1. เราคือผู้รู้ธรรมชาติ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    11
    ค่าพลัง:
    +3
    อย่าเอาอะไรไปตั้งชื่อ <o>:p></o>:p>
    การปฏิบัติธรรมอย่าไปคิดทำให้หมดกิเลสหรือคิดทำความปล่อยวางหรือคิดดับทุกข์หรือคิดอยากทำให้มันได้หรือมันเป็นอะไรเกี่ยวกับเรื่องมรรคผลสูงสุดเพื่อพ้นทุกข์เป็นอันขาดเพราะทั้งหมดนั้นเป็นเพียงภาษาที่พูดเพื่อให้เข้าใจถึงหลักการปฏิบัติตั้งแต่เริ่มต้นจนจบกิจของการปฏิบัติ
    <o>:p></o>:p>
    ข้อความที่เขียนให้อ่านผ่านมาทั้งหมดนั้นท่านลองย้อนกลับไปอ่านใหม่อีกหลายเที่ยวโดยดำรงสติหรือภาษาชาวบ้านเรียกว่าอินไปกับมันหรือกลมกลืนไปกับเนื้อเรื่องที่อ่านจนเข้าใจได้ดีเสียก่อนสัก 4-5 เที่ยว<o>:p></o>:p>
    คราวนี้เอาใหม่พอตั้งใจอ่านในเที่ยวที่ 6 จากข้อความเดิมนั้นตรงนี้จะมีสัมปชัญญะคือความรู้สึกซ้อนเข้าไปที่จิตเกิดขึ้นหรือจะเรียกว่ารู้สึกตัวก็ได้
    <o>:p></o>:p>
    กล่าวคือกำลังรู้ว่าเรากำลังทำการอ่านและทำความเข้าใจและทำการปรุงแต่งเพื่อให้เกิดความเข้าใจธรรมะตัวแท้มันคือจุดนี้ผมขอใช้คำว่าคือตัวรู้สึกตัวว่าเรากำลังอ่านกำลังคิดกำลังปรุงแต่งกำลังพอใจ-ไม่พอใจชอบ-ไม่ชอบหรือฯลฯอีกมากมายมหาศาลและเมื่อจบขบวนการจากการมีทั้งสติและสัมปชัญญะเกิดขึ้นพร้อมกันในการอ่านข้อความดังกล่าวที่ผ่านมานั้นในทางบัญญัติถือว่าอ่านจบแล้วเข้าใจแล้วแต่ในโลกของความรู้สึกนึกคิดมันมิได้จบแค่นั้นใจมันคิดนึกของมันต่อไปแบบหาที่จบสิ้นมิได้ฟังดูแล้วเรื่องนี้เหมือนกับว่าใจมันเลื่อนลอยคิดฟุ้งซ่านคิดในเรื่องที่ไม่มีสาระ<o>:p></o>:p>
    ผมขอบอกท่านว่าการฟังธรรมะการอ่านหนังสือธรรมะจนเข้าใจได้ดีมีทั้งสติและสัมปชัญญะเกิดขึ้นพร้อมกันในขณะรับฟังหรือในขณะอ่านหนังสือธรรมะตรงนี้เราเข้าไปเชื่อแล้วว่าทั้งหมดนั้นมันเป็นเรื่องธรรมะจริงเรามีสติมีสัมปชัญญะดีจริงส่วนเรื่องที่จิตคิดของมันต่อไปเรื่อยโดยไม่มีเป้าหมายอะไรเลยซึ่งเรามักพูดว่าคิดกันไปเรื่อยเปื่อย
    <o>:p></o>:p>
    ผมอยากบอกว่าการฟังธรรมะที่ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะแล้วบอกว่าดีหรือการคิดเรื่อยเปื่อยแล้วบอกว่าไม่ดีนั้นเป็นเพราะเราไปให้ข้อมูลและบัญญัติในเรื่องสิ่งรู้ของจิตว่าอย่างแรกเป็นเรื่องธรรมะอย่างที่ 2 เป็นเรื่องจิตคิดฟุ้งซ่านเรื่อยเปื่อยนักปฎิบัติมักจะพอใจในอย่างแรกส่วนอย่างหลังมักไม่พอใจผมขอบอกว่าเรื่องอย่างแรกและอย่างหลังคือเรื่องเดียวกันคือเป็นเรื่องของความรู้สึกนึกคิดแต่เราไปให้มูลค่าและบัญญัติแบ่งเป็นเรื่องที่ควรรับเอาไว้และไม่ควรรับเอาไว้ดังนั้นนักปฏิบัติอย่าไปหลงดีใจว่ามีสติและสัมปชัญญะสมบูรณ์แล้วแต่ท่านจะไม่รู้สึกตัวว่าท่านกำลังพอใจกับการมีสติและสัมปชัญญะที่คมกล้าตรงนี้ท่านก็เข้าไปยึดอีกเหมือนกันคือยึดว่ามีสติและสัมปชัญญะสมบูรณ์จึงสามารถเข้าไปรับรู้สิ่งรู้ของจิตที่ผ่านการรับรู้ทางทวารทั้ง 5 ได้สมบูรณ์แบบ
    <o>:p></o>:p>
    หลักปฏิบัติที่ดีจริงควรเลิกสนใจเรื่องสติและสัมปชัญญะเพราะนี่เป็นภาษาบัญญัติพูดให้เข้าใจไม่จำเป็นต้องรักษาสติหรือสัมปชัญญะเอาไว้เพราะจริงมันก็ไม่ใช่ของจริงและก็มิใช่สติมิใช่สัมปชัญญะแต่ประการใดอย่าเอาอะไรไปเรียกไปตั้งชื่อให้มันดีกว่าผมขอยืมคำว่ารู้สึกรู้สึกที่กายรู้สึกที่ใจแบบปล่อยเอามาใช้นี่แหล่ะง่ายที่สุดเราก็จะปฏิบัติแบบนี้คือรู้มันผ่านไปถึงแม้มันจะเกิดรู้ซ้ำซากแบบเรื่องเก่าเมื่อรู้สึกแล้วมันก็ผ่านของมันไปเองโดยธรรมชาติผมขอเรียกตรงนี้ว่าเป็นการปฏิบัติแบบปล่อยสบายไม่ต้องสนใจภาษาบัญญัติหรือมูลค่าความหมายใดที่จะต้องเอาไปเทียบเคียงกับความรู้สึกที่เกิดในใจเลยสรุปก็คือปล่อยมันไปแค่นี้แหล่ะ
    <o>:p></o>:p>
    ธรรมะหรือความรู้สึกในจิตนั้นมันเกิดขึ้นทุกขณะจิตโดยธรรมชาติอยู่แล้วไม่จำเป็นต้องได้รับฟังธรรมเสียก่อนแล้วธรรมะจึงจะเกิดขึ้น
    <o>:p></o>:p>
    จิตมันไม่มีบัญญัติมันมีแต่ความรู้สึกอย่างเดียวแต่ความรู้สึกที่เกิดในจิตเมื่อจะถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดจึงต้องมีบัญญัติภาษา<o>:p></o>:p>
    โดย อาจารย์แดง กีต้าร์
     
  2. เราคือผู้รู้ธรรมชาติ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    11
    ค่าพลัง:
    +3
    ดูจิตหยุดคิดหาคำตอบ <o>:p></o>:p>
    การที่เราพยายามอธิบายหรือให้ความหมายของคำว่า“สติ”คืออะไรนั้นขบวนการแห่งความนึกคิดที่เกิดในใจที่พยายามหาคำตอบให้กับคำว่าสติคืออะไรนั้นตรงนี้มันเป็นสติของมันเองโดยธรรมชาติอยู่แล้วก็คือการที่เรามีจิตมุ่งมั่นจดจ่อที่กำลังคิดค้นหาความหมายของคำว่าสติการกระทำดังนี้เท่ากับเราเชื่อไปแล้วว่า“สติมีอยู่จริงและเป็นอะไรบางอย่างที่เราควรจะต้องเข้าถึงสติให้ได้
    <o>:p></o>:p>
    ส่วนคำว่าสัมปชัญญะนั่นผมขอใช้คำว่าคือมีความรู้สึกซ้อนเข้าไปในจิตว่าเรากำลังทำการนึกคิดพิจารณาเพื่อหาความหมายของคำว่าสตินั่นเอง
    <o>:p></o>:p>
    อุปมาง่ายก็คือสมมุติว่าเรานั่งดูละครทีวีเราอินไปกับมันสนุกไปกับมันแบบนี้เรียกว่ามีสติแต่การมีสัมปชัญญะด้วยนั้นผมหมายถึงเรารู้สึกซ้อนเข้าไปในจิตหรืออาจจะเรียกว่ามีความรู้สึกตัวว่าเรากำลังปรุงแต่งจิตดูละครด้วยความสนุกสนานตรงนี้ถ้าใครมีทั้งสติและสัมปชัญญะครบทั้ง 2 อย่างจะดีมากนั่นคือไม่ว่าจะมีการรับรู้ใดผ่านเข้ามาทางทวารทั้ง 5 คือตาหูจมูกลิ้นกายมาลงที่ใจปรุงแต่งนึกคิดเราก็มีสติรู้เท่าทันและมีสัมปชัญญะเกิดขึ้นพร้อมกันนั่นเอง
    <o>:p></o>:p>
    ทั้งหมดนี้เป็นการใช้ภาษาสมมุติเพื่อพูดให้เข้าใจอย่าไปสนใจกับคำว่า“สติสัมปชัญญะว่ามันคืออะไรมีความหมายอย่างไรหรือเกิดอยากได้ทั้ง 2 อย่างคืออยากได้ทั้งสติและสัมปชัญญะตรงนี้แหล่ะคือขบวนการแห่งความรู้สึกนึกคิดที่มันเกิดขึ้นแล้วในจิตของท่านท่านควรดูมันรู้มันเห็นมันแต่อย่าไปจัดการใดกับมันเพราะความรู้สึกนึกคิดมันเร็วมากมันเดินหน้าไปแบบไม่หยุดยั้งเปรียบเหมือนการนับตัวเลขเริ่มจากนับ 1 ไปเรื่อยไม่มีที่จบสิ้น
    <o>:p></o>:p>
    ดังนั้นนักปฏิบัติธรรมขออย่าได้สนใจใช้ภาษาบัญญัติที่ใช้อธิบายธรรมะมากเกินไปนักภาษาที่ใช้อธิบายก็เพื่อให้เกิดความเข้าใจแต่อย่าไปคิดปฏิบัติให้มันได้อะไรแบบที่เข้าใจในภาษาบัญญัตินั้นมิได้ขอให้เข้าใจตามนี้ด้วย
    <o>:p></o>:p>
    ปฏิบัติธรรมแล้วไม่ได้อะไรถ้าจะได้ได้เพียงแค่สัมผัสกับความรู้สึกนึกคิดแค่นั้นเองชีวิตนี้ก็คือความรู้สึกนึกคิดสั้นขณะหนึ่งที่เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปทุกวันนี้จึงเปรียบเหมือนว่ามิได้มีสัตว์บุคคลตัวตนใดตัวตนเราจริงที่ยึดมั่นกันนั้นก็คือรูปอันหนึ่งที่มีความรู้สึกนึกคิดเกิดขึ้นในรูปนี้นั่นเองทั้งหมดนี้เป็นการพูดให้เข้าใจแค่นั้นอย่าไปสงสัยแสวงหาคำตอบใดเลย
    <o>:p></o>:p>
    ความคิดคำนึงสงสัยความไม่แน่ใจความกังวลใจความกลุ้มใจสุขความร่าเริงความเบิกบานฯลฯทั้งหมดนี้แหล่ะคือความรู้สึกสั้นอะไรบางอย่างที่ปรากฏให้เรารับรู้ก็แค่นี้เองรู้แล้วมันก็ผ่านไปความรู้สึกดังกล่าวที่ว่ามานั้นซึ่งยังมีอีกเป็นพันล้านความรู้สึกสรุปก็คือความรู้สึกสารพัดอย่างทั้งเรื่องดี-ชั่วเรื่องบุญ-บาปเรื่องสุข-ทุกข์ความรู้สึกทั้งหมดนี้เมื่อท่านรับสัมผัสได้ในจิตนั่นแหล่ะจิตมันกำลังปฏิบัติธรรมโดยธรรมชาติอยู่แล้วเราจะมีชื่อเรียกกันว่าเป็นการปฏิบัติธรรมแบบดูจิตหรือไม่มีชื่อเรียกหรือเรียกว่าความรู้สึกฟุ้งซ่านก็ตามทั้งหมดนี้ถ้าเราดูมันรู้มันเห็นมันดูไปเรื่อยไม่ต้องคิดสรุปหาคำตอบเหตุผลใดทั้งสิ้นรู้สึกขึ้นมาเมื่อใดที่กายขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวหรือใจนึกคิดอะไรก็ตามนั่นแหล่ะท่านได้ปฏิบัติธรรมสูงสุดแล้วไม่ต้องไปสนใจว่าอันนี้เป็นสิ่งถูกรู้อันนี้เป็นผู้รู้หรืออันนี้เรียกว่าสติหรืออันนี้เรียกว่าสัมปชัญญะไม่ต้องสนใจเรามิได้ต้องการคำอธิบายใดเพื่อใช้อธิบายความรู้สึกที่เกิดขึ้นในจิตแต่เราควรรู้ตัวว่าเรากำลังมีความคิดอยากสารพัดเรื่องในการปฏิบัติธรรมแบบดูจิตขอให้เข้าใจตามนี้ด้วย<o>:p></o>:p>
    โดยอาจารย์แดง กีต้าร์
     
  3. เราคือผู้รู้ธรรมชาติ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    11
    ค่าพลัง:
    +3
    รู้ที่กายเคลื่อนไหวใจคิดนึก <o:p></o:p>
    ในขณะจิตที่เรารู้สึกได้นั้น เราจะใส่ความหมายลงไปที่ความรู้สึกในขณะจิตนั้น เช่น ความรู้สึกแบบนี้เป็นเรื่องเข้าใจ-ไม่เข้าใจ หรือเป็นเรื่องเหตุผล หรือดี-ชั่ว หรืออร่อย-ไม่อร่อย หรือสุข-ทุกข์ หรือเย็น-ร้อน มันจะมีความรู้สึกที่พูดออกมาเป็นภาษาแล้ว ได้ความหมายเป็นคำคู่ เช่น รู้สึกว่าสิ่ง นี้เป็น-ไม่เป็นอะไรบางอย่าง หรือสิ่ง นี้ดี-เลว หรือสิ่ง นี้ยาว-สั้น หรือรู้สึกว่าร้อน-เย็น มืด-สว่าง เป็นต้น ทั้งหมดนี้แหละที่จิตมันรู้สึกว่าเป็นอะไร ทั้งในส่วนที่เราชอบ หรือไม่ชอบก็ดี แต่จิตมันได้แสดงความรู้สึกเหล่านั้น ให้เราสัมผัสสั้น ในขณะหนึ่งนั้น ทั้งหมดนี้แหล่ะคือการปฏิบัติธรรมสูงสุดแล้ว เรารู้สึกได้ที่ใจ มันอยากนึกคิด หรือกายขยับเขยื้อนเคลื่อนไหว ปฏิบัติธรรมคือรู้สึกตรงนี้นี่เอง ทั้งชีวิตเราก็มีอยู่แค่นี้เอง จึงขอสรุปว่า ดูที่มันคิด แต่จงอย่าสรุปหาเหตุผลในความคิด เมื่อเข้าใจดังนี้แล้ว ก็จงเลิกขวนขวายหาอุบายในการปฎิบัติธรรมอีกสารพัดอย่าง ไม่จำเป็นต้องทำอย่างงั้นแล้ว ถ้าท่านคิดว่าท่านเข้าใจเรื่องตามดูรู้จิต ที่ผมสอนมาทั้งหมดนี้ และท่านมีปัญญาพอสมควร ก็มาปฏิบัติวิธีนี้ได้เลย โปรดอย่าลังเลสงสัยใด เลย ขอให้เจริญมาก แล้วท่านจะค่อยเข้าใจไปเอง และมันจะพัฒนาต่อมา เป็นเข้าถึงใจ เมื่อมาถึงตรงนี้แล้ว ก็รอความประจักษ์แจ้ง ที่จะปรากฏให้ท่านรับรู้ไปทีละขณะ ทีละขณะ ซึ่งท่านจะเป็นผู้รับรู้ได้เอง ขอให้เข้าใจตามนี้ด้วย
    <o:p></o:p>
    เมื่อเข้าใจดังนี้แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องถามปัญหาธรรมะใด กันต่อไป เพราะความรู้สึกอยากถามนั่นแหล่ะ คือแก่นของธรรมะ ที่ท่านควรจะมีสติรู้ทัน ว่าเรากำลังรู้สึกอยากจะถามอะไรบางอย่าง ไม่ใช่ไปพอใจในภาษาบัญญัติ ที่เปล่งเสียงถามออกมา ขบวนการตรงนี้ จิตมันจะมีจินตญาณและสร้างเป็นภาพในใจและมีความต้องการให้ผู้ตอบปัญหาธรรมะ ตอบกลับมาให้เราทราบ เมื่อเราทราบแล้ว เราก็ปรุงแต่งต่อไป ผู้ถามปัญหาธรรมะส่วนมาก มักพอใจในปลายเหตุ ก็คือส่วนที่เป็นบัญญัตินั่นเอง คือภาษาที่ท่านถามนั่นแหล่ะ และก็พอใจในความหมายที่ได้รับคำตอบกลับมา ขบวนการถามตอบปัญหาธรรมะตรงนี้ พอแยกวิเคราะห์ได้ดังนี้ <o:p></o:p>
    1. ผู้ถามไม่รู้สึกตัว ว่าตัวเองกำลังคิดอยากถาม<o:p></o:p>
    2. ผู้ถามกำลังหลงใหลไปกับคำถามที่เอ่ยปากถามออกไปแล้ว<o:p></o:p>
    3. ผู้ถามอาจเกิดความพอใจหรือไม่พอใจ/หรือเข้าใจ-ไม่เข้าใจ จากการได้รับคำตอบกลับมา ซึ่งตรงจุดนี้ ผู้ถามอาจจะไม่รู้สึกตัวเลย ว่าเรากำลังเกิดความรู้สึกอะไรบางอย่าง ตั้งแต่ตอนเริ่มต้นการเอ่ยปากถาม ตลอดจนได้รับคำตอบกลับมา เรื่องที่ผมกล่าวมานี้ ขบวนการของจิตมันจะปรุงแต่งเร็วมาก จนเราแทบไม่รู้สึกว่า เรากำลังพูดเพื่อถาม แต่เรากำลังคอยคิดจะฟังดูสิว่า ผู้ตอบปัญหาจะตอบว่าอย่างไร ขบวนการทั้งหมดนี้ ผู้ถามปัญหาธรรมะ (โดยเฉพาะเรื่องสภาวะจิต) ได้หลงใหลไปกับอารมณ์จนหมดสิ้นแล้ว ไม่มีความรู้สึกตัวเลย ว่าตัวเองกำลังคิดจะถามอะไร แต่กลับไปพอใจ ที่จ้องคิดจะเอาคำตอบ แล้วก็มาสรุปเอาเอง ว่าคำตอบที่ได้รับมานั้นเป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนี้ เข้าใจบ้าง ไม่เข้าใจบ้าง หรืออาจจะเป็นอะไรอีกสารพัดที่จิตปรุงแต่ง .แดงขอบอกว่า อย่าถามปัญหาธรรมะใด เลย เพราะว่าเมื่อได้รับคำตอบมา เราจะปรุงแต่งไม่จบสิ้น ประเด็นหลักของการปฏิบัติ เรื่องการดูจิตนั้น คือดูว่าจิตมันมีความรู้สึกอย่างไร ตลอดชีวิตนี้ ไม่ว่าจะเป็นการนั่งคิดเงียบ คนเดียวก็ดี หรือมีการับรู้ผ่านทางทวารทั้ง 5 และใจปรุงแต่งนึกคิดไปตามเรื่องที่รับรู้มาก็ดี เราควรเห็นความรู้สึกนึกคิด ว่ามันรู้สึกอย่างไรแค่นี้เอง หรือมีความรู้สึกเกิดขึ้นว่าเราอยากขยับเขยื้อนเคลื่อนไหว
    <o:p></o:p>
    สรุปก็คือ รู้สึกที่กายขยับเขยื้อนเคลื่อนไหว หรือรู้สึกที่ใจนึกคิดแค่นี้เอง ชีวิตนี้ของคนเราก็มีแค่นี้แหล่ะ ขอให้เข้าใจไว้ด้วย<o:p></o:p>
    อาจารย์แดง กีต้าร์
     
  4. เราคือผู้รู้ธรรมชาติ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    11
    ค่าพลัง:
    +3
    มารู้ที่ใจนึกคิดกันเถอะ <o:p></o:p>
    ใจจะทำหน้าที่นึกคิดปรุงแต่งทุกเรื่อง ทั้งเรื่องที่ปรุงให้เชื่อและไม่ชื่อ ดังนั้นใจจึงปรุงได้สารพัดเรื่อง ทั้งเรื่องดี เรื่องชั่ว เรื่องสุข-ทุกข์ เรื่อง ฯลฯ นี่ว่ากันตามภาษาบัญญัติ แต่ผู้มีปัญญาจะไม่หลงใหลหรือยึดมั่นถือมั่น กับการทำหน้าที่ของใจที่นึกคิดปรุงแต่งทุกเรื่อง จึงสรุปได้ว่า ผู้มีปัญญาย่อมไม่หลงอารมณ์ ไม่ยึดมั่นถือมั่นกับอารมณ์ทุกอย่าง แต่รู้เท่าทันอารมณ์ทุกอย่างแค่นี้เอง
    <o:p></o:p>
    ถ้าจะว่าไปแล้ว โดยธรรมสูงสุด ซึ่งเป็นเรื่องที่พูดออกมาแล้ว คนฟังจะเข้าใจได้ยาก หรืออาจจะไม่ยอมเข้าใจก็ได้ กล่าวคือ ใจมันเป็นของมันอย่างงั้นแหล่ะ มันมิได้ปรุงแต่อะไรเลย อุปมาเปรียบเหมือลมหรือฝน ซึ่งธรรมชาติของ 2 สิ่งนี้จะเกิดขึ้นที่ไหนเมื่อไหร่เวลาใดก็ได้ ซึ่งความจริงสถานที่หรือเวลามันก็ไม่มี
    <o:p></o:p>
    เพราะทุกอย่างเป็นบัญญัติทั้งหมดถ้าพูดออกมา สรุปแล้วทุกวันนี้มีแต่ธรรมชาติเท่านั้นที่ปรากฏให้รับรู้ แต่ผู้ขาดปัญญากลับไปหลงใหลยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นเรา เป็นของเรา เป็นสุข เป็นทุกข์ จริง ซึ่งความรู้สึกทุกอย่างที่กล่าวมานี้ ขอยืมบัญญัติมาเรียกคำเดียวคือ มันคือธรรมชาติแห่งความรู้สึกนึกคิดแค่นั้นเอง
    <o:p></o:p>
    การมองเห็นไก่ย่าง 1 ตัว ในขณะจิตแรกที่เห็น เราจะรู้ทันทีเพราะเคยถูกสอนมา หรือมีการสั่งสมมาตามบัญญัติที่ว่าไว้ว่า สิ่งที่เห็นขณะนี้คือไก่ย่าง การที่รู้สึกว่า สิ่งที่เห็นอยู่ขณะนี้เรียกว่าไก่ย่างนั้น ตรงนี้จิตปรุงด้วยความเร็วมากมาย เพราะเคยมีสัญญาว่าจำได้หมายรู้มาก่อน ว่าสิ่งที่เห็นอยู่ขณะนี้ตามสมมุติเรียกว่าไก่ย่าง แต่ในขณะจิตต่อมา จิตจะปรุงเป็นเรื่องเกี่ยวกับรายละเอียดของไก่ย่างตัวนี้ เช่น ไก่ย่างตัวโต ย่างได้เนื้อเหลืองเกรียมน่ากิน จากนั้นจิตปรุงต่อไปว่า เขาจะขายตัวละเท่าไหร่ จากนั้นจิตก็ปรุงต่อไปอีก เกิดความชอบ หรือไม่ชอบในไก่ย่างตัวนั้น หรืออาจจะปรุงอะไรต่อมิอะไร เกี่ยวกับไก่ย่างตัวนี้ อีกมากมายหลายเรื่อง .แดงขอบอกว่า เรื่องนี้สำคัญมากนะครับ ผมขออธิบายดังนี้ การมีสมมุติบัญญัติกับสิ่งที่เราเห็นในขณะจิตแรกนั้น ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นคน สัตว์ วัตถุ สิ่งของ ก็ตามแต่ ทุกอย่างล้วนแล้วแต่มีสมมุติบัญญัติ รับรู้ได้ตรงกันหมด ขอให้เข้าใจตามนี้ด้วย แต่การที่จิตปรุงต่อไป เกี่ยวกับสิ่งที่เห็นนั้น นอกจากรู้ว่ามันเป็นอะไรตามบัญญัติแล้ว จิตมันจะปรุงในรายละเอียดต่อไปอีกมากมาย เกี่ยวกับสิ่งที่เห็นอยู่ในขณะนั้น ว่ามีรูปทรงสัณฐาน กลม เหลี่ยม สูง ต่ำ สั้น ยาว หนา บาง สวย ไม่สวย หยาบ ละเอียด ชอบ ไม่ชอบ อีกมากมายมหาศาล
    <o:p></o:p>
    ทั้งหมดนี้แหละควรเห็นอาการที่จิตปรุงแต่งเกี่ยวกับเรื่องทั้งหมดนี้ด้วย ดังที่กล่าวมาแล้วว่า การเห็นสิ่ง นี้คือไก่ย่าง ที่รู้กันตามสมมุติบัญญัติ มันยังไม่สำคัญเท่ากับ ที่จิตมันปรุงต่อไปในรายละเอียด หรือเรื่องราวต่าง ที่โยงใยมาสู่ไก่ย่างตัวนี้ ซึ่งเรื่องที่ว่ามาทั้งหมดนี้ แต่ละคนจะปรุงแต่งไม่เหมือนกัน แต่การเห็นสิ่ง นี้เป็นไก่ย่างนั้น ทุกคนจะเห็นเหมือนกัน เพราะสมมุติบัญญัติบอกไว้อย่างนั้น นักปฏิบัติธรรมดูจิต ควรเห็นจิตที่มันปรุงแต่งเกี่ยวกับรายละเอียดของสิ่งที่ถูกเห็นด้วย<o:p></o:p>
    อาจารย์แดง กีต้าร์
     
  5. เราคือผู้รู้ธรรมชาติ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    11
    ค่าพลัง:
    +3
    ธรรมแท้ <o:p></o:p>
    ท่านกำลังฟัง หรืออ่านหนังสือเพื่อทำความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับธรรมะ หรือเรื่องของโลกวิทยาศาสตร์จุดใดจุดหนึ่ง ตัวอย่างเช่น อาจารย์กำลังอธิบายเรื่องอารมณ์ของคนกำลังทำสมาธิในขณะที่จิตทรงอยู่ที่ฌาณหนึ่ง จะต้องมีองค์ประกอบ 5 อย่าง ขณะที่อาจารย์อธิบายรายละเอียดอยู่นั้น เรารู้สึกว่าฟังแล้ว เข้าใจได้ดีอย่างแจ่มแจ้ง แต่บางตอนก็ยังไม่ค่อยเข้าใจเท่าใดนัก หรืออีก ตัวอย่างหนึ่ง การที่อาจารย์อธิบายเรื่องแมวไทย ว่าแมวไทยคืออะไร มีกี่สายพันธุ์ตลอดจนอธิบายเรื่องอะไร เกี่ยวกับแมวไทยให้เรารับทราบ จนเรารู้สึกว่าท่านพูดได้ละเอียดชัดเจนมาก จนเราเห็นภาพเลย เกี่ยวกับเรื่องแมวไทยทุกแง่ทุกมุม
    <o:p></o:p>
    จากกรณีศึกษา ที่ผมเล่าให้ฟังทั้งหมดนี้ นั่นเรากำลังส่งจิตนึกคิดจินตนาการตามที่อาจารย์พูดให้ฟัง โดยมีการยอมรับแบบหมอบราบคาบแก้ว เพราะเราอยากได้ความรู้เรื่องนั้นจริง ท่านเชื่อหรือไม่ ขณะที่ท่านกำลังฟังอะไรอยู่ หรืออ่านอะไร อยู่นั้น ท่านต้องทำการปรุงแต่งในใจ ด้วยความพยายามอย่างมาก ที่จะทำความเข้าใจให้ได้มากที่สุด กับเรื่องที่กำลังศึกษาอยู่ในขณะนั้น ในขณะเดียวกันนั้นเองที่ใจของท่านกำลังจดจ่อ ทำการปรุงแต่งเพื่อทำความเข้าใจ มันอาจจะมีความรู้สึกอะไร หรือมีมโนภาพเกี่ยวกับเรื่องอะไร เกิดขึ้นสลับกับการพยายามทำความเข้าใจในเนื้อหาของเรื่องนั้น ที่ท่านกำลังตั้งใจศึกษาอยู่ ที่เรารู้สึกว่ามันไม่เกี่ยวกับเรื่องที่เรากำลังศึกษาอยู่ ผมถามท่านว่าท่านเคยรู้สึกแบบนี้บ้างไหม นี่แหละธรรมแท้ มันคือตรงนี้ คือมันเป็นอะไรก็ได้ที่เกิดขึ้นในความรู้สึก มันอาจจะเกี่ยวข้องหรือไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ท่านกำลังศึกษาอยู่ก็ได้
    <o:p></o:p>
    กรณีทั้งหมดนี้ คือท่านกำลังส่งจิตมุ่งไปศึกษา เรื่องที่ท่านต้องการ คือเชื่อว่าเรื่องเหล่านี้มันมีจริง และอยากได้ข้อมูลจริง เมื่อได้สมใจอยากแล้ว มันก็เป็นเพียงความรู้สึกสั้น แว๊บหนึ่ง ที่ปรากฏให้รับรู้แล้วก็ผ่านไป<o:p></o:p>
    ประเด็นหลักที่ผมจะพูดตรงนี้ก็คือ เรื่องที่ท่านกำลังตั้งใจฟังอยู่นั้น หรืออ่านอยู่นั้น เมื่อท่านจะเข้าใจได้มากหรือน้อยก็ตาม มันไม่เกี่ยวกันแล้ว มันกลายเป็นว่า วินาทีนี้ ในขณะจิตนี้ ธรรมตัวแท้ มันได้ปรากฏให้ท่านรับรู้ในทุกขณะจิต รวมทั้ง วินาทีนี้ด้วย ว่าขณะนี้ท่านรู้สึกอย่างไรในใจ หรือรู้สึกตัวบ้างไหมว่ากายมันขยับเขยื้อนเคลื่อนไหว ซึ่งมันจะเป็นดังนี้เรื่อย จนกว่าจะตายไปจากโลกนี้
    <o:p></o:p>
    เนื้อเรื่องทั้งหมดนี้ที่ท่านอ่านมา ท่านจะเข้าใจหรือไม่ก็ตาม สมมติว่าท่านใช้เวลาอ่าน 5 นาทีจบซึ่งในช่วง 5 นาทีตรงนั้น ท่านจะเข้าใจได้แจ่มแจ้งหรือบางตอนก็ยังสงสัยอยู่ อาจารย์แดงขอบอกว่าท่านอย่าไปสนใจใด เลย อ่านแล้วก็ผ่านไปไม่ต้องท่องจำ ไม่ต้องยอมรับและก็ไม่ต้องปฏิเสธ แต่ขอให้ท่านมีสติ รู้สึกว่าใจมันนึกคิดอะไร หรือกายขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวอะไรบ้าง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ มันจะเกิดขึ้นในขณะที่ท่านกำลังอ่านอยู่ หรือฟังอะไร อยู่จนกระทั่งวินาทีสุดท้าย เมื่อท่านอ่านเรื่องนี้จบ ภายในเวลา 5 นาที
    <o:p></o:p>
    ถึงแม้ว่าในบางขณะที่ท่านไม่ได้ลงมือทำกิจกรรมใด เลย คือเป็นการพักผ่อนอยู่เฉย จิตใจของท่านบางขณะมันจะรู้สึกเหมือนกับว่าว่าง บางขณะก็รู้สึกว่า มันกำลังนึกคิดอะไรเงียบ อยู่ในใจ หรืออาจมีมโนภาพบางอย่างเกิดขึ้นในใจด้วยก็ได้ หรือบางครั้ง ถ้าท่านสังเกตดูที่ร่างกายของท่าน ท่านจะรู้สึกได้ว่ามันมีการขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวในบางส่วนของร่างกาย เช่น การกลืนน้ำลาย การเหลือบตามองหรือการกรอกตา รวมไปถึงการเอี้ยวตัวไปทางซ้ายหรือทางขวาอีกเล็กน้อย หรือบางทีก็มีการก้มหน้าหรือเงยหน้าเล็กน้อย รวมไปถึงการเหลียวซ้ายและขวาอีกเล็กน้อยเช่นกัน รวมถึงอิริยาบถย่อย อีกมากมาย ซึ่งไม่จำเป็นต้องเอ่ยชื่อในที่นี้
    <o:p></o:p>
    ถ้าท่านมีสติระลึกรู้เท่าทันในเรื่องที่ว่านี้คือ รู้ที่ใจมันนึกคิดและรู้ที่ร่างกายมันขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวถ้าท่านสามารถจับต้นทางของการรู้ที่ใจมันคิด และกายเคลื่อนไหวได้แล้ว นี่แหละคือการเจริญสติ ซึ่งเป็นการปฏิบัติธรรมตัวแท้ ขอให้ท่านทำแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่ได้มีเป้าหมายใด ในการกระทำครั้งนี้ เลิกถามปัญหาธรรมทุกเรื่องเวลาอะไรเกิดขึ้นในจิตใจ หรือเกิดความรู้สึกอะไรขึ้นมาในใจ ไม่ต้องสรุปหาเหตุผลใด ดูที่ใจอย่างเดียว ไม่ว่าท่านจะเกิดอารมณ์ความสุข ความทุกข์ หรืออารมณ์ใด ก็ตาม ทุก อารมณ์ที่เกิดขึ้นนั้นมันมิใช่เรื่องจริงหรือปลอม อย่าเอาชื่อบัญญัติอะไร ไปเรียกมันดีกว่า ขอให้ท่านรับรู้ถึงอารมณ์ตรงนั้นได้ แล้วก็ดูมันไปเฉย ถ้าท่านดูจนสามารถเข้าไปรู้เข้าไปเห็นมันได้จริง มันจะมีขบวนการอะไรบางอย่างทางจิต ซึ่งเขาจะเป็นไปเองตามธรรมชาติของเขา ซึ่งมันจะทำหน้าที่จัดการและพัฒนาการต่าง ในขณะจิตนั้น ที่ท่านสามารถรู้เท่าทันตรงจุดนั้น
    <o:p></o:p>
    หากถามว่ามีอะไรเกิดขึ้น ขอบอกว่าตอบไม่ได้ และก็สอนกันไม่ได้ด้วย เรื่องทั้งหมดนี้ ตัวท่านจะเป็นผู้สัมผัสและรับรู้ได้ด้วยตัวเอง มิใช่เรื่องคำบอกเล่าจากอาจารย์ ว่าจิตจะเป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนี้ หรือมีลำดับขึ้นตอนการพัฒนาจิต เป็นไปตามแนวอย่างนั้นหรือแนวอย่างนี้ สรุปก็คือ เรื่องสภาวะจิตตรงจุดนี้ไม่มีใครบนโลกใบนี้ สามารถนำมาอธิบายถ่ายทอดให้เห็นจริงได้ ก็มีแต่ตัวท่านเท่านั้นแหละที่เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ผู้รู้แจ้งเห็นจริงด้วยตัวของท่านเองในขณะจิตตรงนั้น นั่นเอง<o:p></o:p>
    หลักปฏิบัติที่ง่ายที่สุดในโลกของการปฏิบัติธรรมเพื่อให้เข้าถึงธรรมที่กล่าวไว้ทั้งหมดในพระไตรปิฏก หรือเพื่อเข้าถึงจุดสูงสุดคือการดับทุกข์ ดับกิเลสโดยสิ้นเชิง นั้น ต้องอาศัยวิธี “การตามดูรู้จิต” มีหลักปฏิบัติง่าย ดังนี้
    <o:p></o:p>
    “ดูที่มันคิด รู้ที่มันคิด โดยไม่ต้องสรุปหาเหตุผลใด ในความคิด ปฏิบัติเช่นนี้จนกว่าจะจบกิจการปฏิบัติธรรม โดยไม่ต้องไปถามปัญหาธรรมะใด ทั้งสิ้น หรือไม่ก็ปฏิบัติจนกว่าจะตายไปจากโลกนี้ โดยไม่ต้องกังวลใจว่า ถ้าก่อนตายมันยังไม่จบกิจ หรือว่าขณะจะตายมันไม่จบกิจ จะทำอย่างไร ท่านจะเห็นว่า เรื่องนี้เป็นประเด็นคำถามอีกแล้ว อาจารย์แดงบอกแล้วไงว่า ขอให้เลิกสงสัย หรือเลิกคิดที่จะถามปัญหาใด ทั้งสิ้น ขอให้ “ดูใจมันอย่างเดียว” จนกว่าจะตายไปจากโลกนี้<o:p></o:p>
    ผมขอเสริมในตอนท้ายให้เข้าใจดังนี้ อาจจะมีอีกหลาย ท่านสงสัยว่า ไม่สอนให้ทำสมาธิ แบบอาณาปาณสติ สอนการฝึกกสิณ 10 อย่าง เพื่อให้เกิดอภิญญาทางจิตบ้างหรืออย่างไร หรือไม่สอนเรื่องการเจริญสติปัฏฐาน 4 หรือสอนเรื่องรูปนามบ้างหรืออย่างไร อาจารย์แดงขอบอกว่า เรื่องที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ มันเป็นเรื่องธรรมปฏิบัติขั้นพื้นฐานไปถึงขั้นกลาง ที่คนทั่ว ไปชอบศึกษาเรียนรู้กัน ถ้าท่านสนใจอยากปฏิบัติดังเรื่องที่กล่าวมานี้บ้าง ก็ไม่เป็นไร เรื่องการ “ดูจิต” นี้ จะบอกว่าเป็นการปฏิบัติขั้นสูงสุด หรือขั้นง่ายที่สุดก็ว่าได้ ที่จริงแล้วผมอยากบอกว่า ธรรมะมันเป็นเรื่องเดียวกันหมด คือไม่มีอะไรง่ายที่สุดหรือยากที่สุด มันไม่มีลำดับขั้นตอน แบบขั้นต้น ขั้นกลาง ขั้นสูงหรอกครับ นั่นเรามาปรุงแต่งพูดกันเอาเอง
    <o:p></o:p>
    ถ้าพูดถึงธรรมะแล้ว มันต้องลงเอยที่เรื่องสภาวะจิตทุกเรื่อง ไม่ใช่เรื่องแบบภาษาบัญญัติหรือหลักการที่เราเข้าใจและยึดมั่นถือมั่นกันมานาน ผมขอบอกว่า เรื่องการปฏิบัติธรรมนั้น จริง แล้วมันเป็นเรื่องที่ง่ายมาก ถ้าท่านนักปฏิบัติจะเปิดใจยอมรับฟังความคิดเห็นในเรื่องธรรมะบางอย่าง ที่มันไม่ตรงกับความคิดเห็นเดิมของท่าน กล่าวคือท่านต้องวางของเก่าให้หมดก่อน แล้วลองเปิดใจรับฟังอะไรใหม่ ดูบ้าง ขณะที่ฟังไป ก็ขอให้ใช้ปัญญาพิจารณาตามไปด้วย ตรงนี้ต่างหากที่เป็นเรื่อง ยากมาก ที่นักธรรมะส่วนมาก ทั้งในระดับที่เป็นอาจารย์สอนคน หรือเป็นนักปฏิบัติระดับเข้มข้น ส่วนมากมักจะมีความยึดมั่นถือมั่นกับความเข้าใจเดิม เช่น ยึดมั่นในเรื่องพระไตรปิฏก พระอภิธรรม หรือหัวข้อธรรมะ ซึ่งเป็นคำสอนของครูบาอาจารย์ต่าง ทั้งที่เป็นพระและฆราวาส
    <o:p></o:p>
    ผมขอบอกว่า เรื่องการทำสมถะ 40 วิธี หรือเรื่องการฝึกกสิณ 10 อย่าง หรือเรื่องการเจริญสติปัฏฐาน 4 โดยมีรูปนามเป็นเป็นอารมณ์นั้น เรื่องทั้งหมดนี้ ผมผ่านมาหมดแล้ว จนกระทั่ง ทุกวันนี้ ผมหมดสงสัยในเรื่องการปฏิบัติธรรมมาหลายปีแล้ว เนื้อเรื่องทั้งหมดนี้ ก็เพียงแต่อยากเล่าเรื่องประสบการณ์เรื่องการปฏิบัติธรรมที่เป็นเรื่องง่าย ให้ผู้ที่สนใจในการปฏิบัติธรรม เพื่อดับทุกข์จริง ได้รับทราบเอาไว้เป็นแนวคิดอันหนึ่ง ซึ่งอาจมีประโยชน์กับท่านบ้างก็ได้ และผมก็ฝากไว้ด้วยว่า หากท่านฟังผมบรรยายธรรมะมาให้ฟังทั้งหมดนี้ แล้วรู้สึกว่ามันไม่ถูกจริตท่าน หรือฟังดูแล้วเหมือนกับว่าสิ่งที่ผมเล่าให้ฟังนี้เป็นเรื่องที่ผิดเพี้ยนไปจากหลักธรรมคำสอนในพุทธศาสนา ก็ไม่เป็นไรครับเราไม่ว่ากัน ก็ขอให้ท่านไปไต่ระดับปฏิบัติธรรมตามวิธีการที่ท่านชอบต่อไป และผมขอฝากท่านไว้ด้วยว่า “วิธีการดูจิต” นี้ ท่านจะชอบหรือไม่ชอบก็ตาม วันหนึ่งในอนาคตข้างหน้า เมื่อท่านปฏิบัติธรรมไปเรื่อย จนใกล้การจบกิจในการปฏิบัติธรรม ท่านจะต้องเดินทางมาสู่วิธีนี้แน่นอน ผมบอกแล้วไงว่า เรื่อง “การดูจิต” นี้ ถ้าบอกว่าง่ายก็ง่ายมาก ง่ายจนเหลือเชื่อ แต่ถ้าบอกว่ายาก มันอาจยากเสียจนท่านปฏิเสธหรือไม่ยอมรับก็แค่นั้นเอง
    <o:p></o:p>
    หากท่านมีข้อสงสัย ในเรื่องเกี่ยวกับสภาวะจิตทุกเรื่องที่อยากสอบถามผม ผมยินดีให้คำแนะนำ โดยถือว่าเราเป็นกัลยาณมิตรซึ่งกันและกัน คือขอให้ท่านโทรศัพท์สอบถามได้ที่ โทร. 02 948 7472 แต่ขอบอกไว้ก่อนว่าคำถามและคำตอบในเรื่องการสนทนาธรรมนั้น มันเป็นเรื่องที่ต้องทำการปรุงแต่งทั้งจากผู้ถาม และอาจารย์ผู้ตอบปัญหาธรรมะ ซึ่งตรงนี้ผมขอบอกให้ทราบว่า เนื้อเรื่องถาม ตอบ ในเรื่องสนทนาธรรมนั้น มันเกิดจากการปรุงแต่งนึกคิดในใจ จนกลายเป็นเนื้อหาสาระในความคิด แล้วนำมาเอ่ยปากเปล่งเสียงพูดคุยกัน ตรงนี้ผมถือว่าเป็น “มายา” นะครับ แต่ตัวธรรมะแท้ จริง นั้น ก็คือท่านรู้สึกอย่างไรในขณะจิตตรงนั้นต่างหาก กล่าวคือท่านรู้สึกหรือไม่ว่าใจกำลังนึกคิดอะไรอยู่ หรือกายกำลังขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวอะไรบ้าง ตรงนี้แหละครับคือธรรมะแท้ ที่ท่านรับสัมผัสได้เอง ไม่ใช่เรื่องการเอ่ยปากเปล่งเสียงถามหรือการรอรับฟังคำตอบแต่อย่างใด ขอให้เข้าใจตามนี้ด้วย
    <o:p></o:p>
    หมายเหตุ สมมติว่าท่านยังมีปัญหาบางอย่างต้องการถามเกี่ยวกับเรื่องการปฏิบัติธรรม ผมก็ยินดีตอบคำถามครับ<o:p></o:p>
    อาจารย์แดง กีต้าร์
     
  6. เราคือผู้รู้ธรรมชาติ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    11
    ค่าพลัง:
    +3
  7. ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    น่าสนใจจริงๆค่ะ เพราะรู้สึกว่าจะเก่งกว่าพระพุทธองค์อีก

    สมมุติบัญญัติ ในทางพระศาสนา ตั้งขึ้นเพื่อใช้เรียกขานสิ่งที่มีอยู่ในโลก
    เพื่อใช้เป็นสื่อถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดของคนนึงให้อีกคนเข้าใจ

    พระพุทธองค์มิได้ทรงสอนให้ถอนคำบัญญัติทิ้งเสีย
    เพราะทุกข์โทษภัยทั้งหลาย มิได้เกิดจากการใช้คำบัญญัติ
    แต่เกิดจากการที่เรา(จิต)เข้าไปยึดถือ สิ่งรองรับคำบัญญัติ(ขันธ์ ๕)

    วันดีคืนดี ก็มีคนมาบอกว่า
    อย่าเอาอะไรไปเรียกไปตั้งชื่อให้มันดีกว่า ผมขอยืมคำว่ารู้สึก รู้สึกที่กายรู้สึกที่ใจแบบปล่อยๆเอามาใช้ นี่แหล่ะง่ายที่สุด
    แล้วที่เขียนมาให้อ่านตั้งมากเนี่ย ไม่ได้เรียกว่าใช้สมมุติบัญญัติหรือไร???


    (smile)
     
  8. ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    ลองอ่าน พระพุทธพจน์ ดูกันหน่อยนะคะ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะอยู่
    นี้เป็นอนุสาสนีของเราสำหรับเธอ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างไรเล่า ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มีสติ
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย...เวทนาในเวทนา...จิตในจิต...ธรรมในธรรมอยู่
    เป็นผู้มีเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก
    อย่างนี้แล ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มีสติ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างไรเล่า ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยสัมปชัญญะ
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้กระทำความรู้ตัวในการก้าว ในการถอย ในการแล ในการเหลียว ในการคู้เข้า
    ในการเหยียดออก ในการทรงสังฆาฏิ บาตรและจีวร ในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ
    ย่อมทำความรู้สึกตัวในการเดิน การยืน การนั่ง การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง
    อย่างนี้แล ภิกษุจึงจะชื่อว่า เป็นผู้ประกอบด้วยสัมปชัญญะ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะอยู่
    นี้เป็นอนุสาสนีของเราสำหรับเธอ ฯ

    (smile)
     
  9. ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    ธรรมะหรือความรู้สึกในจิต ก็คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ หรือ ขันธ์ ๕
    เกิดขึ้น(ที่จิต) ตั้งอยู่(ที่จิต) และดับไป(จากจิต) ตลอดเวลาทั้งกลางวัน กลางคืน

    พระพุทธองค์ทรงสอนให้มีสัมปชัญญะ มีสติ พิจารณาขันธ์ ๕ ตลอดเวลา

    เผณปิณฑสูตร
    เบญจขันธ์เพียงดังว่าเพชฌฆาตผู้หนึ่ง
    เราบอกแล้ว สาระย่อมไม่มีในเบญจขันธ์นี้

    ภิกษุผู้มีความเพียรอันปรารภแล้วมีสัมปชัญญะ มีสติ
    พึงพิจารณาขันธ์ทั้งหลายอย่างนี้ ทั้งกลางวัน ทั้งกลางคืน

    ภิกษุเมื่อปรารถนาบทอันไม่จุติ (นิพพาน) พึงละสังโยชน์ทั้งปวง
    พึงกระทำที่พึ่งแก่ตน พึงประพฤติ ดุจบุคคลผู้มีศีรษะอันไฟไหม้ ดังนี้

    (smile)
     
  10. ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    ด้วยความเคารพ ท่านจขกท.
    ความจริงบทความนี้ ยังมีข้อขัดแย้งกับพระพุทธพจน์มากมาย
    แต่เนื่องจากท่านผู้เขียนไม่สามารถเข้ามาโต้แย้งได้
    หรือถ้าท่านจขกท.หรือท่านอื่นๆ จะโต้แย้งแทนท่านผู้เขียนได้
    ธรรมะสวนัง ก็ยินดีที่จะเข้ามาแสดง คคห ต่อ เพื่อเปิดธรรมทัศน์...

    ขอฝากถึงท่านที่แวะเข้ามาอ่าน...
    พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญอานาปานสติ เป็นบาทฐานเป็นบรรพะแรกในการปฏิบัติ
    และเมื่อปฏิบัติอานาปานสติ ได้คล่อง ได้ชำนาญแล้ว จะปฏิบัติบรรพะอื่นๆก็ย่อมไม่มีปัญหา
    จะดูจิต (จิตตานุปัสสนา) ก็ต้องมีพื้นฐานจากการปฏิบัติอานาปานสติจนคล่องและชำนาญแล้ว
    ไม่งั้นก็จะกลายเป็น ดูจิตติดความคิด เพราะตามดูอาการของจิตตลอดเวลา
    ไม่มีปัญญาในการปล่อยวางอารมณ์และอาการของจิต

    ยินดีในธรรมทุกๆท่านค่ะ ^_^

    (smile)
     
  11. ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260
    อ่านแล้วก็ดูดีนะครับ น่าเชื่อถือ(สำหรับคนที่ไม่รู้ หรือเริ่มปฏิบัติ)
    แต่การนำความเห็นของตัวเองที่ผิดไปจากคำสอนของพระพุทธเจ้า
    มาเผยแพร่ เข้าข่ายปรามาสพระรัตนตรัยนะครับ
    คนที่เพี้ยนเก่งกว่าท่านก็มีเยอะครับ ตอนนี้ก็ลงไปอยู่อเวจีมหานรกมากมาย
    ขอเตือนด้วยความหวังดีนะครับ ท่านเจ้าของกระทู้จะนำธรรมะอะไรมานำเสนอ
    น่าจะพิจารณาให้ดีก่อนนะครับ
     
  12. ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    คุณเราคือฯ ตกลงบทความที่คุณนำมาลงเป็นของคุณแดง กีต้าร์ใช่มั้ย???
    ถ้าอ่านแล้วเกิดข้อสงสัย ถามไปจะให้ใครตอบหละครับ

    เพราะคุณแดงเองพยายามบอกว่าอย่าสงสัย มันเป็นเพียงสมมติบัญญัติเท่านั้น
    แถมยังบอกอีกว่า
    “หากถามว่ามีอะไรเกิดขึ้นขอบอกว่าตอบไม่ได้และก็สอนกันไม่ได้ด้วย
    เรื่องทั้งหมดนี้ตัวท่านจะเป็นผู้สัมผัสและรับรู้ได้ด้วยตัวเอง”

    ผมอ่านแล้วก็เกิดอาการงงและสับสนไปหมด
    ในเมื่อแสดงตนว่าเป็นอาจานแล้วและพยายามอธิบายผลการปฏิบัติของตนเองว่า
    “จนกระทั่งทุกวันนี้ผมหมดสงสัยในเรื่องการปฏิบัติธรรมมาหลายปีแล้วเนื้อเรื่องทั้งหมดนี้”

    คุณลองอ่านข้างบนแล้วตอบผมหน่อยว่า ถ้าคุณแดงปฏิบัติจนหมดสงสัยแล้วในเรื่องปฏิบัติธรรม
    ฉะนั้นเมื่อมีใครถามเพราะความสงสัยในผลปฏิบัติคุณแดงก็ควรที่จะต้องตอบได้สิ
    ไม่ใช่ตอบว่าหากมีอะไรเกิดขึ้นขอบอกว่าตอบไม่ได้ พูดจา วกวนเป็นน้ำในอ่าง

    ;aa24
     
  13. ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    อีกเรื่องที่พูดขัดกันเองก็เรื่องสติสัมปชัญญะ คุณแดงพูดคล้ายๆกับว่าไม่มีความสำคัญ
    และเกิดขึ้นได้เองเป็นเพียงสมมติบัญญัติเท่านั้น

    แต่พอสอนไปสอนมากับบอกว่า “นี่แหละคือการเจริญสติซึ่งเป็นการปฏิบัติธรรมตัวแท้ๆ”
    ตกลงเอายังไงกันแน่???

    ผมขอถามหน่อยเถอะว่า คิดว่าคุณแดงรู้จักสติกับสัมมาสติต่างกันอย่างไรหรือเปล่า???

    ทำไมคนที่ทำความชั่ว(จี้ ปล้น ตีชิง วิ่งราว) คนพวกนี้เค้าก็รู้สึกตัวทุกครั้งที่เค้าทำความชั่ว
    และมีสติสัมปชัญญะในการทำความชั่วเพราะกลัวถูกจับและลงโทษ
    ทุกครั้งที่ทำชั่วเค้าก็ดูจิตตัวเองเช่นกันโดยไม่ไปแทรกแซงเลย ทำไมไม่เลิกทำชั่วเสียที
    ในเมื่อก็มีสติสัมปชัญญะเช่นกันกับคุณแดง เพราะอะไร???

    ยังมีตัวอย่างอีก เช่น พวกที่ดื่มเหล้าเมายา ก่อนทำทุกครั้งก็มีสติสัมปชัญญะเช่นกัน ทำไมยังไม่ยอมเลิกหละ???

    ;aa24
     
  14. ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ส่วนเรื่องที่คุณแดงโอ้อวดว่าผ่านมาหมดแล้วนั้น
    “ผมขอบอกว่าเรื่องการทำสมถะ 40 วิธีหรือเรื่องการฝึกกสิณ 10 อย่างหรือเรื่องการเจริญสติปัฏฐาน 4
    โดยมีรูปนามเป็นเป็นอารมณ์นั้นเรื่องทั้งหมดนี้ผมผ่านมาหมดแล้ว”
    คุณช่วยขยายความหน่อยสิว่าผ่านยังไง??? คงไม่ใช่เพียงแค่อ่านผ่านตามาหนะ???

    คุณแดง คุณอย่าพยายามทำตัวให้เห็นว่าเก่งเกินพระบรมครูจอมศาสดาของเราเลยเป็นบาปไปเปล่า

    ศีลทำให้งามในเบื้องต้น
    สมาธิ(สัมมา)ทำให้งามในท่ามกลาง
    ปัญญาทำให้งามในบั้นปลายครับ

    ;aa24
     
  15. อวิปลาส เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    211
    ค่าพลัง:
    +353
    คนมีทองแท้ 1 เส้นห้อยคอเดินไปมามีเพื่อนฝูง คนรู้จักเข้ามาทักทาย ทองสวยจัง ซื้อมาจากใหนราคาเท่าไหร่ เขาตอบด้วยความภาคภูมิใจ ซื้อมา ราคาเท่านั้นเท่านี้ ร้านนี้ดีนะทองมีให้เลือกมากมายหลายแบบ สวยๆทั้งนั้น ถ้าขัดสนหรือ ฉุกเฉินขึ้นมาพอจะเอาไปจำนำหรือขายได้อยู่นะ เขาตอบเพื่อนฝูงที่เข้ามาถามใถ่ พร้อมอวดสร้อยเส้นงาม

    คนมีทองเก๊ 1 เส้น เดินไปมามีเพื่อนฝูง คนรู้จักเข้ามาทักทาย ทองสวยจัง ซื้อมาจากใหน ราคาเท่าไหร่ สวยดีนะ ถ้าเขาตอบว่าของปลอมเพื่อนฝูงก็จะหัวเราะผยักหน้าสองสามหงึกแล้วหลีกไป ถ้าเขาตอบว่าของจริงเขาก็จำชือร้านทองไม่ได้และอะไรอะไรอีกมากมายที่เขาไม่รู้เกี่ยวกับทองแท้ ที่สำคัญเขาไม่มีทองแท้แขวนคอ
    pig_cryy2
     

แชร์หน้านี้