บทสร้างนิสัย บทที่ ๔

ในห้อง 'ทวีป อเมริกา' ตั้งกระทู้โดย Wat Pa Gothenburg, 1 ธันวาคม 2008.

  1. Wat Pa Gothenburg

    Wat Pa Gothenburg เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    920
    ค่าพลัง:
    +260
    <table border="0" cellpadding="7" cellspacing="7" width="500"><tbody><tr><td colspan="3" align="center">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td colspan="3" align="center">[SIZE=+2]สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ( พิมพ์ ธมฺมธโร)[/SIZE]</td> </tr> <tr> <td colspan="3" align="center">[SIZE=+1]วัดพระศรีมหาธาตุ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร[/SIZE]</td> </tr> </tbody></table>

    <center> บทสร้างนิสัย </center>
    <center> บทที่ ๔ </center>

    นิสัยสุภาพ - อย่าหยาบสุภาพพร้อม ละม่อมพจนพาที
    เมื่อโอรสชาติมี ก็จะยลนิยมตาม
    -เป็นสารนิติส่วน บ่มิสิ่งจะหยาบหยาม
    บุตรตนจะได้ตาม ประพฤติโดยแต่สิ่งดี
    (จากธรรมจริยา)

    ท่านสุภาพทั้งหลาย
    คำว่า “สุภาพบุรุษ สุภาพสตรี” นี่เราเคยได้ยินอยู่เสมอ แต่เราจะได้ยินอยู่จนชินหูแล้ว ก็อย่าลืมว่า คนที่เป็นสุภาพบุรุษและสุภาพสตรีนั้น คือคนดีมีนิสัยสุภาพ ถ้าลักษณะสุภาพไม่มีติดตัว เขาจะเป็นคนสุภาพหาได้ไม่
    นี่คนนิสัยสุภาพ ซึ่งมีความสุภาพเรียบร้อย แสดงกิริยาวาจาออกมาเป็นที่นิยมชมชื่นของคนทั่วไป ไม่แต่เพียงแสดงออกมาให้เห็นเป็นกิริยาอ่อนโยน ทั้งเสียงพูดไพเราะอ่อนหวาน และมีดวงหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสเท่านั้น แม้ในทางน้ำใจก็มั่นคงอยู่ในลักษณะสุภาพด้วย
    นั่นดูเถิด ลักษณะแห่งคนสุภาพ เขามีลักษณะนอบน้อมถ่อมตนประจำชีวิต ใช้กิริยาวาจาต่อผู้น้อยเหมือนปฏิบัติต่อผู้ใหญ่ ไม่ยกตัวเองแม้ไม่ว่ากรณีใดๆ เราดูแล้วเห็นเป็นงดงามราบรื่นชื่นตาจับใจ แต่คนไม่สุภาพสิ ชอบทำและพูดไปข้างกระดางลาง เราดูแล้วจะเห็นข้อบกพร่องของกิริยาวาจา ซึ่งขาดความดีงามและความเหมาะสม ส่วนถึงเขาจะมีความดีทางอื่นอยู่บ้าง ก็หาช่วยให้คนอื่นนิยมรักใคร่ได้ไม่
    เมื่อเรามีลักษณะสุภาพอยู่ในตัว จะชวนให้มีคนยินดีเคารพนับถือด้วยใจบริสุทธิ์ ถ้าหาไม่แล้วจะไม่มีใครนิยมในกิริยาวาจาของเราเลย เพราะลักษณะไม่สุภาพเข้าขัดขวางห้ามคนอื่นไว้ไม่ให้เข้ามาติดต่อกับเรา และผลักดันให้เราออกห่างไปจากคนอื่น ชื่อว่ามีมันไว้เพื่อยันตัวให้ตกต่ำ จำไว้เถิดว่า “ท่านจะเป็นทองคำไม่ได้เลย ถ้าท่านยังมีลักษณะเป็นทองแดงอยู่”
    ความประพฤติชอบอยู่ในระบอบแห่งมนุษยธรรมเป็นลักษณะของความสุภาพ คนสุภาพก็คือคนประพฤติชอบอยู่ในระบอบแห่งมนุษยธรรม มีอัธยาศัยดีอารีอารอบ เห็นอกเห็นใจเพื่อนเกิดแก่เจ็บตายด้วยกัน แสดงกิริยาวาจาสัมมาคารวะทั้งต่อผู้ใหญ่และผู้น้อย ไม่ซุ่มซ่ามหยาบคาย ผู้ใหญ่ไม่เหยียดหยามผู้น้อย แม้ผู้น้อยก็ไม่ละลาบละล้วงล่วงเกินผู้ใหญ่ ถ้อยทีถ้อยอนุกูลแก่กัน ไม่เอารัดเอาเปรียบแก่กัน
    เมื่อพูดสั้นๆ แก่นแท้ของความสุภาพอยู่ที่ความดี คนสุภาพก็คนดีนั่นเอง คนดีนั้นมิใช่ดีเพราะรูปสวย มิใช่ดีเพราะรวยทรัพย์สมบัติ มิใช่ดีเพราะชาติตระกูล แต่ดีเพราะมีความดีเป็นของตนเอง พูดให้กระชับเข้าอีก ความดีที่อยู่ในขอบเขตแห่งความสุภาพนี้ ก็คือกิริยาสุภาพ วาจาสุภาพ และใจสุภาพ ผู้มีกิริยาสุภาพ มีวาจาสุภาพ และมีใจสุภาพ นี่แหละคือคนสุภาพ
    ๑. กิริยาสุภาพ อาการที่เคลื่อนไหวออกมาให้ปรากฎแก่คนทั้งหลาย ชื่อว่ากิริยา แม้กิริยาจะเป็นเพียงอาการภายนอกเท่านั้น แต่ก็เป็นหนังสือสำคัญยิ่งที่เบิกทางหรือปิดทางของชีวิต และจะเป็นเครื่องประกอบการทำการพูดให้เด่นขึ้น พึงเห็นเมื่อเราจะทำความโอบอ้อมอารี จะพูดคำเอื้อเฟื้ออ่อนหวานก็ดี จะทำความเหี้ยมโหดดุร้าย จะพูดโฮกฮากหยาบคายก็ดี กิริยาจะเพิ่มผลดีและผลร้ายให้มีกำลังแรงขึ้น ส่อถึงนิสัยใจคอแสดงความกินใจ ความรู้สึก ความยินดี ความรักหรือความโกรธ ฯลฯ ออกมาจากตัวจริงใจภายในให้คนอื่นรู้เห็นได้ว่า เป็นกิริยาดีหรือกิริยาชั่ว
    แน่นักเทียว กิริยาอาการภายนอก เช่น การเยื้องยาตร การเคลื่อนไหว การพูดอภิปราย การชำเลืองเนตรหรือโอษฐ์ ย่อมเป็นช่องทางให้เราล่วงรู้ถึงในใจกัน โบราณจึงกล่าวว่า “สำเนียงบอกภาษา กิริยาบอกตระกูล” ซึ่งได้ในโลกนิติว่า “สายบัวเป็นเครื่องวัดน้ำ มารยาทและวาจาเป็นเครื่องวัดตระกูล คารมที่แถลงเป็นเครื่องวัดปัญญา ต้นหญ้าเหี่ยวเป็นเครื่องวัดแผ่นดิน”
    น้ำตื้นลึกถึงวาหรือหลาศอก สายบัวบอกรู้ได้ดังใจหวัง
    มรรยาทคนดียิ่งหรือลิงกัง เป็นเครื่องชั่งบอกตระกูลประยูรวงศ์
    อีกคารมที่แถลงสำแดงออก เป็นเครื่องบอกฉลาดโอ่หรือโง่หลง
    แม้ต้นหญ้าเหี่ยวหดหมดแรงลง เป็นมั่นคงบอกแล้งดินแห้งเอย
    กิริยางาม กิริยาดี และกิริยาอ่อนโยน สำหรับปราบทางของชีวิตให้เตียนราบรื่น และทำให้การสมาคมดูดดื่มสนิทสนมกลมกลืนกันดี นี่คือลักษณะแห่งกิริยาสุภาพ คนกิริยาสุภาพจะทำอะไรก็น่าดูน่านิยม เป็นการเปิดทางให้ชีวิตของตนได้ดำเนินสะดวก แต่คนกิริยาไม่สุภาพจะทำสิ่งไร แม้เป็นองค์ของความดี ก็ทำความบาดตาบาดใจคนอื่น เป็นการปิดประตูชีวิตของตน และทำให้วิธีการดำเนินงานของตนฝืดขัดไปด้วย
    ๑.๑ กิริยางาม กิริยาจะงามหรือไม่งาม ย่อมขึ้นอยู่แก่กาละเทศะ โลกในสมัยก่อนโน้นนิยมกิริยาค่อยๆกระต้วมกระเตี้ยมกรีดกรายว่าเป็นกิริยางาม แต่โลกในสมัยปัจจุบันกลับเห็นกิริยาเช่นนั้น อยู่ข้างงุ่มง่ามหรือเนิบนาบเงื่องหงอยไม่น่าดู ที่จริง เมื่อเราดูกันในสมัยนี้ความงามหาได้เป็นมิตรกับความงุ่มง่ามไม่ ผู้ใดไม่ก้าวเท้าอย่างกระฉับกระเฉง ผู้นั้นจะต้องถูกติว่าอยู่ข้างจะงุ่มง่าม
    นักปราชญ์ทางเวชศาสตร์ว่า “กิริยาค่อยๆเยื้องกรายนั้น เป็นเหตุให้เงื่องหงอย กิริยาเงื่องหงอยเป็นเหตุให้ร่างกายไม่ได้ออกกำลังพอเพียงแก่ความประสงค์ของ ธรรมชาติ ซึ่งเป็นสมุฏฐานให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บและอายุสั้น” แม้นักปราชญ์ทางจิตศาสตร์ก็มีมติต้องกันว่า “กายหงอยจิตก็หงอย จิตหงอยเป็นจิตอ่อนแอ และจิตอ่อนแอนั้น ก็คือจิตทำอะไรไม่สำเร็จ”
    กิริยางามที่โลกในอารยสมัยนิยม อยู่ที่กิริยาประเปรียวกระฉับกระเฉง มีส่วนสัดกระทัดรัดได้รูปได้ทรง มิใช่กิริยาเงื่องหงอยกระต้วมกระเตี้ยมงุ่มง่าม โกงโก้โกงกกแข็งกระด้าง หรือโก้งเก้งไม่เข้าจังหวะจะโคน ถ้าอ่อนก็อ่อนโยนละมุนละม่อม และแข็งแรงปราดเปรียวว่องไว ไม่ใช่อ่อนอย่างปวกเปียก ส่วนกิริยาที่นับว่างามนั้น พึงให้เหมาะแก่บุคคล สถานที่ และกาลสมัย
    เมื่อเราจะแสดงกิริยาอย่าลืมว่า “เข้าเมืองตาหลิ่วให้หลิ่วตาตาม” เช่นจะเข้าหาพระสงฆ์ ไปหาผู้หลักผู้ใหญ่ เข้าเฝ้าเจ้านาย ไปในสมาคมคนต่างชาติ ในที่ประชุมและงานพิธีรีตองใดๆ จำจะอนุโลมตามให้เหมาะสมแก่บุคคลและกาลเทศะ ควรไหว้ก็ไหว้ ควรคำนับก็คำนับ ควรหมอบกราบก็หมอบกราบ หรือความเคารพอย่างอื่นที่ปราชญ์นิยมก็ควรทำ
    คนเราแรกพบปะกัน รูปร่างเป็นสิ่งสะดุดตาก่อนอื่น ถัดมากิริยาท่าทีคำพูด ถัดเข้าไปถึงนิสัยใจคอเป็นขั้นที่สุด จริงอยู่ คนเราเกิดมา จะเลือกรูปพรรณสัณฐานเอาตามใจชอบหาได้ไม่ แล้วแต่กรรมจะแต่งมาให้เป็นคนรูปงามบ้าง เป็นคนรูปขี้ริ้วขี้เหร่บ้าง ผู้มีรูปงามเหมือนดอกไม้มีสีสัณฐานงาม ย่อมเป็นที่นิยมชวนชมของผู้ได้เห็น ผู้มีรูปทรามเหมือนดอกไม้มีสีสัณฐานไม่งาม ก็ไม่เป็นที่ชวนชมของผู้แลเห็น
    แต่กิริยางามดีกว่ารูปงาม เพราะคนกิริยางามแม้รูปจะขี้ริ้วขี้เหร่ ก็เหมือนทุเรียนเสี้ยนนอกเนื้อในดี ยังนับว่างามทำให้คนนิยม ชอบสมาคมคบหาเป็นมิตรสหาย ชั้นที่สุดยังเป็นที่ให้คนเขาเมตตากรุณา ชวนให้เขาเอาใจใส่ ดีกว่าคนรูปงามทรามกิริยา ถ้ายิ่งมีรูปงามประกอบด้วย เหมือนเพชรที่เจียระไนแล้วก็ยิ่งชวนให้คนทุกชั้นนิยมมากขึ้น
    คนรูปงามแต่ทรามกิริยา จะนับว่าเป็นคนงามยังไม่ได้ เพราะคนรูปงามเป็นเพียงให้เขาชมว่าสวย แต่หามีใครชมว่าดีไม่ สู้แต่คนรูปทรามงามกิริยาไม่ได้ เป็นเหมือนผลมะเดื่อสุก ซึ่งข้างนอกแลดูงามแต่เนื้อในเสีย เป็นที่อยู่ของหมู่หนอน ถ้ายิ่งมีรูปไม่สมประกอบด้วย เป็นเหมือนดอกอุตพิตแล้ว ก็ยิ่งอาภัพเพิ่มให้เขาเกลียดชังซ้ำไป ดูเอาเถอะดอกไม้ที่มีสีสัณฐานงามแต่ไร้กลิ่นหอม จะสู้ดอกไม้ที่สีสัณฐานไม่งามแต่กลิ่นหอมไม่ได้ ยิ่งมีกลิ่นเหม็นบวกเข้าด้วย ก็ยิ่งซ้ำร้าย ไม่มีใครเขาปรารถนาเลย
    อันดอกเส้งเทียนไทหงอนไก่นั้น มีรูปพรรณงามดีสดสีสม
    แต่ไร้กลิ่นสิ้นค่าไม่น่าชม ก็ทิ้งถมทับต้นคนไม่ปอง
    อันสตรีรูปงามทรามสวาท แต่มรรยาทชาติชั่วพามัวหมอง
    ชายดีเขาเลิกเล็งไม่เพ่งมอง เข้าทำนองว่างามทรามกิริยา
    ถึงรูปทรามงามอยู่ที่สุภาพ ไม่หยามหยาบมารยาทสมวาสนา
    จะกล่อมเกลี้ยงเคียงหมอนนอนเต็มตา ยังดีกว่างามพริ้งเป็นลิงลม
    ๑.๒ กิริยาดี กิริยาที่อยู่ในกรอบแห่งศีลธรรม คือกิริยาที่สงบเสงี่ยม กิริยาเรียบร้อย กิริยาเจียมตัว กิริยาโอบอ้อมอารี กิริยากรุณาปรานี และกิริยาเอื้อเฟื้อเชื้อเชิญต้อนรับ นี่จัดเป็นกิริยาดี เพราะดีชนิดที่ปราศจากความหยาบคายแข็งกระด้าง ชั่วช้าเลวทรามและทะลึ่งตึงตัง ไม่เป็นที่สบายนัยน์ตาของคนผู้พบเห็น
    คนนิสัยหยาบชอบแสดงกิริยาเลวทราม ซุ่มซ่ามลวนลามล่วงเกินคนอื่น เช่นยื่นของส่งของด้วยอาการเสือกไสพร้อมกับถ้อยคำไม่น่าฟัง หลีกคนไปด้วยอาการกระทบไหล่ข้ามกราย เดินเฉียดหรือยืนใกล้ผู้คนที่นั่งอยู่ โดยทำนองเดินข้ามศีรษะ หรือยืนปักศีรษะ
    บางทีเขาก็ลุกลนแหวกผู้คนไปไม่ขอไม่ร้อง เมื่อนั่งหรือยืนกีดทางเขาเดินไปมา ซึ่งตนควรจะหลีกก็ไม่หลีกให้ ทำเป็นเฉยเสีย ถ้ามีแขกใครไปมาควรจะแสดงกิริยาต้อนรับทักทายปราศัยด้วยอัธยาศัยไมตรี ก็กลับแลดูตาเขม็ง แม้เมื่อได้ยินใครพูดอะไร ก็คอยขัดคอเสียทุกอย่าง
    คนนิสัยแข็งกระด้าง ชอบแสดงอาการกำแหง หัวแข็งเย่อหยิ่ง ยกตนข่มท่าน จะทำอะไรเป็นไม่เว้นว่างจะตีตนเหนือคนอื่น แม้จะทำดีก็ยากจะให้เขาผูกใจรักได้ และชอบถือตัวทะนงตนจนเลยเถิด ด้วยมาสำคัญผิดว่า “การถ่อมตัวเป็นการลบหลู่ตนเอง เหยียดตนเอง ไม่นับถือตนเอง” แท้จริง การถ่อมตัวคือการไม่ถือตัวให้เกินงาม และไม่ลดตัวลงให้เกินควร ซึ่งเป็นอุบายปิดช่องโหว่ไว้มิให้คนอื่นดูหมิ่นได้ มิใช่เป็นการไม่นับถือตนเอง แต่เพราะคนนิสัยแข็งกระด้างได้เข้าใจผิด จึงนับถือตนเองเกินส่วน จนกลายเป็นคนแข็งกระด้าง และทำตนให้เป็นศัตรูแก่ตนเอง
    กายกระเดื่องดื้อ ถือตน
    ไม่นอบนบอิสรชน ใหญ่น้อย
    กรายเฉียดเฉกบ่ยล มรรยาท หยาบนอ
    จำรับตำหนิถ้อย กระทบทั้งบาดหมาง
    (วชิรญาณ)
    คนนิสัยหยาบและแข็งกระด้าง ย่อมมีกิริยาเลวทรามยั่วให้เขาเกลียดชังน้ำหน้า ห้ามให้เขาไม่ปองตีสนิทเข้าใกล้ชิด ชื่อว่าขับไล่ตัวเองให้ออกจากสังคม ส่วนผู้มีกิริยาดี อาศัยกิริยาดีเป็นเครื่องประดับ ชวนให้มีคนนิยมยินดีปองตีสนิทด้วย
    ที่จริง กิริยาชั่วย่อมเป็นศัตรูแก่ตัวเอง ความดีแท้ๆถ้าเราทำด้วยกิริยาชั่ว ความดีนั้นก็จะเสื่อมถอย ส่วนกิริยาดีชื่อว่าเป็นมิตรแก่ตัวเอง ช่วยเป็นกำลังต่อสู้กับความติดขัดบรรดามี ทำความตกลงร่วมใจกันให้งานดำเนินสะดวก เหมือนกับมีดสำหรับช่วยถางทางให้เรียบเตียน
    การแสดงกิริยามารยาทแก่กันเป็นของสำคัญ ควรระมัดระวังให้จงหนัก ตัวอย่างเช่น เมื่อเพื่อนร่วมบ้านเดียวมีความขัดข้องบางประการมุ่งมาขอความช่วยเหลือ ถ้าท่านให้เขาด้วยกิริยาอันเสือกไส หรือด้วยกิริยาบูดบึ้ง ซึ่งส่ออัธยาศัยว่าไม่เต็มใจจะให้เช่นนี้ ชื่อว่าทำคุณด้วยความบาดหมาง คุณอันจะพึงได้รับแม้จะมาก ก็อ่อนลงยังเหลือแต่น้อย
    ถ้าท่านให้ด้วยกิริยาดี แสดงว่าให้เขาด้วยน้ำใจเมตตากรุณาหวังสงเคราะห์เขาผู้มีธุระทุกข์ร้อนและขัด ข้องจริง หาได้มุ่งเอาผลประโยชน์อะไรจากเขาไม่ เช่นนี้ชื่อว่าทำคุณด้วยมิตรภาพ อุปการคุณนั้นแม้จะเล็กน้อย ก็จะเป็นเหตุเตือนให้ผู้ได้รับมีใจจงรักภักดีกตัญญูต่อท่าน
    กิริยาดีเป็นเครื่องผูกมิตรจิตมิตรใจ เหนี่ยวรั้งคนอื่นให้เข้ามาใกล้ชิดกับเรา ให้เรามีมิตรเพื่อนฝูงพวกพ้องมาก ส่วนกิริยาชั่วเป็นเครื่องเพาะศัตรู ขับไล่เราให้ออกห่างจากคนอื่นๆ ให้ต้องเดือดร้อนนอนเป็นทุกข์อยู่คนเดียว
    ดังนั้น ท่านจึงควรอบรมกิริยาดีให้เป็นสมบัติของตน อย่ามีทิฏฐิมานะถือตัวเย่อหยิ่งจองหอง อย่าใช้กิริยาหยาบและแข็งกระด้าง ควรเจียมตัวไว้เหมือนวัวเขาหลุด หรืออสรพิษที่ถูกถอนเขี้ยวแล้ว เมื่อท่านมีกิริยาดีจะเป็นที่ชูเชื่อมน้ำใจกัน เป็นที่รักใคร่ฟูใจของกันและผูกใจกัน ให้คุ้นเคยรู้สึกเป็นกันเอง เมื่อท่านมีกิริยาดีลงกระแสแล้ว อะไรจะทำให้ท่านเป็นอย่างอื่น มากกว่าที่ท่านมีกิริยาดีอยู่แล้วนั้น เป็นไม่มีเลย
    มียศศักดิ์สูงเยี่ยมจงเจียมจิต อย่ามัวคิดฟุ้งเฟ้อละเมอหลง
    รู้ประมาณดีจริงเกียรติยิ่งยง ยิ่งถ่อมลงยิ่งเฟื่องกระเดื่องนาม
    ถ้าทะนงองอาจชาติคนหลง ยิ่งทะนงยิ่งเร้าให้เขาหยาม
    ยิ่งหัวสูงมุ่งใหญ่ยิ่งใจทราม ยิ่งลวนลามยิ่งด้อยถดถอยลง
    ๑.๓ กิริยาอ่อนโยน กิริยาที่แสดงตัวออกมา มีสัมมาคารวะนอบน้อม อ่อนละมุนละไมต่อผู้ใหญ่และผู้เสมอกัน แม้ต่อผู้น้อยหรือผู้มีฐานะต่ำกว่า ปราศจากทิฏฐิมานะ เหตุให้ดื้อดันขันแข็งและเย่อหยิ่ง นี่คือกิริยาอ่อนโยน ซึ่งตรงข้ามกับกิริยาแข็งกระด้าง อันชักให้เป็นคนหัวดื้อถือดี
    คนหัวดื้อถือดีนั้น ชอบแสดงกิริยาทะนงตัว หัวแข็งดื้อด้านดันทุรัง ว่ายากสอนยาก นึกกระหยิ่มจองหองลำพองอยู่ในใจ ไม่ยอมเชื่อฟังหรืออ่อนน้อมต่อใคร เชื่อตัวว่าเป็นคนดีคนสูงกว่าใครหมด เมื่อเห็นคนอื่นมักจะตั้งท่าทำแข็งข้อให้เขาเคารพตนก่อน แม้ตนกับเขาเคยรู้จักกันและตนเคยทำความเคารพเขาในที่แห่งหนึ่งมาแล้ว แต่พอไปที่อื่นจากที่นั้นก็เกิดถือตัวขึ้นมา หาทำความรู้จักหรือแสดงความเคารพต่อเขาไม่ หรือแม้จะทำก็เพื่ออำนาจวาสนาหรือทำเพราะมีระเบียบวินัยให้ทำ ไม่ได้ทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ
    คนเย่อหยิ่งมีลักษณะพองขน ตีตนเสมอ มีใจฟุ้งเฟ้อเห่อเหิมว่าไม่มีใครดีกว่าตน ชอบลบหลู่ดูหมิ่นถิ่นแคลนคนอื่น เห็นเขาเลวกว่าตัวไปหมด ไม่ไว้วางกิริยาอัชฌาสัยตามที่เหมาะที่ควร ไม่รู้จักประมาณตัว ยกตัวลอยเลิศตามที่ตนเห็นว่าดีว่าควร แต่คนอื่นเห็นเป็นหยิ่งน่าเกลียดน่าชัง เพราะเขาหยิ่งดังหิ่งห้อยหยิ่งเทียมดารา
    พึงทราบว่า อาการหยิ่งของเขานั้น ท่านว่าเป็นประตูแห่งความเสื่อม ดูเอาเถิด นี่โทษของความหยิ่ง ซึ่งพระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ในปวาภวสูตรว่า “ผู้ใดหยิ่งเพราะมีชาติสูง หยิ่งเพราะมีทรัพย์มาก หยิ่งเพราะมีสกุลดี แล้วดูหมิ่นญาติของตน นั่นคือประตูของความเสื่อมแห่งผู้นั้น”
    อันคนหยิ่งเพราะชาติอำนาจทรัพย์ หยิ่งเพราะนับตระกูลประยูรหงส์
    กลับดูหมิ่นญาติตนเป็นคนดง ต้องเสื่อมลงย่อยยับอัประมาณ
    กิริยาอ่อนโยนเป็นประตูของความเจริญ เป็นเครื่องหมายของคนดี เมื่อมีในผู้ใดส่องความว่าผู้นั้นเป็นคนดี ถ้าไม่มีในผู้ใดก็แสดงว่าผู้นั้นหมดสง่าราศี เหมือนบ้านเรือนไม่มีที่บูชา ส่อว่าเจ้าของบ้านไม่เป็นพุทธศาสนิกชน ส่วนกิริยาหยิ่งเป็นประตูของความเสื่อม ถ้าท่านไม่อยากเป็นคนเสื่อมแล้ว ก็ควรแสดงกิริยาอ่อนโยนแก่คนทั่วไป
    รู้ถ่อมถนอมอัตมะเจียม จิตเสงี่ยมสงวนกาย
    ไป่หยาบสุภาพพิมลผาย พจนารถเสนาะกรรณ
    หญิงชายพฤฒดรุณพร้อง สรซร้องเกษมสันต์
    สรรเสริญเจริญมนัสนัน- ทะบหน่ายระคายเคือง
    เกียรตินั้นก็อาจอัตระผดุง จะพยุงภิยโยเปลือง
    ปลดเศร้าและเสริมสุขประเทือง สุสวัสดิถาวร
    พึงเอื้อผะโอนมนคำนวณ สุภส่วนสโมสร
    แด่เพื่อนสภาพรรคนิกร คณนัธยาศัย
    สูงต่ำและมัชฌิมสมา คมสาทราลัย
    ประนีประนอมมนัสใน ก็สนิทสนมชม
    ผู้ดีผิดูก็พิสมัย ผิและไพร่ก็เพราคม
    ปราชญ์พิสมยรมย์ ผิและพาลก็เยียยล
    เป็นที่ปิโยดม ณ ผู้ บมิผู้จะเกียจกล
    ย่อมชอบอัชฌาสัย ณ ชน ธุระทั่วทุราสถาน
    (จากธรรมจริยา)
    กิริยางาม กิริยาดี และกิริยาอ่อนโยน นี่แลคือกิริยาสุภาพ การทำชอบแก่กันและกันด้วยกิริยาสุภาพนี้ เมื่อเราปฏิบัติให้ถูกต้องสม่ำเสมอ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง มีเชื่อถ้อยฟังคำของกันและกันแล้ว ย่อมสามารถบริหารหมู่คณะให้พ้นภัยพิบัติ และพัฒนาหมู่คณะให้เจริญรุ่งเรืองได้ นับเป็นประโยชน์แก่คนหมู่มาก เป็นที่รักของคนทั่วไปไม่นิยมชั้น
    คนมีกิริยาสุภาพที่เป็นผู้น้อยจะเป็นที่รักของผู้ใหญ่ เป็นคนเสมอกันจะได้อาศัยกัน เป็นผู้ใหญ่จะได้ผู้น้อยไว้เป็นกำลัง เมื่อมีกิจการเกิดขึ้น เขาจะได้ตั้งใจทำให้สำเร็จด้วยความภักดี เอาเป็นว่ากิริยาสุภาพมิใช่จะเป็นคุณประโยชน์เฉพาะตัวเท่านั้น แต่ยังเป็นคุณประโยชน์สูงขึ้นไป ถึงหมู่คณะและประเทศชาติด้วย
    ดังนั้น เมื่อเรามีกิริยาสุภาพอยู่ในตัวแล้ว จึงควรแสดงแก่คนทั้งปวงโดยเสมอหน้ากัน ไม่เลือกว่าเขาจะมีฐานะสูงกว่าเสมอกันและต่ำกว่า หรือเลวทรามสักปานไร หากได้เช่นนี้จะเป็นคนเข้าไหนเข้าได้ เลิศในการวางตนต่อสังคม สามารถสมานบุคคลต่อบุคคล หมู่คณะต่อหมู่คณะ แม้ที่สุดระหว่างชาติต่อชาติได้ แต่กิริยาเลวไม่มีใครเขาชอบ คนโดยมากได้บอกเลิกการติดต่อกับคนกิริยาเลวทั้งนั้น
    ควรอ่อนน้อมถ่อมตนให้คนรัก อย่าเห่อศักดิ์ทะนงตัวจะมัวหมอง
    เพราะถ่อมลงสูงระหงเป็นพงศ์ทอง แต่จองหองใฝ่สูงถูกจูงลง
    ๒. วาจาสุภาพ คำพูดเป็นเครื่องนำให้จิตใจแล่นติดต่อทราบถึงกันได้ ถ้าไม่มีคำพูดแล้ว แม้เราจะมีความรู้ความเข้าใจอย่างไร ก็ไม่อาจแลกเปลี่ยนหรือให้ความรู้ความเข้าใจแก่กันได้ เพราะคำพูดเป็นฐานที่ตั้งแห่งสิ่งทั้งหลาย และสิ่งทั้งหลายก็ล้วนแต่ออกจากคำพูดทั้งสิ้น
    จริงทีเดียว เราจะรู้สิ่งทั้งหลายได้ย่อมอาศัยคำพูด และคำพูดนี้เป็นของมีค่าสูง พึงเห็นในตัวเราเอง ปากเป็นสำคัญกว่าสิ่งอื่น เพราะมีคนเฝ้าเพ่งเล็งคอยจับคำพูดของเราอยู่ทั้งในแง่ดีและในแง่ร้าย เหมือนในตัวช้างทั้งหมด ย่อมไม่มีส่วนอื่นใดจะมีค่าสูงเท่างา ดังคำโบราณว่า “ฆ่าช้างจะเอางา เจรจาจะเอาถ้อยคำ”
    พูดดีเป็นศรีแก่ตัว พูดดีเป็นเงินเป็นทอง แต่พูดชั่วให้อัปรีย์จัญไร หรือพูดไม่ดีเสียเงินเสียทอง นี่โบราณว่า เป็นความจริงดังโบราณว่า เพราะเราพูดวาจาดีออกมาเพียงคำเดียวย่อมมีค่าควรเมือง อาจให้ได้บ้านได้เมืองได้เงินได้ทอง หรือช่วยให้คนวิวาทรบพุ่งกันกลับเป็นมิตรกันได้ แม้นเราพูดวาจาชั่วร้ายออกมาเพียงคำเดียวก็ได้เรื่อง ให้เกิดวิวาทรบพุ่งกัน หรือเกิดจลาจลอลหม่านขึ้น วุ่นวายกระทั่งต้องเสียบ้านเสียเมืองเสียเงินเสียทองทีเดียว
    วาจาดีชอบธรรมชอบวินัยชอบกฎหมาย ไม่ชวนให้ใช้อาชญา ไม่พาให้จับศัสตราวุธ ไม่ยั่วให้หมองหมาง ไม่เย้าให้แก่งแย่ง ไม่ยุให้ทะเลาะกัน เป็นคำจริงมีหลักฐานอ้างอิง ไพเราะในเบื้องต้น ไพเราะในท่ามกลาง ไพเราะในเบื้องปลาย เป็นถ้อยคำมีเนื้อมีระเบียบมีกำหนด ถูกกาลเทศะประกอบด้วยเมตตาจิต เป็นประโยชน์และเป็นธรรม ชวนให้ผู้ฟังชอบพอรักใคร่พึงใจ นี่คือวาจาสุภาพซึ่งสงเคราะห์เข้าในประเภทวจีสุจริต คือประพฤติดีด้วยวาจา ๔ ประการ
    ๒.๑ วาจาสัตย์ คำจริงมีลักษณะซื่อจริง ตรงจริง แน่นอนจริง ไม่ใช่ความเทียบ ความปลอม หรือความเท็จ นี่คือวาจาสัตย์ ผู้มีวาจาสัตย์ย่อมพูดแต่คำจริง อันประกอบด้วยประโยชน์ เว้นคำเท็จ และเรื่องจริงที่มีโทษ รักษาวาจาให้จริง ให้ไม่กลับกลายเป็นอื่น เมื่อวาจาอย่างใดที่เป็นของตนแล้วตั้งใจรักษาให้จริงตามวาจาอย่างนั้นโดยให้ ไม่คลาดเคลื่อน มีความคิดและน้ำคำทั้งการทำตรงกันหมด สมควรเป็นที่เชื่อถือของคนทั้งปวงได้
    แต่คนไม่มีวาจาสัตย์ มักมีคติชั่วเป็นหลายสถาน คือกลับกลอกบ้าง ตลบตะแลงบ้าง คดโกงบ้าง ปลิ้นปล้อนบ้าง สับปลับบ้าง ดูถูก ปากปราศรัยอย่างหนึ่ง ใจคิดหมายไปทางหนึ่ง กิริยาที่กระทำเลี่ยงไปเสียอีกทางหนึ่ง ซึ่งไม่เป็นผู้ที่คนทั้งหลายควรจะไว้เนื้อเชื่อถือได้เลย
    เราท่านอย่าเป็นคนเช่นนั้นนะ บูชาความสัตย์ไว้เถิด เพราะความสัตย์เป็นรากฐานของความดี แต่ความเท็จเป็นรากฐานของความคดโกง ซึ่งไม่ใช่รากฐานอันจะก่อความดี จงวางรากฐานก่อความดีด้วยความสัตย์ แต่อย่าวางรากฐานก่อความดีด้วยความเท็จเลย
    วาจาสัตย์เป็นอุปกระสำคัญ ช่วยอบรมคนให้มีจิตตานุภาพเข้มแข็ง และให้ชอบพูดจริงบูชาความจริง คนพูดจริงเป็นคนกล้าหาญ คนกล้าหาญเพราะพูดจริงนั้นมีคนเกรงและเคารพนับถือรักใคร่ ส่วนผู้ชอบพูดเท็จชื่อว่าอบรมตนให้เป็นคนขลาดกลัว และทอนจิตตานุภาพของตนให้อ่อนกำลัง หมดสง่าราศี
    ในตำราจิตศาสตร์ว่า “ถ้าผู้ใดไม่มั่นคงในถ้อยคำของตนเพียงใด ผู้นั้นเท่ากับพยายามอบรมตนให้กำลังใจอ่อนแอลง หรือพยายามอบรมตนให้เป็นคนขี้แพ้ตนเพียงนั้น เมื่อผู้ใดขี้แพ้ตน ผู้นั้นจะต้องขี้แพ้คนอื่น หนักเข้าเลยขี้แพ้คนทั้งโลก แพ้โชคแพ้เหตุการณ์ แพ้เสียทุกอย่างในโลกนี้ ตลอดทั้งโลกหน้าด้วย ถ้าคนเราเอาชนะตนได้ก็นับว่าเป็นคนประเสริฐ” ในหนังสือโคบุตรประณามคนพูดปดไว้ว่า เลวยิ่งกว่าสัตว์ป่า ดังนี้
    อันมนุษย์สุดเชื่อมันเหลือปด พูดสบถแล้วสะบัดไม่ขัดสน
    เพราะแต่คำน้ำจิตคิดประจญ ปากเป็นผลใจเป็นพาลเหลือมารยา
    ใครหลงลิ้นกินลูกยอก็พอม้วย ต้องตายด้วยปากมนุษย์ที่มุสา
    คนทุกวันมันมิซื่อถือสัจจา สู้สัตว์ป่าก็ไม่ได้ใจลำพอง
    ท่านจะตายก่อนตายถ้าเสียสัตย์ แม้นว่าท่านจะมีชีวิตอยู่ได้ ก็ใครเล่าเขาจักนับถือหรือไว้วางใจ แต่ท่านจะเป็นที่เคารพนับถือไว้วางใจและเป็นที่สรรเสริญของปวงชนอยู่ได้ตลอด กาล ถ้าถือวาจาสัตย์เป็นหน้าที่ของตน และรักษาความสัตย์ไว้ให้มั่นคงแม้ด้วยชีวิต ถึงร่างกายจะดับสูญไป แต่ชื่อเสียงเกียรติคุณ ก็จะยังปรากฎเลื่องชื่อลือชาอยู่ตลอดไป ให้คนผู้เกิดมาภายหลังได้พูดถึงอยู่ด้วยความเคารพนับถือ ชื่อว่าเป็นผู้ไม่รู้จักตาย พึงเห็นพระรามและท้าวมาลีวราชในเรื่องรามเกียรติ์เป็นตัวอย่างว่า
    พระรามมีปวงประชากรพากันนิยมนับถือว่า เป็นยอดยิ่งในหมู่มนุษย์ ถึงกับยกย่องว่าเป็นพระนารายณ์อวตาร นั่นก็เพราะพระรามนับถือความสัตย์ ยิ่งกว่าสมบัติพัสถานหรือความผาสุกสะดวกสบาย เมื่อท้าวทศรถพระราชบิดาประทานวาจาสัตย์ไว้อย่างใดแล้ว ก็รักษาวาจาสัตย์ให้เป็นไปอย่างนั้นทุกประการ
    ครั้นท้าวทศรถสิ้นพระชนม์แล้ว แม้พระภรตและมเหสีทั้งสามพร้อมด้วยมุขมนตรีกรุงอโยธยาออกไปอัญเชิญให้เสด็จ นิวัติสู่นคร แต่พระรามหาได้รับคำอัญเชิญนั้นไม่ อุตส่าห์สู้ฝ่าดงพงพีอยู่ในไพรสณฑ์ จนกว่าจะครบ ๑๔ ปีตามสัญญาที่ท้าวทศรถทรงกำหนดให้ไว้
    แม้ท้าวมาลีวราชที่เราพูดถึงกันอยู่ และนิยมนับถือว่าเป็นผู้มีวาจาสิทธิ์นั้น ก็เพราะท้าวเธอพูดแต่คำจริงด้วยความรอบคอบ พวกพลของท้าวเธอ แม้ไม่ต้องถืออาวุธเลยก็มีผู้ยำเกรง ทั้งพวกยักษ์พวกมนุษย์และทวยเทพ
    นี่แสดงว่า วาจาสัตย์เป็นเดชเป็นอำนาจของผู้ทรงไว้เป็นอาภรณ์อันเลิศ เป็นมิ่งขวัญอันประเสริฐ เชิดชูให้ผู้พูดมีสง่าราศี เป็นที่นิยมเคารพเชื่อถือของคนทุกชั้น ดังนั้นเมื่อท่านหวังจะฝังเกียรติคุณไว้ในโลก ให้ปวงชนนิยมนับถือไปตลอดกาลแล้ว จึงต้องอย่าเป็นคนยอดขี้ปด ยอดไม่มียางอาย ยอดโง่ ยอดไม่ตะขิดตะขวง ซึ่งชอบแสดงความเท็จอวดอ้างตนให้คนอื่นเชื่อถือ
    พึงทราบว่า คนยอดขี้ปดเป็นต้นนั้น ชอบปั้นความที่ไม่จริงขึ้นลวงคนให้เชื่อถือผิดๆ ชอบปลอมเรื่องเดาประจบเอาง่ายๆ เสริมข้อความที่เป็นจริงให้มากไปกว่าเหตุ มักง่ายในการใช้ถ้อยคำสำนวน ปล่อยให้ปากเหม็นเพราะพูดปดร่ำไป ท่านอย่าได้เป็นเหมือนเขา พึงรักษาวาจาสัตย์ไว้ให้มั่นคง อมปากให้หอมไว้ด้วยคำพูดจริงเถิด พึงระลึกถึงพระพุทธดำรัสนี้เสมอว่า “คำจริงเป็นรสยิ่งกว่ารสทั้งหลาย คำจริงเป็นคำพูดที่ไม่รู้จักตาย คนมีเกียรติคุณเลื่องชื่อลือชาเพราะคำจริง”
    พึงพูดจริงให้สนิทเป็นนิสัย แม้นอยู่ในวงศัตรูพวกหมู่สิงห์
    ขู่บังคับสำทับให้กลับจริง ก็อย่าชิงพูดปดลดเลี้ยวเลย
    พึงพูดจริงให้ประจักษ์เป็นหลักฐาน ทำกิจการตรงดีที่เฉลย
    คิดให้ตรงลงกับทำคำภิเปรย อย่าละเลยตรงจริงทุกสิ่งเอย
    ๒.๒ วาจาสมานไมตรี หมายเอาคำผูกมิตรและคำเชื่อมสามัคคี คนพูดวาจาสมานไมตรีย่อมมีเมตตากรุณาเป็นนิสัย ไม่มีความริษยาใครอยู่ในใจ ชอบพูดแต่คำผูกมิตรและคำเชื่อมสามัคคี อยู่ในที่ใดวางตนให้เป็นมิตรของหมู่ในที่นั้น มีตนเป็นบ่อเกิดแห่งความสงบสุข และช่วยให้คนผู้อยู่ร่วมได้ความสงบสุขด้วย
    แท้จริง ในการเจรจาความเมืองระหว่างประเทศ อยู่ที่ทูตเป็นผู้สมานไมตรีแทนประเทศ ในการสู่ขออยู่ที่เฒ่าแก่เป็นผู้จัดการ แม้ในการแบ่งทรัพย์มรดกหรือทรัพย์สินอื่นอีกก็อยู่ที่คนกลางเป็นผู้ไกล่ เกลี่ยชี้ขาด ถ้าทูตเฒ่าแก่และคนกลางเป็นผู้ฉลาดรู้จักสมานไมตรีแล้ว การสงครามระหว่างประเทศ การหย่าร้างกันระหว่างผัวเมีย การแก่งแย่งแตกร้าวระหว่างเครือญาติมิตร หรือผู้ใหญ่กับผู้น้อย ก็จะไม่ค่อยเกิดมีขึ้นได้เลย
    ผู้ใดฉลาดพูดสมัครสมานน้ำใจกัน รู้จักผูกมิตรเชื่อมสามัคคีกันไว้ด้วยกุศโลบาย ไม่ทำให้หมู่แตกแยกกันด้วยถ้อยคำสนทนา แม้ได้ฟังคำอันจะก่อวิวาทแก่หมู่ในที่นี้ ก็ไม่กล่าวคำนั้นในที่ไหนๆ กล่าวแต่คำนำหมู่ให้สามัคคีกัน จะอยู่ในหมู่ใดแม้เป็นหมู่ใหญ่ซึ่งนับว่าประเทศชาติ ผู้นั้นมักได้รับยกย่องให้เป็นใหญ่ เป็นที่เคารพนับถือของหมู่นั้น และหมู่นั้นก็จะมีกำลังตั้งมั่น อยู่สงบสุขวัฒนาถาวรยั่งยืนนาน
    เมื่อเราหวังให้ประเทศชาติเจริญรุ่งเรือง และใคร่ให้ตนเป็นที่รักนับถือของหมู่คณะ ควรอย่าพูดส่อเสียดซึ่งเป็นเหตุร้าวราน และทำลายคนที่รวมกันอยู่ให้แยกออกเป็นฝ่ายตัดไมตรีของแต่ละฝ่ายให้ขาดสะบั้น ทำการติดต่อของแต่ละฝ่ายให้ขาดตอน อย่ายุให้รำตำให้รั่ว อย่ายั่วให้เขาเกิดบาดหมาง โกรธแค้นเจ็บช้ำน้ำใจในกันและกัน และอย่าพูดกระซิบกระซาบเป่าหูเขาให้หลงเชื่อว่าเป็นจริงตามที่ตนนำมาบอกเล่า
    ถ้าเราเว้นคำที่ห้ามได้แล้ว ก็ควรพูดประสานคนที่แตกกันให้คืนดีกัน ควรโน้มน้าวคนที่คืนดีกันให้มั่นเข้า ควรพูดโปรยปรายส่งเสริมคนที่คืนดีกันให้สามัคคีปรองดองกัน ควรพูดสนับสนุนคนที่สามัคคีกันแล้วให้ดีสนิทยิ่งขึ้นเป็นดังทองแผ่นเดียว และควรแนะนำคนที่ยังไม่รู้จักกันให้รู้จักกัน ชักนำคนที่รู้จักกันแล้วให้ชอบพอกัน อย่าลืมว่า คนส่อเสียดเป็นคนบ่อนแตก มีนิสัยแยกพวก เข้าที่ไหนเป็นแตกที่นั่น
    ปากของเขาเป็นโรคปากบอน เขาคันปากอยากพูดแต่เรื่องของคนอื่น ในทำนองใส่ความและติฉินนินทาว่าร้ายเรื่องอันจะก่อให้ระแวงและผิดใจของฝ่าย นี้ ไปพูดให้ฝ่ายโน้นฟัง เก็บเอาเรื่องของฝ่ายโน้นมาพูดให้ฝ่ายนี้ฟัง และยุยงทั้งสองฝ่ายให้เกลียดชังกันจนแตกสามัคคี คนเป็นโรคปากบอน คันปากอยู่นิ่งไม่ได้ ต้องพ่นพิษออกมาบ่อยๆ เมื่อเข้าที่ไหนต้องเสียงกราวไปที่นั่น
    เขาว่าเราจะเย็บปากถุงใช้เข็มเพียงเล่มเดียวก็พอ แต่จะเย็บปากคนปากบอน แม้ใช้เข็มตั้งร้อยเล่มก็หาพอไม่ เราควรอย่าคลุกคลีกับเขาเลย นอนคุดคู้อยู่ในซอกกำแพงเล็กๆยังดีกว่าอยู่ร่วมกับคนปากบอนในคฤหาสห์ใหญ่โต ควรระวังอย่าให้ปากของท่านเป็นแผลเพราะส่อเสียด พึงทราบว่าเกียรติยศอยู่ที่ปากดี ถ้าปากเป็นแผลแล้วท่านก็จะมีปากเสียเปล่าเหมือนเต่าหอย
    ปากจะเป็นปากอนามัยไม่มีโรคปากบอนได้จริง ถ้าคนเราเว้นของแสลงคือคำส่อเสียด พูดแต่วาจาสมานไมตรี ปากอนามัยนั้นพูดที่ไหนจะให้เกิดความยินดีขึ้นที่นั่น เมื่อปากของเราให้ความยินดีแก่เขาแล้ว ความยินดีนั้นก็จะย้อนคืนกลับคืนหาเรา ระมัดระวังลิ้นไว้เถิดเพราะมนุษย์ที่กินอิ่มแล้วแต่หาดีไม่ได้นั้น คือมนุษย์ที่คอยใช้ลิ้นติฉินนินทาเพื่อนมนุษย์ ถ้าเราไม่ระมัดระวังลิ้นแล้ว ไม่ช้านักมันก็จะลงโทษเราเอง
    ๒.๓ วาจาไพเราะ หมายเอาคำพูดเพราะน่าดูดดื่มออกมาจากใจบริสุทธิ์ประดุจน้ำใสสะอาด ทำตามได้ไม่มีโทษ เร้าใจผู้ฟังให้เห็นควรถือเป็นแบบอย่าง และคำหวานหู บำรุงกำลังใจผู้ฟังให้ชื่นบาน เหมือนน้ำหวานชูกำลังใจของผู้ดื่ม นับว่าเป็นมหาเสน่ห์มหานิยมแก่ผู้พูดให้เป็นที่รักเคารพนับถือของผู้ฟัง เมื่อผู้ฟังได้ฟังแล้วจะรู้สึกจับใจใคร่จะฟังอยู่ร่ำไป และอยากพูดจาสมาคมคบหาเป็นมิตรเป็นสหายด้วย
    นอกนั้นวาจาไพเราะนี้ยังเป็นประโยชน์แก่จิตใจ ทำให้จิตใจของผู้พูดอ่อนโยนรักระเบียบ ชื่อว่าให้คุณแก่ผู้พูด ให้ประโยชน์แก่ผู้ฟัง ในธรรมนิติได้แสดงคุณของวาจาไพเราะอ่อนหวานไว้ว่า “เอาชนะข้าศึกได้ด้วยคำอ่อนโยน สิ่งไรๆอันจะไม่สำเร็จด้วยคำอ่อนโยนนั้นหามีไม่ ต้องเอาชนะได้ด้วยคำอ่อนโยนทุกอย่าง”
    เอาชนะข้าศึกที่ฮึกเหิม ได้ด้วยเพิ่มคำอ่อนแข็งผ่อนหาย
    คนหยาบช้าชนะอยู่ที่อุบาย ค่อยโปรยปรายผ่อนตามผลงามมา
    สิ่งไรไรไม่สำเร็จเหตุอ่อนหวาน สิ่งนั้นท่านว่าไม่มีที่ไหนหนา
    ทุกวิถีชนะเลิศแต่เกิดมา เพราะวาจาอ่อนละไมชื่นใจคน
    เป็นความจริง พายุจะไม่หักราญกอหญ้าซึ่งอ่อนโอนต่ำไปตาม แม้ผู้มีฤทธานุภาพ ก็หาทำลายคนอ่อนโยนไม่ แต่จะต้องหาญหักกำลังของคนผู้มีฤทธิ์ห้าว พึงพิจารณาคำโคลงจากธรรมจริยาต่อไปนี้
    คำหวานปานอมฤตชื้น ชูใจ
    ฆ่าโกรธพินาศไป ห่อนช้า
    คำขมเผ็ดร้อนใน ช่องโสต
    ทำโทษจิตแรงกล้า กลับฟุ้งพลุ่งโพลง
    อันคนผู้อ่อนน้อม วิงวอน ท่านนา
    ท่านโปรดยกโทษขร ผ่อนได้
    คำหวานชอบนิกร ทุกหมู่
    อาจตัดใจแข็งให้ ผ่อนน้อยถอยลง
    ในการต้อนรับแขกที่ไปมาหาสู่กัน การโอภาปราศรัยไพเราะนั้นย่อมเป็นสิ่งสำคัญ สำคัญยิ่งกว่าการต้อนรับด้วยอาหารรสดีหรือสิ่งอื่นทั้งสิ้น เมื่อเจ้าถิ่นฉลาดโอภาปราศรัยไพเราะอ่อนหวาน ชื่อว่าปรุงรสอย่างดียิ่งกว่ารสทั้งหลายขึ้นสู่กัน เพราะรสนั้นจะเป็นที่ดูดดื่มจับใจ ทำให้เกิดความชื่นบานยิ่งกว่าสรรพรส อันจะพึงรู้ด้วยทวารอื่นบรรดามี
    และการโอภาปราศรัยไพเราะนั้น ชื่อว่าเป็นกุศโลบายยึดเหนี่ยวน้ำใจคนฟังไว้ ทำให้ผู้ใหญ่ผูกไมตรีกับผู้น้อยได้สนิท และผูกพันความเคารพนับถือของผู้น้อยไว้อยู่ ดีกว่าผูกพันไว้ด้วยอำนาจหรือการปกครองอย่างใดๆ ผู้น้อยจะเป็นที่กรุณาปรานีของผู้ใหญ่ จะได้ผู้ใหญ่เป็นที่พึ่งอุปถัมภ์ค้ำชูตนให้เจริญรุ่งเรือง แม้คนค้าขายก็จะมีลูกค้ามาก
    ดังนั้น บัณฑิตจึงถือการโอภาปราศรัยไพเราะว่า เป็นหน้าที่อันสำคัญของเจ้าถิ่น แขกที่มาสู่ถิ่นจะมาดีหรือมาร้ายนั้นหาสำคัญไม่ ดูเถิด พระเวสสันดรตรัสปราศรัยแก่ชูชกผู้มาทูลขอสองกุมาร ให้ตาชีเกิดความยินดีด้วยน้ำพระสุรเสียงอันฉลาด เช่นเชิญตาชีให้ล้างเท้า ให้เข้าไปในอาศรม ให้เลือกบริโภคมูลผลาผลเป็นของป่า และให้ดื่มน้ำใสเย็นตามชอบใจ ทั้งนี้เพราะทรงถือเป็นหน้าที่ของพระองค์ มิได้ทรงรังเกียจว่าชูชกเป็นยาจกต่ำช้า นี่นับเป็นเยี่ยงอย่างอันดีของการโอภาปราศรัยที่ฉลาด
    จริงอยู่ การต้อนรับปราศรัยแก่กันและกัน เป็นอุบายคล้องใจกันให้เกิดมีมิตรธรรม เจริญไมตรีจิตมิตรภาพให้สนิทมั่นคง แต่ถ้าไม่ฉลาดต้อนรับแขกผู้มาถึงถิ่นของตน แม้ด้วยวาจาแล้ว ก็กลับจะให้โทษแก่ตนเอง ดูเถิด ชาวศากยะไม่ฉลาดในอุบายต้อนรับวิฑูฑภกุมาร โอรสของพระเจ้าปเสนทิโกศล เป็นสาเหตุให้กุมารเห็นเป็นหมิ่นประมาทตน ถึงกับถือเป็นกรณีโกรธแค้นขุ่นเคือง เมื่อครองราชย์แล้ว ได้ยกกองทัพไปปราบสักชนบทให้อยู่ใต้อำนาจ นี่ผลของวาจาที่ปราศจากความคิด นับว่ามีพิษให้โทษในเมื่อพูดจบแล้ว
    ดังนั้น ท่านจึงควรพูดแต่วาจาไพเราะ อบปากให้หอมไว้ด้วยวาจาไพเราะเถิด อย่าได้กล่าวคำหยาบถากถางตวาดขู่ หรือถ้อยคำใดซึ่งจะทำให้เขาต้องเจ็บใจช้ำใจน้อยใจ หรือผูกใจเจ็บในท่าน อันคำหยาบนั้นไม่มีใครชอบ เมื่อท่านปล่อยให้มันออกมาเพ่นพ่าน ชื่อว่าถ่มน้ำลายรดฟ้า ระวังอย่าถ่มน้ำลายรดฟ้า เพราะจะเข้าทำนองว่า เมื่อท่านตวงให้เขาด้วยทะนานอันใด เขาต้องตวงให้ท่านด้วยทะนานอันนั้น
    เมื่อท่านฝืนความรู้สึกฝ่ายสูง ใช้ปากพูดคำหยาบด่าว่าคนอื่น จะไม่เพียงแต่เป็นการถ่มน้ำลายรดฟ้า ยังชื่อว่าแคะภูเขาหลวงด้วยเล็บ เคี้ยวกินก้อนเหล็กด้วยฟัน หรือพยายามกลืนไฟที่ลุกโชน จงรู้สึกกลับใจขึ้นอยู่กับหิริโอตตัปปะเถิด อันเป็นความรู้สึกฝ่ายสูง ซึ่งมีอำนาจบังคับให้ปากไม่พูดคำชั่วร้าย เมื่อท่านแก้นิสัยชั่วที่ชอบพูดวาจาชั่วร้าย ให้กลับคืนดีได้ด้วยวิธีนี้แล้ว นิสัยชั่วอย่างอื่น เช่น นิสัยขี้เมา นิสัยชอบเล่นการพนัน นิสัยขี้ขลาด นิสัยขี้คร้าน นิสัยไม่ตรงต่อเวลา หรือแม้นิสัยโง่ทึบ ก็อาจแก้สำเร็จได้ด้วยวิธีเดียวกัน
    เมื่อมีแขกใกล้ไกลใครมาหา พึงพูดจาให้ละออพออ่อนหวาน
    อันหวานอื่นหวานล้ำเพียงน้ำตาล ไหนจะปานหวานคำร่ำภิปราย
    อันลิ้นลมคมแหลมพูดแนบเหน็บ มักช้ำเจ็บแสบหูไม่รู้หาย
    ถึงเพื่อนรักมักหมางระคางคาย ย่อมตะกายหาช่องจ้องตอบแทน
    ไม่ดีแน่แต่สักนิดคิดดูเถิด ความร้ายเกิดเพราะปากมีมากแสน
    คำผรุสดุจแส่แหย่รังแตน มักลักแล่นตอมต่อยบ่อยๆ เอย
    สักรวาหวานอื่นมีหมื่นแสน ไม่เหมือนแม้นพจมาลย์ที่หวานหอม
    กลิ่นประเทียบเปรียบดวงพวงพะยอม อาจจะน้อมจิตโน้มด้วยโลมลม
    แม้ล้อลามหยามหยาบไม่ปลาบปลื้ม ดังดูดดื่มบรเพ็ดต้องเข็ดขม
    ผู้ดีไพร่ไม่ประกอบชอบอารมณ์ ใครฟังลมเมินหน้าระอาเอย
    อ่อนหวานวาจกแจ้ว จับใจ ชนเอย
    อ่อนกิริยาฌาสัย สุดสิ้น
    อ่อนมารยาทใคร ยลชื่น ชมนา
    อ่อนโอษฐ์สุจริตลิ้น เล่ห์เนื้อเจือทอง
    (จากธรรมจริยา)
    ๔.๔ วาจามีประโยชน์ คือถ้อยคำอำนวยประโยชน์แก่ตนและคนอื่น ไม่สำรากเพ้อเจ้อเหลวไหล มีเหตุผลที่วิญญูชนคัดค้านไม่ได้ เป็นคำพูดอาศัยธรรม อาศัยวินัย มีหลักฐาน มีที่อ้างยืนยัน ถูกกาละเวลา มีเนื้อมีกำหนดกฎเกณฑ์ ปรารภเรื่องมีจริงเป็นจริง และประกอบด้วยประโยชน์ เหมาะกับภูมิธรรมของคน สมควรแก่กาละเทศะและบุคคล สามารถเสกให้คนโง่เป็นคนฉลาด เสกให้คนโหดร้ายเป็นคนอ่อนโยน และเสกให้ปุถุชนเป็นพระอริยเจ้าได้
    ผู้หวังให้ได้ประโยชน์ตนและคนอื่น พึงใช้คำพูดให้เกิดผลดีโดยให้รู้หลบเป็นปีกรู้หลีกเป็นหาง รู้จักเลี่ยงถ้อยคำให้ดี รู้จักเฟ้นคำพูดให้เหมาะ ด้วยใช้ถ้อยคำให้เหมาะสม ให้เกิดผลดีทั้งฝ่ายเขาและฝ่ายเรา ถ้าพูดให้ไม่เสียประโยชน์ทั้งสองฝ่ายแล้ว ชื่อว่าพูดดีนำมาซึ่งผลที่ดีงาม แต่ถ้าผู้พูดเห็นแก่ตัว พูดเอาประโยชน์ตนฝ่ายเดียว ก็จะเสียประโยชน์คนอื่น เมื่อมีได้ทางหนึ่งจะต้องมีเสียอีกทางหนึ่ง ดังนั้น ผู้จะพูดคิดให้รอบคอบก่อนแล้วพูดจึงจะเกิดประโยชน์ ถ้าพูดไม่คิดก็จะเสียประโยชน์ทั้งสองฝ่าย หรืออาจได้ประโยชน์ตนแต่เสียประโยชน์คนอื่น
    ผู้พูดให้เป็นประโยชน์ พระพุทธองค์ทรงเรียกว่า “ปุปฺผภาณี” คือคนปากหอมดุจพันธุ์ไม้ดอก ชูช่ออรชร และมีกลิ่นหอมย้อมใจให้ชื่นบาน และทรงเรียกว่า “มธุภาณี” คือคนปากหวานปานน้ำผึ้งรวงอย่างดีในคิมหันตฤดู ชวนให้ผู้สดับดูดดื่มซาบซึ้งตรึงใจ เขาเป็นผู้มีชีวิตอยู่เพื่อมหาชน พยายามใช้วาจาให้มีประโยชน์ หลีกเว้นเรื่องที่ไร้ประโยชน์ มุ่งชี้แจงเหตุผลให้แจ่มชัด ทั้งในทางโลกและทางธรรม เพื่อให้ผู้สดับเข้าใจรู้ได้ถูกต้อง และนำตนหลีกทางเสื่อมขึ้นสู่ทางเจริญ
    อย่างสูงเขาพยายามแนะนำประชาชนให้รู้เห็นทุกข์ของโลกตามเป็นจริง ให้รู้เห็นว่าอะไรเป็นต้นเหตุแห่งทุกข์ ให้รู้เห็นความดับทุกข์ว่าเป็นอย่างไร และให้รู้เห็นวิถีทางนำไปสู่ความดับทุกข์ ชื่อว่าเป็นผู้มีวาจาทรงไว้ซึ่งอุดมคติอย่างสูง ที่ผู้ฟังทั้งหลายควรคล้อยตาม
    เมื่อท่านหวังให้ถ้อยคำของตนมีสาระแล้ว ควรจำกัดคำพูดให้อยู่ในวงของประโยชน์ และควรเลือกสรรคำพูดให้เป็นสิ่งที่มีค่าสูงด้วยพูดพอประมาณ พูดถูกกาลเวลา พูดเรื่องมีจริงเป็นจริง พูดคำมีเนื้อแท้ พูดอาศัยธรรม พูดอาศัยวินัย พูดมีหลักฐานอ้างอิง และพูดดีมีกำหนดกฎเกณฑ์ เมื่อพูดแล้วสำเร็จประโยชน์ตนประโยชน์ท่าน ไม่หักรานประโยชน์ทั้งสองฝ่าย มุ่งพูดเผยแผ่ความรู้และความประพฤติดีแก่กันและกัน เว้นพูดพล่ามเหลวไหล หรือพูดอวดดีที่เรียกว่า “คุยโม้หรือโว” ซึ่งเป็นถ้อยคำไม่มีน้ำหนัก ไม่ควรที่ผู้ฟังจะยกขึ้นสู่ตาชั่งได้
    อุบลบอกลึกตื้น วารี
    โฉดฉลาดจับวาที ตอบโต้
    จิตตรงคดร้ายดี ดูยาก นักนอ
    คนที่ปากโวโอ้ มักพลั้ง พลันเข็ญ
    อย่าอวดอย่าโอ่อ้าง เองดี
    ดีชั่วตัวจริงมี เหมาะแจ้ง
    อวดมากหลากดีหนี ชั่วเน่า เนาแฮ
    โอ่ปากหากพจน์แท้ง เปล่าถ้อย ถอยผล
    (สำนวนเก่า)
    เราอย่าลืมว่า “เสียงที่เราคุยกันด้วยเรื่องความดี อันจะให้คุณประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์ ไพเราะเพราะพริ้งยิ่งกว่าดนตรีวิเศษ เหตุว่าเสียงดนตรีเภรีพิณพาทย์ที่นิยมกันว่าเพราะนั้น เกิดจากคนประดิษฐ์ มิใช่ดนตรีเภรีพิณพาทย์จะดังเอง กังวานแห่งดนตรีเภรีพิณพาทย์ไพเราะประเดี๋ยวเดียวก็หายไป แต่เสียงแห่งถ้อยคำที่เราคุยกันชักนำกันด้วยเรื่องความดีนั้นยังก้องหูอยู่ มิรู้หาย” ดังนั้นเราจึงควรรอบคอบอย่าสะเพร่าเพราะคนสะเพร่า มักเอาใจไว้ที่ลิ้น ส่วนคนรอบคอบเอาลิ้นไว้ที่ใจ
    ๓. ใจสุภาพ สิ่งที่สำคัญที่สุดในการทำการพูดของเราคือใจ กิริยาวาจาที่เราแสดงออกมานั้น คือผลของความคิด แม้กิจการหรือสรรพวัตถุรูปพรรณที่เราสร้างสรรค์ขึ้นทั้งหลาย ก็คือผลของความคิดทั้งสิ้น ไม่มีอะไรอื่นจากใจที่คิดชอบ ซึ่งจะบันดาลให้การทำการพูดของเราสำเร็จผลดีได้
    ดูเถิด เงินถ้าไม่มีหัวคิดเข้ากำกับก็คือเงินแท่ง ตำแหน่งหน้าที่ถ้าใจไร้สมรรถภาพ เหรียญตราอยู่ที่อกเสื้อท่านก็เท่ากับริบบิ้นเปล่า หัวหน้าในกิจการทุกแผนก ถ้าไม่คิดก่อนทำก่อนพูดแล้ว ก็คือผู้นำหมู่ไปสู่ความเสื่อมล่มจม ดังนั้นกิจการทุกอย่างทั้งคดีโลกและคดีธรรมจึงรวมอยู่ที่ใจ เมื่อใจดีมีคุณอนันต์ เมื่อใจร้ายให้โทษอย่างมห้นต์ ใจดีหรืออารมณ์ดีนี่เอง คือ ใจสุภาพซึ่งมีลักษณะดี ๕ ประการ
    ๓.๑ ใจสงบเสงี่ยม ใจที่สงบเสงี่ยมเป็นรากโคนของความสงบเสงี่ยมทั้งปวง กายวาจาที่สงบเสงี่ยมเป็นเพียงใบหรือกิ่งก้านของใจสงบเสงี่ยม เพราะใจเป็นผู้นำ ใจเป็นนาย ใจเป็นผู้ชี้ขาด เมื่อใจสงบเสงี่ยมแล้ว กายวาจาย่อมพลอยสงบเสงี่ยมด้วย
    ผู้มีใจสงบเสงี่ยมเป็นคนอารมณ์ดี แสดงความเห็นอกเห็นใจกัน วางตนให้เป็นมิตรสนิทสนมชอบพอแก่กัน สามารถลบล้างอาการกระด้างกระเดื่องและความถือดีหรืออารมณ์ร้ายให้หมดสิ้นไป แม้คนอารมณ์ร้ายจะใช้กำลังฤทธิ์เดชและอำนาจราชศักดิ์เข้าบังคับเล่า ก็จะเอาชนะคนอารมณ์ดีหาได้ไม่ แต่คนอารมณ์ดีอาจเอาชนะคนอารมณ์ร้ายได้ด้วยอารมณ์ดี เอาชนะคนใจร้อนได้ด้วยใจเย็นของตน
    คนใจสงบเสงี่ยมมีอัธยาศัยเยือกเย็น ไม่ก่อความยุ่งรำคาญ ตั้งตนเป็นกลางแทนลำเอียงด้วยอคติ นับถือคนอื่นเหมือนกับตนเอง ถ่อมตัวลงแทนทะนงตัวว่าวิเศษกว่าเขา อ่อนโยนแทนแข็งกระด้าง มีจรรยาน่ารักถูกธรรม โน้มศีรษะลงด้วยความอ่อนน้อม อ่อนละมุนเหมือนดอกบัวในยามสมบูรณ์ แข็งกร้าวเหมือนศิลาแท่งทึบในยามวิบัติ
    นอกนั้นเขายังมีกิริยาวาจาเรียบร้อยในคนทั่วไป ละความเมาหยิ่งยะโส พูดด้วยปัญญา สำรวมวาจาแทนโอ้อวด ไม่พูดถากถางหรือเสียดสีใคร ไม่ค่อนขอดประวัติของคนอื่น กรุณาปรานีในสัตว์ทั้งสิ้น ช่วยเหลือคนตกทุกข์ได้ยาก มีกายงามด้วยการอุปการะคนอื่น มิใช่งามด้วยไล้กระแจะจันทน์ มีมืองามด้วยการบริจาค มิใช่งามด้วยกำไล มีหูงามด้วยการสดับตรับฟัง มิใช่งามด้วยตุ้มหู ทั้งนี้และทั้งนั้นนั่นคือคุณสมบัติของคนใจสงบเสงี่ยม
    ๓.๒ ใจโอบอ้อมอารี คนใจโอบอ้อมอารีมีอัธยาศัยใหญ่ น้ำใจเผื่อแผ่รักใคร่นับถือ สงเคราะห์ช่วยเหลือเกื้อกูลแก่กัน ไม่กอบโกยเอาแต่ได้ใส่ตนฝ่ายเดียว มีพรหมวิหารเป็นพื้นอัธยาศัย คือ
    มีเมตตา หวังดีอยากให้ผู้อื่นได้สุข โดยสุขที่เขาจะได้นั้นไม่ทำให้ตนได้ด้วย ตั้งใจแผ่เมตตาให้เขาได้ความสุขความเจริญยิ่งๆขึ้นไป
    มีกรุณา หวังช่วยเหลือไม่อยากให้เขาได้ทุกข์ หรือเขามีทุกข์ร้อนอยู่แล้ว ก็รู้สึกหวั่นรีบหาทางช่วย โดยความทุกข์ที่เขาจะได้หรือได้แล้ว ตนก็ไม่เสียด้วย ตั้งใจช่วยให้เขาพ้นทุกข์นั้น
    มีมุทิตา รู้สึกบันเทิงเบิกบาน ยินดีด้วยที่เขาได้มีสุข โดยตนไม่ได้มีสุขด้วย หรือกลับเสียคือต่ำต้อยไปกว่าเขา ตั้งใจพลอยยินดีอนุโมทนาด้วยเขา
    มีอุเบกขา ไม่ยินดีด้วยที่เห็นเขาได้ทุกข์ และไม่พลอยซ้ำเติมให้เขาฉิบหาย โดยตนไม่เสียด้วย หรือกลับเลิศลอยขึ้น ตั้งตนเป็นกลางวางเฉย ไม่เหยียบย่ำซ้ำเติมเขา
    นี่คุณลักษณะของคนโอบอ้อมอารี ซึ่งมีใจสุขุมชุ่มเย็นและกว้างขวาง หวังความสามัคคีกลมเกลียวเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน รู้จักผ่อนผันสั้นยาว ไม่ตึงนัก ไม่หย่อนนัก ไม่ร้อนถึงกับไหม้ ไม่เย็นถึงกับบูด เขาอยู่ในหมู่ใดย่อมช่วยก่อความร่มเย็นดับความร้อน คอยระบายถ่ายถอนทุกข์ยุคเข็ญออก นำความอุดมสมบูรณ์เข้าสู่หมู่นั้น แม้เมื่อไปก็ให้หมู่ที่อยู่ข้างหลังคิดถึงและสรรเสริญคุณ
    เป็นอันว่าคนใจโอบอ้อมอารีนั้น อยู่ในที่ใดๆ รู้จักเอื้อเฟื้อเจือจุนอุดหนุนหมู่ในที่นั้น เป็นคนพ้นโทษ คือโง่น่าเกลียดฉลาดน่าชัง และสมบูรณ์ด้วยคุณคือโง่น่ารักฉลาดน่านับถือ เมื่อคนอื่นเห็นหรือเพียงแต่นึกถึง ก็รู้สึกรักใคร่เคารพนับถือ และได้ความอุ่นใจหวังพึ่งร่มเงาได้ไม่มีภัย เป็นความจริง สิ่งที่เหมือนกันย่อมดูดกัน ทองดูดทอง เหล็กดูดเหล็ก สุขดูดสุข ทุกข์ดูดทุกข์ ผู้นับถือเขาย่อมได้นับถือตอบ ผู้บูชาเขาย่อมได้บูชาตอบ ผู้ไหว้เขาย่อมได้ไหว้ตอบ
    ให้ท่านท่านจักให้ ตอบสนอง
    นบท่านท่านจักปอง นอบไหว้
    รักท่านท่านจักครอง ความรัก เรานา
    สามสิ่งใครทำได้ โลกซร้อง สรรเสริญ
    ๓.๓ ใจเห็นอกเขาอกเรา ตามปกติคนเราย่อมมีความรู้สึก เช่นรู้สึกเหนื่อย รู้สึกรำคาญ รู้สึกวิตกวิจาร รู้สึกอารมณ์ดีหรือร้าย รู้สึกโกรธหรือรัก รู้สึกผิดหวังหรือสมหวัง สำหรับผู้มีใจเห็นอกเขาอกเรานั้น ได้คำนึงถึงความรู้สึกของคนอื่น ด้วยหยั่งรู้ในความรู้สึกของเขาเหมือนของตน เห็นเจตจำนงของเขามีคุณค่าเท่ากับของตน เห็นว่าคนทั้งหลายอื่นก็เป็นมนุษย์ เจตจำนงของเขาย่อมมีสิทธิเท่ากับเจตจำนงของตนเอง เมื่อหยั่งรู้อย่างนี้แล้ว จึงถือความรู้สึกของเขาเป็นเหมือนของตน ปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างเอาใจเราไปใส่ใจเขา เอาใจเขามาใส่ใจเรา เมื่อเห็นเราร่าเริงก็พลอยร่าเริงด้วย
    นักจิตศาสตร์ได้ลงความเห็นสอดคล้องต้องกันว่า “สมองของมนุษย์มีลักษณะเหมือนเครื่องส่งและเครื่องรับกระแสวิทยุอยู่ด้วยกัน ทุกคน เมื่อคนหนึ่งส่งมิตรจิตไปแล้ว อีกคนหนึ่งก็ส่งมิตรใจคอย” ดังนั้น ผู้มีใจเห็นอกเขาอกเราจะพูดคิดอะไร จึงส่งใจไปตรวจดูใจคนอื่นเสียก่อนว่า เขามีความรู้สึกและเจตจำนงเป็นอย่างไร
    ว่าที่จริง ใจที่เห็นอกเขาอกเรานั้น เปรียบเหมือนไฟฟ้าที่แล่นจากใจหนึ่งไปสู่ใจอื่น จากใจของผู้เป็นสุขไปสู่ใจของผู้เป็นทุกข์ จากใจของผู้เป็นใหญ่ที่มียศศักดิ์สมบัติ ไปสู่ใจของผู้น้อยที่หายศศักดิ์มิได้ พลอยดีใจด้วยผู้ดีใจ พลอยเสียใจด้วยผู้เสียใจ นับเป็นคนมีปกติเห็นอกเห็นใจคนอื่น แม้คนที่อ่อนแอกว่า คนที่อยู่ในความพิทักษ์ และคนเสมอกันกับตน ชั้นแต่สัตว์ที่เลี้ยงไว้ ก็ได้รับความเห็นอกเห็นใจจากเขาด้วย วิถีชีวิตที่ยืดยาว เป็นที่ระลึกถึงกันได้นานที่สุด ก็คือ วิถีชีวิตแห่งความรู้จักเป็นอกเห็นใจกัน นี่คืออุดมคติควรใฝ่ใจ
    ๓.๔ ใจหนักแน่น คือใจมั่นคงแน่นอน หนักในเหตุหนักในผล ไม่หูเบาใจเบาสมองเบา เชื่อง่ายกลับกลอกคลอนแคลน หรือหลุกหลิกโลเล มีสติเป็นใหญ่คอยควบคุมใจ ยับยั้งไว้ให้เป็นตัวของตัวเอง ไม่ยอมปล่อยตัวให้เป็นสวะลอยตามลมตามน้ำ มอบตัวอยู่ในความดี โดยไม่ฝืนสิ่งใดๆที่ดีงาม
    ผู้มีใจหนักแน่น แม้จะมีตาหูอยู่ตั้งร้อย ดูรูปทุกอย่างได้ด้วยตา ฟังเสียงทุกอย่างได้ด้วยหู แต่ก็ไม่ต้องการสิ่งที่เห็นและได้ยินทุกอย่างไป ไม่ปองสิ่งที่ไม่ควรจะได้ ไม่โศกเศร้าเจ่าจุกทุกข์ร้อนถึงสิ่งที่ฉิบหายไป แม้ได้สมบัติที่ควรดูดดื่มก็ไม่มัวเมา มีกำลังปัญญาพอจะสอดส่องให้เห็นอรรถเห็นธรรม จับเหตุผลและวินิจฉัยได้ถูกต้อง
    ท่านควรมีใจหนักแน่น ซื่อตรงต่อตนเอง อย่าโกหกหลอกลวงและดื้อด้านต่อตนเอง เมื่อรู้ว่าอะไรผิดอย่าฝืนความรู้สึกผิดชอบ อย่าถือรั้นดันทุรังหาวิธีอธิบายหลอกตัวเองให้เห็นเป็นชอบ และรู้ว่าอะไรชั่วแล้วอย่าล่วงละเมิดอย่างที่เรียกว่าทำไปทั้งที่รู้ๆ อย่าเห็นชอบด้วยสิ่งไรๆถ้ายังไม่ได้พิจารณาให้รู้เหตุผลด้วยตนเองก่อน
    อนึ่ง เมื่อท่านประสบกับเหตุการณ์ที่น่าประหม่า น่ากลัว น่าฟุ้งซ่าน จงหนักแน่นในเหตุในผล อย่าหวั่นอย่ากลัวอย่าท้อ และเมื่อท่านได้ทุกข์ร้อน จงทำใจให้แช่มชื่น ตั้งใจจดจ่ออยู่ในอารมณ์ที่มุ่ง อย่าซุกซนวอกแวกแส่ไปในอารมณ์อื่น จงทำกิจการที่ตนจับให้สำเร็จไปอย่าจับจด
    เพราะสารพัดอย่างในโลกนี้ มีทั้งสิ่งที่พึงพอใจ และสิ่งที่ไม่พึงพอใจ ในสิบส่วนถ้าท่านมีใจหนักแน่นพอก็จะเป็นความจริงทั้งสิบส่วน หรืออย่างต่ำจะเป็นความฝันเพียงส่วนเดียว แต่ถ้าท่านเป็นคนใจเบาง่อนแง่นคลอนแคลนแล้ว จะเป็นความฝันทั้งสิบส่วน อย่างดีจะเป็นความจริงให้ท่านเห็นบ้างเพียงหนึ่งส่วน
    ในสิ่งที่พึงพอใจและสิ่งที่ไม่พึงพอใจนั้น มีวิธีปฏิบัติในแต่ละสิ่งอยู่ ๓ ประการ คือ เมื่อแสวงหาสิ่งที่พึงพอใจ อย่าแสวงหาให้ผิดธรรม จงแสวงหาแต่โดยชอบ เมื่อใช้สอยอย่าใช้สอยด้วยความหลงเพลิดเพลิน เมื่อจะจากอย่าจากด้วยโทมนัส ส่วนวิธีปฏิบัติในสิ่งที่ไม่พึงพอใจนั้น คือเมื่อสิ่งที่ไม่พึงพอใจยังมาไม่ถึง จงป้องกันด้วยความไม่ประมาท เมื่อประสบเข้าอย่าโศกเศร้าระทมทุกข์ และเมื่อมันหนีจากไป ก็อย่ากำเริบยินดีร่าเริง
    ๓.๕ ใจยุติธรรม ความถือหลักที่เที่ยงตรงแน่นอนถูกต้อง สงวนสิทธิคืออำนาจอันชอบธรรมในส่วนควรได้ควรมีของมนุษย์ ยังผู้ได้ผู้มีให้เต็มใจเห็นเป็นส่วนเสมอภาคทั่วหน้ากัน สมควรแก่ส่วนที่ตนควรได้ควรมี โดยปราศจากอาการเหลื่อมล้ำต่ำสูง อันจะก่อให้เกิดน้อยเนื้อต่ำใจ หรืออับอายขายหน้าแก่กันและกัน นี่คือความยุติธรรม
    ความยุติธรรมนี้ มีความสัตย์ ความเที่ยงธรรม และความหยั่งรู้เป็นองค์อุปการะ องค์คือความสัตย์จำเป็นในฝ่ายผู้มีส่วนควรได้ควรมี องค์คือความเที่ยงธรรมกับความหยั่งรู้จำเป็นในฝ่ายผู้ปันส่วนควรได้ควรมีแก่ ผู้มีสิทธิควรได้รับตามส่วนของตน องค์ ๓ นี้คือหมวกเหล็กแห่งความยุติธรรม ซึ่งป้องกันเหตุเภทภัยได้ดีที่สุด ภายใต้หมวกเหล็กแห่งความยุติธรรมนี้ จะไม่มีใครเป็นคนคดโกง และจะไม่มีใครถูกโกงเลย เพราะคนใจยุติธรรมไม่ต้องการอะไรของคนอื่นมาเป็นส่วนตัว ถือความถูกต้องเป็นสำคัญ ไม่เป็นทาสแห่งนายคนใด แต่เป็นนายแห่งนายทั้งปวง
    คนใจยุติธรรมคอยประสาทความเที่ยงตรงแน่นอนถูกต้องแก่คนอื่น เป็นหลักประกันสันติสุขของหมู่คณะ เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรของผู้จะหนีร้อนเข้ามาพึ่งเย็น เมื่อมีหน้าที่ปกครองคนย่อมปกครองโดยมโนสิทธิและมธุรสชิวหา มือซ้ายถือถุงเงิน มือขวาถือหวาย จะทำโทษผู้ผิดย่อมคิดกลั่นกรองเสียหลายชั้น แม้จะบำเหน็จรางวัลแก่ผู้ทำชอบ ก็สอบสวนชั่งตวงโดยรอบคอบ ไม่ปกครองโดยมโนฤทธิและอาชญาสิทธิ ซึ่งมือซ้ายถือดาบมือขวาถือหอก อันเป็นการทำมีทั้งมิตรมีทั้งศัตรู
    เมื่อมีหน้าที่สืบเสาะไต่สวน หรือฟ้องคดีที่ผิดต่อกฎหมาย ก็ไม่เพทุบายทำการอันไม่ควรทำ หรือเว้นการอันไม่ควรเว้น ไม่ช่วยคนผิดให้พ้นอาชญา ไม่แกล้งให้ผู้ไม่มีความผิดได้รับอาชญา หรือให้ผู้มีความผิดน้อยต้องรับอาชญาเกินกว่าที่ควรจะรับ
    แม้มีหน้าที่เป็นตุลาการ ก็ทำการตัดสินคดีโดยระมัดระวัง ไม่ใช้อำนาจให้ผิดทางโดยเห็นแก่สินบน คือไม่เรียกสินบน ไม่รับสินบนในเมื่อมีผู้มาติดสินบน แม้สินบนนั้นจะทำให้เกิดความเจริญแก่ตน หรือไม่ยอมว่าจะรับสินบนเป็นอาณาประโยชน์แก่ตนเอง
    คนจนมาต้องคดีย่อมได้รับสิ่งที่เขาไม่เคยได้รับคือความกรุณา ถึงแม้คนมั่งมีมาเป็นความก็ไม่ถูกลงโทษเพราะความมั่งมี คนผู้เช่นนี้เองคือคนยุติธรรม ซึ่งเป็นหลักประกันความสงบราบคาบเยือกเย็นและอำนวยความสุขสำราญแก่ประเทศ ชาติ
    ส่วนคนใจอยุติธรรม เมื่อมีอำนาจมักใช้อำนาจเกินขอบเขต หลงอำนาจเมาอำนาจ เห็นว่าตนมีอำนาจก็ฟาดเข้าไปจนเกินการ ตัวอย่าง เจ้าพนักงานที่ใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่โดยทางอันมิชอบ ดูเถิดผู้มีหน้าที่บำรุงสุขระงับทุกข์แก่ประชาราษฎร แต่ใช้อำนาจบังคับขู่ให้เขาให้ หรือให้เขาหาทรัพย์หรือผลประโยชน์อันมิควรจะได้มาให้แก่ตน กดขี่ข่มเหงพลเมืองให้ได้รับความเดือดร้อน บังคับให้เขาเสียทรัพย์สินโดยไม่ใช่เหตุ เห็นว่ากฎหมายปรับโทษแล้วคิดปรับเสียใหม่ให้มากขึ้น คดีหรือกิจอื่นควรจะแล้วเร็ว มาแกล้งทำให้ช้า ทำให้พลเมืองต้องเสียงานการอาชีพอันเป็นทางเจริญแก่บ้านเมือง
    คนอยุติธรรม คนใจบาป และคนไม่มีความรู้ จัดเป็นโรคร้ายของชาติ เพราะเป็นตัวการทำให้ชาติบ้านเมืองยุ่งเหยิง เกิดจลาจลอลหม่านเดือดร้อน ผู้ใช้อำนาจไม่เป็นธรรมข่มเหงคะเนงร้ายให้เขาเสื่อมเสียและเดือดร้อนเช่นนี้ ชื่อว่าเผาโลกให้ไหม้ และเผาตัวเองให้ย่อยยับไปด้วย เพราะเมื่ออำนาจเสื่อมถอยลง อาจถูกตอบแทนด้วยอำนาจเช่นเดียวกัน ดูเถิดงูเห่าที่ถูกมดกินเมื่อมันหากำลังไม่แล้ว
    ท่านอย่าได้เป็นเหมือนเขาเหล่านั้น เมื่ออยู่ในฐานะหน้าที่ใดๆ จงมีใจยุติธรรม ทำการให้ถูกต้องตามคลองธรรมและปฏิบัติในหน้าที่ของตนให้สุจริต ถือการทำถูกใจเขาเหมือนทำถูกใจตน รักเพื่อนมนุษย์เหมือนรักตัวเอง อย่าก่อแก่คนอื่นในสิ่งที่ท่านไม่อยากให้ใครก่อแก่ตน จงประพฤติต่อเขาในทำนองที่ท่านอยากให้เขาประพฤติต่อตน
    เมื่อท่านจะถูกกดความดีความชอบ เสื่อมถอยในความมีหน้ามีตา ต้องเสี่ยงภัยในการไม่มีใครอินังขังข้อ หรือถูกเกลียดชังให้อัปยศอดสูอย่างหวานอมขมกลืนแล้ว ก็จงประพฤติให้มั่นคงในสิ่งที่เป็นธรรมถูกต้อง อยู่เหนืออามิส อยู่เหนืออารมณ์ และอยู่เหนืออำนาจอธรรม อย่าเอนเอียงไปตามเสียงติชมเสียงขู่เสียงปลอบ
    แม้ความดีของคนอื่นก็เป็นสิ่งที่ท่านควรคำนึงถึง และให้ความเป็นธรรม เพื่อสงวนสิทธิในความดีที่เขาควรจะได้มีของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวข้องอยู่กับท่านเป็นตัวอย่าง ว่าตามทางยุติธรรมควรจะได้แก่เขา แต่เขาจะได้โดยยากเพราะยังเกี่ยวข้องอยู่ในอำนาจของท่านหรือของคนอื่น ก็ควรเอื้อเฟื้อหาลู่ทางให้เขาได้รับของสิ่งนั้นโดยสะดวกขึ้น
    ของดีควรให้แก่ศัตรูคือไม่ถือโทษ ควรให้แก่มิตรคือมิตรภาพ ควรให้แก่ตัวเองคือเกียรติยศ และควรให้แก่เพื่อนมนุษย์คือใจยุติธรรม ดังนั้นเราจึงควรเอาชนะคนโกรธด้วยไม่โกรธตอบ เอาชนะคนไม่ดีด้วยความดี ระงับเวรด้วยไม่จองเวร เพราะวิธีนี้เป็นวิถีทางแห่งความยุติธรรม ไม่ทับถมทวีด้วยการตอบความชั่วด้วยความชั่ว แต่เป็นวิธีตอบความชั่วด้วยความดี
    ลักษณะใจสุภาพ ๕ อย่างนี้ จะทำความเป็นมนุษย์ให้ชื่นบานสราญรมย์ ชักนำให้คนคิดช่วยยกเพื่อนมนุษย์ขึ้นจากทุกข์ภัย ในที่ใดมีความดุร้ายหรือโง่เขลาและตกระกำลำบาก ความมีใจสุภาพจะต้องยื่นมือเข้าไปช่วย การได้เห็นเขาประสบทุกข์ภัย หรือเพียงได้ยินเสียงร้องครวญครางนั้น ย่อมเป็นสิ่งเสียดแทงใจของคนสุภาพ
    น้ำไหลที่ไหลแรงที่สุดคือน้ำใจ มิใช่น้ำไหลจากที่สูงลงที่ต่ำ ดังนั้นคนผู้มีใจสุภาพจึงทนนิ่งอยู่ไม่ได้ เมื่อเห็นคนตกทุกข์ได้ยาก ต้องแสดงอัธยาศัยไมตรีเข้าช่วยเขาทันที ทำให้เขาอุ่นใจหวังพึ่งได้ เป็นประหนึ่งแสงสว่างที่ฉายเข้าไปในห้องมืดของผู้มีทุกข์ ปลอบให้เขาเอิบอิ่มคลายความทุกข์ไปได้
    ใจสุภาพเป็นใจสูง แม้ฟ้าที่สูงก็ยังต่ำกว่าใจสุภาพ และใจสุภาพนี้เป็นรากโคนของความสุภาพทั้งปวง เพราะใจสุภาพแล้วให้กิริยาวาจาสุภาพ แม้เมื่อใจเสียแล้ว กิริยาวาจาก็เสียด้วย หากจะแสร้งทำเป็นกิริยาจาจาสุภาพเล่าก็ไม่พ้นคำว่า “ข้างนอกสุกใส ข้างในเป็นโพรง” หรือ “ข้างนอกเกลี้ยงเกลา แต่ข้างในขรุขระ” เพราะการแสร้งทำเป็นสุภาพแต่ข้างนอก มิใช่สุภาพออกมาแต่ข้างในนั้นยังตกอยู่ในภาวะที่มีราคี อาจให้เกิดโทษได้ในภายหลัง ดังคำกลอนว่า
    เมื่อแรกคิดว่าชนิดชมพูนุท บริสุทธิ์ราศีไม่มีฝ้า
    เหมือนเนื้อแปดเปื้อนน้ำธรรมดา เพิ่งรู้ว่าเชื้อชาติธาตุทองแดง
    คนใจสุภาพมีภูมิธรรมสูง ไม่เห็นแก่ความสุขส่วนตัวฝ่ายเดียว ยังเห็นแก่ความสุขส่วนหมู่คณะอีกด้วย ใช้เวลาตลอดชีวิตสร้างความสงบแก่ตนและคนทั้งมวล ถึงจะอยู่ในบ้านเล็กๆก็ยังดีกว่าคนที่มีใจเป็นทาสต่ำช้า ซึ่งด้อมอยู่ในบ้านใหญ่โตรโหฐาน เพราะความทุกข์ยุ่งยากเกิดแต่คนใจต่ำเป็นผู้ก่อ ส่วนความสงบสุขเรียบร้อยเกิดแต่คนใจสุภาพเป็นผู้ก่อ ท่านจะได้ทำคุณอันยิ่งใหญ่แก่ประเทศชาติ ถ้าท่านมีใจสุภาพและยกใจของประชากรให้สูง ดังนั้นการอบรมใจให้เป็นใจสุภาพ จึงจำเป็นอย่างยิ่งในการสร้างนิสัยสุภาพขึ้นในคนแต่ละคน
    กิริยาสุภาพ วาจาสุภาพ และใจสุภาพ นี่คือแก่นสำคัญของนิสัยสุภาพ ซึ่งเป็นเคล็ดลับให้คนนิสัยสุภาพมีราคา ชวนให้คนเกิดความนิยม จริงทีเดียวผู้ใหญ่จะมีราคาอยู่ที่ผู้น้อยนิยมเคารพนับถือ ผู้น้อยจะมีราคาอยู่ที่ผู้ใหญ่เมตตาปรานี ครูจะมีราคาอยู่ที่ศิษย์นิยมรักใคร่ ข้าราชการมีราคาอยู่ที่ราษฎรนิยมและรัฐบาลไว้วางใจ เมื่อเราไม่นิยมในเพื่อนฝูง เพื่อนฝูงย่อมหมดราคา แม้เพื่อนฝูงไม่นิยมในตัวเรา เราก็เป็นคนไร้ค่าสิ้นความนิยม นี่ความจริงที่ขุดขึ้นจากความจริง
    นิสัยสุภาพนี้ มีอำนาจยิ่งกว่าอำนาจและกำลังอื่นใดในโลก แม้คนพาลหัวดื้อถือดีเหี้ยมโหดดุร้าย จะทำร้ายใครได้โดยมิเลือกหน้า ไม่ยำเกรงต่ออำนาจใดๆ ก็ยังยำเกรงต่อผู้ที่ตนรู้สึกว่าเขามีนิสัยสุภาพต่อตน บรรดาการปราบปรามทั้งหลาย เมื่อปราบด้วยอำนาจไม่สำเร็จแล้วก็ปราบสำเร็จได้ด้วยนิสัยสุภาพ
    การขู่กรรโชกย่อมเร้าให้เกิดอาการดื้อด้านต้านทาน แต่นิสัยสุภาพมีอำนาจดึงดูดให้เกิดความรักและเชื่อถือ โน้มน้าวทั้งฝ่ายช่วยและฝ่ายรับ ให้รู้สึกในคุณความดีอันได้ทำและได้มีแก่ตน ฝ่ายรับจะไม่รู้สึกอยู่แต่เพียงนั้น ยังจะเกิดความรู้สึกมีกตัญญูเห็นบุญคุณ แสดงนิสัยสุภาพตอบฝ่ายช่วยตนอีกด้วย
    ประมวลความว่า นิสัยสุภาพเป็นนิสัยสงบเยือกเย็นนับเป็นเส้นโลหิตของชีวิต ที่มีแสงให้แก่วิญญาณผู้ทรงไว้ รักษาผู้ทรงไว้ให้คงที่และเจริญรุ่งเรือง เมื่อเรามีนิสัยสงบเยือกเย็น จะช่วยให้เรามีลักษณะดี และช่วยให้ผู้อื่นสงบสุขเยือกเย็นด้วย เหมือนน้ำเย็นเราอาบหรือดื่มก็เย็นชื่นใจ ให้ผู้อื่นอาบหรือดื่มก็เย็น รดพืชพันธุ์ก็สดชื่น ถ้าเรามีนิสัยร้อนจะทำให้คนอื่นพลอยร้อนด้วย ประหนึ่งน้ำร้อน เราอาบหรือดื่มก็ร้อน ให้คนอื่นอาบหรือดื่มก็ร้อน รดพืชพันธุ์ก็ลวก
    พึงทราบว่า ความรู้ช่วยเราได้เพียง ๑๕ เปอร์เซ็นต์ ส่วนนิสัยสุภาพช่วยเราได้ถึง ๘๕ เปอร์เซ็นต์ เราจึงควรใช้เวลาจากเช้าถึงกลางคืนสร้างนิสัยสุภาพ ในส่วนตัวความให้เขาชมว่าจากเช้าถึงกลางคืน จากเปลถึงหลุมฝังศพ การดำรงชีวิตของเราได้เต็มด้วยนิสัยสุภาพ แม้ในส่วนรวมก็ให้เขาชมว่า จากเช้าถึงกลางคืน จากเปลถึงหลุมฝังศพ การดำรงชีวิตของคนไทยได้เพียบพร้อมด้วยนิสัยสุภาพ
    ต้องอย่าลืมว่า การหัวเราะลั่นของคนคะนอง เป็นของเลวกว่าการร้องไห้ของคนนิสัยสุภาพ นี่คาถาชุบตัวให้เป็นคนนิสัยสุภาพ เชิญเสกบ่อยๆว่า “โอมสุภาพ มหาสุภาพ นโมกราบ อิ สฺวา สุ”

    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="500"> <tbody><tr> <td align="center">*********</td> </tr> </tbody></table>
     

แชร์หน้านี้

Loading...