ธรรมวินัย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย รสมน, 29 มีนาคม 2010.

  1. รสมน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,451
    ค่าพลัง:
    +2,047
    ธัมมานุสสติ หมายความว่า การระลึกถึงคุณของพระธรรม มี สวากขาโต เป็นต้น อยู่เนืองๆ องค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิกที่ในมหากุศลจิต ที่มีคุณของพระธรรมเป็นอารมณ์ ธรรม หมายถึง ความดับ( นิพพาน) หรือข้อปฏิบัติอันเป็นเหตุให้บรรลุถึงนิพพาน การทาลายกิจกรรมทุกอย่าง การละกิเลสทุกอย่าง การกาจัดตัณหา ความเป็นผู้บริสุทธิ์และสงบ ข้อปฏิบัติที่นาไปสู่ความดับ ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘ วิธีการปฏิบัติ ผู้ปฏิบัติต้องมีความสงบนิ่งอยู่กับการระลึก มีความตระหนักรู้คุณของพระธรรม เข้าใจในความหมายของธรรมคุณนั้นๆ ด้วย ไปสู่สถานที่สงัด รักษาจิตไว้ไม่ให้ถูกรบกวน ธัมมานุสสติ มี ๖ ประการ จะระลึกเป็นภาษาบาลี หรือ ภาษาไทยก็ได้ ระลึกดังนี้ว่า :-
    สวากขาโต ภควตา ธัมโม , สันทิฏฐิโก , อกาลิโก , เอหิปัสสิโก , โอปนยิโก , ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ ฯ ระลึกเป็นภาษาไทยว่า :- พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว เป็นสิ่งที่บุคคลพึงเห็นได้ด้วยตนเอง ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา ควรเชื้อเชิญให้มาดู ควรน้อมเข้ามาใส่ตน อันวิญญูชนทั้งหลายพึงรู้ได้เฉพาะตน พระธรรมคุณประการที่ ๑ พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว (สวากขาโต ภควตา ธัมโม) เพราะพระธรรมนั้นเว้นที่สุดโต่งทั้ง ๒ ไม่มีความขัดแย้งกันในพระธรรม และพระธรรมนั้นประกอบด้วยความดี พระธรรมนั้นปราศจากข้อเสียโดยสิ้นเชิง พระธรรมนั้นย่อมนาสัตว์ทั้งหลายไปสู่ความดับ(นิพพาน) พระธรรมคุณประการที่ ๒ เป็นสิ่งที่บุคคลพึงเห็นได้ด้วยตนเอง (สันทิฏฐิโก) เพราะว่าผู้ปฏิบัติธรรมสามารถบรรลุมรรคและผลได้ตามลาดับ เพราะบุคคลย่อมเห็นแจ้งพระนิพพานและมรรคผล พระธรรมคุณประการที่ ๓ ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา (อกาลิโก) คือ ผลย่อมเกิดขึ้น โดยไม่มีการรอเวลา พระธรรมคุณประการที่ ๔ ควรเชื้อเชิญให้มาดู (เอหิปัสสิโก) พระธรรม ๙ อย่าง มีมรรค ๔ ผล ๔ และนิพพาน ๑ เป็นธรรมที่ควรแก่การเชื้อเชิญชนทั้งหลายให้มาชมได้ โดยกล่าวคาว่า ท่านจงมาดูเถิด มาเเลดูคุณค่าของพระธรรม พระธรรมคุณประการที่ ๕ ควรน้อมเข้ามาใส่ตน (โอปนยิโก) พระธรรม ๙ อย่าง มีมรรค ๔ ผล ๔ และนิพพาน ๑ เป็นธรรมที่ควรยึดหน่วงให้มาปรากฏแก่ใจ แม้ที่สุดจะถูกไฟไหม้ศีรษะ ก็มิยอมที่จะทาการดับไฟนั้น โดยเหตุว่า ธรรมเหล่านี้เมื่อปรากฏขึ้นแล้วเพียงครั้งเดียวก็สามารถปิดประตูอบายได้ พระธรรมคุณประการที่ ๖ อันวิญญูชนทั้งหลายพึงรู้ได้เฉพาะตน (ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ) ถ้าบุคคลยอมรับพระธรรมนั้น ไม่ยอมรับลัทธิอื่น เขาย่อมทาความรู้ในนิโรธให้เกิดขึ้น ย่อมทาพระนิพพานให้เกิดขึ้น ทาความรู้ในวิมุตติให้เกิดขึ้น
    ผู้ปฏิบัติระลึกถึงพระธรรม โดยวิธีอื่นๆ ได้อีกดังนี้ คือ พระธรรมนั้นเป็นดวงตา เป็นความรู้ เป็นความสงบ เป็นหนทางที่นาไปสู่อมตะ (นิพพาน) พระธรรมนั้นเป็นการหลีกออก เป็นเครื่องอานวยความสะดวกให้บรรลุถึงนิโรธ (ความดับทุกข์) เป็นหนทางสู่ทิพยภาวะ (เป็นทิพย์หรือคุณวิเศษ) เป็นการไม่ถอยกลับ เป็นสิ่งประเสริฐที่สุด เป็นความสงัด เป็นความวิเศษ พระธรรมเป็นการข้ามไปสู่ฝั่งโน้น เป็นที่พึ่ง ผู้ปฏิบัตินั้นระลึกถึงพระธรรมด้วยวิธีการเหล่านี้ โดยอาศัยคุณความดีเหล่านี้ การเจริญธัมมานุสสติได้เพียงอุปจารสมาธิเท่านั้น เพราะอารมณ์ในการเจริญมีมาก จิตจึงไม่อาจตั้งมั่นจนทาให้อัปปนาสมาธิเกิดขึ้นได้ อานิสงส์ของธัมมานุสสติเหมือนกันกับพุทธานุสสติ จบธัมมานุสสติ
    สังฆานุสสติ หมายความว่า การระลึกถึงคุณของพระสงฆ์ มี สุปฏิปันโน เป็นต้น อยู่เนืองๆ องค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิกที่ในมหากุศลจิต ที่มีคุณของพระสงฆ์เป็นอารมณ์ พระสงฆ์มี ๒ จาพวก คืออริยสงฆ์ และสมมติสงฆ์ อริยสงฆ์ คือ ท่านที่ดารงอยู่ในมรรค ๔ ผล ๔ สมมติสงฆ์ คือพระสงฆ์โดยสมมติ ได้แก่ภิกษุตั้งแต่ ๔ รูป ที่สามารถทาสังฆกรรมได้ พระสงฆ์มีคุณเพราะท่านเป็นผู้รักษาและสืบทอดคาสอนของพระพุทธเจ้า ทั้งยังเป็นบุญเขต เป็นเนื้อนาบุญของโลก วิธีการปฏิบัติ ควรไปสู่สถานที่สงัด รักษาจิตไว้ไม่ให้ถูกรบกวน พระสังฆคุณมี ๙ ประการ จะระลึกเป็นภาษาบาลี หรือ ภาษาไทยก็ได้ ระลึกดังนี้ว่า :- สุปฏิปันโน ภควโต สาวกสังโฆ , อุชุปฏิปันโน ภควโต สาวกสังโฆ , ญายปฏิปันโน ภควโต สาวกสังโฆ , สามีจิปฏิปันโน ภควโต สาวกสังโฆ ยทิทัง จัตตาริ ปุริสยุคานิ อัฏฐปุริสปุคคลา เอสะ ภควโต สาวกสังโฆ , อาหุเนยโย , ปาหุเนยโย , ทักขิเณยโย , อัญชลีกรณีโย , อนุตตรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ ฯ ระลึกเป็นภาษาไทยดังนี้ :-
    พระสังฆคุณประการที่ ๑ พระสงฆ์สาวกผู้ปฏิบัติดี (สุปฏิปันโน) หมู่พระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดี โดยปฏิปทาอันถูกต้อง เป็นข้อปฏิบัติตรง คือไม่คด ไม่โกง ไม่โค้ง เป็นการปฏิบัติที่ไกลจากกิเลส เป็นเหตุให้รู้แจ้ง พระสังฆคุณประการที่ ๒ พระสงฆ์สาวกผู้ปฏิบัติตรง (อุชุปฏิปันโน) ชื่อว่าปฏิบัติดีและปฏิบัติตรงตามปฏิปทาอันถูกต้อง เพราะเว้นทางสุดโต่งทั้ง ๒ และถือเอาทางสายกลาง ชื่อว่าปฏิบัติดีและปฏิบัติตรง เพราะปราศจากกายกรรมและวจีกรรมที่ไม่สะอาด พระสังฆคุณประการที่ ๓ พระสงฆ์สาวกผู้ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์ (ญายปฏิปันโน) พระอริยสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติมุ่งต่อพระนิพพาน อันเป็นอมตธรรม ไม่มีการปรารถนาอยากได้ภวสมบัติ และโภคสมบัติแต่อย่างใด พระสังฆคุณประการที่ ๔ พระสงฆ์สาวกผู้ปฏิบัติสมควร (สามีจิปฏิปันโน) ชื่อว่าปฏิบัติสมควร เพราะสมบูรณ์ด้วยข้อปฏิบัติที่พร้อมเพรียงกันในหมู่ภิกษุ เพราะเมื่อเห็นอานิสงส์อย่างมากแห่งคุณความดี และการเพิ่มพูนคุณความดีที่เกิดจากความสามัคคี จึงรักษาความสามัคคีนี้ไว้ ได้แก่ บุคคลเหล่านี้คือ คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ (ยทิทัง จัตตาริ ปุริสยุคานิ อัฏฐปุริสปุคคลา.....) พระอริยสงฆ์จัดได้เป็น ๔ คู่ ๘ บุคคล คือ คู่ที่ ๑ ได้แก่ โสดาปัตติมรรคบุคคล โสดาปัตติผลบุคคล คู่ที่ ๒ ได้แก่ สกทาคามิมรรคบุคคล สกทาคามิผลบุคคล คู่ที่ ๓ ได้แก่ อนาคามิมรรคบุคคล อนาคามิผลบุคคล คู่ที่ ๔ ได้แก่ อรหัตตมรรคบุคคล อรหัตตผลบุคคล พระสังฆคุณประการที่ ๕ พระสงฆ์สาวกผู้ควรแก่สักการะที่เขานามาบูชา (อาหุเนยโย) พระอริยสงฆ์สาวก ๔ คู่ ๘ บุคคลของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น สามารถให้ผลเกิดขึ้นอย่างมหาศาล ดังนั้น จึงเป็นผู้ควรรับอามิสบูชาที่เขานามา
    พระสังฆคุณประการที่ ๖ พระสงฆ์สาวกผู้ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ (ปาหุเนยโย) พระอริยสงฆ์สาวก ๔ คู่ ๘ บุคคลของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นแขกที่ประเสริฐสุดของคนทั่วโลก เพราะมีแต่ในสมัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นเท่านั้น ดังนั้น จึงเป็นผู้ที่ควรแก่การต้อนรับด้วยปัจจัย ๔ ที่เขาจัดไว้ต้อนรับ พระสังฆคุณประการที่ ๗ พระสงฆ์สาวกผู้ควรรับทักขิณาทาน (ทักขิเณยโย) พระอริยสงฆ์สาวก ๔ คู่ ๘ บุคคลของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น สามารถให้อานิสงส์ผลเกิดขึ้นตามความประสงค์ของคนทั้งหลายได้ ดังนั้น จึงควรแก่การรับทักขิณาทาน คือ การบริจาคทานของผู้มีความปรารถนาภวสมบัติ โภคสมบัติ ที่เกี่ยวกับตน หรือ คนอื่นในภพหน้า พระสังฆคุณประการที่ ๘ พระสงฆ์สาวกผู้ควรแก่การกราบไหว้ (อัญชลีกรณีโย) พระอริยสงฆ์สาวก ๔ คู่ ๘ บุคคลของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ประกอบด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา ดังนั้น จึงสมควรแก่การกระทาอัญชลีของมนุษย์ เทวดา พรหมทั้งหลาย พระสังฆคุณประการที่ ๙ พระสงฆ์สาวกผู้เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า (อนุตตรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ) พระอริยสงฆ์สาวก ๔ คู่ ๘ บุคคลของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นเนื้อนาบุญอันประเสริฐ เป็นบุญเขตที่สรรพสัตว์ทั้งหลายจะได้รับบุญ เมื่อหว่านพืชแห่งบุญลงไปบนผืนนานี้แม้เพียงเล็กน้อย แต่ก็จะได้รับผลมากมาย การเจริญสังฆานุสสติ จะพิจารณาเพียงบทใดบทหนึ่งก็ได้ จะได้บรรลุเพียงอุปจารสมาธิ อานิสงส์ของสังฆานุสสติ เช่นเดียวกับ พุทธานุสสติ และธัมมานุสสติ จบสังฆานุสสติ
    สีลานุสสติ หมายความว่า การระลึกถึงความบริสุทธิ์ของศีลที่ตนรักษาไว้ โดยศีลนั้นไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย ต้องเป็นศีลที่บริสุทธิ์ ไม่แปดเปื้อนด้วยมลทิน เป็นศีลที่ผู้รักษา รักษาด้วยใจบริสุทธิ์ ไม่ได้มุ่งโลกียสมบัติ ไม่ได้เป็นทาสของตัณหา องค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิกที่ในมหากุศลจิต ที่มีการเว้น การรักษา ในศีลนั้นๆ
    การเจริญสีลานุสสตินี้ ผู้เจริญจะต้องมีความประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักทั้ง ๕ ประการเสียก่อน คือ
    ๑. จะต้องชาระศีลของตนให้สะอาด หมดจด ครบบริบูรณ์
    ๒. จะต้องมีจิตใจพ้นไปจากความเป็นทาสแห่งตัณหา คือ การรักษาศีลที่ไม่มีความมุ่งหวังต่อโลกียสมบัติ
    ๓. มีการปฏิบัติกาย วาจา ให้ตั้งอยู่ในศีลอย่างเคร่งครัด จนมิอาจที่ผู้ใดผู้หนึ่งจะมาจับผิดโดยอ้างวัตถุขึ้นแสดงเป็นหลักฐานได้
    ๔. ความประพฤติด้วยกาย วาจา ของตนนั้น แม้ว่าคนอันธพาลและผู้ที่เป็นศัตรูแก่ตนจะไม่มีความเห็นชอบด้วยก็ตาม แต่วิญญูชนทั้งหลายย่อมสรรเสริญ
    ๕. ต้องประกอบด้วยความรู้ว่า ศีลนี้เป็นเหตุทาให้อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ มรรคสมาธิ ผลสมาธิ เกิดขึ้นได้
    เมื่อความประพฤติปฏิบัติของตนถูกต้องตรงตามหลักทั้ง ๕ ประการนี้แล้วก็ลงมือทาการระลึกไปในศีล ระลึกเป็นภาษาบาลี ดังนี้ :- อโห เม วต สีลัง เห อขัณฑัง อฉิททัง หเว อสพลัง อกัมมาสัง ภุชิสสัง อปรามสัง ปสัฏฐัง สัพพวิญญูหิ สมาธิ สังวัตตนกัง ฯ ระลึกเป็นภาษาไทยดังนี้ :- ศีลของเรานี้บริสุทธิ์ดีน่าปลื้มใจจริงหนอ ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย โดยแน่นอน ศีลของเรานี้บริสุทธิ์ ทาให้เราพ้นไปจากการเป็นทาสของตัณหา ศีลของเรานี้มิอาจที่จะมีผู้มากล่าวหาได้ ศีลของเรานี้คนอันธพาลและผู้ที่เป็นศัตรูกับเราจะไม่มีการเห็นดีด้วยก็ตาม แต่คนดีทั้งหลายย่อมสรรเสริญ ศีลของเรานี้เป็นเหตุทาให้อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ และมรรคสมาธิ ผลสมาธิ เกิดขึ้นอย่างแน่นอน 9999999999 แสดงศีลที่มีโทษ และ พ้นไปจากโทษ ศีลที่มีโทษนั้นมี ๔ อย่าง คือ ๑. ศีลขาด ศีลของคฤหัสถ์ หรือ บรรพชิตก็ตาม ที่มีสิกขาบทข้อแรกสุด หรือ ข้อท้ายสุด อย่างใดอย่างหนึ่งขาดไป อย่างนี้เรียกว่า ขัณฑสีล หรือ ศีลขาด เช่นศีล ๘ มีปาณาติปาตาเวรมณี เป็นข้อแรกสุด และมี อุจจาสยนมหาสยนาเวรมณี เป็นของท้ายสุด ๒. ศีลทะลุ ได้แก่ สิกขาบทท่ามกลาง คือ ศีลข้อที่ ๒ ถึงข้อที่ ๗ ข้อใดข้อหนึ่งขาดไป อย่างนี้เรียกว่า ฉิททสีล หรือ ศีลทะลุ
    ๓. ศีลด่าง ได้แก่ สิกขาบทท่ามกลาง คือ ศีลข้อที่ ๒ ถึงข้อที่ ๗ ขาดไป ๒ หรือ ๓ ข้อ แต่ไม่ใช่ขาดไปเป็นลาดับ (คือติดกัน) เช่น ในศีล ๘ นั้นสิกขาบทข้อที่ ๒ กับ ข้อที่ ๔ หรือข้อที่ ๒ กับข้อที่ ๖ หรือข้อที่ ๔ กับข้อที่ ๖ หรือข้อที่ ๒ ที่ ๔ กับที่ ๖ เป็นต้น เหล่านี้ขาดไป ศีลอย่างนี้เรียกว่า สพลสีล หรือ ศีลด่าง ๔. ศีลพร้อย ได้แก่ สิกขาบทท่ามกลาง คือข้อที่ ๒ ถึงข้อที่ ๗ นั้น ขาดไป ๒ หรือ ๓ หรือ ๔ ข้อติดต่อกันโดยลาดับ (ถ้าขาดไปถึง ๔ ข้อ ก็นับว่าหนัก) เช่นในศีล ๘ นั้น ข้อที่ ๒ กับข้อที่ ๓ หรือข้อที่ ๒ - ๓ - ๔ หรือข้อที่ ๒ - ๓ - ๔ - ๕ หรือ ข้อที่ ๓ - ๔ – ๕ หรือ ข้อที่ ๓ - ๔ - ๕ - ๖ เป็นต้น ถ้าขาดติดต่อกันไปโดยลาดับ ศีลอย่างนี้เรียกว่า กัมมาสสีล หรือ ศีลพร้อย
    อานิสงส์ของสีลานุสสติ คือ
    ๑. ทาให้เคารพพระพุทธ
    ๒. ทาให้เคารพพระธรรม
    ๓. ทาให้เคารพพระสงฆ์
    ๔. เอื้อเฟื้อต่อศีล คือยินดีปฏิบัติศีลอย่างถูกต้อง
    ๕. เคารพทาน
    ๖. มีสติ
    ๗. มองเห็นภัยในความผิดแม้เป็นความผิดเพียงล็กน้อย
    ๘. รักษาตนเอง
    ๙. คุ้มครองผู้อื่น
    ๑๐. ไม่มีภัยในโลกนี้
    ๑๑. ไม่มีภัยในโลกอื่น
    ๑๒. ได้รับอานิสงส์ต่างๆ อันเกิดจากการรักษาศีล เช่น เมื่อสิ้นชีวิตจะสู่สุคติ ทาให้มีโภคทรัพย์ เป็นเหตุ
    ให้มีชื่อเสียง ไม่หลงตาย แกล้วกล้าในที่ประชุมชน เป็นต้น การเจริญสีลานุสติอยู่เนืองๆ ทาให้บรรลุเพียงอุปจารสมาธิ จบสีลานุสสติ
    จาคานุสสติ หมายความว่า การระลึกถึงการบริจาคทานของตน ที่เป็นไปโดยบริสุทธิ์ ไม่โอ้อวด ไม่ตระหนี่ ไม่เอาหน้าหรือหวังชื่อเสียง เล็งเห็นคุณของการบริจาค องค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิกที่ในมหากุศลจิต ที่มีเจตนาในการบริจาคเป็นอารมณ์ การเจริญจาคานุสติ ผู้บริจาคทานต้องถึงพร้อมด้วยคุณความดี ๓ ประการ คือ ๑. วัตถุที่บริจาคทานเป็นสิ่งที่ได้มาโดยชอบ ๒. มีจิตที่ตั้งไว้ดี เป็นกุศลตั้งแต่ก่อนบริจาค ขณะบริจาค และเมื่อบริจาคแล้ว ๓. เป็นการบริจาคให้พ้นจากความตระหนี่ และตัณหา มานะ ทิฐิ เมื่อบริจาคแล้วต้องสละให้ได้ บางคนบริจาคทานไปแล้วไม่พอใจที่ผู้รับไม่ใช้ของที่ตนบริจาค หรือไม่พอใจที่ผู้รับนาของนั้นไปให้ผู้อื่นต่อ เรียกว่าสละแล้วไม่พ้น สละไม่หลุด หรือบางคนบริจาคทานแล้วไม่พอใจเพราะมีคนบริจาคมากกว่าตน หรือบริจาคทานที่ประณีตกว่าตน บริจาคโดยหวังผลตอบแทน เช่น หวังโภคสมบัติ หวังสวรรค์สมบัติ ไม่จัดเป็นจาคานุสสติ เพราะเมื่อระลึกขึ้นมาไม่เป็นการชาระจิต การบริจาคทาน ที่เป็นทานบารมี เป็นปัจจัยอุปการะ แก่บารมีอื่น เช่น ศีลบารมี เป็นต้น ทานบารมีเป็นการชาระจิตในเบื้องต้น การสละมีตั้งแต่ สละวัตถุสิ่งของ อวัยวะ เลือดเนื้อ ชีวิต ดังพระเวสสันดรเป็นแบบอย่าง ผู้ปฏิบัติเมื่อระลึกอยู่เนืองๆ ถึงการบริจาคของตน ด้วยอานาจแห่งคุณ มีความเป็นผู้มีใจปราศจากมลทินและความตระหนี่ เป็นต้น จะทาให้จิตไม่ถูกราคะ โทสะ โมหะ รบกวน การคานึงนึกถึงอย่างนี้แหละ ได้ชื่อว่าจาคานุสสติ ต่อไปก็เริ่มต้นภาวนา ระลึกเป็นภาษาบาลี ดังนี้ :- มนุสสัตตัง สุลัทธัง เม ยวาหัง จาเค สทา รโต มัจเฉรปริยุฏฐาย ปชาย วิคโต ตโต ฯ ระลึกเป็นภาษาไทยดังนี้ :- ในบรรดาคนทั้งหลาย ที่มีมัจฉริยะก่อกวนกาเริบด้วยการหวงแหนอยู่นั้น แต่เรานั้นมีความยินดีปลื้มใจอยู่แต่ในการบริจาคทาน โดยปราศจากมัจฉิรยะลงได้ การที่เราได้เกิดมาเป็นมนุษย์นี้ดีจริงหนอ . การระลึกถึงคุณแห่งการบริจาค จิตจะระลึกน้อมไปถึงคุณแห่งการบริจาคมากประการ ฌานจึงไม่ขึ้นถึงขั้นอัปปนาสมาธิ ได้เพียงอุปจารสมาธิเท่านั้น
    อานิสงส์ของจาคานุสสติ คือ
    ๑. ย่อมน้อมไปในการสละที่ยิ่ง ๆ ขึ้น
    ๒. มีอัธยาศัยไม่โลภ
    ๓. อยู่อย่างไม่มีทุกข์
    ๔. เป็นที่รักของผู้อื่น
    ๕. ไม่สะทกสะท้านในกลุ่มคน
    ๖. มากไปด้วยปีติและปราโมช
    ๗. เข้าถึงเทวโลก
    จบจาคานุสสติ
    เทวตานุสสติ หมายถึง การระลึกถึงกุศลกรรมของตน มี ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ที่ตนมี แล้วเปรียบเทียบกับเทวดาว่าเทวดาที่ได้เกิดในเทวโลกมีความบริบูรณ์ในสุขในสมบัติต่างๆ เพราะเมื่ออดีตชาติเทวดาก็ประกอบด้วย ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา แม้ตัวของเราเองก็มีคุณธรรมเหล่านั้นเช่นเดียวกัน องค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิก ที่ในมหากุศลจิต ที่มีศรัทธาเป็นต้น เป็นอารมณ์ วิธีเจริญเทวตานุสสติ จะต้องอยู่ในสถานที่เงียบเหมาะกับการปฏิบัติ และระลึกถึงความเป็นไปของเทวดาและพรหมทั้งหลายว่า ขณะที่ท่านเหล่านั้นยังเป็นมนุษย์อยู่นั้น ท่านเหล่านั้นล้วนแต่เป็นผู้ที่บริบูรณ์ด้วยธรรมอันดีงาม มีสัปปุริสรัตนะ ๗ อย่าง คือ ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา หิริ โอตตัปปะ และมี สัปปุริสธรรม ๗ คือ ศรัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ พาหุสัจจะ วิริยะ ปัญญา ด้วยกันทั้งสิ้น ฉะนั้นเมื่อตายลงก็ได้ไปบังเกิดในเทวภูมิ พรหมภูมิ ธรรมที่มีสภาพอันดีงามเหล่านี้ตนก็มีอยู่เหมือนกัน เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบดูอยู่อย่างนี้เนืองๆ แล้วก็บังเกิดความโสมนัสใจ การเจริญเทวตานุสสติมีหลายสิ่งให้ระลึกถึง ฌานจึงไม่ถึงขั้นอัปปนาสมาธิ ได้เพียงอุปจารสมาธิเท่านั้น
    อานิสงส์ของเทวตานุสติ คือ ๑. เพิ่มพูนคุณธรรม ๕ ประการ คือ - ศรัทธา มีความเชื่อในการกระทาความดี - ศีล มีความประพฤติดีทางกายวาจา - สุตะ ได้ยินได้ฟังได้ศึกษาคาสอนของพระพุทธเจ้า - จาคะ มีการบริจาค เสียสละ ให้ทาน - ปัญญา มีการเพิ่มพูนความรู้ด้วยการคิด ฟัง ภาวนา ๒. ได้รับสิ่งที่เทวดาในสวรรค์ปรารถนา ๓. เป็นสุขในการรอเสวยผลของบุญ ๔. เคารพตัวเอง ๕. เทวดาในสวรรค์นับถือ ๖. สามารถปฏิบัติสีลานุสสติ และจาคานุสสติได้ด้วย ๗. อยู่เป็นสุข ๘. ตายไปย่อมเข้าถึงเทวโลก จบเทวตานุสสติ

    เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน
    ให้อภัยทานรักษาศีล อาราธนาศีล และตั้งใจว่าจะเจริญอาโปกสิน เจริญวิปัสสนา ได้ปฏิบัติธรรมเป็นเวลานานได้ถวายข้าวพระพุทธรูป สักการะพระธาตุ ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
    ขอเชิญร่วมทำบุญบริจาคเงิน
    สร้างพระบรมธาตุเจ้าเจดีย์
    และสร้างองค์พระ
    เพื่อบรรจุในฐานพระเจดีย์
    องค์ละ ๙๙๙ บาท
    โทร ๐๘๓-๑๑๔๓๖๘๑
    ขอให้สรรพสัตว์ทั้ง 31 ภพภูมิจงบรรลุมรรคผลนิพพานเทอญ
     
  2. daruma เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    209
    ค่าพลัง:
    +533
    ขอบคุณที่นำคำสอนดีๆมาเผยแพร่เป็นวิทยาทาน
    อนุโมทนาด้วยคับ
     

แชร์หน้านี้