคิดทั้งดีและไม่ดีในวิชชาธรรมกายให้หมด แม้แต่คำว่าวิชชาธรรมกายก็เป็นเพียงชื่อเพราะความจริงคือจะเรียกอะไรไม่สำคัญเท่ากับวิธีการและผลของการปฏิบัติที่ทำให้เราเห็นความจริงทั้งปวงตามสภาวะความเป็นจริงของมัน เห็นแล้วรู้แล้วจึงเข้าใจได้ว่า ของจริงมีอยู่เช่นไร และเราจะทำอะไร อย่างไรต่อไป


    พระธรรมกายและอะไรๆ ที่ผู้ปฏิบัติไปรู้ไปเห็นต้องเหมือนกันและตรงกันหมด โดยวิชชาตรวจสอบมีอยู่ ผมก็บอกแล้วว่าทุกสายที่ผมสนทนาด้วยมีความเข้าใจตรงกัน ยกเว้นสายวัดพระธรรมกาย เพราะสายนี้มันเห็นผิดเพี้ยนมาแต่ต้น(และไม่มีใครตรวจสอบแก้ไขให้ เรื่องนี้มีรายละเอียดอีกมาก เพราะเกิดจากตัวบุคคลผู้เรียนวิชชา แต่ขอละไว้ก่อนเกรงว่าจะยาวความไป)


    ถ้าคุณหมอศึกษาเรื่องธาตุธรรมต่างๆ ดีแล้ว จะรู้ว่าความจริงมีหนึ่งเดียวและเหมือนกันรู้เห็นได้ตรงกัน แต่ความหลอกความลวงมีสารพัด เพราะเขาต้องการให้เรา เห็นผิด จำผิด คิดผิด รู้ผิด ให้เราคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงตั้งแต่น้อยไปหามาก ถ้ามากก็เป็นมิจฉาทิฏฐิไปเลย จะเห็นว่าทิฏฐิความเชื่อของมนุษย์โลกมีมากมายสารพัดความเชื่อต่างๆ นั้นเป็นความสามารถของมารเขาทั้งนั้น เขาต้องการให้เราหลงเวียนว่ายตายเกิดไปไม่จบไม่สิ้นด้วยความคิดทิฏฐิ และวัตรปฏิบัติต่างๆ ที่คลาดเคลื่อนแม้เพียงเล็กน้อยก็ยังดี อะไรที่มนุษย์เชื่อถือเขาจะส่งต้นวิชาลงมาปกครองทันที บางครั้งดูดีดูขลังมีความศักดิ์สิทธิ์อีกต่างหาก เช่น ไสยศาสตร์ต่างๆ แต่เมื่อมาดูผลแล้วทำให้ผู้เชื่อต้องหลงเวียนตายเวียนเกิดไม่สิ้น หลงอวิชชาและกิเลสตัณหาไม่สิ้น


    คุณหมอครับ...ผมก็บอกได้แค่นี้ คุณหมอเองนั่นแหละต้องมาพิสูจน์ ต้องมาศึกษา ต้องมาจับต้นชนปลายให้ถูก ให้ได้ ความจริงเข้าถึงยาก ความหลอกความลวงมันคอยดักทางเราอยู่ ถึงเวลาแล้วแหละครับ ที่คุณหมอต้องเรียนรู้วิถีทางแห่งการเข้าถึงความจริง ด้วยตนเอง.......
    ...............................................
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 ตุลาคม 2006
  3. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    การเดินวิชชาธรรมกายตามแนว สติปัฏฐาน ๔



    * สติปัฏฐาน ๔ คืออะไร ? จงอธิบายทั้งความรู้ปริยัติ และความรู้ปฏิบัติ


    - สติปัฏฐาน ๔ คือ กายานุปัสสนา เวทนานุปัสสนา จิตตานุปัสสนา ธัมมานุปัสสนา


    - สติ คือ การระลึกรู้ คือการระลึกได้ การขาดสติ คือ การระลึกไม่ได้ จำไม่ได้ ลืมเสียแล้ว นึกอะไรไม่ได้ เป็นลักษณะของคนเหม่อใจลอย ปล่อยใจล่องลอยไปตามอารมณ์ ไม่รู้จักระวังใจ เรียกว่าเป็นคนสติไม่มั่นคง


    - ท่านสอนให้เรากำหนดสติ คือให้เราตั้งใจพิจารณา พิจารณาเพื่อให้เกิดความรู้ขึ้นมาให้จงได้ ถ้าเราคุมใจไม่ได้ คือ เราคุมสติตัวเองไม่ได้ เราก็พิจารณาอะไรไม่ได้ เพราะใจอยู่ในลักษณะของความไม่พร้อมที่จะทำงานนั่นเอง เป็นใจที่เราบังคับไม่ได้เสียแล้ว แต่กิเลสมันบังคับได้ กิเลสเขาบังคับให้ล่องลอยไปตามกระแสร้อยแปด


    - ท่านให้พิจารณาอะไรหรือ ? ตอบว่าให้พิจารณา ๔ อย่าง คือ พิจารณา กาย – เวทนา – จิต – ธรรม


    กาย คือ ตัวตนของเรา

    เวทนา คือ อารมณ์ทางใจ ๓ อย่าง คือ สุข ทุกข์ ไม่สุขและก็ไม่ทุกข์ (กลางๆ) ผ่องใสก็ไม่ใช่จะว่าขุ่นมัวก็ไม่ชัด

    จิต คือ ลักษณะใจที่ผ่องใส ขุ่นมัว หรือสภาพที่ใจเป็นกลางๆ จะว่าผ่องใสก็ไม่ใช่จะว่าขุ่นมัวก็ไม่ชัด
    ธรรม ในที่นี้หมายถึง ธรรม ๓ ฝ่าย คือธรรมฝ่ายกุศล ธรรมฝ่ายอกุศล ธรรมฝ่ายกลาง (อัพยากตาธัมมา)


    - การพิจารณาจะต้องให้เกิดความเห็นจริงทางใจ คือ เกิดเป็นกัมมัฏฐานทางใจ นี่คือ ความ
    มุ่งหวังของหลักสูตร


    - คราวนี้ก็มาถึงอีกความรู้หนึ่ง ท่านให้พิจารณากายในกาย คำว่า “กายในกาย” หมายถึง ท่าน
    ที่เป็นธรรมกาย อย่างน้อยท่านก็รู้จักกาย ๑๘ กาย คนที่ไม่เป็นธรรมกายก็พิจารณาไม่ได้ เพราะท่านรู้จักแต่กายมนุษย์กายเดียวเท่านั้น จึงไปพิจารณากายในกายไม่ได้ และเมื่อไม่รู้จักกายในกายแล้ว ก็ไม่รู้เวทนาในเวทนา ไม่รู้จิตในจิต ไม่รู้ธรรมในธรรม เป็นอันว่าคนที่ไม่เป็นวิชา ๑๘ นั้นจึงหมดโอกาสเรียนวิชาสติปัฏฐาน ๔ นั่นเอง


    - ต่อมาก็มาถึงอีกความรู้หนึ่ง เป็นความรู้ละเอียดขึ้น คือ มีกายที่ไหนก็มีใจครองเสมอไป เมื่อ
    มีใจแล้ว เราก็มาดูว่า เราเอาใจของเราพิจารณากาย พิจารณาใจ (สุข ทุกข์ ไม่สุขและไม่ทุกข์) พิจารณาจิต (ผ่องใส ไม่ผ่องใส หรือกลาง ว่าจะผ่องใสก็ไม่ใช่จะว่าขุ่นมัวก็ไม่เชิง) พิจารณาธรรม ๓ ฝ่ายว่าเป็นธรรมฝ่ายกุศล ฝ่ายอกุศล หรือเป็นอัพยากตาธัมมา นี่คือบทเรียนที่เขากำหนดให้เราเรียน เราจะต้องทำให้ได้ตามที่ตำราเขาสั่งให้จงได้







    ++ ปัญหาที่ว่า ทำไมต้องให้พิจารณาสติปัฏฐาน ๔ ? นี่คือความรู้ใหญ่ที่ไม่มีใครตอบได้


    ++ วิธีแก้ให้ กาย – เวทนา – จิต – ธรรม เกิดความใสสว่างนั้นเป็นความรู้สำคัญ หลวงพ่อวัดปากน้ำ
    ท่านได้สอนความรู้นี้ไว้แล้ว พวกเราต้องเรียนรู้ให้จงได้

    </TD>
    ++ ปัญหาที่ว่า ทำไมต้องให้พิจารณาสติปัฏฐาน ๔ ? นี่คือความรู้ใหญ่ที่ไม่มีใครตอบได้


    ++ วิธีแก้ให้ กาย – เวทนา – จิต – ธรรม เกิดความใสสว่างนั้นเป็นความรู้สำคัญ หลวงพ่อวัดปากน้ำ
    ท่านได้สอนความรู้นี้ไว้แล้ว พวกเราต้องเรียนรู้ให้จงได้






    ความรู้สำคัญที่ต้องเรียนรู้ก่อนการพิจารณา

    (๑) กายคืออะไร ? กายหยาบ คือ กายมนุษย์ที่เราเห็นนี้ กายละเอียดต่อจากกายมนุษย์ไปนั้น มีกาย
    อะไรบ้าง ? ท่านต้องเรียนรู้ก่อน เราก็ตอบว่ากายละเอียดที่ต่อจากกายมนุษย์ไปนั้น คือ

    ๑. กายมนุษย์ (หยาบ)
    ๒. กายมนุษย์ละเอียด (กายฝัน)

    ๓. กายทิพย์หยาบ
    ๔. กายทิพย์ละเอียด

    ๕. กายพรหมหยาบ
    ๖. กายพรหมละเอียด

    ๗. กายอรูปพรหมหยาบ
    ๘. กายอรูปพรหมละเอียด

    ๙. กายธรรมโคตรภูหยาบ
    ๑๐. กายธรรมโคตรภูละเอียด

    ๑๑. กายธรรมพระโสดาหยาบ
    ๑๒. กายธรรมพระโสดาละเอียด

    ๑๓. กายธรรมพระสกิทาคามีหยาบ
    ๑๔. กายธรรมพระสกิทาคามีละเอียด

    ๑๕. กายธรรมพระอนาคามีหยอบ
    ๑๖. กายธรรมพระอนาคามีละเอียด

    ๑๗. กายธรรมพระอรหัตต์หยาบ
    ๑๘. กายธรรมพระอรหัตต์ละเอียด


    รวม ๑๘ กาย ยังไม่นับกายสุดละเอียด เอาแค่ ๑๘ กายก่อน เราก็ต้องพิจารณาไปทีละกาย จึงจะเรียกว่ากายในกาย


    (๒) ความรู้ที่จะพิจารณานั้นคือ ความรู้อะไรบ้าง ? นี่คือหลักสูตรแห่งการเรียนหากท่านตอบไม่ได้ ก็
    แปลว่า ไม่รู้เรื่องอะไร ? การเรียนก็ล้มเหลว ต้องตอบได้ดังนี้


    (๓) การพิจารณานั้น ต้องใช้กายธรรมมาพิจารณาที่ดวงธรรมของกายทั้ง ๑๘ กาย โดยทำไปทีละกาย
    เช่น พิจารณาดูกายมนุษย์ แล้วก็พิจารณา ๔ อย่าง คือ กาย – เวทนา – จิต – ธรรม เราต้องหาความรู้ก่อนว่า กาย – เวทนา – จิต – ธรรม คืออะไร ? มีอยู่อย่างไร ? เราจึงจะพิจารณาได้


    (ก) ที่ดวงปฐมมรรคของกายต่าง ๆ นั้น มีดวงกาย – ดวงเวทนา – ดวงจิต – ดวงธรรม ดวง
    เหล่านี้มีลักษณะเป็นดวงใส คือดวงกายเป็นที่ตั้งของดวงใจ ดวงใจก็คือดวงเห็น – ดวงจำ – ดวงคิด – ดวงรู้ (เห็น – จำ – คิด – รู้ รวม ๔ อย่าง เรียกว่า ใจ)

    คำว่า “ใจ” นั้น มีใจหยาบและใจละเอียด ใจหยาบเรียกว่า เวทนา ส่วนใจละเอียดเรียกว่า
    จิต



    คำว่าธรรมนั้น หมายถึง ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย


    นี่คือเรารู้จักดวงกาย ดวงเวทนา (คือใจหยาบ) ดวงจิต (คือใจละเอียด) และดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย (การเกิดกายนั้น เกิดจากดวงใสดวงนี้ ดวงใสดวงนี้ เรียกว่า ดวงปฐมมรรค หรือดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฎฐาน หรือเรียกทั่วไปว่า ดวงธรรม)


    (ข) ต่อมาท่านต้องรู้จักหน้าตาลักษณะของธรรม 3 ฝ่าย คือ ธรรมฝ่ายกุศล ธรรมฝ่ายอกุศล
    ธรรมฝ่ายอัพยากตาธัมมา (หรือธรรมฝ่ายกลาง) ดังนี้

    ธรรมฝ่ายกุศล กายขาวใส กาย ๑๘ กายขาวใสทั้งหมด ดวงธรรมก็ขาวใสทั้งหมด

    ธรรมฝ่ายอกุศล กายขุ่นกายดำ กาย ๑๘ กายขุ่นและดำทั้งหมด ดวงธรรมก็ขุ่นและดำหรือสีตะกั่ว

    ธรรมฝ่ายกลาง กายสีน้ำตาล กาย ๑๘ กายสีน้ำตาล กายสีใดดวงธรรมก็สีนั้น


    (ค) อานุภาพของธรรมแต่ละฝ่าย ให้ผลต่างกันอย่างไร?

    ธรรมฝ่ายกุศล ให้ผลเป็นสุขทั้งหมด

    ธรรมฝ่ายอกุศล ให้ผลเป็นทุกข์ทั้งหมด มี แก่ เจ็บ ตาย เป็นต้น

    ธรรมฝ่ายกลาง ให้ผลเป็นกลาง ๆ ไม่ทุกข์และก็ไม่สุข





    เหตุใดจึงต้องพิจารณาสติปัฎฐาน ๔ เป็นคำถามที่ผู้รู้จะตอบคำถามนี้อย่างไร?


    - พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา แปลว่า ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า
    คือใจทำหน้าที่เป็นประธานใหญ่ ใจเป็นผู้สั่งการ ใจเป็นผู้ปกครอง นี่คือความหมาย


    - ปัญหาจึงมีว่า ใจ ของเรานั้นเป็นใจของธาตุธรรมฝ่ายใด? ต้องตอบคำถามนี้ก่อน เพราะ
    บางเวลาอารมณ์ของเราบันเทิง บางเวลาใจหงุดหงิด บางเวลาเราอยากจะฆ่าแกง บางโอกาสใจของเราก็เฉย ๆ ไม่ยินดียินร้าย คนเดียวนี่เอง เหตุใดใจของเราจึงมีสภาพใจเป็นธาตุธรรม ๓ ฝาย ? คือ ใจบันเทิงเป็นใจของธรรมภาคกุศล ใจหงุดหงิดจะฆ่าแกง เป็นใจของอกุศล ใจเฉย ๆ บุญไม่ทำกรรมไม่ก่อ เป็นใจของธรรมภาคกลาง


    - นั่นคือ ธรรมทุกฝ่ายแสวงหาอาณานิคม แสวงหาเมืองขึ้น แสวงหาอำนาจปกครองเข้ามา
    ยึดใจของมนุษย์ ธรรมฝ่ายใดมีกำลังมาก? ธรรมฝ่ายนั้นก็เข้ายึดใจได้ เมื่อยึดใจได้แล้วก็แสดงอานุภาพแห่งธาตุธรรมนั้น ๆ ให้ปรากฏ เช่น ธาตุธรรมฝ่ายกุศลยึดอำนาจได้ เราก็มีใจบันเทิง หากภาคกิเลสคือภาคมารยึดได้ เราก็หงุดหงิด อยากจะล้างแค้น หากธรรมภาคกลางยึดได้ เราก็มีสภาพใจเฉย ๆ


    - การที่ท่านสอนให้เราพิจารณาสติปัฎฐาน ๔ ก็เพื่อให้เราชำระใจไม่ให้ภาคกิเลสหรือภาค
    มารครอบครอง เพราะให้ผลเป็นทุกข์แก่เรา หากเราไม่พิจารณาก็เหมือนกับเราไม่อาบน้ำชำระร่างกาย ส่งผลให้ร่างกายสกปรกเป็นบ่อเกิดของเชื้อโรค จะทำให้เราเป็นโรคนั่นเอง





    วิธีการพิจารณาให้ทำดังนี้


    *เดินวิชา ๑๘ กายเป็นอนุโลมปฏิโลมจนกว่ากายและดวงธรรมจะมีความใสจนถึงขั้นใจของเราเกิดอารมณ์บันเทิงใจ จากนั้น อาราธนากายธรรมพระอรหัตต์เดินวิชาถอยหลังเป็นปฏิโลมกลับมาถึงกายมนุษย์ กายธรรมเข้าสู่ในท้องของกายมนุษย์ การเข้าสู่กายใด? ต้องเข้ามาตามฐาน คือ ตั้งแต่ฐานที่ ๑-๗ ครั้นกายธรรมเข้าสู่ฐานที่ ๗ แล้ว ให้นึกอาราธนากายธรรมส่งรู้ส่งญาณมองดูดวงธรรมในท้องกายมนุษย์ ครั้นเห็นดวงธรรมแล้วประคองใจให้นิ่ง ท่องใจ หยุดในหยุดเข้าไว้ เห็นดวงธรรมชัดเจนแล้ว จะดูอะไร? ต้องเจาะไปทีละอย่างให้แจ้งใจไปทีละอย่าง ต้องนึกถึงสิ่งที่จะดูนั้นเพียงอย่างเดียว แล้วจะเห็นสิ่งนั้น เมื่อเห็นแล้วจึงพิจารณาไปตามบทบัญญัติแห่งหลักสูตรนั้น ๆ เช่น


    ๑. จงพิจารณากาย ท่องใจหยุดในหยุดแล้วนิ่งใจจรดลงกลางดวงธรรม นึกดูดวงกาย แล้วเราก็ เห็นดวงกาย ดวงกายเป็นดวงใสรองรับใจ (ใจ คือ เห็น-จำ-คิด-รู้) นึกดูศูนย์กลางกายของดวงกาย เราก็เห็นว่า ดวงกายนี้มีดวงแก่-ดวงเจ็บ-ดวงตาย มาหุ้มเป็นชั้น ๆ ดวงแก่สีน้ำตาล ดวงเจ็บเป็นดวงขุ่นต่อไปก็ดำ ดวงตายเป็นดวงดำประดุจนิล ดวงเหล่านี้มาหุ้มแล้ว ส่งผลให้กายมนุษย์ต้องแก่ ต้องเจ็บ และตาย ดวงเหล่านี้ทำหน้าที่เผาผลาญ


    เมื่อเราส่งใจกายธรรมจรดลงไปกลางดวงกาย เราก็เห็นความแปรปรวนของกายว่ากายนี้ประกอบด้วยธาตุ ๔ คือ ดิน-น้ำ-ไฟ-ลม ประกอบเป็นร่างกายของเราขึ้นมาเห็นความเป็นเด็ก เป็นหนุ่ม เป็นคนมีอายุ แล้วก็ตายไปเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ท่านจึงกล่าวว่าไม่ให้เรายึดมั่นกาย เพราะเราบังคับไม่ได้ มีแต่แก่-เจ็บ-ตาย กายธรรมต่อรู้ต่อญาณให้เราจึงเห็นไปตามที่กายธรรมท่านทำให้


    ๒. พิจารณาเวทนา เมื่อดูดวงกายเสร็จแล้ว เราก็อธิษฐานใจต่อกายธรรมว่า ขอพิจารณาเวทนา
    บ้าง ท่องใจหยุดในหยุดกลางดวงปฐมมรรคของกายมนุษย์ เห็นจุดใสเท่าปลายเข็ม พอจุดใสเท่าปลายเข็มว่างออก ก็อธิษฐานดูดวง “เวทนา” เวทนานี้ก็คือใจนั่นเอง เพราะใจมี ต้น-กลาง-ปลาย ใจเบื้องต้นคือใจ ใจชั้นกลาง คือ จิต ใจชั้นปลายคือ วิญญาณ ใจประกอบด้วย ดวงเห็น-ดวงจำ-ดวงคิด-ดวงรู้ ซ้อนกัน พอเราจรดใจลงที่ดวงเวทนา เราจะเห็นอะไรบ้าง? เราก็เห็นดวงใจเป็นดวงใส นิ่งกลางใจก็เห็นจุดใสเท่าปลายเข็ม ส่งใจนิ่งกลางจุดใสเท่าปลายเข็มแล้วนิ่งดูต่อไป


    (ก) ถ้าจุดใสเท่าปลายเข็มมีความใส เราจะรู้สึกว่าเกิดความสุขทางใจ

    (ข) ถ้าจุดใสเท่าปลายเข็มมีความขุ่น เราจะรู้สึกว่าไม่เป็นสุข ถ้าความขุ่นกระเดียดไปเป็นดำ
    เราจะทุกข์ใจมาก

    (ค) ถ้าจุดใสเท่าปลายเข็มมีสีน้ำตาล เราจะรู้สึกเฉย ๆ บุญไม่ทำกรรมไม่สร้าง จะว่าสุขก็
    ไม่ใช่จะว่าทุกข์ก็ไม่เชิง

    การพิจารณาจนถึงขั้นเป็นอารมณ์ทางใจเกิดแก่เรา 3 อย่าง คือ อารมณ์เป็นสุข (อารมณ์ของฝ่ายกุศล) อารมณ์เป็นทุกข์ (อารมณ์ฝ่ายอกุศล) อารมณ์เป็นกลาง ๆ (อารมณ์ของฝ่ายอัพยากตาธัมมา) หมายความว่า ธรรมฝ่ายใดมีอำนาจกว่า? ธรรมฝ่ายนั้นก็เข้ามาปกครองใจของเรา เราจึงมีอารมณ์ไปตามธรรมของฝ่ายนั้น ๆ เพราะเหตุนี้พระพุทธองค์จึงสอนให้เราทำใจให้สว่างใสเข้าไว้ เพื่อเราจะได้เกิดความสุขทางใจ เพราะการทำใจให้ใสนั้นเป็นธรรมของฝ่ายกุศล ธรรมของฝ่ายกุศลส่งผลให้สุขทุกสถาน หากเป็นธรรมของฝ่ายอกุศลแล้ว ให้ผลเป็นทุกข์ทั้งนั้น และหากเป็นธรรมของฝ่ายกลางแล้ว ส่งผลให้ไม่สุขและไม่ทุกข์คือเป็นกลาง ๆ เสมอไป


    ๓. พิจารณาจิต จิต คือ เห็น-จำ-คิด-รู้ ที่ละเอียดไปอีกระดับหนึ่งพอเราพิจารณาเวทนาเสร็จแล้ว
    เราก็อธิษฐานใจต่อกายธรรมขอพิจารณา “จิต” ต่อไป เราก็เห็นดวงใสเล็กอีกลักษณะหนึ่ง นั่นคือ ดวงจิตส่งใจนิ่งลงไปที่ดวงจิตนั้น เห็นจุดใสเท่าปลายเข็มกลางดวงจิตนั้น หากจุดใส่เท่าปลายเข็มมีความใส เราก็รู้สึกว่าเรามีใจผ่องใสบันเทิง หากจุดใสมีความขุ่น อารมณ์ของเราไม่ผ่องใสใจคอหงุดหงิด หากจุดใสเท่าปลายเข็มมีสีน้ำตาล อารมณ์ของเราจะเฉย ๆ ไม่ยินดียินร้าย นี่คือธาตุธรรม 3 ฝ่าย เข้ามาปกครองใจเรา เช่นเดียวกับพิจารณาเวทนานั้น เพราะเหตุนี้เอง พระพุทธองค์จึงสอนให้เราทำใจให้สว่างใสเข้าไว้ เพราะการทำใจให้ใสเป็นธรรมฝ่ายกุศล ส่งผลให้อารมณ์ของเราผ่องใสบันเทิง


    ๔. พิจารณาธรรม ธรรมในที่นี้เป็นดวงกลมขาวใส เป็นดวงธรรมประจำกาย เรียกว่า ดวงปฐม
    มรรคหรือดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฎฐาน เรียกย่อว่า ดวงธรรม ดวงธรรมของธรรม ๓ ฝ่ายมีลักษณะต่างกัน มีสีสันต่างกัน มีอานุภาพต่างกัน ดังนี้

    ธรรมฝ่ายกุศล ดวงธรรมขาว กายธรรมขาว ให้ผลเป็นสุขสถานเดียว

    ธรรมฝ่ายอกุศล ดวงธรรมดำหรือสีตะกั่ว กายธรรมดำหรือสีตะกั่ว ให้ผลเป็นทุกข์สถานเดียว

    ธรรมฝ่ายกลาง (อัพยากตาธัมมา) ดวงธรรมสีน้ำตาล กายธรรมสีน้ำตาลให้ผลกลาง ๆ คือไม่
    ทุกข์และไม่สุข (จะว่าทุกข์ก็ไม่ใช่จะว่าสุขก็ไม่เชิง เป็นกลาง ๆ )


    กล่าวถึงการพิจารณา เราก็อธิษฐานต่อกายธรรม ขอพิจารณา “ธรรม” ส่งใจนิ่งดูกลางดวงธรรมนั้น เห็นจุดใสเท่าปลายเข็ม ส่งใจนิ่งกลางจุดใสเท่าปลายเข็มนั้น แล้วก็ดูว่าที่จุดใสเท่าปลายเข็มมีสีของธาตุธรรมใดมาหุ้ม? หากจุดใสเท่าปลายเข็มสว่างตลอดไป แปลว่าธาตุธรรมฝ่ายกุศล ส่งผลให้เราเจริญรุ่งเรือง หากจุดใสเท่าปลายเข็มมีสีดำมาหุ้มหรือสีปรอทมาหุ้มส่งผลให้เราไม่เจริญรุ่งเรือง มีเรื่องมีราวเกิดทุกข์ร้อน หากเป็นสีน้ำตาลมาหุ้มจุดใสเท่าปลายเข็ม ส่งผลให้เราอยู่ในสภาพเดิม ไม่ดีขึ้นและไม่เสื่อมลง ดังนั้นชีวิตของเราเป็นไปตามการบังคับของธรรมภาคต่าง ๆ ใครทำกรรมดีไว้? ธรรมฝ่ายกุศลก็ส่งผลให้เจริญ ใครทำกรรมชั่วไว้? ธรรมฝ่ายอกุศลก็ส่งผลให้ทุกข์ร้อน เพราะเหตุนี้พระพุทธองค์จึงสอนให้มนุษย์ทำกุศล เว้นการทำบาป ทำใจให้สว่างใส เพื่อเราจะได้ไม่ทุกข์ นั่นเอง






    ** สรุปการพิจารณา **


    - ในการปฏิบัติจริง ตามที่บรรยายมานี้ เป็นการพิจารณา กาย-เวทนา-จิต-ธรรม ในกายมนุษย์ มี
    วิธีพิจารณาอย่างไร? ใช้กายธรรมพิจารณาอย่างไร? อธิบายมาชัดเจนแล้ว


    ** ต่อไปเราจะพิจารณา กาย-เวทนา-จิต-ธรรม ในกายใดอีก? และที่กล่าวว่าพิจารณากายในกาย

    เวทนาในเวทนา จิตใจจิต ธรรมในธรรม คืออย่างไร? จงอธิบาย


    - งานต่อไปที่เราต้องพิจารณา กาย-เวทนา-จิต-ธรรม ก็คือ เราไปพิจารณาให้แก่กายมนุษย์ละเอียด คือการพิจารณาให้แก่กายฝัน คือกายที่ละเอียดต่อจากกายมนุษย์ กายมนุษย์และเอียดหรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กายฝัน คือกายที่ทำหน้าที่ฝันเมื่อกายมนุษย์หลับ นั่นคือกายธรรมมาหยุดนิ่งกลางดวงธรรมของกายมนุษย์ละเอียด แล้วก็พิจารณา กาย-เวทนา-จิต-ธรรม เหมือนดังที่เราพิจารณากายมนุษย์


    - งานต่อไป เราก็พิจารณาให้แก่กายทิพย์หยาบ กายทิพย์ละเอียด กายพรหมหยาบ กายพรหม
    ละเอียด.......กายธรรมพระอรหัตต์ละเอียด รวม ๑๘ กายต่อไป


    - ทุกกายต่างก็มีดวงกาย-ดวงเวทนา-ดวงจิต-ดวงธรรมในกายนั้น ๆ โดยเหตุที่เรามีกายมาก คือมี
    กายมนุษย์ และมีกายลำดับไปถึงกายธรรมพระอรหัตต์ละเอียดรวม ๑๘ กายนั้น การพิจารณาสติปัฎฐาน ๔ ในกายต่าง ๆ ตั้งแต่กายหยาบไปถึงกายละเอียด จึงเรียกว่าพิจารณาภายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม แต่เป็นเพราะเรามีกายมาก ตั้งแต่กายมนุษย์ไปถึงกายธรรมพระอรหัตต์ละเอียด เราจึงต้องพิจารณาสติปัฎฐาน ๔ ละเอียดไปตามลำดับของกาย


    ** การพิจารณาต้องใช้กายธรรมพิจารณา ไม่ใช้กายธรรมพิจารณาได้หรือไม่? จงอธิบาย


    กายพิจารณาต้องใช้กายธรรมพิจารณา เพราะกายธรรมมีรู้มีญาณทัสสนะลึกซึ้งกว่ากายมนุษย์ หากใช้กายมนุษย์พิจารณาก็ไม่ใช่ขั้นเห็นแจ้งเห็นจริง แต่เป็นเพียงนิสัยปัจจัยเท่านั้น เพราะกายมนุษย์เป็นกายโลกีย์ยังมีกิเลสอยู่มาก ไม่เหมือนกายธรรมซึ่งแทบไม่มีกิเลส โดยเฉพาะกายธรรมพระอรหัตต์ละเอียดไม่มีกิเลสเลย


    - สรุปแล้ว ความรู้เรื่องสติปัฎฐาน ๔ เป็นตำราเรียนในพระพุทธศาสนาอยู่ในหนังสือนวโกวาท
    เป็นหลักสูตรนักธรรมชั้นตรี นั่นคือความรู้ปริยัติส่วนหนึ่ง เรียนเพื่อรู้เบื้องต้น แต่การปฏิบัติยังไม่มีใครปฏิบัติได้ เพราะยังไม่มีใครทำใจให้สว่างใสได้ ซึ่งเรื่องการทำใจให้สว่างใสตามคำสอนของพระพุทธองค์ข้อ ๓ ที่ว่า “สจิตฺตปริโยทปนํ” นั้น เมื่อทำใจให้สว่างใสได้แล้ว จะเห็นดวงปฐมมรรคในท้องของตนเอง แล้วเห็นกายละเอียดเป็นลำดับไป ในที่สุดก็เห็นกายธรรม เบ็ดเสร็จเห็นกาย ๑๘ กาย ตามที่หลวงพ่อวัดปากน้ำสอนนั้น เมื่อเห็นกายธรรมแล้ว ใช้กายธรรมพิจารณาความรู้เรื่องสติปัฎฐาน ๔ ได้ เรื่องมันยากอย่างนี้


    จึงขอให้ผู้ศึกษาเล่าเรียนอ่านให้เข้าใจ เวลานี้ไม่มีใครอธิบายความรู้เรื่องสติปัฎฐาน ๔ ได้ เพราะเป็นความรู้ทางปฏิบัติ ความรู้ปริยัติมีกล่าวไว้นิดเดียว ผู้เรียนก็ท่องตำราไปตามนั้น แต่ถึงเวลาปฏิบัติก็ทำอะไรไม่ถูก? เพราะตำราไม่กล่าวอะไรไว้เลย? ได้แต่กล่าวความรู้ปริยัติไว้หน่อยเดียว อ่านแล้วก็ไม่รู้อะไร? นี่คือ ทางตัน!


    - การพิจารณาสติปัฎฐาน ๔ ได้แก่ การพิจารณากาย ตำราสอนไม่ให้ยึดมั่นถือมั่น เพราะกายมี
    การแตกดับคือตายได้ เมื่อเราพิจารณาเห็นว่ากายเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ช่วยให้เราไม่ประมาท ความไม่ประมาทจะช่วยให้เราเร่งสร้างกุศลคือเร่งสร้าง ทาน-ศีล-ภาวนา อันเป็นสุดยอดของกุศล


    - การพิจารณาเวทนา สอนให้เราฝึกทำใจให้สว่างใส วิธีทำใจให้สว่างใสมีอย่างนั้น? เราฝึกกัน
    แล้วตั้งแต่เบื้องต้นจนถึงขั้นเราเรียนเดินวิชาเป็นอนุโลม ปฏิโลมวิชา ๑๘ กาย เป็นการรักษาใจ ไม่ให้ใจเกิดความทุกข์ หากใจเกิดความทุกข์ แปลว่า ธรรมภาคมารเข้าปกครองใจเพราะเราไม่ทำใจให้สว่างใสนั่นเอง


    - การพิจารณาจิต คือ การพิจารณาใจอีกแนวหนึ่ง ให้ใจสว่างใสเข้าไว้ ใจจะได้ไม่ขุ่นมัว หากใจ
    ขุ่นมัว นั่นคือ ธรรมภาคมารเข้าปกครองใจแล้ว


    - การพิจารณาธรรม คือ การรักษาดวงธรรมให้สว่างใส ธรรมไม่สว่างใสแปลว่า ธรรมภาคมารเข้าครอบงำ จะส่งผลให้เกิดทุกข์




     
  4. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    รู้วิธีเดินอริยสัจ"



    ที่ว่า "รู้วิธีเดินอริยสัจ" นั้น เดินอย่างไร


    ใช้ตา(ญาณ)พระธรรมกาย ดูอริยสัจของกายมนุษย์ให้เห็นจริงว่า ความ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ของมนุษย์เป็นทุกข์ สิ่งที่เรียกว่าเป็นความเกิดนั้น มีลักษณะเป็นดวงกลมใสขนาดเล็กเท่าเมล็ดโพธิ์ขนาดโตเท่าดวงจันทร์สีขาวบริสุทธิ์ ดวงเกิดนี้จะเริ่มมาจดศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ในเวลาที่กายมนุษย์มีอายุครบ ๑๔ ปี ดวงนี้เองเป็นดวงเริ่มเกิดของมนุษย์ทุกคน ถ้าดวงนี้ไม่มาจดกลางดวงธรรมของมนุษย์ กายมนุษย์ก็จะมาเกิดไม่ได้ กายธรรมดูความเกิด ดูเหตุที่จะทำให้เกิดเห็นตลอดแล้วก็ดูความแก่ต่อไป ความแก่นี้ซ้อนอยู่ในกลางดวงของความเกิด เป็นดวงกลมขนาดโตเท่าดวงจันทร์ขนาดเล็กก็เท่าฟองไข่แดงของไข่ไก่ สีดำเป็นนิลแต่ไม่ใส เวลาที่ดวงแก่นี้ยังเล็กก็เป็นเวลาที่เริ่มแก่ ถ้าดวงแก่นี้ยิ่งโตขึ้นกายก็ยิ่งแก่เข้าทุกที ดวงแก่นี้เองที่เป็นเหตุให้ร่างกายทรุดโทรม เมื่อแก่มากขึ้นแล้วก็ต้องมีเจ็บ เพราะดวงเจ็บมาซ้อนอยู่ในกลางดวงแก่นั่นเอง เป็นดวงกลมขนาดเท่าๆ กับดวงเกิด ดวงเจ็บสีดำเข้มยิ่งกว่าดวงแก่ ขณะเมื่อดวงเจ็บนี้ มาจดเข้าในศูนย์กลางดวงแก่เข้าเวลาใด กายมนุษย์ก็จะต้องเจ็บทันที เมื่อดวงเจ็บนี้มาจดหนักเข้า ดวงตายก็ซ้อนเข้าอยู่กลางดวงเจ็บเป็นดวงกลมขนาดเล็กโตเท่าๆ กับดวงเจ็บ แต่มีสีดำใสประดุจนิลทีเดียว เมื่อดวงนี้เข้ามาจดกลางดวงเจ็บแล้ว จดตรงหัวต่อของกายมนุษย์กับกายทิพย์พอมาจดเข้าเท่านั้น หัวต่อของมนุษย์กับทิพย์ก็ขาดจากกัน เมื่อกายมนุษย์ไม่เนื่องกับกายทิพย์ได้แล้ว กายมนุษย์ก็จะต้องตายทันที เมื่อเห็นด้วยตาธรรมกายและรู้ด้วยญาณของธรรมกายว่า ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย นี้ไม่เที่ยง ไม่แน่นอนจริงแล้ว รู้เห็นตามจริงเช่นนี้ ชื่อว่า สัจจญาณ เมื่อตาธรรมกายเห็นว่าความเกิด แก่ เจ็บ ตาย นี้เป็นทุกข์จริง เป็นสิ่งสมควรรู้ชื่อว่า บรรลุกิจจญาณ และความทุกข์ทั้งหมดเหล่านี้เราก็ได้พิจารณาเห็นชัดเจนมาแล้ว ชื่อว่า บรรลุกตญาณ เช่นนี้เรียกว่า พิจารณาทุกขสัจซึ่งเป็นไปในญาณ ๓


    ส่วนดวงสมุทัยนั้นมีอยู่ ๓ ดวง อยู่ในศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ขนาดโตเท่าดวงพระจันทร์และขนาดเล็กเท่าเมล็ดโพธิ์ เหมือนกันทั้งหมด ซ้อนกันอยู่ สำหรับดวงข้างนอกมีสีดำเข้ม แต่อีก ๒ ดวงนั้น ก็ยิ่งมีความละเอียดและความความดำมากกว่ากันเข้าไปเป็นชั้นๆ เมื่อเห็นด้วยตาและรู้ด้วยญาณของธรรมกายเช่นนี้ รู้ว่าเพราะสมุทัยนี้จึงทำให้ทุกข์เกิดเป็นของจริงเช่นนี้ เรียกว่า สัจจญาณ เมื่อรู้แล้วพากเพียรละ เพราะเห็นว่าเป็นสิ่งควรละเช่นนี้ เรียกว่า กิจจญาณ เมื่อละสมุทัยได้ขาดแล้ว ชื่อว่า กตญาณ เช่นนี้ เรียกว่า พิจารณาสมุทัยซึ่งเป็นไปในญาณ ๓


    เมื่อมีสมุทัยเกิดขึ้นแล้ว ก็ต้องดูให้รู้ถึงวิธีดับเหตุแห่งทุกข์อันนี้ให้ได้ตลอด ที่เรียกว่านิโรธ นิโรธนี้เป็นดวงกลมใสอยู่ในศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ขนาดวัดตัดกลาง ๕ วา ขณะเมื่อมีนิโรธแล้วสมุทัยย่อมหมดไป เหมือนรัศมีของพระอาทิตย์ที่ขจัดความมืดให้หายไปฉะนั้น เมื่อเห็นด้วยตาและรู้ด้วยญาณธรรมกายว่า ความดับไปแห่งสมุทัยเป็นนิโรธจริงชื่อว่า สัจจญาณ และนิโรธนี้เป็นสิ่งควรทำให้แจ้งชื่อว่าเป็นกิจจญาณ เมื่อรู้เห็นตลอดแล้วชื่อว่าทำให้แจ้งซึ่งนิโรธแล้วจัดเป็น กตญาณ เช่นนี้ เรียกว่า ได้พิจารณาซึ่งนิโรธอันเป็นไปในญาณ ๓


    เมื่อทำนิโรธความดับให้แจ้งได้แล้ว ก็จะพึงทำมรรคให้เกิดขึ้น มรรคนี้ก็คือ ดวงศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งอยู่ในศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นเอง มีสัณฐานกลมใสบริสุทธิ์ยิ่งนัก ขนาดเท่ากันกับหน้าตักของธรรมกาย เมื่อได้เห็นด้วยตา ได้รู้ด้วยญาณของธรรมกายแน่ชัดแล้ว รู้แน่ว่าสิ่งนี้เป็นมรรคจริง ชื่อว่าเป็น สัจจญาณ เมื่อมรรคนี้เป็นของจริง ก็เป็นทางควรดำเนินให้เจริญขึ้น ชื่อว่าเป็น กิจจญาณ เมื่อได้รู้เห็นตลอดด้วยตาและญาณของธรรมกายถึงมรรคนี้ว่า ได้ดำเนินให้เจริญขึ้นแล้วนี้ชื่อว่าเป็น กตญาณ เช่นนี้ชื่อว่าได้เห็นมรรค พร้อมทั้งรู้ เป็นไปในญาณ ๓ ฉะนี้


    เดินฌาณสมาบัติเข้ามรรคผล

    ให้ตา(ญาณ) พระธรรมกายแทงตลอดอริยสัจที่กลางกายมนุษย์ เห็นอริสัจเหล่านี้พร้อมกับเดินสมาบัติ เมื่อถูกส่วนเข้าธรรมกายก็ตกศูนย์เป็นดวงใส วัดผ่าศูนย์กลาง ๕ วา ในไม่ช้าศูนย์นั้นก็กลับเป็น ธรรมกายหน้าตักกว้าง ๕ วา สูง ๕ วา เกตุดอกบัวตูม นี้เป็นพระโสดา


    แล้วธรรมกายพระโสดานั้นเข้าฌาณ ดูอริยสัจของกายทิพย์ให้เห็นจริงในทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ทำนองเดียวกับที่กล่าวมาแล้ว เมื่อถูกส่วนเข้าธรรมกายพระโสดาก็ตกศูนย์เป็นดวงใส วัดผ่าศูนย์กลางได้ ๑๐ วา สูง ๑๐ วา เกตุดอกบัวตูม นี่เป็นพระสกิทาคามี


    แล้วธรรมกายพระสกิทาคามีนั้นเข้าฌาณ ดูอริยสัจของกายรูปพรหมให้เห็นจริงในทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เมื่อถูกส่วนเข้าธรรมกายพระสกิทาคามีก็ตกศูนย์เป็นดวงใสวัดผ่าศูนย์กลางได้ ๑๕ วา ในไม่ช้าศูนย์นั้นก็กลับเป็นธรรมกาย หน้าตักกว้าง ๑๕ วา สูง ๑๕ วา เกตุดอกบัวตูม นี่เป็นพระอนาคามี


    แล้วธรรมกายพระอนาคามีนั้นเข้าฌาณ ดูอริยสัจของกายอรูปพรหมให้เห็นจริงในทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เมื่อถูกส่วนเข้าธรรมกายพระอนาคามีก็ตกศูนย์เป็นดวงใส วัดผ่าศูนย์กลางได้ ๒๐ วา ในไม่ช้าศูนย์นั้นก็กลับเป็น ธรรมกาย หน้าตักกว้าง ๒๐ วา สูง ๒๐ วา เกตุดอกบัวตูม นี่เป็นพระอรหัตต์แล้ว


    เมื่อได้กายพระอรหัตแล้ว ให้เดินละเอียดเข้าไปจนกายนั้นพิสดารมากขึ้นเป็น เถา ชุด ชั้น ตอน ภาค พืด จองถนน พิสดาร ปาฏิหาริย์ ทับทวี ให้คำนวณเข้ามาทั้งอดีต ปัจจุบัน อนาคต ทับทวีต่อไปหลายชนเท่า นับอสงไขย อายุธาตุ อายุบารมี ไม่ถ้วน


    สรุป การแทงตลอดอริยสัจ ทำให้มีปัญญารู้ญาณ ๓ ญาณ คือ

    มีปัญญารู้ว่า การเกิด แก่ เจ็บ ตาย นี้ไม่เที่ยงไม่แน่นอนจริง รู้ว่าสมุทัยทำให้เกิดทุกข์จริง นิโรธสามารถดับทุกข์ได้จริง มรรคเป็นทางหลุดพ้นได้จริง เรียกว่า สัจจญาณ

    มีปัญญารู้ว่า การเกิด แก่ เจ็บ ตาย นี้เป็นทุกข์จริง เป็นสิ่งควรรู้ รู้ว่าสมุทัยเป็นสิ่งควรละ รู้ว่านิโรธเป็นสิ่งที่ควรทำให้แจ้ง และรู้ว่ามรรคเป็นทางที่ควรเจริญ เรียกว่า กิจจญาณ

    มีปัญญารู้ว่า ได้รู้ทุกข์ชัดเจนแล้ว ละสมุทัยได้ขาดแล้ว สามารถทำนิโรธให้แจ้งได้แล้ว และสามารถทำมรรคให้เจริญได้แล้ว เรียกว่า กตญาณ


    ในการปฏิบัติจริงๆ เมื่อปฏิบัติถึงดวงทุกข์ก็จะกำหนดรู้ทุกข์ทั้งในแง่ สัจจญาณ กิจจญาณ และกตญาณ เมื่อถึงสมุทัย นิโรธ มรรค ก็จะกำหนดรู้ได้เช่นเดียวกัน ญาณทั้งสามนี้เป็นปัญญาที่ผุดขึ้นมาเองในระหว่างการปฏิบัติ เป็นปัญญาที่ทำให้รู้ว่าสัจจธรรมนั้นมีจริง ถ้าเพียรปฏิบัติอย่างถูกทางไม่ท้อถอยก็จะพ้นจากทุกข์ได้ ญาณทั้งสามกลุ่มรวม ๑๒ ญาณของอริยสัจในตอนนี้เปรียบเหมือนจอบเสียมที่นำมาใช้ในการขุดพื้นดินเพื่อกระแสธารปัญญาจะสามารถไหลไปสู่นิพพิทาญาณ ที่นั้น ญาณทั้ง ๑๒ ญาณของอริยสัจจะวิวัฒนาการเป็นปฏิจจสมุปบาทธรรม ๑๒ (โปรดดูปฏิสัมภิทามรรคมหาวรรคญาณกถา ข้อ ๑๐ ถึงข้อ ๒๙) ทำให้สามารถกำหนดรู้อนิจจังและสมุทัยซึ่งเป็นต้นทางให้กำหนดรู้อริยสัจและพระไตรลักษณ์ขั้นละเอียด ซึ่งเป็นธรรมาวุธอันคมกล้าปหานสังโยชน์พินาศไปในพริบตา


    ญาณทั้งสามกลุ่ม คือ สัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ หรือ อริยสัจ ๑๒ นี้ จะเห็นและกำหนดรู้ได้ก็โดยทางเจโตสมาธิ หรือ วิชชาธรรมกายเท่านั้น ในพระไตรปิฎกมีระบุอย่างชัดแจ้งไว้ในธรรมจักกัปปวัตตนสูตรปฐมเทศนา พระวินัยปิฎกข้อ ๑๕ และ ๑๖ ว่า เป็นญาณทัสสนะมีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒


    ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาแบบไตรลักษณ์ที่เคยปฏิบัติสมถะมาก่อนกำหนดรู้ญาณทั้งสามนี้ได้เมื่ออุทยัพพยญาณเกิด จะต้องแทงตลอดอริยสัจขั้นหยาบนี้ก่อน ภังคญาณจึงจะเกิดตามมา.
     
  5. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมกำหนดแสงสว่างไว้ในใจ สมาธิภาวนาอย่างนี้ย่อมเป็นไปเพื่อได้ ญาณทัสสนะ



    พระพุทธเจ้าเป็นสัพพัญญู คือรู้เรื่องชีวิทุกประเภท ซึ่งคำว่า "รู้ " ในที่นี้หมายถึงรู้จักชีวิตเหล่านี้ทั้งหมด "ทั้งได้เคยเห็น" เคยเข้าใกล้ เคยเข้าไปสนทนาด้วย ดังจะเห็นได้จากเรื่องที่พระองค์ได้ตรัสไว้ ดังนี้ :-



    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงประทับอยู่ที่ภูเขาหินพื้นราบแห่งหนึ่งชื่อว่า คยาสีสะ ใกล้หมู่บ้านคยา ณ ที่นั้นพระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า



    "ภิกษุทั้งหลาย ก่อนที่เรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ครั้งนั้นเรากำหนดเห็นแสงสว่างได้ แต่ครั้งแรกยังไม่เห็นรูปทั้งหลาย เราจึงได้เกิดความคิดว่า ถ้าหากเราจะพึงกำหนดเห็นแสงสว่างได้ด้วยและเห็นรูปทั้งหลายได้ด้วย ญาณทัสสนะของเราอันนี้ ก็จะพึงบริสุทธิ์ยิ่งขึ้นอีก



    ฉะนั้น ในเวลาต่อมา เราจึงไม่ประมาท พยายามปฏิบัติให้ดียิ่งขึ้น ครั้นแล้วเราก็กำหนดเห็นแสงสว่างได้ด้วยและเห็นรูปทั้งหลายได้ด้วย แต่จะอยู่ในสมาธิเจรจาไต่ถามกับเทวดาทั้งหลายยังไม่ได้ (กล่าวคือ พอจะถามอะไรกับเทวดา สมาธิก็ถอยออกมา แสงสว่างก็หายไป รูปของเทวดาก็หายไป) เราจึงได้เกิดความคิดว่า ถ้าหากเราจะพึงกำหนดเห็นแสงสว่างได้ด้วย เห็นรูปเทวดาทั้งหลายได้ด้วยและอยู่ในสมาธิเจรจาไต่ถามกับเทวดาทั้งหลายได้ด้วย ญาณทัสสนะอันนี้ของเราก็จะพึงบริสุทธิ์ยิ่งขึ้นอีก



    ฉะนั้น ในเวลาต่อมา เราจึงไม่ประมาท พยายามปฏิบัติให้ดียิ่งขึ้น ครั้นแล้วเราก็กำหนดเห็นแสงสว่างได้ด้วยและเห็นรูปทั้งหลายได้ด้วย และอยู่ในสมาธิเจรจาไต่ถามกับเทวดาทั้งหลายได้ด้วย แต่เราไม่รู้ว่าเทวดาองค์นั้นองค์นี้มาจากเทพนิกายไหน เราจึงได้เกิดความคิดว่า ถ้าหากเราจะพึงรู้ว่าเทวดาองค์นั้นองค์นี้มาจากเทพนิกายนั้นนิกายนี้ ญาณทัสสนะของเราอันนี้ก็จะพึงบริสุทธิ์ยิ่งขึ้นอีก



    ฉะนั้น ในเวลาต่อมา เราจึงไม่ประมาท พยายามปฏิบัติให้ดียิ่งขึ้น ครั้นแล้วเราก็รู้จักเทวดาทั้งหลายว่าเทวดาองค์นั้นองค์นี้ มาจากเทพนิกายนั้นเทพนิกายนี้ แต่ยังไม่รู้ว่าเทวดาองค์นั้นองค์นี้จุติจากที่นั้นหรือที่นี้แล้วจะไปเกิดในที่ไหน และด้วยวิบากของกรรมอะไร



    ครั้นแล้วต่อมา เราก็รู้ว่า เทวดาองค์นั้นองค์นี้จุติจากที่นั้นหรือที่นี้แล้วจะไปเกิดในที่ไหนด้วยวิบากของกรรมอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ไม่รู้ว่าเทวดาแต่ละองค์มีอาหารอย่างไรเสวยสุขและทุกข์อย่างไร



    ครั้นแล้วต่อมา เราก็รู้ว่า เทวดาองค์นั้นองค์นี้ มีอาหารอย่างนั้นอย่างนี้เสวยสุขและทุกข์อย่างนั้นอย่างนี้ แต่ไม่รู้ว่าเทวดาแต่ละองค์โดยปกติมีอายุยืนนานเท่าไร



    ครั้นแล้วต่อมา เราก็รู้ว่า เทวดาองค์นั้นองค์นี้ มีอายุยืนนานเท่านั้นเท่านี้ แต่ไม่รู้ว่า เราได้เคยอยู่ร่วมกับเทวดาเหล่านั้นในครั้งก่อนหรือไม่ เราจึงได้เกิดความคิดว่า ถ้าหากเราจะพึงรู้ว่า เราได้เคยอยู่ร่วมกับเทวดาเหล่านี้ในครั้งก่อนด้วยหรือไม่ ญาณทัสสนะอันนี้ของเราก็จะพึงบริสุทธิ์ยิ่งขึ้นอีก



    ฉะนั้น ในเวลาต่อมา เราจึงไม่ประมาท พยายามปฏิบัติให้ดียิ่งขึ้น



    **** ปริวัฏ ๘ ****


    ๑. ครั้นแล้วเราก็กำหนดเห็นแสงสว่างได้

    ๒. เห็นรูปทั้งหลายได้

    ๓. อยู่ในสมาธิเจรจาไต่ถามกับเทวดาทั้งหลายได้

    ๔. รู้ว่า เทวดาองค์นั้นองค์นี้ มาจากเทพนิกายนั้นเทพนิกายนี้

    ๕. รู้ว่า เทวดาองค์นั้นองค์นี้จุติจากที่นั้นหรือที่นี้แล้วจะไปเกิดในที่ไหนด้วยวิบากของกรรมอย่างนั้นอย่างนี้

    ๖.รู้ว่า เทวดาองค์นั้นองค์นี้ มีอาหารอย่างนั้นอย่างนี้ เสวยสุขและทุกข์อย่างนั้นอย่างนี้

    ๗. รู้ว่า เทวดาองค์นั้นองค์นี้ มีอายุยืนนานเท่านั้นเท่านี้

    ๘. รู้ว่า เราได้เคยอยู่ร่วมกับเทวดาเหล่านี้ในครั้งก่อนด้วยหรือไม่



    ภิกษุทั้งหลาย อธิเทวญาณทัสสนะ ซึ่งมีปริวัฏ ๘ ของเรา ถ้ายังไม่บริสุทธิ์ดีเพียงใด เราก็ไม่ปฏิญญาว่าเราได้บรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลกนี้ ในเทวโลก ในมารโลก ในพรหมโลก ในหมู่ประชา ซึ่งมีทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย แต่เพราะเหตุที่อธิเทวญาณทัสสนะ ซึ่งมีปริวัฏ ๘ ของเราบริสุทธิ์ดีแล้ว ฉะนั้นเราจึงได้ปฏิญญาว่าเราได้บรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลกนี้ ในเทวโลก ในมารโลก ในพรหมโลก ในหมู่ประชา ซึ่งมีทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย และญาณทัสสนะได้บังเกิดแก่เราด้วยว่า ใจของเราได้หลุดพ้นแล้วโดยเด็ดขาด ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย แต่นี้ต่อไป การเกิดใหม่ไม่มีอีก"

    (อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต ๒๓/๖๔/๒๕๐ มจร./๓๑๑ มมร./๓๒๖ ศน.)



    >>> คำว่า อธิเทวญาณทัสสนะ นั้นแปลว่า การรู้การเห็นเทวดาทั้งหลายอันสูงสุด หรือจะแปลตามตัวว่า ญาณทัสสนะที่เป็นไปทับซึ่งเทวดาทั้งหลาย หมายความว่า ญาณทัสสนะอันนี้สูงกว่าเทวดาทั้งหมด หรืออีกนัยหนึ่ง แปลว่า ญาณทัสสนะ อันนี้สามารถที่จะรู้และเห็นแม้กระทั่งเทวดาชั้นสูงสุด



    >>> ขอให้สังเกตว่า พระพุทธเจ้าเห็นพวกเทวดาเหล่านี้ได้ ก็เพราะพระองค์เข้าสมาธิไปแล้วมีแสงสว่างเกิดขึ้นในใจ ซึ่งแสงสว่างที่ปรากฏในใจนี้สว่างมากเหมือนกับแสงสว่างในเวลากลางวันทีเดียว จึงจะสามารถเห็นเทวดาทั้งหลาย ดังที่พระองค์ได้ตรัสไว้ว่า :-


    ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมกำหนดแสงสว่างไว้ในใจ (อาโลกสญฺญํ มนสิกโรติ) และอธิษฐานให้สว่างเหมือนกลางวัน (ทิวาสญฺญํ อธิฏฺฐาติ) เธอพยายามทำอยู่อย่างนั้น ทั้งกลางวันและกลางคืน กลางวันทำได้อย่างไร กลางคืนก็ทำได้อย่างนั้น หรือกลางคืนทำได้อย่างไร กลางวันก็ทำได้อย่างนั้น เธอมีใจสงบ ไม่มีนิวรณ์หุ้มห่อ ทำใจอันประกอบด้วยแสงสว่างให้เกิดขึ้น (สปฺปภาสํ จิตตํ ภาเวติ) ภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนาอย่างนี้แลที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อการได้ญาณทัสสนะ


    (อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ๒๑/๔๑/๕๐ มจร./๕๗ มมร./๖๑-๒ ศน.)



    >>> จากหลักฐานที่อ้างมานี้จะเห็นว่า ใครก็ตามในเมื่อสามารถเข้าสมาธิไปแล้ว มีแสงสว่างเกิดขึ้นในใจและสว่างมากเหมือนกับแสงสว่างในเวลากลางวัน พร้อมทั้งมีความชำนาญ คือทำได้เช่นนี้เสมอไม่ว่าจะเป็นเวลากลางวันหรือกลางคืน คือเมื่อเข้าสมาธิไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเวลาไหนทั้งที่หลับตาแล้วมืดไม่เห็นอะไรเลยแต่ในใจไม่ได้มืดเพราะมีแสงสว่างเกิดขึ้น และสว่างมากด้วย เพราะมีแสงสว่างซึ่งเกิดจากใจที่เป็นสมาธิอย่างสูง ด้วยแสงสว่างอันนี้จึงสามารถมองเห็นสิ่งต่างๆ ที่ตาธรรมดามองไม่เห็น เช่น อย่างพวกโอปปาติกะ(กายละเอียด) หรือสิ่งต่างๆ ในโลกของโอปปาติกะ ก็สามารถมองเห็นได้ แต่ขอบเขตของการเห็นนี้อาจจะไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกำลังของสมาธิว่ามีมากน้อยแค่ไหน ดังเช่น ที่พระองค์ได้ตรัสกับพระอนุรุทธว่า :-



    "อนุรุทธ สมัยใดสมาธิของเราน้อย สมัยนั้นจักษุของเราก็น้อย เมื่อจักษุน้อยเราก็กำหนดเห็นแสงสว่างได้น้อย และเห็นรูปได้น้อย แต่ถ้าสมัยใด สมาธิของเรามาก สมัยนั้นจักษุของเราก็มาก เมื่อจักษุมากเราก็กำหนดเห็นแสงสว่างได้มาก และเห็นรูปได้มาก เป็นอยู่อย่างนี้ตลอดคืนบ้าง ตลอดวันบ้าง ตลอดทั้งคืนทั้งวันบ้าง"


    (มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ ๑๔/๒๔๓ มจร./๓๐๘-๙ มมร./๒๘๑ ศน.)



    >>> จากหลักฐานที่ยกมาให้เห็นนี้ ถ้าจะมีใครปฏิเสธหรือไม่ยอมรับว่า การฝึกสมาธิโดยใช้แสงสว่างเป็นนิมิตนั้น พระพุทธเจ้าก็ทรงปฏิบัติและได้บรรลุผลคือเกิดญาณทัสสนะ สามารถเห็นรูปเห็นเทวดาต่างๆ การเห็นรูปเห็นเทวดาต่างๆ ได้นั้น แสดงให้เห็นว่าการฝึกสมาธิให้เกิดแสงสว่างในใจ รูปที่เห็นมิใช่ "นิมิต" แต่เป็นสิ่งที่เกิดจากญาณทัสสนะอันละเอียด และสิ่งที่เห็นเป็น "ของจริง" เช่น เรื่องเทวดาที่พระพุทธองค์ทรงเห็นและทรงพิจารณา อธิเทวญาณทัสสนะ ซึ่งมีปริวัฏ ๘ จนบริสุทธิ์ดีแล้ว จึงทรงได้ปฏิญญาว่าพระองค์ได้บรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว



    >>> หรือท่านจะมีข้ออ้างอย่างอื่นนอกจากนี้ อย่างไรก็ตาม ก็ขอได้โปรดคิดให้รอบคอบ เว้นไว้แต่ท่านจะไม่ยอมรับว่า เรื่องที่อ้างนี้เป็นพุทธพจน์ พระพุทธเจ้าไม่ได้ตรัสไว้ ถ้าอย่างนี้ก็เลิกพูดกันเพราะไม่มีประโยชน์อะไร ที่จะถกเถียงกับบุคคลผู้ซึ่งมีนิสัยเข้าในลักษณะที่ว่า "สิ่งใดชอบใจฉัน ฉันเห็นด้วย สิ่งใดไม่ชอบใจฉัน ฉันไม่เห็นด้วย หรือสิ่งใดลงรอยกับเรื่องที่เคยรู้ เคยเชื่อ ก็ยอมรับ ถ้าไม่ลงรอยหรือขัดกับเรื่องที่เคยรู้เคยเชื่อ ก็หาทางปฏิเสธ"



    ขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆ ขึ้นไป...
    [​IMG]
     
  6. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    ธรรมกายในพระไตรปิฎก

    (๑) พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า พระองค์เป็นธรรมกาย
    “ตถาคตสฺส เหตํ วาเสฏฺฐา อธิวจนํ ธมฺมกาโย อิติปิ พฺรหฺมกาโย อิติปิ ธมฺมภูโต อิติปิ พฺรหฺมภูโต อิติปิ”

    “วาเสฏฐะและภารทวาชะ คำว่า ธรรมกาย ก็ดี พรหมกาย ก็ดี
    ธรรมภูต ก็ดี พรหมภูต ก็ดี เป็นชื่อของตถาคต”

    ที.ปา.11/55/92


    (๒) พระแม่น้ามหาปชาบดีโคตมี ผู้เป็นพระอรหันต์ แสดงว่าตนเป็นธรรมกาย
    “อหํ สุคต เต มาตา
    สทฺธมฺมสุขโท นาถ
    สํวทฺธิโตยํ สุคต
    อานนฺทิโย ธมฺมกาโย
    มุหุตฺตํ ตณฺหาสมนํ
    ตยาหํ สนฺตมจฺจนฺตํ
    พนฺธนารกฺขเน มยฺหํ ตุวํ ธีร ปิตา มม
    ตยา ชาตมฺหิ โคตม.
    รูปกาโย มยา ตว
    มม สํวทฺธิโต ตยา.
    ขีรํ ตฺวํ ปายิโต มยา
    ธมฺมขีรมฺปิ ปายิตา.
    อนโณ ตฺวํ มหามุเน.”

    “ข้าแต่พระสุคตเจ้า หม่อมฉันเป็นมารดาของพระองค์
    ข้าแต่พระธีรเจ้า พระองค์เป็นพระบิดาของหม่อมฉัน
    ข้าแต่พระโลกนาถ พระองค์เป็นผู้ประทานความสุขอันเกิดจากพระสัทธรรมให้หม่อมฉัน
    ข้าแต่พระโคดม หม่อมฉันเป็นผู้อันพระองค์ให้เกิด.
    ข้าแต่พระสุคตเจ้า รูปกายของพระองค์นี้ อันหม่อมฉันทำให้เจริญเติบโต.
    ธรรมกาย อันน่าเพลิดเพลินของหม่อมฉัน อันพระองค์ทำให้เจริญเติบโตแล้ว.
    หม่อมฉันให้พระองค์ดูดดื่มน้ำนมอันระงับเสียได้ซึ่งความอยากชั่วครู่ แม้น้ำนมคือพระสัทธรรมอันสงบระงับล่วงส่วน พระองค์ก็ให้หม่อมฉันดูดดื่มแล้ว.
    ข้าแต่พระมหามุนี ในการผูกมัดและรักษา พระองค์ชื่อว่ามิได้เป็นหนี้หม่อมฉัน.”

    ขุ.อป.๓๓/๑๕๓/๒๘๔


    (๓) พระสรภังคเถระ ผู้เป็นพระอรหันต์ กล่าวถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ว่า ทรงอุบัติเป็นธรรมกาย ผู้คงที่
    “เมื่อก่อนเราผู้ชื่อว่าสรภังคะ ไม่เคยได้เห็นโรคคืออุปาทานขันธ์ ๕ ได้ครบบริบูรณ์ทั้งสิ้น. โรคนั้นอันเราผู้ทำตามพระดำรัสของพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ ได้เห็นแล้ว. พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า พระวิปัสสี พระสิขี พระเวสสภู พระกกุสันโธ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ ได้เสด็จไปแล้วโดยทางใดแล พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโคดมก็ได้เสด็จไปแล้วโดยทางนั้น. พระพุทธเจ้า ๗ พระองค์นี้ ทรงปราศจากตัณหา ไม่ทรงถือมั่น ทรงหยั่งถึงความสิ้นกิเลส เสด็จอุบัติแท้โดย ** ธรรมกาย ผู้คงที่ ทรงเอ็นดูอนุเคราะห์สัตว์ทั้งหลาย ได้ทรงแสดงธรรมคืออริยสัจ ๔ อันได้แก่ ทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ทางเป็นที่สิ้นทุกข์ เป็นทางไม่เป็นไปแห่งทุกข์ อันไม่มีที่สุดในสงสาร เพราะกายนี้แตกและเพราะความสิ้นชีวิตนี้ การเกิดในภพใหม่อย่างอื่นมิได้มี. เราเป็นผู้หลุดพ้นแล้วจากสรรพกิเลสและภพทั้งปวง.”
    (๔) ตรัสว่าพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย มีธรรมกายมาก
    ได้ตรัสแก่พระอานนท์เวเทหมุนี ซึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค เมื่อประทับอยู่ในวิหารเชตวันว่า “ได้ทราบว่า พระปัจเจกสัมมาสัมพุทธเจ้ามีจริงหรือ เพราะเหตุไร ท่านเหล่านั้นจึงได้เป็นพระปัจเจกสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นปราชญ์ ?” ว่า

    “วิสุทฺธสีลา ... มหนฺตธมฺมา พหุธมฺมกายา ...”

    “นักปราชญ์เหล่าใด มีศีลบริสุทธิ์ มีปัญญาหมดจดดี มีจิตตั้งมั่น ประกอบความเพียร เจริญวิปัสสนา... ไม่บรรลุความเป็นสาวกในพระศาสนาของพระชินเจ้า (นักปราชญ์เหล่านั้นย่อมเป็นสยัมภูปัจเจกชินเจ้า) มีธรรมใหญ่ มีธรรมกายมาก...”

    ขุ.อป.๓๒/๒/๒๐


    (๕) กล่าวถึงผู้ที่ได้เห็นธรรมกาย ย่อมปราบปลื้มยินดี
    "ธมฺมกายญฺจ ทีเปนฺติ เกวลํ รตนากรํ วิโกเปตํ น สกฺโกนฺตี โก ทิสฺวา นปฺปสิทติฯ"

    "บุคคลใดยังธรรมกายให้สว่างแล้วทั้งสิ้น อันเป็นบ่อเกิดแห่งรัตนะทั้งหลาย อันบุคคลทั้งหลายไม่มีผู้ใดจะทำร้ายได้ ใครเล่าเมื่อเห็นแล้วจะไม่ปลาบปลื้มยินดีนั้นไม่มี"

    ขุ.อป.๓๒/๑๓๙/๒๔๓



    คำอธิบายเพิ่มเติม...


    อานาปนัสสติ ผู้ฝึกธรรมกายสามารถฝึกได้ทุกคน เพราะเป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้เห็นพระธรรมกายนั่นเอง แม้แต่กัมมัฏฐานทั้ง ๔๐ วิธี ที่พระพุทธเจ้ารับรองก็สามารถฝึกเพื่อเข้าถึงพระธรรมกายได้ทั้งหมด อย่าสับสนระหว่างการฝึกอานาปานัสสติ กับการฝึกเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกาย เพราะผู้ฝึกแบบอานาปานัสสติก็สามารถเข้าถึงพระธรรมกายได้เช่นกัน

    ขอเรียนว่าเรื่องอานาปานัสสติที่พระพุทธเจ้าทรงสอนนั้น เป็นเรื่องเดียวกับฐานของใจทั้ง 7 ฐาน คืออย่างนี้ครับ

    หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านก็ปฏิบัติแบบอาณาปานัสสติ คือกำหนดลมหายใจเข้าออก เมื่อท่านปฏิบัติจริงจังโดยอธิษฐานขอเอาชีวิตเข้าแลก ณ วัดโบสถ์บน บางคูเวียง หลวงพ่อฯก็ใช้วิธีแบบอาณาปานัสสติ แต่มีช่วงนึงลมหายใจเข้ากับลมหายใจออกยาวเท่ากัน ก็จะเห็นดวงปฐมมรรคแวบนึง เป็นอย่างนี้อยู่หลายครา หลวงพ่อจึงไม่เอาใจวิ่งเข้าวิ่งออกตามลมหายใจอีก โดยเอาใจนิ่งที่ดวงที่เห็นอย่างเดียว และในที่สุดหลวงพ่อเห็นจุดเล็กใสเท่าปลายเข็มกลางดวงใส แล้วจึงเห็นวิชชาความรู้ต่างๆ ขึ้นมา

    ซึ่งเมื่อมาเปรียบโดยหลักวิชชาแล้ว อานาปานัสสติคือการกำหนดลมหายใจเข้าออกนี้ ลมหายใจวิ่งเข้าวิ่งออกครบทั้ง 7 ฐานทุกครั้ง หลวงพ่อฯจึงได้ความรู้เพิ่มอีกว่า ทั้ง 7 ฐานนี่ เป็นทางไปเกิดมาเกิดของสัตว์ดโลกด้วย เป็นที่หลับที่ตื่นของสัตว์โลกด้วย หลวงพ่อท่านจึงใช้ฐานที่ตั้งถึง 7 ฐาน จะเรียกว่าฐานของลมหายใจ 7 ฐานก็ได้ ถามว่าทำไมไม่มีบัญญัติไว้ในสมัยพุทธกาล เพราะเหตุว่าการกำหนดอานาปานัสสติครอบคลุมเรื่องฐานของใจทั้ง 7 ฐานอยู่แล้ว เพียงแต่ยุคนี้หลวงพ่อท่านทำให้ชัดเจนขึ้น และแทนที่หลวงพ่อจะสอนแบบกำหนดลมหายใจแบบอาณาปานัสสติ หลวงพ่อก็มาสอนแบบอาโลกสิณ(กสิณแสงสว่าง) และแสดงทางเดินของใจถึง 7 ฐาน เพราะเหมาะกับคนทุกจริตนั่นเอง

    โดยหลักการบำเพ็ญภาวนานั้นต้องมีองค์ประกอบ 3 อย่าง คือบริกรรมนิมิต บริกรรมภาวนา และที่ตั้งของใจ ถ้าเป็นอานาปานัสสติ บริกรรมนิมิต คือ ลมหายใจ บริกรรมภาวนาจะเป็นอะไรก็ได้ เช่น พุทโธ ที่ตั้งของใจก็คือลมวิ่งเข้าวิ่งออก ลมวิ่งออกจากจุดไหน ลมวิ่งเข้ามาถึงจึดไหน นั่นก็คือที่ตั้งของใจนั่นเอง ในกาลก่อนมีพระอริยสงฆ์หลายท่านก็ปฏิบัติแบบอาณาปานัสสติจนเห็นดวงปฐมมรรคเช่นกัน เช่น สมเด็จโตฯ ครูบาศรีวิชัย หลวงปู่มั่น ฯลฯ เพียงแต่ท่านปฏิบัติได้แล้วท่านก็ไปกำหนดจิตตรงว่างใสในดวงนั้น ก็ส่งผลให้รู้เห็นอะไรต่ออะไรได้ด้วยญาณทัสสนะ เพียงแต่หลวงพ่อวัดปากน้ำโชคดีกว่าตรงที่หลวงพ่อ เข้ากลางของกลางได้ เพราะหลวงพ่อละจากดวงใสแรก โดยเข้ากลางของกลางจนไปเห็นเรื่องกายในกาย

    จึงขอให้เข้าใจเถิดว่า อานาปานัสสตินั่นแหละที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ไม่ผิด สามารถเห็นกายในกายได้เหมือนกัน พระพุทธเจ้าเพียงเป็นผู้บอกทาง เมื่อเราปฏิบัติแล้ว ผลจะเกิดกับเราเอง
    ******
     
  7. นโมโพธิสัตโต

    นโมโพธิสัตโต ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ผู้ดูแลเว็บบอร์ด สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,157
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +29,709
    รอสักนิด เครื่องคอมฯไม่ค่อยดี แล้วจะมาคุยด้วยครับ
     
  8. นโมโพธิสัตโต

    นโมโพธิสัตโต ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ผู้ดูแลเว็บบอร์ด สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,157
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +29,709
    ตั้งกระทู้ไว้หลายที่เหลือเกิน รบกวนรวมไว้ที่เดียวได้ไหมครับ จะได้ถาม-ตอบ

    กันเป็นเรื่องๆไป ทีละประเด็น ท่านอื่นจะได้ไม่ต้องตามเปิดดูหลายที่

    และเนื้อหาที่ตอบจะได้ต่อเนื่องกัน
     
  9. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    ท่านใดต้องการความชัดเจนเกี่ยวกับวิชชาธรรมกาย ทุกเรื่อง ทุกอย่าง เชิญศึกษาได้ที่เว็ปนี้ครับ

    http://kayadham.org/


    [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...